การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา LIS 1003 การใช้ห้องสมุด

Advertisement

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 60 ข้อ)

1 “โฆษณายาลดความอ้วน” จัดอยู่ในกลุ่มใด

(1) ข้อมูล

(2) ความรู้

(3) ปัญญา

(4) สารสนเทศ

ตอบ 1 หน้า 3, 5, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 3), (คําบรรยาย) ความหมายของคําว่า “ข้อมูล”และ “สารสนเทศ” มีดังนี้

1 ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อมูลดิบหรือข้อเท็จจริงที่ยังไม่สมบูรณ์ ไม่ถูกต้อง หรือยังไม่ได้ผ่านการกลั่นกรอง วิเคราะห์ ตรวจสอบ และประเมินผลอย่างเป็นระบบ เช่น ข่าวจากหนังสือพิมพ์ หรือโทรทัศน์ ข่าวซุบซิบหรือข่าวลือ ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต การโฆษณาสินค้า การหาเสียงของนักการเมือง หรือการกล่าวหา/โจมตีคู่แข่งทางการเมือง เป็นต้น

2 สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข่าวสารความรู้ที่เป็นข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกิดจากข้อมูลที่ผ่านการกลั่นกรอง วิเคราะห์ และประมวลผลแล้ว ตลอดทั้งความรู้สึกนึกคิด ของมนุษย์ ซึ่งบันทึกลงในสือหรือวัสดุประเภทต่าง ๆ ที่สามารถถ่ายทอดและเผยแพร่ได้ ดังนั้นสารสนเทศจึงมีความถูกต้องและมีประโยชน์ต่อผู้ใช้มากกว่าข้อมูล เนื่องจากสามารถนํามาช่วยแก้ไขปัญหาและประกอบการตัดสินใจได้

2 การบันทึกข้อมูลด้วย “อักษรคิวนิฟอร์ม” ลงบนแผ่นดินเหนียว เริ่มขึ้นในสมัยใด

(1) อัสสิเรียน

(2) อียิปต์

(3) สุเมเรียน

(4) กรีก

ตอบ 3 หน้า 6 – 7 ชาวสุเมเรียน ซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ตามลุ่มน้ำไทกริสและยูเฟรติสของเมโสโปเตเมียเมื่อประมาณ 3,100 B.C. ถือเป็นชนชาติแรกที่รู้จักนําเอาเหตุการณ์และเรื่องราวต่าง ๆ บันทึกลงบนแผ่นดินเหนียวด้วยอักษรรูปลิ่มหรือที่เรียกว่า “อักษรคิวนิฟอร์ม” (Cuneiform) ต่อมาประมาณ 2,700 B.C. ซาวสุเมเรียนเริ่มจัดตั้งห้องสมุดอย่างเป็นระบบ ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ที่เมืองเทลเลาะห์ ประเทศอิรัก

3 หอหลวงเกี่ยวข้องกับข้อใดมากที่สุด

(1) สร้างขึ้นเพื่อเก็บเอกสารของราชสํานักในสมัยกรุงศรีอยุธยา

(2) สถานที่เก็บพระไตรปิฎกเริ่มครั้งแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยา

(3) พ่อขุนรามคําแหงสร้างขึ้นเพื่อใช้เผยแผ่พุทธศาสนาในสมัยสุโขทัย

(4) รัชกาลที่ 3 สร้างขึ้นครั้งแรกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

ตอบ 1 หน้า 9 – 10, (คําบรรยาย) ห้องสมุดในประเทศไทยมีพัฒนาการตามลําดับยุคสมัย ดังนี้

1 สมัยสุโขทัย ได้แก่ หอไตรหรือหอพระไตรปิฎกภายในวัด เพื่อเก็บคัมภีร์พระไตรปิฎก

2 สมัยอยุธยา ได้แก่ หอหลวงภายในพระราชวัง เพื่อเก็บรักษาหนังสือ วรรณกรรมทางโลก ตัวบทกฎหมาย และเอกสารทางราชการของราชสํานัก

3 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการสร้างหอสมุดประจํารัชกาลต่าง ๆ ได้แก่ หอพระมณเฑียรธรรม ภายในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ในสมัยรัชกาลที่ 1 เพื่อประดิษฐานพระไตรปิฎก วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ในสมัยรัชกาลที่ 3 ถือว่าเป็นห้องสมุดประชาชนแห่งแรกของไทย, หอพระสมุดวชิรญาณ หอพุทธสาสนสังคหะ (ตั้งอยู่ในวัดเบญจมบพิตร)และหอพระสมุดวชิรญาณสําหรับพระนคร ในสมัยรัชกาลที่ 5 ตามลําดับ

4 “การพิจารณากลั่นกรองข้อมูล” เป็นคุณสมบัติของนักปราชญ์ในข้อใด

(1) สุตตะ

(2) จินตะ

(3) ปุจฉา

(4) ลิขิต

ตอบ 2 หน้า 20, (คําบรรยาย) หลักของหัวใจนักปราชญ์ ได้แก่ “สุ จิ ปุ ลิ” มีดังนี้

1 สุ (สุต หรือสุตตะ) คือ การรับฟังหรือการรับสารทั้งปวง รวมทั้งการอ่านหนังสือ และการค้นคว้าหาความรู้จากสื่อต่าง ๆ

2 จิ (จินตนะ หรือจินตะ) คือ การคิดวิเคราะห์ไตร่ตรองสิ่งต่าง ๆ หรือพิจารณากลั่นกรองข้อมูลก่อนตัดสินใจทําสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

3 ปุ (ปุจฉา) คือ การไต่ถามหรือเสวนาหาคําตอบจากผู้รู้

4 ลิ (ลิขิต) คือ การเขียนหรือการจดบันทึกข้อมูล

5 การค้นหาความหมายจากหนังสือพจนานุกรม ต้องอาศัยการอ่านในข้อใด

(1) การอ่านคร่าว ๆ

(2) การอ่านอย่างวิเคราะห์

(3) การอ่านเพื่อเก็บรายละเอียด

(4) การอ่านอย่างเจาะจง

ตอบ 4 หน้า 18 การอ่านอย่างเฉพาะเจาะจง (Scanning) เป็นการอ่านเพื่อค้นหาคําตอบเฉพาะเรื่องซึ่งผู้อ่านไม่จําเป็นต้องเสียเวลาอ่านตั้งแต่หน้าแรกจนถึงหน้าสุดท้าย แต่ให้ผู้อ่านกวาดสายตาไป ตลอดหน้ากระดาษเพื่อหาสิ่งที่ต้องการ โดยการอ่านในลักษณะนี้มักจะนิยมใช้กับการค้นหาความรู้ จากหนังสืออ้างอิงประเภทต่าง ๆ เช่น การค้นหาความหมายของคําจากหนังสือพจนานุกรม การอ่านค้นหาคําตอบจากหนังสือสารานุกรม, การค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับองค์การและสถาบันต่าง ๆ ในหนังสือนามานุกรม ฯลฯ

6 แหล่งสารสนเทศในข้อใดไม่จัดอยู่ในกลุ่มห้องสมุดประชาชน

(1) ห้องสมุดสยามสมาคม

(2) ห้องสมุดเฉลิมราชกุมารี

(3) ห้องสมุดสวนลุมพินี

(4) ห้องสมุดนีลสัน เฮย์

ตอบ 1 หน้า 26 – 27, 33 ห้องสมุดประชาชน หมายถึง ห้องสมุดที่ตั้งขึ้นเพื่อให้บริการสารสนเทศครบทุกหมวดวิชาแก่ประชาชน โดยไม่จํากัดเพศ วัย เชื้อชาติ ศาสนา และพื้นฐานความรู้ ทั้งนี้เพื่อ ส่งเสริมให้ประชาชนมีนิสัยรักการอ่าน สามารถเรียนรู้ได้ตามอัธยาศัย และเพื่อการศึกษาค้นคว้า ตลอดชีวิต ตัวอย่างของห้องสมุดประชาชน เช่น ห้องสมุดเฉลิมราชกุมารี, ห้องสมุดนีลสัน เฮย์,ห้องสมุดสวนลุมพินี เป็นต้น ส่วนห้องสมุดสยามสมาคม เป็นห้องสมุดเฉพาะสังกัดสมาคม)

7 แหล่งสารสนเทศในข้อใดที่เก็บโบราณวัตถุที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของชุมชนและประเทศ

(1) ศูนย์สารสนเทศ

(2) หอจดหมายเหตุ

(3) พิพิธภัณฑ์

(4) ห้องสมุดเฉพาะ

ตอบ 3 หน้า 37, (คําบรรยาย) พิพิธภัณฑ์ เป็นแหล่งสารสนเทศที่รวบรวมและจัดแสดงศิลปวัตถุโบราณวัตถุ ซึ่งเป็นสิ่งของโบราณที่มีคุณค่าหรือมีความสําคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ตลอดจนเป็นสิ่งของที่สามารถบอกเล่าเรื่องราวของชุมชนและสังคม เพื่อเป็นประโยชน์ต่อ การศึกษาค้นคว้าของบุคคลทั่วไป

8 ฝ่ายใดของสํานักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคําแหง ที่ให้บริการยืมระหว่างห้องสมุด

(1) ฝ่ายเทคนิค

(2) ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ

(3) ฝ่ายวารสารและเอกสาร

(4) ฝ่ายบริการช่วยการค้นคว้าและวิจัย

ตอบ 4 หน้า 40 ฝ่ายบริการช่วยการค้นคว้าและวิจัย จะทําหน้าที่ให้บริการตอบคําถามเกี่ยวกับการศึกษาและเรื่องทั่ว ๆ ไปทั้งทางตรงและทางอ้อม นอกจากนี้ยังบริการช่วยเหลือแนะนําในการศึกษาค้นคว้า การทํารายงานประกอบการศึกษา แนะนําการใช้ห้องสมุด บริการยืม ระหว่างห้องสมุด บริการรวบรวมบรรณานุกรม บริการนําชมห้องสมุด บริการสิ่งพิมพ์รัฐบาลและหนังสือลักษณะพิเศษ

9 ข้อใดหมายถึงทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุด

(1) หนังสือทุกเล่มที่มีอยู่ในห้องสมุด

(2) หนังสือทุกเล่มที่มีการจัดหมวดหมู่

(3) หนังสือทุกเล่มที่ห้องสมุดสั่งซื้อ

(4) หนังสือทุกเล่มที่มีการบริจาคให้ห้องสมุด

ตอบ 2 หน้า 55, 76, 133 – 134 ทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุด หมายถึง แหล่งสารสนเทศทุกรูปแบบที่ห้องสมุดได้คัดเลือก จัดหา วิเคราะห์ และจัดระบบหมวดหมู่อย่างเป็นระเบียบ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งตีพิมพ์บนแผ่นกระดาษ สิ่งบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยมือ สื่อโสตทัศน์ วัสดุย่อส่วน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนฐานข้อมูลออนไลน์ที่ห้องสมุดบอกรับเป็นสมาชิกและจัดประเภท พร้อมให้บริการ รวมทั้งบรรณารักษ์หรือบุคลากรบริการสารสนเทศที่ทําหน้าที่ให้บริการและช่วยผู้ใช้ค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

10 หน้าโฮมเพจของเว็บไซต์ที่แสดงรายการเชื่อมโยงหน้าเว็บเพจต่าง ๆ คล้ายกับส่วนใดของหนังสือมากที่สุด

(1) หน้าปกหนังสือ

(2) หน้าสารบัญ

(3) หน้าลิขสิทธิ์

(4) หน้าคํานํา

ตอบ 2 หน้า 58, 62 63, (คําบรรยาย) โฮมเพจ (Home Page) คือ หน้าแรกของแต่ละเว็บไซต์ ซึ่งจะรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่อยู่ภายในเว็บไซต์ ดังนั้นโฮมเพจจึงคล้ายกับส่วนประกอบของหนังสือ ดังนี้

1 ในแง่ของเว็บเพจแรกที่บอกว่าเป็นเว็บไซต์เกี่ยวกับอะไร มีเนื้อหาสําคัญอะไรบ้าง โฮมเพจจะคล้ายกับหน้าปกหนังสือ

2 ในแง่ที่แสดงรายการเชื่อมโยงหน้าเว็บเพจเข้าด้วยกัน เพื่อให้ผู้ใช้ Link ไปยังเว็บเพจต่าง ๆเพื่ออ่านข้อมูล โฮมเพจจะคล้ายกับหน้าสารบัญของหนังสือ

11 ข้อใดกล่าวถึงดรรชนีของหนังสือได้ชัดเจนที่สุด

(1) ส่วนที่ให้คําอธิบายคํายากหรือศัพท์เฉพาะ

(2) ส่วนที่ช่วยอธิบายคําบางตอนที่ปรากฏในเนื้อหา

(3) บัญชีคําที่ปรากฏในตอนท้ายของหนังสือ

(4) บัญชีรายชื่อหนังสือที่ปรากฏในท้ายเล่มของหนังสือ

ตอบ 3 หน้า 64, 84, 119 120 ตรรชนี (Index) เป็นหนังสืออ้างอิงที่ชี้แนะแหล่งสารสนเทศโดยมีลักษณะเป็นคําหรือบัญชีกลุ่มคําสําคัญของหัวเรื่องใหญ่ หัวเรื่องย่อย ชื่อบุคคล สถานที่ ชื่อเรื่อง หรือชื่อบทความที่ได้จัดเรียบเรียงไว้ตามลําดับอักษรอย่างมีระบบ พร้อมทั้งระบุ เลขหน้าที่คําหรือข้อความนั้นปรากฏอยู่ เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยให้ผู้อ่านค้นเรื่องหรือหัวข้อ ในสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว โดยทั่วไปดรรชนีมักอยู่ที่ท้ายเล่มของหนังสือ แต่ถ้าเป็นหนังสือชุด เช่น สารานุกรม ดรรชนี้จะอยู่ในเล่มสุดท้าย

12 ส่วนใดเป็นส่วนประกอบของวารสารที่ดึงดูดผู้อ่านมากที่สุด

(1) รูปภาพและอักษรบนปก

(2) สารบัญและคอลัมน์ต่าง ๆ

(3) ปกวารสารและสารบัญ

(4) ความนําและรูปภาพ

ตอบ 1 หน้า 65 ส่วนประกอบของวารสารมี 3 ส่วน คือ

1 ปกวารสาร (Cover) เป็นส่วนประกอบที่สําคัญ ซึ่งประกอบด้วย ชื่อวารสาร ฉบับที่ ปีที่ เดือน ปีและราคา แต่องค์ประกอบที่สําคัญที่สุดก็คือ รูปภาพ (เป็นภาพเขียนหรือภาพถ่ายก็ได้) และอักษรบนปก ซึ่งสามารถดึงดูดให้ผู้อ่านสนใจวารสารแต่ละฉบับเพิ่มมากขึ้น

2 สารบาญหรือสารบัญ (Contents) บอกให้ทราบถึงลําดับของเนื้อเรื่องในฉบับ โดยมีชื่อเรื่องชื่อผู้เขียน เลขหน้า และรายการต่าง ๆ เกี่ยวกับวารสาร

3 คอลัมน์ต่าง ๆ (Columns) ซึ่งขึ้นอยู่กับวารสารแต่ละประเภท

13 กระทรวงเทคโนโลยีได้แจกแผ่นพับเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับไวรัสเรียกค่าไถ่ จัดเป็นสื่อประเภทใด

(1) กฤตภาค

(2) จุลสาร

(3) วารสาร

(4) ต้นฉบับตัวเขียน

ตอบ 2 หน้า 66 – 67 จุลสาร (Pamphlets) เป็นสิ่งพิมพ์ที่ให้สารสนเทศเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ทันสมัยและอยู่ในความสนใจของบุคคลทั่วไปในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นบทความทาง วิชาการต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ หรือความรู้ที่หน่วยงานราชการ องค์การ วัดหรือสมาคมต่าง ๆ ต้องการเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ อาจพิมพ์ออกเป็นเอกสารเล่มเล็กเดียว ๆ หรือพิมพ์เป็น ตอน ๆ โดยรูปเล่มทั่วไปจะไม่มีการเข้าปกเย็บเล่มถาวร มีจํานวนหน้าไม่เกิน 60 หน้า ทั้งนี้อาจจะมีลักษณะเป็นแผ่นพับหรืออยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า “อนุสาร” (Brochure) ก็ได้

14 นักศึกษาต้องการฟังคลิปวิดีโอคําบรรยายย้อนหลังวิชา LIS 1003 จัดเป็นสื่อประเภทใด

(1) โสตทัศน์

(2) โสตวัสดุ

(3) ทัศนวัสดุ

(4) สื่ออิเล็กทรอนิกส์

ตอบ 1 หน้า 67 – 73, 77 สื่อโสตทัศน์ (โสตทัศนวัสดุ หรือวัสดุไม่ตีพิมพ์) แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

1 โสตวัสดุ เป็นวัสดุที่สื่อสารโดยการฟัง เช่น แผ่นเสียงหรือจานเสียง เทป แถบบันทึกเสียงซีดีออดิโอ แผ่นเอ็มพี 3 ฯลฯ

2 ทัศนวัสดุ เป็นวัสดุที่สื่อสารโดยการเห็น เช่น วัสดุกราฟิก รูปภาพ แผนที่ ลูกโลก ภาพนิ่งแผ่นโปร่งใส หุ่นจําลอง ของตัวอย่าง ฯลฯ

3 สื่อโสตทัศน์ หรือโสตทัศนวัสดุ เป็นวัสดุที่สื่อสารทั้งโดยการฟังและการเห็น เช่น ภาพยนตร์ แถบวีดิทัศน์หรือวิดีโอ วีซีดี ดีวีดี วิดีโอคลิป ฯลฯ

15 ห้องสมุดนิยมอนุรักษ์เนื้อหาสาระที่สําคัญจากหนังสือพิมพ์เก่า ๆ ไว้เพื่อการศึกษาค้นคว้าในรูปแบบใด

(1) ไมโครฟิล์ม

(2) ไมโครฟิช

(3) Winzipdata

(4) Metadata

ตอบ 1 หน้า 169 ห้องสมุดโดยทั่วไปจะเก็บหนังสือพิมพ์ฉบับย้อนหลังไว้ระยะเวลาหนึ่งประมาณ1 – 2 ปี แล้วคัดทิ้งไป แต่ห้องสมุดบางแห่งนิยมคัดเลือกและจัดเก็บหนังสือพิมพ์ฉบับย้อนหลัง ที่สําคัญ ๆ ด้วยการถ่ายเป็นวัสดุย่อส่วนแล้วเก็บไว้ในรูปของไมโครฟิล์ม เพื่อรักษาสภาพและ ประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บ เช่น สํานักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคําแหง ทําการจัดเก็บ หนังสือพิมพ์ 10 ฉบับไว้ในรูปไมโครฟิล์ม ได้แก่ สยามรัฐ มติชน ไทยรัฐ ประชาชาติ เดลินิวส์ ข่าวพาณิชย์ มติชนรายสัปดาห์ สยามรัฐรายสัปดาห์ Bangkok Post และ The Nation

16 บริษัทผลิตฐานข้อมูลนิยมบันทึกสารสนเทศ ตรงกับข้อใดมากที่สุด

(1) จานแม่เหล็กชนิดอ่อน (Floppy Disk)

(2) จานแสง (Optical Disk)

(3) ซีดีรอม (CD-ROM)

(4) วีดิทัศน์ดิจิตอล (DVD)

ตอบ 3 หน้า 75 – 76, 78, (คําบรรยาย) สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง สื่อที่บันทึกสารสนเทศด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นอักขระแบบดิจิตอล ซึ่งต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือแสงเลเซอร์ ในการบันทึกและอ่านข้อมูล แบ่งออกเป็น

1 แผ่นจานแม่เหล็กแบบอ่อน (Diskette หรือ Floppy Disk) บันทึกโปรแกรมสําเร็จรูป

2 จานแสง (Optical Disk) เช่น VCD, DVD, CD-ROM บันทึกฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ฐานข้อมูลเชิงพาณิชย์ ฐานข้อมูลด้านการศึกษา ฐานข้อมูลเชิงบรรณานุกรม ฯลฯ

3 USB Flash Drive เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลหรือไฟล์จากคอมพิวเตอร์ โดยมีวิธีการบันทึกข้อมูลเหมือน Hard Disk หรือ Floppy Disk มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา สะดวกในการพกพาติดตัว และสามารถเก็บข้อมูลได้จํานวนมากตั้งแต่ 128 MB – 8 GB

17 ข้อใดไม่ใช่เครื่องมือช่วยค้นหาความรู้ในหนังสืออ้างอิง

(1) คํานํา

(2) คํานําทาง

(3) อักษรนําเล่ม

(4) ดรรชนี

ตอบ 1 หน้า 83 – 84 เครื่องมือช่วยค้นหาความรู้ในหนังสืออ้างอิง ได้แก่

1 คํานําทาง (Guide Word or Running Word)

2 ดรรชนีริมหน้ากระดาษ (Thumb Index)

3 อักษรนําเล่ม (Volume Guide)

4 ส่วนโยง (Cross Reference)

5 ดรรชนี (Index)

18 พจนานุกรมการช่าง จัดเป็นพจนานุกรมประเภทใด

(1) พจนานุกรมภาษาเดียว

(2) พจนานุกรมฉบับย่อ

(3) พจนานุกรมเฉพาะวิชา

(4) พจนานุกรมฉบับสมบูรณ์

ตอบ 3 หน้า 85, 89 – 90, (คําบรรยาย) พจนานุกรมเฉพาะวิชา คือ พจนานุกรมสําหรับค้นหาความหมายของคําที่ใช้ในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง เช่น พจนานุกรมศัพท์วิทยาศาสตร์การแพทย์, พจนานุกรมรวมคําศัพท์ทางการศึกษา, พจนานุกรมการช่าง เป็นต้น

19 สารานุกรมหมายถึงข้อใดมากที่สุด

(1) รวบรวมความรู้พื้นฐานต่าง ๆ อย่างกว้าง ๆ โดยผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาวิชา

(2) ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นมาในทุกสาขาวิชาของโลก

(3) เป็นคู่มือในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น

(4) ให้ข้อมูล ความรู้ทั่วไป แต่แสดงผลออกมาในรูปสถิติ ตัวเลข และแผนภูมิ

ตอบ 1 หน้า 91 – 92, 95 สารานุกรม (Encyclopedia) หมายถึง หนังสือที่รวบรวมความรู้พื้นฐานในแขนงวิชาต่าง ๆ อย่างกว้าง ๆ เขียนโดยผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาวิชา เพื่อให้ข้อมูลหรือความรู้ในรูปของบทความโดยมีอักษรย่อของผู้เขียนกํากับไว้ที่ท้ายบทความ และจัดเรียงเนื้อหาตามลําดับตัวอักษรหรือแบ่งเป็นหมวดหมู่วิชา ซึ่งอาจมีเล่มเดียวจบหรือ หลายเล่มจบที่เรียกว่า “หนังสือชุด” ส่วนใหญ่สารานุกรมจะมีภาพประกอบ และมีดรรชนี ช่วยค้นเรื่อง (Fact Index) อยู่ตอนท้ายเล่ม หรือถ้าเป็นหนังสือชุดก็จะอยู่เล่มสุดท้าย

20 ต้องการค้นหาประวัติบุคคล สามารถหาได้จากหนังสืออ้างอิงเล่มใด

(1) นามานุกรม

(2) หนังสือคู่มือ

(3) ดรรชนี

(4) อักขรานุกรมชีวประวัติ

ตอบ 4 หน้า 97 – 98 อักขรานุกรมชีวประวัติ คือ หนังสือที่รวบรวมประวัติชีวิตของบุคคลสําคัญโดยจะให้รายละเอียดเกี่ยวกับเชื้อชาติ สถานที่เกิด วันเดือนปีเกิด หรือตาย (ในกรณีที่บุคคลเจ้าของชีวประวัติสิ้นชีวิตไปแล้ว) ที่อยู่ระดับการศึกษา ตําแหน่งหน้าที่การงาน ประสบการณ์ ในการทํางาน ผลงานดีเด่น และสถานภาพทางครอบครัว เพื่อต้องการให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาว่าผู้ที่มีชื่อเสียงในอดีตนั้นได้ทําคุณประโยชน์ให้กับบ้านเมืองอย่างไรบ้าง

21 หนังสือที่รวบรวมคําแนะนําในการปฏิบัติงานต่าง ๆ เรียกว่าอะไร

(1) นามานุกรม

(2) หนังสือคู่มือ

(3) ดรรชนี

(4) อักขรานุกรมชีวประวัติ

ตอบ 2 หน้า 107 108 หนังสือคู่มือ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่

1 หนังสือคู่มือทั่วไป (Handbook) จะให้ความรู้เบ็ดเตล็ดทั่วไปไม่จํากัดสาขาวิชา เช่นแรกมีในสยาม เป็นคู่มือให้ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่มีและเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย โดยเสนอข้อเท็จจริงอย่างสั้น ๆ

2 หนังสือคู่มือเฉพาะวิชา (Manual) รวบรวมความรู้และคําแนะนําในการปฏิบัติงานต่าง ๆเฉพาะสาขา เช่น คู่มือช่างไฟฟ้า แพทย์ในบ้าน เป็นต้น

22 ข้อใดไม่ใช่ประเภทของหนังสือรายปี

(1) หนังสือสรุปผลงานประจําปี

(2) สมุดสถิติรายปี

(3) ปฏิทินเหตุการณ์รายปี

(4) หนังสือรายปีของสารานุกรม

ตอบ 3 หน้า 109 หนังสือรายปี มี 4 ประเภท คือ

1 หนังสือรายปีของสารานุกรม

2 หนังสือสรุปผลงานประจําปี

3 หนังสือรายปีเฉพาะด้าน

4 สมุดสถิติรายปี

23 หนังสืออ้างอิงข้อใดที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเทศ เมือง จังหวัด สถานที่สําคัญ สภาพภูมิศาสตร์ การเดินทาง สกุลเงินตรา

(1) อักขรานุกรมภูมิศาสตร์

(2) พจนานุกรม

(3) หนังสือแผนที่

(4) หนังสือนําเที่ยว

ตอบ 4 หน้า 114 115 หนังสือนําเที่ยว เป็นหนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเทศเมือง จังหวัด และสถานที่สําคัญอย่างละเอียด เพื่อประโยชน์ต่อการค้นคว้าและเพื่อตอบสนอง ความต้องการของนักท่องเที่ยว เช่น ให้รายละเอียดเกี่ยวกับประวัติและที่ตั้งของเมือง ภาษา สภาพภูมิศาสตร์ ระยะทาง การเดินทาง โบราณสถานที่น่าสนใจ ที่ตั้งของโรงแรม ร้านอาหารอัตราแลกเปลี่ยนตามสกุลเงินตราของประเทศนั้น ๆ เป็นต้น

24 ดรรชนีมีประโยชน์ต่อผู้ใช้อย่างไร

(1) เป็นเครื่องมือช่วยค้นเรื่องหรือหัวข้อในสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ

(2) บอกแหล่งที่มาของสารสนเทศได้

(3) ให้ผู้ใช้เข้าใจเนื้อหาอย่างย่อของสารสนเทศที่ต้องการได้

(4) ผู้ใช้สามารถใช้งานดรรชนีได้โดยไม่ต้องผ่านบรรณารักษ์

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 11 ประกอบ

25 ข้อใดคือลักษณะของหนังสือบรรณานุกรม

(1) รวบรวมเนื้อหาของทรัพยากรสารสนเทศ

(2) รวบรวมรายชื่อของทรัพยากรสารสนเทศ

(3) แนะนําแนวทางในการค้นหาทรัพยากรสารสนเทศ

(4) แนะนําวิธีการใช้ห้องสมุด

ตอบ 2 หน้า 64, 129, 254, 275 บรรณานุกรม (Bibliography) เป็นบัญชีรายชื่อหนังสือ เอกสารและสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องต่าง ๆ ที่ผู้แต่งใช้เป็นหลักฐานประกอบการเขียนหนังสือเล่มนั้น โดยอาจอยู่ท้ายบทหรือท้ายเล่มก็ได้ หรืออาจจัดทําเป็นตัวเล่มหนังสือที่รวบรวมรายชื่อและรายละเอียด ของทรัพยากรสารสนเทศ เช่น รายชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง ครั้งที่พิมพ์ สํานักพิมพ์หรือโรงพิมพ์ และปีที่พิมพ์ เพื่อให้รายละเอียดเพิ่มเติมและให้ความมั่นใจแก่ผู้อ่านว่าเนื้อหาของหนังสือเล่มนั้นมีความถูกต้องและเชื่อถือได้ เพราะผู้เขียนได้ค้นคว้าอย่างมีหลักฐาน

26 ข้อใดอธิบายความหมายของการจัดหมู่ได้ถูกต้องที่สุด

(1) สัญลักษณ์แสดงหนังสือตามประเภทของหนังสือ

(2) สัญลักษณ์แสดงกลุ่มเนื้อหาของหนังสือแต่ละเล่ม

(3) สัญลักษณ์ที่กําหนดให้หนังสือทุกเล่มประกอบด้วยเลขหมู่ เลขผู้แต่ง

(4) รหัสที่กําหนดให้กับหนังสือแต่ละเรื่องเพื่อใช้เป็นเอกลักษณ์ในการเข้าถึงหนังสือ

ตอบ 2 หน้า 150 การจัดหมู่หนังสือ หมายถึง การจัดหนังสือให้เป็นระบบโดยพิจารณาจากเนื้อหาสาระของหนังสือเป็นสําคัญ และมีการกําหนดสัญลักษณ์เพื่อแสดงกลุ่มเนื้อหาของหนังสือใน แต่ละเล่ม เพื่อใช้เป็นเครื่องหมายระบุตําแหน่งของหนังสือทุกเล่มในห้องสมุด ซึ่งหนังสือที่มี เนื้อหาเดียวกันและ/หรือประพันธ์วิธีเดียวกันจะมีสัญลักษณ์เหมือนกันและวางอยู่ในที่เดียวกัน ส่วนหนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันจะมีสัญลักษณ์ใกล้เคียงกันและวางอยู่ในตําแหน่งที่ไม่ไกลกันมากนัก

27 ข้อใดเป็นระบบการจัดหมู่หนังสือที่ “ยึดแนววิวัฒนาการของมนุษย์เป็นหลัก”

(1) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมสากล

(2) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน

(3) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้

(4) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบคัตเตอร์

ตอบ 2 หน้า 153 – 155, (คําบรรยาย) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classification : LCC หรือ LC) เป็นระบบในเชิงปฏิบัติ (Practical System) ซึ่งยึดแนววิวัฒนาการของมนุษย์เป็นหลัก ทําให้ระบบนี้มีความยืดหยุ่นมากที่สุด และสามารถรองรับสรรพวิทยาการใหม่ ๆ รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ได้เป็นอย่างดี ดังนั้นจึงเป็นระบบที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายในห้องสมุดขนาดใหญ่ที่มีหนังสือ เฉพาะสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง หรือมีหนังสือทั่วไปทุกประเภทเป็นจํานวนมาก เช่น ห้องสมุดเฉพาะ ห้องสมุดมหาวิทยาลัย เป็นต้น โดยจะแบ่งเนื้อหาของหนังสือออกเป็น 20 หมวดใหญ่ และใช้ สัญลักษณ์ในการจัดหมู่หรือเลขหมู่หนังสือเป็นแบบผสม คือ ใช้ตัวอักษรโรมันตั้งแต่ A – Z (ยกเว้น I, O, W, X, Y) แสดงเนื้อหาในหมวดใหญ่ และใช้ตัวเลขอารบิกตั้งแต่ 1 – 9999 กับทศนิยมอีกไม่จํากัดตําแหน่งแบ่งย่อยเรื่องอีกที่หนึ่ง

28 ข้อใดคือระบบการจัดหมู่หนังสือที่เหมาะสําหรับห้องสมุดที่มีจํานวนหนังสือมาก

(1) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน

(2) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้

(3) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดแพทย์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา

(4) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมสากล

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 27 ประกอบ

29 ข้อใดคือระบบการจัดหมู่หนังสือห้องสมุดโรงพยาบาลสงฆ์

(1) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน

(2) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้

(3) การจัดหมู่หนังสือระบบซับเจ็ด

(4) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดแพทย์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา

ตอบ 4 หน้า 155 – 156, (คําบรรยาย) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดแพทย์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (National Library Medicine : NLM) เป็นระบบการจัดหมู่หนังสือที่ใช้กับ ห้องสมุดทางการแพทย์ สาธารณสุข และพยาบาล โดยจะใช้อักษรโรมัน Q กับ W และเลขอารบิก เป็นสัญลักษณ์เช่นเดียวกับการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน แต่แตกต่างในด้าน การจําแนกสรรพวิทยาการออกเป็น 2 หมวดใหญ่ คือ หมวด Q วิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน และหมวด W วิชาการแพทย์และวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นระบบนี้จึงนิยมใช้กับห้องสมุด ของคณะแพทยศาสตร์ในทุกสถาบัน เช่น หอสมุดศิริราช, ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่, ห้องสมุดวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพฯ, ห้องสมุดคณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.ขอนแก่น,ห้องสมุดของโรงพยาบาลต่าง ๆ เป็นต้น

30 ข้อใดคือ “สัญลักษณ์ที่ห้องสมุดกําหนดขึ้นให้กับหนังสือทุกเล่มเพื่อสะดวกในการเข้าถึง”

(1) เลขเรียกหนังสือ

(2) เลขหมู่หนังสือ

(3) เลขมาตรฐานสากลประจําหนังสือ

(4) เลขทะเบียนหนังสือ

ตอบ 1 หน้า 157, 159 – 161, (คําบรรยาย) เลขเรียกหนังสือ (Call Number) เป็นสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายเฉพาะที่ห้องสมุดกําหนดขึ้นให้กับหนังสือทุกเล่มที่มีอยู่ในห้องสมุด ซึ่งประกอบด้วย ส่วนสําคัญ ๆ 3 ส่วน คือ เลขหมู่หนังสือ เลขผู้แต่ง และอักษรชื่อเรื่อง (แต่ตราบางเล่มอาจ ประกอบด้วย เลขหมู่หนังสือ, เลขผู้แต่งและอักษรตัวแรกของชื่อเรื่อง, สัญลักษณ์อื่น ๆ เช่น ปี พ.ศ. เล่มที่ ฉบับที่ ฯลฯ) ทั้งนี้หนังสือทุกเล่มในห้องสมุดจะจัดเรียงอยู่บนชั้นตามลําดับของเลขเรียกหนังสือ เพื่อสะดวกในการเข้าถึง

31 จงเรียงหนังสือต่อไปนี้ให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์

PL 493

.P292

2002

PL 523

.K55

2005

PL 535

.J651

2006

PE 113

.D82

1978

PL 519

.S36

2005

(1) จ ก ข ค ง

(2) ง ข ข ค ก

(3) ค อ ง ข ก

(4) ง ก จ ข ค

ตอบ 4 หน้า 159 160 วิธีการจัดเรียงหนังสือบนชั้นในห้องสมุด จะพิจารณาจากเลขเรียกหนังสือจากซ้ายไปขวา จากชั้นบนลงชั้นล่าง และจะพิจารณาจัดลําดับจากเลขหมู่หนังสือก่อน ทั้งนี้ ห้องสมุดที่จัดหมู่หนังสือด้วยระบบทศนิยมดิวอี้จะเรียงลําดับจากเลขหมู่น้อยไปหาเลขหมู่มาก ส่วนห้องสมุดที่จัดหมู่หนังสือด้วยระบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกันจะพิจารณาเรียงลําดับตาม ตัวอักษร A – Z ก่อน ต่อเมื่อตัวอักษรซ้ํากันจึงค่อยเรียงลําดับจากเลขหมู่น้อยไปหาเลขหมู่มาก แต่ถ้าเลขหมู่ซ้ํากันก็ให้พิจารณาจากเลขผู้แต่งหรือเลขประจําหนังสือ และอักษรชื่อเรื่องตามลําดับ(จากโจทย์ เรียงลําดับที่ถูกต้องได้ดังนี้ ง ก จ ข ค)

32 ข้อใดกล่าวถึงการจัดเก็บสิ่งพิมพ์รัฐบาลได้ถูกต้องที่สุด

(1) กําหนดเลขหมู่ และจัดขึ้นชั้นรวมกับหนังสือ

(2) จัดแยกเป็นทรัพยากรสารสนเทศพิเศษ กําหนดสัญลักษณ์และระบุตามประเภทหน่วยงาน

(3) กําหนดหัวเรื่อง และจัดเก็บขึ้นชั้นตามลําดับอักษร

(4) กําหนดอักษรย่อตามประเภทหน่วยงาน จัดเก็บขึ้นชั้นตามลําดับอักษรของหน่วยงาน

ตอบ 1 หน้า 166 167 การจัดเก็บสิ่งพิมพ์รัฐบาลของห้องสมุดโดยทั่วไปมี 2 วิธี คือ

1 จัดรวมกับหนังสือทั่วไปและกําหนดเลขหมู่ให้ตามระบบการจัดหมู่หนังสือของห้องสมุดนั้น ๆ เช่น หอสมุดแห่งชาติจัดสิ่งพิมพ์รัฐบาลรวมกับหนังสือด้วยระบบจัดหมู่แบบทศนิยมดิวอี้

2 จัดแยกออกจากหนังสือและทรัพยากรสารสนเทศอื่น ๆ เป็นทรัพยากรลักษณะพิเศษ (Special Collection) และกําหนดระบบการจัดหมู่สําหรับสิ่งพิมพ์รัฐบาลขึ้นโดยเฉพาะ เช่น สํานักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคําแหง ได้กําหนดสัญลักษณ์พิเศษ คือ GP (Government Publication) ให้เป็นสัญลักษณ์สิ่งพิมพ์รัฐบาลกํากับเหนือเลขเรียกหนังสือหลังจากนั้นจึงจัดแยกสิ่งพิมพ์ตามหน่วยงานรัฐบาลในระดับกระทรวง กรม กอง ฯลฯ

33 ข้อใดกล่าวถึงการจัดเก็บหนังสือพิมพ์ฉบับย้อนหลังได้ถูกต้องที่สุด

(1) เย็บรวมเล่มเมื่อได้รับครบ 1 เดือน จัดเรียงเล่มตามลําดับอักษรของหนังสือพิมพ์

(2) เย็บรวมเล่มเมื่อได้รับครบ 1 ปี จัดเรียงเล่มตามลําดับอักษรของหนังสือพิมพ์

(3) คัดเลือกหนังสือพิมพ์ฉบับสําคัญ ๆ จัดเก็บโดยถ่ายเป็นวัสดุย่อส่วนในรูปไมโครฟิล์ม

(4) คัดเลือกหนังสือพิมพ์ฉบับสําคัญ ๆ จัดเก็บไว้ประมาณ 1 – 2 ปี แล้วจําหน่ายออก

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

34 ข้อใดกล่าวถึงการจัดเก็บจุลสารที่ถูกต้อง

(1) กําหนดเลขหมู่ จัดขึ้นชั้นรวมกับหนังสือ

(2) กําหนดหัวเรื่อง จัดเรียงขึ้นชั้นตามลําดับอักษรหัวเรื่อง

(3) กําหนดหัวเรื่อง จัดเก็บเข้าแฟ้มเอกสารตามหัวเรื่องที่กําหนด

(4) กําหนดเลขหมู่ จัดเก็บขึ้นชั้นตามเลขหมู่

ตอบ 3 หน้า 163, 170 171 วิธีการจัดเก็บจุลสารและกฤตภาคของห้องสมุดจะใช้วิธีเดียวกันซึ่งนิยมจัดเก็บแยกออกจากวัสดุสารสนเทศอื่น ๆ คือ จัดเก็บโดยกําหนดหัวเรื่องกํากับไว้ที่ มุมบนของปก แล้วนําจุลสารและกฤตภาคที่มีหัวเรื่องเดียวกันเก็บรวบรวมไว้ในแฟ้ม ปิดป้าย ชื่อหัวเรื่องที่แฟ้ม และนําแฟ้มไปจัดเก็บไว้ในตู้เก็บเอกสารเรียงตามลาดับอักษรของหัวเรื่อง โดยที่หน้าลิ้นชักจะมีอักษรกํากับไว้ให้ทราบว่าแต่ละลิ้นชักมีแฟ้มเริ่มจากอักษรตัวใดถึงตัวใด

35 ข้อใดคือวิธีการจัดเก็บไมโครฟิล์มของห้องสมุดที่เอื้อให้ผู้ใช้เข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว

(1) จัดเรียงไมโครฟิล์มใส่ตะแกรงพลาสติกตามลําดับหัวเรื่อง

(2) จัดเก็บไมโครฟิล์มไว้ในกล่องเรียงตามเลขทะเบียน

(3) จัดเก็บไมโครฟิล์มไว้ในลิ้นชักตู้เหล็กตามลําดับเลขทะเบียน

(4) จัดเรียงไว้บนชั้นรวมไปกับหนังสือตามเลขหมู่

ตอบ 3 หน้า 177, 180, 351 วิธีจัดเก็บไมโครฟิล์มของห้องสมุดมีอยู่ 2 วิธี ดังนี้

1 จัดเรียงขึ้นชั้นรวมไว้กับสิ่งพิมพ์ โดยห้องสมุดจะจัดเก็บไมโครฟิล์มทั้งที่เป็นชนิดม้วนและตลับด้วยการจัดทําป้าย ซึ่งประกอบด้วย เลขทะเบียน ชื่อเรื่อง ความยาว ความกว้าง ประเภท ของฟิล์ม และสัญลักษณ์ที่กําหนดเป็นเลขหมู่ติดไว้บนกล่องม้วนและตลับ แล้วจึงจัดเรียงขึ้นชั้นรวมไว้กับสิ่งพิมพ์อื่น ๆ

2 จัดแยกไว้ในตู้ โดยห้องสมุดบางแห่งอาจนํากล่องหรือตลับไมโครฟิล์มที่ปิดป้ายมาแยกเป็นหมวดหมู่ แล้วเรียงตามลําดับเลขทะเบียนไว้ในลิ้นชักตู้เหล็ก หรือเรียงใส่ตะแกรงพลาสติกไว้บนชั้นแบบชั้นเก็บหนังสือ

36 ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการจัดเก็บแผ่นจานแม่เหล็กชนิดอ่อน

(1) กําหนดหัวเรื่อง เก็บตามลําดับอักษร

(2) กําหนดเลขทะเบียน จัดเก็บในระบบชั้นปิดตามเลขทะเบียน

(3) กําหนดเลขหมู่ตามโปรแกรมคําสั่ง ทําป้ายเพื่อบอกชื่อโปรแกรมติดที่ซอง

(4) กําหนดเลขทะเบียน จัดเรียงใส่ตะแกรงพลาสติกไว้บนชั้นแบบชั้นหนังสือ

ตอบ 3 หน้า 178 ห้องสมุดที่มีแผ่นจานแม่เหล็กชนิดอ่อนไว้ให้บริการเป็นจํานวนมาก จะนิยมจัดหมู่โปรแกรมคําสั่งด้วยระบบการจัดหมู่เช่นเดียวกันกับหนังสือ แล้วจัดทําป้ายติดไว้บนซองที่เก็บ แผ่นจานแม่เหล็ก หรือติดที่ตัวแผ่นพร้อมทั้งให้รายละเอียดที่สําคัญเพื่อแสดงประเภทของวัสดุ เลขหมู่ และชื่อโปรแกรม จากนั้นจึงเก็บแผ่นไว้ในซองบนที่แขวนหรือจัดเรียงไว้ในกล่อง สําหรับ ห้องสมุดที่มีโปรแกรมคําสั่งจํานวนน้อย จะนิยมจัดเก็บแผ่นจานแม่เหล็กไว้ในกล่อง แล้วเรียง ตามลําดับอักษรของหัวเรื่องอย่างกว้าง ๆ ทั้งนี้ห้องสมุดส่วนใหญ่ยังนิยมให้บริการในระบบชั้นปิดอยู่ โดยมีเจ้าหน้าที่คอยหยิบให้เมื่อผู้ใช้มาขอรับบริการ

37 ส่วนใดของบัตรรายการที่บอกตําแหน่งของหนังสือในห้องสมุด

(1) ชื่อผู้แต่ง

(2) เลขเรียกหนังสือ

(3) เลข ISBN

(4) ชื่อเรื่อง

ตอบ 2 หน้า 157, 191 เลขเรียกหนังสือ (Call Number) เป็นสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายเฉพาะที่ห้องสมุดกําหนดให้กับหนังสือแต่ละเล่มที่มีอยู่ในห้องสมุด โดยเลขเรียกหนังสือที่ปรากฎบนบัตรรายการจะเป็นเครื่องชี้บอกตําแหน่งของหนังสือบนชั้น ซึ่งเป็นที่เก็บหนังสือของห้องสมุด

38 ข้อใดคือรายการชื่อผู้แต่งชาวต่างประเทศที่ถูกต้อง

(1) Hunter, David E.

(2) David E. Hunter

(3) Hunter

(4) David

ตอบ 1 หน้า 191 192 ชื่อผู้แต่ง (Author) หรือรายการหลัก (Main Entry) เป็นชื่อผู้ที่เขียนหนังสือเล่มนั้น ซึ่งเป็นได้ทั้งบุคคลและนิติบุคคล โดยถ้าเป็นคนไทยให้ลงชื่อตัวก่อนตามด้วย ชื่อสกุล เช่น ประเวศ วะสี แต่ถ้าเป็นชาวต่างประเทศให้ลงชื่อสกุลก่อน และใส่เครื่องหมาย จุลภาค (,) แล้วตามด้วยชื่อตัวและชื่อกลาง (ถ้ามี) เช่น Hunter, David E.

39 ส่วนใดของรายการที่แสดงให้ผู้อ่านทราบว่าหนังสือเก่าหรือไม่

(1) การพิมพ์และการจัดจําหน่าย

(2) ครั้งที่พิมพ์

(3) แนวสืบค้น

(4) ลักษณะวัสดุ

ตอบ 1 หน้า 192 193 ลักษณะการพิมพ์และการจัดจําหน่าย (Publication Distribution, etc.)หรือพิมพ์ลักษณ์ (Imprint) ประกอบด้วย 3 ส่วนสําคัญ คือ

1 สถานที่พิมพ์ ได้แก่ ชื่อเมือง ชื่อจังหวัด ชื่อรัฐ หรือชื่อประเทศ

2 สํานักพิมพ์ ได้แก่ ร้านค้า บริษัท สมาคม องค์การ หน่วยงานราชการ หรือโรงพิมพ์ที่รับผิดชอบในการพิมพ์หนังสือเล่มนั้น ๆ เช่น ไทยวัฒนาพานิช สภาวิจัยแห่งชาติ เป็นต้น

3 ปีที่พิมพ์ คือ ปีที่หนังสือเล่มนั้น ๆ ได้รับการจัดพิมพ์ โดยปีที่พิมพ์จะทําให้ผู้อ่านทราบว่าเป็นหนังสือเก่าหรือใหม่

40 ส่วนใดของรายการให้รายละเอียดเกี่ยวกับจํานวนหน้าของหนังสือ

(1) การพิมพ์และการจัดจําหน่าย

(2) ครั้งที่พิมพ์

(3) แนวสืบค้น

(4) ลักษณะวัสดุ

ตอบ 4 หน้า 191, 193, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 220) ลักษณะวัสดุ หรือลักษณะรูปร่าง(Physical Description) เป็นรายการหนังสือของห้องสมุดที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะ รูปร่าง ส่วนประกอบ และขนาดของหนังสือ ได้แก่ จํานวนหน้า (ความหนาของหนังสือ) หรือ จํานวนเล่ม ภาพประกอบ (สีของภาพประกอบ) และส่วนสูงของหนังสือ เช่น V, 120 p. : it. (some cot.) ; 21 cm. หมายถึง หนังสือเล่มเดียวจบ (v = volume) มีทั้งหมด 120 หน้า (120 p.) มีภาพประกอบ (ill. = illustration) สีบางส่วน (some col. = some color) และมีส่วนสูง 21 เซนติเมตร (21 cm.)

41 ประเภทของวัสดุถูกกําหนดให้ปรากฎอยู่ในรายการประเภทใด

(1) ภาพยนตร์

(2) กฤตภาค

(3) สิ่งพิมพ์รัฐบาล

(4) จุลสาร

ตอบ 1 หน้า 203 ห้องสมุดที่มีทรัพยากรสารสนเทศประเภทวัสดุไม่ตีพิมพ์ เช่น แผนที่ ลูกโลก เกมภาพนิ่ง แผนภูมิ วัสดุโปร่งใส ภาพยนตร์ ฯลฯ มักจัดทําบัตรรายการของวัสดุแต่ละประเภท เพื่อให้ผู้ใช้ค้นหาตัววัสดุได้อย่างสะดวก โดยมีรายละเอียดสําคัญบนบัตรรายการ ประกอบด้วย ประเภทของวัสดุ สถานที่ผลิตหรือผู้จัดทํา จํานวน ขนาด และรายละเอียดอื่น ๆ ส่วนการให้เลขเรียกหนังสือขึ้นอยู่กับห้องสมุดว่าจะใช้ระบบการจัดหมู่ประเภทใด

42 ข้อใดเรียงลําดับอักษรตามแบบพจนานุกรมได้ถูกต้อง

(1) มกรา มงคล มนูญ เมตตา

(2) เมตตา มงคล มนูญ มกรา

(3) มกรา มงคล เมตตา มนูญ

(4) มนูญ เมตตา มงคล มกรา

ตอบ 1 หน้า 207 – 210 การเรียงบัตรรายการหนังสือภาษาไทย มีหลักเกณฑ์ดังนี้

1 ให้เรียงตามลําดับอักษร ก-ฮ โดยไม่คํานึงถึงเสียงอ่าน

2 คําที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะตัวเดียวกัน ให้เรียงคําที่มีตัวสะกดไว้ก่อนคําที่มีรูปสระ และเรียงลําดับรูปสระตามแบบพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน

3 ผู้แต่งคนเดียวกันเต่งหนังสือหลายเล่ม ให้เรียงตามลําดับอักษรตัวแรกของชื่อเรื่อง ฯลฯ (จากโจทย์ เรียงลําดับที่ถูกต้องได้ดังนี้ มกรา มงคล มนูญ เมตตา)

  1. ข้อใดเรียงลําดับอักษรตามแบบพจนานุกรมได้ถูกต้อง

(1) Gardner Gaum Ghosh Gabay

(2) Gabay Gardner Gaum Ghosh

(3) Gaum Ghosh Gardner Gabay

(4) Ghosh Gabay Gaum Gardner

ตอบ 2 หน้า 210 – 213 การเรียงบัตรรายการหนังสือภาษาอังกฤษ มีย กักเกณฑ์ดังนี้

1 ให้เรียงตามลําดับอักษร A – Z โดยเรียงแบบคําต่อคํา ไม่ต้องคํานึงถึงเครื่องหมายใด ๆ

2 ถ้ามีคํานําหน้านาม เช่น a, an, the, de, dela, les ฯลฯ ขึ้นต้นประโยคเวลาเรียงบัตรไม่ต้องคํานึงถึงคําเหล่านี้ แต่ให้เรียงลําดับอักษรของคําที่อยู่ถัดไป ยกเว้นถ้าคํานําหน้านาม เป็นส่วนหนึ่งของประโยค จะต้องเรียงลําดับอักษรของคํานําหน้านามนั้นด้วย

3 คําย่อที่เป็นคํานําหน้าชื่อบุคคลและยศให้เรียงลําดับเหมือนเป็นคําที่สะกดเต็ม เช่น Mr. เรียงตามคําสะกดเต็มคือ Mister ฯลฯ (จากโจทย์ เรียงลําดับที่ถูกต้องได้ดังนี้ Gabay Gardner Gaum Ghosh)

44 ข้อใดกล่าวถึง Sear’s List of Subject Headings ไม่ถูกต้อง

(1) บัญชีศัพท์ควบคุม

(2) บัญชีหัวเรื่องภาษาอังกฤษ

(3) บัญชีคําศัพท์ที่ใช้ค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต

(4) บัญชีคําศัพท์ที่ใช้ในระบบการสืบค้นข้อมูลของห้องสมุด

ตอบ 3 หน้า 221, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 250 – 251) หัวเรื่อง หมายถึง คําหรือวลีหรือชื่อเฉพาะต่าง ๆ ที่ใช้แทนเนื้อหาของหนังสือและสื่ออื่น ๆ โดยบรรณารักษ์ไม่ได้เป็นผู้เลือกขึ้นเอง แต่จะเลือกจากคําหรือวลีที่เป็นศัพท์ควบคุม เพื่อค้นหาหนังสือในห้องสมุดจากบัญชีหัวเรื่อง มาตรฐานที่นิยมใช้ในการจัดเก็บและสืบค้นข้อมูลของห้องสมุด ได้แก่

1 Library of Congress Subject Headings (LCSH) จัดทําขึ้นโดยห้องสมุดรัฐสภาอเมริกันเพื่อใช้เป็นบัญชีหัวเรื่องหนังสือที่เป็นภาษาอังกฤษสําหรับห้องสมุดขนาดใหญ่

2 Sear’s List of Subject Headings (Sear’s List) เป็นบัญชีหวเรื่องสําหรับหนังสือทั่วไปที่เป็นภาษาอังกฤษสําหรับห้องสมุดขนาดเล็ก โดยจะใช้คู่กับการจัดหมู่หนังสือในระบบทศนิยมดิวอี้

45 สัญลักษณ์ในข้อใดที่ใช้คั่นระหว่างหัวเรื่องที่ขึ้นต้นด้วยคํานามและมีคําคุณศัพท์ขยาย

(1) จุลภาค (,)

(2) ขีดกลางสองขีด (-)

(3) อัฒภาค ( 😉

(4) ทวิภาค (:)

ตอบ 1 หน้า 223 – 224, 228 การกําหนดคําที่ใช้เป็นหัวเรื่องใหญ่ มีลักษณะดังนี้

1 คํานามคําเดียวโดด ๆ เช่น กบ ไกด์ นก ฯลฯ

2 คําผสมที่เป็นคํานาม 2 คํา เชื่อมด้วย “and”, “กับ”, “และ” ทั้งที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องสัมพันธ์ ไปในทางเดียวกัน เช่น บ้านกับโรงเรียน บิดาและมารดา Libraries and readers ฯลฯและที่มีเนื้อหาค้านกัน เช่น ศาสนากับวิทยาศาสตร์ Good and evil ฯลฯ

3 คํานามที่ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค ( , ) คันกลางและมีคําคุณศัพท์ที่ขยายคําแรกให้สื่อความหมายชัดขึ้น เช่น Art, abstract ฯลฯ

4 กลุ่มคําหรือวลี เช่น บริการแปล ชีวิตชนบท ฯลฯ

5 ชื่อเฉพาะที่เป็นคําวิสามานยนาม เช่น ชื่อบุคคล ชื่อสัตว์ ชื่อสถานที่ ชื่อพระหรือเทพเจ้า ฯลฯ

46 “บ้านกับโรงเรียน” จัดเป็นหัวเรื่องประเภทใด

(1) คํานามคําเดียวโดด ๆ

(2) วลี

(3) คําผสม

(4) คําคู่

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 45. ประกอบ

47 ข้อใดหมายถึงสัญลักษณ์หรืออักษรย่อในบัญชีหัวเรื่องที่มีความหมายให้ “ดูเพิ่มเติม

(1) X

(2) XX

(3) see

(4) sa

ตอบ 4 หน้า 199, 225 รายการโยง (Cross Reference) คือ การกําหนดสัญลักษณ์เพื่อแสดงให้ทราบว่าคําหรือวลีที่ตามมาใช้เป็นหัวเรื่องได้หรือไม่ และมีความเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับ เนื้อหามากน้อยเพียงใด โดยมีตัวอย่างสัญลักษณ์ดังนี้

1 Sa (see also) หรือ “ดูเพิ่มเติมที่” ใช้โยงไปสู่หัวเรื่องอื่นที่เกี่ยวข้องหรือมีความสัมพันธ์กันแต่มีเนื้อหาแคบกว่า

2 X ใช้หน้าคําหรือวลีที่เลิกใช้เป็นหัวเรื่องแล้ว

3 see หรือ “ดูที่” ใช้โยงหน้าคําหรือวลีที่ไม่ใช้เป็นหัวเรื่องไปยังคําหรือวลีที่ใช้เป็นหัวเรื่อง

4 xx ใช้หน้าคําหรือวลีที่มีความหมายสัมพันธ์กับหัวเรื่องใหญ่ แต่มีเนื้อหากว้างกว่ามาก

48 “รายงานการศึกษาค้นคว้าเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลึกซึ้ง เพื่อค้นหาข้อเท็จจริง หรือสร้างทฤษฎีใหม่ เป็นไปตามวิธีการและขั้นตอนการวิจัยตามลําดับ” คือความหมายของรายงานในข้อใด

(1) งานวิจัย

(2) รายงานทั่วไป

(3) วิทยานิพนธ์

(4) ภาคนิพนธ์

ตอบ 1 หน้า 236 237 งานวิจัย (Research Paper) เป็นรายงานการศึกษาค้นคว้าวิจัยในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลึกซึ้ง โดยเป็นการค้นหาข้อเท็จจริง แสวงหาหลักการ หรือสร้างทฤษฎีใหม่ ทั้งนี้จะเป็นไปตามวิธีการและขั้นตอนการวิจัยตามลําดับ ได้แก่ การกําหนดปัญหา การตั้งสมมุติฐาน การรวบรวมข้อมูล การจัดระเบียบข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการหาข้อสรุป

49 ข้อใดไม่ใช่ข้อพิจารณาในการกําหนดเรื่องของรายงาน

(1) กําหนดเรื่องที่สนใจ

(2) กําหนดเรื่องที่ต้องการศึกษาเพิ่มเติม

(3) กําหนดเรื่องที่กว้าง ต้องใช้เวลานานในการรวบรวมข้อมูล

(4) กําหนดเรื่องที่มีข้อมูลในแหล่งสารสนเทศต่าง ๆ ให้ค้นคว้า

ตอบ 3 หน้า 238 239 การกําหนดเรื่องหรือหัวข้อของรายงานมีข้อที่ควรพิจารณา ดังนี้

1 เลือกเรื่องที่น่าสนใจหรือชอบมากที่สุด และควรสอดคล้องกับวิชาที่กําลังศึกษาอยู่

2 เลือกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสนใจและที่ต้องการศึกษาเพิ่มเติม

3 เลือกเรื่องที่ใกล้ตัวเราหรือที่เราเกี่ยวข้องด้วย

4 เลือกเรื่องที่มีแหล่งข้อมูลให้ค้นคว้าได้อย่างเพียงพอหรืออยู่ในวิสัยที่สามารถทําได้

5 เลือกเรื่องที่มีขอบเขตไม่กว้างหรือไม่ยาวจนเกินไป เพื่อให้พอเหมาะกับกําหนดเวลาและขนาดของรายงาน

50 บทสัมภาษณ์ ดร.วิวัฒน์ ศัลยกําธร เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง จัดเป็นแหล่งข้อมูลประเภทใด

(1) แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ

(2) แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ

(3) แหล่งข้อมูลภูมิปัญญา

(4) แหล่งข้อมูลตติยภูมิ

ตอบ 1 หน้า 67, 240 แหล่งข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Sources) เป็นหลักฐานเบื้องต้นหรือข้อมูลอันดับแรกที่ได้รับจากบุคคลโดยตรง เช่น ประสบการณ์ของตนเอง บันทึกส่วนตัว จดหมายโต้ตอบ พระบรมราโชวาท ต้นฉบับตัวเขียน (Manuscript) อัตชีวประวัติ บทสัมภาษณ์แบบสอบถาม สุนทรพจน์ ฯลฯ

2 แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Sources) หรือข้อมูลอันดับรอง ได้แก่ หนังสือหรือตําราและวัสดุที่เป็นผลผลิตของการค้นคว้าจากหลักฐานเบื้องต้น เช่น บทความจากวารสารข่าวในหนังสือพิมพ์ ดรรชนี สารานุกรม กฤตภาค ฯลฯ

51 การบันทึกลงบัตรรายการแบบลอกความ มีลักษณะข้อความอย่างไร

(1) ผู้ทํารายงานต้องให้คําอธิบายที่ได้ดีกว่าเนื้อหาเดิม

(2) ผู้ทํารายงานต้องดัดแปลงแนวคิดของผู้แต่งบางส่วน

(3) ผู้ทํารายงานใช้คําพูดของตนเอง งดเว้นการยกตัวอย่างการอธิบาย

(4) ผู้ทํารายงานต้องการใช้คําอธิบายตามเนื้อหาเดิม ไม่ดัดแปลงข้อความ

ตอบ 4 หน้า 257, 260 261 การบันทึกข้อมูลแบบลอกความ (Quotation) จะเหมาะกับข้อความหรือข้อเท็จจริงที่ชัดแจ้ง เช่น สูตรทางคณิตศาสตร์ ความหมายหรือคํานิยามในเชิงวิชาการ พระบรมราโชวาท พระราชบัญญัติ ข้อบังคับหรือคําสั่งของทางราชการ กวีนิพนธ์ และบทละคร ซึ่งมีข้อที่ควรระวัง คือ ต้องคัดลอกทุกอย่างให้เหมือนต้นฉบับ ตอนใดที่คัดลอกมาทั้งหมด ให้คร่อมไว้ด้วยเครื่องหมายอัญประกาศ (“ ”) แต่ถ้าหากคัดลอกมาเพียงบางส่วนให้ใช้ เครื่องหมายจุด 3 จุด (..) ใส่ไว้ก่อนหรือหลังข้อความนั้น โดยบัตรบันทึกชนิดนี้จะกระทําเมื่อ

1 ผู้ทํารายงานไม่สามารถหาคําพูดได้ดีกว่าเนื้อหาเดิม

2 เนื้อหาเดิมได้วางระเบียบกฏเกณฑ์และวิธีการไว้อย่างดีแล้วจึงไม่ควรดัดแปลง

3 เนื้อหาเดิมบรรยายถึงแนวคิดของผู้แต่งจึงไม่ควรดัดแปลง

52 ข้อใดเป็นข้อมูลที่ไม่ควรอยู่ในการเรียบเรียงรายงาน

(1) ชื่อย่อของหน่วยงานราชการ

(2) ใช้ภาษาที่ถูกต้องอธิบายให้ชัดเจน

(3) จัดเรียงเนื้อหาในแต่ละส่วนให้มีความสัมพันธ์กัน

(4) แจ้งแหล่งที่มาของข้อมูลที่ใช้ประกอบการทํารายงาน

ตอบ 1 หน้า 263 264, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 337) ข้อควรพิจารณาในการเรียบเรียงรายงานฉบับร่าง มีดังนี้ 1 เรียบเรียงเนื้อหาของรายงานแต่ละส่วนให้มีความสัมพันธ์กันตามลําดับของโครงเรื่องและบัตรบันทึก โดยเนื้อหาไม่ควรสั้นหรือยาวเกินไป

2 เตรียมบัตรบรรณานุกรม บัตรบันทึกข้อมูล และพจนานุกรมเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของคํา

3 ใช้ภาษาที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ สั้นกระชับ สุภาพ และอธิบายทุกสิ่งให้ชัดเจน

4 ไม่ใช้อักษรย่อ ชื่อย่อ และคําย่อ

5 เมื่อคัดลอกงานคนอื่นมาให้เขียนอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลให้ถูกต้องตามรูปแบบของสถาบันที่ส่งรายงาน โดยแสดงไว้หลังข้อความที่อ้าง และเลือกใช้แบบใดแบบหนึ่งตลอดรายงาน

6 การใส่ตาราง ภาพประกอบ แผนภูมิ แผนที่ กราฟ ต้องระบุแหล่งที่มา โดยใช้แบบแผนเช่นเดียวกับเชิงอรรถ ฯลฯ

53 ข้อใดคือส่วนประกอบตอนต้นของรายงาน

(1) บรรณานุกรม

(2) คํานํา

(3) ภาคผนวก

(4) อภิธานศัพท์

ตอบ 2 หน้า 274 – 275, 305 ส่วนประกอบของรายงาน แบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ ดังนี้

1 ส่วนประกอบตอนต้น ได้แก่ ปกนอก หน้าปกใน (หน้าชื่อเรื่อง) หน้าคํานํา หน้าสารบาญหรือสารบัญ และหน้าสารบัญภาพ

2 ส่วนที่เป็นเนื้อหา ได้แก่ บทนํา รายละเอียดของเนื้อหา และส่วนสรุป

3 ส่วนประกอบตอนท้าย ได้แก่ บรรณานุกรม ภาคผนวก อภิธานศัพท์ และปกหลัง 3

ข้อ 54 – 55 จงใช้ข้อมูลต่อไปนี้ตอบคําถาม

รุ่งรัตน์ แจ่มจันทร์. “พ้นซ์สมุนไพร” หมอชาวบ้าน 33 (เมษายน 2554) : หน้า 58 – 61.

54 ข้อมูลข้างต้นเป็นรายการบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศประเภทใด

(1) หนังสือผู้แต่งคนเดียว

(2) บทความวารสาร

(3) บทความหนังสือพิมพ์

(4) บทสัมภาษณ์

ตอบ 2 หน้า 256, 276, 285 – 286 ข้อมูลข้างต้นเป็นรายการบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศประเภทบทความวารสารตามคู่มือ Turabian ซึ่งมีแบบแผน คือ ชื่อผู้เขียนบทความ. “ชื่อบทความ” ชื่อวารสาร เล่มที่หรือปีที่, ฉบับที่ (เดือนและปี) : หน้า.

55 ข้อใดคือรูปแบบการเขียนอ้างอิงในเนื้อหาของบรรณานุกรมข้างต้น

(1) (รุ่งรัตน์ 2554, 58)

(2) (หมอชาวบ้าน 2554, 58)

(3) (แจ่มจันทร์ 2554, 58)

(4) (พ้นซ์สมุนไพร 2554, 58)

ตอบ 1 หน้า 264, 276, 286 การแสดงที่มาของข้อมูลเฉพาะที่แบบนาม-ปี (Author-date) คือรายการอ้างอิงแบบในวงเล็บที่แทรกลงไปในเนื้อหา (Cite-in-Text) โดยใส่ชื่อผู้เขียนและปีที่พิมพ์พร้อมด้วยเลขหน้าไว้ในวงเล็บหลังข้อความที่คัดลอกมาหรือที่ต้องการอ้างอิง เช่น จากรายการบรรณานุกรมของบทความวารสารข้างต้น สามารถเขียนรายการอ้างอิงในวงเล็บ ที่แทรกลงไปในเนื้อหาตามคู่มือ Turabian คือ (ชื่อผู้เขียนบทความ ปีที่พิมพ์, เลขหน้า) ได้แก่(รุ่งรัตน์ 2554, 58)

56 ข้อใดเป็นวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการพัฒนาอินเทอร์เน็ตในยุคเริ่มต้น

(1) การค้า

(2) การทหาร

(3) การศึกษา

(4) การเกษตร

ตอบ 2 (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 47 – 48), (คําบรรยาย) การพัฒนาอินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปีพ.ศ. 2512 เมื่อกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาได้ให้ทุนสนับสนุนโครงการพัฒนาเครือข่าย คอมพิวเตอร์ ซึ่งเริ่มแรกนั้นได้มีการจัดตั้งเครือข่ายอาร์พาเน็ต (ARPAnet) ขึ้น เพื่อเน้นใช้งาน ด้านการทหารและการสื่อสารในช่วงสงครามเย็นมากที่สุด และเพื่อเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของ หน่วยงานในมหาวิทยาลัย 4 แห่ง ซึ่งเป็นประโยชน์สําหรับงานวิจัย จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2526 จึงพัฒนามาเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และในปัจจุบันได้มีการนําอินเทอร์เน็ตมาใช้งานในเชิงพาณิชย์มากขึ้น

57 ตัวอักษรย่อข้อใดที่แสดงถึงมาตรฐานการสื่อสารเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

(1) DNS

(2) FTP

(3) IP

(4) TCP

ตอบ 3, 4 (คําบรรยาย) มาตรฐานการสื่อสารที่ใช้เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะใช้ชุดโปรโตคอล TCP/IP ซึ่งประกอบด้วย

1 โปรโตคอล TCP (Transmission Control Protocol) เป็นมาตรฐานที่ใช้สําหรับควบคุมการรับส่งข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

2 โปรโตคอล IP (Internet Protocol) เป็นมาตรฐานที่ใช้สําหรับระบุตําแหน่งหรือที่อยู่ที่ไม่ซ้ำกันของเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะช่วยตรวจสอบ แหล่งที่มาของข้อมูลได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้ระบบตัวเลข IP ประกอบด้วยตัวเลข 4 กลุ่มถูกคั่นด้วยจุด เช่น 128.56.48.12 เป็นต้น

58 จากอีเมล์แอดเดรส E-mail Address : [email protected] ส่วนใดอ้างถึงชื่อผู้ให้บริการอีเมล์

(1) peemasak

(2) yahoo.com

(3) @yahoo

(4) @yahoo.com

ตอบ 2 หน้า 311, (คําบรรยาย) จากโจทย์เป็นกลุ่มของ E-mail Address ซึ่งเป็นที่อยู่ประจําตัวของผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตเพื่อรับ-ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมล์ โดย E-mail Address ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ชื่อผู้ใช้บริการ, เครื่องหมาย @ และชื่อโดเมน (Domain Name) ของเครื่องแม่ข่ายที่เราใช้บริการอยู่ เช่น Thailand คือ ชื่อผู้ใช้ ส่วน yahoo.com คือ ชื่อโดเมนของเครื่องแม่ข่ายของผู้ให้บริการอีเมล์ เป็นต้น

59 ข้อใดหมายถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Web browser) สําหรับติดต่อสื่อสารระหว่างเว็บเพจและเครือข่ายเวิร์ลด์ไวด์เว็บ

(1) Google Chrome

(2) Windows

(3) Windows Network

(4) Adobe Acrobat

ตอบ 1 (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 55) Web browser คือ โปรแกรมเฉพาะที่ใช้แสดงผลข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตสําหรับการเข้าสู่บริการเว็บไซต์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้บริการเว็บไซต์ ได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น โดยโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ที่ออกมาใหม่ ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลด จากอินเทอร์เน็ตโดยตรงและไม่เสียค่าใช้จ่าย ตัวอย่างเว็บบราวเซอร์ที่ใช้กันแพร่หลาย เช่น Internet Explorer, Netscape Navigator, Mozila Firefox, Google Chrome can

60 ข้อใดไม่ใช่เว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์

(1) Wikipedia

(2) Facebook

(3) Twitter

(4) Line

ตอบ 1 (คําบรรยาย) เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) คือ เว็บไซต์ที่เชื่อมโยงผู้คนไว้ด้วยกันผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีจุดเด่นหลักก็คือ ช่วยให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ สามารถ สื่อสารได้ในวงกว้างและหลากหลายรูปแบบ เช่น ข้อความ รูปภาพ วิดีโอ ฯลฯ ในปัจจุบัน มีโปรแกรมหรือเว็บไซต์ที่ใช้สําหรับ Social Network เช่น Facebook, Twitter, Linkedin, Line, MySpace, Hi5 ฯลฯ (ส่วนเว็บไซต์ Wikipedia เป็นสารานุกรมออนไลน์ขนาดใหญ่)

Advertisement