การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 4100 หลักและวิธีการวิจัยทางรัฐศาสตร์

Advertisement

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 ข้อใดไม่ใช่จุดมุ่งหมายของการตั้งปัญหาในการวิจัย

(1) เพื่อบรรยาย

(2) เพื่ออธิบาย

(3) เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น

(4) เพื่อการทํานาย

(5) เป็นจุดมุ่งหมายทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 94 95 จุดมุ่งหมายของการตั้งปัญหาในการวิจัย มีดังนี้

1 เพื่อบุกเบิกหรือรวบรวมแหล่งความรู้

2 เพื่อบรรยาย

  1. เพื่ออธิบาย

4 เพื่อทํานายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

2 ข้อใดไม่ใช่หลักเกณฑ์ในการเลือกหัวข้อของการวิจัย

(1) ความเป็นไปได้

(2) ความน่าสนใจและทันต่อเหตุการณ์

(3) ความสนใจของผู้วิจัย

(4) ความยากง่ายในการศึกษา

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 96 – 97 หลักเกณฑ์ในการเลือกหัวข้อของการวิจัย มีดังนี้

1 ความสําคัญของปัญหา

2 ความเป็นไปได้

3 ความน่าสนใจและทันต่อเหตุการณ์

4 ความสนใจของผู้ที่จะวิจัย

5 ความสามารถที่จะทําให้บรรลุผล

3 ลักษณะของปัญหาที่ต้องใช้ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในสถานการณ์นั้น ๆ มากําหนดความสัมพันธ์ เรียกว่าปัญหา ประเภทใด

(1) ปัญหาเชิงวิเคราะห์

(2) ปัญหาเชิงประจักษ์

(3) ปัญหาเชิงปทัสถาน

(4) ปัญหาเชิงสังเคราะห์

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 97 ปัญหาเชิงประจักษ์ (Empirical Problems) คือ ลักษณะของปัญหาที่ต้องใช้ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในสถานการณ์นั้น ๆ มากําหนดความสัมพันธ์

4 ลักษณะของปัญหาที่ต้องใช้ความคิด ความรู้ในเชิงวิชาการมาประมวลเป็นข้อสรุปหรือกฎ หรืออ้างอิงจากแนวคิดทฤษฎี หรือนักวิชาการ เรียกว่าปัญหาประเภทใด

(1) ปัญหาเชิงวิเคราะห์

(2) ปัญหาเชิงประจักษ์

(3) ปัญหาเชิงปทัสถาน

(4) ปัญหาเชิงสังเคราะห์

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 97, (คําบรรยาย) ปัญหาเชิงปทัสถาน (Normative Problems) คือ ลักษณะของปัญหาที่ต้องใช้ความคิด ความรู้เชิงวิชาการมาประมวลเป็นข้อสรุปหรือกฎ หรือใช้การอ้างอิงจากตําราวิชาการ แนวคิดทฤษฎี หรือนักวิชาการ ตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิ มายืนยันและตรวจสอบความถูกต้อง

5 วัตถุประสงค์ในการวิจัย “เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างภูมิหลังของบุคคลกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง” เป็นวัตถุประสงค์ประเภทใด

(1) วัตถุประสงค์เชิงพรรณนา

(2) วัตถุประสงค์เชิงอธิบาย

(3) วัตถุประสงค์เชิงทํานาย

(4) วัตถุประสงค์เชิงเปรียบเทียบ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 99 – 100, (คําบรรยาย) การกําหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย มีดังนี้

1 วัตถุประสงค์เชิงพรรณนา เช่น เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดนนทบุรี เป็นต้น

2 วัตถุประสงค์เชิงเปรียบเทียบ เช่น เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างภูมิหลังของบุคคลกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง เป็นต้น

6 การมีส่วนร่วมทางการเมืองในวัตถุประสงค์ข้างต้น เป็นตัวแปรประเภทใด

(1) ตัวแปรอิสระ

(2) ตัวแปรแทรกซ้อน

(3) ตัวแปรต้น

(4) ตัวแปรตาม

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 110 – 111, (คําบรรยาย) ตัวแปรที่กําหนดความสัมพันธ์โดยตรง แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1 ตัวแปรอิสระ (Independent Variable) หรือตัวแปรต้น เป็นตัวแปรที่เป็นสาเหตุหรือเป็นความสัมพันธ์ตั้งต้นที่ก่อให้เกิดผล เป็นสาเหตุที่ทําให้เกิดตัวแปรตาม มักจะใช้สัญลักษณ์แทน เป็นตัวอักษร X เช่น ระดับการศึกษาที่ส่งผลต่อการตัดสินใจลงคะแนน, ภูมิหลังของบุคคล,การอยู่อาศัยในท้องถิ่น เป็นต้น

2 ตัวแปรตาม (Dependent Variable) เป็นตัวแปรที่เป็นผลหรือเปลี่ยนแปลงตามอิทธิพลของตัวแปรอื่น มักจะใช้สัญลักษณ์แทนเป็นตัวอักษร Y เช่น ผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง ภูมิประเทศ, การมีส่วนร่วมทางการเมือง, ความพึงพอใจในการทํางาน, ประสิทธิผลในการทํางาน เป็นต้น

7 ข้อใดเป็นวัตถุประสงค์เชิงพรรณนา

(1) เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างภูมิหลังของบุคคลกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง

(2) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดนนทบุรี

(3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ของประชาชนกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง

(4) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 5 ประกอบ

8 กระบวนการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่เป็นนามธรรมในการศึกษากับสิ่งที่เป็นรูปธรรมที่สังเกตได้ ได้แก่

(1) กรอบแนวความคิด

(2) มาตรวัด

(3) ตัวบ่งชี้เชิงประจักษ์

(4) นิยามความหมาย

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 101, (คําบรรยาย) มาตรวัด (Measurement) คือ กระบวนการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่เป็นนามธรรมในการศึกษากับสิ่งที่เป็นรูปธรรมที่สังเกตได้

9 วิธีการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ที่เป็นระบบ มีเหตุมีผลและเป็นวัตถุวิสัย เพื่อที่จะบรรยาย อธิบายหรือทํานายปรากฏการณ์ที่สามารถสังเกตเห็นได้ เรียกวิธีการนั้นว่าอะไร

(1) ทฤษฎี

(2) สมมุติฐาน

(3) ศาสตร์

(4) องค์ความรู้

(5) กรอบแนวคิด

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ศาสตร์ หมายถึง วิธีการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ที่เป็นระบบ มีเหตุมีผลและเป็นวัตถุวิสัย (Objectivity) เพื่อที่จะบรรยาย อธิบาย และทํานายปรากฏการณ์ที่สามารถสังเกตเห็นได้

10 ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตามกรอบของทฤษฎีที่ผู้วิจัยคาดว่าจะเกิดขึ้นและรอการพิสูจน์ เรียกว่าอะไร

(1) ตัวแปรตาม

(2) สมมุติฐาน

(3) ศาสตร์

(4) องค์ความรู้

(5) การอบแนวคิด

ตอบ 2 หน้า 108 สมมุติฐาน (Hypothesis) คือ ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตามกรอบของทฤษฎีที่ผู้วิจัยคาดว่าจะเกิดขึ้น และรอการพิสูจน์ต่อไป

11 ภูมิหลังของประชากร ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ การศึกษา เรียกว่าตัวแปรประเภทใด

(1) ตัวแปรเชิงพัฒนา

(2) ตัวแปรมาตรฐาน

(3) ตัวแปรหลัก

(4) ตัวแปรองค์ประกอบ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 109 ตัวแปรมาตรฐาน คือ ตัวแปรที่จําเป็นต้องมีในการวิจัยทุก ๆ เรื่อง ได้แก่ คุณสมบัติของสิ่งที่ศึกษา เช่น ภูมิหลังของประชากร ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ การศึกษา เป็นต้น

12 ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรซึ่งเมื่อตัวแปรตัวหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปทําให้ตัวแปรอีกตัวหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วยในลักษณะคงที่ เรียกความสัมพันธ์นั้นว่าอย่างไร

(1) ความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล

(2) ความสัมพันธ์เชิงซ้อน

(3) ความสัมพันธ์เชิงเส้นตรง

(4) ความสัมพันธ์เชิงตอบโต้

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 114 ความสัมพันธ์เชิงเส้นตรง คือ ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรซึ่งเมื่อตัวแปรหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปจะทําให้ตัวแปรอีกตัวหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วยในลักษณะคงที่ เช่น ปริมาณที่ขายสินค้ากับรายได้ เป็นต้น

13 ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัว ที่มีทิศทางของความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันโดยไม่ทราบสําดับก่อนหลังของตัวแปร เรียกความสัมพันธ์นั้นว่าอย่างไร

(1) ความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล

(2) ความสัมพันธ์เชิงซ้อน

(3) ความสัมพันธ์เชิงเส้นตรง

(4) ความสัมพันธ์เชิงตอบโต้

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 114 ความสัมพันธ์เชิงตอบโต้ คือ ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัว ที่มีทิศทางของความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันโดยไม่ทราบลําดับก่อนหลังของตัวแปร

14 ตัวแปรที่พิสูจน์ได้ว่ามีความสัมพันธ์กันโดยทราบลําดับก่อนหลังและพิสูจน์ได้ว่าไม่มีสิ่งใดมาแทรกซ้อน เรียกความสัมพันธ์นั้นว่าอย่างไร

(1) ความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล

(2) ความสัมพันธ์เชิงซ้อน

(3) ความสัมพันธ์เชิงเส้นตรง

(4) ความสัมพันธ์เชิงตอบโต้

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 115 – 116, (คําบรรยาย) ความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล คือ ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัว โดยที่ตัวแปรสาเหตุ (x) จะต้องเกิดก่อนตัวแปรที่เป็นผล (Y) นั่นคือ ความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวแปรที่พิสูจน์ได้ว่ามีความสัมพันธ์กันโดยทราบลําดับก่อนหลังและพิสูจน์ได้ว่าไม่มีสิ่งใดมาแทรกซ้อน

15 ข้อใดเป็นสิ่งจําเป็นในการสร้างมาตรวัด

(1) นิยามปฏิบัติการ

(2) ข้อคําถาม (

3) ตัวแปร

(4) ดัชนีชี้วัด

ตอบ 5 หน้า 128, (คําบรรยาย) สิ่งจําเป็นในการสร้างมาตรวัด คือ การกําหนดนิยามปฏิบัติการของตัวแปรและตัวชี้วัดหรือดัชนีชี้วัดที่สัมพันธ์กัน ต่อจากนั้นจึงกําหนดข้อคําถามที่ตรงกับตัวชี้วัดก็จะได้มาตรวัดตัวแปรตามที่ต้องการ

16 เพศ เป็นการวัดระดับใด

(1) Nominal Scale

(2) Ordinal Scale

(3) Interval Scale

(4) Ratio Scale

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 129, (คําบรรยาย) Nominal Scale เป็นวิธีการวัดที่ง่ายที่สุด เพียงแต่การกําหนดเกณฑ์แบ่งแยกประชากรที่ศึกษาออกเป็นกลุ่ม แล้วตั้งชื่อให้แต่ละกลุ่มที่มีคุณสมบัติเหมือนกันให้อยู่ใน กลุ่มเดียวกัน ตัวเลขหรือสัญลักษณ์เป็นเพียงแต่ซื้อไม่สามารถเอามาคํานวณทางเลขคณิตได้ เช่น เพศ สถานภาพการสมรส ภูมิลําเนา อาชีพ เป็นต้น

17 อายุ เป็นการวัดระดับใด

(1) Nominal Scale

(2) Ordinal Scale

(3) Interval Scale

(4) Ratio Scale

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 129, (คําบรรยาย) Ratio Scale เป็นการวัดที่มีคุณสมบัติของมาตรวัดแบบช่วงทุกประการแต่มีคุณสมบัติเพิ่มเติมคือ มีจุดเริ่มต้นที่ศูนย์ที่แท้จริง เช่น อายุ น้ําหนัก ความสูง เงินเดือนรายได้ เป็นต้น

18 การศึกษา เป็นการวัดระดับใด

(1) Nominal Scale

(2) Ordinal Scale

(3) Interval Scale

(4) Ratio Scale

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 129, (คําบรรยาย) Ordinal Scale เหมือนกับการแบ่งกลุ่ม แต่สามารถจัดอันดับอัตราความแตกต่างระหว่างกันและกันได้ ซึ่งอาจใช้ข้อความว่า มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด ตัวเลขหรือสัญลักษณ์ที่แสดงไม่มีผลต่อการคํานวณ แต่จะบอกความสําคัญเท่านั้น ไม่สามารถบอกปริมาณและความแตกต่างได้ เช่น ระดับการศึกษา เกรด ความคิดเห็น ความพึงพอใจ เป็นต้น

19 จุดประสงค์ในการใช้สถิติ t-Test ใช้เพื่อทดสอบอะไร

(1) ทดสอบความแตกต่างระหว่างเจ้วแปรที่มี 2 กลุ่ม

(2) ทดสอบความแตกต่างระหว่างตัวแปรที่มีมากกว่า 2 กลุ่ม

(3) ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร

(4) ทดสอบปัจจัยที่มีอิทธิพลระหว่างตัวแปร

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 178, (คําบรรยาย) สถิติ t-Test ใช้เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างตัวแปรที่มี 2 กลุ่มโดยมีเงื่อนไขในการใช้คือ ต้องมีการแจกแจงแบบโค้งปกติ ข้อมูลของตัวแปรตามต้องมีระดับการวัดเป็น Interval Scale ขึ้นไป และใช้เพื่อทดสอบสมมติฐานความแตกต่างระหว่างตัวแปร

20 จุดประสงค์ในการใช้สถิติ F-Test ใช้เพื่อทดสอบอะไร

(1) ทดสอบความแตกต่างระหว่างตัวแปรที่มี 2 กลุ่ม

(2) ทดสอบความแตกต่างระหว่างตัวแปรที่มีมากกว่า 2 กลุ่ม

(3) ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร

(4) ทดสอบปัจจัยที่มีอิทธิพลระหว่างตัวแปร

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 178, (คําบรรยาย) สถิติ F-Test หรือ Oneway ANOVA ใช้เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างตัวแปรที่มีมากกว่า 2 กลุ่ม โดยมีเงื่อนไขในการใช้เหมือน t-Test แต่ไม่จําเป็นต้องมีการแจกแจงแบบโค้งปกติ

21 จุดประสงค์ในการใช้สถิติ Correlation ใช้เพื่อทดสอบอะไร

(1) ทดสอบความแตกต่างระหว่างตัวแปรที่มี 2 กลุ่ม

(2) ทดสอบความแตกต่างระหว่างตัวแปรที่มีมากกว่า 2 กลุ่ม

(3) ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร

(4) ทดสอบปัจจัยที่มีอิทธิพลระหว่างตัวแปร

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 179, (คําบรรยาย) สถิติ Correlation ใช้เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร โดยข้อมูลทั้งตัวแปรอิสระและตัวแปรตามต้องมีระดับการวัดเป็น Interval Scale แต่ไม่สามารถบอก ได้ว่าตัวใดเป็นเหตุหรือตัวใดเป็นผล ทราบแต่เพียงความสัมพันธ์ของตัวแปรและขนาดของความ สัมพันธ์เท่านั้น

22 Rating Scale เป็นมาตรวัดระดับใด

(1) Nominal Scale

(2) Ordinal Scale

(3) Interval Scale

(4) Ratio Scale

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 130, (คําบรรยาย) Rating Scale เป็นมาตรวัดระดับ Ordinal Scale ที่ใช้ในการกําหนดค่าคะแนนให้กับข้อคําถามที่ใช้วัดตัวแปรตาง ๆ โดยมีคะแนนแตกต่างกันตามลักษณะของตัวแปร เช่น 3 5 7 9 หรือ 11 ดังนั้นการใช้ Rating Scale ผู้ให้คะแนนควรมีความรู้ในการให้คะแนนเป็นอย่างดี

23 เทคนิคการทดสอบสหสัมพันธ์เฉลี่ยระหว่างข้อ เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) การทดสอบทฤษฎี

(2) การทดสอบความแม่นตรงของมาตรวัด

(3) การทดสอบความเชื่อถือได้ของมาตรวัด

(4) ไม่มีข้อใดถูก

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 3 หน้า 135 136, (คําบรรยาย) เทคนิคการทดสอบความเชื่อถือได้ของมาตรวัด มีดังนี้

1 เทคนิคการทดสอบ (Test-Retest)

2 เทคนิคการทดสอบ แบบแบ่งครึ่ง (Split-Hal)

3 เทคนิคการทดสอบคู่ขนาน (Parallel Form)

4 เทคนิคการทดสอบ สหสัมพันธ์เฉลี่ยระหว่างข้อ (Average Inter Correlation)

24 Content Validity เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) การทดสอบทฤษฎี

(2) การทดสอบความแม่นตรงของมาตรวัด

(3) การทดสอบความเชื่อถือได้ของมาตรวัด

(4) ไม่มีข้อใดถูก

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 2 หน้า 139, (คําบรรยาย) Zeller & Cammines ได้จําแนกความแม่นตรงของมาตรวัด ออกเป็น 3 ประเภท คือ

1 ความแม่นตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity)

2 ความแม่นตรงที่สัมพันธ์กับมาตรฐาน (Criterion-Related Validity)

3 ความแม่นตรงเชิงโครงสร้าง (Construct Validity)

25 ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับคุณภาพของเครื่องมือวัด

(1) การทดสอบทฤษฎี

(2) การทดสอบความแม่นตรงของมาตรวัด

(3) การทดสอบความเชื่อถือได้ของมาตรวัด

(4) การมีความหมายของการวัด

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 135 – 136, 130 – 140, (คําบรรยาย) คุณภาพของเครื่องมือวัด มีเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้

1 ความเชื่อถือได้ (Reliability)

2 ความแม่นตรง (validity)

3 ความเป็นปรนัย (Objectivity)

4 ความแม่นยํา (Precision)

5 ความไวในการแบ่งแยก (Sensibility)

6 การมีความหมายของการวัด (Meaningfulness)

7 การนําเครื่องมือนั้นไปปฏิบัติได้ง่าย (Practicality)

8 การมีประสิทธิภาพสูง (Efficiency)

26 ข้อใดไม่ถูกต้อง

(1) ตัวแปรที่มีความซับซ้อนอาจใช้ดัชนีหลาย ๆ อันประกอบกัน

(2) การสร้างมาตรวัดต้องทําความเข้าใจประเภทของตัวแปร และระดับการวัดของตัวแปร

(3) มาตรวัดระดับสูงสามารถลดระดับลงมาเป็นระดับต่ำได้

(4) มาตรวัดระดับต่ําสามารถยกระดับให้สูงได้

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 129, (คําบรรยาย) ข้อสังเกตที่สําคัญของมาตรวัด คือ มาตรวัดระดับสูงนั้นสามารถลดระดับลงมาแบบต่ําได้ แต่มาตรวัดระดับต่ําไม่สามารถยกระดับให้สูงขึ้นได้

27 ท่านสามารถใกล้ชิดกับเกย์ได้เพียงใด

1 นั่งใกล้ ๆ ได้

2 กินข้าวร่วมกันได้

3 อยู่บ้านเดียวกันได้

4 นอนห้องเดียวกันได้

 

เป็นมาตรวัดประเภทใด

(1) Likert Scale

(2) Guttman Scale

(3) Semantic Differential Scale

(4) Rating Scale

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 132 Guttman Scale เป็นคําตอบในมิติเดียว โดยแต่ละคําถามจะถูกการกลั่นกรองและเรียงลําดับ ข้อที่ได้คะแนนสูงกว่าจะมีการสะสมข้อที่ได้คะแนนน้อยกว่า ตัวอย่างเช่น

คําถาม : ท่านสามารถใกล้ชิดกับเกย์ได้มากน้อยเพียงใด

คําตอบ : 1 นั่งใกล้ ๆ ได้ 2 กินข้าวร่วมกันได้ 3 อยู่บ้านเดียวกันได้ 4 นอนห้องเดียวกันได้

ถ้าตอบข้อ 1 ท่านสามารถทําข้อ 1 ได้เพียงข้อเดียว

ถ้าตอบข้อ 2 ท่านสามารถทําทั้งข้อ 1 และ 2 ได้

ถ้าตอบข้อ 3 ท่านสามารถทําทั้งข้อ 1, 2 และ 3 ได้

ถ้าตอบข้อ 4 ท่านสามารถทําได้ทุกข้อ

28 ความรู้สึกต่อชีวิตปัจจุบันของท่านเป็นอย่างไร

ชีวิตไร้ค่า …………… ชีวิตมีค่า

สิ้นหวัง ……………… มีความหวัง

เป็นมาตรวัดประเภทใด

(1) Likert Scale

(2) Guttman Scale

(3) Semantic Differential Scale

(4) Rating Scale

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 132 133 Semantic Differential Scale เป็นมาตรวัดที่พัฒนาขึ้นโดย Osgood และคณะเพื่อศึกษามิติของความแตกต่างโดยมาจากการตัดสินคําศัพท์คู่ที่ตรงกันข้าม โดยแต่ละแนวคิดจะ ปรากฏอยู่ตรงกันข้าม ภายใต้คะแนน 7-11 และให้ผู้ตอบตัดสินแนวคิด โดยเลือกช่วงที่เหมาะสม กับความรู้สึกมากที่สุด

29 การเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร โดยกําหนดประเด็นที่ต้องการศึกษา และทําการค้นคว้าหาข้อมูลจากหลักฐานเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นการวิจัยประเภทใด

(1) Survey Research

(2) Documentary Research

(3) Field Research

(4) Experimental Research

(5) Descriptive Research

ตอบ 2 หน้า 27, (คําบรรยาย การวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) เป็นการวิจัยแบบหนึ่งที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ หรือสื่อข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต โดย กําหนดประเด็นที่ต้อะการศึกษา และทําการค้นคว้าหาข้อมูล ซึ่งต้องใช้ทักษะด้านการอ่านมาก ที่สุดในการศึกษา จากหลักฐานเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น หนังสือพิมพ์ เอกสารราชการ หนังสือ ตํารา คลิป YouTube รวมไปถึงหลักฐาน/เอกสารทางประวัติศาสตร์ โบราณวัตถุและ สิ่งปรักหักพัง ศิลาจารึก เป็นต้น

30 ผู้วิจัยสามารถควบคุมตัวแปรต่าง ๆ โดยวิธีกําหนดกลุ่มควบคุมและกลุ่มเปรียบเทียบเพื่อให้การวิจัยมีความเชื่อถือได้สูง เป็นการวิจัยประเภทใด

(1) Survey Research

(2) Documentary Research

(3) Field Research

(4) Experimental Research

(5) Descriptive Research

ตอบ 4 หน้า 27, (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยสามารถควบคุมสิ่งแวดล้อมและตัวแปรต่าง ๆ โดยวิธีกําหนดกลุ่มควบคุมและกลุ่มเปรียบเทียบ เพื่อให้การวิจัยมีความเชื่อถือได้สูง ซึ่งวิธีการวิจัยในลักษณะนี้แทบจะไม่ค่อยได้นํามาใช้ในทางรัฐศาสตร์ แต่มักจะถูกนํามาใช้มากในทางศึกษาศาสตร์

31 การวิจัยโดยจัดทําแบบสอบถามไปยังกลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของหน่วยในการศึกษา เป็นการวิจัยประเภทใด

(1) Survey Research

(2) Documentary Research

(3) Field Research

(4) Experimental Research

(5) Descriptive Research

ตอบ 1 หน้า 28, (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงสํารวจ (Survey Research) เป็นการวิจัยเพื่อเก็บข้อมูลพื้นฐานในด้านต่าง ๆ โดยจัดทําแบบสอบถามไปยังกลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของหน่วยใน การศึกษา ซึ่งการวิจัยนี้จะไม่เน้นการอธิบายหรือวิเคราะห์ถึงสาเหตุของการเกิดขึ้นของข้อมูลแต่จะมุ่งเก็บข้อมูลที่เป็นรูปธรรมที่สังเกตเห็นได้ง่าย

32 การวิจัยที่ผู้วิจัยเลือกหมู่บ้านในหมู่บ้านหนึ่ง หรือพื้นที่ในพื้นที่หนึ่งเพื่อทําการศึกษา เพื่อให้เข้าใจในพื้นที่นั้น ๆเป็นการวิจัยประเภทใด

(1) Survey Research

(2) Documentary Research

(3) Field Research

(4) Experimental Research

(5) Descriptive Research

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การวิจัยสนาม (Field Research) เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยเลือกหมู่บ้านในหมู่บ้านหนึ่งหรือพื้นที่ในพื้นที่หนึ่งเพื่อทําการศึกษา เพื่อให้เข้าใจในพื้นที่นั้น ๆ โดยการวิจัยประเภทนี้มีข้อจํากัด อยู่ว่า ไม่สามารถนําม” ขยายผลในพื้นที่อื่นได้ เพราะผลการวิจัยเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละพื้นที่แต่มีข้อดีคือ เข้าใจตัวอย่างที่ศึกษาได้อย่างละเอียด ครอบคลุมในทุกประเด็นที่ต้องการศึกษา

33 การวิจัยเพื่อมุ่งหาข้อเท็จจริงใหม่ ๆ เท่านั้น ไม่ต้องการอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นการวิจัยประเภทใด

(1) Survey Research

(2) Documentary Research

(3) Field Research

(4) Experimental Research

(5) Descriptive Research

ตอบ 5 หน้า 26 – 27, (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) เป็นการวิจัยเพื่อมุ่งหาข้อเท็จจริงใหม่ ๆ เท่านั้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายว่าปรากฏการณ์ที่ศึกษานั้นเกิดขึ้นมาได้อย่างไร หรือมีปัจจัยอะไรที่ทําให้เกิด

34 ข้อใดที่การสุ่มตัวอย่างไม่สามารถเป็นตัวแทนประชากรทั้งหมดได้

(1) การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย

(2) การสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ

(3) การเลือกตัวอย่างแบบกําหนด โควตา

(4) การสุ่มตัวอย่างแบบแยกประเภทสุ่ม

(5) การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งเป็นกลุ่ม

ตอบ 3 หน้า 146, (คําบรรยาย) การกําหนดกลุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้หลักความน่าจะเป็น เป็นการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เจตนาใช้ความสะดวก หรือความสนใจของผู้วิจัยเป็นหลัก ซึ่งไม่สามารถ เป็นตัวแทนประชากรทั้งหมดได้ เช่น การเลือกตัวอย่างแบบกําหนดโควตา การเลือกตัวอย่าง โดยใช้ผู้เชียวชาญระบ การเลือกตัวอย่างแบบลูกโซ่ เป็นต้น

35 ข้อใดเป็นสถิติอนุมาน

(1) การแจกแจงความถี่

(2) การวัดการกระจาย

(3) การประมาณค่า

(4) ไม่มีข้อใดถูก

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 158 – 160 สถิติอนุมาน (Inferential Statistics) แบ่งออกเป็น 3 เทคนิคย่อย ได้แก่

1 การประมาณค่า

2 การทดสอบสมมุติฐาน

3 การกระจายของกลุ่มประชากร

36 ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของการทราบขอบข่ายและแนวทางของการศึกษารัฐศาสตร์ก่อนที่จะศึกษาถึงการวิจัยทางรัฐศาสตร์

(1) เพื่อให้ทราบว่ารัฐศาสตร์คืออะไร

(2) เพื่อช่วยในการกําหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย

(3) เพื่อช่วยให้เลือกวิธีการที่เหมาะสมได้

(4) เพื่อช่วยให้ประเมินจุดดีจุดด้อยของงานวิจัย

(5) เป็นทางลัดที่สามารถทําให้ทราบผลการวิจัยก่อนที่จะลงมือเก็บข้อมูลได้

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ประโยชน์ของการทราบขอบข่ายและแนวทางของการศึกษารัฐศาสตร์ก่อนที่จะ ศึกษาถึงการวิจัยทางรัฐศาสตร์ มีดังนี้

1 เพื่อให้ทราบว่ารัฐศาสตร์คืออะไร

2 เพื่อช่วยในการกําหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย

3 เพื่อช่วยให้เลือกวิธีการที่เหมาะสมได้

4 เพื่อช่วยให้บระเมินจุดดีจุดด้อยของงานวิจัย เป็นต้น

37 การศึกษารัฐศาสตร์แนวการวิเคราะห์เชิงสถาบันนิยมเน้นองค์ความรู้ใดมากที่สุด

(1) กฎหมาย

(2) ปรัชญา

(3) ชีววิทยา

(4) จิตวิทยา

(5) วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ

ตอบ 1 หน้า 60, (คําบรรยาย) แนวการวิเคราะห์แบบสถาบันนิยม (Institutionalism/Institutional Approach) เป็นการศึกษารัฐศาสตร์ที่เน้นหนักในเรื่องกฎหมายรัฐธรรมนูญ และอิทธิพลของ โครงสร้างทางการเมืองที่มีต่อการเมือง โดยเชื่อว่าโครงสร้างทางการเมืองหรือสถาบันทางการเมือง ต่าง ๆ เป็นตัวกําหนดพฤติกรรมของมนุษย์ นักรัฐศาสตร์สมัยใหม่แนวสถาบันนิยม ได้แก่

1 เฮอร์มัน ไฟเนอร์ (Herกาan Finer) ผู้เขียนงานเรื่อง The Theory and Practice of Modern Government

2 วูดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson) ผู้เขียนงานเรื่อง Congressional Government : A Study in American Politics เป็นต้น

38 นักรัฐศาสตร์คนใดเป็นคนกล่าวว่า “การเมืองคือการใช้อํานาจในการจัดสรรสิ่งที่มีคุณค่าในสังคม”

(1) Rousseau

(2) J.D.B. Miller

(3) William McKinley

(4) Harold Lasswell

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 5 (คําบรรยาย) David Easton กล่าวว่า “การเมืองคือการใช้อํานาจในการจัดสรรสิ่งที่มีคุณค่าในสังคม” โดยคําว่าคุณค่าในสังคมนั้นหมายถึง ทรัพยากรและผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่นํามาจัดสรรกัน เช่น อํานาจหน้าที่ ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เป็นต้น

39 ตัวเลือกข้อใดไม่ใช่ประเภทของ Approach ตามการจัดแบ่งของ Alan C. Isaak

(1) Behavioral Approach

(2) Group Approach

(3) Political Philosophy Approach

(4) Power Approach

(5) Communication Approach

ตอบ 3 (คําบรรยาย) Alan – Isaak แบ่งประเภทของแนวการวิเคราะห์หรือแนวทางการศึกษา (Approach) วิชารัฐศาสตร์ ออกเป็น 5 แนวทาง ได้แก่

1 Behavioral Approach

2 Group Approach

3 System Theory and Functional Analysis Approach

4 Communicatior Approach

5 Power Approach

40 Approach ใดที่มีลักษณะของการใช้ค่านิยมส่วนตัวของผู้ศึกษามากที่สุด

(1) Group Approach

(2) Political Philosophy Approach

(3) System Theory

(4) Developmental Approach

(5) Power Approach

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การศึกษาแนวปรัชญาการเมือง (Political Philosophy Approach) นับว่าเป็นแนวที่เก่าแก่ที่สุดของการศึกษาวิชารัฐศาสตร์ ซึ่งการศึกษาแนวนี้มีลักษณะเป็นการพรรณนาหรือ อธิบาย พร้อมทั้งมีการให้คําแนะนําหรือเสนอมาตรการเอาไว้ด้วย และยังเป็นการศึกษาแนวปทัสถาน (Normative) คือ มีลักษณะของการใช้ค่านิยมส่วนตัวของผู้ศึกษามากที่สุด

41 Positivism เป็นการศึกษาทางรัฐศาสตร์ โดยเน้นหนักในเรื่องอะไรต่อไปนี้มากที่สุด

(1) อธิบายกฎหมาย

(2) อธิบายโครงสร้างสถาบันทางการเมือง

(3) อธิบายปฏิสัมพันธ์ของกลุ่ม

(4) ศึกษาสิ่งที่แน่นอนและสามารถรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 92, (คําบรรยาย) ปฏิฐานนิยม (Positivism) ได้แก่ แนวคิดที่ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ หรือการวิจัยเชิงปริมาณเป็นเครื่องมือ โดยมีความเชื่อที่ว่าปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ สามารถอธิบายด้วยกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติ โดยเน้นศึกษาสิ่งที่แน่นอนและมนุษย์สามารถรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5

42 Talcott Parsons เกี่ยวข้องกับการศึกษาในลักษณะใดมากที่สุด

(1) เน้นศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์เท่านั้น

(2) เน้นการศึกษากลุ่มทางการเมือง

(3) ศึกษาทฤษฎีพัฒนาการทางการเมือง

(4) ศึกษาเชิงโครงสร้างหน้าที่

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) แนวการศึกษาเชิงโครงสร้างและหน้าที่ (Structural-Functional Approach)เป็นแนวการศึกษาที่มีวิวัฒนาการมาจากการวิเคราะห์เชิงสถาบัน โดยเริ่มขยายขอบเขตการ วิเคราะห์จากสถาบันที่เป็นทางการ และเป็นรูปธรรมมากไปสู่การวิเคราะห์สถาบันที่เป็นรูปธรรมน้อย นักวิชาการแนวนี้ ได้แก่ Talcott Parsons

43 Behaviorism เกี่ยวข้องกับตัวเลือกใดต่อไปนี้

(1) Charles Merriam

(2) Plato

(3) Aristotle

(4) 3.3. Rousseau

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 1 (คําบรรยาย) แนวการศึกษาเชิงพฤติกรรมหรือพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) หรือที่เรียกว่า“พฤติกรรมทางการเมือง” นั้นไม่ได้เป็นวิธีการศึกษาที่ครอบคลุมเฉพาะการกระทําทางการเมือง ของบุคคลที่แสดงออกให้เห็นเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงแรงจูงใจและทัศนะ ซึ่งจะช่วยแสดงให้เห็น ถึงเอกลักษณ์ทางการเมืองของบุคคล ตลอดจนข้อเรียกร้อง ความคาดหวัง ระบบความเชื่อ ค่านิยม และจุดมุ่งหมายทางการเมืองของบุคคลนั้น นักรัฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับแนวการศึกษานี้ Bruni Charles Merriam, G.E.G. Catlin wax William B. Munro

44 Approach ใดต่อไปนี้เป็นการศึกษารัฐศาสตร์ในยุค Classic

(1) Behaviorism

(2) Communication Approach

(3) Power Approach

(4) Developmental Approach

(5) Political Philosophy Approach

ตอบ 5 หน้า 14, (คําบรรยาย) ยุคคลาสสิค (Classical Period) เป็นยุคแรกเริ่มของการศึกษาการเมืองไม่มีการแยกสาขาของความรู้ โดยถือกําเนิดจากยุคกรีกซึ่งเกิดจากคําถามพื้นฐานของมนุษย์กับ รัฐและผู้มีอํานาจ เช่น ผู้นําที่ดีต้องมีคุณสมบัติอย่างไร การเมืองที่ดีควรจะเป็นอย่างไร ฯลฯ ซึ่ง ความเป็นสากลของคําถามพื้นฐานเหล่านี้สามารถตั้งคําถามชุดเดียวกันโดยไม่จํากัดกรอบเวลา หรือวัฒนธรรม แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถมีคําตอบได้หลากหลาย ดังนั้นการศึกษารัฐศาสตร์ในยุคนี้จึงมีลักษณะเป็นการศึกษาแนวปรัชญาการเมือง (Political Philosophy Approach)

45 ตัวเลือกใดเกี่ยวข้องกับยุคพฤติกรรมศาสตร์

(1) อธิบายเฉพาะสิ่งที่สามารถรับรู้ผ่านประสาทสัมผัส

(2) ใช้แต่เหตุผลเป็นหลัก

(3) ศึกษาปรากฏการณ์

(4) เน้นพรรณนาปรากฏการณ์

(5) เน้นทํานายปรากฏการณ์

ตอบ 5 หน้า 17, (คําบรรยาย) ยุคพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Period) เป็นยุคที่นําแนวคิดเกี่ยวกับจิตวิทยาตลอดจนสาขาความรู้ทางวิทยาศาสตร์แบบอื่น ๆ มาใช้ศึกษาการเมืองอย่างจริงจัง โดย จะเน้นทํานายปรากฏการณ์ทางการเมืองหรือพฤติกรรมทางการเมือง การตัดสินใจทางการเมือง ไม่เน้นพรรณนาบรรยายอย่างในยุคก่อนหน้า ซึ่งในยุคนี้รัฐศาสตร์ถูกเรียกว่า วิทยาศาสตร์การเมือง (Political Science)

46 การวิจัยเชิงเอกสารนั้นใช้ทักษะด้านใดมากที่สุด

(1) การสังเกต

(2) การสอบถาม

(3) การอ่านเอกสาร

(4) หลักฐานเชิงประจักษ์

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 29 ประกอบ

47 Explanation คืออะไร

(1) การทํานายถึงสิ่งที่กําลังจะเกิดขึ้น

(2) การอธิบายถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆ

(3) การคาดเดาสิ่งต่าง ๆ ล่วงหน้า

(4) การคาดคะเนตัวแปรต่าง ๆ

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 2 หน้า 94 จุดมุ่งหมายในการตั้งปัญหาเพื่ออธิบาย (Explanation) เป็นการกล่าวถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆ ที่เป็นเหตุและผลซึ่งกันและกัน โดยอธิบายว่าตัวแปรใดเป็นสาเหตุให้เกิดผล ตามที่มุ่งหวังไว้ เช่น การศึกษาปัญหาอุปสรรคในการพัฒนาระบบประชาธิปไตย ว่ามีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง เป็นต้น

48 ข้อใดไม่ผิดจรรยาบรรณของนักวิจัย

(1) คัดบางส่วนของงานวิจัยอื่น ๆ ประมาณ 80% มาเขียนในงานวิจัยตัวเองแต่มีการทําอ้างอิง

(2) เผยแพร่ข้อมูลในลักษณะเจาะจง หรือเป็นรายบุคคล

(3) เลือกที่จะนําเสนอข้อมูลเพื่อให้ผลออกมาตรงกับสมมุติฐาน

(4) ปรับผลงานวิจัยเพื่อจุดประสงค์ของนักวิจัยเอง

(5) ทุกข้อผิดจรรยาบรรณของนักวิจัย

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การกระทําที่ผิดจรรยาบรรณของนักวิจัย เช่น

1 คัดบางส่วนของงานวิจัยอื่น ๆ ประมาณ 80% มาเขียนในงานวิจัยตัวเองแต่มีการทําอ้างอิง

2 เผยแพร่ข้อมูลในล้าษณะเจาะจงบุคคลหรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง

3 เลือกที่จะนําเสนอข้อมูลเพื่อให้ผลออกมาตรงกับสมมุติฐาน

4 ปรับผลงานวิจัยเพื่อจุดประสงค์ของนักวิจัยเอง เป็นต้น

49 ข้อใดไม่ใช่ชนิดของเอกสารการวิจัย

(1) หนังสือ

(2) ตํารา

(3) บทความที่ลงในวารสาร

(4) ข้อ 1 กับข้อ 2 ไม่ใช่ชนิดของเอกสารการวิจัย

(5) ข้อ1, 2, 3 ไม่ใช่ชนิดของเอกสารการวิจัย

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ชนิดของเอกสารการวิจัย มีอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้

1 รายงานการวิจัยทั่วไป

2 วิทยานิพนธ์

3 บทความที่ลงในวารสาร

4 บทความที่ลงในหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนชนิดอื่น เช่น วิทยุและโทรทัศน์ เป็นต้น

50 ข้อใดไม่ใช่ข้อจํากัดของการวิจัยในทางรัฐศาสตร์

(1) เปลี่ยนแปลงตามสภาพแวดล้อม

(2) มีความซับซ้อนเกินกว่าจะทํานายได้

(3) ไม่สามารถศึกษาประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมืองของมนุษย์ได้

(4) ไม่สามารถทดลองในห้องปฏิบัติการได้

(5) ทุกข้อคือข้อจํากัดของการวิจัยแบบสมัยใหม่

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ข้อจํากัดของการวิจัยในทางรัฐศาสตร์ ได้แก่

1 พฤติกรรมมนุษย์มีลักษณะไม่คงที่ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตามสภาพแวดล้อม

2 พฤติกรรมมนุษย์มีความซับซ้อนเกินกว่าจะทํานายได้

3 ไม่สามารถนําเอามนุษย์มาทดลองในห้องปฏิบัติการได้

4 การสัมภาษณ์จากมนุษย์เชื่อถือไม่ได้ ฯลฯ

51 ข้อใดเป็นจุดมุ่งหมายของการศึกษาวิจัยทางรัฐศาสตร์แบบพฤติกรรมศาสตร์

(1) พรรณนากิจกรรมทางการเมือง

(2) ทํานายพฤติกรรมทางการเมือง

(3) ให้คําแนะนําแก่ผู้บริหารหรือนักการเมืองในการกําหนดนโยบาย

(4) อธิบายกิจกรรมทางการเมือง

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) จุดมุ่งหมายของการศึกษาวิจัยทางรัฐศาสตร์แบบพฤติกรรมศาสตร์ คือ

1 เพื่อพรรณนาและอธิบายกิจกรรมต่าง ๆ ทางการเมือง

2 เพื่อทํานาย / คาดคะเนพฤติกรรมหรือกิจกรรมทางการเมือง

3 เพื่อให้คําแนะนําแก่ผู้บริหาร นักการเมืองและบุคคลอื่น ๆ ในการตัดสินใจการกําหนดนโยบาย และในการปฏิบัติงาน

52 ขั้นตอนแรกสุดของการเริ่มทําการวิจัยคืออะไร

(1) ตั้งสมมุติฐาน

(2) สังเกต

(3) กําหนดชื่อเรื่อง

(4) สอบถามจากผู้รู้ในประเด็นที่เป็นปัญหา

(5) พิจารณาทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

ตอบ 2 หน้า 8 – 9, (คําบรรยาย) การสังเกตและระบุปัญหา (Observation and Problem Identification/Problem Statement) เป็นขั้นตอนแรกสุดของการเริ่มต้นทําการวิจัย โดย ผู้วิจัยจะสังเกตและตั้งคําถามเกี่ยวกับสิ่งรอบ ๆ ตัว หรือปรากฏการณ์ใดปรากฏการณ์หนึ่งที่ นักวิจัยประสบปัญหาอุปสรรคในสภาพแวดล้อมอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเมื่อพบปัญหาพวกเขาจะ คิดไตร่ตรองว่าปัญหาเกิดขึ้นมาได้อย่างไร และรู้สึกคับข้องใจจนต้องการที่จะหาคําตอบว่าสาเหตุที่มาและสิ่งที่เกิดขึ้นต่อไปในอนาคตจะเป็นเช่นไร

53 การตั้งสมมุติฐาน คืออะไร

(1) การใช้ตาดูปรากฏการณ์ต่าง ๆ

(2) การพิจารณาจากเอกสาร

(3) การลงไปเก็บข้อมูลแบบมีส่วนร่วม

(4) การพิจารณาสิ่งต่าง ๆ รอบตัวโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า

(5) การคาดเดาคําตอบเพื่อเป็นแนวทางในการหาข้อมูล

ตอบ 5 หน้า 9, 90, (คําบรรยาย) การตั้งสมมุติฐาน (Hypothesis) คือ การคาดเดาคําตอบไว้ล่วงหน้าเพื่อเป็นแนวทางในการหาข้อมูลหรือเป็นการตีกรอบในการศึกษา และเป็นการนําทางในการ ค้นหาคําตอบของตัวผู้วิจัยเองในเบื้องต้น ทั้งนี้จะต้องอาศัยเหตุผลหรือประสบการณ์หรือความรู้เท่าที่ตนมี หรืออาจจะนํามาจากทฤษฎีที่นักวิจัยก่อนหน้าใช้อธิบาย ซึ่งในการวิจัยเชิงคุณภาพ อาจจะมีหรือไม่มีสมมุติฐานก็ได้ นอกจากนี้สมมุติฐานที่ดีจะต้องเขียนได้ชัดเจนสัมพันธ์กับเรื่อง และคําถามการวิจัยหรือปัญหาการวิจัย เช่น

คําถามการวิจัย : ทําไมน้ำจึงท่วมในเขตกรุงเทพมหานครง่ายมาก

สมมุติฐาน : พื้นที่ของกรุงเทพมหานครต่ำกว่าระดับน้ำทะเล น้ำจึงท่วมง่ายมาก เป็นต้น

54 ตัวเลือกใดอยู่ในขั้นตอนของการวางแผนการวิจัย

(1) เลือกวิธีการเก็บข้อมูล

(2) เก็บรวบรวมข้อมูล

(3) แปลความหมายข้อมูล

(4) วิเคราะห์ข้อมูล

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ขั้นตอนของการวางแผนการวิจัย ได้แก่

1 การกําหนดชื่อเรื่อง ปัญหา และจุดมุ่งหมายของการวิจัย

2 การกําหนดสมมุติฐานการวิจัย

3 การกําหนดและนิยามตัวแปร

4 การเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างคร่าว ๆ

5 การกําหนดวิธีการวิจัยหรือการออกแบบการวิจัย (เลือกใช้วิธีการวิจัย เครื่องมือและวิธีการเก็บข้อมูล, กําหนดวิธีการเลือกตัวอย่าง ฯลฯ)

6 การแก้ไขปรับปรุงแบบแผนการวิจัย หรือโครงการเสนอเพื่อการวิจัยหรือโครงการวิจัย

55 สิ่งใดสําคัญที่สุดสําหรับ Documentary Research

(1) การทําสําเนาเอกสารที่ใช้ทั้งหมดทุกชิ้น

(2) ปริมาณของเอกสารที่จําเป็นต้องอ่านเพื่อให้ครอบคลุมกับปัญหา

(3) จัดลําดับความสําคัญด้วยการบันทึกเป็นลายมือเท่านั้น

(4) อ่านเอกสารให้ได้มากที่สุด

(5) ต้องมีการอ้างอิงทุกครั้ง

ตอบ 5 (คําบรรยาย) สิ่งสําคัญที่สุดสําหรับการทําวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) ก็คือ ถ้ามีการนําข้อความหรือข้อเขียนของบุคคลอื่นมาใช้อ้างอิงในงานวิจัยของตนเองเกิน 3 ประโยคขึ้นไป ผู้วิจัยจะต้องมีการอ้างอิงทุกครั้ง โดยระบุแหล่งที่มาของเอกสารหรือสิ่งพิมพ์เหล่านั้นว่า มีที่มาจากไหน ใครเป็นผู้เขียน เพื่อให้มีความน่าเชื่อถือและเป็นการให้เกียรติแก่เจ้าของผลงาน ที่เขาได้ทําเอาไว้ก่อนแล้ว

ตั้งแต่ข้อ 56 – 66 จงเลือกคําตอบต่อไปนี้ไปตอบในแต่ละข้อโดยให้มีความสัมพันธ์กับโจทย์คําถาม

(1) Unit of Analysis

(2) Independent Variable

(3) Dependent Variable

(4) Intervening Variable

(5) Qualitative Research

 

56 ตัวแปรแทรกซ้อน

ตอบ 4 หน้า 111, (คําบรรยาย) ตัวแปรแทรกซ้อน (Intervening Variable) เป็นตัวแปรประเภทหนึ่งที่จะอยู่ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม ซึ่งเป็นตัวแปรที่ไม่ต้องการศึกษา แต่มีอิทธิพลต่อ ตัวแปรที่ทําการศึกษาโดยผู้วิจัยไม่ทราบล่วงหน้า และไม่ปรารถนาให้เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จิตใจของมนุษย์ หรือสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปมาจนยากแก่การควบคุม

57 เป็นความสัมพันธ์ตั้งต้นที่ก่อให้เกิดผล

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

58 หน่วยในการวิเคราะห์

ตอบ 1 หน้า 141 – 142, (คําบรรยาย) หน่วยในการวิเคราะห์ (Unit of Analysis) หมายถึง หน่วยของสิ่งที่นักวิจัยนําลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่ง ๆ นั้นมาวิเคราะห์ ซึ่งอาจแบ่งเป็น 6 ระดับ คือ

1 ระดับปัจเจกบุคคล (เช่น เพศ อายุ การศึกษา)

2 ระดับกลุ่ม (เช่น รายได้เฉลี่ย อายุเฉลี่ย)

3 ระดับองค์การ (เช่น บริษัท สํานักงาน มหาวิทยาลัย)

4 ระดับสถาบัน (เช่น สถาบันการเมือง สถาบันครอบครัว)

5 ระดับพื้นที่ (เช่น ผ้าบล อําเภอ จังหวัด)

6 ระดับสังคม (เช่น ประเทศ) ดังนั้นเวลาต้องการจะเปรียบเทียบจะต้องเลือกหน่วยที่จะศึกษาให้เป็นแบบเดียวกัน นั่นคือ ไม่สามารถกระทําข้ามหน่วยหรือคนละหน่วยกันได้

59 มักใช้สัญลักษณ์แทนเป็นตัวอักษร Y โดยสิ่งนี้มันจะเป็นผลของสาเหตุ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

60 ไม่สามารถกระทําข้ามหน่วยหรือคนละหน่วยกันได้

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 58 ประกอบ

61 ผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิประเทศ ผลกระทบนี้คือตัวแปรประเภทใด

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

62 เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงตามอิทธิพลของสิ่งอื่น ๆ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

63 ตัวแปรอิสระ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

64 จิตใจของมนุษย์ หรือสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปมาจนยากแก่การควบคุม

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 56 ประกอบ

65 การวิจัยเชิงเอกสาร

ตอบ 5 หน้า 28 (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) คือ การจัยที่มีคุณภาพดีและไม่เน้นจํานวนหรือปริมาณ ซึ่งความหมายของข้อมูลในที่นี้ก็คือ ข้อมูลที่ไม่ได้วัดออกมาเป็น ตัวเลข การวิจัยในลักษณะดังกล่าวนั้นมีความสัมพันธ์กับการเก็บข้อมูลโดยการล้วงความลับหรือ การตะล่อมกล่อมเกลา (Probe) รวมทั้งการวิจัยเชิงเอกสาร เช่น การศึกษาความคิดทางการเมือง ของนักการเมือง โดยผู้วิจัยได้ทําการศึกษาความคิดทางการเมืองของนักการเมือง ผ่านเอกสารที่บันทึกคําสัมภาษณ์ของเขา ซึ่งได้แก่ หนังสือพิมพ์ บทความในนิตยสาร เป็นต้น

66 Probe

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 65 ประกอบ

67 – 76 จงเลือกคําตอบต่อไปนี้ไปตอบในแต่ละข้อโดยให้มีความสัมพันธ์กับโจทย์คําถาม

(1) Research Question

(2) Research Title

(3) Hypothesis

(4) Approach

(5) Conceptual Framework

 

67 สมมุติฐาน

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 53 ประกอบ

68 ห้ามตั้งในลักษณะปลายปิด

ตอบ 1 หน้า 63 – 64, (คําบรรยาย) คําถามการวิจัย (Research Question) หมายถึง อําถามที่ต้องการหาคําตอบจากปรากฏการณ์ที่นํามาศึกษาวิจัย โดยจะต้องเป็นคําถามที่ยังไม่มีคําตอบ หรือเป็นคําถามที่ไม่สามารถหาคําตอบได้โดยง่าย หรือมีคําตอบแต่ยังไม่ชัดเจน ใช้คําถามปลายเปิดเป็น ส่วนใหญ่ ไม่ควรตั้งในลักษณะปลายปิด และจะต้องเป็นคําถามที่น่าสนใจที่จะหาคําตอบด้วย ซึ่งคําถามในการวิจัยนั้นมีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่

1 คําถามประเภท “อะไร” เช่น ทฤษฎีในการพัฒนาเศรษฐกิจมีกี่ประเภท อะไรบ้าง ฯลฯ

2 คําถามประเภท “ทําไม” เช่น ทําไมน้ำจึงท่วมในเขตกรุงเทพมหานครง่ายมาก ฯลฯ

3 คําถามประเภท “อย่างไร” เช่น ประเทศไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ได้อย่างไร ฯลฯ

69 เนื่องจากพื้นที่ของกรุงเทพต่ำกว่าระดับน้ำทะเล น้ำจึงท่วมง่ายมาก

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 53 ประกอบ

70 นโยบายจํานําข้าวในช่วงรัฐบาลยิ่งลักษณ์

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ชื่อเรื่องในการวิจัย (Research Title) หมายถึง หัวข้อเรื่องที่ผู้วิจัยจะทําการ – ศึกษาวิจัย มักจะมาจากคําถามหรือปัญหาในการวิจัย ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องกินใจความและสาระสําคัญทั้งหมดของการวิจัย โดยการเขียนชื่อเรื่องจะไม่เขียนเป็นประโยค ไม่ว่าจะเป็นประโยคบอกเล่า หรือประโยคคําถาม แต่จะเขียนเป็นวลี และจะไม่ใช้ตัวย่อในการเขียนชื่อเรื่อง เช่น ความรู้ความ เข้าใจของคนรากหญ้าที่มีต่อระบอบประชาธิปไตย, นโยบายจํานําข้าวในช่วงรัฐบาลยิ่งลักษณ์,บทบาทของมหาวิทยาลัยรามคําแหงในการพัฒนาประชาธิปไตย เป็นต้น

71 เป็นสิ่งที่ต้องกินใจความและสาระสําคัญทั้งหมดของการวิจัย

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 70 ประกอบ

72 Rational Choice Theory

ตอบ 4 หน้า 53, 55, (คําบรรยาย) แนวการวิเคราะห์ (Approach) หมายถึง กรอบหรือเค้าโครงทางความคิดอย่างกว้าง ๆ อันเป็นพื้นฐานในการพรรณนาความหรือการอธิบายหรือการวิเคราะ ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นการเฉพาะ โดยใน Approach หนึ่ง ๆ จะประกอบไปด้วยสมมุติฐานเบื้องต้น เกี่ยวกับการเมืองในเรื่องนั้นๆ ตลอดจนทฤษฎีต่าง ๆ จํานวนมาก รวมถึงแนวทางในการศึกษาเรื่อง นั้น ๆ เช่น ทฤษฎีเกม (Game Theory), ทฤษฎีการตัดสินใจเลือกอย่างมีเหตุมีผล (Rational Choice Theory), ทฤษฎีระบบ (System Theory), แนวการวิเคราะห์เชิงโครงสร้าง (Structural Approach) เป็นต้น

73 ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ที่ใช้อธิบายในงานวิจัยนั้น

ตอบ 5 หน้า 69 70, (คําบรรยาย) กรอบแนวคิดการวิจัย (Conceptual Framework) เป็นขั้นตอนของการนําเอาประเด็นที่ต้องการทําวิจัยมาเชื่อมโยงกับแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในรูปของคําบรรยาย แบบจําลองแผนภาพ และเป็นการสรุปความคิดรวบยอดของผู้ทําวิจัยเพื่อชี้ให้เห็นว่าการวิจัยจะมีรูปแบบและทิศทางใด ตลอดจนมีลักษณะที่เป็นการสรุปภาพรวมทั้งหมด พร้อมชี้ให้เห็นว่าตัวแปรต่าง ๆ ที่ใช้อธิบายในงานวิจัยนั้นมีความสัมพันธ์ระหว่างกันอย่างไร

74 ในการวิจัยคุณภาพอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 53 ประกอบ

75 ทําไมน้ำจึงท่วมในเขตกรุงเทพมหานครง่ายมาก

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 68 ประกอบ

76 Structural Approach

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 72 ประกอบ

 

ตั้งแต่ข้อ 77 – 86 จงเลือกคําตอบต่อไปนี้ไปตอบในแต่ละข้อโดยให้มีความสัมพันธ์กับโจทย์คําถาม

(1) Population

(2) Sample

(3) Documentary Research

(4) Questionnaire

(5) Structured Interview

 

77 แบบสอบถามที่นําไปแจกเพื่อให้ครบจํานวน

ตอบ 4 หน้า 72 – 73, (คําบรยาย) แบบสอบถาม (Questionnaire) ถือเป็นเครื่องมือที่สําคัญและนิยมใช้กันมากในการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยเฉพาะการวิจัยเชิงสํารวจ (Survey Research) และเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการสํารวจผู้ให้ข้อมูลที่มีเป็นจํานวนมาก ซึ่งมักจะนําไปใช้เก็บข้อมูลจากกลุ่มประชากรหรือกลุ่มตัวอย่างในเรื่องต่าง ๆ เช่น เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ ความคิดเห็น ความนิยม ความพึงพอใจ ทัศนคติหรือเจตคติ เป็นต้น โดยผู้ให้ข้อมูลจะเป็นผู้ตอบข้อคําถามหรือเป็นผู้กรอกข้อมูลเองในแบบสอบถามด้วยตนเอง ซึ่งชนิดของแบบสอบถามนั้นมีทั้งแบบปลายปิด (Close-Ended Questionnaire) และแบบปลายเปิด (Open-Ended Questionnaire)

78 การอ่านจากศิลาจารึก

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 29 ประกอบ

79 การใช้สูตรคํานวณเพื่อหาตัวแทน

ตอบ 2 หน้า 144 – 146, (คําบรรยาย) กลุ่มตัวอย่าง (Sample) หมายถึง กลุ่มย่อยของประชากรที่ผู้วิจัยเลือกมาใช้ในการศึกษา โดยผู้วิจัยจะต้องทําการเลือกหรือการสุ่มตัวอย่าง (Sampling) เพื่อ ให้ได้มาซึ่งตัวแทนที่ดีของประชากรทั้งหมด ดังนั้นจึงต้องอาศัยเทคนิควิธีการสมตัวอย่างและ ขนาดของตัวอย่างเพื่อหาตัวแทนของประชากร เช่น การใช้สูตรคํานวณของทาโร ยามาเน่ (Taro Yamane), การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งเป็นกลุ่ม (Cluster), การสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ (Systematic), การเลือกตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental) ฯลฯ

80 เป็นสิ่งที่ผู้ให้ข้อมูลจะต้องกรอกเอง

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 77 ประกอบ

81 Cluster, Systematic, Accidental ฯลฯ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 79 ประกอบ

82 มีการกําหนดคําถามไว้ก่อน

ตอบ 5 หน้า 72 (คําบรรยาย) การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) เป็นวิธีการสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยมีการกําหนดคําถามไว้ก่อนอย่างชัดเจนในแบบสัมภาษณ์ (Interview Form) โดยจัดทํารายละเอียดเหมือนแบบสอบถาม แต่จะถามโดยผู้สัมภาษณ์ ซึ่งผู้สัมภาษณ์ / ผู้ถามจะถามข้อมูลตามสิ่งที่กําหนด สิ่งที่นอกเหนือจะไม่สนใจ และจะต้องจดคําตอบด้วยตนเอง

83 เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสํารวจผู้ให้ข้อมูลที่มีเป็นจํานวนมาก

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 77 ประกอบ

84 ผู้ถามจะถามข้อมูลตามสิ่งที่กําหนด สิ่งที่นอกเหนือจะไม่สนใจ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 82 ประกอบ

85 จํานวน นศ. ทั้งหมดของรามคําแหง

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ประชากร (Population) หมายถึง กลุ่มของสิ่งต่าง ๆ ที่สมาชิกทุกหน่วยของสิ่งนั้นเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ผู้วิจัยต้องการศึกษา เช่น จํานวนนักศึกษาทั้งหมดของมหาวิทยาลัยรามคําแหง, ชาวนาทั้งหมดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นต้น

86 มีทั้งแบบปลายปิดและปลายเปิด

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 77 ประกอบ

87 ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถึงกระบวนการ “วิจัย” ได้อย่างเหมาะสม

(1) วิธีการค้นคว้าด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลทางสถิติ

(2) วิธีการค้นคว้าด้วยการเก็บรวบรวม

(3) กระบวนการค้นหาคําตอบด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์

(4) กระบวนการค้นหาคําตอบด้วยวิธีการคาดการณ์ล่วงหน้า

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 3 หน้า 181, (คําบรรยาย) กระบวนการ “วิจัย” หมายถึง วิธีการ ขั้นตอน และกระบวนการค้นหาคําตอบของปัญหาใดปัญหาหนึ่งอย่างเป็นระบบด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์

88 คําสําคัญ (Key words) ในข้อใดต่อไปนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการเขียนรายงานการวิจัย

(1) นวัตกรรม

(2) ลิขสิทธิ์

(3) สิทธิบัตร

(4) ข้อค้นพบ

(5) เศรษฐกิจ

ตอบ 5 หน้า 181 การเขียนรายงานการวิจัย มีความสําคัญในการเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้ทราบว่ามี “นวัตกรรม”หรือ “ข้อค้นพบ” ใหม่ในวงวิชาการ ส่งเสริมให้เกิดการนําไปใช้ประโยชน์ได้มากกว่าการทําวิจัย แล้วมีคนเพียงจํานวนเดียวเท่านั้นที่ทราบในเนื้อหาของการวิจัยนั้น และเป็นการบอกเล่าให้ผู้อ่าน ทราบว่าปัญหานั้นได้มีผู้ศึกษาอยู่แล้ว ตลอดจนเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเป็นเจ้าของใน “ลิขสิทธิ์” ของวรรณกรรม หรือ สิทธิบัตร” ในสิ่งประดิษฐ์นั้น ๆ ได้

89 ข้อใดต่อไปนี้อธิบายส่วนประกอบของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ได้อย่างเหมาะสม

(1) คํานํา – สารบัญ เนื้อเรื่อง

(2) คํานํา – เนื้อเรื่อง บทสรุป

(3) ตอนต้น – ตอนกลาง – บทสรุป

(4) ตอนต้น – เนื้อเรื่อง – ตอนท้าย

(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 4 หน้า 182 รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ

1 ส่วนประกอบตอนต้น

2 ส่วนเนื้อเรื่อง

3 ส่วนประกอบตอนท้าย

90 การให้เกียรติและแสดงความขอบคุณผู้ที่มีส่วนช่วยเหลืองานวิจัย ปรากฏในส่วนใดต่อไปนี้

(1) จดหมายขอบคุณ

(2) กิตติกรรมประกาศ

(3) ประกาศนียบัตร

(4) บรรณานุกรม

(5) บทคัดย่อ

ตอบ 2 หน้า 183, 208 209 กิตติกรรมประกาศ เป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่สําคัญซึ่งอยู่ในส่วนประกอบตอนต้นของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ งานวิจัยบางฉบับอาจเรียกส่วนนี้ว่าเป็น “ประกาศคุณูปการ” โดยใช้ภาษาอังกฤษคําว่า “Acknowledgement” ซึ่งผู้วิจัยส่วนใหญ่มัก ใช้พื้นที่ในส่วนนี้เพื่อเป็นการให้เกียรติและแสดงความขอบคุณผู้ที่มีส่วนช่วยเหลือ หรือผลักดัน ให้งานวิจัยสําเร็จลุล่วงไปได้ ไม่ว่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญที่ให้คําแนะนํา หน่วยงานต้นสังกัดหรือผู้ให้ทุนวิจัย

91 คําว่า “ขนมชั้น” ในงานวิจัย มีความหมายว่าอย่างไร

(1) ข้อค้นพบที่ได้เป็นของใหม่ที่ไม่มีใครค้นพบมาก่อน

(2) ข้อค้นพบที่ได้เป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการ

(3) ผลการศึกษาเป็นไปในเชิงบวก

(4) การเรียงรายขอเอกสารต่อกันไปเรื่อย ๆ

(5) ระเบียบวิธีการวิจัยง่ายต่อการนําไปใช้

ตอบ 4 หน้า 184, (คําบรรยาย) “ขนมชั้น” ในงานวิจัย หมายถึง การเรียงเอกสารงานวิจัยตามรายชื่อ หรือปีที่มีการเผยแพรต่อกันไปเรื่อย ๆ

92 ระบบเอพีเอ (American Psychological Association : AFA) หมายถึงสิ่งใดต่อไปนี้

(1) การอ้างอิง

(2) การเขียนรายงานการวิจัย

(3) ภาคผนวก

(4) การสํารวจวรรณกรรม

(5) การอภิปรายผล

ตอบ 1 หน้า 86 ระบบการอ้างอิงในปัจจุบันที่ได้รับความนิยมในงานวิจัย หรืองานวิชาการในสาย สังคมศาสตร์ ได้แก่ การอ้างอิงระบบเอพีเอ (American Psychological Association : APA) และการอ้างอิงระบบหูราเบียน (Turabian)

93 ข้อใดต่อไปนี้ไม่จําเป็นต้องระบุลงไปในประวัติย่อผู้วิจัย

(1) ชื่อ – สกุล

(2) ประวัติการศึกษา

(3) อาชีพและตําแหน่ง

(4) อีเมลที่สามารถติดต่อได้

(5) กิจกรรมในเวลาว่าง

ตอบ 5 หน้า 86 ประวัติย่อผู้วิจัย (Vitae) เป็นส่วนที่แสดงให้เห็นถึงประวัติของนักวิจัย / คณะผู้วิจัย เพื่อให้ผู้อ่านเห็นข้อมูลพื้นฐานของคณะผู้วิจัยได้ และทําให้ผู้อ่านเกิดความเชื่อมั่น โดยทั่วไปแล้ว รายละเอียดของประวัติย่อผู้วิจัยมักประกอบไปด้วย ชื่อ – สกุล ประวัติการศึกษา อาชีพ ตําแหน่ง สถานที่ทํางาน สาขาที่เชี่ยวชาญ สถานที่สามารถติดต่อได้ อีเมล เบอร์โทรศัพท์ ประสบการณ์ เกี่ยวกับการวิจัย เป็นต้น

94 ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index : TCI) จัดประเภทวารสารไว้กี่กลุ่ม

(1) 2 กลุ่ม

(2) 3 กลุ่ม

(3) 4 กลุ่ม

(4) 5 กลุ่ม

(5) ขึ้นกับปีที่ประกาศในแต่ละรอบ

ตอบ 2 หน้า 188 189 ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index : TCI) ได้จัดประเภทวารสารไว้ 3 กลุ่ม (ข้อมูล ณ วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2560) คือ

1 วารสารที่ผ่านการรับรองคุณภาพของ TCI และอยู่ในฐานข้อมูล TCI และจะถูกคัดเลือกเข้าสู่ฐานข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI) ต่อไป

2 วารสารที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงคุณภาพ และอยู่ในฐานข้อมูล TCI

3 วารสารที่ไม่ผ่านการรับรองคุณภาพ และอาจไม่ปรากฏอยู่ในฐานข้อมูล TCI ในอนาคต

95 “วารสารเอเชียพิจาร” เป็นวารสารที่สังกัดสถาบันใด

(1) คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง

(2) คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทเยาลัย

(3) คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

(4) สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยรามคําแหง

(5) สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ตอบ 1 หน้า 189 190 ตัวอย่างวารสารทางวิชาการของมหาวิทยาลัยรามคําแหง เช่น

1 “วารสารวิจัยรามคําแหง ฉบับมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์” ของสถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยรามคําแหง

2 “วารสารวิจัยรามคําแหง ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” ของสถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยรามคําแหง

3 “วารสารเอเชียพิจาร” ของศูนย์ศึกษาเอเชีย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เป็นต้น

96 การนําเสนอแผนงานของโครงการวิจัยที่จะดําเนินการต่อไป มักปรากฏในแผนภูมิประเภทใด

(1) Pie Chart

(2) Line Chart

(3) Gantt’s Chart

(4) Bar Chart in

(5) Radar Chart

ตอบ 3 หน้า 191, (คําบรรยาย) การนําเสนอแผนงานของโครงการวิจัยที่จะดําเนินการต่อไป มักปรากฏในรูปแผนภูมิแกนต์ (Gantt’s Chart) ซึ่งจะแสดงข้อมูลรายละเอียดของกิจกรรม ระยะเวลา และช่วงเวลาได้อย่างเหมาะสม โดยข้อมูลดังกล่าวนี้มีความสําคัญต่อการทําให้ผู้ให้ทุนเห็นแผนงาน ที่ผู้วิจัยจะดําเนินการต่อไป ในขณะเดียวกัน ผู้วิจัยก็สามารถวางแผนการดําเนินงานต่อไปได้อย่างเป็นระบบ

97 คําว่า “Interim Report” หมายถึงข้อใดต่อไปนี้

(1) การรายงานผลการวิจัยเบื้องต้น

(2) การรายงานความก้าวหน้าของงานวิจัย

(3) การรายงานผลการวิจัยขั้นสุดท้าย

(4) โครงร่างของการวิจัย

(5) การนําเสนองานวิจัยในที่สาธารณะ

ตอบ 2 หน้า 191 – 192 การรายงานความก้าวหน้าของงานวิจัย (Interim Report) หมายถึง รายงานที่จัดทําขึ้นภายหลังจากที่ได้ดําเนินการวิจัยไปแล้วระยะหนึ่งตามที่ผู้วิจัยได้ทําการตกลงหรือทํา สัญญาไว้กับผู้ให้ทุน โดยทั่วไปแล้ว รายงานความก้าวหน้ามักรายงานในช่วงระยะเวลาร้อยละ 50 ของระยะเวลาตามสัญญา เช่น ถ้าเป็นงานวิจัย 1 ปี ก็จะรายงานในช่วง 6 เดือน เป็นต้น

98 วัตถุประสงค์ของการวิจัยเปรียบได้กับสิ่งใดต่อไปนี้

(1) แผนที่

(2) มูลเหตุ

(3) สัญญา

(4) หลักฐาน

(5) การนําไปใช้ประโยชน์

ตอบ 3 หน้า 194 วัตถุประสงค์ของการวิจัย เป็นการอธิบายที่ต้องการบอกเป้าหมายหรือความต้องการของงานวิจัยว่า ผู้วิจัยต้องการทราบอะไรเพื่อใช้เป็นแนวทางในการออกแบบการวิจัยที่มีความเหมาะสมต่อไป หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ วัตถุประสงค์ของการวิจัยเปรียบได้กับ “สัญญา”ที่ผู้วิจัยได้กระทําไว้ว่าผู้อ่านจะได้รับทราบข้อมูลเหล่านั้นในรายงานการวิจัยฉบับนี้ก็ได้

99 ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่วัตถุประสงค์ที่มีลักษณะ “SMART”

(1) ความเรียบง่าย

(2) ความเหมาะสม

(3) การบรรลุและทําได้จริง

(4) ความสมเหตุสมผล

(5) การคํานึงถึงระยะเวลา

ตอบ 1 หน้า 195 วัตถุประสงค์ที่มีลักษณะ “SMART” ประกอบด้วย ความเหมาะสม (Sensible : S), การวัดและตรวจสอบได้ (Measurable : M), การบรรลุและทําได้จริง (Attainable : A), ความสมเหตุสมผล (Reasonable : R) และการคํานึงถึงระยะเวลาที่เหมาะสม (Time : T)

100 “การทําให้ผู้อ่านทราบถึงปัญหาความคลาดเคลื่อน (Error) ในช่วงระหว่างการวิจัย โดยที่ผู้วิจัยไม่สามารถควบคุมหรือหลีกเลี่ยงปัจจัยดังกล่าวได้ จนกระทั่งอาจสงผลต่อผลการศึกษาหรือข้อค้นพบของงานวิจัยนั้น…” สัมพันธ์กับข้อใดต่อไปนี้มากที่สุด

(1) วัตถุประสงค์ของงานวิจัย

(2) ขอบเขตการวิจัย

(3) ข้อตกลงเบื้องต้น

(4) ข้อจํากัดของการวิจัย

(5) นิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย

ตอบ 4 หน้า 196 ข้อจํากัดของการวิจัย เป็นการทําให้ผู้อ่านทราบถึงปัญหาความคลาดเคลื่อน (Error) ในช่วงระหว่างการวิจัย โดยที่ผู้วิจัยไม่สามารถควบคุมหรือหลีกเลี่ยงปัจจัยดังกล่าวได้ จนกระทั่ง อาจส่งผลต่อผลการศึกษาหรือข้อค้นพบของงานวิจัยนั้น

Advertisement