การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 4321 การบริหารร่วมสมัย

Advertisement

คําสั่ง ข้อสอบมี 3 ข้อ ให้ตอบทุกข้อ ๆ ละ 33 คะแนน

ข้อ 1 จงอธิบายความหมายของคําว่า “กลยุทธ์” (Strategy) การบริหารเชิงกลยุทธ์มีความเป็นมาอย่างไร กลยุทธ์ขององค์การแบ่งเป็นที่ระดับอะไรบ้าง ยกตัวอย่างกลยุทธ์แต่ละระดับ และจงใช้เทคนิค SWOTมาวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และข้อจํากัดของกรุงเทพมหานครด้านละอย่างน้อย 4 ประการ

แนวคําตอบ

คําว่า “กลยุทธ์” หรือ “ยุทธศาสตร์ ภาษาอังกฤษใช้คําว่า “Strategy” โดยมีรากศัพท์มาจาก คําว่า “Strategos” ในภาษากรีก ซึ่งเกิดจากศัพท์ 2 คํา คือ “Stratos” หมายถึง Army หรือ กองทัพ และ Agein หมายถึง Lead หรือ นําหน้า โดยเมื่อน้ําศัพท์ 2 คํานี้มารวมกันจะหมายถึง การนํากองทัพ หรือยุทธวิธีหลักในการรบ เพื่อเอาชนะศัตรู ดังนั้นคําว่ากลยุทธ์กับยุทธศาสตร์จึงเป็นคํา ๆ เดียวกันและมีความหมายเหมือนกัน

สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ กล่าวว่า กลยุทธ์ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ภายนอกขององค์การ เพื่อพิจารณาหาโอกาส (Opportunity) และภยันตราย (Threat) ตลอดจนการวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายในขององค์การเพื่อหาจุดอ่อน (Weakness) และหาจุดแข็ง (Strength)

ความเป็นมาของการบริหารเชิงกลยุทธ์

แนวคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์ถูกนํามาใช้กันอย่างกว้างขวางตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 โดยคําว่า กลยุทธ์หรือยุทธศาสตร์ เป็นคําที่ใช้ในวงการทหารมาก่อน เช่น ในสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช หรือใน ตําราพิชัยสงครามของซุนวูมีคํากล่าวว่า “รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง” ต่อมาวงการธุรกิจได้หยิบยืม กลยุทธ์ทางทหารมาใช้ในการประกอบการทางธุรกิจ เช่น กลยุทธ์การขาย กลยุทธ์การเข้าถึงลูกค้า กลยุทธ์การ ส่งมอบสินค้าให้ผู้บริโภคถึงที่บ้านแบบ Delivery ของร้านพิซซ่า เป็นต้น

ในวิชารัฐประศาสนศาสตร์หรือการบริหารรัฐกิจก็มีการกล่าวถึงกลยุทธ์หรือยุทธศาสตร์เช่นกัน แต่ใช้คําว่าการวางแผน (Planning) ดังนั้นการวางแผนจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์หรือยุทธศาสตร์ ซึ่งเป็นหน้าที่ ที่สําคัญของผู้บริหาร เช่น Gulick & Urwick ได้เสนอหน้าที่ของผู้บริหารที่เรียกว่า “POSDCORB”, Henri Fayol ได้เสนอหน้าที่ของผู้บริหารที่เรียกว่า “POCCC” และ Robbins ได้เสนอหน้าที่ของผู้บริหารที่เรียกว่า “POLC โดยตัวอักษร P ตามแนวคิดของนักวิชาการทั้งสามท่านก็คือ การวางแผน (Planning) นั่นเอง

สําหรับประเทศไทยได้นําแนวคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์มาใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินไทย เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2545 ในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เช่น การนําแนวคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์ มาประยุกต์ใช้ในการจัดทําแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย พ.ศ. 2546 – 2550 การปรับเปลี่ยน ระบบงบประมาณมาเป็นระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ตามยุทธศาสตร์ การให้หน่วยงานภาครัฐ ทุกกระทรวงจัดทํายุทธศาสตร์ระดับกระทรวง ระดับกรม เป็นต้น

ส่วนนักวิชาการที่เขียนตําราเกี่ยวกับกลยุทธ์นั้นมีหลายท่านด้วยกัน เช่น Bracker, Chandler, Ansoff แต่นักวิชาการที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากที่สุด คือ Michael E. Porter

กลยุทธ์ขององค์การแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ

1 กลยุทธ์หลัก (Corporate Strategy หรือ Grand Strategy) เป็นหน้าที่ของผู้บริหาร ระดับสูงขององค์การที่จะตัดสินใจว่าองค์การจะเข้าไปแข่งขันในด้านใด เช่น จะผลิตสินค้าหรือบริการด้านใด จะถอนตัว ออกจากการแข่งขันในตลาดใด จะรักษาส่วนแบ่งของสินค้าหรือบริการไว้ในตลาดใด อีกทั้งการกําหนดเป้าหมายและ วัตถุประสงค์ระยะยาวขององค์การ ตลอดจนการตัดสินใจกระจายทรัพยากรขององค์การในการดําเนินงานให้ บรรลุเป้าหมาย ตัวอย่างกลยุทธ์หลักปัจจุบันที่นิยมใช้ คือ กลยุทธ์เชิงร่วมมือกัน (Cooperative Strategies) เช่น กลยุทธ์การลงทุนร่วม (Joint Venture) การแสวงหาพันธมิตรทางกลยุทธ์ (Strategic Partnership) เป็นต้น

2 กลยุทธ์ทั่วไป (Generic Strategy) หรือกลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business Strategy) เป็น การตัดสินใจว่าจะใช้กลยุทธ์อะไรเพื่อให้ได้เปรียบในการแข่งขัน ซึ่งองค์การสามารถเลือกกลยุทธ์ทั่วไปสําหรับสินค้า หรือบริการแต่ละประเภทได้ 4 รูปแบบ ดังนี้

1) กลยุทธ์ความเป็นผู้นําทางด้านต้นทุนในตลาดกว้าง หมายถึง การผลิตสินค้าที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าหลายกลุ่ม หลายระดับ

2) กลยุทธ์เน้นต้นทุนในตลาดเฉพาะ หมายถึง การทําให้ต้นทุนต่ำ เช่น สามารถจัดซื้อวัตถุดิบราคาต่ำกว่า การเป็นเจ้าของเทคโนโลยี และการผลิตในปริมาณมากเพื่อให้ต้นทุนต่ำ

3) กลยุทธ์การทําให้เกิดความแตกต่าง หมายถึง การเลือกผลิตสินค้าหรือบริการที่มีความเป็นเลิศในมิติหลายอย่าง เช่น การนําส่งสินค้าหรือบริการถึงบ้านลูกค้าหรือการให้บริการหลังการขายที่ยอดเยี่ยม

4) กลยุทธ์การทําให้เกิดความแตกต่างในตลาดเฉพาะ หมายถึง การเลือกตอบสนองความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่ม เช่น การผลิตสินค้าขายเฉพาะเด็กหรือสตรีเท่านั้น

3 กลยุทธ์ตามลักษณะการปฏิบัติหน้าที่ (Functional Strategy) เป็นกลยุทธ์ในระดับ ฝ่ายงานหรือหน่วยงาน เช่น การตลาด การเงิน การวิจัยและพัฒนา การบริหารทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น โดยมุ่งเน้น ที่การใช้ทรัพยากรขององค์การให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน

การใช้เทคนิค SWOT มาวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และข้อจํากัดของกรุงเทพมหานคร

 

จุดแข็งของกรุงเทพมหานคร

1 มีบุคลากรที่มีคุณภาพและมีความรู้ความสามารถ

2 มีงบประมาณจํานวนมาก

3 มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย

4 มีสํานักงานเขต 50 เขต แต่ละเขตมีบุคลากรและเครื่องมือพร้อมในการทํางาน

5 คณะผู้บริหารมีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์ และได้รับการยอมรับจากประชาชนสูง

 

จุดอ่อนของกรุงเทพมหานคร

1 การบริหารรายการยังขาดการบูรณาการระหว่างหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร และการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกที่ดําเนินภารกิจในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

2 การบริหารราชการขาดความโปร่งใส เกิดปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น

3 ระบบการตรวจสอบและควบคุมการบริหารราชการไม่มีประสิทธิภาพ ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน

4 ผู้บริหารมาจากการเลือกตั้ง ทําให้บางครั้งการดําเนินนโยบายต่าง ๆ ขาดความต่อเนื่อง

5 ขาดอํานาจต่อรองทางการเมืองกับรัฐบาล ทําให้ไม่สามารถริเริ่มภารกิจใหม่ ๆ หรือขยายเขตอํานาจตามกฎหมายให้กว้างขวางมากขึ้นได้

 

โอกาสของกรุงเทพมหานคร

1 เป็นศูนย์กลางทางการเมือง การปกครอง และเศรษฐกิจของประเทศ

2 เป็นเมืองเศรษฐกิจขนาดใหญ่ มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงและต่อเนื่อง

3 เป็นสถานที่ตั้งของสถานที่สําคัญ ๆ เช่น กระทรวง กรมต่าง ๆ สถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียง เที่ทําการหนังสือพิมพ์ สถานีวิทยุและโทรทัศน์ เป็นต้น รวมทั้งมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ จํานวนมาก เช่น พระบรมมหาราชวัง วัดพระแก้ว วัดอรุณราชวราราม วัดเบญจมบพิตร เป็นต้น

4 มีระบบโครงข่ายการสื่อสารสมัยใหม่ที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ ประชากรส่วนใหญ่เข้าถึง เครือข่ายได้ถ้วนหน้า

5 ประชากรมีระดับการศึกษาสูงกว่าเมืองอื่น ๆ ในประเทศ

 

ข้อจํากัดของกรุงเทพมหานคร

1 การอพยพของคนเข้ามาอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครเป็นจํานวนมากส่งผลให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา เช่น ความแออัด การขาดแคลนที่อยู่อาศัย การเกิดปัญหาอาชญากรรม เพิ่มขึ้น รวมทั้งมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาดหรือโรคติดต่อต่าง ๆ
2 ภาวะเศรษฐกิจที่ตกตําส่งผลต่อระดับรายได้ของประชากร การจ้างงาน และการลงทุนต่าง ๆ

3 การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนส่งผลให้แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ พม่า ลาวและกัมพูชา หลั่งไหลเข้ามาทํางานในกรุงเทพมหานครเป็นจํานวนมาก

4 การเมืองที่ขาดเสถียรภาพส่งผลให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีความเสี่ยงต่อการชุมนุมประท้วง หรือการก่อเหตุความรุนแรงต่าง ๆ อันเนื่องมาจากปัญหาการเมือง

5 การมีความเสี่ยงต่อการก่อการร้ายหรือการก่ออาชญากรรมข้ามชาติ

 

ข้อ 2 จงอธิบายความหมายของวัฒนธรรมองค์การ (Organizational Culture) ความเป็นมาของวัฒนธรรมองค์การ ยกตัวอย่างมิติของวัฒนธรรมองค์การหรือค่านิยมในการทํางานในองค์การภาครัฐมา 1 แห่ง

แนวคําตอบ

วัฒนธรรมองค์การ (Organizational Culture) หมายถึง แนวทางการประพฤติปฏิบัติของ บุคลากรในแต่ละองค์การที่ได้รับการปลูกฝังและถ่ายทอดกันมาอย่างต่อเนื่อง โดยแสดงออกมาในลักษณะของ ค่านิยม ความเชื่อ สัญลักษณ์ พิธีการ นิทาน และการเล่าเรื่อง เป็นต้น ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าวัฒนธรรมองค์การสะท้อน ให้เห็นถึงภาพรวมหรือบุคลิกลักษณะเฉพาะขององค์การนั้น ๆ

ความเป็นมาของวัฒนธรรมองค์การ

วัฒนธรรม (Culture) เป็นแนวคิดสําคัญที่มีในสังคมมนุษย์มานานแล้ว คํานี้บัญญัติโดย นักมานุษยวิทยา ซึ่งกล่าวว่า วัฒนธรรมเป็นหัวใจสําคัญของกลุ่มหรือสังคม ซึ่งในแต่ละสังคมมีแนวทางในการ ดําเนินชีวิต การปฏิสัมพันธ์ที่แตกต่างกัน และสิ่งนี้มีความสําคัญต่อความสําเร็จขององค์การ

ในช่วงปี ค.ศ. 1960 – 1970 ประเทศญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ก็สามารถฟื้นฟูประเทศได้ จนกระทั่งได้รับการยกย่องว่าเป็นประเทศผู้นําทางด้านอุตสาหกรรม เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นมีแนวคิดการจัดการ ที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง นักวิชาการจึงมีความเห็นว่าความสําเร็จของญี่ปุ่นเป็นผลมาจากวัฒนธรรมองค์การ ปัจจัยดังกล่าวจึงทําให้นักวิชาการได้หันมาให้ความสําคัญกับความละเอียดอ่อนของวัฒนธรรมองค์การ และ ัฒนธรรมองค์การที่ต่างกันมากขึ้น

ตัวอย่างค่านิยมในการทํางานในองค์การภาครัฐ

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง ได้กําหนดค่านิยมในการทํางานในองค์การไว้ 6 ประการ ซึ่งเรียกว่า “POLSCI” ประกอบด้วย

1 P = Positive Thinking คือ การคิดในทางบวก หมายถึง บุคลากรคณะรัฐศาสตร์จะต้อง มองปัญหา ความทุกข์ ความไม่ราบรื่นในการปฏิบัติงานอย่างเข้าใจ ยอมรับได้ และพร้อมที่จะแก้ไขได้ทันที

2 O = Ownership คือ ความรู้สึกเป็นเจ้าขององค์การ หมายถึง บุคลากรคณะรัฐศาสตร์ มุ่งปฏิบัติงานเพื่อคณะรัฐศาสตร์ โดยเห็นผลประโยชน์ส่วนตนน้อยกว่าสาธารณะ ผลักดันคณะรัฐศาสตร์ไปให้ถึง จุดมุ่งหมาย รักษาผลประโยชน์ของคณะรัฐศาสตร์ ช่วยกันทํางานเป็นทีม ทุกคนมีความสําคัญเท่ากันหมด ช่วยกัน ประสานงาน และสื่อสารกันอย่างมีประสิทธิภาพ

3 L: Leader of Change คือ การเป็นผู้นําในการเปลี่ยนแปลง หมายถึง บุคลากร คณะรัฐศาสตร์จะเป็นผู้นํายุคใหม่ที่สอดคล้องในยุคปฏิรูปที่มีการพัฒนาคุณภาพของผลผลิตและการบริการอย่าง ต่อเนื่อง มีความสามารถในการตัดสินใจจัดการเปลี่ยนแปลง สามารถตีความเข้าใจเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถประยุกต์วิธีการต่าง ๆ เพื่อให้คณะรัฐศาสตร์ประสบความสําเร็จ

4 S = Service Mind คือ การมุ่งมั่นที่จะให้บริการที่ดี หมายถึง บุคลากรคณะรัฐศาสตร์ จะเป็นผู้ให้บริการที่มีจิตใจหรือมีใจรัก มีความเต็มใจในการบริการ โดยปฏิบัติงานด้วยความยิ้มแย้ม แจ่มใส มีอารมณ์รื่นเริง และควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ ไม่ขึ้นเสียงกับนักศึกษาหรือผู้มารับบริการ

5 C = Continuous Learning คือ การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง หมายถึง บุคลากรคณะรัฐศาสตร์ แสดงออกถึงความตั้งใจในการเรียนรู้ ประยุกต์ใช้ข้อมูลและทักษะใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้มีความรู้และความสามารถในการจัดการกับปัญหา และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปได้

6 I = Integrity & Ethics คือ การมีความซื่อสัตย์และคุณธรรมจริยธรรม หมายถึง บุคลากรคณะรัฐศาสตร์ประพฤติปฏิบัติงานอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม จนเป็นที่ไว้วางใจ โดยมีความซื่อสัตย์สุจริต ตรงไปตรงมา โปร่งใสและตรวจสอบได้ ให้เกียรติและไม่เอาเปรียบผู้อื่น กระทําตามสัญญาและยึดมั่นในจรรยาบรรณ วิชาชีพ

 

ข้อ 3 จากการที่ฟังคําบรรยายในเรื่องหลักการบริหารและเทคนิคการบริหารสมัยใหม่ อาทิ ทฤษฎี 7S’s Model หลักการ 5 G’s หลักการ 4 VIPs การควบคุมคุณภาพ 5 ส. ไคเซ็น การรือปรับระบบ การบริหารคุณภาพทั้งองค์การ ธรรมาภิบาล ระบบ ISO ระบบมาตรฐานสากลของประเทศไทย (P.S.O.) และซิกซ์ ซิกม่า เป็นต้น ให้เลือกอธิบายมา 1 เทคนิค (อ้างอิงนักคิด ความเป็นมา หลักการ/ การนําไปสู่การปฏิบัติ และให้เหตุผลความเหมาะสมในการนําเทคนิคนั้นมาใช้ในหน่วยงานภาครัฐอย่างน้อย 4 ประการ)

แนวคําตอบ

หลักธรรมาภิบาล (Good Governance)

คําว่า Good Governance มีคําเรียกภาษาไทยหลายคํา เช่น ธรรมาภิบาล การบริหารจัดการที่ดี ธรรมรัฐ ประชารัฐ บรรษัทภิบาล วิธีการปกครองที่ดี การกํากับดูแลกิจการที่ดี การบริหารกิจการบ้านเมืองและ สังคมที่ดี เป็นต้น โดยแต่ละหน่วยงานจะใช้คําเรียกที่แตกต่างกันไป ดังนี้

– ราชบัณฑิตยสถาน ใช้คําว่า วิธีการปกครองที่ดี

– การไฟฟ้านครหลวง ใช้คําว่า การกํากับดูแลกิจการที่ดี

– ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีฯ ใช้คําว่า การบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี ภาคเอกชน ใช้คําว่า บรรษัทภิบาลหรือการกํากับดูแลที่ดี

ที่มาและลักษณะของธรรมาภิบาล

ธรรมาภิบาลเป็นแนวคิดของธนาคารโลก (World Bank) ที่กําหนดเป็นเงื่อนไขในการให้กู้เงิน กับประเทศในซีกโลกใต้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 เพื่อแก้ปัญหาการคอร์รัปชั่นของรัฐบาลและความไม่มีประสิทธิภาพ ในการบริหารของประเทศกําลังพัฒนา ด้วยเหตุนี้ธนาคารโลกและองค์การระหว่างประเทศ (UNDP) จึงได้กําหนด ลักษณะและองค์ประกอบของธรรมาภิบาลไว้ 7 ประการ คือ

1 การมีความชอบธรรมและความรับผิดชอบทางการเมือง (Political Legitimacy and Accountability)

2 ความมีอิสระในการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานในหน้าที่ที่รับผิดชอบ (Freedom of Association and Participation)

3 การมีระบบกฎหมายที่มีความยุติธรรมและน่าเชื่อถือ (A Fair and Reliable Judicial System)

4 การมีพันธะความรับผิดชอบและการถูกตรวจสอบของระบบราชการ (Bureaucratic Accountability).

5 การมีเสรีภาพในการแสดงออกและการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารต่อสังคม (Freedom of Information and Expression)

6 ความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารจัดการภาครัฐ (Effective and Efficient Public Sector Management)

7 การแสวงหาความร่วมมือจากองค์กรประชาสังคม (Cooperation with Civil Society – Organization)

สําหรับประเทศไทย สํานักนายกรัฐมนตรีได้ออกระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้าง ระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542 ซึ่งมีหลักการสําคัญ 6 ประการ คือ

1 หลักนิติธรรม ได้แก่ การปรับปรุงกฎหมาย กฎข้อบังคับต่าง ๆ ให้ทันสมัยและเป็นธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคม และสังคมยินยอมพร้อมใจปฏิบัติตามกฎหมาย กฎข้อบังคับเหล่านั้น โดยถือว่าเป็นการ ปกครองภายใต้กฎหมายมิใช่ตามอําเภอใจหรืออํานาจของตัวบุคคล

2 หลักคุณธรรม ได้แก่ การยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม โดยรณรงค์ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ ยึดถือหลักนี้ในการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นตัวอย่างแก่สังคม และส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนพัฒนาตนเองไปพร้อมกัน เพื่อให้คนไทยมีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบวินัย ประกอบอาชีพสุจริตจนเป็นนิสัยประจําชาติ

3 หลักความโปร่งใส ได้แก่ การสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันของคนในชาติ โดยปรับปรุง กลไกการทํางานของทุกองค์การให้มีความโปร่งใส มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์อย่างตรงไปตรงมา ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวก และมีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบ ความถูกต้องชัดเจนได้

4 หลักการมีส่วนร่วม ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้และเสนอความเห็น ในการตัดสินใจปัญหาของประเทศ ไม่ว่าด้วยการแจ้งความเห็น การไต่สวนสาธารณะ การประชาพิจารณ์ การแสดง ประชามติ หรืออื่น ๆ

5 หลักความรับผิดชอบ ได้แก่ การตระหนักในสิทธิหน้าที่ ความสํานึกในความรับผิดชอบ ต่อสังคม การใส่ใจปัญหาสาธารณะของบ้านเมือง และกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา ตลอดจนการเคารพในความ คิดเห็นที่แตกต่างและความกล้าที่จะยอมรับผลการกระทําของตน

6 หลักความคุ้มค่า ได้แก่ การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจํากัดเพื่อให้เกิดประโยชน์ สูงสุดแก่ส่วนรวม โดยรณรงค์ให้คนไทยมีความประหยัด ใช้ของอย่างคุ้มค่า สร้างสรรค์สินค้าและบริการที่มีคุณภาพ สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก และรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้สมดุลยังยืน

จะเห็นได้ว่าหลักธรรมาภิบาลของ UNDP กับประเทศไทยมีความคล้ายคลึงกันใน 5 ด้าน ส่วนหลักคุณธรรมของ UNDP ไม่ได้กล่าวถึงแต่สําหรับประเทศไทยได้ให้ความสําคัญในเรื่องนี้

เหตุผลความเหมาะสมในการนําหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในหน่วยงานภาครัฐ

1 ช่วยส่งเสริมให้บุคลากรภาครัฐมีความตระหนักถึงความสํานึกรับผิดชอบต่อประชาชน และองค์กรมากขึ้น ซึ่งความสํานึกรับผิดชอบมีส่วนทําให้เจ้าหน้าที่ของรัฐระมัดระวังการกระทําที่มีผลต่อสาธารณะ หรือประชาชนมากขึ้น และหากเกิดข้อผิดพลาดขึ้นก็ต้องพร้อมที่จะรับผลของการกระทํานั้นโดยไม่หลบเลี่ยงหรือ โยนความผิดให้บุคคลอื่น

2 ช่วยทําให้ระบบราชการเป็นระบบเปิด โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนมีช่องทางมีส่วนร่วม ในการบริหารภาครัฐอย่างหลากหลายและเป็นรูปธรรมมากขึ้น ทั้งนี้ระบบการบริหารภาครัฐในอดีตมักเป็นระบบปิด ทําให้ประชาชนไม่รู้ข้อมูลข่าวสารในการบริหารงานของภาครัฐมากนักและข้อมูลส่วนใหญ่จะถูกเก็บเป็นความลับ หรือไม่เปิดเผยให้ประชาชนได้รับรู้ แต่เมื่อมีการนําหลักธรรมาภิบาลมาใช้ทําให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูล ข่าวสารของภาครัฐ และให้สิทธิแก่ประชาชนในการยื่นขอข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานภาครัฐได้ นอกจากนี้ยังมี การกําหนดให้หน่วยงานภาครัฐต้องเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่จําเป็นต่อสาธารณะผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น เอกสารหรือ เว็บไซต์ของหน่วยงาน เป็นต้น และประชาชนยังมีช่องทางในการร้องเรียนหรือเสนอความคิดเห็นผ่านช่องทางต่าง ๆ ของรัฐอีกด้วย

3 ช่วยส่งเสริมให้บุคลากรภาครัฐยึดกฎหมายเป็นหลักในการปฏิบัติหน้าที่มากกว่าการใช้ ดุลยพินิจหรือตามอําเภอใจ โดยมีการวางมาตรฐานการปฏิบัติงานในแต่ละภารกิจหรือแต่ละงานไว้ชัดทําให้การใช้ กฎหมายเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนอาจลดลงได้

4 ช่วยให้บุคลากรภาครัฐตระหนักถึงความสําคัญของคุณธรรม จริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ ของตนในฐานะเป็นผู้ให้บริการประชาชนมิใช่เจ้านายของประชาชนหรือผู้ที่มีสถานภาพที่เหนือกว่าประชาชน

5 ทําให้ภาครัฐให้ความสําคัญกับประสิทธิภาพในการทํางานมากขึ้น โดยการปรับปรุง กระบวนการทํางานให้มีความรวดเร็ว และประหยัดทั้งเวลาและงบประมาณ

Advertisement