POL4321 การบริหารร่วมสมัย 1/2561

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 4321 การบริหารร่วมสมัย

คําสั่ง ข้อสอบมี 3 ข้อ ให้นักศึกษาตอบทุกข้อ

ข้อ 1 คําว่า “การบริหาร” (Administration) กับ “การจัดการ” (Management) สองคํานี้มีความแตกต่างกันหรือไม่ จงอธิบายพร้อมกับยกตัวอย่างนักวิชาการที่เด่น ๆ มาอย่างน้อย 2 ท่าน การบริหารมีความสําคัญอย่างไร และหน้าที่ของผู้บริหารมีอะไรบ้าง จงอธิบายมาให้เข้าใจ อย่างชัดเจน

แนวคําตอบ

คําว่า “การบริหาร” Administration) กับ “การจัดการ” (Management) สองคํานี้มีความหมาย เหมือนกันและใช้แทนกันได้ แต่คําว่า “การบริหาร” (Administration) มักใช้สําหรับการบริหารระดับสูง ซึ่งเน้นเกี่ยวกับการกําหนดนโยบายและแผนงาน และนิยมใช้ในการบริหารรัฐกิจหรือการบริหารงานราชการ ซึ่งผู้บริหาร ในหน่วยงานราชการเรียกว่า “Administrator” ส่วนคําว่า “การจัดการ” (Management) มักใช้สําหรับ การดําเนินงานให้เป็นไปตามนโยบายหรือแผนที่วางไว้ และนิยมใช้ในการบริหารธุรกิจ ซึ่งผู้จัดการในภาคธุรกิจ เรียกว่า “Manager”

นักวิชาการด้านการบริหาร/การจัดการ เช่น Dale, Simon, Certo and Certo, สมพงศ์ เกษมสิน, ติน ปรัชญพฤทธิ์ เป็นต้น การบริหารมีความสําคัญ ดังนี้

1 เป็นสมองขององค์การ เพราะการที่องค์การจะประสบความสําเร็จตามเป้าหมาย “จําเป็นต้องมีกระบวนการจัดการที่ดี เช่น มีการวางแผนและการตัดสินใจที่ดี เป็นต้น

2 เป็นวิธีการที่ทําให้สมาชิกในองค์การมีจิตสํานึกร่วมกันและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงาน

3 เป็นการกําหนดขอบข่ายในการทํางานของสมาชิกในองค์การมิให้ซ้ําซ้อนกัน ส่งผลให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ

4 เป็นการแสวงหาวิธีการที่ดีที่สุดในการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด

5 ทําให้บริหารงานได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น

6 ป้องกันปัญหางานคั่งค้าง ล่าช้า และสิ้นเปลือง

7 ทําให้ติดตามงาน และควบคุมงานได้ง่ายขึ้น

 

หน้าที่ของผู้บริหาร Certo and Certo กล่าวว่า หน้าที่ของผู้บริหารมี 4 ประการ คือ

1 การวางแผน (Planning) เป็นการเลือกวิธีการทํางานเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตาม เป้าหมายขององค์การ กําหนดแนวทางการทํางานว่าจะทําอย่างไรและจะทําเมื่อใด กิจกรรมการวางแผนจึงมุ่งเน้น การทํางานให้บรรลุเป้าหมายด้วยการกําหนดแผนงาน ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้บริหาร การวางแผนจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้อง กับสิ่งที่ต้องทําให้สําเร็จในอนาคตอันใกล้ (Short Term) และระยะยาว (Long Term)

2 การจัดองค์การ (Organizing) เป็นการมอบหมายงานให้บุคลากรหรือกลุ่มบุคคล ในองค์การนําแผนงานไปปฏิบัติเพื่อให้งานขององค์การประสบความสําเร็จ

3 การใช้อิทธิพล (Influencing) เป็นเรื่องเกี่ยวกับความสามารถในการจูงใจ (Motivating) การนํา (Leading) การสั่งการ (Directing) ของผู้บริหารเพื่อให้บุคลากรในองค์การทํางานสําเร็จ ซึ่งแนวคิดของ การทํางานเป็นการเน้นที่บุคคล (Humaา-Oriented) มากกว่าเน้นที่งาน (Task-Oriented)

4 การควบคุม (Controlling) เป็นหน้าที่การจัดการของผู้บริหาร ดังนี้

1) การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผลการทํางานของบุคลากรในองค์การเพื่อนํามากําหนดเป็นมาตรฐานการทํางาน

2) การเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานกับมาตรฐานการทํางาน

3) การนําผลการเปรียบเทียบการทํางานมาพิจารณาว่าองค์การควรจะปรับมาตรฐานการทํางานให้สูงขึ้นอย่างไร

 

ข้อ 2 วัฒนธรรมองค์การ (Organizational Culture) คืออะไร ระบุชื่อนักวิชาการที่เด่น ๆ 1 ท่าน วัฒนธรรมองค์การแบ่งเป็นที่ระดับ อะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมกับยกตัวอย่างวัฒนธรรมองค์การ ในองค์การภาครัฐมา 1 แห่ง

แนวคําตอบ

พิทยา บวรวัฒนา กล่าวว่า วัฒนธรรมองค์การ (Organizational Culture) คือ ความเข้าใจ ร่วมกัน (Shared Meaning) ของบุคลากรในองค์การเกี่ยวกับการประพฤติปฏิบัติซึ่งได้รับถ่ายทอดกันมา เป็นเวลานาน และแสดงออกมาในลักษณะเป็นความเชื่อ (Beliefs) สัญลักษณ์ (Symbols) พิธีการ (Rituals) นิทาน (Myths) การเล่าเรื่อง และแนวทางการปฏิบัติ

ระดับของวัฒนธรรมองค์การ Schein ได้แบ่งระดับของวัฒนธรรมองค์การออกเป็น 3 ระดับ คือ

1 วัฒนธรรมทางกายภาพ (Artifacts) เป็นระดับวัฒนธรรมองค์การที่บุคคลสามารถ มองเห็น ได้ยินและรู้สึกได้ทันทีเมื่อเข้าไปในแต่ละองค์การ นอกจากนี้แล้วยังรวมถึงผลิตภัณฑ์ บริการ และพฤติกรรม ของสมาชิก โดยวัฒนธรรมทางกายภาพแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1) ประเภทวัตถุ เช่น ศิลปะต่าง ๆ โลโก้ของหน่วยงาน รูปทรงหรือการออกแบบตึก เฟอร์นิเจอร์ เครื่องแต่งกาย เป็นต้น

2) ประเภทพฤติกรรม เช่น พิธีกรรมต่าง ๆ รูปแบบการติดต่อสื่อสาร ประเพณี การให้รางวัล หรือการลงโทษพนักงาน เป็นต้น

3) ประเภทภาษา เช่น เรื่องเล่าเกี่ยวกับความยากลําบากในการก่อตั้งองค์การ เรื่องตลกในหน่วยงาน ชื่อจริงหรือชื่อเล่นที่ใช้เรียกในที่ทํางาน คําศัพท์เฉพาะที่ใช้กันในหน่วยงาน คําอธิบาย เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ อุปมาอุปมัย หรือคําขวัญที่มักใช้กันในองค์การ เป็นต้น

 

2 ค่านิยม (Espoused Values) เป็นสิ่งที่บอกว่าสิ่งใดมีคุณค่าหรือสิ่งใดควรกระทํา ค่านิยมเป็นเป้าหมายและมาตรฐานของสังคมที่สมาชิกในองค์การควรเอาใจใส่ เช่น การทํางานให้มีคุณภาพ มีความรับผิดชอบ และมีความโปร่งใส เป็นต้น

3 ฐานคติ (Basic Underlying Assumption) เป็นสิ่งที่สมาชิกในองค์การมีความเชื่อว่า สิ่งนั้นเป็นจริง เป็นวิธีที่ถูกต้องในการทําสิ่งนั้น (The right way to do things) เช่น มาตรฐานการทํางาน วิธีการ ทํางานที่คิดว่ามีประสิทธิภาพ เป็นต้น

 

ตัวอย่างวัฒนธรรมองค์การในองค์การภาครัฐ

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง ได้กําหนดวัฒนธรรมองค์การไว้ 6 ประการ ซึ่งเรียกว่า “POLSCI” ประกอบด้วย

1  P = Positive Thinking คือ การคิดในทางบวก หมายถึง บุคลากรคณะรัฐศาสตร์ จะต้องมองปัญหา ความทุกข์ ความไม่ราบรื่นในการปฏิบัติงานอย่างเข้าใจ ยอมรับได้ และพร้อมที่จะแก้ไขได้ทันที

2 O = Ownership คือ ความรู้สึกเป็นเจ้าขององค์การ หมายถึง บุคลากรคณะรัฐศาสตร์ มุ่งปฏิบัติงานเพื่อคณะรัฐศาสตร์ โดยเห็นผลประโยชน์ส่วนตนน้อยกว่าสาธารณะ ผลักดันคณะรัฐศาสตร์ไปให้ถึง จุดมุ่งหมาย รักษาผลประโยชน์ของคณะรัฐศาสตร์ ช่วยกันทํางานเป็นทีม ทุกคนมีความสําคัญเท่ากันหมด ช่วยกัน ประสานงาน และสื่อสารกันอย่างมีประสิทธิภาพ

3 L= Leader of Change คือ การเป็นผู้นําในการเปลี่ยนแปลง หมายถึง บุคลากร คณะรัฐศาสตร์จะเป็นผู้นํายุคใหม่ที่สอดคล้องในยุคปฏิรูปที่มีการพัฒนาคุณภาพของผลผลิตและการบริการอย่าง ต่อเนื่อง มีความสามารถในการตัดสินใจจัดการเปลี่ยนแปลง สามารถตีความเข้าใจเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถประยุกต์วิธีการต่าง ๆ เพื่อให้คณะรัฐศาสตร์ประสบความสําเร็จ

4 S = Service Mind คือ การมุ่งมั่นที่จะให้บริการที่ดี หมายถึง บุคลากรคณะรัฐศาสตร์ จะเป็นผู้ให้บริการที่มีจิตใจหรือมีใจรัก มีความเต็มใจในการบริการ โดยปฏิบัติงานด้วยความยิ้มแย้ม แจ่มใส มีอารมณ์รื่นเริง และควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ ไม่ขึ้นเสียงกับนักศึกษาหรือผู้มารับบริการ

5 C = Continuous Learning คือ การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง หมายถึง บุคลากร คณะรัฐศาสตร์แสดงออกถึงความตั้งใจในการเรียนรู้ ประยุกต์ใช้ข้อมูลและทักษะใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง มีส่วนร่วม ในกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้มีความรู้และความสามารถในการจัดการกับปัญหา และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่ เปลี่ยนไปได้

6 I = Integrity & Ethics คือ การมีความซื่อสัตย์และคุณธรรมจริยธรรม หมายถึง บุคลากรคณะรัฐศาสตร์ประพฤติปฏิบัติงานอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม จนเป็นที่ไว้วางใจ โดยมีความซื่อสัตย์สุจริต ตรงไปตรงมา โปร่งใสและตรวจสอบได้ ให้เกียรติและไม่เอาเปรียบผู้อื่น กระทําตามสัญญาและยึดมั่นในจรรยาบรรณ วิชาชีพ

 

ข้อ 3 เทคนิคการบริหารสมัยใหม่ เช่น แนวคิด 5 ส. การบริหารคุณภาพทั้งองค์การ (TQM), การรื้อปรับระบบ (Reengineering), ระบบมาตรฐานคุณภาพ ISO 9000, ระบบมาตรฐานสากลของ ประเทศไทย (P.S.O.), แนวคิดซิกซ์ ซิกม่า (Six Sigma) เป็นต้น อีกทั้งหลักการ 5 G’s ของญี่ปุ่น, แนวคิด 7 S’s Model เห้นักศึกษาเลือกอธิบาย 1 เทคนิค/แนวคิด (แนวการตอบให้กล่าวถึง ชื่อนักวิชาการ ที่มา หลักการสําคัญของเทคนิคนั้น ๆ)

แนวคําตอบ

ทฤษฎี 7 S’s Model

เมื่อปลายปี ค.ศ. 1970 บริษัทที่ปรึกษาชื่อ “McKinsey” ได้เชิญ Richard Pascale แห่ง มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และ Anthony Athos แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ให้มาช่วยพัฒนากรอบแนวคิดการบริหาร ที่เรียกว่า The McKinsey 7 S’s Framework ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยที่สําคัญ 7 ประการ สามารถอธิบายได้ดังนี้

1 กลยุทธ์ (Strategy) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการวางแผนองค์การเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วยการใช้เทคนิค SWOT (SWOT Technique) มาทําการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคขององค์การ เพื่อนํามากําหนดเป็นกลยุทธ์

2 โครงสร้าง (Structure) คือ การปรับปรุงโครงสร้างองค์การ การแบ่งหน่วยงาน การรวม อํานาจ และการกระจายอํานาจที่เหมาะสม

3 ระบบ (Systems) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดระบบงาน และการลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน ให้สั้นลง เพื่อทําให้สามารถปฏิบัติงานได้รวดเร็ว

4 สไตล์ (Style) คือ แบบแผนพฤติกรรมของผู้นํา การใช้รูปแบบการบริหารที่เหมาะสม และแสดงบทบาทผู้นําการเปลี่ยนแปลง

5 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Staff) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการคัดเลือกบุคลากรที่มีความ สามารถ การพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง การหมุนเวียนกันทํางาน และการเห็นคุณค่าของทรัพยากรมนุษย์

6 ทักษะ (Skills) เป็นเรื่องเกี่ยวกับความชํานาญ ความสามารถพิเศษของบุคลากร การพัฒนาทักษะการทํางานของแต่ละบุคคล และการส่งเสริมการทํางานเป็นทีม

7 ค่านิยมร่วม (Shared Values) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการสร้างค่านิยมร่วมกันในการทํางาน หรือที่เรียกว่า “Spiritual Values” เช่น การให้บริการ ความยุติธรรม ความสามัคคีปรองดอง ความร่วมมือ ความสุภาพ ความอ่อนน้อมถ่อมตน ความกตัญญู การทําในสิ่งที่ดีกว่า การปรับปรุงแก้ไข การปรับตัวเข้าหากัน เป็นต้น ค่านิยม ดังกล่าวนี้เป็นสิ่งที่ควรสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นในองค์การ

 

ปัจจัยทั้ง 7 ประการสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

1 Hard คือ ส่วนที่แข็ง ไม่คล่องตัว และปรับตัวได้ค่อนข้างช้า ได้แก่ กลยุทธ์ และโครงสร้าง ขององค์การ

2 Soft คือ ส่วนที่อ่อน มีความคล่องตัว และสามารถปรับตัวได้ง่าย ได้แก่ สไตล์ของ ผู้บริหาร ระบบงาน การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ทักษะ และค่านิยมร่วม

สรุป จากกรอบแนวคิดของปัจจัย 7 S’s Model ดังกล่าว ผู้บริหารจําเป็นต้องใช้ภาวะผู้นํา ในการบริหารปัจจัยทั้ง 7 ประการให้สอดคล้องและสมดุลกัน นับตั้งแต่การกําหนดกลยุทธ์ขององค์การ การปรับปรุง โครงสร้างที่เหมาะสม การจัดระบบงานให้เหมาะสมและลดขั้นตอนการทํางานให้สั้นลงเพื่อทําให้สามารถบริการ ได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น การใช้สไตล์การบริหารงานที่ให้ความสําคัญทั้งบุคคลและงาน การให้เกียรติผู้ร่วมงาน ” การบริหารทรัพยากรมนุษย์ด้วยการสรรหาและคัดเลือกคนดีมีฝีมือเข้ามาทํางาน การพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล การสร้างทักษะการทํางานเป็นทีม และการสร้างค่านิยมสร้างสรรค์ในการทํางาน

POL4321 การบริหารร่วมสมัย 1/2560

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 4321 การบริหารร่วมสมัย

คําสั่ง ข้อสอบมี 3 ข้อ ให้นักศึกษาตอบทุกข้อ

ข้อ 1 การเข้าสู่ยุคหลังสมัยใหม่ (Postmodern) ทฤษฎีองค์การในยุคนี้มีจุดเน้นในเรื่องอะไรบ้าง พร้อมกับยกตัวอย่างนักคิดและอธิบายทฤษฎีองค์การยุคดังกล่าวมา 1 ทฤษฎี

แนวคําตอบ

จุดเน้นของทฤษฎีองค์การยุคหลังสมัยใหม่ (Postmodern)

ทฤษฎีองค์การยุคหลังสมัยใหม่เกิดขึ้นประมาณปลายศตวรรษที่ 20 และต้นศตวรรษที่ 21 เป็นทฤษฎีที่ให้ความสําคัญกับข้อมูลสารสนเทศ (Information) เนื่องจากมองว่าการบริหารองค์การในศตวรรษที่ 21 มีความซับซ้อนและคาดการณ์เรื่องต่าง ๆ ได้ยากมากขึ้น ดังนั้นข้อมูลสารสนเทศจึงมีความสําคัญต่อการบริหารองค์การ

ข้อมูลสารสนเทศถือเป็นเครื่องมือสําคัญของผู้บริหารที่ใช้ในการประกอบการตัดสินใจใน การดําเนินการเรื่องต่าง ๆ ใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์เพื่อหาจุดแข็งและจุดอ่อนขององค์การ และใช้เป็น ข้อมูลในการวางแผนกลยุทธ์ขององค์การทั้งในปัจจุบันและอนาคตได้ ดังนั้นหากองค์การใดมีข้อมูลสารสนเทศ ครบถ้วน ถูกต้อง รวดเร็ว จะทําให้การทํางานมีประสิทธิภาพ สามารถตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าได้ และทําให้องค์การนั้นได้เปรียบองค์การอื่น ๆ ในเชิงการแข่งขัน ดังนั้นรูปแบบขององค์การในยุคหลังสมัยใหม่จึงมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยมีลักษณะ สําคัญ เช่น องค์การเป็นแบบเครือข่าย (Network) มีโครงสร้างองค์การแบบพึ่งพากัน (Interdependency) เน้นการทํางานเป็นทีม (Teamwork) แข่งขันกับเวลา (Time) และมีทรัพยากรการบริหารที่สําคัญ คือ ข้อมูล สารสนเทศ (Information)

นักคิดที่สําคัญในยุคหลังสมัยใหม่

นักคิดที่สําคัญในยุคหลังสมัยใหม่ ได้แก่ William Bergquist, Michael Hammer และ James Champy

Michael Hammer และ James Champy ได้เสนอแนวคิดการเปลี่ยนแปลงองค์การ ในองค์การเอกชน (Business Reengineering) ไว้ในหนังสือชื่อ “Reengineering the Corporation” (1993)

“Reengineering” หรือ “การรื้อปรับระบบ” หมายถึง การพิจารณาหลักการพื้นฐาน ของธุรกิจ (Fundamental) และการคิดออกแบบกระบวนการ (Redesign) ขึ้นมาใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม อย่างสิ้นเชิง (Radical) เพื่อปรับกระบวนการธุรกิจใหม่ (Process) และเพื่อให้บรรลุถึงผลลัพธ์ คือ เป้าหมาย ขององค์การ โดยใช้ตัวชี้วัดจากผลการปฏิบัติงาน 4 ด้าน คือ ต้นทุน (Cost) คุณภาพ (Quality) การบริการ (Service) และความรวดเร็ว (Speed)

หลักการพื้นฐานในการซื้อปรับระบบ คือ การทบทวนการทํางานที่ทําอยู่ใหม่ทั้งหมด และ ออกแบบกระบวนการทํางานใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิมแบบถอนรากถอนโคน เน้นกระบวนการเปลี่ยนแปลง โดยการนําคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ และนําเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปปฏิรูปการทํางาน รวมทั้งมีกําหนดตัวชี้วัด ผลการปฏิบัติงานที่ชัดเจน ปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์การเป็นแบบแบนราบ (Flat Organization) ปรับเปลี่ยนบทบาท ของผู้บังคับบัญชาจากการควบคุมสั่งการมาเป็นผู้ให้คําปรึกษาแนะนํา (Coaching & Counseling) เน้นการทํางานเป็นทีม มีค่านิยมเชิงรุก (Proactive) และให้ความสําคัญกับลูกค้าหรือผู้รับบริการ (Customer-Oriented) การให้บริการเบ็ดเสร็จที่จุดเดียว (One Stop Service) เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า

การรื้อปรับระบบจึงเป็นการรื้อปรับระบบโครงสร้างของกระบวนการเดิมทั้งหมดอย่างถอนราก ถอนโคน แล้วออกแบบระบบขึ้นมาใหม่ขึ้นมาใช้แทน เมื่อทําการซื้อปรับระบบแล้วก็จะวัดผลโดยดูที่ผลกําไรของ องค์การ การลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ วัดความพึงพอใจของลูกค้า และจะมีการปรับปรุงวัดผลการทํางานอย่างต่อเนื่อง การสื่อปรับระบบจะมุ่งเน้นคุณภาพงาน และผลประโยชน์ให้กับลูกค้าที่มาติดต่อ โดยทําการปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา และทําอย่างต่อเนื่องแบบค่อยเป็นค่อยไปในด้านรูปแบบและการมีส่วนร่วม

 

ข้อ 2 จงอธิบายความหมายของคําว่ากลยุทธ์ (Strategy) กับยุทธศาสตร์ สองคํานี้มีความแตกต่างกันหรือไม่แนวคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์มีความเป็นมาอย่างไร นักคิดที่มีชื่อเสียงเป็นใคร และอธิบายเทคนิค ที่ใช้วิเคราะห์องค์การที่เรียกว่า “SWOT Analysis” พร้อมกับยกตัวอย่างประกอบ

แนวคําตอบ

ความหมายของกลยุทธ์และยุทธศาสตร์

คําว่า “กลยุทธ์” หรือ “ยุทธศาสตร์ ภาษาอังกฤษใช้คําว่า “Strategy” โดยมีรากศัพท์มาจาก คําว่า “Strategos” ในภาษากรีก ซึ่งเกิดจากศัพท์ 2 คํา คือ “Stratos” หมายถึง Army หรือ กองทัพ และ Agein หมายถึง Lead หรือ นําหน้า โดยเมื่อนําศัพท์ 2 คํานี้มารวมกันจะหมายถึง การนํากองทัพ หรือยุทธวิธีหลักในการรบ เพื่อเอาชนะศัตรู ดังนั้นคําว่ากลยุทธ์กับยุทธศาสตร์จึงเป็นคํา ๆ เดียวกันและมีความหมายเหมือนกัน

สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ กล่าวว่า กลยุทธ์ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ภายนอกขององค์การ เพื่อพิจารณาหาโอกาส (Opportunity) และภยันตราย (Threat) ตลอดจนการวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายในขององค์การเพื่อหาจุดอ่อน (Weakness) และจุดแข็ง (Strength)

ความเป็นมาของแนวคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์

แนวคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์ถูกนํามาใช้กันอย่างกว้างขวางตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 โดยคําว่า กลยุทธ์หรือยุทธศาสตร์ เป็นคําที่ใช้ในวงการทหารมาก่อน เช่น ในสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช หรือใน ตําราพิชัยสงครามของซุนวูมีคํากล่าวว่า “รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง” ต่อมาวงการธุรกิจได้หยิบยืม กลยุทธ์ทางทหารมาใช้ในการประกอบการทางธุรกิจ เช่น กลยุทธ์การขาย กลยุทธ์การเข้าถึงลูกค้า กลยุทธ์การ ส่งมอบสินค้าให้ผู้บริโภคถึงที่บ้านแบบ Delivery ของร้านพิซซ่า เป็นต้น

 

 

 

ในวิชารัฐประศาสนศาสตร์หรือการบริหารรัฐกิจก็มีการกล่าวถึงกลยุทธ์หรือยุทธศาสตร์เช่นกัน แต่ใช้คําว่าการวางแผน (Planning) ดังนั้นการวางแผนจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์หรือยุทธศาสตร์ ซึ่งเป็นหน้าที่ ที่สําคัญของผู้บริหาร เช่น Guick & Urwick ได้เสนอหน้าที่ของผู้บริหารที่เรียกว่า “POSDCORB”, Henri Fayol ได้เสนอหน้าที่ของผู้บริหารที่เรียกว่า “POCCC” และ Robbins ได้เสนอหน้าที่ของผู้บริหารที่เรียกว่า “POLC” โดยตัวอักษร P ตามแนวคิดของนักวิชาการทั้งสามท่านก็คือ การวางแผน (Planning) นั่นเอง

สําหรับประเทศไทยได้นําแนวคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์มาใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินไทย เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2545 ในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เช่น การนําแนวคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์ มาประยุกต์ใช้ในการจัดทําแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย พ.ศ. 2546 – 2550 การปรับเปลี่ยน ระบบงบประมาณมาเป็นระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ตามยุทธศาสตร์ การให้หน่วยงานภาครัฐ ทุกกระทรวงจัดทํายุทธศาสตร์ระดับกระทรวง ระดับกรม เป็นต้น

นักคิดที่มีชื่อเสียงด้านกลยุทธ์

นักคิดที่มีชื่อเสียงด้านกลยุทธ์มีหลายท่าน เช่น Michael E, Porter, Bracker, Chandler และ Ansoff

เทคนิค “SWOT Analysis”

SWOT Analysis เป็นเทคนิคที่ใช้ในการวิเคราะห์องค์การเพื่อหาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และ อุปสรรคขององค์การ ซึ่งคําว่า SWOT ประกอบด้วย

1 S = Strengths คือ จุดแข็งขององค์การ เป็นการพิจารณาทรัพยากรภายในองค์การ หรือระบบย่อยขององค์การ เช่น อํานาจหน้าที่ เป้าประสงค์ จุดมุ่งหมาย โครงสร้าง บุคลากร ความรู้และข้อมูลข่าวสาร เทคโนโลยี เป็นต้น ว่ามีอะไรบ้างที่เป็นจุดแข็ง/จุดเด่นขององค์การ องค์การสามารถทําได้ดี มีความชํานาญ มีคุณภาพ มีชื่อเสียง เป็นต้น

2 W = Weakness คือ จุดอ่อนขององค์การ เป็นการพิจารณาอํานาจหน้าที่ เป้าประสงค์ จุดมุ่งหมาย โครงสร้าง บุคลากร ความรู้และข้อมูลข่าวสาร และเทคโนโลยีภายในองค์การว่ามีจุดอ่อนอย่างไร เพื่อที่จะได้ปรับปรุงแก้ไข

3 O = Opportunities คือ โอกาสที่จะทําให้เกิดความได้เปรียบแก่องค์การ เป็นการ พิจารณาดูว่ามีปัจจัยภายนอกองค์การใดที่จะนํามาเป็นประโยชน์ในการดําเนินงานขององค์การได้บ้าง ซึ่งแบ่งออกเป็น

1) สิ่งแวดล้อมของงาน ได้แก่ ลูกค้า คู่แข่ง ผู้ผลิต แรงงาน กฎระเบียบหรือหน่วยงานที่ควบคุม

2) สิ่งแวดล้อมทั่วไป ได้แก่ การเมือง กฎหมาย เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และต่างประเทศ

4 T = Threats คือ อุปสรรคหรือภยันตรายที่จะทําให้เกิดหายนะแก่องค์การ เป็นการ พิจารณาสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ ได้แก่ สิ่งแวดล้อมของงานและสิ่งแวดล้อมทั่วไปที่ทําให้เกิดภยันตรายหรือ หายนะต่อการดําเนินงานขององค์การ

ตัวอย่างของการใช้เทคนิค SWOT Analysis วิเคราะห์องค์การ เช่น

การใช้เทคนิค SWOT Analysis ในการวิเคราะห์กรุงเทพมหานคร (กทม.) เพื่อนําไปใช้กําหนด กลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร

 

จุดแข็งของกรุงเทพมหานคร

1 มีบุคลากรที่มีคุณภาพและมีความรู้ความสามารถ

2 มีงบประมาณจํานวนมาก

3 มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย

4 มีสํานักงานเขต 50 เขต แต่ละเขตมีบุคลากรและเครื่องมือพร้อมในการทํางาน

5 คณะผู้บริหารมีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์ และได้รับการยอมรับจากประชาชนสูง

 

จุดอ่อนของกรุงเทพมหานคร

1 การบริหารราชการยังขาดการบูรณาการระหว่างหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร และการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกที่ดําเนินภารกิจในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

2 การบริหารราชการขาดความโปร่งใส เกิดปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น

3 ระบบการตรวจสอบและควบคุมการบริหารราชการไม่มีประสิทธิภาพ ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน

4 ผู้บริหารมาจากการเลือกตั้ง ทําให้บางครั้งการดําเนินนโยบายต่าง ๆ ขาดความต่อเนื่อง

5 ขาดอํานาจต่อรองทางการเมืองกับรัฐบาล ทําให้ไม่สามารถริเริ่มภารกิจใหม่ ๆ หรือขยายเขตอํานาจตามกฎหมายให้กว้างขวางมากขึ้นได้

 

โอกาสของกรุงเทพมหานคร

1 เป็นศูนย์กลางทางการเมือง การปกครอง และเศรษฐกิจของประเทศ

2 เป็นเมืองเศรษฐกิจขนาดใหญ่ มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงและต่อเนื่อง

3 เป็นสถานที่ตั้งของสถานที่สําคัญ ๆ เช่น กระทรวง กรมต่าง ๆ สถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงที่ทําการหนังสือพิมพ์ สถานีวิทยุและโทรทัศน์ รวมทั้งมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ จํานวนมาก เช่น พระบรมมหาราชวัง วัดพระแก้ว วัดอรุณราชวราราม วัดเบญจมบพิตร เป็นต้น

4 มีระบบโครงข่ายการสื่อสารสมัยใหม่ที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ ประชากรส่วนใหญ่เข้าถึงเครือข่ายได้ถ้วนหน้า

5 ประชากรมีระดับการศึกษาสูงกว่าเมืองอื่น ๆ ในประเทศ

 

อุปสรรคของกรุงเทพมหานคร

1 การอพยพของคนเข้ามาอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครเป็นจํานวนมากส่งผลให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา เช่น ความแออัด การขาดแคลนที่อยู่อาศัย การเกิดปัญหาอาชญากรรม เพิ่มขึ้น รวมทั้งมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาดหรือโรคติดต่อต่าง ๆ

2 ภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำส่งผลต่อระดับรายได้ของประชากร การจ้างงาน และการลงทุนต่าง ๆ

3 การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนส่งผลให้แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ พม่า ลาว และกัมพูชา หลั่งไหลเข้ามาทํางานในกรุงเทพมหานครเป็นจํานวนมาก

4 การเมืองที่ขาดเสถียรภาพส่งผลให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีความเสี่ยงต่อการชุมนุมประท้วง หรือการก่อเหตุความรุนแรงต่าง ๆ อันเนื่องมาจากปัญหาการเมือง

5 การมีความเสี่ยงต่อการก่อการร้ายหรือการก่ออาชญากรรมข้ามชาติ

 

ข้อ 3 จากการที่ท่านได้ศึกษาเรื่องหลักการบริหารสมัยใหม่ เช่น หลักการ 5 Gs, หลักการ 4 VIPs, หลักธรรมาภิบาล, ทฤษฎี 7 S’s Model เป็นต้น อีกทั้งเทคนิคการบริหารสมัยใหม่ เช่น คิว.ซี. (Quality Control), 5 S., ไคเซ็น (Kaizen), การยกเครื่ององค์การ (Reengineering), การบริหาร คุณภาพทั้งองค์การ (Total Quality Management) และระบบซิกซ์ ซิกม่า (Six Sigma) เป็นต้น จงเลือกอธิบายมา 1 แนวคิด พร้อมกับอธิบายความเป็นมา แนวคิด/หลักการ ชื่อนักคิด (ถ้ามี) และแสดงความคิดเห็นว่าแนวคิดนั้นเหมาะสมกับการนํามาปรับใช้ในองค์การภาครัฐไทยหรือไม่ อย่างไร

แนวคําตอบ

หลักธรรมาภิบาล (Good Governance)

คําว่า Good Governance มีคําเรียกภาษาไทยหลายคํา เช่น ธรรมาภิบาล การบริหารจัดการที่ดี ธรรมรัฐ ประชารัฐ บรรษัทภิบาล วิธีการปกครองที่ดี การกํากับดูแลกิจการที่ดี การบริหารกิจการบ้านเมืองและ สังคมที่ดี เป็นต้น โดยแต่ละหน่วยงานจะใช้คําเรียกที่แตกต่างกันไป ดังนี้

– ราชบัณฑิตยสถาน ใช้คําว่า วิธีการปกครองที่ดี

– การไฟฟ้านครหลวง ใช้คําว่า การกํากับดูแลกิจการที่ดี

– ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีฯ ใช้คําว่า การบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี

– ภาคเอกชน ใช้คําว่า บรรษัทภิบาลหรือการกํากับดูแลที่ดี ที่มาและหลักการของธรรมาภิบาล

ธรรมาภิบาลเป็นแนวคิดของธนาคารโลก (World Bank) ที่กําหนดเป็นเงื่อนไขในการให้กู้เงิน กับประเทศในซีกโลกใต้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 เพื่อแก้ปัญหาการคอร์รัปชั่นของรัฐบาลและความไม่มีประสิทธิภาพ ในการบริหารของประเทศกําลังพัฒนา ด้วยเหตุนี้ธนาคารโลกและองค์การระหว่างประเทศ (UNDP) จึงได้กําหนด ลักษณะและองค์ประกอบของธรรมาภิบาลไว้ 7 ประการ คือ

1 การมีความชอบธรรมและความรับผิดชอบทางการเมือง (Political Legitimacy and Accountability)

2 ความมีอิสระในการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานในหน้าที่ที่รับผิดชอบ (Freedom of · Association and Participation)

3 การมีระบบกฎหมายที่มีความยุติธรรมและน่าเชื่อถือ (A Fair and Reliable Judicial System)

4 การมีพันธะความรับผิดชอบและการถูกตรวจสอบของระบบราชการ (Bureaucratic Accountability)

5 การมีเสรีภาพในการแสดงออกและการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารต่อสังคม (Freedom of Information and Expression)

6 ความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารจัดการภาครัฐ (Effective and Efficient Public Sector Management)

7 การแสวงหาความร่วมมือจากองค์กรประชาสังคม (Cooperation with Civil Society Organization) สําหรับประเทศไทย สํานักนายกรัฐมนตรีได้ออกระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้าง ระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542 ซึ่งมีหลักการสําคัญ 6 ประการ คือ

 

1 หลักนิติธรรม ได้แก่ การปรับปรุงกฎหมาย กฎข้อบังคับต่าง ๆ ให้ทันสมัยและเป็นธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคม และสังคมยินยอมพร้อมใจปฏิบัติตามกฎหมาย กฎข้อบังคับเหล่านั้น โดยถือว่าเป็นการ ปกครองภายใต้กฎหมายมิใช่ตามอําเภอใจหรืออํานาจของตัวบุคคล

2 หลักคุณธรรม ได้แก่ การยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม โดยรณรงค์ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ ยึดถือหลักนี้ในการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นตัวอย่างแก่สังคม และส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนพัฒนาตนเองไปพร้อมกัน เพื่อให้คนไทยมีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบวินัย ประกอบอาชีพสุจริตจนเป็นนิสัยประจําชาติ

3 หลักความโปร่งใส ได้แก่ การสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันของคนในชาติ โดยปรับปรุง กลไกการทํางานของทุกองค์การให้มีความโปร่งใส มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์อย่างตรงไปตรงมา ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวก และมีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้อง ชัดเจนได้

4 หลักการมีส่วนร่วม ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้และเสนอความเห็น ในการตัดสินใจปัญหาของประเทศ ไม่ว่าด้วยการแจ้งความเห็น การไต่สวนสาธารณะ การประชาพิจารณ์ การแสดง ประชามติ หรืออื่น ๆ

5 หลักความรับผิดชอบ ได้แก่ การตระหนักในสิทธิหน้าที่ ความสํานึกในความรับผิดชอบ ต่อสังคม การใส่ใจปัญหาสาธารณะของบ้านเมือง และกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา ตลอดจนการเคารพใน ความคิดเห็นที่แตกต่างและความกล้าที่จะยอมรับผลการกระทําของตน

6 หลักความคุ้มค่า ได้แก่ การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจํากัดเพื่อให้เกิดประโยชน์ สูงสุดแก่ส่วนรวม โดยรณรงค์ให้คนไทยมีความประหยัด ใช้ของอย่างคุ้มค่า สร้างสรรค์สินค้าและบริการที่มีคุณภาพ สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก และรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้สมดุลยั่งยืน

จะเห็นได้ว่าหลักธรรมาภิบาลของ UNDP กับประเทศไทยมีความคล้ายคลึงกันใน 5 ด้าน ส่วนหลักคุณธรรมของ UNDP ไม่ได้กล่าวถึงแต่สําหรับประเทศไทยได้ให้ความสําคัญในเรื่องนี้

หลักธรรมาภิบาลเหมาะสมกับการนํามาปรับใช้ในองค์การภาครัฐไทย เนื่องจาก

1 ช่วยส่งเสริมให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐมีความตระหนักถึงความสํานึกรับผิดชอบ ต่อประชาชนและองค์การมากขึ้น ซึ่งความสํานึกรับผิดชอบมีส่วนทําให้เจ้าหน้าที่ของรัฐระมัดระวังการกระทําที่ มีผลต่อสาธารณะหรือประชาชนมากขึ้น และหากเกิดข้อผิดพลาดขึ้นก็ต้องพร้อมที่จะรับผลของการกระทํานั้น โดยไม่หลบเลี่ยงหรือโยนความผิดให้บุคคลอื่น

2 ช่วยทําให้ระบบราชการเป็นระบบเปิด โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนมีช่องทางมีส่วนร่วม ในการบริหารภาครัฐอย่างหลากหลายและเป็นรูปธรรมมากขึ้น ทั้งนี้ระบบการบริหารภาครัฐในอดีตมักเป็นระบบปิด ทําให้ประชาชนไม่รู้ข้อมูลข่าวสารในการบริหารงานขององค์การภาครัฐมากนักและข้อมูลส่วนใหญ่จะถูกเก็บ เป็นความลับหรือไม่เปิดเผยให้ประชาชนได้รับรู้ แต่เมื่อมีการนําหลักธรรมาภิบาลมาใช้ทําให้มีกฎหมายเกี่ยวกับ การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารขององค์การภาครัฐ และให้สิทธิแก่ประชาชนในการยื่นขอข้อมูลข่าวสารจากองค์การ ภาครัฐได้ นอกจากนี้ยังมีการกําหนดให้องค์การภาครัฐต้องเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่จําเป็นต่อสาธารณะผ่าน ช่องทางต่าง ๆ เช่น เอกสารหรือเว็บไซต์ของหน่วยงาน เป็นต้น และประชาชนยังมีช่องทางในการร้องเรียนหรือ เสนอความคิดเห็นผ่านช่องทางต่าง ๆ ขององค์การภาครัฐอีกด้วย

3 ช่วยส่งเสริมให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐยึดกฎหมายเป็นหลักในการปฏิบัติหน้าที่มากกว่าการใช้ดุลยพินิจหรือตามอําเภอจ โดยมีการวางมาตรฐานการปฏิบัติงานในแต่ละภารกิจหรือแต่ละงาน ไว้ชัดเจน ทําให้การใช้กฎหมายเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนอาจลดลงได้

4 ช่วยให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐตระหนักถึงความสําคัญของคุณธรรมและจริยธรรม ในการปฏิบัติหน้าที่ของตนในฐานะเป็นผู้ให้บริการประชาชนมิใช่เจ้านายของประชาชนหรือผู้ที่มีสถานภาพที่เหนือกว่า ประชาชน

5 ทําให้องค์การภาครัฐให้ความสําคัญกับประสิทธิภาพในการทํางานมากขึ้น โดยการ ปรับปรุงกระบวนการทํางานให้มีความรวดเร็ว และประหยัดทั้งเวลาและงบประมาณ

POL4321 การบริหารร่วมสมัย 2/2560

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 4321 การบริหารร่วมสมัย

คําสั่ง ข้อสอบมี 3 ข้อ ให้นักศึกษาตอบทุกข้อ

ข้อ 1 จงอธิบายความหมายของวัฒนธรรมองค์การ (Organizational Culture) นักวิชาการที่ได้แบ่งระดับวัฒนธรรมองค์การออกเป็น 3 ระดับคือใคร แต่ละระดับมีอะไรบ้าง พร้อมกับยกตัวอย่างวัฒนธรรมองค์การแต่ละระดับ และยกตัวอย่างค่านิยมในองค์การภาครัฐมา 1 แห่ง

แนวคําตอบ

วัฒนธรรมองค์การ (Organizational Culture) หมายถึง แนวทางการประพฤติปฏิบัติ ของบุคลากรในแต่ละองค์การที่ได้รับการปลูกฝังและถ่ายทอดกันมาอย่างต่อเนื่อง โดยแสดงออกมาในลักษณะของค่านิยม ความเชื่อ สัญลักษณ์ พิธีการ นิทาน และการเล่าเรื่อง เป็นต้น ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าวัฒนธรรมองค์การ สะท้อนให้เห็นถึงภาพรวมหรือบุคลิกลักษณะเฉพาะขององค์การนั้น ๆ

ระดับของวัฒนธรรมองค์การ Schein ได้แบ่งระดับวัฒนธรรมองค์การออกเป็น 3 ระดับ คือ

1 วัฒนธรรมทางกายภาพ (Artifacts) เป็นระดับวัฒนธรรมองค์การที่บุคคลสามารถ มองเห็น ได้ยินและรู้สึกได้ทันทีเมื่อเข้าไปในแต่ละองค์การ นอกจากนี้แล้วยังรวมถึงผลิตภัณฑ์ บริการ และพฤติกรรมของสมาชิก โดยวัฒนธรรมทางกายภาพแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1) ประเภทวัตถุ เช่น ศิลปะต่าง ๆ โลโก้ของหน่วยงาน รูปทรงหรือการออกแบบตึก เฟอร์นิเจอร์ เครื่องแต่งกาย เป็นต้น

2) ประเภทพฤติกรรม เช่น พิธีกรรมต่าง ๆ รูปแบบการติดต่อสื่อสาร ประเพณี การให้รางวัล หรือการลงโทษพนักงาน เป็นต้น

3) ประเภทภาษา เช่น เรื่องเล่าเกี่ยวกับความยากลําบากในการก่อตั้งองค์การ เรื่องตลกในหน่วยงาน ชื่อจริงหรือชื่อเล่นที่ใช้เรียกในที่ทํางาน คําศัพท์เฉพาะที่ใช้กันในหน่วยงาน คําอธิบาย เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ อุปมาอุปมัย หรือคําขวัญที่มักใช้กันในองค์การ เป็นต้น

 

2 ค่านิยม (Espoused values) เป็นสิ่งที่บอกว่าสิ่งใดมีคุณค่าหรือสิ่งใดควรกระทํา ค่านิยมเป็นเป้าหมายและมาตรฐานของสังคมที่สมาชิกในองค์การควรเอาใจใส่ เช่น การทํางานให้มีคุณภาพ มีความรับผิดชอบ และมีความโปร่งใส เป็นต้น

3 ฐานคติ (Basic Underlying Assumption) เป็นสิ่งที่สมาชิกในองค์การมีความเชื่อว่า สิ่งนั้นเป็นจริง เป็นวิธีที่ถูกต้องในการทําสิ่งนั้น (The right way to do things) เช่น มาตรฐานการทํางาน วิธีการ ทํางานที่คิดว่ามีประสิทธิภาพ เป็นต้น

 

ตัวอย่างค่านิยมในองค์การภาครัฐ

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง ได้กําหนดค่านิยมในการทํางานในองค์การไว้ 6 ประการ ซึ่งเรียกว่า “POLSCI” ประกอบด้วย

1 P = Positive Thinking คือ การคิดในทางบวก หมายถึง บุคลากรคณะรัฐศาสตร์ จะต้องมองปัญหา ความทุกข์ ความไม่ราบรื่นในการปฏิบัติงานอย่างเข้าใจ ยอมรับได้ และพร้อมที่จะแก้ไขได้ทันที

2 0 = Ownership คือ ความรู้สึกเป็นเจ้าขององค์การ หมายถึง บุคลากรคณะรัฐศาสตร์ มุ่งปฏิบัติงานเพื่อคณะรัฐศาสตร์ โดยเห็นผลประโยชน์ส่วนตนน้อยกว่าสาธารณะ ผลักดันคณะรัฐศาสตร์ไปให้ถึง จุดมุ่งหมาย รักษาผลประโยชน์ของคณะรัฐศาสตร์ ช่วยกันทํางานเป็นทีม ทุกคนมีความสําคัญเท่ากันหมด ช่วยกัน ประสานงาน และสื่อสารกันอย่างมีประสิทธิภาพ

3 L = Leader of Change คือ การเป็นผู้นําในการเปลี่ยนแปลง หมายถึง บุคลากร ” คณะรัฐศาสตร์จะเป็นผู้นํายุคใหม่ที่สอดคล้องในยุคปฏิรูปที่มีการพัฒนาคุณภาพของผลผลิตและการบริการอย่าง ต่อเนื่อง มีความสามารถในการตัดสินใจจัดการเปลี่ยนแปลง สามารถตีความเข้าใจเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถประยุกต์วิธีการต่าง ๆ เพื่อให้คณะรัฐศาสตร์ประสบความสําเร็จ

4 S = Service Mind คือ การมุ่งมั่นที่จะให้บริการที่ดี หมายถึง บุคลากรคณะรัฐศาสตร์ จะเป็นผู้ให้บริการที่มีจิตใจหรือมีใจรัก มีความเต็มใจในการบริการ โดยปฏิบัติงานด้วยความยิ้มแย้ม แจ่มใส มีอารมณ์รื่นเริง และควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ ไม่ขึ้นเสียงกับนักศึกษาหรือผู้มารับบริการ

5 C = Continuous Learning คือ การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง หมายถึง บุคลากร คณะรัฐศาสตร์แสดงออกถึงความตั้งใจในการเรียนรู้ ประยุกต์ใช้ข้อมูลและทักษะใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง มีส่วนร่วม ในกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้มีความรู้และความสามารถในการจัดการกับปัญหา และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่ เปลี่ยนไปได้

6 I = Integrity & Ethics คือ การมีความซื่อสัตย์และคุณธรรมจริยธรรม หมายถึง บุคลากรคณะรัฐศาสตร์ประพฤติปฏิบัติงานอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม จนเป็นที่ไว้วางใจ โดยมีความซื่อสัตย์สุจริต ตรงไปตรงมา โปร่งใสและตรวจสอบได้ให้เกียรติและไม่เอาเปรียบผู้อื่น กระทําตามสัญญาและยึดมั่นในจรรยาบรรณ วิชาชีพ

 

ข้อ 2 การที่สถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ จําเป็นต้องนําระบบการประกันคุณภาพการศึกษา (Quality Assurance System) มาใช้เพราะเหตุใด ระบบประกันคุณภาพการศึกษามีกีระบบ อะไรบ้าง จงอธิบาย และการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคําแหงมีกระบบ อะไรบ้าง จงอธิบายมาให้เข้าใจอย่างชัดเจน

แนวคําตอบ

สาเหตุที่ทําให้สถาบันอุดมศึกษาต้องนําระบบการประกันคุณภาพการศึกษามาใช้

1 ความแตกต่างด้านคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษา

2 ความท้าทายของปัจจัยโลกาภิวัตน์ที่มีต่อการอุดมศึกษา ทําให้การศึกษาไร้พรมแดน

3 สถาบันอุดมศึกษามีความจําเป็นที่จะต้องสร้างความมั่นใจแก่สังคมว่าสามารถพัฒนา องค์ความรู้และผลิตบัณฑิตตอบสนองต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง ขีดความสามารถในการแข่งขันระดับสากล การพัฒนาภาคการผลิตจริงทั้งอุตสาหกรรมและบริการ การพัฒนาอาชีพ คุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ระดับท้องถิ่นและชุมชน

4 สถาบันอุดมศึกษาจะต้องให้ข้อมูลสาธารณะ (Public Information) ที่เป็นประโยชน์ ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งนักศึกษา ผู้จ้างงาน ผู้ปกครอง รัฐบาล และประชาชนทั่วไป

5 สังคมต้องการระบบอุดมศึกษาที่เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วม (Participation) มีความโปร่งใส (Transparency) และมีความรับผิดชอบสามารถตรวจสอบได้ (Accountability) ตามหลักธรรมาภิบาล

6 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 กําหนดให้สถานศึกษาทุกแห่งจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายใน รวมถึงให้มีสํานักงานรับรองมาตรฐานและ ประเมินคุณภาพการศึกษาทําหน้าที่ประเมินคุณภาพภายนอก โดยการประเมินผลการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

7 คณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ประกาศใช้มาตรฐานการอุดมศึกษาเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2549 เพื่อเป็นกลไกกํากับระดับมาตรฐานระดับกระทรวง ระดับคณะกรรมการการอุดมศึกษา และระดับ หน่วยงาน โดยทุกหน่วยงานระดับอุดมศึกษาจะได้ใช้เป็นกรอบดําเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา

8 กระทรวงศึกษาธิการได้มีประกาศกระทรวงเรื่องมาตรฐานสถาบันอุดมศึกษาเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เพื่อเป็นกลไกส่งเสริมและกํากับให้สถาบันอุดมศึกษาจัดการศึกษาให้มีมาตรฐาน ตามประเภทหรือกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา 4 กลุ่ม

9 กระทรวงศึกษาธิการได้มีประกาศกระทรวงเรื่องกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา แห่งชาติเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ประกาศแนวทางการปฏิบัติตาม กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เพื่อให้การจัดการศึกษา ระดับอุดมศึกษาเป็นไปตามมาตรฐานการอุดมศึกษาและเพื่อการประกันคุณภาพของบัณฑิตในแต่ละระดับ คุณวุฒิและสาขาวิชา

 

ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ได้กําหนด ให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษา 2 ระบบ คือ

1 ระบบการประกันคุณภาพภายใน เป็นการประเมินการดําเนินงานของสถานศึกษา โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้น ๆ และให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหาร การศึกษาที่ต้องดําเนินการอย่างต่อเนื่อง มีการจัดทํารายงานประจําปี รายงานประเมินคุณภาพภายในเสนอ สภาสถาบัน หน่วยงานต้นสังกัด และหนวยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเผยแพร่ต่อสาธารณะ

2 ระบบการประกันคุณภาพภายนอก เป็นการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาโดย หน่วยงานภายนอก คือ สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ซึ่งจะทําการประเมินอย่างน้อย 1 ครั้งในทุกรอบ 5 ปี

 

ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคําแหง ปัจจุบันมหาวิทยาลัยรามคําแหงใช้ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา 3 ระบบ คือ

1 ระบบ ISO 9001 : 2008 ใช้ในคณะ/สํานักที่เน้นงานด้านการบริการให้แก่นักศึกษา เช่น สํานักหอสมุดกลาง สํานักบริการทางวิชาการและทดสอบประเมินผล (สวป.) สํานักงานอธิการบดี สํานักเทคโนโลยี การศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

2 ระบบ OA (Quality Assurance) ใช้ในคณะ/สํานัก/สาขาวิทยบริการฯ โดยอิง องค์ประกอบทั้ง 9 ข้อของสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

3 ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ใช้ในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคําแหง (มัธยมศึกษาและประถมศึกษา) โดยอิงมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน คุณภาพการศึกษากําหนด

 

ข้อ 3 ปัจจัยอะไรบ้างที่ทําให้ผู้บริหารองค์การภาครัฐจําเป็นต้องนําหลักการบริหารสมัยใหม่/เทคนิคการบริหารสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ในองค์การ (อย่างน้อย 4 ประการ) หลักการบริหารสมัยใหม่ อาทิ หลักการ 5 G’s, หลักการ 4 VIPs, หลักธรรมาภิบาล, ทฤษฎี 7S’s Model เป็นต้น หรือ เทคนิคการบริหารสมัยใหม่ เช่น 5 ส. (5 S.), ไคเซ็น (Kaizen), การรื้อปรับระบบ (Reengineering), การบริหารคุณภาพทั้งองค์การ (Total Quality Management) และแนวคิดซิกซ์ ซิกม่า (Six Sigma) เป็นต้น ให้เลือกอธิบาย 1 แนวคิดมาให้เข้าใจอย่างชัดเจน (แนวการตอบอ้างอิงชื่อนักวิชาการ (ถ้ามี) ความเป็นมา แนวคิด หลักการของแนวคิดฯ นั้น)

แนวคําตอบ

ปัจจัยที่ทําให้ผู้บริหารองค์การภาครัฐจําเป็นต้องนําหลักการบริหารสมัยใหม่/เทคนิค การบริหารสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ในองค์การ มีดังนี้

1 กระแสโลกาภิวัตน์ (Globalization) เป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยีด้านอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีทําให้ มนุษย์ในโลกสามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว และสามารถรับรู้ได้ในเวลาที่ใกล้เคียงกัน ดังนั้น ผู้บริหารองค์การภาครัฐจึงจําเป็นต้องนําเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในองค์การ เพื่อทําให้การทํางานมีประสิทธิภาพและ สามารถบริการลูกค้าหรือผู้รับบริการได้อย่างรวดเร็ว

2 การแข่งขัน ปัจจุบันมีการแข่งขันในการผลิตสินค้าและบริการสูงมาก หากองค์การใด สามารถผลิตสินค้ามีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และเป็นที่ต้องการของลูกค้าหรือผู้รับบริการได้ก็ย่อมจะได้เปรียบ ในการแข่งขัน

3 ลูกค้าหรือผู้รับบริการ เนื่องจากลูกค้าหรือผู้รับบริการต้องการสินค้าที่มีคุณภาพ และการบริการที่สะดวก รวดเร็ว และทันสมัย

4 ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ คือ มีการค้นพบองค์ความรู้ใหม่ ๆ และกระแส ของแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่เน้นให้ความสําคัญกับลูกค้าหรือผู้รับบริการ การมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์หรือ ผลสําเร็จของการปฏิบัติงาน การลดขั้นตอนการทํางาน การนําเทคโนโลยีมาใช้ ดังนั้นผู้บริหารจึงต้องติดตาม และนําองค์ความรู้ใหม่ ๆ เหล่านี้มาปรับใช้ในองค์การภาครัฐ เพื่อทําให้การทํางานเกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และมีความทันสมัย

5 องค์การภาครัฐถูกวิพากษ์วิจารณ์ เช่น เรื่องขนาดขององค์การ มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า องค์การภาครัฐมีขนาดใหญ่โตเทอะทะ ทําให้ต้องใช้ทรัพยากรมาก ดังนั้นผู้บริหารจึงจําเป็นจะต้องลดขนาดของ องค์การภาครัฐให้เล็กลง (Downsizing) หรือลดจํานวนบุคลากร นอกจากนี้ยังถูกวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องของการ บริหารงานที่ขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผล สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ทําให้ผู้บริหารองค์การภาครัฐจําเป็นต้อง นําหลักการบริหารสมัยใหม่/เทคนิคการบริหารสมัยใหม่มาใช้ในการปรับปรุงการบริหารจัดการ

6 การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ทําให้ องค์การภาครัฐต้องมีการปรับองค์การให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ดังนี้

 

1) ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ เช่น ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ ทําให้องค์การภาครัฐจะต้อง ประหยัดในการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ และมีการนําเทคโนโลยีมาใช้

2) ปัจจัยทางด้านสังคม คือ ความต้องการของประชาชนหรือผู้รับบริการที่ต้องการ ให้องค์การภาครัฐให้บริการที่มีคุณภาพ และบริการด้วยความโปร่งใส

3) ปัจจัยทางด้านการเมือง เช่น นโยบายของรัฐบาล หรือบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ที่กําหนดให้องค์การภาครัฐจะต้องมีการปฏิรูประบบราชการหรือปฏิรูปการบริหาร

 

7 กระแสความนิยม องค์การต่าง ๆ ทั่วโลกต่างนิยมนําหลักการบริหารงานสมัยใหม่มาใช้ เป็นเครื่องมือในการปรับปรุงการผลิตสินค้าและบริการให้มีคุณภาพ

 

หลักธรรมาภิบาล (Good Governance)

คําว่า Good Governance มีคําเรียกภาษาไทยหลายคํา เช่น ธรรมาภิบาล การบริหารจัดการที่ดี ธรรมรัฐ ประชารัฐ บรรษัทภิบาล วิธีการปกครองที่ดี การกํากับดูแลกิจการที่ดี การบริหารกิจการบ้านเมืองและ สังคมที่ดี เป็นต้น โดยแต่ละหน่วยงานจะใช้คําเรียกที่แตกต่างกันไป ดังนี้

– ราชบัณฑิตยสถาน ใช้คําว่า วิธีการปกครองที่ดี

– การไฟฟ้านครหลวง ใช้คําว่า การกํากับดูแลกิจการที่ดี

– ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีฯ ใช้คําว่า การบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี

– ภาคเอกชน ใช้คําว่า บรรษัทภิบาลหรือการกํากับดูแลที่ดี

 

ที่มาและหลักการของธรรมาภิบาล

ธรรมาภิบาลเป็นแนวคิดของธนาคารโลก (World Bank) ที่กําหนดเป็นเงื่อนไขในการให้กู้เงิน กับประเทศในซีกโลกใต้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 เพื่อแก้ปัญหาการคอร์รัปชั่นของรัฐบาลและความไม่มีประสิทธิภาพ ในการบริหารของประเทศกําลังพัฒนา ด้วยเหตุนี้ธนาคารโลกและองค์การระหว่างประเทศ (UNDP) จึงได้กําหนด ลักษณะและองค์ประกอบของธรรมาภิบาลไว้ 7 ประการ คือ

 

1 การมีความชอบธรรมและความรับผิดชอบทางการเมือง (Political Legitimacy and Accountability)

2 ความมีอิสระในการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานในหน้าที่ที่รับผิดชอบ (Freedom of Association and Participation)

3 การมีระบบกฎหมายที่มีความยุติธรรมและน่าเชื่อถือ (A Fair and Reliable Judicial System)

4 การมีพันธะความรับผิดชอบและการถูกตรวจสอบของระบบราชการ (Bureaucratic Accountability)

5 การมีเสรีภาพในการแสดงออกและการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารต่อสังคม (Freedom of Information and Expression)

6 ความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารจัดการภาครัฐ (Effective and Efficient Public Sector Management)

7 การแสวงหาความร่วมมือจากองค์กรประชาสังคม (Cooperation with Civil Society Organization)

 

สําหรับประเทศไทย สํานักนายกรัฐมนตรีได้ออกระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบ บริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542 ซึ่งมีหลักการสําคัญ 6 ประการ คือ

 

1 หลักนิติธรรม ได้แก่ การปรับปรุงกฎหมาย กฎข้อบังคับต่าง ๆ ให้ทันสมัยและเป็นธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคม และสังคมยินยอมพร้อมใจปฏิบัติตามกฎหมาย กฎข้อบังคับเหล่านั้น โดยถือว่าเป็นการ ปกครองภายใต้กฎหมายมิใช่ตามอําเภอใจหรืออํานาจของตัวบุคคล

2 หลักคุณธรรม ได้แก่ การยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม โดยรณรงค์ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ ยึดถือหลักนี้ในการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นตัวอย่างแก่สังคม และส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนพัฒนาตนเองไปพร้อมกัน เพื่อให้คนไทยมีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบวินัย ประกอบอาชีพสุจริตจนเป็นนิสัยประจําชาติ

3 หลักความโปร่งใส ได้แก่ การสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันของคนในชาติ โดยปรับปรุง กลไกการทํางานของทุกองค์การให้มีความโปร่งใส มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์อย่างตรงไปตรงมา ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวก และมีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้อง ชัดเจนได้

4 หลักการมีส่วนร่วม ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้และเสนอความเห็น ในการตัดสินใจปัญหาของประเทศ ไม่ว่าด้วยการแจ้งความเห็น การไต่สวนสาธารณะ การประชาพิจารณ์ การแสดง ประชามติ หรืออื่น ๆ

5 หลักความรับผิดชอบ ได้แก่ การตระหนักในสิทธิหน้าที่ ความสํานึกในความรับผิดชอบ ต่อสังคม การใส่ใจปัญหาสาธารณะของบ้านเมือง และกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา ตลอดจนการเคารพใน ความคิดเห็นที่แตกต่างและความกล้าที่จะยอมรับผลการกระทําของตน

6 หลักความคุ้มค่า ได้แก่ การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจํากัดเพื่อให้เกิดประโยชน์ สูงสุดแก่ส่วนรวม โดยรณรงค์ให้คนไทยมีความประหยัด ใช้ของอย่างคุ้มค่า สร้างสรรค์สินค้าและบริการที่มีคุณภาพ สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก และรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้สมดุลยั่งยืน

POL4321 การบริหารร่วมสมัย s/2560

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 4321 การบริหารร่วมสมัย

คําสั่ง ข้อสอบมี 3 ข้อ ให้นักศึกษาตอบทุกข้อ

ข้อ 1 คําว่า กลยุทธ์ (Strategy) กับยุทธศาสตร์มีความแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร จงอธิบาย แนวคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management) มีความเป็นมาอย่างไร ยกตัวอย่างชื่อนักวิชาการ มา 1 ท่าน พร้อมกับผลงานเด่น ๆ 1 เรื่อง และจงนำ SWOT Analysis มาวิเคราะห์องค์การ กรณีกรุงเทพมหานคร พร้อมกับเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขจุดอ่อน (อย่างน้อย 5 ประการ)

แนวคําตอบ

คําว่า “กลยุทธ์” หรือ “ยุทธศาสตร์ ภาษาอังกฤษใช้คําว่า “Strategy” โดยมีรากศัพท์มาจาก คําว่า “Strategos” ในภาษากรีก ซึ่งเกิดจากศัพท์ 2 คํา คือ “Stratos” หมายถึง Army หรือ กองทัพ และ Agein หมายถึง Lead หรือ นําหน้า โดยเมื่อนําศัพท์ 2 คํานี้มารวมกันจะหมายถึง การนํากองทัพ หรือยุทธวิธีหลักในการรบ เพื่อเอาชนะศัตรู ดังนั้นคําว่ากลยุทธ์กับยุทธศาสตร์จึงเป็นคํา ๆ เดียวกันและมีความหมายเหมือนกัน

ความเป็นมาของแนวคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์

แนวคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์ถูกนํามาใช้กันอย่างกว้างขวางตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 โดยคําว่า กลยุทธ์หรือยุทธศาสตร์ เป็นคําที่ใช้ในวงการทหารมาก่อน เช่น ในสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช หรือใน ตําราพิชัยสงครามของซุนวูมีคํากล่าวว่า “รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง” ต่อมาวงการธุรกิจได้หยิบยืม กลยุทธ์ทางทหารมาใช้ในการประกอบการทางธุรกิจ เช่น กลยุทธ์การขาย กลยุทธ์การเข้าถึงลูกค้า กลยุทธ์ การส่งมอบสินค้าให้ผู้บริโภคถึงที่บ้านแบบ Delivery ของร้านพิซซ่า เป็นต้น

ในวิชารัฐประศาสนศาสตร์หรือการบริหารรัฐกิจก็มีการกล่าวถึงกลยุทธ์หรือยุทธศาสตร์ เช่นกัน แต่ใช้คําว่าการวางแผน (Planning) ดังนั้นการวางแผนจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์หรือยุทธศาสตร์ ซึ่งเป็นหน้าที่ที่สําคัญของผู้บริหาร เช่น (Gulick & Urwick ได้เสนอหน้าที่ของผู้บริหารที่เรียกว่า “POSDCORB”, Henri Fayol ได้เสนอหน้าที่ของผู้บริหารที่เรียกว่า “POCCC” และ Robbins ได้เสนอหน้าที่ของผู้บริหารที่เรียกว่า “POLC” โดยตัวอักษร P ตามแนวคิดของนักวิชาการทั้งสามท่านก็คือ การวางแผน (Planning) นั่นเอง

สําหรับประเทศไทยได้นําแนวคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์มาใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินไทย เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2545 ในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เช่น การนําแนวคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์ มาประยุกต์ใช้ในการจัดทําแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย พ.ศ. 2546 – 2550 การปรับเปลี่ยน ระบบงบประมาณมาเป็นระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ตามยุทธศาสตร์ การให้หน่วยงานภาครัฐ ทุกกระทรวงจัดทํายุทธศาสตร์ระดับกระทรวง ระดับกรม เป็นต้น

ตัวอย่างนักวิชาการด้านการบริหารเชิงกลยุทธ์

Michael E. Porter เป็นนักวิชาการที่มีชื่อเสียงโด่งดังในเรื่องการบริหารเชิงกลยุทธ์ เขาได้เสนอ แนวคิดในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage) โดยกล่าวว่า การวิเคราะห์สถานการณ์ การแข่งขันกับคู่แข่ง ผู้บริหารจะต้องคํานึงถึงปัจจัย 5 ประการ คือ

1 อัตราของการแข่งขันกันระหว่างบริษัทต่าง ๆ ในธุรกิจหรืออุตสาหกรรมนั้น

2 การคุกคามที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งรายใหม่เข้ามาในตลาด

3 การคุกคามที่เกิดขึ้นจากสินค้าหรือบริการทดแทน

4 อํานาจต่อรองของผู้จัดส่ง

5 อํานาจต่อรองลูกค้า

 

ทั้งนี้การได้เปรียบในการแข่งขันจะเกิดขึ้นได้ใน 2 ลักษณะ คือ

1 การทําให้ต้นทุนต่ำ (Low Cost)

2 การทําให้สินค้า/บริการมีความแตกต่าง (Differentiation) หรือทําให้ดีกว่าคู่แข่ง

 

เทคนิค “SWOT Analysis

SWOT Analysis เป็นเทคนิคที่ใช้ในการวิเคราะห์องค์การเพื่อหาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และ อุปสรรคขององค์การ ซึ่งคําว่า SWOT ประกอบด้วย

1  S = Strengths คือ จุดแข็งขององค์การ เป็นการพิจารณาทรัพยากรภายในองค์การ หรือระบบย่อยขององค์การ เช่น อํานาจหน้าที่ เป้าประสงค์ จุดมุ่งหมาย โครงสร้าง บุคลากร ความรู้และข้อมูลข่าวสาร เทคโนโลยี เป็นต้น ว่ามีอะไรบ้างที่เป็นจุดแข็ง/จุดเด่นขององค์การ องค์การสามารถทําได้ดี มีความชํานาญ มีคุณภาพ มีชื่อเสียง เป็นต้น

2 w = Weakness คือ จุดอ่อนขององค์การ เป็นการพิจารณาอํานาจหน้าที่ เป้าประสงค์ จุดมุ่งหมาย โครงสร้าง บุคลากร ความรู้และข้อมูลข่าวสาร และเทคโนโลยีภายในองค์การว่ามีจุดอ่อนอย่างไร เพื่อที่จะได้ปรับปรุงแก้ไข

3 O = Opportunities คือ โอกาสที่จะทําให้เกิดความได้เปรียบแก่องค์การ เป็นการ พิจารณาดูว่ามีปัจจัยภายนอกองค์การใดที่จะนํามาเป็นประโยชน์ในการดําเนินงานขององค์การได้บ้าง ซึ่งแบ่งออกเป็น

1) สิ่งแวดล้อมของงาน ได้แก่ ลูกค้า คู่แข่ง ผู้ผลิต แรงงาน กฎระเบียบหรือหน่วยงาน ที่ควบคุม

2) สิ่งแวดล้อมทั่วไป ได้แก่ การเมือง กฎหมาย เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และต่างประเทศ

4 T = Threats คือ อุปสรรคหรือภยันตรายที่จะทําให้เกิดหายนะแก่องค์การ เป็นการ พิจารณาสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ ได้แก่ สิ่งแวดล้อมของงานและสิ่งแวดล้อมทั่วไปที่ทําให้เกิดภยันตรายหรือ หายนะต่อการดําเนินงานขององค์การ

 

การใช้เทคนิค SWOT Analysis วิเคราะห์กรุงเทพมหานคร

จุดแข็งของกรุงเทพมหานคร

1 มีบุคลากรที่มีคุณภาพและมีความรู้ความสามารถ

2 มีงบประมาณจํานวนมาก

3 มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย

4 มีสํานักงานเขต 50 เขต แต่ละเขตมีบุคลากรและเครื่องมือพร้อมในการทํางาน

5 คณะผู้บริหารมีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์ และได้รับการยอมรับจากประชาชนสูง

 

จุดอ่อนของกรุงเทพมหานคร

1 การบริหารราชการยังขาดการบูรณาการระหว่างหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร และการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกที่ดําเนินภารกิจในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

2 การบริหารราชการขาดความโปร่งใส เกิดปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น

3 ระบบการตรวจสอบและควบคุมการบริหารราชการไม่มีประสิทธิภาพ ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน

4 ผู้บริหารมาจากการเลือกตั้ง ทําให้บางครั้งการดําเนินนโยบายต่าง ๆ ขาดความต่อเนื่อง

5 ขาดอํานาจต่อรองทางการเมืองกับรัฐบาล ทําให้ไม่สามารถริเริ่มภารกิจใหม่ ๆ หรือขยายเขตอํานาจตามกฎหมายให้กว้างขวางมากขึ้นได้

 

โอกาสของกรุงเทพมหานคร

1 เป็นศูนย์กลางทางการเมือง การปกครอง และเศรษฐกิจของประเทศ

2 เป็นเมืองเศรษฐกิจขนาดใหญ่ มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงและต่อเนื่อง

3 เป็นสถานที่ตั้งของสถานที่สําคัญ ๆ เช่น กระทรวง กรมต่าง ๆ สถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงที่ทําการหนังสือพิมพ์ สถานีวิทยุและโทรทัศน์ รวมทั้งมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ จํานวนมาก เช่น พระบรมมหาราชวัง วัดพระแก้ว วัดอรุณราชวราราม วัดเบญจมบพิตรเป็นต้น

4 มีระบบโครงข่ายการสื่อสารสมัยใหม่ที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ ประชากรส่วนใหญ่เข้าถึง เครือข่ายได้ถ้วนหน้า

5 ประชากรมีระดับการศึกษาสูงกว่าเมืองอื่น ๆ ในประเทศ

 

อุปสรรคของกรุงเทพมหานคร

1 การอพยพของคนเข้ามาอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครเป็นจํานวนมากส่งผลให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา เช่น ความแออัด การขาดแคลนที่อยู่อาศัย การเกิดปัญหาอาชญากรรม เพิ่มขึ้น รวมทั้งมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาดหรือโรคติดต่อต่าง ๆ

2 ภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำส่งผลต่อระดับรายได้ของประชากร การจ้างงาน และการลงทุนต่าง ๆ

3 การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนส่งผลให้แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ พม่า ลาว และกัมพูชา หลั่งไหลเข้ามาทํางานในกรุงเทพมหานครเป็นจํานวนมาก

4 การเมืองที่ขาดเสถียรภาพส่งผลให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีความเสี่ยงต่อการชุมนุมประท้วง หรือการก่อเหตุความรุนแรงต่าง ๆ อันเนื่องมาจากปัญหาการเมือง

5 การมีความเสี่ยงต่อการก่อการร้ายหรือการก่ออาชญากรรมข้ามชาติ

 

แนวทางในการปรับปรุงแก้ไขจุดอ่อนของกรุงเทพมหานคร

1 ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน รวมทั้งบูรณาการวัตถุประสงค์ แผนงาน และการปฏิบัติงานระหว่างหน่วยงานให้เป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวม

2 พัฒนาระบบป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในหน่วยงานภาครัฐให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

3 เปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบและควบคุมการบริหารราชการ

4 กําหนดบทบาท ภารกิจ และอํานาจหน้าที่ให้ชัดเจน

5 กระจายอํานาจให้กรุงเทพมหานครมีอํานาจในการตัดสินใจดําเนินงานต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับกรุงเทพมหานคร และตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่

 

ข้อ 2 การที่จะให้องค์การสามารถอยู่รอด และพัฒนาไปสู่องค์การสมรรถนะสูง (High Performance Organization) เป็นภารกิจที่สําคัญประการหนึ่งของผู้บริหาร ถ้าท่านเป็นผู้บริหารองค์การภาครัฐ แห่งหนึ่ง ท่านจะส่งเสริมวัฒนธรรมองค์การให้เกิดความแข็งแกร่งเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวข้างต้น อย่างไร (แนวการตอบให้นําแนวคิดการปฏิรูปวัฒนธรรมองค์การแนวคิดใดแนวคิดหนึ่งมาอธิบาย 1 แนวคิด)

แนวคําตอบ

หากข้าพเจ้าเป็นผู้บริหารองค์การภาครัฐ ข้าพเจ้าจะนําแนวคิด “การเปลี่ยนโฉมใหม่ของ ภาคราชการ” (Reinventing Government) มาส่งเสริมวัฒนธรรมองค์การเพื่อให้องค์การมีความแข็งแกร่งและ สามารถพัฒนาไปสู่องค์การที่มีสมรรถนะสูง

การเปลี่ยนโฉมใหม่ของภาคราชการ (Reinventing Government) เป็นแนวคิดของ David Osborne & Ted Gaebler ซึ่งได้เสนอเนวคิดในการปฏิรูประบบราชการไว้ 10 ประการ ดังนี้

1 ระบบราชการจะต้องทําหน้าที่เป็นผู้ถือหางเสือเรือมากกว่าพายเรือเอง (A Catalytic Government) หมายถึง ระบบราชการจะต้องทําหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงหรือกํากับดูแลมากกว่าการลงมือทําเอง งานที่เอกชนทําได้ดีกว่าก็ควรให้เอกชนรับไปทํา

2 ระบบราชการจะต้องให้ชุมชนเป็นเจ้าของและมอบอํานาจให้ประชาชนไปดําเนินการเองมากกว่าจะเป็นองค์การที่ให้บริการแต่เพียงอย่างเดียว (A Community-Owned Government)

3 ระบบราชการจะต้องมีลักษณะของการแข่งขันการให้บริการสาธารณะ (A Competitive – Government)

4 ระบบราชการจะต้องมีลักษณะเป็นระบบที่ขับเคลื่อนด้วยภารกิจมากกว่าขับเคลื่อนด้วยกฎระเบียบ (A Mission-Driven Government)

5 ระบบราชการจะต้องเป็นระบบที่ให้ความสําคัญต่อผลการปฏิบัติงานมากกว่าสนใจปัจจัยนําเข้าทางการบริหารและขั้นตอนการทํางาน (A Results-Oriented Government)

6 ระบบราชการจะต้องมุ่งตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการหรือลูกค้ามากกว่าตอบสนองความต้องการของระบบราชการ (A Customer-Driven Government)

7 ระบบราชการจะต้องแสวงหารายได้มากกว่าค่าใช้จ่าย (An Enterprising Government)

8 ระบบราชการจะต้องวางระบบป้องกันปัญหามากกว่าคอยแก้ปัญหา (An Anticipatory Government)

9 ระบบราชการจะต้องเป็นระบบที่กระจายอํานาจจากข้างบนสู่ข้างล่างตามลําดับชั้นโดยให้ข้าราชการระดับปฏิบัติการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และส่งเสริมการทํางานเป็นทีม (A Decentralized Government)

10 ระบบราชการจะต้องเป็นระบบที่นํากลไกการตลาดมาใช้ (A Market-Oriented Government)

 

ข้อ 3 จากการที่ได้ฟังการบรรยายในเรื่องหลักการบริหารที่สําคัญและเครื่องมือการจัดการ (Management Tools) จงเลือกหลักการบริหารหรือเทคนิคการบริหารสมัยใหม่ อาทิ หลักการ 5 G s, หลักการ 4 VIPs, ทฤษฎี 7 S’s Model, 5 ส., ไคเซ็น (Kaizen), การบริหารคุณภาพทั้งองค์การ (Total Quality Management), การรื้อปรับระบบ (Reengineering) เป็นต้น เลือกอธิบาย 1 แนวคิด มาให้เข้าใจอย่างชัดเจน

แนวคําตอบ

ทฤษฎี 7S’s Model

เมื่อปลายปี ค.ศ. 1970 บริษัทที่ปรึกษาชื่อ “McKinsey” ได้เชิญ Richard Pascale แห่ง มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และ Anthony Athos แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ให้มาช่วยพัฒนากรอบแนวคิดการบริหาร ที่เรียกว่า The McKinsey 7 S’s Framework ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยที่สําคัญ 7 ประการสามารถอธิบายได้ดังนี้

1 กลยุทธ์ (Strategy) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการวางแผนองค์การเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วยการใช้เทคนิค SWOT (SWOT Technique) มาทําการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคขององค์การ เพื่อนํามากําหนดเป็นกลยุทธ์

2 โครงสร้าง (Structure) คือ การปรับปรุงโครงสร้างองค์การ การแบ่งหน่วยงาน การรวม อํานาจ และการกระจายอํานาจที่เหมาะสม

3 ระบบ (Systems) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดระบบงาน และการลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน ให้สั้นลง เพื่อทําให้สามารถปฏิบัติงานได้รวดเร็ว

4 สไตล์ (Style) คือ แบบแผนพฤติกรรมของผู้นํา การใช้รูปแบบการบริหารที่เหมาะสม และแสดงบทบาทผู้นําการเปลี่ยนแปลง

5 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Staff) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการคัดเลือกบุคลากรที่มีความ สามารถ การพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง การหมุนเวียนกันทํางาน และการเห็นคุณค่าของทรัพยากรมนุษย์

6 ทักษะ (Skills) เป็นเรื่องเกี่ยวกับความชํานาญ ความสามารถพิเศษของบุคลากร การพัฒนาทักษะการทํางานของแต่ละบุคคล และการส่งเสริมการทํางานเป็นทีม

7 ค่านิยมร่วม (Shared Values) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการสร้างค่านิยมร่วมกันในการทํางาน หรือที่เรียกว่า “Spiritual Values” เช่น การให้บริการ ความยุติธรรม ความสามัคคีปรองดอง ความร่วมมือ ความสุภาพ ความอ่อนน้อมถ่อมตน ความกตัญญ การทําในสิ่งที่ดีกว่า การปรับปรุงแก้ไข การปรับตัวเข้าหากัน เป็นต้น ค่านิยม ดังกล่าวนี้เป็นสิ่งที่ควรสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นในองค์การ

 

ปัจจัยทั้ง 7 ประการสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

1 Hard คือ ส่วนที่แข็ง ไม่คล่องตัว และปรับตัวได้ค่อนข้างช้า ได้แก่ กลยุทธ์ และโครงสร้าง ขององค์การ

2 Soft คือ ส่วนที่อ่อน มีความคล่องตัว และสามารถปรับตัวได้ง่าย ได้แก่ สไตล์ของ ผู้บริหาร ระบบงาน การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ทักษะ และค่านิยมร่วม

สรุป จากกรอบแนวคิดของปัจจัย 7 S’s Model ดังกล่าว ผู้บริหารจําเป็นต้องใช้ภาวะผู้นํา ในการบริหารปัจจัยทั้ง 7 ประการให้สอดคล้องและสมดุลกัน นับตั้งแต่การกําหนดกลยุทธ์ขององค์การ การปรับปรุง โครงสร้างที่เหมาะสม การจัดระบบงานให้เหมาะสมและลดขั้นตอนการทํางานให้สั้นลงเพื่อทําให้สามารถบริการ ได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น การใช้สไตล์การบริหารงานที่ให้ความสําคัญทั้งบุคคลและงาน การให้เกียรติผู้ร่วมงาน การบริหารทรัพยากรมนุษย์ด้วยการสรรหาและคัดเลือกคนดีมีฝีมือเข้ามาทํางาน การพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล การสร้างทักษะการทํางานเป็นทีม และการสร้างค่านิยมสร้างสรรค์ในการทํางาน

POL4321 การบริหารร่วมสมัย s/2558

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 4321 การบริหารร่วมสมัย

คําสั่ง ข้อสอบมี 3 ข้อ ให้ตอบทุกข้อ ๆ ละ 33 คะแนน

ข้อ 1 จงอธิบายความหมายของคําว่า “กลยุทธ์” (Strategy) การบริหารเชิงกลยุทธ์มีความเป็นมาอย่างไร กลยุทธ์ขององค์การแบ่งเป็นที่ระดับอะไรบ้าง ยกตัวอย่างกลยุทธ์แต่ละระดับ และจงใช้เทคนิค SWOTมาวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และข้อจํากัดของกรุงเทพมหานครด้านละอย่างน้อย 4 ประการ

แนวคําตอบ

คําว่า “กลยุทธ์” หรือ “ยุทธศาสตร์ ภาษาอังกฤษใช้คําว่า “Strategy” โดยมีรากศัพท์มาจาก คําว่า “Strategos” ในภาษากรีก ซึ่งเกิดจากศัพท์ 2 คํา คือ “Stratos” หมายถึง Army หรือ กองทัพ และ Agein หมายถึง Lead หรือ นําหน้า โดยเมื่อน้ําศัพท์ 2 คํานี้มารวมกันจะหมายถึง การนํากองทัพ หรือยุทธวิธีหลักในการรบ เพื่อเอาชนะศัตรู ดังนั้นคําว่ากลยุทธ์กับยุทธศาสตร์จึงเป็นคํา ๆ เดียวกันและมีความหมายเหมือนกัน

สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ กล่าวว่า กลยุทธ์ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ภายนอกขององค์การ เพื่อพิจารณาหาโอกาส (Opportunity) และภยันตราย (Threat) ตลอดจนการวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายในขององค์การเพื่อหาจุดอ่อน (Weakness) และหาจุดแข็ง (Strength)

ความเป็นมาของการบริหารเชิงกลยุทธ์

แนวคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์ถูกนํามาใช้กันอย่างกว้างขวางตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 โดยคําว่า กลยุทธ์หรือยุทธศาสตร์ เป็นคําที่ใช้ในวงการทหารมาก่อน เช่น ในสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช หรือใน ตําราพิชัยสงครามของซุนวูมีคํากล่าวว่า “รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง” ต่อมาวงการธุรกิจได้หยิบยืม กลยุทธ์ทางทหารมาใช้ในการประกอบการทางธุรกิจ เช่น กลยุทธ์การขาย กลยุทธ์การเข้าถึงลูกค้า กลยุทธ์การ ส่งมอบสินค้าให้ผู้บริโภคถึงที่บ้านแบบ Delivery ของร้านพิซซ่า เป็นต้น

ในวิชารัฐประศาสนศาสตร์หรือการบริหารรัฐกิจก็มีการกล่าวถึงกลยุทธ์หรือยุทธศาสตร์เช่นกัน แต่ใช้คําว่าการวางแผน (Planning) ดังนั้นการวางแผนจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์หรือยุทธศาสตร์ ซึ่งเป็นหน้าที่ ที่สําคัญของผู้บริหาร เช่น Gulick & Urwick ได้เสนอหน้าที่ของผู้บริหารที่เรียกว่า “POSDCORB”, Henri Fayol ได้เสนอหน้าที่ของผู้บริหารที่เรียกว่า “POCCC” และ Robbins ได้เสนอหน้าที่ของผู้บริหารที่เรียกว่า “POLC โดยตัวอักษร P ตามแนวคิดของนักวิชาการทั้งสามท่านก็คือ การวางแผน (Planning) นั่นเอง

สําหรับประเทศไทยได้นําแนวคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์มาใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินไทย เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2545 ในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เช่น การนําแนวคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์ มาประยุกต์ใช้ในการจัดทําแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย พ.ศ. 2546 – 2550 การปรับเปลี่ยน ระบบงบประมาณมาเป็นระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ตามยุทธศาสตร์ การให้หน่วยงานภาครัฐ ทุกกระทรวงจัดทํายุทธศาสตร์ระดับกระทรวง ระดับกรม เป็นต้น

ส่วนนักวิชาการที่เขียนตําราเกี่ยวกับกลยุทธ์นั้นมีหลายท่านด้วยกัน เช่น Bracker, Chandler, Ansoff แต่นักวิชาการที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากที่สุด คือ Michael E. Porter

กลยุทธ์ขององค์การแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ

1 กลยุทธ์หลัก (Corporate Strategy หรือ Grand Strategy) เป็นหน้าที่ของผู้บริหาร ระดับสูงขององค์การที่จะตัดสินใจว่าองค์การจะเข้าไปแข่งขันในด้านใด เช่น จะผลิตสินค้าหรือบริการด้านใด จะถอนตัว ออกจากการแข่งขันในตลาดใด จะรักษาส่วนแบ่งของสินค้าหรือบริการไว้ในตลาดใด อีกทั้งการกําหนดเป้าหมายและ วัตถุประสงค์ระยะยาวขององค์การ ตลอดจนการตัดสินใจกระจายทรัพยากรขององค์การในการดําเนินงานให้ บรรลุเป้าหมาย ตัวอย่างกลยุทธ์หลักปัจจุบันที่นิยมใช้ คือ กลยุทธ์เชิงร่วมมือกัน (Cooperative Strategies) เช่น กลยุทธ์การลงทุนร่วม (Joint Venture) การแสวงหาพันธมิตรทางกลยุทธ์ (Strategic Partnership) เป็นต้น

2 กลยุทธ์ทั่วไป (Generic Strategy) หรือกลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business Strategy) เป็น การตัดสินใจว่าจะใช้กลยุทธ์อะไรเพื่อให้ได้เปรียบในการแข่งขัน ซึ่งองค์การสามารถเลือกกลยุทธ์ทั่วไปสําหรับสินค้า หรือบริการแต่ละประเภทได้ 4 รูปแบบ ดังนี้

1) กลยุทธ์ความเป็นผู้นําทางด้านต้นทุนในตลาดกว้าง หมายถึง การผลิตสินค้าที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าหลายกลุ่ม หลายระดับ

2) กลยุทธ์เน้นต้นทุนในตลาดเฉพาะ หมายถึง การทําให้ต้นทุนต่ำ เช่น สามารถจัดซื้อวัตถุดิบราคาต่ำกว่า การเป็นเจ้าของเทคโนโลยี และการผลิตในปริมาณมากเพื่อให้ต้นทุนต่ำ

3) กลยุทธ์การทําให้เกิดความแตกต่าง หมายถึง การเลือกผลิตสินค้าหรือบริการที่มีความเป็นเลิศในมิติหลายอย่าง เช่น การนําส่งสินค้าหรือบริการถึงบ้านลูกค้าหรือการให้บริการหลังการขายที่ยอดเยี่ยม

4) กลยุทธ์การทําให้เกิดความแตกต่างในตลาดเฉพาะ หมายถึง การเลือกตอบสนองความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่ม เช่น การผลิตสินค้าขายเฉพาะเด็กหรือสตรีเท่านั้น

3 กลยุทธ์ตามลักษณะการปฏิบัติหน้าที่ (Functional Strategy) เป็นกลยุทธ์ในระดับ ฝ่ายงานหรือหน่วยงาน เช่น การตลาด การเงิน การวิจัยและพัฒนา การบริหารทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น โดยมุ่งเน้น ที่การใช้ทรัพยากรขององค์การให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน

การใช้เทคนิค SWOT มาวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และข้อจํากัดของกรุงเทพมหานคร

 

จุดแข็งของกรุงเทพมหานคร

1 มีบุคลากรที่มีคุณภาพและมีความรู้ความสามารถ

2 มีงบประมาณจํานวนมาก

3 มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย

4 มีสํานักงานเขต 50 เขต แต่ละเขตมีบุคลากรและเครื่องมือพร้อมในการทํางาน

5 คณะผู้บริหารมีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์ และได้รับการยอมรับจากประชาชนสูง

 

จุดอ่อนของกรุงเทพมหานคร

1 การบริหารรายการยังขาดการบูรณาการระหว่างหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร และการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกที่ดําเนินภารกิจในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

2 การบริหารราชการขาดความโปร่งใส เกิดปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น

3 ระบบการตรวจสอบและควบคุมการบริหารราชการไม่มีประสิทธิภาพ ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน

4 ผู้บริหารมาจากการเลือกตั้ง ทําให้บางครั้งการดําเนินนโยบายต่าง ๆ ขาดความต่อเนื่อง

5 ขาดอํานาจต่อรองทางการเมืองกับรัฐบาล ทําให้ไม่สามารถริเริ่มภารกิจใหม่ ๆ หรือขยายเขตอํานาจตามกฎหมายให้กว้างขวางมากขึ้นได้

 

โอกาสของกรุงเทพมหานคร

1 เป็นศูนย์กลางทางการเมือง การปกครอง และเศรษฐกิจของประเทศ

2 เป็นเมืองเศรษฐกิจขนาดใหญ่ มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงและต่อเนื่อง

3 เป็นสถานที่ตั้งของสถานที่สําคัญ ๆ เช่น กระทรวง กรมต่าง ๆ สถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียง เที่ทําการหนังสือพิมพ์ สถานีวิทยุและโทรทัศน์ เป็นต้น รวมทั้งมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ จํานวนมาก เช่น พระบรมมหาราชวัง วัดพระแก้ว วัดอรุณราชวราราม วัดเบญจมบพิตร เป็นต้น

4 มีระบบโครงข่ายการสื่อสารสมัยใหม่ที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ ประชากรส่วนใหญ่เข้าถึง เครือข่ายได้ถ้วนหน้า

5 ประชากรมีระดับการศึกษาสูงกว่าเมืองอื่น ๆ ในประเทศ

 

ข้อจํากัดของกรุงเทพมหานคร

1 การอพยพของคนเข้ามาอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครเป็นจํานวนมากส่งผลให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา เช่น ความแออัด การขาดแคลนที่อยู่อาศัย การเกิดปัญหาอาชญากรรม เพิ่มขึ้น รวมทั้งมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาดหรือโรคติดต่อต่าง ๆ
2 ภาวะเศรษฐกิจที่ตกตําส่งผลต่อระดับรายได้ของประชากร การจ้างงาน และการลงทุนต่าง ๆ

3 การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนส่งผลให้แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ พม่า ลาวและกัมพูชา หลั่งไหลเข้ามาทํางานในกรุงเทพมหานครเป็นจํานวนมาก

4 การเมืองที่ขาดเสถียรภาพส่งผลให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีความเสี่ยงต่อการชุมนุมประท้วง หรือการก่อเหตุความรุนแรงต่าง ๆ อันเนื่องมาจากปัญหาการเมือง

5 การมีความเสี่ยงต่อการก่อการร้ายหรือการก่ออาชญากรรมข้ามชาติ

 

ข้อ 2 จงอธิบายความหมายของวัฒนธรรมองค์การ (Organizational Culture) ความเป็นมาของวัฒนธรรมองค์การ ยกตัวอย่างมิติของวัฒนธรรมองค์การหรือค่านิยมในการทํางานในองค์การภาครัฐมา 1 แห่ง

แนวคําตอบ

วัฒนธรรมองค์การ (Organizational Culture) หมายถึง แนวทางการประพฤติปฏิบัติของ บุคลากรในแต่ละองค์การที่ได้รับการปลูกฝังและถ่ายทอดกันมาอย่างต่อเนื่อง โดยแสดงออกมาในลักษณะของ ค่านิยม ความเชื่อ สัญลักษณ์ พิธีการ นิทาน และการเล่าเรื่อง เป็นต้น ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าวัฒนธรรมองค์การสะท้อน ให้เห็นถึงภาพรวมหรือบุคลิกลักษณะเฉพาะขององค์การนั้น ๆ

ความเป็นมาของวัฒนธรรมองค์การ

วัฒนธรรม (Culture) เป็นแนวคิดสําคัญที่มีในสังคมมนุษย์มานานแล้ว คํานี้บัญญัติโดย นักมานุษยวิทยา ซึ่งกล่าวว่า วัฒนธรรมเป็นหัวใจสําคัญของกลุ่มหรือสังคม ซึ่งในแต่ละสังคมมีแนวทางในการ ดําเนินชีวิต การปฏิสัมพันธ์ที่แตกต่างกัน และสิ่งนี้มีความสําคัญต่อความสําเร็จขององค์การ

ในช่วงปี ค.ศ. 1960 – 1970 ประเทศญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ก็สามารถฟื้นฟูประเทศได้ จนกระทั่งได้รับการยกย่องว่าเป็นประเทศผู้นําทางด้านอุตสาหกรรม เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นมีแนวคิดการจัดการ ที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง นักวิชาการจึงมีความเห็นว่าความสําเร็จของญี่ปุ่นเป็นผลมาจากวัฒนธรรมองค์การ ปัจจัยดังกล่าวจึงทําให้นักวิชาการได้หันมาให้ความสําคัญกับความละเอียดอ่อนของวัฒนธรรมองค์การ และ ัฒนธรรมองค์การที่ต่างกันมากขึ้น

ตัวอย่างค่านิยมในการทํางานในองค์การภาครัฐ

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง ได้กําหนดค่านิยมในการทํางานในองค์การไว้ 6 ประการ ซึ่งเรียกว่า “POLSCI” ประกอบด้วย

1 P = Positive Thinking คือ การคิดในทางบวก หมายถึง บุคลากรคณะรัฐศาสตร์จะต้อง มองปัญหา ความทุกข์ ความไม่ราบรื่นในการปฏิบัติงานอย่างเข้าใจ ยอมรับได้ และพร้อมที่จะแก้ไขได้ทันที

2 O = Ownership คือ ความรู้สึกเป็นเจ้าขององค์การ หมายถึง บุคลากรคณะรัฐศาสตร์ มุ่งปฏิบัติงานเพื่อคณะรัฐศาสตร์ โดยเห็นผลประโยชน์ส่วนตนน้อยกว่าสาธารณะ ผลักดันคณะรัฐศาสตร์ไปให้ถึง จุดมุ่งหมาย รักษาผลประโยชน์ของคณะรัฐศาสตร์ ช่วยกันทํางานเป็นทีม ทุกคนมีความสําคัญเท่ากันหมด ช่วยกัน ประสานงาน และสื่อสารกันอย่างมีประสิทธิภาพ

3 L: Leader of Change คือ การเป็นผู้นําในการเปลี่ยนแปลง หมายถึง บุคลากร คณะรัฐศาสตร์จะเป็นผู้นํายุคใหม่ที่สอดคล้องในยุคปฏิรูปที่มีการพัฒนาคุณภาพของผลผลิตและการบริการอย่าง ต่อเนื่อง มีความสามารถในการตัดสินใจจัดการเปลี่ยนแปลง สามารถตีความเข้าใจเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถประยุกต์วิธีการต่าง ๆ เพื่อให้คณะรัฐศาสตร์ประสบความสําเร็จ

4 S = Service Mind คือ การมุ่งมั่นที่จะให้บริการที่ดี หมายถึง บุคลากรคณะรัฐศาสตร์ จะเป็นผู้ให้บริการที่มีจิตใจหรือมีใจรัก มีความเต็มใจในการบริการ โดยปฏิบัติงานด้วยความยิ้มแย้ม แจ่มใส มีอารมณ์รื่นเริง และควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ ไม่ขึ้นเสียงกับนักศึกษาหรือผู้มารับบริการ

5 C = Continuous Learning คือ การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง หมายถึง บุคลากรคณะรัฐศาสตร์ แสดงออกถึงความตั้งใจในการเรียนรู้ ประยุกต์ใช้ข้อมูลและทักษะใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้มีความรู้และความสามารถในการจัดการกับปัญหา และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปได้

6 I = Integrity & Ethics คือ การมีความซื่อสัตย์และคุณธรรมจริยธรรม หมายถึง บุคลากรคณะรัฐศาสตร์ประพฤติปฏิบัติงานอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม จนเป็นที่ไว้วางใจ โดยมีความซื่อสัตย์สุจริต ตรงไปตรงมา โปร่งใสและตรวจสอบได้ ให้เกียรติและไม่เอาเปรียบผู้อื่น กระทําตามสัญญาและยึดมั่นในจรรยาบรรณ วิชาชีพ

 

ข้อ 3 จากการที่ฟังคําบรรยายในเรื่องหลักการบริหารและเทคนิคการบริหารสมัยใหม่ อาทิ ทฤษฎี 7S’s Model หลักการ 5 G’s หลักการ 4 VIPs การควบคุมคุณภาพ 5 ส. ไคเซ็น การรือปรับระบบ การบริหารคุณภาพทั้งองค์การ ธรรมาภิบาล ระบบ ISO ระบบมาตรฐานสากลของประเทศไทย (P.S.O.) และซิกซ์ ซิกม่า เป็นต้น ให้เลือกอธิบายมา 1 เทคนิค (อ้างอิงนักคิด ความเป็นมา หลักการ/ การนําไปสู่การปฏิบัติ และให้เหตุผลความเหมาะสมในการนําเทคนิคนั้นมาใช้ในหน่วยงานภาครัฐอย่างน้อย 4 ประการ)

แนวคําตอบ

หลักธรรมาภิบาล (Good Governance)

คําว่า Good Governance มีคําเรียกภาษาไทยหลายคํา เช่น ธรรมาภิบาล การบริหารจัดการที่ดี ธรรมรัฐ ประชารัฐ บรรษัทภิบาล วิธีการปกครองที่ดี การกํากับดูแลกิจการที่ดี การบริหารกิจการบ้านเมืองและ สังคมที่ดี เป็นต้น โดยแต่ละหน่วยงานจะใช้คําเรียกที่แตกต่างกันไป ดังนี้

– ราชบัณฑิตยสถาน ใช้คําว่า วิธีการปกครองที่ดี

– การไฟฟ้านครหลวง ใช้คําว่า การกํากับดูแลกิจการที่ดี

– ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีฯ ใช้คําว่า การบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี ภาคเอกชน ใช้คําว่า บรรษัทภิบาลหรือการกํากับดูแลที่ดี

ที่มาและลักษณะของธรรมาภิบาล

ธรรมาภิบาลเป็นแนวคิดของธนาคารโลก (World Bank) ที่กําหนดเป็นเงื่อนไขในการให้กู้เงิน กับประเทศในซีกโลกใต้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 เพื่อแก้ปัญหาการคอร์รัปชั่นของรัฐบาลและความไม่มีประสิทธิภาพ ในการบริหารของประเทศกําลังพัฒนา ด้วยเหตุนี้ธนาคารโลกและองค์การระหว่างประเทศ (UNDP) จึงได้กําหนด ลักษณะและองค์ประกอบของธรรมาภิบาลไว้ 7 ประการ คือ

1 การมีความชอบธรรมและความรับผิดชอบทางการเมือง (Political Legitimacy and Accountability)

2 ความมีอิสระในการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานในหน้าที่ที่รับผิดชอบ (Freedom of Association and Participation)

3 การมีระบบกฎหมายที่มีความยุติธรรมและน่าเชื่อถือ (A Fair and Reliable Judicial System)

4 การมีพันธะความรับผิดชอบและการถูกตรวจสอบของระบบราชการ (Bureaucratic Accountability).

5 การมีเสรีภาพในการแสดงออกและการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารต่อสังคม (Freedom of Information and Expression)

6 ความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารจัดการภาครัฐ (Effective and Efficient Public Sector Management)

7 การแสวงหาความร่วมมือจากองค์กรประชาสังคม (Cooperation with Civil Society – Organization)

สําหรับประเทศไทย สํานักนายกรัฐมนตรีได้ออกระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้าง ระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542 ซึ่งมีหลักการสําคัญ 6 ประการ คือ

1 หลักนิติธรรม ได้แก่ การปรับปรุงกฎหมาย กฎข้อบังคับต่าง ๆ ให้ทันสมัยและเป็นธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคม และสังคมยินยอมพร้อมใจปฏิบัติตามกฎหมาย กฎข้อบังคับเหล่านั้น โดยถือว่าเป็นการ ปกครองภายใต้กฎหมายมิใช่ตามอําเภอใจหรืออํานาจของตัวบุคคล

2 หลักคุณธรรม ได้แก่ การยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม โดยรณรงค์ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ ยึดถือหลักนี้ในการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นตัวอย่างแก่สังคม และส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนพัฒนาตนเองไปพร้อมกัน เพื่อให้คนไทยมีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบวินัย ประกอบอาชีพสุจริตจนเป็นนิสัยประจําชาติ

3 หลักความโปร่งใส ได้แก่ การสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันของคนในชาติ โดยปรับปรุง กลไกการทํางานของทุกองค์การให้มีความโปร่งใส มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์อย่างตรงไปตรงมา ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวก และมีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบ ความถูกต้องชัดเจนได้

4 หลักการมีส่วนร่วม ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้และเสนอความเห็น ในการตัดสินใจปัญหาของประเทศ ไม่ว่าด้วยการแจ้งความเห็น การไต่สวนสาธารณะ การประชาพิจารณ์ การแสดง ประชามติ หรืออื่น ๆ

5 หลักความรับผิดชอบ ได้แก่ การตระหนักในสิทธิหน้าที่ ความสํานึกในความรับผิดชอบ ต่อสังคม การใส่ใจปัญหาสาธารณะของบ้านเมือง และกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา ตลอดจนการเคารพในความ คิดเห็นที่แตกต่างและความกล้าที่จะยอมรับผลการกระทําของตน

6 หลักความคุ้มค่า ได้แก่ การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจํากัดเพื่อให้เกิดประโยชน์ สูงสุดแก่ส่วนรวม โดยรณรงค์ให้คนไทยมีความประหยัด ใช้ของอย่างคุ้มค่า สร้างสรรค์สินค้าและบริการที่มีคุณภาพ สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก และรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้สมดุลยังยืน

จะเห็นได้ว่าหลักธรรมาภิบาลของ UNDP กับประเทศไทยมีความคล้ายคลึงกันใน 5 ด้าน ส่วนหลักคุณธรรมของ UNDP ไม่ได้กล่าวถึงแต่สําหรับประเทศไทยได้ให้ความสําคัญในเรื่องนี้

เหตุผลความเหมาะสมในการนําหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในหน่วยงานภาครัฐ

1 ช่วยส่งเสริมให้บุคลากรภาครัฐมีความตระหนักถึงความสํานึกรับผิดชอบต่อประชาชน และองค์กรมากขึ้น ซึ่งความสํานึกรับผิดชอบมีส่วนทําให้เจ้าหน้าที่ของรัฐระมัดระวังการกระทําที่มีผลต่อสาธารณะ หรือประชาชนมากขึ้น และหากเกิดข้อผิดพลาดขึ้นก็ต้องพร้อมที่จะรับผลของการกระทํานั้นโดยไม่หลบเลี่ยงหรือ โยนความผิดให้บุคคลอื่น

2 ช่วยทําให้ระบบราชการเป็นระบบเปิด โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนมีช่องทางมีส่วนร่วม ในการบริหารภาครัฐอย่างหลากหลายและเป็นรูปธรรมมากขึ้น ทั้งนี้ระบบการบริหารภาครัฐในอดีตมักเป็นระบบปิด ทําให้ประชาชนไม่รู้ข้อมูลข่าวสารในการบริหารงานของภาครัฐมากนักและข้อมูลส่วนใหญ่จะถูกเก็บเป็นความลับ หรือไม่เปิดเผยให้ประชาชนได้รับรู้ แต่เมื่อมีการนําหลักธรรมาภิบาลมาใช้ทําให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูล ข่าวสารของภาครัฐ และให้สิทธิแก่ประชาชนในการยื่นขอข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานภาครัฐได้ นอกจากนี้ยังมี การกําหนดให้หน่วยงานภาครัฐต้องเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่จําเป็นต่อสาธารณะผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น เอกสารหรือ เว็บไซต์ของหน่วยงาน เป็นต้น และประชาชนยังมีช่องทางในการร้องเรียนหรือเสนอความคิดเห็นผ่านช่องทางต่าง ๆ ของรัฐอีกด้วย

3 ช่วยส่งเสริมให้บุคลากรภาครัฐยึดกฎหมายเป็นหลักในการปฏิบัติหน้าที่มากกว่าการใช้ ดุลยพินิจหรือตามอําเภอใจ โดยมีการวางมาตรฐานการปฏิบัติงานในแต่ละภารกิจหรือแต่ละงานไว้ชัดทําให้การใช้ กฎหมายเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนอาจลดลงได้

4 ช่วยให้บุคลากรภาครัฐตระหนักถึงความสําคัญของคุณธรรม จริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ ของตนในฐานะเป็นผู้ให้บริการประชาชนมิใช่เจ้านายของประชาชนหรือผู้ที่มีสถานภาพที่เหนือกว่าประชาชน

5 ทําให้ภาครัฐให้ความสําคัญกับประสิทธิภาพในการทํางานมากขึ้น โดยการปรับปรุง กระบวนการทํางานให้มีความรวดเร็ว และประหยัดทั้งเวลาและงบประมาณ

POL4321 การบริหารร่วมสมัย s/2557

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 4321 การบริหารร่วมสมัย

คําสั่ง ข้อสอบมี 4 ข้อ ให้นักศึกษาเลือกตอบเพียง 3 ข้อ

ข้อ 1 คําว่าการบริหารกับการจัดการมีความแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร ภาษาอังกฤษใช้คําใด การบริหารจัดการมีความสําคัญอย่างไร ภารกิจของผู้บริหารมีอะไรบ้าง จงอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ

แนวคําตอบ

คําว่า “การบริหาร” กับ “การจัดการ” ในภาษาอังกฤษใช้คําว่า “Administration” หรือ “Management” สองคํานี้มีความหมายเหมือนกันและใช้แทนกันได้ แต่คําว่า “Administration” มักใช้สําหรับ การบริหารระดับสูง ซึ่งเน้นเกี่ยวกับการกําหนดนโยบายและแผนงาน และนิยมใช้ในการบริหารรัฐกิจหรือการบริหารงาน ราชการ ซึ่งผู้บริหารในหน่วยงานราชการเรียกว่า “Administrator” ส่วนคําว่า “Management” มักใช้สําหรับการ ดําเนินงานให้เป็นไปตามนโยบายหรือแผนที่วางไว้ และนิยมใช้ในการบริหารธุรกิจ ซึ่งผู้จัดการในภาคธุรกิจ เรียกว่า “Manager”

การบริหาร/การจัดการมีความสําคัญ ดังนี้

1 เป็นสมองขององค์การ

2.เป็นวิธีการที่ทําให้สมาชิกในองค์การมีจิตสํานึกร่วมกันและให้ความร่วมมือในการ ปฏิบัติงาน

3 เป็นการกําหนดขอบข่ายงานให้สมาชิกในองค์การปฏิบัติเพื่อไม่ให้งานซ้ำซ้อนกัน 4 เป็นการแสวงหาวิธีการที่ดีที่สุดในการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด

5 ทําให้บริหารงานได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น

6 ป้องกันปัญหางานคั่งค้าง ล่าช้า และสิ้นเปลือง

7 ทําให้ติดตามงานได้ง่าย ภารกิจของผู้บริหาร/ผู้จัดการ Certo and Certo กล่าวว่า ภารกิจของผู้บริหาร/ผู้จัดการที่สําคัญมี 4 ประการ คือ

1 การวางแผน (Planning) เป็นการเลือกวิธีการทํางานเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตาม เป้าหมายขององค์การ กําหนดแนวทางการทํางานว่าจะทําอย่างไรและจะทําเมื่อใด กิจกรรมการวางแผนจึงมุ่งเน้น การทํางานให้บรรลุเป้าหมายด้วยการกําหนดแผนงาน ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้บริหาร การวางแผนจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้อง กับสิ่งที่ต้องทําให้สําเร็จในอนาคตอันใกล้ (Short Term) และระยะยาว (Long Term)

2 การจัดองค์การ (Organizing) เป็นการมอบหมายงานให้บุคลากรหรือกลุ่มบุคคลใน องค์การนําแผนงานไปปฏิบัติเพื่อให้งานขององค์การประสบความสําเร็จ

3 การใช้อิทธิพล (Influencing) เป็นเรื่องเกี่ยวกับความสามารถในการจูงใจ (Motivating) การนํา (Leading) การสั่งการ (Directing) ของผู้บริหารเพื่อให้บุคลากรในองค์การทํางานสําเร็จ ซึ่งแนวคิดของ การทํางานเป็นการเน้นที่บุคคล (Human-Oriented) มากกว่าเน้นที่งาน (Task-Oriented)

4 การควบคุม (Controlling) เป็นหน้าที่การจัดการของผู้บริหาร ดังนี้

1) การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผลการทํางานของบุคลากรในองค์การเพื่อนํามา กําหนดเป็นมาตรฐานการทํางาน

2) การเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานกับมาตรฐานการทํางาน

3) การนําผลการเปรียบเทียบการทํางานมาพิจารณาว่าองค์การควรจะปรับมาตรฐานการทํางานให้สูงขึ้นอย่างไร

 

ข้อ 2 จงอธิบายความหมายของคําว่าการเปลี่ยนแปลงในองค์การ พร้อมยกตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงในองค์การภาครัฐ (กระบวนการทํางาน วัฒนธรรมองค์การ กรณีใดกรณีหนึ่งมาอย่างละ 2 เรื่อง) ปัจจัยกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงในองค์การมาจากปัจจัยอะไรบ้าง จงอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ

แนวคําตอบ

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงองค์การ หมายถึง กระบวนการสร้างการ เปลี่ยนแปลงในองค์การโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาในองค์การ หรือพยายามปรับปรุงองค์การให้ก้าวหน้า โดยอาศัยการวิเคราะห์ปัญหา การวางแผนและดําเนินการสร้างวัฒนธรรมองค์การที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งกระบวนการเปลี่ยนแปลงองค์การจะใช้เทคนิคทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ สังคมวิทยา และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เป็นต้น ทั้งนี้ผู้บริหารระดับสูงเป็นบุคคลที่มีบทบาทสําคัญในการริเริ่มการเปลี่ยนแปลง

ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงองค์การ หมายถึง การเปลี่ยนแปลง องค์การทั้งหมดหรือบางส่วนขององค์การ เช่น การออกแบบโครงสร้างองค์การใหม่ การติดตั้งระบบสารสนเทศใหม่ การเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ กลยุทธ์ การออกแบบงาน กระบวนการทํางาน เทคโนโลยี และการเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมองค์การ เป็นต้น

ตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงในองค์การภาครัฐ

เช่น การเปลี่ยนแปลงในด้านวัฒนธรรมองค์การ แต่เดิมนั้นองค์การภาครัฐต่าง ๆ ไม่ได้กําหนด วัฒนธรรมองค์การไว้ แต่ในปัจจุบันมีหลายองค์การที่ได้กําหนดวัฒนธรรมองค์การเพื่อให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ ทุกคนปฏิบัติ ทั้งนี้เพื่อให้การปฏิบัติงานราชการบรรลุเป้าหมาย ซึ่งมีตัวอย่างดังนี้

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง ได้กําหนดวัฒนธรรมองค์การไว้ 6 ประการ ซึ่งเรียกว่า “POLSCI” ประกอบด้วย

1 P = Positive Thinking คือ การคิดในทางบวก

2 O = Ownership คือ ความรู้สึกเป็นเจ้าขององค์การ

3 L = Leader of Change คือ การเป็นผู้นําในการเปลี่ยนแปลง

4 S = Service Mind คือ การมุ่งมั่นที่จะให้บริการที่ดี

5 C = Continuous Learning คือ การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

6 I = Integrity & Ethics คือ การมีความซื่อสัตย์และคุณธรรมจริยธรรม

มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กําหนดวัฒนธรรมองค์การไว้ 7 ประการ โดยดัดแปลงมาจากคํา * MAHIDOL” ประกอบด้วย

1 M = Mastery คือ เป็นนายแห่งตน

2 A = Altruism คือ มุ่งผลเพื่อผู้อื่น

3 H = Harmony คือ กลมกลืนกับสรรพสิ่ง

4 I = Integrity คือ มั่นคงยั่งยืนในคุณธรรม

5 D = Determination คือ แน่วแน่กล้าตัดสินใจ

6 0 = Originality คือ สร้างสรรค์สิ่งใหม่

7 L = Leadership คือ ใฝ่ใจเป็นผู้นํา ปัจจัยกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงในองค์การ

ปัจจัยกระตุ้นให้มีการเปลี่ยนแปลงในองค์การสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ปัจจัยภายนอกองค์การ และปัจจัยภายในองค์การ ดังข้อเสนอของนักวิชาการต่อไปนี้

Patrick Dawson ได้กล่าวไว้ในหนังสือ Understanding Organizational Change (2003) ว่า ประเภทของสิ่งกระตุ้นที่นําไปสู่การเปลี่ยนแปลงในองค์การมีปัจจัยมาจาก 2 ปัจจัย คือ

1 ปัจจัยภายนอกองค์การ ประกอบด้วย 6 ปัจจัย คือ

1) กฎหมายและกฎระเบียบของรัฐบาล เช่น นโยบายระดับชาติ ข้อตกลงระดับโลก เกี่ยวกับมลภาวะและสิ่งแวดล้อม ข้อตกลงเกี่ยวกับภาษีและการค้า

2) กระแสโลกาภิวัตน์ของการตลาดและการค้าระหว่างประเทศ เช่น แรงกดดัน จากภาวะการแข่งขันทั้งจากตลาดภายในและต่างประเทศ

3) เหตุการณ์สําคัญทางการเมืองและสังคม เช่น การเกิดวินาศกรรมที่ประเทศ สหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001

4) ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี เช่น องค์การต่าง ๆ ได้นําเทคโนโลยีชั้นสูงมาใช้ ในการผลิตสินค้า

5) ความเจริญเติบโตและการขยายตัวขององค์การ เช่น องค์การมีขนาดใหญ่ขึ้น มีความซับซ้อนมากขึ้น จึงจําเป็นต้องพัฒนากลไกการประสานงานให้มีความเหมาะสม

6) การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ เช่น การเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากความ ผันแปรของภาวะเศรษฐกิจ

 

2 ปัจจัยภายในองค์การ ประกอบด้วย 4 ปัจจัย คือ

1) เรื่องของเทคโนโลยี เช่น การประชุมผ่าน Video Conferencing การนําคอมพิวเตอร์ มาใช้ในงานบัญชีและระบบสารสนเทศ

2) เรื่องเกี่ยวกับงานโดยตรง เช่น การเปลี่ยนแปลงระบบการผลิตหรือการบริการ

3) เรื่องเกี่ยวกับผู้รับบริการ เช่น ในการพัฒนาและการปฏิบัติในเรื่องทรัพยากรมนุษย์ เกี่ยวกับการจัดโปรแกรมการฝึกอบรม และการเพิ่มพูนทักษะที่หลากหลาย การทํางานเป็นทีม

4) เรื่องเกี่ยวกับโครงสร้างการบริหารงาน เช่น การปรับปรุงโครงสร้างการทํางาน และการกําหนดความสัมพันธ์ของอํานาจหน้าที่ในองค์การใหม่

Kinicki and Kreitner ได้กล่าวไว้ในหนังสือ Organizational Behavior : Key Concepts, Skills & Best Practices (2008) ว่า ปัจจัยที่เป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์การต่าง ๆ มาจากปัจจัย 2 ประการคือ

1 ปัจจัยภายนอกองค์การ เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการผลิตและบริการ ซึ่งมี 4 ปัจจัยสําคัญ คือ

1) ลักษณะของประชากร เนื่องจากปัจเจกบุคคลมีลักษณะที่แตกต่างกัน องค์การ ต่าง ๆ จึงต้องมีระบบการจัดการที่หลากหลายอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของบุคลากร รวมทั้ง ทําให้บุคลากรเกิดความผูกพันต่อองค์การ นอกจากนี้สิ่งท้าทายขององค์การ คือ จะต้องกระตุ้นให้บุคลากรได้ใช้ ศักยภาพที่เขามีให้เป็นประโยชน์ต่อองค์การมากที่สุด

2) ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี องค์การต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์การภาครัฐหรือ องค์การภาคเอกชนล้วนแล้วแต่ต้องการใช้เทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงผลผลิตและการแข่งขันให้บริการกับลูกค้า

3) การเปลี่ยนแปลงลูกค้าและการตลาด เนื่องจากลูกค้ามีความต้องการที่หลากหลาย และต้องการสินค้าที่มีคุณภาพ รวมทั้งการแข่งขันที่มีมากขึ้น จึงทําให้องค์การต่าง ๆ ต้องปรับกลยุทธ์ในการผลิต สินค้าและบริการให้มีคุณภาพ

4) แรงกดดันทางด้านสังคมและการเมือง เป็นปัจจัยที่มาจากเหตุการณ์ทางด้าน สังคมและการเมือง เช่น กรณีปัญหาการทุจริตด้านการเงินในบริษัทใหญ่ ๆ ส่งผลให้องค์การนั้นมีปัญหาจนต้อง ปิดกิจการ นอกจากนี้เหตุการณ์การเมือง เช่น การเกิดสงครามทําให้ส่งผลกระทบต่อการผลิตสินค้าและบริการ

2 ปัจจัยภายในองค์การ เช่น ความพึงพอใจในการทํางานต่ำ ผลผลิตตกต่ำ การเข้าออก จากงานสูง มีปัญหาความขัดแย้งมาก ซึ่งโดยทั่วไปปัจจัยภายในองค์การที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมักจะมา จากปัญหาทรัพยากรมนุษย์และพฤติกรรมทางการบริหาร

 

ข้อ 3 คําว่ากลยุทธ์กับยุทธศาสตร์มีความแตกต่างกันหรือไม่ ภาษาอังกฤษใช้คําใด นักคิดที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับการบริหารเชิงกลยุทธ์เป็นใคร พร้อมกับระบุผลงานที่โดดเด่นมา 2 เรื่อง ขั้นตอนการกําหนดกลยุทธ์ มีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง จงอธิบาย เทคนิคที่นํามาใช้ในการวิเคราะห์องค์การคือเทคนิคอะไร จงวิเคราะห์ จุดแข็ง (Strengths) และจุดอ่อน (Weakness) ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง (อย่างน้อย 5 เรื่อง)พร้อมกับเสนอแนวทางในการปรับปรุงแก้ไข

แนวคําตอบ

คําว่า “กลยุทธ์” หรือ “ยุทธศาสตร์ ภาษาอังกฤษใช้คําว่า “Strategy” โดยมีรากศัพท์มาจาก คําว่า “Strategos” ในภาษากรีก ซึ่งเกิดจากศัพท์ 2 คํา คือ “Stratos” หมายถึง Army หรือ กองทัพ และ Agein หมายถึง Lead หรือ นําหน้า โดยเมื่อนําศัพท์ 2 คํานี้มารวมกันจะหมายถึง การนํากองทัพ หรือยุทธวิธีหลักในการรบ เพื่อเอาชนะศัตรู ดังนั้นคําว่ากลยุทธ์กับยุทธศาสตร์จึงเป็นคํา ๆ เดียวกันและมีความหมายเหมือนกัน

นักคิดที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับการบริหารเชิงกลยุทธ์

Michael E. Porter เป็นนักคิดที่มีชื่อเสียงโด่งดังในเรื่องการบริหารเชิงกลยุทธ์ เขาได้เสนอ แนวคิดในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันไว้หนังสือ 3 เล่ม ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม “ไตรภาคแห่งการแข่งขัน” ดังนี้

1 หนังสือชื่อ Competitive Strategy : Techniques for Analyzing Industries and Competitors (1980) ในหนังสือเล่มนี้ Porter ได้กล่าวถึงการวิเคราะห์สถานการณ์การแข่งขันกับคู่แข่ง ซึ่งเขาเห็นว่า ผู้บริหารจะต้องคํานึงถึงปัจจัย 5 ประการ คือ

1) อัตราของการแข่งขันกันระหว่างบริษัทต่าง ๆ ในธุรกิจหรืออุตสาหกรรมนั้น

2) การคุกคามที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งรายใหม่เข้ามาในตลาด

3) การคุกคามที่เกิดขึ้นจากสินค้าหรือบริการทดแทน

4) อํานาจต่อรองของผู้จัดส่ง

5) อํานาจต่อรองลูกค้า

 

2 หนังสือชื่อ Competitive Advantage : Creating and Sustaining and Superior Performance (1985) ในหนังสือเล่มนี้ Porter ได้เสนอแบบจําลองห่วงโซ่แห่งคุณค่า (Value Chain Model) โดยเห็นว่าความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจเกิดขึ้นจากกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในธุรกิจ โดยกิจกรรมเหล่านั้น จะช่วยลดต้นทุนให้แก่ธุรกิจ ดังนั้นธุรกิจจะต้องศึกษาและวิเคราะห์กิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่าง กิจกรรมเหล่านั้นโดยใช้การวิเคราะห์ห่วงโซ่แห่งคุณค่า เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

3 หนังสือชื่อ The Competitive Advantage of Nations (1990) ในหนังสือเล่มนี้ Porter ได้เสนอแบบจําลองเพชรแห่งความได้เปรียบของชาติ (Dynamic Diamond Model) ในการวิเคราะห์ปัจจัยทางด้าน สภาวะแวดล้อมในการดําเนินงาน 4 ประการ ซึ่งประกอบด้วย ปัจจัยในการดําเนินงาน เงื่อนไขด้านความต้องการ ของตลาด ธุรกิจหรืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องและสนับสนุน และกลยุทธ์องค์กร โครงสร้าง และการแข่งขัน โดย ปัจจัยทั้ง 4 ประการนี้เป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และส่งผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และดําเนินงานขององค์กรธุรกิจ

ขั้นตอนการกําหนดกลยุทธ์ มี 7 ขั้นตอน คือ

1 การนิยามธุรกิจ เป็นการกําหนดความหมายของธุรกิจ ได้แก่ การกําหนดภารกิจ วิสัยทัศน์ ปรัชญา ค่านิยม และเป้าหมายขององค์การ เพื่อให้การดําเนินงานตอบสนองความต้องการของลูกค้า

2 การวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนขององค์การ เป็นการวิเคราะห์ว่าองค์การมีจุดแข็ง อะไรบ้างที่องค์การสามารถทําได้ดี มีความชํานาญ มีคุณภาพ มีชื่อเสียง เป็นต้น ในขณะเดียวกันก็ต้องวิเคราะห์ว่า องค์การมีจุดอ่อน/จุดด้อย/ข้อบกพร่องอะไรบ้างเพื่อจะได้ปรับปรุงแก้ไข

3 การวิเคราะห์โอกาสและอุปสรรคขององค์การ เป็นการวิเคราะห์สถานการณ์ต่าง ๆ ที่ เป็นโอกาสให้องค์การสามารถพัฒนา/เติบโต/ขยายกิจการได้ และมีอุปสรรค/ข้อจํากัดอะไรบ้างที่อาจทําให้องค์การ สามารถทํางานได้ เช่น กฎหมาย กฎระเบียบ สถานที่ตั้ง เป็นต้น

4 การนิยามประเด็นปัญหาหลักและประเด็นทางกลยุทธ์ เป็นการหยิบยกปัญหา ที่เกิดขึ้นในองค์การมาพิจารณา เช่น บุคลากรมาทํางานสาย ขาดความสามัคคี ได้รับคําตําหนิจากลูกค้า เป็นต้น ว่าปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง และจะแก้ไขปัญหานั้นอย่างไร ซึ่งเทคนิคที่ใช้วิเคราะห์ปัญหา อาจจะใช้แผนภูมิก้างปลา แผนภูมิพาเรโต้ เป็นต้น และจะต้องวิเคราะห์ต่อไปว่าเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในระดับใด ขององค์การ เป็นปัญหาทางเทคนิค หรือเป็นปัญหาการนํากลยุทธ์ไปปฏิบัติ

5 การระบุกลยุทธ์ทางเลือกและคัดเลือกกลยุทธ์ เป็นการวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของแต่ละ กลยุทธ์แล้วทําการคัดเลือกกลยุทธ์ใดกลยุทธ์หนึ่ง ซึ่งในการคัดเลือกกลยุทธ์อาจพิจารณาจากหลายหลักเกณฑ์ เช่น ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับลูกค้า ความเป็นไปได้ในการนํากลยุทธ์ไปปฏิบัติ และความสอดคล้องกับแผนในระดับ ต่าง ๆ เป็นต้น

6 การบริหารกลยุทธ์ เป็นการนํากลยุทธ์ไปปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ของกลยุทธ์นั้น ทั้งนี้ความสําเร็จของการบริหารกลยุทธ์ย่อมขึ้นอยู่กับค่านิยมในการทํางานและการให้ความร่วมมือ ของบุคลากรในองค์การเป็นสําคัญ

7 การประเมินผลกลยุทธ์ เมื่อมีการนํากลยุทธ์ไปปฏิบัติแล้ว จําเป็นต้องมีการประเมินผล กลยุทธ์นั้นว่าประสบความสําเร็จมากน้อยเพียงใด มีปัญหาอะไรบ้างเพื่อนําผลการประเมินไปปรับปรุงต่อไป

เทคนิคการวิเคราะห์องค์การ

ก่อนที่องค์การต่าง ๆ จะกําหนดกลยุทธ์จําเป็นต้องมีการวิเคราะห์องค์การโดยใช้เทคนิค SWOT เพื่อให้ทราบจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคขององค์การก่อน ซึ่งคําว่า SWOT ประกอบด้วย

1 S = Strengths คือ จุดแข็งขององค์การ เป็นการพิจารณาจุดแข็งของทรัพยากรภายใน องค์การหรือระบบย่อยขององค์การ เช่น อํานาจหน้าที่ เป้าประสงค์ จุดมุ่งหมาย โครงสร้าง บุคลากร ความรู้และ ข้อมูลข่าวสาร เทคโนโลยี เป็นต้น ว่ามีอะไรบ้างที่จะนํามาใช้ในการดําเนินงานขององค์การในการปฏิบัติการตามกลยุทธ์

2 w = Weakness คือ จุดอ่อนขององค์การ เป็นการพิจารณาอํานาจหน้าที่ เป้าประสงค์ จุดมุ่งหมาย โครงสร้าง บุคลากร ความรู้และข้อมูลข่าวสาร และเทคโนโลยีภายในองค์การว่ามีจุดอ่อนอย่างไร เพื่อที่จะได้ปรับปรุงแก้ไขให้เป็นจุดแข็ง และนํามาใช้เป็นประโยชน์แก่องค์การ

3 Q=Opportunities คือ โอกาสที่จะทําให้เกิดความได้เปรียบแก่องค์การ เป็นการพิจารณา ดูว่ามีปัจจัยภายนอกองค์การใดที่จะนํามาเป็นประโยชน์ในการดําเนินงานขององค์การได้บ้าง ซึ่งแบ่งออกเป็น

1) สิ่งแวดล้อมของงาน ได้แก่ ลูกค้า คู่แข่ง ผู้ผลิต แรงงาน กฎระเบียบหรือหน่วยงานที่ควบคุม

2) สิ่งแวดล้อมทั่วไป ได้แก่ การเมือง กฎหมาย เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และต่างประเทศ

4 T = Threats คือ อุปสรรคหรืออันตรายที่จะทําให้เกิดหายนะแก่องค์การ เป็นการพิจารณา สิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ ได้แก่ สิ่งแวดล้อมของงานและสิ่งแวดล้อมทั่วไปที่ทําให้เกิดอันตรายหรือหายนะ ต่อการดําเนินงานขององค์การจุดแข็ง (Strengths) และจุดอ่อน (Weakness) ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง

จุดแข็ง

1 เป็นสถาบันการศึกษาแบบตลาดวิชา คือ รับนักศึกษาโดยไม่มีการสอบคัดเลือกและรับโดยไม่จํากัดจํานวน

2 ไม่มีการบังคับเข้าชั้นเรียน ทําให้นักศึกษาสามารถทํางานและเรียนควบคู่กันได้

3 มีค่าหน่วยกิตถูก ทําให้คนที่มีรายได้น้อยสามารถเรียนในระดับปริญญาตรีได้

4 มีการเรียนระบบ Pre-degree ทําให้นักเรียนมัธยมปลายสามารถเรียนเก็บสะสมหน่วยกิตและเมื่อจบการศึกษาชั้นมัธยมปลายก็สามารถโอนหน่วยกิตที่เก็บสะสมไว้ได้ ทําให้ สามารถเรียนจบระดับปริญญาตรีได้เร็วขึ้น

5 มีสาขาวิทยบริการฯ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทําให้ผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียนสามารถเข้ามาศึกษากับมหาวิทยาลัยรามคําแหงได้โดยไม่ต้องเดินทางมากรุงเทพฯ

จุดอ่อน

1 ความผูกพันระหว่างนักศึกษา และนักศึกษากับอาจารย์มีน้อย

2 ไม่มีการบังคับให้นักศึกษาแต่งกายชุดนักศึกษา ทําให้นักศึกษาบางคนแต่งกายไม่สุภาพ

3 ไม่มีคะแนนเก็บสะสม ทําให้นักศึกษาต้องสอบเต็ม 100 คะแนน

4 การวัดผลการเรียนส่วนใหญ่จะสอบโดยใช้ข้อสอบปรนัย ทําให้นักศึกษาขาดทักษะในการเขียนบรรยาย และไม่สามารถใช้ภาษาได้ถูกต้อง

5 สถานที่ที่ใช้ในการสอบมีทั้งที่มหาวิทยาลัยรามคําแหงหัวหมาก และมหาวิทยาลัยรามคําแหงบางนา นักศึกษาบางคนต้องสอบ 2 วิชาในวันเดียวกัน แต่สถานที่สอบต่างกัน ทําให้บางครั้งนักศึกษาเดินทางไปสอบไม่ทันเวลา

แนวทางในการปรับปรุงแก้ไข

1 ควรมีกิจกรรมในการสร้างความผูกพันระหว่างนักศึกษา และนักศึกษากับอาจารย์ทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน

2 ควรมีกฎระเบียบบังคับให้นักศึกษาแต่งกายชุดนักศึกษา ส่วนผู้ที่อยู่ในวัยทํางานถ้าไม่สะดวกในการแต่งกายชุดนักศึกษา ให้แต่งกายชุดสุภาพ

3 ควรมีการทํารายงานในชั้นเรียนเพื่อเป็นคะแนนเก็บ สําหรับนักศึกษาที่ไม่ได้เข้าชั้นเรียนควรเปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถทํารายงานส่งอาจารย์ อาจส่งทาง e-mail ก็ได้

4 ควรวัดผลการเรียนโดยใช้ข้อสอบอัตนัยเพิ่มขึ้น เพื่อให้นักศึกษามีทักษะในการเขียนบรรยาย และสามารถใช้ภาษาในการสื่อสารได้ถูกต้อง

5 ควรอนุญาตเป็นกรณีพิเศษให้นักศึกษาที่สอบ 2 วิชาในวันเดียวกันแต่สถานที่สอบต่างกัน สามารถเลือกสอบทั้ง 2 วิชาในสถานที่สอบที่ใดที่หนึ่งเพียงแห่งเดียวได้

 

ข้อ 4 จากการฟังคําบรรยายในชั้นเรียนเกี่ยวกับเทคนิคการบริหารงานสมัยใหม่ อาทิ การควบคุมคุณภาพ 5 ส. ไคเซ็น การบริหารคุณภาพทั้งองค์การ ระบบ ISO การรื้อปรับระบบ และระบบซิกซ์ ซิกม่า เป็นต้น จงเลือกตอบเพียง 1 เทคนิค โดยอธิบายความเป็นมา แนวคิด หลักการของเทคนิคนั้น ๆมาให้เข้าใจอย่างชัดเจน

แนวคําตอบ

ไคเซ็น (Kaizen)

ไคเซ็นเป็นแนวคิดและวิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่น โดยคําว่า “ไคเซ็น” หมายถึง การปรับปรุงหรือ พัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการปรับปรุงในทุก ๆ ด้านของการดํารงชีวิต ไม่ว่าจะเป็นในที่ทํางาน ในสังคม หรือในบ้านให้ดีขึ้นอย่างสม่ำเสมอ โดยทุกคนต้องเกี่ยวข้องตลอดเวลากลยุทธ์ของไคเซ็นคือคํากล่าวที่ว่า “ไม่มีวันใดเลยที่ผ่านไปโดยไม่มีการปรับปรุงในส่วนใด ส่วนหนึ่งขององค์การ” ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นการปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา

หลักการบริหารแบบไคเซ็น มีดังนี้

1 การมองว่าลูกค้าต้องมาก่อนเสมอ (Customer First)

2 การควบคุมคุณภาพรวม (Total Quality Control)

3 การมีระบบข้อเสนอแนะ (Suggestion Systems)

4 การใช้หุ่นยนต์ (Robotics) ช่วยในการผลิต

5 การจัดตั้งกลุ่มควบคุมคุณภาพ (Quality Control Circles)

6 การมีระบบการควบคุมโดยอัตโนมัติ (Automation)

7 การมีวินัยในการทํางาน (Discipline in the workplace)

8 การติดป้าย (Kanban) รับรองมาตรฐานสินค้า

9 การมีระบบการผลิตทันเวลา Just in Time : JIT)

10 การมีของเสียเป็นศูนย์ (Zero Defects)

11 การมีกิจกรรมกลุ่มย่อย (Small Group Activities)

12 การจัดการโดยอาศัยความร่วมมือของพนักงาน (Cooperative Labour Management)

13 การปรับปรุงผลผลิต (Productivity Improvement)

14 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ (New Product Development)

 

หลักปฏิบัติของการบริหารแบบไคเซ็น มี 2 ประการ คือ

1 การบํารุงรักษา (Maintenance) หมายถึง การส่งเสริมให้ทุกคนช่วยกันดูแลบํารุงรักษา เครื่องจักรเครื่องใช้ให้มีอายุการใช้งานได้นาน

2 การปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement) หมายถึง การปรับปรุง การทํางานให้ได้มาตรฐานให้สูงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งการปรับปรุงมี 2 แนวทาง คือ การปรับปรุงสิ่งที่เป็นอยู่และการแสวงหา สิ่งใหม่หรือนวัตกรรม (Innovation)

จุดเน้นที่สําคัญของแนวคิดไคเซ็น

แนวคิดของไคเซ็นเน้นกระบวนการ (Process) ซึ่งต้องปรับปรุงขั้นตอนหรือลดขั้นตอนก่อนที่ จะปรับปรุงผลที่ได้รับ (Output) และเน้นที่การปฏิบัติและการใช้ความพยายามของบุคคล เช่น เมื่อผู้จัดการฝ่ายขาย ต้องการประเมินผลงาน พนักงานขายก็จะประเมินเวลาที่ใช้ในการติดต่อกับลูกค้า เวลาที่ใช้ในการเยี่ยมลูกค้า และ เวลาที่ใช้ในสํานักงาน ความสําเร็จที่ได้รับจะทําให้บุคลากรมีขวัญและกําลังใจในการปรับปรุงงานของตนให้ดีขึ้น หรือกล่าวได้ว่าเป็นการให้ความสําคัญกับการเข้าถึงลูกค้าพอ ๆ กับยอดขาย

สรุป แนวคิดและกลยุทธ์ของไคเซ็นสามารถนําไปใช้ได้ทั่วไป และมีความเกี่ยวข้องกับทุกคน ในองค์การตั้งแต่ระดับสูงสุดจนถึงผู้ปฏิบัติงานระดับล่างสุด

 

 

POL4321 การบริหารร่วมสมัย 2/2557

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 4321 การบริหารร่วมสมัย

คําสั่ง ข้อสอบมี 4 ข้อ นักศึกษาที่เข้าชั้นเรียนและทํารายงานให้เลือกตอบเพียง 2 ข้อ โดยระบุหัวข้อรายงานในสมุดคําตอบหน้าแรก ส่วนนักศึกษาที่ไม่ได้เข้าชั้นเรียนและไม่ได้ทํารายงานให้เลือกตอบ 3 ข้อ

ข้อ 1 คําว่าการบริหารกับการจัดการมีความแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร พร้อมกับอธิบายความหมายผู้บริหาร/ผู้จัดการมีหน้าที่สําคัญในเรื่องอะไรบ้าง จงอธิบาย

แนวคําตอบ

คําว่า “การบริหาร” กับ “การจัดการ” ในภาษาอังกฤษใช้คําว่า “Administration” หรือ “Management” สองคํานี้มีความหมายเหมือนกันและใช้แทนกันได้ แต่คําว่า “Administration” มักใช้สําหรับ การบริหารระดับสูง ซึ่งเน้นเกี่ยวกับการกําหนดนโยบายและแผนงาน และนิยมใช้ในการบริหารรัฐกิจหรือการบริหารงาน ราชการ ซึ่งผู้บริหารในหน่วยงานราชการเรียกว่า “Administrator” ส่วนคําว่า “Management” มักใช้สําหรับการ ดําเนินงานให้เป็นไปตามนโยบายหรือแผนที่วางไว้ และนิยมใช้ในการบริหารธุรกิจ ซึ่งผู้จัดการในภาคธุรกิจ เรียกว่า “Manager”

การบริหารการจัดการ มีความหมายดังนี้

Dale กล่าวว่า การบริหาร หมายถึง การทํางานให้สําเร็จโดยอาศัยผู้อื่น

Simon กล่าวว่า การบริหาร หมายถึง กิจกรรมของกลุ่มบุคคลในการร่วมมือกันทํางานเพื่อให้ บรรลุเป้าหมาย

สมพงศ์ เกษมสิน กล่าวว่า การบริหาร หมายถึง การใช้ศาสตร์และศิลปะในการนําทรัพยากร การบริหารมาดําเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ..

ติน ปรัชญพฤทธิ์ กล่าวว่า การบริหาร หมายถึง กระบวนการนําการตัดสินใจและนโยบายไปปฏิบัติ ภารกิจหรือหน้าที่ของผู้บริหาร/ผู้จัดการ

Certo and Certo กล่าวว่า ภารกิจหรือหน้าที่สําคัญของผู้บริหาร/ผู้จัดการ มี 4 ประการ คือ

1 การวางแผน (Planning) เป็นการเลือกวิธีการทํางานเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตาม เป้าหมายขององค์การ กําหนดแนวทางการทํางานว่าจะทําอย่างไรและจะทําเมื่อใด กิจกรรมการวางแผนจึงมุ่งเน้น การทํางานให้บรรลุเป้าหมายด้วยการกําหนดแผนงาน ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้บริหาร การวางแผนจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้อง กับสิ่งที่ต้องทําให้สําเร็จในอนาคตอันใกล้ (Short Term) และระยะยาว (Long Term)

2 การจัดองค์การ (Organizing) เป็นการมอบหมายงานให้บุคลากรหรือกลุ่มบุคคลใน องค์การนําแผนงานไปปฏิบัติเพื่อให้งานขององค์การประสบความสําเร็จ

3 การใช้อิทธิพล (Influencing) เป็นเรื่องเกี่ยวกับความสามารถในการจูงใจ (Motivating) การนํา (Leading) การสั่งการ (Directing) ของผู้บริหารเพื่อให้บุคลากรในองค์การทํางานสําเร็จ ซึ่งแนวคิดของ การทํางานเป็นการเน้นที่บุคคล (Human-Oriented) มากกว่าเน้นที่งาน (Task-Oriented)

4 การควบคุม (Controlling) เป็นหน้าที่การจัดการของผู้บริหาร ดังนี้

1) การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผลการทํางานของบุคลากรในองค์การเพื่อนํามากําหนดเป็นมาตรฐานการทํางาน

2) การเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานกับมาตรฐานการทํางาน

3) การนําผลการเปรียบเทียบการทํางานมาพิจารณาว่าองค์การควรจะปรับมาตรฐานการทํางานให้สูงขึ้นอย่างไร

 

ข้อ 2 การเปลี่ยนแปลงในองค์การ (Organization Change) คืออะไร ยกตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงในองค์การภาครัฐในด้านกระบวนการทํางาน และการให้บริการมาอย่างละ 1 เรื่อง สภาวการณ์อะไรบ้างที่ทําให้ผู้บริหารจําเป็นต้องเปลี่ยนแปลงในองค์การ จงอธิบาย

แนวคําตอบ

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงองค์การ หมายถึง กระบวนการสร้างการ เปลี่ยนแปลงในองค์การโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาในองค์การ หรือพยายามปรับปรุงองค์การให้ก้าวหน้า โดยอาศัยการวิเคราะห์ปัญหา การวางแผนและดําเนินการสร้างวัฒนธรรมองค์การที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งกระบวนการ เปลี่ยนแปลงองค์การจะใช้เทคนิคทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ สังคมวิทยา และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เป็นต้น ทั้งนี้ผู้บริหารระดับสูงเป็นบุคคลที่มีบทบาทสําคัญในการริเริ่มการเปลี่ยนแปลง

ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงองค์การ หมายถึง การเปลี่ยนแปลง องค์การทั้งหมดหรือบางส่วนขององค์การ เช่น การออกแบบโครงสร้างองค์การใหม่ การติดตั้งระบบสารสนเทศใหม่ การเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ กลยุทธ์ การออกแบบงาน กระบวนการทํางาน เทคโนโลยี และการเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมองค์การ เป็นต้น

ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงในองค์การภาครัฐ มหาวิทยาลัยรามคําแหงมีการเปลี่ยนแปลงองค์การในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1 ด้านกระบวนการทํางาน เช่น มหาวิทยาลัยได้นําระบบ One Stop Service มาใช้ใน การรับสมัครนักศึกษา ซึ่งทําให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วในการรับสมัครมากขึ้น

2 ด้านการบริการ เช่น มหาวิทยาลัยได้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ต เพื่อให้นักศึกษาสามารถ เข้าถึงบริการและข้อมูลต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยได้สะดวกขึ้น โดยมีเว็บไซต์ เช่น

– www.ru.ac.th เป็นเว็บไซต์หลักที่มีรายละเอียดข้อมูลต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง

– www.ram.edu เป็นเว็บไซต์เกี่ยวกับ e-Learning ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง

– www.e-ru.tv เป็นเว็บไซต์เกี่ยวกับสถานีวิทยุและโทรทัศน์ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง รวมทั้งเป็นเว็บไซต์สําหรับถ่ายทอดสดการประชุม สัมมนา และการบรรยายพิเศษ

สภาวการณ์ที่ทําให้ผู้บริหารจําเป็นต้องเปลี่ยนแปลงในองค์การ

สภาวการณ์หรือปัจจัยที่ทําให้ผู้บริหารจําเป็นต้องเปลี่ยนแปลงในองค์การสามารถแบ่งออกได้ เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ปัจจัยภายนอกองค์การ และปัจจัยภายในองค์การ ดังข้อเสนอของนักวิชาการต่อไปนี้

Patrick Dawson ได้กล่าวไว้ในหนังสือ Understanding Organizational Change (2003) ว่า ประเภทของสิ่งกระตุ้นที่นําไปสู่การเปลี่ยนแปลงในองค์การมีปัจจัยมาจาก 2 ปัจจัย คือ

1 ปัจจัยภายนอกองค์การ ประกอบด้วย 6 ปัจจัย คือ

1) กฎหมายและกฎระเบียบของรัฐบาล เช่น นโยบายระดับชาติ ข้อตกลงระดับโลก เกี่ยวกับมลภาวะและสิ่งแวดล้อม ข้อตกลงเกี่ยวกับภาษีและการค้า

2) กระแสโลกาภิวัตน์ของการตลาดและการค้าระหว่างประเทศ เช่น แรงกดดัน จากภาวะการแข่งขันทั้งจากตลาดภายในและต่างประเทศ

3) เหตุการณ์สําคัญทางการเมืองและสังคม เช่น การเกิดวินาศกรรมที่ประเทศ สหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001

4) ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี เช่น องค์การต่าง ๆ ได้นําเทคโนโลยีชั้นสูงมาใช้ ในการผลิตสินค้า

5) ความเจริญเติบโตและการขยายตัวขององค์การ เช่น องค์การมีขนาดใหญ่ขึ้น มีความซับซ้อนมากขึ้น จึงจําเป็นต้องพัฒนากลไกการประสานงานให้มีความเหมาะสม

6) การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ เช่น การเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากความ ผันแปรของภาวะเศรษฐกิจ

2 ปัจจัยภายในองค์การ ประกอบด้วย 4 ปัจจัย คือ

1) เรื่องของเทคโนโลยี เช่น การประชุมผ่าน Video-Conferencing การนําคอมพิวเตอร์ มาใช้ในงานบัญชีและระบบสารสนเทศ

2) เรื่องเกี่ยวกับงานโดยตรง เช่น การเปลี่ยนแปลงระบบการผลิตหรือการบริการ

3) เรื่องเกี่ยวกับผู้รับบริการ เช่น ในการพัฒนาและการปฏิบัติในเรื่องทรัพยากรมนุษย์ เกี่ยวกับการจัดโปรแกรมการฝึกอบรม และการเพิ่มพูนทักษะที่หลากหลาย การทํางานเป็นทีม

4) เรื่องเกี่ยวกับโครงสร้างการบริหารงาน เช่น การปรับปรุงโครงสร้างการทํางาน และการกําหนดความสัมพันธ์ของอํานาจหน้าที่ในองค์การใหม่

Kinicki and Kreitner ได้กล่าวไว้ในหนังสือ Organizational Behavior : Key Concepts, Skills & Best Practices (2008) ว่า ปัจจัยที่เป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์การต่าง ๆ มาจากปัจจัย 2 ประการ คือ

1 ปัจจัยภายนอกองค์การ เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการผลิตและบริการ ซึ่งมี 4 ปัจจัยสําคัญ คือ

1) ลักษณะของประชากร เนื่องจากปัจเจกบุคคลมีลักษณะที่แตกต่างกัน องค์การ ต่าง ๆ จึงต้องมีระบบการจัดการที่หลากหลายอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของบุคลากร รวมทั้ง ทําให้บุคลากรเกิดความผูกพันต่อองค์การ นอกจากนี้สิ่งท้าทายขององค์การ คือ จะต้องกระตุ้นให้บุคลากรได้ใช้ ศักยภาพที่เขามีให้เป็นประโยชน์ต่อองค์การมากที่สุด

2) ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี องค์การต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์การภาครัฐ หรือองค์การภาคเอกชนล้วนแล้วแต่ต้องการใช้เทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงผลผลิตและการแข่งขันให้บริการกับลูกค้า

3) การเปลี่ยนแปลงลูกค้าและการตลาด เนื่องจากลูกค้ามีความต้องการที่หลากหลาย และต้องการสินค้าที่มีคุณภาพ รวมทั้งการแข่งขันที่มีมากขึ้น จึงทําให้องค์การต่าง ๆ ต้องปรับกลยุทธ์ในการผลิต สินค้าและบริการให้มีคุณภาพ

4) แรงกดดันทางด้านสังคมและการเมือง เป็นปัจจัยที่มาจากเหตุการณ์ทางด้านสังคมและการเมือง เช่น กรณีปัญหาการทุจริตด้านการเงินในบริษัทใหญ่ ๆ ส่งผลให้องค์การนั้นมีปัญหาจนต้อง ปิดกิจการ นอกจากนี้เหตุการณ์การเมือง เช่น การเกิดสงครามทําให้ส่งผลกระทบต่อการผลิตสินค้าและบริการ

2 ปัจจัยภายในองค์การ เช่น ความพึงพอใจในการทํางานต่ำ ผลผลิตตกต่ำ การเข้าออก จากงานสูง มีปัญหาความขัดแย้งมาก ซึ่งโดยทั่วไปปัจจัยภายในองค์การที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมักจะมา จากปัญหาทรัพยากรมนุษย์และพฤติกรรมทางการบริหาร

 

ข้อ 3 เทคนิคการบริหารสมัยใหม่ที่ได้จากการฟังคําบรรยายในชั้นเรียน อาทิเช่น QC.C. (Quality Control Circle), T.Q.M. (Total Quality Management), 5 S., Kaizen, ISO 9000, Six Sigma, Strategic Management เป็นต้น จงเลือกตอบมา 1 เทคนิค พร้อมทั้งอธิบายความเป็นมา ระบุนักคิดและหลักการของเทคนิคนั้น ๆ มาให้เข้าใจแต่เพียงสังเขป

แนวคําตอบ

ไคเซ็น (Kaizen)

ไคเซ็นเป็นแนวคิดและวิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่น โดยคําว่า “ไคเซ็น” หมายถึง การปรับปรุงหรือ. พัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการปรับปรุงในทุก ๆ ด้านของการดํารงชีวิต ไม่ว่าจะเป็นในที่ทํางานในสังคม หรือในบ้านให้ดีขึ้นอย่างสม่ําเสมอ โดยทุกคนต้องเกี่ยวข้องตลอดเวลา

กลยุทธ์ของไคเซ็นคือคํากล่าวที่ว่า “ไม่มีวันใดเลยที่ผ่านไปโดยไม่มีการปรับปรุงในส่วนใด ส่วนหนึ่งขององค์การ” ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นการปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา

หลักการบริหารแบบไคเซ็น มีดังนี้

1 การมองว่าลูกค้าต้องมาก่อนเสมอ (Customer First)

2 การควบคุมคุณภาพรวม (Total Quality Control)

3 การมีระบบข้อเสนอแนะ (Suggestion Systems)

4 การใช้หุ่นยนต์ (Robotics) ช่วยในการผลิต

5 การจัดตั้งกลุ่มควบคุมคุณภาพ (Quality Control Circles)

6 การมีระบบการควบคุมโดยอัตโนมัติ (Automation)

7 การมีวินัยในการทํางาน (Discipline in the Workplace)

8 การติดป้าย (Kanban) รับรองมาตรฐานสินค้า

9 การมีระบบการผลิตทันเวลา (Just in Time : JIT)

10 การมีของเสียเป็นศูนย์ (Zero Defects)

11 การมีกิจกรรมกลุ่มย่อย (Small Group Activities)

12 การจัดการโดยอาศัยความร่วมมือของพนักงาน (Cooperative Labour Management)

13 การปรับปรุงผลผลิต (Productivity Improvement)

14 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ (New Product Development)

 

หลักปฏิบัติของการบริหารแบบไคเซ็น มี 2 ประการ คือ

1 การบํารุงรักษา (Maintenance) หมายถึง การส่งเสริมให้ทุกคนช่วยกันดูแลบํารุงรักษา เครื่องจักรเครื่องใช้ให้มีอายุการใช้งานได้นาน

2 การปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement) หมายถึง การปรับปรุง การทํางานให้ได้มาตรฐานให้สูงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งการปรับปรุงมี 2 แนวทาง คือ การปรับปรุงสิ่งที่เป็นอยู่และการแสวงหา สิ่งใหม่หรือนวัตกรรม (Innovation)

จุดเน้นที่สําคัญของแนวคิดไคเซ็น

แนวคิดของไคเซ็นเน้นกระบวนการ (Process) ซึ่งต้องปรับปรุงขั้นตอนหรือลดขั้นตอนก่อนที่ จะปรับปรุงผลที่ได้รับ (Output) และเน้นที่การปฏิบัติและการใช้ความพยายามของบุคคล เช่น เมื่อผู้จัดการฝ่ายขาย ต้องการประเมินผลงาน พนักงานขายก็จะประเมินเวลาที่ใช้ในการติดต่อกับลูกค้า เวลาที่ใช้ในการเยี่ยมลูกค้า และเวลาที่ใช้ในสํานักงาน ความสําเร็จที่ได้รับจะทําให้บุคลากรมีขวัญและกําลังใจในการปรับปรุงงานของตนให้ดีขึ้น หรือกล่าวได้ว่าเป็นการให้ความสําคัญกับการเข้าถึงลูกค้าพอ ๆ กับยอดขาย

สรุป แนวคิดและกลยุทธ์ของไคเซ็นสามารถนําไปใช้ได้ทั่วไป และมีความเกี่ยวข้องกับทุกคน ในองค์การตั้งแต่ระดับสูงสุดจนถึงผู้ปฏิบัติงานระดับล่างสุด

 

ข้อ 4 แนวคิดการบริหารงานที่สําคัญที่ได้จากการบรรยายในชั้นเรียน อาทิเช่น หลักการ 5 G’s, ทฤษฎี 7 S’s ของ McKinsey, หลักการ 4 VIPs และหลักการบริหารการปกครองที่ดี (Good Governance) เป็นต้น จงเลือกตอบมา 1 แนวคิด พร้อมทั้งอธิบายหลักการของแนวคิดนั้นมาให้เข้าใจ

แนวคําตอบ

ทฤษฎี 7 S’s (The Seven-S Model) ของ McKinsey

เมื่อปลายปี ค.ศ. 1970 บริษัทที่ปรึกษาชื่อ “McKinsey” ได้เชิญ Richard Pascale แห่ง มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และ Anthony Athos แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ให้มาช่วยพัฒนากรอบแนวคิดการบริหาร ที่เรียกว่า The McKinsey 7s’s Framework ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยที่สําคัญ 7 ประการสามารถอธิบายได้ดังนี้

1 กลยุทธ์ (Strategy) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการวางแผนองค์การเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วยการใช้เทคนิค SWOT (SWOT Technique) มาทําการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคขององค์การ เพื่อนํามากําหนดเป็นกลยุทธ์

2 โครงสร้าง (Structure) คือ การปรับปรุงโครงสร้างองค์การ การแบ่งหน่วยงาน การรวม อํานาจ และการกระจายอํานาจที่เหมาะสม

3 ระบบ (Systems) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดระบบงาน และการลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน ให้สั้นลง เพื่อทําให้สามารถปฏิบัติงานได้รวดเร็ว

4 สไตล์ (Style) คือ แบบแผนพฤติกรรมของผู้นํา การใช้รูปแบบการบริหารที่เหมาะสม และแสดงบทบาทผู้นําการเปลี่ยนแปลง

5 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Staff) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการคัดเลือกบุคลากรที่มี ความสามารถ การพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง การหมุนเวียนกันทํางาน และการเห็นคุณค่าของทรัพยากรมนุษย์

6 ทักษะ (Skills) เป็นเรื่องเกี่ยวกับความชํานาญ ความสามารถพิเศษของบุคลากร การพัฒนาทักษะการทํางานของแต่ละบุคคล และการส่งเสริมการทํางานเป็นทีม

7 ค่านิยมร่วม (Shared Values) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการสร้างค่านิยมร่วมกันในการทํางาน หรือที่เรียกว่า “Spiritual Values” เช่น การให้บริการ ความยุติธรรม ความสามัคคีปรองดอง ความร่วมมือ ความสุภาพ ความอ่อนน้อมถ่อมตน ความกตัญญ การทําในสิ่งที่ดีกว่า การปรับปรุงแก้ไข การปรับตัวเข้าหากัน เป็นต้น ค่านิยม ดังกล่าวนี้เป็นสิ่งที่ควรสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นในองค์การ

ปัจจัยทั้ง 7 ประการสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

1 Hard คือ ส่วนที่แข็ง ไม่คล่องตัว และปรับตัวได้ค่อนข้างช้า ได้แก่ กลยุทธ์ และโครงสร้าง ขององค์การ

2 Soft คือ ส่วนที่อ่อน มีความคล่องตัว และสามารถปรับตัวได้ง่าย ได้แก่ สไตล์ของผู้บริหาร ระบบงาน การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ทักษะ และค่านิยมร่วม

สรุป จากกรอบแนวคิดของปัจจัย 7 S’s ดังกล่าว ผู้บริหารจําเป็นต้องใช้ภาวะผู้นําในการบริหาร ปัจจัยทั้ง 7 ประการให้สอดคล้องและสมดุลกัน นับตั้งแต่การกําหนดกลยุทธ์ขององค์การ การปรับปรุงโครงสร้าง ที่เหมาะสม การจัดระบบงานให้เหมาะสมและลดขั้นตอนการทํางานให้สั้นลงเพื่อทําให้สามารถบริการได้สะดวก และรวดเร็วขึ้น การใช้สไตล์การบริหารงานที่ให้ความสําคัญทั้งบุคคลและงาน การให้เกียรติผู้ร่วมงาน การบริหาร ทรัพยากรมนุษย์ด้วยการสรรหาและคัดเลือกคนดีมีฝีมือเข้ามาทํางาน การพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง การพัฒนา ทักษะส่วนบุคคล การสร้างทักษะการทํางานเป็นทีม และการสร้างค่านิยมสร้างสรรค์ในการทํางาน

 

POL4321 การบริหารร่วมสมัย s/2556

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 4321 การบริหารร่วมสมัย

คําสั่ง ข้อสอบมี 4 ข้อ นักศึกษาที่เข้าชั้นเรียนและทํารายงานให้เลือกตอบเพียง 2 ข้อ โดยระบุหัวข้อรายงานในสมุดคําตอบหน้าแรก ส่วนนักศึกษาที่ไม่ได้เข้าชั้นเรียนและไม่ได้ทํารายงานให้เลือกตอบ 3 ข้อ

ข้อ 1 จงอธิบายการเปลี่ยนแปลงในองค์การ (Organizational Change) อีกทั้งยกตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในองค์การในภาครัฐในด้านวิสัยทัศน์ ระบบการทํางาน และค่านิยมองค์การหรือวัฒนธรรม องค์การในภาครัฐมา 1 แห่ง และสภาวการณ์อะไรบ้างที่ทําให้องค์การต่าง ๆ ต้องมีการเปลี่ยนแปลงในองค์การ

แนวคําตอบ

สภาวการณ์เปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ เช่น การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ความเจริญก้าวหน้าทาง เทคโนโลยี วิทยาการสมัยใหม่ การติดต่อสื่อสาร ค่านิยมใหม่ ๆ เป็นต้น ทําให้องค์การต่าง ๆ ต้องมีการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการเปลี่ยนแปลงสามารถเกิดขึ้นได้กับทุก่องค์การ โดยในปัจจุบันการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นมีมากมาย เช่น การปฏิรูประบบราชการ การปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์การ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การออกนอกระบบ การควบรวมกิจการ การนําเทคโนโลยีสมัยใหม่มาปรับใช้ในองค์การ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อปรับ องค์การให้เข้ากับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนไป ซึ่งจะทําให้องค์การอยู่รอดและมีความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงองค์การ หมายถึง กระบวนการสร้างการเปลี่ยนแปลงในองค์การโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาในองค์การ หรือพยายามปรับปรุงองค์การให้ก้าวหน้า โดยอาศัยการวิเคราะห์ปัญหา การวางแผนและดําเนินการสร้างวัฒนธรรมองค์การที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งกระบวนการ เปลี่ยนแปลงองค์การจะใช้เทคนิคทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ สังคมวิทยา และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้บริหารระดับสูงเป็นบุคคลที่มีบทบาทสําคัญในการริเริ่มการเปลี่ยนแปลง

ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงองค์การ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงองค์การ ทั้งหมดหรือบางส่วนขององค์การ เช่น การออกแบบโครงสร้างองค์การใหม่ การติดตั้งระบบสารสนเทศใหม่ การเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ กลยุทธ์ การออกแบบงาน กระบวนการทํางาน เทคโนโลยี และการเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมองค์การ เป็นต้น

สภาวการณ์ที่ทําให้องค์การต่าง ๆ ต้องมีการเปลี่ยนแปลงในองค์การ

สภาวการณ์หรือปัจจัยที่ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์การสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ใหญ่ ๆ คือ ปัจจัยภายนอกองค์การ และปัจจัยภายในองค์การ ดังข้อเสนอของนักวิชาการต่อไปนี้

Patrick Dawson ได้กล่าวไว้ในหนังสือ Understanding Organizational Change (2003) ว่า ประเภทของสิ่งกระตุ้น (A Range of Triggers) ที่นําไปสู่การเปลี่ยนแปลงในองค์การ (Organizational Change) มีปัจจัยมาจาก 2 ปัจจัย คือ

1 ปัจจัยภายนอกองค์การ ประกอบด้วย 6 ปัจจัย คือ

1) กฎหมายและกฎระเบียบของรัฐบาล (Government Laws and Regulations) เช่น นโยบายระดับชาติ ข้อตกลงระดับโลกเกี่ยวกับมลภาวะและสิ่งแวดล้อม ข้อตกลงเกี่ยวกับภาษีและการค้า

2) กระแสโลกาภิวัตน์ของการตลาดและการค้าระหว่างประเทศ (Globalization of Markets and The Internationalization of Business) เช่น แรงกดดันจากภาวะการแข่งขันทั้งจากตลาดภายใน และต่างประเทศ

3) เหตุการณ์สําคัญทางการเมืองและสังคม (Major Political and Social Events) เช่น การเกิดวินาศกรรมที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001

4) ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี เช่น องค์การต่าง ๆ ได้นําเทคโนโลยีชั้นสูงมาใช้ ในการผลิตสินค้า

5) ความเจริญเติบโตและการขยายตัวขององค์การ (Organizational Growth and Expansion) เช่น องค์การมีขนาดใหญ่ขึ้น มีความซับซ้อนมากขึ้น จึงจําเป็นต้องพัฒนากลไกการประสานงาน ให้มีความเหมาะสม

6) การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ (Fluctuations) เช่น การเปลี่ยนแปลงอันเนื่อง มาจากความผันแปรของภาวะเศรษฐกิจ

2 ปัจจัยภายในองค์การ ประกอบด้วย 4 ปัจจัย คือ

1) เรื่องของเทคโนโลยี เช่น การประชุมผ่าน Video Conferencing เทคโนโลยี หุ่นยนต์ (Robotic Technology) การนําคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานบัญชี (Computerization of Management Accounting) และระบบสารสนเทศ (Information System)

2) เรื่องที่เกี่ยวกับงานโดยตรง (Primary Task) เช่น การเปลี่ยนแปลงระบบการผลิต หรือการบริการ

3) ผู้รับบริการ (People) เช่น ในการพัฒนาและการปฏิบัติในเรื่องทรัพยากรมนุษย์ เกี่ยวกับการจัดโปรแกรมการฝึกอบรม (Programmer of Retraining) และการเพิ่มพูนทักษะที่หลากหลาย ( (Multi-Skilling) การทํางานเป็นทีม (Team-Based Work Arrangements)

4) เรื่องเกี่ยวกับโครงสร้างการบริหารงาน (Administrative Structures) เช่น  การปรับปรุงโครงสร้างการทํางาน และการกําหนดความสัมพันธ์ของอํานาจหน้าที่ในองค์การใหม่ การจัดการ ความเป็นเลิศ (Best Practice Management)

kinicki and Kreitner ได้กล่าวไว้ในหนังสือ Organizational Behavior : Key Concepts, Skills & Best Practices (2008) ว่า ปัจจัยที่เป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (Forces for Change) ในองค์การ ต่าง ๆ มาจากปัจจัย 2 ประการ คือ

1 ปัจจัยภายนอกองค์การ (External Forces) เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการผลิตและบริการ ซึ่งมี 4 ปัจจัยสําคัญ คือ

1) ลักษณะของประชากร (Demographic Characteristics) เนื่องจากปัจเจกบุคคล มีลักษณะที่แตกต่างกัน องค์การต่าง ๆ จึงต้องมีระบบการจัดการที่หลากหลายอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อตอบสนอง ความต้องการของบุคลากร รวมทั้งทําให้บุคลากรเกิดความผูกพันต่อองค์การ นอกจากนี้สิ่งท้าทายขององค์การ คือ จะต้องกระตุ้นให้บุคลากรได้ใช้ศักยภาพที่เขามีให้เป็นประโยชน์ต่อองค์การมากที่สุด

2) ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี (Technological Advancements) องค์การ ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์การภาครัฐหรือองค์การภาคเอกชนล้วนแล้วแต่ต้องการใช้เทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงผลผลิต และการแข่งขันให้บริการกับลูกค้า

3) การเปลี่ยนแปลงลูกค้าและการตลาด (Customer and Market Changes) เนื่องจากลูกค้ามีความต้องการที่หลากหลายและต้องการสินค้าที่มีคุณภาพ รวมทั้งการแข่งขันที่มีมากขึ้น จึงทําให้ องค์การต่าง ๆ ต้องปรับกลยุทธ์ในการผลิตสินค้าและบริการให้มีคุณภาพ

4) แรงกดดันทางด้านสังคมและการเมือง เป็นปัจจัยที่มาจากเหตุการณ์ทางด้านสังคม และการเมือง เช่น กรณีปัญหาการทุจริตด้านการเงินในบริษัทใหญ่ ๆ ส่งผลให้องค์การนั้นมีปัญหาจนต้องปิดกิจการ นอกจากนี้เหตุการณ์การเมือง เช่น การเกิดสงครามทําให้ส่งผลกระทบต่อการผลิตสินค้าและบริการ

2 ปัจจัยภายในองค์การ (Internal Forces) เช่น ความพึงพอใจในการทํางานต่ำ ผลผลิตตกต่ำ การเข้าออกจากงานสูง มีปัญหาความขัดแย้งมาก ซึ่งโดยทั่วไปปัจจัยภายในองค์การที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง มักจะมาจากปัญหาทรัพยากรมนุษย์และพฤติกรรมทางการบริหาร

ตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในองค์การภาครัฐ

มหาวิทยาลัยรามคําแหง เป็นสถาบันการศึกษาของรัฐซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยรามคําแหง พ.ศ. 2514 โดยมีจุดมุ่งหมายให้เป็นสถาบันการศึกษาแบบตลาดวิชา เพื่อแก้ไขปัญหา การขาดแคลนสถานที่เรียนในระดับอุดมศึกษา จึงทําให้มหาวิทยาลัยรามคําแหงเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ตั้งขึ้นมา เพื่อขยายโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาให้กับประชาชนชาวไทย ซึ่งเป็นปรัชญาการดําเนินงาน ที่มหาวิทยาลัยยึดมั่นตลอดมานับตั้งแต่เปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในปี พ.ศ. 2514 จนถึงปัจจุบัน

มหาวิทยาลัยรามคําแหงรับนักศึกษาโดยไม่มีการสอบคัดเลือกและรับโดยไม่จํากัดจํานวน จึงทําให้มีนักศึกษาจํานวนมากจนสถานที่เรียนที่หัวหมากไม่เพียงพอ มหาวิทยาลัยรามคําแหงจึงได้เปิดวิทยาเขต รามคําแหง 2 หรือวิทยาเขตบางนาในปี พ.ศ. 2527 เพื่อใช้เป็นสถานที่เรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มาจนถึงปัจจุบัน

มหาวิทยาลัยรามคําแหงได้ปฏิบัติภารกิจหลักทั้ง 4 ประการของสถาบันอุดมศึกษา คือ ผลิต บัณฑิต การวิจัย การให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และการทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2543 มหาวิทยาลัยรามคําแหงได้เพิ่มภารกิจที่ 5 คือ “มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม” โดยมีความเชื่อว่า การเรียนรู้ ด้านคุณธรรมจะช่วยปลูกฝังรากฐานอันดีงามของจิตใจ และช่วยเสริมคุณค่าให้นักศึกษาและบัณฑิตของ มหาวิทยาลัยรามคําแหงได้อย่างมีคุณภาพและสอดคล้องกับความต้องการของสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงตาม กระแสโลกาภิวัตน์อย่างรวดเร็ว ดังนั้นมหาวิทยาลัยรามคําแหงจึงได้กําหนดนโยบายการจัดการเรียนการสอนวิชา “ความรู้คู่คุณธรรม” ในทุกระดับการศึกษา โดยกําหนดให้เป็นวิชาบังคับในหลักสูตรและไม่เก็บค่าหน่วยกิตเพื่อ เป็นการเพิ่มพูนความรู้ด้านคุณธรรมและปลูกฝังจิตสํานึกให้นักศึกษานําไปประพฤติปฏิบัติ สําเร็จการศึกษาเป็น บัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม เป็นผู้ซึ่งรู้จักยึดหลักคุณธรรมและจริยธรรมนําชีวิต พร้อมอุทิศตนเพื่อประเทศชาติ ช่วยกันพัฒนาสังคมให้เข้มแข็งและมีคุณภาพ ซึ่งจะช่วยนําพาประเทศชาติให้ก้าวไปข้างหน้าด้วยความเจริญอย่าง มั่นคงต่อไป

นอกจากนี้มหาวิทยาลัยรามคําแหงยังมีนโยบายขยายโอกาสการศึกษาสู่ภูมิภาค ให้คนไทย ทุกคนสามารถสมัครเข้าศึกษาในภูมิภาคของตนได้ โดยไม่ต้องไปศึกษาหรือสอบที่มหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็น นโยบายจัดการศึกษาในลักษณะที่เรียกว่า “เรียนใกล้บ้านสอบใกล้บ้าน” จึงได้จัดตั้งสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ ส่วนภูมิภาคตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 เป็นต้นมา และในปี พ.ศ. 2546 ได้ขยายการเรียนการสอนสู่ต่างประเทศ โดยจัดตั้ง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติต่างประเทศ เพื่อให้โอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาแก่ปวงชนชาวไทย ในต่างประเทศทั่วโลก ซึ่งเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศด้วยการตระหนักถึง ประโยชน์ต่อส่วนรวมและประเทศชาติเป็นสําคัญ โดยยึดหลักที่ว่า “การศึกษาสร้างคน และคนสร้างชาติ”

 

ในปี พ.ศ. 2555 มหาวิทยาลัยรามคําแหงโดยความคิดริเริ่มของผู้ช่วยศาสตราจารย์วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ อธิการบดี ได้มีนโยบายปรับระบบการวัดและประเมินผลของนักศึกษาจากเดิมระบบ G, P และ F เป็นระบบใหม่ A, B, C, และ D ตั้งแต่ภาค 1 ปีการศึกษา 2555 เป็นต้นไป ซึ่งเป็นการพัฒนาระบบการวัดและ ประเมินผลของมหาวิทยาลัยรามคําแหงไปสู่มาตรฐานสากลที่สอดคล้องกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ

นอกจากนี้เพื่อให้สอดคล้องกับกระแสโลกาภิวัตน์ มหาวิทยาลัยรามคําแหงได้ปรับระบบบริการ ให้เป็นแบบ Super Service เช่น การรับสมัครนักศึกษาระดับปริญญาตรีโดยนําระบบ One Stop Service มาใช้ใน การรับสมัคร อีกทั้งนําเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อรองรับการจัดการศึกษาแบบสมัยใหม่ และอํานวยความสะดวกแก่ผู้เรียน เช่น e-Book และ e-Testing รวมทั้งให้บริการทางอินเทอร์เน็ตแก่นักศึกษา โดย มีเว็บไซต์ เช่น

ww.ru.ac.th เป็นเว็บไซต์หลักที่มีรายละเอียดข้อมูลต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง

– www.ram.edu เป็นเว็บไซต์เกี่ยวกับ e-Learning ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง

– www.e-ru.tv เป็นเว็บไซต์เกี่ยวกับสถานีวิทยุและโทรทัศน์ของมหาวิทยาลัยรามคําแหงรวมทั้งเป็นเว็บไซต์สําหรับถ่ายทอดสดการประชุม สัมมนา และการบรรยายพิเศษ

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยรามคําแหงได้เตรียมความพร้อมเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนจึงได้ปรับตัว สร้างวิสัยทัศน์ และเร่งพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เทียบเท่านานาประเทศ เน้นการสร้างคน สร้างนักศึกษาและผลิต บัณฑิตที่มีคุณภาพระดับสากล นอกจากนี้ยังได้กระตุ้นให้บุคลากรและนักศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคําแหง ตระหนักในการที่ประเทศไทยจะต้องเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียน และเตรียมความพร้อมด้านภาษาโดยเฉพาะ ภาษาอังกฤษที่จะต้องใช้สื่อสารในการทํางาน รวมทั้งต้องเรียนรู้ภาษาของกลุ่มประเทศอาเซียน จึงจัดฝึกอบรม หลักสูตรภาษาต่าง ๆ แก่บุคลากรและนักศึกษา และให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนผ่านสื่อต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง

 

ข้อ 2 คําว่า “กลยุทธ์” (Strategy) และคําว่า “ยุทธศาสตร์” มีความแตกต่างกันหรือไม่ จงอธิบายการนําแนวคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์มาใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินไทยในปีใด และขั้นตอนการกําหนด กลยุทธ์มีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง จงอธิบายและยกตัวอย่างการใช้เทคนิค SWOT มาวิเคราะห์องค์การของหน่วยงานภาครัฐที่ใดที่หนึ่ง

แนวคําตอบ

คําว่า Strategy มาจากคําว่า “Strategos” ในภาษากรีก โดยเกิดจากศัพท์ 2 คํา คือ “Stratos” หมายถึง Army หรือ กองทัพ และ Agein หมายถึง Lead หรือ นําหน้า โดยเมื่อนําศัพท์ 2 คํานี้มารวมกันจะหมายถึง การนํากองทัพ หรือยุทธวิธีหลักในการรบเพื่อเอาชนะศัตรู

คําว่า Strategy ในภาษาไทยใช้คําว่า กลยุทธ์หรือยุทธศาสตร์ ดังนั้นคําว่า กลยุทธ์หรือยุทธศาสตร์ จึงเป็นคํา ๆ เดียวกันและมีความหมายเหมือนกัน

แนวคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์ได้ถูกกล่าวถึงมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 สําหรับประเทศไทยได้นํา แนวคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์มาใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินไทยเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2545 ในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เช่น การนําแนวคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์มาประยุกต์ใช้ในการจัดทําแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย พ.ศ. 2546 – 2550 การปรับเปลี่ยนระบบงบประมาณมาเป็นระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้น ผลสัมฤทธิ์ตามยุทธศาสตร์ การให้หน่วยงานภาครัฐทุกกระทรวงจัดทํายุทธศาสตร์ระดับกระทรวง ระดับกรม เป็นต้น

ขั้นตอนการกําหนดกลยุทธ์ มี 7 ขั้นตอน คือ

1 การนิยามธุรกิจ (Define The Business) เป็นการกําหนดความหมายของธุรกิจ ได้แก่

1 ภาษา การกําหนดภารกิจ (Mission) วิสัยทัศน์ (Vision) ปรัชญา (Philosophy) ค่านิยม (Values) และเป้าหมาย (Goals) ขององค์การ เพื่อให้การดําเนินงานตอบสนองความต้องการของลูกค้า

2 การวิเคราะห์จุดแข็ง (Strengths) และจุดอ่อน (Weakness) ขององค์การ เป็นการ วิเคราะห์ว่าองค์การมีจุดแข็งอะไรบ้างที่องค์การสามารถทําได้ดี มีความชํานาญ มีคุณภาพ มีชื่อเสียง เป็นต้น ในขณะเดียวกันก็ต้องวิเคราะห์ว่าองค์การมีจุดอ่อน/จุดด้อย/ข้อบกพร่องอะไรบ้างเพื่อจะได้ปรับปรุงแก้ไข

3 การวิเคราะห์โอกาส (Opportunities) และอุปสรรค (Threats) ขององค์การ เป็นการ วิเคราะห์สถานการณ์ต่าง ๆ ที่เป็นโอกาสให้องค์การสามารถพัฒนา/เติบโต/ขยายกิจการได้ และมีอุปสรรค/ข้อจํากัด อะไรบ้างที่อาจทําให้องค์การสามารถทํางานได้ เช่น กฎหมาย กฎระเบียบ สถานที่ตั้ง เป็นต้น

4 การนิยามประเด็นปัญหาหลักและประเด็นทางกลยุทธ์ เป็นการหยิบยกปัญหาที่เกิดขึ้น ในองค์การมาพิจารณา เช่น บุคลากรมาทํางานสาย ขาดความสามัคคี ได้รับคําตําหนิจากลูกค้า เป็นต้น ว่าปัญหา ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง และจะแก้ไขปัญหานั้นอย่างไร ซึ่งเทคนิคที่ใช้วิเคราะห์ปัญหาอาจจะใช้ แผนภูมิก้างปลา (Fishbone Diagram) แผนภูมิพาเรโต้ (Pareto Diagram) เป็นต้น และจะต้องวิเคราะห์ต่อไป ว่าเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในระดับใดขององค์การ เป็นปัญหาทางเทคนิค หรือเป็นปัญหาการนํากลยุทธ์ไปปฏิบัติ

5 การระบุกลยุทธ์ทางเลือกและคัดเลือกกลยุทธ์ เป็นการวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของแต่ละ กลยุทธ์แล้วทําการคัดเลือกกลยุทธ์ใดกลยุทธ์หนึ่ง ซึ่งในการคัดเลือกกลยุทธ์อาจพิจารณาจากหลายหลักเกณฑ์ เช่น ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับลูกค้า ความเป็นไปได้ในการนํากลยุทธ์ไปปฏิบัติ และความสอดคล้องกับแผนใน ระดับต่าง ๆ เป็นต้น

6 การบริหารกลยุทธ์ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สําคัญ เนื่องจากเป็นการนํากลยุทธ์ไปปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของกลยุทธ์นั้น ทั้งนี้ความสําเร็จของการบริหารกลยุทธ์ย่อมขึ้นอยู่กับ ค่านิยมในการทํางานและการให้ความร่วมมือของบุคลากรในองค์การเป็นสําคัญ

7 การประเมินผลกลยุทธ์ เมื่อมีการนํากลยุทธ์ไปปฏิบัติแล้ว จําเป็นต้องมีการประเมินผล กลยุทธ์นั้นว่าประสบความสําเร็จมากน้อยเพียงใด มีปัญหาอะไรบ้างเพื่อนําผลการประเมินไปปรับปรุงต่อไป

การใช้เทคนิค SWOT ในการวิเคราะห์องค์การ ก่อนที่องค์การต่าง ๆ จะกําหนดกลยุทธ์จําเป็นต้องมีการวิเคราะห์องค์การโดยใช้เทคนิค SWOT เพื่อให้ทราบจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคขององค์การก่อน ซึ่งคําว่า SWOT ประกอบด้วย

1 S = Strengths คือ จุดแข็งขององค์การ เป็นการพิจารณาจุดแข็งของทรัพยากรภายใน องค์การหรือระบบย่อยขององค์การ เช่น อํานาจหน้าที่ เป้าประสงค์ จุดมุ่งหมาย โครงสร้าง บุคลากร ความรู้และข้อมูล ข่าวสาร เทคโนโลยี เป็นต้น ว่ามีอะไรบ้างที่จะนํามาใช้ในการดําเนินงานขององค์การในการปฏิบัติการตามกลยุทธ์

2 W = Weakness คือ จุดอ่อนขององค์การ เป็นการพิจารณาอํานาจหน้าที่ เป้าประสงค์ จุดมุ่งหมาย โครงสร้าง บุคลากร ความรู้และข้อมูลข่าวสาร และเทคโนโลยีภายในองค์การว่ามีจุดอ่อนอย่างไร เพื่อที่จะได้ปรับปรุงแก้ไขให้เป็นจุดแข็ง และนํามาใช้เป็นประโยชน์แก่องค์การ

3 O = Opportunities คือ โอกาสที่จะทําให้เกิดความได้เปรียบแก่องค์การ เป็นการ พิจารณาดูว่ามีปัจจัยภายนอกองค์การใดที่จะนํามาเป็นประโยชน์ในการดําเนินงานขององค์การได้บ้าง ซึ่งแบ่งออกเป็น

1) สิ่งแวดล้อมของงาน ได้แก่ ลูกค้า คู่แข่ง ผู้ผลิต แรงงาน กฎระเบียบหรือหน่วยงานที่ควบคุม

2) สิ่งแวดล้อมทั่วไป ได้แก่ การเมือง กฎหมาย เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และต่างประเทศ

4 Is Threats คือ อุปสรรคหรืออันตรายที่จะทําให้เกิดหายนะแก่องค์การ เป็นการ พิจารณาสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ ได้แก่ สิ่งแวดล้อมของงานและสิ่งแวดล้อมทั่วไปที่ทําให้เกิดอันตรายหรือ หายนะต่อการดําเนินงานขององค์การ ทั้งนี้การวิเคราะห์องค์การโดยใช้เทคนิค SWOT

ตัวอย่างของการใช้เทคนิค SWOT ในการวิเคราะห์องค์การ เช่น

การใช้เทคนิค SWOT ในการวิเคราะห์กรุงเทพมหานคร (กทม.) เพื่อนําไปใช้กําหนดกลยุทธ์ การพัฒนาการท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร

จุดแข็งของ กทม. คือ

1 มีบุคลากรที่มีคุณภาพและมีอํานาจมากพอสมควร ทําให้สามารถนํามาใช้ดําเนินงานในโครงการได้

2 มีงบประมาณอยู่พอสมควรในการนํามาใช้ดําเนินงาน

3 มีสถานีวิทยุของตนเองสามารถที่จะประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนหันมาสนใจท่องเที่ยวใน กทม. ได้

4 มีสํานักงานเขต 50 เขต แต่ละเขตมีบุคลากรและเครื่องมือพร้อมในการทํางาน

5 มีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และเครือข่ายการสื่อสาร ซึ่งสามารถนํามาเป็นประโยชน์ในการประชาสัมพันธ์และการบริหารงานโครงการได้เป็นอย่างดี

6 คณะผู้บริหาร กทม. มีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์ และได้รับการยอมรับจากประชาชนสูง จุดอ่อนของ กทม. คือ

1 บุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะมาดําเนินการท่องเที่ยวยังมีน้อย

2 ฝ่ายบริหารระดับสูงมิได้จัดนโยบายการพัฒนาการท่องเที่ยวว่าเป็นนโยบายสําคัญ ทําให้ไม่ได้ลงมากําชับและระดมทรัพยากรต่าง ๆ ให้นโยบายนี้มีผลสําเร็จในระดับสูง

โอกาสของ กทม. คือ

1 หน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐได้หันมาประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวใน กทม. มากขึ้น ทําให้ประชาชนตระหนักถึงความสําคัญของการท่องเที่ยวใน กทม. มากขึ้น

2 ประชากรที่อยู่อาศัยใน กทม. มีประมาณ 6 ล้านคน รวมกับประชากรบริเวณปริมณฑลประมาณ 4 ล้านคน และเป็นกลุ่มคนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจที่สามารถจะมาท่องเที่ยวใน กทม. ได้เป็นจํานวนมาก

3 มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจเป็นจํานวนมาก ที่จะสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้  เช่น พระบรมมหาราชวัง วัดพระแก้ว วัดอรุณราชวราราม วัดเบญจมบพิตร เป็นต้น

4 เป็นแหล่งที่ตั้งของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ซึ่ง กทม. จะสามารถขอความร่วมมือมาพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวได้

5 มีสถานีวิทยุและโทรทัศน์ของส่วนราชการต่าง ๆ มาก ซึ่ง กทม. จะสามารถใช้วิทยุประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวใน กทม. ได้

6 เป็นที่ตั้งของที่ทําการหนังสือพิมพ์และวารสารต่าง ๆ ซึ่งสามารถขอความร่วมมือจากหนังสือพิมพ์และวารสารเป็นสื่อประชาสัมพันธ์ในการท่องเที่ยวได้

อุปสรรคของ กทม. คือ

1 ในปัจจุบันสภาวะเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้น แต่ยังมีสภาวะทางเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนอยู่ เช่น น้ำมันยังราคาแพง กําลังซื้อของประชาชนลดลง ทําให้ประชาชนจะท่องเที่ยวน้อยลง เพราะประชาชนจะเก็บเงินไว้ใช้จ่ายในเรื่องจําเป็น หรือจะเก็บไว้ออมมากกว่าจะนํามาใช้ในการท่องเที่ยว

2 สถานที่ท่องเที่ยวที่สําคัญมิได้เป็นหน่วยงานสังกัด กทม. แต่เป็นหน่วยงานอื่น ๆ ทําให้ กทม. มิได้มีบทบาทในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเหล่านั้น กทม. ต้องขอความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น

 

ข้อ 3 ปัจจัยอะไรบ้างที่ทําให้สถาบันอุดมศึกษาต้องนําระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเข้ามาใช้ ระบบการประกันคุณภาพการศึกษามีกระบบ อะไรบ้าง จงอธิบาย และหลักการประเมินคุณภาพภายนอกมีหลักการอะไรบ้าง มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมอะไรบ้าง

แนวคําตอบ

ปัจจัยที่ทําให้สถาบันอุดมศึกษาต้องนําระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเข้ามาใช้เนื่องจากปัจจุบันมีปัจจัยสภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในองค์การหลายประการที่ทําให้ สถาบันอุดมศึกษาจําเป็นต้องนําระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเข้ามาใช้ ซึ่งปัจจัยที่สําคัญมีดังนี้

1 ความแตกต่างด้านคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษา

2 ความท้าทายของปัจจัยโลกาภิวัตน์ที่มีต่อการอุดมศึกษา ทําให้การศึกษาไร้พรมแดน

3 สถาบันอุดมศึกษามีความจําเป็นที่จะต้องสร้างความมั่นใจแก่สังคมว่าสามารถพัฒนา องค์ความรู้และผลิตบัณฑิตตอบสนองต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง ขีดความสามารถในการแข่งขันระดับสากล การพัฒนาภาคการผลิตจริงทั้งอุตสาหกรรมและบริการ การพัฒนาอาชีพ คุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ระดับท้องถิ่นและชุมชน

4 สถาบันอุดมศึกษาจะต้องให้ข้อมูลสาธารณะ (Public Information) ที่เป็นประโยชน์ ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งนักศึกษา ผู้จ้างงาน ผู้ปกครอง รัฐบาล และประชาชนทั่วไป

5 สังคมต้องการระบบอุดมศึกษาที่เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วม (Participation) มีความโปร่งใส (Transparency) และมีความรับผิดชอบสามารถตรวจสอบได้ (Accountability) ตามหลักธรรมาภิบาล

6 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 กําหนดให้สถานศึกษาทุกแห่งจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายใน รวมถึงให้มีสํานักงานรับรองมาตรฐานและ ประเมินคุณภาพการศึกษาทําหน้าที่ประเมินคุณภาพภายนอก โดยการประเมินผลการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

7 คณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ประกาศใช้มาตรฐานการอุดมศึกษาเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2549 เพื่อเป็นกลไกกํากับระดับมาตรฐานระดับกระทรวง ระดับคณะกรรมการการอุดมศึกษา และระดับ หน่วยงาน โดยทุกหน่วยงานระดับอุดมศึกษาจะได้ใช้เป็นกรอบดําเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา

8 กระทรวงศึกษาธิการได้มีประกาศกระทรวงเรื่องมาตรฐานสถาบันอุดมศึกษาเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เพื่อเป็นกลไกส่งเสริมและกํากับให้สถาบันอุดมศึกษาจัดการศึกษาให้มีมาตรฐานตาม ประเภทหรือกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา 4 กลุ่ม

9 กระทรวงศึกษาธิการได้มีประกาศกระทรวงเรื่องกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา แห่งชาติเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ประกาศแนวทางการปฏิบัติตาม กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เพื่อให้การจัดการศึกษา ระดับอุดมศึกษาเป็นไปตามมาตรฐานการอุดมศึกษาและเพื่อการประกันคุณภาพของบัณฑิตในแต่ละระดับคุณวุฒิ และสาขาวิชา

ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ได้กําหนด ให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษา 2 ระบบ คือ

1 ระบบการประกันคุณภาพภายใน เป็นการประเมินการดําเนินงานของสถานศึกษาโดย บุคลากรของสถานศึกษานั้น ๆ และให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษา ที่ต้องดําเนินการอย่างต่อเนื่อง มีการจัดทํารายงานประจําปี รายงานประเมินคุณภาพภายในเสนอสภาสถาบัน หน่วยงานต้นสังกัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเผยแพร่ต่อสาธารณะ

2 ระบบการประกันคุณภาพภายนอก เป็นการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาโดย หน่วยงานภายนอก คือ สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ซึ่งจะทําการประเมิน อย่างน้อย 1 ครั้งในทุกรอบ 5 ปี

หลักการประเมินคุณภาพภายนอก

สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาได้กําหนดหลักการประเมินคุณภาพ ภายนอกไว้ดังนี้

1 เป็นการประเมินการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ไม่ใช่เป็นการประเมินเพื่อจับผิด หรือ การให้คุณให้โทษ

2 ยึดหลักความเที่ยงตรง เป็นธรรม โปร่งใส มีหลักฐานข้อมูลตามสภาพความเป็นจริง (Evidence-Based) และมีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ (Accountability)

3 มุ่งเน้นการประเมินแบบกัลยาณมิตร

4 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการประเมินคุณภาพและการพัฒนาการจัดการศึกษาจาก ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

5 มุ่งสร้างความสมดุลระหว่างเสรีภาพทางการศึกษากับจุดมุ่งหมายและหลักการศึกษา ของชาติตามที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ให้เอกภาพเชิงนโยบาย แต่ยังคงมี ความหลากหลายในทางปฏิบัติ โดยสถาบันสามารถกําหนดเป้าหมายเฉพาะและพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เต็ม ตามศักยภาพของสถาบันและผู้เรียน

 

ข้อ 4 วัฒนธรรมองค์การ (Organizational Culture) คืออะไร ระดับของวัฒนธรรมองค์การมีกระดับอะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมกับยกตัวอย่างประกอบในแต่ละระดับ

แนวคําตอบ

ความหมายของวัฒนธรรมองค์การ (Organizational Culture)

Handy อธิบายว่า วัฒนธรรมองค์การ เป็นรูปแบบหรือโมเดลที่เป็นสัญลักษณ์เกี่ยวกับวิธีคิด และการเรียนรู้ของบุคคลซึ่งใช้เป็นแนวทางในการบริหารและการปฏิบัติงานในองค์การ ทั้งนี้ได้นําเทพเจ้าของ ชาวกรีก 4 องค์ ได้แก่ เทพเจ้าซีอุส เทพเจ้าอพอลโล เทพสตรีอาธีน่า และเทพเจ้าดิโอนีซุส มาอธิบายวัฒนธรรม องค์การที่แตกต่างกัน

Schein อธิบายว่า วัฒนธรรมองค์การ หมายถึง รูปแบบของสมมุติฐาน (Basic Assumptions) เกี่ยวกับวิธีการมอง การคิด และการสร้างความรู้สึกที่ดีที่ถูกต้องของบุคลากรในองค์การที่ได้สั่งสมมาในอดีตจาก ประสบการณ์ที่ได้มาจากการแก้ปัญหา การปรับตัวขององค์การต่อสภาพแวดล้อมภายนอก อีกทั้งการสร้างความเป็น อันหนึ่งอันเดียวกันภายในองค์การและการถ่ายทอดให้กับสมาชิกใหม่ในองค์การ

Robbins อธิบายว่า วัฒนธรรมองค์การ เป็นเรื่องเกี่ยวกับความเข้าใจร่วมกันและความเชื่อของ สมาชิกในองค์การที่แสดงออกต่อบุคคลอื่น ซึ่งมีอิทธิพลต่อพฤติกรรม ในแต่ละองค์การจะแสดงออกมาในลักษณะ ที่เป็นค่านิยม สัญลักษณ์ พิธีกรรม ตํานาน และการปฏิบัติ

พิทยา บวรวัฒนา ให้ความหมายว่า วัฒนธรรมองค์การ หมายถึง ความเข้าใจร่วมกัน (Shared Meaning) ของบุคลากรในองค์การเกี่ยวกับการประพฤติปฏิบัติซึ่งได้รับถ่ายทอดกันมาเป็นเวลานาน และแสดงออกมา ในลักษณะเป็นความเชื่อ (Beliefs) สัญลักษณ์ (Symbols) พิธีการ (Rituals) นิทาน (Myths) การเล่าเรื่อง และ แนวทางการปฏิบัติ

ติน ปรัชญพฤทธิ์ อธิบายว่า วัฒนธรรมองค์การ หมายถึง ชุดของค่านิยม ความเชื่อ และ ความเข้าใจที่บุคลากรขององค์การนั้นมีอยู่ร่วมกัน ซึ่ง Culture มาจาก “Cultura” แปลว่า เพาะปลูก เช่น เกษตรกร เพาะปลูกข้าว ส่วนนักมานุษยวิทยาจะเพาะปลูก 4 สิ่งด้วยกัน คือ ทัศนคติ (Attitude) ค่านิยม (Value) ความเชื่อ (Belief) และสิ่งประดิษฐ์คิดค้นต่าง ๆ (Artifacts) หรือวัฒนธรรมทางกายภาพ

สรุป วัฒนธรรมองค์การ หมายถึง แนวทางการประพฤติปฏิบัติของบุคลากรในแต่ละองค์การที่ ได้รับการปลูกฝังและถ่ายทอดกันมาอย่างต่อเนื่อง โดยแสดงออกมาในลักษณะของค่านิยม ความเชื่อ สัญลักษณ์ พิธีการ นิทาน และการเล่าเรื่อง เป็นต้น ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าวัฒนธรรมองค์การสะท้อนให้เห็นถึงภาพรวมหรือ บุคลิกลักษณะเฉพาะขององค์การนั้น ๆ

ระดับของวัฒนธรรมองค์การ Schein ได้แบ่งระดับวัฒนธรรมองค์การออกเป็น 3 ระดับ คือ

1 วัฒนธรรมทางกายภาพ (Artifacts) เป็นระดับวัฒนธรรมองค์การที่บุคคลสามารถมองเห็น ได้ยินและรู้สึกได้ทันทีเมื่อเข้าไปในแต่ละองค์การ นอกจากนี้แล้วยังรวมถึงผลิตภัณฑ์ บริการ และพฤติกรรมของ สมาชิก โดยวัฒนธรรมทางกายภาพแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1) ประเภทวัตถุ เช่น ศิลปะต่าง ๆ โลโก้ของหน่วยงาน รูปทรงหรือการออกแบบตึก เฟอร์นิเจอร์ เครื่องแต่งกาย เป็นต้น

2) ประเภทพฤติกรรม เช่น พิธีกรรมต่าง ๆ รูปแบบการติดต่อสื่อสาร ประเพณี การให้รางวัล หรือการลงโทษพนักงาน เป็นต้น

3) ประเภทภาษา เช่น เรื่องเล่าเกี่ยวกับความยากลําบากในการก่อตั้งองค์การ เรื่องตลกในหน่วยงาน ชื่อจริงหรือชื่อเล่นที่ใช้เรียกในที่ทํางาน คําศัพท์เฉพาะที่ใช้กันในหน่วยงาน คําอธิบาย เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ อุปมาอุปมัย หรือคําขวัญที่มักใช้กันในองค์การ เป็นต้น

2 ค่านิยม (Espoused Values) เป็นสิ่งที่บอกว่าสิ่งใดมีคุณค่าหรือสิ่งใดควรกระทํา ค่านิยม เป็นเป้าหมายและมาตรฐานของสังคมที่สมาชิกในองค์การควรเอาใจใส่ เช่น การทํางานให้มีคุณภาพ มีความรับผิดชอบ และมีความโปร่งใส เป็นต้น . .

3 ฐานคติ (Basic Underlying Assumption) เป็นสิ่งที่สมาชิกในองค์การมีความเชื่อว่า สิ่งนั้นเป็นจริง เป็นวิธีที่ถูกต้องในการทําสิ่งนั้น (The right way to do things) เช่น มาตรฐานการทํางาน วิธีการ ทํางานที่คิดว่ามีประสิทธิภาพ เป็นต้น

 

POL4321 การบริหารร่วมสมัย s/2559

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 4321 การบริหารร่วมสมัย

คําสั่ง ข้อสอบมี 3 ข้อ ให้นักศึกษาตอบทุกข้อ ๆ ละ 33 คะแนน

ข้อ 1 จงอธิบายความหมายของการเปลี่ยนแปลงในองค์การ (Organizational Change) ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในองค์การมีอะไรบ้าง จงอธิบายและยกตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงในมิติโครงสร้างองค์การ ระบบการทํางาน และค่านิยมขององค์การในภาครัฐมา 1 มิติ

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 54221 หน้า 78 – 82)

ความหมายของการเปลี่ยนแปลงในองค์การ (Organizational Change)

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงองค์การ หมายถึง กระบวนการสร้างการเปลี่ยนแปลงในองค์การโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาในองค์การ หรือพยายามปรับปรุงองค์การให้ก้าวหน้า โดยอาศัยการวิเคราะห์ปัญหา การวางแผนและดําเนินการสร้างวัฒนธรรมองค์การที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งกระบวนการ เปลี่ยนแปลงองค์การจะใช้เทคนิคทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ สังคมวิทยา และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เป็นต้น ทั้งนี้ผู้บริหารระดับสูงเป็นบุคคลที่มีบทบาทสําคัญในการริเริ่มการเปลี่ยนแปลง

ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงองค์การ หมายถึง การเปลี่ยนแปลง องค์การทั้งหมดหรือบางส่วนขององค์การ เช่น การออกแบบโครงสร้างองค์การใหม่ การติดตั้งระบบสารสนเทศใหม่ การเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ กลยุทธ์ การออกแบบงาน กระบวนการทํางาน เทคโนโลยี และการเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมองค์การ เป็นต้น

สภาวการณ์หรือปัจจัยที่ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์การ

สภาวการณ์หรือปัจจัยที่ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์การสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ใหญ่ ๆ คือ ปัจจัยภายนอกองค์การ และปัจจัยภายในองค์การ ดังข้อเสนอของนักวิชาการต่อไปนี้

Patrick Dawson ได้กล่าวไว้ในหนังสือ Understanding Organizational Change (2003) ว่า ประเภทของสิ่งกระตุ้นที่นําไปสู่การเปลี่ยนแปลงในองค์การมี 2 ปัจจัย คือ

1 ปัจจัยภายนอกองค์การ ประกอบด้วย 6 ปัจจัย คือ

1) กฎหมายและกฎระเบียบของรัฐบาล เช่น นโยบายระดับชาติ ข้อตกลงระดับโลกเกี่ยวกับมลภาวะและสิ่งแวดล้อม ข้อตกลงเกี่ยวกับภาษีและการค้า

2) กระแสโลกาภิวัตน์ของการตลาดและการค้าระหว่างประเทศ เช่น แรงกดดันจาก ภาวะการแข่งขันทั้งจากตลาดภายในและต่างประเทศ

3) เหตุการณ์สําคัญทางการเมืองและสังคม เช่น การเกิดวินาศกรรมที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001

4) ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี เช่น องค์การต่าง ๆ ได้นําเทคโนโลยีชั้นสูงมาใช้ในการผลิตสินค้า

5) ความเจริญเติบโตและการขยายตัวขององค์การ เช่น องค์การมีขนาดใหญ่ขึ้น มีความซับซ้อนมากขึ้น จึงจําเป็นต้องพัฒนากลไกการประสานงานให้มีความเหมาะสม

6) การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ เช่น การเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากความผันแปรของภาวะเศรษฐกิจ

2 ปัจจัยภายในองค์การ ประกอบด้วย 4 ปัจจัย คือ

1) เรื่องของเทคโนโลยี เช่น การประชุมผ่าน Video-Conferencing การนําคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานบัญชีและระบบสารสนเทศ

2) เรื่องเกี่ยวกับงานโดยตรง เช่น การเปลี่ยนแปลงระบบการผลิตหรือการบริการ

3) เรื่องเกี่ยวกับผู้รับบริการ เช่น ในการพัฒนาและการปฏิบัติในเรื่องทรัพยากรมนุษย์ เกี่ยวกับการจัดโปรแกรมการฝึกอบรมและการเพิ่มพูนทักษะที่หลากหลายการทํางานเป็นทีม

4) เรื่องเกี่ยวกับโครงสร้างการบริหารงาน เช่น การปรับปรุงโครงสร้างการทํางานและการกําหนดความสัมพันธ์ของอํานาจหน้าที่ในองค์การใหม่

Kinicki and Kreitner ได้กล่าวไว้ในหนังสือ Organizational Behavior : Key Concepts, Skills & Best Practices (2008) ว่าปัจจัยที่เป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์การต่าง ๆ มาจากปัจจัย 2 ประการ คือ

1 ปัจจัยภายนอกองค์การ เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการผลิตและบริการ ซึ่งมี 4 ปัจจัยสําคัญ คือ

1) ลักษณะของประชากร เนื่องจากปัจเจกบุคคลมีลักษณะที่แตกต่างกัน องค์การ ต่าง ๆ จึงต้องมีระบบการจัดการที่หลากหลายอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของบุคลากร รวมทั้ง ทําให้บุคลากรเกิดความผูกพันต่อองค์การ นอกจากนี้สิ่งท้าทายขององค์การ คือ จะต้องกระตุ้นให้บุคลากรได้ใช้ ศักยภาพที่เขามีให้เป็นประโยชน์ต่อองค์การมากที่สุด

2) ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี องค์การต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์การภาครัฐหรือ องค์การภาคเอกชนล้วนแล้วแต่ต้องการใช้เทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงผลผลิตและการแข่งขันให้บริการกับลูกค้า

3) การเปลี่ยนแปลงลูกค้าและการตลาด เนื่องจากลูกค้ามีความต้องการที่หลากหลาย และต้องการสินค้าที่มีคุณภาพ รวมทั้งการแข่งขันที่มีมากขึ้น จึงทําให้องค์การต่าง ๆ ต้องปรับกลยุทธ์ในการผลิตสินค้า และบริการให้มีคุณภาพ

4) แรงกดดันทางด้านสังคมและการเมือง เป็นปัจจัยที่มาจากเหตุการณ์ทางด้าน สังคมและการเมือง เช่น กรณีปัญหาการทุจริตด้านการเงินในบริษัทใหญ่ ๆ ส่งผลให้องค์การนั้นมีปัญหาจนต้อง ปิดกิจการ นอกจากนี้เหตุการณ์การเมือง เช่น การเกิดสงครามทําให้ส่งผลกระทบต่อการผลิตสินค้าและบริการ

2 ปัจจัยภายในองค์การ เช่น ความพึงพอใจในการทํางานต่ำ ผลผลิตตกต่ำ การเข้าออก จากงานสูง มีปัญหาความขัดแย้งมาก ซึ่งโดยทั่วไปปัจจัยภายในองค์การที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมักจะมาจาก ปัญหาทรัพยากรมนุษย์และพฤติกรรมทางการบริหาร

ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงในองค์การภาครัฐด้านวัฒนธรรมองค์การ

แต่เดิมนั้นองค์การภาครัฐต่าง ๆ ไม่ได้กําหนดวัฒนธรรมองค์การไว้ แต่ในปัจจุบันมีหลายองค์การ ที่ได้กําหนดวัฒนธรรมองค์การหรือค่านิยมเพื่อให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ทุกคนปฏิบัติ ทั้งนี้เพื่อให้การปฏิบัติงาน ราชการบรรลุเป้าหมาย ซึ่งมีตัวอย่างดังนี้

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง ได้กําหนดวัฒนธรรมองค์การไว้ 6 ประการ ซึ่งเรียกว่า “POISCI” ประกอบด้วย

1 P = Positive Thinking คือ การคิดในทางบวก

2 O = Ownership คือ ความรู้สึกเป็นเจ้าขององค์การ

3 L = Leader of Change คือ การเป็นผู้นําในการเปลี่ยนแปลง

4 S = Service Mind คือ การมุ่งมั่นที่จะให้บริการที่ดี

5 C = Continuous Learning คือ การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

6 I = Integrity & Ethics คือ การมีความซื่อสัตย์และคุณธรรมจริยธรรม

มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กําหนดวัฒนธรรมองค์การไว้ 7 ประการ โดยดัดแปลงมาจากคําว่า “MAHIDOL” ประกอบด้วย

1 M = Mastery คือ เป็นนายแห่งตน

2 A = Altruism คือ มุ่งผลเพื่อผู้อื่น

3 H = Harmony คือ กลมกลืนกับสรรพสิ่ง

4 I = Integrity คือ มั่นคงยั่งยืนในคุณธรรม

5 D = Determination คือ แน่วแน่กล้าตัดสินใจ

6 0 = Originality คือ สร้างสรรค์สิ่งใหม่

7 L = Leadership คือ ใส่ใจเป็นผู้นํา

 

ข้อ 2 เหตุผลสําคัญที่ทําให้สถาบันอุดมศึกษาต้องนําระบบการประกันคุณภาพการศึกษามาใช้ การประกันคุณภาพการศึกษามีกระบบ อะไรบ้าง จงอธิบาย มหาวิทยาลัยรามคําแหงมีการประกันคุณภาพ การศึกษากระบบ อะไรบ้าง จงอธิบาย แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 54221 หน้า 117 – 123)

เหตุผลสําคัญที่ทําให้สถาบันอุดมศึกษาต้องนําระบบการประกันคุณภาพการศึกษามาใช้

1 ความแตกต่างด้านคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษา

2 ความท้าทายของปัจจัยโลกาภิวัตน์ที่มีต่อการอุดมศึกษา ทําให้การศึกษาไร้พรมแดน

3 สถาบันอุดมศึกษามีความจําเป็นที่จะต้องสร้างความมั่นใจแก่สังคมว่าสามารถพัฒนา องค์ความรู้และผลิตบัณฑิตตอบสนองต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง ขีดความสามารถในการแข่งขันระดับสากล การพัฒนาภาคการผลิตจริงทั้งอุตสาหกรรมและบริการ การพัฒนาอาชีพ คุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ระดับท้องถิ่นและชุมชน

4 สถาบันอุดมศึกษาจะต้องให้ข้อมูลสาธารณะ (Public Information) ที่เป็นประโยชน์ ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งนักศึกษา ผู้จ้างงาน ผู้ปกครอง รัฐบาล และประชาชนทั่วไป

5 สังคมต้องการระบบอุดมศึกษาที่เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วม (Participation) มีความโปร่งใส (Transparency) และมีความรับผิดชอบสามารถตรวจสอบได้ (Accountability) ตามหลักธรรมาภิบาล

6 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 กําหนดให้สถานศึกษาทุกแห่งจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายใน รวมถึงให้มีสํานักงานรับรองมาตรฐานและ ประเมินคุณภาพการศึกษาทําหน้าที่ประเมินคุณภาพภายนอก โดยการประเมินผลการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

7 คณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ประกาศใช้มาตรฐานการอุดมศึกษาเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2549 เพื่อเป็นกลไกกํากับระดับมาตรฐานระดับกระทรวง ระดับคณะกรรมการการอุดมศึกษา และระดับ หน่วยงาน โดยทุกหน่วยงานระดับอุดมศึกษาจะได้ใช้เป็นกรอบดําเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา

8 กระทรวงศึกษาธิการได้มีประกาศกระทรวงเรื่องมาตรฐานสถาบันอุดมศึกษาเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เพื่อเป็นกลไกส่งเสริมและกํากับให้สถาบันอุดมศึกษาจัดการศึกษาให้มีมาตรฐานตาม ประเภทหรือกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา 4 กลุ่ม

9 กระทรวงศึกษาธิการได้มีประกาศกระทรวงเรื่องกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา แห่งชาติเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ประกาศแนวทางการปฏิบัติตาม กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เพื่อให้การจัดการศึกษา ระดับอุดมศึกษาเป็นไปตามมาตรฐานการอุดมศึกษาและเพื่อการประกันคุณภาพของบัณฑิตในแต่ละระดับ คุณวุฒิและสาขาวิชา

ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา มี 2 ระบบ คือ

1 ระบบการประกันคุณภาพภายใน เป็นการประเมินการดําเนินงานของสถานศึกษา โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้น ๆ และให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหาร การศึกษาที่ต้องดําเนินการอย่างต่อเนื่อง มีการจัดทํารายงานประจําปี รายงานประเมินคุณภาพภายในเสนอ สภาสถาบัน หน่วยงานต้นสังกัด และหนวยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเผยแพร่ต่อสาธารณะ

2 ระบบการประกันคุณภาพภายนอก เป็นการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาโดย หน่วยงานภายนอก คือ สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ซึ่งจะทําการประเมินอย่างน้อย 1 ครั้งในทุกรอบ 5 ปี

ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคําแหง มี 3 ระบบ คือ

1 ระบบ ISO 9001 : 2008 ใช้ในคณะ/สํานักที่เน้นงานด้านการบริการให้แก่นักศึกษา เช่น สํานักหอสมุดกลาง สํานักบริการทางวิชาการและทดสอบประเมินผล (สวป.) สํานักงานอธิการบดี สํานักเทคโนโลยี การศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

2 ระบบ OA (Quality Assurance) ใช้ในคณะ/สํานัก/สาขาวิทยบริการฯ โดยอิง องค์ประกอบทั้ง 9 ข้อของสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

3 ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ใช้ในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคําแหง (มัธยมศึกษาและประถมศึกษา) โดยอิงมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน คุณภาพการศึกษากําหนด

 

ข้อ 3 จงเลือกหลักการบริหารสมัยใหม่หรือเทคนิคการบริหารสมัยใหม่ อาทิ ทฤษฎี 7S’s MODEL, หลักการ 5G’s, หลักการ 4 VIP, หลักธรรมาภิบาล, QC, 5S, ไคเซ็น (Kaizen) , การรื้อปรับระบบ (Reengineering) , ระบบมาตรฐานคุณภาพสากล (ISO) , การบริหารคุณภาพทั้งองค์การ (TQM) และระบบซิกซ์ ซิกม่า (Six Sigma) เป็นต้น มาเพียง 1 แนวคิด พร้อมกับอธิบายความเป็นมา แนวคิด/หลักการ ชื่อนักคิด (ถ้ามี) ของแนวคิดฯ นั้น และวิเคราะห์จุดแข็ง และจุดอ่อนของแนวคิดฯ นั้น (อย่างน้อย 3 ประการ)

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 54221 หน้า 164 – 166)

หลักธรรมาภิบาล (Good Governance)

คําว่า Good Governance มีคําเรียกภาษาไทยหลายคํา เช่น ธรรมาภิบาล การบริหาร จัดการที่ดี ธรรมรัฐ ประชารัฐ บรรษัทภิบาล วิธีการปกครองที่ดี การกํากับดูแลกิจการที่ดี การบริหารกิจการ บ้านเมืองและสังคมที่ดี เป็นต้น

การบริหารจัดการที่ดี หมายถึง แนวคิดการบริหารจัดการที่ได้รับการออกแบบสร้างขึ้น เพื่อให้การบริหารงานในวันนี้รองรับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้อย่างลงตัว

การบริหารจัดการที่ดี หมายถึง แนวคิดที่จะทําให้ทุกคนในสังคมเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบการบริหาร จัดการแทนที่การบริหารจัดการแบบเดิมที่สมาชิกของสังคมปล่อยให้การบริหารจัดการเป็นเรื่องของผู้นํา ที่ดําเนินการทุกอย่างไปตามความเห็นของคณะผู้บริหาร

ที่มาและลักษณะของธรรมาภิบาล

ธรรมาภิบาลเป็นแนวคิดของธนาคารโลก (World Bank) ที่กําหนดเป็นเงื่อนไขในการให้กู้เงิน กับประเทศสมาชิกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 เพื่อแก้ปัญหาการคอร์รัปชั่นของรัฐบาลและความไม่มีประสิทธิภาพในการ บริหารของประเทศกําลังพัฒนา ด้วยเหตุนี้ธนาคารโลกและองค์การระหว่างประเทศ (UNDP) จึงได้กําหนดลักษณะ และองค์ประกอบของธรรมาภิบาลไว้ 7 ประการ คือ

1 การมีความชอบธรรมและความรับผิดชอบทางการเมือง (Political Legitimacy and Accountability)

2 ความมีอิสระในการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานในหน้าที่ที่รับผิดชอบ (Freedom of Association and Participation)

3 การมีระบบกฎหมายที่มีความยุติธรรมและน่าเชื่อถือ (A Fair and Reliable Judicial System)

4 การมีพันธะความรับผิดชอบและการถูกตรวจสอบของระบบราชการ (Bureaucratic · Accountability)

5 การมีเสรีภาพในการแสดงออกและการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารต่อสังคม (Freedom of Information and Expression)

6 ความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารจัดการภาครัฐ (Effective and Efficient Public Sector Management)

7 การแสวงหาความร่วมมือจากองค์กรประชาสังคม (Cooperation with Civil Society Organization)

สําหรับประเทศไทย ได้ออกระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหาร กิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542 ซึ่งมีหลักการสําคัญ 6 ประการ คือ

1 หลักนิติธรรม ได้แก่ การปรับปรุงกฎหมาย กฎข้อบังคับต่าง ๆ ให้ทันสมัยและเป็นธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคม และสังคมยินยอมพร้อมใจปฏิบัติตามกฎหมาย กฎข้อบังคับเหล่านั้น โดยถือว่าเป็นการ ปกครองภายใต้กฎหมายมิใช่ตามอําเภอใจหรืออํานาจของตัวบุคคล

2 หลักคุณธรรม ได้แก่ การยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม โดยรณรงค์ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ ยึดถือหลักนี้ในการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นตัวอย่างแก่สังคม และส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนพัฒนาตนเองไปพร้อมกัน เพื่อให้คนไทยมีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบวินัย ประกอบอาชีพสุจริตจนเป็นนิสัยประจําชาติ

3 หลักความโปรงใส ได้แก่ การสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันของคนในชาติ โดยปรับปรุง กลไกการทํางานของทุกองค์การให้มีความโปร่งใส มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์อย่างตรงไปตรงมา ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวก และมีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้อง ชัดเจนได้

4 หลักการมีส่วนร่วม ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้และเสนอความเห็น ในการตัดสินใจปัญหาของประเทศ ไม่ว่าด้วยการแจ้งความเห็น การไต่สวนสาธารณะ การประชาพิจารณ์ การแสดง ประชามติ หรืออื่น ๆ

5 หลักความรับผิดชอบ ได้แก่ การตระหนักในสิทธิหน้าที่ ความสํานึกในความรับผิดชอบ ต่อสังคม การใส่ใจปัญหาสาธารณะของบ้านเมือง และกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา ตลอดจนการเคารพในความ คิดเห็นที่แตกต่างและความกล้าที่จะยอมรับผลการกระทําของตน

6 หลักความคุ้มค่า ได้แก่ การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจํากัดเพื่อให้เกิดประโยชน์ สูงสุดแก่ส่วนรวม โดยรณรงค์ให้คนไทยมีความประหยัด ใช้ของอย่างคุ้มค่า สร้างสรรค์สินค้าและบริการที่มีคุณภาพ สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก และรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้สมดุลยังยืน

ความเหมาะสมในการนําหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในหน่วยงานภาครัฐ คือ

1 ช่วยส่งเสริมให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐมีความตระหนักถึงความสํานึกรับผิดชอบ ต่อประชาชนและองค์กรมากขึ้น ซึ่งความสํานึกรับผิดชอบมีส่วนทําให้เจ้าหน้าที่ของรัฐระมัดระวังการกระทําที่มีผล ต่อสาธารณะหรือประชาชนมากขึ้น และหากเกิดข้อผิดพลาดขึ้นก็ต้องพร้อมที่จะรับผลของการกระทํานั้นโดย ไม่หลบเลี่ยงหรือโยนความผิดให้บุคคลอื่น

2 ช่วยทําให้ระบบราชการเป็นระบบเปิด โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนมีช่องทางมีส่วนร่วม ในการบริหารภาครัฐอย่างหลากหลายและเป็นรูปธรรมมากขึ้น ทั้งนี้ระบบการบริหารภาครัฐในอดีตมักเป็นระบบปิด ทําให้ประชาชนไม่รู้ข้อมูลข่าวสารในการบริหารงานของภาครัฐมากนักและข้อมูลส่วนใหญ่จะถูกเก็บเป็นความลับ หรือไม่เปิดเผยให้ประชาชนได้รับรู้ แต่เมื่อมีการนําหลักธรรมาภิบาลมาใช้ทําให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูล ข่าวสารของภาครัฐ และให้สิทธิแก่ประชาชนในการยื่นขอข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานภาครัฐได้ นอกจากนี้ยังมี การกําหนดให้หน่วยงานภาครัฐต้องเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่จําเป็นต่อสาธารณะผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น เอกสารหรือ เว็บไซต์ของหน่วยงาน เป็นต้น และประชาชนยังมีช่องทางในการร้องเรียนหรือเสนอความคิดเห็นผ่านช่องทางต่าง ๆ ของรัฐอีกด้วย

3 ช่วยส่งเสริมให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐยึดกฎหมายเป็นหลักในการปฏิบัติหน้าที่ มากกว่าการใช้ดุลยพินิจหรือตามอําเภอใจ โดยมีการวางมาตรฐานการปฏิบัติงานในแต่ละภารกิจหรือแต่ละงานไว้ชัด ทําให้การใช้กฎหมายเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนอาจลดลงได้

4 ช่วยให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐตระหนักถึงความสําคัญของคุณธรรม จริยธรรมใน การปฏิบัติหน้าที่ของตนในฐานะเป็นผู้ให้บริการประชาชนมิใช่เจ้านายของประชาชนหรือผู้ที่มีสถานภาพที่เหนือกว่า ประชาชน

5 ทําให้ภาครัฐให้ความสําคัญกับประสิทธิภาพในการทํางานมากขึ้น โดยการปรับปรุง กระบวนการทํางานให้มีความรวดเร็ว และประหยัดทั้งเวลาและงบประมาณ

ปัจจัยที่จะทําให้การนําหลักธรรมาภิบาลมาใช้ประสบความสําเร็จ มีดังนี้

1 ผู้บริหารและบุคลากรภาครัฐจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมาภิบาลเป็นอย่างดี

2 ผู้บริหารจะต้องสนับสนุนให้มีการนําหลักธรรมาภิบาลเข้ามาใช้ในองค์การ และต้องจูงใจให้บุคลากรภาครัฐปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลอย่างเต็มใจและมีส่วนร่วม

3 บุคลากรภาครัฐจะต้องให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาล

4 ประชาชนจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบการทํางานของภาครัฐ รวมทั้งการเสนอความคิดเห็นหรือตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารภาครัฐได้อย่างแท้จริง

5 โครงสร้างขององค์การจะต้องเอื้อต่อการนําหลักธรรมาภิบาลมาใช้ เช่น มีการปรับปรุงกฎหมายหรือกฎระเบียบต่าง ๆ ให้มีความเหมาะสม มีการลดขั้นตอนการปฏิบัติงานลง มีการกระจายอํานาจการตัดสินใจ เป็นต้น

POL4321 การบริหารร่วมสมัย 2/2559

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 4321 การบริหารร่วมสมัย

คําสั่ง ข้อสอบมี 3 ข้อ ให้นักศึกษาตอบทุกข้อ ๆ ละ 33 คะแนน

ข้อ 1 คําว่า “กลยุทธ์” (Strategy) หมายถึงอะไร ภาษาอังกฤษใช้คําใด มีความเป็นมาอย่างไรบ้าง กลยุทธ์ขององค์การมีกี่ระดับ อะไรบ้าง ยกตัวอย่างประกอบ ขั้นตอนการกําหนดกลยุทธ์มีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง จงอธิบาย

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 54221 หน้า 105 – 112)

ความหมายของกลยุทธ์

คําว่า “กลยุทธ์” หรือ “ยุทธศาสตร์” ภาษาอังกฤษใช้คําว่า “ Strategy” โดยมีรากศัพท์มาจาก คําว่า “Strategos” ในภาษากรีก ซึ่งเกิดจากศัพท์ 2 คํา คือ “Stratos” หมายถึง Army หรือ กองทัพ และ Agein หมายถึง Lead หรือ น้ําหน้า โดยเมื่อนําศัพท์ 2 คํานี้มารวมกันจะหมายถึง การนํากองทัพ หรือยุทธวิธีหลักใน การรบเพื่อเอาชนะศัตรู ดังนั้นคําว่ากลยุทธ์กับยุทธศาสตร์จึงเป็นคํา ๆ เดียวกันและมีความหมายเหมือนกัน

กลยุทธ์หรือยุทธศาสตร์ หมายถึง การกําหนดวิธีการ แนวทางปฏิบัติในการใช้ทรัพยากรของ องค์การที่สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและลดโอกาสความเสียเปรียบเพื่อใช้ในการดําเนินงานขององค์การ ให้บรรลุวัตถุประสงค์

สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ กล่าวว่า กลยุทธ์ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ภายนอกขององค์การ เพื่อพิจารณาหาโอกาส (Opportunity) และอุปสรรคหรือภยันตราย (Threat) ตลอดจน การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในขององค์การเพื่อหาจุดอ่อน (Weakness) และหาจุดแข็ง (Strength)

ความเป็นมาของการบริหารเชิงกลยุทธ์

แนวคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์ถูกนํามาใช้กันอย่างกว้างขวางตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 โดยคําว่า กลยุทธ์หรือยุทธศาสตร์ เป็นคําที่ใช้ในวงการทหารมาก่อน เช่น ในสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช หรือใน ตําราพิชัยสงครามของซุนวูมีคํากล่าวว่า “รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง ต่อมาวงการธุรกิจได้หยิบยืม กลยุทธ์ทางทหารมาใช้ในการประกอบการทางธุรกิจ เช่น กลยุทธ์การขาย กลยุทธ์การเข้าถึงลูกค้า กลยุทธ์การ ส่งมอบสินค้าให้ผู้บริโภคถึงที่บ้านแบบ Delivery ของร้านพิซซ่า เป็นต้น

ในวิชารัฐประศาสนศาสตร์หรือการบริหารรัฐกิจก็มีการกล่าวถึงกลยุทธ์หรือยุทธศาสตร์เช่นกัน แต่ใช้คําว่าการวางแผน (Planning) ดังนั้นการวางแผนจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์หรือยุทธศาสตร์ ซึ่งเป็นหน้าที่ ที่สําคัญของผู้บริหาร เช่น Silick & Urwick ได้เสนอหน้าที่ของผู้บริหารที่เรียกว่า “POSDCORB”, Henri Fayol ได้เสนอหน้าที่ของผู้บริหารที่เรียกว่า “POCCC” และ Robbins ได้เสนอหน้าที่ของผู้บริหารที่เรียกว่า “POLC” โดยตัวอักษร P ตามแนวคิดของนักวิชาการทั้งสามท่านก็คือ การวางแผน (Planning) นั้นเอง

สําหรับประเทศไทยได้นําแนวคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์มาใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินไทย เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2545 ในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เช่น การนําแนวคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์ มาประยุกต์ใช้ในการจัดทําแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย พ.ศ. 2546 – 2550 การปรับเปลี่ยนระบบ งบประมาณมาเป็นระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ตามยุทธศาสตร์ การให้หน่วยงานภาครัฐทุกกระทรวง จัดทํายุทธศาสตร์ระดับกระทรวง ระดับกรม เป็นต้น

ส่วนนักวิชาการที่เขียนตําราเกี่ยวกับกลยุทธ์นั้นมีหลายท่านด้วยกัน เช่น Bracker, Chandler, Ansoff แต่นักวิชาการที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากที่สุด คือ Michael E. Porter

กลยุทธ์ขององค์การแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ

1 กลยุทธ์หลัก (Corporate Strategy หรือ Grand Strategy) เป็นหน้าที่ของผู้บริหาร ระดับสูงขององค์การที่จะตัดสินใจว่าองค์การจะเข้าไปแข่งขันในด้านใด เช่น จะผลิตสินค้าหรือบริการด้านใด จะถอนตัว ออกจากการแข่งขันในตลาดใด จะรักษาส่วนแบ่งของสินค้าหรือบริการไว้ในตลาดใด อีกทั้งการกําหนดเป้าหมายและ วัตถุประสงค์ระยะยาวขององค์การ ตลอดจนการตัดสินใจกระจายทรัพยากรขององค์การในการดําเนินงานให้ บรรลุเป้าหมาย ตัวอย่างกลยุทธ์หลักปัจจุบันที่นิยมใช้ คือ กลยุทธ์เชิงร่วมมือกัน (Cooperative Strategies) เช่น กลยุทธ์การลงทุนร่วม (Joint Venture) การแสวงหาพันธมิตรทางกลยุทธ์ (Strategic Partnership) เป็นต้น

2 กลยุทธ์ทั่วไป (Generic Strategy) หรือกลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business Strategy) เป็น การตัดสินใจว่าจะใช้กลยุทธ์อะไรเพื่อให้ได้เปรียบในการแข่งขัน ซึ่งองค์การสามารถเลือกกลยุทธ์ทั่วไปสําหรับสินค้า หรือบริการแต่ละประเภทได้ 4 รูปแบบ ดังนี้

1) กลยุทร์ความเป็นผู้นําทางด้านต้นทุนในตลาดกว้าง หมายถึง การผลิตสินค้าที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าหลายกลุ่ม หลายระดับ

2) กลยุทธ์เน้นต้นทุนในตลาดเฉพาะ หมายถึง การทําให้ต้นทุนต่ำ เช่น สามารถจัดซื้อวัตถุดิบราคาต่ำกว่า การเป็นเจ้าของเทคโนโลยี และการผลิตในปริมาณมากเพื่อให้ต้นทุนต่ำ

3) กลยุทร์การทําให้เกิดความแตกต่าง หมายถึง การเลือกผลิตสินค้าหรือบริการที่มีความเป็นเลิศในมิติหลายอย่าง เช่น การนําส่งสินค้าหรือบริการถึงบ้านลูกค้าหรือการให้บริการหลังการขายที่ยอดเยี่ยม

4) กลยุทธ์การทําให้เกิดความแตกต่างในตลาดเฉพาะ หมายถึง การเลือกตอบสนองความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่ม เช่น การผลิตสินค้าขายเฉพาะเด็กหรือสตรีเท่านั้น

3 กลยุทธ์ตามลักษณะการปฏิบัติหน้าที่ (Functional Strategy) เป็นกลยุทธ์ในระดับ ฝ่ายงานหรือหน่วยงาน เช่น การตลาด การเงิน การวิจัยและพัฒนา การบริหารทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น โดยมุ่งเน้น ที่การใช้ทรัพยากรขององค์การให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน

ขั้นตอนการกําหนดกลยุทธ์ มี 7 ขั้นตอน คือ

1 การนิยามธุรกิจ เป็นการกําหนดความหมายของธุรกิจ ได้แก่ การกําหนดภารกิจ วิสัยทัศน์ ปรัชญา ค่านิยม และเป้าหมายขององค์การ เพื่อให้การดําเนินงานตอบสนองความต้องการของลูกค้า

2 การวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนขององค์การ เป็นการวิเคราะห์ว่าองค์การมีจุดแข็ง อะไรบ้างที่องค์การสามารถทําได้ดี มีความชํานาญ มีคุณภาพ มีชื่อเสียง เป็นต้น ในขณะเดียวกันก็ต้องวิเคราะห์ว่า องค์การมีจุดอ่อน/จุดด้อย/ข้อบกพร่องอะไรบ้างเพื่อจะได้ปรับปรุงแก้ไข

3 การวิเคราะห์โอกาสและอุปสรรคขององค์การ เป็นการวิเคราะห์สถานการณ์ต่าง ๆ ที่ เป็นโอกาสให้องค์การสามารถพัฒนา/เติบโต/ขยายกิจการได้ และมีอุปสรรค/ข้อจํากัดอะไรบ้างที่อาจทําให้องค์การ ไม่สามารถทํางานได้ เช่น กฎหมาย กฎระเบียบ สถานที่ตั้ง เป็นต้น

4 การนิยามประเด็นปัญหาหลักและประเด็นทางกลยุทธ์ เป็นการหยิบยกปัญหาที่เกิดขึ้น ในองค์การ เช่น บุคลากรมาทํางานสาย ขาดความสามัคคี ได้รับคําตําหนิจากลูกค้า เป็นต้น มาพิจารณาว่าเกิดขึ้นจาก สาเหตุอะไร และจะแก้ไขปัญหานั้นอย่างไร ซึ่งเทคนิคที่ใช้วิเคราะห์ปัญหาอาจจะใช้แผนภูมิก้างปลา แผนภูมิพาเรโต้ เป็นต้น และจะต้องวิเคราะห์ต่อไปว่าเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในระดับใดขององค์การ เป็นปัญหาทางเทคนิค หรือ เป็นปัญหาการนํากลยุทธ์ไปปฏิบัติ

5 การระบุกลยุทธ์ทางเลือกและคัดเลือกกลยุทธ์ เป็นการวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของแต่ละกลยุทธ์แล้วทําการคัดเลือกกลยุทธ์ใดกลยุทธ์หนึ่ง ซึ่งในการคัดเลือกกลยุทธ์อาจพิจารณาจากหลายหลักเกณฑ์ เช่น ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับลูกค้า ความเป็นไปได้ในการนํากลยุทธ์ไปปฏิบัติ และความสอดคล้องกับแผนในระดับต่าง ๆ เป็นต้น

6 การบริหารกลยุทธ์ เป็นการนํากลยุทธ์ไปปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ของกลยุทธ์นั้น ทั้งนี้ความสําเร็จของการบริหารกลยุทธ์ย่อมขึ้นอยู่กับค่านิยมในการทํางานและการให้ความร่วมมือ ของบุคลากรในองค์การเป็นสําคัญ

7 การประเมินผลกลยุทธ์ เมื่อมีการนํากลยุทธ์ไปปฏิบัติแล้ว จําเป็นต้องมีการประเมินผล กลยุทธ์นั้นว่าประสบความสําเร็จมากน้อยเพียงใด มีปัญหาอะไรบ้างเพื่อนําผลการประเมินไปปรับปรุงต่อไป

 

ข้อ 2 จงอธิบายความหมายของวัฒนธรรมองค์การ (Organizational Culture) ตามแนวคิดของ Schein แบ่งวัฒนธรรมองค์การออกเป็นที่ระดับ อะไรบ้าง (ยกตัวอย่าง) และยกตัวอย่างค่านิยมองค์การของหน่วยงานภาครัฐ 1 แห่ง แนวคําตอบ

(หนังสือเลขพิมพ์ 54221 หน้า 140 – 154)

วัฒนธรรมองค์การ (Organizational Culture) หมายถึง แนวทางการประพฤติปฏิบัติของ บุคลากรในแต่ละองค์การที่ได้รับการปลูกฝังและถ่ายทอดกันมาอย่างต่อเนื่อง โดยแสดงออกมาในลักษณะของ ค่านิยม ความเชื่อ สัญลักษณ์ พิธีการ นิทาน และการเล่าเรื่อง เป็นต้น ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าวัฒนธรรมองค์การสะท้อน ให้เห็นถึงภาพรวมหรือบุคลิกลักษณะเฉพาะขององค์การนั้น ๆ

ระดับของวัฒนธรรมองค์การ Schein ได้แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ

1 วัฒนธรรมทางกายภาพ (Artifacts) เป็นระดับวัฒนธรรมองค์การที่บุคคลสามารถมองเห็น ได้ยินและรู้สึกได้ทันทีเมื่อเข้าไปในแต่ละองค์การ นอกจากนี้แล้วยังรวมถึงผลิตภัณฑ์ บริการ และพฤติกรรมของ สมาชิก โดยวัฒนธรรมทางกายภาพแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1) ประเภทวัตถุ เช่น ศิลปะต่าง ๆ โลโก้ของหน่วยงาน รูปทรงหรือการออกแบบตึกเฟอร์นิเจอร์ เครื่องแต่งกาย เป็นต้น

2) ประเภทพฤติกรรม เช่น พิธีกรรมต่าง ๆ รูปแบบการติดต่อสื่อสาร ประเพณี – การให้รางวัล หรือการลงโทษพนักงาน เป็นต้น

3) ประเภทภาษา เช่น เรื่องเล่าเกี่ยวกับความยากลําบากในการก่อตั้งองค์การเรื่องตลกในหน่วยงาน ชื่อจริงหรือชื่อเล่นที่ใช้เรียกในที่ทํางาน คําศัพท์เฉพาะที่ใช้ กันในหน่วยงาน คําอธิบายเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ อุปมาอุปมัย หรือคําขวัญที่มักใช้กันในองค์การ เป็นต้น

2 ค่านิยม (Espoused Values) เป็นสิ่งที่บอกว่าสิ่งใดมีคุณค่าหรือสิ่งใดควรกระทํา ค่านิยม เป็นเป้าหมายและมาตรฐานของสังคมที่สมาชิกในองค์การควรเอาใจใส่ เช่น การทํางานให้มีคุณภาพ มีความรับผิดชอบ และมีความโปร่งใส เป็นต้น

3 ฐานคติ (Basic Underlying Assumption) เป็นสิ่งที่สมาชิกในองค์การมีความเชื่อว่า สิ่งนั้นเป็นจริง เป็นวิธีที่ถูกต้องในการทําสิ่งนั้น (The right way to do things) เช่น มาตรฐานการทํางาน วิธีการ ทํางานที่คิดว่ามีประสิทธิภาพ เป็นต้น

ตัวอย่างค่านิยมในการทํางานในองค์การภาครัฐ

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง ได้กําหนดค่านิยมในการทํางานในองค์การไว้ 6 ประการ ซึ่งเรียกว่า “POLSCI” ประกอบด้วย

1 P = Positive Thinking คือ การคิดในทางบวก หมายถึง บุคลากรคณะรัฐศาสตร์จะต้อง มองปัญหา ความทุกข์ ความไม่ราบรื่นในการปฏิบัติงานอย่างเข้าใจ ยอมรับได้ และพร้อมที่จะแก้ไขได้ทันที

2 O = Ownership คือ ความรู้สึกเป็นเจ้าขององค์การ หมายถึง บุคลากรคณะรัฐศาสตร์ มุ่งปฏิบัติงานเพื่อคณะรัฐศาสตร์ โดยเห็นผลประโยชน์ส่วนตนน้อยกว่าสาธารณะ ผลักดันคณะรัฐศาสตร์ไปให้ถึง จุดมุ่งหมาย รักษาผลประโยชน์ของคณะรัฐศาสตร์ ช่วยกันทํางานเป็นทีม ทุกคนมีความสําคัญเท่ากันหมด ช่วยกัน ประสานงาน และสื่อสารกันอย่างมีประสิทธิภาพ

3 L = Leader of Change คือ การเป็นผู้นําในการเปลี่ยนแปลง หมายถึง บุคลากร คณะรัฐศาสตร์จะเป็นผู้นํายุคใหม่ที่สอดคล้องในยุคปฏิรูปที่มีการพัฒนาคุณภาพของผลผลิตและการบริการอย่าง ต่อเนื่อง มีความสามารถในการตัดสินใจจัดการเปลี่ยนแปลง สามารถตีความเข้าใจเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถประยุกต์วิธีการต่าง ๆ เพื่อให้คณะรัฐศาสตร์ประสบความสําเร็จ

4 S = Service Mind คือ การมุ่งมั่นที่จะให้บริการที่ดี หมายถึง บุคลากรคณะรัฐศาสตร์ จะเป็นผู้ให้บริการที่มีจิตใจหรือมีใจรัก มีความเต็มใจในการบริการ โดยปฏิบัติงานด้วยความยิ้มแย้ม แจ่มใส มีอารมณ์รื่นเริง และควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ ไม่ขึ้นเสียงกับนักศึกษาหรือผู้มารับบริการ

5 C = Continuous Learning คือ การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง หมายถึง บุคลากรคณะรัฐศาสตร์ แสดงออกถึงความตั้งใจในการเรียนรู้ ประยุกต์ใช้ข้อมูลและทักษะใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้มีความรู้และความสามารถในการจัดการกับปัญหา และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปได้

6 I = Integrity & Ethics คือ การมีความซื่อสัตย์และคุณธรรมจริยธรรม หมายถึง บุคลากรคณะรัฐศาสตร์ประพฤติปฏิบัติงานอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม จนเป็นที่ไว้วางใจ โดยมีความซื่อสัตย์สุจริต ตรงไปตรงมา โปร่งใสและตรวจสอบได้ ให้เกียรติและไม่เอาเปรียบผู้อื่น กระทําตามสัญญาและยึดมั่นในจรรยาบรรณ วิชาชีพ

 

ข้อ 3 ให้เลือกอธิบายหลักการบริหารที่สําคัญหรือเทคนิคการบริหารสมัยใหม่ อาทิ 5 ส. การบริหารคุณภาพ ทั้งองค์การ (TQM) ไคเซ็น (Kaizen) ระบบมาตรฐานคุณภาพสากล (ISO) ระบบมาตรฐานคุณภาพ สากลของไทย (Thailand International P.S.O.) และซิกซ์ ซิกม่า (Six Sigma) เป็นต้น เลือก 1เทคนิค พร้อมทั้งอธิบายความเป็นมา แนวคิด หลักการของเทคนิคฯ นั้นมาให้เข้าใจอย่างชัดเจน

แนวคําตอบ (หนังสือเลขพิมพ์ 54221 หน้า 188 – 190)

ไคเซ็น (Kaizen)

ไคเซ็นเป็นแนวคิดและวิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่น โดยคําว่า “ไคเซ็น” หมายถึง การปรับปรุงหรือ พัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการปรับปรุงในทุก ๆ ด้านของการดํารงชีวิต ไม่ว่าจะเป็นในที่ทํางาน ในสังคม หรือในบ้านให้ดีขึ้นอย่างสม่ำเสมอ โดยทุกคนต้องเกี่ยวข้องตลอดเวลา

กลยุทธ์ของไคเซ็นคือคํากล่าวที่ว่า “ไม่มีวันใดเลยที่ผ่านไปโดยไม่มีการปรับปรุงในส่วนใด ส่วนหนึ่งขององค์การ” ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นการปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา

หลักการบริหารแบบไคเซ็น มีดังนี้

1 การมองว่าลูกค้าต้องมาก่อนเสมอ (Customer First)

2 การควบคุมคุณภาพรวม (Total Quality Control)

3 การมีระบบข้อเสนอแนะ (Suggestion Systems)

4 การใช้หุ่นยนต์ (Robotics) ช่วยในการผลิต

5 การจัดตั้งกลุ่มควบคุมคุณภาพ (Quality Control Circles)

6 การมีระบบการควบคุมโดยอัตโนมัติ (Automation)

7 การมีวินัยในการทํางาน (Discipline in the Workplace)

8 การติดป้าย (Kanban) รับรองมาตรฐานสินค้า

9 การมีระบบการผลิตทันเวลา (Just in Time : JIT)

10 การมีของเสียเป็นศูนย์ (Zero Defects)

11 การมีกิจกรรมกลุ่มย่อย (Smalt Group Activities)

12 การจัดการโดยอาศัยความร่วมมือของพนักงาน (Cooperative Labour Management)

13 การปรับปรุงผลผลิต (Productivity Improvement)

14 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ (New Product Development)

หลักปฏิบัติของการบริหารแบบไคเซ็น มี 2 ประการ คือ

1 การบํารุงรักษา (Maintenance) หมายถึง การส่งเสริมให้ทุกคนช่วยกันดูแลบํารุงรักษา เครื่องจักรเครื่องใช้ให้มีอายุการใช้งานได้นาน

2 การปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement) หมายถึง การปรับปรุง การทํางานให้ได้มาตรฐานให้สูงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งการปรับปรุงมี 2 แนวทาง คือ การปรับปรุงสิ่งที่เป็นอยู่และการแสวงหา สิ่งใหม่หรือนวัตกรรม (Innovation)

จุดเน้นที่สําคัญของเนวคิดไคเซ็น

แนวคิดของไคเซ็นเน้นกระบวนการ (Process) ซึ่งต้องปรับปรุงขั้นตอนหรือลดขั้นตอนก่อนที่ จะปรับปรุงผลที่ได้รับ (Output) และเน้นที่การปฏิบัติและการใช้ความพยายามของบุคคล เช่น เมื่อผู้จัดการฝ่ายขาย ต้องการประเมินผลงาน พนักงานขายก็จะประเมินเวลาที่ใช้ในการติดต่อกับลูกค้า เวลาที่ใช้ในการเยี่ยมลูกค้า และ เวลาที่ใช้ในสํานักงาน ความสําเร็จที่ได้รับจะทําให้บุคลากรมีขวัญและกําลังใจในการปรับปรุงงานของตนให้ดีขึ้น หรือกล่าวได้ว่าเป็นการให้ความสําคัญกับการเข้าถึงลูกค้าพอ ๆ กับยอดขาย

สรุป แนวคิดและกลยุทธ์ของไคเซ็นสามารถนําไปใช้ได้ทั่วไป และมีความเกี่ยวข้องกับทุกคน ในองค์การตั้งแต่ระดับสูงสุดจนถึงผู้ปฏิบัติงานระดับล่างสุด

WordPress Ads
error: Content is protected !!