POL3310 การบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ s/2561

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3310 การบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ

คําสั่ง ข้อสอบมี 5 ข้อ เลือกทํา 3 ข้อ

ข้อ 1 จงอธิบายถึงภูมิหลังและพัฒนาการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

แนวคําตอบ

ภูมิหลังและพัฒนาการของการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ

การศึกษาการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบเกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 โดย เกิดจากวดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson) ซึ่งต้องการขจัดปัญหาระบบอุปถัมภ์ในระบบราชการของสหรัฐอเมริกา ในขณะนั้นให้หมดไป จึงทําให้เกิดกลุ่มศึกษาการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบกลุ่มที่ 1 คือ กลุ่มศึกษาเปรียบเทียบ ระบบบริหาร (Comparative Study Administration : CSA) เพื่อศึกษาระบบบริหารราชการของประเทศยุโรป คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส และปรัสเซีย (เยอรมันปัจจุบัน) และนําแนวทางการบริหารจากประเทศดังกล่าวมาใช้แก้ปัญหา การบริหารราชการของสหรัฐอเมริกา

การศึกษาของกลุ่ม CSA นําไปสู่พัฒนาการของการศึกษาการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ ซึ่ง แบ่งออกเป็น 4 ช่วงเวลา ดังนี้

1 ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1939 1940)

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งสถาปนาตัวเองเป็นผู้นําโลก ได้ประกาศใช้แผนมาร์แชล (Marshal Plan) โดยมีวัตถุประสงค์ในการให้ความช่วยเหลือทางด้านการเมือง การทหาร เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษา และเทคโนโลยีแก่ประเทศพันธมิตรของสหรัฐอเมริกา ซึ่ง การช่วยเหลือดังกล่าวมีส่วนผลักดันให้ประเทศโลกที่ 3 หรือประเทศกําลังพัฒนาเกิดอุดมการณ์การพัฒนา (Developmentatism) โดยมีความเชื่อว่า บรรดาประเทศยากจนสามารถพัฒนาประเทศของตนให้เหมือนกับ ประเทศที่เจริญแล้วหรือประเทศอุตสาหกรรมได้ หากนําแนวทางของสหรัฐอเมริกามาเป็นต้นแบบ

ผลจากนโยบายการให้ความช่วยเหลือและอุดมการณ์การพัฒนาทําให้เกิดกลุ่มศึกษา การบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบกลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มบริหารเปรียบเทียบ (Comparative Administration Group : CAG) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กลุ่มบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ (Comparative Public Administration : CPA) ซึ่งกลุ่มนี้มองว่าระบบบริหารของประเทศโลกที่ 3 เป็นระบบที่ไม่มีประสิทธิภาพเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศตะวันตก ดังนั้นถ้าต้องการจะให้ระบบบริหารของประเทศโลกที่ 3 มีประสิทธิภาพ สามารถเป็นเครื่องมือในการพัฒนา ประเทศได้ก็จําเป็นจะต้องพัฒนาและปรับปรุงระบบบริหารของประเทศเหล่านี้ให้ “ทันสมัย” ซึ่งกลุ่ม CAG/CPA ได้เรียกร้องให้มีการสร้างสถาบันทางการบริหาร (Institution-Building) ใหม่ ๆ ขึ้นในประเทศโลกที่ 3

2 ยุคทองของการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ (ค.ศ. 1969 – 1974)

เป็นยุคที่แนวความคิดของกลุ่ม CAG/CPA ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย จะเห็นได้ จากการจัดพิมพ์วารสาร เอกสาร ตําราเกี่ยวกับการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบมากมาย และในมหาวิทยาลัยของ สหรัฐอเมริกาก็มีการเปิดการเรียนการสอนการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบกันมาก ซึ่งจุดเน้นของแนวความคิดของ กลุ่ม CAG/CPA มีดังนี้

1) การสร้างระบบการบริหารแบบอเมริกัน (American Public Administration) ซึ่งเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด (The Best Efficiency) สามารถเป็นต้นแบบให้กับประเทศโลกที่ 3 เพื่อใช้ เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศได้

2) การนํารูปแบบการบริหารแบบอเมริกันไปใช้จะต้องครอบคลุมในทุก ๆ ด้าน เนื่องจากรูปแบบการบริหารงานแบบอเมริกันมีลักษณะ “ครบวงจร” หรือเป็นแบบ “Package” คือ ประกอบด้วย ความรู้ทางด้านการบริหารทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการบริหารงานบุคคล การบริหารงบประมาณ การจัดการ เทคโนโลยี รวมทั้งทัศนคติและค่านิยมแบบอเมริกัน

3) มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อต้องการที่จะปรับปรุงระบบราชการของประเทศโลกที่ 3 ให้มีความทันสมัยแบบสหรัฐอเมริกา โดยการกําหนดมาตรการต่าง ๆ ในการเพิ่มขีดความสามารถให้แก่ระบบราชการ ในประเทศโลกที่ 3 และเสนอให้มีการสร้างสถาบันทางการบริหารใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น

4) การเพิ่มขีดความสามารถของระบบบริหารของหน่วยงานราชการจะต้องกระทําก่อนสิ่งอื่นใดทั้งหมด โดยไม่คํานึงถึงระดับของการพัฒนาทางการเมือง

3 ยุคเสื่อมของการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ (ค.ศ. 1975 – 1976)

สาเหตุที่ทําให้การศึกษาการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบของกลุ่ม CAG/CPA เสื่อม มี 2 ประการ คือ

1) ความบกพร่องของแนวความคิดของกลุ่ม CAG/CPA ได้แก่

– การศึกษาของกลุ่ม CAG/CPA มุ่งเน้นการบริหารงานตามแบบตะวันตก ละเลยการพิจารณาถึงปัจจัยสภาพแวดล้อมภายในของประเทศโลกที่ 3 จึงทําให้การบริหารงานของประเทศโลกที่ 3 ไม่ประสบผลสําเร็จเท่าที่ควร เพราะการพัฒนาจําเป็นต้องใช้เวลาในการสร้างสมประสบการณ์ของประเทศนั้น ๆ เอง เพื่อค้นหารูปแบบการบริหารงานที่เหมาะสมกับประเทศของตน

– การถูกวิพากษ์วิจารณ์จนเกิดความไม่แน่ใจในศาสตร์การบริหารรัฐกิจ เปรียบเทียบ กล่าวคือ การบริหารรัฐกิงเปรียบเทียบตามแนวคิดของกลุ่ม CAG/CPA ถูกมองว่าเป็นเครื่องมือ ของประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาในการขยายอิทธิพลและอํานาจครอบงําประเทศโลกที่ 3 โดยผ่านวิธีการชักจูงให้ประเทศโลกที่ 2 หันมาเลียนแบบสไตล์การบริหารแบบสหรัฐอเมริกา

2) สถานการณ์ภายในและภายนอกของสหรัฐอเมริกา ทําให้สหรัฐอเมริกาต้อง กลับมาสนใจดูแลความสงบเรียบร้อยภายในประเทศจนละเลยการให้ความช่วยเหลือประเทศโลกที่ 3 ประกอบกับ นักวิชาการเริ่มทําตัวเหมือน “มือปืนรับจ้าง” เห็นแก่เงินรางวัลอามิสสินจ้างมากกว่าความก้าวหน้าทางวิชาการ ส่งผลให้การศึกษาการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบซบเซาลง

4 ยุคฟื้นฟูการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ (ค.ศ. 1976 – ปัจจุบัน)

ในช่วงปลายปี ค.ศ. 1975 นักวิชาการเริ่มกลับมามองถึงปัญหาร่วมกัน โดยการรวมตัวกัน จัดประชุมทางวิชาการเพื่อประเมินสถานการณ์และสถานภาพของการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบในอดีตและ มองแนวโน้มในอนาคต โดยได้จัดพิมพ์แนวทางการศึกษาการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบที่ได้จากการประชุมครั้งนี้ ไว้ในหนังสือ “Public Administration Review” ฉบับที่ 6 (พ.ย. ธ.ค. 1976) ซึ่งถือว่าเป็นการเริ่มต้น แนวการศึกษาการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง

ในยุคนี้จึงทําให้เกิดกลุ่มศึกษาการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบกลุ่มที่ 3 คือ กลุ่มบริหารรัฐกิจ เปรียบเทียบแนวใหม่ (New Comparative Public Administration : New CPA) ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากต้องการ แก้ไขข้อบกพร่องของกลุ่ม CAG/CPA โดยแนวความคิดของกลุ่ม New CPA นี้ มุ่งเน้นการศึกษาระบบบริหาร ที่เกิดขึ้นจริงในประเทศโลกที่ 3 มากกว่าการสร้างทฤษฎี รวมทั้งเป็นการมุ่งตอบคําถามว่าทําไมการพัฒนาของ ประเทศหนึ่งจึงประสบความสําเร็จในขณะที่อีกประเทศหนึ่งล้มเหลว มีปัจจัยอะไรที่ส่งผลให้เกิดความสําเร็จหรือ ความล้มเหลวในการพัฒนา ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการนํานโยบายไปปฏิบัติ

 

 

ข้อ 2. ตัวแบบทางการศึกษาการบริหารรัฐกิจของประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศกําลังพัฒนามีลักษณะแตกต่างกันอย่างไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ

แนวคําตอบ

ตัวแบบทางการศึกษาการบริหารรัฐกิจ คือ ตัวแบบการบริหารที่นําเสนอโดยนักคิดเพื่ออธิบาย และสร้างความเข้าใจในปรากฏการณ์ทางการบริหารที่เกิดขึ้นจริงในระบบการปกครองต่าง ๆ ซึ่งจากการศึกษา ของเฮดดี้ (Heady) ได้อธิบายลักษณะการบริหารรัฐกิจของประเทศที่พัฒนาแล้วและการบริหารรัฐกิจของประเทศ กําลังพัฒนา ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

ลักษณะการบริหารรัฐกิจของประเทศที่พัฒนาแล้ว

1 โครงสร้างระบบราชการมีขนาดใหญ่โตและสลับซับซ้อน มีหน่วยงานย่อยภายในหน่วยงาน มีสายการบังคับบัญชาที่ชัดเจน และมีการแบ่งงานกันทําของหน่วยงานต่าง ๆ โดยระบบราชการแบบนี้จะมีลักษณะ ที่สอดคล้องกับตัวแบบระบบราชการในอุดมคติ (Ideal Type Bureaucracy) ของ Max Weber

2 มีการจัดโครงสร้างของหน่วยงานราชการและแบ่งหน้าที่กิจกรรมของรัฐออกเป็น ส่วนต่าง ๆ ตามประเภทของงานและตามความถนัดของบุคลากร เพื่อเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการแบ่งหน้าที่ ของหน่วยงานที่ให้ความสําคัญกับการตอบสนองตามนโยบายของรัฐบาล ดังนั้นหน่วยงานราชการจึงมีการกําหนด หน้าที่ชัดเจน และมีการสรรหาและคัดเลือกบุคลากรตามหลักคุณธรรมและหลักความสามารถ

3 ระบบราชการพัฒนาอยู่ภายใต้อํานาจของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ทั้งระบบ ราชการและฝ่ายการเมืองต่างมีการพัฒนาไปพร้อม ๆ กันและมีการแบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจน โดยฝ่ายการเมือง มีหน้าที่ในการกําหนดหลักเกณฑ์และนโยบายของประเทศ และระบบราชการมีหน้าที่ในการบริหารงานตาม นโยบายของฝ่ายการเมือง ดังนั้นระบบราชการจึงไม่ค่อยมีโอกาสในการวางนโยบาย

4 ระบบราชการเน้นความเป็นวิชาชีพและมีความเป็นอาชีพเช่นเดียวกับอาชีพอื่น ๆ เนื่องจากการทํางานในระบบราชการจะต้องส่งเสริมมาตรฐานคุณค่าในการปฏิบัติงาน เช่น มีการสรรหาบุคคล เข้าทํางานโดยการวัดจากความรู้ความสามารถ การจัดการฝึกอบรมเพื่อให้ผู้ปฏิบัติมีความรู้และความชํานาญ ในการทํางาน เป็นต้น

5 ข้าราชการให้ความสําคัญกับการปฏิบัติตามนโยบายเป็นสําคัญ แม้ว่าข้าราชการจะถูก ปลูกฝังให้เป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น แต่ก็ไม่ได้มีบทบาทต่อการนําเสนอทางนโยบายแต่อย่างใด

ลักษณะการบริหารรัฐกิจของประเทศกําลังพัฒนา

1 ลักษณะของการบริหารมีการลอกเลียนแบบมาจากระบบการบริหารของประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะประเทศตะวันตก มากกว่าจะเป็นลักษณะการบริหารที่มีรูปแบบเฉพาะของตน

2 หน่วยงานราชการขาดแคลนข้าราชการที่มีทักษะจําเป็นในการบริหารการพัฒนาประเทศ โดยข้าราชการส่วนใหญ่มักมีความรู้ทั่ว ๆ ไป (Generalist) มากกว่าที่จะเป็นผู้ชํานาญการเฉพาะด้าน (Specialist) และข้าราชการมีจํานวนมากแต่มีส่วนน้อยที่มีคุณภาพ จึงทําให้เกิดช่องว่างระหว่างอุปสงค์และอุปทานของกําลังคน ในระบบราชการอันสืบเนื่องมาจากแนวการปฏิบัติยึดติดกับระบบอุปถัมภ์

3 หน่วยงานราชการมุ่งเน้นกฎระเบียบหรือความเป็นพิธีการมากกว่าผลสําเร็จหรือ การบรรลุเป้าหมาย รวมทั้งให้ความสําคัญกับการทํางานตามสายการบังคับบัญชาอย่างเคร่งครัด ทําให้การทํางาน เกิดความล่าช้า (Red Tape)

4 แนวทางการปฏิบัติจริงขัดแย้งกับรูปแบบที่กําหนด หรือมีความแตกต่างระหว่าง ความคาดหวังกับความเป็นจริง ซึ่ง Riggs เรียกว่า “การรูปแบบ” หมายถึง สิ่งที่เป็นทางการแต่เพียงรูปแบบ (Formalism) แต่ในความเป็นจริงแล้วกลับนําเอาค่านิยมมาใช้เป็นแนวทางในการบริหารงาน

5 หน่วยงานราชการมีความเป็นอิสระในทางปฏิบัติ ปราศจากการควบคุมทางการเมือง ทําให้เกิดความใหญ่โตเทอะทะ และก้าวก่ายงานทางการเมือง

ความแตกต่างของการบริหารรัฐกิจในประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศกําลังพัฒนา

จากลักษณะของการบริหารรัฐกิจในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศกําลังพัฒนาตาม ข้อเสนอของเฮดดี้นั้น การบริหารรัฐกิจ นประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศกําลังพัฒนามีลักษณะที่แตกต่างกันหลายประการ ดังนี้

1 ประเทศกําลังพัฒนามีการกําหนดโครงสร้างระบบราชการเช่นเดียวกับประเทศพัฒนาแล้ว แต่ในทางปฏิบัติกลับไม่มีบทบาทหน้าที่ชัดเจน มีการก้าวก่ายการทํางานระหว่างหน่วยงาน ทําให้ระบบราชการ ไม่มีประสิทธิภาพเหมือนประเทศพัฒนาแล้ว

2 การบริหารงานบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการสรรหา การคัดเลือก การเลื่อนขั้นเลื่อนตําแหน่ง ในประเทศพัฒนาแล้วจะเป็นไปตามระบบคุณธรรม แต่ประเทศกําลังพัฒนาจะเป็นไปตามระบบอุปถัมภ์ แม้ประเทศ กําลังพัฒนาบางประเทศ เช่น ประเทศไทย จะมีการกําหนดให้การบริหารงานบุคคลใช้ระบบคุณธรรม แต่ในทาง ปฏิบัติกลับใช้ระบบอุปถัมภ์ในการบริหารงานบุคคล

3 ข้าราชการประเทศพัฒนาแล้วเป็นผู้ชํานาญการเฉพาะด้าน แต่ข้าราชการประเทศกําลังพัฒนาเป็นผู้มีความรู้ทั่ว ๆ ไป

4 ประเทศพัฒนาแล้วจะมีการแบ่งแยกหน้าที่ระหว่างฝ่ายการเมืองและฝ่ายข้าราชการ อย่างชัดเจน โดยฝ่ายการเมืองมีหน้าที่กําหนดนโยบาย ส่วนฝ่ายข้าราชการมีหน้าที่ปฏิบัติตามนโยบายที่ฝ่ายการเมือง กําหนด แต่ในประเทศกําลังพัฒนาบางประเทศข้าราชการมีอํานาจเหนือฝ่ายการเมืองและมีบทบาทอย่างมาก ในการกําหนดนโยบาย หรือในบางประเทศฝ่ายการเมืองมักเข้ามาก้าวก่ายงานของข้าราชการ ดังนั้นความสัมพันธ์ ระหว่างบทบาทหน้าที่ของฝ่ายการเมืองและฝ่ายข้าราชการในประเทศกําลังพัฒนาจึงไม่มีความชัดเจนเหมือน ประเทศพัฒนาแล้ว

 

ข้อ 3 จงอธิบายถึงความแตกต่างของลักษณะการบริหารรัฐกิจของประเทศญี่ปุ่นและรัสเซียมาโดยละเอียด

แนวคําตอบ

การบริหารรัฐกิจของประเทศญี่ปุ่นมีลักษณะการบริหารแนวใหม่ (Modern Model) ซึ่งเป็น รูปแบบการบริหารที่ผสมผสานระหว่างรูปแบบการบริหารของประเทศญี่ปุ่นเองกับรูปแบบการบริหารของประเทศ ตะวันตกหรือประเทศพัฒนาแล้ว จึงส่งผลให้ลักษณะการบริหารรัฐกิจของประเทศญี่ปุ่นมีความทันสมัยและ รองรับต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

ส่วนการบริหารรัฐกิจของประเทศรัสเซียเป็นการบริหารภายใต้ระบบคอมมิวนิสต์ โดยมี พรรคคอมมิวนิสต์เป็นสถาบันที่มีบทบาทมากทั้งทางด้านการเมืองและการบริหารราชการ ดังนั้นการบริหารรัฐกิจ ของประเทศญี่ปุ่นและรัสเซียจึงมีความแตกต่างกันในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

1 ลักษณะเด่นทางการบริหาร เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นได้ผสมผสานรูปแบบการบริหารของ ประเทศญี่ปุ่นกับประเทศตะวันตก จึงส่งผลให้ประเทศญี่ปุ่นมีลักษณะการบริหารรัฐกิจที่มีความเป็นประชาธิปไตย มากกว่าประเทศรัสเซีย โดยการบริหาร ฐกิจของประเทศญี่ปุ่นนั้นจะมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ เข้ามาเป็นตัวแทนการรับราชการ การมุ่งเน้นระบบคุณธรรมมากกว่าระบบอุปถัมภ์ และการมุ่งเน้นการทํางาน ที่มีประสิทธิภาพบนพื้นฐานของความจงรักภักดีของข้าราชการตามกระแสชาตินิยม

ส่วนการบริหารรัฐกิจของประเทศรัสเซียเป็นการบริหารภายใต้ระบบคอมมิวนิสต์ ดังนั้นอํานาจในการบริหารและการตัดสินใจทุกอย่างจึงรวมอยู่ที่ผู้นําเพียงคนเดียว และเมื่อมีการปฏิบัติตาม คําสั่งแล้ว ทุกฝ่ายและข้าราชการทุกคนจะต้องร่วมกันรับผิดชอบต่อผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น

2 การบริหารงานบุคคล ประเทศญี่ปุ่นสรรหาและคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการโดยใช้ วิธีการสอบแข่งขัน ซึ่งผู้สอบคัดเลือกได้ส่วนใหญ่เป็นบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยโตเกียวและมีความรู้ทางกฎหมาย เป็นอย่างดี โดยข้าราชการที่ได้รับการคัดเลือกจะต้องผ่านการฝึกอบรมก่อนเข้าปฏิบัติงาน

ส่วนประเทศรัสเซียการสรรหาและคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการอยู่ภายใต้อํานาจ การตัดสินใจของผู้นําพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งบุคคลที่จะเข้ารับราชการจะต้องยอมรับและปฏิบัติตามระเบียบวินัย ของพรรคอย่างไม่มีเงื่อนไข รวมทั้งต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ ซึ่งประเทศรัสเซียไม่ได้เน้นว่าบุคคลที่จะ เข้ารับราชการจะต้องมีความรู้ทางกฎหมายและต้องผ่านการฝึกอบรมก่อนเข้าปฏิบัติงานเหมือนกับประเทศญี่ปุ่น

3 บทบาทและสถานภาพของข้าราชการ ข้าราชการประเทศญี่ปุ่นมีบทบาทเป็น “ผู้รับใช้ องค์จักรพรรดิ” โดยในสายตาของสังคมมองว่าข้าราชการเป็นอาชีพที่มีเกียรติสูงในวงสังคมและน่ายกย่อง นอกจากนี้ ข้าราชการระดับสูงของหน่วยงานราชการยังมีบทบาทสําคัญในการริเริ่มและเสนอนโยบายต่อฝ่ายการเมือง รวมทั้ง การสนับสนุนให้ดํารงตําแหน่งสําคัญ ๆ ทางการเมือง การเปลี่ยนอาชีพจากข้าราชการไปสู่อาชีพทางการเมือง ได้รับการยอมรับจากประชาชนญี่ปุ่น

ส่วนข้าราชการประเทศรัสเซียมีบทบาทเป็น “ผู้รับใช้นาย” จึงทําให้ข้าราชการเป็นเพียง ผู้ปฏิบัติตามคําสั่งผู้นําอย่างเคร่งครัดมากกว่าการแสดงความคิดเห็น ข้าราชการจะให้ความสําคัญกับบุคคลที่มีบทบาท ในการให้คุณให้โทษแก่ตน โดยข้าราชการที่ประสบความสําเร็จในการทํางานมักเป็นข้าราชการที่มีความจงรักภักดี มีความรอบรู้และมีความฉลาดในการเอาตัวรอดในสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างมาก

 

ข้อ 4 จงอธิบายถึงลักษณะเด่นของข้าราชการประเทศปากีสถานและประเทศไทยมาโดยละเอียด

แนวคําตอบ

ลักษณะเด่นของข้าราชการประเทศปากีสถาน

1 เนื่องจากประเทศปากีสถานมีรูปแบบการบริหารแบบระบบประเพณีนิยมแบบอัตตาธิปไตย (Traditional Autocratic System) ซึ่งเป็นการบริหารที่ผู้นําได้รับอํานาจทางการเมืองมาจากมรดกทางสังคม อันสืบทอดมาจากระบบการปกครองโดยพระมหากษัตริย์หรือชนชั้นขุนนาง โดยกษัตริย์เป็นแหล่งรวมอํานาจ และความถูกต้องทางกฎหมาย และรัฐก็เปรียบเสมือนสถาบันของพระมหากษัตริย์ ดังนั้นจึงส่งผลให้ข้าราชการ ประเทศปากีสถานมีลักษณะเด่นดังนี้

1 ข้าราชการมีบทบาทและสถานภาพเป็น “ผู้รับใช้กษัตริย์” โดยในสายตาของประชาชน มองว่าอาชีพรับราชการเป็นอาชีพที่มีเกียรติสูง และน่าจะมีส่วนในการจูงใจกลุ่มชนชั้นกลางและชนชั้นสูงในสังคม ที่มีการศึกษาสูง แต่ด้วยเหตุที่อัตราเงินเดือนค่อนข้างต่ำและการเลื่อนตําแหน่งเป็นไปได้ยากจึงส่งผลให้อาชีพ รับราชการไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร และถูกมองว่าเป็นอาชีพที่ให้ความมั่นคงแก่ผู้มีความรู้ความสามารถ

2 ข้าราชการมีพฤติกรรมทางการบริหารที่ขาดเหตุผล ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงระบอบการเมือง ที่ขาดเหตุผลด้วย แต่ข้าราชการถือว่ามีความจงรักภักดีต่อผู้นํา โดยผู้นําพยายามหลีกเลี่ยงการสูญเสียการสนับสนุน จากข้าราชการโดยเฉพาะข้าราชการในมายความมั่นคง เนื่องจากผู้นําต้องอาศัยการริเริ่มในการแนะนํานโยบาย ของข้าราชการ

ลักษณะเด่นของข้าราชการประเทศไทย

เนื่องจากประเทศไทยมีรูปแบบการบริหารแบบระบบกลุ่มผู้นําทางราชการทั้งฝ่ายพลเรือน และฝ่ายทหาร (Bureaucratic Elite Systems Civil and Military) ซึ่งเป็นการบริหารที่อํานาจทางการเมืองและ การบริหารราชการตกอยู่ในมือของข้าราชการทั้งในส่วนของข้าราชการทหารและข้าราชการพลเรือน จึงส่งผลให้ ข้าราชการประเทศไทยมีลักษณะเด่นดังนี้

1 ข้าราชการไทยมีบทบาทและสถานภาพเป็น “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” โดยอาชีพรับราชการ เป็นอาชีพที่ได้รับการยอมรับว่ามีเกียรติสูง มีความมั่นคง แต่มีรายได้ต่ำ ในขณะที่สวัสดิการต่าง ๆ อยู่ในเกณฑ์ ที่ดีมาก และการลงโทษทางวินัยมีค่อนข้างน้อย

นอกจากนี้ ในความเห็นของซิฟฟินยังมองว่าสถานภาพของข้าราชการเป็นการพิจารณา ตามชั้นยศ ผู้มีตําแหน่งชั้นยศที่ต่ำกว่ามักจะเป็นผู้ที่ต้องคอยปฏิบัติตามคําสั่งของผู้ที่มีตําแหน่งชั้นยศสูงกว่า โดยต้อง รับฟังคําสั่งทั้งในส่วนของเนื้องานและนอกเหนือเนื้องาน

2 ข้าราชการไทยมีอํานาจและบทบาทในการบริหารราชการแผ่นดินอย่างมากจนยากต่อ การควบคุมโดยสถาบันอื่น ๆ โดยเฉพาะในส่วนของฝ่ายการเมือง ดังที่ริกส์ (Riggs) ได้เสนอว่า ระบบการบริหาร ของไทยมีลักษณะเป็น “รัฐราชการ” หรือ “อํามาตยาธิปไตย” (Bureaucratic Polity) เนื่องจาก

1) มีการเล่นพรรคเล่นพวก และมีการแสดงอํานาจนียมของหน่วยราชการ

2) มีลักษณะของการเมืองของรัฐข้าราชการ คือ มีการต่อสู้ทางการเมือง การต่อสู้ระหว่างกลุ่มข้าราชการต่าง ๆ

3) ข้าราชการเป็นใหญ่มีอํานาจตัดสินใจแทนประชาชน

 

ข้อ 5 จงอธิบายถึงหลักการบริหารงานตามแนวคิดการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล พร้อมยกตัวอย่างการปฏิรูปบบราชการมา 1 ประเทศ

แนวคําตอบ

หลักการบริหารงานตามแนวคิดการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) มี 6 ประการ คือ

1 หลักการมีส่วนร่วมของสาธารณชน (Public Participation) คือ การให้ประชาชน ทุกคนมีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจและการบริหารอย่างเท่าเทียมกัน รวมถึงการให้เสรีภาพ แก่สื่อมวลชนและสาธารณชนในการแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์

2 หลักความสุจริตและโปร่งใส (Honesty and Transparency) คือ การกําหนด ระบบกติกาและการดําเนินงานที่เปิดเผย ตรงไปตรงมา ผู้เกี่ยวข้องและประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงและได้รับ ข้อมูลข่าวสารอย่างเสรี เป็นธรรม ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ

3 หลักพันธะความรับผิดชอบต่อสังคม (Accountability) คือ การมีความรับผิดชอบ ในบทบาทภาระหน้าที่ที่มีต่อสาธารณชน โดยมีการจัดองค์กรหรือการกําหนดกฎเกณฑ์ที่เน้นการดําเนินงานเพื่อ ตอบสนองความต้องการของกลุ่มต่าง ๆ ในสังคมอย่างเป็นธรรม

4 หลักกลไกการเมืองที่ชอบธรรม (Political Legitimacy) คือ ผู้ที่เป็นรัฐบาลหรือ ผู้ที่มีบทบาทในการบริหารประเทศต้องขอบธรรมและเป็นที่ยอมรับของคนในสังคมส่วนรวม ทั้งในเรื่องความสุจริต ความเที่ยงธรรม และความสามารถในการบริหารประเทศ

5 หลักกฎเกณฑ์ที่ยุติธรรมและชัดเจน (Fair Legal Framework and Predictability) คือ การกําหนดกรอบในการปฏิบัติหรือกฎหมายที่เป็นธรรมและยุติธรรมสําหรับกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม ซึ่งกฎเกณฑ์ จะต้องเป็นที่เข้าใจตรงกัน มีประสิทธิภาพในการบังคับใช้ สามารถคาดหวังผลและรู้ถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อไม่ปฏิบัติ ตามกฎเกณฑ์ที่วางไว้

6 หลักประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Efficiency and Effectiveness) คือ ประสิทธิภาพ ในการดําเนินงานไม่ว่าจะเป็นด้านการจัดกระบวนการทํางาน การจัดองค์การ การจัดสรรบุคลากร และมีการใช้ ทรัพยากรสาธารณะต่าง ๆ อย่างคุ้มค่าเละเหมาะสม มีการดําเนินการและให้บริการสาธารณะที่ให้ผลลัพธ์เป็นที่ น่าพอใจและกระตุ้นการพัฒนาของสังคมทุกด้าน

POL3316 การบริหารรัฐวิสาหกิจ s/2561

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3316 การบริหารรัฐวิสาหกิจ

คําสั่ง ข้อสอบมี 3 ข้อ ให้นักศึกษาทําทุกข้อ โดยข้อที่ 1 บังคับทํา ถ้าไม่ทําถือว่าสอบไม่ผ่าน

ข้อ 1 จงอธิบายความหมาย ความสําคัญ วัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง ลักษณะ และรูปแบบการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ

แนวคําตอบ

ความหมายของรัฐวิสาหกิจ

เกศินี หงสนันทน์ กล่าวว่า รัฐวิสาหกิจ หมายถึง องค์การซึ่งรัฐบาลกลางควบคุมและเป็นเจ้าของ ทั้งนี้เพื่อที่จะปรับปรุงภาวะเศรษฐกิจของประเทศให้มั่นคง และยกฐานะของประชาชนในประเทศให้มี ความเป็นอยู่ดีขึ้น

ติน ปรัชญพฤทธิ์ กล่าวว่า รัฐวิสาหกิจ คือ กิจการต่าง ๆ ของรัฐแต่บริหารงานเชิงธุรกิจ กิจการของรัฐที่บริหารงานเชิงธุรกิจดังกล่าวนี้อาจรวมถึงกิจการทางด้านการสื่อสาร สาธารณูปโภค การคมนาคม สถาบัน การเงิน การประกันภัย โรงกลั่นน้ำมัน โรงงานอุตสาหกรรม ศิลปวัฒนธรรม การท่องเที่ยว การวิจัย ฯลฯ ซึ่ง รัฐวิสาหกิจเหล่านี้อาจจะจัดตั้งภายใต้กฎหมาย และกฎเกณฑ์หลายประการ คือ

1 รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ เช่น การท่าเรือแห่งประเทศไทย

2 รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่มีลักษณะเป็นบริษัทจํากัด ซึ่งรัฐบาลถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 เช่น บริษัท การบินไทย จํากัด (มหาชน)

3 รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นเป็นนิติบุคคลตามพระราชกฤษฎีกาที่ให้อํานาจไว้โดยพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล พ.ศ. 2496 เช่น องค์การตลาด

4 รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยประกาศคณะปฏิวัติ เช่น การทางพิเศษแห่งประเทศไทย

5 รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี รัฐวิสาหกิจโดยนัยนี้ไม่ได้เป็นนิติบุคคลแต่กระทรวงการคลังเป็นเจ้าของ เช่น โรงงานยาสูบ ฃ

6 รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นมาตามนัยของกฎหมายธนาคารพาณิชย์ที่รัฐบาลถือหุ้นมากกว่าร้อยละ 10 เช่น ธนาคารกรุงไทย ความสําคัญของรัฐวิสาหกิจ

รัฐวิสาหกิจเป็นเครื่องมือประเภทหนึ่งของการบริหารจัดการในภาครัฐ และเป็นเครื่องมือ ในการส่งเสริม พัฒนา และรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ การดําเนินงานของรัฐวิสาหกิจส่วนมาก เป็นการดําเนินงานที่เกี่ยวข้องกับสิ่งจําเป็นในการดํารงชีวิตของประชาชน เช่น ด้านพลังงาน ด้านการสื่อสาร ด้านการคมนาคม ด้านสาธารณูปโภคต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งกิจการสาธารณะเหล่านี้ต้องใช้เงินทุนในการดําเนินการสูง แต่ให้ผลตอบแทนจากการลงทุนต่ำและมีอัตราการคืนทุนที่ใช้ระยะเวลานาน ทําให้เอกชนขาดความสนใจที่จะ เข้ามาลงทุน ดังนั้นรัฐจึงต้องเข้ามาดําเนินการเองในรูปแบบของ “รัฐวิสาหกิจ” เพื่อให้ประชาชนได้รับการ ยกระดับคุณภาพชีวิตที่สูงขึ้น และสามารถใช้บริการได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน

วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ มีดังนี้

1 เพื่อจัดทําบริการสาธารณะ

2 เพื่อส่งเสริมสังคมและวัฒนธรรม

3 เพื่อความมั่นคงของประเทศ

4 เพื่อควบคุมสินค้าอันตราย

5 เพื่อประโยชน์ในด้านการคลังและเสริมรายได้ให้แก่รัฐ

6 เพื่อเป็นเครื่องมือในการรักษาเสถียรภาพของราคาสินค้าและบริการ

7 เพื่อเป็นเครื่องมือในการดําเนินธุรกิจแทนรัฐ

8 เพื่อเป็นตัวอย่างแก่เอกชนในการดําเนินธุรกิจ

9 เพื่อต้องการประชาสัมพันธ์ประเทศ

ลักษณะของรัฐวิสาหกิจ มีดังนี้

1 เป็นกิจการที่รัฐบาลเข้ามาดําเนินงานร่วมกับเอกชนหรือกลุ่มบุคคล

2 เป็นกิจการที่รัฐบาลเข้ามาดําเนินงานแบบธุรกิจ ไม่ใช่ในฐานะผู้ปกครอง

3 เป็นกิจการที่มีอิสรภาพทางการบริหารและการจัดการทรัพยากรของตนเองภายใต้เงื่อนไขของกฎหมาย และนโยบายของรัฐบาล

4 การจัดโครงสร้างขององค์การรัฐวิสาหกิจควรมีลักษณะพิเศษที่เหมาะสมแก่การบริหารงาน

5 ผู้ใช้บริการ คือบุคคลที่จะต้องจ่ายค่าบริการของสินค้านั้น ๆ

6 ราคาของสินค้าและบริการอาจจะมีความผันแปรไปตามความต้องการของผู้บริโภคหรือกลไกของราคาตลาด

7 ประสิทธิภาพและความต่อเนื่องของการบริหารในด้านต่าง ๆ จะต้องมีความคล้ายคลึงกับบริษัทเอกชน

รูปแบบการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ การจัดตั้งรัฐวิสาหกิจในประเทศไทย สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 รูปแบบ คือ

1 การจัดตั้งรัฐวิสาหกิจตามหน่วยงานราชการที่สังกัด ตัวอย่างเช่น

1) สํานักนายกรัฐมนตรี มีรัฐวิสาหกิจที่อยู่ในการกํากับดูแล 1 แห่ง คือ บริษัท อสมท จํากัด (มหาชน)

2) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มีรัฐวิสาหกิจที่อยู่ในการกํากับดูแล 2 แห่ง คือ การกีฬาแห่งประเทศไทย และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

3) กระทรวงสาธารณสุข มีรัฐวิสาหกิจที่อยู่ในการกํากับดูแล 1 แห่ง คือ องค์การเภสัชกรรม

2 การจัดตั้งรัฐวิสาหกิจตามกลุ่มสาขา ตัวอย่างเช่น

1) สาขาพลังงาน แบ่งออกเป็น 4 รัฐวิสาหกิจ คือ การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และบริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน)

2) สาขาสื่อสาร แบ่งออกเป็น 4 รัฐวิสาหกิจ คือ บริษัท ทีโอที จํากัด (มหาชน) บริษัท กสท โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) บริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด และ บริษัท อสมท จํากัด (มหาชน)

3 การจัดตั้งรัฐวิสาหกิจตามกฎหมาย แบ่งออกเป็น 6 กลุ่มประเภทของการจัดตั้ง ดังนี้

1) การจัดตั้งรัฐวิสาหกิจตามพระราชบัญญัติ เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจัดตั้งโดยพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511

2) การจัดตั้งรัฐวิสาหกิจตามพระราชกําหนด เช่น บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบัน จัดตั้งโดยพระราชกําหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบัน พ.ศ. 2540

3) การจัดตั้งรัฐวิสาหกิจตามพระราชกฤษฎีกา เช่น องค์การสวนยาง จัดตั้งโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การสวนยาง พ.ศ. 2504

4) การจัดตั้งรัฐวิสาหกิจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจํากัด เช่น บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติ บริษัทมหาชน จํากัด พ.ศ. 2535

5) การจัดตั้งรัฐวิสาหกิจตามคณะปฏิวัติ เช่น การทางพิเศษแห่งประเทศไทย จัดตั้งตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 290 พ.ศ. 2515

6) การจัดตั้งรัฐวิสาหกิจตามระเบียบหรือข้อบังคับ เช่น องค์การสุรา จัดตั้งขึ้นโดยระเบียบจัดตั้งองค์การสุรา กรมสรรพสามิต พ.ศ. 2506

4 การจัดตั้งรัฐวิสาหกิจตามวัตถุประสงค์ เช่น การจัดตั้งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อสรรค์สร้างและพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยการให้บริการด้านพลังงานที่มีคุณภาพ เชื่อถือได้ในราคา ที่เหมาะสม เป็นธรรม และรักษาความสมดุลกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ข้อ 2 จงอธิบายความหมาย หลักการ บทบาทและขอบเขตของการบริการสาธารณะ

แนวคําตอบ

ความหมายของการบริการสาธารณะ

นันทวัฒน์ บรมานันท์ ได้อธิบายว่า การบริการสาธารณะ คือ กิจกรรมประเภทหนึ่งซึ่งรัฐ มีหน้าที่ต้องจัดทําขึ้นเพื่อสนองความต้องการของประชาชนโดยส่วนรวม เป็นการให้บริการแก่ประชาชน หรือ การดําเนินการอื่นเพื่อสนองความต้องการของประชาชน

เทพศักดิ์ บุญยรัตพันธุ์ ให้ความหมายว่า การบริการสาธารณะ หมายถึง การที่บุคคล กลุ่มบุคคล หรือหน่วยงานที่มีอํานาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการสาธารณะ ซึ่งอาจจะเป็นของรัฐหรือเอกชน มีหน้าที่ ในการส่งต่อการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของประชาชน โดยส่วนรวม การให้บริการสาธารณะมีลักษณะที่เป็น “ระบบ” มีองค์ประกอบที่สําคัญ 6 ส่วน คือ

1 สถานที่และบุคคลที่ให้บริการ

2 ปัจจัยนําเข้าเรือทรัพยากร

3 กระบวนการและกิจกรรม

4 ผลผลิตหรือบริการ

5 ช่องทางการให้บริการ

6 ผลกระทบที่มีต่อผู้รับบริการ

หลักการให้บริการสาธารณะ ปราโมทย์ สัจจรักษ์ กล่าวถึง หลักสําคัญเกี่ยวกับการให้บริการสาธารณะไว้ 5 ประการ คือ

1 บริการสาธารณะเป็นกิจการที่อยู่ในความควบคุมของฝ่ายปกครอง

2 บริการสาธารณะมีวัตถุประสงค์ในการสนองตอบความต้องการส่วนรวมของประชาชน

3 การจัดระเบียบและวิธีดําเนินการบริการสาธารณะย่อมจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้เสมอเพื่อให้เหมาะสมแก่ความจําเป็นแห่งกาลสมัย

4 บริการสาธารณะจะต้องจัดดําเนินการอยู่เป็นนิจและโดยสม่ำเสมอ ไม่มีการหยุดชะงักถ้าบริการสาธารณะหยุดชะงักด้วยประการใด ๆ ประชาชนย่อมได้รับความเดือดร้อนหรือได้รับความเสียหาย

5 เอกชนย่อมมีสิทธิที่จะได้รับประโยชน์จากบริการสาธารณะเท่าเทียมกัน การให้บริการสาธารณะมีเป้าหมายที่สําคัญ คือ การสร้างความพึงพอใจในการให้บริการแก่ประชาชน

บทบาทและขอบเขตของการบริการสาธารณะ

1 ด้านสังคม การบริการสาธารณะด้านสังคมเป็นรูปแบบของการบริการที่เกิดขึ้นจาก ความรู้สึกที่ต้องการตอบสนองความมีน้ําใจ และความปรารถนาดีที่มุ่งหวังให้ผู้รับบริการหรือประชาชนได้รับ ความสะดวกสบาย เพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้สูงขึ้นอย่างเท่าเทียมกัน โดยการบริการสาธารณะ ทางด้านสังคม ได้แก่

1) การบริการสาธารณะขั้นพื้นฐาน คือ ระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น การเก็บขยะการติดตั้งไฟแสงสว่าง น้ำประปา คลองชลประทาน

2) การบริการสาธารณะด้านสุขภาพ เช่น การป้องกันโรคระบาด การรักษาพยาบาล

3) การบริการสาธารณะด้านสื่อสารและโทรคมนาคม เช่น การไปรษณีย์ โทรศัพท์

4) การบริการสาธารณะด้านนันทนาการและการกีฬา เช่น สวนสาธารณะ ลานกีฬา

5) การบริการสาธารณะด้านการประกันภัย เช่น การประกันราคาผลผลิตทางการเกษตร การประกันการว่างงาน

2 ด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาเศรษฐกิจเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญต่อระบบ เศรษฐกิจของประเทศทั้งในระดับมหภาคและระดับจุลภาค และนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างทางสังคม โดยนโยบายทางด้านเศรษฐกิจมักจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการเงิน นโยบายการคลัง นโยบายการส่งเสริม การลงทุนทั้งภายในและภายนอกประเทศ นโยบายการประกันสังคมและสวัสดิการ นโยบายการเกษตร นโยบาย ที่อยู่อาศัย นโยบายทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ นโยบายการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และนโยบาย การกําหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ

จุดมุ่งหมายของการบริการสาธารณะด้านเศรษฐกิจ มีดังนี้

1) เพื่อให้มีการผลิตสินค้าและบริการมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้รายได้ของคนสูงขึ้น

2) เพื่อให้เกิดความสมดุลและความมีเสถียรภาพของตลาดในประเทศ

3) เพื่อให้มีการกระจายรายได้ และการกําหนดราคาที่ทําให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ใกล้เคียงกัน

4) เพื่อให้มีเสรีภาพ และมีอิสระในการเลือกอาชีพและเลือกวิถีการดํารงชีวิตของแต่ละคน เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชน

5) เพื่อให้ฐานะทางการเงินของประเทศมีความมั่นคง

6) เพื่อให้มีความสงบทั้งภายในและภายนอกประเทศ

7) เพื่อให้ประชาชนได้รับสวัสดิการจากภาครัฐอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน

3 ด้านการปกครอง การบริการสาธารณะทางด้านการปกครองเป็นกิจกรรมสาธารณะที่ รัฐทําหน้าที่ในงานด้านการปกครองจะต้องจัดกระทํา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม ประกอบกับบริบทของงานสาธารณะด้านการปกครองเป็นหน้าที่เฉพาะของฝ่ายปกครองที่ต้องอาศัยเทคนิคพิเศษ ในการดําเนินงาน รวมทั้งการมอบอํานาจให้ฝ่ายปกครองในการจัดทําบริการสาธารณะที่มีลักษณะทางการปกครอง และมีการกําหนดวิธีปฏิบัติงานที่รัฐกําหนดขึ้นมาเพื่อเป็นแบบแผนเดียวกัน มาตรฐานเดียวกัน และเป็นระบบเดียวกัน ในการบังคับบัญชา ซึ่งเป็นหน้าที่ที่ไม่สามารถให้เอกชนเข้ามาดําเนินการแทนได้ และโดยมากบริการสาธารณะ ด้านการปกครองเป็นกิจกรรมที่รัฐจัดทําขึ้นโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ เพิ่มเติม เช่น ตํารวจทําหน้าที่ในการ รักษาความสงบสุขภายในประเทศ ทหารทําหน้าที่ในการป้องกันประเทศ ข้าราชการฝ่ายปกครองทําหน้าที่ในการ เอื้ออํานวยสิทธิและผลประโยชน์ของประชาชน เช่น ทะเบียนบ้าน บัตรประชาชน เป็นต้น

ข้อ 3. จงอธิบายคุณลักษณะของระบบราชการ รัฐวิสาหกิจ และเศรษฐกิจ และทั้งสามมีความสัมพันธ์กัน

แนวคําตอบ

คุณลักษณะของระบบราชการ รัฐวิสาหกิจ และเศรษฐกิจ

ระบบราชการ ตามคํานิยามของวิเชียร วิทยาอุดม หมายถึง ระบบขนาดใหญ่ของโครงสร้าง ทางสังคมที่ถูกออกแบบมาเพื่อรับใช้รัฐ อาจเป็นชนชั้นปกครองหรือเป็นประชาชนก็ได้ เป็นสถาบันทางสังคม และการเมืองที่สําคัญและเป็นกลุ่มผลประโยชน์อย่างหนึ่งในโครงสร้างทางสังคมและการเมือง โดยถือว่าเป็น การจัดองค์การรูปแบบหนึ่งที่มีโครงสร้างระดับชั้นการทํางานที่ชัดเจน มีรูปแบบการจัดการที่เป็นเอกลักษณ์ มีการสร้างกฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับขึ้นเป็นแนวทางการทํางานอย่างเคร่งครัด เน้นการทํางานที่เป็นทางการ มีหลักฐานเชิงประจักษ์ ความสัมพันธ์ของผู้ปฏิบัติงานขึ้นอยู่กับตําแหน่งงานของบุคคลนั้นเป็นสําคัญ มีการทํางาน ที่เชื่องช้า ปรับตัวเชื่องช้าไม่คล่องตัว การคัดเลือก การพัฒนาบุคลากร การพ้นจากตําแหน่งมีระเบียบและ แนวทางปฏิบัติที่มีความชัดเจน รวมถึงมีการทํางานที่เป็นลายลักษณ์อักษร และไม่คํานึงถึงความสัมพันธ์ส่วนตัว ของปัจเจกบุคคล

รัฐวิสาหกิจ ตามนิยามของดิน ปรัชญพฤทธิ์ หมายถึง กิจการต่าง ๆ ของรัฐแต่บริหารงาน เชิงธุรกิจ กิจการของรัฐที่บริหารงานเชิงธุรกิจดังกล่าวนี้อาจรวมถึงกิจการทางด้านการสื่อสาร สาธารณูปโภค การคมนาคม สถาบันการเงิน การประกันภัย โรงกลั่นน้ํามัน โรงงานอุตสาหกรรม ศิลปวัฒนธรรม การท่องเที่ยว การวิจัย ฯลฯ ซึ่งรัฐวิสาหกิจเหล่านี้อาจจะจัดตั้งภายใต้กฎหมายและกฎเกณฑ์หลายประการ เช่น จัดตั้งขึ้นโดย พระราชบัญญัติ ประกาศคณะปฏิวัติ ความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เป็นต้น

ระบบเศรษฐกิจ คือ ระบบที่เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มคนที่ดําเนินการในด้านต่าง ๆ ที่ เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการผลิตสินค้าและบริการที่มุ่งเน้นที่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของ ประชาชน และนําไปสู่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

ความสัมพันธ์ระหว่างระบบราชการ รัฐวิสาหกิจ และเศรษฐกิจ

ภาครัฐมีหน้าที่ให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน แต่เนื่องจากการจัดทําบริการสาธารณะใน ระบบราชการมีข้อจํากัดหลายประการ เช่น ระเบียบแบบแผนต่าง ๆ ของทางราชการที่ไม่ก่อให้เกิดความคล่องตัว ในการดําเนินงานและเกิดความล่าช้าในการปฏิบัติงาน ดังนั้นหากจะนําเอาระบบราชการไปจัดทําบริการสาธารณะบางประเภทที่มีลักษณะกึ่งการดําเนินธุรกิจเช่นเดียวกับการดําเนินธุรกิจของภาคเอกชนอาจทําให้เกิดความไม่เหมาะสม และไม่เกิดผลดี ด้วยเหตุดังกล่าวจึงมีการสร้างองค์การขึ้นมาใหม่ที่มีการดําเนินงานที่ผ่อนคลายจากกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของทางราชการ เรียกว่า รัฐวิสาหกิจ

รัฐวิสาหกิจเป็นหน่วยงานธุรกิจที่รัฐเป็นเจ้าของ การจัดตั้งรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลมีวัตถุประสงค์ หลายประการด้วยกันทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง โดยวัตถุประสงค์ทางด้านเศรษฐกิจก็คือการรักษา เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้เจริญเติบโต ดังนั้นรัฐบาลจึงจัดตั้ง รัฐวิสาหกิจเพื่อเป็นเครื่องมือทางด้านเศรษฐกิจ ดังนี้

1 เป็นเครื่องมือในการดําเนินธุรกิจแทนรัฐ ในกรณีที่สังคมใดต้องการสิ่งอํานวยความสะดวก หรือบริการใหม่ ๆ ซึ่งเอกชนยังไม่มีความพร้อมในการดําเนินการหรือเอกชนดําเนินการอยู่แล้วแต่ไม่ประสบผลดี เท่าที่ควร รัฐอาจจัดตั้งรัฐวิสาหกิจเข้ามาดําเนินกิจการนั้น โดยอาจเข้ามาดําเนินการเอง หรือเข้าควบคุมหรือ ถือหุ้นข้างมากหากเอกชนดําเนินกิจการนั้น ๆ อยู่แล้วโดยมิได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างเดิมของกิจการแต่อย่างใด เช่น กิจการโทรศัพท์และวิทยุกระจายเสียง เป็นต้น

2 เป็นตัวอย่างแก่เอกชนในการดําเนินธุรกิจ ในการดําเนินกิจการบางประเภทที่มีความสําคัญ ทางเศรษฐกิจที่เป็นบริการรากฐานที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศ รัฐอาจเป็นผู้ริเริ่ม ดําเนินการก่อนด้วยเหตุผลที่ว่าเอกชนไม่มีความรู้หรือประสบการณ์เชิงอุตสาหกรรมหรือพาณิชย์ในเรื่องนั้นมาก่อน จึงเกิดความไม่มั่นใจในการ “คุ้มทุน” และ “ผลกําไร” ที่จะบังเกิดขึ้นจากธุรกิจนั้น หรือไม่สนใจในการดําเนินการ เมื่อรัฐได้ดําเนินการมาระยะหนึ่งจนประสบความสําเร็จและเป็นตัวอย่างที่ดี เอกชนก็อาจจะตัดสินใจเข้ามา ดําเนินการบ้าง เช่น กิจการขนส่งมวลชน การจัดสร้างที่พักอาศัย การสร้างเส้นทางคมนาคม เป็นต้น

3 เป็นเครื่องมือในการรักษาเสถียรภาพของราคาสินค้าและบริการ รัฐบาลจะใช้รัฐวิสาหกิจ บางประเภทเป็นเครื่องมือในการรักษาเสถียรภาพของราคาสินค้าและบริการบางอย่างในกรณีที่ราคาสินค้าต่าง ๆ มีราคาสูงขึ้น ซึ่งจะทําให้ผู้บริโภคเดือดร้อน

4 เพื่อประโยชน์ในด้านการคลังและเสริมรายได้ให้แก่รัฐ รัฐวิสาหกิจเป็นกลไกที่สําคัญ ในการรักษาเสถียรภาพด้านการเงินการคลังของประเทศ โดยรัฐบาลใช้รัฐวิสาหกิจเป็นเครื่องมือในการกํากับ ฐานะดุลการคลังโดยรวมของภาครัฐด้วยการกํากับการเบิกจ่ายลงทุนของรัฐวิสากิจให้สอดคล้องกับรายได้ที่สามารถ จัดหาได้เพื่อให้มีฐานะดุลงบประมาณที่เหมาะสมกับเป้าหมายในการรักษาเสถียรภาพด้านการคลังของประเทศ

POL3328 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ s/2561

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3328 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยจํานวน 2 ข้อ ให้นักศึกษาทําทุกข้อ

ข้อ 1 จงอธิบายสถานการณ์ของมุมมองทรัพยากรมนุษย์ระดับมหภาค (Macro) ในสังคมไทย ทั้งในด้านคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาและการพัฒนาศักยภาพของคนไทย จะสามารถช่วยยกระดับให้เป็น ทุนมนุษย์ (Human Capital) จนนําไปสู่การเตรียมความพร้อมเป็น Knowledge Worker ได้อย่างไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษามา 1 กรณีให้เข้าใจโดยละเอียด (50 คะแนน)

แนวคําตอบ

สถานการณ์ของมุมมองทรัพยากรมนุษย์ระดับมหภาค (Macro) ในสังคมไทย

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) ได้ประเมินสถานการณ์ ด้านทรัพยากรมนุษย์ระดับมหภาคในสังคมไทยไว้ดังนี้

1 โครงสร้างประชากรไทยเปลี่ยนแบลงเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์เมื่อสิ้นสุดแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ในขณะที่จํานวนประชากรวัยแรงงานได้เริ่มลดลงมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนแรงงาน ในภาวะที่ผลิตภาพแรงงานยังต่ำ

2 คุณภาพคนยังมีปัญหาในทุกช่วงวัยและส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงกันตลอดช่วงชีวิต ตั้งแต่พัฒนาการไม่สมวัยในเด็กปฐมวัย ผลลัพธ์ทางการศึกษาของเด็กวัยเรียนค่อนข้างต่ํา แรงงานมีปัญหาทั้งในเรื่อง ความรู้และทักษะที่ไม่ตรงกับความต้องการของตลาดงาน และผู้สูงอายุมีปัญหาสุขภาพและมีแนวโน้มอยู่คนเดียว มากขึ้น

3 ครอบครัวพ่อ แม่เลี้ยงเดี่ยวและครอบครัวข้ามรุ่นมีความเปราะบางสูงส่งผลต่อการเลี้ยงดู เด็กให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ

4 คุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ของคนไทยยังอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ

5 คนไทยมีแนวโน้มเป็นโรคไม่ติดต่อมากขึ้นซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิต

6 คนไทยส่วนใหญ่ยังมีปัญหาด้านคุณธรรมจริยธรรม และไม่ตระหนักถึงความสําคัญของ การมีวินัย ความซื่อสัตย์สุจริต และการมีจิตสาธารณะ

จากสถานการณ์ดังกล่าว แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ได้กําหนดจุดเน้นในการพัฒนาศักยภาพ ของคนไทยในทุกมิติ เละในทุกช่วงวัยให้เป็นทุนมนุษย์ (Human Capital) ที่มีศักยภาพสูง และเตรียมพร้อมเป็น Knowledge Worker โดยจุดเน้นในการพัฒนาศักยภาพคน มีดังนี้

1 พัฒนากลุ่มเด็กปฐมวัยให้มีสุขภาพกายและใจที่ดี มีทักษะทางสมอง ทักษะการเรียนรู้ ทักษะชีวิตและทักษะทางสังคม เพื่อให้เด็บโตอย่างมีคุณภาพ

2 หล่อหลอมให้คนไทยมีค่านิยมตามบรรทัดฐานที่ดีทางสังคม คนไทยทุกช่วงวัยเป็นคนดี มีสุขภาวะที่ดี มีคุณธรรมจริยธรรม มีระเบียบวินัย มีจิตสํานึกที่ดีต่อสังคมส่วนรวม

3 พัฒนาทักษะความรู้ความสามารถของคน มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะที่เหมาะสมในแต่ละ ช่วงวัยเพื่อวางรากฐานให้เป็นคนที่มีคุณภาพในอนาคต การพัฒนาทักษะสอดคล้องกับความต้องการในตลาดแรงงาน และทักษะที่จําเป็นต่อการดํารงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ของคนในแต่ละช่วงวัยตามความเหมาะสม เช่น เด็กวัยเรียนและวัยรุ่นพัฒนาทักษะการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ มีความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งการให้ความสําคัญกับการพัฒนา ให้มีความพร้อมในการต่อยอดพัฒนาทักษะในทุกด้าน มีทักษะการทํางานและการใช้ชีวิตที่พร้อมเข้าสู่ตลาดงาน วัยแรงงานเน้นการสร้างความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพที่สอดคล้องกับตลาดงานทั้งทักษะขั้นพื้นฐาน ทักษะเฉพาะในวิชาชีพ ทักษะการเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ ทักษะการประกอบอาชีพอิสระ วัยสูงอายุเน้น พัฒนาทักษะที่เอื้อต่อการประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับวัยและประสบการณ์

4 เตรียมความพร้อมของกําลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในกลุ่มวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนแปลงโลกในอนาคต

5 ยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศในทุกระดับและยกระดับการเรียนรู้ โดย เน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก ปรับระบบการจัดการเรียน การสอน และการพัฒนาคุณภาพครูทั้งระบบ รวมทั้งการยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศในสาขาวิชา ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และพัฒนาระบบทวิภาคีหรือสหกิจศึกษาให้เอื้อต่อการเตรียมคนที่มีทักษะให้พร้อม เข้าสู่ตลาดแรงงาน นอกจากนี้ต้องให้ความสําคัญกับการสร้างปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทั้งสื่อการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย

6 สร้างเสริมให้คนมีสุขภาพดี เน้นการบรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางสุขภาพและการลด ปัจจัยเสี่ยงด้านสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อสุขภาพ โดยให้ความสําคัญกับการพัฒนาความรู้ในการดูแลสุขภาพ การพัฒนารูปแบบการออกกําลังกายและโภชนาการที่เหมาะสมกับแต่ละช่วงวัย การใช้มาตรการทางกฎหมาย และภาษีในการควบคุมและส่งเสริมอาหารและผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ การสร้างกลไกในการจัดทํา นโยบายสาธารณะที่ต้องคํานึงถึงผลกระทบต่อสุขภาพที่จะนําไปสู่การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี

นอกจากนี้ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ได้กําหนดแนวทางในการพัฒนาศักยภาพคนให้เป็นทุนมนุษย์ และเตรียมความพร้อมเป็น Knowledge Worker ดังนี้

1 ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีการพัฒนาทักษะทางสมองและทักษะทางสังคมที่เหมาะสม เช่น

– ให้ความรู้แก่พ่อแม่หรือผู้ดูแลเด็กในเรื่องการมีโภชนาการที่เหมาะสม วิธีการ เลี้ยงดูเด็กที่จะกระตุ้นพัฒนาการเด็ก

– พัฒนาหลักสูตรการสอนที่วิ่งผลงานวิจัยทางวิชาการและปรับปรุงสถานพัฒนา เด็กปฐมวัยให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่เน้นการพัฒนาทักษะสําคัญด้านต่าง ๆ เช่น ทักษะทางสมอง ทักษะด้าน ความคิดความจํา ทักษะการควบคุมอารมณ์ ทักษะการวางแผนและการจัดระบบ เป็นต้น

– ผลักดันให้มีกฎหมายการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้ครอบคลุมทั้งการพัฒนาทักษะ การเรียนรู้เน้นการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ระบบการศึกษา การพัฒนาสุขภาพอนามัยให้มีพัฒนาการที่สมวัย และการเตรียมทักษะการอยู่ในสังคมให้มีพัฒนาการอย่างรอบด้าน

2 พัฒนาเด็กวัยเรียนและวัยรุ่นให้มีทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ มีความคิด สร้างสรรค์ มีทักษะการทํางานและการใช้ชีวิตที่พร้อมเข้าสู่ตลาดงาน เช่น

– ปรับกระบวนการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เด็กมีการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงสอดคล้อง กับพัฒนาการของสมองแต่ละช่วงวัย เน้นพัฒนาทักษะพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ด้านวิศวกรรมศาสตร์ ด้านคณิตศาสตร์ ด้านศิลปะ และด้านภาษาต่างประเทศ

– สร้างแรงจูงใจให้เด็กเข้าสู่การศึกษาในระบบทวิภาคีและสหกิจศึกษาที่มุ่งการฝึก ทักษะอาชีพให้พร้อมเข้าสู่ตลาดงาน

3 ส่งเสริมแรงงานให้มีความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพที่เป็นไปตามความต้องการ ของตลาดงาน เช่น

– พัฒนาศูนย์ฝึกอบรมสมรรถนะแรงงานที่ได้มาตรฐานตามระบบคุณวุฒิวิชาชีพ และมาตรฐานฝีมือแรงงาน จัดทํามาตรฐานอาชีพในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีศักยภาพ และให้มีการประเมิน ระดับทักษะของแรงงานบนฐานสมรรถนะ

4 พัฒนาศักยภาพของกลุ่มผู้สูงอายุวัยต้นให้สามารถเข้าสู่ตลาดงานเพิ่มขึ้น เช่น

– จัดทําหลักสูตรพัฒนาทักษะในการประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับวัย สมรรถนะ ทางกาย ลักษณะงาน และส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในการทํางานร่วมกันระหว่างรุ่น

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจุดเน้นและแนวทางในการพัฒนาศักยภาพคนดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่า แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ได้เน้นการพัฒนาศักยภาพของคนไทยตั้งแต่เด็กให้มีทักษะความรู้และ ความสามารถพร้อมที่จะเป็น Knowledge Worker เมื่อเข้าสู่วัยแรงงานโดยใช้การศึกษาเป็นสําคัญ ซึ่งการศึกษา ถือเป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาศักยภาพคนที่ทุกประเทศต่างก็ให้ความสําคัญ ตัวอย่างเช่น ประเทศสิงคโปร์ ได้กําหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาศักยภาพคนโดยใช้การศึกษาเป็นยุทธศาสตร์หลัก โดยกําหนดวิสัยทัศน์ ในการพัฒนาศักยภาพคนว่า “โรงเรียนนักคิด ชาติแห่งการเรียนรู้” ซึ่งผู้นําประเทศสิงคโปร์มีความเชื่อมั่นว่า ระบบการศึกษาที่มีประสิทธิภาพจะเป็นกลไกสําคัญในการพัฒนาศักยภาพของประชากรอันจะนําไปสู่การพัฒนา คุณภาพชีวิตและการพัฒนาประเทศโดยรวม

การดําเนินยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพคนของประเทศสิงคโปร์โดยใช้การปฏิรูปการศึกษา ควบคู่กับการปฏิรูปด้านอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการวิจัยและพัฒนา ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านความเป็นนานาชาติ ส่งผลให้ประเทศสิงคโปร์ประสบความสําเร็จด้านศักยภาพของคนเป็นอย่างมาก โดยประเทศสิงคโปร์ได้อันดับขีดความสามารถในการแข่งขันในอันดับต้น ๆ จากการจัดอันดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของ UNDP และอันดับความสามารถในการแข่งขันด้านศักยภาพของมนุษย์ของ IMD

ข้อ 2 ให้นักศึกษาทําให้ครบทุกข้อ

2.1 อธิบายคําว่า “คนไทย 4.0” ว่าสะท้อนเรื่องอะไรบ้าง และยกตัวอย่างประกอบมาให้เข้าใจ

แนวคําตอบ

คนไทย 4.0 เป็นแนวคิดในการพัฒนาคนไทยภายใต้นโยบาย Thailand 4.0 เพื่อให้คนไทย เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในศตวรรษที่ 21 และเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่ประเทศโลกที่หนึ่ง

คนไทยเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในศตวรรษที่ 21 คือ คนไทยที่มีปัญญาที่เฉียบแหลม (Head) มีทักษะที่เห็นผล (Hand) มีสุขภาพที่แข็งแรง (Health) และมีจิตใจที่งดงาม (Heart) ซึ่งการปรับเปลี่ยนให้คนไทย เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์จะครอบคลุมการปรับเปลี่ยนใน 4 มิติ ดังนี้

1 เปลี่ยนจากคนไทยที่มีความรู้ความสามารถและทักษะที่จํากัด เป็นคนไทยที่มีความรู้และทักษะสูง มีความสามารถในการรังสรรค์นวัตกรรม

2 เปลี่ยนจากคนไทยที่มองเน้นประโยชน์ส่วนตน เป็นคนไทยที่มีจิตสาธารณะ และมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม

เปลี่ยนจากคนไทยแบบ Thai-Thai เป็นคนไทยแบบ Global Thai มีความภาคภูมิใจ ” ในความเป็นไทยและสามารถยืนอย่างมีศักดิ์ศรีในเวทีสากล

4 เปลี่ยนจากคนไทยที่เป็น Analog Thai เป็นคนไทยที่เป็น Digital Thai สามารถดํารงชีวิต เรียนรู้ทํางาน และประกอบธุรกิจได้อย่างเป็นปกติสุขในโลกยุคดิจิตอล

โดยเริ่มจากการเสริมสร้างให้เกิดการเจริญเติบโตในตัวคน (Growth for People) ผ่านการสร้างสังคมแห่งโอกาสเพื่อเติมเต็มศักยภาพ เมื่อคนเหล่านี้ได้รับการเติมเต็มศักยภาพอย่างเต็มที่จะกลายเป็นตัวหลักในการขับเคลื่อนการเจริญเติบโต (People for Growth) และนําพาประเทศสู่ความมั่งคั่ง มั่นคง และ ยังยืนอย่างแท้จริง

แนวคิดการเสริมสร้างให้เกิด Growth for People และ People for Growth นําไปสู่ . การปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้ของคนไทยทั้งระบบ ดังนี้

1 ปรับเปลี่ยนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างแรงบันดาลใจ มีความมุ่งมั่น เพื่อให้มีชีวิตอยู่ อย่างมีพลังและมีความหมาย เช่น

– ปรับเปลี่ยนจากการเรียนแบบเฉื่อยชาเป็นการเรียนด้วยความกระตือรือร้น

– ปรับเปลี่ยนจากการเรียนตามภาคบังคับเป็นการเรียนที่เกิดจากความอยากรู้ อยากทํา และอยากเป็น

2 ปรับเปลี่ยนการเรียนรู้เพื่อบ่มเพาะความคิดสร้างสรรค์ และความสามารถในการรังสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ เช่น

– ปรับเปลี่ยนฉากการเรียนรู้ในห้องเรียน ในโรงเรียน และในระบบเป็นการเรียนรู้นอกห้องเรียน นอกโรงเรียน และนอกระบบ

– ปรับเปลี่ยนจากการคิดในกรอบเป็นการคิดนยกกรอบ

3 ปรับเปลี่ยนการเรียนรู้เพื่อปลูกฝังจิตสาธารณะ ยึดประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง เช่น

– ปรับเปลี่ยนจากการเน้นผลประโยชน์ร่วมเป็นการเน้นสร้างคุณค่าร่วม

– ปรับเปลี่ยนจากการมุ่งเน้นความคิดสร้างสรรค์รายบุคคลเป็นการมุ่งเน้นการระดมความคิดสร้างสรรค์แบบกลุ่ม

4 การปรับเปลี่ยนการเรียนรู้เพื่อมุ่งการทํางานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ เช่น

– ปรับเปลี่ยนจากการเรียนโดยเน้นทฤษฎีเป็นการเรียนที่เน้นการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา

– ปรับเปลี่ยนจากการเรียนแบบฟังบรรยายเป็นการทําโครงงานและแก้ปัญหาโจทย์ในรูปแบบต่าง ๆ

– ปรับเปลี่ยนจากการเรียนเพื่อวุฒิการศึกษาเป็นการเรียนเพื่อการประกอบอาชีพ

การพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในศตวรรษที่ 21 และการตระเตรียมคนไทย 4.0 เพื่อก้าวเข้าสู่ประเทศโลกที่หนึ่งผ่าน 4 กระบวนการเรียนรู้ดังกล่าวจะเป็นหัวใจสําคัญในการเปลี่ยนผ่านสังคมไทย ไปสู่ “สังคมไทย 4.0” นั้นคือ สังคมที่มีความหวัง (Hope) สังคมที่เปี่ยมสุข (Happiness) และสังคมที่มีความ สมานฉันท์ (Harmony) ในที่สุด

2.2 อธิบายคําว่า “STEM Education” ว่าสะท้อนเรื่องอะไรบ้าง และยกตัวอย่างประกอบมาให้เข้าใจ (10 คะแนน)

แนวคําตอบ

คําว่า “STEM” หรือ “สะเต็ม” เป็นคําย่อมาจากภาษาอังกฤษของศาสตร์ 4 สาขาวิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) หมายถึง องค์ความรู้วิชาการของศาสตร์ทั้งสีที่มีความเชื่อมโยงกันในโลกของความเป็นจริง ที่ต้องอาศัยองค์ความรู้ต่าง ๆ มาบูรณาการเข้าด้วยกันในการดําเนินชีวิตและการทํางาน “STEM” หรือ “สะเต็ม” ถูกใช้ครั้งแรกโดยสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (the National Science Foundation : NSF) ซึ่งใช้คํานี้เพื่ออ้างถึงโครงการหรือโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ อย่างไรก็ตามสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกาไม่ได้ ให้นิยามที่ชัดเจนของคําว่า STEM มีผลให้มีการใช้และให้ความหมายของคํานี้แตกต่างกันไป (Hanover Research 2011, p.5) เช่น มีการใช้คําว่า STEM ในการอ้างอิงถึงกลุ่มอาชีพที่มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์

สําหรับประเทศไทย “STEAM Education” หรือ “สะเต็มศึกษา” เป็นแนวทางการจัดการศึกษา ที่บูรณาการความรู้ใน 4 สาขาวิชา ได้แก่ ทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ มาใช้แก้ปัญหา ที่พบเห็นในชีวิตจริง เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ ทักษะชีวิต ความคิดสร้างสรรค์ และเป็นการเตรียมความพร้อม ให้กับนักเรียนในการปฏิบัติงานที่ต้องใช้องค์ความรู้และทักษะกระบวนการด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และ เทคโนโลยี รวมทั้งนําไปสู่การสร้างนวัตกรรมในอนาคต

การจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ STEM Education เป็นการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมหรือโครงงาน ที่บูรณาการการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี ผนวกกับแนวคิดการออกแบบเชิงวิศวกรรม โดยนักเรียน จะได้ทํากิจกรรมเพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจและฝึกทักษะด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี และ ได้นําความรู้มาออกแบบชิ้นงานหรือวิธีการ เพื่อตอบสนองความต้องการหรือแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจําวัน เพื่อให้ได้เทคโนโลยีซึ่งเป็นผลผลิตจากกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม

การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางของ STEM Education มีลักษณะ 5 ประการ คือ

1 เป็นการสอนที่เน้นการบูรณาการ

2 ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาวิชาทั้ง 4 กับชีวิตประจําวันและการประกอบอาชีพ

3 เน้นการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21

4 ท้าทายความคิดของนักเรียน

5 เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นและความเข้าใจที่สอดคล้องกับเนื้อหาวิชาทั้ง 4

ดังนั้น STEM Education จึงเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ไม่เน้นการท่องจําทฤษฎีหรือกฎทาง วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ แต่ให้ความสําคัญกับการทําความเข้าใจเนื้อหาวิชาผ่านการปฏิบัติจริงควบคู่กับ การพัฒนาทักษะการคิด การตั้งคําถาม การแก้ปัญหา การหาข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียน สามารถนําความรู้มาใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งพัฒนากระบวนการและสร้างสรรค์นวัตกรรมที่จะเป็นประโยชน์ ต่อการดําเนินชีวิตและการทํางาน

2.3 การเข้าสู่ Thailand 4.0 กับแนวคิด ทักษะในศตวรรษที่ 21 จะมีความเกี่ยวข้องกับ Knowledge Worker อย่างไรบ้าง และจะส่งผลต่อการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ หรือไม่ อย่างไร จงอธิบายมาเป็นประเด็น ๆ ให้เข้าใจ

แนวคําตอบ

Thailand 4.0

ในอดีตที่ผ่านมาประเทศไทยมีการปรับเปลี่ยนโมเดลเศรษฐกิจมาหลายครั้ง โดยเริ่มจาก Thailand 1.0 ที่เน้นภาคเกษตรกรรม ปสู่ Thailand 2.0 ที่เน้นอุตสาหกรรมเบา และ Thailand 3.0 ที่เน้น อุตสาหกรรมหนัก อย่างไรก็ตามแม้ Thailand 3.0 จะทําให้เศรษฐกิจของประเทศไทยเติบโตเพิ่มขึ้น แต่ก็ต้อง เผชิญกับ “กับดักประเทศรายได้ปานกลาง” “กับดักความเหลื่อมล้ำของความมั่งคั่ง” และ “กับดักความไม่สมดุล ในการพัฒนา” ซึ่งกับดักเหล่านี้เป็นประเด็นท้าทายของประเทศไทยในปัจจุบันและนําไปสู่การปฏิรูปโครงสร้าง เศรษฐกิจเพื่อก้าวข้าม Thailand 3.0 ไปสู่ Thailand 4.0 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประเทศไทยหลุดพ้นจาก 3 กับดักดังกล่าว พร้อม ๆ กับเปลี่ยนผ่านประเทศไทยไปสู่ “ประเทศในโลกที่หนึ่ง” ที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ในบริบทของการปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคที่ 4 อย่างเป็นรูปธรรมตามแนวทางที่แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีได้วางไว้ ด้วยการสร้างความเข้มแข็งจากภายในควบคู่ไปกับการเชื่อมโยงกับประชาคมโลาตามแนวคิด “ปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง” โดยขับเคลื่อนผ่านกลไก “ประชารัฐ”

Thailand 4.0 เป็นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ “Value-Based Economy” หรือ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” ใน 3 มิติสําคัญ คือ

1 เปลี่ยนจากการผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ ไปสู่สินค้าเชิงนวัตกรรม

2 เปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้า ไปสู่การเน้นภาคบริการมากขึ้น

3 เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม

ดังนั้น ภายใต้ Thailand 4.0 นี้ แรงงานจึงถือเป็นองค์ประกอบสําคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วย ขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศให้ก้าวเข้าสู่ Thailand 4.0 โดยเฉพาะ Knowledge Worker หรือแรงงานที่มี ความรู้ ทักษะ และความเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม

ทักษะในศตวรรษที่ 21

ทักษะในศตวรรษที่ 21 (21 Century Skills) เป็นทักษะที่จําเป็นสําหรับ Knowledge Worker ในการทํางาน รวมทั้งการปรับตัวเพื่อดํารงชีวิตอย่างมีคุณภาพในยุคศตวรรษที่ 21 ซึ่งประกอบด้วย 3 ด้านหลัก ๆ ที่สําคัญ คือ

1 ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ได้แก่

– การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving)

– การสื่อสารและความร่วมมือ (Communication and Collaboration)

– ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creativity and Innovation)

2 ทักษะชีวิตและงานอาชีพ ได้แก่

– ความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัว (Flexibility and Adaptability)

– การริเริ่มสร้างสรรค์และกํากับดูแลตนเองได้ (Initiative and Self-Direction)

– ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม (Social and Cross-Cultural Interaction)

– การเป็นผู้สร้างผลงานหรือผลผลิตและความรับผิดชอบเชื่อถือได้ (Productivity and Accountability)

– ภาวะผู้นําและความรับผิดชอบ (Leadership and Responsibility)

3 ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี ได้แก่

– การรู้เท่าทันสารสนเทศ (Information Literacy)

– การรู้เท่าทันสื่อ (Media Literacy)

– การรู้ทันเทคโนโลยี (ICT : Information, Communication and Technology Literacy) การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ

การเข้าสู่ Thailand 4.0 กับแนวคิดทักษะในศตวรรษที่ 21 ส่งผลให้ภาครัฐต้องมีการวางแผน ทรัพยากรมนุษย์ให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว โดยภาครัฐต้องมีการคาดการณ์ความต้องการใช้ทรัพยากร มนุษย์ขององค์การไว้ล่วงหน้าว่าต้องการบุคคลที่มีคุณสมบัติอย่างไร ระดับใด จํานวนเท่าใด เมื่อใด ด้วยวิธีการใด ต้องพัฒนาบุคคลในองค์การให้มีทักษะ ความรู้ความสามารถอย่างไร จะควบคุมจํานวนทรัพยากรบุคคลในองค์การ ให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับการดําเนินงานขององค์การได้อย่างไร รวมทั้งจะกําหนดนโยบายและระเบียบ ปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อจะใช้ทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้อย่างไร

 

POL4100 หลักและวิธีการวิจัยทางรัฐศาสตร์ s/2561

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 4100 หลักและวิธีการวิจัยทางรัฐศาสตร์

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 ข้อใดไม่ใช่จุดมุ่งหมายของการตั้งปัญหาในการวิจัย

(1) เพื่อบรรยาย

(2) เพื่ออธิบาย

(3) เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น

(4) เพื่อการทํานาย

(5) เป็นจุดมุ่งหมายทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 94 95 จุดมุ่งหมายของการตั้งปัญหาในการวิจัย มีดังนี้

1 เพื่อบุกเบิกหรือรวบรวมแหล่งความรู้

2 เพื่อบรรยาย

  1. เพื่ออธิบาย

4 เพื่อทํานายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

2 ข้อใดไม่ใช่หลักเกณฑ์ในการเลือกหัวข้อของการวิจัย

(1) ความเป็นไปได้

(2) ความน่าสนใจและทันต่อเหตุการณ์

(3) ความสนใจของผู้วิจัย

(4) ความยากง่ายในการศึกษา

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 96 – 97 หลักเกณฑ์ในการเลือกหัวข้อของการวิจัย มีดังนี้

1 ความสําคัญของปัญหา

2 ความเป็นไปได้

3 ความน่าสนใจและทันต่อเหตุการณ์

4 ความสนใจของผู้ที่จะวิจัย

5 ความสามารถที่จะทําให้บรรลุผล

3 ลักษณะของปัญหาที่ต้องใช้ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในสถานการณ์นั้น ๆ มากําหนดความสัมพันธ์ เรียกว่าปัญหา ประเภทใด

(1) ปัญหาเชิงวิเคราะห์

(2) ปัญหาเชิงประจักษ์

(3) ปัญหาเชิงปทัสถาน

(4) ปัญหาเชิงสังเคราะห์

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 97 ปัญหาเชิงประจักษ์ (Empirical Problems) คือ ลักษณะของปัญหาที่ต้องใช้ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในสถานการณ์นั้น ๆ มากําหนดความสัมพันธ์

4 ลักษณะของปัญหาที่ต้องใช้ความคิด ความรู้ในเชิงวิชาการมาประมวลเป็นข้อสรุปหรือกฎ หรืออ้างอิงจากแนวคิดทฤษฎี หรือนักวิชาการ เรียกว่าปัญหาประเภทใด

(1) ปัญหาเชิงวิเคราะห์

(2) ปัญหาเชิงประจักษ์

(3) ปัญหาเชิงปทัสถาน

(4) ปัญหาเชิงสังเคราะห์

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 97, (คําบรรยาย) ปัญหาเชิงปทัสถาน (Normative Problems) คือ ลักษณะของปัญหาที่ต้องใช้ความคิด ความรู้เชิงวิชาการมาประมวลเป็นข้อสรุปหรือกฎ หรือใช้การอ้างอิงจากตําราวิชาการ แนวคิดทฤษฎี หรือนักวิชาการ ตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิ มายืนยันและตรวจสอบความถูกต้อง

5 วัตถุประสงค์ในการวิจัย “เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างภูมิหลังของบุคคลกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง” เป็นวัตถุประสงค์ประเภทใด

(1) วัตถุประสงค์เชิงพรรณนา

(2) วัตถุประสงค์เชิงอธิบาย

(3) วัตถุประสงค์เชิงทํานาย

(4) วัตถุประสงค์เชิงเปรียบเทียบ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 99 – 100, (คําบรรยาย) การกําหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย มีดังนี้

1 วัตถุประสงค์เชิงพรรณนา เช่น เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดนนทบุรี เป็นต้น

2 วัตถุประสงค์เชิงเปรียบเทียบ เช่น เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างภูมิหลังของบุคคลกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง เป็นต้น

6 การมีส่วนร่วมทางการเมืองในวัตถุประสงค์ข้างต้น เป็นตัวแปรประเภทใด

(1) ตัวแปรอิสระ

(2) ตัวแปรแทรกซ้อน

(3) ตัวแปรต้น

(4) ตัวแปรตาม

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 110 – 111, (คําบรรยาย) ตัวแปรที่กําหนดความสัมพันธ์โดยตรง แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1 ตัวแปรอิสระ (Independent Variable) หรือตัวแปรต้น เป็นตัวแปรที่เป็นสาเหตุหรือเป็นความสัมพันธ์ตั้งต้นที่ก่อให้เกิดผล เป็นสาเหตุที่ทําให้เกิดตัวแปรตาม มักจะใช้สัญลักษณ์แทน เป็นตัวอักษร X เช่น ระดับการศึกษาที่ส่งผลต่อการตัดสินใจลงคะแนน, ภูมิหลังของบุคคล,การอยู่อาศัยในท้องถิ่น เป็นต้น

2 ตัวแปรตาม (Dependent Variable) เป็นตัวแปรที่เป็นผลหรือเปลี่ยนแปลงตามอิทธิพลของตัวแปรอื่น มักจะใช้สัญลักษณ์แทนเป็นตัวอักษร Y เช่น ผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง ภูมิประเทศ, การมีส่วนร่วมทางการเมือง, ความพึงพอใจในการทํางาน, ประสิทธิผลในการทํางาน เป็นต้น

7 ข้อใดเป็นวัตถุประสงค์เชิงพรรณนา

(1) เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างภูมิหลังของบุคคลกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง

(2) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดนนทบุรี

(3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ของประชาชนกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง

(4) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 5 ประกอบ

8 กระบวนการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่เป็นนามธรรมในการศึกษากับสิ่งที่เป็นรูปธรรมที่สังเกตได้ ได้แก่

(1) กรอบแนวความคิด

(2) มาตรวัด

(3) ตัวบ่งชี้เชิงประจักษ์

(4) นิยามความหมาย

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 101, (คําบรรยาย) มาตรวัด (Measurement) คือ กระบวนการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่เป็นนามธรรมในการศึกษากับสิ่งที่เป็นรูปธรรมที่สังเกตได้

9 วิธีการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ที่เป็นระบบ มีเหตุมีผลและเป็นวัตถุวิสัย เพื่อที่จะบรรยาย อธิบายหรือทํานายปรากฏการณ์ที่สามารถสังเกตเห็นได้ เรียกวิธีการนั้นว่าอะไร

(1) ทฤษฎี

(2) สมมุติฐาน

(3) ศาสตร์

(4) องค์ความรู้

(5) กรอบแนวคิด

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ศาสตร์ หมายถึง วิธีการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ที่เป็นระบบ มีเหตุมีผลและเป็นวัตถุวิสัย (Objectivity) เพื่อที่จะบรรยาย อธิบาย และทํานายปรากฏการณ์ที่สามารถสังเกตเห็นได้

10 ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตามกรอบของทฤษฎีที่ผู้วิจัยคาดว่าจะเกิดขึ้นและรอการพิสูจน์ เรียกว่าอะไร

(1) ตัวแปรตาม

(2) สมมุติฐาน

(3) ศาสตร์

(4) องค์ความรู้

(5) การอบแนวคิด

ตอบ 2 หน้า 108 สมมุติฐาน (Hypothesis) คือ ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตามกรอบของทฤษฎีที่ผู้วิจัยคาดว่าจะเกิดขึ้น และรอการพิสูจน์ต่อไป

11 ภูมิหลังของประชากร ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ การศึกษา เรียกว่าตัวแปรประเภทใด

(1) ตัวแปรเชิงพัฒนา

(2) ตัวแปรมาตรฐาน

(3) ตัวแปรหลัก

(4) ตัวแปรองค์ประกอบ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 109 ตัวแปรมาตรฐาน คือ ตัวแปรที่จําเป็นต้องมีในการวิจัยทุก ๆ เรื่อง ได้แก่ คุณสมบัติของสิ่งที่ศึกษา เช่น ภูมิหลังของประชากร ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ การศึกษา เป็นต้น

12 ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรซึ่งเมื่อตัวแปรตัวหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปทําให้ตัวแปรอีกตัวหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วยในลักษณะคงที่ เรียกความสัมพันธ์นั้นว่าอย่างไร

(1) ความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล

(2) ความสัมพันธ์เชิงซ้อน

(3) ความสัมพันธ์เชิงเส้นตรง

(4) ความสัมพันธ์เชิงตอบโต้

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 114 ความสัมพันธ์เชิงเส้นตรง คือ ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรซึ่งเมื่อตัวแปรหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปจะทําให้ตัวแปรอีกตัวหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วยในลักษณะคงที่ เช่น ปริมาณที่ขายสินค้ากับรายได้ เป็นต้น

13 ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัว ที่มีทิศทางของความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันโดยไม่ทราบสําดับก่อนหลังของตัวแปร เรียกความสัมพันธ์นั้นว่าอย่างไร

(1) ความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล

(2) ความสัมพันธ์เชิงซ้อน

(3) ความสัมพันธ์เชิงเส้นตรง

(4) ความสัมพันธ์เชิงตอบโต้

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 114 ความสัมพันธ์เชิงตอบโต้ คือ ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัว ที่มีทิศทางของความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันโดยไม่ทราบลําดับก่อนหลังของตัวแปร

14 ตัวแปรที่พิสูจน์ได้ว่ามีความสัมพันธ์กันโดยทราบลําดับก่อนหลังและพิสูจน์ได้ว่าไม่มีสิ่งใดมาแทรกซ้อน เรียกความสัมพันธ์นั้นว่าอย่างไร

(1) ความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล

(2) ความสัมพันธ์เชิงซ้อน

(3) ความสัมพันธ์เชิงเส้นตรง

(4) ความสัมพันธ์เชิงตอบโต้

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 115 – 116, (คําบรรยาย) ความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล คือ ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัว โดยที่ตัวแปรสาเหตุ (x) จะต้องเกิดก่อนตัวแปรที่เป็นผล (Y) นั่นคือ ความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวแปรที่พิสูจน์ได้ว่ามีความสัมพันธ์กันโดยทราบลําดับก่อนหลังและพิสูจน์ได้ว่าไม่มีสิ่งใดมาแทรกซ้อน

15 ข้อใดเป็นสิ่งจําเป็นในการสร้างมาตรวัด

(1) นิยามปฏิบัติการ

(2) ข้อคําถาม (

3) ตัวแปร

(4) ดัชนีชี้วัด

ตอบ 5 หน้า 128, (คําบรรยาย) สิ่งจําเป็นในการสร้างมาตรวัด คือ การกําหนดนิยามปฏิบัติการของตัวแปรและตัวชี้วัดหรือดัชนีชี้วัดที่สัมพันธ์กัน ต่อจากนั้นจึงกําหนดข้อคําถามที่ตรงกับตัวชี้วัดก็จะได้มาตรวัดตัวแปรตามที่ต้องการ

16 เพศ เป็นการวัดระดับใด

(1) Nominal Scale

(2) Ordinal Scale

(3) Interval Scale

(4) Ratio Scale

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 129, (คําบรรยาย) Nominal Scale เป็นวิธีการวัดที่ง่ายที่สุด เพียงแต่การกําหนดเกณฑ์แบ่งแยกประชากรที่ศึกษาออกเป็นกลุ่ม แล้วตั้งชื่อให้แต่ละกลุ่มที่มีคุณสมบัติเหมือนกันให้อยู่ใน กลุ่มเดียวกัน ตัวเลขหรือสัญลักษณ์เป็นเพียงแต่ซื้อไม่สามารถเอามาคํานวณทางเลขคณิตได้ เช่น เพศ สถานภาพการสมรส ภูมิลําเนา อาชีพ เป็นต้น

17 อายุ เป็นการวัดระดับใด

(1) Nominal Scale

(2) Ordinal Scale

(3) Interval Scale

(4) Ratio Scale

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 129, (คําบรรยาย) Ratio Scale เป็นการวัดที่มีคุณสมบัติของมาตรวัดแบบช่วงทุกประการแต่มีคุณสมบัติเพิ่มเติมคือ มีจุดเริ่มต้นที่ศูนย์ที่แท้จริง เช่น อายุ น้ําหนัก ความสูง เงินเดือนรายได้ เป็นต้น

18 การศึกษา เป็นการวัดระดับใด

(1) Nominal Scale

(2) Ordinal Scale

(3) Interval Scale

(4) Ratio Scale

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 129, (คําบรรยาย) Ordinal Scale เหมือนกับการแบ่งกลุ่ม แต่สามารถจัดอันดับอัตราความแตกต่างระหว่างกันและกันได้ ซึ่งอาจใช้ข้อความว่า มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด ตัวเลขหรือสัญลักษณ์ที่แสดงไม่มีผลต่อการคํานวณ แต่จะบอกความสําคัญเท่านั้น ไม่สามารถบอกปริมาณและความแตกต่างได้ เช่น ระดับการศึกษา เกรด ความคิดเห็น ความพึงพอใจ เป็นต้น

19 จุดประสงค์ในการใช้สถิติ t-Test ใช้เพื่อทดสอบอะไร

(1) ทดสอบความแตกต่างระหว่างเจ้วแปรที่มี 2 กลุ่ม

(2) ทดสอบความแตกต่างระหว่างตัวแปรที่มีมากกว่า 2 กลุ่ม

(3) ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร

(4) ทดสอบปัจจัยที่มีอิทธิพลระหว่างตัวแปร

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 178, (คําบรรยาย) สถิติ t-Test ใช้เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างตัวแปรที่มี 2 กลุ่มโดยมีเงื่อนไขในการใช้คือ ต้องมีการแจกแจงแบบโค้งปกติ ข้อมูลของตัวแปรตามต้องมีระดับการวัดเป็น Interval Scale ขึ้นไป และใช้เพื่อทดสอบสมมติฐานความแตกต่างระหว่างตัวแปร

20 จุดประสงค์ในการใช้สถิติ F-Test ใช้เพื่อทดสอบอะไร

(1) ทดสอบความแตกต่างระหว่างตัวแปรที่มี 2 กลุ่ม

(2) ทดสอบความแตกต่างระหว่างตัวแปรที่มีมากกว่า 2 กลุ่ม

(3) ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร

(4) ทดสอบปัจจัยที่มีอิทธิพลระหว่างตัวแปร

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 178, (คําบรรยาย) สถิติ F-Test หรือ Oneway ANOVA ใช้เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างตัวแปรที่มีมากกว่า 2 กลุ่ม โดยมีเงื่อนไขในการใช้เหมือน t-Test แต่ไม่จําเป็นต้องมีการแจกแจงแบบโค้งปกติ

21 จุดประสงค์ในการใช้สถิติ Correlation ใช้เพื่อทดสอบอะไร

(1) ทดสอบความแตกต่างระหว่างตัวแปรที่มี 2 กลุ่ม

(2) ทดสอบความแตกต่างระหว่างตัวแปรที่มีมากกว่า 2 กลุ่ม

(3) ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร

(4) ทดสอบปัจจัยที่มีอิทธิพลระหว่างตัวแปร

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 179, (คําบรรยาย) สถิติ Correlation ใช้เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร โดยข้อมูลทั้งตัวแปรอิสระและตัวแปรตามต้องมีระดับการวัดเป็น Interval Scale แต่ไม่สามารถบอก ได้ว่าตัวใดเป็นเหตุหรือตัวใดเป็นผล ทราบแต่เพียงความสัมพันธ์ของตัวแปรและขนาดของความ สัมพันธ์เท่านั้น

22 Rating Scale เป็นมาตรวัดระดับใด

(1) Nominal Scale

(2) Ordinal Scale

(3) Interval Scale

(4) Ratio Scale

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 130, (คําบรรยาย) Rating Scale เป็นมาตรวัดระดับ Ordinal Scale ที่ใช้ในการกําหนดค่าคะแนนให้กับข้อคําถามที่ใช้วัดตัวแปรตาง ๆ โดยมีคะแนนแตกต่างกันตามลักษณะของตัวแปร เช่น 3 5 7 9 หรือ 11 ดังนั้นการใช้ Rating Scale ผู้ให้คะแนนควรมีความรู้ในการให้คะแนนเป็นอย่างดี

23 เทคนิคการทดสอบสหสัมพันธ์เฉลี่ยระหว่างข้อ เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) การทดสอบทฤษฎี

(2) การทดสอบความแม่นตรงของมาตรวัด

(3) การทดสอบความเชื่อถือได้ของมาตรวัด

(4) ไม่มีข้อใดถูก

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 3 หน้า 135 136, (คําบรรยาย) เทคนิคการทดสอบความเชื่อถือได้ของมาตรวัด มีดังนี้

1 เทคนิคการทดสอบ (Test-Retest)

2 เทคนิคการทดสอบ แบบแบ่งครึ่ง (Split-Hal)

3 เทคนิคการทดสอบคู่ขนาน (Parallel Form)

4 เทคนิคการทดสอบ สหสัมพันธ์เฉลี่ยระหว่างข้อ (Average Inter Correlation)

24 Content Validity เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) การทดสอบทฤษฎี

(2) การทดสอบความแม่นตรงของมาตรวัด

(3) การทดสอบความเชื่อถือได้ของมาตรวัด

(4) ไม่มีข้อใดถูก

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 2 หน้า 139, (คําบรรยาย) Zeller & Cammines ได้จําแนกความแม่นตรงของมาตรวัด ออกเป็น 3 ประเภท คือ

1 ความแม่นตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity)

2 ความแม่นตรงที่สัมพันธ์กับมาตรฐาน (Criterion-Related Validity)

3 ความแม่นตรงเชิงโครงสร้าง (Construct Validity)

25 ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับคุณภาพของเครื่องมือวัด

(1) การทดสอบทฤษฎี

(2) การทดสอบความแม่นตรงของมาตรวัด

(3) การทดสอบความเชื่อถือได้ของมาตรวัด

(4) การมีความหมายของการวัด

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 135 – 136, 130 – 140, (คําบรรยาย) คุณภาพของเครื่องมือวัด มีเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้

1 ความเชื่อถือได้ (Reliability)

2 ความแม่นตรง (validity)

3 ความเป็นปรนัย (Objectivity)

4 ความแม่นยํา (Precision)

5 ความไวในการแบ่งแยก (Sensibility)

6 การมีความหมายของการวัด (Meaningfulness)

7 การนําเครื่องมือนั้นไปปฏิบัติได้ง่าย (Practicality)

8 การมีประสิทธิภาพสูง (Efficiency)

26 ข้อใดไม่ถูกต้อง

(1) ตัวแปรที่มีความซับซ้อนอาจใช้ดัชนีหลาย ๆ อันประกอบกัน

(2) การสร้างมาตรวัดต้องทําความเข้าใจประเภทของตัวแปร และระดับการวัดของตัวแปร

(3) มาตรวัดระดับสูงสามารถลดระดับลงมาเป็นระดับต่ำได้

(4) มาตรวัดระดับต่ําสามารถยกระดับให้สูงได้

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 129, (คําบรรยาย) ข้อสังเกตที่สําคัญของมาตรวัด คือ มาตรวัดระดับสูงนั้นสามารถลดระดับลงมาแบบต่ําได้ แต่มาตรวัดระดับต่ําไม่สามารถยกระดับให้สูงขึ้นได้

27 ท่านสามารถใกล้ชิดกับเกย์ได้เพียงใด

1 นั่งใกล้ ๆ ได้

2 กินข้าวร่วมกันได้

3 อยู่บ้านเดียวกันได้

4 นอนห้องเดียวกันได้

 

เป็นมาตรวัดประเภทใด

(1) Likert Scale

(2) Guttman Scale

(3) Semantic Differential Scale

(4) Rating Scale

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 132 Guttman Scale เป็นคําตอบในมิติเดียว โดยแต่ละคําถามจะถูกการกลั่นกรองและเรียงลําดับ ข้อที่ได้คะแนนสูงกว่าจะมีการสะสมข้อที่ได้คะแนนน้อยกว่า ตัวอย่างเช่น

คําถาม : ท่านสามารถใกล้ชิดกับเกย์ได้มากน้อยเพียงใด

คําตอบ : 1 นั่งใกล้ ๆ ได้ 2 กินข้าวร่วมกันได้ 3 อยู่บ้านเดียวกันได้ 4 นอนห้องเดียวกันได้

ถ้าตอบข้อ 1 ท่านสามารถทําข้อ 1 ได้เพียงข้อเดียว

ถ้าตอบข้อ 2 ท่านสามารถทําทั้งข้อ 1 และ 2 ได้

ถ้าตอบข้อ 3 ท่านสามารถทําทั้งข้อ 1, 2 และ 3 ได้

ถ้าตอบข้อ 4 ท่านสามารถทําได้ทุกข้อ

28 ความรู้สึกต่อชีวิตปัจจุบันของท่านเป็นอย่างไร

ชีวิตไร้ค่า …………… ชีวิตมีค่า

สิ้นหวัง ……………… มีความหวัง

เป็นมาตรวัดประเภทใด

(1) Likert Scale

(2) Guttman Scale

(3) Semantic Differential Scale

(4) Rating Scale

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 132 133 Semantic Differential Scale เป็นมาตรวัดที่พัฒนาขึ้นโดย Osgood และคณะเพื่อศึกษามิติของความแตกต่างโดยมาจากการตัดสินคําศัพท์คู่ที่ตรงกันข้าม โดยแต่ละแนวคิดจะ ปรากฏอยู่ตรงกันข้าม ภายใต้คะแนน 7-11 และให้ผู้ตอบตัดสินแนวคิด โดยเลือกช่วงที่เหมาะสม กับความรู้สึกมากที่สุด

29 การเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร โดยกําหนดประเด็นที่ต้องการศึกษา และทําการค้นคว้าหาข้อมูลจากหลักฐานเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นการวิจัยประเภทใด

(1) Survey Research

(2) Documentary Research

(3) Field Research

(4) Experimental Research

(5) Descriptive Research

ตอบ 2 หน้า 27, (คําบรรยาย การวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) เป็นการวิจัยแบบหนึ่งที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ หรือสื่อข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต โดย กําหนดประเด็นที่ต้อะการศึกษา และทําการค้นคว้าหาข้อมูล ซึ่งต้องใช้ทักษะด้านการอ่านมาก ที่สุดในการศึกษา จากหลักฐานเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น หนังสือพิมพ์ เอกสารราชการ หนังสือ ตํารา คลิป YouTube รวมไปถึงหลักฐาน/เอกสารทางประวัติศาสตร์ โบราณวัตถุและ สิ่งปรักหักพัง ศิลาจารึก เป็นต้น

30 ผู้วิจัยสามารถควบคุมตัวแปรต่าง ๆ โดยวิธีกําหนดกลุ่มควบคุมและกลุ่มเปรียบเทียบเพื่อให้การวิจัยมีความเชื่อถือได้สูง เป็นการวิจัยประเภทใด

(1) Survey Research

(2) Documentary Research

(3) Field Research

(4) Experimental Research

(5) Descriptive Research

ตอบ 4 หน้า 27, (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยสามารถควบคุมสิ่งแวดล้อมและตัวแปรต่าง ๆ โดยวิธีกําหนดกลุ่มควบคุมและกลุ่มเปรียบเทียบ เพื่อให้การวิจัยมีความเชื่อถือได้สูง ซึ่งวิธีการวิจัยในลักษณะนี้แทบจะไม่ค่อยได้นํามาใช้ในทางรัฐศาสตร์ แต่มักจะถูกนํามาใช้มากในทางศึกษาศาสตร์

31 การวิจัยโดยจัดทําแบบสอบถามไปยังกลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของหน่วยในการศึกษา เป็นการวิจัยประเภทใด

(1) Survey Research

(2) Documentary Research

(3) Field Research

(4) Experimental Research

(5) Descriptive Research

ตอบ 1 หน้า 28, (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงสํารวจ (Survey Research) เป็นการวิจัยเพื่อเก็บข้อมูลพื้นฐานในด้านต่าง ๆ โดยจัดทําแบบสอบถามไปยังกลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของหน่วยใน การศึกษา ซึ่งการวิจัยนี้จะไม่เน้นการอธิบายหรือวิเคราะห์ถึงสาเหตุของการเกิดขึ้นของข้อมูลแต่จะมุ่งเก็บข้อมูลที่เป็นรูปธรรมที่สังเกตเห็นได้ง่าย

32 การวิจัยที่ผู้วิจัยเลือกหมู่บ้านในหมู่บ้านหนึ่ง หรือพื้นที่ในพื้นที่หนึ่งเพื่อทําการศึกษา เพื่อให้เข้าใจในพื้นที่นั้น ๆเป็นการวิจัยประเภทใด

(1) Survey Research

(2) Documentary Research

(3) Field Research

(4) Experimental Research

(5) Descriptive Research

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การวิจัยสนาม (Field Research) เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยเลือกหมู่บ้านในหมู่บ้านหนึ่งหรือพื้นที่ในพื้นที่หนึ่งเพื่อทําการศึกษา เพื่อให้เข้าใจในพื้นที่นั้น ๆ โดยการวิจัยประเภทนี้มีข้อจํากัด อยู่ว่า ไม่สามารถนําม” ขยายผลในพื้นที่อื่นได้ เพราะผลการวิจัยเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละพื้นที่แต่มีข้อดีคือ เข้าใจตัวอย่างที่ศึกษาได้อย่างละเอียด ครอบคลุมในทุกประเด็นที่ต้องการศึกษา

33 การวิจัยเพื่อมุ่งหาข้อเท็จจริงใหม่ ๆ เท่านั้น ไม่ต้องการอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นการวิจัยประเภทใด

(1) Survey Research

(2) Documentary Research

(3) Field Research

(4) Experimental Research

(5) Descriptive Research

ตอบ 5 หน้า 26 – 27, (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) เป็นการวิจัยเพื่อมุ่งหาข้อเท็จจริงใหม่ ๆ เท่านั้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายว่าปรากฏการณ์ที่ศึกษานั้นเกิดขึ้นมาได้อย่างไร หรือมีปัจจัยอะไรที่ทําให้เกิด

34 ข้อใดที่การสุ่มตัวอย่างไม่สามารถเป็นตัวแทนประชากรทั้งหมดได้

(1) การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย

(2) การสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ

(3) การเลือกตัวอย่างแบบกําหนด โควตา

(4) การสุ่มตัวอย่างแบบแยกประเภทสุ่ม

(5) การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งเป็นกลุ่ม

ตอบ 3 หน้า 146, (คําบรรยาย) การกําหนดกลุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้หลักความน่าจะเป็น เป็นการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เจตนาใช้ความสะดวก หรือความสนใจของผู้วิจัยเป็นหลัก ซึ่งไม่สามารถ เป็นตัวแทนประชากรทั้งหมดได้ เช่น การเลือกตัวอย่างแบบกําหนดโควตา การเลือกตัวอย่าง โดยใช้ผู้เชียวชาญระบ การเลือกตัวอย่างแบบลูกโซ่ เป็นต้น

35 ข้อใดเป็นสถิติอนุมาน

(1) การแจกแจงความถี่

(2) การวัดการกระจาย

(3) การประมาณค่า

(4) ไม่มีข้อใดถูก

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 158 – 160 สถิติอนุมาน (Inferential Statistics) แบ่งออกเป็น 3 เทคนิคย่อย ได้แก่

1 การประมาณค่า

2 การทดสอบสมมุติฐาน

3 การกระจายของกลุ่มประชากร

36 ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของการทราบขอบข่ายและแนวทางของการศึกษารัฐศาสตร์ก่อนที่จะศึกษาถึงการวิจัยทางรัฐศาสตร์

(1) เพื่อให้ทราบว่ารัฐศาสตร์คืออะไร

(2) เพื่อช่วยในการกําหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย

(3) เพื่อช่วยให้เลือกวิธีการที่เหมาะสมได้

(4) เพื่อช่วยให้ประเมินจุดดีจุดด้อยของงานวิจัย

(5) เป็นทางลัดที่สามารถทําให้ทราบผลการวิจัยก่อนที่จะลงมือเก็บข้อมูลได้

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ประโยชน์ของการทราบขอบข่ายและแนวทางของการศึกษารัฐศาสตร์ก่อนที่จะ ศึกษาถึงการวิจัยทางรัฐศาสตร์ มีดังนี้

1 เพื่อให้ทราบว่ารัฐศาสตร์คืออะไร

2 เพื่อช่วยในการกําหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย

3 เพื่อช่วยให้เลือกวิธีการที่เหมาะสมได้

4 เพื่อช่วยให้บระเมินจุดดีจุดด้อยของงานวิจัย เป็นต้น

37 การศึกษารัฐศาสตร์แนวการวิเคราะห์เชิงสถาบันนิยมเน้นองค์ความรู้ใดมากที่สุด

(1) กฎหมาย

(2) ปรัชญา

(3) ชีววิทยา

(4) จิตวิทยา

(5) วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ

ตอบ 1 หน้า 60, (คําบรรยาย) แนวการวิเคราะห์แบบสถาบันนิยม (Institutionalism/Institutional Approach) เป็นการศึกษารัฐศาสตร์ที่เน้นหนักในเรื่องกฎหมายรัฐธรรมนูญ และอิทธิพลของ โครงสร้างทางการเมืองที่มีต่อการเมือง โดยเชื่อว่าโครงสร้างทางการเมืองหรือสถาบันทางการเมือง ต่าง ๆ เป็นตัวกําหนดพฤติกรรมของมนุษย์ นักรัฐศาสตร์สมัยใหม่แนวสถาบันนิยม ได้แก่

1 เฮอร์มัน ไฟเนอร์ (Herกาan Finer) ผู้เขียนงานเรื่อง The Theory and Practice of Modern Government

2 วูดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson) ผู้เขียนงานเรื่อง Congressional Government : A Study in American Politics เป็นต้น

38 นักรัฐศาสตร์คนใดเป็นคนกล่าวว่า “การเมืองคือการใช้อํานาจในการจัดสรรสิ่งที่มีคุณค่าในสังคม”

(1) Rousseau

(2) J.D.B. Miller

(3) William McKinley

(4) Harold Lasswell

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 5 (คําบรรยาย) David Easton กล่าวว่า “การเมืองคือการใช้อํานาจในการจัดสรรสิ่งที่มีคุณค่าในสังคม” โดยคําว่าคุณค่าในสังคมนั้นหมายถึง ทรัพยากรและผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่นํามาจัดสรรกัน เช่น อํานาจหน้าที่ ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เป็นต้น

39 ตัวเลือกข้อใดไม่ใช่ประเภทของ Approach ตามการจัดแบ่งของ Alan C. Isaak

(1) Behavioral Approach

(2) Group Approach

(3) Political Philosophy Approach

(4) Power Approach

(5) Communication Approach

ตอบ 3 (คําบรรยาย) Alan – Isaak แบ่งประเภทของแนวการวิเคราะห์หรือแนวทางการศึกษา (Approach) วิชารัฐศาสตร์ ออกเป็น 5 แนวทาง ได้แก่

1 Behavioral Approach

2 Group Approach

3 System Theory and Functional Analysis Approach

4 Communicatior Approach

5 Power Approach

40 Approach ใดที่มีลักษณะของการใช้ค่านิยมส่วนตัวของผู้ศึกษามากที่สุด

(1) Group Approach

(2) Political Philosophy Approach

(3) System Theory

(4) Developmental Approach

(5) Power Approach

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การศึกษาแนวปรัชญาการเมือง (Political Philosophy Approach) นับว่าเป็นแนวที่เก่าแก่ที่สุดของการศึกษาวิชารัฐศาสตร์ ซึ่งการศึกษาแนวนี้มีลักษณะเป็นการพรรณนาหรือ อธิบาย พร้อมทั้งมีการให้คําแนะนําหรือเสนอมาตรการเอาไว้ด้วย และยังเป็นการศึกษาแนวปทัสถาน (Normative) คือ มีลักษณะของการใช้ค่านิยมส่วนตัวของผู้ศึกษามากที่สุด

41 Positivism เป็นการศึกษาทางรัฐศาสตร์ โดยเน้นหนักในเรื่องอะไรต่อไปนี้มากที่สุด

(1) อธิบายกฎหมาย

(2) อธิบายโครงสร้างสถาบันทางการเมือง

(3) อธิบายปฏิสัมพันธ์ของกลุ่ม

(4) ศึกษาสิ่งที่แน่นอนและสามารถรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 92, (คําบรรยาย) ปฏิฐานนิยม (Positivism) ได้แก่ แนวคิดที่ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ หรือการวิจัยเชิงปริมาณเป็นเครื่องมือ โดยมีความเชื่อที่ว่าปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ สามารถอธิบายด้วยกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติ โดยเน้นศึกษาสิ่งที่แน่นอนและมนุษย์สามารถรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5

42 Talcott Parsons เกี่ยวข้องกับการศึกษาในลักษณะใดมากที่สุด

(1) เน้นศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์เท่านั้น

(2) เน้นการศึกษากลุ่มทางการเมือง

(3) ศึกษาทฤษฎีพัฒนาการทางการเมือง

(4) ศึกษาเชิงโครงสร้างหน้าที่

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) แนวการศึกษาเชิงโครงสร้างและหน้าที่ (Structural-Functional Approach)เป็นแนวการศึกษาที่มีวิวัฒนาการมาจากการวิเคราะห์เชิงสถาบัน โดยเริ่มขยายขอบเขตการ วิเคราะห์จากสถาบันที่เป็นทางการ และเป็นรูปธรรมมากไปสู่การวิเคราะห์สถาบันที่เป็นรูปธรรมน้อย นักวิชาการแนวนี้ ได้แก่ Talcott Parsons

43 Behaviorism เกี่ยวข้องกับตัวเลือกใดต่อไปนี้

(1) Charles Merriam

(2) Plato

(3) Aristotle

(4) 3.3. Rousseau

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 1 (คําบรรยาย) แนวการศึกษาเชิงพฤติกรรมหรือพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) หรือที่เรียกว่า“พฤติกรรมทางการเมือง” นั้นไม่ได้เป็นวิธีการศึกษาที่ครอบคลุมเฉพาะการกระทําทางการเมือง ของบุคคลที่แสดงออกให้เห็นเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงแรงจูงใจและทัศนะ ซึ่งจะช่วยแสดงให้เห็น ถึงเอกลักษณ์ทางการเมืองของบุคคล ตลอดจนข้อเรียกร้อง ความคาดหวัง ระบบความเชื่อ ค่านิยม และจุดมุ่งหมายทางการเมืองของบุคคลนั้น นักรัฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับแนวการศึกษานี้ Bruni Charles Merriam, G.E.G. Catlin wax William B. Munro

44 Approach ใดต่อไปนี้เป็นการศึกษารัฐศาสตร์ในยุค Classic

(1) Behaviorism

(2) Communication Approach

(3) Power Approach

(4) Developmental Approach

(5) Political Philosophy Approach

ตอบ 5 หน้า 14, (คําบรรยาย) ยุคคลาสสิค (Classical Period) เป็นยุคแรกเริ่มของการศึกษาการเมืองไม่มีการแยกสาขาของความรู้ โดยถือกําเนิดจากยุคกรีกซึ่งเกิดจากคําถามพื้นฐานของมนุษย์กับ รัฐและผู้มีอํานาจ เช่น ผู้นําที่ดีต้องมีคุณสมบัติอย่างไร การเมืองที่ดีควรจะเป็นอย่างไร ฯลฯ ซึ่ง ความเป็นสากลของคําถามพื้นฐานเหล่านี้สามารถตั้งคําถามชุดเดียวกันโดยไม่จํากัดกรอบเวลา หรือวัฒนธรรม แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถมีคําตอบได้หลากหลาย ดังนั้นการศึกษารัฐศาสตร์ในยุคนี้จึงมีลักษณะเป็นการศึกษาแนวปรัชญาการเมือง (Political Philosophy Approach)

45 ตัวเลือกใดเกี่ยวข้องกับยุคพฤติกรรมศาสตร์

(1) อธิบายเฉพาะสิ่งที่สามารถรับรู้ผ่านประสาทสัมผัส

(2) ใช้แต่เหตุผลเป็นหลัก

(3) ศึกษาปรากฏการณ์

(4) เน้นพรรณนาปรากฏการณ์

(5) เน้นทํานายปรากฏการณ์

ตอบ 5 หน้า 17, (คําบรรยาย) ยุคพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Period) เป็นยุคที่นําแนวคิดเกี่ยวกับจิตวิทยาตลอดจนสาขาความรู้ทางวิทยาศาสตร์แบบอื่น ๆ มาใช้ศึกษาการเมืองอย่างจริงจัง โดย จะเน้นทํานายปรากฏการณ์ทางการเมืองหรือพฤติกรรมทางการเมือง การตัดสินใจทางการเมือง ไม่เน้นพรรณนาบรรยายอย่างในยุคก่อนหน้า ซึ่งในยุคนี้รัฐศาสตร์ถูกเรียกว่า วิทยาศาสตร์การเมือง (Political Science)

46 การวิจัยเชิงเอกสารนั้นใช้ทักษะด้านใดมากที่สุด

(1) การสังเกต

(2) การสอบถาม

(3) การอ่านเอกสาร

(4) หลักฐานเชิงประจักษ์

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 29 ประกอบ

47 Explanation คืออะไร

(1) การทํานายถึงสิ่งที่กําลังจะเกิดขึ้น

(2) การอธิบายถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆ

(3) การคาดเดาสิ่งต่าง ๆ ล่วงหน้า

(4) การคาดคะเนตัวแปรต่าง ๆ

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 2 หน้า 94 จุดมุ่งหมายในการตั้งปัญหาเพื่ออธิบาย (Explanation) เป็นการกล่าวถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆ ที่เป็นเหตุและผลซึ่งกันและกัน โดยอธิบายว่าตัวแปรใดเป็นสาเหตุให้เกิดผล ตามที่มุ่งหวังไว้ เช่น การศึกษาปัญหาอุปสรรคในการพัฒนาระบบประชาธิปไตย ว่ามีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง เป็นต้น

48 ข้อใดไม่ผิดจรรยาบรรณของนักวิจัย

(1) คัดบางส่วนของงานวิจัยอื่น ๆ ประมาณ 80% มาเขียนในงานวิจัยตัวเองแต่มีการทําอ้างอิง

(2) เผยแพร่ข้อมูลในลักษณะเจาะจง หรือเป็นรายบุคคล

(3) เลือกที่จะนําเสนอข้อมูลเพื่อให้ผลออกมาตรงกับสมมุติฐาน

(4) ปรับผลงานวิจัยเพื่อจุดประสงค์ของนักวิจัยเอง

(5) ทุกข้อผิดจรรยาบรรณของนักวิจัย

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การกระทําที่ผิดจรรยาบรรณของนักวิจัย เช่น

1 คัดบางส่วนของงานวิจัยอื่น ๆ ประมาณ 80% มาเขียนในงานวิจัยตัวเองแต่มีการทําอ้างอิง

2 เผยแพร่ข้อมูลในล้าษณะเจาะจงบุคคลหรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง

3 เลือกที่จะนําเสนอข้อมูลเพื่อให้ผลออกมาตรงกับสมมุติฐาน

4 ปรับผลงานวิจัยเพื่อจุดประสงค์ของนักวิจัยเอง เป็นต้น

49 ข้อใดไม่ใช่ชนิดของเอกสารการวิจัย

(1) หนังสือ

(2) ตํารา

(3) บทความที่ลงในวารสาร

(4) ข้อ 1 กับข้อ 2 ไม่ใช่ชนิดของเอกสารการวิจัย

(5) ข้อ1, 2, 3 ไม่ใช่ชนิดของเอกสารการวิจัย

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ชนิดของเอกสารการวิจัย มีอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้

1 รายงานการวิจัยทั่วไป

2 วิทยานิพนธ์

3 บทความที่ลงในวารสาร

4 บทความที่ลงในหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนชนิดอื่น เช่น วิทยุและโทรทัศน์ เป็นต้น

50 ข้อใดไม่ใช่ข้อจํากัดของการวิจัยในทางรัฐศาสตร์

(1) เปลี่ยนแปลงตามสภาพแวดล้อม

(2) มีความซับซ้อนเกินกว่าจะทํานายได้

(3) ไม่สามารถศึกษาประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมืองของมนุษย์ได้

(4) ไม่สามารถทดลองในห้องปฏิบัติการได้

(5) ทุกข้อคือข้อจํากัดของการวิจัยแบบสมัยใหม่

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ข้อจํากัดของการวิจัยในทางรัฐศาสตร์ ได้แก่

1 พฤติกรรมมนุษย์มีลักษณะไม่คงที่ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตามสภาพแวดล้อม

2 พฤติกรรมมนุษย์มีความซับซ้อนเกินกว่าจะทํานายได้

3 ไม่สามารถนําเอามนุษย์มาทดลองในห้องปฏิบัติการได้

4 การสัมภาษณ์จากมนุษย์เชื่อถือไม่ได้ ฯลฯ

51 ข้อใดเป็นจุดมุ่งหมายของการศึกษาวิจัยทางรัฐศาสตร์แบบพฤติกรรมศาสตร์

(1) พรรณนากิจกรรมทางการเมือง

(2) ทํานายพฤติกรรมทางการเมือง

(3) ให้คําแนะนําแก่ผู้บริหารหรือนักการเมืองในการกําหนดนโยบาย

(4) อธิบายกิจกรรมทางการเมือง

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) จุดมุ่งหมายของการศึกษาวิจัยทางรัฐศาสตร์แบบพฤติกรรมศาสตร์ คือ

1 เพื่อพรรณนาและอธิบายกิจกรรมต่าง ๆ ทางการเมือง

2 เพื่อทํานาย / คาดคะเนพฤติกรรมหรือกิจกรรมทางการเมือง

3 เพื่อให้คําแนะนําแก่ผู้บริหาร นักการเมืองและบุคคลอื่น ๆ ในการตัดสินใจการกําหนดนโยบาย และในการปฏิบัติงาน

52 ขั้นตอนแรกสุดของการเริ่มทําการวิจัยคืออะไร

(1) ตั้งสมมุติฐาน

(2) สังเกต

(3) กําหนดชื่อเรื่อง

(4) สอบถามจากผู้รู้ในประเด็นที่เป็นปัญหา

(5) พิจารณาทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

ตอบ 2 หน้า 8 – 9, (คําบรรยาย) การสังเกตและระบุปัญหา (Observation and Problem Identification/Problem Statement) เป็นขั้นตอนแรกสุดของการเริ่มต้นทําการวิจัย โดย ผู้วิจัยจะสังเกตและตั้งคําถามเกี่ยวกับสิ่งรอบ ๆ ตัว หรือปรากฏการณ์ใดปรากฏการณ์หนึ่งที่ นักวิจัยประสบปัญหาอุปสรรคในสภาพแวดล้อมอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเมื่อพบปัญหาพวกเขาจะ คิดไตร่ตรองว่าปัญหาเกิดขึ้นมาได้อย่างไร และรู้สึกคับข้องใจจนต้องการที่จะหาคําตอบว่าสาเหตุที่มาและสิ่งที่เกิดขึ้นต่อไปในอนาคตจะเป็นเช่นไร

53 การตั้งสมมุติฐาน คืออะไร

(1) การใช้ตาดูปรากฏการณ์ต่าง ๆ

(2) การพิจารณาจากเอกสาร

(3) การลงไปเก็บข้อมูลแบบมีส่วนร่วม

(4) การพิจารณาสิ่งต่าง ๆ รอบตัวโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า

(5) การคาดเดาคําตอบเพื่อเป็นแนวทางในการหาข้อมูล

ตอบ 5 หน้า 9, 90, (คําบรรยาย) การตั้งสมมุติฐาน (Hypothesis) คือ การคาดเดาคําตอบไว้ล่วงหน้าเพื่อเป็นแนวทางในการหาข้อมูลหรือเป็นการตีกรอบในการศึกษา และเป็นการนําทางในการ ค้นหาคําตอบของตัวผู้วิจัยเองในเบื้องต้น ทั้งนี้จะต้องอาศัยเหตุผลหรือประสบการณ์หรือความรู้เท่าที่ตนมี หรืออาจจะนํามาจากทฤษฎีที่นักวิจัยก่อนหน้าใช้อธิบาย ซึ่งในการวิจัยเชิงคุณภาพ อาจจะมีหรือไม่มีสมมุติฐานก็ได้ นอกจากนี้สมมุติฐานที่ดีจะต้องเขียนได้ชัดเจนสัมพันธ์กับเรื่อง และคําถามการวิจัยหรือปัญหาการวิจัย เช่น

คําถามการวิจัย : ทําไมน้ำจึงท่วมในเขตกรุงเทพมหานครง่ายมาก

สมมุติฐาน : พื้นที่ของกรุงเทพมหานครต่ำกว่าระดับน้ำทะเล น้ำจึงท่วมง่ายมาก เป็นต้น

54 ตัวเลือกใดอยู่ในขั้นตอนของการวางแผนการวิจัย

(1) เลือกวิธีการเก็บข้อมูล

(2) เก็บรวบรวมข้อมูล

(3) แปลความหมายข้อมูล

(4) วิเคราะห์ข้อมูล

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ขั้นตอนของการวางแผนการวิจัย ได้แก่

1 การกําหนดชื่อเรื่อง ปัญหา และจุดมุ่งหมายของการวิจัย

2 การกําหนดสมมุติฐานการวิจัย

3 การกําหนดและนิยามตัวแปร

4 การเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างคร่าว ๆ

5 การกําหนดวิธีการวิจัยหรือการออกแบบการวิจัย (เลือกใช้วิธีการวิจัย เครื่องมือและวิธีการเก็บข้อมูล, กําหนดวิธีการเลือกตัวอย่าง ฯลฯ)

6 การแก้ไขปรับปรุงแบบแผนการวิจัย หรือโครงการเสนอเพื่อการวิจัยหรือโครงการวิจัย

55 สิ่งใดสําคัญที่สุดสําหรับ Documentary Research

(1) การทําสําเนาเอกสารที่ใช้ทั้งหมดทุกชิ้น

(2) ปริมาณของเอกสารที่จําเป็นต้องอ่านเพื่อให้ครอบคลุมกับปัญหา

(3) จัดลําดับความสําคัญด้วยการบันทึกเป็นลายมือเท่านั้น

(4) อ่านเอกสารให้ได้มากที่สุด

(5) ต้องมีการอ้างอิงทุกครั้ง

ตอบ 5 (คําบรรยาย) สิ่งสําคัญที่สุดสําหรับการทําวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) ก็คือ ถ้ามีการนําข้อความหรือข้อเขียนของบุคคลอื่นมาใช้อ้างอิงในงานวิจัยของตนเองเกิน 3 ประโยคขึ้นไป ผู้วิจัยจะต้องมีการอ้างอิงทุกครั้ง โดยระบุแหล่งที่มาของเอกสารหรือสิ่งพิมพ์เหล่านั้นว่า มีที่มาจากไหน ใครเป็นผู้เขียน เพื่อให้มีความน่าเชื่อถือและเป็นการให้เกียรติแก่เจ้าของผลงาน ที่เขาได้ทําเอาไว้ก่อนแล้ว

ตั้งแต่ข้อ 56 – 66 จงเลือกคําตอบต่อไปนี้ไปตอบในแต่ละข้อโดยให้มีความสัมพันธ์กับโจทย์คําถาม

(1) Unit of Analysis

(2) Independent Variable

(3) Dependent Variable

(4) Intervening Variable

(5) Qualitative Research

 

56 ตัวแปรแทรกซ้อน

ตอบ 4 หน้า 111, (คําบรรยาย) ตัวแปรแทรกซ้อน (Intervening Variable) เป็นตัวแปรประเภทหนึ่งที่จะอยู่ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม ซึ่งเป็นตัวแปรที่ไม่ต้องการศึกษา แต่มีอิทธิพลต่อ ตัวแปรที่ทําการศึกษาโดยผู้วิจัยไม่ทราบล่วงหน้า และไม่ปรารถนาให้เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จิตใจของมนุษย์ หรือสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปมาจนยากแก่การควบคุม

57 เป็นความสัมพันธ์ตั้งต้นที่ก่อให้เกิดผล

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

58 หน่วยในการวิเคราะห์

ตอบ 1 หน้า 141 – 142, (คําบรรยาย) หน่วยในการวิเคราะห์ (Unit of Analysis) หมายถึง หน่วยของสิ่งที่นักวิจัยนําลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่ง ๆ นั้นมาวิเคราะห์ ซึ่งอาจแบ่งเป็น 6 ระดับ คือ

1 ระดับปัจเจกบุคคล (เช่น เพศ อายุ การศึกษา)

2 ระดับกลุ่ม (เช่น รายได้เฉลี่ย อายุเฉลี่ย)

3 ระดับองค์การ (เช่น บริษัท สํานักงาน มหาวิทยาลัย)

4 ระดับสถาบัน (เช่น สถาบันการเมือง สถาบันครอบครัว)

5 ระดับพื้นที่ (เช่น ผ้าบล อําเภอ จังหวัด)

6 ระดับสังคม (เช่น ประเทศ) ดังนั้นเวลาต้องการจะเปรียบเทียบจะต้องเลือกหน่วยที่จะศึกษาให้เป็นแบบเดียวกัน นั่นคือ ไม่สามารถกระทําข้ามหน่วยหรือคนละหน่วยกันได้

59 มักใช้สัญลักษณ์แทนเป็นตัวอักษร Y โดยสิ่งนี้มันจะเป็นผลของสาเหตุ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

60 ไม่สามารถกระทําข้ามหน่วยหรือคนละหน่วยกันได้

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 58 ประกอบ

61 ผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิประเทศ ผลกระทบนี้คือตัวแปรประเภทใด

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

62 เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงตามอิทธิพลของสิ่งอื่น ๆ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

63 ตัวแปรอิสระ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

64 จิตใจของมนุษย์ หรือสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปมาจนยากแก่การควบคุม

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 56 ประกอบ

65 การวิจัยเชิงเอกสาร

ตอบ 5 หน้า 28 (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) คือ การจัยที่มีคุณภาพดีและไม่เน้นจํานวนหรือปริมาณ ซึ่งความหมายของข้อมูลในที่นี้ก็คือ ข้อมูลที่ไม่ได้วัดออกมาเป็น ตัวเลข การวิจัยในลักษณะดังกล่าวนั้นมีความสัมพันธ์กับการเก็บข้อมูลโดยการล้วงความลับหรือ การตะล่อมกล่อมเกลา (Probe) รวมทั้งการวิจัยเชิงเอกสาร เช่น การศึกษาความคิดทางการเมือง ของนักการเมือง โดยผู้วิจัยได้ทําการศึกษาความคิดทางการเมืองของนักการเมือง ผ่านเอกสารที่บันทึกคําสัมภาษณ์ของเขา ซึ่งได้แก่ หนังสือพิมพ์ บทความในนิตยสาร เป็นต้น

66 Probe

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 65 ประกอบ

67 – 76 จงเลือกคําตอบต่อไปนี้ไปตอบในแต่ละข้อโดยให้มีความสัมพันธ์กับโจทย์คําถาม

(1) Research Question

(2) Research Title

(3) Hypothesis

(4) Approach

(5) Conceptual Framework

 

67 สมมุติฐาน

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 53 ประกอบ

68 ห้ามตั้งในลักษณะปลายปิด

ตอบ 1 หน้า 63 – 64, (คําบรรยาย) คําถามการวิจัย (Research Question) หมายถึง อําถามที่ต้องการหาคําตอบจากปรากฏการณ์ที่นํามาศึกษาวิจัย โดยจะต้องเป็นคําถามที่ยังไม่มีคําตอบ หรือเป็นคําถามที่ไม่สามารถหาคําตอบได้โดยง่าย หรือมีคําตอบแต่ยังไม่ชัดเจน ใช้คําถามปลายเปิดเป็น ส่วนใหญ่ ไม่ควรตั้งในลักษณะปลายปิด และจะต้องเป็นคําถามที่น่าสนใจที่จะหาคําตอบด้วย ซึ่งคําถามในการวิจัยนั้นมีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่

1 คําถามประเภท “อะไร” เช่น ทฤษฎีในการพัฒนาเศรษฐกิจมีกี่ประเภท อะไรบ้าง ฯลฯ

2 คําถามประเภท “ทําไม” เช่น ทําไมน้ำจึงท่วมในเขตกรุงเทพมหานครง่ายมาก ฯลฯ

3 คําถามประเภท “อย่างไร” เช่น ประเทศไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ได้อย่างไร ฯลฯ

69 เนื่องจากพื้นที่ของกรุงเทพต่ำกว่าระดับน้ำทะเล น้ำจึงท่วมง่ายมาก

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 53 ประกอบ

70 นโยบายจํานําข้าวในช่วงรัฐบาลยิ่งลักษณ์

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ชื่อเรื่องในการวิจัย (Research Title) หมายถึง หัวข้อเรื่องที่ผู้วิจัยจะทําการ – ศึกษาวิจัย มักจะมาจากคําถามหรือปัญหาในการวิจัย ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องกินใจความและสาระสําคัญทั้งหมดของการวิจัย โดยการเขียนชื่อเรื่องจะไม่เขียนเป็นประโยค ไม่ว่าจะเป็นประโยคบอกเล่า หรือประโยคคําถาม แต่จะเขียนเป็นวลี และจะไม่ใช้ตัวย่อในการเขียนชื่อเรื่อง เช่น ความรู้ความ เข้าใจของคนรากหญ้าที่มีต่อระบอบประชาธิปไตย, นโยบายจํานําข้าวในช่วงรัฐบาลยิ่งลักษณ์,บทบาทของมหาวิทยาลัยรามคําแหงในการพัฒนาประชาธิปไตย เป็นต้น

71 เป็นสิ่งที่ต้องกินใจความและสาระสําคัญทั้งหมดของการวิจัย

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 70 ประกอบ

72 Rational Choice Theory

ตอบ 4 หน้า 53, 55, (คําบรรยาย) แนวการวิเคราะห์ (Approach) หมายถึง กรอบหรือเค้าโครงทางความคิดอย่างกว้าง ๆ อันเป็นพื้นฐานในการพรรณนาความหรือการอธิบายหรือการวิเคราะ ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นการเฉพาะ โดยใน Approach หนึ่ง ๆ จะประกอบไปด้วยสมมุติฐานเบื้องต้น เกี่ยวกับการเมืองในเรื่องนั้นๆ ตลอดจนทฤษฎีต่าง ๆ จํานวนมาก รวมถึงแนวทางในการศึกษาเรื่อง นั้น ๆ เช่น ทฤษฎีเกม (Game Theory), ทฤษฎีการตัดสินใจเลือกอย่างมีเหตุมีผล (Rational Choice Theory), ทฤษฎีระบบ (System Theory), แนวการวิเคราะห์เชิงโครงสร้าง (Structural Approach) เป็นต้น

73 ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ที่ใช้อธิบายในงานวิจัยนั้น

ตอบ 5 หน้า 69 70, (คําบรรยาย) กรอบแนวคิดการวิจัย (Conceptual Framework) เป็นขั้นตอนของการนําเอาประเด็นที่ต้องการทําวิจัยมาเชื่อมโยงกับแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในรูปของคําบรรยาย แบบจําลองแผนภาพ และเป็นการสรุปความคิดรวบยอดของผู้ทําวิจัยเพื่อชี้ให้เห็นว่าการวิจัยจะมีรูปแบบและทิศทางใด ตลอดจนมีลักษณะที่เป็นการสรุปภาพรวมทั้งหมด พร้อมชี้ให้เห็นว่าตัวแปรต่าง ๆ ที่ใช้อธิบายในงานวิจัยนั้นมีความสัมพันธ์ระหว่างกันอย่างไร

74 ในการวิจัยคุณภาพอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 53 ประกอบ

75 ทําไมน้ำจึงท่วมในเขตกรุงเทพมหานครง่ายมาก

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 68 ประกอบ

76 Structural Approach

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 72 ประกอบ

 

ตั้งแต่ข้อ 77 – 86 จงเลือกคําตอบต่อไปนี้ไปตอบในแต่ละข้อโดยให้มีความสัมพันธ์กับโจทย์คําถาม

(1) Population

(2) Sample

(3) Documentary Research

(4) Questionnaire

(5) Structured Interview

 

77 แบบสอบถามที่นําไปแจกเพื่อให้ครบจํานวน

ตอบ 4 หน้า 72 – 73, (คําบรยาย) แบบสอบถาม (Questionnaire) ถือเป็นเครื่องมือที่สําคัญและนิยมใช้กันมากในการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยเฉพาะการวิจัยเชิงสํารวจ (Survey Research) และเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการสํารวจผู้ให้ข้อมูลที่มีเป็นจํานวนมาก ซึ่งมักจะนําไปใช้เก็บข้อมูลจากกลุ่มประชากรหรือกลุ่มตัวอย่างในเรื่องต่าง ๆ เช่น เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ ความคิดเห็น ความนิยม ความพึงพอใจ ทัศนคติหรือเจตคติ เป็นต้น โดยผู้ให้ข้อมูลจะเป็นผู้ตอบข้อคําถามหรือเป็นผู้กรอกข้อมูลเองในแบบสอบถามด้วยตนเอง ซึ่งชนิดของแบบสอบถามนั้นมีทั้งแบบปลายปิด (Close-Ended Questionnaire) และแบบปลายเปิด (Open-Ended Questionnaire)

78 การอ่านจากศิลาจารึก

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 29 ประกอบ

79 การใช้สูตรคํานวณเพื่อหาตัวแทน

ตอบ 2 หน้า 144 – 146, (คําบรรยาย) กลุ่มตัวอย่าง (Sample) หมายถึง กลุ่มย่อยของประชากรที่ผู้วิจัยเลือกมาใช้ในการศึกษา โดยผู้วิจัยจะต้องทําการเลือกหรือการสุ่มตัวอย่าง (Sampling) เพื่อ ให้ได้มาซึ่งตัวแทนที่ดีของประชากรทั้งหมด ดังนั้นจึงต้องอาศัยเทคนิควิธีการสมตัวอย่างและ ขนาดของตัวอย่างเพื่อหาตัวแทนของประชากร เช่น การใช้สูตรคํานวณของทาโร ยามาเน่ (Taro Yamane), การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งเป็นกลุ่ม (Cluster), การสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ (Systematic), การเลือกตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental) ฯลฯ

80 เป็นสิ่งที่ผู้ให้ข้อมูลจะต้องกรอกเอง

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 77 ประกอบ

81 Cluster, Systematic, Accidental ฯลฯ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 79 ประกอบ

82 มีการกําหนดคําถามไว้ก่อน

ตอบ 5 หน้า 72 (คําบรรยาย) การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) เป็นวิธีการสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยมีการกําหนดคําถามไว้ก่อนอย่างชัดเจนในแบบสัมภาษณ์ (Interview Form) โดยจัดทํารายละเอียดเหมือนแบบสอบถาม แต่จะถามโดยผู้สัมภาษณ์ ซึ่งผู้สัมภาษณ์ / ผู้ถามจะถามข้อมูลตามสิ่งที่กําหนด สิ่งที่นอกเหนือจะไม่สนใจ และจะต้องจดคําตอบด้วยตนเอง

83 เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสํารวจผู้ให้ข้อมูลที่มีเป็นจํานวนมาก

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 77 ประกอบ

84 ผู้ถามจะถามข้อมูลตามสิ่งที่กําหนด สิ่งที่นอกเหนือจะไม่สนใจ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 82 ประกอบ

85 จํานวน นศ. ทั้งหมดของรามคําแหง

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ประชากร (Population) หมายถึง กลุ่มของสิ่งต่าง ๆ ที่สมาชิกทุกหน่วยของสิ่งนั้นเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ผู้วิจัยต้องการศึกษา เช่น จํานวนนักศึกษาทั้งหมดของมหาวิทยาลัยรามคําแหง, ชาวนาทั้งหมดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นต้น

86 มีทั้งแบบปลายปิดและปลายเปิด

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 77 ประกอบ

87 ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถึงกระบวนการ “วิจัย” ได้อย่างเหมาะสม

(1) วิธีการค้นคว้าด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลทางสถิติ

(2) วิธีการค้นคว้าด้วยการเก็บรวบรวม

(3) กระบวนการค้นหาคําตอบด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์

(4) กระบวนการค้นหาคําตอบด้วยวิธีการคาดการณ์ล่วงหน้า

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 3 หน้า 181, (คําบรรยาย) กระบวนการ “วิจัย” หมายถึง วิธีการ ขั้นตอน และกระบวนการค้นหาคําตอบของปัญหาใดปัญหาหนึ่งอย่างเป็นระบบด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์

88 คําสําคัญ (Key words) ในข้อใดต่อไปนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการเขียนรายงานการวิจัย

(1) นวัตกรรม

(2) ลิขสิทธิ์

(3) สิทธิบัตร

(4) ข้อค้นพบ

(5) เศรษฐกิจ

ตอบ 5 หน้า 181 การเขียนรายงานการวิจัย มีความสําคัญในการเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้ทราบว่ามี “นวัตกรรม”หรือ “ข้อค้นพบ” ใหม่ในวงวิชาการ ส่งเสริมให้เกิดการนําไปใช้ประโยชน์ได้มากกว่าการทําวิจัย แล้วมีคนเพียงจํานวนเดียวเท่านั้นที่ทราบในเนื้อหาของการวิจัยนั้น และเป็นการบอกเล่าให้ผู้อ่าน ทราบว่าปัญหานั้นได้มีผู้ศึกษาอยู่แล้ว ตลอดจนเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเป็นเจ้าของใน “ลิขสิทธิ์” ของวรรณกรรม หรือ สิทธิบัตร” ในสิ่งประดิษฐ์นั้น ๆ ได้

89 ข้อใดต่อไปนี้อธิบายส่วนประกอบของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ได้อย่างเหมาะสม

(1) คํานํา – สารบัญ เนื้อเรื่อง

(2) คํานํา – เนื้อเรื่อง บทสรุป

(3) ตอนต้น – ตอนกลาง – บทสรุป

(4) ตอนต้น – เนื้อเรื่อง – ตอนท้าย

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 4 หน้า 182 รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ

1 ส่วนประกอบตอนต้น

2 ส่วนเนื้อเรื่อง

3 ส่วนประกอบตอนท้าย

90 การให้เกียรติและแสดงความขอบคุณผู้ที่มีส่วนช่วยเหลืองานวิจัย ปรากฏในส่วนใดต่อไปนี้

(1) จดหมายขอบคุณ

(2) กิตติกรรมประกาศ

(3) ประกาศนียบัตร

(4) บรรณานุกรม

(5) บทคัดย่อ

ตอบ 2 หน้า 183, 208 209 กิตติกรรมประกาศ เป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่สําคัญซึ่งอยู่ในส่วนประกอบตอนต้นของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ งานวิจัยบางฉบับอาจเรียกส่วนนี้ว่าเป็น “ประกาศคุณูปการ” โดยใช้ภาษาอังกฤษคําว่า “Acknowledgement” ซึ่งผู้วิจัยส่วนใหญ่มัก ใช้พื้นที่ในส่วนนี้เพื่อเป็นการให้เกียรติและแสดงความขอบคุณผู้ที่มีส่วนช่วยเหลือ หรือผลักดัน ให้งานวิจัยสําเร็จลุล่วงไปได้ ไม่ว่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญที่ให้คําแนะนํา หน่วยงานต้นสังกัดหรือผู้ให้ทุนวิจัย

91 คําว่า “ขนมชั้น” ในงานวิจัย มีความหมายว่าอย่างไร

(1) ข้อค้นพบที่ได้เป็นของใหม่ที่ไม่มีใครค้นพบมาก่อน

(2) ข้อค้นพบที่ได้เป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการ

(3) ผลการศึกษาเป็นไปในเชิงบวก

(4) การเรียงรายขอเอกสารต่อกันไปเรื่อย ๆ

(5) ระเบียบวิธีการวิจัยง่ายต่อการนําไปใช้

ตอบ 4 หน้า 184, (คําบรรยาย) “ขนมชั้น” ในงานวิจัย หมายถึง การเรียงเอกสารงานวิจัยตามรายชื่อ หรือปีที่มีการเผยแพรต่อกันไปเรื่อย ๆ

92 ระบบเอพีเอ (American Psychological Association : AFA) หมายถึงสิ่งใดต่อไปนี้

(1) การอ้างอิง

(2) การเขียนรายงานการวิจัย

(3) ภาคผนวก

(4) การสํารวจวรรณกรรม

(5) การอภิปรายผล

ตอบ 1 หน้า 86 ระบบการอ้างอิงในปัจจุบันที่ได้รับความนิยมในงานวิจัย หรืองานวิชาการในสาย สังคมศาสตร์ ได้แก่ การอ้างอิงระบบเอพีเอ (American Psychological Association : APA) และการอ้างอิงระบบหูราเบียน (Turabian)

93 ข้อใดต่อไปนี้ไม่จําเป็นต้องระบุลงไปในประวัติย่อผู้วิจัย

(1) ชื่อ – สกุล

(2) ประวัติการศึกษา

(3) อาชีพและตําแหน่ง

(4) อีเมลที่สามารถติดต่อได้

(5) กิจกรรมในเวลาว่าง

ตอบ 5 หน้า 86 ประวัติย่อผู้วิจัย (Vitae) เป็นส่วนที่แสดงให้เห็นถึงประวัติของนักวิจัย / คณะผู้วิจัย เพื่อให้ผู้อ่านเห็นข้อมูลพื้นฐานของคณะผู้วิจัยได้ และทําให้ผู้อ่านเกิดความเชื่อมั่น โดยทั่วไปแล้ว รายละเอียดของประวัติย่อผู้วิจัยมักประกอบไปด้วย ชื่อ – สกุล ประวัติการศึกษา อาชีพ ตําแหน่ง สถานที่ทํางาน สาขาที่เชี่ยวชาญ สถานที่สามารถติดต่อได้ อีเมล เบอร์โทรศัพท์ ประสบการณ์ เกี่ยวกับการวิจัย เป็นต้น

94 ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index : TCI) จัดประเภทวารสารไว้กี่กลุ่ม

(1) 2 กลุ่ม

(2) 3 กลุ่ม

(3) 4 กลุ่ม

(4) 5 กลุ่ม

(5) ขึ้นกับปีที่ประกาศในแต่ละรอบ

ตอบ 2 หน้า 188 189 ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index : TCI) ได้จัดประเภทวารสารไว้ 3 กลุ่ม (ข้อมูล ณ วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2560) คือ

1 วารสารที่ผ่านการรับรองคุณภาพของ TCI และอยู่ในฐานข้อมูล TCI และจะถูกคัดเลือกเข้าสู่ฐานข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI) ต่อไป

2 วารสารที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงคุณภาพ และอยู่ในฐานข้อมูล TCI

3 วารสารที่ไม่ผ่านการรับรองคุณภาพ และอาจไม่ปรากฏอยู่ในฐานข้อมูล TCI ในอนาคต

95 “วารสารเอเชียพิจาร” เป็นวารสารที่สังกัดสถาบันใด

(1) คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง

(2) คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทเยาลัย

(3) คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

(4) สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยรามคําแหง

(5) สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ตอบ 1 หน้า 189 190 ตัวอย่างวารสารทางวิชาการของมหาวิทยาลัยรามคําแหง เช่น

1 “วารสารวิจัยรามคําแหง ฉบับมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์” ของสถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยรามคําแหง

2 “วารสารวิจัยรามคําแหง ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” ของสถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยรามคําแหง

3 “วารสารเอเชียพิจาร” ของศูนย์ศึกษาเอเชีย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เป็นต้น

96 การนําเสนอแผนงานของโครงการวิจัยที่จะดําเนินการต่อไป มักปรากฏในแผนภูมิประเภทใด

(1) Pie Chart

(2) Line Chart

(3) Gantt’s Chart

(4) Bar Chart in

(5) Radar Chart

ตอบ 3 หน้า 191, (คําบรรยาย) การนําเสนอแผนงานของโครงการวิจัยที่จะดําเนินการต่อไป มักปรากฏในรูปแผนภูมิแกนต์ (Gantt’s Chart) ซึ่งจะแสดงข้อมูลรายละเอียดของกิจกรรม ระยะเวลา และช่วงเวลาได้อย่างเหมาะสม โดยข้อมูลดังกล่าวนี้มีความสําคัญต่อการทําให้ผู้ให้ทุนเห็นแผนงาน ที่ผู้วิจัยจะดําเนินการต่อไป ในขณะเดียวกัน ผู้วิจัยก็สามารถวางแผนการดําเนินงานต่อไปได้อย่างเป็นระบบ

97 คําว่า “Interim Report” หมายถึงข้อใดต่อไปนี้

(1) การรายงานผลการวิจัยเบื้องต้น

(2) การรายงานความก้าวหน้าของงานวิจัย

(3) การรายงานผลการวิจัยขั้นสุดท้าย

(4) โครงร่างของการวิจัย

(5) การนําเสนองานวิจัยในที่สาธารณะ

ตอบ 2 หน้า 191 – 192 การรายงานความก้าวหน้าของงานวิจัย (Interim Report) หมายถึง รายงานที่จัดทําขึ้นภายหลังจากที่ได้ดําเนินการวิจัยไปแล้วระยะหนึ่งตามที่ผู้วิจัยได้ทําการตกลงหรือทํา สัญญาไว้กับผู้ให้ทุน โดยทั่วไปแล้ว รายงานความก้าวหน้ามักรายงานในช่วงระยะเวลาร้อยละ 50 ของระยะเวลาตามสัญญา เช่น ถ้าเป็นงานวิจัย 1 ปี ก็จะรายงานในช่วง 6 เดือน เป็นต้น

98 วัตถุประสงค์ของการวิจัยเปรียบได้กับสิ่งใดต่อไปนี้

(1) แผนที่

(2) มูลเหตุ

(3) สัญญา

(4) หลักฐาน

(5) การนําไปใช้ประโยชน์

ตอบ 3 หน้า 194 วัตถุประสงค์ของการวิจัย เป็นการอธิบายที่ต้องการบอกเป้าหมายหรือความต้องการของงานวิจัยว่า ผู้วิจัยต้องการทราบอะไรเพื่อใช้เป็นแนวทางในการออกแบบการวิจัยที่มีความเหมาะสมต่อไป หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ วัตถุประสงค์ของการวิจัยเปรียบได้กับ “สัญญา”ที่ผู้วิจัยได้กระทําไว้ว่าผู้อ่านจะได้รับทราบข้อมูลเหล่านั้นในรายงานการวิจัยฉบับนี้ก็ได้

99 ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่วัตถุประสงค์ที่มีลักษณะ “SMART”

(1) ความเรียบง่าย

(2) ความเหมาะสม

(3) การบรรลุและทําได้จริง

(4) ความสมเหตุสมผล

(5) การคํานึงถึงระยะเวลา

ตอบ 1 หน้า 195 วัตถุประสงค์ที่มีลักษณะ “SMART” ประกอบด้วย ความเหมาะสม (Sensible : S), การวัดและตรวจสอบได้ (Measurable : M), การบรรลุและทําได้จริง (Attainable : A), ความสมเหตุสมผล (Reasonable : R) และการคํานึงถึงระยะเวลาที่เหมาะสม (Time : T)

100 “การทําให้ผู้อ่านทราบถึงปัญหาความคลาดเคลื่อน (Error) ในช่วงระหว่างการวิจัย โดยที่ผู้วิจัยไม่สามารถควบคุมหรือหลีกเลี่ยงปัจจัยดังกล่าวได้ จนกระทั่งอาจสงผลต่อผลการศึกษาหรือข้อค้นพบของงานวิจัยนั้น…” สัมพันธ์กับข้อใดต่อไปนี้มากที่สุด

(1) วัตถุประสงค์ของงานวิจัย

(2) ขอบเขตการวิจัย

(3) ข้อตกลงเบื้องต้น

(4) ข้อจํากัดของการวิจัย

(5) นิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย

ตอบ 4 หน้า 196 ข้อจํากัดของการวิจัย เป็นการทําให้ผู้อ่านทราบถึงปัญหาความคลาดเคลื่อน (Error) ในช่วงระหว่างการวิจัย โดยที่ผู้วิจัยไม่สามารถควบคุมหรือหลีกเลี่ยงปัจจัยดังกล่าวได้ จนกระทั่ง อาจส่งผลต่อผลการศึกษาหรือข้อค้นพบของงานวิจัยนั้น

POL4321 การบริหารร่วมสมัย s/2561

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 4321 การบริหารร่วมสมัย

คําสั่ง ข้อสอบมี 3 ข้อ ให้นักศึกษาตอบทุกข้อ

ข้อ 1. คําว่า “กลยุทธ์” (Strategy) กับคําว่า “ยุทธศาสตร์” มีความแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร จงอธิบาย

นักวิชาการที่มีชื่อเสียงในเรื่องดังกล่าวเป็นใคร ในการวิเคราะห์องค์การใช้เทคนิคอะไร จงยกตัวอย่าง การวิเคราะห์องค์การในภาครัฐที่ใดที่หนึ่งโดยใช้เทคนิคนั้นมาให้เข้าใจอย่างชัดเจน

แนวคําตอบ

คําว่า “กลยุทธ์” หรือ “ยุทธศาสตร์ ภาษาอังกฤษใช้คําว่า “Strategy” โดยมีรากศัพท์ มาจากคําว่า “Strategy” ในภาษากรีก ซึ่งเกิดจากศัพท์ 2 คํา คือ “Stratos” หมายถึง Army หรือ กองทัพ และ Agein หมายถึง Lead หรือ นําหน้า โดยเมื่อนำศัพท์ 2 คํานี้มารวมกันจะหมายถึง การนํากองทัพ หรือ ยุทธวิธีหลักในการรบเพื่อเอาชนะศัตรู ดังนั้นคําว่ากลยุทธ์กับยุทธศาสตร์จึงเป็นคํา ๆ เดียวกันและมีความหมาย เหมือนกัน

นักวิชาการที่มีชื่อเสียงด้านกลยุทธ์

นักวิชาการที่มีชื่อเสียงด้านกลยุทธ์มีหลายท่าน เช่น Michael E. Porter, Bracker, Chandler และ Ansoff

ตัวอย่างเช่น Michael E. Porter ได้เสนอแนวคิดในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage) โดยกล่าวว่า การวิเคราะห์สถานการณ์การแข่งขันกับคู่แข่ง ผู้บริหารจะต้องคํานึงถึง ปัจจัย 5 ประการ คือ

1 อัตราของการแข่งขันกันระหว่างบริษัทต่าง ๆ ในธุรกิจหรืออุตสาหกรรมนั้น \

2 การคุกคามที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งรายใหม่เข้ามาในตลาด

3 การคุกคามที่เกิดขึ้นจากสินค้าหรือบริการทดแทน

4 อํานาจต่อรองของผู้จัดส่ง

5 อํานาจต่อรองลูกค้า

ทั้งนี้ Michael E. Porter เห็นว่า การได้เปรียบในการแข่งขันจะเกิดขึ้นได้ใน 2 ลักษณะ คือ

1 การทําให้ต้นทุนต่ำ (Low Cost)

2 การทําให้สินค้า/บริการมีความแตกต่าง (Differentiation) หรือทําให้ดีกว่าคู่แข่ง

เทคนิคการวิเคราะห์องค์การ

กอนที่องค์การจะกําหนดกลยุทธ์จําเป็นต้องมีการวิเคราะห์องค์การโดยใช้เทคนิค SWOT เพื่อหาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคขององค์การ ซึ่งคําว่า SWOT ประกอบด้วย

1 S = Strengths คือ จุดแข็งขององค์การ เป็นการพิจารณาทรัพยากรภายในองค์การ หรือระบบย่อยขององค์การ เช่น อํานาจหน้าที่ เป้าประสงค์ จุดมุ่งหมาย โครงสร้าง บุคลากร ความรู้และข้อมูลข่าวสาร เทคโนโลยี เป็นต้น ว่ามีอะไรบ้างที่เป็น จุดแข็ง/จุดเด่นขององค์การ องค์การสามารถทําได้ดี มีความชํานาญ มีคุณภาพ มีชื่อเสียง เป็นต้น

2 w = Weakness คือ จุดอ่อนขององค์การ เป็นการพิจารณาอํานาจหน้าที่ เป้าประสงค์ จุดมุ่งหมาย โครงสร้าง บุคลากร ความรู้และข้อมูลข่าวสาร และเทคโนโลยีภายในองค์การว่ามีจุดอ่อนอย่างไร เพื่อที่จะได้ปรับปรุงแก้ไข

3 O = Opportunities คือ โอกาสที่จะทําให้เกิดความได้เปรียบแก่องค์การ เป็นการ พิจารณาดูว่ามีปัจจัยภายนอกองค์การใดที่จะนํามาเป็นประโยชน์ในการดําเนินงานขององค์การได้บ้าง ซึ่งแบ่งออกเป็น

1) สิ่งแวดล้อมของงาน ได้แก่ ลูกค้า คู่แข่ง ผู้ผลิต แรงงาน กฎระเบียบหรือหน่วยงานที่ควบคุม

2) สิ่งแวดล้อมทั่วไป ได้แก่ การเมือง กฎหมาย เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และต่างประเทศ

4 T = Threatคือ อุปสรรคหรือภยันตรายที่จะทําให้เกิดหายนะแก่องค์การ เป็นการ พิจารณาสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ ได้แก่ สิ่งแวดล้อมของงานและสิ่งแวดล้อมทั่วไปที่ทําให้เกิดภยันตรายหรือ หายนะต่อการดําเนินงานขององค์การ

การใช้เทคนิค SWOT วิเคราะห์กรุงเทพมหานคร จุดแข็งของกรุงเทพมหานคร

1 มีบุคลากรที่มีคุณภาพและมีความรู้ความสามารถ

2 มีงบประมาณจํานวนมาก

3 มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย

4 มีสํานักงานเขต 50 เขต แต่ละเขตมีบุคลากรและเครื่องมือพร้อมในการทํางาน

5 คณะผู้บริหารมีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์ และได้รับการยอมรับจากประชาชนสูง

จุดอ่อนของกรุงเทพมหานคร

1 การบริหารราชการยังขาดการบูรณาการระหว่างหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร และการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกที่ดําเนินภารกิจในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

2 การบริหารราชการขาดความโปร่งใส เกิดปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น

3 ระบบการตรวจสอบและควบคุมการบริหารราชการไม่มีประสิทธิภาพ ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน

4 ผู้บริหารมาจากการเลือกตั้ง ทําให้บางครั้งการดําเนินนโยบายต่าง ๆ ขาดความต่อเนื่อง

5 ขาดอํานาจต่อรองทางการเมืองกับรัฐบาล ทําให้ไม่สามารถริเริ่มภารกิจใหม่ ๆ หรือขยายเขตอํานาจตามกฎหมายให้กว้างขวางมากขึ้นได้

โอกาสของกรุงเทพมหานคร

1 เป็นศูนย์กลางทางการเมือง การปกครอง และเศรษฐกิจของประเทศ

2 เป็นเมืองเศรษฐกิจขนาดใหญ่ มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงและต่อเนื่อง

3 เป็นสถานที่ตั้งของสถานที่สําคัญ ๆ เช่น กระทรวง กรมต่าง ๆ สถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงที่ทําการหนังสือพิมพ์ สถานีวิทยุและโทรทัศน์ รวมทั้งมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ จํานวนมาก เช่น พระบรมมหาราชวัง วัดพระแก้ว วัดอรุณราชวราราม วัดเบญจมบพิตร เป็นต้น

4 มีระบบโครงข่ายการสื่อสารสมัยใหม่ที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ ประชากรส่วนใหญ่เข้าถึงเครือข่ายได้ถ้วนหน้า

5 ประชากรมีระดับการศึกษาสูงกว่าเมืองอื่น ๆ ในประเทศ

อุปสรรคของกรุงเทพมหานคร

1 การอพยพของคนเข้ามาอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครเป็นจํานวนมากส่งผลให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา เช่น ความแออัด การขาดแคลนที่อยู่อาศัย การเกิดปัญหาอาชญากรรม เพิ่มขึ้น รวมทั้งมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาดหรือโรคติดต่อต่าง ๆ

2 ภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำส่งผลต่อระดับรายได้ของประชากร การจ้างงาน และการลงทุนต่าง ๆ

3 การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนส่งผลให้แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ พม่า ลาว และกัมพูชา หลังไหลเข้ามาทํางานในกรุงเทพมหานครเป็นจํานวนมาก

4 การเมืองที่ขาดเสถียรภาพส่งผลให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีความเสี่ยงต่อการชุมนุมประท้วง หรือการก่อเหตุความรุนแรงต่าง ๆ อันเนื่องมาจากปัญหาการเมือง

5 การมีความเสี่ยงต่อการก่อการร้ายหรือการก่ออาชญากรรมข้ามชาติ

 

ข้อ 2 เหตุผลใดที่สถาบันการศึกษา จึงต้องมีการประกันคุณภาพการศึกษา (อย่างน้อย 5 ประการ)

ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคําแหงมีกี่ระบบ อะไรบ้าง จงอธิบาย และหลักการประเมินคุณภาพภายนอกมีอะไรบ้าง พร้อมกับยกตัวอย่างปรัชญา/ปณิธานของมหาวิทยาลัยรามคําแหง

แนวคําตอบ

เหตุผลที่ทําให้สถาบันการศึกษาต้องมีการประกันคุณภาพการศึกษา

1 ความแตกต่างด้านคุณภาพของสถาบันการศึกษา

2 ความท้าทายของปัจจัยโลกาภิวัตน์ที่มีต่อการศึกษา ทําให้การศึกษาไร้พรมแดน

3 สถาบันการศึกษามีความจําเป็นที่จะต้องสร้างความมั่นใจแก่สังคมว่าสามารถพัฒนา องค์ความรู้และผลิตบัณฑิตตอบสนอง ต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง ขีดความสามารถในการแข่งขันระดับสากล การพัฒนาภาคการผลิตจริงทั้งอุตสาหกรรมและบริการ การพัฒนา อาชีพ คุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ระดับท้องถิ่นและชุมชน

4 สถาบันการศึกษาจะต้องให้ข้อมูลสาธารณะ (Public Information) ที่เป็นประโยชน์ ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งนักศึกษา ผู้จ้างงาน ผู้ปกครอง รัฐบาล และประชาชนทั่วไป

5 สังคมต้องการระบบการศึกษาที่เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วม (Participation) มีความโปร่งใส (Transparency) และมีความรับผิดชอบสามารถตรวจสอบได้ (Accountability) ตามหลักธรรมาภิบาล

6 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 กําหนดให้สถาบันการศึกษาทุกแห่งจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายใน รวมถึงให้มีสํานักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษาทําหน้าที่ประเมินคุณภาพภายนอก โดยการประเมินผลการจัดการศึกษาของ สถาบันการศึกษา

7 คณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ประกาศใช้มาตรฐานการอุดมศึกษาเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2549 เพื่อเป็นกลไกกํากับระดับมาตรฐานระดับกระทรวง ระดับคณะกรรมการการอุดมศึกษา และระดับ หน่วยงาน โดยทุกหน่วยงานระดับอุดมศึกษาจะได้ใช้เป็นกรอบดําเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา

8 กระทรวงศึกษาธิการได้มีประกาศกระทรวงเรื่องมาตรฐานสถาบันอุดมศึกษาเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เพื่อเป็นกลไกส่งเสริมและกํากับให้สถาบันอุดมศึกษาจัดการศึกษาให้มีมาตรฐาน ตามประเภทหรือกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา 4 กลุ่ม

9 กระทรวงศึกษาธิการได้มีประกาศกระทรวงเรื่องกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา แห่งชาติเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ประกาศแนวทางการปฏิบัติตาม กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เพื่อให้การจัดการศึกษา ระดับอุดมศึกษาเป็นไปตามมาตรฐานการอุดมศึกษาและเพื่อการประกันคุณภาพของบัณฑิตในแต่ละระดับ คุณวุฒิและสาขาวิชา

ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคําแหง ปัจจุบันมหาวิทยาลัยรามคําแหงใช้ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา 3 ระบบ คือ

1 ระบบ ISO 9001 : 2008 ใช้ในคณะ/สํานักที่เน้นงานด้านการบริการให้แก่นักศึกษา เช่น สํานักหอสมุดกลาง สํานักบริการทางวิชาการและทดสอบประเมินผล (สวป.) สํานักงานอธิการบดี สํานักเทคโนโลยี การศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

2 ระบบ QA (Quality Assurance) ใช้ในคณะ/สํานัก/สาขาวิทยบริการฯ โดยอิง องค์ประกอบทั้ง 9 ข้อของสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

3 ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ใช้ในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคําแหง (มัธยมศึกษาและประถมศึกษา) โดยอิงมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน คุณภาพการศึกษากําหนด

หลักการประเมินคุณภาพภายนอก

สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาได้กําหนดหลักการประเมินคุณภาพ ภายนอกไว้ดังนี้

1 เป็นการประเมินการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ไม่ใช่เป็นการประเมินเพื่อจับผิด หรือ การให้คุณให้โทษ

2 ยึดหลักความเที่ยงตรง เป็นธรรม โปร่งใส มีหลักฐานข้อมูลตามสภาพความเป็นจริง และมีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้

3 มุ่งเน้นการประเมินแบบกัลยาณมิตร

4 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการประเมินคุณภาพและการพัฒนาการจัดการศึกษาจาก ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

5 มุ่งสร้างความสมดุลระหว่างเสรีภาพทางการศึกษากับจุดมุ่งหมายและหลักการศึกษา ของชาติตามที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ให้เอกภาพเชิงนโยบาย แต่ยังคงมี ความหลากหลายในทางปฏิบัติ โดยสถาบันสามารถกําหนดเป้าหมายเฉพาะและพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เต็ม ตามศักยภาพของสถาบันและผู้เรียน

ปรัชญา/ปณิธานของมหาวิทยาลัยรามคําแหง

ปรัชญา : ส่งเสริมความเสมอภาคทางการศึกษา ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม

ปณิธาน : พัฒนามหาวิทยาลัยรามคําแหงให้เป็นแหล่งวิทยาการแบบตลาดวิชาควบคู่แบบ จํากัดจํานวน มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม และจิตสํานึกในความรับผิดชอบต่อสังคม

 

ข้อ 3 เครื่องมือการบริหาร (Management Tools) เช่น แนวคิด 5 ส., การบริหารคุณภาพทั้งองค์การ (TQM), การรื้อปรับระบบ (Reengineering}, ระบบมาตรฐานคุณภาพสากล (ISO 9000), ระบบมาตรฐานสากลของไทย (P.S.O.), แนวคิดซิกซ์ ซิกม่า (Six Sigma) เป็นต้น หรือหลักการ 5 G’s ของญี่ปุ่น, แนวคิด 7 S’s Model, แนวคิดธรรมาภิบาล ให้นักศึกษาเลือกอธิบาย 1 แนวคิด

(แนวการตอบให้กล่าวถึงชื่อนักคิด ที่มา หลักการสําคัญของแนวคิดนั้น ๆ)

แนวคําตอบ

ทฤษฎี 7S’s Model

เมื่อปลายปี ค.ศ. 1970 บริษัทที่ปรึกษาชื่อ “McKinsey” ได้เชิญ Richard Pascale แห่ง มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และ Anthony 4thos แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ให้มาช่วยพัฒนากรอบแนวคิดการบริหาร ที่เรียกว่า The McKinsey 7 S’s Framework ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยที่สําคัญ 7 ประการ ดังนี้

1 กลยุทธ์ (Strategy) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการวางแผนองค์การเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วยการใช้เทคนิค SWOT (SWOT Technique) มาทําการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคขององค์การ เพื่อนํามากําหนดเป็นกลยุทธ์

2 โครงสร้าง (Structure) คือ การปรับปรุงโครงสร้างองค์การ การแบ่งหน่วยงาน การรวม อํานาจ และการกระจายอํานาจที่เหมาะสม

3 ระบบ (Systems) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดระบบงาน และการลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน ให้สั้นลง เพื่อทําให้สามารถปฏิบัติงานได้รวดเร็ว

4 สไตล์ (Style) คือ แบบแผนพฤติกรรมของผู้นํา การใช้รูปแบบการบริหารที่เหมาะสม และแสดงบทบาทผู้นําการเปลี่ยนแปลง

5 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Staff) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการคัดเลือกบุคลากรที่มีความ สามารถ การพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง การหมุนเวียนกันทํางาน และการเห็นคุณค่าของทรัพยากรมนุษย์

6 ทักษะ (Skills) เป็นเรื่องเกี่ยวกับความชํานาญ ความสามารถพิเศษของบุคลากร การพัฒนาทักษะการทํางานของแต่ละบุคคล และการส่งเสริมการทํางานเป็นทีม

7 ค่านิยมร่วม (Shared Values) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการสร้างค่านิยมร่วมกันในการทํางาน หรือที่เรียกว่า “Spiritual Values” เช่น การให้บริการ ความยุติธรรม ความสามัคคีปรองดอง ความร่วมมือ ความสุภาพ ความอ่อนน้อมถ่อมตน ความกตัญญ การทําในสิ่งที่ดีกว่า การปรับปรุงแก้ไข การปรับตัวเข้าหากัน เป็นต้น ค่านิยม ดังกล่าวนี้เป็นสิ่งที่ควรสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นในองค์การ

ปัจจัยทั้ง 7 ประการสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

1 Hard คือ ส่วนที่แข็ง ไม่คล่องตัว และปรับตัวได้ค่อนข้างช้า ได้แก่ กลยุทธ์ และโครงสร้างขององค์การ

2 Soft คือ ส่วนที่อ่อน มีความคล่องตัว และสามารถปรับตัวได้ง่าย ได้แก่ สไตล์ของ ผู้บริหาร ระบบงาน การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ทักษะ และค่านิยมร่วม

สรุป จากกรอบแน คิดของปัจจัย 7S’s Model ดังกล่าว ผู้บริหารจําเป็นต้องใช้ภาวะผู้นํา ในการบริหารปัจจัยทั้ง 7 ประการให้สอดคล้องและสมดุลกัน นับตั้งแต่การกําหนดกลยุทธ์ขององค์การ การปรับปรุง โครงสร้างที่เหมาะสม การจัดระบบงานให้เหมาะสมและลดขั้นตอนการทํางานให้สั้นลงเพื่อทําให้สามารถบริการ ได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น การใช้สไตล์การบริหารงานที่ให้ความสําคัญทั้งบุคคลและงาน การให้เกียรติผู้ร่วมงาน การบริหารทรัพยากรมนุษย์ด้วยการสรรหาและคัดเลือกคนดีมีฝีมือเข้ามาทํางาน การพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล การสร้างทักษะการทํางานเป็นทีม และการสร้างค่านิยมสร้างสรรค์ในการทํางาน

 

 

LIS1003 การใช้ห้องสมุด s/2560

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา LIS 1003 การใช้ห้องสมุด

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 60 ข้อ)

1 ผลการวิเคราะห์ข่าวที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์รายวัน มีความหมายตรงกับข้อใด

(1) สารสนเทศ

(2) ข้อมูล

(3) ความรู้

(4) ปัญญา

ตอบ 1 หน้า 3, 5, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 3), (คําบรรยาย) ความหมายของคําว่า“ข้อมูล” และ “สารสนเทศ” มีดังนี้

1 ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อมูลดิบหรือข้อเท็จจริงที่ยังไม่สมบูรณ์ ไม่ถูกต้อง หรือยังไม่ได้ผ่านการกลั่นกรอง วิเคราะห์ ตรวจสอบ และประเมินผลอย่างเป็นระบบ เช่น ข่าวจาก หนังสือพิมพ์หรือโทรทัศน์ ข่าวซุบซิบ ข่าวลือ ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต การโฆษณาสินค้าการหาเสียงของนักการเมือง การกล่าวหาหรือโจมตีคู่แข่งทางการเมือง เป็นต้น

2 สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข่าวสารความรู้ที่เป็นข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกิดจากข้อมูลที่ผ่านการกลั่นกรอง วิเคราะห์ และประมวลผลแล้ว ตลอดทั้งความรู้สึกนึกคิด ของมนุษย์ ซึ่งบันทึกลงในสื่อหรือวัสดุประเภทต่าง ๆ ที่สามารถถ่ายทอดและเผยแพร่ได้ ดังนั้นสารสนเทศจึงมีความถูกต้องและมีประโยชน์ต่อผู้ใช้มากกว่าข้อมูล เพราะสามารถ นํามาช่วยแก้ไขปัญหาและประกอบการตัดสินใจได้ เช่น ผลการวิเคราะห์ข่าวที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์รายวัน เป็นต้น

2 The Code of Hummurabi เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติใด

(1) บาบิโลเนียน

(2) อียิปต์

(3) สุเมเรียน

(4) กรีก

ตอบ 1 หน้า 7 ชาวบาบิโลเนียนเป็นชนชาติที่มีการบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ลงบนแผ่นดินเหนียวเช่น เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการค้า วรรณกรรม การปกครอง ประวัติศาสตร์ ศาสนา และกฎหมาย โดยกฎหมายที่สําคัญของยุคนี้ก็คือ “ประมวลกฎหมายของพระเจ้าฮัมมูราย” (The Code of Hummurabi) เป็นกฎหมายที่มีลักษณะเข้มงวดแบบตาต่อตา ฟันต่อฟัน และเป็นประมวลกฎหมายฉบับแรกของโลกที่จารึกด้วยอักษรคูนิฟอร์มลงบนแผ่นหินสีดําซึ่งในปัจจุบันได้เก็บเอาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ ประเทศฝรั่งเศส

3 หอพระมณเฑียรธรรม เกี่ยวข้องกับข้อใดมากที่สุด

(1) หอหลวง

(2) หอไตร

(3) หอระฆัง

(4} หอจดหมายเหตุ

ตอบ 2 หน้า 10 (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 11) ในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างหอพระมณเฑียรธรรมขึ้นกลางสระน้ำ ตรงมณฑปของวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว ในบริเวณพระบรมมหาราชวังเมื่อ พ.ศ. 2326 ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นที่เก็บคัมภีร์พระไตรปิฎก ดังนั้น จึงนับได้ว่าหอพระมณเฑียรธรรมเป็นหอไตรหรือหอพระไตรปิฎกหรือห้องสมุดวัด ซึ่งทําหน้าที่เป็นหอสมุดพุทธศาสนาของหลวงหลังแรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์

4 การติดตามข่าวสารอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับหัวใจนักปราชญ์ในข้อใด

(1) สุตตะ

(2) จินตะ

(3) ปุจฉา

(4) ลิขิต

ตอบ 1 หน้า 20, (คําบรรยาย) หลักของหัวใจนักปราชญ์ ได้แก่ “สุ จิ ปุ ลิ” มีดังนี้

1 สุ (สุต หรือสุตตะ) คือ การรับฟังหรือการรับสารทั้งปวง รวมทั้งการอ่านหนังสือการติดตามข่าวสาร และการค้นคว้าหาความรู้จากสื่อต่าง ๆ

2 จิ (จินตนะ หรือจินตะ) คือ การคิดวิเคราะห์ไตร่ตรองสิ่งต่าง ๆ หรือพิจารณากลั่นกรองข้อมูลก่อนตัดสินใจทําสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

3 ปุ (ปุจฉา) คือ การไต่ถามหรือเสวนาหาคําตอบจากผู้รู้

4 ลิ (ลิขิต) คือ การเขียนหรือการจดบันทึกข้อมูล

5 การตรวจสอบความถูกต้องของการสะกดคํา “กัลปาวสาน” จากหนังสือพจนานุกรม จัดเป็นการอ่านรูปแบบใด

(1) การอ่านคร่าว ๆ

(2) การอ่านอย่างวิเคราะห์

(3) การอ่านเพื่อเก็บรายละเอียด

(4) การอ่านอย่างเจาะจง

ตอบ 4 หน้า 18 การอ่านอย่างเฉพาะเจาะจง (Scanning) เป็นการอ่านเพื่อค้นหาคําตอบเฉพาะเรื่องซึ่งผู้อ่านไม่จําเป็นต้องเสียเวลาอ่านตั้งแต่หน้าแรกจนถึงหน้าสุดท้าย แต่ให้ผู้อ่านกวาดสายตา ไปตลอดหน้ากระดาษเพื่อหาสิ่งที่ต้องการ โดยการอ่านในลักษณะนี้มักจะนิยมใช้กับการค้นหา ความรู้จากหนังสืออ้างอิงประเภทต่าง ๆ เช่น การค้นหาความหมายและการสะกดคําที่ถูกต้อง จากหนังสือพจนานุกรม, การค้นหาคําตอบจากหนังสือสารานุกรม, การค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับองค์การและสถาบันต่าง ๆ ในหนังสือนามานุกรม ฯลฯ

6 สถานที่เก็บเอกสารโบราณที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม หมายถึงข้อใด

(1) พิพิธภัณฑ์

(2) หอจดหมายเหตุ

(3) ศูนย์สารสนเทศ

(4) ห้องสมุดเฉพาะ

ตอบ 2 หน้า 36 หอจดหมายเหตุ เป็นหน่วยงานสารสนเทศที่เก็บรวบรวมรักษาเอกสารจดหมายเหตุที่สําคัญ ๆ ไว้มากที่สุด เช่น เอกสารทางราชการ จดหมายโต้ตอบ บันทึกส่วนตัว ฯลฯ ซึ่งเป็น เอกสารโบราณหรือเอกสารเก่าย้อนหลังที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของประเทศหรือของทาง ราชการ หน่วยงานเอกชนและบุคคล เพื่อรวบรวมเหตุการณ์ที่ผ่านมา เพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิง ทางประวัติศาสตร์ กฎหมาย วิชาการ หรือการค้นคว้าวิจัย และเพื่อเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติสืบไป เช่น หอจดหมายเหตุแห่งชาติ สังกัดกรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ

7 หน่วยงานใดที่ทําหน้าที่ในการกําหนดเลข ISBN ให้กับหนังสือที่จัดพิมพ์ในประเทศไทย (1) หอสมุดแห่งชาติ

(2) สํานักงานสถิติแห่งชาติ

(3) หอจดหมายเหตุแห่งชาติ

(4) สํานักราชบัณฑิตยสภา

ตอบ 1 (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 24) หอสมุดแห่งชาติจะมีหน้าที่สําคัญประการหนึ่ง คือ เป็นศูนย์ข้อมูลและกําหนดหมายเลขสากลประจําวารสารแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ISSN) และกําหนดหมายเลขมาตรฐานสากลประจําหนังสือ (ISBN) สําหรับหนังสือที่จัดพิมพ์ ในประเทศไทย

8หน่วยงานใดของสํานักหอสมุดกลาง ม.ร. ที่ให้บริการจุลสาร

(1) ฝ่ายบริการวารสารและเอกสาร

(2) ฝ่ายวัสดุไม่ตีพิมพ์

(3) ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ

(4) ฝ่ายบริการผู้อ่าน

ตอบ 1 หน้า 40 – 41 ฝ่ายบริการวารสารและเอกสาร จะรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดหา พิจารณาคัดเลือกและประเมินคุณค่าวารสาร จัดทําดรรชนีและสาระสังเขปบทความจากวารสารและเอกสาร จัดทําบรรณานุกรมวารสาร รวมทั้งให้บริการวารสาร นิตยสาร หนังสือพิมพ์ จุลสารสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง และเอกสารทั่ว ๆ ไป ตลอดจนจัดทํากฤตภาคไว้ให้บริการ

9 ข้อใดหมายถึงทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุด

(1) วิดีโอคลิปละครบุพเพสันนิวาสออกอากาศแต่ละตอน

(2) วิดีโอคลิปละครบุพเพสันนิวาสจัดเป็นระบบหมวดหมู่

(3) วิดีโอคลิปละครบุพเพสันนิวาสที่เตรียมกําลังออกอากาศ

(4) วิดีโอคลิปละครบุพเพสันนิวาสที่กําลังดําเนินการแสดง

ตอบ 2 หน้า 55, 76, 153 – 134 ทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุด หมายถึง แหล่งสารสนเทศทุก ๆรูปแบบที่ห้องสมุดได้จัดเลือก จัดหา วิเคราะห์ และจัดระบบหมวดหมู่ไว้อย่างเป็นระเบียบ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งตีพิมพ์บนแผ่นกระดาษ สิ่งบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยมือ สื่อโสตทัศน์ (เช่น แถบวีดิทัศน์ วิดีโอคลิปต่าง ๆ ฯลฯ) วัสดุย่อส่วน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนฐานข้อมูล ออนไลน์ที่ห้องสมุดบอกรับเป็นสมาชิกและจัดประเภทพร้อมให้บริการ รวมทั้งบรรณารักษ์ หรือบุคลากรบริการสารสนเทศที่ทําหน้าที่ให้บริการและช่วยผู้ใช้ค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

10 บุพเพสันนิวาส จัดเป็นสื่อตีพิมพ์ประเภทใด

(1) บันเทิงคดี

(2) สารคดี

(3) ตํารา

(4) วารสาร

ตอบ 1 หน้า 56 หนังสือบันเทิงคดี (Fiction) หมายถึง หนังสือที่เขียนขึ้นจากจินตนาการหรือประสบการณ์ของผู้แต่ง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้อ่านได้รับความเพลิดเพลินและข้อคิดคติชีวิตในแง่มุมต่าง ๆ ได้แก่ นวนิยาย เรื่องสั้น และกวีนิพนธ์

11 ข้อใดกล่าวถึงบรรณานุกรม

(1) ส่วนที่ช่วยอธิบายข้อความบางตอนที่ปรากฏในเนื้อหา

(2) บัญชีรายชื่อหนังสือที่ปรากฏในท้ายเล่มของหนังสือ

(3) บัญชีคําหรือวลีที่ปรากฏในตอนท้ายของหนังสือ

(4) ส่วนที่ให้คําอธิบายคํายากหรือคําศัพท์เฉพาะ

ตอบ 2 หน้า 64, 129, 254, 275 บรรณานุกรม (Bibliography) เป็นบัญชีรายชื่อหนังสือ เอกสารและสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องต่าง ๆ ที่ผู้แต่งใช้เป็นหลักฐานประกอบการเขียนหนังสือเล่มนั้น โดยอาจ อยู่ท้ายบทหรือท้ายเล่มก็ได้ หรืออาจจัดทําเป็นตัวเล่มหนังสือที่รวบรวมรายชื่อและรายละเอียด ของทรัพยากรสารสนเทศ เช่น รายชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง ครั้งที่พิมพ์ สํานักพิมพ์หรือโรงพิมพ์ และ ปีที่พิมพ์ เพื่อให้รายละเอียดเพิ่มเติมและให้ความมั่นใจแก่ผู้อ่านว่าเนื้อหาของหนังสือเล่มนั้นมีความถูกต้องและเชื่อถือได้ เพราะผู้เขียนได้ค้นคว้าอย่างมีหลักฐาน

12 ข้อใดเป็นส่วนประกอบสําคัญของวารสารที่ดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน

(1) รูปภาพและอักษรบนปก

(2) ภาพข่าวและรูปภาพ

(3) ความนําและอักษรบนปก

(4) พาดหัวข่าวและรูปภาพ

ตอบ 1 หน้า 65 ส่วนประกอบของวารสารมี 3 ส่วน คือ

1 ปกวารสาร (Cover) เป็นส่วนประกอบที่สําคัญ ประกอบด้วย ชื่อวารสาร ฉบับที่ ปีที่ เดือนปี และราคา แต่องค์ประกอบที่สําคัญที่สุดก็คือ รูปภาพ (เป็นภาพเขียนหรือภาพถ่ายก็ได้)และอักษรบนปก ซึ่งสามารถดึงดูดให้ผู้อ่านสนใจวารสารแต่ละฉบับเพิ่มมากขึ้น

2 สารบาญหรือสารบัญ (Contents) จะบอกให้ทราบถึงลําดับของเนื้อเรื่องในฉบับโดยมีชื่อเรื่อง ชื่อผู้เขียน เลขหน้า และรายการต่าง ๆ เกี่ยวกับวารสาร

3 คอลัมน์ต่าง ๆ (Columns) ซึ่งจะขึ้นอยู่กับวารสารแต่ละประเภท

12 พลังอนาคตใหม่ได้จัดพิมพ์แผ่นพับเพื่อแจกจ่ายให้กับประชาชนที่สนใจการเมือง จัดเป็นทรัพยากร สารสนเทศประเภทใด

(1) กฤตภาค

(2) จุลสาร

(3) วารสาร

(4) ต้นฉบับตัวเขียน

ตอบ 2 หน้า 66 67 จุลสาร (Pamphlets) เป็นสิ่งพิมพ์ที่ให้สารสนเทศเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ทันสมัยและอยู่ในความสนใจของบุคคลทั่วไปในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นบทความทาง วิชาการต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ หรือความรู้ที่หน่วยงานราชการ องค์การ วัดหรือสมาคมต่าง ๆ ต้องการเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ อาจพิมพ์ออกเป็นเอกสารเล่มเล็กเดี่ยว ๆ หรือพิมพ์เป็น ตอน ๆ โดยรูปเล่มทั่วไปจะไม่มีการเข้าปกเย็บเล่มถาวร มีจํานวนหน้าไม่เกิน 60 หน้า ทั้งนี้อาจจะมีลักษณะเป็นแผ่นพับหรืออยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า “อนุสาร” (Brochure) ก็ได้

14 วิดีโอคลิปแถลงการณ์การปรองดองของเกาหลีเหนือ ใต้ จัดเป็นสื่อประเภทใด

(1) โสตทัศน์

(2) โสตวัสดุ

(3) ทัศนวัสดุ

(4) อิเล็กทรอนิกส์

ตอบ 1 หน้า 67 – 73, 77 สื่อโสตทัศน์ (โสตทัศนวัสดุ หรือวัสดุไม่ตีพิมพ์) แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

1 โสตวัสดุ เป็นวัสดุที่สื่อสารโดยการฟัง เช่น แผ่นเสียงหรือจานเสียง เทป แถบบันทึกเสียงซีดีออดิโอ แผ่นเอ็มพี 3 ฯลฯ

2 ทัศนวัสดุ เป็นวัสดุที่สื่อสารโดยการเห็น เช่น วัสดุกราฟิก รูปภาพ แผนที่ ลูกโลก ภาพนิ่งแผ่นโปร่งใส หุ่นจําลอง ของตัวอย่าง ฯลฯ

3 สื่อโสตทัศน์ หรือโสตทัศนวัสดุ เป็นวัสดุที่สื่อสารทั้งโดยการฟังและการเห็น เช่น ภาพยนตร์แถบวีดิทัศน์หรือวิดีโอ วีซีดี ดีวีดี วิดีโอคลิป ฯลฯ

15 ไมโครฟิล์มเหมือนกับไมโครฟิชในลักษณะใด

(1) เป็นวัสดุย่อส่วนที่ใช้เทคโนโลยีแสงเลเซอร์

(2) เป็นวัสดุย่อส่วนที่มีขนาดเท่ากับบัตรรายการ

(3) เป็นวัสดุย่อส่วนในรูปของบัตรทึบแสง

(4) เป็นวัสดุย่อส่วนในรูปของฟิล์มโปร่งแสง

ตอบ 4 หน้า 54, 73 – 74, 77 – 78 วัสดุย่อส่วน (Micrographic or Microforms) หมายถึง วัสดุที่บันทึกสารสนเทศจากสิ่งพิมพ์ที่เป็นหนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ วิทยานิพนธ์ จดหมายโต้ตอบ หนังสือหายาก ต้นฉบับตัวเขียน เอกสารที่มีคุณค่าต่าง ๆ โดยวิธีการถ่ายย่อส่วนลงบนแผ่นฟิล์ม ขนาดเล็กเพื่อประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บและป้องกันการฉีกขาดทําลาย ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

1 ฟิล์มโปร่งแสง ได้แก่ ไมโครฟิล์ม ไมโครฟิซ และบัตรอเพอเจอร์

2 บัตรทึบแสง ได้แก่ ไมโครการ์ด และไมโครพริ้นท์

16 Floppy Disk มีความหมายตรงกับข้อใด

(1) จานแม่เหล็ก นิดอ่อน

(2) จานแสง

(3) ซีดีรอม

(4) วีดิทัศน์ดิจิตอล

ตอบ 1 หน้า 75 – 76, 78, (คําบรรยาย) สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง สื่อที่บันทึกสารสนเทศด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นอักขระแบบดิจิตอล ซึ่งต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือ แสงเลเซอร์ในการบันทึกและอ่านข้อมูล แบ่งออกเป็น

1 แผ่นจานแม่เหล็กแบบอ่อน (Diskette หรือ Floppy Disk) บันทึกโปรแกรมสําเร็จรูป 2 จานแสง (Optical Disk) เช่น VCD, DVD, CD-ROM บันทึกฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ฐานข้อมูลเชิงพาณิชย์ ฐานข้อมูลด้านการศึกษา ฐานข้อมูลเชิงบรรณานุกรม ฯลฯ

3 USB Flash Drive เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลหรือไฟล์จากคอมพิวเตอร์ โดยมีวิธีการบันทึกข้อมูลเหมือน Hard Disk หรือ Floppy Disk มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา สะดวก

ในการพกพาติดตัว และสามารถเก็บข้อมูลได้จํานวนมากตั้งแต่ 128 MB – 8 GB

17 ข้อใดกล่าวถึงหนังสืออ้างอิงไม่ถูกต้อง

(1) หนังสืออ้างอิงมีการเรียบเรียงเนื้อหาอย่างเป็นระบบ โดยจําแนกตามหมวดหมู่หรือจัดเรียงตามลําดับอักษร

(2) เนื้อหาสาระเหมาะสําหรับบุคคลเฉพาะกลุ่มหรือเฉพาะสาขาวิชาเท่านั้น

(3) หนังสืออ้างอิงใช้สําหรับการค้นหาคําตอบของปัญหาที่ต้องการได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว (4) หนังสืออ้างอิงนําเสนอข้อเท็จจริงอย่างสั้น ๆ กะทัดรัด จบภายในเล่ม

ตอบ 2 หน้า 83 หนังสืออ้างอิงมีลักษณะดังนี้

1 เรียบเรียงเนื้อหาอย่างเป็นระบบ เช่น จัดเรียงตามลําดับอักษร จัดเรียงตามหมวดหมู่ของสาขาวิชา ฯลฯ เพื่อช่วยค้นหาคําตอบของปัญหาที่ต้องการได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

2 มุ่งให้ผู้อ่านทั่วไปได้รับความรู้และข้อเท็จจริงที่ต้องการอย่างรวดเร็ว จึงมีวิธีการนําเสนอข้อเท็จจริงอย่างสั้น ๆ กะทัดรัด และจบภายในเล่ม

3 เป็นหนังสือที่มีขอบเขตความรู้กว้างขวางในทุกแขนงวิชา ฯลฯ

18 ต้องการค้นหาประวัติของคําว่า “ข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ Big Data” ควรใช้หนังสืออ้างอิงข้อใด

(1) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน

(2) สารานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน

(3) พจนานุกรมศัพท์คอมพิวเตอร์

(4) พจนานุกรมรวมกฎหมายไทย

ตอบ 3 หน้า 89 – 90 พจนานุกรมศัพท์คอมพิวเตอร์ฉบับปรับปรุงใหม่ จะให้ทั้งคําศัพท์เก่าและคําศัพท์ที่เกิดขึ้นใหม่ทางคอมพิวเตอร์เป็นจํานวนมาก พร้อมกับคําแปลเป็นภาษาไทยและ คําอธิบายความหมาย ประกอบ มีการให้คําเต็ม คําย่อ คําเหมือน คําตรงข้าม ประวัติของคําและภาพประกอบมากมาย โดยจัดเรียงคําศัพท์ตามลําดับอักษร

19 ต้องการข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับ “กุมารทอง” ควรใช้หนังสืออ้างอิงข้อใด

(1) สมพัตสร

(2) คู่มือชาวพุทธ

(3) ดรรชนีและสาระสังเขป

(4) สารานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน

ตอบ 4 หน้า 92 สารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน ถือเป็นสารานุกรมฉบับแรกของประเทศไทยเขียนโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น ๆ และมีเนื้อหาครอบคลุมหัวข้อต่าง ๆ 18 เรื่อง ได้แก่ บุคคลสําคัญ เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ ความเคลื่อนไหวของโลก ประเทศ และภูมิภาค ปรัชญา ศาสนา ลัทธินิกายต่าง ๆ ฯลฯ โดยมีการจัดเรียบเรียงบทความตามลําดับตัวอักษร ซึ่งตอนท้ายของแต่ละบทความจะมีอักษรย่อของผู้เขียนกํากับไว้ และมีดรรชนีค้นเรื่องอยู่ใน ตอนท้ายเล่ม

20 ต้องการรวบรวมชีวประวัติและผลงานของวลาดีมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีของประเทศรัสเซียควรใช้หนังสืออ้างอิงข้อใด

(1) Who’s Who in the World

(2) A Biographical Dictionary of Railway Engineers

(3) A Biographical Dictionary of Scientists

(4) The Biographical Encyclopedia of American Women

ตอบ 1 หน้า 97 – 99 อักขรานุกรมชีวประวัติ คือ หนังสือที่รวบรวมประวัติชีวิตของบุคคลสําคัญโดยจะให้รายละเอียดเกี่ยวกับเชื้อชาติ สถานที่เกิด วันเดือนปีเกิด หรือตาย (ในกรณีที่บุคคล เจ้าของชีวประวัติสิ้นชีวิตไปแล้ว) ที่อยู่ ระดับการศึกษา ตําแหน่งหน้าที่การงาน ประสบการณ์ ในการทํางาน ผลงานดีเด่น และสถานภาพทางครอบครัว เพื่อต้องการให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาว่า ผู้ที่มีชื่อเสียงในอดีตนั้นได้ทําคุณประโยชน์ให้กับบ้านเมืองอย่างไรบ้าง เช่น Who’s Who in the World จะให้ชีวประวัติบุคคลสําคัญที่ยังมีชีวิตอยู่ในทุกวงการอาชีพประมาณ 25,000 รายชื่อ จาก 150 ประเทศ เป็นต้น

21 ต้องการค้นหา “รายชื่อและหมายเลขโทรศัพท์ที่ได้รับใบอนุญาตเป็นหน่วยงานในการฝึกอบรมหลักสูตรหน่วยงานฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟในกรุงเทพมหานคร” ควรใช้หนังสืออ้างอิงประเภทใด

(1) สมพัตสร

(2) สารานุกรม

(3) นามานุกรม

(4) สิ่งพิมพ์รัฐบาล

ตอบ 3 หน้า 102 – 103, 105 นามานุกรม (Directory) คือ หนังสือที่รวบรวมรายชื่อของบุคคลองค์การ หรือหน่วยงานต่าง ๆ พร้อมกับสถานที่อยู่หรือที่ตั้งและหมายเลขโทรศัพท์สําหรับการติดต่อ แบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท ได้แก่

1 นามานุกรมท้องถิ่น เช่น สมุดโทรศัพท์

2 นามานุกรมของรัฐ เช่น นามสงเคราะห์ส่วนราชการไทย

3 นามานุกรมสถาบัน เช่น ชื่อมหาวิทยาลัย โรงเรียน ห้องสมุด ฯลฯ

4 นามานุกรมสาขาอาชีพ เช่น ทําเนียบกระทรวงยุติธรรม พุทธศักราช 2530

5 นามานุกรมการค้าและธุรกิจ เช่น รวมโรงงานอุตสาหกรรม

22 ต้องการค้นหาสถิติการส่งออกทุเรียนของไทยระหว่างปี พ.ศ. 2558 – 2560 ควรใช้หนังสืออ้างอิง ประเภทใด

(1) สมพัตสร

(2) ดรรชนีและสาระสังเขป

(3) คู่มือ

(4) หนังสือรายปี

ตอบ 4 หน้า 109 110 หนังสือรายปี (Yearbooks) เป็นหนังสือที่พิมพ์ออกเป็นรายปี โดยจะให้ข่าวสาร ข้อมูล เหตุการณ์ กิจกรรมความเคลื่อนไหว แนวโน้ม และความก้าวหน้าทางด้าน การเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในประเทศต่าง ๆ ภายในรอบปีหนึ่ง ๆ ที่ผ่านมา ซึ่งจะเสนอในรูปของการพรรณนาความอย่างสัน ๆ โดยมีตัวเลข สถิติประกอบด้วย เช่น สมุดสถิติรายปีประเทศไทย จะรวบรวมสถิติตัวเลขทางด้านต่าง ๆ อาทิการศึกษา ประชากร เศรษฐกิจ การค้าขาย การส่งออก เป็นต้น

23 ต้องการทราบประวัติและที่ตั้งของ “เมืองมัลลิกา ร.ศ. 124” ควรใช้หนังสืออ้างอิงประเภทใด

(1) สารานุกรมวัฒนธรรมไทย

(2) อักขรานุกรมชีวประวัติ

(3) ราชกิจจานุเบกษา

(4) อักขรานุกรมภูมิศาสตร์

ตอบ 4 หน้า 115 อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ เป็นหนังสือที่ให้ข้อมูลอย่างสังเขปเกี่ยวกับชื่อของสถานที่สําคัญทางภูมิศาสตร์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายพจนานุกรมที่ให้คําจํากัดความเกี่ยวกับชื่อและสถานที่ทางภูมิศาสตร์อย่างสั้น ๆ ให้คําอ่านและรายละเอียดอื่น ๆ ได้อย่างกระชับและน่าเชื่อถือที่สุด เช่น สถานที่ตั้ง ระยะทาง เส้นรุ้ง เส้นแวง ความตื้นลึกของทะเล ความสูงของภูเขา จํานวนผลผลิตทางเกษตรกรรม อุตสาหกรรม จํานวนประชากร ตราประจําจังหวัด เป็นต้น

24 ต้องการรวบรวม “เหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้” ควรใช้หนังสืออ้างอิงประเภทใด

(1) ดรรชนีท้ายเล่ม

(2) ดรรชนีวารสาร

(3) ดรรชนีหนังสือพิมพ์

(4) ดรรชนีที่ห้องสมุดจัดทําขึ้นเอง

ตอบ 3 หน้า 120 ดรรชนีหนังสือพิมพ์ เป็นเครื่องมือช่วยให้ผู้อ่านค้นหารายชื่อบทความ ข่าวหรือเหตุการณ์สําคัญ ๆ ที่ลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ ประกอบด้วย ชื่อผู้เขียนบทความ ชื่อบทความ หรือข่าว ชื่อหนังสือพิมพ์ วันเดือนปี และเลขหน้าที่มีบทความหรือข่าวนั้น ๆ โดยจัดเรียงแต่ละรายการตามลําดับอักษรภายใต้ชื่อผู้เขียนบทความและภายใต้หัวเรื่อง

25 ต้องการค้นรายชื่อวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับ “การบริการสารสนเทศสําหรับผู้สูงวัย”ควรใช้หนังสืออ้างอิงประเภทใด

(1) หนังสือคู่มือ

(2) บรรณานุกรม

(3) ดรรชนีวารสาร

(4) สาระสังเขป

ตอบ 4 หน้า 84, 119 – 120, 127 สาระสังเขป เป็นหนังสืออ้างอิงที่ชี้แนะแหล่งสารสนเทศ โดยมีลักษณะเป็นการสรุปหรือย่อสาระสําคัญของเนื้อเรื่องหรือเรื่องราวสําคัญ ๆ ของบทความใน วารสาร หนังสือ และเอกสารประเภทอื่น ๆ เพื่อช่วยให้ผู้อ่านได้ทราบถึงเนื้อหาสาระสําคัญ ก่อนที่จะไปอ่านจากต้นฉบับจริงที่สมบูรณ์ เช่น รวมบทคัดย่อวิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์, Dissertation Abstracts International จะรวบรวมรายชื่อวิทยานิพนธ์และบทคัดย่อในระดับปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยในประเทศสหรัฐฯ และแคนาดา ฯลฯ

26 การจัดหมวดหมู่หนังสือ มีวิธีการดําเนินการอย่างไร

(1) กําหนดรหัสประจําหนังสือ โดยพิจารณาจากชื่อเรื่องของหนังสือ

(2) กําหนดเลขประจําหนังสือ โดยพิจารณาจากชื่อผู้แต่ง

(3) กําหนดสัญลักษณ์ให้กับหนังสือ โดยพิจารณาจากเนื้อหาของหนังสือ

(4) กําหนดสัญลักษณ์ให้กับหนังสือ โดยพิจารณาจากสํานักพิมพ์

ตอบ 3 หน้า 150, 157, 191 การจัดหมู่หนังสือ หมายถึง การจัดหนังสือให้เป็นระบบโดยพิจารณาจากเนื้อหาสาระของหนังสือเป็นสําคัญ และมีการกําหนดสัญลักษณ์ให้กับหนังสือ ซึ่งเรียกว่า “เลขเรียกหนังสือ” (Call Number) เพื่อแสดงกลุ่มเนื้อหาของหนังสือในแต่ละประเภท และ ใช้เป็นเครื่องหมายระบุตําแหน่งของหนังสือทุกเล่มในห้องสมุด ซึ่งหนังสือที่มีเนื้อหาเดียวกัน และ/หรือประพันธ์วิธีเดียวกันจะมีสัญลักษณ์เหมือนกันและวางอยู่ในที่เดียวกัน ส่วนหนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันจะมีสัญลักษณ์ใกล้เคียงกันและวางอยู่ในตําแหน่งที่ไม่ไกลกัน

27 ห้องสมุดในข้อใดที่นิยมใช้ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้

(1) หอสมุดโรงพยาบาลศิริราช

(2) สํานักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคําแหง

(3) ห้องสมุด “เฉลิมราชกุมารี”

(4) ศูนย์ข้อมูลพลังงานปรมาณูเพื่อสันติภาพ

ตอบ 3 หน้า 151, 153, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 23) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้ (Dewey Decimal Classification : DDC หรือ DC) ถือเป็นระบบที่นิยมใช้กันแพร่หลาย ในห้องสมุดขนาดเล็กหรือขนาดกลางที่มีหนังสือทั่ว ๆ ไปหลายสาขาวิชาในจํานวนที่ไม่มากนัก ได้แก่ ห้องสมุดประชาชน (เช่น ห้องสมุด “เฉลิมราชกุมารี” ฯลฯ) ห้องสมุดโรงเรียน เป็นต้น ซึ่งการจัดหมู่หนังสือด้วยระบบนี้จะเป็นแบบเชิงกว้าง โดยแบ่งสรรพวิทยาการในโลกออกเป็น 10 หมวดใหญ่ และจะใช้สัญลักษณ์แสดงเนื้อหาของหนังสือเป็นตัวเลขอารบิก 3 หลัก ตั้งแต่ 100 – 000 กับทศนิยมอีกไม่จํากัดตําแหน่งเพื่อแบ่งเนื้อหาให้ชี้เฉพาะยิ่งขึ้น

28 ข้อใดคือระบบการจัดหมู่หนังสือที่เหมาะสําหรับห้องสมุดที่มีจํานวนหนังสือปริมาณมาก

(1) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน

(2) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้

(3) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดแพทย์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา

(4) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมสากล

ตอบ 1 หน้า 153 – 155, (คําบรรยาย) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classification : LCC หรือ LC) เป็นระบบในเชิงปฏิบัติที่ยึดแนววิวัฒนาการ ของมนุษย์เป็นหลัก ท่าให้มีความยืดหยุ่นมากที่สุด สามารถรองรับสรรพวิทยาการใหม่ ๆ และ ความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างดี ดังนั้นจึงเป็นระบบที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย ในห้องสมุดขนาดใหญ่ที่มีหนังสือเฉพาะสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง หรือมีหนังสือทั่วไปทุกประเภท เป็นจํานวนมาก เช่น ห้องสมุดเฉพาะ ห้องสมุดมหาวิทยาลัย ฯลฯ โดยแบ่งเนื้อหาของหนังสือ ออกเป็น 20 หมวดใหญ่ และใช้สัญลักษณ์ในการจัดหมู่หรือเลขหมู่หนังสือเป็นแบบผสม คือ ใช้ตัวอักษรโรมันตั้งแต่ A – Z (ยกเว้น 1, 0, W, X, Y) เพื่อแสดงเนื้อหาในหมวดใหญ่ และใช้ตัวเลขอารบิกตั้งแต่ 1 – 9999 กับทศนิยมอีกไม่จํากัดตําแหน่งแบ่งย่อยเรื่องอีกที่หนึ่ง

29 ห้องสมุดโรงพยาบาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ใช้ระบบใดในการจัดหมวดหมู่หนังสือในข้อใด

(1) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน

(2) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดแพทย์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา

(3) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้

(4) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมสากล

ตอบ 2 หน้า 155 – 156, (คําบรรยาย) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดแพทย์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (National Library Medicine : NLAM) เป็นระบบการจัดหมู่หนังสือที่มักใช้กับ ห้องสมุดทางการแพทย์ สาธารณสุข และพยาบาล โดยใช้อักษรโรมัน Q กับ W และเลขอารบิก เป็นสัญลักษณ์เช่นเดียวกับการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน แต่แตกต่างในด้าน การจําแนกสรรพวิทยาการออกเป็น 2 หมวดใหญ่ คือ หมวด Q วิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน และหมวด W วิชาการแพทย์และวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นระบบนี้จึงนิยมใช้กับห้องสมุด ของคณะแพทยศาสตร์ในทุกสถาบัน เช่น ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่, ห้องสมุดวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพฯ, ห้องสมุดของโรงพยาบาลต่าง ๆ เป็นต้น

30 สัญลักษณ์ที่แสดงเนื้อหาของหนังสือแต่ละประเภทและระบุตําแหน่งของหนังสือ หมายถึงข้อใด

(1) เลขทะเบียนหนังสือ

(2) เลขเรียกหนังสือ

(3) เลขหมู่หนังสือ

(4) เลขประจําหนังสือสากล

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 26 ประกอบ

31 ข้อใดกล่าวถึงการจัดเรียงหนังสือบนชั้นได้ถูกต้องที่สุด

(1) จัดเรียงตามเลขประจําหนังสือ จากเลขจํานวนน้อยไปหาเลขจํานวนมาก

(2) จัดเรียงตามลําดับอักษรของชื่อเรื่องของหนังสือแบบพจนานุกรม

(3) จัดเรียงตามเลขเรียกหนังสือ จากเลขหมู่น้อยไปหาเลขหมู่มาก (

4) จัดเรียงตามลําดับหมวดหมู่ของหมวดหมู่ย่อยและหมวดหมูใหญ่

ตอบ 3 หน้า 159 – 160 การจัดเรียงหนังสือบนชั้นในห้องสมุด จะพิจารณาจากเลขเรียกหนังสือจากซ้ายไปขวา จากชั้นบนลงชั้นล่าง และจะพิจารณาจัดลําดับจากเลขหมู่หนังสือก่อน ทั้งนี้ ห้องสมุดที่จัดหมู่หนังสือด้วยระบบทศนิยมดิวอี้จะเรียงลําดับจากเลขหมู่น้อยไปหาเลขหมู่มาก ส่วนห้องสมุดที่จัดหมู่หนังสือด้วยระบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกันจะพิจารณาเรียงลําดับไปตาม ตัวอักษร A – Z ก่อน ต่อเมื่อตัวอักษรซ้ํากันจึงค่อยเรียงลําดับจากเลขหม่น้อยไปหาเลขหมู่มากแต่ถ้าเลขหมู่ซ้ำกันก็ให้พิจารณาเลขผู้แต่งหรือเลขประจําหนังสือ และอักษรชื่อเรื่องตามลําดับ

32 ทรัพยากรสารสนเทศข้อใดที่ห้องสมุดนิยมจัดเก็บไว้ในรูปของวัสดุย่อส่วน

(1) วารสารฉบับย้อนหลัง

(2) หนังสือพิมพ์ฉบับย้อนหลัง

(3) สิ่งพิมพ์รัฐบาล

(4) วารสารเย็บเล่ม

ตอบ 2 หน้า 169 ห้องสมุดโดยทั่วไปจะเก็บหนังสือพิมพ์ฉบับย้อนหลังไว้ระยะเวลาหนึ่งประมาณ 1 – 2 ปี แล้วคัดทิ้งไป แต่ห้องสมุดบางแห่งนิยมคัดเลือกและจัดเก็บหนังสือพิมพ์ฉบับย้อนหลัง ที่สําคัญ ๆ ด้วยการถ่ายเป็นวัสดุย่อส่วนแล้วเก็บไว้ในรูปของไมโครฟิล์ม เพื่อรักษาสภาพและ ประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บ เช่น สํานักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคําแหง ทําการจัดเก็บ หนังสือพิมพ์ 10 ฉบับ ไว้ในรูปไมโครฟิล์ม ได้แก่ สยามรัฐ มติชน ไทยรัฐ ประชาชาติ เดลินิวส์ ข่าวพาณิชย์ มติชนรายสัปดาห์ สยามรัฐรายสัปดาห์ Bangkok Post และ The Nation

33 ทรัพยากรสารสนเทศประเภทใดมีวิธีการจัดเก็บโดยการกําหนดหัวเรื่อง

(1) จุลสาร

(2) หนังสือพิมพ์

(3) วารสาร

(4) ของตัวอย่าง

ตอบ 1 หน้า 163, 170 171 วิธีการจัดเก็บจุลสารและกฤตภาคของห้องสมุดจะใช้วิธีเดียวกันซึ่งนิยมจัดเก็บแยกออกจากวัสดุสารสนเทศอื่น ๆ คือ จัดเก็บโดยกําหนดหัวเรื่องกํากับไว้ที่ มุมบนของปก แล้วนําจุลสารและกฤตภาคที่มีหัวเรื่องเดียวกันเก็บรวบรวมไว้ในแฟ้ม ปิดป้าย ชื่อหัวเรื่องที่แฟ้ม และนําแฟ้มไปจัดเก็บไว้ในตู้เก็บเอกสารเรียงตามลําดับอักษรของหัวเรื่องโดยที่หน้าลิ้นชักจะมีอักษรกํากับไว้ให้ทราบว่าแต่ละลิ้นชักมีแฟ้มเริ่มจากอักษรตัวใดถึงตัวใด

34 สัญลักษณ์ MD ใช้สําหรับการจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศประเภทใด

(1) หุ่นจําลอง

(2) ภาพโปร่งใส

(3) เทปบันทึกเสียง

(4) ของจริง

ตอบ 1 (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 204) หุ่นจําลอง (Model) จัดเป็นวัสดุ 3 มิติที่ใช้แทนของจริง ซึ่งห้องสมุดจะใช้วิธีการจัดเก็บโดยการกําหนดสัญลักษณ์ให้ คือ MD (Model) ตามด้วยเลขทะเบียนหรือเลขหมู่ ติดป้ายชื่อเรื่อง ชนิดของวัสดุ ขนาด แนวตั้ง แนวนอน ส่วนลึก แล้วจัดเก็บตามลําดับเลขทะเบียน

35 ข้อใดคือวิธีการจัดเก็บไมโครฟิล์มของห้องสมุดที่เอื้อต่อการใช้

(1) มีป้ายติดกล่องม้วน จัดเก็บในลิ้นชักตู้เหล็กตามลําดับเลขทะเบียน

(2) มีป้ายติดกล่องม้วน จัดเก็บในลิ้นชักใกล้เครื่องอ่าน

(3) จัดเรียงใส่ตะแกรงพลาสติกตามลําดับหัวเรื่อง

(4) จัดเก็บไว้ในกล่องหรือตลับตามลําดับขนาด

ตอบ 1 หน้า 177, 180, 351 วิธีจัดเก็บไมโครฟิล์มของห้องสมุดมีอยู่ 2 วิธี ดังนี้

1 จัดเรียงขึ้นชั้นรวมไว้กับสิ่งพิมพ์ โดยห้องสมุดจะจัดเก็บไมโครฟิล์มทั้งที่เป็นชนิดม้วนและตลับด้วยการจัดทําป้าย ซึ่งประกอบด้วย เลขทะเบียน ชื่อเรื่อง ความยาว ความกว้าง ประเภท ของฟิล์ม และสัญลักษณ์ที่กําหนดเป็นเลขหมู่ติดไว้บนกล่องม้วนและตลับ แล้วจึงจัดเรียงขึ้นชั้นรวมไว้กับสิ่งพิมพ์อื่น ๆ

2 จัดแยกไว้ในตู้ โดยห้องสมุดบางแห่งอาจนํากล่องหรือตลับไมโครฟิล์มที่ปิดป้ายมาแยกเป็นหมวดหมู่ แล้วเรียงตามลําดับเลขทะเบียนไว้ในลิ้นชักตู้เหล็ก หรือเรียงใส่ตะแกรงพลาสติกไว้บนชั้นแบบชั้นเก็บหนังสือ

36 ห้องสมุดนิยมจัดเก็บวัสดุอิเล็กทรอนิกส์ด้วยวิธีใด จึงจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาได้อย่างรวดเร็ว

(1) จัดเก็บด้วยวิธีกําหนดเลขหมู่ และหัวเรื่อง

(2) จัดเก็บขึ้นชั้นตามเลขหมู่รวมไปกับหนังสือ

(3) จัดเก็บในระบบชั้นปิด

(4) จัดเก็บด้วยการใช้ระบบจัดหมู่ และการกําหนดสัญลักษณ์

ตอบ 3 หน้า 163, 178 ห้องสมุดส่วนใหญ่นิยมจัดเก็บวัสดุอิเล็กทรอนิกส์ เช่น แผ่นจานแม่เหล็กชนิดอ่อน ซีดีรอมหรือซีดี วีซีดีและดีวีดี ในระบบชั้นปิด โดยแยกไว้ต่างหากจากทรัพยากรสารสนเทศอื่น ๆ และจะมีเจ้าหน้าที่คอยหยิบให้เมื่อมีผู้ใช้มาขอรับบริการ

37 ข้อใดกล่าวถึงบัตรรายการได้ถูกต้อง

(1) การรวบรวมรายการผู้จําหน่ายหนังสือ

(2) การรวบรวมรายการทะเบียนวารสารในห้องสมุด

(3) เครื่องมือที่บอกตําแหน่งของหนังสือในห้องสมุด

(4) เครื่องมือรวบรวมรายการทะเบียนทรัพยากรสารสนเทศ

ตอบ 3 หน้า 187, 189 บัตรรายการ หมายถึง เครื่องมือที่บอกให้ทราบถึงตําแหน่งของหนังสือในห้องสมุด ซึ่งประโยชน์ของบัตรรายการมีดังนี้

1 ช่วยให้ผู้ใช้ตรวจสอบรายชื่อหนังสือและทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดว่ามีอะไรบ้างใครเป็นผู้แต่ง และอยู่ที่ใดในห้องสมุด

2 ให้รายละเอียดทางบรรณานุกรมของหนังสือแต่ละเล่มได้

3 ช่วยให้ผู้ใช้ค้นหาหนังสือที่ต้องการได้แม้ไม่ทราบชื่อผู้แต่ง หรือชื่อเรื่อง

4 ให้ความสะดวกต่อผู้ใช้ที่เตรียมเขียนรายงาน หรือรวบรวมรายชื่อหนังสือในหัวข้อที่ต้องการ

5 บอกให้ทราบว่าห้องสมุดมีหนังสือในหมวดวิชาใดมากน้อยเพียงใด

38 ข้อใดคือประโยชน์ของบัตรรายการ

(1) เพื่อให้ผู้ใช้ทราบชื่อร้านขายหนังสือ

(2) เพื่อให้บรรณารักษ์ทราบงบประมาณที่จัดซื้อหนังสือ

(3) เพื่อให้ผู้ใช้ทราบรายละเอียดบรรณานุกรมของหนังสือ

(4) เพื่อให้ผู้ใช้ทราบสถิติการยืมหนังสือแต่ละเล่ม

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 37 ประกอบ

39 ข้อมูล “xiv, 146 p. ; 23 cm.” ปรากฏในส่วนใดของบัตรรายการ

(1) ลักษณะวัสดุ

(2) หมายเหตุ

(3) การพิมพ์และการจัดจําหน่าย

(4) เลขเรียกหนังสือ

ตอบ 1 หน้า 191, 193, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 220) ลักษณะวัสดุ หรือลักษณะรูปร่าง(Physical Description) เป็นรายการหนังสือของห้องสมุดที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะ รูปร่าง ส่วนประกอบ และขนาดของหนังสือ ได้แก่ จํานวนหน้า (ความหนาของหนังสือ) หรือ จํานวนเล่ม ภาพประกอบ (สีของภาพประกอบ) และส่วนสูงของหนังสือ ซึ่งตัวอย่างลักษณะ วัสดุของหนังสือภาษาไทย เช่น 315 หน้า : ภาพประกอบ ; 19 ซม. ส่วนหนังสือภาษาอังกฤษ เช่น xiv, 146 p. ; 23 cm.

40 ส่วนใดของบัตรรายการที่แจ้งให้ผู้ใช้ทราบว่าหนังสือเล่มนั้นมีภาคผนวก

(1) ชื่อชุด

(2) สํานักพิมพ์

(3) หมายเหตุ

(4) การแจ้งความรับผิดชอบ

ตอบ 3 หน้า 193, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 221) หมายเหตุ (Notes) เป็นส่วนประกอบของบัตรรายการที่ให้ข้อมูลอื่นเพิ่มเติมเกี่ยวกับหนังสือนอกเหนือจากที่บอกไว้ในส่วนอื่น ๆ เพื่อให้ผู้ใช้ได้ทราบเพิ่มเติมว่าหนังสือเล่มนั้นมีบรรณานุกรม มีดรรชนี มีอภิธานศัพท์ หรือมีภาคผนวกอยู่ท้ายเล่ม ฯลฯ เช่น บรรณานุกรม : หน้า 300 – 320

41 ข้อความในบัตรโยง “หนังสือเรียน ดูที่ ตํารา” มีความหมายอย่างใด

(1) สามารถใช้คําว่า “หนังสือเรียน” เป็นหัวเรื่องได้

(2) สามารถใช้คําว่า “หนังสือเรียน” และ “ตํารา” เป็นหัวเรื่องได้

(3) ไม่สามารถใช้ “หนังสือเรียน” เป็นหัวเรื่อง

(4) ไม่สามารถใช้ทั้งคําว่า “หนังสือเรียน” และ “ตํารา” เป็นหัวเรื่องได้

ตอบ 3 หน้า 199 200 บัตรโยง (Cross References Card) คือ บัตรที่จัดทําขึ้นเพื่อใช้โยงชื่อหรือข้อความ มีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่

1 บัตรโยง “ดูที่” (see) คือ บัตรโยงหัวเรื่องที่ไม่ได้ใช้ไปยังหัวเรื่องที่ใช้ เช่น “หนังสือเรียนดูที่ ตํารา หมายถึง หนังสือเรียน (ไม่ใช้เป็นหัวเรื่อง) แต่ให้ไปดที่หัวเรื่อง “ตํารา” แทน

2 บัตรโยง “ดูเพิ่มเติมที่” (see also) คือ บัตรโยงที่ใช้โยงหัวเรื่องกว้างกว่าให้ไปดูหัวเรื่องที่แคบกว่าหรือหัวเรื่องเฉพาะวิชาการที่เกี่ยวข้องกัน

42 ข้อใดเรียงชื่อผู้แต่งได้ถูกต้อง

(1) สมบัติ/สมพร/สมัคร/สุพัฒน์

(2) สุพัฒน์/สมพร/สมบัติ/สมัคร

(3) สมพร/สมบัติ/สุพัฒน์ สมัคร

(4) สมบัติ/สุพัฒน์/สมพร/สมัคร

ตอบ 1 หน้า 207 – 210 การเรียงบัตรรายการหนังสือภาษาไทย มีหลักเกณฑ์ดังนี้

1 ให้เรียงตามลําดับอักษร ก – ฮ โดยไม่คํานึงถึงเสียงอ่าน

2 คําที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะตัวเดียวกัน ให้เรียงคําที่มีตัวสะกดไว้ก่อนคําที่มีรูปสระ และเรียงลําดับรูปสระตามแบบพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน

3 ตัว ฤ เรียงไว้หลังตัว ร ส่วนตัว ฦ เรียงไว้หลังตัว ล

4 ผู้แต่งคนเดียวกันแต่งหนังสือหลายเล่ม ให้เรียงตามลําดับอักษรตัวแรกของชื่อเรื่อง ฯลฯ(จากโจทย์ เรียงลําดับที่ถูกต้องได้ดังนี้ สมบัติ/สมพร/สมัคร/สุพัฒน์)

43 รายการในข้อใดเป็นผู้แต่งที่เป็นนิติบุคคล

(1) รอมแพง

(2) แก้วเก้า

(3) น.ณ ปากน้ำ

(4) กรมวิชาการ

ตอบ 4 หน้า 191 192 ชื่อผู้แต่ง (Author) หรือรายการหลัก (Main Entry) เป็นชื่อผู้ที่เขียนหนังสือเล่มนั้น ถ้าหากเป็นคนไทยให้ลงชื่อตัวก่อนแล้วตามด้วยชื่อสกุล เช่น ประเวศ วะสี แต่ถ้าเป็นชาวต่างประเทศให้ลงชื่อสกุลก่อน และใส่เครื่องหมายจุลภาค ( , ) แล้วตามด้วย ชื่อตัวและขอกลาง (ถ้ามี) เช่น Hunter, David E. นอกจากนี้ผู้แต่งอาจเป็นนิติบุคคล ได้แก่ สถาบัน หน่วยงาน สมาคม เช่น กรมวิชาการ กรมสามัญศึกษา ฯลฯ

44 ข้อใดคือความหมายของหัวเรื่อง

(1) บทคัดย่อของหนังสือ

(2) การสรุปเนื้อหาสําคัญของหนังสือ

(3) คําหรือวลีที่กําหนดใช้แทนเนื้อหาของหนังสือ

(4) คําต่าง ๆ ที่ปรากฏในหน้าสารบัญของหนังสือ

ตอบ 3 หน้า 221, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 250 251) หัวเรื่อง หมายถึง คําหรือวลีหรือชื่อเฉพาะต่าง ๆ ที่ใช้แทนเนื้อหาของหนังสือและสื่ออื่น ๆ โดยบรรณารักษ์ไม่ได้เป็นผู้เลือกขึ้นเอง แต่จะเลือกจากคําหรือวลีที่เป็นศัพท์ควบคุม เพื่อค้นหาหนังสือในห้องสมุดจากบัญชีหัวเรื่อง มาตรฐานที่นิยมใช้ในการจัดเก็บและสืบค้นข้อมูลของห้องสมุด ได้แก่

1 Library of Congress Subject Headings (LCSH) จัดทําขึ้นโดยห้องสมุดรัฐสภาอเมริกันเพื่อใช้เป็นบัญชีหัวเรื่องหนังสือที่เป็นภาษาอังกฤษสําหรับห้องสมุดขนาดใหญ่ 2 Sear’s List of Subject Headings (Sear’s List) เป็นบัญชีหัวเรื่องสําหรับหนังสือทั่วไปที่เป็นภาษาอังกฤษสําหรับห้องสมุดขนาดเล็ก โดยจะใช้คู่กับการจัดหมู่หนังสือในระบบทศนิยมดิวอี้

45 ต้องการหาสารสนเทศเกี่ยวกับการจัดการปกครองของไทยสมัยอยุธยา ควรใช้หัวเรื่องในข้อใด

(1) ไทย–ชีวประวัติ

(2) ไทย–ความเป็นอยู่ประเพณี–กรุงศรีอยุธยา

(3) ไทย–ประวัติศาสตร์–กรุงศรีอยุธยา

(4) ไทย–การเมืองและการปกครอง–กรุงศรีอยุธยา

ตอบ 4 หน้า 224 225 หัวเรื่องย่อย เป็นคําหรือวลีที่ใช้เป็นหัวเรื่องย่อยเพื่อขยายหัวเรื่องใหญ่ให้เห็นชัดเจนหรือจําเพาะเจาะจงขึ้น โดยหัวเรื่องย่อยจะมีขีดสั้น 2 ขีด (–) อยู่ข้างหน้าคํา เพื่อคั่นระหว่างหัวเรื่องใหญ่และหัวเรื่องย่อย แบ่งได้ 4 ประเภท ดังนี้

1 แบ่งตามวิธีเขียน เช่น ภาษาไทย — แบบฝึกหัด, หนังสือหายาก–บรรณานุกรม ฯลฯ

2 บอกลําดับเหตุการณ์ ซึ่งจะแบ่งตามปีคริสต์ศักราช ยุคสมัย หรือชื่อพระเจ้าแผ่นดิน เช่น ไทย–การเมืองและการปกครอง–กรุงศรีอยุธยา ฯลฯ

3 แบ่งตามขอบเขตเฉพาะของเนื้อหา เช่น English Language- Grammar ฯลฯ

4 แบ่งตามสภาพภูมิศาสตร์ เช่น พุทธศาสนา–ไทย– เชียงใหม่, เรือ–ไทย ฯลฯ

46 “ห้องสมุดกับการศึกษา” จัดเป็นหัวเรื่องประเภทใด

(1) คํานามคําเดียวโดด ๆ

(2) กลุ่มคํา

(3) คําผสม

(4) คําคู่

ตอบ 3 หน้า 223 – 224, 228 การกําหนดคําที่ใช้เป็นหัวเรื่องใหญ่ มีลักษณะดังนี้

1 คํานามคําเดียวโดด ๆ เช่น กบ ไกด์ นก ฯลฯ

  1. คําผสมที่เป็นคํานาม 2 คํา เชื่อมด้วย “and”, “กับ”, “และ” ทั้งที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องสัมพันธ์ไปในทางเดียวกัน เช่น ห้องสมุดกับการศึกษา Libraries and readers ฯลฯ และที่มีเนื้อหาค้านกัน เช่น ศาสนากับวิทยาศาสตร์ Good and evil ฯลฯ

3 คํานามที่ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค ( , ) คันกลางและมีคําคุณศัพท์ที่ขยายคําแรกให้สื่อความหมายชัดขึ้น เช่น Art, abstract ฯลฯ

4 กลุ่มคําหรือวลี เช่น บริการแปล ชีวิตชนบท ฯลฯ

5 ชื่อเฉพาะที่เป็นคําวิสามานยนาม เช่น ชื่อบุคคล ชื่อสถานที่ ชื่อพระหรือเทพเจ้า ฯลฯ

47 อักษรย่อ “NT” ในบัญชีหัวเรื่อง มีความหมายอย่างไร

(1) คําสัมพันธ์ที่กว้างกว่า

(2) คําสัมพันธ์ที่แคบกว่า

(3) คําที่ไม่ใช้เป็นหัวเรื่อง

(4) คําที่เพิ่มเข้ามาใหม่

ตอบ 2 หน้า 225 – 227, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 256) บัญชีหัวเรื่องมาตรฐาน LCSH ฉบับปัจจุบัน ได้เปลี่ยนแปลงการใช้สัญลักษณ์บางตัวเพื่อกําหนดความสัมพันธ์ของคําที่ใช้เป็น หัวเรื่อง ดังนี้

1 BT (Broader Term) คือ หัวเรื่องสัมพันธ์ที่มีความหมายกว้างกว่า

2 NT (Narrower Term) คือ หัวเรื่องสัมพันธ์ที่มีความหมายแคบกว่า

3 RT (Related Term) คือ หัวเรื่องที่สัมพันธ์กับคําหลักหรือใช้แทนกันได้

4 UF (Use For) คือ หัวเรื่องที่ไม่กําหนดให้ใช้แล้ว

5 USE คือ หัวเรื่องที่กําหนดให้ใช้

6 — คือ หัวเรื่องย่อย

48 ข้อใดไม่ใช่ความหมายของรายงาน

(1) วิเคราะห์แยกแยะความรู้

(2) รวบรวมความรู้และเรียบเรียงใหม่อย่างมีแบบแผน

(3) ทําให้เกิดแนวคิดใหม่ ความรู้ใหม่

(4) ปะติดปะต่อข้อมูลอย่างรวดเร็ว

ตอบ 4 หน้า 236 การทํารายงาน หมายถึง การศึกษาค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งความรู้ต่าง ๆ อาจมีการวิเคราะห์แยกแยะความรู้ข้อมูลที่รวบรวมมา หรือเป็นเพียงการนําความรู้ที่ได้มารวบรวม และเรียบเรียงใหม่อยางมีแบบแผน จนเกิดเป็นแนวคิดใหม่ ความรู้ใหม่ และผลงานใหม่ ซึ่งมี วัตถุประสงค์เพื่อสรุปและรายงานการค้นคว้าในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ ทั้งนี้จะต้องระบุแหล่งที่มาของความรู้และข้อมูลด้วย

49 ข้อใดคือขั้นตอนแรกของการทํารายงาน

(1) การวางโครงเรื่อง

(2) การสํารวจข้อมูล

(3) การกําหนดเรื่อง

(4) การบันทึกข้อมูล

ตอบ 3 หน้า 238 – 263 ขั้นตอนของการทํารายงานหรือภาคนิพนธ์มี 6 ขั้นตอน ดังนี้

1 การกําหนดชื่อเรื่องหรือเลือกหัวข้อที่จะทํารายงาน

2 การสํารวจข้อมูล

3 การรวบรวมบรรณานุกรม ซึ่งจะมีประโยชน์ในการเขียนรายงานฉบับร่าง

4 การบันทึกข้อมูล หรือทําบัตรบันทึกข้อมูล

5 การวางโครงเรื่อง

6 การเรียบเรียงเนื้อหารายงานฉบับร่าง

50 ข้อใดคือข้อมูลปฐมภูมิที่ใช้ในการทํารายงาน

(1) ตําราวิชา LIS 1001

(2) หนังสือกฎหมาย

(3) นิยายของรอมแพง

(4) การสัมภาษณ์บุคคล

ตอบ 4 หน้า 67, 240 แหล่งข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Sources) เป็นหลักฐานเบื้องต้นหรือข้อมูลอันดับแรกที่ ได้รับจากบุคคลโดยตรง เช่น ประสบการณ์ของตนเอง บันทึกส่วนตัว จดหมายโต้ตอบ พระบรมราโชวาท ต้นฉบับตัวเขียน (Manuscript) อัตชีวประวัติ บทสัมภาษณ์แบบสอบถาม สุนทรพจน์ ฯลฯ

2 แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Sources) หรือข้อมูลอันดับรอง ได้แก่ หนังสือหรือตําราและวัสดุที่เป็นผลผลิตของการค้นคว้าจากหลักฐานเบื้องต้น เช่น บทความจากวารสารข่าวในหนังสือพิมพ์ ดรรชนี สารานุกรม กฤตภาค ฯลฯ

51 ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการรวบรวมบรรณานุกรมในการทํารายงาน

(1) รวบรวมรายการหนังสือจากห้องสมุด

(2) เพื่อแสดงความสามารถของผู้ทํารายงาน

(3) รวบรวมรายชื่อวัสดุสารสนเทศที่ใช้ทํารายงาน

(4) เพื่อจัดเรียงหนังสือในห้องสมุดได้ถูกต้อง

ตอบ 3 หน้า 247 การรวบรวมบรรณานุกรม คือ การรวบรวมรายชื่อของวัสดุสารสนเทศที่มีประโยชน์และเกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะทํารายงาน ซึ่งรายชื่อวัสดุสารสนเทศเหล่านี้ เมื่อจัดเรียบเรียงไปตามลําดับอักษรจะเรียกว่า บรรณานุกรม

52 การบันทึกข้อมูลเฉพาะสิ่งสําคัญ ๆ คือการบันทึกแบบใด

(1) แบบลอกความ

(2) แบบถอดความ

(3) แบบสรุปความ

(4) แบบรวมความ

ตอบ 3 หน้า 257, 261, (คําบรรยาย) การบันทึกข้อมูลแบบสรุปความหรือย่อความ เป็นการสรุปใจความสําคัญหรือบันทึกข้อมูลเฉพาะสิ่งที่สําคัญจริง ๆ ลงบนบัตร โดยใช้คําพูดของตนเอง และงดเว้นการอธิบาย การยกตัวอย่าง ซึ่งจํานวนคําในบัตรควรเหลือประมาณครึ่งหนึ่งของข้อมูลเดิม เช่น บทสารคดีท่องเที่ยว บทคัดย่อวิทยานิพนธ์ การย่อข่าวจากสื่อมวลชนต่าง ๆ

53 รายการหรือหัวข้อสําคัญ ๆ ของรายงาน อยู่ส่วนใดของรายงาน

(1) ปกนอก

(2) คํานํา

(3) สารบัญ

(4) หน้าปกใน

ตอบ 3 หน้า 274 หน้าสารบัญหรือสารบาญ คือ บัญชีรายการหรือหัวข้อสําคัญ ๆ ที่ปรากฏในรายงาน เช่น คํานํา สารบาญ เนื้อเรื่องที่แบ่งเป็นหัวข้อใหญ่และหัวข้อย่อย รายการโน้ตบรรณานุกรม ฯลฯ พร้อมระบุเลขหน้าที่รายการนั้น ๆ ปรากฏในรายงาน

54 ข้อใดไม่จัดอยู่ในส่วนเกี่ยวกับภาคผนวก

(1) ส่วนสรุป

(2) อภิธานศัพท์

(3) บรรณานุกรม

(4) ดรรชนี

ตอบ 1 หน้า 64, 274 275 306 ส่วนประกอบของรายงาน แบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ ดังนี้

1 ส่วนประกอบตอนต้น ได้แก่ ปกนอก หน้าปกใน (หน้าชื่อเรื่อง) หน้าคํานํา หน้าสารบาญหรือสารบัญ และหน้าสารบัญภาพ

2 ส่วนที่เป็นเนื้อหา ได้แก่ บทนํา รายละเอียดของเนื้อหา และส่วนสรุป

3 ส่วนประกอบตอนท้าย ได้แก่ บรรณานุกรม ภาคผนวก อภิธานศัพท์ ดรรชนี และปกหลัง

55 ข้อใดอ้างอิงในวงเล็บได้ถูกต้อง

(1) (Gardner, 2007, p. 78)

(2) (Chili Gardner, 2007, p. 78)

(3) (2007. P. 78)

(4) (Gardner, p. 78)

ตอบ 1 หน้า 264, 276 277, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 298) การแสดงที่มาของข้อมูลเฉพาะที่แบบนาม-ปี (Author-date) คือ รายการอ้างอิงแบบในวงเล็บที่แทรกลงไปในเนื้อหา (Cite-in-Text) โดยใส่ชื่อผู้เขียนและปีที่พิมพ์พร้อมด้วยเลขหน้าไว้ในวงเล็บหลังข้อความที่ คัดลอกมาหรือที่ต้องการอ้างอิง ซึ่งมี 2 รูปแบบ ได้แก่

1 รูปแบบตามคู่มือ Turabian คือ (ชื่อ นามสกุลผู้แต่ง / ปีที่พิมพ์, / หน้าที่อ้างอิง) เช่น (อุดมพร มานะ 2556, หน้า 5) หากผู้แต่งเป็นชาวต่างชาติให้ลงเฉพาะชื่อสกุล (Last Name) ปีที่พิมพ์ และเลขหน้า เช่น (Gardner 2007, p. 78)

2 รูปแบบตามคู่มือ APA คือ ชื่อ นามสกุลผู้แต่ง, / ปีที่พิมพ์, / หน้าที่อ้างอิง) เช่น (อุดมพร มานะ, 2556, หน้า 5) หากผู้แต่งเป็นชาวต่างชาติให้ลงเฉพาะชื่อสกุล (Last Name)ปีที่พิมพ์ และเลขหน้า เช่น (Gardner, 2007, p. 78)

56 การกําเนิดอินเทอร์เน็ตในยุคเริ่มต้นมีความสัมพันธ์ตรงกับข้อใด

(1) อังกฤษ

(2) ฝรั่งเศส

(3) สหรัฐอเมริกา

(4) จีน

ตอบ 3 (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 47 – 43), (คําบรรยาย) การพัฒนาอินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2512 เมื่อกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาได้ให้ทุนสนับสนุนโครงการพัฒนาเครือข่าย คอมพิวเตอร์ ซึ่งเริ่มแรกนั้นได้มีการจัดตั้งเครือข่ายอาร์พาเน็ต (ARPAnet) ขึ้น เพื่อเน้นใช้งาน ด้านการทหารและการสื่อสารในช่วงสงครามเย็นมากที่สุด และเพื่อเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของ หน่วยงานในมหาวิทยาลัย 4 แห่ง ซึ่งเป็นประโยชน์สําหรับงานวิจัย จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2526 จึงพัฒนามาเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และในปัจจุบันได้มีการนําอินเทอร์เน็ตมาใช้งานในเชิงพาณิชย์มากขึ้น

57 ผู้ใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตต้องติดตั้งซอฟต์แวร์เฉพาะที่เรียกว่า

(1) เว็บบราวเซอร์

(2) เว็บมาสเตอร์

(3) เว็บบอร์ด

(4) กูเกิล

ตอบ 1 (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 46, 55), (คําบรรยาย) web browser คือ ซอฟต์แวร์และโปรแกรมเฉพาะที่ใช้แสดงผลข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตสําหรับการเข้าสู่บริการเว็บไซต์ เพื่อให้ผู้ใช้ สามารถใช้บริการเว็บไซต์ได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น โดยเว็บบราวเซอร์สามารถใช้เปิดเอกสาร ไฮเปอร์เท็กซ์ หรือเปิดดูสื่อต่าง ๆ ที่ประกอบด้วยภาพและเสียง รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงการ รับและส่งข่าวสารบนเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตได้ ตัวอย่างของเว็บบราวเซอร์ เช่น Internet Explorer, Netscape Navigator, Mozila Firefox, Google Chrome เป็นต้น

58 ข้อใดหมายถึงผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต

(1) ISP

(2) DNS

(3) URL

(4) @yahoo.com

ตอบ 1 หน้า 310, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 49) ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โดยใช้บริการผ่านผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider : ISP) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

1 ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตภาคเอกชน หรือเชิงพาณิชย์ เช่น บริษัท True Corporation

(Asia InfoNet), Samart, TT&T เป็นต้น

2 ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตภาครัฐ เช่น หน่วยงานราชการ หรือมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่อนุญาตให้เชื่อมต่อโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย คุณภาพของบริการอาจไม่เท่ากับของภาคเอกชน

59 Search Engine หมายถึง

(1) เครื่องมือช่วยค้นหาสารสนเทศฐานข้อมูล YouTube

(2) เครื่องมือช่วยค้นหาสารสนเทศฐานข้อมูล OPAC

(3) เครื่องมือช่วยค้นหาสารสนเทศฐานข้อมูล WebOPAC

(4) เครื่องมือช่วยค้นหาสารสนเทศฐานข้อมูล E-book

ตอบ 1 หน้า 313, (คําบรรยาย) Search Engine คือ เครื่องมือช่วยค้นหาสารสนเทศออนไลน์จากฐานข้อมูลเว็บไซต์ (Websites) ที่ให้บริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้ Search Engine จะแสดงรายการสารบาญและช่องว่างให้เติมคําที่ต้องการสืบค้น หลังจากนั้นให้ผู้ใช้ป้อนคํา ข้อความ หรือชื่อเรื่องที่ต้องการค้นหา ก็สามารถหาเว็บไซต์ที่ต้องการหรือรายชื่อเว็บไซต์ที่มี เนื้อหาใกล้เคียงกันได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว เช่น Search Engine ในฐานข้อมูลเว็บไซต์ YouTube เป็นเครื่องมือช่วยค้นหาเพลง มิวสิกวิดีโอ วิดีโอคลิปต่าง ๆ เป็นต้น

60 ข้อใดหมายถึงซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ

(1) Android

(2) Application

(3) Facebook

(4) Line

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS) ถือเป็นโปรแกรมที่ทําหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป โดยมีหน้าที่หลัก คือการจัดสรรทรัพยากรภายในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้บริการซอฟต์แวร์ประยุกต์ในเรื่องของ การรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ หรือจัดสรรพื้นที่ในหน่วยความจําตามที่ซอฟต์แวร์ ประยุกต์ร้องขอ ซึ่งระบบปฏิบัติการในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เช่น Windows NT, Unix, Microsoft Windows XP, Linux ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีระบบปฏิบัติการในโทรศัพท์มือถือ เช่น IOS, Android ฯลฯ

LIS1003 การใช้ห้องสมุด 1/2560

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา LIS 1003 การใช้ห้องสมุด

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 60 ข้อ)

1 “โฆษณายาลดความอ้วน” จัดอยู่ในกลุ่มใด

(1) ข้อมูล

(2) ความรู้

(3) ปัญญา

(4) สารสนเทศ

ตอบ 1 หน้า 3, 5, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 3), (คําบรรยาย) ความหมายของคําว่า “ข้อมูล”และ “สารสนเทศ” มีดังนี้

1 ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อมูลดิบหรือข้อเท็จจริงที่ยังไม่สมบูรณ์ ไม่ถูกต้อง หรือยังไม่ได้ผ่านการกลั่นกรอง วิเคราะห์ ตรวจสอบ และประเมินผลอย่างเป็นระบบ เช่น ข่าวจากหนังสือพิมพ์ หรือโทรทัศน์ ข่าวซุบซิบหรือข่าวลือ ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต การโฆษณาสินค้า การหาเสียงของนักการเมือง หรือการกล่าวหา/โจมตีคู่แข่งทางการเมือง เป็นต้น

2 สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข่าวสารความรู้ที่เป็นข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกิดจากข้อมูลที่ผ่านการกลั่นกรอง วิเคราะห์ และประมวลผลแล้ว ตลอดทั้งความรู้สึกนึกคิด ของมนุษย์ ซึ่งบันทึกลงในสือหรือวัสดุประเภทต่าง ๆ ที่สามารถถ่ายทอดและเผยแพร่ได้ ดังนั้นสารสนเทศจึงมีความถูกต้องและมีประโยชน์ต่อผู้ใช้มากกว่าข้อมูล เนื่องจากสามารถนํามาช่วยแก้ไขปัญหาและประกอบการตัดสินใจได้

2 การบันทึกข้อมูลด้วย “อักษรคิวนิฟอร์ม” ลงบนแผ่นดินเหนียว เริ่มขึ้นในสมัยใด

(1) อัสสิเรียน

(2) อียิปต์

(3) สุเมเรียน

(4) กรีก

ตอบ 3 หน้า 6 – 7 ชาวสุเมเรียน ซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ตามลุ่มน้ำไทกริสและยูเฟรติสของเมโสโปเตเมียเมื่อประมาณ 3,100 B.C. ถือเป็นชนชาติแรกที่รู้จักนําเอาเหตุการณ์และเรื่องราวต่าง ๆ บันทึกลงบนแผ่นดินเหนียวด้วยอักษรรูปลิ่มหรือที่เรียกว่า “อักษรคิวนิฟอร์ม” (Cuneiform) ต่อมาประมาณ 2,700 B.C. ซาวสุเมเรียนเริ่มจัดตั้งห้องสมุดอย่างเป็นระบบ ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ที่เมืองเทลเลาะห์ ประเทศอิรัก

3 หอหลวงเกี่ยวข้องกับข้อใดมากที่สุด

(1) สร้างขึ้นเพื่อเก็บเอกสารของราชสํานักในสมัยกรุงศรีอยุธยา

(2) สถานที่เก็บพระไตรปิฎกเริ่มครั้งแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยา

(3) พ่อขุนรามคําแหงสร้างขึ้นเพื่อใช้เผยแผ่พุทธศาสนาในสมัยสุโขทัย

(4) รัชกาลที่ 3 สร้างขึ้นครั้งแรกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

ตอบ 1 หน้า 9 – 10, (คําบรรยาย) ห้องสมุดในประเทศไทยมีพัฒนาการตามลําดับยุคสมัย ดังนี้

1 สมัยสุโขทัย ได้แก่ หอไตรหรือหอพระไตรปิฎกภายในวัด เพื่อเก็บคัมภีร์พระไตรปิฎก

2 สมัยอยุธยา ได้แก่ หอหลวงภายในพระราชวัง เพื่อเก็บรักษาหนังสือ วรรณกรรมทางโลก ตัวบทกฎหมาย และเอกสารทางราชการของราชสํานัก

3 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการสร้างหอสมุดประจํารัชกาลต่าง ๆ ได้แก่ หอพระมณเฑียรธรรม ภายในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ในสมัยรัชกาลที่ 1 เพื่อประดิษฐานพระไตรปิฎก วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ในสมัยรัชกาลที่ 3 ถือว่าเป็นห้องสมุดประชาชนแห่งแรกของไทย, หอพระสมุดวชิรญาณ หอพุทธสาสนสังคหะ (ตั้งอยู่ในวัดเบญจมบพิตร)และหอพระสมุดวชิรญาณสําหรับพระนคร ในสมัยรัชกาลที่ 5 ตามลําดับ

4 “การพิจารณากลั่นกรองข้อมูล” เป็นคุณสมบัติของนักปราชญ์ในข้อใด

(1) สุตตะ

(2) จินตะ

(3) ปุจฉา

(4) ลิขิต

ตอบ 2 หน้า 20, (คําบรรยาย) หลักของหัวใจนักปราชญ์ ได้แก่ “สุ จิ ปุ ลิ” มีดังนี้

1 สุ (สุต หรือสุตตะ) คือ การรับฟังหรือการรับสารทั้งปวง รวมทั้งการอ่านหนังสือ และการค้นคว้าหาความรู้จากสื่อต่าง ๆ

2 จิ (จินตนะ หรือจินตะ) คือ การคิดวิเคราะห์ไตร่ตรองสิ่งต่าง ๆ หรือพิจารณากลั่นกรองข้อมูลก่อนตัดสินใจทําสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

3 ปุ (ปุจฉา) คือ การไต่ถามหรือเสวนาหาคําตอบจากผู้รู้

4 ลิ (ลิขิต) คือ การเขียนหรือการจดบันทึกข้อมูล

5 การค้นหาความหมายจากหนังสือพจนานุกรม ต้องอาศัยการอ่านในข้อใด

(1) การอ่านคร่าว ๆ

(2) การอ่านอย่างวิเคราะห์

(3) การอ่านเพื่อเก็บรายละเอียด

(4) การอ่านอย่างเจาะจง

ตอบ 4 หน้า 18 การอ่านอย่างเฉพาะเจาะจง (Scanning) เป็นการอ่านเพื่อค้นหาคําตอบเฉพาะเรื่องซึ่งผู้อ่านไม่จําเป็นต้องเสียเวลาอ่านตั้งแต่หน้าแรกจนถึงหน้าสุดท้าย แต่ให้ผู้อ่านกวาดสายตาไป ตลอดหน้ากระดาษเพื่อหาสิ่งที่ต้องการ โดยการอ่านในลักษณะนี้มักจะนิยมใช้กับการค้นหาความรู้ จากหนังสืออ้างอิงประเภทต่าง ๆ เช่น การค้นหาความหมายของคําจากหนังสือพจนานุกรม การอ่านค้นหาคําตอบจากหนังสือสารานุกรม, การค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับองค์การและสถาบันต่าง ๆ ในหนังสือนามานุกรม ฯลฯ

6 แหล่งสารสนเทศในข้อใดไม่จัดอยู่ในกลุ่มห้องสมุดประชาชน

(1) ห้องสมุดสยามสมาคม

(2) ห้องสมุดเฉลิมราชกุมารี

(3) ห้องสมุดสวนลุมพินี

(4) ห้องสมุดนีลสัน เฮย์

ตอบ 1 หน้า 26 – 27, 33 ห้องสมุดประชาชน หมายถึง ห้องสมุดที่ตั้งขึ้นเพื่อให้บริการสารสนเทศครบทุกหมวดวิชาแก่ประชาชน โดยไม่จํากัดเพศ วัย เชื้อชาติ ศาสนา และพื้นฐานความรู้ ทั้งนี้เพื่อ ส่งเสริมให้ประชาชนมีนิสัยรักการอ่าน สามารถเรียนรู้ได้ตามอัธยาศัย และเพื่อการศึกษาค้นคว้า ตลอดชีวิต ตัวอย่างของห้องสมุดประชาชน เช่น ห้องสมุดเฉลิมราชกุมารี, ห้องสมุดนีลสัน เฮย์,ห้องสมุดสวนลุมพินี เป็นต้น ส่วนห้องสมุดสยามสมาคม เป็นห้องสมุดเฉพาะสังกัดสมาคม)

7 แหล่งสารสนเทศในข้อใดที่เก็บโบราณวัตถุที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของชุมชนและประเทศ

(1) ศูนย์สารสนเทศ

(2) หอจดหมายเหตุ

(3) พิพิธภัณฑ์

(4) ห้องสมุดเฉพาะ

ตอบ 3 หน้า 37, (คําบรรยาย) พิพิธภัณฑ์ เป็นแหล่งสารสนเทศที่รวบรวมและจัดแสดงศิลปวัตถุโบราณวัตถุ ซึ่งเป็นสิ่งของโบราณที่มีคุณค่าหรือมีความสําคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ตลอดจนเป็นสิ่งของที่สามารถบอกเล่าเรื่องราวของชุมชนและสังคม เพื่อเป็นประโยชน์ต่อ การศึกษาค้นคว้าของบุคคลทั่วไป

8 ฝ่ายใดของสํานักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคําแหง ที่ให้บริการยืมระหว่างห้องสมุด

(1) ฝ่ายเทคนิค

(2) ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ

(3) ฝ่ายวารสารและเอกสาร

(4) ฝ่ายบริการช่วยการค้นคว้าและวิจัย

ตอบ 4 หน้า 40 ฝ่ายบริการช่วยการค้นคว้าและวิจัย จะทําหน้าที่ให้บริการตอบคําถามเกี่ยวกับการศึกษาและเรื่องทั่ว ๆ ไปทั้งทางตรงและทางอ้อม นอกจากนี้ยังบริการช่วยเหลือแนะนําในการศึกษาค้นคว้า การทํารายงานประกอบการศึกษา แนะนําการใช้ห้องสมุด บริการยืม ระหว่างห้องสมุด บริการรวบรวมบรรณานุกรม บริการนําชมห้องสมุด บริการสิ่งพิมพ์รัฐบาลและหนังสือลักษณะพิเศษ

9 ข้อใดหมายถึงทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุด

(1) หนังสือทุกเล่มที่มีอยู่ในห้องสมุด

(2) หนังสือทุกเล่มที่มีการจัดหมวดหมู่

(3) หนังสือทุกเล่มที่ห้องสมุดสั่งซื้อ

(4) หนังสือทุกเล่มที่มีการบริจาคให้ห้องสมุด

ตอบ 2 หน้า 55, 76, 133 – 134 ทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุด หมายถึง แหล่งสารสนเทศทุกรูปแบบที่ห้องสมุดได้คัดเลือก จัดหา วิเคราะห์ และจัดระบบหมวดหมู่อย่างเป็นระเบียบ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งตีพิมพ์บนแผ่นกระดาษ สิ่งบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยมือ สื่อโสตทัศน์ วัสดุย่อส่วน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนฐานข้อมูลออนไลน์ที่ห้องสมุดบอกรับเป็นสมาชิกและจัดประเภท พร้อมให้บริการ รวมทั้งบรรณารักษ์หรือบุคลากรบริการสารสนเทศที่ทําหน้าที่ให้บริการและช่วยผู้ใช้ค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

10 หน้าโฮมเพจของเว็บไซต์ที่แสดงรายการเชื่อมโยงหน้าเว็บเพจต่าง ๆ คล้ายกับส่วนใดของหนังสือมากที่สุด

(1) หน้าปกหนังสือ

(2) หน้าสารบัญ

(3) หน้าลิขสิทธิ์

(4) หน้าคํานํา

ตอบ 2 หน้า 58, 62 63, (คําบรรยาย) โฮมเพจ (Home Page) คือ หน้าแรกของแต่ละเว็บไซต์ ซึ่งจะรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่อยู่ภายในเว็บไซต์ ดังนั้นโฮมเพจจึงคล้ายกับส่วนประกอบของหนังสือ ดังนี้

1 ในแง่ของเว็บเพจแรกที่บอกว่าเป็นเว็บไซต์เกี่ยวกับอะไร มีเนื้อหาสําคัญอะไรบ้าง โฮมเพจจะคล้ายกับหน้าปกหนังสือ

2 ในแง่ที่แสดงรายการเชื่อมโยงหน้าเว็บเพจเข้าด้วยกัน เพื่อให้ผู้ใช้ Link ไปยังเว็บเพจต่าง ๆเพื่ออ่านข้อมูล โฮมเพจจะคล้ายกับหน้าสารบัญของหนังสือ

11 ข้อใดกล่าวถึงดรรชนีของหนังสือได้ชัดเจนที่สุด

(1) ส่วนที่ให้คําอธิบายคํายากหรือศัพท์เฉพาะ

(2) ส่วนที่ช่วยอธิบายคําบางตอนที่ปรากฏในเนื้อหา

(3) บัญชีคําที่ปรากฏในตอนท้ายของหนังสือ

(4) บัญชีรายชื่อหนังสือที่ปรากฏในท้ายเล่มของหนังสือ

ตอบ 3 หน้า 64, 84, 119 120 ตรรชนี (Index) เป็นหนังสืออ้างอิงที่ชี้แนะแหล่งสารสนเทศโดยมีลักษณะเป็นคําหรือบัญชีกลุ่มคําสําคัญของหัวเรื่องใหญ่ หัวเรื่องย่อย ชื่อบุคคล สถานที่ ชื่อเรื่อง หรือชื่อบทความที่ได้จัดเรียบเรียงไว้ตามลําดับอักษรอย่างมีระบบ พร้อมทั้งระบุ เลขหน้าที่คําหรือข้อความนั้นปรากฏอยู่ เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยให้ผู้อ่านค้นเรื่องหรือหัวข้อ ในสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว โดยทั่วไปดรรชนีมักอยู่ที่ท้ายเล่มของหนังสือ แต่ถ้าเป็นหนังสือชุด เช่น สารานุกรม ดรรชนี้จะอยู่ในเล่มสุดท้าย

12 ส่วนใดเป็นส่วนประกอบของวารสารที่ดึงดูดผู้อ่านมากที่สุด

(1) รูปภาพและอักษรบนปก

(2) สารบัญและคอลัมน์ต่าง ๆ

(3) ปกวารสารและสารบัญ

(4) ความนําและรูปภาพ

ตอบ 1 หน้า 65 ส่วนประกอบของวารสารมี 3 ส่วน คือ

1 ปกวารสาร (Cover) เป็นส่วนประกอบที่สําคัญ ซึ่งประกอบด้วย ชื่อวารสาร ฉบับที่ ปีที่ เดือน ปีและราคา แต่องค์ประกอบที่สําคัญที่สุดก็คือ รูปภาพ (เป็นภาพเขียนหรือภาพถ่ายก็ได้) และอักษรบนปก ซึ่งสามารถดึงดูดให้ผู้อ่านสนใจวารสารแต่ละฉบับเพิ่มมากขึ้น

2 สารบาญหรือสารบัญ (Contents) บอกให้ทราบถึงลําดับของเนื้อเรื่องในฉบับ โดยมีชื่อเรื่องชื่อผู้เขียน เลขหน้า และรายการต่าง ๆ เกี่ยวกับวารสาร

3 คอลัมน์ต่าง ๆ (Columns) ซึ่งขึ้นอยู่กับวารสารแต่ละประเภท

13 กระทรวงเทคโนโลยีได้แจกแผ่นพับเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับไวรัสเรียกค่าไถ่ จัดเป็นสื่อประเภทใด

(1) กฤตภาค

(2) จุลสาร

(3) วารสาร

(4) ต้นฉบับตัวเขียน

ตอบ 2 หน้า 66 – 67 จุลสาร (Pamphlets) เป็นสิ่งพิมพ์ที่ให้สารสนเทศเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ทันสมัยและอยู่ในความสนใจของบุคคลทั่วไปในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นบทความทาง วิชาการต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ หรือความรู้ที่หน่วยงานราชการ องค์การ วัดหรือสมาคมต่าง ๆ ต้องการเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ อาจพิมพ์ออกเป็นเอกสารเล่มเล็กเดียว ๆ หรือพิมพ์เป็น ตอน ๆ โดยรูปเล่มทั่วไปจะไม่มีการเข้าปกเย็บเล่มถาวร มีจํานวนหน้าไม่เกิน 60 หน้า ทั้งนี้อาจจะมีลักษณะเป็นแผ่นพับหรืออยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า “อนุสาร” (Brochure) ก็ได้

14 นักศึกษาต้องการฟังคลิปวิดีโอคําบรรยายย้อนหลังวิชา LIS 1003 จัดเป็นสื่อประเภทใด

(1) โสตทัศน์

(2) โสตวัสดุ

(3) ทัศนวัสดุ

(4) สื่ออิเล็กทรอนิกส์

ตอบ 1 หน้า 67 – 73, 77 สื่อโสตทัศน์ (โสตทัศนวัสดุ หรือวัสดุไม่ตีพิมพ์) แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

1 โสตวัสดุ เป็นวัสดุที่สื่อสารโดยการฟัง เช่น แผ่นเสียงหรือจานเสียง เทป แถบบันทึกเสียงซีดีออดิโอ แผ่นเอ็มพี 3 ฯลฯ

2 ทัศนวัสดุ เป็นวัสดุที่สื่อสารโดยการเห็น เช่น วัสดุกราฟิก รูปภาพ แผนที่ ลูกโลก ภาพนิ่งแผ่นโปร่งใส หุ่นจําลอง ของตัวอย่าง ฯลฯ

3 สื่อโสตทัศน์ หรือโสตทัศนวัสดุ เป็นวัสดุที่สื่อสารทั้งโดยการฟังและการเห็น เช่น ภาพยนตร์ แถบวีดิทัศน์หรือวิดีโอ วีซีดี ดีวีดี วิดีโอคลิป ฯลฯ

15 ห้องสมุดนิยมอนุรักษ์เนื้อหาสาระที่สําคัญจากหนังสือพิมพ์เก่า ๆ ไว้เพื่อการศึกษาค้นคว้าในรูปแบบใด

(1) ไมโครฟิล์ม

(2) ไมโครฟิช

(3) Winzipdata

(4) Metadata

ตอบ 1 หน้า 169 ห้องสมุดโดยทั่วไปจะเก็บหนังสือพิมพ์ฉบับย้อนหลังไว้ระยะเวลาหนึ่งประมาณ1 – 2 ปี แล้วคัดทิ้งไป แต่ห้องสมุดบางแห่งนิยมคัดเลือกและจัดเก็บหนังสือพิมพ์ฉบับย้อนหลัง ที่สําคัญ ๆ ด้วยการถ่ายเป็นวัสดุย่อส่วนแล้วเก็บไว้ในรูปของไมโครฟิล์ม เพื่อรักษาสภาพและ ประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บ เช่น สํานักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคําแหง ทําการจัดเก็บ หนังสือพิมพ์ 10 ฉบับไว้ในรูปไมโครฟิล์ม ได้แก่ สยามรัฐ มติชน ไทยรัฐ ประชาชาติ เดลินิวส์ ข่าวพาณิชย์ มติชนรายสัปดาห์ สยามรัฐรายสัปดาห์ Bangkok Post และ The Nation

16 บริษัทผลิตฐานข้อมูลนิยมบันทึกสารสนเทศ ตรงกับข้อใดมากที่สุด

(1) จานแม่เหล็กชนิดอ่อน (Floppy Disk)

(2) จานแสง (Optical Disk)

(3) ซีดีรอม (CD-ROM)

(4) วีดิทัศน์ดิจิตอล (DVD)

ตอบ 3 หน้า 75 – 76, 78, (คําบรรยาย) สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง สื่อที่บันทึกสารสนเทศด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นอักขระแบบดิจิตอล ซึ่งต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือแสงเลเซอร์ ในการบันทึกและอ่านข้อมูล แบ่งออกเป็น

1 แผ่นจานแม่เหล็กแบบอ่อน (Diskette หรือ Floppy Disk) บันทึกโปรแกรมสําเร็จรูป

2 จานแสง (Optical Disk) เช่น VCD, DVD, CD-ROM บันทึกฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ฐานข้อมูลเชิงพาณิชย์ ฐานข้อมูลด้านการศึกษา ฐานข้อมูลเชิงบรรณานุกรม ฯลฯ

3 USB Flash Drive เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลหรือไฟล์จากคอมพิวเตอร์ โดยมีวิธีการบันทึกข้อมูลเหมือน Hard Disk หรือ Floppy Disk มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา สะดวกในการพกพาติดตัว และสามารถเก็บข้อมูลได้จํานวนมากตั้งแต่ 128 MB – 8 GB

17 ข้อใดไม่ใช่เครื่องมือช่วยค้นหาความรู้ในหนังสืออ้างอิง

(1) คํานํา

(2) คํานําทาง

(3) อักษรนําเล่ม

(4) ดรรชนี

ตอบ 1 หน้า 83 – 84 เครื่องมือช่วยค้นหาความรู้ในหนังสืออ้างอิง ได้แก่

1 คํานําทาง (Guide Word or Running Word)

2 ดรรชนีริมหน้ากระดาษ (Thumb Index)

3 อักษรนําเล่ม (Volume Guide)

4 ส่วนโยง (Cross Reference)

5 ดรรชนี (Index)

18 พจนานุกรมการช่าง จัดเป็นพจนานุกรมประเภทใด

(1) พจนานุกรมภาษาเดียว

(2) พจนานุกรมฉบับย่อ

(3) พจนานุกรมเฉพาะวิชา

(4) พจนานุกรมฉบับสมบูรณ์

ตอบ 3 หน้า 85, 89 – 90, (คําบรรยาย) พจนานุกรมเฉพาะวิชา คือ พจนานุกรมสําหรับค้นหาความหมายของคําที่ใช้ในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง เช่น พจนานุกรมศัพท์วิทยาศาสตร์การแพทย์, พจนานุกรมรวมคําศัพท์ทางการศึกษา, พจนานุกรมการช่าง เป็นต้น

19 สารานุกรมหมายถึงข้อใดมากที่สุด

(1) รวบรวมความรู้พื้นฐานต่าง ๆ อย่างกว้าง ๆ โดยผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาวิชา

(2) ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นมาในทุกสาขาวิชาของโลก

(3) เป็นคู่มือในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น

(4) ให้ข้อมูล ความรู้ทั่วไป แต่แสดงผลออกมาในรูปสถิติ ตัวเลข และแผนภูมิ

ตอบ 1 หน้า 91 – 92, 95 สารานุกรม (Encyclopedia) หมายถึง หนังสือที่รวบรวมความรู้พื้นฐานในแขนงวิชาต่าง ๆ อย่างกว้าง ๆ เขียนโดยผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาวิชา เพื่อให้ข้อมูลหรือความรู้ในรูปของบทความโดยมีอักษรย่อของผู้เขียนกํากับไว้ที่ท้ายบทความ และจัดเรียงเนื้อหาตามลําดับตัวอักษรหรือแบ่งเป็นหมวดหมู่วิชา ซึ่งอาจมีเล่มเดียวจบหรือ หลายเล่มจบที่เรียกว่า “หนังสือชุด” ส่วนใหญ่สารานุกรมจะมีภาพประกอบ และมีดรรชนี ช่วยค้นเรื่อง (Fact Index) อยู่ตอนท้ายเล่ม หรือถ้าเป็นหนังสือชุดก็จะอยู่เล่มสุดท้าย

20 ต้องการค้นหาประวัติบุคคล สามารถหาได้จากหนังสืออ้างอิงเล่มใด

(1) นามานุกรม

(2) หนังสือคู่มือ

(3) ดรรชนี

(4) อักขรานุกรมชีวประวัติ

ตอบ 4 หน้า 97 – 98 อักขรานุกรมชีวประวัติ คือ หนังสือที่รวบรวมประวัติชีวิตของบุคคลสําคัญโดยจะให้รายละเอียดเกี่ยวกับเชื้อชาติ สถานที่เกิด วันเดือนปีเกิด หรือตาย (ในกรณีที่บุคคลเจ้าของชีวประวัติสิ้นชีวิตไปแล้ว) ที่อยู่ระดับการศึกษา ตําแหน่งหน้าที่การงาน ประสบการณ์ ในการทํางาน ผลงานดีเด่น และสถานภาพทางครอบครัว เพื่อต้องการให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาว่าผู้ที่มีชื่อเสียงในอดีตนั้นได้ทําคุณประโยชน์ให้กับบ้านเมืองอย่างไรบ้าง

21 หนังสือที่รวบรวมคําแนะนําในการปฏิบัติงานต่าง ๆ เรียกว่าอะไร

(1) นามานุกรม

(2) หนังสือคู่มือ

(3) ดรรชนี

(4) อักขรานุกรมชีวประวัติ

ตอบ 2 หน้า 107 108 หนังสือคู่มือ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่

1 หนังสือคู่มือทั่วไป (Handbook) จะให้ความรู้เบ็ดเตล็ดทั่วไปไม่จํากัดสาขาวิชา เช่นแรกมีในสยาม เป็นคู่มือให้ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่มีและเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย โดยเสนอข้อเท็จจริงอย่างสั้น ๆ

2 หนังสือคู่มือเฉพาะวิชา (Manual) รวบรวมความรู้และคําแนะนําในการปฏิบัติงานต่าง ๆเฉพาะสาขา เช่น คู่มือช่างไฟฟ้า แพทย์ในบ้าน เป็นต้น

22 ข้อใดไม่ใช่ประเภทของหนังสือรายปี

(1) หนังสือสรุปผลงานประจําปี

(2) สมุดสถิติรายปี

(3) ปฏิทินเหตุการณ์รายปี

(4) หนังสือรายปีของสารานุกรม

ตอบ 3 หน้า 109 หนังสือรายปี มี 4 ประเภท คือ

1 หนังสือรายปีของสารานุกรม

2 หนังสือสรุปผลงานประจําปี

3 หนังสือรายปีเฉพาะด้าน

4 สมุดสถิติรายปี

23 หนังสืออ้างอิงข้อใดที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเทศ เมือง จังหวัด สถานที่สําคัญ สภาพภูมิศาสตร์ การเดินทาง สกุลเงินตรา

(1) อักขรานุกรมภูมิศาสตร์

(2) พจนานุกรม

(3) หนังสือแผนที่

(4) หนังสือนําเที่ยว

ตอบ 4 หน้า 114 115 หนังสือนําเที่ยว เป็นหนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเทศเมือง จังหวัด และสถานที่สําคัญอย่างละเอียด เพื่อประโยชน์ต่อการค้นคว้าและเพื่อตอบสนอง ความต้องการของนักท่องเที่ยว เช่น ให้รายละเอียดเกี่ยวกับประวัติและที่ตั้งของเมือง ภาษา สภาพภูมิศาสตร์ ระยะทาง การเดินทาง โบราณสถานที่น่าสนใจ ที่ตั้งของโรงแรม ร้านอาหารอัตราแลกเปลี่ยนตามสกุลเงินตราของประเทศนั้น ๆ เป็นต้น

24 ดรรชนีมีประโยชน์ต่อผู้ใช้อย่างไร

(1) เป็นเครื่องมือช่วยค้นเรื่องหรือหัวข้อในสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ

(2) บอกแหล่งที่มาของสารสนเทศได้

(3) ให้ผู้ใช้เข้าใจเนื้อหาอย่างย่อของสารสนเทศที่ต้องการได้

(4) ผู้ใช้สามารถใช้งานดรรชนีได้โดยไม่ต้องผ่านบรรณารักษ์

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 11 ประกอบ

25 ข้อใดคือลักษณะของหนังสือบรรณานุกรม

(1) รวบรวมเนื้อหาของทรัพยากรสารสนเทศ

(2) รวบรวมรายชื่อของทรัพยากรสารสนเทศ

(3) แนะนําแนวทางในการค้นหาทรัพยากรสารสนเทศ

(4) แนะนําวิธีการใช้ห้องสมุด

ตอบ 2 หน้า 64, 129, 254, 275 บรรณานุกรม (Bibliography) เป็นบัญชีรายชื่อหนังสือ เอกสารและสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องต่าง ๆ ที่ผู้แต่งใช้เป็นหลักฐานประกอบการเขียนหนังสือเล่มนั้น โดยอาจอยู่ท้ายบทหรือท้ายเล่มก็ได้ หรืออาจจัดทําเป็นตัวเล่มหนังสือที่รวบรวมรายชื่อและรายละเอียด ของทรัพยากรสารสนเทศ เช่น รายชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง ครั้งที่พิมพ์ สํานักพิมพ์หรือโรงพิมพ์ และปีที่พิมพ์ เพื่อให้รายละเอียดเพิ่มเติมและให้ความมั่นใจแก่ผู้อ่านว่าเนื้อหาของหนังสือเล่มนั้นมีความถูกต้องและเชื่อถือได้ เพราะผู้เขียนได้ค้นคว้าอย่างมีหลักฐาน

26 ข้อใดอธิบายความหมายของการจัดหมู่ได้ถูกต้องที่สุด

(1) สัญลักษณ์แสดงหนังสือตามประเภทของหนังสือ

(2) สัญลักษณ์แสดงกลุ่มเนื้อหาของหนังสือแต่ละเล่ม

(3) สัญลักษณ์ที่กําหนดให้หนังสือทุกเล่มประกอบด้วยเลขหมู่ เลขผู้แต่ง

(4) รหัสที่กําหนดให้กับหนังสือแต่ละเรื่องเพื่อใช้เป็นเอกลักษณ์ในการเข้าถึงหนังสือ

ตอบ 2 หน้า 150 การจัดหมู่หนังสือ หมายถึง การจัดหนังสือให้เป็นระบบโดยพิจารณาจากเนื้อหาสาระของหนังสือเป็นสําคัญ และมีการกําหนดสัญลักษณ์เพื่อแสดงกลุ่มเนื้อหาของหนังสือใน แต่ละเล่ม เพื่อใช้เป็นเครื่องหมายระบุตําแหน่งของหนังสือทุกเล่มในห้องสมุด ซึ่งหนังสือที่มี เนื้อหาเดียวกันและ/หรือประพันธ์วิธีเดียวกันจะมีสัญลักษณ์เหมือนกันและวางอยู่ในที่เดียวกัน ส่วนหนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันจะมีสัญลักษณ์ใกล้เคียงกันและวางอยู่ในตําแหน่งที่ไม่ไกลกันมากนัก

27 ข้อใดเป็นระบบการจัดหมู่หนังสือที่ “ยึดแนววิวัฒนาการของมนุษย์เป็นหลัก”

(1) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมสากล

(2) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน

(3) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้

(4) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบคัตเตอร์

ตอบ 2 หน้า 153 – 155, (คําบรรยาย) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classification : LCC หรือ LC) เป็นระบบในเชิงปฏิบัติ (Practical System) ซึ่งยึดแนววิวัฒนาการของมนุษย์เป็นหลัก ทําให้ระบบนี้มีความยืดหยุ่นมากที่สุด และสามารถรองรับสรรพวิทยาการใหม่ ๆ รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ได้เป็นอย่างดี ดังนั้นจึงเป็นระบบที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายในห้องสมุดขนาดใหญ่ที่มีหนังสือ เฉพาะสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง หรือมีหนังสือทั่วไปทุกประเภทเป็นจํานวนมาก เช่น ห้องสมุดเฉพาะ ห้องสมุดมหาวิทยาลัย เป็นต้น โดยจะแบ่งเนื้อหาของหนังสือออกเป็น 20 หมวดใหญ่ และใช้ สัญลักษณ์ในการจัดหมู่หรือเลขหมู่หนังสือเป็นแบบผสม คือ ใช้ตัวอักษรโรมันตั้งแต่ A – Z (ยกเว้น I, O, W, X, Y) แสดงเนื้อหาในหมวดใหญ่ และใช้ตัวเลขอารบิกตั้งแต่ 1 – 9999 กับทศนิยมอีกไม่จํากัดตําแหน่งแบ่งย่อยเรื่องอีกที่หนึ่ง

28 ข้อใดคือระบบการจัดหมู่หนังสือที่เหมาะสําหรับห้องสมุดที่มีจํานวนหนังสือมาก

(1) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน

(2) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้

(3) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดแพทย์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา

(4) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมสากล

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 27 ประกอบ

29 ข้อใดคือระบบการจัดหมู่หนังสือห้องสมุดโรงพยาบาลสงฆ์

(1) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน

(2) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้

(3) การจัดหมู่หนังสือระบบซับเจ็ด

(4) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดแพทย์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา

ตอบ 4 หน้า 155 – 156, (คําบรรยาย) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดแพทย์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (National Library Medicine : NLM) เป็นระบบการจัดหมู่หนังสือที่ใช้กับ ห้องสมุดทางการแพทย์ สาธารณสุข และพยาบาล โดยจะใช้อักษรโรมัน Q กับ W และเลขอารบิก เป็นสัญลักษณ์เช่นเดียวกับการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน แต่แตกต่างในด้าน การจําแนกสรรพวิทยาการออกเป็น 2 หมวดใหญ่ คือ หมวด Q วิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน และหมวด W วิชาการแพทย์และวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นระบบนี้จึงนิยมใช้กับห้องสมุด ของคณะแพทยศาสตร์ในทุกสถาบัน เช่น หอสมุดศิริราช, ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่, ห้องสมุดวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพฯ, ห้องสมุดคณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.ขอนแก่น,ห้องสมุดของโรงพยาบาลต่าง ๆ เป็นต้น

30 ข้อใดคือ “สัญลักษณ์ที่ห้องสมุดกําหนดขึ้นให้กับหนังสือทุกเล่มเพื่อสะดวกในการเข้าถึง”

(1) เลขเรียกหนังสือ

(2) เลขหมู่หนังสือ

(3) เลขมาตรฐานสากลประจําหนังสือ

(4) เลขทะเบียนหนังสือ

ตอบ 1 หน้า 157, 159 – 161, (คําบรรยาย) เลขเรียกหนังสือ (Call Number) เป็นสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายเฉพาะที่ห้องสมุดกําหนดขึ้นให้กับหนังสือทุกเล่มที่มีอยู่ในห้องสมุด ซึ่งประกอบด้วย ส่วนสําคัญ ๆ 3 ส่วน คือ เลขหมู่หนังสือ เลขผู้แต่ง และอักษรชื่อเรื่อง (แต่ตราบางเล่มอาจ ประกอบด้วย เลขหมู่หนังสือ, เลขผู้แต่งและอักษรตัวแรกของชื่อเรื่อง, สัญลักษณ์อื่น ๆ เช่น ปี พ.ศ. เล่มที่ ฉบับที่ ฯลฯ) ทั้งนี้หนังสือทุกเล่มในห้องสมุดจะจัดเรียงอยู่บนชั้นตามลําดับของเลขเรียกหนังสือ เพื่อสะดวกในการเข้าถึง

31 จงเรียงหนังสือต่อไปนี้ให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์

PL 493

.P292

2002

PL 523

.K55

2005

PL 535

.J651

2006

PE 113

.D82

1978

PL 519

.S36

2005

(1) จ ก ข ค ง

(2) ง ข ข ค ก

(3) ค อ ง ข ก

(4) ง ก จ ข ค

ตอบ 4 หน้า 159 160 วิธีการจัดเรียงหนังสือบนชั้นในห้องสมุด จะพิจารณาจากเลขเรียกหนังสือจากซ้ายไปขวา จากชั้นบนลงชั้นล่าง และจะพิจารณาจัดลําดับจากเลขหมู่หนังสือก่อน ทั้งนี้ ห้องสมุดที่จัดหมู่หนังสือด้วยระบบทศนิยมดิวอี้จะเรียงลําดับจากเลขหมู่น้อยไปหาเลขหมู่มาก ส่วนห้องสมุดที่จัดหมู่หนังสือด้วยระบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกันจะพิจารณาเรียงลําดับตาม ตัวอักษร A – Z ก่อน ต่อเมื่อตัวอักษรซ้ํากันจึงค่อยเรียงลําดับจากเลขหมู่น้อยไปหาเลขหมู่มาก แต่ถ้าเลขหมู่ซ้ํากันก็ให้พิจารณาจากเลขผู้แต่งหรือเลขประจําหนังสือ และอักษรชื่อเรื่องตามลําดับ(จากโจทย์ เรียงลําดับที่ถูกต้องได้ดังนี้ ง ก จ ข ค)

32 ข้อใดกล่าวถึงการจัดเก็บสิ่งพิมพ์รัฐบาลได้ถูกต้องที่สุด

(1) กําหนดเลขหมู่ และจัดขึ้นชั้นรวมกับหนังสือ

(2) จัดแยกเป็นทรัพยากรสารสนเทศพิเศษ กําหนดสัญลักษณ์และระบุตามประเภทหน่วยงาน

(3) กําหนดหัวเรื่อง และจัดเก็บขึ้นชั้นตามลําดับอักษร

(4) กําหนดอักษรย่อตามประเภทหน่วยงาน จัดเก็บขึ้นชั้นตามลําดับอักษรของหน่วยงาน

ตอบ 1 หน้า 166 167 การจัดเก็บสิ่งพิมพ์รัฐบาลของห้องสมุดโดยทั่วไปมี 2 วิธี คือ

1 จัดรวมกับหนังสือทั่วไปและกําหนดเลขหมู่ให้ตามระบบการจัดหมู่หนังสือของห้องสมุดนั้น ๆ เช่น หอสมุดแห่งชาติจัดสิ่งพิมพ์รัฐบาลรวมกับหนังสือด้วยระบบจัดหมู่แบบทศนิยมดิวอี้

2 จัดแยกออกจากหนังสือและทรัพยากรสารสนเทศอื่น ๆ เป็นทรัพยากรลักษณะพิเศษ (Special Collection) และกําหนดระบบการจัดหมู่สําหรับสิ่งพิมพ์รัฐบาลขึ้นโดยเฉพาะ เช่น สํานักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคําแหง ได้กําหนดสัญลักษณ์พิเศษ คือ GP (Government Publication) ให้เป็นสัญลักษณ์สิ่งพิมพ์รัฐบาลกํากับเหนือเลขเรียกหนังสือหลังจากนั้นจึงจัดแยกสิ่งพิมพ์ตามหน่วยงานรัฐบาลในระดับกระทรวง กรม กอง ฯลฯ

33 ข้อใดกล่าวถึงการจัดเก็บหนังสือพิมพ์ฉบับย้อนหลังได้ถูกต้องที่สุด

(1) เย็บรวมเล่มเมื่อได้รับครบ 1 เดือน จัดเรียงเล่มตามลําดับอักษรของหนังสือพิมพ์

(2) เย็บรวมเล่มเมื่อได้รับครบ 1 ปี จัดเรียงเล่มตามลําดับอักษรของหนังสือพิมพ์

(3) คัดเลือกหนังสือพิมพ์ฉบับสําคัญ ๆ จัดเก็บโดยถ่ายเป็นวัสดุย่อส่วนในรูปไมโครฟิล์ม

(4) คัดเลือกหนังสือพิมพ์ฉบับสําคัญ ๆ จัดเก็บไว้ประมาณ 1 – 2 ปี แล้วจําหน่ายออก

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

34 ข้อใดกล่าวถึงการจัดเก็บจุลสารที่ถูกต้อง

(1) กําหนดเลขหมู่ จัดขึ้นชั้นรวมกับหนังสือ

(2) กําหนดหัวเรื่อง จัดเรียงขึ้นชั้นตามลําดับอักษรหัวเรื่อง

(3) กําหนดหัวเรื่อง จัดเก็บเข้าแฟ้มเอกสารตามหัวเรื่องที่กําหนด

(4) กําหนดเลขหมู่ จัดเก็บขึ้นชั้นตามเลขหมู่

ตอบ 3 หน้า 163, 170 171 วิธีการจัดเก็บจุลสารและกฤตภาคของห้องสมุดจะใช้วิธีเดียวกันซึ่งนิยมจัดเก็บแยกออกจากวัสดุสารสนเทศอื่น ๆ คือ จัดเก็บโดยกําหนดหัวเรื่องกํากับไว้ที่ มุมบนของปก แล้วนําจุลสารและกฤตภาคที่มีหัวเรื่องเดียวกันเก็บรวบรวมไว้ในแฟ้ม ปิดป้าย ชื่อหัวเรื่องที่แฟ้ม และนําแฟ้มไปจัดเก็บไว้ในตู้เก็บเอกสารเรียงตามลาดับอักษรของหัวเรื่อง โดยที่หน้าลิ้นชักจะมีอักษรกํากับไว้ให้ทราบว่าแต่ละลิ้นชักมีแฟ้มเริ่มจากอักษรตัวใดถึงตัวใด

35 ข้อใดคือวิธีการจัดเก็บไมโครฟิล์มของห้องสมุดที่เอื้อให้ผู้ใช้เข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว

(1) จัดเรียงไมโครฟิล์มใส่ตะแกรงพลาสติกตามลําดับหัวเรื่อง

(2) จัดเก็บไมโครฟิล์มไว้ในกล่องเรียงตามเลขทะเบียน

(3) จัดเก็บไมโครฟิล์มไว้ในลิ้นชักตู้เหล็กตามลําดับเลขทะเบียน

(4) จัดเรียงไว้บนชั้นรวมไปกับหนังสือตามเลขหมู่

ตอบ 3 หน้า 177, 180, 351 วิธีจัดเก็บไมโครฟิล์มของห้องสมุดมีอยู่ 2 วิธี ดังนี้

1 จัดเรียงขึ้นชั้นรวมไว้กับสิ่งพิมพ์ โดยห้องสมุดจะจัดเก็บไมโครฟิล์มทั้งที่เป็นชนิดม้วนและตลับด้วยการจัดทําป้าย ซึ่งประกอบด้วย เลขทะเบียน ชื่อเรื่อง ความยาว ความกว้าง ประเภท ของฟิล์ม และสัญลักษณ์ที่กําหนดเป็นเลขหมู่ติดไว้บนกล่องม้วนและตลับ แล้วจึงจัดเรียงขึ้นชั้นรวมไว้กับสิ่งพิมพ์อื่น ๆ

2 จัดแยกไว้ในตู้ โดยห้องสมุดบางแห่งอาจนํากล่องหรือตลับไมโครฟิล์มที่ปิดป้ายมาแยกเป็นหมวดหมู่ แล้วเรียงตามลําดับเลขทะเบียนไว้ในลิ้นชักตู้เหล็ก หรือเรียงใส่ตะแกรงพลาสติกไว้บนชั้นแบบชั้นเก็บหนังสือ

36 ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการจัดเก็บแผ่นจานแม่เหล็กชนิดอ่อน

(1) กําหนดหัวเรื่อง เก็บตามลําดับอักษร

(2) กําหนดเลขทะเบียน จัดเก็บในระบบชั้นปิดตามเลขทะเบียน

(3) กําหนดเลขหมู่ตามโปรแกรมคําสั่ง ทําป้ายเพื่อบอกชื่อโปรแกรมติดที่ซอง

(4) กําหนดเลขทะเบียน จัดเรียงใส่ตะแกรงพลาสติกไว้บนชั้นแบบชั้นหนังสือ

ตอบ 3 หน้า 178 ห้องสมุดที่มีแผ่นจานแม่เหล็กชนิดอ่อนไว้ให้บริการเป็นจํานวนมาก จะนิยมจัดหมู่โปรแกรมคําสั่งด้วยระบบการจัดหมู่เช่นเดียวกันกับหนังสือ แล้วจัดทําป้ายติดไว้บนซองที่เก็บ แผ่นจานแม่เหล็ก หรือติดที่ตัวแผ่นพร้อมทั้งให้รายละเอียดที่สําคัญเพื่อแสดงประเภทของวัสดุ เลขหมู่ และชื่อโปรแกรม จากนั้นจึงเก็บแผ่นไว้ในซองบนที่แขวนหรือจัดเรียงไว้ในกล่อง สําหรับ ห้องสมุดที่มีโปรแกรมคําสั่งจํานวนน้อย จะนิยมจัดเก็บแผ่นจานแม่เหล็กไว้ในกล่อง แล้วเรียง ตามลําดับอักษรของหัวเรื่องอย่างกว้าง ๆ ทั้งนี้ห้องสมุดส่วนใหญ่ยังนิยมให้บริการในระบบชั้นปิดอยู่ โดยมีเจ้าหน้าที่คอยหยิบให้เมื่อผู้ใช้มาขอรับบริการ

37 ส่วนใดของบัตรรายการที่บอกตําแหน่งของหนังสือในห้องสมุด

(1) ชื่อผู้แต่ง

(2) เลขเรียกหนังสือ

(3) เลข ISBN

(4) ชื่อเรื่อง

ตอบ 2 หน้า 157, 191 เลขเรียกหนังสือ (Call Number) เป็นสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายเฉพาะที่ห้องสมุดกําหนดให้กับหนังสือแต่ละเล่มที่มีอยู่ในห้องสมุด โดยเลขเรียกหนังสือที่ปรากฎบนบัตรรายการจะเป็นเครื่องชี้บอกตําแหน่งของหนังสือบนชั้น ซึ่งเป็นที่เก็บหนังสือของห้องสมุด

38 ข้อใดคือรายการชื่อผู้แต่งชาวต่างประเทศที่ถูกต้อง

(1) Hunter, David E.

(2) David E. Hunter

(3) Hunter

(4) David

ตอบ 1 หน้า 191 192 ชื่อผู้แต่ง (Author) หรือรายการหลัก (Main Entry) เป็นชื่อผู้ที่เขียนหนังสือเล่มนั้น ซึ่งเป็นได้ทั้งบุคคลและนิติบุคคล โดยถ้าเป็นคนไทยให้ลงชื่อตัวก่อนตามด้วย ชื่อสกุล เช่น ประเวศ วะสี แต่ถ้าเป็นชาวต่างประเทศให้ลงชื่อสกุลก่อน และใส่เครื่องหมาย จุลภาค (,) แล้วตามด้วยชื่อตัวและชื่อกลาง (ถ้ามี) เช่น Hunter, David E.

39 ส่วนใดของรายการที่แสดงให้ผู้อ่านทราบว่าหนังสือเก่าหรือไม่

(1) การพิมพ์และการจัดจําหน่าย

(2) ครั้งที่พิมพ์

(3) แนวสืบค้น

(4) ลักษณะวัสดุ

ตอบ 1 หน้า 192 193 ลักษณะการพิมพ์และการจัดจําหน่าย (Publication Distribution, etc.)หรือพิมพ์ลักษณ์ (Imprint) ประกอบด้วย 3 ส่วนสําคัญ คือ

1 สถานที่พิมพ์ ได้แก่ ชื่อเมือง ชื่อจังหวัด ชื่อรัฐ หรือชื่อประเทศ

2 สํานักพิมพ์ ได้แก่ ร้านค้า บริษัท สมาคม องค์การ หน่วยงานราชการ หรือโรงพิมพ์ที่รับผิดชอบในการพิมพ์หนังสือเล่มนั้น ๆ เช่น ไทยวัฒนาพานิช สภาวิจัยแห่งชาติ เป็นต้น

3 ปีที่พิมพ์ คือ ปีที่หนังสือเล่มนั้น ๆ ได้รับการจัดพิมพ์ โดยปีที่พิมพ์จะทําให้ผู้อ่านทราบว่าเป็นหนังสือเก่าหรือใหม่

40 ส่วนใดของรายการให้รายละเอียดเกี่ยวกับจํานวนหน้าของหนังสือ

(1) การพิมพ์และการจัดจําหน่าย

(2) ครั้งที่พิมพ์

(3) แนวสืบค้น

(4) ลักษณะวัสดุ

ตอบ 4 หน้า 191, 193, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 220) ลักษณะวัสดุ หรือลักษณะรูปร่าง(Physical Description) เป็นรายการหนังสือของห้องสมุดที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะ รูปร่าง ส่วนประกอบ และขนาดของหนังสือ ได้แก่ จํานวนหน้า (ความหนาของหนังสือ) หรือ จํานวนเล่ม ภาพประกอบ (สีของภาพประกอบ) และส่วนสูงของหนังสือ เช่น V, 120 p. : it. (some cot.) ; 21 cm. หมายถึง หนังสือเล่มเดียวจบ (v = volume) มีทั้งหมด 120 หน้า (120 p.) มีภาพประกอบ (ill. = illustration) สีบางส่วน (some col. = some color) และมีส่วนสูง 21 เซนติเมตร (21 cm.)

41 ประเภทของวัสดุถูกกําหนดให้ปรากฎอยู่ในรายการประเภทใด

(1) ภาพยนตร์

(2) กฤตภาค

(3) สิ่งพิมพ์รัฐบาล

(4) จุลสาร

ตอบ 1 หน้า 203 ห้องสมุดที่มีทรัพยากรสารสนเทศประเภทวัสดุไม่ตีพิมพ์ เช่น แผนที่ ลูกโลก เกมภาพนิ่ง แผนภูมิ วัสดุโปร่งใส ภาพยนตร์ ฯลฯ มักจัดทําบัตรรายการของวัสดุแต่ละประเภท เพื่อให้ผู้ใช้ค้นหาตัววัสดุได้อย่างสะดวก โดยมีรายละเอียดสําคัญบนบัตรรายการ ประกอบด้วย ประเภทของวัสดุ สถานที่ผลิตหรือผู้จัดทํา จํานวน ขนาด และรายละเอียดอื่น ๆ ส่วนการให้เลขเรียกหนังสือขึ้นอยู่กับห้องสมุดว่าจะใช้ระบบการจัดหมู่ประเภทใด

42 ข้อใดเรียงลําดับอักษรตามแบบพจนานุกรมได้ถูกต้อง

(1) มกรา มงคล มนูญ เมตตา

(2) เมตตา มงคล มนูญ มกรา

(3) มกรา มงคล เมตตา มนูญ

(4) มนูญ เมตตา มงคล มกรา

ตอบ 1 หน้า 207 – 210 การเรียงบัตรรายการหนังสือภาษาไทย มีหลักเกณฑ์ดังนี้

1 ให้เรียงตามลําดับอักษร ก-ฮ โดยไม่คํานึงถึงเสียงอ่าน

2 คําที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะตัวเดียวกัน ให้เรียงคําที่มีตัวสะกดไว้ก่อนคําที่มีรูปสระ และเรียงลําดับรูปสระตามแบบพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน

3 ผู้แต่งคนเดียวกันเต่งหนังสือหลายเล่ม ให้เรียงตามลําดับอักษรตัวแรกของชื่อเรื่อง ฯลฯ (จากโจทย์ เรียงลําดับที่ถูกต้องได้ดังนี้ มกรา มงคล มนูญ เมตตา)

  1. ข้อใดเรียงลําดับอักษรตามแบบพจนานุกรมได้ถูกต้อง

(1) Gardner Gaum Ghosh Gabay

(2) Gabay Gardner Gaum Ghosh

(3) Gaum Ghosh Gardner Gabay

(4) Ghosh Gabay Gaum Gardner

ตอบ 2 หน้า 210 – 213 การเรียงบัตรรายการหนังสือภาษาอังกฤษ มีย กักเกณฑ์ดังนี้

1 ให้เรียงตามลําดับอักษร A – Z โดยเรียงแบบคําต่อคํา ไม่ต้องคํานึงถึงเครื่องหมายใด ๆ

2 ถ้ามีคํานําหน้านาม เช่น a, an, the, de, dela, les ฯลฯ ขึ้นต้นประโยคเวลาเรียงบัตรไม่ต้องคํานึงถึงคําเหล่านี้ แต่ให้เรียงลําดับอักษรของคําที่อยู่ถัดไป ยกเว้นถ้าคํานําหน้านาม เป็นส่วนหนึ่งของประโยค จะต้องเรียงลําดับอักษรของคํานําหน้านามนั้นด้วย

3 คําย่อที่เป็นคํานําหน้าชื่อบุคคลและยศให้เรียงลําดับเหมือนเป็นคําที่สะกดเต็ม เช่น Mr. เรียงตามคําสะกดเต็มคือ Mister ฯลฯ (จากโจทย์ เรียงลําดับที่ถูกต้องได้ดังนี้ Gabay Gardner Gaum Ghosh)

44 ข้อใดกล่าวถึง Sear’s List of Subject Headings ไม่ถูกต้อง

(1) บัญชีศัพท์ควบคุม

(2) บัญชีหัวเรื่องภาษาอังกฤษ

(3) บัญชีคําศัพท์ที่ใช้ค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต

(4) บัญชีคําศัพท์ที่ใช้ในระบบการสืบค้นข้อมูลของห้องสมุด

ตอบ 3 หน้า 221, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 250 – 251) หัวเรื่อง หมายถึง คําหรือวลีหรือชื่อเฉพาะต่าง ๆ ที่ใช้แทนเนื้อหาของหนังสือและสื่ออื่น ๆ โดยบรรณารักษ์ไม่ได้เป็นผู้เลือกขึ้นเอง แต่จะเลือกจากคําหรือวลีที่เป็นศัพท์ควบคุม เพื่อค้นหาหนังสือในห้องสมุดจากบัญชีหัวเรื่อง มาตรฐานที่นิยมใช้ในการจัดเก็บและสืบค้นข้อมูลของห้องสมุด ได้แก่

1 Library of Congress Subject Headings (LCSH) จัดทําขึ้นโดยห้องสมุดรัฐสภาอเมริกันเพื่อใช้เป็นบัญชีหัวเรื่องหนังสือที่เป็นภาษาอังกฤษสําหรับห้องสมุดขนาดใหญ่

2 Sear’s List of Subject Headings (Sear’s List) เป็นบัญชีหวเรื่องสําหรับหนังสือทั่วไปที่เป็นภาษาอังกฤษสําหรับห้องสมุดขนาดเล็ก โดยจะใช้คู่กับการจัดหมู่หนังสือในระบบทศนิยมดิวอี้

45 สัญลักษณ์ในข้อใดที่ใช้คั่นระหว่างหัวเรื่องที่ขึ้นต้นด้วยคํานามและมีคําคุณศัพท์ขยาย

(1) จุลภาค (,)

(2) ขีดกลางสองขีด (-)

(3) อัฒภาค ( 😉

(4) ทวิภาค (:)

ตอบ 1 หน้า 223 – 224, 228 การกําหนดคําที่ใช้เป็นหัวเรื่องใหญ่ มีลักษณะดังนี้

1 คํานามคําเดียวโดด ๆ เช่น กบ ไกด์ นก ฯลฯ

2 คําผสมที่เป็นคํานาม 2 คํา เชื่อมด้วย “and”, “กับ”, “และ” ทั้งที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องสัมพันธ์ ไปในทางเดียวกัน เช่น บ้านกับโรงเรียน บิดาและมารดา Libraries and readers ฯลฯและที่มีเนื้อหาค้านกัน เช่น ศาสนากับวิทยาศาสตร์ Good and evil ฯลฯ

3 คํานามที่ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค ( , ) คันกลางและมีคําคุณศัพท์ที่ขยายคําแรกให้สื่อความหมายชัดขึ้น เช่น Art, abstract ฯลฯ

4 กลุ่มคําหรือวลี เช่น บริการแปล ชีวิตชนบท ฯลฯ

5 ชื่อเฉพาะที่เป็นคําวิสามานยนาม เช่น ชื่อบุคคล ชื่อสัตว์ ชื่อสถานที่ ชื่อพระหรือเทพเจ้า ฯลฯ

46 “บ้านกับโรงเรียน” จัดเป็นหัวเรื่องประเภทใด

(1) คํานามคําเดียวโดด ๆ

(2) วลี

(3) คําผสม

(4) คําคู่

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 45. ประกอบ

47 ข้อใดหมายถึงสัญลักษณ์หรืออักษรย่อในบัญชีหัวเรื่องที่มีความหมายให้ “ดูเพิ่มเติม

(1) X

(2) XX

(3) see

(4) sa

ตอบ 4 หน้า 199, 225 รายการโยง (Cross Reference) คือ การกําหนดสัญลักษณ์เพื่อแสดงให้ทราบว่าคําหรือวลีที่ตามมาใช้เป็นหัวเรื่องได้หรือไม่ และมีความเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับ เนื้อหามากน้อยเพียงใด โดยมีตัวอย่างสัญลักษณ์ดังนี้

1 Sa (see also) หรือ “ดูเพิ่มเติมที่” ใช้โยงไปสู่หัวเรื่องอื่นที่เกี่ยวข้องหรือมีความสัมพันธ์กันแต่มีเนื้อหาแคบกว่า

2 X ใช้หน้าคําหรือวลีที่เลิกใช้เป็นหัวเรื่องแล้ว

3 see หรือ “ดูที่” ใช้โยงหน้าคําหรือวลีที่ไม่ใช้เป็นหัวเรื่องไปยังคําหรือวลีที่ใช้เป็นหัวเรื่อง

4 xx ใช้หน้าคําหรือวลีที่มีความหมายสัมพันธ์กับหัวเรื่องใหญ่ แต่มีเนื้อหากว้างกว่ามาก

48 “รายงานการศึกษาค้นคว้าเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลึกซึ้ง เพื่อค้นหาข้อเท็จจริง หรือสร้างทฤษฎีใหม่ เป็นไปตามวิธีการและขั้นตอนการวิจัยตามลําดับ” คือความหมายของรายงานในข้อใด

(1) งานวิจัย

(2) รายงานทั่วไป

(3) วิทยานิพนธ์

(4) ภาคนิพนธ์

ตอบ 1 หน้า 236 237 งานวิจัย (Research Paper) เป็นรายงานการศึกษาค้นคว้าวิจัยในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลึกซึ้ง โดยเป็นการค้นหาข้อเท็จจริง แสวงหาหลักการ หรือสร้างทฤษฎีใหม่ ทั้งนี้จะเป็นไปตามวิธีการและขั้นตอนการวิจัยตามลําดับ ได้แก่ การกําหนดปัญหา การตั้งสมมุติฐาน การรวบรวมข้อมูล การจัดระเบียบข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการหาข้อสรุป

49 ข้อใดไม่ใช่ข้อพิจารณาในการกําหนดเรื่องของรายงาน

(1) กําหนดเรื่องที่สนใจ

(2) กําหนดเรื่องที่ต้องการศึกษาเพิ่มเติม

(3) กําหนดเรื่องที่กว้าง ต้องใช้เวลานานในการรวบรวมข้อมูล

(4) กําหนดเรื่องที่มีข้อมูลในแหล่งสารสนเทศต่าง ๆ ให้ค้นคว้า

ตอบ 3 หน้า 238 239 การกําหนดเรื่องหรือหัวข้อของรายงานมีข้อที่ควรพิจารณา ดังนี้

1 เลือกเรื่องที่น่าสนใจหรือชอบมากที่สุด และควรสอดคล้องกับวิชาที่กําลังศึกษาอยู่

2 เลือกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสนใจและที่ต้องการศึกษาเพิ่มเติม

3 เลือกเรื่องที่ใกล้ตัวเราหรือที่เราเกี่ยวข้องด้วย

4 เลือกเรื่องที่มีแหล่งข้อมูลให้ค้นคว้าได้อย่างเพียงพอหรืออยู่ในวิสัยที่สามารถทําได้

5 เลือกเรื่องที่มีขอบเขตไม่กว้างหรือไม่ยาวจนเกินไป เพื่อให้พอเหมาะกับกําหนดเวลาและขนาดของรายงาน

50 บทสัมภาษณ์ ดร.วิวัฒน์ ศัลยกําธร เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง จัดเป็นแหล่งข้อมูลประเภทใด

(1) แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ

(2) แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ

(3) แหล่งข้อมูลภูมิปัญญา

(4) แหล่งข้อมูลตติยภูมิ

ตอบ 1 หน้า 67, 240 แหล่งข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Sources) เป็นหลักฐานเบื้องต้นหรือข้อมูลอันดับแรกที่ได้รับจากบุคคลโดยตรง เช่น ประสบการณ์ของตนเอง บันทึกส่วนตัว จดหมายโต้ตอบ พระบรมราโชวาท ต้นฉบับตัวเขียน (Manuscript) อัตชีวประวัติ บทสัมภาษณ์แบบสอบถาม สุนทรพจน์ ฯลฯ

2 แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Sources) หรือข้อมูลอันดับรอง ได้แก่ หนังสือหรือตําราและวัสดุที่เป็นผลผลิตของการค้นคว้าจากหลักฐานเบื้องต้น เช่น บทความจากวารสารข่าวในหนังสือพิมพ์ ดรรชนี สารานุกรม กฤตภาค ฯลฯ

51 การบันทึกลงบัตรรายการแบบลอกความ มีลักษณะข้อความอย่างไร

(1) ผู้ทํารายงานต้องให้คําอธิบายที่ได้ดีกว่าเนื้อหาเดิม

(2) ผู้ทํารายงานต้องดัดแปลงแนวคิดของผู้แต่งบางส่วน

(3) ผู้ทํารายงานใช้คําพูดของตนเอง งดเว้นการยกตัวอย่างการอธิบาย

(4) ผู้ทํารายงานต้องการใช้คําอธิบายตามเนื้อหาเดิม ไม่ดัดแปลงข้อความ

ตอบ 4 หน้า 257, 260 261 การบันทึกข้อมูลแบบลอกความ (Quotation) จะเหมาะกับข้อความหรือข้อเท็จจริงที่ชัดแจ้ง เช่น สูตรทางคณิตศาสตร์ ความหมายหรือคํานิยามในเชิงวิชาการ พระบรมราโชวาท พระราชบัญญัติ ข้อบังคับหรือคําสั่งของทางราชการ กวีนิพนธ์ และบทละคร ซึ่งมีข้อที่ควรระวัง คือ ต้องคัดลอกทุกอย่างให้เหมือนต้นฉบับ ตอนใดที่คัดลอกมาทั้งหมด ให้คร่อมไว้ด้วยเครื่องหมายอัญประกาศ (“ ”) แต่ถ้าหากคัดลอกมาเพียงบางส่วนให้ใช้ เครื่องหมายจุด 3 จุด (..) ใส่ไว้ก่อนหรือหลังข้อความนั้น โดยบัตรบันทึกชนิดนี้จะกระทําเมื่อ

1 ผู้ทํารายงานไม่สามารถหาคําพูดได้ดีกว่าเนื้อหาเดิม

2 เนื้อหาเดิมได้วางระเบียบกฏเกณฑ์และวิธีการไว้อย่างดีแล้วจึงไม่ควรดัดแปลง

3 เนื้อหาเดิมบรรยายถึงแนวคิดของผู้แต่งจึงไม่ควรดัดแปลง

52 ข้อใดเป็นข้อมูลที่ไม่ควรอยู่ในการเรียบเรียงรายงาน

(1) ชื่อย่อของหน่วยงานราชการ

(2) ใช้ภาษาที่ถูกต้องอธิบายให้ชัดเจน

(3) จัดเรียงเนื้อหาในแต่ละส่วนให้มีความสัมพันธ์กัน

(4) แจ้งแหล่งที่มาของข้อมูลที่ใช้ประกอบการทํารายงาน

ตอบ 1 หน้า 263 264, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 337) ข้อควรพิจารณาในการเรียบเรียงรายงานฉบับร่าง มีดังนี้ 1 เรียบเรียงเนื้อหาของรายงานแต่ละส่วนให้มีความสัมพันธ์กันตามลําดับของโครงเรื่องและบัตรบันทึก โดยเนื้อหาไม่ควรสั้นหรือยาวเกินไป

2 เตรียมบัตรบรรณานุกรม บัตรบันทึกข้อมูล และพจนานุกรมเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของคํา

3 ใช้ภาษาที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ สั้นกระชับ สุภาพ และอธิบายทุกสิ่งให้ชัดเจน

4 ไม่ใช้อักษรย่อ ชื่อย่อ และคําย่อ

5 เมื่อคัดลอกงานคนอื่นมาให้เขียนอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลให้ถูกต้องตามรูปแบบของสถาบันที่ส่งรายงาน โดยแสดงไว้หลังข้อความที่อ้าง และเลือกใช้แบบใดแบบหนึ่งตลอดรายงาน

6 การใส่ตาราง ภาพประกอบ แผนภูมิ แผนที่ กราฟ ต้องระบุแหล่งที่มา โดยใช้แบบแผนเช่นเดียวกับเชิงอรรถ ฯลฯ

53 ข้อใดคือส่วนประกอบตอนต้นของรายงาน

(1) บรรณานุกรม

(2) คํานํา

(3) ภาคผนวก

(4) อภิธานศัพท์

ตอบ 2 หน้า 274 – 275, 305 ส่วนประกอบของรายงาน แบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ ดังนี้

1 ส่วนประกอบตอนต้น ได้แก่ ปกนอก หน้าปกใน (หน้าชื่อเรื่อง) หน้าคํานํา หน้าสารบาญหรือสารบัญ และหน้าสารบัญภาพ

2 ส่วนที่เป็นเนื้อหา ได้แก่ บทนํา รายละเอียดของเนื้อหา และส่วนสรุป

3 ส่วนประกอบตอนท้าย ได้แก่ บรรณานุกรม ภาคผนวก อภิธานศัพท์ และปกหลัง 3

ข้อ 54 – 55 จงใช้ข้อมูลต่อไปนี้ตอบคําถาม

รุ่งรัตน์ แจ่มจันทร์. “พ้นซ์สมุนไพร” หมอชาวบ้าน 33 (เมษายน 2554) : หน้า 58 – 61.

54 ข้อมูลข้างต้นเป็นรายการบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศประเภทใด

(1) หนังสือผู้แต่งคนเดียว

(2) บทความวารสาร

(3) บทความหนังสือพิมพ์

(4) บทสัมภาษณ์

ตอบ 2 หน้า 256, 276, 285 – 286 ข้อมูลข้างต้นเป็นรายการบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศประเภทบทความวารสารตามคู่มือ Turabian ซึ่งมีแบบแผน คือ ชื่อผู้เขียนบทความ. “ชื่อบทความ” ชื่อวารสาร เล่มที่หรือปีที่, ฉบับที่ (เดือนและปี) : หน้า.

55 ข้อใดคือรูปแบบการเขียนอ้างอิงในเนื้อหาของบรรณานุกรมข้างต้น

(1) (รุ่งรัตน์ 2554, 58)

(2) (หมอชาวบ้าน 2554, 58)

(3) (แจ่มจันทร์ 2554, 58)

(4) (พ้นซ์สมุนไพร 2554, 58)

ตอบ 1 หน้า 264, 276, 286 การแสดงที่มาของข้อมูลเฉพาะที่แบบนาม-ปี (Author-date) คือรายการอ้างอิงแบบในวงเล็บที่แทรกลงไปในเนื้อหา (Cite-in-Text) โดยใส่ชื่อผู้เขียนและปีที่พิมพ์พร้อมด้วยเลขหน้าไว้ในวงเล็บหลังข้อความที่คัดลอกมาหรือที่ต้องการอ้างอิง เช่น จากรายการบรรณานุกรมของบทความวารสารข้างต้น สามารถเขียนรายการอ้างอิงในวงเล็บ ที่แทรกลงไปในเนื้อหาตามคู่มือ Turabian คือ (ชื่อผู้เขียนบทความ ปีที่พิมพ์, เลขหน้า) ได้แก่(รุ่งรัตน์ 2554, 58)

56 ข้อใดเป็นวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการพัฒนาอินเทอร์เน็ตในยุคเริ่มต้น

(1) การค้า

(2) การทหาร

(3) การศึกษา

(4) การเกษตร

ตอบ 2 (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 47 – 48), (คําบรรยาย) การพัฒนาอินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปีพ.ศ. 2512 เมื่อกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาได้ให้ทุนสนับสนุนโครงการพัฒนาเครือข่าย คอมพิวเตอร์ ซึ่งเริ่มแรกนั้นได้มีการจัดตั้งเครือข่ายอาร์พาเน็ต (ARPAnet) ขึ้น เพื่อเน้นใช้งาน ด้านการทหารและการสื่อสารในช่วงสงครามเย็นมากที่สุด และเพื่อเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของ หน่วยงานในมหาวิทยาลัย 4 แห่ง ซึ่งเป็นประโยชน์สําหรับงานวิจัย จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2526 จึงพัฒนามาเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และในปัจจุบันได้มีการนําอินเทอร์เน็ตมาใช้งานในเชิงพาณิชย์มากขึ้น

57 ตัวอักษรย่อข้อใดที่แสดงถึงมาตรฐานการสื่อสารเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

(1) DNS

(2) FTP

(3) IP

(4) TCP

ตอบ 3, 4 (คําบรรยาย) มาตรฐานการสื่อสารที่ใช้เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะใช้ชุดโปรโตคอล TCP/IP ซึ่งประกอบด้วย

1 โปรโตคอล TCP (Transmission Control Protocol) เป็นมาตรฐานที่ใช้สําหรับควบคุมการรับส่งข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

2 โปรโตคอล IP (Internet Protocol) เป็นมาตรฐานที่ใช้สําหรับระบุตําแหน่งหรือที่อยู่ที่ไม่ซ้ำกันของเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะช่วยตรวจสอบ แหล่งที่มาของข้อมูลได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้ระบบตัวเลข IP ประกอบด้วยตัวเลข 4 กลุ่มถูกคั่นด้วยจุด เช่น 128.56.48.12 เป็นต้น

58 จากอีเมล์แอดเดรส E-mail Address : [email protected] ส่วนใดอ้างถึงชื่อผู้ให้บริการอีเมล์

(1) peemasak

(2) yahoo.com

(3) @yahoo

(4) @yahoo.com

ตอบ 2 หน้า 311, (คําบรรยาย) จากโจทย์เป็นกลุ่มของ E-mail Address ซึ่งเป็นที่อยู่ประจําตัวของผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตเพื่อรับ-ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมล์ โดย E-mail Address ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ชื่อผู้ใช้บริการ, เครื่องหมาย @ และชื่อโดเมน (Domain Name) ของเครื่องแม่ข่ายที่เราใช้บริการอยู่ เช่น Thailand คือ ชื่อผู้ใช้ ส่วน yahoo.com คือ ชื่อโดเมนของเครื่องแม่ข่ายของผู้ให้บริการอีเมล์ เป็นต้น

59 ข้อใดหมายถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Web browser) สําหรับติดต่อสื่อสารระหว่างเว็บเพจและเครือข่ายเวิร์ลด์ไวด์เว็บ

(1) Google Chrome

(2) Windows

(3) Windows Network

(4) Adobe Acrobat

ตอบ 1 (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 55) Web browser คือ โปรแกรมเฉพาะที่ใช้แสดงผลข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตสําหรับการเข้าสู่บริการเว็บไซต์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้บริการเว็บไซต์ ได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น โดยโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ที่ออกมาใหม่ ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลด จากอินเทอร์เน็ตโดยตรงและไม่เสียค่าใช้จ่าย ตัวอย่างเว็บบราวเซอร์ที่ใช้กันแพร่หลาย เช่น Internet Explorer, Netscape Navigator, Mozila Firefox, Google Chrome can

60 ข้อใดไม่ใช่เว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์

(1) Wikipedia

(2) Facebook

(3) Twitter

(4) Line

ตอบ 1 (คําบรรยาย) เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) คือ เว็บไซต์ที่เชื่อมโยงผู้คนไว้ด้วยกันผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีจุดเด่นหลักก็คือ ช่วยให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ สามารถ สื่อสารได้ในวงกว้างและหลากหลายรูปแบบ เช่น ข้อความ รูปภาพ วิดีโอ ฯลฯ ในปัจจุบัน มีโปรแกรมหรือเว็บไซต์ที่ใช้สําหรับ Social Network เช่น Facebook, Twitter, Linkedin, Line, MySpace, Hi5 ฯลฯ (ส่วนเว็บไซต์ Wikipedia เป็นสารานุกรมออนไลน์ขนาดใหญ่)

LIS1003 การใช้ห้องสมุด s/2559

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา LIS 1003 การใช้ห้องสมุด

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 ข้อใดไม่จัดอยู่ในประเภทของห้องสมุดประชาชน

(1) ห้องสมุดสวนลุมพินี

(2) ห้องสมุดเฉลิมราชกุมารี

(3) ห้องสมุดสยามสมาคม

(4) ห้องสมุดนีลสัน เฮย์

ตอบ 3 หน้า 26 – 27, 33 ห้องสมุดประชาชน หมายถึง ห้องสมุดที่ตั้งขึ้นเพื่อให้บริการสารสนเทศครบทุกหมวดวิชาแก่ประชาชน โดยไม่จํากัดเพศ วัย เชื้อชาติ ศาสนา และพื้นฐานความรู้ ทั้งนี้เพื่อ ส่งเสริมให้ประชาชนมีนิสัยรักการอ่าน สามารถเรียนรู้ได้ตามอัธยาศัย และเพื่อการศึกษาค้นคว้า ตลอดชีวิต ตัวอย่างของห้องสมุดประชาชน เช่น ห้องสมุดเฉลิมราชกุมารี, ห้องสมุดนีลสัน เฮย์,ห้องสมุดสวนลุมพินี เป็นต้น ส่วนห้องสมุดสยามสมาคม เป็นห้องสมุดเฉพาะสังกัดสมาคม)

2 แหล่งสารสนเทศในข้อใดที่เก็บรวบรวมเอกสารเก่าโบราณที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ กฎหมาย และวิชาการ

(1) ศูนย์สารสนเทศ

(2) ห้องสมุดเฉพาะ

(3) พิพิธภัณฑ์

(4) หอจดหมายเหตุ

ตอบ 4 หน้า 36 หอจดหมายเหตุ เป็นหน่วยงานสารสนเทศที่จัดเก็บรวบรวมรักษาเอกสารจดหมายเหตุที่สําคัญ ๆ ไว้มากที่สุด เช่น เอกสารทางราชการ จดหมายโต้ตอบ บันทึกส่วนตัว ฯลฯ ซึ่งเป็นเอกสารโบราณหรือเอกสารเก่าย้อนหลังที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของประเทศหรือของทาง ราชการ หน่วยงานเอาชนและบุคคล ทั้งนี้เพื่อรวบรวมเหตุการณ์ที่ผ่านมาเพื่อเป็นหลักฐาน อ้างอิงทางประวัติศาสตร์ กฎหมาย วิชาการ หรือการค้นคว้าวิจัย และเพื่อเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติสืบไป เช่น หอจดหมายเหตุแห่งชาติ สังกัดกรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ

3 ฝ่ายใดของสํานักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคําแหงที่ให้บริการจุลสาร

(1) ฝ่ายเทคนิค

(2) ฝ่ายวารสารและเอกสาร

(3) ฝ่ายวัสดุไม่ตีพิมพ์

(4) ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ

ตอบ 2 หน้า 40 – 41 ฝ่ายวารสารและเอกสาร จะรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดหา พิจารณาคัดเลือกและประเมินคุณค่าวารสาร จัดทําดรรชนีและสาระสังเขปบทความจากวารสารและเอกสาร จัดทําบรรณานุกรมวารสาร รวมทั้งให้บริการวารสาร นิตยสาร หนังสือพิมพ์ จุลสาร สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง และเอกสารทั่ว ๆ ไป ตลอดจนจัดทํากฤตภาคไว้ให้บริการ

4 ข้อใดหมายถึงทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุด

(1) หนังสือที่มีการจัดระบบหมวดหมู่

(2) หนังสือที่บริษัทบริจาคให้กับห้องสมุด

(3) หนังสือที่บริษัทเสนอขายให้กับห้องสมุด

(4) หนังสือที่บรรณารักษ์กําลังดําเนินการจัดซื้อ

ตอบ 1 หน้า 55, 76, 133 – 34 ทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุด หมายถึง แหล่งสารสนเทศทุกรูปแบบที่ห้องสมุดได้คัดเลือก จัดหา วิเคราะห์ และจัดระบบหมวดหมู่อย่างเป็นระเบียบ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งตีพิมพ์บนแผ่นกระดาษ สิ่งบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยมือ สื่อโสตทัศน์ วัสดุย่อส่วน สืออิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนฐานข้อมูลออนไลน์ที่ห้องสมุดบอกรับเป็นสมาชิกและจัดประเภท พร้อมให้บริการ รวมทั้งบรรณารักษ์หรือบุคลากรบริการสารสนเทศที่ทําหน้าที่ให้บริการและ ช่วยผู้ใช้ค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

5 ข้อใดหมายถึงส่วนประกอบของหนังสือที่บอกให้ทราบถึงลําดับเนื้อหาของหนังสือในเล่ม

(1) หน้าปกหนังสือ

(2) หน้าสารบัญ

(3) หน้าลิขสิทธิ์

(4) หน้าคํานํา

ตอบ 2 หน้า 62 – 63 สารบาญหรือสารบัญ (Contents) เป็นส่วนประกอบของหนังสือที่ช่วยให้ผู้อ่านทราบถึงลําดับเนื้อหาของหนังสือในเล่ม และทําให้ทราบขอบเขตหรือโครงเรื่องของ หนังสือเล่มนั้นว่าแบ่งเป็นภาค เป็นตอน หรือเป็นบทอย่างไร อยู่หน้าไหน ทั้งนี้เพื่อสะดวกในการค้นหาเรื่องที่ต้องการอย่างกว้าง ๆ

6 ข้อความที่ได้จากการหาเสียงของนักการเมืองท้องถิ่น จัดอยู่ในกลุ่มใด

(1) ข้อมูล

(2) ความรู้

(3) ปัญญา

(4) สารสนเทศ

ตอบ 1 หน้า 3, 5, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 3), (คําบรรยาย) ความหมายของคําว่า“ข้อมูล” และ “สารสนเทศ” มีดังนี้

1 ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อมูลดิบหรือข้อเท็จจริงที่ยังไม่สมบูรณ์ ไม่ถูกต้อง หรือยังไม่ได้ผ่านการกลั่นกรอง วิเคราะห์ ตรวจสอบ และประเมินผลอย่างเป็นระบบ เช่น ข่าวจาก หนังสือพิมพ์หรือโทรทัศน์ ข่าวซุบซิบหรือข่าวลือ ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต การโฆษณาสินค้าการหาเสียงของนักการเมือง หรือการกล่าวหา/โจมตีคู่แข่งทางการเมือง เป็นต้น

2 สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข่าวสารความรู้ที่เป็นข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกิดจากข้อมูลที่ผ่านการกลั่นกรอง วิเคราะห์ และประมวลผลแล้ว ตลอดทั้งความรู้สึกนึกคิด ของมนุษย์ ซึ่งบันทึกลงในสื่อหรือวัสดุประเภทต่าง ๆ ที่สามารถถ่ายทอดและเผยแพร่ได้ ดังนั้นสารสนเทศจึงมีความถูกต้องและมีประโยชน์ต่อผู้ใช้มากกว่าข้อมูล เนื่องจากสามารถนํามาช่วยแก้ไขปัญหาและประกอบการตัดสินใจได้

7 ข้อใดกล่าวถึงเหตุการณ์สําคัญในการพัฒนาสื่อและแหล่งสารสนเทศได้ถูกต้อง

(1) สุเมเรียนเป็นชาติแรกที่ใช้อักษรคิวนิฟอร์มในการสื่อสาร

(2) กฎหมายตาต่อตา ฟันต่อฟัน เป็นผลงานของชาวอัสสิเรียน

(3) อียิปต์เป็นชาติที่สร้างห้องสมุดอเล็กซานเดรีย

(4) บาบิโลเนียนเป็นชาติแรกที่ผลิตแท่นพิมพ์

ตอบ 1 หน้า 6 – 8 เหตุการณ์สําคัญในการพัฒนาสื่อและแหล่งสารสนเทศ มีดังนี้

1 สุเมเรียนเป็นชาติแรกที่คิดค้นอักษรรูปลิม “คิวนิฟอร์ม” บันทึกลงบนแผ่นดินเหนียว

2 บาบิโลเนียนมีกฎหมายเข้มงวด “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน” ซึ่งตราขึ้นโดยพระเจ้าฮัมมูราบี

3 กรีกได้สร้างห้องสมุดที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ได้แก่ ห้องสมุดอเล็กซานเดรียในอียิปต์

4 โยฮัน กูเตนเบิร์ก ชาวเยอรมัน ประดิษฐ์แท่นพิมพ์สําเร็จเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1450 ฯลฯ

8 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการสร้างห้องสมุดและแหล่งสารสนเทศของไทย

(1) หอหลวงสร้างขึ้นเพื่อเก็บเอกสารของราชสํานัก

(2) หอพระมณเฑียรธรรมเป็นหอไตรสําหรับเก็บพระไตรปิฎก

(3) รัชกาลที่ 5 ได้สร้างหอพุทธสาสนสังคหะ

(4) รัชกาลที่ 7 ได้ย้ายหอสมุดแห่งชาติมายังท่าวาสุกรี

ตอบ 4 (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 12) ในสมัยรัชกาลที่ 7 ได้โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อ“หอพระสมุดวชิรญาณสําหรับพระนคร” มาเป็น “หอสมุดแห่งชาติ” ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 9 ได้ย้ายหอสมุดแห่งชาติมาอยู่ที่ท่าวาสุกรี ถนนสามเสน กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2509

9 ผู้ที่มีการวิเคราะห์ข้อมูลก่อนนําไปใช้ประโยชน์ แสดงว่ามีคุณสมบัติของนักปราชญ์ในข้อใด

(1) สุตตะ

(2) จินตะ

(3) ปุจฉา

(4) ลิขิต

ตอบ 2 หน้า 20, (คําบรรยาย) หลักของหัวใจนักปราชญ์ ได้แก่ “สุ จิ ป ลิ” มีดังนี้

1 สุ (สุต หรือสุตตะ) คือ การรับฟังหรือการรับสารทั้งปวง รวมทั้งการอ่านหนังสือ และการค้นคว้าหาความรู้จากสื่อต่าง ๆ

2 จิ (จินตนะ หรือจินตะ) คือ การคิดวิเคราะห์ไตร่ตรองสิ่งต่าง ๆ ก่อนตัดสินใจทําสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

3 ปุ (ปุจฉา) คือ การเต่ถามหรือเสวนาหาคําตอบจากผู้รู้

4 ลิ (ลิขิต) คือ การเขียนหรือการจดบันทึกข้อมูล

10 การค้นหาความหมายของคําจากพจนานุกรมต้องใช้วิธีการอ่านแบบใด

(1) การอ่านคร่าว ๆ

(2) การอ่านอย่างวิเคราะห์

(3) การอ่านเพื่อเก็บรายละเอียด

(4) การอ่านอย่างเจาะจง

ตอบ 4 หน้า 18 การอ่านอยางเฉพาะเจาะจง (Scanning) เป็นการอ่านเพื่อค้นหาคําตอบเฉพาะเรื่องซึ่งผู้อ่านไม่จําเป็นต้องเสียเวลาอ่านตั้งแต่หน้าแรกจนถึงหน้าสุดท้าย แต่ให้ผู้อ่านกวาดสายตาไป ตลอดหน้ากระดาษเพื่อหาสิ่งที่ต้องการ โดยการอ่านในลักษณะนี้มักจะนิยมใช้กับการค้นหาความรู้ จากหนังสืออ้างอิงประเภทต่าง ๆ เช่น การค้นหาความหมายของคําจากหนังสือพจนานุกรม การอ่านค้นหาคําตอบจากหนังสือสารานุกรม, การค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับองค์การและสถาบันต่าง ๆในหนังสือนามานุกรม ฯลฯ

11 ข้อใดกล่าวถึงอภิธานศัพท์

(1) ส่วนที่ให้คําอธิบายคํายากหรือคําศัพท์เฉพาะ

(2) ส่วนที่ช่วยอธิบายข้อความบางตอนที่ปรากฏในเนื้อหา

(3) บัญชีรายชื่อหนังสือที่ปรากฏในท้ายเล่มของหนังสือ

(4) บัญชีคําหรือวลีที่ปรากฏในตอนท้ายของหนังสือ

ตอบ 1 หน้า 64 อภิธานศัพท์ (Glossary) เป็นส่วนที่ให้คําอธิบายคํายากหรือศัพท์เฉพาะที่ปรากฏในเนื้อเรื่องของหนังสือ มักมีในหนังสือที่ใช้ศัพท์มาก และมีลักษณะคล้ายเป็นพจนานุกรม ของหนังสือเล่มนั้น เพื่อช่วยให้เข้าใจความหมายของศัพท์เฉพาะในหนังสือเล่มนั้น โดยที่ผู้อ่านไม่ต้องเสียเวลาเปิดหาความหมายจากพจนานุกรม

12 ข้อใดเป็นส่วนประกอบสําคัญของวารสารที่ดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน

(1) รูปภาพและอักษรบนปก

(2) ภาพข่าวและรูปภาพ

(3) ความนำและอักษรบนปก

(4) พาดหัวข่าวและรูปภาพ

ตอบ 1 หน้า 65 ส่วนประกอบของวารสารมี 3 ส่วน คือ

1 ปกวารสาร (Cover) เป็นส่วนประกอบที่สําคัญ ซึ่งประกอบด้วย ชื่อวารสาร ฉบับที่ ปีที่ เดือน ปีและราคา แต่องค์ประกอบที่สําคัญที่สุดก็คือ รูปภาพ (เป็นภาพเขียนหรือภาพถ่ายก็ได้)และอักษรบนปก ซึ่งสามารถดึงดูดให้ผู้อ่านสนใจวารสารแต่ละฉบับเพิ่มมากขึ้น

2 สารบาญหรือสารบัญ (Contents) บอกให้ทราบถึงลําดับของเนื้อเรื่องในฉบับ โดยมีชื่อเรื่อง ชื่อผู้เขียน เลขหน้า และรายการต่าง ๆ เกี่ยวกับวารสาร

3 คอลัมน์ต่าง ๆ (Columns) ซึ่งขึ้นอยู่กับวารสารแต่ละประเภท

13 วัดธรรมกายได้จัดพิมพ์แผ่นพับเพื่อแจกจ่ายให้กับประชาชนที่สนใจ แผ่นพับจัดเป็นทรัพยากรสารสนเทศประเภทใด

(1) กฤตภาค

(2) จุลสาร

(3) วารสาร

(4) ต้นฉบับตัวเขียน

ตอบ 2 หน้า 66 67 จุลสาร (Pamphlets) เป็นสิ่งพิมพ์ที่ให้สารสนเทศเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ทันสมัยและอยู่ในความสนใจของบุคคลทั่วไปในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นบทความทาง วิชาการต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ หรือความรู้ที่หน่วยงานราชการ องค์การ วัดหรือสมาคมต่าง ๆ ต้องการเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ อาจพิมพ์ออกเป็นเอกสารเล่มเล็กเดี่ยว ๆ หรือพิมพ์ เป็นตอน ๆ โดยรูปเล่มทั่วไปจะไม่มีการเข้าปกเย็บเล่มถาวร มีจํานวนหน้าไม่เกิน 60 หน้า ทั้งนี้อาจจะมีลักษณะเป็นแผ่นพับหรืออยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า “อนุสาร” (Brochure) ก็ได้

14 วิดีโอคลิปคําบรรยายของอาจารย์มหาวิทยาลัยรามคําแหง จัดเป็นสือประเภทใด

(1) โสตทัศน์

(2) โสตวัสดุ

(3) ทัศนวัสดุ

(4) อิเล็กทรอนิกส์

ตอบ 1 หน้า 67 – 73, 77 สื่อโสตทัศน์ (โสตทัศนวัสดุ หรือวัสดุไม่ตีพิมพ์) แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

1 โสตวัสดุ เป็นวัสดุที่สื่อสารโดยการฟัง เช่น แผ่นเสียงหรือจานเสียง เทป แถบบันทึกเสียง ซีดีออดิโอ แผ่นเอ็มพี 3 ฯลฯ

2 ทัศนวัสดุ เป็นวัสดุที่สื่อสารโดยการเห็น เช่น วัสดุกราฟิก รูปภาพ แผนที่ ลูกโลก ภาพนิ่ง แผ่นโปร่งใส หุ่นจําลอง ของตัวอย่าง ฯลฯ

3 สื่อโสตทัศน์ หรือโสตทัศนวัสดุ เป็นวัสดุที่สื่อสารทั้งโดยการฟังและการเห็น เช่น ภาพยนตร์ แถบวีดิทัศน์หรือวิดีโอ วีซีดี ดีวีดี วิดีโอคลิป ฯลฯ

15 ไมโครฟิล์มเหมือนกับไมโครฟิชในลักษณะใด

(1) เป็นวัสดุย่อส่วนที่ใช้เทคโนโลยีแสงเลเซอร์

(2) เป็นวัสดุย่อส่วนที่มีขนาดเท่ากับบัตรรายการ

(3) เป็นวัสดุย่อส่วนในรูปของบัตรทึบแสง

(4) เป็นวัสดุย่อส่วนในรูปของฟิล์มโปร่งแสง

ตอบ 4 หน้า 54, 73 – 74, 77 – 78 วัสดุย่อส่วน (Micrographic or Microforms) หมายถึง วัสดุที่บันทึกสารสนเทศจากสิ่งพิมพ์ที่เป็นหนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ วิทยานิพนธ์ จดหมายโต้ตอบ หนังสือหายาก ต้นฉบับตัวเขียน หรือเอกสารที่มีคุณค่าต่าง ๆ โดยวิธีการถ่ายย่อส่วนลงบน แผ่นฟิล์มขนาดเล็กเพื่อประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บและป้องกันการฉีกขาดทําลาย ซึ่งแบ่งออก ได้เป็น 2 ประเภท คือ

1 ฟิล์มโปร่งแสง ได้แก่ ไมโครฟิล์ม ไมโครฟิช และบัตรอเพอเจอร์

2 บัตรทึบแสง ได้แก่ ไมโครการ์ด และไมโครพริ้นท์

16 Flash Drive บันทึกข้อมูลเหมือนกับสื่อประเภทใด

(1) จานแม่เหล็กชนิดอ่อน (Floppy Disk)

(2) จานแสง (Optical Disk)

(3) ซีดีรอม (CD-ROM)

(4) วีดิทัศน์ดิจิตอล (DVD)

ตอบ 1 หน้า 75 – 76, 78, (คําบรรยาย) สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง สื่อที่บันทึกสารสนเทศด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นอักขระแบบดิจิตอล ซึ่งต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือแสงเลเซอร์ ในการบันทึกและอ่านข้อมูล แบ่งออกเป็น

1 แผ่นจานแม่เหล็กเเบบอ่อน (Diskette หรือ Floppy Disk) บันทึกโปรแกรมสําเร็จรูป

2 จานแสง (Optical Disk) เช่น VCD, DVD, CD-ROM บันทึกฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ฐานข้อมูลเชิงพาณิชย์ ฐานข้อมูลด้านการศึกษา ฐานข้อมูลเชิงบรรณานุกรม ฯลฯ

3 USB Flash Drive เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลหรือไฟล์จากคอมพิวเตอร์ โดยมีวิธีการบันทึกข้อมูลเหมือน Hard Disk หรือ Floppy Disk มีขนาดเล็ก น้ําหนักเบา สะดวก ในการพกพาติดตัว และสามารถเก็บข้อมูลได้จํานวนมากตั้งแต่ 128 MB – 8 GB

17 ข้อใดคือเครื่องมือช่วยค้นหาความรู้ที่พบได้ในพจนานุกรม

(1) คำนำทาง

(2) บรรณานุกรม

(3) สาระสังเขป

(4) ดรรชนี

ตอบ 1 หน้า 83 84 คํานําทาง (Guide Word หรือ Running Word) คือ คําหรืออักษรที่ปรากฏอยู่ตรงกลางหน้ากระดาษหรืออยู่ริมมุมหน้ากระดาษทุกหน้า โดยเฉพาะหนังสือประเภทพจนานุกรม และสารานุกรม เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยค้นหาความรู้ ซึ่งจะบอกให้ทราบว่าในหน้านั้น ๆ ขึ้นต้นด้วยตัวอักษรตั้งแต่ตัวใดถึงตัวใด

18 ข้อใดจัดอยู่ในประเภทพจนานุกรมเฉพาะวิชา

(1) พจนานุกรมคําย่อภาษาไทย

(2) พจนานุกรมคําคะนอง

(3) พจนานุกรมคํายืมภาษาเขมรในภาษาไทย

(4) พจนานุกรมศัพท์พืชสมุนไพร

ตอบ 4 หน้า 85, 89 – 90, (คําบรรยาย) “พจนานุกรมเฉพาะวิชา คือ พจนานุกรมสําหรับค้นหาความหมายของคําที่ใช้ในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง เช่น พจนานุกรมศัพท์คอมพิวเตอร์ฉบับปรับปรุงใหม่, พจนานุกรมศัพท์วิทยาศาสตร์การแพทย์, พจนานุกรมศัพท์พืชสมุนไพร และพจนานุกรมรวมคําศัพท์ทางการศึกษา ซึ่งจะเห้ศัพท์ทั้งทางด้านจิตวิทยา สังคมวิทยา และปรัชญา เป็นต้น

19 สารานุกรมทั่วไปมีลักษณะเด่นอย่างไร

(1) ให้สาระความรู้พื้นฐานอย่างกว้าง ๆ

(2) มีรูปเล่มสวยงาม ขนาดใหญ่

(3) ให้เนื้อหาเชิงลึกเหมาะสําหรับการค้นคว้า

(4) มีรูปเล่มเล็ก ขนาดกะทัดรัด พกพาสะดวก

ตอบ 1 หน้า 91 – 92, 95 สารานุกรม (Encyclopedia) หมายถึง หนังสือที่รวบรวมสาระความรู้หรือข้อเท็จจริงพื้นฐานในแขนงวิชาต่าง ๆ อย่างกว้าง ๆ เขียนโดยผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาวิชา เพื่อให้ข้อมูลหรือความรู้ในรูปของบทความ โดยมีอักษรย่อของผู้เขียนกํากับไว้ที่ท้าย บทความ และจัดเรียงเนื้อหาตามลําดับตัวอักษรหรือแบ่งเป็นหมวดหมู่วิชา ซึ่งอาจมีเล่มเดียวจบ หรือหลายเล่มจบที่เรียกว่า “หนังสือชุด” ส่วนใหญ่สารานุกรมจะมีภาพประกอบ และมีดรรชนีช่วยค้นเรื่อง (Fact Index) อยู่ตอนท้ายเล่ม หรือถ้าเป็นหนังสือชุดก็จะอยู่เล่มสุดท้าย

20 ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับอักขรานุกรมชีวประวัติ

(1) ให้ประวัติบุคคลทั้งผู้สิ้นชีวิตและยังมีชีวิตอยู่

(2) ให้ประวัติของบุคคลชาวต่างประเทศ

(3) ให้ประวัติบุคคลที่สิ้นชีวิตแล้วเท่านั้น

(4) ให้ประวัติบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น

ตอบ 1 หน้า 97 98 อักขรานุกรมชีวประวัติ คือ หนังสือที่รวบรวมประวัติชีวิตของบุคคลสําคัญโดยจะให้รายละเอียดเกี่ยวกับเชื้อชาติ สถานที่เกิด วันเดือนปีเกิด หรือตาย (ในกรณีที่บุคคล เจ้าของชีวประวัติสิ้นชีวิตไปแล้ว) ที่อยู่ ระดับการศึกษา ตําแหน่งหน้าที่การงาน ประสบการณ์ ในการทํางาน ผลงานดีเด่น และสถานภาพทางครอบครัว ทั้งนี้เพื่อต้องการให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาว่าผู้ที่มีชื่อเสียงในอดีตนั้นได้ทําคุณประโยชน์ให้กับบ้านเมืองอย่างไรบ้าง

21 “รายชื่อโรงงานในประเทศไทย” จัดเป็นหนังสืออ้างอิงประเภทใด

(1) สมพัตสร

(2) สารานุกรม

(3) นามานุกรม

(4) หนังสือรายปี

ตอบ 3 หน้า 102 – 103, 105 นามานุกรม (Directory) คือ หนังสือที่รวบรวมรายชื่อของบุคคล องค์การหรือหน่วยงานต่าง ๆ พร้อมกับสถานที่อยู่หรือที่ตั้งและหมายเลขโทรศัพท์สําหรับการติดต่อ แบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท ได้แก่

1 นามานุกรมท้องถิ่น เช่น สมุดโทรศัพท์

2 นามานุกรมของรัฐ เช่น นามสงเคราะห์ส่วนราชการไทย

3 นามานุกรมสถาบัน เช่น ชื่อมหาวิทยาลัย โรงเรียน ห้องสมุด ฯลฯ

4 นามานุกรมสาขาอาชีพ เช่น ทําเนียบกระทรวงยุติธรรม พุทธศักราช 2530

5 นามานุกรมการค้าและธุรกิจ เช่น รวมโรงงานอุตสาหกรรม

22 ต้องการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับการดําเนินงานของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สามารถค้นได้จากหนังสืออ้างอิงประเภทใด

(1) สมพัตสร

(2) สารานุกรม

(3) นามานุกรม

(4) หนังสือรายปี

ตอบ 4 หน้า 109 หนังสือรายปี (Yearbooks) เป็นหนังสือที่พิมพ์ออ เป็นรายปี โดยจะให้ข่าวสารข้อมูล เหตุการณ์ กิจกรรมความเคลื่อนไหว แนวโน้ม และความก้าวหน้าในด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในประเทศต่าง ๆ ภายใน รอบปีหนึ่ง ๆ ที่ผ่านมา ซึ่งจะเสนอในรูปของการพรรณนาความอย่างสั้น ๆ โดยมีตัวเลขสถิติ ประกอบด้วย แบ่งออกเป็น หนังสือรายปีของสารานุกรม หนังสือรายงานผลการดําเนินงานประจําปีของหน่วยงานต่าง ๆ หนังสือรายปีเฉพาะด้าน และสมุดสถิติรายปี

23 ลักษณะสําคัญและประโยชน์ของอักขรานุกรมภูมิศาสตร์ตรงกับข้อใด

(1) แนะนําการเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ

(2) รายชื่อสถานที่ท่องเที่ยว

(3) ให้คําจํากัดความของชื่อทางภูมิศาสตร์

(4) แสดงแผนที่ทางภูมิศาสตร์

ตอบ 3 หน้า 115 อักขรานารมภูมิศาสตร์ เป็นหนังสือที่ให้ข้อมูลอย่างสังเขปเกี่ยวกับชื่อของสถานที่สําคัญทางภูมิศาสตร์ มีลักษณะคล้ายพจนานุกรมที่ให้คําจํากัดความเกี่ยวกับชื่อและสถานที่ทางภูมิศาสตร์อย่างสั้น ๆ ให้คําอ่านและรายละเอียดอื่น ๆ ได้อย่างกระชับและน่าเชื่อถือที่สุด เช่น สถานที่ตั้ง ระยะทาง เส้นรุ้ง เส้นแวง ความตื้นลึกของทะเล ความสูงของภูเขา จํานวนผลผลิตทางเกษตรกรรม อุตสาหกรรม จํานวนประชากร ตราประจําจังหวัด เป็นต้น

24 ต้องการรวบรวมบทความเกี่ยวกับ “ราชวงศ์ไทย” ควรใช้เครื่องมือในข้อใด

(1) ดรรชนีท้ายเล่ม

(2) ดรรชนีวารสาร

(3) ตรรชนีหนังสือพิมพ์

(4) ดรรชนีที่ห้องสมุดจัดทําขึ้นเอง

ตอบ 2 หน้า 120 ดรรชนีวารสาร เป็นเครื่องมือในการค้นหาบทความในวารสารแต่ละรายการโดยจะให้ชื่อผู้แต่ง ชื่อบทความ ชื่อวารสาร ฉบับที่ หน้า เดือน .ละปีที่จัดพิมพ์ ทั้งนี้ ดรรชนีวารสารสามารถแบ่งย่อยเด้อีก 3 ประเภท ได้แก่

1 ดรรชนีวารสารทั่วไป

2 ดรรชนีวารสารเฉพาะวิชา

3 ดรรชนีวารสารเฉพาะชื่อ

25 หนังสือบรรณานุกรมมีลักษณะอย่างไร

(1) หนังสือที่รวบรวมรายชื่อสิ่งพิมพ์

(2) หนังสือที่รวบรวมบัญชีคําสําหรับสืบค้น

(3) หนังสือที่รวบรวมเนื้อหาสําคัญเฉพาะสาขาวิชา

(4) หนังสือที่รวบรวมบทคัดย่อ

ตอบ 1 หน้า 129 หนังสือบรรณานุกรม (Bibliography) เป็นหนังสืออ้างอิงที่รวบรวมรายชื่อหนังสือสิ่งพิมพ์ หรือทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่าง ๆ ทั้งที่ผลิตในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งมี ทั้งที่จัดทําเป็นตัวเล่มหนังสือ หรืออาจปรากฏที่ท้ายเล่มหรือท้ายบทแต่ละบทเพื่อทําหน้าที่ เป็นเอกสารอ้างอิง โดยบรรณานุกรมจะให้รายละเอียดเกี่ยวกับรายชื่อผู้แต่ง รายชื่อสิ่งพิมพ์ หรือทรัพยากรสารสนเทศรูปแบบอื่น ๆ รายชื่อผู้ผลิต (สํานักพิมพ์) สถานที่ผลิต ปีที่ผลิตลักษณะรูปเล่ม และราคา บางเล่มอาจมีบรรณนิทัศน์สังเขปและบทวิจารณ์ประกอบอยู่ด้วย

26 ข้อใดคือสัญลักษณ์แสดงกลุ่มเนื้อหาของหนังสือแต่ละเล่ม

(1) เลขหมู่

(2) เลขทะเบียน

(3) เลขเรียกหนังสือ

(4) เลขมาตรฐานสากลประจําหนังสือ

ตอบ 1 หน้า 157 เลขหมู่หนังสือ (Class Number) เป็นสัญลักษณ์ที่กําหนดขึ้นเพื่อแสดงกลุ่มเนื้อหาสาระของหนังสือและ/หรือประพันธ์วิธีของหนังสือแต่ละเล่ม ทั้งนี้อาจแตกต่างกันตามระบบการจัดหมู่หนังสือ

27 ข้อใดเป็นระบบการจัดหมู่หนังสือที่แบ่งสรรพวิทยาการออกเป็น 10 หมวดใหญ่ และใช้เลขอารบิก เป็นสัญลักษณ์

(1) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมสากล

(2) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน

(3) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้

(4) ระบบของคัตเตอร์

ตอบ 3 หน้า 151, 153 ระบบการจัดหม หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้ (Dewey Decimal Classification :  DDC หรือ DC) เป็นระบบที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในห้องสมุดขนาดเล็กหรือขนาดกลางที่มี หนังสือทั่ว ๆ ไปหลายสาขาวิชาในจํานวนที่ไม่มากนัก เช่น ห้องสมุดประชาชน ห้องสมุดโรงเรียน เป็นต้น ซึ่งการจัดหมู่หนังสือด้วยระบบนี้จะเป็นแบบเชิงกว้าง โดยแบ่งสรรพวิทยาการในโลก ออกเป็น 10 หมวดใหญ่ และใช้สัญลักษณ์แสดงเนื้อหาของหนังสือเป็นเลขอารบิก 3 หลัก ตั้งแต่ 100 – 000 กับทศนิยมอีกไม่จํากัดตําแหน่งเพื่อแบ่งเนื้อหาให้ชี้เฉพาะยิ่งขึ้น

28 ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกันจําแนกออกเป็นหมวดหมู่

(1) 20 หมวด

(2) 24 หมวด

(3) 26 หมวด

(4) 5 หมวด

ตอบ 1 หน้า 153 – 155 ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classification : LCC หรือ LC) เป็นระบบที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายในห้องสมุดขนาดใหญ่ ที่มีหนังสือเฉพาะสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง หรือมีหนังสือทั่วไปทุกประเภทเป็นจํานวนมาก เช่น ห้องสมุดเฉพาะ ห้องสมุดมหาวิทยาลัย เป็นต้น โดยจะแบ่งเนื้อหาหนังสือออกเป็น 20 หมวดใหญ่ และใช้สัญลักษณ์ในการจัดหมู่หรือเลขหมู่หนังสือเป็นแบบผสม คือ ใช้ตัวอักษรโรมัน A – Z (ยกเว้น I, 0, W, X, Y) แสดงเนื้อหาในหมวดใหญ่ และใช้ตัวเลขอารบิกตั้งแต่ 1 – 9999 กับทศนิยมอีกไม่จํากัดตําแหน่งแบ่งย่อยเรื่องอีกที่หนึ่ง

29 ข้อใดคือระบบการจัดหมู่หนังสือที่แบ่งสรรพวิทยาการออกเป็น 2 หมวดใหญ่

(1) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน

(2) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้

(3) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดแพทย์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา

(4) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมสากล

ตอบ 3 หน้า 155 – 156, (คําบรรยาย) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดแพทย์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (National Library Medicine : NLM) เป็นระบบการจัดหมู่หนังสือที่ใช้กับ ห้องสมุดทางการแพทย์ สาธารณสุข และพยาบาล โดยจะใช้อักษรโรมัน Q กับ W และเลขอารบิก เป็นสัญลักษณ์เช่นเดียวกับการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน แต่แตกต่างในด้าน การจําแนกสรรพวิทยาการออกเป็น 2 หมวดใหญ่ คือ หมวด Qวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน และหมวด W วิชาการแพทย์และวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นระบบนี้จึงนิยมใช้กับห้องสมุด ของคณะแพทยศาสตร์ในทุกสถาบัน เช่น หอสมุดศิริราช, ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่, ห้องสมุดวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพฯ, ห้องสมุดคณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.ขอนแก่น, ห้องสมุดของโรงพยาบาลต่าง ๆ เป็นต้น

30 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเลขเรียกหนังสือ

(1) เลขเรียกหนังสือประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ เลขหมู่หนังสือ เลขผู้แต่ง และอักษรชื่อเรื่อง

(2) เลขเรียกหนังสือเป็นสัญลักษณ์ที่ห้องสมุดกําหนดขึ้นให้กับหนังสือทุกเล่มในห้องสมุด

(3) การจัดเรียงหนังสือบนชั้นพิจารณาจากเลขเรียกหนังสือ

(4) เลขเรียกหนังสือไม่สามารถบอกเนื้อหาภายในของหนังสือได้

ตอบ 4 หน้า 157, 159 – 161, (คําบรรยาย) เลขเรียกหนังสือ (Call Number) เป็นสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายเฉพาะที่ห้องสมุดกําหนดให้กับหนังสือทุกเล่มที่มีอยู่ในห้องสมุด ซึ่งประกอบด้วย ส่วนสําคัญ ๆ 3 ส่วน คือ เลขหมู่หนังสือ เลขผู้แต่ง และอักษรชื่อเรื่อง (แต่ตราบางเล่มอาจ ประกอบด้วย เลขหมู่หนังสือ, เลขผู้แต่งและอักษรตัวแรกของชื่อเรื่อง, สัญลักษณ์อื่น ๆ เช่น ปี พ.ศ. เล่มที่ ฉบับที่ ฯลฯ) ทั้งนี้หนังสือทุกเล่มในห้องสมุดจะจัดเรียงอยู่บนชั้นตามลําดับของ เลขเรียกหนังสือ ซึ่งสามารถบอกเนื้อหาสาระภายในของหนังสือได้ โดยดูจากเลขหมู่หนังสือ(ดูคําอธิบายข้อ 26 ประกอบ)

31 จงเรียงหนังสือต่อไปนี้ให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์

PE 507

.F26

1963

 

PE 31

.B73

1969

 

PE 31

.F66

1968

PE 113

.D82

1978

FE 31

.E6

1978

 

(1) จ ก ข คง

(2) ง ข อ ค ก

(3) ก จ ง ข )

(4) ข จ ค ง ก

ตอบ 4 หน้า 159 160 วิธีการจัดเรียงหนังสือบนชั้นในห้องสมุด จะพิจารณาจากเลขเรียกหนังสือจากซ้ายไปขวา จากชั้นบนลงชั้นล่าง และจะพิจารณาจัดลําดับจากเลขหมู่หนังสือก่อน ทั้งนี้ ห้องสมุดที่จัดหมู่หนังสือด้วยระบบทศนิยมดิวอี้จะเรียงลําดับจากเลขหมู่น้อยไปหาเลขหมู่มาก ส่วนห้องสมุดที่จัดหมู่หนังสือด้วยระบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกันจะพิจารณาเรียงลําดับตาม ตัวอักษร A – Z ก่อน ต่อเมื่อตัวอักษรซ้ํากันจึงค่อยเรียงลําดับจากเลขหมู่น้อยไปหาเลขหมู่มาก แต่ถ้าเลขหมู่ซ้ํากันก็ให้พิจารณาจากเลขผู้แต่งหรือเลขประจําหนังสือ และอักษรชื่อเรื่องตามลําดับ(จากโจทย์ เรียงลําดับที่ถูกต้องได้ดังนี้ ข จ คง ก)

32 ข้อใดคือวิธีการจัดเก็บสิ่งพิมพ์รัฐบาลของสํานักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคําแหง

(1) จัดเก็บไว้ที่ฝ่ายวัสดุไม่ตีพิมพ์

(2) จัดรวมกับสิ่งพิมพ์อื่น ๆ

(3) จัดแยกเป็น Collection พิเศษ

(4) จัดหมวดหมู่เช่นเดียวกับหนังสือ

ตอบ 3 หน้า 131 132, 141, 166 167 สิ่งพิมพ์รัฐบาล หมายถึง สิ่งพิมพ์ที่หน่วยงานราชการเป็นผู้รับผิดชอบในการพิมพ์ขึ้น ซึ่งสาระในเล่มอาจเป็นรายงานการปฏิบัติงาน รายงานประจําปี ร่างกฎหมายและมติต่าง ๆ ฯลฯ โดยสํานักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคําแหง ได้จัดเก็บ สิ่งพิมพ์รัฐบาลด้วยการแยกเป็นทรัพยากรลักษณะพิเศษ (Special Collection) และกําหนด ระบบการจัดหมู่ขึ้นโดยเฉพาะ คือ กําหนดอักษร GP (Government Publication) เพื่อเป็น สัญลักษณ์พิเศษของสิ่งพิมพ์รัฐบาลกํากับเหนือเลขเรียกหนังสือ หลังจากนั้นจึงจัดแยกสิ่งพิมพ์ ตามหน่วยงานรัฐบาลในระดับกระทรวง กรม กอง ฯลฯ

33 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการจัดเก็บหนังสือพิมพ์ฉบับย้อนหลัง

(1) จัดเก็บไว้ในรูปไมโครฟิล์ม

(2) นําไปเย็บรวมเป็นเล่มเมื่อได้รับครบปี

(3) คัดเลือกหนังสือพิมพ์ฉบับสําคัญ ๆ ถ่ายเป็นวัสดุย่อส่วน

(4) จัดเก็บไว้ระยะเวลาหนึ่งประมาณ 1 – 2 ปี แล้วคัดทิ้งไป

ตอบ 2 หน้า 169 ห้องสมุดโดยทั่วไปจะเก็บหนังสือพิมพ์ฉบับย้อนหลังไว้ระยะเวลาหนึ่งประมาณ 1 – 2 ปี แล้วคัดทิ้งไป แต่ห้องสมุดบางแห่งนิยมคัดเลือกและจัดเก็บหนังสือพิมพ์ฉบับย้อนหลัง ที่สําคัญ ๆ ด้วยการถ่ายเป็นวัสดุย่อส่วนแล้วเก็บไว้ในรูปของไมโครฟิล์ม เพื่อรักษาสภาพและ ประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บ เช่น สํานักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคําแหง จะจัดเก็บ หนังสือพิมพ์ 10 ฉบับ ไว้ในรูปไมโครฟิล์ม ได้แก่ สยามรัฐ มติชน ไทยรัฐ เดลินิวส์ ข่าวพาณิชย์ มติชนรายสัปดาห์ สยามรัฐรายสัปดาห์ ประชาชาติ Bangkok Post และ The Nation

34 ข้อใดเป็นการจัดเก็บจุลสารที่ถูกต้อง

(1) จัดหมวดหมู่เช่นเดียวกับหนังสือ

(2) จัดเรียงตามลําดับอักษรของหัวเรื่องจัดเก็บเข้าแฟ้มเอกสาร

(3) จัดเรียงตามลําดับหัวเรื่องไว้บนชั้น

(4) จัดเก็บรวมไว้กับวารสารย้อนหลัง

ตอบ 2 หน้า 163, 170 171 วิธีการจัดเก็บจุลสารและกฤตภาคของห้องสมุดจะใช้วิธีเดียวกันส่วนมากนิยมจัดเก็บแยกออกจากวัสดุสารสนเทศอื่น ๆ คือ จัดเก็บโดยกําหนดหัวเรื่องกํากับไว้ ที่มุมบนของปก แล้วนําจุลสารและกฤตภาคที่มีหัวเรื่องเดียวกันเก็บรวบรวมไว้ในแฟ้ม ปิดป้าย ชื่อหัวเรื่องที่แฟ้ม และนําแฟ้มไปจัดเก็บไว้ในตู้เก็บเอกสารเรียงตามลําดับอักษรของหัวเรื่องโดยที่หน้าลิ้นชักจะมีอักษรกํากับไว้ให้ทราบว่าแต่ละลิ้นชักมีแฟ้มเริ่มจากอักษรตัวใดถึงตัวใด

35 ข้อใดคือวิธีการจัดเก็บไมโครฟิล์มของห้องสมดที่เอื้อให้ผู้ใช้สามารถค้นหาได้อย่างรวดเร็ว

(1) จัดเรียงใสตะแกรงพลาสติกตามลําดับหัวเรื่อง

(2) จัดเก็บไว้ในกล่องหรือตลับตามลําดับขนาด

(3) จัดเก็บในลิ้นชักตู้เหล็กตามลําดับเลขทะเบียน

(4) จัดเรียงไว้บนชั้นรวมไปกับหนังสือตามลําดับเลขหมู่

ตอบ 3 หน้า 177, 180, 351 วิธีจัดเก็บไมโครฟิล์มของห้องสมุดมีอยู่ 2 วิธี ดังนี้

1 จัดเรียงขึ้นชั้นรวมไว้กับสิ่งพิมพ์ โดยห้องสมุดจะจัดเก็บไมโครฟิล์มทั้งที่เป็นชนิดม้วนและตลับด้วยการจัดทําป้าย ซึ่งประกอบด้วย เลขทะเบียน ชื่อเรื่อง ความยาว ความกว้าง ประเภท ของฟิล์ม และสัญลักษณ์ที่กําหนดเป็นเลขหมู่ติดไว้บนกล่องม้วนและตลับ แล้วจึงจัดเรียงขึ้นชั้นรวมไว้กับสิ่งพิมพ์อื่น ๆ

2 จัดแยกไว้ในตู้ โดยห้องสมุดบางแห่งอาจนํากล่องหรือตลับไมโครฟิล์มที่ปิดป้ายมาแยกเป็นหมวดหมู่ แล้วเรียงตามลําดับเลขทะเบียนไว้ในลิ้นชักตู้เหล็ก หรือเรียงใส่ตะแกรงพลาสติกไว้บนชั้นแบบชั้นเก็บหนังสือ

36 ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการจัดเก็บซีดีรอม

(1) แยกเก็บไว้ในตู้เก็บตามหัวเรื่อง และจัดเรียงตามตัวอักษร

(2) จัดเก็บในระบบชั้นปิดตามเลขทะเบียน

(3) ให้เลขหมู่ตามโปรแกรมคําสั่งและเรียงบนชั้นแบบหนังสือ

(4) จัดเรียงใส่ตะแกรงพลาสติกไว้บนชั้นแบนชั้นหนังสือ

ตอบ 2 หน้า 163, 178, (คําบรรยาย) ห้องสมุดนิยมจัดเก็บซีดีรอม ซึ่งเป็นวัสดุอิเล็กทรอนิกส์ไว้ในระบบชั้นปิดตามเลขทะเบียน โดยแยกไว้ต่างหากจากทรัพยากรสารสนเทศอื่น ๆ และจะมีเจ้าหน้าที่ คอยหยิบให้เมื่อมีผู้ใช้มาขอรับบริการ โดยเจ้าหน้าที่จะเตรียมแผ่นซีดีรอมบรรจุเข้าเครื่องอ่านและเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องใช้ควบคู่กัน เพื่อให้ผู้ใช้บริการค้นหาข้อมูลตามที่ต้องการ

37 เครื่องมือในข้อใดที่ห้องสมุดใช้เป็นเครื่องมือในการค้นหาทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด

(1) รายการออนไลน์

(2) รายการแบบบัตร

(3) รายการบนวัสดุย่อส่วน

(4) รายการแบบพิมพ์รวมเล่ม

ตอบ 1 หน้า 190, 313, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 219) ในยุคปัจจุบันผู้ใช้ห้องสมุดสามารถสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว โดยใช้บัตรรายการแบบ ออนไลน์ (Online Catalog) คือ การบันทึกข้อมูลของหนังสือหรือทรัพยากรสารสนเทศของ ห้องสมุดไว้ในคอมพิวเตอร์ ซึ่งระบบค้นคืนแบบออนไลน์ที่ใช้ค้นหารายการหนังสือในห้องสมุด เรียกว่า OPAC (Online Public Access Catalog) เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเรียกใช้ข้อมูลได้จากจอภาพ โดยเลือกใช้คําสั่งจากเมนูหลักที่กําหนดไว้

38 ข้อใดไม่ใช่ช่องทางในการสืบค้นหาหนังสือของห้องสมุด

(1) ผู้แต่งหนังสือ

(2) ผู้แต่งร่วม

(3) ผู้แปล

(4) ชื่อผู้ทํารายการ

ตอบ 4 หน้า 189, 194 – 200 บัตรรายการ เป็นเครื่องมือสําคัญอย่างหนึ่งที่บรรณารักษ์จัดทําขึ้นเพื่อเป็นช่องทางในการสืบค้นหาหนังสือของห้องสมุด แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ

1 บัตรหลักหรือบัตรยืนพื้น ได้แก่ บัตรผู้แต่ง ซึ่งจะบอกชื่อผู้แต่งหนังสือ หรือรายการหลัก

2 บัตรชื่อเรื่อง

3 บัตรหัวเรื่องหรือบัตรเรื่อง

4 บัตรแจ้งหมู่หรือบัตรทะเบียนหนังสือ นอกจากนี้ห้องสมุดยังมีการทําบัตรเพิ่มชนิดอื่น ๆ เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สืบค้นหนังสือจากจุดค้นได้หลาย ๆ จุด ได้แก่ บัตรผู้แต่งร่วม บัตรผู้แปล บัตรผู้วาดภาพ บัตรชื่อชุด และบัตรโยง

39 ส่วนใดของรายการที่ช่วยยืนยันความเป็นปัจจุบันของเนื้อหาหนังสือ

(1) ครั้งที่พิมพ์

(2) ปีที่พิมพ์

(3) เมืองที่พิมพ์

(4) สํานักพิมพ์

ตอบ 2 หน้า 60, 193 ปีที่พิมพ์ (Date of Publication) คือ ปีที่ผลิตสิ่งพิมพ์นั้น หรือปีที่หนังสือแต่ละเล่มได้รับการจัดพิมพ์ เพื่อเสดงความเก่า ความเป็นปัจจุบัน และความทันสมัยของเนื้อหา ในหนังสือ ดังนั้นปีที่พิมพ์จึงมีความสําคัญเพราะจะช่วยให้ผู้ใช้ทราบว่าเป็นหนังสือเก่าหรือใหม่ สําหรับหนังสือที่เป็นภาษาต่างประเทศจะนิยมลงรายการด้วยปีลิขสิทธิ์ (Copyright Date)โดยมีตัวอักษร C นําหน้าปี เช่น 1990

40 ส่วนใดของรายการที่ช่วยให้ทราบว่าหนังสือมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร

(1) หัวเรื่องในแนวสืบค้น

(2) สํานักพิมพ์

(3) ผู้แต่งจากรายการแจ้งความรับผิดชอบ

(4) ชื่อผู้แต่งร่วม

ตอบ 1 หน้า 193, 195, 214 แนวสืบค้น (Tracing) เป็นรายการที่บอกให้ทราบว่านอกจากบัตรยืนพื้นหรือบัตรหลักแล้ว ห้องสมุดได้ทําบัตรชนิดใดเพิ่มอีกบ้าง แนวสืบค้นมี 2 ส่วน ได้แก่

1 ส่วนที่เป็นหัวเรื่อง (Subject Headings) ได้แก่ บัตรหัวเรื่องหรือบัตรเรื่อง ซึ่งจะช่วยให้ผู้อ่านทราบว่าหนังสือเล่มนั้นมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร

2 รายการเพิ่มต่าง ๆ เช่น บัตรผู้แต่งร่วม บัตรผู้แปล บัตรผู้วาดภาพประกอบ เป็นต้น

41 ข้อใดที่ไม่ปรากฏอยู่ในรายการหนังสือของห้องสมุด

(1) ความหนาของหนังสือ

(2) ส่วนสูงของหนังสือ

(3) น้ำหนักของหนังสือ

(4) สีของภาพประกอบ

ตอบ 3 หน้า 191, 193, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 220) ลักษณะวัสดุ หรือลักษณะรูปร่าง (Physical Description) เป็นรายการหนังสือของห้องสมุดที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะ รูปร่าง ส่วนประกอบ และขนาดของหนังสือ ได้แก่ จํานวนหน้า (ความหนาของหนังสือ) หรือ จํานวนเล่ม ภาพประกอบ (สีของภาพประกอบ) และส่วนสูงของหนังสือ เช่น V, 120 p. : it. (some cot.) ; 21 cm. หมายถึง หนังสือเล่มเดียวจบ (v = volume) มีทั้งหมด 120 หน้า (120 p.) มีภาพประกอบ (it. = illustration) สีบางส่วน (some col. = some color) และมีส่วนสูง 21 เซนติเมตร (21 cm.)

42 “ill.” ข้อความนี้ปรากฏในรายการมีประโยชน์สําหรับผู้ใช้อย่างไร

(1) แจ้งให้ทราบว่าหนังสือเล่มนี้ไม่อยู่ในห้องสมุด

(2) หนังสือเล่มนี้ดําเนินการส่งซ่อม

(3) แจ้งให้ทราบว่าหนังสือเล่มนี้มีภาพประกอบ

(4) หนังสือเล่มนี้อยู่ระหว่างดําเนินการสั่งซื้อ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 41 ประกอบ

43 “มีบรรณานุกรมและดรรชนีท้ายเล่ม” ข้อความนี้ปรากฏอยู่ส่วนใดของรายการ

(1) หมายเหตุ

(2) ลักษณะรูปร่าง

(3) การพิมพ์

(4) แนวสืบค้น

ตอบ 1 หน้า 193, (LIS 100: เลขพิมพ์ 57038 หน้า 221) หมายเหตุ (Notes) เป็นส่วนประกอบของบัตรรายการที่ให้ข้อมูลอื่นเพิ่มเติมเกี่ยวกับหนังสือนอกเหนือจากที่บอกไว้ในส่วนอื่น ๆ เพื่อให้ผู้ใช้ได้ทราบเพิ่มเติมว่าหนังสือเล่มนั้นมีบรรณานุกรมอยู่ท้ายเล่ม หรือมีดรรชนีอภิธานศัพท์ ภาคผนวก ฯลฯ เช่น บรรณานุกรม : หน้า 300 – 320

44 ข้อใดไม่ใช่ข้อที่ควรคํานึงถึงในการกําหนดเรื่องรายงาน

(1) เลือกเรื่องที่ต้องการศึกษาเพิ่มเติม

(2) เลือกเรื่องที่มีแหล่งข้อมูลให้ค้นคว้าได้เพียงพอ

(3) เลือกเรื่องที่มีขอบเขตพอเหมาะกับเวลาที่กําหนด

(4) เลือกเรื่องใหม่ ๆ ที่ยังไม่มีข้อมูลและข้อสรุปที่ชัดเจน

ตอบ 4 หน้า 238 239 การกําหนดเรื่องหรือหัวข้อของรายงานมีข้อที่ควรพิจารณา ดังนี้

1 เลือกเรื่องที่น่าสนใจหรือชอบมากที่สุด และควรสอดคล้องกับวิชาที่กําลังศึกษาอยู่

2 เลือกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสนใจและที่ต้องการศึกษาเพิ่มเติม

3 เลือกเรื่องที่ใกล้ตัวเราหรือที่เราเกี่ยวข้องด้วย

4 เลือกเรื่องที่มีแหล่งข้อมูลให้ค้นคว้าได้อย่างเพียงพอหรืออยู่ในวิสัยที่สามารถทําได้

5 เลือกเรื่องที่มีขอบเขตไม่กว้างหรือไม่ยาวจนเกินไป เพื่อให้พอเหมาะกับกําหนดเวลาและขนาดของรายงาน

45 การสัมภาษณ์ผู้ค้นพบผีเสื้อสายพันธุ์ใหม่ “ผีเสื้อรัตติสิริน” จัดเป็นแหล่งข้อมูลประเภทใด

(1) แหล่งข้อมูลภูมิปัญญา

(2) แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ

(3) แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ

(4) แหล่งข้อมูลฯ ยภูมิ

ตอบ 2 หน้า 67, 240 แหล่งข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Sources) เป็นหลักฐานเบื้องต้นหรือข้อมูลอันดับแรกที่ ได้รับจากบุคคลโดยตรง เช่น ประสบการณ์ของตนเอง บันทึกส่วนตัว จดหมายโต้ตอบ พระบรมราโชวาท ต้นฉบับตัวเขียน (Manuscript) อัตชีวปะวัติ บทสัมภาษณ์แบบสอบถาม สุนทรพจน์ ฯลฯ

2 แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Sources) หรือข้อมูลอันดับรอง ได้แก่ หนังสือหรือตําราและวัสดุที่เป็นผลผลิตของการค้นคว้าจากหลักฐานเบื้องต้น เช่น บทความจากวารสารข่าวในหนังสือพิมพ์ ดรรชนี สารานุกรม กฤตภาค ฯลฯ

46 การบันทึกลงบัตรรายการแบบลอกความ ใช้กับการบันทึกข้อมูลในข้อใด

(1) ผู้ทํารายงานต้องการข้อมูลอย่างสั้นจากข้อมูลเดิม

(2) ผู้ทํารายงานต้องการดัดแปลงแนวคิดของผู้แต่งบางส่วน

(3) ผู้ทํารายงานต้องการให้คําอธิบายที่ดีกว่าเนื้อหาเดิม

(4) ผู้ทํารายงานต้องการเนื้อหาเดิมที่ผู้แต่งบรรยายกฎเกณฑ์ไว้อย่างดีแล้ว

ตอบ 4 หน้า 257, 260 261 การบันทึกข้อมูลแบบลอกความ (Quotation) จะเหมาะกับข้อความหรือข้อเท็จจริงที่ชัดแจ้ง เช่น สูตรทางคณิตศาสตร์ ความหมายหรือคํานิยามในเชิงวิชาการ พระบรมราโชวาท พระราชบัญญัติ ข้อบังคับหรือคําสั่งของทางราชการ กวีนิพนธ์ และบทละคร ซึ่งมีข้อควรระวัง คือ ต้องคัดลอกทุกอย่างให้เหมือนต้นฉบับ ตอนใดที่คัดลอกมาทั้งหมด ให้คร่อมไว้ด้วยเครื่องหมายอัญประกาศ (“ ”) แต่ถ้าคัดลอกมาเพียงบางส่วนให้ใช้ เครื่องหมายจุด 3 จุด (…) ใส่ไว้ก่อนหรือหลังข้อความนั้น โดยบัตรบันทึกชนิดนี้จะกระทําเมื่อ

1 ผู้ทํารายงานไม่สามารถหาคําพูดได้ดีกว่าเนื้อหาเดิม

2 เนื้อหาเดิมได้วางระเบียบกฎเกณฑ์และวิธีการไว้อย่างดีแล้วจึงไม่ควรดัดแปลง

3 เนื้อหาเดิมบรรยายถึงแนวคิดของผู้แต่งจึงไม่ควรดัดแปลง

47 ข้อใดเป็นข้อมูลที่ไม่ควรอยู่ในการเรียบเรียงรายงาน

(1) ชื่อย่อของหน่วยงานราชการ

(2) ใช้ภาษาที่สุภาพ

(3) จัดเรียงข้อมูลตามลําดับโครงเรื่อง

(4) บอกแหล่งที่มาของข้อมูลให้ถูกต้อง

ตอบ 1 หน้า 263 – 264, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 337) ข้อควรพิจารณาในการเรียบเรียงรายงานฉบับร่าง มีดังนี้

1 เรียบเรียงเนื้อหาของรายงานตามลําดับของโครงเรื่องและบัตรบันทึก โดยเนื้อหาไม่ควรสั้นหรือยาวเกินไป

2 เตรียมบัตรบรรณานุกรม บัตรบันทึกข้อมูล และพจนานุกรมเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของคํา

3 ใช้ภาษาที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ สั้นกระชับ สุภาพ และอธิบายทุกสิ่งให้ชัดเจน

4 ไม่ใช้อักษรย่อ ชื่อย่อ และคําย่อ

5 เมื่อคัดลอกงานคนอื่นมาให้เขียนอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลให้ถูกต้องตามรูปแบบของสถาบันที่ส่งรายงาน โดยแสดงไว้หลังข้อความที่อ้าง และเลือกใช้แบบใดแบบหนึ่งตลอดรายงาน

6 การใส่ตาราง ภาพประกอบ แผนภูมิ แผนที่ กราฟ ต้องระบุแหล่งที่มา โดยใช้แบบแผนเช่นเดียวกับเชิงอรรถ ฯลฯ

48 ข้อใดไม่ใช่ส่วนประกอบตอนท้ายของรายงาน

(1) บรรณานุกรม

(2) คํานํา

(3) ภาคผนวก

(4) อภิธานศัพท์

ตอบ 2 หน้า 274 275, 306 ส่วนประกอบของรายงาน แบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ ดังนี้

1 ส่วนประกอบตอนต้น ได้แก่ ปกนอก หน้าปกใน (หน้าชื่อเรื่อง) หน้าคํานํา หน้าสารบาญหรือสารบัญ และหน้าสารบัญภาพ

2 ส่วนที่เป็นเนื้อหา ได้แก่ บทนํา รายละเอียดของเนื้อหา และส่วนสรุป

3 ส่วนประกอบตอนท้าย ได้แก่ บรรณานุกรม ภาคผนวก อภิธานศัพท์ และปกหลัง

49 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง

(1) หัวเรื่อง คือ ศัพท์ควบคุมในระบบสืบค้นข้อมูลของห้องสมุด

(2) LCSH คือ บัญชีศัพท์หัวเรื่องภาษาอังกฤษ

(3) google ใช้คําศัพท์ควบคุมในการสืบค้นข้อมูล

(4) ห้องสมุดใช้บัญชีศัพท์ควบคุมภาษาไทยกับระบบสืบค้นข้อมูลภาษาไทย

ตอบ 3 หน้า 221, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 250 – 252, 262) ความแตกต่างระหว่างหัวเรื่องกับคําสําคัญ มีดังนี้

1 หัวเรื่อง คือ คําหรือวลีหรือชื่อเฉพาะต่าง ๆ ที่ใช้แทนเนื้อหาของหนังสือ ซึ่งถือเป็นศัพท์ควบคุมที่ใช้ในระบบการสืบค้นข้อมูลของห้องสมุด เพราะบรรณารักษ์จะเลือกคําหรือวลีจาก บัญชีหัวเรื่องมาตรฐานชื่อใดชื่อหนึ่ง เช่น บัญชีหัวเรื่อง LCSH สําหรับหนังสือภาษาอังกฤษ ในห้องสมุดขนาดใหญ่, บัญชีหัวเรื่องภาษาไทยโดยชมรมบรรณารักษ์ห้องสมุดอุดมศึกษาสําหรับสืบค้นข้อมูลหนังสือและทรัพยากรสารสนเทศอื่น ๆ ที่เป็นภาษาไทย ฯลฯ

2 คําสําคัญ คือ คําศัพท์อิสระที่ผู้ใช้คิดขึ้นเอง เพื่อใช้ในระบบการสืบค้นสารสนเทศออนไลน์ของห้องสมุดและอินเทอร์เน็ต ได้แก่ การใช้ Search Engine เช่น google, yahoo ฯลฯ

50 สัญลักษณ์ในข้อใดที่ใช้คั่นหัวเรื่องประเภทคํานามสลับคําคุณศัพท์

(1) จุลภาค ,

(2) ขีดกลางสองขีด –

(3) อัฒภาค ;

(4) ทวิภาค :

ตอบ 1 หน้า 223 224, 223 การกําหนดคําที่ใช้เป็นหัวเรื่องใหญ่ มีลักษณะดังนี้

1 คํานามคําเดียวโดด ๆ เช่น กบ ไกด์ นก ฯลฯ

2 คําผสมที่เป็นคํานาม 2 คํา เชื่อมด้วย “and”, “กับ”, “และ” ทั้งที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องสัมพันธ์ไปในทางเดียวกัน เช่น ชุมชนกับโรงเรียน บิดาและมารดา Libraries and readers ฯลฯและที่มีเนื้อหาค้านกัน เช่น ศาสนากับวิทยาศาสตร์ Good and evill ฯลฯ

3 คํานามที่ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค ( , ) คั่นกลางและมีคําคุณศัพท์ที่ขยายคําแรกให้สื่อความหมายชัดขึ้น เช่น Art, abstract ฯลฯ

4 กลุ่มคําหรือวลี เช่น บริการแปล ชีวิตชนบท ฯลฯ

5 ชื่อเฉพาะที่เป็นคําวิสามานยนาม เช่น ชื่อบุคคล ชื่อสัตว์ ชื่อสถานที่ ชื่อพระหรือเทพเจ้า ฯลฯ

51 “ชีวิตชนบท” จัดเป็นหัวเรื่องประเภทใด

(1) คํานามคําเดียวโดด ๆ

(2) คําผสม

(3) กลุ่มคํา

(4) คําคู่

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 50. ประกอบ

52 อักษรย่อ “UP” ในบัญชีหัวเรื่องมีความหมายอย่างไร

(1) คําที่ไม่ใช้เป็นหัวเรื่อง

(2) คําที่เพิ่มเข้ามาใหม่

(3) คําสัมพันธ์ที่กว้างกว่า

(4) คําสัมพันธ์ที่แคบกว่า

ตอบ 1 หน้า 225 – 227, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 256) บัญชีหัวเรื่องมาตรฐาน LCSH ฉบับปัจจุบัน ได้เปลี่ยนแปลงการใช้สัญลักษณ์บางตัวเพื่อกําหนดความสัมพันธ์ของคําที่ใช้เป็นหัวเรื่อง ดังนี้

1 BT (Broader Term) คือ หัวเรื่องสัมพันธ์ที่มีความหมายกว้างกว่า

2 NT (Narrower Term) คือ หัวเรื่องสัมพันธ์ที่มีความหมายแคบกว่า

3 RT (Related Term) คือ หัวเรื่องที่สัมพันธ์กับคําหลักหรือใช้แทนกันได้

4 UF (Use For) คือ หัวเรื่องที่ไม่กําหนดให้ใช้แล้ว

5 USE คือ หัวเรื่องที่กําหนดให้ใช้

6 — คือ หัวเรื่องย่อย

53 “รายงานที่เป็นส่วนหนึ่งในการประเมินผลการศึกษาวิชานั้น ๆ” คือความหมายของรายงานในข้อใด

(1) ภาคนิพนธ์

(2) วิทยานิพนธ์

(3) รายงานทั่วไป

(4) งานวิจัย

ตอบ 1 หน้า 237 รายงานประจําวิชาหรือภาคนิพนธ์ เป็นการศึกษาค้นคว้าหาข้อเท็จจริงจากแหล่งทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แล้วนําข้อมูลที่ได้มารวบรวมและเรียบเรียง อย่างมีแบบแผนจนเกิดเป็นผลงานใหม่ ทั้งนี้ได้มีการเสนอแนวคิดของผู้ทํารายงานและแสดง หลักฐานอ้างอิงประกอบด้วย ซึ่งรายงานภาคนิพนธ์นี้นับเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินผลการศึกษาของวิชาใดวิชาหนึ่ง

54 ข้อใดคือรายการบรรณานุกรมของหนังสือผู้แต่ง 2 คน

(1) แบตทีล, จอห์น. “เดอะเสิรซ” อุบัติการณ์แห่งอนาคตของมนุษยชาติ. แปลโดย ไพรัตน์ พงษ์พานิชย์, กรุงเทพฯ : มติชน, 2550.

(2) ธนัญญา สินมหัต. สนุกกับ Facebook. บรรณาธิการ ประภาพร ช่างไม้, นนทบุรี : ไอดีซี, 2552.

(3) วิลาส ลําเลิศวัฒน์ และนฤมล ตั้งตรีรัตน์, TV ออนไลน์ ทําเองได้ง่ายนิดเดียว. กรุงเทพฯ :โปรวิชัน, 2551.

(4) ศรีศักดิ์ จามรมาน และคนอื่น ๆ รอบรู้เรื่องอินเทอร์เน็ตแบบกราฟิกพิเศษ, กรุงเทพฯ :บริษัท ออนไลน์ แอคเวอร์ไทซิง โกลด์ไซท์, 2537.

ตอบ 3 หน้า 254 – 255, 276 – 278 รากตัวเลือกข้างต้น ใช้รูปแบบการเขียนรายการบรรณานุกรมสําหรับหนังสือตามคู่มือ Turabian ซึ่งมีแบบแผนการเขียนรายการอ้างอิงที่ถูกต้อง ดังนี้

ชื่อผู้แต่ง. ชื่อหนังสือ. ครั้งที่พิมพ์ สถานที่พิมพ์ : สํานักพิมพ์, ปีที่พิมพ์

ในกรณีที่หนังสือมีผู้แต่ง 2 คน ให้ลงชื่อผู้แต่งคนแรก ตามด้วย “และ” (หรือ “and” ถ้าหาก ผู้แต่งเป็นชาวต่างชาติ) จากนั้นให้ลงชื่อผู้แต่งคนที่ 2 โดยไม่ต้องใส่คํานําหน้าชื่อ ตําแหน่งทาง วิชาการหรือวิชาชีพ เช่น วิลาส ล้ำเลิศวัฒน์ และนฤมล ตั้งตรีรัตน์, TV ออนไลน์ ทําเองได้ง่ายนิดเดียว. กรุงเทพฯ :โปรวิชั่น, 2551

55 ข้อใดคือการเขียนอ้างอิงในวงเล็บของบทความวารสารรายการนี้

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ “ทําวิจัยให้ดี ทําอย่างไร” ช.บ.อ.สาร 18 กันยายน – ธันวาคม 2541) : 31 – 47.

(1) (สุชาติ 2541, 31)

(2) (สุชาติ 18, 31 – 37)

(3) (สุชาติ 2541, 18)

(4) (สุชาติ 2541, 18 ก.ย. – ธ.ค.)

ตอบ 1 หน้า 256, 264, 276 286 การแสดงที่มาของข้อมูลเฉพาะที่แบบนาม-ปี (Author-date) คือ รายการอ้างอิงแบบในวงเล็บที่แทรกลงไปในเนื้อหา (Cite-in-Text) โดยใส่ชื่อผู้เขียนและ ปีที่พิมพ์พร้อมด้วยเลขหน้าไว้ในวงเล็บหลังข้อความที่คัดลอกมาหรือที่ต้องการอ้างอิง เช่น จากรายการบรรณานุกรมของบทความวารสารตามคู่มือ Turabian ข้างต้น ซึ่งมีแบบแผน คือ ชื่อผู้เขียนบทความ. “ชื่อบทความ” ชื่อวารสาร เล่มที่หรือปีที่, ฉบับที่ (เดือนและปี) : หน้า สามารถเขียนรายการอ้างอิงในวงเล็บของบทความวารสารรายการนี้ตามคู่มือ Turabian คือ (ชื่อผู้เขียนบทความ ปีที่พิมพ์, เลขหน้า) ได้แก่ สุชาติ 2541, 31)

56 การกําเนิดอินเทอร์เน็ตในยุคเริ่มต้นมีความสัมพันธ์ตรงกับข้อใด

(1) อังกฤษ

(2) ฝรั่งเศส

(3) สหรัฐอเมริกา

(4) จีน

ตอบ 3 (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 47 – 48), (คําบรรยาย) การพัฒนาอินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2512 เมื่อกระทรวงกลาโหม ของสหรัฐอเมริกาได้ให้ทุนสนับสนุนโครงการพัฒนาเครือข่าย คอมพิวเตอร์ ซึ่งเริ่มแรกนั้นได้มีการจัดตั้งเครือข่ายอาร์พาเน็ต (ARPAnet) ขึ้น เพื่อเน้นใช้งาน ด้านการทหารและการสื่อสารในช่วงสงครามเย็นมากที่สุด และเพื่อเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของ หน่วยงานในมหาวิทยาลัย 4 แห่ง ซึ่งเป็นประโยชน์สําหรับงานวิจัย จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2526 จึงพัฒนามาเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และในปัจจุบันได้มีการนําอินเทอร์เน็ตมาใช้งานในเชิงพาณิชย์มากขึ้น

57 บริการรับ-ส่งข่าวสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์เฉพาะที่เรียกว่า

(1) เว็บบราวเซอร์

(2) เว็บมาสเตอร์

(3) เว็บบอร์ด

(4) กูเกิล

ตอบ 1 (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 46, 55), (คําบรรยาย) web browser คือ ซอฟต์แวร์และโปรแกรมเฉพาะที่ใช้เสดงผลข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตสําหรับการเข้าสู่บริการเว็บไซต์ เพื่อให้ผู้ใช้ สามารถใช้บริการเว็บไซต์ได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น โดยเว็บบราวเซอร์สามารถใช้เปิดเอกสาร ไฮเปอร์เท็กซ์ หรือเปิดดูสื่อต่าง ๆ ที่ประกอบด้วยภาพและเสียง รวมทั้งสามารถเชื่อมโยง การรับ-ส่งข่าวสารบนเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตได้ ตัวอย่างของเว็บบราวเซอร์ เช่น Internet Explorer, Netscape Navigator, Mozila Firefox และ Google Chrome เป็นต้น

58 ข้อใดหมายถึงผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทั้งส่วนรัฐบาลและเอกชน

(1) URL

(2) DNS

(3) ISP

(4) @yahoo.com

ตอบ 3 หน้า 310, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 49) ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โดยใช้บริการผ่านผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider : ISP) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

1 ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตภาคเอกชน หรือเชิงพาณิชย์ เช่น บริษัท True Corporation  (Asia InfoNet), Samart, TT&T เป็นต้น

2 ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตภาครัฐ เช่น หน่วยงานราชการ หรือมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่อนุญาตให้เชื่อมต่อโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่คุณภาพของบริการอาจไม่เท่ากับของภาคเอกชน

59 Search Engine หมายถึง

(1) เครื่องมือช่วยค้นหาสารสนเทศฐานข้อมูล WebOPAC

(2) เครื่องมือช่วยค้นหาสารสนเทศออนไลน์

(3) เครื่องมือช่วยค้นหาสารสนเทศฐานข้อมูล OPAC

(4) เครื่องมือช่วยค้นหาสารสนเทศฐานข้อมูล E-book

ตอบ 2 หน้า 313, (คําบรรยาย) Search Engine คือ เครื่องมือช่วยค้นหาสารสนเทศออนไลน์จากฐานข้อมูลเว็บไซต์ (Websites) ที่ให้บริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้ Search Engine จะแสดงรายการสารบาญและช่องว่างให้เติมคําที่ต้องการสืบค้น จากนั้นให้ผู้ใช้ป้อนคํา ข้อความ หรือชื่อเรื่องที่ต้องการค้นหา ก็สามารถหาเว็บไซต์ที่ต้องการหรือรายชื่อเว็บไซต์ที่มีเนื้อหา ใกล้เคียงกันได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ซึ่ง Search Engine ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันได้แก่ www.google.com, www.attavista.com, www.metacrawler.com เป็นต้น

60 ข้อใดหมายถึงเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์

(1) Wikipedia

(2) Line

(3) E-mail

(4) Google

ตอบ 2 (คําบรรยาย) เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) คือ เว็บไซต์ที่เชื่อมโยงผู้คนไว้ด้วยกันผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีจุดเด่นหลักคือ ช่วยให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ สามารถสื่อสารได้ ในวงกว้างและหลากหลายรูปแบบ เช่น ข้อความ รูปภาพ วิดีโอ ฯลฯ ในปัจจุบันมีโปรแกรม หรือเว็บไซต์ที่ใช้สําหรับ Social Network เช่น Facebook, Twitter, Linkedin, Line, MySpace, Hi5 ฯลฯ

LIS1003 การใช้ห้องสมุด 1/2559

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา LIS 1003 การใช้ห้องสมุด

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 ข้อใดกล่าวถึงการใช้ข้อมูลและสารสนเทศได้ถูกต้องที่สุด

(1) แดงเลิกกับแฟนเพราะเชื่อหมอดู

(2) มนัสใช้ปุ๋ยอินทรีย์ตามคําแนะนําของเจ้าหน้าที่เกษตรอําเภอ

(3) สมศรีชอบซื้อของตามโฆษณาผ่านไลน์

(4) รัฐบาลทําพิธีเสริมดวงตามคําแนะนําของโหรชื่อดัง

ตอบ 2 หน้า 3, 5, (คําบรรยาย) คําว่า “สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข่าวสารความรู้ที่เป็นข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกิดจากข้อมูลที่ผ่านการกลั่นกรอง วิเคราะห์ และประมวลผลแล้ว ตลอดทั้งความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ ซึ่งบันทึกลงในสื่อหรือวัสดุประเภทต่าง ๆ ที่สามารถถ่ายทอด และเผยแพร่ได้ ดังนั้นสารสนเทศจึงมีความถูกต้องและมีประโยชน์ต่อผู้ใช้มากกว่าข้อมูล เนื่องจาก สามารถนํามาช่วยแก้ไขปัญหาและประกอบการตัดสินใจได้ ส่วนคําว่า “ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อมูลดิบหรือข้อเท็จจริงที่ยังไม่สมบูรณ์ ไม่ถูกต้อง หรือยังไม่ได้ผ่านการกลั่นกรอง วิเคราะห์ ตรวจสอบ และประเมินผลอย่างเป็นระบบ เช่น ข่าวจากหนังสือพิมพ์หรือโทรทัศน์ ข่าวซุบซิบ ข่าวลือ การโฆษณาสินค้า ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต การกล่าวหา/โจมตีคู่แข่งทางการเมือง เป็นต้น

2 อักษรคูนิฟอร์มเริ่มใช้งานในสมัยใด

(1) สุเมเรียน

(2) อียิปต์

(3) กรีก

(4) อัสสิเรียน

ตอบ 1 หน้า 6 – 7 ชาวสุเมเรียน ซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ตามลุ่มน้ําไทกริสและยูเฟรติสของเมโสโปเตเมียเมื่อประมาณ 3,100 B.C. ถือเป็นชนชาติแรกที่รู้จักนําเอาเหตุการณ์และเรื่องราวต่าง ๆ บันทึกลงบนแผ่นดินเหนียวด้วยอักษรรูปลิ่มหรือที่เรียกว่า “อักษรคูนิฟอร์ม” (Cuneiform) ต่อมาประมาณ 2,700 B.C. ชาวสุเมเรียนเริ่มจัดตั้งห้องสมุดอย่างเป็นระบบ ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ที่เมืองเทลเลาะห์ (Telloh) ประเทศอิรัก

3 หอพระมณเฑียรธรรมเกี่ยวข้องกับข้อใด

(1) วัดเบญจมบพิตร

(2) วัดมหาธาตุ

(3) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

(4) วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

ตอบ 4 หน้า 10 ในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้สร้างหอพระมณเฑียรธรรมขึ้นกลางสระน้ำ ตรงมณฑปของวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ในบริเวณพระบรมมหาราชวัง เมื่อ พ.ศ. 2326 เพื่อใช้เป็นที่เก็บคัมภีร์พระไตรปิฎก ดังนั้นจึงนับได้ว่าหอพระมณเฑียรธรรมทําหน้าที่เป็นหอสมุดแห่งแรกของกรุงรัตนโกสินทร์

4 “แดงติดตามข่าวผ่านไลน์อย่างต่อเนื่อง” แสดงว่าแดงมีคุณสมบัติของนักปราชญ์ในข้อใด

(1) สุตตะ

(2) จินตะ

(3) ปุจฉา

(4) ลิขิต

ตอบ 1 หน้า 20, (คําบรรยาย) หลักของหัวใจนักปราชญ์ ได้แก่ “สุ จิ ปุ ลิ” มีดังนี้

1 สุ (สุต หรือสุตตะ) คือ การรับฟังหรือการรับสารทั้งปวง รวมทั้งการอ่านหนังสือ และการค้นคว้าหาความรู้จากสื่อต่าง ๆ

2 จิ (จินตนะ หรือจินตะ) คือ การคิดวิเคราะห์ไตร่ตรองสิ่งต่าง ๆ ก่อนตัดสินใจทําสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

3 ปุ (ปุจฉา) คือ การไต่ถามหรือเสวนาหาคําตอบจากผู้รู้

4 ลิ (ลิขิต) คือ การเขียนหรือการจดบันทึกข้อมูล

5 ข้อใดคือการอ่านที่ใช้สําหรับการค้นหาคําตอบจากหนังสือพจนานุกรม

(1) การอ่านคร่าว ๆ

(2) การอ่านอย่างเจาะจง

(3) การอ่านเพื่อศึกษารายละเอียด

(4) การอ่านอย่างวิเคราะห์

ตอบ 2 หน้า 18 การอ่านอย่างเฉพาะเจาะจง (Scanning) เป็นการอ่านเพื่อค้นหาคําตอบเฉพาะเรื่องซึ่งผู้อ่านไม่จําเป็นต้องเสียเวลาอ่านตั้งแต่หน้าแรกจนถึงหน้าสุดท้าย แต่ให้ผู้อ่านกวาดสายตา ไปตลอดหน้ากระดาษเพื่อหาสิ่งที่ต้องการ โดยการอ่านในลักษณะนี้มักจะนิยมใช้กับการค้นหา ความรู้จากหนังสืออ้างอิงประเภทต่าง ๆ เช่น การค้นหาความหมายของคําจากหนังสือพจนานุกรม การอ่านค้นหาคําตอบจากหนังสือสารานุกรม, การค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับองค์การและสถาบันต่าง ๆในหนังสือนามานุกรม ฯลฯ

6 ห้องสมุดในข้อใดที่ไม่อนุญาตให้ยืมหนังสือออกนอกห้องสมุด

(1) ห้องสมุดโรงเรียน

(2) ห้องสมุดมหาวิทยาลัย

(3) หอสมุดแห่งชาติ

(4) ห้องสมุดเฉพาะ

ตอบ 3 หน้า 27 หอสมุดแห่งชาติ เป็นแหล่งค้นคว้าที่สําคัญระดับชาติ โดยให้บริการความรู้แก่ประชาชนทั่วไปไม่จํากัดเพศวัย เชื้อชาติ ศาสนา และพื้นฐานความรู้ ซึ่งจะให้บริการเช่นเดียวกับ ห้องสมุดประชาชน แต่ไม่อนุญาตให้ผู้ใช้ยืมหนังสือ เอกสาร สิ่งพิมพ์ และโสตทัศนวัสดุออกนอกห้องสมุด

7 ข้อใดกล่าวถึงหอจดหมายได้ถูกต้องที่สุด

(1) แหล่งรวบรวมเอกสารเก่าที่มีคุณค่า

(2) สถานที่รวบรวมสิ่งของโบราณ

(3) แหล่งสารสนเทศที่จัดตั้งขึ้นในพระราชวัง

(4) สถานที่จัดแสดงงานศิลปะชั้นเลิศ

ตอบ 1 หน้า 36 หอจดหมายเหตุ เป็นหน่วยงานสารสนเทศที่จัดเก็บรวบรวมรักษาเอกสารจดหมายเหตุที่สําคัญ ๆ ไว้มากที่สุด เช่น เอกสารทางราชการ จดหมายโต้ตอบ บันทึกส่วนตัว ฯลฯ ซึ่งเป็น เอกสารโบราณหรือเอกสารเก่าย้อนหลังที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของประเทศหรือของทาง ราชการ หน่วยงานเอาชนและบุคคล ทั้งนี้เพื่อรวบรวมเหตุการณ์ที่ผ่านมาเพื่อเป็นหลักฐาน อ้างอิงทางประวัติศาสตร์ กฎหมาย วิชาการ หรือการค้นคว้าวิจัย และเพื่อเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติสืบไป เช่น หอจดหมายเหตุแห่งชาติ สังกัดกรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ

8 ฝ่ายใดของสํานักหอสมุดกลาง ม.ร. ที่ให้บริการหนังสือพิมพ์ฉบับสมบูรณ์ย้อนหลังกว่า 10 ปี

(1) ฝ่ายวารสารและเอกสาร

(2) ฝ่ายบริการสารสนเทศ

(3) ฝ่ายวัสดุไม่ตีพิมพ์

(4) ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ

ตอบ 3 หน้า 41, 169 ฝ่ายวัสดุไม่ตีพิมพ์ มีหน้าที่พิจารณาคัดเลือกเอกสารสิ่งพิมพ์ที่มีคุณค่าและหายากเพื่อถ่ายไมโครฟิล์ม เช่น หนังสือพิมพ์ฉบับย้อนหลังที่จัดเก็บไว้ในรูปของไมโครฟิล์ม ฯลฯ นอกจากนี้ยังให้บริการตอบคําถามและช่วยการศึกษาค้นคว้าจากไมโครฟอร์ม แนะนําวิธีใช้ ไมโครฟอร์มและโสตทัศนวัสดุต่าง ๆ บริการให้ยืมโสตทัศนวัสดุทุกประเภท เช่น แถบวีดิทัศน์บริการฉายสไลด์ ฟิล์มสตริปและภาพยนตร์ รวมทั้งจัดทําบรรณานุกรมวัสดุไม่ตีพิมพ์ต่าง ๆ

9 ข้อใดหมายถึงทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุด

(1) ฐานข้อมูลออนไลน์ที่ตัวแทนจําหน่ายขายกับห้องสมุด

(2) ฐานข้อมูลออนไลน์ที่บริษัทให้ทดลองใช้ฟรีกับห้องสมุด

(3) ฐานข้อมูลออนไลน์ที่บริษัทสาธิตและอบรมกับบรรณารักษ์

(4) ฐานข้อมูลออนไลน์ที่ห้องสมุดเป็นสมาชิกและพร้อมให้บริการ

ตอบ 4 หน้า 55, 76, 133 – 134 ทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุด หมายถึง แหล่งสารสนเทศทุกรูปแบบที่ห้องสมุดได้คัดเลือก จัดหา วิเคราะห์ และจัดเก็บรวบรวมอย่างเป็นระเบียบ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งตีพิมพ์บนแผ่นกระดาษ สิ่งบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยมือ สื่อโสตทัศน์ วัสดุย่อส่วน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนฐานข้อมูลออนไลน์ที่ห้องสมุดบอกรับเป็นสมาชิกและจัดประเภท พร้อมให้บริการ รวมทั้งบรรณารักษ์หรือบุคลากรบริการสารสนเทศที่ทําหน้าที่ให้บริการและช่วยผู้ใช้ค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

10 หน้าโฮมเพจของเว็บไซต์ที่แสดงรายการเชื่อมโยงหน้าเว็บเพจเข้าด้วยกันเพื่อเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการคล้ายกับส่วนใดของหนังสือมากที่สุด

(1) หน้าปกหนังสือ

(2) หน้าสารบัญ

(3) หน้าลิขสิทธิ์

(4) หน้าคํานํา

ตอบ 2 หน้า 58, 62 – 63, (คําบรรยาย) โฮมเพจ (Home Page) คือ หน้าแรกของแต่ละเว็บไซต์ ซึ่งจะรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่อยู่ภายในเว็บไซต์ ดังนั้นโฮมเพจจึงคล้ายกับส่วนประกอบของหนังสือ ดังนี้

1 ในแง่ของเว็บเพจแรกที่บอกว่าเป็นเว็บไซต์เกี่ยวกับอะไร มีเนื้อหาสําคัญอะไรบ้าง โฮมเพจ จะคล้ายกับหน้าปกหนังสือ

2 ในแง่ที่แสดงรายการเชื่อมโยงหน้าเว็บเพจเข้าด้วยกัน เพื่อให้ผู้ใช้ Link ไปยังเว็บเพจต่าง ๆ เพื่ออ่านข้อมูล โฮมเพจจะคล้ายกับหน้าสารบัญของหนังสือ

11 ข้อใดกล่าวถึงอภิธานศัพท์ของหนังสือได้ชัดเจนที่สุด

(1) ส่วนที่ให้คําอธิบายคํายากหรือคําศัพท์เฉพาะของหนังสือเล่มนั้น

(2) ส่วนที่ช่วยอธิบายคําหรือข้อความบางตอนที่ปรากฏในเนื้อหา

(3) บัญชีรายชื่อหนังสือที่ปรากฏในท้ายเล่มของหนังสือ

(4) บัญชีคําหรือวลีที่ปรากฏในตอนท้ายของหนังสือ

ตอบ 1 หน้า 64 อภิธานศัพท์ (Glossary) เป็นส่วนที่ให้คําอธิบายคํายากหรือศัพท์เฉพาะที่ปรากฏในเนื้อเรื่องของหนังสือ มักมีในหนังสือที่ใช้ศัพท์มาก และมีลักษณะคล้ายเป็นพจนานุกรม ของหนังสือเล่มนั้น เพื่อช่วยให้เข้าใจความหมายของศัพท์เฉพาะในหนังสือเล่มนั้น โดยที่ผู้อ่านไม่ต้องเสียเวลาเปิดหาความหมายจากพจนานุกรม

12 ข้อใดไม่ใช่ส่วนประกอบสําคัญในหน้าปกของหนังสือพิมพ์ที่ดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน

(1) สารบัญข่าว

(2) ภาพข่าว

(3) ความนํา

(4) พาดหัวข่าว

ตอบ 1 หน้า 65 – 66 ส่วนประกอบหลักที่สําคัญของหนังสือพิมพ์มี 3 ส่วน ได้แก่

1 พาดหัวข่าว (Heacline) เป็นอักษรตัวดําหนาขนาดใหญ่เรียงอยู่ส่วนบนสุดของหน้ากระดาษซึ่งจะเป็นข้อความสั้น ๆ ที่สรุปสาระสําคัญที่มีอยู่ในเนื้อข่าว ถือเป็นส่วนที่สะดุดตาผู้อ่านและจูงใจให้อยากรู้รายละเอียดของข่าวสารมากที่สุด

2 ความนํา (Lead) หรือวรรคนําหรือโปรยข่าว เป็นย่อหน้าแรกของข่าวแต่ละข่าว ซึ่งจะเป็นประโยคสั้น ๆ ที่สามารถดึงดูดความสนใจของผู้อ่านให้ติดตามอ่านข่าวตลอดทั้งเรื่อง

3 ภาพข่าวหรือภาพถ่าย (Photographs) เป็นส่วนประกอบที่น่าสนใจมากที่สุด เพราะสามารถดึงดูดความสนใจของผู้อ่านได้เป็นอย่างดี รวมทั้งยังช่วยจัดหน้าหนังสือพิมพ์ให้น่าอ่านอีกด้วย

13 ข้อใดคือทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดที่ให้สาระเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของผู้คนในช่วงเวลานั้น ๆ

(1) กฤตภาค

(2) จุลสาร

(3) วารสาร

(4) ต้นฉบับตัวเขียน

ตอบ 2 หน้า 66 – 67 จุลสาร (Pamphlets) เป็นสิ่งพิมพ์ที่ให้สารสนเทศเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ทันสมัยและอยู่ในความสนใจของบุคคลทั่วไปในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นบทความทางวิชาการ ต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ หรือความรู้ที่หน่วยงานราชการ องค์การ หรือสมาคมต่าง ๆ ต้องการเผยแพร่ ให้ประชาชนทราบ อาจพิมพ์ออกเป็นเอกสารเล่มเล็กเดี่ยว ๆ หรี พิมพ์เป็นตอน ๆ โดยรูปเล่ม ทั่วไปจะไม่มีการเข้าปกเย็บเล่มถาวร มีจํานวนหน้าไม่เกิน 60 หน้า ทั้งนี้อาจจะมีลักษณะเป็นแผ่นพับหรืออยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า “อนุสาร” (Brochure) ก็ได้

14 นักศึกษาต้องการเรียนด้วยตัวเองตามอัธยาศัยโดยศึกษาจากวิดีโอย้อนหลัง จัดเป็นสื่อประเภทใด

(1) โสตทัศน์

(2) โสตวัสดุ

(3) ทัศนวัสดุ

(4) อิเล็กทรอนิกส์

ตอบ 1 หน้า 67 – 73, 77 สื่อโสตทัศน์ (โสตทัศนวัสดุ หรือวัสดุไม่ตีพิมพ์) แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

1 โสตวัสดุ เป็นวัสดุที่สื่อสารโดยการฟัง เช่น แผ่นเสียงหรือจานเสียง แถบบันทึกเสียง เทปซีดีออดิโอ แผ่นเอ็มพี 3 ฯลฯ

2 ทัศนวัสดุ เป็นวัสดุที่สื่อสารโดยการเห็น เช่น วัสดุกราฟิก รูปภาพ แผนที่ ลูกโลก ภาพนิ่งแผ่นโปร่งใส หุ่นจําลอง ของตัวอย่าง ฯลฯ

3 สื่อโสตทัศน์ หรือโสตทัศนวัสดุ เป็นวัสดุที่สื่อสารทั้งโดยการฟังและการเห็น เช่น ภาพยนตร์แถบวีดิทัศน์หรือวิดีโอ วีซีดี ดีวีดี วิดีโอคลิป ฯลฯ

15 ห้องสมุดนิยมอนุรักษ์เนื้อหาสาระจากหนังสือพิมพ์เก่าไว้เพื่อการศึกษาค้นคว้าในรูปแบบใด

(1) ไมโครฟิล์ม

(2) ไมโครฟิช

(3) Winzipdata

(4) Metadata

ตอบ 1 หน้า 169 ห้องสมุดโดยทั่วไปนิยมคัดเลือกและจัดเก็บหนังสือพิมพ์ฉบับย้อนหลังที่สําคัญ ๆด้วยการถ่ายเป็นวัสดุยอส่วนแล้วเก็บไว้ในรูปของไมโครฟิล์ม เพื่อรักษาสภาพเป็นการสงวนรักษา หนังสือพิมพ์และประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บ เช่น สํานักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคําแหง จะจัดเก็บหนังสือพิมพ์ 10 ฉบับไว้ในรูปไมโครฟิล์ม ได้แก่ สยามรัฐ มติชน ไทยรัฐ เดลินิวส์ ข่าวพาณิชย์ มติชนรายสัปดาห์ สยามรัฐรายสัปดาห์ ประชาชาติ Bangkok Post และ The Nation

16 สื่อ USB Flash Drive ใช้วิธีการบันทึกข้อมูลเช่นเดียวกับสื่อในข้อใด

(1) จานแม่เหล็กชนิดอ่อน (Floppy Disk)

(2) จานแสง (Optical Disk)

(3) ซีดีรอม (CD-ROM)

(4) วีดิทัศน์ดิจิตอล (DVD)

ตอบ 1 หน้า 75 – 76, 78, (คําบรรยาย) สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง สื่อที่บันทึกสารสนเทศด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นอักขระแบบดิจิตอล ซึ่งต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือแสงเลเซอร์ ในการบันทึกและอ่านข้อมูล แบ่งออกเป็น

1 แผ่นจานแม่เหล็กแบบอ่อน (Diskette หรือ Floppy Disk) บันทึกโปรแกรมสําเร็จรูป

2 จานแสง (Optical Disk) เช่น VCD, DVD, CD-ROM บันทึกฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เช่นฐานข้อมูลเชิงพาณิชย์ ฐานข้อมูลด้านการศึกษา ฐานข้อมูลเชิงบรรณานุกรม ฯลฯ

3 USB Flash Drive เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลหรือไฟล์จากคอมพิวเตอร์ โดยมีวิธีการ – บันทึกข้อมูลเหมือน Hard Disk หรือ Floppy Disk มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา สะดวกในการพกพาติดตัว และสามารถเก็บข้อมูลได้จํานวนมากตั้งแต่ 128 MB – 8 GB

17 ส่วนใดของหนังสืออ้างอิงที่ระบุเลขหน้าของเนื้อหาที่ผู้ใช้ต้องการ

(1) ส่วนโยง

(2) ดรรชนี

(3) ดรรชนีริมหน้ากระดาษ

(4) อักษรนําเล่ม

ตอบ 2 หน้า 84 ดรรชนี (Index) คือ การลําดับคําหรือข้อความเรียงไว้ตามลําดับตัวอักษรพร้อมทั้งมีเลขหน้ากํากับไว้ เพื่อแสดงว่าคําหรือข้อความนั้นมีรายละเอียดปรากฏอยู่ในหน้าใดบ้างของ หนังสือเล่มนั้น ส่วนใหญ่ดรรชนีจะอยู่ตอนท้ายของหนังสือแต่ละเล่ม แต่ถ้าเป็นหนังสือชุด เช่น สารานุกรม ดรรชนี้จะอยู่ในเล่มสุดท้าย

18 ข้อใดให้ความหมายคําศัพท์ทางจิตวิทยาได้ชัดเจนและครอบคลุมที่สุด

(1) พจนานุกรมภาษาเดียว

(2) พจนานุกรมหลายภาษา

(3) พจนานุกรมเฉพาะวิชา

(4) พจนานุกรมฉบับสมบูรณ์

ตอบ 3 หน้า 85, 89 – 90, (คําบรรยาย) พจนานุกรมเฉพาะวิชา คือ พจนานุกรมสําหรับค้นหาความหมายของคําที่ใช้ในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง เช่น พจนานุกรมศัพท์วิทยาศาสตร์การแพทย์ พจนานุกรมรวมคําศัพท์ทางการศึกษา ซึ่งจะให้ศัพท์ทั้งทางด้านจิตวิทยา สังคมวิทยา และปรัชญา เป็นต้น

19 ข้อใดกล่าวถึงประโยชน์ที่ได้รับจากสารานุกรมได้ชัดเจนที่สุด

(1) ความหมายและประวัติของคํา “พลังงาน”

(2) ความหมาย ประเภท ประโยชน์ และรายละเอียดอื่น ๆ เกี่ยวกับ “พลังงาน”

(3) รายชื่อหนังสือที่เกี่ยวข้องกับ “พลังงาน”

(4) รายชื่อและที่มาของบทความเกี่ยวกับ “พลังงาน”

ตอบ 2 หน้า 91 – 92, 95 สารานุกรม (Encyclopedia) หมายถึง หนังสือที่รวบรวมความรู้หรือข้อเท็จจริงพื้นฐานในแขนงวิชาต่าง ๆ อย่างกว้าง ๆ เขียนโดยผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญ ในแต่ละสาขาวิชา เพื่อให้ข้อมูลหรือความรู้ในรูปของบทความ โดยมีอักษรย่อของผู้เขียนกํากับ ไว้ที่ท้ายบทความ และจัดเรียงเนื้อหาตามลําดับตัวอักษรหรือแบ่งเป็นหมวดหมู่วิชา ซึ่งอาจมี เล่มเดียวจบหรือหลายเล่มจบที่เรียกว่า “หนังสือชุด” ส่วนใหญ่สารานุกรมจะมีภาพประกอบและมีดรรชนีช่วยค้นเรื่อง (Fact Index) อยู่ตอนท้ายเล่ม หรือถ้าเป็นหนังสือชุดก็จะอยู่เล่มสุดท้าย

20 ต้องการประวัติการศึกษาและผลงานของหม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล ค้นได้จากหนังสืออ้างอิงประเภทใด

(1) อักขรานุกรมชีวประวัติ

(2) พจนานุกรม

(3) สารานุกรม

(4) สมพัตสร

ตอบ 1 หน้า 97 อักขรานุกรมชีวประวัติ คือ หนังสือที่รวบรวมประวัติชีวิตของบุคคลสําคัญ โดยจะให้รายละเอียดเกี่ยวกับเชื้อชาติ สถานที่เกิด วันเดือนปีเกิดหรือตาย ที่อยู่ ระดับการศึกษา ตําแหน่งหน้าที่การงาน ประสบการณ์ในการทํางาน ผลงานดีเด่น และสถานภาพทางครอบครัว ทั้งนี้เพื่อต้องการให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาว่าผู้ที่มีชื่อเสียงในอดีตนั้นได้ทําคุณประโยชน์ให้กับบ้านเมืองอย่างไรบ้าง

21 นามานุกรมให้สารสนเทศด้านใด

(1) ให้ข่าวสาร เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นประจําวัน

(2) ให้ความรู้ ข่าวสารอย่างคร่าว ๆ

(3) รวบรวมรายชื่อ ที่อยู่ และข้อมูลสําหรับการติดต่อ

(4) รวบรวมผลงานของบุคคลที่มีชื่อเสียง

ตอบ 3 หน้า 102 – 103, 105 นามานุกรม (Directory) คือ หนังสือที่รวบรวมรายชื่อของบุคคล องค์การหรือหน่วยงานต่าง ๆ พร้อมกับสถานที่อยู่หรือที่ตั้งและหมายเลขโทรศัพท์สําหรับการติดต่อ แบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท ได้แก่

1 นามานุกรมท้องถิ่น เช่น สมุดโทรศัพท์

2 นามานุกรมของรัฐ เช่น นามสงเคราะห์ส่วนราชการไทย

3 นามานุกรมสถาบัน เช่น ชื่อมหาวิทยาลัย โรงเรียน ห้องสมุด ฯลฯ

4 นามานุกรมสาขาอาชีพ เช่น ทําเนียบกระทรวงยุติธรรม พุทธศักราช 2530

5 นามานุกรมการค้าและธุรกิจ เช่น รวมโรงงานอุตสาหกรรม

22 หนังสืออ้างอิงในข้อใดที่ใช้ค้นหาเหตุการณ์สําคัญที่เกิดขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

(1) พจนานุกรม

(2) สารานุกรม

(3) สมพัตสร

(4) บรรณานุกรม

ตอบ 3 หน้า 112 ปฏิทินเหตุการณ์รายปีหรือสมพัตสร (Almanac) คือ หนังสือที่รวบรวมความรู้เบ็ดเตล็ดหลายด้านและสถิติทั่วไปในรอบหลาย ๆ ปีที่ผ่านมาจนถึงปีปัจจุบันของทุกประเทศในโลก โดยจะให้ข้อมูลอย่างสังเขปที่ครอบคลุมเรื่องราวต่าง ๆ เช่น ปฏิทินลําดับเหตุการณ์ สําคัญ ข้อมูลทางดาราศาสตร์ โหราศาสตร์ วันสําคัญทางศาสนา สถิติเกี่ยวกับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและทรัพยากรของโลก เป็นต้น

23 หนังสือที่ให้คําจํากัดความเกี่ยวกับสถานที่ทางภูมิศาสตร์ คือข้อใด

(1) อักขรานุกรมภูมิศาสตร์

(2) พจนานุกรม

(3) หนังสือแผนที่

(4) หนังสือนําเที่ยว

ตอบ 1 หน้า 115 อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ เป็นหนังสือที่ให้ข้อมูลอย่างสังเขปเกี่ยวกับชื่อของสถานที่สําคัญทางภูมิศาสตร์ มีลักษณะคล้ายพจนานุกรมที่ให้คําจํากัดความเกี่ยวกับชื่อและสถานที่ ทางภูมิศาสตร์อย่างสั้น ๆ ให้คําอ่านและรายละเอียดอื่น ๆ ได้อย่างกระชับและน่าเชื่อถือที่สุด เช่น สถานที่ตั้ง ระยะทาง เส้นรุ้ง เส้นแวง ความตื้นลึกของทะเล ความสูงของภูเขา จํานวนผลผลิตทางเกษตรกรรม อุตสาหกรรม จํานวนประชากร ตราประจําจังหวัด เป็นต้น

24 หนังสืออ้างอิงข้อใดที่ให้แหล่งที่มาและเนื้อหาที่สําคัญของบทความ เพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนไปอ่านจากต้นฉบับจริง

(1) บรรณานุกรม

(2) ดรรชนี

(3) สาระสังเขป

(4) นามานุกรม

ตอบ 3 หน้า 84, 119 120 สาระสังเขป เป็นหนังสืออ้างอิงที่ชี้แนะแหล่งสารสนเทศ โดยมีลักษณะเป็นการสรุปหรือย่อสาระสําคัญของเนื้อเรื่องหรือเรื่องราวสําคัญ ๆ ของบทความในวารสาร หนังสือ และเอกสารประเภทอื่น ๆ เพื่อช่วยให้ผู้อ่านได้ทราบถึงเนื้อหาสาระสําคัญก่อนที่จะไปอ่านจากต้นฉบับจริงที่สมบูรณ์

25 ข้อใดคือหนังสือบรรณานุกรมที่จัดทําโดยหอสมุดแห่งชาติ

(1) บรรณานุกรมสากล

(2) บรรณานุกรมเฉพาะวิชา

(3) บรรณานุกรมแห่งชาติ

(4) บรรณานุกรมร้านค้า

ตอบ 3 หน้า 29, 129 บรรณานุกรมแห่งชาติ เป็นหนังสือที่จัดทําขึ้นโดยหอสมุดแห่งชาติ ซึ่งได้รวบรวมรายชื่อหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ของไทยโดยเฉพาะ เพื่อใช้เป็นหลักฐานสําคัญและเป็นเครื่องมือในการศึกษาค้นคว้า

26 ข้อใดเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนเนื้อหาของหนังสือ

(1) เลขเรียกหนังสือ

(2) เลขผู้แต่ง

(3) เลขมาตรฐานสากลประจําหนังสือ

(4) เลขหมู่หนังสือ

ตอบ 4 หน้า 157 เลขหมู่หนังสือ (Class Number) เป็นสัญลักษณ์ที่กําหนดขึ้นเพื่อแสดงกลุ่มเนื้อหาสาระของหนังสือและ/หรือประพันธ์วิธีของหนังสือแต่ละเล่ม ทั้งนี้อาจแตกต่างกันตามระบบการจัดหมู่หนังสือ

27 ระบบการจัดหมู่หนังสือข้อใดที่แบ่งสรรพวิทยาการในโลกออกเป็น 10 หมวดใหญ่

(1) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน

(2) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้

(3) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดแพทย์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา

(4) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมสากล

ตอบ 2 หน้า 151, 153 ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้ (Dewey Decimal Classification

: DDC หรือ DC) เป็นระบบที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในห้องสมุดขนาดเล็กหรือขนาดกลาง ที่มีหนังสือทั่ว ๆ ไปหลายสาขาวิชาในจํานวนที่ไม่มากนัก เช่น ห้องสมุดประชาชน ห้องสมุด โรงเรียน เป็นต้น ซึ่งการจัดหมู่หนังสือด้วยระบบนี้จะเป็นแบบเชิงกว้าง โดยแบ่งสรรพวิทยาการ ในโลกออกเป็น 10 หมวดใหญ่ และใช้สัญลักษณ์แสดงเนื้อหาของหนังสือเป็นเลขอารบิก 3 หลัก ตั้งแต่ 100 – 000 กับทศนิยมอีกไม่จํากัดตําแหน่งเพื่อแบ่งเนื้อหาให้ชี้เฉพาะยิ่งขึ้น

28 ข้อใดคือระบบการจัดหมู่หนังสือของสํานักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคําแหง

(1) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน

(2) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้

(3) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดแพทย์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา

(4) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบเศนียมสากล

ตอบ 1 หน้า 153 – 155 ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classification : LCC หรือ LC) เป็นระบบที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายในห้องสมุดขนาดใหญ่ ที่มีหนังสือเฉพาะสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง หรือมีหนังสือทั่วไปทุกประเภทเป็นจํานวนมาก เช่น ห้องสมุดเฉพาะ ห้องสมุดมหาวิทยาลัย เป็นต้น โดยจะแบ่งเนื้อหาหนังสือออกเป็น 20 หมวดใหญ่ และใช้สัญลักษณ์ในการจัดหมู่หรือเลขหมู่หนังสือเป็นแบบผสม คือ ใช้ตัวอักษรโรมัน A – Z (ยกเว้น I, 0, W, X, Y) แสดงเนื้อหาในหมวดใหญ่ และใช้ตัวเลขอารบิกตั้งแต่ 1 – 9999 กับทศนิยมอีกไม่จํากัดตําแหน่งแบ่งย่อยเรื่องอีกที่หนึ่ง

29 ระบบการจัดหมู่หนังสือในข้อใดที่เหมาะสมสําหรับห้องสมุดโรงพยาบาล

(1) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้

(2) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน

(3) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดแพทย์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา

(4) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมสากล

ตอบ 3 หน้า 155 – 156 ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดแพทย์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา(National Library Medicine : NLAM) เป็นระบบการจัดหมู่หนังสือที่ใช้กับห้องสมุดทางการแพทย์ สาธารณสุข และพยาบาล โดยจะใช้อักษรโรมัน W และเลขอารบิกเป็นสัญลักษณ์เช่นเดียวกับ การจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน แต่จะมีความแตกต่างกันในด้านการจําแนก ซึ่งระบบนี้จะนิยมใช้กับห้องสมุดของคณะแพทยศาสตร์ในทุกสถาบัน เช่น หอสมุดศิริราช, ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่, ห้องสมุดวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพฯ,ห้องสมุดคณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.ขอนแก่น, ห้องสมุดของโรงพยาบาลต่าง ๆ เป็นต้น

30 ข้อใดมีส่วนประกอบของเลขเรียกหนังสือครบถ้วน

(1) 895.911 ม

(2) 895.911 ม334ส

(3) 895.911 ม334

(4) 895.911

ตอบ 2 หน้า 157 – 159, (คําบรรยาย) ส่วนประกอบสําคัญของเลขเรียกหนังสือมี 3 ส่วน คือ

1 เลขหมู่หนังสือ ซึ่งอาจแตกต่างกันตามระบบการจัดหมู่หนังสือ

2 เลขผู้แต่ง (ประกอบด้วยตัวอักษรกับตัวเลข) และอักษรตัวแรกของชื่อเรื่องหรือชื่อหนังสือ

3 สัญลักษณ์อื่น ๆ (อาจมีหรือไม่มีก็ได้) เช่น ปี พ.ศ. เล่มที่ ฉบับที่ ฯลฯ

ดังตัวอย่างเลขเรียกหนังสือดังนี้

895.911 – เลขหมู่หนังสือระบบทศนิยมดิวอี้

ม334ส – เลขผู้แต่ง (ม334) และอักษรชื่อเรื่อง (ส)

 

30

PL

340

.K231L

 

PN

3405

.A799T

 

PE

255.4

.P735

2010

 

PR

1132

.M36K

ข้อใดเป็นการจัดเรียงหนังสือบนชั้นได้ถูกต้อง

(1) ง ค ก ข

(2) ข ก ง ค

(3) ง ก ค ง

(4) ค ก ข ง

ตอบ 4 หน้า 159 160 วิธีการจัดเรียงหนังสือบนชั้นในห้องสมุด จะพิจารณาจากเลขเรียกหนังสือจากซ้ายไปขวา จากชั้นบนลงชั้นล่าง และจะพิจารณาจัดลําดับจากเลขหมู่หนังสือก่อน ทั้งนี้ ห้องสมุดที่จัดหมู่หนังสือด้วยระบบทศนิยมดิวอี้จะเรียงลําดับจากเลขหมู่น้อยไปหาเลขหมู่มาก ส่วนห้องสมุดที่จัดหมู่หนังสือด้วยระบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกันจะพิจารณาเรียงลําดับตาม ตัวอักษร A – Z ก่อน ต่อเมื่อตัวอักษรซ้ํากันจึงค่อยเรียงลําดับจากเลขหมู่น้อยไปหาเลขหมู่มาก แต่ถ้าเลขหมู่ซ้ํากันก็ให้พิจารณาจากเลขผู้แต่งหรือเลขประจําหนังสือ และอักษรชื่อเรื่องตามลําดับ (จากโจทย์ เรียงลําดับที่ถูกต้องได้ดังนี้ ค ก ข ง)

32 ข้อใดเป็นวิธีการจัดเก็บวารสารฉบับย้อนหลังของห้องสมุด

(1) ถ่ายเก็บไว้ในรูปของไมโครฟิล์ม

(2) จัดรวมไว้กับหนังสือพิมพ์ย้อนหลัง

(3) เย็บรวมเป็นเล่มเมื่อได้รับครบปี

(4) จัดเรียงไว้บนชั้นเอียงลาด

ตอบ 3 หน้า 168 วิธีจัดเก็บวารสารของห้องสมุด มีดังนี้

1 วารสารฉบับใหม่ คือ วารสารฉบับล่าสุด ห้องสมุดจะจัดเรียงไว้บนชั้นเอียงตามลําดับอักษรของชื่อวารสารจากซ้ายไปขวา และมีป้ายชื่อวารสารกํากับไว้ที่ชั้นตรงกับตําแหน่งของวารสาร

2 วารสารฉบับย้อนหลัง คือ วารสารที่ไม่ใช่ฉบับล่าสุด ซึ่งห้องสมุดจะนําไปเย็บรวมเป็นเล่ม เมื่อได้รับครบปีแล้วจัดเก็บไว้บนชั้น โดยเรียงตามลําดับอักษรของชื่อวารสาร และมีป้ายชื่อวารสารกํากับไว้ตรงตามตําแหน่งของวารสารนั้น ๆ

33 ตัวย่อภาษาอังกฤษ JUV หรือ J  มักใช้เป็นตัวย่อสําหรับหนังสือประเภทใด

(1) หนังสือรวมเรื่องสั้น

(2) หนังสือสําหรับเด็กและเยาวชน

(3) หนังสือนวนิยายสําหรับวัยรุ่น

(4) หนังสือตําราเรียนขั้นพื้นฐาน

ตอบ 2 หน้า 156 157 ห้องสมุดหลายแห่งไม่นิยมกําหนดเลขหมู่ให้กับหนังสือบางประเภทเพราะพิจารณาว่าหนังสือเหล่านี้ผู้ใช้จะอ่านเพื่อความเพลิดเพลินมากกว่าเพื่อประโยชน์ทางวิชาการ ดังนั้นห้องสมุดจึงมักให้สัญลักษณ์ง่าย ๆ โดยใช้อักษรย่อเพื่อบอกประเภทของหนังสือนั้น ๆ แทนการกําหนดเลขหมู่หนังสือ เช่น หนังสือนวนิยาย (น/นว หรือ FIC), หนังสือรวมเรื่องสั้น (รส หรือ SC), หนังสือสําหรับเด็กและเยาวชน (ย หรือ JUV/J) เป็นต้น

34 ห้องสมุดมีวิธีจัดเก็บแผ่นเสียงอย่างไร

(1) จัดแยกไว้ต่างหาก โดยกําหนดสัญลักษณ์ SR

(2) จัดเก็บไว้ในกล่อง โดยกําหนดสัญลักษณ์ CD

(3) จัดเก็บเป็นหมวด โดยกําหนดสัญลักษณ์ TD

(4) จัดเรียงตามเลขทะเบียน โดยกําหนดสัญลักษณ์ VR

ตอบ 1 หน้า 171 แผ่นเสียง (Phonodisc) เป็นวัสดุบันทึกเสียงประเภทหนึ่งที่มักจัดเก็บด้วยการบรรจุซอง 2 ชั้น แล้วจัดแยกเอาไว้ต่างหาก โดยมีการกําหนดสัญลักษณ์ SR (Sound Recording) ตามด้วยเลขทะเบียนหรือเลขหมู่ แล้วติดป้ายชื่อเรื่องบอกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง และนําไปจัดเรียงไว้ในตู้หรือชั้นเก็บแผ่นเสียง

35 ข้อใดเป็นวิธีการจัดเก็บกฤตภาค

(1) กําหนดเลขประจําเอกสาร

(2) กําหนดรหัสสื่อสิ่งพิมพ์

(3) กําหนดเลขหมู่

(4) กําหนดหัวเรื่อง

ตอบ 4 หน้า 163, 170 171 วิธีการจัดเก็บจุลสารและกฤตภาคของห้องสมุดจะใช้วิธีเดียวกันส่วนมากนิยมจัดเก็บแยกออกจากวัสดุสารสนเทศอื่น ๆ คือ จัดเก็บโดยกําหนดหัวเรื่องกํากับไว้ ที่มุมบนของปก แล้วนําจุลสารและกฤตภาคที่มีหัวเรื่องเดียวกันเก็บรวบรวมไว้ในแฟ้ม ปิดป้าย ชื่อหัวเรื่องที่แฟ้ม และนําแฟ้มไปจัดเก็บไว้ในตู้เก็บเอกสารเรียงตามลําดับอักษรของหัวเรื่องโดยที่หน้าลิ้นชักจะมีอักษรกํากับไว้ให้ทราบว่าแต่ละลิ้นชักมีแฟ้มเริ่มจากอักษรตัวใดถึงตัวใด

36 การจัดเก็บหนังสือพิมพ์รูปแบบใดเป็นการสงวนรักษาหนังสือพิมพ์

(1) บันทึกภาพลงในแถบวีดิทัศน์

(2) ถ่ายลงฟิล์มเป็นภาพนิ่ง

(3) ถ่ายเป็นวัสดุย่อส่วนในไมโครฟิล์ม

(4) ถ่ายลงแผ่นโปร่งใส

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 15 ประกอบ

37 ส่วนใดของบัตรรายการที่ช่วยให้ผู้ใช้ทราบถึงตําแหน่งของหนังสือในห้องสมุด

(1) เลขเรียกหนังสือ

(2) เลขทะเบียนหนังสือ

(3) เลขผู้แต่ง

(4) เลขหมู่หนังสือ

ตอบ 1 หน้า 157, 191 เลขเรียกหนังสือ (Cat Number) เป็นสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายเฉพาะที่ห้องสมุดกําหนดให้กับหนังสือแต่ละเล่มที่มีอยู่ในห้องสมุด โดยเลขเรียกหนังสือที่ปรากฏบนบัตรรายการจะเป็นเครื่องชี้บอกตําแหน่งของหนังสือบนชั้น ซึ่งเป็นที่เก็บหนังสือของห้องสมุด

38 ส่วนใดของบัตรรายการที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับจํานวนหน้าของหนังสือ

(1) รายการหลัก

(2) การพิมพ์และการจําหน่าย

(3) ลักษณะรูปร่าง

(4) หมายเหตุ

ตอบ 3 หน้า 191, 193, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 220) ลักษณะวัสดุ หรือลักษณะรูปร่าง(Physical Description) เป็นรายการที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะรูปร่าง ส่วนประกอบ และขนาดของหนังสือ ประกอบด้วย จํานวนหน้าหรือจํานวนเล่ม ภาพประกอบ และส่วนสูง ของหนังสือ เช่น V, 120 p. : it. (some cot.) ; 21 cm. หมายถึง หนังสือเล่มเดียวจบ (v = volume) มีทั้งหมด 120 หน้า (120 p.) มีภาพประกอบ (11. = illustration) สีบางส่วน (some col. = some color) และมีส่วนสูง 21 เซ็นติเมตร (21 cm.)

39 ส่วนใดของบัตรรายการที่ช่วยให้ผู้อ่านทราบว่าหนังสือมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร

(1) หัวเรื่องในส่วนของแนวสืบค้น

(2) ชื่อผู้แปลจากการแจ้งความรับผิดชอบ

(3) ชื่อเรื่องจากแนวสืบค้น

(4) ชื่อผู้แต่งที่ปรากฏบนรายการหลัก

ตอบ 1 หน้า 193, 195, 214 แนวสืบค้น (Tracing) เป็นรายการที่บอกให้ทราบว่านอกจากบัตรยืนพื้นหรือบัตรหลักแล้ว ห้องสมุดได้ทําบัตรชนิดใดเพิ่มอีกบ้าง แนวสืบค้นมี 2 ส่วน ได้แก่

1 ส่วนที่เป็นหัวเรื่อง (Subject Headings) ได้แก่ บัตรหัวเรื่องหรือบัตรเรื่อง ซึ่งจะช่วยให้ผู้อ่านทราบว่าหนังสือเล่มนั้นมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร

2 รายการเพิ่มต่าง ๆ เช่น บัตรผู้แต่งร่วม บัตรผู้แปล บัตรผู้วาดภาพประกอบ เป็นต้น

40 รายละเอียดของหนังสือในข้อใดที่ไม่ปรากฏในบัตรรายการ

(1) บรรณานุกรม

(2) ผู้ทําบัตรรายการ

(3) ดรรชนี

(4) เลขเรียกหนังสือ

ตอบ 2 หน้า 190 – 193 รายละเอียดของหนังสือที่บันทึกในบัตรรายการ ได้แก่

1 เลขเรียกหนังสือ

2 ชื่อผู้แต่งหรือรายการหลัก

3 ชื่อเรื่องและการแจ้งความรับผิดชอบ

4 ครั้งที่พิมพ์หรือฉบับพิมพ์

5 การพิมพ์และการจัดจําหน่าย ประกอบด้วย สถานที่พิมพ์ สํานักพิมพ์ และปีที่พิมพ์

6 ลักษณะวัสดุหรือลักษณะรูปร่าง

7 ชื่อชุด

8 หมายเหตุ ประกอบด้วย บรรณานุกรม ดรรชนี อภิธานศัพท์ ภาคผนวก เป็นต้น

9 เลขมาตรฐานสากล

10 แนวสืบค้น

41 ข้อใดคือรายการโยงที่ใช้โยงไปยังหัวเรื่องที่เกี่ยวข้อง

(1) “ดูเพิ่มที่”

(2) “ไปที่”

(3) “ดูเพิ่มเติมที่”

(4) “ดูที่”

ตอบ 3 หน้า 199, 225 รายการโยง (Cross Reference) คือ การกําหนดสัญลักษณ์เพื่อแสดงให้ทราบว่าคําหรือวลีที่ตามมาใช้เป็นหัวเรื่องได้หรือไม่ และมีความเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับ เนื้อหามากน้อยเพียงใด โดยมีตัวอย่างสัญลักษณ์ดังนี้

1 sa (see also) หรือ “ดูเพิ่มเติมที่” ใช้โยงไปสู่หัวเรื่องอื่นที่เกี่ยวข้องหรือมีความสัมพันธ์กัน แต่มีเนื้อหาแคบกว่า

2 x ใช้หน้าคําหรือวลีที่เลิกใช้เป็นหัวเรื่องแล้ว

3 see หรือ “ดูที่” ใช้โยงหน้าคําหรือวลีที่ไม่ใช้เป็นหัวเรื่องไปยังทาหรือวลีที่ใช้เป็นหัวเรื่อง

4 ใช้หน้าคําหรือวลีที่มีความหมายสัมพันธ์กับหัวเรื่องใหญ่ แต่มีเนื้อหากว้างกว่ามาก

42 ก. สิทธิมนุษยชน ข. สถิติพื้นฐาน ค. สนุกกับภาษา ง. สํามะโนการเกษตร จ. สกุลกา

จากข้อมูลข้างต้น ข้อใดเรียงบัตรรายการตามแบบพจนานุกรมได้ถูกต้อง

(1) จ ง ค ก ข

(2) ง ค น ข ก

(3) จ ข ค ง ก

(4) ก จ ค ง ข

ตอบ 3 หน้า 207 – 210 การเรียงบัตรรายการหนังสือภาษาไทย มีหลักเกณฑ์ดังนี้

1 ให้เรียงตามลําดับอักษร ก-ฮ โดยไม่คํานึงถึงเสียงอ่าน

2 คําที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะตัวเดียวกัน ให้เรียงคําที่มีตัวสะกดไว้ก่อนคําที่มีรูปสระ และเรียงลําดับรูปสระตามแบบพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน

3 ผู้แต่งคนเดียวกันแต่งหนังสือหลายเล่ม ให้เรียงตามลําดับอักษรตัวแรกของชื่อเรื่อง

(จากโจทย์ เรียงลําดับที่ถูกต้องได้ดังนี้ จ ข ค ง ก)

43 ก Language death

ข Laws

ค Language in Society

ง Las Vegas

จ Language for daily use

จากข้อมูลข้างต้น ข้อใดเรียงบัตรรายการตามแบบพจนานุกรมได้ถูกต้อง

(1) ง ค น ข ก

(2) จ ข ก ง ค

(3) จ ข ค ง ก

(4) ก จ ค ง ข

ตอบ 4 หน้า 210 – 213 การเรียงบัตรรายการหนังสือภาษาอังกฤษ มีหลักเกณฑ์ดังนี้

1 ให้เรียงตามลําดับอักษร A – Z โดยเรียงแบบคําต่อคํา ไม่ต้องคํานึงถึงเครื่องหมายใด ๆ

2 ถ้ามีคํานําหน้านาม เช่น a, an, the, de, dela, les ฯลฯ ขึ้นต้นประโยค เวลาเรียงบัตรไม่ต้องคํานึงถึงคําเหล่านี้ แต่ให้เรียงลําดับอักษรของคําที่อยู่ถัดไป ยกเว้นถ้าคํานําหน้านามเป็นส่วนหนึ่งของประโยค จะต้องเรียงลําดับอักษรของคํานําหน้านามนั้นด้วย

3 คําย่อที่เป็นคํานําหน้าชื่อบุคคลและยศให้เรียงลําดับเหมือนเป็นคําที่สะกดเต็ม เช่น Mr. เรียงตามคําสะกดเต็มคือ Mister เป็นต้น (จากโจทย์ เรียงลําดับที่ถูกต้องได้ดังนี้ กจ คงข)

44 “LCSH” หมายถึงอะไร

(1) บัญชีหัวเรื่องภาษาอังกฤษ

(2) บัญชีคําศัพท์สําคัญ

(3) บัญชีหัวเรื่องศัพท์แพทย์

(4) บัญชีหัวเรื่องศัพท์อิสระ

ตอบ 1 หน้า 221, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 250 – 251) หัวเรื่อง หมายถึง คําหรือวลีหรือชื่อเฉพาะต่าง ๆ ที่ใช้แทนเนื้อหาของหนังสือและสื่ออื่น ๆ โดยบรรณารักษ์ไม่ได้เป็นผู้เลือกขึ้นเอง แต่จะเลือกจากคําหรือวลีที่เป็นศัพท์ควบคุม เพื่อค้นหาหนังสือในห้องสมุดจากบัญชีหัวเรื่อง มาตรฐานที่นิยมใช้ในการจัดเก็บและสืบค้นข้อมูลของห้องสมุด ได้แก่

1 Library of Congress Subject Headings (LCSH) จัดทําขึ้นโดยห้องสมุดรัฐสภาอเมริกันเพื่อใช้เป็นบัญชีหัวเรื่องหนังสือที่เป็นภาษาอังกฤษสําหรับห้องสมุดขนาดใหญ่

2 Sear’s List of Subject Headings (Sear’s List) เป็นบัญชีหัวเรื่องสําหรับหนังสือทั่วไปที่เป็นภาษาอังกฤษสําหรับห้องสมุดขนาดเล็ก โดยจะใช้คู่กับการจัดหมู่หนังสือในระบบทศนิยมดิวอี้

45 “Libraries and readers” เกี่ยวข้องกับข้อใด

(1) หัวเรื่องคํานามคําโดด

(2) หัวเรื่องคําผสมที่สัมพันธ์กัน

(3) หัวเรื่องคําผสมที่ค้านกัน

(4) หัวเรื่องกลุ่มคํา

ตอบ 2 หน้า 223 – 224, 223 การกําหนดคําที่ใช้เป็นหัวเรื่องใหญ่ มีลักษณะดังนี้

  1. คํานามคําเดียวโดด ๆ เช่น กบ ไกด์ นก ฯลฯ

2 คําผสมที่เป็นคํานาม 2 คํา เชื่อมด้วย “and”, “กับ”, “และ” ทั้งที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องสัมพันธ์ ไปในทางเดียวกัน เช่น ชุมชนกับโรงเรียน บิดาและมารดา Libraries and readers ฯลฯและที่มีเนื้อหาค้านกัน เช่น ศาสนากับวิทยาศาสตร์ Good and evil ฯลฯ

3 คํานามที่ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค ( , ) คันกลางและมีคําคุณศัพท์ที่ขยายคําแรกให้สื่อความหมายชัดขึ้น เช่น Art, abstract ฯลฯ

4 กลุ่มคําหรือวลี เช่น บริการแปล ชีวิตชนบท ฯลฯ

5 ชื่อเฉพาะที่เป็นคําวิสามานยนาม เช่น ชื่อบุคคล ชื่อสัตว์ ชื่อสถานที่ ชื่อพระหรือเทพเจ้า ฯลฯ

46 สัญลักษณ์ในข้อใดที่ใช้คั่นกลางคําคุณศัพท์เพื่อขยายคําแรกให้มีความหมายชัดขึ้น

(1) ขีดสองขีด (-)

(2) จุลภาค (,)

(3) อัฒภาค ( 😉

(4) ทวิภาค ( 🙂

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 45 ประกอบ

47 สัญลักษณ์ “NT” ที่ปรากฏหน้าคําในบัญชีหัวเรื่องมีความหมายอย่างไร

(1) คําไม่ได้ใช้เป็นหัวเรื่องแล้ว

(2) คําที่มีความหมายกว้างกว่า

(3) คําที่มีความหมายแคบกว่า

(4) คําที่มีความสัมพันธ์กัน

ตอบ 3 หน้า 225 – 227, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 256) บัญชีหัวเรื่องมาตรฐาน LCSH ฉบับปัจจุบัน ได้เปลี่ยนแปลงการใช้สัญลักษณ์บางตัวเพื่อกําหนดความสัมพันธ์ของคําที่ใช้เป็น หัวเรื่อง ดังนี้

1 BT (Broader Term) คือ หัวเรื่องสัมพันธ์ที่มีความหมายกว้างกว่า

2 NT (Narrower Term) คือ หัวเรื่องสัมพันธ์ที่มีความหมายแคบกว่า

3 RT (Related Term) คือ หัวเรื่องที่สัมพันธ์กับคําหลักหรือใช้แทนกันได้

4 UF (Use For) คือ หัวเรื่องที่ไม่กําหนดให้ใช้แล้ว

5 USE คือ หัวเรื่องที่กําหนดให้ใช้

6 — คือ หัวเรื่องย่อย

48 “Dissertation” เกี่ยวข้องกับข้อใดมากที่สุด

(1) ผลงานวิชาการของผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก

(2) ผลงานวิชาการของผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท

(3) ผลงานวิชาการของผู้สําเร็จการศึกษาระดับหลังปริญญาเอก

(4) ผลงานของอาจารย์ในระดับมหาวิทยาลัย

ตอบ 1 หน้า 237 วิทยานิพนธ์ (Thesis) เป็นรายงานการวิจัย ผลงานวิชาการ หรือการค้นคว้าอย่างลึกซึ้งในเรื่องใดเรื่องหนึ่งของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา ใช้เพื่อขอเลื่อนวิทยฐานะทางวิชาการให้สูงขึ้น โดยวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท (บัณฑิตศึกษา) จะเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า“ปริญญานิพนธ์” (Thesis) ระดับปริญญาเอกเรียกว่า “ดุษฎีนิพนธ์” (Dissertation)

49 ในการทํารายงาน ขั้นตอนใดที่ทําต่อจากการเลือกหัวข้อการทํารายงาน

(1) การรวบรวมบรรณานุกรม

(2) การบันทึกข้อมูล

(3) การสํารวจข้อมูล

(4) การเรียบเรียงรายงาน

ตอบ 3 หน้า 238 – 263 ขั้นตอนของการทํารายงานหรือภาคนิพนธ์มี 6 ขั้นตอน ดังนี้

1 การกําหนดชื่อเรื่องหรือเลือกหัวข้อที่จะทํารายงาน

2 การสํารวจข้อมูล

3 การรวบรวมบรรณานุกรม ซึ่งจะมีประโยชน์ในการเขียนรายงานฉบับร่าง

4 การบันทึกข้อมูล หรือทําบัตรบันทึกข้อมูล

5 การวางโครงเรื่อง

6 การเรียบเรียงเนื้อหารายงานฉบับร่าง

50 “ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ” จัดเป็นแหล่งข้อมูลประเภทใด

(1) ปฐมภูมิ

(2) ทุติยภูมิ

(3) ตติยภูมิ

(4) เบญจภูมิ

ตอบ 1 หน้า 67, 240 แหล่งข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Sources) เป็นหลักฐานเบื้องต้นหรือข้อมูลอันดับแรกที่ได้รับจากบุคคลโดยตรง เช่น ประสบการณ์ของตนเอง บันทึกส่วนตัว จดหมายโต้ตอบ พระบรมราโชวาท ต้นฉบับตัวเขียน (Manuscript) อัตชีวประวัติ บทสัมภาษณ์แบบสอบถาม สุนทรพจน์ ฯลฯ

2 แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Sources) หรือข้อมูลอันดับรอง ได้แก่ หนังสือหรือตําราและวัสดุที่เป็นผลผลิตของการค้นคว้าจากหลักฐานเบื้องต้น เช่น บทความจากวารสาร ข่าวในหนังสือพิมพ์ ครรชนี สารานุกรม กฤตภาค ฯลฯ

51 “พ.ร.บ. การจดแจ้งการพิมพ์” เพื่อเรียบเรียงรายงาน ควรบันทึกข้อมูลแบบใด

(1) แบบลอกความ

(2) แบบสรุปความ

(3) แบบย่อความ

(4) แบบย่อคํา

ตอบ 1 หน้า 257, 260 261 การบันทึกข้อมูลแบบลอกความ (Quotation) จะเหมาะกับข้อความหรือข้อเท็จจริงที่ชัดแจ้ง เช่น สูตรทางคณิตศาสตร์ ความหมายหรือคํานิยามในเชิงวิชาการ พระบรมราโชวาท พระราชบัญญัติ ข้อบังคับหรือคําสั่งของทางราชการ กวีนิพนธ์ และบทละคร ซึ่งมีข้อควรระวัง คือ ต้องคัดลอกทุกอย่างให้เหมือนต้นฉบับ ตอนใดที่คัดลอกมาทั้งหมดให้ คร่อมไว้ด้วยเครื่องหมายอัญประกาศ (4 ) แต่ถ้าคัดลอกมาเพียงบางส่วนให้ใช้เครื่องหมาย จุด 3 จุด (….) ใส่ไว้ก่อนหรือหลังข้อความนั้น โดยบัตรบันทึกชนิดนี้จะกระทําเมื่อ

1 ผู้ทํารายงานไม่สามารถหาคําพูดได้ดีกว่าเนื้อหาเดิม

2 เนื้อหาเดิมได้วางระเบียบกฎเกณฑ์และวิธีการไว้อย่างดีแล้วจึงไม่ควรดัดแปลง

3 เนื้อหาเดิมบรรยายถึงแนวคิดของผู้แต่งจึงไม่ควรดัดแปลง

52 ข้อใดกล่าวถึงการเรียบเรียงรายงานได้อย่างถูกต้องที่สุด

(1) ควรใช้คําย่อเพื่อประหยัดเวลาผู้อ่าน

(2) การคิดรูปแบบอ้างอิงขึ้นใหม่เพื่อแสดงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

(3) การเขียนรายงานควรใช้ภาษาสั้นกระชับถูกต้องตามหลักวิชาการ

(4) การคัดลอกงานคนอื่นให้แตกต่างจากเดิมเพื่อไม่ให้เจ้าของเดิมฟ้องร้อง

ตอบ 3 หน้า 263 264, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 337) ข้อควรพิจารณาในการเรียบเรียงรายงานฉบับร่าง มีดังนี้

1 เรียบเรียงเนื้อหาของรายงานตามลําดับของโครงเรื่องและบัตรบันทึก โดยเนื้อหาไม่ควรสั้นหรือยาวเกินไป

2 เตรียมบัตรบรรณานุกรม บัตรบันทึกข้อมูล และพจนานุกรมเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของคํา

3 ใช้ภาษาที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ สั้นกระชับ สุภาพ และอธิบายทุกสิ่งให้ชัดเจน

4 ไม่ใช้อักษรย่อและคําย่อ

5 เมื่อคัดลอกงานคนอื่นมาให้เขียนอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลให้ถูกต้องตามรูปแบบของสถาบันที่ส่งรายงาน โดยแสดงไว้หลังข้อความที่อ้าง และเลือกใช้แบบใดแบบหนึ่งตลอดรายงาน

6 การใส่ตาราง ภาพประกอบ แผนภูมิ แผนที่ กราฟ ต้องระบุแหล่งที่มา โดยใช้แบบแผนเช่นเดียวกับเชิงอรรถ ฯลฯ

53 แหล่งข้อมูลที่ใช้ประกอบการทํารายงานควรใส่ไว้ที่ส่วนใดของรายงาน

(1) ภาคผนวก

(2) บรรณานุกรม

(3) บทนํา

(4) อภิธานศัพท์

ตอบ 2 หน้า 64, 129, 254, 275 บรรณานุกรม (Bibliography) เป็นบัญชีรายชื่อหนังสือ เอกสารสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง และแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ที่ผู้แต่งใช้เป็นหลักฐานประกอบการเขียนหนังสือหรือ ทํารายงาน โดยอาจอยู่ท้ายบทหรือท้ายเล่มก็ได้ หรืออาจจัดทําเป็นตัวเล่มหนังสือที่รวบรวม รายชื่อและรายละเอียดของทรัพยากรสารสนเทศ เช่น รายชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง ครั้งที่พิมพ์ สํานักพิมพ์หรือโรงพิมพ์ และปีที่พิมพ์ เพื่อให้รายละเอียดเพิ่มเติมและให้ความมั่นใจแก่ผู้อ่านว่า เนื้อหาของหนังสือหรือรายงานเล่มนั้นมีความถูกต้องและเชื่อถือได้ เพราะผู้เขียนได้ค้นคว้า อย่างมีหลักฐาน

54 ข้อใดเขียนบรรณานุกรมได้ถูกต้อง

(1) ศาสตราจารย์ ดร.สุภางค์ จันทวานิช. ทฤษฎีสังคมวิทยา, พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์แห่ง

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558.

(2) ศาสตราจารย์ สุภางค์ จันทวานิช. ทฤษฎีสังคมวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558.

(3) ดร.สุภางค์ จันทวานิช. ทฤษฎีสังคมวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 4. สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,

2558.

(4) สุภางค์ จันทวานิช. ทฤษฎีสังคมวิทยา, พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558

ตอบ 4 หน้า 254 – 255, 276 277 จากตัวเลือกข้างต้น ใช้รูปแบบการเขียนรายการบรรณานุกรมสําหรับหนังสือตามคู่มือ Turabian ซึ่งมีแบบแผนการเขียนรายการอ้างอิงที่ถูกต้อง ดังนี้

ชื่อผู้แต่ง. ชื่อหนังสือ. ครั้งที่พิมพ์, สถานที่พิมพ์ : สํานักพิมพ์, ปีที่พิมพ์

ในกรณีที่ผู้แต่งเป็นคนไทย ไม่ต้องใส่คํานําหน้าชื่อ ตําแหน่งทางวิชาการหรือวิชาชีพ เช่น สุภางค์ จันทวานิช. ทฤษฎีสังคมวิทยา, พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558.

55 ข้อใดเขียนอ้างอิงในเนื้อหาได้ถูกต้อง

(1) (John Tonner Williams, 1992, 5)

(2) (Williams, John Tonner, 1992, 5)

(3) (Williams, J.T., 1992, 5)

(4) (Williams, 1992, 5)

ตอบ 4 หน้า 264, 276 277, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 298) การแสดงที่มาของข้อมูลเฉพาะที่แบบนาม-ปี (Author-date) คือ รายการอ้างอิงแบบในวงเล็บที่แทรกลงไปในเนื้อหา (Cite-in-Text) โดยใส่ชื่อผู้เขียนและปีที่พิมพ์พร้อมด้วยเลขหน้าไว้ในวงเล็บหลังข้อความ ที่คัดลอกมาหรือที่ต้องการอ้างอิง ซึ่งมี 2 รูปแบบ ได้แก่

1 รูปแบบตามคู่มือ Turabian คือ ชื่อ นามสกุลผู้แต่ง / ปีที่พิมพ์, / หน้าที่อ้างอิง) เช่น (อุดมพร มานะ 2556, หน้า 5) หากผู้แต่งเป็นชาวต่างชาติให้ลงเฉพาะชื่อสกุล (Last Name)ปีที่พิมพ์ และเลขหน้า เช่น (Williams 1992, 5)

2 รูปแบบตามคู่มือ APA คือ ชื่อ นามสกุลผู้แต่ง, / ปีที่พิมพ์, / หน้าที่อ้างอิง) เช่น (อุดมพร มานะ, 2556, หน้า 5) หากผู้แต่งเป็นชาวต่างชาติให้ลงเฉพาะชื่อสกุล (Last Name) ปีที่พิมพ์ และเลขหน้า เช่น (Williams, 1992, 5)

56 ข้อใดไม่มีความสัมพันธ์กันเกี่ยวกับการพัฒนาอินเทอร์เน็ตในยุคเริ่มต้น

(1) การค้า

(2) การทหาร

(3) สหรัฐอเมริกา

(4) อาร์พาเน็ต

ตอบ 1 (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 47 – 48), (คําบรรยาย) การพัฒนาอินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2512 เมื่อกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาได้ให้ทุนสนับสนุนโครงการพัฒนา เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งเริ่มแรกนั้นได้มีการจัดตั้งเครือข่ายอาร์พาเน็ต (ARPAnet) ขึ้น เพื่อเน้นใช้งานด้านการทหารและการสื่อสารในช่วงสงครามเย็นมากที่สุด และเพื่อเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานในมหาวิทยาลัย 4 แห่ง ซึ่งเป็นประโยชน์สําหรับงานวิจัย จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2526 จึงพัฒนามาเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และในปัจจุบันได้มีการนํา อินเทอร์เน็ตมาใช้งานในเชิงพาณิชย์มากขึ้น

57 ข้อใดเป็นการระบุตําแหน่งเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต

(1) DNS

(2) FTP

(3) IP

(4) TCP

ตอบ 3 (คําบรรยาย) โปรโตคอล IP (Internet Protocol) เป็นมาตรฐานที่ใช้สําหรับระบุตําแหน่งหรือที่อยู่ที่ไม่ซ้ำกันของเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะช่วยตรวจสอบ หรืออ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้ระบบตัวเลข IP ประกอบด้วยตัวเลข 4 กลุ่มถูกคั่นด้วยจุด เช่น 128.56.48.12 เป็นต้น

58 ส่วนใดของอีเมล์แอดเดรส ([email protected]) คือผู้ให้บริการอีเมล์

(1) peemasak

(2) yahoo.com

(3) @yahoo

(4) @yahoo.com

ตอบ 2 หน้า 311, (คําบรรยาย) จากโจทย์เป็นกลุ่มของ E-mail Address ซึ่งเป็นที่อยู่ประจําตัวของผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตเพื่อรับ-ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมล์ โดย E-mail Address ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ชื่อผู้ใช้บริการ, เครื่องหมาย @ และชื่อโดเมน (Domain Name) ของเครื่องแม่ข่ายที่เราใช้บริการอยู่ เช่น Ramkhamhaeng คือ ชื่อผู้ใช้ ส่วน yahoo.com คือ ชื่อโดเมนของเครื่องแม่ข่ายของผู้ให้บริการอีเมล์ เป็นต้น

59 ข้อใดไม่ใช่โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Web browser) บนอินเทอร์เน็ต

(1) Google Chrome

(2) Internet Explorer

(3) Mozila Firefox

(4) Adobe Acrobat

ตอบ 4 (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 55) Web browser คือ โปรแกรมเฉพาะที่ใช้แสดงผลข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตสําหรับการเข้าสู่บริการเว็บไซต์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้บริการเว็บไซต์ได้ ง่ายและสะดวกมากขึ้น โดยโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ที่ออกมาใหม่ ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลด จากอินเทอร์เน็ตโดยตรงและไม่เสียค่าใช้จ่าย ตัวอย่างเว็บบราวเซอร์ที่ใช้กันแพร่หลาย เช่น Internet Explorer, Netscape Navigator, Mozila Firefox, Google Chrome ฯลฯ  (ส่วนโปรแกรม Adobe Acrobat เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้จัดการไฟล์ประเภท PDF)

60 ข้อใดไม่ใช่เว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์

(1) Wikipedia

(2) Facebook

(3) Twitter

(4) Line

ตอบ 1 (คําบรรยาย) เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) คือ เว็บไซต์ที่เชื่อมโยงผู้คนไว้ด้วยกันผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีจุดเด่นหลักคือ ช่วยให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ สามารถ สื่อสารได้ในวงกว้างและหลากหลายรูปแบบ เช่น ข้อความ รูปภาพ วิดีโอ ฯลฯ ในปัจจุบันมี โปรแกรมหรือเว็บไซต์ที่ใช้สําหรับ Social Network เช่น Facebook, Twitter, Linkedin, Line, MySpace, Hi5 ฯลฯ (ส่วนเว็บไซต์ Wikipedia เป็นสารานุกรมออนไลน์ขนาดใหญ่)

LIS1003 การใช้ห้องสมุด s/2558

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา LIS 1003 การใช้ห้องสมุด

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 ข้อใดกล่าวถึงการใช้สารสนเทศได้ถูกต้องที่สุด

(1) คุณมนต์ทะเลาะกับสามีประจําเพราะหูเบา

(2) คุณนโมตระเวนไหว้พระเพราะเชื่อหมอดูทักว่าจะมีเคราะห์

(3) คุณโมเมซื้อหวยตามอายุของคุณยายทวดที่มาเข้าฝัน

(4) ป้าดาราทําลายภาชนะที่มีน้ำขังเพื่อป้องกันยุงตามคําแนะนําของเจ้าหน้าที่ อสม.

ตอบ 4 หน้า 3, 5, (คําบรรยาย) คําว่า “สารสนเทศ(Information) หมายถึง ข่าวสารความรู้ที่เป็นข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกิดจากข้อมูลที่ผ่านการกลั่นกรอง วิเคราะห์ และประมวลผลแล้ว ตลอดทั้งความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ ซึ่งบันทึกลงในสื่อหรือวัสดุประเภทต่าง ๆ ที่สามารถถ่ายทอด และเผยแพร่ได้ ดังนั้นสารสนเทศจึงมีความถูกต้องและมีประโยชน์ต่อผู้ใช้มากกว่าข้อมูล เนื่องจาก สามารถนํามาช่วยแก้ไขปัญหาและประกอบการตัดสินใจได้ ส่วนคําว่า “ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อมูลดิบหรือข้อเท็จจริงที่ยังไม่สมบูรณ์ ไม่ถูกต้อง หรือยังไม่ได้ผ่านการกลั่นกรอง วิเคราะห์ ตรวจสอบ และประเมินผลอย่างเป็นระบบ เช่น ข่าวจากหนังสือพิมพ์หรือโทรทัศน์ ข่าวซุบซิบ หรือข่าวลือ การโฆษณาสินค้า ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต การกล่าวหา/โจมตีคู่แข่งทางการเมืองเป็นต้น

2 ข้อใดกล่าวถึงเหตุการณ์สําคัญเกี่ยวกับห้องสมุดและการสื่อสารได้ถูกต้อง

(1) ชาวอียิปต์เป็นชาติแรกที่บันทึกข้อมูลลงบนปาไปรัส

(2) ชาวกรีกเกี่ยวข้องกับกฎหมายตาต่อตา ฟันต่อฟัน

(3) ชาวอัสสีเรียนเป็นผู้สร้างห้องสมุดอเล็กซานเดรีย

(4) ชาวบาบิโลเนียนเป็นผู้ริเริ่มผลิตแท่นพิมพ์

ตอบ 1 หน้า 7, (คําบรรยาย) ชาวอียิปต์ซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ตามลุ่มแม่น้ำไนล์ ถือเป็นชนชาติแรกที่รู้จักบันทึกเหตุการณ์และข่าวสารความรู้ต่าง ๆ ลงบนแผ่นกระดาษปาไปรัส (Papyrus) ด้วยตัวอักษรภาพที่เรียกว่า “ไฮโรกลิฟิก” (Hieroglyphic) โดยห้องสมุดปาไปรัสที่มีชื่อเสียงในสมัยนี้ ได้แก่ ห้องสมุดแห่งชาติเมืองกิเซห์ สร้างเมื่อราว 2,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช

3 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง

(1) สมัยกรุงศรีอยุธยาได้มีการสร้างหอหลวงขึ้นในวัด

(2) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามทําหน้าที่ห้องสมุดประชาชน

(3) สมัยกรุงสุโขทัยสร้างหอไตรเพื่อเก็บพระไตรปิฎก

(4) หอพระมณเฑียรธรรมสร้างขึ้นในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

ตอบ 1 หน้า 9 – 10, (คําบรรยาย) ห้องสมุดในประเทศไทยมีพัฒนาการตามลําดับยุคสมัย ดังนี้

1 สมัยสุโขทัย ได้แก่ หอไตรหรือหอพระไตรปิฎกภายในวัด เพื่อเก็บคัมภีร์พระไตรปิฎก

2 สมัยอยุธยา ได้แก่ หอหลวงภายในพระราชวัง เพื่อเก็บรักษาหนังสือ วรรณกรรมทางโลกตัวบทกฎหมาย และเอกสารทางราชการ

3 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการสร้างหอสมุดประจํารัชกาลต่าง ๆ ได้แก่ หอพระมณเฑียรธรรมภายในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ในสมัยรัชกาลที่ 1 เพื่อประดิษฐานพระไตรปิฎก วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ในสมัยรัชกาลที่ 3 ถือว่าเป็นห้องสมุดประชาชน แห่งแรกของไทย, หอพระสมุดวชิรญาณ หอพุทธสาสนสังคหะ (ตั้งอยู่ในวัดเบญจมบพิตร)และหอพระสมุดวชิรญาณสําหรับพระนคร ในสมัยรัชกาลที่ 5 ตามลําดับ

4 ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะของนักปราชญ์

(1) การบันทึกข้อมูลเพื่อเตือนความจํา

(2) การอ่านหนังสือเพื่อเพิ่มพูนความรู้

(3) การพูดลับหลังเพื่อไม่ให้มีการทะเลาะกับบุคคลที่กล่าวถึง

(4) การรับฟังและวิเคราะห์ก่อนตัดสินใจ

ตอบ 3 หน้า 20, (คําบรรยาย) หลักของหัวใจนักปราชญ์ ได้แก่ “สุจิ ปุ ลิ” มีดังนี้

1 สุ (สุต หรือสุตตะ คือ การรับฟังหรือการรับสารทั้งปวง รวมทั้งการอ่านหนังสือ และการค้นคว้าหาความรู้จากสื่อต่าง ๆ

2 จิ (จินตนะ หรือจินตะ) คือ การคิดวิเคราะห์ไตร่ตรองสิ่งต่าง ๆ ก่อนตัดสินใจทําสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

3 ปุ (ปุจฉา) คือ การไต่ถามหรือเสวนาหาคําตอบจากผู้รู้

4 ลิ (ลิขิต) คือ การเขียนหรือการจดบันทึกข้อมูล

5 การตรวจสอบคุณสมบัติของคนเขียนหนังสือจากใบหุ้มปกหนังสือ เป็นการอ่านในข้อใด

(1) การอ่านคร่าว ๆ

(2) การอ่านอย่างวิเคราะห์

(3) การอ่านเพื่อเก็บรายละเอียด

(4) การอ่านอย่างเจาะจง

ตอบ 1 หน้า 17 – 18, 58, (คําบรรยาย) การอ่านอย่างคร่าว ๆ เป็นการอ่านแบบผ่านไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งไม่ต้องการรายละเอียดแต่ต้องการความรู้ความเข้าใจตามสมควร โดยให้เปิดดูสารบัญของหนังสือว่ามีเรื่องอะไรบ้าง จากนั้นให้พลิกดูแต่ละบท ดูชื่อเรื่อง ดูหัวข้อใหญ่ หัวข้อย่อย แล้วกวาดสายตาเพื่อหาคําหรือข้อความสําคัญ จนตอบคําถาม ได้ว่าเรื่องที่อ่านเกี่ยวกับใคร อะไร ที่ไหน และอย่างไร ได้แก่ การตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เขียนหนังสือจากใบหุ้มปกหนังสือ เช่น ชื่อผู้เขียน คําวิจารณ์ และผลงานอื่น ๆ เป็นต้น

6 ข้อใดกล่าวถึงบทบาทสําคัญของห้องสมุดได้ถูกต้องที่สุด

(1) ห้องสมุดสวนลุมพินี้จัดเป็นห้องสมุดเฉพาะของกรุงเทพมหานคร (2) ห้องสมุดมหาวิทยาลัยให้บริการวิชาการเท่านั้น

(3) ห้องสมุดโรงเรียนทําหน้าที่ปลูกฝังและส่งเสริมการอ่าน

(4) ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” จัดเป็นห้องสมุดเฉพาะ

ตอบ 3 หน้า 29, 32, (คําบรรยาย) บทบาทและหน้าที่ของห้องสมุดโรงเรียนมี 3 ประการ คือ

1 เป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอนของครูและนักเรียน เพื่อปลูกฝังนิสัยการเรียนรู้ด้วยตนเอง และเพื่อการศึกษาตลอดชีวิต

2 เป็นสถานที่ปลูกตั้งและส่งเสริมนิสัยรักการอ่านมากที่สุด

3 เป็นศูนย์กลางอุปกรณ์การเรียนการสอนของครูและนักเรียน

7 แหล่งสารสนเทศประเภทใดที่เน้นการรวบรวมวัตถุและสิ่งของที่บอกเล่าเรื่องราวของชุมชนและสังคม

(1) ศูนย์สารสนเทศ

(2) หอจดหมายเหตุ

(3) พิพิธภัณฑ์

(4) ห้องสมุดเฉพาะ

ตอบ 3 หน้า 37, (คําบรรยาย) พิพิธภัณฑ์ เป็นแหล่งสารสนเทศที่รวบรวมและจัดแสดงศิลปวัตถุโบราณวัตถุ ซึ่งเป็นสิ่งของโบราณที่มีคุณค่าหรือมีความสําคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ตลอดจนเป็นสิ่งของที่สามารถบอกเล่าเรื่องราวของชุมชนและสังคม เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าของบุคคลทั่วไป

8 ฝ่ายใดของสํานักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคําแหงที่ให้บริการหนังสือพิมพ์ฉบับย้อนหลัง

(1) ฝ่ายเทคนิค

(2) ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ

(3) ฝ่ายวัสดุไม่ตีพิมพ์

(4) ฝ่ายวารสารและเอกสาร

ตอบ 3 หน้า 41, 169 ฝ่ายวัสดุไม่ตีพิมพ์ มีหน้าที่พิจารณาคัดเลือกเอกสารสิ่งพิมพ์ที่มีคุณค่าและหายากเพื่อถ่ายไมโครฟิล์ม เช่น หนังสือพิมพ์ฉบับย้อนหลังที่จัดเก็บไว้ในรูปของไมโครฟิล์ม ฯลฯ นอกจากนี้ยังให้บริการตอบคําถามและช่วยการศึกษาค้นคว้าจากไมโครฟอร์ม แนะนําวิธีใช้ ไมโครฟอร์มและโสตทัศนวัสดุต่าง ๆ บริการให้ยืมโสตทัศนวัสดุทุกประเภท เช่น แถบวีดิทัศน์บริการฉายสไลด์ ฟิล์มสตริปและภาพยนตร์ รวมทั้งจัดทําบรรณานุกรมวัสดุไม่ตีพิมพ์ต่าง ๆ

9 ข้อใดหมายถึงทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุด

(1) หนังสือทุกเล่มที่มีอยู่ในห้องสมุด

(2) หนังสือทุกเล่มที่มีเลขเรียกหนังสือ

(3) หนังสือทุกเล่มที่มีศิษย์เก่าจัดซื้อให้ห้องสมุด

(4) หนังสือทุกเล่มที่ศิษย์เก่าบริจาคให้ห้องสมุด

ตอบ 2 หน้า 55, 76, 133 134, (คําบรรยาย) ทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุด มีความหมายรวมถึงแหล่งสารสนเทศทุกรูปแบบที่ห้องสมุดได้คัดเลือก จัดหา วิเคราะห์ และจัดเก็บรวบรวมอย่าง เป็นระเบียบตามระบบการจัดหมู่ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือทุกเล่มที่มีเลขเรียกหนังสือ สิ่งตีพิมพ์บน แผ่นกระดาษ สิ่งบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยมือ สื่อโสตทัศน์ วัสดุย่อส่วน สืออิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนฐานข้อมูลออนไลน์ที่ห้องสมุดบอกรับเป็นสมาชิกและจัดประเภทพร้อมให้บริการ รวมทั้งบรรณารักษ์หรือบุคลากรบริการสารสนเทศที่ทําหน้าที่ให้บริการและช่วยผู้ใช้ค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

10 การเชื่อมโยงหรือลิงค์ของเว็บไซต์ มีความคล้ายคลึงกับส่วนใดของหนังสือมากที่สุด

(1) หน้าปกหนังสือ

(2) หน้าสารบัญ

(3) หน้าลิขสิทธิ์

(4) หน้าคํานํา

ตอบ 2 หน้า 58, 62 – 63, (คําบรรยาย) โฮมเพจ (Home Page) คือ หน้าแรกของแต่ละเว็บไซต์ซึ่งจะรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่อยู่ภายในเว็บไซต์ ดังนั้นโฮมเพจจึงคล้ายกับส่วนประกอบ ของหนังสือ ดังนี้

1 ในแง่ของเว็บเพจแรกที่บอกว่าเป็นเว็บไซต์เกี่ยวกับอะไร มีเนื้อหาสําคัญอะไรบ้าง โฮมเพจจะคล้ายกับหน้าปกหนังสือ

2 ในแง่ที่แสดงรายการเชื่อมโยงหน้าเว็บเพจเข้าด้วยกัน เพื่อให้ผู้ใช้ Link ไปยังเว็บเพจต่าง ๆเพื่ออ่านข้อมูล โฮมเพจจะคล้ายกับหน้าสารบัญของหนังสือ

11 ข้อใดกล่าวถึงบรรณานุกรมของหนังสือได้ชัดเจนที่สุด

(1) ส่วนที่ช่วยอธิบายคําหรือข้อความบางตอนที่ปรากฏในเนื้อหา

(2) บัญชีรายชื่อหนังสือหรือเอกสารอื่นที่ปรากฏในท้ายเล่มของหนังสือ

(3) ส่วนที่ให้คําอธิบายคํายากหรือคําศัพท์เฉพาะของหนังสือเล่มนั้น (4) บัญชีคําหรือวลีที่ปรากฏในตอนท้ายของหนังสือเล่มนั้น

ตอบ 2 หน้า 64, 129, 254, 275 บรรณานุกรม (Bibliography) เป็นบัญชีรายชื่อหนังสือ เอกสาร

และสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องต่าง ๆ ที่ผู้แต่งใช้เป็นหลักฐานประกอบการเขียนหนังสือเล่มนั้น โดยอาจอยู่ท้ายบทหรือท้ายเล่มก็ได้ หรืออาจจัดทําเป็นตัวเล่มหนังสือที่รวบรวมรายชื่อและรายละเอียด ของทรัพยากรสารสนเทศ เช่น รายชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง ครั้งที่พิมพ์ สํานักพิมพ์หรือโรงพิมพ์ และ ปีที่พิมพ์ เพื่อให้รายละเอียดเพิ่มเติมและให้ความมั่นใจแก่ผู้อ่านว่าเนื้อหาของหนังสือเล่มนั้นมีความถูกต้องและเชื่อถือได้ เพราะผู้เขียนได้ค้นคว้าอย่างมีหลักฐาน

12 ข้อใดเป็นส่วนประกอบสําคัญของวารสารที่ดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน

(1) รูปภาพและอักษรบนปก

(2) ภาพข่าวและรูปภาพ

(3) ความนําและอักษรบนปก

(4) พาดหัวข่าวและรูปภาพ

ตอบ 1 หน้า 65 ส่วนประกอบของวารสารมี 3 ส่วน คือ

1 ปกวารสาร (Cover) เป็นส่วนประกอบที่สําคัญ ซึ่งประกอบด้วย ชื่อวารสาร ฉบับที่ ปีที่ เดือน ปีและราคา แต่องค์ประกอบที่สําคัญที่สุดก็คือ รูปภาพ (เป็นภาพเขียนหรือภาพถ่ายก็ได้)และอักษรบนปก ซึ่งสามารถดึงดูดให้ผู้อ่านสนใจวารสารแต่ละฉบับเพิ่มมากขึ้น

2 สารบาญหรือสารบัญ (Contents) บอกให้ทราบถึงลําดับของเนื้อเรื่องในฉบับ โดยมีชื่อเรื่องชื่อผู้เขียน เลขหน้า และรายการต่าง ๆ เกี่ยวกับวารสาร

3 คอลัมน์ต่าง ๆ (Columns) ซึ่งขึ้นอยู่กับวารสารแต่ละประเภท

13 ต้นฉบับตัวเขียนเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่บันทึกด้วยมือ จัดเป็นสารสนเทศประเภทใด

(1) ปฐมภูมิ

(2) ทุติยภูมิ

(3) ตติยภูมิ

(4) กฤตภาค

ตอบ 1 หน้า 67, 240 แหล่งข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1 แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Sources) เป็นหลักฐานเบื้องต้นหรือข้อมูลอันดับแรกที่ได้รับจากบุคคลโดยตรง เช่น ประสบการณ์ของตนเอง บันทึกส่วนตัว จดหมายโต้ตอบ พระบรมราโชวาทต้นฉบับตัวเขียน (Manuscript) อัตชีวประวัติ บทสัมภาษณ์ แบบสอบถาม สุนทรพจน์ ฯลฯ

2 แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Sources) หรือข้อมูลอันดับรอง ได้แก่ หนังสือหรือตําราและวัสดุที่เป็นผลผลิตของการค้นคว้าจากหลักฐานเบื้องต้น เช่น บทความจากวารสารข่าวในหนังสือพิมพ์ ตรรชนี สารานุกรม กฤตภาค ฯลฯ

14 วิดีโอคลิปคําบรรยายย้อนหลังวิชา LIS 1003 จัดเป็นสื่อประเภทใด

(1) โสตทัศน์

(2) โสตวัสดุ

(3) ทัศนวัสดุ

(4) อิเล็กทรอนิกส์

ตอบ 1 หน้า 67 – 73, 77 สื่อโสตทัศน์ (โสตทัศนวัสดุ หรือวัสดุไม่ตีพิมพ์) แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

1 โสตวัสดุ เป็นวัสดุที่สื่อสารโดยการฟัง เช่น แผ่นเสียงหรือจานเสียง เทป แถบบันทึกเสียงซีดีออดิโอ แผ่นเอ็มพี 3 ฯลฯ

2 ทัศนวัสดุ เป็นวัสดุที่สื่อสารโดยการเห็น เช่น วัสดุกราฟิก รูปภาพ แผนที่ ลูกโลก ภาพนิ่งแผ่นโปร่งใส หุ่นจําลอง ของตัวอย่าง ฯลฯ

3 สื่อโสตทัศน์ หรือโสตทัศนวัสดุ เป็นวัสดุที่สื่อสารทั้งโดยการฟังและการเห็น เช่น ภาพยนตร์แถบวีดิทัศน์หรือวิดีโอ วีซีดี ดีวีดี วิดีโอคลิป ฯลฯ

15 ไมโครฟิล์มเหมือนกับไมโครฟิชในลักษณะใด

(1) เป็นวัสดุย่อส่วนที่ใช้เทคโนโลยีแสงเลเซอร์

(2) เป็นวัสดุย่อส่วนที่มีขนาดเท่ากับบัตรรายการ

(3) เป็นวัสดุย่อส่วนในรูปของบัตรทึบแสง

(4) เป็นวัสดุย่อส่วนในรูปของฟิล์มโปร่งแสง

ตอบ 4 หน้า 54, 73 – 74, 77 – 78 วัสดุย่อส่วน(Micrographic or Microforms) หมายถึง วัสดุที่บันทึกสารสนเทศจากสิ่งพิมพ์ที่เป็นหนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ วิทยานิพนธ์ จดหมายโต้ตอบ หนังสือหายาก ต้นฉบับตัวเขียน หรือเอกสารที่มีคุณค่าต่าง ๆ โดยวิธีการ ถ่ายย่อส่วนลงบนแผ่นฟิล์มขนาดเล็กเพื่อประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บและป้องกันการฉีกขาด ทําลาย ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

1 ฟิล์มโปร่งแสง ได้แก่ ไมโครฟิล์ม ไมโครฟิช และบัตรอเพอเจอร์

2 บัตรทึบแสง ได้แก่ ไมโครการ์ด และไมโครพริ้นท์

16 สื่อประเภทใดที่บริษัทผลิตฐานข้อมูลนิยมใช้สําหรับการบันทึกฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

(1) จานแม่เหล็กชนิดอ่อน (Floppy Disk)

(2) จานแสง (Optical Disk)

(3) ซีดีรอม (CD-ROM)

(4) วีดิทัศน์ดิจิตอล (DVD)

ตอบ 3 หน้า 75 – 76, 78, (คําบรรยาย) สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง สื่อที่บันทึกสารสนเทศด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นอักขระแบบดิจิตอล ซึ่งต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือแสงเลเซอร์ ในการบันทึกและอ่านข้อมูล แบ่งออกเป็น

1 แผ่นจานแม่เหล็กแบบอ่อน (Diskette หรือ Floppy Disk) บันทึกโปรแกรมสําเร็จรูป

2 จานแสง (Optical Disk) ได้แก่ VCD, DVD และ CD-ROM ที่นิยมใช้บันทึกฐานข้อมูลเชิงพาณิชย์ ฐานข้อมูลด้านการศึกษา ฐานข้อมูลเชิงบรรณานุกรม ฯลฯ

3 USB Flash Drive เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลหรือไฟล์จากคอมพิวเตอร์ โดยมีวิธีการบันทึกข้อมูลเหมือน Hard Disk หรือ Floppy Disk มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา สะดวกในการพกพาติดตัว และสามารถเก็บข้อมูลได้จํานวนมากตั้งแต่ 128 MB – 8 GB

17 อักษรนําเล่ม คืออะไร

(1) ตัวอักษรที่มุมบนขวาในเนื้อหา

(2) ตัวอักษรที่มุมบนซ้ายในเนื้อหา

(3) ตัวอักษรหรือตัวเลขที่หน้าปกหนังสือ

(4) ตัวอักษรหรือตัวเลขที่สันหนังสือ

ตอบ 4 หน้า 84 อักษรนําเล่ม (Volume Guide) หมายถึง ตัวอักษรหรือตัวเลขที่สันหนังสือส่วนมากจะปรากฏอยู่ในหนังสืออ้างอิงที่มีหลายเล่มจบหรือที่เรียกว่าหนังสือชุด เช่น สารานุกรมจะมีตัวอักษรหรือตัวเลขพิมพ์ไว้ที่สันหนังสือ เพื่อบอกให้ทราบว่าหนังสือเล่มนั้นมีเนื้อหาเริ่มต้นตั้งแต่ตัวอักษรใด

18 พจนานุกรมประเภทใดเหมาะกับการให้ความหมายคําศัพท์ทางด้านการทหาร

(1) พจนานุกรมภาษาเดียว

(2) พจนานุกรมหลายภาษา

(3) พจนานุกรมเฉพาะวิชา

(4) พจนานุกรมฉบับสมบูรณ์

ตอบ 3 หน้า 85, 89 – 90, (คําบรรยาย) พจนานุกรมเฉพาะวิชา คือ พจนานุกรมสําหรับค้นหาความหมายของคําที่ใช้ในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง เช่น พจนานุกรมศัพท์วิทยาศาสตร์การแพทย์ พจนานุกรมรวมคําศัพท์ทางการศึกษา พจนานุกรมคําศัพท์ทางด้านการทหาร พจนานุกรมรวมคําศัพท์กฎหมายไทย พจนานุกรมศัพท์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

19 สารานุกรมให้เนื้อหาทางด้านใด

(1) ข้อเท็จจริงพื้นฐาน

(2) บทสรุปของเนื้อหาวิชา

(3) สาระสําคัญ

(4) เรื่องเล่าในตํานาน

ตอบ 1 หน้า 91 – 92, 95 สารานุกรม (Encyclopedia) หมายถึง หนังสือที่รวบรวมความรู้หรือข้อเท็จจริงพื้นฐานในแขนงวิชาต่าง ๆ อย่างกว้าง ๆ เขียนโดยผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญใน แต่ละสาขาวิชา เพื่อให้ข้อมูลหรือความรู้ในรูปของบทความ โดยมีอักษรย่อของผู้เขียนกํากับ ไว้ที่ท้ายบทความ และจัดเรียงเนื้อหาตามลําดับตัวอักษรหรือแบ่งเป็นหมวดหมู่วิชา ซึ่งอาจมีเล่มเดียวจบหรือหลายเล่มจบที่เรียกว่าหนังสือชุด ส่วนใหญ่สารานุกรมจะมีภาพประกอบ และมีดรรชนีช่วยค้นเรื่อง (Fact Index) อยู่ตอนท้ายเล่ม หรือถ้าเป็นหนังสือชุดก็จะอยู่เล่มสุดท้าย

20 ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับอักขรานุกรมชีวประวัติ

(1) ให้ลําดับเหตุการณ์ชีวิตของบุคคล

(2) ให้ผลงานของบุคคลที่มีชื่อเสียง

(3) ให้รายชื่อบุคคลที่สิ้นชีวิตแล้วเท่านั้น

(4) ให้วันเดือนปีเกิดของบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่

ตอบ 1 หน้า 97 – 100 อักขรานุกรมชีวประวัติ คือ หนังสือที่รวบรวมประวัติชีวิตของบุคคลสําคัญและมีชื่อเสียง โดยจะให้รายละเอียดเกี่ยวกับเชื้อชาติ สถานที่เกิด วันเดือนปีเกิด หรือตาย (ถ้าบุคคลเจ้าของชีวประวัติสิ้นชีวิตแล้ว) ที่อยู่ ระดับการศึกษา ตําแหน่งหน้าที่การงาน ประสบการณ์ในการทํางาน ผลงานดีเด่น และสถานภาพทางครอบครัว ได้แก่ อักขรานุกรม ชีวประวัติของบุคคลทั่วไป จะมีขอบเขตครอบคลุมเฉพาะประวัติของบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ เท่านั้น หรือรายชื่อบุคคลที่สิ้นชีวิตไปแล้วเท่านั้น หรือที่ให้อักขรานุกรมชีวประวัติรวมทั้งผู้ที่สิ้นชีวิต และที่ยังมีชีวิตอยู่ เช่น Current Biography เป็นต้น

21 หนังสือรวมรายชื่อโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศ จัดเป็นหนังสืออ้างอิงประเภทใด

(1) พจนานุกรม

(2) สารานุกรม

(3) นามานุกรม

(4) อักขรานุกรม

ตอบ 3 หน้า 102 – 103, 105 นามานุกรม (Directory) คือ หนังสือที่รวบรวมรายชื่อของบุคคลองค์การ หรือหน่วยงานต่าง ๆ พร้อมกับสถานที่อยู่หรือที่ตั้งและหมายเลขโทรศัพท์สําหรับ การติดต่อ แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่

1 นามานุกรมท้องถิ่น เช่น สมุดโทรศัพท์

2 นามานุกรมของรัฐ เช่น นามสงเคราะห์ส่วนราชการไทย

3 นามานุกรมสถาบัน เช่น ชื่อมหาวิทยาลัย โรงเรียน ห้องสมุด ฯลฯ

4 นามานุกรมสาขาอาชีพ เช่น ทําเนียบกระทรวงยุติธรรม พุทธศักราช 2530

5 นามานุกรมการค้าและธุรกิจ เช่น รวมโรงงานอุตสาหกรรม

22 สยามออลมาแนค จัดเป็นหนังสืออ้างอิงประเภทใด

(1) หนังสือคู่มือ

(2) หนังสือรายปี

(3) ปฏิทินเหตุการณ์รายปี

(4) สิ่งพิมพ์รัฐบาล

ตอบ 3 หน้า 112 สยามออลมาแนค เป็นหนังสือปฏิทินเหตุการณ์รายปีเล่มแรกของประเทศไทยที่รวบรวมเหตุการณ์สําคัญที่เกิดขึ้นในรอบปีของไทยทั้งในด้านการเมือง การปกครอง การทหาร การศึกษา การแรงงาน เศรษฐกิจ ศาสนา ภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ ธุรกิจการพาณิชย์ เกษตรกรรม กีฬา การท่องเที่ยว รวมทั้งสถิติในรูปของตาราง เช่น อัตราการเกิดและการตายของประชากร จํานวนประชากร เป็นต้น

23 หนังสือที่ให้คําจํากัดความเกี่ยวกับสถานที่ทางภูมิศาสตร์ คือข้อใด (1) อักขรานุกรมภูมิศาสตร์

(2) พจนานุกรม

(3) หนังสือแผนที่

(4) หนังสือนําเที่ยว

ตอบ 1 หน้า 115 อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ เป็นหนังสือที่ให้ข้อมูลอย่างสังเขปเกี่ยวกับชื่อของสถานที่สําคัญทางภูมิศาสตร์ มีลักษณะคล้ายพจนานุกรมที่ให้คําจํากัดความเกี่ยวกับชื่อและสถานที่ ทางภูมิศาสตร์อย่างสั้น ๆ ให้คําอ่านและรายละเอียดอื่น ๆ ได้อย่างกระชับและน่าเชื่อถือที่สุด เช่น สถานที่ตั้ง ระยะทาง เส้นรุ้ง เส้นแวง ความตื้นลึกของทะเล ความสูงของภูเขา จํานวนผลผลิตทางเกษตรกรรม อุตสาหกรรม จํานวนประชากร ตราประจําจังหวัด เป็นต้น

24 ข้อใดเป็นดรรชนีที่ใช้ค้นเนื้อเรื่องในหนังสือ

(1) ดรรชนีท้ายเล่ม

(2) ดรรชนีวารสาร

(3) ดรรชนีหนังสือพิมพ์

(4) ดรรชนีที่ห้องสมุดจัดทําขึ้นเอง

ตอบ 1 หน้า 120 ดรรชนีท้ายเล่ม เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้อ่านได้ค้นเรื่อง หัวข้อ ชื่อต่าง ๆ คํากลุ่มคําหรือวลีที่สําคัญ ซึ่งเก็บมาจากเนื้อเรื่องในหนังสือว่ามีรายละเอียดอธิบายไว้ในหน้าใด

ของหนังสือ โดยดรรชนีท้ายเล่มของหนังสือหรือสิ่งพิมพ์จะอยู่ท้ายเล่มของหนังสือ

25 หนังสือบรรณานุกรม หมายถึงข้อใด

(1) หนังสือที่รวบรวมรายชื่อหนังสือ

(2) หนังสือที่รวบรวมรายชื่อบุคคล

(3) หนังสือที่รวบรวมรายชื่อหน่วยงาน

(4) หนังสือที่รวบรวมรายชื่อสถานที่

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 11 ประกอบ

26 ข้อใดกล่าวถึงประโยชน์ของการจัดหมู่หนังสือถูกต้องที่สุด

(1) ทําให้หนังสือที่มีเนื้อหาเหมือนกันจัดไว้ในที่เดียวกัน

(2) ทําให้หนังสือที่มีวิธีการจัดพิมพ์เหมือนกันจัดอยู่ในที่เดียวกัน

(3) ทําให้สามารถกําหนดตําแหน่งการจัดวางหนังสือที่มีขนาดเดียวกัน (4) ทําให้หนังสือทุกเล่มมีสัญลักษณ์ เกิดความรวดเร็วต่อการค้นหา

ตอบ 4 หน้า 150 ประโยชน์ของการจัดหมู่หนังสือของห้องสมุด มีดังนี้

1 ทําให้หนังสือทุกเล่มในห้องสมุดมีสัญลักษณ์และมีตําแหน่งการจัดวางที่แน่นอนซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาหนังสือที่ต้องการได้โดยง่าย หรือสามารถเข้าถึงหนังสือ ได้อย่างสะดวกรวดเร็วขึ้น ถือเป็นประโยชน์ที่มีความสําคัญที่สุด)

2 ทําให้หนังสือที่มีเนื้อหาเดียวกันและ/หรือประพันธ์วิธีเดียวกันรวมอยู่ในที่เดียวกัน

3 ทําให้หนังสือที่มีเนื้อเรื่องสัมพันธ์กันอยู่ใกล้กัน

4 ช่วยให้เจ้าหน้าที่ห้องสมุดจัดเก็บหนังสือคืนที่ได้ง่ายขึ้น

5 ช่วยให้ทราบว่าห้องสมุดมีหนังสือในแต่ละสาขาวิชามากน้อยเพียงใด

27 ข้อใดคือระบบการจัดหมู่หนังสือที่เหมาะสมสําหรับห้องสมุดที่มีจํานวนหนังสือน้อย

(1) ระบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน

(2) ระบบห้องสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกัน

(3) ระบบทศนิยมสากล

(4) ระบบทศนิยมดิวอี้

ตอบ 4 หน้า 151, 153 ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้ (Dewey Decimal Classification: DDC หรือ DC) เป็นระบบที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในห้องสมุดขนาดเล็กหรือขนาดกลาง ที่มีหนังสือทั่ว ๆ ไปหลายสาขาวิชาในจํานวนที่ไม่มากนัก เช่น ห้องสมุดประชาชน ห้องสมุด โรงเรียน เป็นต้น ซึ่งการจัดหมู่หนังสือด้วยระบบนี้จะเป็นแบบเชิงกว้าง โดยแบ่งสรรพวิทยาการ ในโลกออกเป็น 10 หมวดใหญ่ และใช้สัญลักษณ์แสดงเนื้อหาของหนังสือเป็นเลขอารบิก 3 หลัก ตั้งแต่ 100 – 000 กับทศนิยมอีกไม่จํากัดตําแหน่งเพื่อแบ่งเนื้อหาให้ชี้เฉพาะยิ่งขึ้น

28 ข้อใดคือระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือที่สํานักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคําแหงใช้

(1) ระบบทศนิยมสากล

(2) ระบบทศนิยมดิวอี้

(3) ระบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน

(4) ระบบห้องสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกัน

ตอบ 3 หน้า 153 – 155 ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classification : LCC หรือ LC) เป็นระบบที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายในห้องสมุดขนาดใหญ่ ที่มีหนังสือเฉพาะสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง หรือมีหนังสือทั่วไปทุกประเภทเป็นจํานวนมาก เช่น ห้องสมุดเฉพาะ ห้องสมุดมหาวิทยาลัย เป็นต้น โดยจะแบ่งเนื้อหาหนังสือออกเป็น 20 หมวดใหญ่ และใช้สัญลักษณ์ในการจัดหมู่หรือเลขหมู่หนังสือเป็นแบบผสม คือ ใช้ตัวอักษรโรมัน A – Z (ยกเว้น I, O, W, X, Y) แสดงเนื้อหาในหมวดใหญ่ และใช้ตัวเลขอารบิกตั้งแต่ 1 – 9999กับทศนิยมอีกไม่จํากัดตําแหน่งแบ่งย่อยเรื่องอีกที่หนึ่ง

29 ข้อใดคือระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือที่นิยมใช้สําหรับหนังสือทางการแพทย์

(1) ระบบทศนิยมสากล

(2) ระบบทศนิยมดิวอี้

(3) ระบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน

(4) ระบบห้องสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกัน

ตอบ 4 หน้า 155 – 156 ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดแพทย์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา(National Library Medicine : NLM) เป็นระบบการจัดหมู่หนังสือที่ใช้กับห้องสมุดทางการแพทย์ สาธารณสุข และพยาบาล โดยจะใช้อักษรโรมัน W และเลขอารบิกเป็นสัญลักษณ์เช่นเดียวกับ การจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน แต่จะมีความแตกต่างกันในด้านการจําแนก ซึ่งระบบนี้จะนิยมใช้กับห้องสมุดของคณะแพทยศาสตร์ในทุกสถาบัน เช่น หอสมุดศิริราช, ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่, ห้องสมุดวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพฯห้องสมุดคณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.ขอนแก่น, ห้องสมุดของโรงพยาบาลต่าง ๆ เป็นต้น

30 ข้อใดคือสัญลักษณ์ของหนังสือที่จะช่วยให้ค้นหาหนังสือในห้องสมุดได้รวดเร็ว

(1) เลขประจําหนังสือ

(2) รหัสของเอกสาร

(3) เลขหมู่หนังสือ

(4) เลขเรียกหนังสือ

ตอบ 4 หน้า 157, 191, (คําบรรยาย) เลขเรียกหนังสือ (Cat Number) เป็นสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายเฉพาะที่ห้องสมุดกําหนดให้กับหนังสือแต่ละเล่มที่มีอยู่ในห้องสมุด โดยเลขเรียก หนังสือที่ปรากฏบนบัตรรายการจะเป็นเครื่องชี้บอกตําแหน่งของหนังสือบนชั้น ซึ่งเป็นที่เก็บ หนังสือของห้องสมุด เพื่อช่วยให้ค้นหาหนังสือในห้องสมุดได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เลขเรียก หนังสือประกอบด้วยส่วนสําคัญ 3 ส่วน คือ

1 เลขหมู่หนังสือ

2 เลขผู้แต่งและอักษรตัวแรกของชื่อเรื่อง

3 สัญลักษณ์อื่น ๆ เช่น ปี พ.ศ. เล่มที่ ฉบับที่ ฯลฯ

31 การเรียงหนังสือบนชั้นหนังสือมีหลักการอย่างไร

(1) จัดเรียงตามลําดับความสนใจของผู้ใช้

(2) จัดเรียงตามกระแสความสนใจของผู้ใช้ส่วนใหญ่

(3) จัดเรียงตามเลขเรียกหนังสือจากซ้ายไปขวา

(4) เลขหมู่แบบทศนิยมดิวอี้มากอนแบบรัฐสภาอเมริกัน

ตอบ 3 หน้า 159 – 160 วิธีการจัดเรียงหนังสือบนชั้นในห้องสมุด จะพิจารณาจากเลขเรียกหนังสือจากซ้ายไปขวา จากชั้นบนลงชั้นล่าง และจะพิจารณาจัดลําดับจากเลขหมู่หนังสือก่อน ทั้งนี้ ห้องสมุดที่จัดหมู่หนังสือด้วยระบบทศนิยมดิวอีจะเรียงลําดับจากเลขหมู่น้อยไปหาเลขหมู่มาก ส่วนห้องสมุดที่จัดหมู่หนังสือด้วยระบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกันจะพิจารณาเรียงลําดับตาม ตัวอักษร A – Z ก่อน ต่อเมื่อตัวอักษรซ้ํากันจึงค่อยเรียงลําดับจากเลขหมู่น้อยไปหาเลขหมู่มาก แต่ถ้าเลขหมู่ซ้ำกันก็ให้พิจารณาจากเลขผู้แต่งหรือเลขประจําหนังสือ และอักษรชื่อเรื่องตามลําดับ

32 รายงานประจําปี กระทรวงมหาดไทย ควรใช้สัญลักษณ์สําหรับการจัดระบบทรัพยากรสารสนเทศอย่างไร

(1) GP

(2) VID

(3) TR

(4) GB

ตอบ 1 หน้า 131 132, 141, 166 167 สิ่งพิมพ์รัฐบาล หมายถึง สิ่งพิมพ์ที่หน่วยงานราชการเป็นผู้รับผิดชอบในการพิมพ์ขึ้น ซึ่งสาระในเล่มอาจเป็นรายงานการปฏิบัติงาน รายงานประจําปี ร่างกฎหมายและมติต่าง ๆ ฯลฯ โดยสํานักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคําแหง ได้จัดเก็บ สิ่งพิมพ์รัฐบาลด้วยการแยกเป็นทรัพยากรลักษณะพิเศษ (Special Collection) และกําหนด ระบบการจัดหมู่ขึ้นโดยเฉพาะ คือ กําหนดอักษร GP (Government Publication) เพื่อเป็น สัญลักษณ์พิเศษของสิ่งพิมพ์รัฐบาลกํากับเหนือเลขเรียกหนังสือ หลังจากนั้นจึงจัดแยกสิ่งพิมพ์ตามหน่วยงานรัฐบาลในระดับกระทรวง กรม กอง ฯลฯ

33 ข้อใดเป็นวิธีการจัดเก็บวารสารฉบับย้อนหลังที่นิยมใช้กันมากที่สุด

(1) จัดเก็บเข้าแฟ้มแยกตามชื่อของชื่อเรื่อง

(2) จัดเก็บใส่กล่องแล้วจัดเรียงบนชั้นหนังสือ

(3) เย็บรวมเล่มเมื่อครบปี และจัดเรียงตามลําดับอักษร

(4) จัดเก็บในตู้เก็บเอกสารตามลําดับอักษรชื่อเรื่อง

ตอบ 3 หน้า 168 วิธีจัดเก็บวารสารของห้องสมุด มีดังนี้

1 วารสารฉบับใหม่ คือ วารสารฉบับล่าสุด ห้องสมุดจะจัดเรียงไว้บนชั้นเอียงตามลําดับอักษรของชื่อวารสารจากซ้ายไปขวา และมีป้ายชื่อวารสารกํากับไว้ที่ชั้นตรงกับตําแหน่งของวารสาร

2 วารสารฉบับย้อนหลัง คือ วารสารที่ไม่ใช่ฉบับล่าสุด ซึ่งห้องสมุดจะนําไปเย็บรวมเป็นเล่ม เมื่อได้รับครบปีแล้วจัดเก็บไว้บนชั้น โดยเรียงตามลําดับอักษรของชื่อวารสาร และมีป้ายชื่อวารสารกํากับไว้ตรงตามตําแหน่งของวารสารนั้น ๆ

34 ข้อใดคือวิธีการจัดเก็บหนังสือพิมพ์ฉบับย้อนหลังที่เหมาะสมที่สุด (1) รวบรวมข้อมูลลงในฐานข้อมูล

(2) เย็บรวมกันแยกเป็นแต่ละเดือน

(3) จัดวางบนชั้นปิดแยกตามชื่อ

(4) ถ่ายเป็นวัสดุย่อย คนเก็บไว้ในรูปของไมโครฟิล์ม

ตอบ 4 หน้า 169 ห้องสมุดโดยทั่วไปนิยมคัดเลือกและจัดเก็บหนังสือพิมพ์ฉบับย้อนหลังที่สําคัญ ๆด้วยการถ่ายเป็นวัสดุย่อส่วนแล้วเก็บไว้ในรูปของไมโครฟิล์ม เพื่อรักษาสภาพและประหยัดเนื้อที่ ในการจัดเก็บ เช่น สํานักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคําแหง จะจัดเก็บหนังสือพิมพ์ 10 ฉบับ ไว้ในรูปไมโครฟิล์ม ได้แก่ สยามรัฐ มติชน ไทยรัฐ เดลินิวส์ ข่าวพาณิชย์ มติชนรายสัปดาห์สยามรัฐรายสัปดาห์ ประชาชาติ Bangkok Post และ The Nation

35 ข้อใดคือวิธีการจัดเก็บจุลสารที่เหมาะสมที่สุด

(1) กําหนดหัวเรื่องและเก็บใส่แฟ้ม

(2) จัดหมวดหมู่และเรียงรวมกับหนังสือ

(3) เย็บเล่มเมื่อครบปีและเรียงตามปี พ.ศ.

(4) เก็บตามชื่อหน่วยงาน

ตอบ 1 หน้า 163, 170 171 วิธีการจัดเก็บจุลสารและกฤตภาคของห้องสมุดจะใช้วิธีเดียวกันส่วนมากนิยมจัดเก็บแยกออกจากวัสดุสารสนเทศอื่น ๆ คือ จัดเก็บโดยกําหนดหัวเรื่องกํากับไว้ที่มุมบนของปก แล้วนําจุลสารและกฤตภาคที่มีหัวเรื่องเดียวกันเก็บรวบรวมไว้ในแฟ้ม ปิดป้าย ชื่อหัวเรื่องที่แฟ้ม และนําแฟ้มไปจัดเก็บไว้ในตู้เก็บเอกสารเรียงตามลําดับอักษรของหัวเรื่องโดยที่หน้าลิ้นชักจะมีอักษรกํากับไว้ให้ทราบว่าแต่ละลิ้นชักมีแฟ้มเริ่มจากอักษรตัวใดถึงตัวใด

36 ข้อใดเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้สําหรับการจัดระบบทรัพยากรสารสนเทศประเภทวีดิทัศน์

(1) DVD

(2) CVD

(3) RV

(4) VR

ตอบ 4 หน้า 175 วีดิทัศน์ (Videorecording) มีวิธีจัดเก็บ 2 แบบ คือ

1 จัดเลขหมู่ให้ โดยมีป้ายติดเลขหมู่ที่ตลับเทป แล้วจัดเรียงรวมกับหนังสือ

2 จัดแยกจากหนังสือ โดยกําหนดสัญลักษณ์ คือ VR (Videorecording) ตามด้วยเลขทะเบียนหรือเลขหมู่ ติดป้ายชื่อเรื่อง ความยาว แล้วนําไปจัดเรียงไว้บนชั้นหรือใส่ในลิ้นชักตู้เหล็ก

37 ข้อใดคือเครื่องมือที่ใช้ค้นหาทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดในยุคปัจจุบัน

(1) รายการแบบบัตร

(2) รายการบนซีดีรอม

(3) รายการออนไลน์

(4) รายการบนวัสดุย่อส่วน

ตอบ 3 หน้า 190, 313, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 219) ในยุคปัจจุบันผู้ใช้ห้องสมุดสามารถสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว โดยใช้บัตรรายการแบบ ออนไลน์ (Online Catalog) คือ การบันทึกข้อมูลของหนังสือหรือทรัพยากรสารสนเทศของ ห้องสมุดไว้ในคอมพิวเตอร์ ซึ่งระบบค้นคืนแบบออนไลน์ที่ใช้ค้นหารายการหนังสือในห้องสมุดนี้ เรียกว่า OPAC (Online Public Access Catalog) เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเรียกใช้ข้อมูลได้จากจอภาพ โดยเลือกใช้คําสั่งจากเมนูหลักที่กําหนดไว้

38 ส่วนใดของบัตรรายการที่แสดงขนาดของหนังสือ

(1) ชื่อชุด

(2) การพิมพ์และการเผยแพร่

(3) แนวสืบค้น

(4) ลักษณะรูปร่าง

ตอบ 4 หน้า 191, 193, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 220) ลักษณะวัสดุ หรือลักษณะรูปร่าง(Physical Description) เป็นรายการที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะรูปร่าง ส่วนประกอบ และขนาดของหนังสือ ประกอบด้วยจํานวนหน้าหรือจํานวนเล่ม ภาพประกอบ และส่วนสูง ของหนังสือ เช่น V, 120 p. : it. (Some cot.) ; 21 cm. หมายถึง หนังสือเล่มเดียวจบ (v = Volume) มีทั้งหมด 120 หน้า (120 p.) มีภาพประกอบ (it. = illustration)สีบางส่วน (some cot. = some color) และมีส่วนสูง 21 เซนติเมตร (21 cm.)

39 ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับรายการหลัก

(1) หมายถึง เลขเรียกหนังสือ

(2) สามารถใช้สืบค้นได้

(3) คือ รายการชื่อผู้แต่ง

(4) มักอยู่บรรทัดแรกของรายการ

ตอบ 1 หน้า 191 192, 194 รายการชื่อผู้แต่ง (Author) หรือรายการหลัก (Main Entry)มักปรากฏอยู่บนบรรทัดแรกของบัตรหลัก (Main Card) หรือบัตรยืนพื้น หรือบัตรผู้แต่ง ซึ่งบรรณารักษ์จะจัดทําขึ้นเป็นครั้งแรก และใช้เป็นบัตรหลักในการจัดทําบัตรเพิ่มเติมอื่น ๆ เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สืบค้นหนังสือจากจุดค้นได้หลาย ๆ จุด แต่ในกรณีที่ไม่สามารถลงชื่อผู้แต่ง เป็นรายการหลักได้ ให้ลงชื่อเรื่องเป็นรายการหลักแทน นอกจากนี้ในบัตรหลักยังมีแนวสืบค้นอยู่ด้านล่างเพื่อให้ทราบว่าห้องสมุดทําบัตรเพิ่มชนิดใดบ้าง

40 ข้อใดมักจะแสดงไว้ที่รายการส่วนหมายเหตุ

(1) มีบรรณานุกรมอยู่ท้ายเล่ม

(2) คําคม/พ.บางพลี

(3) สํานักพิมพ์ดอกหญ้า, 2556

(4) แสงโสม, บรรณาธิการ

ตอบ 1 หน้า 193, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 221) หมายเหตุ (Notes) เป็นส่วนประกอบของบัตรรายการที่ให้ข้อมูลอื่นเพิ่มเติมเกี่ยวกับหนังสือนอกเหนือจากที่บอกไว้ในส่วนอื่น ๆ เพื่อให้ผู้ใช้ได้ทราบเพิ่มเติมว่าหนังสือเล่มนั้นมีบรรณานุกรมอยู่ท้ายเล่ม หรือมีดรรชนี อภิธานศัพท์ ภาคผนวก ฯลฯ เช่น บรรณานุกรม : หน้า 300 – 320

41 แนวสืบค้น หมายถึงข้อใด

(1) หัวเรื่อง

(2) คําสําคัญ

(3) ISBN

(4) เลขหมู่

ตอบ 1 หน้า 193 แนวสืบค้น (Tracing) เป็นส่วนประกอบของบัตรรายการที่บอกให้ทราบว่านอกจากบัตรยืนพื้นหรือบัตรหลักแล้ว ห้องสมุดทําบัตรชนิดใดเพิ่มอีกบ้าง ซึ่งรายการของแนวสืบค้น จะมี 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นหัวเรื่อง และรายการเพิ่มต่าง ๆ เช่น รายการชื่อผู้แต่งร่วม ชื่อผู้แปลชื่อผู้วาดภาพประกอบ เป็นต้น

42 รายการใดไม่ปรากฏบนรายการแบบบัตร

(1) สถานภาพของหนังสือ

(2) สถานที่พิมพ์

(3) ชื่อผู้แปล

(4) ฉบับพิมพ์

ตอบ 1 หน้า 190 – 193 ส่วนประกอบที่สําคัญของรายการแบบบัตร (Catalog Card) หรือบัตรรายการ ได้แก่

1 เลขเรียกหนังสือ

2 ชื่อผู้แต่งหรือรายการหลัก

3 ชื่อเรื่องและการแจ้งความรับผิดชอบ

4 ครั้งที่พิมพ์หรือฉบับพิมพ์

5 การพิมพ์และการจัดจําหน่าย ประกอบด้วย รายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่พิมพ์ สํานักพิมพ์ และปีที่พิมพ์

6 ลักษณะวัสดุหรือลักษณะรูปร่าง

7 ชื่อชุด

8 หมายเหตุ

9 เลขมาตรฐานสากล

10 แนวสืบค้น (ดูคําอธิบายข้อ 41. ประกอบ)

43 ส่วนใดของบัตรรายการแสดงถึงความทันสมัยของเนื้อหา

(1) สถานภาพของหนังสือ

(2) สถานที่พิมพ์

(3) ชื่อผู้แปล

(4) ปีที่พิมพ์

ตอบ 4 หน้า 60, 193 ปีที่พิมพ์ (Date of Publication) คือ ปีที่ผลิตสิ่งพิมพ์นั้น หรือปีที่หนังสือแต่ละเล่มได้รับการจัดพิมพ์ เพื่อแสดงความเก่าหรือความทันสมัยของเนื้อหาในหนังสือ ดังนั้น ปีที่พิมพ์จึงมีความสําคัญเพราะจะช่วยให้ผู้ใช้ทราบว่าเป็นหนังสือเก่าหรือใหม่ สําหรับหนังสือ ที่เป็นภาษาต่างประเทศจะนิยมลงรายการด้วยปีลิขสิทธิ์ (Copyright Date) โดยมีตัวอักษร C นําหน้าปี เช่น C1990

44 ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องที่สุด

(1) คําสําคัญใช้ในระบบสืบค้นออนไลน์ของห้องสมุดและอินเทอร์เน็ต (2) หัวเรื่อง คือ ศัพท์ควบคุมในระบบสืบค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต

(3) Search Engine ใช้ศัพท์ควบคุมในการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต

(4) LCSH เป็นบัญชีศัพท์อิสระที่ใช้เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น ตอบ 1 หน้า 221, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 250 251, 262) ความแตกต่างระหว่างหัวเรื่องกับคําสําคัญ มีดังนี้

1 หัวเรื่อง คือ คําหรือวลีหรือชื่อเฉพาะต่าง ๆ ที่ใช้แทนเนื้อหาของหนังสือ ซึ่งถือเป็นศัพท์ควบคุมที่ใช้ในระบบการสืบค้นข้อมูลของห้องสมุด เพราะบรรณารักษ์จะเลือกคําหรือวลีจาก บัญชีหัวเรื่องมาตรฐานชื่อใดชื่อหนึ่ง เช่น บัญชีหัวเรื่อง LCSH สําหรับหนังสือภาษาอังกฤษ ในห้องสมุดขนาดใหญ่, บัญชีหัวเรื่อง Sear’s List สําหรับหนังสือภาษาอังกฤษในห้องสมุดขนาดเล็ก ฯลฯ

2 คําสําคัญ คือ คําศัพท์อิสระที่ผู้ใช้คิดขึ้นเอง เพื่อใช้ในระบบการสืบค้นสารสนเทศออนไลน์ของห้องสมุดและอินเทอร์เน็ต

45 ข้อใดเลือกใช้คําค้นได้ถูกต้อง

(1) Abstract art

(2) Art–abstract

(3) Art, abstract

(4) Art: abstract

ตอบ 3 หน้า 223 224, 228 การกําหนดคําที่ใช้เป็นหัวเรื่องใหญ่ มีลักษณะดังนี้

1 คํานามคําเดียวโดด ๆ เช่น กบ ไกด์ นก ฯลฯ

2 คําผสมที่เป็นคํานาม 2 คํา เชื่อมด้วย “and” “กับ” “และ” ทั้งที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องสัมพันธ์ ไปในทางเดียวกัน เช่น ชุมชนกับโรงเรียน บิดาและมารดา ฯลฯ และที่มีเนื้อหาค้านกัน เช่น ศาสนากับวิทยาศาสตร์ Good and Evil ฯลฯ

3 คํานามที่ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาคและมีคําคุณศัพท์ที่ขยายคําแรกให้สื่อความหมายดีขึ้น เช่น เคมี, วัตถุ ดอกไม้, การจัด Education, higher Art, abstract ฯลฯ

4 กลุ่มคําหรือวลี เช่น บริการแปล ชีวิตชนบท ฯลฯ

5 ชื่อเฉพาะที่เป็นคําวิสามานยนาม เช่น ชื่อบุคคล ชื่อสัตว์ ชื่อสถานที่ ชื่อพระหรือเทพเจ้า ฯลฯ

46 ข้อใดใช้หัวเรื่องย่อยเพื่อให้การสืบค้นข้อมูลได้เนื้อหาเฉพาะเจาะจง

(1) ไทย, ประวัติศาสตร์

(2) ประวัติศาสตร์ ไทย

(3) ไทย : ประวัติศาสตร์

(4) ไทย- -ประวัติศาสตร์

ตอบ 4 หน้า 224 225 หัวเรื่องย่อย เป็นคําหรือวลีที่ใช้เป็นหัวเรื่องย่อยเพื่อขยายหัวเรื่องใหญ่ให้เห็นชัดเจนหรือจําเพาะเจาะจงขึ้น โดยหัวเรื่องย่อยจะมีขีดสั้น 2 ขีด (-) อยู่ข้างหน้าคํา เพื่อคั่นระหว่างหัวเรื่องใหญ่และหัวเรื่องย่อย แบ่งได้ 4 ประเภท ดังนี้

1 แบ่งตามวิธีเขียน เช่น ภาษาไทย- แบบฝึกหัด, หนังสือหายาก– บรรณานุกรม ฯลฯ

2 บอกลําดับเหตุการณ์ ซึ่งจะแบ่งตามปีคริสต์ศักราช ยุคสมัย หรือชื่อพระเจ้าแผ่นดิน เช่น ไทย– ประวัติศาสตร์–กรุงสุโขทัย, 1800 – 1900 ฯลฯ

3 แบ่งตามขอบเขตเฉพาะของเนื้อหา เช่น English Language–Grammar,เกษตรกรรม- แสังคม ฯลฯ

4 แบ่งตามสภาพภูมิศาสตร์ เช่น พุทธศาสนา–ไทย–เชียงใหม่, เรือ- ไทย ฯลฯ

47 อักษรย่อ “NT” ในบัญชีหัวเรื่อง มีความหมายอย่างไร

(1) คําที่เลิกใช้แล้ว

(2) คําที่เพิ่มเข้ามาใหม่

(3) คําสัมพันธ์ที่กว้างกว่า

(4) คําสัมพันธ์ที่แคบกว่า

ตอบ 4 หน้า 225 – 227, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 256) บัญชีหัวเรื่องมาตรฐาน LCSH ฉบับปัจจุบัน ได้เปลี่ยนแปลงการใช้สัญลักษณ์บางตัวเพื่อกําหนดความสัมพันธ์ของคํา ที่ใช้เป็นหัวเรื่อง ดังนี้

1 BT (Broader Term) คือ หัวเรื่องสัมพันธ์ที่กว้างกว่า

2 NT (Narrower Term) คือ หัวเรื่องสัมพันธ์ที่แคบกว่า

3 RT (Related Term) คือ หัวเรื่องที่สัมพันธ์กับคําหลักหรือใช้แทนกันได้

4 UF (Use For) คือ หัวเรื่องที่ไม่กําหนดให้ใช้แล้ว

5 USE คือ หัวเรื่องที่กําหนดให้ใช้

6 — คือ หัวเรื่องย่อย

48 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง

(1) วิทยานิพนธ์เป็นงานวิจัยของนักศึกษาระดับปริญญาตรีและโท (2) ปริญญานิพนธ์ คือ งานค้นคว้าของนักศึกษาระดับปริญญาตรีและโท

(3) ดุษฎีนิพนธ์ คือ งานค้นคว้าของอาจารย์มหาวิทยาลัย

(4) ภาคนิพนธ์ คือ งานค้นคว้าของรายวิชาใดวิชาหนึ่ง

ตอบ 3 หน้า 237 วิทยานิพนธ์ (Thesis) เป็นรายงานการวิจัยหรือการค้นคว้าอย่างลึกซึ้งในเรื่องใดเรื่องหนึ่งของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา ใช้เพื่อขอเลื่อนวิทยฐานะทางวิชาการให้สูงขึ้น โดยวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท (บัณฑิตศึกษา) จะเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า “ปริญญานิพนธ์” (Thesis) ระดับปริญญาเอกเรียกว่า “ดุษฎีนิพนธ์” (Dissertation)ส่วนรายงานประจําวิชาหรือภาคนิพนธ์ เป็นงานค้นคว้าของรายวิชาใดวิชาหนึ่ง

49 ข้อใดกล่าวถึงการเลือกหัวข้อการทํารายงานได้ถูกต้องที่สุด

(1) การเลือกหัวข้อรายงานต่อจากการรวบรวมข้อมูล

(2) หัวข้อที่รุ่นพี่เคยทําไว้แล้ว

(3) หัวข้อที่น่าสนใจและน่าศึกษาเพิ่มเติม

(4) หัวข้อที่ทําได้ง่ายและไม่ต้องลงทุนมาก

ตอบ 3 หน้า 238 239 การกําหนดเรื่องหรือหัวข้อของรายงานมีข้อที่ควรพิจารณา ดังนี้

1 เลือกเรื่องที่น่าสนใจหรือชอบมากที่สุด และควรสอดคล้องกับวิชาที่กําลังศึกษาอยู่

2 เลือกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสนใจและที่ต้องการศึกษาเพิ่มเติม

3 เลือกเรื่องที่ใกล้ตัวเราหรือที่เราเกี่ยวข้องด้วย

4 เลือกเรื่องที่มีข้อมูลให้ค้นคว้าอย่างเพียงพอหรืออยู่ในวิสัยที่สามารถทําได้

5 เลือกเรื่องที่มีขอบเขตไม่กว้างหรือไม่ยาวจนเกินไป เพื่อให้ทันกับกําหนดเวลาและขนาดของรายงาน

50 ข้อใดไม่ใช่แหล่งข้อมูลปฐมภูมิที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า

(1) การจดบันทึกผลการทดลองในแต่ละวัน

(2) การเก็บข้อมูลภาคสนามของนักวิจัย

(3) การอ่านอักษรโบราณจากสมุดไทยของโบราณคดี

(4) การอ่านตําราวิชากฎหมายมหาชนของอาจารย์ผู้สอน

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 13 ประกอบ

51 ข้อมูลในข้อใดไม่ควรบันทึกข้อมูลแบบสรุปความ

(1) การฟังรายการ “เล่าข่าวยามเช้า” ทางโทรทัศน์

(2) บทคัดย่อวิทยานิพนธ์สาขากฎหมาย

(3) คําสั่งลงโทษข้าราชการทําผิดวินัย

(4) ข่าวจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐออนไลน์

ตอบ 3 หน้า 257, 260 261, (คําบรรยาย) การบันทึกข้อมูลแบบสรุปความหรือย่อความ เป็นการสรุปใจความสําคัญหรือบันทึกเฉพาะสิ่งที่สําคัญจริง ๆ ลงบนบัตร โดยใช้คําพูดของตนเอง และงดเว้นการอธิบาย การยกตัวอย่าง ซึ่งจํานวนคําในบัตรควรเหลือประมาณครึ่งหนึ่งของข้อมูลเดิม เช่น บทสารคดีท่องเที่ยว บทคัดย่อวิทยานิพนธ์ หรือการย่อข่าวจากสื่อมวลชนต่าง ๆ ฯลฯ (ส่วนตัวเลือกข้อ 3 เป็นการบันทึกข้อมูลแบบลอกความ ซึ่งจะเหมาะกับข้อความหรือข้อเท็จจริง ที่ชัดแจ้ง เช่น สูตรทางคณิตศาสตร์ ความหมายหรือคํานิยามในเชิงวิชาการ พระราชกฤษฎีกา พระบรมราโชวาท ข้อบังคับหรือคําสั่งของทางราชการ พระราชบัญญัติ สุนทรพจน์ ฯลฯ)

52 ข้อใดกล่าวถึงการเรียบเรียงรายงานไม่ถูกต้อง

(1) การใช้คํากระชับและถูกต้องตามหลักวิชาการ

(2) การใช้ภาษาอังกฤษให้มากเพื่อเพิ่มคุณค่าของเนื้อหา

(3) การตรวจสอบความถูกต้องของคําโดยใช้พจนานุกรม

(4) การเรียบเรียงเนื้อหาตามโครงเรื่องและบัตรบันทึก

ตอบ 2 หน้า 263, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 337) ข้อควรพิจารณาในการเรียบเรียงรายงานฉบับร่าง มีดังนี้

1 เรียบเรียงเนื้อหาของรายงานตามลําดับของโครงเรื่องและบัตรบันทึก โดยเนื้อหาไม่ควรสั้นหรือยาวเกินไป

2 เตรียมบัตรบรรณานุกรม บัตรบันทึกข้อมูล และพจนานุกรมเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของคํา

3 ใช้ภาษาที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ กระชับ สุภาพ และอธิบายทุกสิ่งให้ชัดเจน

4 ไม่ใช้อักษรย่อและคําย่อ

5 เขียนอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลให้ถูกต้องตามรูปแบบของสถาบันที่ส่งรายงาน โดยแสดุงไว้หลังข้อความที่อ้าง และเลือกใช้แบบใดแบบหนึ่งตลอดรายงาน

6 การใส่ตาราง ภาพประกอบ แผนภูมิ แผนที่ กราฟ ต้องระบุแหล่งที่มา โดยใช้แบบแผนเช่นเดียวกับเชิงอรรถ ฯลฯ

53 ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับรายการภาคผนวกของรายงาน

(1) ตารางเปรียบเทียบสถิติประชากร

(2) แบบสอบถาม

(3) ตารางลําดับเหตุการณ์ประวัติศาสตร์

(4) อภิธานศัพท์

ตอบ 4 หน้า 64, 275 ภาคผนวก (Appendix) เป็นส่วนท้ายของรายงานที่นําเสนอข้อมูลเพิ่มเติมนอกเหนือจากส่วนที่เป็นเนื้อเรื่อง เนื่องจากรายการนั้นไม่เหมาะที่จะเสนอแทรกไว้ในส่วน ของเนื้อหา แต่มีความสัมพันธ์และช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อเรื่องได้ดียิ่งขึ้น เช่น แบบสอบถาม ตัวเลขสถิติ ตารางเปรียบเทียบสถิติประชากร ตารางลําดับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ภาพประกอบเนื้อเรื่อง เป็นต้น

54 การลงรายการอ้างอิงในข้อใดถูกต้อง

(1) วัญญา ภัทรสุข. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์, พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552.

(2) รศ.ดร.วัญญา ภัทรสุข. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์, พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : :โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552. (3) ดร.วัญญา ภัทรสุข. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ 2552. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

(4) รศ.ดร.วัญญา ภัทรสุข. 2552. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์, พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ตอบ 1 หน้า 254 – 255, 276 277 จากตัวเลือกข้างต้น ใช้รูปแบบการเขียนรายการบรรณานุกรมสําหรับหนังสือตามคู่มือ Turabian ซึ่งมีแบบแผนการเขียนรายการอ้างอิงที่ถูกต้อง ดังนี้

ชื่อผู้แต่ง. ชื่อหนังสือ. ครั้งที่พิมพ์, สถานที่พิมพ์ : สํานักพิมพ์, ปีที่พิมพ์

ในกรณีที่ผู้แต่งเป็นคนไทย ไม่ต้องใส่คํานําหน้าชื่อ ตําแหน่งทางวิชาการหรือวิชาชีพ เช่น วัญญา ภัทรสุข. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์, พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552.

55 ข้อใดเขียนรายการอ้างอิงได้ถูกต้อง

(1) (Thomas D. Wilson, 1989, 40)

(2) (T.D. Wilson, 1989, p. 40)

(3) (Wilson 1989, 40)

(4) (Wilson, Thomas D., 1989, pp. 40)

ตอบ 3 หน้า 264, 276 277, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 298) การแสดงที่มาของข้อมูลเฉพาะที่แบบนาม – ปี (Author-date) คือ รายการอ้างอิงแบบในวงเล็บที่แทรกลงไปในเนื้อหา (Cite-in-Text) โดยใส่ชื่อผู้เขียนและปีที่พิมพ์พร้อมด้วยเลขหน้าไว้ในวงเล็บหลังข้อความ ที่คัดลอกมาหรือที่ต้องการอ้างอิง ซึ่งมี 2 รูปแบบ ได้แก่

1 รูปแบบตามคู่มือ urabian คือ ชื่อ นามสกุลผู้แต่ง / ปีที่พิมพ์, / หน้าที่อ้างอิง) เช่น (อุดมพร มานะ 2556, หน้า 5) หากผู้แต่งเป็นชาวต่างชาติให้ลงเฉพาะชื่อสกุล (Last Name) ปีที่พิมพ์ และเลขหน้า เช่น (Wilson 1989, 40) มม.1999 40)

2 รูปแบบตามคู่มือ APA คือ (ชื่อ นามสกุลผู้แต่ง, / ปีที่พิมพ์, / หน้าที่อ้างอิง) เช่น (อุดมพร มานะ, 2556, หน้า 5) หากผู้แต่งเป็นชาวต่างชาติให้ลงเฉพาะชื่อสกุล (Last Name) ปีที่พิมพ์ และเลขหน้า เช่น (Wilson, 1989, 40)

56 การพัฒนาอินเทอร์เน็ตในยุคเริ่มต้นมีวัตถุประสงค์ตรงกับข้อใด (1) การค้า

(2) การสื่อสาร

(3) สหรัฐอเมริกา

(4) อาร์พาเน็ต

ตอบ 2 (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 47 48), (คําบรรยาย) การพัฒนาอินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2512 เมื่อกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาได้ให้ทุนสนับสนุนโครงการพัฒนา เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งเริ่มแรกนั้นได้มีการจัดตั้งเครือข่ายอาร์พาเน็ต (ARPAnet) ขึ้น เพื่อเน้นใช้งานด้านการทหารและการสื่อสารในช่วงสงครามเย็นมากที่สุด และเพื่อเชื่อมโยง คอมพิวเตอร์ของหน่วยงานในมหาวิทยาลัย 4 แห่ง ซึ่งเป็นประโยชน์สําหรับงานวิจัย จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2526 จึงพัฒนามาเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และในปัจจุบันได้มีการนําอินเทอร์เน็ตมาใช้งานในเชิงพาณิชย์มากขึ้น

57 บริการรับ-ส่งข่าวสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์เฉพาะที่เรียกว่าอะไร

(1) เว็บบราวเซอร์

(2) เว็บมาสเตอร์

(3) เว็บบอร์ด

(4) กูเกิล

ตอบ 1 (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 46, 55), (คําบรรยาย) Web browser คือ ซอฟต์แวร์และโปรแกรมเฉพาะที่ใช้แสดงผลข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตสําหรับการเข้าสู่บริการเว็บไซต์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้บริการเว็บไซต์ได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น โดยเว็บบราวเซอร์สามารถ ใช้เปิดเอกสารไฮเปอร์เท็กซ์ หรือเปิดดูสื่อต่าง ๆ ที่ประกอบด้วยภาพและเสียง รวมทั้ง สามารถเชื่อมโยงการรับ-ส่งข่าวสารบนเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตได้ ตัวอย่างของ เว็บบราวเซอร์ เช่น Internet Explorer, Netscape Navigator, Mozila Firefox และ Google Chrome เป็นต้น

58 www.ru.ac.th หมายถึงอะไร

(1) URL

(2) DNS

(3) FTP

(4) TCP

ตอบ 1 (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 45, 56) การเข้าถึงสารสนเทศบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผู้ใช้สามารถเข้าถึงเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเซิร์ฟเวอร์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยระบุที่อยู่ของเว็บไซต์หรือตําแหน่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า “URL Address (Uniform Resource Location) เช่น http://www.ru.ac.th ซึ่งเป็นเว็บไซต์ของ มหาวิทยาลัยรามคําแหง ทั้งนี้สารสนเทศที่ปรากฏบนหน้าจอแรกของเว็บจะเรียกว่า“โฮมเพจ” (Home Page) ซึ่งผู้ใช้สามารถเลือกรายการที่ต้องการค้นคว้าข้อมูลต่อไปได้

59 Search Engine หมายถึงอะไร

(1) เครื่องมือช่วยค้นหาสารสนเทศออนไลน์ google.com

(2) เครื่องมือช่วยค้นหาสารสนเทศจากฐานข้อมูล OPAC

(3) เครื่องมือช่วยค้นหาสารสนเทศจากฐานข้อมูล Web OPAC (4) เครื่องมือช่วยค้นหาสารสนเทศจากฐานข้อมูล E-book

ตอบ 1 หน้า 313, (คําบรรยาย) Search Engine คือ เครื่องมือช่วยค้นหาสารสนเทศออนไลน์จากฐานข้อมูลเว็บไซต์ (Websites) ที่ให้บริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้ Search Engine จะแสดงรายการสารบาญและช่องว่างให้เติมคําที่ต้องการสืบค้น จากนั้นให้ผู้ใช้ป้อนคํา ข้อความ หรือชื่อเรื่องที่ต้องการค้นหา ก็สามารถหาเว็บไซต์ที่ต้องการหรือรายชื่อเว็บไซต์ที่มีเนื้อหา ใกล้เคียงกันได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ซึ่ง Search Engine ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันได้แก่ www.google.com, www.altavista.com, www.metacrawler.com เป็นต้น

60 ข้อใดเกี่ยวข้องกับการแสดงความคิดเห็นผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์

(1) เว็บบราวเซอร์

(2) เว็บมาสเตอร์

(3) ไลน์

(4) กูเกิล

ตอบ 3 (คําบรรยาย) เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) คือ เว็บไซต์ที่เชื่อมโยงผู้คนไว้ด้วยกันผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีจุดเด่นหลักคือ ช่วยให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ สามารถสื่อสารหรือ แสดงความคิดเห็นได้ในวงกว้างและหลากหลายรูปแบบ เช่น ข้อความ รูปภาพ วิดีโอ ฯลฯ โดยเว็บไซต์ที่ใช้สําหรับ Social Network เช่น Facebook, Twitter, Linkedin, YouTube Line, MySpace, Hi5 ฯลฯ

WordPress Ads
error: Content is protected !!