การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา LIS 1003 การใช้ห้องสมุด

Advertisement

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 ข้อใดไม่จัดอยู่ในประเภทของห้องสมุดประชาชน

(1) ห้องสมุดสวนลุมพินี

(2) ห้องสมุดเฉลิมราชกุมารี

(3) ห้องสมุดสยามสมาคม

(4) ห้องสมุดนีลสัน เฮย์

ตอบ 3 หน้า 26 – 27, 33 ห้องสมุดประชาชน หมายถึง ห้องสมุดที่ตั้งขึ้นเพื่อให้บริการสารสนเทศครบทุกหมวดวิชาแก่ประชาชน โดยไม่จํากัดเพศ วัย เชื้อชาติ ศาสนา และพื้นฐานความรู้ ทั้งนี้เพื่อ ส่งเสริมให้ประชาชนมีนิสัยรักการอ่าน สามารถเรียนรู้ได้ตามอัธยาศัย และเพื่อการศึกษาค้นคว้า ตลอดชีวิต ตัวอย่างของห้องสมุดประชาชน เช่น ห้องสมุดเฉลิมราชกุมารี, ห้องสมุดนีลสัน เฮย์,ห้องสมุดสวนลุมพินี เป็นต้น ส่วนห้องสมุดสยามสมาคม เป็นห้องสมุดเฉพาะสังกัดสมาคม)

2 แหล่งสารสนเทศในข้อใดที่เก็บรวบรวมเอกสารเก่าโบราณที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ กฎหมาย และวิชาการ

(1) ศูนย์สารสนเทศ

(2) ห้องสมุดเฉพาะ

(3) พิพิธภัณฑ์

(4) หอจดหมายเหตุ

ตอบ 4 หน้า 36 หอจดหมายเหตุ เป็นหน่วยงานสารสนเทศที่จัดเก็บรวบรวมรักษาเอกสารจดหมายเหตุที่สําคัญ ๆ ไว้มากที่สุด เช่น เอกสารทางราชการ จดหมายโต้ตอบ บันทึกส่วนตัว ฯลฯ ซึ่งเป็นเอกสารโบราณหรือเอกสารเก่าย้อนหลังที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของประเทศหรือของทาง ราชการ หน่วยงานเอาชนและบุคคล ทั้งนี้เพื่อรวบรวมเหตุการณ์ที่ผ่านมาเพื่อเป็นหลักฐาน อ้างอิงทางประวัติศาสตร์ กฎหมาย วิชาการ หรือการค้นคว้าวิจัย และเพื่อเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติสืบไป เช่น หอจดหมายเหตุแห่งชาติ สังกัดกรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ

3 ฝ่ายใดของสํานักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคําแหงที่ให้บริการจุลสาร

(1) ฝ่ายเทคนิค

(2) ฝ่ายวารสารและเอกสาร

(3) ฝ่ายวัสดุไม่ตีพิมพ์

(4) ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ

ตอบ 2 หน้า 40 – 41 ฝ่ายวารสารและเอกสาร จะรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดหา พิจารณาคัดเลือกและประเมินคุณค่าวารสาร จัดทําดรรชนีและสาระสังเขปบทความจากวารสารและเอกสาร จัดทําบรรณานุกรมวารสาร รวมทั้งให้บริการวารสาร นิตยสาร หนังสือพิมพ์ จุลสาร สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง และเอกสารทั่ว ๆ ไป ตลอดจนจัดทํากฤตภาคไว้ให้บริการ

4 ข้อใดหมายถึงทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุด

(1) หนังสือที่มีการจัดระบบหมวดหมู่

(2) หนังสือที่บริษัทบริจาคให้กับห้องสมุด

(3) หนังสือที่บริษัทเสนอขายให้กับห้องสมุด

(4) หนังสือที่บรรณารักษ์กําลังดําเนินการจัดซื้อ

ตอบ 1 หน้า 55, 76, 133 – 34 ทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุด หมายถึง แหล่งสารสนเทศทุกรูปแบบที่ห้องสมุดได้คัดเลือก จัดหา วิเคราะห์ และจัดระบบหมวดหมู่อย่างเป็นระเบียบ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งตีพิมพ์บนแผ่นกระดาษ สิ่งบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยมือ สื่อโสตทัศน์ วัสดุย่อส่วน สืออิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนฐานข้อมูลออนไลน์ที่ห้องสมุดบอกรับเป็นสมาชิกและจัดประเภท พร้อมให้บริการ รวมทั้งบรรณารักษ์หรือบุคลากรบริการสารสนเทศที่ทําหน้าที่ให้บริการและ ช่วยผู้ใช้ค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

5 ข้อใดหมายถึงส่วนประกอบของหนังสือที่บอกให้ทราบถึงลําดับเนื้อหาของหนังสือในเล่ม

(1) หน้าปกหนังสือ

(2) หน้าสารบัญ

(3) หน้าลิขสิทธิ์

(4) หน้าคํานํา

ตอบ 2 หน้า 62 – 63 สารบาญหรือสารบัญ (Contents) เป็นส่วนประกอบของหนังสือที่ช่วยให้ผู้อ่านทราบถึงลําดับเนื้อหาของหนังสือในเล่ม และทําให้ทราบขอบเขตหรือโครงเรื่องของ หนังสือเล่มนั้นว่าแบ่งเป็นภาค เป็นตอน หรือเป็นบทอย่างไร อยู่หน้าไหน ทั้งนี้เพื่อสะดวกในการค้นหาเรื่องที่ต้องการอย่างกว้าง ๆ

6 ข้อความที่ได้จากการหาเสียงของนักการเมืองท้องถิ่น จัดอยู่ในกลุ่มใด

(1) ข้อมูล

(2) ความรู้

(3) ปัญญา

(4) สารสนเทศ

ตอบ 1 หน้า 3, 5, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 3), (คําบรรยาย) ความหมายของคําว่า“ข้อมูล” และ “สารสนเทศ” มีดังนี้

1 ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อมูลดิบหรือข้อเท็จจริงที่ยังไม่สมบูรณ์ ไม่ถูกต้อง หรือยังไม่ได้ผ่านการกลั่นกรอง วิเคราะห์ ตรวจสอบ และประเมินผลอย่างเป็นระบบ เช่น ข่าวจาก หนังสือพิมพ์หรือโทรทัศน์ ข่าวซุบซิบหรือข่าวลือ ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต การโฆษณาสินค้าการหาเสียงของนักการเมือง หรือการกล่าวหา/โจมตีคู่แข่งทางการเมือง เป็นต้น

2 สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข่าวสารความรู้ที่เป็นข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกิดจากข้อมูลที่ผ่านการกลั่นกรอง วิเคราะห์ และประมวลผลแล้ว ตลอดทั้งความรู้สึกนึกคิด ของมนุษย์ ซึ่งบันทึกลงในสื่อหรือวัสดุประเภทต่าง ๆ ที่สามารถถ่ายทอดและเผยแพร่ได้ ดังนั้นสารสนเทศจึงมีความถูกต้องและมีประโยชน์ต่อผู้ใช้มากกว่าข้อมูล เนื่องจากสามารถนํามาช่วยแก้ไขปัญหาและประกอบการตัดสินใจได้

7 ข้อใดกล่าวถึงเหตุการณ์สําคัญในการพัฒนาสื่อและแหล่งสารสนเทศได้ถูกต้อง

(1) สุเมเรียนเป็นชาติแรกที่ใช้อักษรคิวนิฟอร์มในการสื่อสาร

(2) กฎหมายตาต่อตา ฟันต่อฟัน เป็นผลงานของชาวอัสสิเรียน

(3) อียิปต์เป็นชาติที่สร้างห้องสมุดอเล็กซานเดรีย

(4) บาบิโลเนียนเป็นชาติแรกที่ผลิตแท่นพิมพ์

ตอบ 1 หน้า 6 – 8 เหตุการณ์สําคัญในการพัฒนาสื่อและแหล่งสารสนเทศ มีดังนี้

1 สุเมเรียนเป็นชาติแรกที่คิดค้นอักษรรูปลิม “คิวนิฟอร์ม” บันทึกลงบนแผ่นดินเหนียว

2 บาบิโลเนียนมีกฎหมายเข้มงวด “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน” ซึ่งตราขึ้นโดยพระเจ้าฮัมมูราบี

3 กรีกได้สร้างห้องสมุดที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ได้แก่ ห้องสมุดอเล็กซานเดรียในอียิปต์

4 โยฮัน กูเตนเบิร์ก ชาวเยอรมัน ประดิษฐ์แท่นพิมพ์สําเร็จเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1450 ฯลฯ

8 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการสร้างห้องสมุดและแหล่งสารสนเทศของไทย

(1) หอหลวงสร้างขึ้นเพื่อเก็บเอกสารของราชสํานัก

(2) หอพระมณเฑียรธรรมเป็นหอไตรสําหรับเก็บพระไตรปิฎก

(3) รัชกาลที่ 5 ได้สร้างหอพุทธสาสนสังคหะ

(4) รัชกาลที่ 7 ได้ย้ายหอสมุดแห่งชาติมายังท่าวาสุกรี

ตอบ 4 (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 12) ในสมัยรัชกาลที่ 7 ได้โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อ“หอพระสมุดวชิรญาณสําหรับพระนคร” มาเป็น “หอสมุดแห่งชาติ” ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 9 ได้ย้ายหอสมุดแห่งชาติมาอยู่ที่ท่าวาสุกรี ถนนสามเสน กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2509

9 ผู้ที่มีการวิเคราะห์ข้อมูลก่อนนําไปใช้ประโยชน์ แสดงว่ามีคุณสมบัติของนักปราชญ์ในข้อใด

(1) สุตตะ

(2) จินตะ

(3) ปุจฉา

(4) ลิขิต

ตอบ 2 หน้า 20, (คําบรรยาย) หลักของหัวใจนักปราชญ์ ได้แก่ “สุ จิ ป ลิ” มีดังนี้

1 สุ (สุต หรือสุตตะ) คือ การรับฟังหรือการรับสารทั้งปวง รวมทั้งการอ่านหนังสือ และการค้นคว้าหาความรู้จากสื่อต่าง ๆ

2 จิ (จินตนะ หรือจินตะ) คือ การคิดวิเคราะห์ไตร่ตรองสิ่งต่าง ๆ ก่อนตัดสินใจทําสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

3 ปุ (ปุจฉา) คือ การเต่ถามหรือเสวนาหาคําตอบจากผู้รู้

4 ลิ (ลิขิต) คือ การเขียนหรือการจดบันทึกข้อมูล

10 การค้นหาความหมายของคําจากพจนานุกรมต้องใช้วิธีการอ่านแบบใด

(1) การอ่านคร่าว ๆ

(2) การอ่านอย่างวิเคราะห์

(3) การอ่านเพื่อเก็บรายละเอียด

(4) การอ่านอย่างเจาะจง

ตอบ 4 หน้า 18 การอ่านอยางเฉพาะเจาะจง (Scanning) เป็นการอ่านเพื่อค้นหาคําตอบเฉพาะเรื่องซึ่งผู้อ่านไม่จําเป็นต้องเสียเวลาอ่านตั้งแต่หน้าแรกจนถึงหน้าสุดท้าย แต่ให้ผู้อ่านกวาดสายตาไป ตลอดหน้ากระดาษเพื่อหาสิ่งที่ต้องการ โดยการอ่านในลักษณะนี้มักจะนิยมใช้กับการค้นหาความรู้ จากหนังสืออ้างอิงประเภทต่าง ๆ เช่น การค้นหาความหมายของคําจากหนังสือพจนานุกรม การอ่านค้นหาคําตอบจากหนังสือสารานุกรม, การค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับองค์การและสถาบันต่าง ๆในหนังสือนามานุกรม ฯลฯ

11 ข้อใดกล่าวถึงอภิธานศัพท์

(1) ส่วนที่ให้คําอธิบายคํายากหรือคําศัพท์เฉพาะ

(2) ส่วนที่ช่วยอธิบายข้อความบางตอนที่ปรากฏในเนื้อหา

(3) บัญชีรายชื่อหนังสือที่ปรากฏในท้ายเล่มของหนังสือ

(4) บัญชีคําหรือวลีที่ปรากฏในตอนท้ายของหนังสือ

ตอบ 1 หน้า 64 อภิธานศัพท์ (Glossary) เป็นส่วนที่ให้คําอธิบายคํายากหรือศัพท์เฉพาะที่ปรากฏในเนื้อเรื่องของหนังสือ มักมีในหนังสือที่ใช้ศัพท์มาก และมีลักษณะคล้ายเป็นพจนานุกรม ของหนังสือเล่มนั้น เพื่อช่วยให้เข้าใจความหมายของศัพท์เฉพาะในหนังสือเล่มนั้น โดยที่ผู้อ่านไม่ต้องเสียเวลาเปิดหาความหมายจากพจนานุกรม

12 ข้อใดเป็นส่วนประกอบสําคัญของวารสารที่ดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน

(1) รูปภาพและอักษรบนปก

(2) ภาพข่าวและรูปภาพ

(3) ความนำและอักษรบนปก

(4) พาดหัวข่าวและรูปภาพ

ตอบ 1 หน้า 65 ส่วนประกอบของวารสารมี 3 ส่วน คือ

1 ปกวารสาร (Cover) เป็นส่วนประกอบที่สําคัญ ซึ่งประกอบด้วย ชื่อวารสาร ฉบับที่ ปีที่ เดือน ปีและราคา แต่องค์ประกอบที่สําคัญที่สุดก็คือ รูปภาพ (เป็นภาพเขียนหรือภาพถ่ายก็ได้)และอักษรบนปก ซึ่งสามารถดึงดูดให้ผู้อ่านสนใจวารสารแต่ละฉบับเพิ่มมากขึ้น

2 สารบาญหรือสารบัญ (Contents) บอกให้ทราบถึงลําดับของเนื้อเรื่องในฉบับ โดยมีชื่อเรื่อง ชื่อผู้เขียน เลขหน้า และรายการต่าง ๆ เกี่ยวกับวารสาร

3 คอลัมน์ต่าง ๆ (Columns) ซึ่งขึ้นอยู่กับวารสารแต่ละประเภท

13 วัดธรรมกายได้จัดพิมพ์แผ่นพับเพื่อแจกจ่ายให้กับประชาชนที่สนใจ แผ่นพับจัดเป็นทรัพยากรสารสนเทศประเภทใด

(1) กฤตภาค

(2) จุลสาร

(3) วารสาร

(4) ต้นฉบับตัวเขียน

ตอบ 2 หน้า 66 67 จุลสาร (Pamphlets) เป็นสิ่งพิมพ์ที่ให้สารสนเทศเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ทันสมัยและอยู่ในความสนใจของบุคคลทั่วไปในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นบทความทาง วิชาการต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ หรือความรู้ที่หน่วยงานราชการ องค์การ วัดหรือสมาคมต่าง ๆ ต้องการเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ อาจพิมพ์ออกเป็นเอกสารเล่มเล็กเดี่ยว ๆ หรือพิมพ์ เป็นตอน ๆ โดยรูปเล่มทั่วไปจะไม่มีการเข้าปกเย็บเล่มถาวร มีจํานวนหน้าไม่เกิน 60 หน้า ทั้งนี้อาจจะมีลักษณะเป็นแผ่นพับหรืออยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า “อนุสาร” (Brochure) ก็ได้

14 วิดีโอคลิปคําบรรยายของอาจารย์มหาวิทยาลัยรามคําแหง จัดเป็นสือประเภทใด

(1) โสตทัศน์

(2) โสตวัสดุ

(3) ทัศนวัสดุ

(4) อิเล็กทรอนิกส์

ตอบ 1 หน้า 67 – 73, 77 สื่อโสตทัศน์ (โสตทัศนวัสดุ หรือวัสดุไม่ตีพิมพ์) แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

1 โสตวัสดุ เป็นวัสดุที่สื่อสารโดยการฟัง เช่น แผ่นเสียงหรือจานเสียง เทป แถบบันทึกเสียง ซีดีออดิโอ แผ่นเอ็มพี 3 ฯลฯ

2 ทัศนวัสดุ เป็นวัสดุที่สื่อสารโดยการเห็น เช่น วัสดุกราฟิก รูปภาพ แผนที่ ลูกโลก ภาพนิ่ง แผ่นโปร่งใส หุ่นจําลอง ของตัวอย่าง ฯลฯ

3 สื่อโสตทัศน์ หรือโสตทัศนวัสดุ เป็นวัสดุที่สื่อสารทั้งโดยการฟังและการเห็น เช่น ภาพยนตร์ แถบวีดิทัศน์หรือวิดีโอ วีซีดี ดีวีดี วิดีโอคลิป ฯลฯ

15 ไมโครฟิล์มเหมือนกับไมโครฟิชในลักษณะใด

(1) เป็นวัสดุย่อส่วนที่ใช้เทคโนโลยีแสงเลเซอร์

(2) เป็นวัสดุย่อส่วนที่มีขนาดเท่ากับบัตรรายการ

(3) เป็นวัสดุย่อส่วนในรูปของบัตรทึบแสง

(4) เป็นวัสดุย่อส่วนในรูปของฟิล์มโปร่งแสง

ตอบ 4 หน้า 54, 73 – 74, 77 – 78 วัสดุย่อส่วน (Micrographic or Microforms) หมายถึง วัสดุที่บันทึกสารสนเทศจากสิ่งพิมพ์ที่เป็นหนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ วิทยานิพนธ์ จดหมายโต้ตอบ หนังสือหายาก ต้นฉบับตัวเขียน หรือเอกสารที่มีคุณค่าต่าง ๆ โดยวิธีการถ่ายย่อส่วนลงบน แผ่นฟิล์มขนาดเล็กเพื่อประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บและป้องกันการฉีกขาดทําลาย ซึ่งแบ่งออก ได้เป็น 2 ประเภท คือ

1 ฟิล์มโปร่งแสง ได้แก่ ไมโครฟิล์ม ไมโครฟิช และบัตรอเพอเจอร์

2 บัตรทึบแสง ได้แก่ ไมโครการ์ด และไมโครพริ้นท์

16 Flash Drive บันทึกข้อมูลเหมือนกับสื่อประเภทใด

(1) จานแม่เหล็กชนิดอ่อน (Floppy Disk)

(2) จานแสง (Optical Disk)

(3) ซีดีรอม (CD-ROM)

(4) วีดิทัศน์ดิจิตอล (DVD)

ตอบ 1 หน้า 75 – 76, 78, (คําบรรยาย) สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง สื่อที่บันทึกสารสนเทศด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นอักขระแบบดิจิตอล ซึ่งต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือแสงเลเซอร์ ในการบันทึกและอ่านข้อมูล แบ่งออกเป็น

1 แผ่นจานแม่เหล็กเเบบอ่อน (Diskette หรือ Floppy Disk) บันทึกโปรแกรมสําเร็จรูป

2 จานแสง (Optical Disk) เช่น VCD, DVD, CD-ROM บันทึกฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ฐานข้อมูลเชิงพาณิชย์ ฐานข้อมูลด้านการศึกษา ฐานข้อมูลเชิงบรรณานุกรม ฯลฯ

3 USB Flash Drive เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลหรือไฟล์จากคอมพิวเตอร์ โดยมีวิธีการบันทึกข้อมูลเหมือน Hard Disk หรือ Floppy Disk มีขนาดเล็ก น้ําหนักเบา สะดวก ในการพกพาติดตัว และสามารถเก็บข้อมูลได้จํานวนมากตั้งแต่ 128 MB – 8 GB

17 ข้อใดคือเครื่องมือช่วยค้นหาความรู้ที่พบได้ในพจนานุกรม

(1) คำนำทาง

(2) บรรณานุกรม

(3) สาระสังเขป

(4) ดรรชนี

ตอบ 1 หน้า 83 84 คํานําทาง (Guide Word หรือ Running Word) คือ คําหรืออักษรที่ปรากฏอยู่ตรงกลางหน้ากระดาษหรืออยู่ริมมุมหน้ากระดาษทุกหน้า โดยเฉพาะหนังสือประเภทพจนานุกรม และสารานุกรม เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยค้นหาความรู้ ซึ่งจะบอกให้ทราบว่าในหน้านั้น ๆ ขึ้นต้นด้วยตัวอักษรตั้งแต่ตัวใดถึงตัวใด

18 ข้อใดจัดอยู่ในประเภทพจนานุกรมเฉพาะวิชา

(1) พจนานุกรมคําย่อภาษาไทย

(2) พจนานุกรมคําคะนอง

(3) พจนานุกรมคํายืมภาษาเขมรในภาษาไทย

(4) พจนานุกรมศัพท์พืชสมุนไพร

ตอบ 4 หน้า 85, 89 – 90, (คําบรรยาย) “พจนานุกรมเฉพาะวิชา คือ พจนานุกรมสําหรับค้นหาความหมายของคําที่ใช้ในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง เช่น พจนานุกรมศัพท์คอมพิวเตอร์ฉบับปรับปรุงใหม่, พจนานุกรมศัพท์วิทยาศาสตร์การแพทย์, พจนานุกรมศัพท์พืชสมุนไพร และพจนานุกรมรวมคําศัพท์ทางการศึกษา ซึ่งจะเห้ศัพท์ทั้งทางด้านจิตวิทยา สังคมวิทยา และปรัชญา เป็นต้น

19 สารานุกรมทั่วไปมีลักษณะเด่นอย่างไร

(1) ให้สาระความรู้พื้นฐานอย่างกว้าง ๆ

(2) มีรูปเล่มสวยงาม ขนาดใหญ่

(3) ให้เนื้อหาเชิงลึกเหมาะสําหรับการค้นคว้า

(4) มีรูปเล่มเล็ก ขนาดกะทัดรัด พกพาสะดวก

ตอบ 1 หน้า 91 – 92, 95 สารานุกรม (Encyclopedia) หมายถึง หนังสือที่รวบรวมสาระความรู้หรือข้อเท็จจริงพื้นฐานในแขนงวิชาต่าง ๆ อย่างกว้าง ๆ เขียนโดยผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาวิชา เพื่อให้ข้อมูลหรือความรู้ในรูปของบทความ โดยมีอักษรย่อของผู้เขียนกํากับไว้ที่ท้าย บทความ และจัดเรียงเนื้อหาตามลําดับตัวอักษรหรือแบ่งเป็นหมวดหมู่วิชา ซึ่งอาจมีเล่มเดียวจบ หรือหลายเล่มจบที่เรียกว่า “หนังสือชุด” ส่วนใหญ่สารานุกรมจะมีภาพประกอบ และมีดรรชนีช่วยค้นเรื่อง (Fact Index) อยู่ตอนท้ายเล่ม หรือถ้าเป็นหนังสือชุดก็จะอยู่เล่มสุดท้าย

20 ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับอักขรานุกรมชีวประวัติ

(1) ให้ประวัติบุคคลทั้งผู้สิ้นชีวิตและยังมีชีวิตอยู่

(2) ให้ประวัติของบุคคลชาวต่างประเทศ

(3) ให้ประวัติบุคคลที่สิ้นชีวิตแล้วเท่านั้น

(4) ให้ประวัติบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น

ตอบ 1 หน้า 97 98 อักขรานุกรมชีวประวัติ คือ หนังสือที่รวบรวมประวัติชีวิตของบุคคลสําคัญโดยจะให้รายละเอียดเกี่ยวกับเชื้อชาติ สถานที่เกิด วันเดือนปีเกิด หรือตาย (ในกรณีที่บุคคล เจ้าของชีวประวัติสิ้นชีวิตไปแล้ว) ที่อยู่ ระดับการศึกษา ตําแหน่งหน้าที่การงาน ประสบการณ์ ในการทํางาน ผลงานดีเด่น และสถานภาพทางครอบครัว ทั้งนี้เพื่อต้องการให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาว่าผู้ที่มีชื่อเสียงในอดีตนั้นได้ทําคุณประโยชน์ให้กับบ้านเมืองอย่างไรบ้าง

21 “รายชื่อโรงงานในประเทศไทย” จัดเป็นหนังสืออ้างอิงประเภทใด

(1) สมพัตสร

(2) สารานุกรม

(3) นามานุกรม

(4) หนังสือรายปี

ตอบ 3 หน้า 102 – 103, 105 นามานุกรม (Directory) คือ หนังสือที่รวบรวมรายชื่อของบุคคล องค์การหรือหน่วยงานต่าง ๆ พร้อมกับสถานที่อยู่หรือที่ตั้งและหมายเลขโทรศัพท์สําหรับการติดต่อ แบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท ได้แก่

1 นามานุกรมท้องถิ่น เช่น สมุดโทรศัพท์

2 นามานุกรมของรัฐ เช่น นามสงเคราะห์ส่วนราชการไทย

3 นามานุกรมสถาบัน เช่น ชื่อมหาวิทยาลัย โรงเรียน ห้องสมุด ฯลฯ

4 นามานุกรมสาขาอาชีพ เช่น ทําเนียบกระทรวงยุติธรรม พุทธศักราช 2530

5 นามานุกรมการค้าและธุรกิจ เช่น รวมโรงงานอุตสาหกรรม

22 ต้องการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับการดําเนินงานของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สามารถค้นได้จากหนังสืออ้างอิงประเภทใด

(1) สมพัตสร

(2) สารานุกรม

(3) นามานุกรม

(4) หนังสือรายปี

ตอบ 4 หน้า 109 หนังสือรายปี (Yearbooks) เป็นหนังสือที่พิมพ์ออ เป็นรายปี โดยจะให้ข่าวสารข้อมูล เหตุการณ์ กิจกรรมความเคลื่อนไหว แนวโน้ม และความก้าวหน้าในด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในประเทศต่าง ๆ ภายใน รอบปีหนึ่ง ๆ ที่ผ่านมา ซึ่งจะเสนอในรูปของการพรรณนาความอย่างสั้น ๆ โดยมีตัวเลขสถิติ ประกอบด้วย แบ่งออกเป็น หนังสือรายปีของสารานุกรม หนังสือรายงานผลการดําเนินงานประจําปีของหน่วยงานต่าง ๆ หนังสือรายปีเฉพาะด้าน และสมุดสถิติรายปี

23 ลักษณะสําคัญและประโยชน์ของอักขรานุกรมภูมิศาสตร์ตรงกับข้อใด

(1) แนะนําการเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ

(2) รายชื่อสถานที่ท่องเที่ยว

(3) ให้คําจํากัดความของชื่อทางภูมิศาสตร์

(4) แสดงแผนที่ทางภูมิศาสตร์

ตอบ 3 หน้า 115 อักขรานารมภูมิศาสตร์ เป็นหนังสือที่ให้ข้อมูลอย่างสังเขปเกี่ยวกับชื่อของสถานที่สําคัญทางภูมิศาสตร์ มีลักษณะคล้ายพจนานุกรมที่ให้คําจํากัดความเกี่ยวกับชื่อและสถานที่ทางภูมิศาสตร์อย่างสั้น ๆ ให้คําอ่านและรายละเอียดอื่น ๆ ได้อย่างกระชับและน่าเชื่อถือที่สุด เช่น สถานที่ตั้ง ระยะทาง เส้นรุ้ง เส้นแวง ความตื้นลึกของทะเล ความสูงของภูเขา จํานวนผลผลิตทางเกษตรกรรม อุตสาหกรรม จํานวนประชากร ตราประจําจังหวัด เป็นต้น

24 ต้องการรวบรวมบทความเกี่ยวกับ “ราชวงศ์ไทย” ควรใช้เครื่องมือในข้อใด

(1) ดรรชนีท้ายเล่ม

(2) ดรรชนีวารสาร

(3) ตรรชนีหนังสือพิมพ์

(4) ดรรชนีที่ห้องสมุดจัดทําขึ้นเอง

ตอบ 2 หน้า 120 ดรรชนีวารสาร เป็นเครื่องมือในการค้นหาบทความในวารสารแต่ละรายการโดยจะให้ชื่อผู้แต่ง ชื่อบทความ ชื่อวารสาร ฉบับที่ หน้า เดือน .ละปีที่จัดพิมพ์ ทั้งนี้ ดรรชนีวารสารสามารถแบ่งย่อยเด้อีก 3 ประเภท ได้แก่

1 ดรรชนีวารสารทั่วไป

2 ดรรชนีวารสารเฉพาะวิชา

3 ดรรชนีวารสารเฉพาะชื่อ

25 หนังสือบรรณานุกรมมีลักษณะอย่างไร

(1) หนังสือที่รวบรวมรายชื่อสิ่งพิมพ์

(2) หนังสือที่รวบรวมบัญชีคําสําหรับสืบค้น

(3) หนังสือที่รวบรวมเนื้อหาสําคัญเฉพาะสาขาวิชา

(4) หนังสือที่รวบรวมบทคัดย่อ

ตอบ 1 หน้า 129 หนังสือบรรณานุกรม (Bibliography) เป็นหนังสืออ้างอิงที่รวบรวมรายชื่อหนังสือสิ่งพิมพ์ หรือทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่าง ๆ ทั้งที่ผลิตในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งมี ทั้งที่จัดทําเป็นตัวเล่มหนังสือ หรืออาจปรากฏที่ท้ายเล่มหรือท้ายบทแต่ละบทเพื่อทําหน้าที่ เป็นเอกสารอ้างอิง โดยบรรณานุกรมจะให้รายละเอียดเกี่ยวกับรายชื่อผู้แต่ง รายชื่อสิ่งพิมพ์ หรือทรัพยากรสารสนเทศรูปแบบอื่น ๆ รายชื่อผู้ผลิต (สํานักพิมพ์) สถานที่ผลิต ปีที่ผลิตลักษณะรูปเล่ม และราคา บางเล่มอาจมีบรรณนิทัศน์สังเขปและบทวิจารณ์ประกอบอยู่ด้วย

26 ข้อใดคือสัญลักษณ์แสดงกลุ่มเนื้อหาของหนังสือแต่ละเล่ม

(1) เลขหมู่

(2) เลขทะเบียน

(3) เลขเรียกหนังสือ

(4) เลขมาตรฐานสากลประจําหนังสือ

ตอบ 1 หน้า 157 เลขหมู่หนังสือ (Class Number) เป็นสัญลักษณ์ที่กําหนดขึ้นเพื่อแสดงกลุ่มเนื้อหาสาระของหนังสือและ/หรือประพันธ์วิธีของหนังสือแต่ละเล่ม ทั้งนี้อาจแตกต่างกันตามระบบการจัดหมู่หนังสือ

27 ข้อใดเป็นระบบการจัดหมู่หนังสือที่แบ่งสรรพวิทยาการออกเป็น 10 หมวดใหญ่ และใช้เลขอารบิก เป็นสัญลักษณ์

(1) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมสากล

(2) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน

(3) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้

(4) ระบบของคัตเตอร์

ตอบ 3 หน้า 151, 153 ระบบการจัดหม หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้ (Dewey Decimal Classification :  DDC หรือ DC) เป็นระบบที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในห้องสมุดขนาดเล็กหรือขนาดกลางที่มี หนังสือทั่ว ๆ ไปหลายสาขาวิชาในจํานวนที่ไม่มากนัก เช่น ห้องสมุดประชาชน ห้องสมุดโรงเรียน เป็นต้น ซึ่งการจัดหมู่หนังสือด้วยระบบนี้จะเป็นแบบเชิงกว้าง โดยแบ่งสรรพวิทยาการในโลก ออกเป็น 10 หมวดใหญ่ และใช้สัญลักษณ์แสดงเนื้อหาของหนังสือเป็นเลขอารบิก 3 หลัก ตั้งแต่ 100 – 000 กับทศนิยมอีกไม่จํากัดตําแหน่งเพื่อแบ่งเนื้อหาให้ชี้เฉพาะยิ่งขึ้น

28 ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกันจําแนกออกเป็นหมวดหมู่

(1) 20 หมวด

(2) 24 หมวด

(3) 26 หมวด

(4) 5 หมวด

ตอบ 1 หน้า 153 – 155 ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classification : LCC หรือ LC) เป็นระบบที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายในห้องสมุดขนาดใหญ่ ที่มีหนังสือเฉพาะสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง หรือมีหนังสือทั่วไปทุกประเภทเป็นจํานวนมาก เช่น ห้องสมุดเฉพาะ ห้องสมุดมหาวิทยาลัย เป็นต้น โดยจะแบ่งเนื้อหาหนังสือออกเป็น 20 หมวดใหญ่ และใช้สัญลักษณ์ในการจัดหมู่หรือเลขหมู่หนังสือเป็นแบบผสม คือ ใช้ตัวอักษรโรมัน A – Z (ยกเว้น I, 0, W, X, Y) แสดงเนื้อหาในหมวดใหญ่ และใช้ตัวเลขอารบิกตั้งแต่ 1 – 9999 กับทศนิยมอีกไม่จํากัดตําแหน่งแบ่งย่อยเรื่องอีกที่หนึ่ง

29 ข้อใดคือระบบการจัดหมู่หนังสือที่แบ่งสรรพวิทยาการออกเป็น 2 หมวดใหญ่

(1) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน

(2) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้

(3) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดแพทย์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา

(4) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมสากล

ตอบ 3 หน้า 155 – 156, (คําบรรยาย) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดแพทย์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (National Library Medicine : NLM) เป็นระบบการจัดหมู่หนังสือที่ใช้กับ ห้องสมุดทางการแพทย์ สาธารณสุข และพยาบาล โดยจะใช้อักษรโรมัน Q กับ W และเลขอารบิก เป็นสัญลักษณ์เช่นเดียวกับการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน แต่แตกต่างในด้าน การจําแนกสรรพวิทยาการออกเป็น 2 หมวดใหญ่ คือ หมวด Qวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน และหมวด W วิชาการแพทย์และวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นระบบนี้จึงนิยมใช้กับห้องสมุด ของคณะแพทยศาสตร์ในทุกสถาบัน เช่น หอสมุดศิริราช, ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่, ห้องสมุดวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพฯ, ห้องสมุดคณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.ขอนแก่น, ห้องสมุดของโรงพยาบาลต่าง ๆ เป็นต้น

30 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเลขเรียกหนังสือ

(1) เลขเรียกหนังสือประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ เลขหมู่หนังสือ เลขผู้แต่ง และอักษรชื่อเรื่อง

(2) เลขเรียกหนังสือเป็นสัญลักษณ์ที่ห้องสมุดกําหนดขึ้นให้กับหนังสือทุกเล่มในห้องสมุด

(3) การจัดเรียงหนังสือบนชั้นพิจารณาจากเลขเรียกหนังสือ

(4) เลขเรียกหนังสือไม่สามารถบอกเนื้อหาภายในของหนังสือได้

ตอบ 4 หน้า 157, 159 – 161, (คําบรรยาย) เลขเรียกหนังสือ (Call Number) เป็นสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายเฉพาะที่ห้องสมุดกําหนดให้กับหนังสือทุกเล่มที่มีอยู่ในห้องสมุด ซึ่งประกอบด้วย ส่วนสําคัญ ๆ 3 ส่วน คือ เลขหมู่หนังสือ เลขผู้แต่ง และอักษรชื่อเรื่อง (แต่ตราบางเล่มอาจ ประกอบด้วย เลขหมู่หนังสือ, เลขผู้แต่งและอักษรตัวแรกของชื่อเรื่อง, สัญลักษณ์อื่น ๆ เช่น ปี พ.ศ. เล่มที่ ฉบับที่ ฯลฯ) ทั้งนี้หนังสือทุกเล่มในห้องสมุดจะจัดเรียงอยู่บนชั้นตามลําดับของ เลขเรียกหนังสือ ซึ่งสามารถบอกเนื้อหาสาระภายในของหนังสือได้ โดยดูจากเลขหมู่หนังสือ(ดูคําอธิบายข้อ 26 ประกอบ)

31 จงเรียงหนังสือต่อไปนี้ให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์

PE 507

.F26

1963

 

PE 31

.B73

1969

 

PE 31

.F66

1968

PE 113

.D82

1978

FE 31

.E6

1978

 

(1) จ ก ข คง

(2) ง ข อ ค ก

(3) ก จ ง ข )

(4) ข จ ค ง ก

ตอบ 4 หน้า 159 160 วิธีการจัดเรียงหนังสือบนชั้นในห้องสมุด จะพิจารณาจากเลขเรียกหนังสือจากซ้ายไปขวา จากชั้นบนลงชั้นล่าง และจะพิจารณาจัดลําดับจากเลขหมู่หนังสือก่อน ทั้งนี้ ห้องสมุดที่จัดหมู่หนังสือด้วยระบบทศนิยมดิวอี้จะเรียงลําดับจากเลขหมู่น้อยไปหาเลขหมู่มาก ส่วนห้องสมุดที่จัดหมู่หนังสือด้วยระบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกันจะพิจารณาเรียงลําดับตาม ตัวอักษร A – Z ก่อน ต่อเมื่อตัวอักษรซ้ํากันจึงค่อยเรียงลําดับจากเลขหมู่น้อยไปหาเลขหมู่มาก แต่ถ้าเลขหมู่ซ้ํากันก็ให้พิจารณาจากเลขผู้แต่งหรือเลขประจําหนังสือ และอักษรชื่อเรื่องตามลําดับ(จากโจทย์ เรียงลําดับที่ถูกต้องได้ดังนี้ ข จ คง ก)

32 ข้อใดคือวิธีการจัดเก็บสิ่งพิมพ์รัฐบาลของสํานักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคําแหง

(1) จัดเก็บไว้ที่ฝ่ายวัสดุไม่ตีพิมพ์

(2) จัดรวมกับสิ่งพิมพ์อื่น ๆ

(3) จัดแยกเป็น Collection พิเศษ

(4) จัดหมวดหมู่เช่นเดียวกับหนังสือ

ตอบ 3 หน้า 131 132, 141, 166 167 สิ่งพิมพ์รัฐบาล หมายถึง สิ่งพิมพ์ที่หน่วยงานราชการเป็นผู้รับผิดชอบในการพิมพ์ขึ้น ซึ่งสาระในเล่มอาจเป็นรายงานการปฏิบัติงาน รายงานประจําปี ร่างกฎหมายและมติต่าง ๆ ฯลฯ โดยสํานักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคําแหง ได้จัดเก็บ สิ่งพิมพ์รัฐบาลด้วยการแยกเป็นทรัพยากรลักษณะพิเศษ (Special Collection) และกําหนด ระบบการจัดหมู่ขึ้นโดยเฉพาะ คือ กําหนดอักษร GP (Government Publication) เพื่อเป็น สัญลักษณ์พิเศษของสิ่งพิมพ์รัฐบาลกํากับเหนือเลขเรียกหนังสือ หลังจากนั้นจึงจัดแยกสิ่งพิมพ์ ตามหน่วยงานรัฐบาลในระดับกระทรวง กรม กอง ฯลฯ

33 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการจัดเก็บหนังสือพิมพ์ฉบับย้อนหลัง

(1) จัดเก็บไว้ในรูปไมโครฟิล์ม

(2) นําไปเย็บรวมเป็นเล่มเมื่อได้รับครบปี

(3) คัดเลือกหนังสือพิมพ์ฉบับสําคัญ ๆ ถ่ายเป็นวัสดุย่อส่วน

(4) จัดเก็บไว้ระยะเวลาหนึ่งประมาณ 1 – 2 ปี แล้วคัดทิ้งไป

ตอบ 2 หน้า 169 ห้องสมุดโดยทั่วไปจะเก็บหนังสือพิมพ์ฉบับย้อนหลังไว้ระยะเวลาหนึ่งประมาณ 1 – 2 ปี แล้วคัดทิ้งไป แต่ห้องสมุดบางแห่งนิยมคัดเลือกและจัดเก็บหนังสือพิมพ์ฉบับย้อนหลัง ที่สําคัญ ๆ ด้วยการถ่ายเป็นวัสดุย่อส่วนแล้วเก็บไว้ในรูปของไมโครฟิล์ม เพื่อรักษาสภาพและ ประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บ เช่น สํานักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคําแหง จะจัดเก็บ หนังสือพิมพ์ 10 ฉบับ ไว้ในรูปไมโครฟิล์ม ได้แก่ สยามรัฐ มติชน ไทยรัฐ เดลินิวส์ ข่าวพาณิชย์ มติชนรายสัปดาห์ สยามรัฐรายสัปดาห์ ประชาชาติ Bangkok Post และ The Nation

34 ข้อใดเป็นการจัดเก็บจุลสารที่ถูกต้อง

(1) จัดหมวดหมู่เช่นเดียวกับหนังสือ

(2) จัดเรียงตามลําดับอักษรของหัวเรื่องจัดเก็บเข้าแฟ้มเอกสาร

(3) จัดเรียงตามลําดับหัวเรื่องไว้บนชั้น

(4) จัดเก็บรวมไว้กับวารสารย้อนหลัง

ตอบ 2 หน้า 163, 170 171 วิธีการจัดเก็บจุลสารและกฤตภาคของห้องสมุดจะใช้วิธีเดียวกันส่วนมากนิยมจัดเก็บแยกออกจากวัสดุสารสนเทศอื่น ๆ คือ จัดเก็บโดยกําหนดหัวเรื่องกํากับไว้ ที่มุมบนของปก แล้วนําจุลสารและกฤตภาคที่มีหัวเรื่องเดียวกันเก็บรวบรวมไว้ในแฟ้ม ปิดป้าย ชื่อหัวเรื่องที่แฟ้ม และนําแฟ้มไปจัดเก็บไว้ในตู้เก็บเอกสารเรียงตามลําดับอักษรของหัวเรื่องโดยที่หน้าลิ้นชักจะมีอักษรกํากับไว้ให้ทราบว่าแต่ละลิ้นชักมีแฟ้มเริ่มจากอักษรตัวใดถึงตัวใด

35 ข้อใดคือวิธีการจัดเก็บไมโครฟิล์มของห้องสมดที่เอื้อให้ผู้ใช้สามารถค้นหาได้อย่างรวดเร็ว

(1) จัดเรียงใสตะแกรงพลาสติกตามลําดับหัวเรื่อง

(2) จัดเก็บไว้ในกล่องหรือตลับตามลําดับขนาด

(3) จัดเก็บในลิ้นชักตู้เหล็กตามลําดับเลขทะเบียน

(4) จัดเรียงไว้บนชั้นรวมไปกับหนังสือตามลําดับเลขหมู่

ตอบ 3 หน้า 177, 180, 351 วิธีจัดเก็บไมโครฟิล์มของห้องสมุดมีอยู่ 2 วิธี ดังนี้

1 จัดเรียงขึ้นชั้นรวมไว้กับสิ่งพิมพ์ โดยห้องสมุดจะจัดเก็บไมโครฟิล์มทั้งที่เป็นชนิดม้วนและตลับด้วยการจัดทําป้าย ซึ่งประกอบด้วย เลขทะเบียน ชื่อเรื่อง ความยาว ความกว้าง ประเภท ของฟิล์ม และสัญลักษณ์ที่กําหนดเป็นเลขหมู่ติดไว้บนกล่องม้วนและตลับ แล้วจึงจัดเรียงขึ้นชั้นรวมไว้กับสิ่งพิมพ์อื่น ๆ

2 จัดแยกไว้ในตู้ โดยห้องสมุดบางแห่งอาจนํากล่องหรือตลับไมโครฟิล์มที่ปิดป้ายมาแยกเป็นหมวดหมู่ แล้วเรียงตามลําดับเลขทะเบียนไว้ในลิ้นชักตู้เหล็ก หรือเรียงใส่ตะแกรงพลาสติกไว้บนชั้นแบบชั้นเก็บหนังสือ

36 ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการจัดเก็บซีดีรอม

(1) แยกเก็บไว้ในตู้เก็บตามหัวเรื่อง และจัดเรียงตามตัวอักษร

(2) จัดเก็บในระบบชั้นปิดตามเลขทะเบียน

(3) ให้เลขหมู่ตามโปรแกรมคําสั่งและเรียงบนชั้นแบบหนังสือ

(4) จัดเรียงใส่ตะแกรงพลาสติกไว้บนชั้นแบนชั้นหนังสือ

ตอบ 2 หน้า 163, 178, (คําบรรยาย) ห้องสมุดนิยมจัดเก็บซีดีรอม ซึ่งเป็นวัสดุอิเล็กทรอนิกส์ไว้ในระบบชั้นปิดตามเลขทะเบียน โดยแยกไว้ต่างหากจากทรัพยากรสารสนเทศอื่น ๆ และจะมีเจ้าหน้าที่ คอยหยิบให้เมื่อมีผู้ใช้มาขอรับบริการ โดยเจ้าหน้าที่จะเตรียมแผ่นซีดีรอมบรรจุเข้าเครื่องอ่านและเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องใช้ควบคู่กัน เพื่อให้ผู้ใช้บริการค้นหาข้อมูลตามที่ต้องการ

37 เครื่องมือในข้อใดที่ห้องสมุดใช้เป็นเครื่องมือในการค้นหาทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด

(1) รายการออนไลน์

(2) รายการแบบบัตร

(3) รายการบนวัสดุย่อส่วน

(4) รายการแบบพิมพ์รวมเล่ม

ตอบ 1 หน้า 190, 313, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 219) ในยุคปัจจุบันผู้ใช้ห้องสมุดสามารถสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว โดยใช้บัตรรายการแบบ ออนไลน์ (Online Catalog) คือ การบันทึกข้อมูลของหนังสือหรือทรัพยากรสารสนเทศของ ห้องสมุดไว้ในคอมพิวเตอร์ ซึ่งระบบค้นคืนแบบออนไลน์ที่ใช้ค้นหารายการหนังสือในห้องสมุด เรียกว่า OPAC (Online Public Access Catalog) เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเรียกใช้ข้อมูลได้จากจอภาพ โดยเลือกใช้คําสั่งจากเมนูหลักที่กําหนดไว้

38 ข้อใดไม่ใช่ช่องทางในการสืบค้นหาหนังสือของห้องสมุด

(1) ผู้แต่งหนังสือ

(2) ผู้แต่งร่วม

(3) ผู้แปล

(4) ชื่อผู้ทํารายการ

ตอบ 4 หน้า 189, 194 – 200 บัตรรายการ เป็นเครื่องมือสําคัญอย่างหนึ่งที่บรรณารักษ์จัดทําขึ้นเพื่อเป็นช่องทางในการสืบค้นหาหนังสือของห้องสมุด แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ

1 บัตรหลักหรือบัตรยืนพื้น ได้แก่ บัตรผู้แต่ง ซึ่งจะบอกชื่อผู้แต่งหนังสือ หรือรายการหลัก

2 บัตรชื่อเรื่อง

3 บัตรหัวเรื่องหรือบัตรเรื่อง

4 บัตรแจ้งหมู่หรือบัตรทะเบียนหนังสือ นอกจากนี้ห้องสมุดยังมีการทําบัตรเพิ่มชนิดอื่น ๆ เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สืบค้นหนังสือจากจุดค้นได้หลาย ๆ จุด ได้แก่ บัตรผู้แต่งร่วม บัตรผู้แปล บัตรผู้วาดภาพ บัตรชื่อชุด และบัตรโยง

39 ส่วนใดของรายการที่ช่วยยืนยันความเป็นปัจจุบันของเนื้อหาหนังสือ

(1) ครั้งที่พิมพ์

(2) ปีที่พิมพ์

(3) เมืองที่พิมพ์

(4) สํานักพิมพ์

ตอบ 2 หน้า 60, 193 ปีที่พิมพ์ (Date of Publication) คือ ปีที่ผลิตสิ่งพิมพ์นั้น หรือปีที่หนังสือแต่ละเล่มได้รับการจัดพิมพ์ เพื่อเสดงความเก่า ความเป็นปัจจุบัน และความทันสมัยของเนื้อหา ในหนังสือ ดังนั้นปีที่พิมพ์จึงมีความสําคัญเพราะจะช่วยให้ผู้ใช้ทราบว่าเป็นหนังสือเก่าหรือใหม่ สําหรับหนังสือที่เป็นภาษาต่างประเทศจะนิยมลงรายการด้วยปีลิขสิทธิ์ (Copyright Date)โดยมีตัวอักษร C นําหน้าปี เช่น 1990

40 ส่วนใดของรายการที่ช่วยให้ทราบว่าหนังสือมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร

(1) หัวเรื่องในแนวสืบค้น

(2) สํานักพิมพ์

(3) ผู้แต่งจากรายการแจ้งความรับผิดชอบ

(4) ชื่อผู้แต่งร่วม

ตอบ 1 หน้า 193, 195, 214 แนวสืบค้น (Tracing) เป็นรายการที่บอกให้ทราบว่านอกจากบัตรยืนพื้นหรือบัตรหลักแล้ว ห้องสมุดได้ทําบัตรชนิดใดเพิ่มอีกบ้าง แนวสืบค้นมี 2 ส่วน ได้แก่

1 ส่วนที่เป็นหัวเรื่อง (Subject Headings) ได้แก่ บัตรหัวเรื่องหรือบัตรเรื่อง ซึ่งจะช่วยให้ผู้อ่านทราบว่าหนังสือเล่มนั้นมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร

2 รายการเพิ่มต่าง ๆ เช่น บัตรผู้แต่งร่วม บัตรผู้แปล บัตรผู้วาดภาพประกอบ เป็นต้น

41 ข้อใดที่ไม่ปรากฏอยู่ในรายการหนังสือของห้องสมุด

(1) ความหนาของหนังสือ

(2) ส่วนสูงของหนังสือ

(3) น้ำหนักของหนังสือ

(4) สีของภาพประกอบ

ตอบ 3 หน้า 191, 193, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 220) ลักษณะวัสดุ หรือลักษณะรูปร่าง (Physical Description) เป็นรายการหนังสือของห้องสมุดที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะ รูปร่าง ส่วนประกอบ และขนาดของหนังสือ ได้แก่ จํานวนหน้า (ความหนาของหนังสือ) หรือ จํานวนเล่ม ภาพประกอบ (สีของภาพประกอบ) และส่วนสูงของหนังสือ เช่น V, 120 p. : it. (some cot.) ; 21 cm. หมายถึง หนังสือเล่มเดียวจบ (v = volume) มีทั้งหมด 120 หน้า (120 p.) มีภาพประกอบ (it. = illustration) สีบางส่วน (some col. = some color) และมีส่วนสูง 21 เซนติเมตร (21 cm.)

42 “ill.” ข้อความนี้ปรากฏในรายการมีประโยชน์สําหรับผู้ใช้อย่างไร

(1) แจ้งให้ทราบว่าหนังสือเล่มนี้ไม่อยู่ในห้องสมุด

(2) หนังสือเล่มนี้ดําเนินการส่งซ่อม

(3) แจ้งให้ทราบว่าหนังสือเล่มนี้มีภาพประกอบ

(4) หนังสือเล่มนี้อยู่ระหว่างดําเนินการสั่งซื้อ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 41 ประกอบ

43 “มีบรรณานุกรมและดรรชนีท้ายเล่ม” ข้อความนี้ปรากฏอยู่ส่วนใดของรายการ

(1) หมายเหตุ

(2) ลักษณะรูปร่าง

(3) การพิมพ์

(4) แนวสืบค้น

ตอบ 1 หน้า 193, (LIS 100: เลขพิมพ์ 57038 หน้า 221) หมายเหตุ (Notes) เป็นส่วนประกอบของบัตรรายการที่ให้ข้อมูลอื่นเพิ่มเติมเกี่ยวกับหนังสือนอกเหนือจากที่บอกไว้ในส่วนอื่น ๆ เพื่อให้ผู้ใช้ได้ทราบเพิ่มเติมว่าหนังสือเล่มนั้นมีบรรณานุกรมอยู่ท้ายเล่ม หรือมีดรรชนีอภิธานศัพท์ ภาคผนวก ฯลฯ เช่น บรรณานุกรม : หน้า 300 – 320

44 ข้อใดไม่ใช่ข้อที่ควรคํานึงถึงในการกําหนดเรื่องรายงาน

(1) เลือกเรื่องที่ต้องการศึกษาเพิ่มเติม

(2) เลือกเรื่องที่มีแหล่งข้อมูลให้ค้นคว้าได้เพียงพอ

(3) เลือกเรื่องที่มีขอบเขตพอเหมาะกับเวลาที่กําหนด

(4) เลือกเรื่องใหม่ ๆ ที่ยังไม่มีข้อมูลและข้อสรุปที่ชัดเจน

ตอบ 4 หน้า 238 239 การกําหนดเรื่องหรือหัวข้อของรายงานมีข้อที่ควรพิจารณา ดังนี้

1 เลือกเรื่องที่น่าสนใจหรือชอบมากที่สุด และควรสอดคล้องกับวิชาที่กําลังศึกษาอยู่

2 เลือกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสนใจและที่ต้องการศึกษาเพิ่มเติม

3 เลือกเรื่องที่ใกล้ตัวเราหรือที่เราเกี่ยวข้องด้วย

4 เลือกเรื่องที่มีแหล่งข้อมูลให้ค้นคว้าได้อย่างเพียงพอหรืออยู่ในวิสัยที่สามารถทําได้

5 เลือกเรื่องที่มีขอบเขตไม่กว้างหรือไม่ยาวจนเกินไป เพื่อให้พอเหมาะกับกําหนดเวลาและขนาดของรายงาน

45 การสัมภาษณ์ผู้ค้นพบผีเสื้อสายพันธุ์ใหม่ “ผีเสื้อรัตติสิริน” จัดเป็นแหล่งข้อมูลประเภทใด

(1) แหล่งข้อมูลภูมิปัญญา

(2) แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ

(3) แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ

(4) แหล่งข้อมูลฯ ยภูมิ

ตอบ 2 หน้า 67, 240 แหล่งข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Sources) เป็นหลักฐานเบื้องต้นหรือข้อมูลอันดับแรกที่ ได้รับจากบุคคลโดยตรง เช่น ประสบการณ์ของตนเอง บันทึกส่วนตัว จดหมายโต้ตอบ พระบรมราโชวาท ต้นฉบับตัวเขียน (Manuscript) อัตชีวปะวัติ บทสัมภาษณ์แบบสอบถาม สุนทรพจน์ ฯลฯ

2 แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Sources) หรือข้อมูลอันดับรอง ได้แก่ หนังสือหรือตําราและวัสดุที่เป็นผลผลิตของการค้นคว้าจากหลักฐานเบื้องต้น เช่น บทความจากวารสารข่าวในหนังสือพิมพ์ ดรรชนี สารานุกรม กฤตภาค ฯลฯ

46 การบันทึกลงบัตรรายการแบบลอกความ ใช้กับการบันทึกข้อมูลในข้อใด

(1) ผู้ทํารายงานต้องการข้อมูลอย่างสั้นจากข้อมูลเดิม

(2) ผู้ทํารายงานต้องการดัดแปลงแนวคิดของผู้แต่งบางส่วน

(3) ผู้ทํารายงานต้องการให้คําอธิบายที่ดีกว่าเนื้อหาเดิม

(4) ผู้ทํารายงานต้องการเนื้อหาเดิมที่ผู้แต่งบรรยายกฎเกณฑ์ไว้อย่างดีแล้ว

ตอบ 4 หน้า 257, 260 261 การบันทึกข้อมูลแบบลอกความ (Quotation) จะเหมาะกับข้อความหรือข้อเท็จจริงที่ชัดแจ้ง เช่น สูตรทางคณิตศาสตร์ ความหมายหรือคํานิยามในเชิงวิชาการ พระบรมราโชวาท พระราชบัญญัติ ข้อบังคับหรือคําสั่งของทางราชการ กวีนิพนธ์ และบทละคร ซึ่งมีข้อควรระวัง คือ ต้องคัดลอกทุกอย่างให้เหมือนต้นฉบับ ตอนใดที่คัดลอกมาทั้งหมด ให้คร่อมไว้ด้วยเครื่องหมายอัญประกาศ (“ ”) แต่ถ้าคัดลอกมาเพียงบางส่วนให้ใช้ เครื่องหมายจุด 3 จุด (…) ใส่ไว้ก่อนหรือหลังข้อความนั้น โดยบัตรบันทึกชนิดนี้จะกระทําเมื่อ

1 ผู้ทํารายงานไม่สามารถหาคําพูดได้ดีกว่าเนื้อหาเดิม

2 เนื้อหาเดิมได้วางระเบียบกฎเกณฑ์และวิธีการไว้อย่างดีแล้วจึงไม่ควรดัดแปลง

3 เนื้อหาเดิมบรรยายถึงแนวคิดของผู้แต่งจึงไม่ควรดัดแปลง

47 ข้อใดเป็นข้อมูลที่ไม่ควรอยู่ในการเรียบเรียงรายงาน

(1) ชื่อย่อของหน่วยงานราชการ

(2) ใช้ภาษาที่สุภาพ

(3) จัดเรียงข้อมูลตามลําดับโครงเรื่อง

(4) บอกแหล่งที่มาของข้อมูลให้ถูกต้อง

ตอบ 1 หน้า 263 – 264, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 337) ข้อควรพิจารณาในการเรียบเรียงรายงานฉบับร่าง มีดังนี้

1 เรียบเรียงเนื้อหาของรายงานตามลําดับของโครงเรื่องและบัตรบันทึก โดยเนื้อหาไม่ควรสั้นหรือยาวเกินไป

2 เตรียมบัตรบรรณานุกรม บัตรบันทึกข้อมูล และพจนานุกรมเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของคํา

3 ใช้ภาษาที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ สั้นกระชับ สุภาพ และอธิบายทุกสิ่งให้ชัดเจน

4 ไม่ใช้อักษรย่อ ชื่อย่อ และคําย่อ

5 เมื่อคัดลอกงานคนอื่นมาให้เขียนอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลให้ถูกต้องตามรูปแบบของสถาบันที่ส่งรายงาน โดยแสดงไว้หลังข้อความที่อ้าง และเลือกใช้แบบใดแบบหนึ่งตลอดรายงาน

6 การใส่ตาราง ภาพประกอบ แผนภูมิ แผนที่ กราฟ ต้องระบุแหล่งที่มา โดยใช้แบบแผนเช่นเดียวกับเชิงอรรถ ฯลฯ

48 ข้อใดไม่ใช่ส่วนประกอบตอนท้ายของรายงาน

(1) บรรณานุกรม

(2) คํานํา

(3) ภาคผนวก

(4) อภิธานศัพท์

ตอบ 2 หน้า 274 275, 306 ส่วนประกอบของรายงาน แบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ ดังนี้

1 ส่วนประกอบตอนต้น ได้แก่ ปกนอก หน้าปกใน (หน้าชื่อเรื่อง) หน้าคํานํา หน้าสารบาญหรือสารบัญ และหน้าสารบัญภาพ

2 ส่วนที่เป็นเนื้อหา ได้แก่ บทนํา รายละเอียดของเนื้อหา และส่วนสรุป

3 ส่วนประกอบตอนท้าย ได้แก่ บรรณานุกรม ภาคผนวก อภิธานศัพท์ และปกหลัง

49 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง

(1) หัวเรื่อง คือ ศัพท์ควบคุมในระบบสืบค้นข้อมูลของห้องสมุด

(2) LCSH คือ บัญชีศัพท์หัวเรื่องภาษาอังกฤษ

(3) google ใช้คําศัพท์ควบคุมในการสืบค้นข้อมูล

(4) ห้องสมุดใช้บัญชีศัพท์ควบคุมภาษาไทยกับระบบสืบค้นข้อมูลภาษาไทย

ตอบ 3 หน้า 221, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 250 – 252, 262) ความแตกต่างระหว่างหัวเรื่องกับคําสําคัญ มีดังนี้

1 หัวเรื่อง คือ คําหรือวลีหรือชื่อเฉพาะต่าง ๆ ที่ใช้แทนเนื้อหาของหนังสือ ซึ่งถือเป็นศัพท์ควบคุมที่ใช้ในระบบการสืบค้นข้อมูลของห้องสมุด เพราะบรรณารักษ์จะเลือกคําหรือวลีจาก บัญชีหัวเรื่องมาตรฐานชื่อใดชื่อหนึ่ง เช่น บัญชีหัวเรื่อง LCSH สําหรับหนังสือภาษาอังกฤษ ในห้องสมุดขนาดใหญ่, บัญชีหัวเรื่องภาษาไทยโดยชมรมบรรณารักษ์ห้องสมุดอุดมศึกษาสําหรับสืบค้นข้อมูลหนังสือและทรัพยากรสารสนเทศอื่น ๆ ที่เป็นภาษาไทย ฯลฯ

2 คําสําคัญ คือ คําศัพท์อิสระที่ผู้ใช้คิดขึ้นเอง เพื่อใช้ในระบบการสืบค้นสารสนเทศออนไลน์ของห้องสมุดและอินเทอร์เน็ต ได้แก่ การใช้ Search Engine เช่น google, yahoo ฯลฯ

50 สัญลักษณ์ในข้อใดที่ใช้คั่นหัวเรื่องประเภทคํานามสลับคําคุณศัพท์

(1) จุลภาค ,

(2) ขีดกลางสองขีด –

(3) อัฒภาค ;

(4) ทวิภาค :

ตอบ 1 หน้า 223 224, 223 การกําหนดคําที่ใช้เป็นหัวเรื่องใหญ่ มีลักษณะดังนี้

1 คํานามคําเดียวโดด ๆ เช่น กบ ไกด์ นก ฯลฯ

2 คําผสมที่เป็นคํานาม 2 คํา เชื่อมด้วย “and”, “กับ”, “และ” ทั้งที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องสัมพันธ์ไปในทางเดียวกัน เช่น ชุมชนกับโรงเรียน บิดาและมารดา Libraries and readers ฯลฯและที่มีเนื้อหาค้านกัน เช่น ศาสนากับวิทยาศาสตร์ Good and evill ฯลฯ

3 คํานามที่ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค ( , ) คั่นกลางและมีคําคุณศัพท์ที่ขยายคําแรกให้สื่อความหมายชัดขึ้น เช่น Art, abstract ฯลฯ

4 กลุ่มคําหรือวลี เช่น บริการแปล ชีวิตชนบท ฯลฯ

5 ชื่อเฉพาะที่เป็นคําวิสามานยนาม เช่น ชื่อบุคคล ชื่อสัตว์ ชื่อสถานที่ ชื่อพระหรือเทพเจ้า ฯลฯ

51 “ชีวิตชนบท” จัดเป็นหัวเรื่องประเภทใด

(1) คํานามคําเดียวโดด ๆ

(2) คําผสม

(3) กลุ่มคํา

(4) คําคู่

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 50. ประกอบ

52 อักษรย่อ “UP” ในบัญชีหัวเรื่องมีความหมายอย่างไร

(1) คําที่ไม่ใช้เป็นหัวเรื่อง

(2) คําที่เพิ่มเข้ามาใหม่

(3) คําสัมพันธ์ที่กว้างกว่า

(4) คําสัมพันธ์ที่แคบกว่า

ตอบ 1 หน้า 225 – 227, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 256) บัญชีหัวเรื่องมาตรฐาน LCSH ฉบับปัจจุบัน ได้เปลี่ยนแปลงการใช้สัญลักษณ์บางตัวเพื่อกําหนดความสัมพันธ์ของคําที่ใช้เป็นหัวเรื่อง ดังนี้

1 BT (Broader Term) คือ หัวเรื่องสัมพันธ์ที่มีความหมายกว้างกว่า

2 NT (Narrower Term) คือ หัวเรื่องสัมพันธ์ที่มีความหมายแคบกว่า

3 RT (Related Term) คือ หัวเรื่องที่สัมพันธ์กับคําหลักหรือใช้แทนกันได้

4 UF (Use For) คือ หัวเรื่องที่ไม่กําหนดให้ใช้แล้ว

5 USE คือ หัวเรื่องที่กําหนดให้ใช้

6 — คือ หัวเรื่องย่อย

53 “รายงานที่เป็นส่วนหนึ่งในการประเมินผลการศึกษาวิชานั้น ๆ” คือความหมายของรายงานในข้อใด

(1) ภาคนิพนธ์

(2) วิทยานิพนธ์

(3) รายงานทั่วไป

(4) งานวิจัย

ตอบ 1 หน้า 237 รายงานประจําวิชาหรือภาคนิพนธ์ เป็นการศึกษาค้นคว้าหาข้อเท็จจริงจากแหล่งทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แล้วนําข้อมูลที่ได้มารวบรวมและเรียบเรียง อย่างมีแบบแผนจนเกิดเป็นผลงานใหม่ ทั้งนี้ได้มีการเสนอแนวคิดของผู้ทํารายงานและแสดง หลักฐานอ้างอิงประกอบด้วย ซึ่งรายงานภาคนิพนธ์นี้นับเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินผลการศึกษาของวิชาใดวิชาหนึ่ง

54 ข้อใดคือรายการบรรณานุกรมของหนังสือผู้แต่ง 2 คน

(1) แบตทีล, จอห์น. “เดอะเสิรซ” อุบัติการณ์แห่งอนาคตของมนุษยชาติ. แปลโดย ไพรัตน์ พงษ์พานิชย์, กรุงเทพฯ : มติชน, 2550.

(2) ธนัญญา สินมหัต. สนุกกับ Facebook. บรรณาธิการ ประภาพร ช่างไม้, นนทบุรี : ไอดีซี, 2552.

(3) วิลาส ลําเลิศวัฒน์ และนฤมล ตั้งตรีรัตน์, TV ออนไลน์ ทําเองได้ง่ายนิดเดียว. กรุงเทพฯ :โปรวิชัน, 2551.

(4) ศรีศักดิ์ จามรมาน และคนอื่น ๆ รอบรู้เรื่องอินเทอร์เน็ตแบบกราฟิกพิเศษ, กรุงเทพฯ :บริษัท ออนไลน์ แอคเวอร์ไทซิง โกลด์ไซท์, 2537.

ตอบ 3 หน้า 254 – 255, 276 – 278 รากตัวเลือกข้างต้น ใช้รูปแบบการเขียนรายการบรรณานุกรมสําหรับหนังสือตามคู่มือ Turabian ซึ่งมีแบบแผนการเขียนรายการอ้างอิงที่ถูกต้อง ดังนี้

ชื่อผู้แต่ง. ชื่อหนังสือ. ครั้งที่พิมพ์ สถานที่พิมพ์ : สํานักพิมพ์, ปีที่พิมพ์

ในกรณีที่หนังสือมีผู้แต่ง 2 คน ให้ลงชื่อผู้แต่งคนแรก ตามด้วย “และ” (หรือ “and” ถ้าหาก ผู้แต่งเป็นชาวต่างชาติ) จากนั้นให้ลงชื่อผู้แต่งคนที่ 2 โดยไม่ต้องใส่คํานําหน้าชื่อ ตําแหน่งทาง วิชาการหรือวิชาชีพ เช่น วิลาส ล้ำเลิศวัฒน์ และนฤมล ตั้งตรีรัตน์, TV ออนไลน์ ทําเองได้ง่ายนิดเดียว. กรุงเทพฯ :โปรวิชั่น, 2551

55 ข้อใดคือการเขียนอ้างอิงในวงเล็บของบทความวารสารรายการนี้

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ “ทําวิจัยให้ดี ทําอย่างไร” ช.บ.อ.สาร 18 กันยายน – ธันวาคม 2541) : 31 – 47.

(1) (สุชาติ 2541, 31)

(2) (สุชาติ 18, 31 – 37)

(3) (สุชาติ 2541, 18)

(4) (สุชาติ 2541, 18 ก.ย. – ธ.ค.)

ตอบ 1 หน้า 256, 264, 276 286 การแสดงที่มาของข้อมูลเฉพาะที่แบบนาม-ปี (Author-date) คือ รายการอ้างอิงแบบในวงเล็บที่แทรกลงไปในเนื้อหา (Cite-in-Text) โดยใส่ชื่อผู้เขียนและ ปีที่พิมพ์พร้อมด้วยเลขหน้าไว้ในวงเล็บหลังข้อความที่คัดลอกมาหรือที่ต้องการอ้างอิง เช่น จากรายการบรรณานุกรมของบทความวารสารตามคู่มือ Turabian ข้างต้น ซึ่งมีแบบแผน คือ ชื่อผู้เขียนบทความ. “ชื่อบทความ” ชื่อวารสาร เล่มที่หรือปีที่, ฉบับที่ (เดือนและปี) : หน้า สามารถเขียนรายการอ้างอิงในวงเล็บของบทความวารสารรายการนี้ตามคู่มือ Turabian คือ (ชื่อผู้เขียนบทความ ปีที่พิมพ์, เลขหน้า) ได้แก่ สุชาติ 2541, 31)

56 การกําเนิดอินเทอร์เน็ตในยุคเริ่มต้นมีความสัมพันธ์ตรงกับข้อใด

(1) อังกฤษ

(2) ฝรั่งเศส

(3) สหรัฐอเมริกา

(4) จีน

ตอบ 3 (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 47 – 48), (คําบรรยาย) การพัฒนาอินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2512 เมื่อกระทรวงกลาโหม ของสหรัฐอเมริกาได้ให้ทุนสนับสนุนโครงการพัฒนาเครือข่าย คอมพิวเตอร์ ซึ่งเริ่มแรกนั้นได้มีการจัดตั้งเครือข่ายอาร์พาเน็ต (ARPAnet) ขึ้น เพื่อเน้นใช้งาน ด้านการทหารและการสื่อสารในช่วงสงครามเย็นมากที่สุด และเพื่อเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของ หน่วยงานในมหาวิทยาลัย 4 แห่ง ซึ่งเป็นประโยชน์สําหรับงานวิจัย จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2526 จึงพัฒนามาเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และในปัจจุบันได้มีการนําอินเทอร์เน็ตมาใช้งานในเชิงพาณิชย์มากขึ้น

57 บริการรับ-ส่งข่าวสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์เฉพาะที่เรียกว่า

(1) เว็บบราวเซอร์

(2) เว็บมาสเตอร์

(3) เว็บบอร์ด

(4) กูเกิล

ตอบ 1 (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 46, 55), (คําบรรยาย) web browser คือ ซอฟต์แวร์และโปรแกรมเฉพาะที่ใช้เสดงผลข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตสําหรับการเข้าสู่บริการเว็บไซต์ เพื่อให้ผู้ใช้ สามารถใช้บริการเว็บไซต์ได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น โดยเว็บบราวเซอร์สามารถใช้เปิดเอกสาร ไฮเปอร์เท็กซ์ หรือเปิดดูสื่อต่าง ๆ ที่ประกอบด้วยภาพและเสียง รวมทั้งสามารถเชื่อมโยง การรับ-ส่งข่าวสารบนเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตได้ ตัวอย่างของเว็บบราวเซอร์ เช่น Internet Explorer, Netscape Navigator, Mozila Firefox และ Google Chrome เป็นต้น

58 ข้อใดหมายถึงผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทั้งส่วนรัฐบาลและเอกชน

(1) URL

(2) DNS

(3) ISP

(4) @yahoo.com

ตอบ 3 หน้า 310, (LIS 1001 เลขพิมพ์ 57038 หน้า 49) ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โดยใช้บริการผ่านผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider : ISP) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

1 ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตภาคเอกชน หรือเชิงพาณิชย์ เช่น บริษัท True Corporation  (Asia InfoNet), Samart, TT&T เป็นต้น

2 ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตภาครัฐ เช่น หน่วยงานราชการ หรือมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่อนุญาตให้เชื่อมต่อโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่คุณภาพของบริการอาจไม่เท่ากับของภาคเอกชน

59 Search Engine หมายถึง

(1) เครื่องมือช่วยค้นหาสารสนเทศฐานข้อมูล WebOPAC

(2) เครื่องมือช่วยค้นหาสารสนเทศออนไลน์

(3) เครื่องมือช่วยค้นหาสารสนเทศฐานข้อมูล OPAC

(4) เครื่องมือช่วยค้นหาสารสนเทศฐานข้อมูล E-book

ตอบ 2 หน้า 313, (คําบรรยาย) Search Engine คือ เครื่องมือช่วยค้นหาสารสนเทศออนไลน์จากฐานข้อมูลเว็บไซต์ (Websites) ที่ให้บริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้ Search Engine จะแสดงรายการสารบาญและช่องว่างให้เติมคําที่ต้องการสืบค้น จากนั้นให้ผู้ใช้ป้อนคํา ข้อความ หรือชื่อเรื่องที่ต้องการค้นหา ก็สามารถหาเว็บไซต์ที่ต้องการหรือรายชื่อเว็บไซต์ที่มีเนื้อหา ใกล้เคียงกันได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ซึ่ง Search Engine ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันได้แก่ www.google.com, www.attavista.com, www.metacrawler.com เป็นต้น

60 ข้อใดหมายถึงเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์

(1) Wikipedia

(2) Line

(3) E-mail

(4) Google

ตอบ 2 (คําบรรยาย) เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) คือ เว็บไซต์ที่เชื่อมโยงผู้คนไว้ด้วยกันผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีจุดเด่นหลักคือ ช่วยให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ สามารถสื่อสารได้ ในวงกว้างและหลากหลายรูปแบบ เช่น ข้อความ รูปภาพ วิดีโอ ฯลฯ ในปัจจุบันมีโปรแกรม หรือเว็บไซต์ที่ใช้สําหรับ Social Network เช่น Facebook, Twitter, Linkedin, Line, MySpace, Hi5 ฯลฯ

Advertisement