POL3112 ความคิดทางการเมืองในพุทธศาสนา 2/2557

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3112 ความคิดทางการเมืองในพุทธศาสนา

คําสั่ง ข้อสอบเป็นแบบอัตนัยมี 4 ข้อ ให้นักศึกษาเลือกทําเพียง 3 ข้อ

ข้อ 1 จงอธิบายถึงทฤษฎีการกําเนิดของรัฐมาให้เข้าใจอย่างน้อย 3 ทฤษฎี

แนวคําตอบ

ทฤษฎีการกําเนิดของรัฐ

รัฐมีกําเนิดมาหลายพันปี อาจจะถึง 10,000 ปีมาแล้ว และหลักฐานทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ ก็ยืนยันไม่ได้ว่า รัฐกําเนิดขึ้นมาอย่างไร นักรัฐศาสตร์จึงตั้งทฤษฎีหรือสมมุติฐานของตนขึ้นมาอธิบายว่ารัฐกําเนิด ขึ้นมาอย่างไร ซึ่งมีหลายทฤษฎีด้วยกัน โดยในที่นี้จะกล่าวถึง 3 ทฤษฎี คือ ทฤษฎีเทวสิทธิ์ ทฤษฎีสัญญาประชาคม และทฤษฎีกําลังอํานาจ

1 ทฤษฎีเทวสิทธิ์ (The Divine Theory) ทฤษฎีนี้อาจเป็นทฤษฎีการกําเนิดรัฐที่เก่าแก่ ที่สุด โดยทฤษฎีนี้เชื่อว่าพระเจ้า (God) เป็นผู้ให้กําเนิดและสร้างรัฐขึ้นมา

ในอาณาจักรโบราณและชนเผ่าที่เก่าแก่จะมีความเชื่อว่า ผู้ปกครอง (Rulers) เป็นผู้สืบ เชื้อสายมาจากพระเจ้า พวกคริสเตียนยุคก่อนเชื่อว่า พระเจ้าสร้างรัฐขึ้นมาปกครองมนุษย์เพื่อลงโทษบาปที่มนุษย์ ได้กระทําไว้

ในสมัยกลางทฤษฎีเทวสิทธิ์ยังเป็นที่ยอมรับกัน แม้ว่าจะมีความขัดแย้งระหว่างสันตะปาปา (Pope) และจักรพรรดิโรมัน (Emperor) ในข้อที่ว่า ผู้ปกครองได้รับมอบอํานาจโดยตรงจากพระเจ้าหรือต้องผ่าน สันตะปาปา ต่อมาพวกที่สนับสนุนระบบกษัตริย์โดยเฉพาะพวกโปรเตสแตนต์ได้อ้างว่า กษัตริย์ได้รับอํานาจโดยตรง จากพระเจ้า จึงทําให้ทฤษฎีอํานาจเทวสิทธิ์ของกษัตริย์ (The Divine Right of Kings) เป็นที่ยอมรับ

ทฤษฎีอํานาจเทวสิทธิ์ทําให้กษัตริย์มีอํานาจมากจนสามารถรวบรวมนครรัฐต่าง ๆ เข้า ด้วยกันเป็นรัฐชาติได้ แต่ก็มีผลเสียที่ทําให้กษัตริย์ใช้อํานาจกดขี่ประชาชนอย่างรุนแรงโหดร้าย

2 ทฤษฎีสัญญาประชาคม (The Social Contract Theory) ทฤษฎีนี้ถือว่าประชาชนเป็น เจ้าของอํานาจอธิปไตย (Popular Sovereignty) โดยมีแนวความคิดว่า มนุษย์เป็นผู้ก่อตั้งรัฐ โดยวิธีการที่ปัจเจกชน (Individual) ยกอํานาจอธิปไตยที่ตนมีให้แก่ผู้ปกครองหรือรัฐบาลให้มาใช้อํานาจปกครองเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม ดูแลทุกข์สุขของประชาชน แต่ถ้าผู้ปกครองหรือรัฐบาลไม่ดี กดขี่ประชาชน ประชาชนทุกข์ยาก ประชาชนก็ยกเลิก สัญญาประชาคมได้ โดยลุกฮือขึ้นล้มล้างผู้ปกครองหรือรัฐบาลที่เลวร้ายนั้นได้

ทฤษฎีนี้ได้รับความนิยมในยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 17 – 18 เป็นอย่างมากจนทําให้ทฤษฎี เทวสิทธิ์หมดความน่าเชื่อถือลง จึงเกิดปฏิวัติล้มล้างระบอบกษัตริย์ในยุโรปอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส จนมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยและรัฐสภาขึ้นมาแทนที่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

นักทฤษฎีสัญญาประชาคมที่มีชื่อเสียงมี 2 ท่าน คือ

1) โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) เชื่อว่า แต่แรกนั้นมนุษย์ไม่ได้รวมกันอยู่ในสังคม แต่แยกกันอยู่ตามสภาพธรรมชาติ อยู่ภายใต้กฎธรรมชาติ ซึ่งไม่เหมาะสมกับความเจริญ เพราะมีลักษณะโดดเดี่ยว ยากจน โหดร้าย ไม่มีความรับผิดชอบ และไม่มีความยุติธรรมต้องต่อสู้เพื่อรักษาให้ชีวิตอยู่รอดโดยลําพัง มนุษย์จึง ตกลงทําสัญญาต่อกันให้มารวมอยู่ภายใต้การปกครองของผู้ที่มีอํานาจเข้มแข็งกว่า ซึ่งฮอบส์เห็นว่า การปกครองโดยกษัตริย์ที่มีอํานาจมากจะดีที่สุด และประชาชนไม่มีสิทธิที่จะยกเลิกสัญญา ไม่สามารถเรียกร้องอํานาจคืนจาก องค์อธิปัตย์ได้

2) จอห์น ล็อก John Locke) เห็นว่า สภาพธรรมชาติของมนุษย์ยังไม่สมบูรณ์เพราะ มนุษย์มีหน้าที่ตัดสินความผิดที่ตนทําด้วยตนเองจึงหาความยุติธรรมไม่ได้ ล็อกเสนอว่าควรมีการจัดตั้งสถาบันขึ้น 3 ประเภท คือ สภานิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และศาลยุติธรรม เพื่อให้ประชาชนได้รับความยุติธรรมที่สมบูรณ์

การที่จะให้ได้สถาบันทั้ง 3 ขึ้นมา มนุษย์ต้องสละสิทธิพิพากษาลงโทษของตน โดยยอม ยกสิทธินี้ให้องค์กรหนึ่งเป็นผู้นําแทนทุกคน แต่ต้องทําตามกฎเกณฑ์ที่สังคมกําหนด ขั้นตอนนี้ล็อกถือว่าเป็นสัญญา เมื่อเกิดมีสัญญาสังคมแล้ว สังคมและรัฐบาลก็เกิดขึ้นทันที

ล็อกมีความเห็นที่ต่างจากฮอบส์ในข้อที่ว่า สิทธิที่มอบให้รัฐบาลไปแล้ว สามารถเรียกคืน ได้ถ้ารัฐบาลหรือองค์อธิปัตย์เป็นทรราช ล็อกสนับสนุนให้เอกชนมีสิทธิในทรัพย์สิน ซึ่งเป็นการปกป้องสิทธิเสรีภาพ ส่วนบุคคลที่สําคัญ และได้เน้นว่าสังคมเกิดขึ้นมาได้เพราะการยินยอมโดยสมัครใจของสมาชิกของสังคม ซึ่งมีการปกครองโดยเสียงข้างมาก (Majority) โดยความคิดเห็นของล็อกเป็นพื้นฐานของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ในปัจจุบัน

3 ทฤษฎีกําลังอํานาจ ทฤษฎีนี้เชื่อว่า รัฐมีจุดเริ่มต้นจากการยึดครองและการบังคับโดย ผู้ที่แข็งแรงกว่าต่อผู้ที่อ่อนแอกว่า นักทฤษฎีนี้บางท่านเห็นว่า รากฐานของรัฐคือความอยุติธรรมและความชั่วร้าย ดังนั้นผู้ที่แข็งแรงกว่าจึงสามารถข่มเหงผู้ที่อ่อนแอกว่าได้ และได้สร้างกฎเกณฑ์ที่ดูเหมือนชอบด้วยกฎหมายใน การจํากัดสิทธิของบุคคลอื่น

นักรัฐศาสตร์ส่วนหนึ่งเห็นว่าการใช้กําลังอํานาจของรัฐเป็นสิ่งจําเป็น และกําลังสร้าง ความชอบธรรม (Might made Right) อํานาจคือความยุติธรรม และรัฐคืออํานาจสูงสุด มีฐานะสูงกว่าศีลธรรมจรรยา ทฤษฎีนี้มีส่วนทําให้เกิดระบอบการปกครองแบบเผด็จการในยุโรปหลายลัทธิ เช่น ลัทธินาซีเยอรมัน และลัทธิ ฟาสซิสต์อิตาลี เป็นต้น

 

ข้อ 2 ธรรมราชาคืออะไร ต้องมีคุณธรรมใดบ้าง และใครที่นับกันว่าเป็น “ธรรมราชาในประวัติศาสตร์”  จงอธิบายถึงจริยวัตรต่าง ๆ ของธรรมราชาองค์นี้มาให้เข้าใจ

แนวคําตอบ

ธรรมราชาคืออะไร

ธรรมราชา หมายถึง พระราชาผู้ทรงชนะโดยธรรม ไม่ใช่ชนะด้วยสงคราม หรือนักปกครอง ผู้ใช้ธรรมะในการเอาชนะศัตรู ไม่ใช้อาวุธหรือศาสตรา มีธรรมเป็นที่พึ่งเป็นที่ยึดเหนี่ยวหรือเป็นเครื่องชี้นําใน การปกครองและดําเนินชีวิต

คุณธรรมของธรรมราชา

พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนเรื่องธรรมหรือข้อที่ควรปฏิบัติเป็นประจําของธรรมราชา ไว้หลายประการดังนี้ คือ

1 จักกวัตติสูตร – ข้อปฏิบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ

พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนภิกษุสาวกด้วยจักกวัตติสูตร หรือสูตรว่าด้วยสิ่งที่พระเจ้า จักรพรรดิปฏิบัติเป็นประจํา โดยตรัสสอนตามลําดับคือเรื่องรัตนเจ็ดประการของพระเจ้าจักรพรรดิ อันประกอบด้วย

1 จักรแก้ว

2 ช้างแก้ว

3 ม้าแก้ว

4 แก้วมณี

5 นางแก้ว

6 ขุนคลังแก้ว

7 ขุนพลแก้ว

ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้ยิ่งใหญ่ที่แท้จริงนั้น จะต้องมีบารมีสูงส่ง มีสิ่งประเสริฐคู่บารมีอย่างพร้อมเพรียง โดยสิ่งเหล่านี้จําเป็นสําหรับการรักษาพระราชอํานาจและบารมีของพระเจ้าจักรพรรดิด้วย เช่น นางแก้วคือภรรยาที่ดี ขุนพลแก้วคือแม่ทัพที่ดี และขุนคลังแก้วคือเสนาบดีที่ดูแลพระราชทรัพย์ ซึ่งล้วนมีความสําคัญต่อผู้เป็นประมุขทั้งสิ้น

ในจักกวัตติสูตรสอนข้อปฏิบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ ดังนี้

1) จงอาศัยธรรม สักการะเคารพนับถือธรรม ให้ความคุ้มครองอันเป็นธรรมแก่มนุษย์และสัตว์ ไม่ยอมให้ผู้ทําการอันเป็นอธรรมเป็นไปได้ในแว่นแคว้น

2) ผู้ใดไม่มีทรัพย์ก็มอบทรัพย์ให้

3) เข้าไปหาสมณะพราหมณ์เพื่อปรึกษาและนําธรรมมาปฏิบัติ

2 ราชสังคหวัตถุ 4

ราชสังคหวัตถุ 4 เป็นสังคหวัตถุของพระราชา หรือหลักการสงเคราะห์ประชาชนของ นักปกครอง ได้แก่

1) สัสสเมธะ (ฉลาดบํารุงธัญญาหาร) คือ ส่งเสริมการเกษตรซึ่งเป็นอาชีพหลักของประชาชนในสมัยพุทธกาล

2) ปุริสเมธะ (ฉลาดบํารุงข้าราชการ) คือ ส่งเสริมข้าราชการที่ดี ซื่อสัตย์สุจริต และขยันขันแข็ง

3) สัมมาปาสะ (ประสานรวมใจประชาชน) คือ ช่วยเหลือประชาชนให้มีอาชีพเลี้ยงตนเองได้

4) วาชไปยะ (วาทะดูดดื่มใจ) คือ รู้จักชี้แจงแนะนํา ไต่ถามทุกข์สุข และเป็นกันเองกับประชาชนทุกระดับการสงเคราะห์ช่วยเหลือประชาชนด้วยหลักธรรม 4 ข้อดังกล่าวนี้ จะช่วยทําให้ประชาชน อยู่เย็นเป็นสุข เจริญก้าวหน้า ในขณะเดียวกันก็เกิดความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

3 กฎทันตสูตร – สูตรว่าด้วยพราหมณ์ฟันเขยิน สิ่งที่ผู้ปกครองควรปฏิบัติตามกฎทันตสูตร มีดังนี้

1) เพิ่มข้าวปลูกและข้าวกินให้แก่เกษตรกรที่มีความขยันขันแข็ง

2) เพิ่มทุนให้แก่พ่อค้าที่ขยันขันแข็ง

3) เพิ่มเบี้ยเลี้ยงและเงินเดือนให้แก่ข้าราชการที่ขยันขันแข็งในกฎทันตสูตร อธิบายว่า การที่ผู้ปกครองเพิ่มทรัพย์สิ่งของให้แก่ผู้ทําดีเป็นวิธีการที่จะทําให้อาชญากรรมหมดไป นั่นคือ ทําให้เศรษฐกิจดีและช่วยเหลือประชาชนในการประกอบอาชีพให้มีรายได้ เพียงพอ เช่น ช่วยให้ชาวนามีสิ่งจําเป็นในการทํานา ช่วยให้พ่อค้ามีทุนในการค้าขาย ช่วยให้ลูกจ้างมีเงินพอเพียง สําหรับการเลี้ยงชีพ ช่วยให้คนเดือดร้อนได้รับการยกเว้นภาษี และให้รางวัลหรือเพิ่มเงินเดือนแก่เหล่าขุนนาง ข้าราชการที่ขยันขันแข็ง เป็นต้น

4 ทศพิธราชธรรม – คุณธรรมของพระราชา 10 ประการ

ทศพิธราชธรรมหรือคุณธรรมของพระราชา 10 ประการ ประกอบด้วย ทาน ศีล การบริจาค ความซื่อตรง ความอ่อนโยน ความเพียร ความไม่โกรธ ความไม่เบียดเบียน ความอดทน และความไม่พิโรธ

พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนเรื่องทศพิธราชธรรมก็เพื่อสอนให้กษัตริย์ที่มีอํานาจมาก ทรงปกครองโดยธรรม โดยมีหลักธรรมประจําใจควบคุมพระองค์เอง ประชาชนจะได้อยู่เย็นเป็นสุข

5 อปริหานิยธรรม – ธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม

อปริหานิยธรรม 7 ประการ คือ ธรรมที่ไม่ทําให้เกิดความเสื่อม มีแต่ความเจริญฝ่ายเดียว ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนอปริหานิยธรรมแก่เจ้าลิจฉวีให้ชาววัชชีที่เป็นชนชั้นสูงที่มีอํานาจปกครองรัฐแบบ สามัคคีธรรม ได้แก่

1) ประชุมกันเนืองนิตย์

2) พร้อมเพรียงกันประชุม เลิกประชุม และกระทํากิจที่ควรทํา

3) ไม่บัญญัติสิ่งที่ยังไม่ได้บัญญัติ และไม่ตัดรอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว

4) เคารพนับถือชาววัชชีที่เป็นผู้ใหญ่ผู้เฒ่า

5) ไม่ข่มเหงล่วงเกินสตรีที่มีสามีแล้วและสตรีสาว

6) สักการะเคารพเจดีย์ของชาววัชชี

7) จัดแจงให้การอารักขาคุ้มครองอันเป็นธรรมให้พระอรหันต์ และปรารถนาให้อรหันต์ที่ยังไม่มา ได้มา ที่มาแล้วขอให้อยู่เป็นสุข

6 ธัมมิกสูตร – พระราชาผู้ตั้งอยู่ในธรรม

ธัมมิกสูตรหรือพระราชาผู้ตั้งอยู่ในธรรม โดยพระพุทธเจ้าทรงสอนให้พระราชาเป็น ผู้ตั้งอยู่ในธรรม เพราะในฐานะผู้นําที่ต้องนําพาประชาชนไปสู่ความมั่นคงปลอดภัย ความเจริญก้าวหน้า และอยู่เย็นเป็นสุขนั้น ถ้าผู้นํานําดีและทําตัวเป็นตัวอย่างที่ดีประชาชนก็จะทําตัวดีตามอย่างผู้นํา อีกทั้งประชาชนก็จะมี ความสุขความเจริญ ชาติบ้านเมืองก็เจริญรุ่งเรืองและสงบสันติ

พระพุทธเจ้าทรงตรัสในธัมมิกสูตรตอนหนึ่งว่า “เมื่อฝูงโคข้ามไปอยู่ ถ้าโคผู้นําฝูงไปคด โคเหล่านั้นย่อมไปคดทั้งหมด ในเมื่อโคผู้นําไปคด ในมนุษย์ก็เหมือนกัน ผู้ใดได้รับสมมุติให้เป็นผู้นํา ถ้าผู้นั้น ประพฤติอธรรม ประชาชนนอกนี้ก็จะประพฤติอธรรมเหมือนกัน แว่นแคว้นทั้งหมดจะได้ประสบความทุกข์…”

พระเจ้าอโศกมหาราช – ธรรมราชาในประวัติศาสตร์

พระพุทธเจ้าทรงยกตัวอย่างพระเจ้าจักรพรรดิที่เป็นธรรมราชาไว้ในจักกวัตติสูตร ซึ่งเป็น ธรรมราชาในอุดมคติ หาตัวตนจริงไม่พบ แต่ธรรมราชาที่มีตัวตนจริงอยู่ในประวัติศาสตร์ คือ “พระเจ้าอโศกมหาราช” หรือพระศรีธรรมโศกราช ซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือไตรภูมิพระร่วง ของพญาลิไท กษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์พระร่วง ของกรุงสุโขทัย

ประวัติของพระเจ้าอโศกมหาราชเป็นที่รู้กันแพร่หลายนับพันปีมาแล้ว เพราะมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์มากมาย โดยเฉพาะหลักศิลาจารึกที่กล่าวถึงพระจริยวัตรในการปกครองโดยธรรมของพระองค์ โดยมีประเด็นต่าง ๆ ที่แสดงถึงความเป็นธรรมราชาของพระเจ้าอโศกมหาราชดังนี้คือ

1 ธรรมวิชัย – ชัยชนะด้วยธรรม ธรรมวิชัย คือ การเอาชนะด้วยธรรม แทนที่การใช้ แสนยานุภาพ แต่เดิมพระเจ้าอโศกมหาราชไม่ได้ทรงนับถือพุทธศาสนา ทรงมีพระทัยดุร้ายมาก การขยายอาณาจักร ของพระองค์ทรงใช้แสนยานุภาพปราบปรามข้าศึกอย่างโหมเหี้ยม กองทัพของพระองค์ได้ชัยชนะแบบที่เรียกว่า เลือดท่วมท้องช้าง

หลังจากที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงหันมานับถือพุทธศาสนาแล้ว ก็ทรงเปลี่ยนแปลง พระองค์เป็นธรรมราชา และขยายอํานาจโดยใช้ธรรมวิชัยในการเอาชนะข้าศึก เช่น การใช้ธรรมโดยมิต้องใช้อาชญา มิต้องใช้ศาสตรา, การใช้กองทัพขู่ให้กลัวและยอมแพ้แล้วหันมาปฏิบัติธรรมตามแบบของพระองค์, การอบรมสั่งสอน ให้ประชาชนประพฤติธรรม, การประกาศธรรมอย่างกึกก้องแทนเสียงกลองศึก เป็นต้น

2 พุทธศาสนาภายในพระบรมราชูปถัมภ์ พระเจ้าอโศกมหาราชทรงอุปถัมภ์พุทธศาสนา อย่างเต็มที่ โดยที่สําคัญมี 2 ประเภท คือ

1) การอุปถัมภ์การสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 3 ซึ่งกระทําที่วัดอโศการาม กรุงปาตลีบุตร ประเทศอินเดีย โดยมีสาเหตุมาจากการที่มีพวกเดียรถีย์ หรือนักบวชศาสนาอื่นมาปลอมบวชแล้ว แสดงลัทธิศาสนาและความเห็นของตนว่าเป็นพระพุทธศาสนา ทําให้คําสอนและการประพฤติปฏิบัติของสงฆ์ บิดเบือนไป

2) การส่งสมณทูตออกเผยแผ่พุทธศาสนาไปในดินแดนต่าง ๆ เช่น คณะของ พระมหินทเถระ ซึ่งเป็นโอรสของพระเจ้าอโศกมหาราช ได้นําพระพุทธศาสนาเข้าไปเผยแผ่ในลังกาทวีปเป็นครั้งแรก และคณะหนึ่งที่นําโดยพระโสณะเถระ และพระอุตตระเถระมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิโดยมี ศูนย์กลางที่นครปฐมในปัจจุบัน และได้สร้างพระปฐมเจดีย์ขึ้นเป็นเครื่องหมายแห่งการเผยแผ่ธรรมในดินแดน สุวรรณภูมิเป็นครั้งแรก

3 การยกย่องบูชาและอุปถัมภ์บํารุงศาสนา พระเจ้าอโศกมหาราชทรงเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี ดังนี้คือ

1) ทรงมีใจกว้างต่อศาสนาอื่น ไม่ทําลายล้างศาสนาฮินดูซึ่งเป็นความเชื่อของคนอินเดีย ทั่วไป และมิได้ทรงบังคับให้ประชาชนเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ

2) ทรงไม่สนับสนุนให้ยกย่องนักบวชของตนเองแล้วกล่าวร้ายนักบวชที่คนอื่นนับถือพระเจ้าอโศกมหาราชทรงให้ความสําคัญต่อนักบวชเป็นพิเศษ เพราะทรงเห็นว่านักบวช เป็นผู้ปฏิบัติธรรมและสั่งสอนธรรม โดยได้ทรงพระราชทานที่เพื่อปฏิบัติธรรมแก่พวกนักบวชหลายแห่ง นอกจากนี้ ยังทรงดูแลพุทธศาสนาเป็นพิเศษ เช่น ห้ามการแตกสามัคคีในหมู่สงฆ์ ทรงตั้งพระทัยจะรักษานักบวชที่ดี และ ขจัดนักบวชที่ไม่ดี

4 การสั่งสอนธรรมแก่ประชาชนทั้งที่อยู่ในและนอกอาณาจักร พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงตั้งพระทัยให้ประชาชนเจริญทางธรรมและเข้าถึงธรรม จึงทรงดําเนินการให้สั่งสอนธรรมแก่ประชาชนทั้งที่อยู่ ใกล้และที่อยู่ห่างไกล โดยทรงแสวงหาวิธีการส่งเสริมให้ประชาชนประพฤติธรรมหลายวิธี ได้แก่

1) การประกาศธรรมออกไปในทิศต่าง ๆ

2) การอบรมสั่งสอนธรรมแก่ประชาชน

3) การให้มหาดเล็กและข้าหลวงซึ่งปกครองคนจํานวนมากหลายแสนคนนั้นพูดชักชวน ให้ประชาชนเข้าถึงธรรม

4) การกําหนดให้ประชาชนฟังธรรม เป็นต้น

5 การเมตตาธรรมต่อมนุษย์และสัตว์ พระเจ้าอโศกมหาราชทรงมีเมตตาธรรมต่อมนุษย์ และสัตว์อย่างเปี่ยมล้น ดังจะเห็นได้จากการห้ามไม่ให้ปฏิบัติต่อนักโทษด้วยความชั่วร้ายทั้งหลาย คือ ด้วยความ เกลียดแกล้ง ด้วยความเหลื่อมล้ํา ด้วยความรุนแรง ด้วยความด่วนได้ ด้วยความละเลย ด้วยความเกียจคร้าน และ ด้วยความท้อถอย โดยทรงปล่อยนักโทษ 25 ครั้งใน 26 ปี ทรงยกเลิกการล่าสัตว์ส่วนพระองค์ ห้ามฆ่าสัตว์เพื่อบูชายัญ ห้ามประชาชนล่าสัตว์ ห้ามฆ่าสัตว์บางชนิด บางเวลา และการสร้างโรงพยาบาลสัตว์จํานวนมากทั่วประเทศอินเดีย

6 การตั้งธรรมอํามาตย์ พระเจ้าอโศกมหาราชทรงตั้งข้าราชการตําแหน่งใหม่ขึ้นมาชื่อว่า “ธรรมมหาอํามาตย์” มีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือพระองค์ในการบําเพ็ญธรรม ดูแลพระราชวงศ์ให้บําเพ็ญธรรม สั่งสอน ประชาชน และทํางานด้านสังคมสงเคราะห์

7 การปกครองแบบพ่อปกครองลูก พระเจ้าอโศกมหาราชทรงมีพระทัยรักและเสียสละ ให้ประชาชนเสมือนหนึ่งเป็นลูกของพระองค์ จึงทรงปกครองโดยธรรมได้อย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้แล้วยังทรงดูแล ข้าราชการให้รักประชาชนเหมือนลูกเช่นเดียวกัน

พระองค์ทรงห่วงใยและเอาใจใส่ดูแลทุกข์สุขของประชาชนอย่างยิ่ง จะเห็นได้จากการที่ พระองค์เปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีความทุกข์เข้าร้องทุกข์ได้ตลอดเวลาไม่ว่าจะทรงบรรทมหรือทรงเสวยอยู่ก็ตาม

กล่าวโดยสรุปคือ ธรรมราชา หมายถึง พระราชาผู้ทรงชนะโดยธรรม ไม่ใช่ชนะด้วยสงคราม โดยคุณธรรมหรือข้อควรปฏิบัติเป็นประจําของธรรมราชามีหลายประการ คือ จักกวัตติสูตร-ข้อปฏิบัติของพระเจ้า จักรพรรดิ, ราชสังคหวัตถุ 4, กูฏทันตสูตร สูตรว่าด้วยพราหมณ์ฟันเขยิน, ทศพิธราชธรรม-คุณธรรมของ พระราชา 10 ประการ, อปริหานิยธรรม-ธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม และธัมมิกสูตร-พระราชาผู้ตั้งอยู่ในธรรม

พระพุทธเจ้าทรงยกตัวอย่างพระเจ้าจักรพรรดิที่เป็นธรรมราชาไว้ในจักกวัตติสูตร ซึ่งเป็น ธรรมราชาในอุดมคติ หาตัวตนจริงไม่พบ แต่ธรรมราชาที่มีตัวตนจริงอยู่ในประวัติศาสตร์ คือ “พระเจ้าอโศกมหาราช” หรือพระศรีธรรมโศกราช ซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือไตรภูมิพระร่วง ของพญาลิไท กษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์พระร่วง ของกรุงสุโขทัย โดยจริยวัตรต่าง ๆ ที่แสดงถึงความเป็นธรรมราชาของพระเจ้าอโศกมหาราชมีดังนี้ คือ ธรรมวิชัยชัยชนะด้วยธรรม, พุทธศาสนาภายในพระบรมราชูปถัมภ์, การยกย่องบูชาและอุปถัมภ์บํารุงศาสนา, การสั่งสอน ธรรมแก่ประชาชนทั้งที่อยู่ในและนอกอาณาจักร, การเมตตาธรรมต่อมนุษย์และสัตว์, การตั้งธรรมอํามาตย์ และ การปกครองแบบพ่อปกครองลูก

 

ข้อ 3 จงอธิบายถึงหลักการสําคัญ ๆ ของประชาธิปไตยสมัยใหม่มาให้เข้าใจอย่างชัดเจน

แนวคําตอบ

หลักการสําคัญของประชาธิปไตยสมัยใหม่ มีดังนี้

1 หลักอํานาจอธิปไตยเป็นของประชาชน (Popular Sovereignty) อํานาจสูงสุดใน การปกครองประเทศหรืออํานาจอธิปไตยนั้นเป็นของประชาชนทุกคนร่วมกัน ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอํานาจร่วมกัน ใช้อํานาจนี้จะทางตรงหรือทางอ้อมเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนเอง รวมทั้งอํานาจในการถอดถอนในกรณีที่มี การใช้อํานาจโดยมิชอบ

2 หลักสิทธิและเสรีภาพ

สิทธิ (Right) หมายถึง อํานาจหรือความสามารถที่จะทําอะไรได้ตราบใดที่ไม่ไปละเมิด สิทธิของผู้อื่น สิทธิบางอย่างเกิดมาตามธรรมชาติ เช่น สิทธิในชีวิตและร่างกายของตนเอง ตนจึงมีสิทธิที่จะเลี้ยงดู ปกป้องคุ้มครองชีวิตของตน สิทธิบางอย่างได้มาตามกฎหมาย เพราะกฎหมายกําหนดไว้ให้มีสิทธินั้น โดยในทาง การเมืองประชาชนก็มีสิทธิที่สําคัญหลายอย่าง เช่น สิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง (Election) สิทธิในการออกเสียง ประชามติ (Referendum) สิทธิเสนอร่างกฎหมาย (Initiative) และสิทธิในการถอดถอนเจ้าหน้าที่ของรัฐออกจาก ตําแหน่ง (Recall) เป็นต้น

เสรีภาพ (Liberty) หมายถึง ความเป็นอิสระในการกระทําการต่าง ๆ ตราบใดที่ไม่ได้ ทําให้ผู้อื่นเสียหายหรือผิดกฎหมาย โดยในทางการเมืองนั้นเสรีภาพที่สําคัญที่จะบัญญัติรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ ได้แก่ เสรีภาพในการพูดและแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในการพิมพ์ เสรีภาพในการศึกษา และเสรีภาพในการจัดตั้ง สมาคมและพรรคการเมือง เป็นต้น

3 หลักความเสมอภาค (Equality) หมายถึง ความเท่าเทียมที่จะทําอะไรได้เหมือนกัน และได้รับการปฏิบัติเหมือนกันภายใต้กฎหมาย โดยในทางการเมืองที่มีความเสมอภาคที่สําคัญหลายอย่าง เช่น ความเสมอภาคในการเป็นมนุษย์เหมือนกัน ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย เด็กหรือผู้ใหญ่ คนรวยหรือคนจน ก็มีค่าแห่งความเป็นคนเหมือนกัน ย่อมมีศักดิ์ศรีเกียรติยศที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์เหมือนกัน

ความเสมอภาคทางการเมืองมีความสําคัญ คือ บุคคลจะได้รับความคุ้มครองหรือปฏิบัติ จากกฎหมายเสมอเหมือนกัน ความเสมอภาคทางการเมืองเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเมือง คือ คนที่มีภาวะหรือสภาพ เหมือนกัน ย่อมมีสิทธิทางการเมืองเสมอภาคกัน เช่น อายุ 18 ปีบริบูรณ์มีสิทธิเลือกตั้งเหมือนกันหมด เป็นต้น

4 หลักการปกครองโดยกฎหมาย (Rule of Law) หมายถึง ผู้ปกครองจะใช้อํานาจใด ๆ ได้ ก็ต่อเมื่อมีกฎหมายให้อํานาจไว้ อีกทั้งการใช้อํานาจนั้นจะต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ซึ่งเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนเท่านั้น การจํากัดสิทธิเสรีภาพใด ๆ ของประชาชนจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ของกฎหมายเท่านั้น ดังนั้นหลักการนี้มีขึ้นเพื่อมุ่งจะให้ความคุ้มครองแก่สิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน เป็นสําคัญ

5 หลักเสียงข้างมาก (Majority Rule) หมายถึง ในการตัดสินใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นการกําหนด ตัวผู้ปกครอง หรือการตัดสินใจของฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ จะต้องถือเอาเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ และเพื่อให้มั่นใจว่าการตัดสินนั้นสะท้อนถึงความต้องการของคนส่วนใหญ่อย่างแท้จริงก็ต้องให้ความเคารพและ คุ้มครองเสียงข้างน้อยด้วย (Minority Right) ทั้งนี้เพื่อประกันว่าฝ่ายเสียงข้างมากจะไม่ใช้มติในลักษณะพวกมากลากไป

 

ข้อ 4 จงอธิบายถึง “หลักประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา” มาให้ชัดเจน

แนวคําตอบ

หลักประชาธิปไตยในพุทธศาสนา

“พระพุทธเจ้าตรัสสอนพุทธธรรมเมื่อกว่า 2,500 ปีมาแล้ว ดังนั้นการที่จะนําเอาหลักธรรมคําสอน ของพระองค์มาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับหลักประชาธิปไตยซึ่งเป็นระบอบการปกครองหนึ่งในปัจจุบันนั้น จะต้อง คํานึงถึงความแตกต่างของกาละเทศะ และบุคคลด้วย

1 หลักสาราณียธรรม 6 ประการ พระธรรมปิฎกได้อธิบายหลักการอยู่ร่วมกันแบบ ประชาธิปไตยโดยใช้หลักสาราณียธรรม 6 ประการ ดังนี้

1) เมตตากายกรรม คือ การจะทําอะไรก็ทําต่อกันด้วยความเมตตา ด้วยความรักด้วยไมตรี ด้วยความปรารถนาดีต่อกัน มีการช่วยเหลือ มีการร่วมมือ มีความพร้อม

ที่จะประสานงานกัน

2) เมตตาวจีกรรม คือ จะพูดอะไรก็พูดด้วยเมตตา พูดด้วยความหวังดีต่อกันและมุ่งประโยชน์ต่อส่วนรวม

3) เมตตามโนกรรม คือ คิดอะไรก็คิดต่อกันด้วยเมตตา มีความหวังดีและปรารถนาดีต่อกัน

4) สาธารณโภคี คือ การแบ่งปันทรัพย์สินผลประโยชน์กันอย่างทั่วถึง หรือการมีกินมีใช้ร่วมกัน

5) สีลสามัญญตา แปลว่า การมีศีลเสมอกัน คือ มีความประพฤติดี รักษาระเบียบวินัยมีความสุจริตทางกาย วาจาที่จะกลมกลืนเข้ากันได้

6) ทิฏฐิสามัญญตา คือ มีความเห็น มีความเชื่อมันยึดถือในหลักการ อุดมการณ์ และอุดมคติที่ร่วมกันหรือสอดคล้องไปกันได้

2 อํานาจอธิปไตย พระพุทธเจ้าตรัสสอนเรื่องอธิปไตย 3 ไว้ในสังคีติสูตร ดังนี้

1) อัตตาธิปไตย (ถือตนเป็นใหญ่) คือ ถือเอาตนเอง ศักดิ์ศรีเกียรติภูมิ ตลอดจน ผลประโยชน์ตนเป็นใหญ่ กระทําการด้วยปรารภตน และสิ่งที่เนื่องด้วยตนเป็นประมาณ

2) โลกาธิปไตย (ถือโลกเป็นใหญ่) คือ การถือเอาความนิยมของชาวโลกเป็นใหญ่ หวั่นไหวไปตามเสียงนินทาและสรรเสริญ ไม่มีหลักการที่แน่นอน กระทําการด้วยวิธีการเอาใจประชาชนเพื่อมุ่งหา ความนิยมหรือลดเสียงว่ากล่าวประณาม

3) ธรรมาธิปไตย (ถือธรรมเป็นใหญ่) คือ การยึดหลักความจริง ความถูกต้อง ความดีงาม เหตุผลเป็นใหญ่ กระทําการด้วยปรารถนาสิ่งที่ได้ศึกษาตรวจสอบข้อเท็จจริงและความคิดเห็นที่รับฟังอย่างกว้างขวาง แจ้งชัด และได้พิจารณาอย่างดีที่สุด เต็มขีดแห่งสติปัญญา ซึ่งจะมองเห็นได้ด้วยความบริสุทธิ์ใจว่าเป็นไปโดยชอบธรรม และเพื่อความดีงามเป็นประมาณ ซึ่งผู้ปกครองที่ดีควรใช้หลักธรรมข้อนี้ในการปกครองประเทศ

3 รัฐ ในอัคคัญญสูตร พระพุทธเจ้าตรัสถึง กําเนิดมนุษย์ สังคม และสถาบันการเมือง โดย แสดงลําดับวิวัฒนาการมาเป็นชั้น ๆ กล่าวคือ ในสมัยที่โลกพินาศ สัตว์โลกที่มีบุญก็ได้ไปเกิดในชั้นอาภัสสรพรหม มีรัศมี ไม่มีเพศ มีปิติเป็นอาหาร เมื่อโลกเกิดขึ้นใหม่ เริ่มจากโลกเป็นน้ำหมด มืดมนไม่มีดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว ไม่มีกลางวันกลางคืน ต่อมาเกิดพื้นดินลอยขึ้นมาอยู่เหนือน้ำ มีกลิ่นมีสี รสดี อาภัสสรพรหมตนหนึ่งก็ลองชิม ก็ติดใจ สัตว์โลกอื่น ๆ ก็ชิมตามทําให้ติดใจ เกิดตัณหา หมดรัศมีต้องเป็นมนุษย์ อยู่บนพื้นโลก เกิดผิวพรรณหยาบ ละเอียดต่างกัน ก็มีการดูถูกเหยียดหยามกันด้วยเหตุแห่งผิวพรรณ เกิดเพศชายหญิง เกิดการเสพเมถุนขึ้น สัตว์โลก (มนุษย์) อื่นเห็นก็ขว้างปาทําให้ต้องสร้างบ้านเรือนที่กําบังขึ้น ทําให้เกิดครอบครัวขึ้น ครอบครัวจึงเป็นเครื่องหมาย แห่งกิเลสตัณหา และความตกต่ำทางจิต

ทางด้านอาหารที่เริ่มจากการแสวงหาอาหารจากธรรมชาติมาเป็นเพาะปลูกเองนั้น เกิดจาก มีผู้สะสมอาหารไว้เกินกว่าความจําเป็นจึงเอาอย่างกัน ทําให้มีการแบ่งปันเขตแดน เกิดทรัพย์สินส่วนตัวขึ้น บางคน เกิดความโลภมากก็ลักทรัพย์ผู้อื่น จึงมีการจับกุมลงโทษทัณฑ์กันขึ้น แต่ยังลงโทษไม่เป็นธรรม จึงได้ตกลงกันเลือกหรือ สมมติคนผู้หนึ่งขึ้นเป็นหัวหน้า ทําหน้าที่ว่ากล่าวติเตียนลงโทษคนที่ทําผิด โดยได้รับส่วนแบ่งผลผลิตจากผู้อยู่ ในความดูแล จึงเกิดคําเรียกผู้ปกครองว่า มหาชนสมมุติ คือเป็นคนที่คนทั่วไปสมมุติขึ้นเป็นหัวหน้า โดยเรียกว่า “กษัตรีย์” เพราะเป็นหัวหน้าดูแลเขตหรือที่ทํากิน และเรียกว่า “ราชา” เพราะทําให้เกิดความสุขใจโดยการให้ ความเป็นธรรม ส่วนคนทั่วไปก็ต้องแบ่งงานกันทําเป็นหน้าที่ต่าง ๆ ในสังคม เพราะต้องเลี้ยงดูครอบครัวจึงเกิดรัฐ ขึ้นเต็มรูปแบบ

การเกิดขึ้นของรัฐตามแนวคิดของพุทธศาสนาไม่ได้เป็นแบบเทวสิทธิ์ (Divine Right) ที่ถือว่าอํานาจปกครองเป็นของผู้ปกครองโดยพระเจ้ามอบให้ แต่เป็นแบบสัญญาประชาคม (Social Contract) ประชาชนตกลงมอบอํานาจให้ แต่ผู้ปกครองต้องเป็นธรรมราชาปกครองโดยธรรม ไม่เป็นทรราช กดขีประชาชน ถ้าตัวผู้ปกครองไม่ดี ประชาชนเรียกคืนอํานาจปกครองนั้นได้

การเกิดขึ้นของรัฐตามแนวคิดของพุทธศาสนาจะคล้ายกับแนวคิดเรื่องสัญญาประชาคม ของจอห์น ล็อก ซึ่งเป็นทฤษฎีพื้นฐานของประชาธิปไตยมาก เพราะล็อกเห็นว่าอํานาจเป็นของประชาชนที่ตกลง สร้างพันธะสัญญากันยกอํานาจปกครองให้ผู้ปกครอง และผู้ปกครองต้องทําดีถ้าทําไม่ดีประชาชนเรียกอํานาจคืนได้ โดยความคิดของล็อกนี้จะแตกต่างจากโทมัส ฮอบส์ ซึ่งมีความคิดแบบสัญญาประชาคมเหมือนกัน แต่ต่างกันที่ อํานาจที่ยกให้ผู้ปกครองแล้ว ถือเป็นสิทธิขาดของผู้ปกครองและจะเรียกคืนไม่ได้

4 การเมืองกับเศรษฐกิจ ในจักกวัตติสูตรได้กล่าวถึงหน้าที่ของนักปกครองที่ยิ่งใหญ่ไว้ 5 ประการ โดยเน้นหน้าที่ ข้อ 3 คือ ธนานุประทาน ปันทรัพย์เฉลี่ยให้แก่ประชาชนผู้ไร้ทรัพย์ มิให้มีคนขัดสนยากไร้ ในแผ่นดิน การละเว้นธรรมข้อนี้จะนําไปสู่ความยุ่งยาก ดังนั้นผู้ปกครองต้องทําหน้าที่ช่วยเหลือประชาชนไม่ให้ อดอยากด้วย หน้าที่ทางเศรษฐกิจของผู้ปกครองจึงมีความสําคัญ ผู้ปกครองต้องทําหน้าที่นี้ให้ดีด้วย มิฉะนั้นศีลธรรม ซึ่งเป็นหลักในการดําเนินชีวิตของประชาชนก็จะเสื่อมเสียไปด้วย

นอกจากนี้ในกฎทันตสูตร พระพุทธเจ้าก็ทรงแสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจเป็นสิ่งสําคัญที่ ทําให้รัฐมั่นคง โดยได้แสดงถึงสาเหตุของอาชญากรรมและวิธีการที่ทําให้อาชญากรรมหมดไปคือ ต้องทําให้เศรษฐกิจดี ชาวนาต้องได้สิ่งที่จําเป็นในการทํานา พ่อค้าต้องได้ทุน ลูกจ้างต้องได้เงินมากพอในการเลี้ยงชีพ คนเดือดร้อนต้อง ได้รับการยกเว้นภาษี ถ้าประชาชนมีรายได้เพียงพอ รัฐก็สงบสุข

กล่าวโดยสรุป ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจและการเมืองเป็นสิ่งที่คู่กัน และส่งเสริม ซึ่งกันและกัน เหมือนกับในปัจจุบันที่ระบอบประชาธิปไตยคู่กับระบบเศรษฐกิจแบบนายทุนหรือทุนนิยมซึ่ง ส่งเสริมกันและกัน กล่าวคือ ในทางการเมืองประชาชนก็มีสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาค ในทางเศรษฐกิจแบบ นายทุนประชาชนก็มีเสรีในการแข่งขันกันในการประกอบอาชีพ

5 ระบอบการปกครอง ในสมัยพุทธกาลได้แบ่งระบอบการปกครองออกเป็น 2 ระบบ ดังนี้

1) ระบอบราชาธิปไตย (Monarchy) ที่กษัตริย์มีอํานาจสิทธิขาดแต่ผู้เดียว พระพุทธเจ้า จึงทรงสอนให้กษัตริย์ใช้วิธีการปกครองโดยธรรม เป็นธรรมราชาโดยมีหลักธรรมประจําใจควบคุมพระองค์เอง

2) ระบอบสามัคคีธรรม ที่พลเมืองชั้นสูงที่มีอํานาจ ตําแหน่งและเงินเลือกตั้งบุคคล ในชนชั้นสูงด้วยกันให้เป็นประธานที่ประชุมหรือเป็นพระราชาที่มีอํานาจจํากัด โดยต้องขึ้นอยู่กับสภาชนชั้นสูง เช่น การปกครองของแคว้นสักกะที่มีสภาซื้อ ศากยะสังฆะ ซึ่งการปกครองระบอบนี้มีลักษณะบางประการคล้ายกับ ระบอบประชาธิปไตย คือ มีการเลือกตั้งผู้ปกครอง และมีการประชุมสภา ที่มีระเบียบปฏิบัติหลายประการเหมือนกับ การประชุมรัฐสภาในปัจจุบัน

พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมที่ชื่อว่า อปริหานิยธรรม (ธรรมที่ทําให้เจริญโดยส่วนเดียว คือไม่มีความเสื่อม) ให้กับแคว้นวัชชีที่ปกครองด้วยระบอบสามัคคีธรรมจนประสบความเจริญรุ่งเรืองมั่งคั่งและเข้มแข็ง แม้แต่พระเจ้าอชาตศัตรูกษัตริย์แบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของแคว้นมคธก็ยังไม่กล้ายกกองทัพไปตีในตอนแรก ต้องส่งไส้ศึกไปทําให้แตกแยกเสียก่อน จึงสามารถยกกองทัพไปยึดครองแคว้นวัชชีได้ โดยอปริหานิยธรรมมีหลักการ ที่สําคัญอยู่ 7 ประการดังนี้

1) หมั่นประชุมกันบ่อย ๆ

2) พร้อมเพรียงกันประชุมและเลิกประชุม

3) ไม่ทําอะไรนอกเหนือจากระเบียบข้อบังคับ

4) เคารพให้เกียรติท่านผู้ใหญ่ในที่ประชุม

5) ให้เกียรติและคุ้มครองสตรีและเด็ก

6) เคารพบูชาปูชนียสถานของชาติ

7) คุ้มครองดูแลสมณะพราหมณ์ และผู้ทรงวิชาคุณ

หลักธรรมทั้ง 7 ประการนี้ สามารถนํามาใช้ในการทั่วไปทั้งการประชุมของข้าราชบริพาร ของกษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และการประชุมรัฐสภาของระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบัน ซึ่งจะทําให้ การขาดประชุมจนไม่ครบองค์ประชุม และความวุ่นวายต่าง ๆ ในรัฐสภาลดลงหรือหมดไปได้ .

6 ธรรมราชา พระพุทธเจ้าทรงให้ความสําคัญต่อผู้ปกครองที่ดีมีคุณธรรมมากที่สุดโดย ทรงใช้คําว่า ธรรมราชา ผู้ทรงธรรม ผู้ปกครองโดยธรรม ซึ่งหลักธรรมหลายประการก็มุ่งที่จะสอนกษัตริย์ พระราชา และหัวหน้าหมู่ชนให้เป็นผู้ปกครองที่ดี เช่น หลักทศพิธราชธรรม หลักจักรวรรดิวัตร และหลักราชสังคหวัตถุ เป็นต้น

ธรรมราชานั้นสามารถใช้ได้กับการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และระบอบสามัคคีธรรม โดยหลักธรรมของผู้เป็นใหญ่ ผู้นํา และผู้ปกครองที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้นี้ก็สามารถนํามาใช้กับ ผู้ปกครองในระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบันด้วย เช่น นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี วุฒิสมาชิก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตลอดจนข้าราชการระดับสูงต่าง ๆ ก็ควรจะปฏิบัติตามคําสอนของพระพุทธองค์ในเรื่องผู้ปกครองที่ดีที่ปกครอง หรือบริหารโดยธรรมด้วย

7 สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงตรัสเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพ และ ความเสมอภาคทางการเมืองการปกครองไว้โดยตรง แต่จากคําสอนและการประพฤติปฏิบัติจริงของพระองค์นั้น เป็นการให้สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคแก่ศาสนิกชนอย่างมาก จนเป็นที่กล่าวกันว่า ศาสนาพุทธเป็นศาสนา แห่งเสรีภาพและความเสมอภาค เนื่องจากพระพุทธเจ้าไม่ทรงบังคับให้ใครเชื่อถือศรัทธาในศาสนาของพระองค์ แต่ทรงชี้ทางที่ถูกต้องให้เท่านั้น ใครจะทําตามหรือไม่นั้นย่อมมีสิทธิเลือก

พระองค์ทรงแนะนําให้ใช้วิจารณญาณในการพิจารณาไตร่ตรองของตนเองเสียก่อน ดัง คําสอนในกาลามสูตรที่พระองค์ทรงสอนพวกกาลามะ ซึ่งตรัสสอนมีให้เชื่อในสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ 1) โดยฟังตามกันมา 2) โดยนําสืบกันมา 3) โดยตื่นข่าวลือ 4) โดยอ้างตํารา 5) โดยนึกเดาเอาเอง 6) โดยการคาดคะเน 7) โดยตรึก ตามอาการ 8) โดยพอใจว่าชอบแก่ความเห็นของตน 9) โดยเห็นว่าพอเชื่อได้ 10) โดยเห็นว่าสมณะผู้นี้เป็นครูของเรา ทั้งนี้พระพุทธเจ้าจะทรงสอนให้มนุษย์สอบสวนจนรู้ได้ด้วยตนเองแทน

นอกจากนี้ศีล 5 ที่พระพุทธเจ้าทรงสอนให้พุทธศาสนิกชนนําไปปฏิบัติตามนั้น จะเห็น ได้ว่าเป็นการรับรองสิทธิในชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งถือเป็นสิทธิพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตย คือไม่ให้ฆ่าผู้อื่น ไม่ให้ลักทรัพย์ผู้อื่น ไม่ให้ล่วงละเมิดทางเพศผู้อื่น เป็นต้น เป็นการแสดงให้เห็นถึงการรับรองสิทธิส่วนบุคคลที่ผู้อื่น จะละเมิดมิได้ด้วย

ในด้านความเสมอภาคนั้นจะเห็นได้ว่าพระพุทธศาสนามีการเปิดโอกาสอย่างชัดเจน เช่น ผู้หญิงก็สามารถขอบวชเป็นภิกษุณีได้ เพียงแต่ผู้หญิงจะมีปัญหาเฉพาะเพศมากกว่าผู้ชาย จึงทรงให้ภิกษุณีถือศีล มากกว่าภิกษุ และต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดที่บังคับให้ปฏิบัติอย่างเคร่งครัดอีก 8 ข้อจึงจะเข้ามาบวชได้ ซึ่งการ : – ยอมรับความเสมอภาคของหญิงเท่ากับชายในการบวชจึงเป็นการปฏิบัติทางสังคมที่ยิ่งใหญ่มากในสมัยนั้น

พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ทุกวรรณะแม้แต่จัณฑาลสามารถเข้าบวชในพุทธศาสนา และ ทรงสั่งสอนไม่ให้เชื่อในคําสอนที่ว่าพราหมณ์ดีกว่าวรรณะอื่น รวมทั้งทรงสอนว่า คนทุกคนมีความเสมอภาคกันหมด ต่อกรรมดีและกรรมชั่วที่ตนทํา

8 การปกครองคณะสงฆ์ พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ส่งเสริมการปกครองระบอบ ประชาธิปไตย ดังจะเห็นได้จากการปกครองคณะสงฆ์ที่มีลักษณะหลายประการที่สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตย ดังนี้

1) พระพุทธศาสนามีพระธรรมวินัยเป็นธรรมนูญหรือกฎหมายสูงสุด ซึ่งคล้ายกับ การปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด

2) พระพุทธศาสนาถือหลักความเสมอภาคภายใต้พระธรรมวินัย ซึ่งคล้ายกับสังคม ประชาธิปไตยที่บุคคลเสมอภาคกันภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย

3) การปกครองคณะสงฆ์มีการแบ่งอํานาจเป็นฝ่ายปกครองและฝ่ายสอบสวนพิจารณา โทษคล้ายกับในระบอบประชาธิปไตยที่มีการแบ่งเป็นฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ โดยคณะพระเถระผู้ใหญ่จะบริหาร คณะสงฆ์ตามพระธรรมวินัยหรือกฎหมายของสงฆ์ ส่วนพระวินัยธรจะทําหน้าที่สอบสวนพิจารณาโทษพระสงฆ์ที่ ทําผิดพระธรรมวินัย

4) การปกครองคณะสงฆ์ใช้เสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ตัดสิน ฝ่ายใดได้รับเสียงข้างมาก สนับสนุนฝ่ายข้างน้อยก็ปฏิบัติตาม แต่ทั้งนี้ต้องไม่ขัดกับพระธรรมวินัย

5) การมอบความเป็นใหญ่ให้สงฆ์

จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า พุทธศาสนามีหลักธรรมหลายประการที่สอดคล้องกับการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย

POL3112 ความคิดทางการเมืองในพุทธศาสนา 1/2561

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3112 ความคิดทางการเมืองในพุทธศาสนา

คําสั่ง ข้อสอบเป็นแบบอัตนัยมี 5 ข้อ ให้นักศึกษาเลือกทําเพียง 3 ข้อ (ข้อละ 33 คะแนน)

ข้อ 1 จงอธิบายความหมายของคําต่อไปนี้ให้เข้าใจ (ทําทุกข้อ)

(1) กษัตริย์

(2) ราชา

(3) จักรพรรดิ

แนวคําตอบ

(1) กษัตริย์ หมายถึง ผู้ทําหน้าที่ปกครอง ในความหมายเดิมจะหมายถึงบุคคลที่มีหน้าที่รบ ป้องกันภัย แก้ไขข้อขัดแย้งให้กับคนอื่น เป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายจากสังคมให้ทําหน้าที่เฉพาะเรื่อง ด้วยเหตุดังกล่าวนี้จึงไม่มีเวลาไปประกอบอาชีพ ทําให้ประชาชนทั้งหลายพากันบริจาคที่ดินให้ จึงเป็นผู้มีที่ดินมากขึ้น ตามลําดับ คนทั้งหลายจึงเรียกว่า เขตตะ (ผู้มีที่ดินมาก) หรือเขียนในรูปภาษาสันสกฤตว่า เกษตตะ หรือ เกษตร และในที่สุดก็เขียนมาเป็นคําว่า “กษัตริย์” ส่วนอีกความหมายก็คือ ชื่อวรรณะหนึ่งของสังคมฮินดู เรียกว่า วรรณะกษัตริย์ ซึ่งหมายถึง บุคคลที่เกิดในตระกูลนักรบ ได้แก่ เจ้านาย และขุนนาง

(2) ราชา หมายถึง ผู้ปกครองที่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม ทําให้คนในสังคม พอใจและยินดี ประชาชนทั้งหลายจึงเปล่งคําว่า “ระชะ” หรือ “รัชชะ” หรือ “ราชา” ซึ่งแปลว่า ผู้เป็นที่พอใจ ประชาชนยินดี ต่อมาจึงเรียกกันว่า พระราชา หรือบางครั้งอาจจะหมายถึงกษัตริย์ที่ประชาชนพอใจนั่นเอง

(3) จักรพรรดิ หมายถึง ผู้ปกครองที่ประชาชนพอใจและเป็นผู้ที่มีคุณธรรมสูงเกินกว่า กษัตริย์และราชาทั้งปวง หรืออาจหมายถึงประมุขของจักรวรรดิ หรือผู้ปกครองที่สามารถแผ่อาณาจักรได้อย่าง กว้างขวาง มีคุณธรรมสูงส่ง เป็นที่เคารพและพึงพอใจของประชาชน หรืออาจหมายถึง ผู้ปกครองที่มีภารกิจช่วยคน ในโลกให้พ้นจากวัฏสงสาร พ้นจากความขัดแย้งทั้งปวง

 

ข้อ 2 จงอธิบายหลักการปกครองของพระเจ้าอโศกมหาราช มาพอสังเขป

แนวคําตอบ

หลักการปกครองของพระเจ้าอโศกมหาราช พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงนําหลักธรรมมาใช้เป็นหลักในการปกครอง ดังนี้

1 ให้รักประชาชนผู้อยู่ใต้ปกครองอย่างเสมอหน้ากัน ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง

2 ให้ผู้ปกครองทั้งหลายยึดมั่นในธรรม มีหิริโอตัปปะ และดําเนินการปกครองตัดสินข้อพิพาทของประชาชนอย่างเที่ยงธรรม

3 เรียกเก็บผลผลิตจากการเก็บเกี่ยวได้ 1 ใน 10 และถ้าการเก็บเกี่ยวไม่ได้ผลก็ไม่ควรเรียกเก็บ

4 เรียกเกณฑ์แรงงานแต่พอควร อย่าให้เกินกําลัง ยกเว้นการเกณฑ์แรงงานแก่คนชราและต้องแบ่งปันข้าวปลาอาหารแก่ไพร่พลที่เกณฑ์มาให้พอกินพอใช้

5 ไม่ควรเก็บภาษีสินส่วนจากราษฎรเพิ่มขึ้น เพราะจะเป็นตัวอย่างเป็นธรรมเนียมที่ผู้ปกครองคนต่อ ๆ ไปถือเอาเป็นแบบอย่าง

6 ผู้ปกครองควรสนับสนุนช่วยเหลือเกื้อกูลพ่อค้าประชาชน โดยไม่คิดผลประโยชน์ตอบแทนมากไปกว่าที่ได้ช่วยเหลือไป

7 ผู้ปกครองควรชุบเลี้ยงข้าราชสํานักให้สุขสบายโดยไม่เสียดาย

8 ผู้ปกครองควรตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ไม่ลืมตน ให้คํานึงถึงความชอบธรรม บังคับคดีด้วยความยุติธรรม

9 ผู้ปกครองควรเลี้ยงดูรักษาสมณพราหมณ์ นักปราชญ์ราชบัณฑิตผู้รู้ธรรมและปรึกษาผู้รู้อยู่เสมอ

10 ผู้ปกครองควรให้สิ่งตอบแทนบําเหน็จรางวัล แก่ผู้ทําความดีมากน้อยตามประโยชน์ที่เขานํามาให้

 

ข้อ 3 จงบอกปัจจัยที่มีผลต่อการแพร่ขยายของการนับถือพุทธศาสนาในชมพูทวีป (ช่วงการเผยแพร่พุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าหลังการตรัสรู้) ในการด้านสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ มาด้านละ 3 ปัจจัย พร้อมอธิบายความสําคัญของแต่ละปัจจัยมาพอสังเขป

แนวคําตอบ

ปัจจัยที่มีผลต่อการแพร่ขยายของการนับถือพุทธศาสนาในชมพูทวีป – ปัจจัยทางด้านสังคม ได้แก่

1 คน ภายหลังที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบธรรมที่เรียกว่า “มัชเฌนธรรม” หรือหลักธรรม สายกลาง และทรงเรียกข้อปฏิบัติอันเป็นระบบที่ทรงบัญญัติขึ้นว่า มัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลาง จึงได้เสด็จ สั่งสอนพุทธธรรมเพื่อประโยชน์แก่สังคมชาวโลกอย่างจริงจัง โดยทรงชักจูงคนชั้นสูงจํานวนมากให้ละความมั่งมี สุขสบาย ออกบวชศึกษาธรรมของพระองค์ ร่วมทํางานอย่างเสียสละ อุทิศตนเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ทรงจาริกไปในแว่นแคว้นต่าง ๆ และเข้าถึงชนทุกวรรณะ ไม่ว่าจะเป็นวรรณะกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร และ ผู้ไม่มีวรรณะ ซึ่งทําให้บําเพ็ญประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง อีกทั้งคณะสงฆ์ก็เป็นแหล่งแก้ปัญหาสังคมได้อย่าง มาก ทุกคนไม่ว่าวรรณะใดสามารถเข้าบวชแล้วก็มีสิทธิเสมอกัน ส่วนผู้ที่ไม่พร้อมที่จะบวชก็ยังคงครองเรือนอยู่ เป็นอุบาสก อุบาสิกา คอยช่วยงานพระพุทธเจ้าและคณะสงฆ์ และนําทรัพย์สินของตนออกไปทานสงเคราะห์ ให้กับผู้ยากไร้ได้

2 การศึกษา พระพุทธเจ้าทรงพยายามสั่งสอนและล้มล้างความเชื่อถืองมงายในเรื่อง พิธีกรรมอันเหลวไหลโดยเฉพาะการบูชายัญ ด้วยการสอนให้เห็นถึงความเสียหายและการไร้ผลของพิธีกรรมนั้น ๆ ซึ่งได้สร้างความทุกข์ร้อน และความตายให้แก่มนุษย์และสัตว์เป็นจํานวนมาก ทรงสอนให้เลิกเชื่อถือยึดมั่นใน ระบบการแบ่งวรรณะที่เอาชาติกําเนิดมาขีดขั้นจํากัดสิทธิและโอกาสทั้งทางสังคมและจิตใจของมนุษย์ ทรงตั้ง คณะสงฆ์ที่เปิดรับคนจากทุกวรรณะให้เข้ามาสู่ความเสมอภาค ซึ่งต่อมาได้กลายมาเป็นศูนย์กลางเผยแพร่ วัฒนธรรมและการศึกษาที่สําคัญ นอกจากนี้ยังทรงสั่งสอนพุทธธรรมด้วยภาษาสามัญที่ประชาชนใช้ เพื่อให้ทุกคน ทุกชั้น ทุกระดับการศึกษาได้รับประโยชน์จากธรรมนี้ทั่วถึงกัน

3 สภาพแวดล้อม พระพุทธเจ้าทรงเป็นที่เลื่อมใสเคารพบูชาของกษัตริย์และพราหมณ์ เป็นจํานวนมาก ซึ่งบุคคลเหล่านี้เป็นเจ้าที่ดินเหมือนกับระบบศักดินาในยุโรปโบราณ กษัตริย์และพราหมณ์ยัง เป็นผู้ปกครอง และเป็นผู้บริหารเขตแดนแว่นแคว้นต่าง ๆ ซึ่งทําให้พระพุทธเจ้าได้ทราบถึงปัญหา และสภาพที่ เป็นจริงทางการเมืองการปกครองของแต่ละแว่นแคว้นและพื้นที่ต่าง ๆ อย่างถ่องแท้ พระองค์ได้ทรงให้คําแนะนํา สั่งสอนทั้งในทางโลก และทางธรรมแก่กษัตริย์และพราหมณ์ชั้นสูง จนสามารถแก้ปัญหาได้เป็นที่ยอมรับและพึงพอใจ ของชนชั้นสูงเป็นจํานวนมาก ซึ่งสอดคล้องกับสภาพสังคมของยุคสมัยพุทธกาลนั้นได้เป็นอย่างดี เป็นต้น

– ปัจจัยทางด้านการเมือง ได้แก่

1 ความขัดแย้งที่เกี่ยวกับพระญาติ เช่น กรณีพระญาติ 2 นคร ยกทัพจะเข้าต่อสู้ทํา สงครามกันเพื่อแย่งกันครอบครองแม่น้ําสายหนึ่ง พระพุทธเจ้าก็ทรงเข้าห้ามปราม ไกล่เกลี่ยจนเลิกทะเลาะต่อสู้กัน ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนี้ก็ได้มีการสร้างพระพุทธรูปปางห้ามญาติขึ้นมาปางหนึ่ง

2 ความขัดแย้งระหว่างตระกูลศากยะกับกษัตริย์แคว้นโกศล ซึ่งมีสาเหตุมาจากกษัตริย์ แคว้นโกศลที่มีพระราชอํานาจมากมีพระประสงค์ที่จะเกี่ยวดองกับราชตระกูลศากยะ เนื่องจากเลื่อมใสใน พระพุทธเจ้าอย่างยิ่ง จึงทรงทูลขอให้ทางศากยะส่งพระราชธิดามาอภิเษกเป็นพระมเหสี แต่ทางราชตระกูล ศากยะเกิดความหลงในพระชาติและชื่อเสียงว่าเป็นสกุลของพระพุทธเจ้าจึงจัดส่งนางทาส (ทาสี) ไปอภิเษกแทน นางทาสผู้นี้ต่อมามีพระราชบุตรได้เป็นกษัตริย์แคว้นโกศล คิดว่าเป็นบุตรหลานของพวกศากยะจึงเสด็จมาเยี่ยม ญาติที่กรุงกบิลพัสดุ พอเสด็จกลับออกจากปราสาทของศากยะ พวกศากยะก็เอาน้ำล้างบันไดขับไล่เสนียดจัญไร ภายหลังกษัตริย์แคว้นโกศลทราบเรื่องก็ทรงพระพิโรธ ยกกองทัพมาฆ่าฟันพวกศากยะ พระพุทธเจ้าทรงเสด็จ ห้ามทัพโกศลไว้ถึง 3 ครั้ง แต่พอครั้งที่ 4 ทรงปลงว่าเป็นเวรกรรมของคู่กรณีจึงทรงวางเฉยไม่เสด็จมาห้าม ทั้งนี้ เพราะพระองค์ทรงเน้นความสําคัญของตัวบุคคล ไม่เน้นความสําคัญของระบบ เพราะถ้าคนดีเป็นอารยชนแล้ว ระบบก็ดีเอง บ้านเมืองแว่นแคว้นต่าง ๆ ก็จะสงบสุขเจริญรุ่งเรืองไปด้วย

3 การแบ่งการปกครองเป็นแคว้นต่าง ๆ แต่ก็นับถือศาสนาพราหมณ์ (ฮินดู) ทําให้มีการ แบ่งแยกชนชั้นวรรณะออกเป็น 4 วรรณะเหมือนกันหมด ซึ่งพวกพราหมณ์พยายามที่จะอ้างพระพรหมว่าเป็น ผู้สร้างโลก พราหมณ์เป็นปากของพระพรหมที่จะมาสั่งสอนโลก จึงพยายามกําหนดพิธีกรรมต่าง ๆ ขึ้นมาให้กษัตริย์ ผู้มีอํานาจยอมรับ ทําให้วรรณะพราหมณ์มีอํานาจมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็กดขี่วรรณะแพศย์และศูทรให้ตกต่ำลง ยิ่งผู้ที่ไม่มีวรรณะ เช่น จัณฑาล ก็ยิ่งถูกกดขี่จนเดือดร้อนทุกข์ยากมาก ซึ่งทําให้การเผยแพร่พระพุทธศาสนาใน ชุมพูทวีปจึงเป็นการต่อสู้ทางการเมืองและชนชั้นเป็นสําคัญ เสมือนการปลดแอกให้แก่ชนชั้นต่ำที่ลําบากยากจน ได้ทางหนึ่ง แม้ว่าจะล้มล้างการแบ่งชั้นวรรณะไม่ได้ก็ตาม เป็นต้น

– ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ ได้แก่

1 เกิดการพัฒนาความเป็นเมืองมากขึ้น ความเป็นเมืองดังกล่าวเป็นผลพวงมาจากการ พัฒนาทางการค้าและเกษตรที่ก้าวหน้า ส่งผลให้ประชาชนแต่ละคน (ปัจเจกชน) มีความคิดริเริ่มและสร้างสรรค์ นวัตกรรมใหม่ ๆ ประสบความสําเร็จมั่งคั่ง และเป็นเจ้าของกิจการมากมาย และด้วยความก้าวหน้าและมั่งคั่ง ทําให้บุคคลเหล่านี้ยึดติดกับระบบวรรณะน้อยลง จึงส่งผลให้วรรณะอื่น ๆ ที่มีความร่ํารวยน้อยกว่า ต้องหันมาพึ่งพิง วรรณะแพศย์มากขึ้น

2 เกิดการพัฒนาทางวัตถุมากขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็มั่นทอนสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจ และ ส่งผลกระทบในด้านการเมืองที่สําคัญ คือ วรรณะกษัตริย์กับวรรณะพราหมณ์เริ่มมีความโน้มเอียงที่จะต่อต้าน วรรณะแพศย์กับศูทร แม้แต่วรรณะแพศย์กับศูทรที่อยู่ในเมืองก็เริ่มรู้สึกห่างเหินกับวรรณะเดียวกันที่อยู่ในชนบทมากขึ้นเช่นกัน เมื่อเป็นเช่นนี้โครงสร้างทางสังคมและความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างวรรณะเริ่มไม่เป็นเอกภาพ อัตลักษณ์เดิมที่มีมาแต่โบราณเริ่มสูญหายก่อให้เกิดความอ้างว้างปราศจากสิ่งยึดเหนี่ยว ประเพณีเดิมแทบล่มสลายไป หมด ส่งผลต่อชีวิตคนในเมือง ทําให้รู้สึกเป็นทุกข์ ชีวิตในชมพูทวีปในช่วงนั้นจึงดําเนินไปแบบอยู่ไปวัน ๆ

3 การปฏิเสธศาสนาพราหมณ์มากขึ้น ทั้งนี้เพราะระบบวรรณะมีผลต่อการประกอบอาชีพ หรือหน้าที่การงานที่ทํา เช่น กษัตริย์มีหน้าที่ปกครองและทําสงคราม พราหมณ์มีหน้าที่สั่งสอนและจัดพิธีกรรม แพศย์มีหน้าที่ทําการเกษตร การช่างและค้าขาย ส่วนศูทรเป็นผู้ใช้แรงงานรับจ้าง โดยพราหมณ์เห็นว่าวรรณะของตน นั้นมีเกียรติ และมีโอกาสได้รับโภคทรัพย์และอํานาจมาก จึงต้องการสงวนไว้ให้สืบทอดตามการเกิด ชมพูทวีปในช่วง พุทธกาลจึงเป็นสังคมที่มีความขัดแย้งของระบบวรรณะและขนบจารีตตามคัมภีร์พระเวทของศาสนาพราหมณ์ที่ถูก ปฏิเสธมากขึ้น ซึ่งทั้งระบบวรรณะและคัมภีร์พระเวทต่างไม่เป็นคําตอบให้กับยุคสมัยได้อีกต่อไป บริบทดังกล่าวนี้ ได้ส่งผลให้พุทธศาสนาสามารถสถาปนาขึ้นเป็นศาสนาใหม่ และได้รับการศรัทธาอย่างแพร่หลายในชมพูทวีปใน เวลาต่อมา

 

ข้อ 4 ให้นักศึกษาอธิบายความแตกต่างเรื่องแนวคิดในการปกครองของรัฐศาสนากับรัฐโลกาวิสัย มาให้เข้าใจ

แนวคําตอบ

ความแตกต่างเรื่องแนวคิดในการปกครองของรัฐศาสนากับรัฐโลกาวิสัย

รัฐศาสนากับรัฐโลกาวิสัยมีความแตกต่างกันในเรื่องของความหมาย และหลักการหรือ ลักษณะในการปกครอง ดังนี้

ความหมายของรัฐศาสนา รัฐศาสนา (Religious State) มีความหมาย 2 ระดับ คือ

1 รัฐหรือประเทศที่ระบุชัดในรัฐธรรมนูญและการปฏิบัติว่ามีการยกย่องให้ศาสนาใด ศาสนาหนึ่งเป็นศาสนาประจําชาติและให้ศาสนานั้นมีอิทธิพลต่อรัฐ

2 ประเทศที่เคร่งในศาสนาใดศาสนาหนึ่งอย่างเต็มที่ จนเอาหลักคําสอนมาปกครองประเทศ ความหมายของรัฐเลกาวิสัย รัฐโลกาวิสัยหรือรัฐโลกวิสัย (Secular State) สามารถอธิบายความหมายได้ 2 แนวทาง คือ

1 รัฐหรือประเทศที่เป็นกลางทางด้านศาสนา ไม่สนับสนุนหรือต่อต้านความเชื่อหรือ การปฏิบัติทางด้านศาสนาใด ๆ ทั้งสิ้น รัฐโลกาวิสัยจะปฏิบัติต่อประชาชนอย่างเท่าเทียมไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด ส่วนใหญ่จะไม่มีศาสนาประจําชาติ หรือหากมีศาสนาประจําชาติ ศาสนานั้นก็จะมีความหมายทางสัญลักษณ์และ ไม่มีผลกระทบต่อชีวิตประจําวันของประชาชนในรัฐที่นับถือศาสนาอื่น

2 รัฐสมัยใหม่ที่ยึดถือการปกครองด้วยหลักเหตุผลของมนุษย์ โดยหัวใจสําคัญของรัฐ โลกาวิสัย คือ การปกครองแบบทางโลกหรือการปกครองด้วยหลักเหตุผลของมนุษย์ (เช่น การปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยและสังคมนิยม) และต้องเป็นกลางทางศาสนา

หลักการของรัฐศาสนา หลักการหรือลักษณะทั่วไปของรัฐศาสนา มีดังนี้

1 ระบุในรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจนว่ามีศาสนาหรือกระทั่งนิกายใดเป็นศาสนาประจําชาติ ซึ่งแม้จะบอกว่าให้เสรีภาพทางศาสนาแก่ศาสนาอื่น แต่ก็ต้องเป็นรอง และห้ามขัดแย้งกับศาสนาหลัก

2 รัฐศาสนาโดยส่วนใหญ่ก็ให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาอื่น แต่มักหมายถึงให้เป็น ศาสนาของชนกลุ่มน้อยเท่านั้นและกีดกันไม่ให้คนในศาสนาหลักเปลี่ยนศาสนา

3 รัฐอุดหนุนบํารุงศาสนาหลักอย่างเต็มที่ มีการให้ศาสนาหลักเป็นศาสนาเดียวหรือ ศาสนาหลักในรัฐพิธี และมีการใช้วันสําคัญทางศาสนาหลักมาเป็นวันหยุดราชการและวันสําคัญของชาติ

4 มีโทษสําหรับการกระทําที่หมิ่นศาสนาหรือปั่นทอนศาสนาหลัก และมีการใช้หลัก คําสอนของศาสนาหลักมากําหนดเป็นกฎหมายและประเพณีของรัฐอย่างมาก

5 ผู้นําประเทศต้องนับถือศาสนาหลักหรืออาจต้องเป็นผู้นําศาสนาหลักด้วย นอกจากนี้ตราสัญลักษณ์ของชาติ ธงชาติ และของหน่วยงานราชการจะมีมาจากเนื้อหาของศาสนาหลักปนอยู่ รวมทั้งมีการกําหนดให้นักเรียนต้องเรียนศาสนาหลักในโรงเรียนและมีพิธีกรรมของศาสนาหลักในโรงเรียน

หลักการของรัฐโลกาวิสัย หลักการหรือลักษณะสําคัญของรัฐโลกาวิสัย มีดังนี้

1 การไม่บัญญัติศาสนาใดเป็นศาสนาประจําชาติในกฎหมาย คือ การไม่ได้ระบุถึงศาสนา ประจําชาติ ไม่มีการยกศาสนาใดให้มีอภิสิทธิ์เหนือศาสนาอื่นและไม่มีการปกป้องศาสนาใดเป็นพิเศษ หมายความว่า รัฐไม่ควรใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือต่อการจํากัดเสรีภาพของประชาชนในการเลือกนับถือศาสนา และในขณะเดียวกันยังเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้าถึงศาสนาอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน

2 กฎหมายต้องให้เสรีภาพทางศาสนาแก่ประชาชน คือ สิทธิและเสรีภาพของประชาชน ในทางการศาสนาควรได้รับอย่างเต็มที่จากรัฐและกฎหมายของรัฐอีกด้วย หมายความว่า ประชาชนสามารถใช้ สิทธิของตนเองแสดงออกและเสนอทางความคิดเห็นเรื่องศาสนาได้โดยไม่มีกฎหมายหมิ่นศาสนาเข้ามาควบคุม และสิทธิของประชาชนในการแสดงออกทางศาสนาควรได้รับการคุ้มครองจากรัฐอีกด้วย เพราะว่าศาสนาเป็น สิทธิและเสรีภาพของปัจเจกบุคคลหรือเป็นเรื่องส่วนตัว

3 รัฐไม่มีการสนับสนุนศาสนาใดศาสนาหนึ่งเป็นพิเศษ คือ รัฐไม่มีการใช้งบประมาณ จากเงินภาษีของประชาชนในรัฐไปสนับสนุนศาสนาใดศาสนาหนึ่งเป็นพิเศษ เช่น พิธีการทางศาสนา เชิงสัญลักษณ์ ประจําศาสนา และกําหนดวันหยุดทางศาสนาในปฏิทินของประเทศ เป็นต้น

4 รัฐต้องไม่ปฏิบัติต่อประชาชนด้วยเหตุผลทางศาสนา คือ การปฏิบัติของรัฐต่อประชาชน ควรใช้หลักการของเหตุและผลทางวิทยาศาสตร์มากกว่าเหตุผลทางศาสนา ยิ่งกว่านั้นไม่ควรนําเอาศาสนาใด ศาสนาหนึ่งมาเป็นหลักแล้วนําเอาความคิดนั้นไปจัดการคนต่างศาสนา หมายความว่า การกระทําความผิดของ ประชาชนใช้หลักกฎหมายในการตัดสินการกระทํานั้นไม่ใช้หลักการทางศาสนาเป็นการกําหนดโทษ

 

ข้อ 5 พุทธศาสนาได้อธิบายการเกิดสังคมมนุษย์ไว้อย่างไร โปรดอธิบาย

แนวคําตอบ

การกําเนิดสังคมมนุษย์ในทางพุทธศาสนาตามอัคคัญญสูตร

อัคคัญญสูตร เป็นคําสอนของพระพุทธเจ้าที่ตรัสถึงมนุษย์ สังคม และสถาบันทางการเมือง โดยแสดงถึงวิวัฒนาการเป็นลําดับชั้นตั้งแต่โลกพินาศจนถึงการเกิดขึ้นของมนุษย์ โดยการเกิดขึ้นของมนุษย์ที่มี ตัณหาก่อให้เกิดการสะสมทรัพย์ การสร้างครอบครัว การเลือกหัวหน้า และการลงโทษผู้กระทําความผิด

พุทธศาสนาเชื่อว่ามนุษย์เกิดมาพร้อมความดีบนสภาวะธรรมชาติดั้งเดิมที่อุดมสมบูรณ์ สุขสบาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสะดวกสบายในการดํารงชีพ ไม่มีความอยากอาหารเพราะได้สําเร็จทางใจแล้ว ซึ่งทําให้มนุษย์ไม่ต้องลงแรงอะไรเลย มนุษย์ไม่มีความแตกต่างกัน ไม่มีการแบ่งแยกชาติวงศ์หรือพรรคพวก มีแต่ความดี ประกอบกุศลกรรม ทําให้มีชีวิตมั่นคง ปลอดภัย

แต่ตัณหาทําให้มนุษย์ตกต่ำลง และเกิดความยึดมั่นถือมั่นหรืออุปาทานขึ้น พอบริโภคง้วนดิน ก็ทําให้เกิดรูปร่างและผิวพรรณที่แตกต่างกันขึ้น เกิดการยึดมั่นว่าผิวพรรณตนดี ผิวพรรณคนอื่นต่ำทรามกว่า เกิดยึดเอาผิวพรรณเป็นเครื่องกําหนดความสูงต่ำ ต่อมาร่างกายเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ จนเกิดเป็นหญิงเป็นชายขึ้น เกิดการเสพเมถุนขึ้น ทําให้ถูกสัตว์โลกอื่น ๆ ขว้างปา จนต้องสร้างบ้านเรือนกําบัง เกิดการสร้างครอบครัวขึ้น

ส่วนด้านอาหารก็เริ่มมีผู้เกียจคร้านสะสมอาหารไว้เกินกว่าความจําเป็น คนอื่นก็สะสมบ้าง จนเกิดการแข่งขันกันสะสมมากขึ้นเรื่อย ๆ เกิดความโลภขึ้นมา เมื่อมีคนโลภกันมาก ทําให้ความขาดแคลน เกิดขึ้นแก่ส่วนรวม ดังนั้นจึงแก้ปัญหาโดยการปักปันเขตแดนกันขึ้น ก็เกิดทรัพย์สินส่วนตัวขึ้น แต่ความโลภก็ทําให้คนลักทรัพย์ของคนอื่นจึงถูกด่าว่าทุบตี

การลงโทษจึงเกิดขึ้นมาจากการมีทรัพย์สินส่วนตัว แต่การลงโทษก็ยังไม่มีหลักเกณฑ์และไม่ชอบธรรมพอ จึงเกิดความต้องการที่จะให้มีระเบียบการปกครองขึ้น จึงได้ตกลงกันเลือกตั้งคนผู้หนึ่งขึ้นมา ทําหน้าที่ว่ากล่าวติเตียนลงโทษผู้กระทําความผิด โดยได้รับส่วนแบ่งผลผลิตจากคนในปกครองของตน จึงเกิด คําเรียกผู้ปกครองว่า “มหาชนสมมุติ” คือ เป็นผู้ที่คนทั่วไปสมมุติขึ้นเป็นหัวหน้า เรียกว่า “กษัตริย์” เพราะเป็น หัวหน้าดูแลเขตแดนหรือที่ทํากินซึ่งเป็นนา เรียกว่า “ราชา” เพราะทําให้เกิดความสุขใจโดยให้ความเป็นธรรม จนถือเป็นบรรทัดฐานสําหรับปฏิบัติต่อ ๆ กันมา ก็กลายเป็นกฎหมายที่ประชาชนต้องปฏิบัติตาม

ดังนั้นในทางพุทธศาสนาสังคมมนุษย์เกิดขึ้นจากที่มนุษย์มีตัณหา เกิดการยึดเอาผิวพรรณเป็นเครื่องกําหนดความสูงต่ำ เกิดการเสพเมถุนจนทําให้เกิดสถาบันครอบครัวขึ้นมา การมีสถาบันครอบครัวทําให้ เกิดความอยากสะสมต่อทรัพย์สินต่าง ๆ ทําให้เกิดการแก่งแย่งกันขัดแย้งกันขึ้น จึงจําเป็นต้องมีผู้ปกครองทําหน้าที่ ปกป้องคุ้มครองความเป็นอยู่การดํารงชีวิตของคนในสังคมโดยผู้ปกครองได้รับค่าตอบแทนในการปฏิบัติหน้าที่

POL3112 ความคิดทางการเมืองในพุทธศาสนา 1/2559

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3112 ความคิดทางการเมืองในพุทธศาสนา

คําสั่ง ข้อสอบเป็นแบบอัตนัยมี 5 ข้อ ให้นักศึกษาเลือกทําเพียง 3 ข้อ (ข้อละ 33 คะแนน)

ข้อ 1 นักศึกษาเห็นว่ามนุษย์มีความสัมพันธ์กับการเมืองหรือไม่ จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ

แนวคําตอบ

คําว่า “การเมือง” (Politics) มีรากศัพท์มาจากคําว่า “Polis” ในภาษากรีก

การเมือง หมายถึง หน่วยการปกครองที่มีอาณาเขตแน่นอนและมีขอบข่ายอํานาจควบคุม กิจกรรมส่วนรวมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเมือง ศาสนา เศรษฐกิจ และสังคม หรือนัยหนึ่ง การเมือง คือ ความสัมพันธ์ของมนุษย์และการเมือง ซึ่งหมายความว่า ไม่ว่าจะมีความหมายในทางบวกหรือทางลบ มนุษย์จะมี ความเกี่ยวข้องกับการเมือง เนื่องจากมนุษย์อยู่ในหน่วยสังคมเหมือนกัน

อริสโตเติล (Aristotle) กล่าวว่า การเมืองเป็นเรื่องของสาธารณะ (Public) และเป็นเรื่อง เกี่ยวข้องกับสังคมระดับรัฐ ซึ่งสัมพันธ์กับมนุษย์ในทุกระดับ

จากคํานิยามของอริสโตเติลจะเห็นได้ว่า มนุษย์มีความสัมพันธ์กับการเมือง ยกตัวอย่าง เช่น

1 นโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท เป็นนโยบายของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่มี ความสัมพันธ์กับกลุ่มคนชนชั้นล่างในสังคมไทย ซึ่งมีผลกระทบต่อผู้ใช้แรงงานโดยตรง ทําให้ผู้ใช้แรงงานได้ค่าจ้าง เพิ่มขึ้น และยังส่งผลกระทบโดยอ้อมต่อผู้ประกอบการหรือนายทุนที่ต้องแบกรับอัตราการผลิตที่เพิ่มขึ้นสูงกว่า เมื่อก่อน อย่างเช่น เงินลงทุนที่จะต้องเพิ่มให้มากขึ้นเพื่อจะได้สินค้ามากขึ้น หากผลิตสินค้าออกมาน้อยก็จะไม่คุ้ม กับค่าแรงที่ต้องจ่ายไปให้ผู้ใช้แรงงาน

2 นโยบายรถคันแรก เป็นนโยบายของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่มีความสัมพันธ์กับ กลุ่มคนชนชั้นกลางในสังคมไทย ซึ่งมีผลกระทบต่อกลุ่มชนชั้นกลางโดยตรง โดยกลุ่มชนชั้นกลางจะได้รับประโยชน์ จากนโยบายรถคันแรกที่สามารถได้ลดคืนภาษีสูงสุดถึง 100,000 บาท แต่ในขณะเดียวกันก็ทําให้หนี้สินครัวเรือน ของชนชั้นกลางเพิ่มขึ้น

3 นโยบายภาษีมรดกภาษีจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เป็นนโยบายของรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มคนชนชั้นสูงในสังคมไทย ซึ่งมีผลกระทบต่อคนชนชั้นสูงโดยตรง เพราะต้องเสียภาษีให้แก่รัฐเพิ่มมากขึ้น

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า มนุษย์มีความเกี่ยวข้องกับการเมืองไม่ว่าจะในทางบวกหรือลบ ไม่ว่าจะ โดยทางตรงหรือทางอ้อม และสัมพันธ์กับมนุษย์ในทุกระดับ ดังตัวอย่างข้างต้น

 

 

ข้อ 2 แนวความคิดทางการเมืองประเภทใดที่มีความเกี่ยวข้องกับหลักรัฐโลกวิสัย จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ

แนวคําตอบ

เสรีนิยมเป็นแนวความคิดทางการเมืองที่มีความเกี่ยวข้องกับหลักรัฐโลกวิสัย ดังนี้

รัฐโลกวิสัย (Secure State) คือ รัฐหรือประเทศที่เป็นกลางทางด้านศาสนา ไม่สนับสนุนหรือ ต่อต้านความเชื่อหรือการปฏิบัติทางด้านศาสนาใด ๆ รัฐโลกวิสัยจะปฏิบัติต่อประชาชนอย่างเท่าเทียมไม่ว่าจะนับถือ ศาสนาใด ส่วนใหญ่จะไม่มีศาสนาประจําชาติ หรือหากมีศาสนาประจําชาติ ศาสนานั้นก็จะมีความหมายทางสัญลักษณ์ และไม่มีผลกระทบต่อชีวิตประจําวันของประชาชน เช่น ในประเทศอินเดียที่สนับสนุนรัฐโลกวิสัย มีความเป็นเสรีภาพ ในการนับถือศาสนาในความเชื่อโดยเสรี โดยที่รัฐบาลไม่ไปมีบทบาทมากนัก

มองจากพัฒนาการทางประวัติศาสตร์แล้ว รัฐโลกวิสัย คือ รัฐสมัยใหม่ที่ยึดถือการปกครอง ด้วยหลักเหตุผลของมนุษย์ ซึ่งตรงกันข้ามกับการปกครองแบบเทวาธิปไตย (Theocracy) ในสมัยเก่าที่อ้างความเชื่อ ทางศาสนาเป็นหลักในการปกครอง

หัวใจสําคัญของรัฐโลกวิสัย คือ การปกครองแบบทางโลก หรือปกครองด้วยหลักเหตุผลของมนุษย์ และต้องเป็นกลางทางศาสนา

ส่วนเสรีนิยม (Liberalism) เชื่อว่า มนุษย์โดยธรรมชาติมุ่งทําแต่สิ่งที่ดี สนับสนุนความเท่าเทียมกัน … ในโอกาสและถือว่าค่านิยมบางอย่างถือเป็นสากล เช่น สิทธิมนุษยชน (Human Rights) ทั้งนี้เสรีนิยมดั้งเดิม (Classical Liberality) มีองค์ประกอบดังนี้

1 การยอมรับเสรีภาพของปัจเจกชนโดยรวม (Individualism) เช่น การเมือง เศรษฐกิจ และการเชื่อถือในลัทธิใด ๆ ในเวลาเดียวกันก็จํากัดอํานาจของสถาบันทางการเมืองและสังคมทุกประเภทที่อาจ ทําให้กระทบต่อเสรีภาพส่วนบุคคล

2 เคารพในเหตุผล (Rationalist) เชื่อว่าปัญหาในสังคมทั้งปวงแก้ได้ด้วยเหตุและผล โดย ศึกษาให้ได้ความรู้ ความเข้าใจ และใช้หลักเหตุผลในการแก้ปัญหา

3 เชื่อในการเปลี่ยนแปลง (Change) เสรีนิยมเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงทําให้เกิดความก้าวหน้า ไม่ยึดติดอยู่ในค่านิยม

4 เชื่อในหลักมนุษยชน (Human Rights) และหลักสากลของการให้โอกาสในความเสมอภาค

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า เสรีนิยมเป็นแนวคิดทางการเมืองที่มีความเกี่ยวข้องกับหลักรัฐโลกวิสัย หลายประการ ได้แก่ การยอมรับเสรีภาพของปัจเจกชนโดยรวม เช่น การเชื่อถือในลัทธิใด ๆ การเชื่อในหลักสากล ของการให้โอกาสในความเสมอภาคเท่าเทียม และการเคารพในเหตุผล เป็นต้น

 

ข้อ 3 จงอธิบายความหมายของคําต่อไปนี้ให้เข้าใจ (เลือกทํา 3 ข้อ)

(1) รัฐโลกวิสัย

(2) อนุรักษนิยม

(3) เสรีนิยม

(4) ทศพิธราชธรรม

(5) จักรวรรดิวัตร

(6) ธรรมมหาอํามาตย์ (หมายเหตุ ข้อ (4) – (6) เป็นความหมายตามแนวคิดทางการเมืองเรื่องธรรมราชา)

แนวคําตอบ

(1) รัฐโลกวิสัย (Secular State) คือ รัฐหรือประเทศที่เป็นกลางทางด้านศาสนา ไม่สนับสนุน หรือต่อต้านความเชื่อหรือการปฏิบัติทางด้านศาสนาใด ๆ รัฐโลกวิสัยจะปฏิบัติต่อประชาชนอย่างเท่าเทียมไม่ว่า จะนับถือศาสนาใด ส่วนใหญ่จะไม่มีศาสนาประจําชาติ หรือหากมีศาสนาประจําชาติ ศาสนานั้นก็จะมีความหมาย ทางสัญลักษณ์และไม่มีผลกระทบต่อชีวิตประจําวันของประชาชน

(2) อนุรักษนิยม (Conservatism) มีลักษณะเด่นดังนี้

1 ไม่ต้องการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ พยายามที่จะป้องกันหรือลดความเร็วของการเปลี่ยนแปลงจากสังคมเก่า ความเชื่อเก่า ชนชั้นทางสังคมเก่าไปสู่สังคมใหม่

2 ต้องการรักษาไว้ซึ่งสิ่งที่ทํามาในอดีต เป็นต้น

(3) เสรีนิยม (Liberalism) สนับสนุนความเท่าเทียมกันในโอกาสและถือว่าค่านิยมบางอย่างถือ เป็นสากล เช่น สิทธิมนุษยชน (Human Rights) ได้แก่ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือความเท่าเทียมกันในด้าน ความเป็นพลเมือง เป็นต้น

(4) ทศพิธราชธรรม มีดังนี้

1 ทาน คือ การให้

2 ศีล คือ การตั้งสังวรรักษากาย วาจา ให้สะอาดปราศจากโทษ

3 บริจาค คือ การเสียสละ

4 อาชชวะ คือ ความซื่อตรง

5 มัททวะ คือ ความอ่อนโยน

6 ตบะ คือ การขจัดความเกียจคร้านและความชั่ว

7 อักโกธะ คือ ความไม่โกรธ 8. อวิหิงสา คือ การไม่เบียดเบียนผู้อื่น ตลอดถึงสัตว์ให้ได้ทุกข์ยาก

9 ขันติ คือ ความอดทนต่อสิ่งที่ควรอดทนเป็นเบื้องหน้า

10 อวิโรธนะ คือ การปฏิบัติไม่ให้ผิดจากการที่ถูกที่ตรงและดํารงอาการคงที่ ไม่ให้วิการด้วยอํานาจยินดียินร้าย

(5) จักรวรรดิวัตร 12 ประการ มีดังนี้

1 ควรพระราชทานโอวาทและอนุเคราะห์คนภายในราชสํานักและคนภายนอกจนถึงราษฎร

2 ควรผูกพระราชไมตรีกับกษัตริย์ ประธานาธิบดี แห่งประเทศนั้น ๆ

3 ควรสงเคราะห์พระราชวงศานุวงศ์ตามควรแก่พระอิสริยศ

4 ควรทรงเกื้อกูลพราหมณ์ คฤหัสถ์ และคฤหบดีชน

5 ควรอนุเคราะห์ประชาชนชาวนิคมชนบทโดยฐานานุรูป

6 ควรอุปการะสมณพราหมณ์ผู้มีความประพฤติชอบด้วยพระราชทานไทยธรรมบริขารเกื้อกูลแก่ธรรมปฏิบัติ

7 ควรจัดรักษาฝูงเนื้อ และนกด้วยพระราชทานอภัยไม่ให้ใครเบียดเบียนทําอันตรายจนเสื่อมสูญพันธุ์

8 ควรห้ามชนทั้งหลายไม่ให้ทํากิจการที่ไม่ประกอบด้วยธรรม ชักนําให้อยู่ในกุศลสุจริตประกอบการเลี้ยงชีพโดยทางธรรม

9 ควรพระราชทานพระราชทรัพย์ให้ผู้ขัดสนให้เลี้ยงชีพได้ด้วยวิธีอันเหมาะสม

10 ควรเสด็จเข้าไปใกล้สมณพราหมณ์ ตรัสถามถึงบุญ บาป กุศล อกุศลให้ประจักษ์ชัด

11 ควรทรงตั้งวิรัติห้ามจิตไม่ให้เกิดอธรรมราคะในอาคมนิยสถาน

12 ควรห้ามจิตไม่ให้ปรารถนาลาภที่มิควรได้

(6) ธรรมมหาอํามาตย์ พระเจ้าอโศกมหาราชทรงตั้งข้าราชการตําแหน่งใหม่ขึ้นมาชื่อว่า “ธรรม มหาอํามาตย์” มีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือพระองค์ในการบําเพ็ญธรรม ดูแลพระราชวงศ์ให้บําเพ็ญธรรม สั่งสอน ประชาชน และทํางานด้านสังคมสงเคราะห์

 

ข้อ 4 ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงได้เปลี่ยนแนวคิดการปกครองจากหลักอรรถศาสตร์ สู่แนวคิดอุดมการณ์ธรรม ให้นักศึกษาเปรียบเทียบหลักการปกครองแบบอรรถศาสตร์ และอุดมการณ์ธรรม มาให้เข้าใจ

แนวคําตอบ

หลักอรรถศาสตร์

1 การสร้างอํานาจ คือ การมุ่งสร้างอํานาจ การสะสมอาวุธ เพื่อที่จะทําสงคราม

2 การรักษาอํานาจ คือ การที่จะปกครองราษฎรหรือหัวเมืองต่าง ๆ เชื่อฟังพระองค์

3 การจัดแบ่งการปกครอง คือ การจัดรูปแบบการปกครองให้รวมศูนย์

4 วิธีการจัดเก็บภาษี คือ เพื่อที่จะสนับสนุนการปกครองของพระองค์เองและก็ของราชวงศ์ เพื่อที่จะให้มีความมั่งคั่ง เพื่อที่จะใช้รักษาอํานาจ และเพื่อที่จะขยายอาณาจักรของพระองค์

5 การใช้เล่ห์กลเพทุบายทางการเมือง

6 การใช้สายลับ คือ เพื่อการรู้ข้อมูลข่าวสารของคนที่จะมาบั่นทอนอํานาจของพระองค์เป็นการรักษาไว้ซึ่งอํานาจของพระองค์

7 การรวมศูนย์อํานาจ คือ การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ หลักอุดมการณ์ธรรม

1 พ่อปกครองสุก คือ ทรงใช้การปกครองแบบพ่อปกครองลูก แทนที่การปกครองแบบ รวมศูนย์อํานาจ

2 เมตตา เผยแพ ทําทาน คือ พระองค์ทรงเผยแผ่การปกครองโดยธรรม โดยการกรีฑาทัพต้องเป็นไปด้วยความเมตตา ต้องเอาชนะด้วย “ธรรมวิชัย”

3 ไม่ฆ่าสัตว์ คือ ทรงเลิกการฆ่าสัตว์ส่วนพระองค์ ห้ามฆ่าสัตว์เพื่อบูชายัญ ทรงห้ามประชาชนล่าสัตว์ ห้ามฆ่าสัตว์บางชนิด บางเวลา และการสร้างโรงพยาบาลสัตว์ เป็นต้น

4 การปกครองโดยธรรม คือ การที่ทรงขยายพระราชอํานาจโดยธรรม เช่น การใช้กองทัพขู่ให้กลัวและยอมแพ้ แล้วหันมาปฏิบัติธรรมตามแบบของพระองค์ และกษัตริย์ที่เป็นเมืองขึ้นก็ต้องปกครองแผ่นดินโดยธรรมเหมือนพระองค์

5 การผ่อนปรนเรื่องภาษี คือ พระองค์ไม่เก็บภาษีมากเหมือนในสมัยราชวงศ์เดิมของพระองค์ รวมทั้งพระองค์ไม่อนุญาตให้พระราชาของเมืองต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้การปกครอง ของพระองค์ ขึ้นภาษีให้ประชาชนของพระองค์เดือดร้อน

6 การเอาใจใส่ในเรื่องบริการสาธารณะ เช่น ในด้านสวัสดิการ พระองค์โปรดให้จัดบริการในด้านเวชกรรมไว้ 2 ประการ คือ การรักษาโรค และการรักษาปศุสัตว์ โดยให้ปลูกสมุนไพรที่เป็นยาสําหรับสัตว์และมนุษย์

7 ธรรมวิชัย คือ การเอาชนะด้วยธรรม เช่น ทรงอุปถัมภ์บํารุงสมพราหมณ์ เข้าไปสนทนาธรรม และแก้ไขความเสื่อมของศาสนา ทรงแสดงความมุ่งมั่นในการปฏิบัติธรรมและ เผยแผ่ธรรม และทรงประสงค์ให้คนที่แตกต่างกันทั้งผู้ดีและสามัญชนหันมานับถือ ศาสนาพุทธที่มีความเสมอภาคกัน ความแตกต่างระหว่างบุคคลก็จะหมดไป รวมทั้ง ทรงเปลี่ยนจากเสียงกึกก้องของกลองศึกมาเป็นเสียงกึกก้องของการประกาศธรรม

 

ข้อ 5 ในสมัยพุทธกาลการเกิดขึ้นของศาสนาพุทธ มีนัยสําคัญที่เปลี่ยนแปลงสังคมการเมืองของชมพูทวีปอย่างไรบ้าง จงอธิบาย

แนวคําตอบ

ศาสนาพุทธ เกิดขึ้นในชมพูทวีป ซึ่งขณะนั้นศาสนาพราหมณ์เกิดขึ้นก่อนศาสนาพุทธหลายร้อยปี และครอบงําความเชื่อของชาวชมพูทวีปอย่างแน่นแฟ้น จนถึงกับสามารถสร้างความยอมรับในเรื่องวรรณะอย่างฝังใจ

ในสมัยพุทธกาลการเกิดขึ้นของศาสนาพุทธได้เปลี่ยนแปลงสังคมการเมืองของชมพูทวีป ดังนี้

1 เปลี่ยนทั้งจารีตของนักบวชและประชาชน เช่น ศาสนาพุทธได้พยายามล้มล้างความเชื่อถืองมงายในเรื่องพิธีกรรมอันเหลวไหลต่าง ๆ โดยเฉพาะการบูชายัญ

2 ปลดปล่อยชนชั้นค้าขายให้มีอิสระในการประกอบสัมมาอาชีพ

3 เสริมแรงเรื่อง “ลดชนชั้นวรรณะของตน” โดยศาสนาพุทธสอนให้เลิกเชื่อถือยึดมั่นในระบบการเบ่งวรรณะที่เอาชาติกําเนิดมาขีดคั่นจํากัดสิทธิและโอกาสทั้งทางสังคมและจิตใจของมนุษย์

4 ทลายกําแพงความรู้ทางศาสนา โดยพระพุทธเจ้าทรงตั้งคณะสงฆ์ที่เปิดรับคนจาก

ทุกวรรณะให้เข้าบวชในศาสนาพุทธอย่างเสมอภาค และการเปิดโอกาสให้สตรีสามารถเข้าบวชในคณะสงฆ์ของพระองค์ได้เท่าเทียมบุรุษ

5 การได้รับการยอมรับจากกษัตริย์ เช่น พระเจ้าปเสนทิโกศล กษัตริย์แคว้นโกศล และพระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์แคว้นมคธ เป็นต้น ทําให้กษัตริย์เหล่านี้ได้ใช้หลักธรรมใน ศาสนาพุทธสร้างสันติสุข ทํานุบํารุงบ้านเมือง และอาณาประชาราษฎร์ให้อยู่เย็นเป็นสุขลดความรุนแรง การประทุษร้าย การฆ่าฟัน และสงครามลงได้มาก

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การเกิดขึ้นและแผ่ขยายของศาสนาพุทธในชมพูทวีปมีนัยสําคัญ คือ เป็น การต่อสู้ทางสังคมการเมือง เช่น การยกเลิกการทารุณฆ่าสัตว์ด้วยการบูชายัญ และการเปิดโอกาสให้สตรีสามารถ เข้าบวชในคณะสงฆ์ของพระองค์ได้เท่าเทียมบุรุษ รวมทั้งยังเป็นการต่อสู้ทางชนชั้นอย่างสําคัญ เสมือนการปลดแอก ให้แก่ชนชั้นต่ำที่ลําบากยากจนได้ทางหนึ่ง ถึงแม้ว่าจะล้มล้างการแบ่งชั้นวรรณะไม่ได้ก็ตาม

POL3112 ความคิดทางการเมืองในพุทธศาสนา 1/2557

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3112 ความคิดทางการเมืองในพุทธศาสนา

คําสั่ง ข้อสอบเป็นแบบอัตนัยมี 4 ข้อ ให้นักศึกษาเลือกทําเพียง 3 ข้อ

ข้อ 1 “รัฐ” มีกําเนิดมาจากหลากหลายทฤษฎี จงยกทฤษฎีการเกิดรัฐที่ท่านเข้าใจมาอธิบายอย่างน้อย 3 ทฤษฎี

แนวคําตอบ

ทฤษฎีการกําเนิดของรัฐ

รัฐมีกําเนิดมาหลายพันปี อาจจะถึง 10,000 ปีมาแล้ว และหลักฐานทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ ก็ยืนยันไม่ได้ว่า รัฐกําเนิดขึ้นมาอย่างไร นักรัฐศาสตร์จึงตั้งทฤษฎีหรือสมมุติฐานของตนขึ้นมาอธิบายว่ารัฐกําเนิด ขึ้นมาอย่างไร ซึ่งมีหลายทฤษฎีด้วยกัน โดยในที่นี้จะกล่าวถึง 3 ทฤษฎี คือ ทฤษฎีเทวสิทธิ์ ทฤษฎีสัญญาประชาคม และทฤษฎีกําลังอํานาจ

1 ทฤษฎีเทวสิทธิ์ (The Divine Theory) ทฤษฎีนี้อาจเป็นทฤษฎีการกําเนิดรัฐที่เก่าแก่ ที่สุด โดยทฤษฎีนี้เชื่อว่าพระเจ้า (God) เป็นผู้ให้กําเนิดและสร้างรัฐขึ้นมาในอาณาจักรโบราณและชนเผ่าที่เก่าแก่จะมีความเชื่อว่า ผู้ปกครอง (Rulers) เป็นผู้สืบ เชื้อสายมาจากพระเจ้า พวกคริสเตียนยุคก่อนเชื่อว่า พระเจ้าสร้างรัฐขึ้นมาปกครองมนุษย์เพื่อลงโทษบาปที่มนุษย์ ได้กระทําไว้

ในสมัยกลางทฤษฎีเทวสิทธิ์ยังเป็นที่ยอมรับกัน แม้ว่าจะมีความขัดแย้งระหว่างสันตะปาบา (Pope) และจักรพรรดิโรมัน (Emperor) ในข้อที่ว่า ผู้ปกครองได้รับมอบอํานาจโดยตรงจากพระเจ้าหรือต้องผ่าน สันตะปาปา ต่อมาพวกที่สนับสนุนระบบกษัตริย์โดยเฉพาะพวกโปรเตสแตนต์ได้อ้างว่า กษัตริย์ได้รับอํานาจโดยตรง จากพระเจ้า จึงทําให้ทฤษฎีอํานาจเทวสิทธิ์ของกษัตริย์ (The Divine Right of Kings) เป็นที่ยอมรับ

ทฤษฎีอํานาจเทวสิทธิ์ทําให้กษัตริย์มีอํานาจมากจนสามารถรวบรวมนครรัฐต่าง ๆ เข้า ด้วยกันเป็นรัฐชาติได้ แต่ก็มีผลเสียที่ทําให้กษัตริย์ใช้อํานาจกดขี่ประชาชนอย่างรุนแรงโหดร้าย

2 ทฤษฎีสัญญาประชาคม (The Social Contract Theory) ทฤษฎีนี้ถือว่าประชาชนเป็น เจ้าของอํานาจอธิปไตย (Popular Sovereignty) โดยมีแนวความคิดว่า มนุษย์เป็นผู้ก่อตั้งรัฐ โดยวิธีการที่ปัจเจกชน (Iridividual) ยกอํานาจอธิปไตยที่ตนมีให้แก่ผู้ปกครองหรือรัฐบาลให้มาใช้อํานาจปกครองเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม ดูแลทุกข์สุขของประชาชน แต่ถ้าผู้ปกครองหรือรัฐบาลไม่ดี กดขี่ประชาชน ประชาชนทุกข์ยาก ประชาชนก็ยกเลิก สัญญาประชาคมได้ โดยลุกฮือขึ้นล้มล้างผู้ปกครองหรือรัฐบาลที่เลวร้ายนั้นได้

ทฤษฎีนี้ได้รับความนิยมในยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 17 – 18 เป็นอย่างมากจนทําให้ทฤษฎี เทวสิทธิ์หมดความน่าเชื่อถือลง จึงเกิดปฏิวัติล้มล้างระบอบกษัตริย์ในยุโรปอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส จนมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยและรัฐสภาขึ้นมาแทนที่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

นักทฤษฎีสัญญาประชาคมที่มีชื่อเสียงมี 2 ท่าน คือ

1) โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) เชื่อว่า แต่แรกนั้นมนุษย์ไม่ได้รวมกันอยู่ในสังคม แต่แยกกันอยู่ตามสภาพธรรมชาติ อยู่ภายใต้กฎธรรมชาติ ซึ่งไม่เหมาะสมกับความเจริญ เพราะมีลักษณะโดดเดี่ยว ยากจน โหดร้าย ไม่มีความรับผิดชอบ และไม่มีความยุติธรรมต้องต่อสู้เพื่อรักษาให้ชีวิตอยู่รอดโดยลําพัง มนุษย์จึง ตกลงทําสัญญาต่อกันให้มารวมอยู่ภายใต้การปกครองของผู้ที่มีอํานาจเข้มแข็งกว่า ซึ่งฮอบส์เห็นว่า การปกครอง

โดยกษัตริย์ที่มีอํานาจมากจะดีที่สุด และประชาชนไม่มีสิทธิที่จะยกเลิกสัญญา ไม่สามารถเรียกร้องอํานาจคืนจาก องค์อธิปัตย์ได้

2) จอห์น ล็อก John Locke) เห็นว่า สภาพธรรมชาติของมนุษย์ยังไม่สมบูรณ์เพราะ มนุษย์มีหน้าที่ตัดสินความผิดที่ตนทําด้วยตนเองจึงหาความยุติธรรมไม่ได้ ล็อกเสนอว่าควรมีการจัดตั้งสถาบันขึ้น 3 ประเภท คือ สภานิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และศาลยุติธรรม เพื่อให้ประชาชนได้รับความยุติธรรมที่สมบูรณ์

การที่จะให้ได้สถาบันทั้ง 3 ขึ้นมา มนุษย์ต้องสละสิทธิพิพากษาลงโทษของตน โดยยอม ยกสิทธินี้ให้องค์กรหนึ่งเป็นผู้นําแทนทุกคน แต่ต้องทําตามกฎเกณฑ์ที่สังคมกําหนด ขั้นตอนนี้ล็อกถือว่าเป็นสัญญา เมื่อเกิดมีสัญญาสังคมแล้ว สังคมและรัฐบาลก็เกิดขึ้นทันที

ล็อกมีความเห็นที่ต่างจากฮอบส์ในข้อที่ว่า สิทธิที่มอบให้รัฐบาลไปแล้ว สามารถเรียกคืน ได้ถ้ารัฐบาลหรือองค์อธิปัตย์เป็นทรราช ล็อกสนับสนุนให้เอกชนมีสิทธิในทรัพย์สิน ซึ่งเป็นการปกป้องสิทธิเสรีภาพ ส่วนบุคคลที่สําคัญ และได้เน้นว่าสังคมเกิดขึ้นมาได้เพราะการยินยอมโดยสมัครใจของสมาชิกของสังคม ซึ่งมีการ ปกครองโดยเสียงข้างมาก (Majority) โดยความคิดเห็นของล็อกเป็นพื้นฐานของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ในปัจจุบัน

3 ทฤษฎีกําลังอํานาจ ทฤษฎีนี้เชื่อว่า รัฐมีจุดเริ่มต้นจากการยึดครองและการบังคับโดย ผู้ที่แข็งแรงกว่าต่อผู้ที่อ่อนแอกว่า นักทฤษฎีนี้บางท่านเห็นว่า รากฐานของรัฐคือความอยุติธรรมและความชั่วร้าย ดังนั้นผู้ที่แข็งแรงกว่าจึงสามารถข่มเหงผู้ที่อ่อนแอกว่าได้ และได้สร้างกฎเกณฑ์ที่ดูเหมือนชอบด้วยกฎหมายใน การจํากัดสิทธิของบุคคลอื่น

นักรัฐศาสตร์ส่วนหนึ่งเห็นว่าการใช้กําลังอํานาจของรัฐเป็นสิ่งจําเป็น และกําลังสร้าง ความชอบธรรม (Might made Right) อํานาจคือความยุติธรรม และรัฐคืออํานาจสูงสุด มีฐานะสูงกว่าศีลธรรมจรรยา ทฤษฎีนี้มีส่วนทําให้เกิดระบอบการปกครองแบบเผด็จการในยุโรปหลายลัทธิ เช่น ลัทธินาซีเยอรมัน และลัทธิ ฟาสซิสต์อิตาลี เป็นต้น

 

ข้อ 2 “ธรรมราชา” คืออะไร ใครที่ได้รับการยกย่องให้เป็นธรรมราชาที่ยิ่งใหญ่ของโลก เขามีพฤติกรรมและนโยบายอย่างใด

แนวคําตอบ

ธรรมราชาคืออะไร

ธรรมราชา หมายถึง พระราชาผู้ทรงชนะโดยธรรม ไม่ใช่ชนะด้วยสงคราม หรือนักปกครอง ผู้ใช้ธรรมะในการเอาชนะศัตรู ไม่ใช้อาวุธหรือศาสตรา มีธรรมเป็นที่พึ่ง เป็นที่ยึดเหนี่ยวหรือเป็นเครื่องชี้นําใน การปกครองและดําเนินชีวิต

พระเจ้าอโศกมหาราช-ธรรมราชาในประวัติศาสตร์

พระพุทธเจ้าทรงยกตัวอย่างพระเจ้าจักรพรรดิที่เป็นธรรมราชาไว้ในจักกวัตติสูตร ซึ่งเป็น ธรรมราชาในอุดมคติ หาตัวตนจริงไม่พบ แต่ธรรมราชาที่มีตัวตนจริงอยู่ในประวัติศาสตร์ คือ “พระเจ้าอโศกมหาราช” หรือพระศรีธรรมโศกราช ซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือไตรภูมิพระร่วง ของพญาลิไท กษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์พระร่วง ของกรุงสุโขทัย

ประวัติของพระเจ้าอโศกมหาราชเป็นที่รู้กันแพร่หลายนับพันปีมาแล้ว เพราะมีหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์มากมาย โดยเฉพาะหลักศิลาจารึกที่กล่าวถึงพระจริยวัตรในการปกครองโดยธรรมของพระองค์ โดยมีประเด็นต่าง ๆ ที่แสดงถึงความเป็นธรรมราชาของพระเจ้าอโศกมหาราชดังนี้คือ

1 ธรรมวิชัย-ชัยชนะด้วยธรรม ธรรมวิชัย คือ การเอาชนะด้วยธรรม แทนที่การใช้ แสนยานุภาพ แต่เดิมพระเจ้าอโศกมหาราชไม่ได้ทรงนับถือพุทธศาสนา ทรงมีพระทัยดุร้ายมาก การขยายอาณาจักร ของพระองค์ทรงใช้แสนยานุภาพปราบปรามข้าศึกอย่างโหมเหี้ยม กองทัพของพระองค์ได้ชัยชนะแบบที่เรียกว่า เลือดท่วมท้องช้างหลังจากที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงหันมานับถือพุทธศาสนาแล้ว ก็ทรงเปลี่ยนแปลง พระองค์เป็นธรรมราชา และขยายอํานาจโดยใช้ธรรมวิชัยในการเอาชนะข้าศึก เช่น การใช้ธรรมโดยมิต้องใช้อาชญา มิต้องใช้ศาสตรา, การใช้กองทัพขู่ให้กลัวและยอมแพ้แล้วหันมาปฏิบัติธรรมตามแบบของพระองค์, การอบรมสั่งสอน ให้ประชาชนประพฤติธรรม, การประกาศธรรมอย่างกึกก้องแทนเสียงกลองศึก เป็นต้น

2 พุทธศาสนาภายในพระบรมราชูปถัมภ์ พระเจ้าอโศกมหาราชทรงอุปถัมภ์พุทธศาสนา อย่างเต็มที่ โดยที่สําคัญมี 2 ประเภท คือ

1) การอุปถัมภ์การสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 3 ซึ่งกระทําที่วัดอโศการาม กรุงปาตลีบุตร ประเทศอินเดีย โดยมีสาเหตุมาจากการที่มีพวกเดียรถีย์ หรือนักบวชศาสนาอื่นมาปลอมบวช แล้ว แสดงลัทธิศาสนาและความเห็นของตนว่าเป็นพระพุทธศาสนา ทําให้คําสอนและการประพฤติปฏิบัติของสงฆ์ บิดเบือนไป

2) การส่งสมณทูตออกเผยแผ่พุทธศาสนาไปในดินแดนต่าง ๆ เช่น คณะของ พระมหินทเถระ ซึ่งเป็นโอรสของพระเจ้าอโศกมหาราช ได้นําพระพุทธศาสนาเข้าไปเผยแผ่ในลังกาทวีปเป็นครั้งเเรก และคณะหนึ่งที่นําโดยพระโสณะเถระ และพระอุตตระเถระมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิโดยมี ศูนย์กลางที่นครปฐมในปัจจุบัน และได้สร้างพระปฐมเจดีย์ขึ้นเป็นเครื่องหมายแห่งการเผยแผ่ธรรมในดินแดน สุวรรณภูมิเป็นครั้งแรก

3 การยกย่องบูชาและอุปถัมภ์บํารุงศาสนา พระเจ้าอโศกมหาราชทรงเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี ดังนี้คือ

1) ทรงมีใจกว้างต่อศาสนาอื่น ไม่ทําลายล้างศาสนาฮินดูซึ่งเป็นความเชื่อของคนอินเดีย ทั่วไป และมิได้ทรงบังคับให้ประชาชนเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ

2) ทรงไม่สนับสนุนให้ยกย่องนักบวชของตนเองแล้วกล่าวร้ายนักบวชที่คนอื่นนับถือ

พระเจ้าอโศกมหาราชทรงให้ความสําคัญต่อนักบวชเป็นพิเศษ เพราะทรงเห็นว่านักบวช เป็นผู้ปฏิบัติธรรมและสั่งสอนธรรม โดยได้ทรงพระราชทานที่เพื่อปฏิบัติธรรมแก่พวกนักบวชหลายแห่ง นอกจากนี้ ยังทรงดูแลพุทธศาสนาเป็นพิเศษ เช่น ห้ามการแตกสามัคคีในหมู่สงฆ์ ทรงตั้งพระทัยจะรักษานักบวชที่ดี และ ขจัดนักบวชที่ไม่ดี

4 การสั่งสอนธรรมแก่ประชาชนทั้งที่อยู่ในและนอกอาณาจักร พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงตั้งพระทัยให้ประชาชนเจริญทางธรรมและเข้าถึงธรรม จึงทรงดําเนินการให้สั่งสอนธรรมแก่ประชาชนทั้งที่อยู่ ใกล้และที่อยู่ห่างไกล โดยทรงแสวงหาวิธีการส่งเสริมให้ประชาชนประพฤติธรรมหลายวิธี ได้แก่

1) การประกาศธรรมออกไปในทิศต่าง ๆ

2) การอบรมสั่งสอนธรรมแก่ประชาชน

3) การให้มหาดเล็กและข้าหลวงซึ่งปกครองคนจํานวนมากหลายแสนคนนั้นพูดชักชวน ให้ประชาชนเข้าถึงธรรม

4) การกําหนดให้ประชาชนฟังธรรม เป็นต้น

5 การเมตตาธรรมต่อมนุษย์และสัตว์ พระเจ้าอโศกมหาราชทรงมีเมตตาธรรมต่อมนุษย์ และสัตว์อย่างเปี่ยมล้น ดังจะเห็นได้จากการห้ามไม่ให้ปฏิบัติต่อนักโทษด้วยความชั่วร้ายทั้งหลาย คือ ด้วยความ เกลียดแกล้ง ด้วยความเหลื่อมล้ํา ด้วยความรุนแรง ด้วยความด่วนได้ ด้วยความละเลย ด้วยความเกียจคร้าน และ ด้วยความท้อถอย โดยทรงปล่อยนักโทษ 25 ครั้งใน 26 ปี ทรงยกเลิกการล่าสัตว์ส่วนพระองค์ ห้ามฆ่าสัตว์เพื่อบูชายัญ ห้ามประชาชนล่าสัตว์ ห้ามฆ่าสัตว์บางชนิด บางเวลา และการสร้างโรงพยาบาลสัตว์จํานวนมากทั่วประเทศอินเดีย

6 การตั้งธรรมอํามาตย์ พระเจ้าอโศกมหาราชทรงตั้งข้าราชการตําแหน่งใหม่ขึ้นมาชื่อว่า “ธรรมมหาอํามาตย์” มีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือพระองค์ในการบําเพ็ญธรรม ดูแลพระราชวงศ์ให้บําเพ็ญธรรม สั่งสอน ประชาชน และทํางานด้านสังคมสงเคราะห์

7 การปกครองแบบพ่อปกครองลูก พระเจ้าอโศกมหาราชทรงมีพระทัยรักและเสียสละ ให้ประชาชนเสมือนหนึ่งเป็นลูกของพระองค์ จึงทรงปกครองโดยธรรมได้อย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้แล้วยังทรงดูแล ข้าราชการให้รักประชาชนเหมือนลูกเช่นเดียวกัน

พระองค์ทรงห่วงใยและเอาใจใส่ดูแลทุกข์สุขของประชาชนอย่างยิ่ง จะเห็นได้จากการที่ พระองค์เปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีความทุกข์เข้าร้องทุกข์ได้ตลอดเวลาไม่ว่าจะทรงบรรทมหรือทรงเสวยอยู่ก็ตาม

กล่าวโดยสรุปคือ ธรรมราชา หมายถึง พระราชาผู้ทรงชนะโดยธรรม ไม่ใช่ชนะด้วยสงคราม โดยพระพุทธเจ้าทรงยกตัวอย่างพระเจ้าจักรพรรดิที่เป็นธรรมราชาไว้ในจักกวัตติสูตร ซึ่งเป็นธรรมราชาในอุดมคติ หาตัวตนจริงไม่พบ แต่ธรรมราชาที่มีตัวตนจริงอยู่ในประวัติศาสตร์ คือ “พระเจ้าอโศกมหาราช” หรือพระศรีธรรมโศกราช ซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือไตรภูมิพระร่วง ของพญาลิไท กษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์พระร่วงของกรุงสุโขทัย

จริยวัตรต่าง ๆ และนโยบายที่แสดงถึงความเป็นธรรมราชาของพระเจ้าอโศกมหาราช มีดังนี้ คือ ธรรมวิชัย ชัยชนะด้วยธรรม, พุทธศาสนาภายในพระบรมราชูปถัมภ์, การยกย่องบูชาและอุปถัมภ์บํารุงศาสนา, การสั่งสอนธรรมแก่ประชาชนทั้งที่อยู่ในและนอกอาณาจักร, การเมตตาธรรมต่อมนุษย์และสัตว์, การตั้งธรรมอํามาตย์ และการปกครองแบบพ่อปกครองลูก

 

ข้อ 3 จงเปรียบเทียบหลักการประชาธิปไตยกับหลักการของพุทธศาสนาว่า เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

แนวคําตอบ

หลักการประชาธิปไตยตะวันตกกับหลักการของพุทธศาสนามีความเหมือนกันในหลายประเด็น ดังนี้

1 หลักอํานาจอธิปไตยเป็นของประชาชน (Popular Sovereignty) อํานาจสูงสุดในการ ปกครองประเทศหรืออํานาจอธิปไตยนั้นเป็นของประชาชนทุกคนร่วมกัน ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอํานาจร่วมกัน ใช้อํานาจนี้จะทางตรงหรือทางอ้อมเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนเอง รวมทั้งอํานาจในการถอดถอนในกรณีที่มี การใช้อํานาจโดยมิชอบในพุทธศาสนาได้กล่าวถึงหลักอธิปไตย 3 ประการ คือ

1) อัตตาธิปไตย คือ การถือตน เป็นใหญ่

2) โลกาธิปไตย คือ ถือการถือโลกเป็นใหญ่

3) ธรรมาธิปไตย คือ การถือธรรมเป็นใหญ่ ซึ่งพุทธศาสนา มุ่งเน้นหลักธรรมาธิปไตยเป็นรูปแบบการปกครองที่ดีที่สุด

2 หลักสิทธิและเสรีภาพ

สิทธิ (Right) หมายถึง อํานาจหรือความสามารถที่จะทําอะไรได้ตราบใดที่ไม่ไปละเมิดสิทธิ ของผู้อื่น สิทธิบางอย่างเกิดมาตามธรรมชาติ เช่น สิทธิในชีวิตและร่างกายของตนเอง ตนจึงมีสิทธิที่จะเลี้ยงดู ปกป้องคุ้มครองชีวิตของตน สิทธิบางอย่างได้มาตามกฎหมาย เพราะกฎหมายกําหนดไว้ให้มีสิทธินั้น โดยในทาง การเมืองประชาชนก็มีสิทธิที่สําคัญหลายอย่าง เช่น สิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง (Election) สิทธิในการออกเสียง ประชามติ (Referendum) สิทธิเสนอร่างกฎหมาย (Initiative) และสิทธิ์ในการถอดถอนเจ้าหน้าที่ของรัฐออกจาก ตําแหน่ง (Recall) เป็นต้น

เสรีภาพ (Liberty) หมายถึง ความเป็นอิสระในการกระทําการต่าง ๆ ตราบใดที่ไม่ได้ ทําให้ผู้อื่นเสียหายหรือผิดกฎหมาย โดยในทางการเมืองนั้นเสรีภาพที่สําคัญที่จะบัญญัติรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ ได้แก่ เสรีภาพในการพูดและแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในการพิมพ์ เสรีภาพในการศึกษา และเสรีภาพในการจัดตั้ง สมาคมและพรรคการเมือง เป็นต้น

ในพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา โดยไม่ทรงบังคับให้ใคร เชื่อถือศรัทธาในศาสนาของพระองค์ แต่ทรงชี้ทางที่ถูกต้องให้เท่านั้น ใครจะทําตามหรือไม่นั้น ย่อมมีสิทธิเลือก นอกจากนั้นพระพุทธเจ้ายังให้เสรีภาพในการคิด เช่น พระองค์ทรงสอนพวกกาลามะ ให้ใช้วิจารญาณการพิจารณา ไตร่ตรองของตนเองให้ดีเสียก่อนจึงจะเชื่อตามหลักกาลามสูตร 10 ประการ รวมทั้งทรงสอนเรื่องศีล 5 คือ ไม่ให้ ฆ่าผู้อื่น ไม่ให้ลักทรัพย์ผู้อื่น ไม่ให้ล่วงละเมิดผู้อื่น เป็นต้น นับเป็นการแสดงให้เห็นถึงการรับรองสิทธิส่วนบุคคล ที่ผู้อื่นจะละเมิดมิได้

3 หลักความเสมอภาค (Equality) หมายถึง ความเท่าเทียมที่จะทําอะไรได้เหมือนกัน และได้รับการปฏิบัติเหมือนกันภายใต้กฎหมาย โดยในทางการเมืองก็มีความเสมอภาคที่สําคัญหลายอย่าง เช่น ความเสมอภาคในการเป็นมนุษย์เหมือนกัน ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย เด็กหรือผู้ใหญ่ คนรวยหรือคนจน ก็มีค่า แห่งความเป็นคนเหมือนกัน ย่อมมีศักดิ์ศรีเกียรติยศที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์เหมือนกัน

ความเสมอภาคทางการเมืองมีความสําคัญ คือ บุคคลจะได้รับความคุ้มครองหรียปฏิบัติ จากกฎหมายเสมอเหมือนกัน ความเสมอภาคทางการเมืองเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเมือง คือ คนที่มีภาวะหรือสภาพ เหมือนกัน ย่อมมีสิทธิทางการเมืองเสมอภาคกัน เช่น อายุ 18 ปีบริบูรณ์มีสิทธิเลือกตั้งเหมือนกันหมด เป็นต้น

ในพุทธศาสนา จะเห็นได้ชัดเจน เช่น ผู้หญิงก็สามารถเข้ามาบวชเป็นภิกษุณีได้เช่นเดียว กับผู้ชายที่ขอบวชเป็นภิกษุ, พระพุทธเจ้าทรงคัดค้านการแบ่งชั้นวรรณะตามศาสนาฮินดู โดยทรงให้ทุกวรรณะแม้แต่ จัณฑาลก็เข้าบวชในพุทธศาสนาได้ รวมทั้งพระองค์ทรงสอนว่าทุกคนมีความเสมอภาคกันหมดต่อกรรมดีและกรรมชั่ว ที่ตนทํา เป็นต้น

4 หลักการปกครองโดยกฎหมาย (Rule of Law) หมายถึง ผู้ปกครองจะใช้อํานาจใด ๆ ได้ ก็ต่อเมื่อมีกฎหมายให้อํานาจไว้ อีกทั้งการใช้อํานาจนั้นจะต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ซึ่งเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนเท่านั้น การจํากัดสิทธิเสรีภาพใด ๆ ของประชาชนจะต้องเป็นไปตาม เงื่อนไขของกฎหมายเท่านั้น ดังนั้นหลักการนี้มีขึ้นเพื่อมุ่งจะให้ความคุ้มครองแก่สิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของ ประชาชนเป็นสําคัญ

ในพุทธศาสนามีพระธรรมวินัยเป็นธรรมนูญหรือกฎหมายสูงสุด ซึ่งถือว่าเป็นหลักกฎหมาย ที่เป็นหลักปฏิบัติของสงฆ์ที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อหมู่คณะมีความสงบสุข เป็นต้น

5 หลักเสียงข้างมาก (Majority Rule) หมายถึง ในการตัดสินใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นการกําหนด ตัวผู้ปกครอง หรือการตัดสินใจของฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ จะต้องถือเอาเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ และเพื่อให้มั่นใจว่าการตัดสินนั้นสะท้อนถึงความต้องการของคนส่วนใหญ่อย่างแท้จริงก็ต้องให้ความเคารพและ คุ้มครองเสียงข้างน้อยด้วย (Minority Right) ทั้งนี้เพื่อประกันว่าฝ่ายเสียงข้างมากจะไม่ใช้มติในลักษณะพวกมากลากไป

ในพุทธศาสนาในการปกครองคณะสงฆ์ก็ใช้เสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ตัดสิน ฝ่ายใดได้รับ เสียงข้างมากสนับสนุน ฝ่ายข้างน้อยก็ปฏิบัติตาม แต่ทั้งนี้ต้องไม่ขัดกับพระธรรมวินัย เป็นต้น

ดังนั้นจากหลักการดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่าประชาธิปไตยตะวันตกและประชาธิปไตยใน พุทธศาสนามีความเหมือนกันในหลายประเด็น เช่น หลักอํานาจอธิปไตยเป็นของประชาชน หลักสิทธิและ เสรีภาพ หลักความเสมอภาค หลักการปกครองโดยกฎหมาย และหลักเสียงข้างมาก

 

ข้อ 4 จงยกหลักการพื้นฐานของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยมาอย่างน้อย 3 – 5 ข้อ โดยให้อธิบายถึงรายละเอียดมาพร้อมด้วย

แนวคําตอบ

หลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย

1 หลักความเสมอภาคและสิทธิ (Equalitarianism) เป็นความสํานึกที่ยึดมั่นว่า มนุษย์เรา มีความเสมอภาคเท่าเทียมกันโดยกําเนิดหรือโดยธรรมชาติ แม้ว่าจะมีผู้ทรงอํานาจที่อ้างสิทธิว่าตนเป็นผู้ที่พระเจ้า ส่งมาเกิดตามลัทธิเทวสิทธิ์ก็ตาม ผู้ที่มีความเชื่อในความเสมอภาคของมนุษย์ก็พยายามต่อสู้มาเป็นพันปี จนเป็นที่ ยอมรับกันและมีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร และรัฐธรรมนูญตามจารีตประเพณีอย่างของอังกฤษว่า มนุษย์เราเสมอภาคกัน

รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน พ.ศ. 2540 ของไทย ก็ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 30 วรรคแรกว่า “บุคคลย่อมเสมอภาคกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน”

วรรคสองว่า “ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน”

วรรคสามว่า “การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล เพราะเหตุแห่งความแตกต่าง ในเรื่องถิ่นกําเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพร่างกายหรือสุขภาพ สถานะ ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อ ทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญจะกระทํามิได้”

2 หลักเสรีภาพ (Libertarianism) เมื่อมนุษย์มีความเสมอภาคกัน ไม่ตกอยู่ภายใต้การกดขี่ กีดกันด้วยเหตุต่าง ๆ ตนก็มีอิสรเสรีที่จะทําอะไรก็ได้ตามที่ตนพอใจ โดยไม่ละเมิดกฎหมาย และไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพ ของผู้อื่น ทั้งนี้การที่จะได้มาซึ่งสิทธิเสรีภาพก็ต้องต่อสู้เรียกร้องช่วงชิงมาจากผู้ปกครองที่เป็นเผด็จการในรูปต่าง ๆ นับพันปี เช่น การประกาศสิทธิเสรีภาพครั้งแรกเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1688 โดยพระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิ (Bit of Right) ของรัฐสภาอังกฤษ

เสรีภาพที่สําคัญ ได้แก่ เสรีภาพในการพูด เสรีภาพในการเขียน เสรีภาพในการรวมกลุ่ม ทางการเมือง ตลอดจนสิทธิความเป็นเจ้าของ เช่น สิทธิในชีวิต และสิทธิในทรัพย์สิน เป็นต้น

3 หลักเหตุผลนิยม (Rationalism) ในอดีตมนุษย์ถูกปลูกฝังให้เชื่อถือในสิ่งที่นอกเหนือ ธรรมชาติ เช่น พระเจ้าและอํานาจปกครองที่สั่งการและบังคับให้เชื่อฟัง โดยไม่คิดถึงเหตุผลความสมควร และความเป็นจริง ทําให้มนุษย์ล้าหลังยอมรับในอํานาจอันไม่เป็นธรรมของผู้อื่น ต่อเมื่อคนเราหันมาเชื่อถือในสิ่งที่เป็น ธรรมชาติ เป็นวิทยาศาสตร์ หาเหตุผลสาเหตุความเป็นมาได้ก็ทําให้สติปัญญา ความรู้ ความสามารถของมนุษย์สูงขึ้น จนเกิดความเจริญรุ่งเรืองทางศิลปวิทยาการต่าง ๆ อันเป็นคุณประโยชน์ต่อโลกจนถึงปัจจุบัน

ส่วนเหตุผลในด้านการปกครองก็ทําให้การเชื่อฟังผู้มีอํานาจโดยไม่ไตร่ตรองหมดไป จนเกิดความกล้าที่จะตรวจสอบการกระทําและผลงานของผู้ปกครองซึ่งเป็นหลักการสําคัญของประชาธิปไตยอย่างหนึ่ง โดยความมีเหตุผลนี้เองที่สร้างให้เกิดระบอบประชาธิปไตยสมบูรณ์ขึ้น ไม่ให้ผู้ปกครองปกครองโดยใช้อารมณ์ และอํานาจอย่างไม่เป็นธรรม

4 หลักศีลธรรม (Moralism) ศีลธรรมเป็นแนวทางหรือข้อปฏิบัติในการควบคุมความ ประพฤติของมนุษย์ ศีลธรรมของชาวตะวันตกสืบเนื่องมาจากศาสนาคริสต์ที่สอนให้มีเมตตาไม่ประทุษร้ายกัน ปฏิบัติ ต่อกันเหมือนพี่น้อง (Brotherhood of Men) โดยศีลธรรมของบุคคลได้ขยายออกเป็นศีลธรรมของสังคมและการเมือง ผู้เข้ามามีส่วนร่วมในการเมืองการปกครองจะต้องมีจริยธรรม ศีลธรรม คุณธรรม และที่สําคัญคือจะต้องมีความ เป็นธรรมและยุติธรรม ไม่ใช้โอกาสในทางการเมืองมาทําการทุจริตประพฤติมิชอบ และนักการเมืองจะต้องมีความ ละอายต่อบาป การทําผิดศีลจะต้องได้รับโทษทั้งทางบ้านเมือง สังคม และต้องถูกประณาม

5 หลักการปกครองของประชาชนโดยประชาชน และเพื่อประชาชน (Government of the People, by the People and for the People) หลักการนี้เป็นส่วนหนึ่งของสุนทรพจน์ของประธานาธิบดี อับราฮัม ลินคอล์น (Abraham Lincoln) ที่ต้องการให้สหรัฐอเมริการวมเป็นหนึ่งเดียวหลังจากเกิดสงครามระหว่าง ฝ่ายเหนือกับฝ่ายใต้ โดยสุนทรพจน์ส่วนที่เป็นหลักประชาธิปไตยนี้มีข้อความที่สําคัญคือ

“บรรพบุรุษของเราได้ก่อตั้งชาติใหม่ขึ้นมาบนทวีปนี้ ด้วยมุ่งหวังในเสรีภาพ, และทุ่มเท อุทิศให้แก่หลักการที่ว่าคนทุกคนถูกสร้างให้เท่าเทียมกัน (หลักการ) ที่ว่ารัฐบาลของประชาชน, โดยประชาชน เพื่อประชาชน, จะไม่สูญหายไปจากโลก”

รัฐบาลของประชาชนนี้มีความหมายกว้าง ไม่ใช่หมายถึงเฉพาะว่า ประชาชนเป็นเจ้าของ การปกครอง แต่ประชาชนเป็นเจ้าของทุกอย่างไม่ว่า แผ่นดิน ท้องฟ้า น้ํา อากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ และสรรพชีวิต สรรพสิ่งในเขตแดนของประเทศรัฐบาลโดยประชาชน ก็หมายถึง ประชาชนมีอํานาจจัดตั้งรัฐบาลขึ้นมาด้วยรูปแบบต่าง ๆ เช่น เลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรง หรือเลือกผู้แทนราษฎรเข้ารัฐสภา แล้วรัฐสภาแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี และ คณะรัฐมนตรีมาบริหารประเทศ เมื่อตั้งรัฐบาลขึ้นมาแล้ว ประชาชนก็ต้องดูแลควบคุมตรวจสอบไม่ให้รัฐบาล เบี่ยงเบนไม่ทําหน้าที่อันสมควร ป้องกันไม่ให้รัฐบาลทุจริตประพฤติมิชอบ

รัฐบาลเพื่อประชาชน เป็นจุดมุ่งหมายของประชาธิปไตยที่สําคัญ คือ รัฐบาลต้องทําเพื่อ ประชาชน ไม่ใช่ทําเพื่อตัวเองหรือเพื่อองค์กรอื่นใด ประโยชน์สุขถือเป็นเป้าหมายสูงสุดของรัฐบาล เมื่อผู้ใดอาสา เข้ามาบริหารปกครองประเทศก็มีจุดหมายปลายทางที่ผลประโยชน์ของประชาชนเท่านั้น

POL3112 ความคิดทางการเมืองในพุทธศาสนา ซ่อม 1/2557

การสอบซ่อมภาค 1 ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3112 ความคิดทางการเมืองในพุทธศาสนา

คําสั่ง ข้อสอบเป็นแบบอัตนัยมี 2 ข้อ ให้ทําทั้งหมด กรุณาเขียนคําตอบด้วยหมึกสีเข้ม

ด้วยลายมือตัวโต ๆ ที่อ่านง่าย (หากใช้ดินสอเขียน จะปรับตกทันที)

ข้อ 1 จงอธิบายถึง ความหมายของ “ธรรมราชา” คุณธรรมต่าง ๆ ที่ธรรมราชาควรมีในตน มาให้เข้าใจอีกทั้งให้อธิบายว่า เหตุใดจึงต้องมีธรรมราชา

แนวคําตอบ

ความหมายของธรรมราชา

ธรรมราชา หมายถึง พระราชาผู้ทรงชนะโดยธรรม ไม่ใช่ชนะด้วยสงคราม หรือนักปกครอง ผู้ใช้ธรรมะในการเอาชนะศัตรู ไม่ใช้อาวุธหรือศาสตรา มีธรรมเป็นที่พึ่ง เป็นที่ยึดเหนี่ยว หรือเป็นเครื่องชี้นําใน การปกครองและดําเนินชีวิต

คุณธรรมของธรรมราชา

พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนเรื่องธรรมหรือข้อที่ควรปฏิบัติเป็นประจําของธรรมราชา ไว้หลายประการ ดังนี้ คือ

1จักกวัตติสูตร – ข้อปฏิบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ

พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนภิกษุสาวกด้วยจักกวัตติสูตร หรือสูตรว่าด้วยสิ่งที่พระเจ้า จักรพรรดิปฏิบัติเป็นประจํา โดยตรัสสอนตามลําดับคือเรื่องรัตนเจ็ดประการของพระเจ้าจักรพรรดิ อันประกอบด้วย

1 จักรแก้ว 2 ช้างแก้ว 3 ม้าแก้ว 4 แก้วมณี 5 นางแก้ว 6 ขุนคลังแก้ว 7 ขุนพลแก้ว ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้ยิ่งใหญ่ที่แท้จริงนั้น จะต้องมีบารมีสูงส่ง มีสิ่งประเสริฐคู่บารมีอย่างพร้อมเพรียง โดยสิ่งเหล่านี้จําเป็นสําหรับ การรักษาพระราชอํานาจและบารมีของพระเจ้าจักรพรรดิด้วย เช่น นางแก้วคือภรรยาที่ดี ขุนพลแก้วคือแม่ทัพที่ดี และขุนคลังแก้วคือเสนาบดีที่ดูแลพระราชทรัพย์ ซึ่งล้วนมีความสําคัญต่อผู้เป็นประมุขทั้งสิ้น

ในจักกวัตติสูตรสอนข้อปฏิบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ ดังนี้

1) จงอาศัยธรรม สักการะเคารพนับถือธรรม ให้ความคุ้มครองอันเป็นธรรมแก่มนุษย์และสัตว์ ไม่ยอมให้ผู้ทําการอันเป็นอธรรมเป็นไปได้ในแว่นแคว้น

2) ผู้ใดไม่มีทรัพย์ก็มอบทรัพย์ให้

3) เข้าไปหาสมณะพราหมณ์เพื่อปรึกษาและนําธรรมมาปฏิบัติ

2 ราชสังคหวัตถุ 4

ราชสังคหวัตถุ 4 เป็นสังคหวัตถุของพระราชา หรือหลักการสงเคราะห์ประชาชนของ นักปกครอง ได้แก่

1) สัสสเมธะ (ฉลาดบํารุงธัญญาหาร) คือ ส่งเสริมการเกษตรซึ่งเป็นอาชีพหลักของประชาชนในสมัยพุทธกาล

2) ปุริสเมธะ (ฉลาดบํารุงข้าราชการ) คือ ส่งเสริมข้าราชการที่ดี ซื่อสัตย์สุจริต และขยันขันแข็ง

3) สัมมาป่าสะ (ประสานรวมใจประชาชน) คือ ช่วยเหลือประชาชนให้มีอาชีพเลี้ยงตนเองได้

4) วาชไปยะ (วาทะดูดดื่มใจ) คือ รู้จักชี้แจงแนะนํา ไต่ถามทุกข์สุข และเป็นกันเองกับประชาชนทุกระดับ

การสงเคราะห์ช่วยเหลือประชาชนด้วยหลักธรรม 4 ข้อดังกล่าวนี้ จะช่วยทําให้ประชาชน อยู่เย็นเป็นสุข เจริญก้าวหน้า ในขณะเดียวกันก็เกิดความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

3 กฎทันตสูตร – สูตรว่าด้วยพราหมณ์ฟันเขยิน สิ่งที่ผู้ปกครองควรปฏิบัติตามกฏทันตสูตร มีดังนี้

1) เพิ่มข้าวปลูกและข้าวกินให้แก่เกษตรกรที่มีความขยันขันแข็ง

2) เพิ่มทุนให้แก่พ่อค้าที่ขยันขันแข็ง

3) เพิ่มเบี้ยเลี้ยงและเงินเดือนให้แก่ข้าราชการที่ขยันขันแข็ง

ในกูฏทันตสูตร อธิบายว่า การที่ผู้ปกครองเพิ่มทรัพย์สิ่งของให้แก่ผู้ทําดีเป็นวิธีการที่ จะทําให้อาชญากรรมหมดไป นั่นคือ ทําให้เศรษฐกิจดีและช่วยเหลือประชาชนในการประกอบอาชีพให้มีรายได้ เพียงพอ เช่น ช่วยให้ชาวนามีสิ่งจําเป็นในการทํานา ช่วยให้พ่อค้ามีทุนในการค้าขาย ช่วยให้ลูกจ้างมีเงินพอเพียง สําหรับการเลี้ยงชีพ ช่วยให้คนเดือดร้อนได้รับการยกเว้นภาษี และให้รางวัลหรือเพิ่มเงินเดือนแก่เหล่าขุนนาง ข้าราชการที่ขยันขันแข็ง เป็นต้น

4 ทศพิธราชธรรม – คุณธรรมของพระราชา 10 ประการ

ทศพิธราชธรรมหรือคุณธรรมของพระราชา 10 ประการ ประกอบด้วย ทาน ศีล การบริจาค ความซื่อตรง ความอ่อนโยน ความเพียร ความไม่โกรธ ความไม่เบียดเบียน ความอดทน และความไม่พิโรธ

พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนเรื่องทศพิธราชธรรมก็เพื่อสอนให้กษัตริย์ที่มีอํานาจมาก ทรงปกครองโดยธรรม โดยมีหลักธรรมประจําใจควบคุมพระองค์เอง ประชาชนจะได้อยู่เย็นเป็นสุข

5 อปริหานิยธรรม – ธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม

อปริหานิยธรรม 7 ประการ คือ ธรรมที่ไม่ทําให้เกิดความเสื่อม มีแต่ความเจริญฝ่ายเดียว ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนอปริหานิยธรรมแก่เจ้าลิจฉวีให้ชาววัชชีซึ่งเป็นชนชั้นสูงที่มีอํานาจปกครองรัฐแบบ สามัคคีธรรม ได้แก่

1 ประชุมกันเนืองนิตย์

2 พร้อมเพรียงกันประชุม เลิกประชุม และกระทํากิจที่ควรทํา

3 ไม่บัญญัติสิ่งที่ยังไม่ได้บัญญัติ ไม่ตัดรอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว

4 เคารพนับถือชาววัชชีที่เป็นผู้ใหญ่ผู้เฒ่า

5 ไม่ข่มเหงล่วงเกินสตรีที่มีสามีแล้วและสตรีสาว

6 สักการะเคารพเจดีย์ของชาววัชชี

7 จัดแจงให้การอารักขาคุ้มครองอันเป็นธรรมให้พระอรหันต์ และปรารถนาให้อรหันต์ที่ยังไม่มา ได้มา ที่มาแล้วขอให้อยู่เป็นสุข

6 ธัมมิกสูตร – พระราชาผู้ตั้งอยู่ในธรรม

ธัมมิกสูตรหรือพระราชาผู้ตั้งอยู่ในธรรม โดยพระพุทธเจ้าทรงสอนให้พระราชาเป็น ผู้ตั้งอยู่ในธรรม เพราะในฐานะผู้นําที่ต้องนําพาประชาชนไปสู่ความมั่นคงปลอดภัย ความเจริญก้าวหน้า และอยู่เย็น เป็นสุขนั้น ถ้าผู้นํานําดีและทําตัวเป็นตัวอย่างที่ดีประชาชนก็จะทําตัวดีตามอย่างผู้นํา อีกทั้งประชาชนก็จะมี ความสุขความเจริญ ชาติบ้านเมืองก็เจริญรุ่งเรืองและสงบสันติ

พระพุทธเจ้าทรงตรัสในธัมมิกสูตรตอนหนึ่งว่า “เมื่อฝูงโคข้ามไปอยู่ ถ้าโคผู้นําฝูงไปคด โคเหล่านั้นย่อมไปคดทั้งหมด ในเมื่อโคผู้นําไปคด ในมนุษย์ก็เหมือนกัน ผู้ใดได้รับสมมุติให้เป็นผู้นํา ถ้าผู้นั้น ประพฤติอธรรม ประชาชนนอกนี้ก็จะประพฤติอธรรมเหมือนกัน แว่นแคว้นทั้งหมดจะได้ประสบความทุกข์ ถ้าพระราชาเป็นผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม เมื่อฝูงโคข้ามไปอยู่ ถ้าโคผู้นําฝูงไปตรง โคเหล่านั้นย่อมไปตรงทั้งหมด ในเมื่อ โคผู้นําไปตรง ในหมู่มนุษย์ก็เหมือนกัน ผู้ใดได้รับสมมุติให้เป็นผู้นํา ถ้าผู้นั้นประพฤติธรรม ประชาชนนอกนี้ย่อม ประพฤติธรรมเหมือนกัน แว่นแคว้นทั้งหมดย่อมได้ประสบความสุข ถ้าพระราชาเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม”

เหตุใดจึงต้องมีธรรมราชา

จากการที่ผู้ปกครองเป็นผู้นํา เป็นผู้บริหาร และปกป้องรักษาเขตแดนและประชาชน ถ้ากษัตริย์ หรือผู้ปกครองดี มีคุณธรรม รัฐหรือประเทศก็ดีตามไปด้วย เช่น การสงเคราะห์ช่วยเหลือประชาชนด้วยหลัก ราชสังคหวัตถุ 4 จะช่วยทําให้ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข เจริญก้าวหน้า ในขณะเดียวกันก็เกิดความสามัคคีเป็น อันหนึ่งอันเดียวกันการที่กษัตริย์มีทศพิธราชธรรม ทรงปกครองโดยธรรม ประชาชนก็จะได้อยู่เย็นเป็นสุข เป็นต้น

 

ข้อ 2 จงอธิบายว่า สาราณียธรรม 6 ของพระพุทธเจ้าประกอบไปด้วยอะไรบ้าง และมีผลในการสร้างการอยู่ร่วมกันแบบประชาธิปไตย อย่างใด

แนวคําตอบ

หลักสาราณียธรรม 6 ประการ

พระธรรมปิฎกได้อธิบายหลักการอยู่ร่วมกันแบบประชาธิปไตยโดยใช้หลักสาราณียธรรม 6 ประการ

ดังนี้

1 เมตตากายกรรม คือ การจะทําอะไรก็ทําต่อกันด้วยความเมตตา ด้วยความรัก ด้วยไมตรี ด้วยความปรารถนาดีต่อกัน มีการช่วยเหลือ มีการร่วมมือ มีความพร้อมที่จะประสานงานกัน

สิ่งนี้เป็นสิ่งที่จะทําให้เกิดความผูกพันประสานเสริม ทําให้สังคมนี้อยู่ร่วมกันไปได้ โดย มีเครื่องยึดเหนี่ยว เป็นโอกาสพื้นฐานที่จะให้แต่ละคนนําเอาศักยภาพของคนมาเป็นส่วนร่วมสร้างสรรค์สังคมของ ตนด้วยกัน

2 เมตตาวจีกรรม คือ จะพูดอะไรก็พูดด้วยเมตตา พูดด้วยความหวังดีต่อกันและมุ่ง ประโยชน์ต่อส่วนรวมในเวลามีเหตุการณ์ต่าง ๆ ก็จะหันหน้ามาพูดจาปรึกษากัน ปรับความเข้าใจกันได้ แต่ถ้า คนไม่มีเมตตาต่อกันแล้ว เมื่อมีปัญหาขึ้นมาก็ชวนให้เกิดความทะเลาะเบาะแว้งและความขัดแย้ง แล้วผลที่สุด ก็นําไปสู่ความรุนแรง สู่การทําลายล้าง นําไปสู่ปัญหา

3 เมตตามโนกรรม คือ คิดอะไรก็คิดต่อกันด้วยเมตตา มีความหวังดีและปรารถนาดีต่อกัน ข้อนี้สําคัญในขั้นที่เอามาเมตตามาประกอบกับการใช้ปัญญา ถ้าใจมีเมตตา เวลาใช้ปัญญา ก็จะช่วยให้โลภะ โทสะ โมหะ เข้าครอบงําความคิดได้ยาก เราก็จะพิจารณาวินิจฉัย คิดการวางแผนต่าง ๆ โดย มุ่งทําให้เกิดประโยชน์สุขแก่กัน และสร้างสรรค์สังคม นอกจากนั้นในด้านการแสดงออก เมตตาก็ทําให้มีจิตใจที่ พร้อมจะยิ้มแย้ม เวลาพบหน้ากันก็พอจะยิ้มได้ นําไปสู่การพูดจากันได้ดีขึ้น

4 สาธารณโภคี คือ การแบ่งปันทรัพย์สินผลประโยชน์กันอย่างทั่วถึง หรือการมีกินมีใช้ ร่วมกันธรรมดาคนเมื่อยังไม่ได้พัฒนา ด้อยการศึกษาที่แท้จริง ก็มุ่งเอาแต่ประโยชน์ส่วนตัว ยึดมั่นติดในผลประโยชน์เห็นแก่ตัวมาก ไม่สามารถเฉลี่ยเจือจานกันได้ ทําให้สังคมมีความเหลื่อมล้ำต่ำสูงกันมาก เมื่อคนมีความเหลื่อมล้ำต่ำสูงกันมากในเรื่องรายได้ในเรื่องทรัพย์สินสมบัติหรือสิ่งที่ครอบครอง มันก็เป็นทางทําให้ เกิดความแตกแยก คนในสังคมจึงต้องมีความโอบอ้อมอารีเผื่อแผ่แบ่งปันเจือจานแก่กันและกัน ถ้าสังคมของเรา ถือหลักพุทธศาสนาข้อนี้แล้วจะช่วยได้มาก เราก็จะไม่กอบโกยเอามาไว้เฉพาะผู้เดียว

5 สีลสามัญญตา แปลว่า การมีศีลเสมอกัน คือ มีความประพฤติดี รักษาระเบียบวินัย มีความสุจริตทางกาย วาจาที่จะกลมกลืนเข้ากันได้

คนที่จะอยู่ร่วมสังคมกันนี้ จะต้องมีศีลคือความประพฤติสุจริตไว้ใจกันได้ ไม่เบียดเบียน ผู้อื่น ไม่ก่อความเดือดร้อนแก่สังคม และรักษาระเบียบวินัยทําตามกฎกติกาของสังคม

6 ทิฏฐิสามัญญตา คือ มีความเห็น มีความเชื่อมั่นยึดถือในหลักการ อุดมการณ์ และ อุดมคติที่ร่วมกันหรือสอดคล้องไปกันได้ คนในสังคมประชาธิปไตยนี้อย่างน้อยต้องมีความเห็น ความเข้าใจ และเชื่อมั่นในหลักการ ของประชาธิปไตยร่วมกัน

ผลในการสร้างการอยู่ร่วมกันแบบประชาธิปไตย

พระพุทธเจ้าทรงสอนว่าถ้าอยู่ด้วยกันด้วยหลักสาราณียธรรม 6 ประการนี้แล้ว แต่ละคนที่เป็น สมาชิกของสังคมก็จะระลึกถึงกัน มีน้ําใจประสานกลมกลืนพร้อมที่จะร่วมมือกัน เพราะตั้งแต่ทางกายเราก็มีเมตตา ต่อกัน ปฏิบัติต่อกันด้วยเมตตา ช่วยเหลือเอาธุระต่อกัน ทางวาจาเราก็พูดด้วยน้ําใจรักกัน ในจิตใจเราก็คิดดี ปรารถนาดีต่อกัน ในการอยู่ร่วมกันมีของอะไร ได้อะไรมา เราก็มากินโดยแบ่งปันกัน ในการรักษาสถานภาพของสังคม เราก็รักษาระเบียบวินัย มีศีลเสมอกัน ไม่เบียดเบียน ก่อความเดือดร้อนแก่กัน และปฏิบัติตามกฎกติกาของส่วนรวม และในที่สุดในขั้นหลักการพื้นฐานที่รองรับสังคมของเรา เราก็มีความเชื่อมั่นยึดถือและเข้าใจหลักการสําคัญของ ประชาธิปไตยร่วมกัน ตลอดเข้าใจร่วมกันในความจริงที่เป็นธรรมชาติของโลกและชีวิตที่จะรองรับความเป็นมนุษย์ ของเราไว้ด้วยกัน

POL3310 การบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ s/2559

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3310 การบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ

คําสั่ง ข้อสอบมี 5 ข้อ ให้เลือกทํา 3 ข้อ สําหรับผู้ที่ส่งงานในห้องให้ระบุ Code และเลือกทํา 2 ข้อ

ข้อ 1 จงอธิบายถึงข้อเสนอของกลุ่มศึกษาบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ (CPA) ที่มีต่อพัฒนาการวิชาบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ

แนวคําตอบ

กลุ่มบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ (Comparative Public Administration : CPA) หรือเรียก อีกชื่อหนึ่งว่า กลุ่มบริหารเปรียบเทียบ (Comparative Administration Group : CAG) เกิดขึ้นภายหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ในขณะนั้นประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งสถาปนาตัวเองเป็นผู้นําโลก ได้ประกาศใช้แผนมาร์แชล (Marshall Plan) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือทางด้านการเมือง การทหาร เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษา และเทคโนโลยีแก่ประเทศพันธมิตรของสหรัฐอเมริกา การช่วยเหลือดังกล่าวมีส่วนผลักดันให้ประเทศ โลกที่ 3 หรือประเทศกําลังพัฒนาเกิดอุดมการณ์การพัฒนา (Developmentatism) โดยมีความเชื่อว่า บรรดา ประเทศยากจนสามารถพัฒนาประเทศของตนให้เหมือนกับประเทศที่เจริญแล้วหรือประเทศอุตสาหกรรมได้ หากนําแนวทางของสหรัฐอเมริกามาเป็นต้นแบบ

ผลจากนโยบายการให้ความช่วยเหลือและอุดมการณ์การพัฒนาทําให้เกิดกลุ่ม CPA ซึ่งกลุ่มนี้ มองว่าระบบบริหารของประเทศโลกที่ 3 เป็นระบบที่ไม่มีประสิทธิภาพเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศตะวันตก ดังนั้น ถ้าต้องการจะให้ระบบบริหารของประเทศโลกที่ 3 มีประสิทธิภาพ สามารถเป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศได้ ก็จําเป็นจะต้องพัฒนาและปรับปรุงระบบบริหารของประเทศเหล่านี้ให้ “ทันสมัย” ซึ่งกลุ่ม CPA ได้เรียกร้องให้มี การสร้างสถาบันทางการบริหาร (Institution-Building) ใหม่ ๆ ขึ้นในประเทศโลกที่ 3

แนวความคิดของกลุ่ม CPA ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในช่วงยุคทองของการบริหารรัฐกิจ เปรียบเทียบ (ค.ศ. 1969 – 1974) ซึ่งจะเห็นได้จากการจัดพิมพ์วารสาร เอกสาร ตําราเกี่ยวกับการบริหารรัฐกิจ เปรียบเทียบมากมาย และในมหาวิทยาลัยของสหรัฐอเมริกาก็มีการเปิดการเรียนการสอนการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ กันมาก ซึ่งจุดเน้นของแนวความคิดของกลุ่ม CPA มีดังนี้

1 การสร้างระบบการบริหารแบบอเมริกัน (American Public Administration) ซึ่งเป็น ระบบที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด (The Best Efficiency) สามารถเป็นต้นแบบให้กับประเทศโลกที่ 3 เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ในการพัฒนาประเทศได้

2 การนํารูปแบบการบริหารแบบอเมริกันไปใช้จะต้องครอบคลุมในทุก ๆ ด้าน เนื่องจาก รูปแบบการบริหารงานแบบอเมริกันมีลักษณะ “ครบวงจร” หรือเป็นแบบ “Package” คือ ประกอบด้วยความรู้ ทางด้านการบริหารทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการบริหารงานบุคคล การบริหารงบประมาณ การจัดการ เทคโนโลยี รวมทั้งทัศนคติและค่านิยมแบบอเมริกัน เช่น เรื่องของความมีประสิทธิภาพ ความประหยัด ความมีเหตุผลและ ความรับผิดชอบ เป็นต้น

3 มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อต้องการที่จะปรับปรุงระบบราชการของประเทศโลกที่ 3 ให้มี ความทันสมัยแบบสหรัฐอเมริกา เนื่องจากมีความเชื่อว่าระบบราชการเป็นเครื่องมือที่สําคัญที่จะช่วยให้การพัฒนา ประเทศสําเร็จผล โดยนอกจากจะกําหนดมาตรการต่าง ๆ ในการเพิ่มขีดความสามารถให้แก่ระบบราชการใน ประเทศโลกที่ 3 ยังได้เสนอให้มีการสร้างสถาบันทางการบริหารใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น เพื่อช่วยในการพัฒนาประเทศ

4 การเพิ่มขีดความสามารถของระบบบริหารของหน่วยงานราชการ จะต้องกระทําก่อน สิ่งอื่นใดทั้งหมด โดยไม่คํานึงถึงระดับของการพัฒนาทางการเมือง

ในช่วงยุคเสื่อมของการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ (ค.ศ. 1975 – 1976) แนวความคิดของ กลุ่ม CPA ถูกโจมตีว่ามุ่งเน้นการบริหารงานตามแบบตะวันตกจนละเลยการพิจารณาถึงปัจจัยสภาพแวดล้อมภายใน ของประเทศโลกที่ 3 จึงทําให้การบริหารงานของประเทศโลกที่ 3 ไม่ประสบผลสําเร็จเท่าที่ควร เพราะการพัฒนา จําเป็นต้องใช้เวลาในการสร้างสมประสบการณ์ของประเทศนั้น ๆ เอง เพื่อค้นหารูปแบบการบริหารงานที่เหมาะสม กับประเทศของตน

นอกจากนี้แนวคิดของกลุ่ม CPA ยังถูกมองว่าเป็นเครื่องมือของประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยเฉพาะ สหรัฐอเมริกาในการขยายอิทธิพลและอํานาจครอบงําประเทศโลกที่ 3 โดยผ่านวิธีการชักจูงให้ประเทศโลกที่ 3 หันมาเลียนแบบสไตล์การบริหารแบบสหรัฐอเมริกา

 

ข้อ 2 ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นในระบบราชการไทยส่งผลกระทบต่อการบริหารระบบราชการในประเทศที่กําลังพัฒนาอย่างไรภายใต้ข้อเสนอของ Fred W. Riggs

แนวคําตอบ

ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นในระบบราชการไทยส่งผลกระทบต่อการบริหารระบบราชการ ตามข้อเสนอของเฟรด ดับบลิว. ริกส์ (Fred W. Riggs) ใน 3 ประการ คือ

1 Poly-Communalism คือ การบริหารที่มีการแบ่งพวกแบ่งพ้องหรือแบ่งเป็นกลุ่มต่าง ๆ ในองค์การ ซึ่งเป็นการแบ่งภายใต้ความแตกต่างของภูมิหลัง เช่น การศึกษา ภูมิลําเนา สถานะ เป็นต้น การบริหาร ในลักษณะนี้มีข้อดี คือ ทําให้ข้าราชการมีความสนิทสนมกัน แต่ข้อเสีย คือ อาจนําไปสู่การทุจริตคอร์รัปชั่นได้ง่าย เพราะความสนิทสนมกันในกลุ่มอาจนําไปสู่การช่วยเหลือกันเพื่อหาผลประโยชน์ให้กับพวกพ้อง

2 Nepotism คือ การบริหารที่มีการเล่นพรรคเล่นพวกแบบวงศาคณาญาติ ซึ่งทําให้เกิด ระบบอุปถัมภ์หรือระบบเส้นสายในระบบราชการ

3 Bazaar-Canteen คือ การบริหารที่มีการกําหนดราคาแบบเป็นทางการ แต่ในความ เป็นจริงมักจะใช้วิธีการต่อรองราคาหรือการติดสินบนข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ กล่าวคือ ปกติการติดต่อกับ หน่วยงานราชการหรือการใช้บริการของหน่วยงานราชการจะมีการกําหนดค่าธรรมเนียมในการให้บริการไว้ชัดเจน แต่ในทางปฏิบัติอาจมีการติดสินบนข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อให้ได้รับบริการที่รวดเร็วหรือเป็นไปตาม ความต้องการของผู้ใช้บริการ ดังเช่นสํานวนไทยที่ว่า “ยื่นหมูยื่นแมว” “กินตามน้ำ” หรือ “ค่าน้ำร้อนน้ำชา”

 

ข้อ 3 จงอธิบายถึงความแตกต่างของคําว่า “Closed System” กับ “Open System”

แนวคําตอบ

“Closed System” คือ วิธีการสรรหาบุคคลเข้ารับราชการโดยใช้ระบบปิด ซึ่งเป็นวิธีการ ที่ใช้ในประเทศอังกฤษ ส่วน “Open System” คือ วิธีการสรรหาบุคคลเข้ารับราชการโดยใช้ระบบเปิด ซึ่งเป็น วิธีการที่ใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยทั้ง 2 วิธีมีความแตกต่างกัน ดังนี้

การสรรหาบุคคลโดยใช้วิธี “Closed System” ได้แก่

– เปิดรับสมัครเฉพาะผู้จบจากมหาวิทยาลัยทันที ไม่สนใจประสบการณ์ – วิธีการสรรหามีความเข้มงวดมาก โดยวิธีการสอบจะลดความเข้มงวดตามลําดับชั้นของตําแหน่งข้าราชการ

– การบรรจุข้าราชการระดับสูงมักเป็นบุคคลในสายข้าราชการ หรือบุคคลภายนอกชั้นสูง

– มีแนวคิดว่าคนชั้นสูงมีการศึกษาเป็นหัวสมองของประเทศ หรือเน้นการศึกษามากกว่าประสบการณ์ การสรรหาบุคคลโดยใช้วิธี “Open System” ได้แก่

– เปิดกว้างในการรับสมัคร ไม่จํากัดอายุและประสบการณ์

– วิธีการสรรหามีความยืดหยุ่น ไม่จํากัดวิธีคัดเลือก

– การบรรจุบุคคลระดับสูงจะสรรหาจากบุคคลหลายระดับ เน้นเป็นตัวแทนประชาชนได้

– มีแนวคิดว่าข้าราชการต้องมีการศึกษาสูงและมีประสบการณ์มาก

 

ข้อ 4 จงอธิบายถึงความแตกต่างของสังคมที่เป็นรัฐราชการว่ามีลักษณะอย่างไร

แนวคําตอบ

ตามแนวคิดของเฟรด ดับบลิว. ริกส์ (Fred W. Riggs) มองว่า สังคมที่เป็น “รัฐราชการ” หรือ “อํามาตยาธิปไตย” (Bureaucratic Polity) จะมีลักษณะดังนี้

1 ข้าราชการมีอํานาจและบทบาทในการบริหารราชการแผ่นดินอย่างมาก ทั้งในด้านการเมืองและการบริหาร

2 มีการเล่นพรรคเล่นพวก และมีการแสดงอํานาจนิยมของหน่วยราชการ

3 มีลักษณะของการเมืองของรัฐข้าราชการ คือ มีการต่อสู้ทางการเมือง การต่อสู้ระหว่างกลุ่มข้าราชการต่าง ๆ

4 ข้าราชการเป็นใหญ่มีอํานาจตัดสินใจแทนประชาชน

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด คือ ประเทศไทย นับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน อํานาจทางการเมืองโดยส่วนใหญ่มักตกอยู่ในมือของข้าราชการทั้งข้าราชการพลเรือนและข้าราชการ ทหาร โดยข้าราชการมักจะดํารงตําแหน่งสําคัญต่าง ๆ ทางการเมือง เช่น นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี สมาชิก สภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา เป็นต้น ทําให้ข้าราชการมีอํานาจและบทบาทในการบริหารราชการแผ่นดิน เป็นอย่างมากจนยากต่อการควบคุมหรือตรวจสอบโดยสถาบันอื่น ๆ

ดังนั้นสังคมที่เป็นรัฐราชการอย่างเช่นประเทศไทยจึงมีลักษณะที่แตกต่างกับสังคมที่มิใช่ รัฐราชการอย่างเช่นประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา เนื่องจากประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกาจะมีการแบ่ง บทบาทอํานาจหน้าที่ระหว่างฝ่ายการเมืองและฝ่ายข้าราชการอย่างชัดเจน โดยฝ่ายการเมืองจะทําหน้าที่ในการ กําหนดนโยบาย ส่วนฝ่ายข้าราชการจะทําหน้าที่ในการบริหารงานตามนโยบายที่ฝ่ายการเมืองกําหนด ฝ่ายข้าราชการ จะไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมือง

 

ข้อ 5 จงอธิบายลักษณะสําคัญของหลักธรรมาภิบาลมาพอสังเขป

แนวคําตอบ

หลักธรรมาภิบาล (Good Governance) มีองค์ประกอบสําคัญ 6 ประการ คือ

1 หลักการมีส่วนร่วมของสาธารณชน (Public Participation) คือ การให้ประชาชน ทุกคนมีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจและการบริหารอย่างเท่าเทียมกัน รวมถึงการให้เสรีภาพ แก่สื่อมวลชนและสาธารณชนในการแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์

2 หลักความสุจริตและโปร่งใส (Honesty and Transparency) คือ การกําหนด ระบบกติกาและการดําเนินงานที่เปิดเผย ตรงไปตรงมา ผู้เกี่ยวข้องและประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงและได้รับ ข้อมูลข่าวสารอย่างเสรี เป็นธรรม ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ

3 หลักพันระความรับผิดชอบต่อสังคม (Accountability) คือ การมีความรับผิดชอบ ในบทบาทภาระหน้าที่ที่มีต่อสาธารณชน โดยมีการจัดองค์กรหรือการกําหนดกฎเกณฑ์ที่เน้นการดําเนินงานเพื่อ ตอบสนองความต้องการของกลุ่มต่าง ๆ ในสังคมอย่างเป็นธรรม

4 หลักกลไกการเมืองที่ชอบธรรม (Political Legitimacy) คือ ผู้ที่เป็นรัฐบาลหรือ ผู้ที่มีบทบาทในการบริหารประเทศต้องชอบธรรมและเป็นที่ยอมรับของคนในสังคมส่วนรวม ทั้งในเรื่องความสุจริต ความเที่ยงธรรม และความสามารถในการบริหารประเทศ

5 หลักกฎเกณฑ์ที่ยุติธรรมและชัดเจน (Fair Legal Framework and Predictability) คือ การกําหนดกรอบในการปฏิบัติหรือกฎหมายที่เป็นธรรมและยุติธรรมสําหรับกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม ซึ่งกฎเกณฑ์ จะต้องเป็นที่เข้าใจตรงกัน มีประสิทธิภาพในการบังคับใช้ สามารถคาดหวังผลและรู้ถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อไม่ปฏิบัติตาม กฎเกณฑ์ที่วางไว้

6 หลักประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Efficiency and Effectiveness) คือ ประสิทธิภาพ ในการดําเนินงานไม่ว่าจะเป็นด้านการจัดกระบวนการทํางาน การจัดองค์การ การจัดสรรบุคลากร และมีการใช้ ทรัพยากรสาธารณะต่าง ๆ อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม มีการดําเนินการและให้บริการสาธารณะที่ให้ผลลัพธ์เป็นที่ น่าพอใจและกระตุ้นการพัฒนาของสังคมทุกด้าน

POL3310 การบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ s/2557

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3310 การบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ

คําสั่ง ข้อสอบมี 5 ข้อ เลือกทํา 3 ข้อ

(นักศึกษาที่ส่งงานในชั้นเรียนเลือกทําข้อสอบเพียง 2 ข้อ โดยก่อนทําข้อสอบต้องระบุ Code)

ข้อ 1 จงอธิบายถึงพัฒนาการของวิชาการศึกษาบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันมาโดยละเอียด

แนวคําตอบ

พัฒนาการของการศึกษาการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ

การศึกษาการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบเกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 โดย เกิดจากวูดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson) ซึ่งต้องการขจัดปัญหาระบบอุปถัมภ์ในระบบราชการของสหรัฐอเมริกา ในขณะนั้นให้หมดไป จึงทําให้เกิดกลุ่มศึกษาการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบกลุ่มที่ 1 คือ กลุ่มศึกษาเปรียบเทียบ ระบบบริหาร (Comparative Study Administration : CSA) เพื่อศึกษาระบบบริหารราชการของประเทศยุโรป คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส และปรัสเซีย (เยอรมันปัจจุบัน) และนําแนวทางการบริหารจากประเทศดังกล่าวมาใช้แก้ปัญหา การบริหารราชการของสหรัฐอเมริกา

การศึกษาของกลุ่ม CSA นําไปสู่พัฒนาการของการศึกษาการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ ซึ่ง แบ่งออกเป็น 4 ช่วงเวลา ดังนี้

1 ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1939 1940)

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งสถาปนาตัวเองเป็นผู้นําโลก ได้ ประกาศใช้แผนมาร์แชล (Marshall Plan) โดยมีวัตถุประสงค์ในการให้ความช่วยเหลือทางด้านการเมือง การทหาร เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษา และเทคโนโลยีแก่ประเทศพันธมิตรของสหรัฐอเมริกา ซึ่งการช่วยเหลือดังกล่าว มีส่วนผลักดันให้ประเทศโลกที่ 3 หรือประเทศกําลังพัฒนาเกิดอุดมการณ์การพัฒนา (Developmentalism) โดยมีความเชื่อว่า บรรดาประเทศยากจนสามารถพัฒนาประเทศของตนให้เหมือนกับประเทศที่เจริญแล้วหรือประเทศ อุตสาหกรรมได้ หากนําแนวทางของสหรัฐอเมริกามาเป็นต้นแบบ

ผลจากนโยบายการให้ความช่วยเหลือและอุดมการณ์การพัฒนาทําให้เกิดกลุ่มศึกษา การบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบกลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มบริหารเปรียบเทียบ (Comparative Administration Group : CAG) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กลุ่มบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ (Comparative Public Administration : CPA) ซึ่งกลุ่มนี้ มองว่าระบบบริหารของประเทศโลกที่ 3 เป็นระบบที่ไม่มีประสิทธิภาพเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศตะวันตก ดังนั้น ถ้าต้องการจะให้ระบบบริหารของประเทศโลกที่ 3 มีประสิทธิภาพ สามารถเป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศได้ ก็จําเป็นจะต้องพัฒนาและปรับปรุงระบบบริหารของประเทศเหล่านี้ให้ “ทันสมัย” ซึ่งกลุ่ม CAG/CPA ได้เรียกร้อง ให้มีการสร้างสถาบันทางการบริหาร (Institution-Building) ใหม่ ๆ ขึ้นในประเทศโลกที่ 3

2 ยุคทองของการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ (ค.ศ. 1969 – 1974)

เป็นยุคที่แนวความคิดของกลุ่ม CAG/CPA ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย จะเห็นได้ จากการจัดพิมพ์วารสาร เอกสาร ตําราเกี่ยวกับการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบมากมาย และในมหาวิทยาลัยของ สหรัฐอเมริกาก็มีการเปิดการเรียนการสอนการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบกันมาก ซึ่งจุดเน้นของแนวความคิดของ กลุ่ม CAG/CPA มีดังนี้

1) การสร้างระบบการบริหารแบบอเมริกัน (American Public Administration) ซึ่งเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด (The Best Efficiency) สามารถเป็นต้นแบบให้กับประเทศโลกที่ 3 เพื่อใช้ เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศได้

2) การนํารูปแบบการบริหารแบบอเมริกันไปใช้จะต้องครอบคลุมในทุก ๆ ด้าน เนื่องจากรูปแบบการบริหารงานแบบอเมริกันมีลักษณะ “ครบวงจร” หรือเป็นแบบ “Package” คือ ประกอบด้วย ความรู้ทางด้านการบริหารทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการบริหารงานบุคคล การบริหารงบประมาณ การจัดการ เทคโนโลยี รวมทั้งทัศนคติและค่านิยมแบบอเมริกัน

3) มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อต้องการที่จะปรับปรุงระบบราชการของประเทศโลกที่ 3 ให้มีความทันสมัยแบบสหรัฐอเมริกา โดยการกําหนดมาตรการต่าง ๆ ในการเพิ่มขีดความสามารถให้แก่ระบบราชการ ในประเทศโลกที่ 3 และเสนอให้มีการสร้างสถาบันทางการบริหารใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น

4) การเพิ่มขีดความสามารถของระบบบริหารของหน่วยงานราชการ จะต้องกระทํา ก่อนสิ่งอื่นใดทั้งหมด โดยไม่คํานึงถึงระดับของการพัฒนาทางการเมือง

3 ยุคเสื่อมของการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ (ค.ศ. 1975 – 1976)

สาเหตุที่ทําให้การศึกษาการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบของกลุ่ม CAG/CPA เสื่อม มี 2 ประการ คือ

1) ความบกพร่องของแนวความคิดของกลุ่ม CAG/CPA ได้แก่

– การศึกษาของกลุ่ม CAG/CPA มุ่งเน้นการบริหารงานตามแบบตะวันตก ละเลยการพิจารณาถึงปัจจัยสภาพแวดล้อมภายในของประเทศโลกที่ 3 จึงทําให้การบริหารงานของประเทศโลกที่ 3 ไม่ประสบผลสําเร็จเท่าที่ควร เพราะการพัฒนาจําเป็นต้องใช้เวลาในการสร้างสมประสบการณ์ของประเทศนั้น ๆ เอง เพื่อค้นหารูปแบบการบริหารงานที่เหมาะสมกับประเทศของตน

– การถูกวิพากษ์วิจารณ์จนเกิดความไม่แน่ใจในศาสตร์การบริหารรัฐกิจ เปรียบเทียบ กล่าวคือ การบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบตามแนวคิดของกลุ่ม CAG/CPA ถูกมองว่าเป็นเครื่องมือของ ประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาในการขยายอิทธิพลและอํานาจครอบงําประเทศโลกที่ 3 โดยผ่าน วิธีการชักจูงให้ประเทศโลกที่ 3 หันมาเลียนแบบสไตล์การบริหารแบบสหรัฐอเมริกา

2) สถานการณ์ภายในและภายนอกของสหรัฐอเมริกา ทําให้สหรัฐอเมริกาต้องกลับมา สนใจดูแลความสงบเรียบร้อยภายในประเทศจนละเลยการให้ความช่วยเหลือประเทศโลกที่ 3 ประกอบกับนักวิชาการ เริ่มทําตัวเหมือน “มือปืนรับจ้าง” เห็นแก่เงินรางวัลอามิสสินจ้างมากกว่าความก้าวหน้าทางวิชาการ ส่งผลให้ การศึกษาการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบซบเซาลง

4 ยุคฟื้นฟูการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ (ค.ศ. 1976 – ปัจจุบัน)

– ในช่วงปลายปี ค.ศ. 1975 นักวิชาการเริ่มกลับมามองถึงปัญหาร่วมกัน โดยการรวมตัวกัน จัดประชุมทางวิชาการเพื่อประเมินสถานการณ์และสถานภาพของการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบในอดีตและมอง แนวโน้มในอนาคต โดยได้จัดพิมพ์แนวทางการศึกษาการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบที่ได้จากการประชุมครั้งนี้ไว้ใน หนังสือ “Public Administration Review” ฉบับที่ 6 (พ.ย. – ธ.ค. 1976) ซึ่งถือว่าเป็นการเริ่มต้นแนวการศึกษา การบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง

ในยุคนี้จึงทําให้เกิดกลุ่มศึกษาการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบกลุ่มที่ 3 คือ กลุ่มบริหารรัฐกิจ เปรียบเทียบแนวใหม่ (New Comparative Public Administration : New CPA) ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากต้องการแก้ไข ข้อบกพร่องของกลุ่ม CAG/CPA โดยแนวความคิดของกลุ่ม New CPA นี้ มุ่งเน้นการศึกษาระบบบริหารที่เกิดขึ้นจริง ในประเทศโลกที่ 3 มากกว่าการสร้างทฤษฎี รวมทั้งเป็นการมุ่งตอบคําถามว่าทําไมการพัฒนาของประเทศหนึ่ง จึงประสบความสําเร็จในขณะที่อีกประเทศหนึ่งล้มเหลว มีปัจจัยอะไรที่ส่งผลให้เกิดความสําเร็จหรือความล้มเหลว ในการพัฒนา ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการนํานโยบายไปปฏิบัติ

 

ข้อ 2 จงอธิบายถึงลักษณะของการบริหารรัฐกิจในประเทศกําลังพัฒนาตามตัวแบบของ Riggs มาโดยละเอียดพร้อมทั้งระบุว่าสังคมไทยมีลักษณะตามข้อใดบ้าง

แนวคําตอบ

เฟรด ดับบลิว, ริกส์ (Fred w. Riggs) ได้เสนอตัวแบบพริสมาติก (Prismatic Model) ซึ่งเป็น ตัวแบบที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะการบริหารรัฐกิจในกลุ่มประเทศกําลังพัฒนา ได้แก่ กลุ่มประเทศในแถบเอเชียมรสุม เช่น ปากีสถาน อินเดีย จีน เกาหลี รวมถึงประเทศไทยด้วย ซึ่งประเทศเหล่านี้มีลักษณะเป็นสังคมพริสมาติก (Prismatic Society) หรือสังคมส่งผ่าน (Transition Society) คือ สังคมที่อยู่ระหว่างสังคมด้อยพัฒนากับ สังคมพัฒนาแล้ว ซึ่งมีลักษณะสําคัญ 9 ประการ ดังนี้

1 Heterogeneity คือ การผสมผสานระหว่างการปกครองและการบริหารภายใต้สังคม ที่เจริญแล้ว (แบบตะวันตก) กับสังคมด้อยพัฒนา (แบบดั้งเดิม)

2 Formalism คือ การบริหารที่มีความแตกต่างระหว่างปทัสถานหรือกฎเกณฑ์ที่ตั้งไว้ อย่างเป็นทางการกับความเป็นจริงในทางปฏิบัติ

3 Overlapping คือ การมีโครงสร้างเหมือนกับประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่ในทางปฏิบัติ จะเป็นแบบด้อยพัฒนา ทําให้การบริหารงานของแต่ละหน่วยงานก้าวก่ายหน้าที่กัน

4 Poly-Communalism คือ การบริหารงานที่มีการแบ่งพวกแบ่งพ้องในองค์การ ซึ่ง เป็นการแบ่งภายใต้ความแตกต่างของภูมิหลัง เช่น การศึกษา ภูมิลําเนา สถานะ ฯลฯ

5  Nepotism คือ การบริหารงานที่อยู่ภายใต้ระบบอุปถัมภ์หรือระบบเส้นสาย และมี การเล่นพรรคเล่นพวกแบบวงศาคณาญาติ

6 Bazaar-Canteen คือ การกําหนดราคาแบบเป็นทางการ แต่ในความเป็นจริงมักจะ ใช้วิธีการต่อรองราคาหรือการติดสินบนพนักงานของรัฐ ดังเช่นสํานวนไทยที่ว่า “ยื่นหมูยื่นแมว” “กินตามน้ํา” หรือ “ค่าน้ําร้อนน้ําชา” ซึ่งทําให้เกิดปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นในระบบราชการ

7 Poly nor motirism and lock of consensus คือ การที่ประชาชนมีค่านิยมและ ปทัสถานทางสังคมหลากหลาย ทําให้ขาดความเห็นชอบร่วมกัน

8 Authority and Control คือ หน้าที่ที่ได้รับกับการแสดงบทบาทในความเป็นจริง มักขัดแย้งกัน หมายความว่า คนที่ต้องแสดงบทบาทในการใช้อํานาจ แต่ไม่มีอํานาจควบคุมการเมืองและการ บริหารอย่างแท้จริง ในทางตรงกันข้ามคนที่ไม่มีบทบาทในการใช้อํานาจกลับเป็นผู้ที่มีอํานาจในการดําเนินการ ทางการเมืองและการบริหารอยู่อย่างลับ ๆ

9 SALA Model คือ การกําหนดโครงสร้างของหน่วยงานราชการหรือองค์การหนึ่ง ๆ มักจะ มีหน้าที่หลายอย่างในหน่วยงานเดียวกัน ซึ่งทําให้เกิดการก้าวก่ายหน้าที่กัน และแสดงถึงความไม่ผสมผสานกัน ระหว่างแนวคิดในการพัฒนากับความเป็นจริงในทางปฏิบัติดังเช่นคํากล่าวที่ว่า “หัวมังกุท้ายมังกร”

 

ข้อ 3 จงอธิบายถึงข้อแตกต่างระหว่างการสรรหาและคัดเลือกในประเทศอังกฤษและอเมริกามาโดยละเอียด

แนวคําตอบ

การบริหารรัฐกิจของประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา มีลักษณะการบริหารแบบพลเรือน/ พลเมือง (Civic Culture Administration/Civic Culture Model) ซึ่งเป็นรูปแบบที่ให้ความสําคัญกับการเข้าไปมี ส่วนร่วมในทางการเมืองของประชาชน การยินยอมให้มีการกระจายอํานาจ และยอมรับเสียงส่วนใหญ่ซึ่งมีสิทธิ ในอํานาจการบริหารการปกครอง รวมทั้งยังยินยอมให้มีการเปลี่ยนแปลง และยอมรับการเปลี่ยนแปลงในสิ่งใหม่ ๆ

การบริหารรัฐกิจของทั้งสองประเทศมีทั้งส่วนที่คล้ายคลึงกันและส่วนที่แตกต่างกัน ในที่นี้จะ ขอยกประเด็นความแตกต่างในเรื่องของการบริหารงานบุคคล ซึ่งได้แก่ การสรรหาและคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการ มาอธิบายเปรียบเทียบดังนี้

การสรรหาบุคคลเข้ารับราชการ

1 ประเทศอังกฤษสรรหาบุคคลเข้ารับราชการโดยใช้ “ระบบปิด (Closed System) คือ

– เปิดรับสมัครเฉพาะผู้จบจากมหาวิทยาลัยทันที ไม่สนใจประสบการณ์ – วิธีการสรรหามีความเข้มงวดมาก โดยวิธีการสอบจะลดความเข้มงวดตามลําดับชั้นของตําแหน่งข้าราชการ

– การบรรจุข้าราชการระดับสูงมักเป็นบุคคลในสายข้าราชการ หรือบุคคลภายนอกชั้นสูง

– มีแนวคิดว่าคนชั้นสูงมีการศึกษาเป็นหัวสมองของประเทศ หรือเน้นการศึกษามากกว่าประสบการณ์

2 ประเทศสหรัฐอเมริกาสรรหาบุคคลเข้ารับราชการโดยใช้ “ระบบเปิด (Open System) คือ

– เปิดกว้างในการรับสมัคร ไม่จํากัดอายุและประสบการณ์

– วิธีการสรรหามีความยืดหยุ่น ไม่จํากัดวิธีคัดเลือก

– การบรรจุบุคคลระดับสูง จะสรรหาจากบุคคลหลายระดับ เน้นเป็นตัวแทนประชาชนได้

– มีแนวคิดว่าข้าราชการต้องมีการศึกษาสูงและมีประสบการณ์มาก การคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการ 1. ประเทศอังกฤษคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการโดยเน้น“Career-staffing” คือ

– ให้ความสําคัญกับเรื่องสมรรถภาพทั่ว ๆ ไป เชาวน์ไหวพริบ

– ต้องผ่านการสอบแข่งขันซึ่งจะเน้นทฤษฎีมากกว่าปฏิบัติ

– ไม่สนับสนุนให้มีการโอนย้ายหน่วยงาน หรือเปลี่ยนอาชีพจากเอกชนมาเป็นข้าราชการ

2 ประเทศสหรัฐอเมริกาคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการโดยเน้น “Program-staffing” คือ

– ให้ความสําคัญกับเรื่องสมรรถภาพในความชํานาญเฉพาะด้านตามความต้องการของภาครัฐจากการเกิดขึ้นของโครงการตามนโยบาย

– ต้องผ่านการสอบแข่งขันซึ่งจะเน้นปฏิบัติมากกว่าทฤษฎี ดูประสบการณ์

– มีการโยกย้ายเปลี่ยนอาชีพจากเอกชนมาเป็นข้าราชการได้สูง (Mobility)

– ไม่มีการยับยั้งและให้โอกาสในการโอนย้ายระหว่างหน่วยงานสูงเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ได้มาก

 

ข้อ 4 จงอธิบายถึงข้อแตกต่างระหว่างบทบาทของข้าราชการประเทศไทยและอินเดียมาโดยละเอียด

แนวคําตอบ

การบริหารรัฐกิจของประเทศไทย

การบริหารรัฐกิจของประเทศไทย มีรูปแบบการบริหารแบบระบบกลุ่มผู้นําทางราชการทั้ง ฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร (Bureaucratic Elite Systems Civil and Military) ซึ่งเป็นการบริหารที่อํานาจ ทางการเมืองและการบริหารราชการมักตกอยู่ในมือของข้าราชการทั้งในส่วนของข้าราชการทหารและพลเรือน ซึ่งเฟรด ดับบลิว. ริกส์ (Fred W. Riggs) เรียกรูปแบบการบริหารแบบนี้ว่า “รัฐราชการ” (Bureaucratic Polity)

บทบาทของข้าราชการไทย

ข้าราชการไทยมีสถานภาพเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยอาชีพรับราชการเป็นอาชีพที่ได้การยอมรับ ว่ามีเกียรติสูง มีความมั่นคง แต่มีค่าตอบแทนยังไม่เพียงพอกับการครองชีพ ในขณะที่สวัสดิการต่าง ๆ อยู่ในเกณฑ์ ดีมาก และการลงโทษทางวินัยมีค่อนข้างน้อยมาก

นอกจากนี้ ชิฟฟิน (Siffin) ยังมองว่า สถานภาพของข้าราชการไทยเป็นการพิจารณาตามชั้นยศ ผู้มีอํานาจทางชั้นยศที่ต่ำกว่ามักจะเป็นผู้ที่ต้องคอยปฏิบัติตามคําสั่งของผู้ที่มีตําแหน่งยศสูงกว่า โดยต้องรับฟังคําสั่ง ทั้งในส่วนของเนื้องาน และนอกเหนือเนื้องาน

การบริหารรัฐกิจของประเทศอินเดีย

“การบริหารรัฐกิจของประเทศอินเดีย มีรูปแบบการบริหารแบบระบบกึ่งแข่งขันของพรรคการเมือง ที่มีอํานาจเหนือเด่น (Dominate-Party Semicompetitive Systems) ซึ่งเป็นการบริหารที่มีพรรคการเมืองหนึ่งพรรค มีอํานาจเหนือพรรคการเมืองอื่น ๆ ซึ่งความเด่นชัดดังกล่าวส่งผลให้นโยบายของพรรคการเมืองนั้นได้รับการยอมรับ มาปฏิบัติ แต่หากพรรคการเมืองพรรคอื่น ๆ ขึ้นมามีอํานาจและบทบาทหน้าที่ก็จะส่งผลให้นโยบายที่มุ่งเน้นนั้น เปลี่ยนแปลงไป และรูปแบบการบริหารก็แตกต่างกันออกไปด้วย 1. บทบาทของข้าราชการอินเดีย

ข้าราชการอินเดียมีสถานภาพเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยข้าราชการอินเดียถูกกําหนดให้เป็น ผู้ปฏิบัติตามนโยบายที่ฝ่ายการเมืองเป็นผู้กําหนด ในส่วนของความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการและฝ่ายการเมืองนั้น ถือว่ามีความราบรื่นดี เนื่องจากข้าราชการชั้นสูงมีความสนิทสนมใกล้ชิดกับนักการเมือง และด้วยความใกล้ชิด ดังกล่าวนี้เองทําให้ในเวลาต่อมาข้าราชการมีบทบาทต่อการบริหารราชการของประเทศค่อนข้างมาก ความแตกต่างระหว่างบทบาทของข้าราชการไทยกับข้าราชการอินเดีย

นกัน แต่บทบาทใน การบริหารราชการของข้าราชการทั้ง 2 ประเทศกลับมีความแตกต่างกัน เนื่องจากข้าราชการไทยมีอํานาจและ อิทธิพลทั้งด้านการเมืองและการบริหารราชการ แต่ข้าราชการอินเดียจะต้องอยู่ภายใต้อํานาจและอิทธิพลของ ฝ่ายการเมือง (พรรคการเมือง)

 

ข้อ 5 จงอธิบายถึงแนวทางการปฏิรูประบบราชการของประเทศอังกฤษมาโดยละเอียด

แนวคําตอบ

ประเทศอังกฤษมีประวัติการดําเนินการด้านการปฏิรูประบบราชการที่ยาวนาน โดยเริ่มมี การปฏิรูปเมื่อปี ค.ศ. 1854 ซึ่งเรียกว่า การปฏิรูป “Northcote-Trevelyan Reforms” การปฏิรูปในครั้งนั้น เป็นการนําเอาระบบคุณธรรมมาใช้กับบุคคลที่รับราชการ กล่าวคือ มีการนําเอาระบบการสอบแข่งขันอย่างเปิดเผย มาใช้ในการคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการและมีการเลื่อนขั้นตําแหน่งของข้าราชการตามหลักเกณฑ์ระบบคุณธรรม และต่อมาในปี ค.ศ. 1855 ได้มีการจัดตั้งสํานักงานข้าราชการพลเรือน (The Civil Service Commission) ขึ้น เพื่อทําหน้าที่ในการคัดเลือกคนเข้าทํางาน

หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1968 ประเทศอังกฤษได้มีการปฏิรูประบบราชการตามข้อเสนอแนะ ของคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการที่เรียกว่า “Futton Commission” ได้แก่

1 การจัดตั้งหน่วยงานข้าราชการพลเรือนเพื่อทําหน้าที่แทนกระทรวงการคลังในเรื่องที่ เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล ซึ่งประสบความล้มเหลวเพราะหน่วยงานไม่มีอํานาจอย่างแท้จริงในการบังคับให้ หน่วยงานอื่น ๆ ปฏิบัติตามนโยบายการบริหารงานบุคคลของตนได้

2 การจัดตั้งโรงเรียนข้าราชการพลเรือนเพื่อเป็นกลไกในการส่งเสริมการปฏิบัติใน หน่วยงานราชการ ซึ่งผู้บริหารระดับสูงไม่ค่อยสนับสนุนเพราะไม่เห็นความสําคัญของการอบรมแบบรวม

การปฏิรูประบบราชการของประเทศอังกฤษในอดีตที่ผ่านมามักจะประสบความล้มเหลว การปฏิรูป ระบบราชการของประเทศอังกฤษที่ประสบความสําเร็จมากที่สุดก็คือ การปฏิรูประหว่างปี ค.ศ. 1982 – 1990 ในสมัย นางมาร์กาเร็ต แทตเชอร์ (Margaret Thatcher) เป็นนายกรัฐมนตรี

การปฏิรูประบบราชการของประเทศอังกฤษในสมัยนายกรัฐมนตรีแท็ตเชอร์ได้นําแนวคิด Good Governance หรือธรรมาภิบาล มาใช้ในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริหารราชการ ซึ่งแทตเชอร์ได้ใช้ เวลาต่อเนื่องยาวนานถึง 12 ปี ในการปฏิรูประบบราชการของอังกฤษให้ประสบความสําเร็จ โดยปัจจัยที่สนับสนุน ให้การดําเนินการปฏิรูปประสบความสําเร็จ มีดังนี้

1 ความมุ่งมั่นอย่างแท้จริงของแทตเชอร์ และความอดทนต่อแรงต้านจากข้าราชการที่มีค่านิยมและความคิดเห็นไม่ตรงกับแนวคิดในการปฏิรูป

2 การมีอํานาจเด็ดขาดในการตัดสินใจ การสั่งการ และการควบคุม เนื่องจากเป็นการปฏิรูป  โดยนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบอํานาจจากรัฐธรรมนูญ

3 การใช้มาตรการปฏิรูประยะยาวหลาย ๆ มาตรการที่เกื้อกูลกัน โดยมาตรการแต่ละส่วน จะมีหน่วยงานย่อยรับผิดชอบประสานกัน

หลักการสําคัญในการดําเนินการปฏิรูประบบราชการของอังกฤษภายใต้แนวคิด Good Governance มีดังนี้

1 การลดจํานวนข้าราชการให้น้อยลง (Downsizing) ซึ่งแท็ตเชอร์ได้กําหนดเป้าหมาย ระยะยาวในการลดจํานวนข้าราชการพลเรือนให้สอดคล้องกับหลักการที่สนับสนุนให้หน่วยงานราชการมีบทบาท เฉพาะตัว โดยแทตเชอร์สามารถลดจํานวนข้าราชการพลเรือนจาก 732,000 คน ในปี ค.ศ. 1979 ให้เหลือเพียง 567,000 คน ในปี ค.ศ. 1980

2 การสร้างหน่วยงานราชการให้มีประสิทธิภาพ (Efficiency Unit) โดยมีแนวทาง การดําเนินงานดังนี้

1) การปรับปรุงดูแลและตรวจสอบประสิทธิภาพ (Efficiency Program) ของหน่วยงานราชการ

2) การส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันในหน่วยงานราชการ เพื่อทําให้การทํางานมีคุณภาพ(Quality of Service) และทํางานคุ้มเงิน (Value of Money)

3) การลดค่าใช้จ่ายด้วยการลดขั้นตอนการบริหารงานให้มีความกะทัดรัดมากยิ่งขึ้น

3 การจัดระบบข้อมูลข่าวสารให้กับรัฐมนตรี (Management Information System for Ministers : MINIS) เพื่อเป็นข้อมูลให้รัฐมนตรีนําไปใช้ในการตัดสินใจกําหนดนโยบายสาธารณะ

4 การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษทางการบริหาร (Executive Agencies) ตามโครงการ ก้าวต่อ ๆ ไป (The Next Step) เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการบริหารงานของภาครัฐให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมี การแบ่งส่วนกลไกของรัฐให้มีขนาดเล็กและทํางานเฉพาะ มีหัวหน้าคือ Chief Executive ซึ่งมาจากการสอบแข่งขัน ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี มีอิสระในการบริหารการจัดการด้านการให้บริการให้สอดคล้องกับความต้องการของ ประชาชน จัดการใช้เงินคุ้มค่า มีข้อตกลงทํางานเป็น “Framework Document” รายงานผลการดําเนินการทุก ๆ ปี ต่อนายกรัฐมนตรี ทําหน้าที่ในการสรรหาหน่วยงานที่มีความเหมาะสมในการยกฐานะเป็นหน่วยงานพิเศษ สนับสนุนการจัดทําเอกสารข้อตกลงความรับผิดชอบของหน้าที่พิเศษ และส่งเสริมพัฒนาด้านการจัดการฝึกอบรม

5 การจัดตั้งโครงการสัญญาประชาคม (The Citizen’s Charter) เพื่อปรับปรุงงานด้าน การบริหารและจัดโครงสร้างองค์การให้มีประสิทธิภาพและสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้มากขึ้น โดยมีการจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อรองรับหลักการสัญญาประชาคม (Citizen’s Charter Unit) และกําหนดให้ Charter Mark แก่หน่วยงานบริหารดีเด่น ซึ่งหลักการในการดําเนินงานตามโครงการสัญญาประชาคมมีดังนี้

1) การกําหนดมาตรฐานของการบริการอย่างชัดเจน

2) สนับสนุนให้มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารอย่างสมบูรณ์และถูกต้อง

3) สนับสนุนให้ประชาชนมีทางเลือกและมีโอกาสแสดงความคิดเห็นต่อหน่วยงานราชการ

4) สนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีอัธยาศัยที่ดีและคอยช่วยเหลือประชาชนอยู่ตลอดเวลา

5) การให้ความสนใจที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดอย่างจริงจังและทันที

6) สนับสนุนให้มีการทํางานที่คุ้มค่ากับเงิน และการประเมินผลงานบริการ

POL3310 การบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ 2/2560

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3310 การบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ

คําสั่ง

ข้อสอบมี 5 ข้อ เลือกทํา 3 ข้อ

ข้อ 1 การศึกษาการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบมีประโยชน์ต่อความรู้ทางการบริหารรัฐกิจหรือไม่ อย่างไร

แนวคําตอบ

การศึกษาการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบมีประโยชน์ต่อความรู้ทางการบริหารรัฐกิจ ดังนี้

1 ช่วยสร้างองค์ความรู้ทางวิชาการหรือความเป็นศาสตร์ให้กับการบริหารรัฐกิจ คือ การศึกษาถึงความเหมือนและความแตกต่างทางการบริหารรัฐกิจก็เพื่อต้องการทดสอบสมมุติฐานของทฤษฎี บางทฤษฎี หรือเป็นการสร้างองค์ความรู้ขึ้นมาใหม่ เพื่อทําให้ทฤษฎีทางการบริหารรัฐกิจมีความชัดเจน ทันสมัย และไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่

2 เสริมสร้างความรู้ที่แจ้งชัดให้แก่ผู้ศึกษา คือ การศึกษาการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ จะทําการวิเคราะห์และทําความเข้าใจกับส่วนที่เหมือนและแตกต่างของการบริหารรัฐกิจ จึงทําให้ผู้ศึกษามีความรู้ ที่กว้างไกลและเข้าใจลึกซึ้งมากขึ้น และสามารถนําไปเปรียบเทียบกับกรณีอื่น ๆ ที่ลึกซึ้งต่อไปได้

3 สามารถนําไปประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติได้ คือ การศึกษาการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ จะทําให้ผู้ศึกษาสามารถนําความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับหน่วยงานของตนให้เกิดประสิทธิภาพได้ โดยการเลือก เฉพาะส่วนที่ดีและใช้ได้กับหน่วยงานมาพิจารณาปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับลักษณะพื้นฐานของหน่วยงาน

4 การศึกษาลักษณะของแต่ละระบบบริหารหรือแต่ละกลุ่มของระบบบริหารไม่ว่าจะเป็น ลักษณะที่คล้ายคลึงกันหรือแตกต่างกัน ทําให้เห็นถึงลักษณะร่วมซึ่งจะส่งผลให้สามารถกําหนดเป็นกฎเกณฑ์หรือ ทฤษฎีทางการบริหารรัฐกิจได้

5 ทําให้ทราบว่าอะไรเป็นสาเหตุหรือปัจจัยที่ทําให้เกิดความแตกต่างในระบบบริหาร

6 ทําให้ทราบว่าปัจจัยสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทางการบริหารรัฐกิจ ได้แก่ การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม มีอิทธิพลต่อการบริหารรัฐกิจประเทศนั้น ๆ อย่างไร และการเปรียบเทียบจะช่วยให้ สามารถปรับปรุงการบริหารรัฐกิจให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม หรือปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับ การบริหารรัฐกิจของประเทศนั้น ๆ

7 ช่วยอธิบายข้อคล้ายคลึงและข้อแตกต่างในพฤติกรรมของข้าราชการในระบบราชการ ที่แตกต่างกัน และในกลุ่มวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน เพื่อเป็นข้อมูลในการปฏิบัติงาน

8 ช่วยให้เห็นว่าควรมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างและอย่างไร เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพ ข้อเท็จจริง และลดข้อบกพร่องโดยพิจารณาเปรียบเทียบข้อดีของประเทศอื่น ๆ มาปรับใช้

 

 

ข้อ 2 ตัวแบบทางการศึกษาการบริหารรัฐกิจของประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศกําลังพัฒนามีลักษณะแตกต่างกันอย่างไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ

แนวคําตอบ

ตัวแบบทางการศึกษาการบริหารรัฐกิจ คือ ตัวแบบการบริหารที่นําเสนอโดยนักคิดเพื่ออธิบาย และสร้างความเข้าใจในปรากฏการณ์ทางการบริหารที่เกิดขึ้นจริงในระบบการปกครองต่าง ๆ ซึ่งจากการศึกษา ของเฮด (Heady) ได้อธิบายลักษณะการบริหารรัฐกิจของประเทศที่พัฒนาแล้วและการบริหารรัฐกิจของประเทศ กําลังพัฒนา ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

ลักษณะการบริหารรัฐกิจของประเทศที่พัฒนาแล้ว

1 โครงสร้างระบบราชการมีขนาดใหญ่โตและสลับซับซ้อน มีหน่วยงานย่อยภายในหน่วยงาน มีสายการบังคับบัญชาที่ชัดเจน และมีการแบ่งงานกันทําของหน่วยงานต่าง ๆ โดยระบบราชการแบบนี้จะมีลักษณะ ที่สอดคล้องกับตัวแบบระบบราชการในอุดมคติ (Ideal Type Bureaucracy) ของ Max Weber

2 มีการจัดโครงสร้างของหน่วยงานราชการและแบ่งหน้าที่กิจกรรมของรัฐออกเป็น ส่วนต่าง ๆ ตามประเภทของงานและตามความถนัดของบุคลากร เพื่อเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการแบ่งหน้าที่ ของหน่วยงานที่ให้ความสําคัญกับการตอบสนองตามนโยบายของรัฐบาล ดังนั้นหน่วยงานราชการจึงมีการกําหนด หน้าที่ชัดเจน และมีการสรรหาและคัดเลือกบุคลากรตามหลักคุณธรรมและหลักความสามารถ

3 ระบบราชการพัฒนาอยู่ภายใต้อํานาจของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ทั้งระบบ ราชการและฝ่ายการเมืองต่างมีการพัฒนาไปพร้อม ๆ กันและมีการแบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจน โดยฝ่ายการเมือง มีหน้าที่ในการกําหนดหลักเกณฑ์และนโยบายของประเทศ และระบบราชการมีหน้าที่ในการบริหารงานตาม นโยบายของฝ่ายการเมือง ดังนั้นระบบราชการจึงไม่ค่อยมีโอกาสในการวางนโยบาย

4 ระบบราชการเน้นความเป็นวิชาชีพและมีความเป็นอาชีพ เช่นเดียวกับอาชีพอื่น ๆ เนื่องจากการทํางานในระบบราชการจะต้องส่งเสริมมาตรฐานคุณค่าในการปฏิบัติงาน เช่น มีการสรรหาบุคคล เข้าทํางานโดยการวัดจากความรู้ความสามารถ การจัดการฝึกอบรมเพื่อให้ผู้ปฏิบัติมีความรู้และความชํานาญ ในการทํางาน เป็นต้น

5 ข้าราชการให้ความสําคัญกับการปฏิบัติตามนโยบายเป็นสําคัญ แม้ว่าข้าราชการจะถูก ปลูกฝังให้เป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น แต่ก็ไม่ได้มีบทบาทต่อการนําเสนอทางนโยบายแต่อย่างใด

ลักษณะการบริหารรัฐกิจของประเทศกําลังพัฒนา

1 ลักษณะของการบริหารมีการลอกเลียนแบบมาจากระบบการบริหารของประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะประเทศตะวันตก มากกว่าจะเป็นลักษณะการบริหารที่มีรูปแบบเฉพาะของตน

2 หน่วยงานราชการขาดแคลนข้าราชการที่มีทักษะจําเป็นในการบริหารการพัฒนาประเทศ โดยข้าราชการส่วนใหญ่มักมีความรู้ทั่ว ๆ ไป (Generalist) มากกว่าที่จะเป็นผู้ชํานาญการเฉพาะด้าน (Specialist) และข้าราชการมีจํานวนมากแต่มีส่วนน้อยที่มีคุณภาพ จึงทําให้เกิดช่องว่างระหว่างอุปสงค์และอุปทานของกําลังคน ในระบบราชการอันสืบเนื่องมาจากแนวการปฏิบัติยึดติดกับระบบอุปถัมภ์

3 หน่วยงานราชการมุ่งเน้นกฎระเบียบหรือความเป็นพิธีการมากกว่าผลสําเร็จหรือ การบรรลุเป้าหมาย รวมทั้งให้ความสําคัญกับการทํางานตามสายการบังคับบัญชาอย่างเคร่งครัด ทําให้การทํางาน เกิดความล่าช้า (Red Tape)

4 แนวทางการปฏิบัติจริงขัดแย้งกับรูปแบบที่กําหนด หรือมีความแตกต่างระหว่าง ความคาดหวังกับความเป็นจริง ซึ่ง Riggs เรียกว่า “การรูปแบบ” หมายถึง สิ่งที่เป็นทางการแต่เพียงรูปแบบ (Formalism) แต่ในความเป็นจริงแล้วกลับนําเอาค่านิยมมาใช้เป็นแนวทางในการบริหารงาน

5 หน่วยงานราชการมีความเป็นอิสระในทางปฏิบัติ ปราศจากการควบคุมทางการเมือง ทําให้เกิดความใหญ่โตเทอะทะ และก้าวก่ายงานทางการเมือง

ความแตกต่างของการบริหารรัฐกิจในประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศกําลังพัฒนา

จากลักษณะของการบริหารรัฐกิจในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศกําลังพัฒนาตาม ข้อเสนอของเฮดดี้นั้น การบริหารรัฐกิจในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศกําลังพัฒนามีลักษณะที่แตกต่างกัน หลายประการ ดังนี้

1 ประเทศกําลังพัฒนามีการกําหนดโครงสร้างระบบราชการเช่นเดียวกับประเทศพัฒนาแล้ว แต่ในทางปฏิบัติกลับไม่มีบทบาทหน้าที่ชัดเจน มีการก้าวก่ายการทํางานระหว่างหน่วยงาน ทําให้ระบบราชการ ไม่มีประสิทธิภาพเหมือนประเทศพัฒนาแล้ว

2 การบริหารงานบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการสรรหา การคัดเลือก การเลื่อนขั้นเลื่อนตําแหน่ง ในประเทศพัฒนาแล้วจะเป็นไปตามระบบคุณธรรม แต่ประเทศกําลังพัฒนาจะเป็นไปตามระบบอุปถัมภ์ แม้ประเทศ กําลังพัฒนาบางประเทศ เช่น ประเทศไทย จะมีการกําหนดให้การบริหารงานบุคคลใช้ระบบคุณธรรม แต่ในทาง ปฏิบัติกลับใช้ระบบอุปถัมภ์ในการบริหารงานบุคคล

3 ข้าราชการประเทศพัฒนาแล้วเป็นผู้ชํานาญการเฉพาะด้าน แต่ข้าราชการประเทศ กําลังพัฒนาเป็นผู้มีความรู้ทั่ว ๆ ไป

4 ประเทศพัฒนาแล้วจะมีการแบ่งแยกหน้าที่ระหว่างฝ่ายการเมืองและฝ่ายข้าราชการ อย่างชัดเจน โดยฝ่ายการเมืองมีหน้าที่กําหนดนโยบาย ส่วนฝ่ายข้าราชการมีหน้าที่ปฏิบัติตามนโยบายที่ฝ่ายการเมือง กําหนด แต่ในประเทศกําลังพัฒนาบางประเทศข้าราชการมีอํานาจเหนือฝ่ายการเมืองและมีบทบาทอย่างมาก ในการกําหนดนโยบาย หรือในบางประเทศฝ่ายการเมืองมักเข้ามาก้าวก่ายงานของข้าราชการ ดังนั้นความสัมพันธ์ ระหว่างบทบาทหน้าที่ของฝ่ายการเมืองและฝ่ายข้าราชการในประเทศกําลังพัฒนาจึงไม่มีความชัดเจนเหมือน ประเทศพัฒนาแล้ว

 

ข้อ 3 จงอธิบายถึงความแตกต่างของลักษณะการบริหารรัฐกิจในส่วนของบทบาทของข้าราชการประเทศอังกฤษและญี่ปุ่นมาโดยละเอียด

แนวคําตอบ

. การบริหารรัฐกิจของประเทศอังกฤษมีลักษณะการบริหารแบบพลเรือน/พลเมือง (Civic Culture Administration/Civic Culture Model) ซึ่งเป็นรูปแบบการบริหารที่ให้ความสําคัญกับการเข้าไปมีส่วนร่วม ในทางการเมืองของประชาชน การยินยอมให้มีการกระจายอํานาจและยอมรับเสียงส่วนใหญ่ซึ่งมีสิทธิในอํานาจ การบริหารการปกครอง รวมทั้งการยินยอมให้มีการเปลี่ยนแปลงและยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ ๆ

ส่วนการบริหารรัฐกิจของประเทศญี่ปุ่นมีลักษณะการบริหารแนวใหม่ (Modern Model) ซึ่งเป็น รูปแบบการบริหารที่ผสมผสานระหว่างรูปแบบการบริหารของประเทศญี่ปุ่นเองกับรูปแบบการบริหารของประเทศ ตะวันตกหรือประเทศพัฒนาแล้ว จึงส่งผลให้ญี่ปุ่นมีลักษณะการบริหารรัฐกิจที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการเข้ามาเป็นตัวแทนการรับราชการ การมุ่งเน้นระบบคุณธรรมมากกว่าระบบอุปถัมภ์ การมุ่งเน้นการทํางาน ที่มีประสิทธิภาพบนพื้นฐานของความจงรักภักดีของข้าราชการตามกระแสชาตินิยม และการบริหารที่มีความสัมพันธ์ ใกล้ชิดกับการเมือง เนื่องจากฝ่ายการเมืองโดยมากมาจากกลุ่มข้าราชการระดับสูง ดังนั้นการบริหารรัฐกิจของ ประเทศอังกฤษและญี่ปุ่นจึงมีทั้งในส่วนที่เหมือนและแตกต่างกัน ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงความแตกต่างของบทบาท ข้าราชการของทั้งสองประเทศ

บทบาทของข้าราชการประเทศอังกฤษ

1 เป็น “ผู้รับใช้กษัตริย์” (Crown Servants) มิใช่ผู้รับใช้ประชาชน โดยในสายตาของสังคม – มองว่าอาชีพรับราชการเป็นอาชีพที่มีเกียรติ

2 เป็นผู้คุ้มครอง (Protector) โดยต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์อย่างเคร่งครัด

3 ปฏิบัติตามนโยบายของฝ่ายการเมือง โดยไม่ได้รับการยอมรับให้แสดงความคิดเห็นต่อฝ่ายการเมืองอย่างเปิดเผย คือ แสดงความคิดเห็นต่อฝ่ายการเมืองได้แต่ไม่เน้น การเปิดเผยตัว (Anonymity) เป็นลักษณะการปิดทองหลังพระ ดังนั้นความรับผิดชอบ ในนโยบายการเมืองจึงตกอยู่ที่ฝ่ายการเมือง

บทบาทของข้าราชการประเทศญี่ปุ่น

ข้าราชการประเทศญี่ปุ่นมีบทบาทเป็น “ผู้รับใช้องค์จักรพรรดิ” มิใช่ผู้รับใช้ประชาชน โดย ในสายตาของสังคมมองว่าข้าราชการเป็นอาชีพที่มีเกียรติสูงในวงสังคม น่ายกย่อง และจากการออกกฎหมาย ว่าด้วยระบบข้าราชการพลเรือน ค.ศ. 1947 ซึ่งพยายามให้สิทธิเสรีภาพแก่ข้าราชการพลเรือน ยิ่งทําให้ข้าราชการ มีบทบาทมากยากต่อการควบคุมโดยสภาได้

ข้าราชการระดับสูงของหน่วยงานราชการมีบทบาทต่อการริเริ่มและเสนอนโยบาย รวมทั้ง การสนับสนุนให้ดํารงตําแหน่งสําคัญ ๆ ทางการเมือง การเปลี่ยนอาชีพจากข้าราชการไปสู่อาชีพทางการเมือง ได้รับการยอมรับจากประชาชนญี่ปุ่นซึ่งก็คล้ายกับข้าราชการอังกฤษต่างกันตรงที่ข้าราชการอังกฤษมุ่งเน้น การปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย เพื่อรักษาไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยของสังคม ในขณะที่ข้าราชการญี่ปุ่น มุ่งอํานาจตัดสินใจในนโยบายของรัฐบาล ดังนั้นเป้าหมายของข้าราชการญี่ปุ่นจึงเพื่อครอบงําทางการเมือง มากกว่าอยู่ภายใต้อํานาจทางการเมืองเหมือนกับข้าราชการอังกฤษ

ความแตกต่างของบทบาทข้าราชการประเทศอังกฤษและญี่ปุ่น เมื่อเปรียบเทียบบทบาทของข้าราชการทั้งสองประเทศแล้ว จะเห็นได้ว่า แม้ข้าราชการ ประเทศอังกฤษและญี่ปุ่นจะมีบทบาทเป็น “ผู้รับใช้กษัตริย์” เหมือนกัน แต่ก็มีความแตกต่างอย่างชัดเจนในเรื่องของ บทบาทในการกําหนดนโยบาย กล่าวคือ ข้าราชการอังกฤษมีบทบาทเป็นผู้ปฏิบัติตามนโยบายที่ฝ่ายการเมือง กําหนด ไม่มีส่วนร่วมในการกําหนดนโยบายหรือมีก็อาจอยู่เพียงเบื้องหลัง ไม่สามารถแสดงความคิดเห็นต่อ ฝ่ายการเมืองได้อย่างเปิดเผย ซึ่งต่างจากข้าราชการประเทศญี่ปุ่นที่มีบทบาทในการกําหนดนโยบายอย่างมาก และมีอํานาจครอบงําทางการเมือง

 

ข้อ 4 จงอธิบายถึงลักษณะของหลักการบริหารงานบุคคลในประเทศอินเดียกับประเทศไทยมาโดยละเอียด

แนวคําตอบ

การบริหารงานบุคคลในประเทศอินเดีย

การบริหารงานบุคคลในประเทศอินเดียมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน โดยประเทศอินเดียมีการสรรหา และคัดเลือกข้าราชการโดยใช้ “ระบบคุณธรรม” ซึ่งเป็นผลมาจากการได้รับอิทธิพสรูปแบบการบริหารมาจาก ประเทศอังกฤษ จึงส่งผลให้ประเทศอินเดียมีการสรรหาและคัดเลือกข้าราชการที่เข้มงวดและจริงจัง ให้ความสนใจ รับคนที่จบมหาวิทยาลัย มีคณะกรรมการ Union Public Service Commission ในการรับสมัครและการคัดเลือก เป็นไปตามกฎหมายและกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด

การบริหารงานบุคคลในประเทศไทย

1  ประเทศไทยมีการสรรหาและคัดเลือกข้าราชการโดยใช้ “ระบบปิดภายใต้ระบบอุปถัมภ์” คือ มีการสรรหาและคัดเลือกข้าราชการจากตระกูลชั้นสูงโดยการเปิดสอบแข่งขันตามระบบคุณธรรม แต่ในทางปฏิบัติ กลับใช้ระบบอุปถัมภ์ ซึ่งประมาณ 15% ของข้าราชการชั้นสูงเป็นผู้สําเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัย มีเงินเดือน เป็นค่าตอบแทน มีการฝึกอบรมทั้งในและนอกประเทศ และมีหน้าที่ตามตําแหน่งอย่างมีระเบียบแบบแผน โดยโอกาสความก้าวหน้าในการเลื่อนตําแหน่งนั้นขึ้นอยู่กับความเห็นชอบของผู้บริหารในระดับสูง

สรุป แม้การบริหารงานบุคคลในประเทศอินเดียกับประเทศไทยจะมีลักษณะเหมือนกัน บางประการ เช่น ให้ความสนใจรับคนที่จบจากมหาวิทยาลัย รวมทั้งมีกฎระเบียบในการบริหารงานบุคคลอย่าง ชัดเจน แต่การบริหารงานบุคคลในประเทศอินเดียกับประเทศไทยก็มีลักษณะที่แตกต่างกัน กล่าวคือ ประเทศ อินเดียใช้ “ระบบคุณธรรม” ในการบริหารงานบุคคล จึงทําให้อินเดียได้คนดีมีความรู้ความสามารถเข้ามาทํางาน ทําให้การบริหารรัฐกิจมีประสิทธิภาพ และเกิดปัญหาเรื่องการทุจริตคอร์รัปชันในวงราชการน้อยกว่าประเทศไทย ซึ่งใช้ “ระบบอุปถัมภ์” ในการบริหารงานบุคคล

 

ข้อ 5 จงอธิบายถึงหลักการบริหารงานตามแนวคิดการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลมาโดยละเอียด

แนวคําตอบ

หลักการบริหารงานตามแนวคิดการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) มี 6 ประการ คือ

1 หลักการมีส่วนร่วมของสาธารณชน (Public Participation) คือ การให้ประชาชน ทุกคนมีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจและการบริหารอย่างเท่าเทียมกัน รวมถึงการให้เสรีภาพ แก่สื่อมวลชนและสาธารณชนในการแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์

2 หลักความสุจริตและโปร่งใส (Honesty and Transparency) คือ การกําหนด ระบบกติกาและการดําเนินงานที่เปิดเผย ตรงไปตรงมา ผู้เกี่ยวข้องและประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงและได้รับ ข้อมูลข่าวสารอย่างเสรี เป็นธรรม ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ

3 หลักพันธะความรับผิดชอบต่อสังคม (Accountability) คือ การมีความรับผิดชอบ ในบทบาทภาระหน้าที่ที่มีต่อสาธารณชน โดยมีการจัดองค์กรหรือการกําหนดกฎเกณฑ์ที่เน้นการดําเนินงาน เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มต่าง ๆ ในสังคมอย่างเป็นธรรม

4 หลักกลไกการเมืองที่ชอบธรรม (Political Legitimacy) คือ ผู้ที่เป็นรัฐบาลหรือ ผู้ที่มีบทบาทในการบริหารประเทศต้องชอบธรรมและเป็นที่ยอมรับของคนในสังคมส่วนรวม ทั้งในเรื่องความสุจริต ความเที่ยงธรรม และความสามารถในการบริหารประเทศ

5 หลักกฎเกณฑ์ที่ยุติธรรมและชัดเจน (Fair Legal Framework and Predictability) คือ การกําหนดกรอบในการปฏิบัติหรือกฎหมายที่เป็นธรรมและยุติธรรมสําหรับกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม ซึ่งกฎเกณฑ์ จะต้องเป็นที่เข้าใจตรงกัน มีประสิทธิภาพในการบังคับใช้ สามารถคาดหวังผลและรู้ถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อไม่ปฏิบัติ ตามกฎเกณฑ์ที่วางไว้

6 หลักประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Efficiency and Effectiveness) คือ ประสิทธิภาพ ในการดําเนินงานไม่ว่าจะเป็นด้านการจัดกระบวนการทํางาน การจัดองค์การ การจัดสรรบุคลากร และมีการใช้ ทรัพยากรสาธารณะต่าง ๆ อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม มีการดําเนินการและให้บริการสาธารณะที่ให้ผลลัพธ์ เป็นที่น่าพอใจและกระตุ้นการพัฒนาของสังคมทุกด้าน

POL3310 การบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ 2/2559

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3310 การบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ

คําสั่ง ข้อสอบมี 5 ข้อ เลือกทํา 3 ข้อ

ข้อ 1 จงอธิบายถึงจุดกําเนิดและความเป็นมาของการศึกษาวิชาบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบมาโดยละเอียด

แนวคําตอบ

จุดกําเนิดและความเป็นมาของการศึกษาวิชาบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ จุดกําเนิดของการศึกษาวิชาบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบมาจากนักวิชาการ 2 คน คือ

1 โรเบิร์ต เอ. ดาห์ล (Robert A. Dah!) ได้เสนอความคิดเห็นไว้ในบทความเรื่อง “วิทยาศาสตร์ทางรัฐประศาสนศาสตร์” (The Science of Public Administration) ในปี ค.ศ. 1947 โดยกล่าวว่า “คนส่วนมากยังละเลยต่อการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์เปรียบเทียบ และตราบใดที่ยังไม่หันมาสนใจศึกษา รัฐประศาสนศาสตร์ในเชิงเปรียบเทียบแล้ว ความพยายามที่จะให้รัฐประศาสนศาสตร์เป็นไปในเชิงวิทยาศาสตร์ ดูค่อนข้างมืดมนเต็มที่” จากข้อเสนอของดาห์ลสะท้อนให้เห็นว่า การศึกษาเปรียบเทียบจะเป็นเครื่องมือที่สําคัญ ในการสร้างความเป็นศาสตร์ให้กับรัฐประศาสนศาสตร์หรือการบริหารรัฐกิจเช่นเดียวกับวิทยาศาสตร์ ซึ่งข้อเสนอ ของดาห์ลมีส่วนต่อการจุดประกายให้เกิดกระแสการศึกษาวิชาการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบในทางทฤษฎี

2 วุดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson) เป็นอดีตประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา และ เป็นบิดาของการศึกษาวิชาการบริหารรัฐกิจ โดยในศตวรรษที่ 19 วิลสันและคณะซึ่งเรียกตัวเองว่า “กลุ่มศึกษา เปรียบเทียบระบบบริหาร” (Comparative Study Administration : CSA) ได้ไปศึกษาระบบบริหารราชการ ของประเทศในยุโรป คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส และปรัสเซีย (เยอรมันปัจจุบัน) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการหา แนวทางในการแก้ไขปัญหาระบบอุปถัมภ์ในระบบราชการของสหรัฐอเมริกาในขณะนั้นให้หมดไป ซึ่งวิลสันได้นํา “หลักการแยกการบริหารออกจากการเมือง” ที่ได้จากการศึกษาระบบบริหารราชการของประเทศดังกล่าวมาใช้เป็น แนวทางในการแก้ปัญหาการบริหารราชการของสหรัฐอเมริกา และได้เสนอหลักการนี้ไว้ในผลงานชื่อ “The Study of Administration” ดังนั้นวิลสันจึงถือเป็นผู้จุดประกายการศึกษาวิชาบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบในทางปฏิบัติ

 

ข้อ 2 จงอธิบายถึงลักษณะของการบริหารรัฐกิจในประเทศกําลังพัฒนาตามข้อเสนอของริกส์ ได้แก่ “Formalism” และ “SALA Model” พร้อมยกตัวอย่างประกอบมาโดยละเอียด

แนวคําตอบ

ตามข้อเสนอของเฟรด ดับบลิว. ริกส์ (Fred w. Riggs) เกี่ยวกับลักษณะของการบริหารรัฐกิจ ในประเทศกําลังพัฒนานั้น

Formalism คือ ลักษณะการบริหารที่มีความแตกต่างกันมากระหว่างปทัสถานหรือกฎเกณฑ์ ที่ตั้งไว้อย่างเป็นทางการกับความจริงในทางปฏิบัติ กล่าวคือ มีการกําหนดกฎระเบียบ ข้อบังคับ หรือหลักเกณฑ์ ต่าง ๆ ที่เป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจน แต่ในทางปฏิบัติกลับไม่ได้ทําตามกฎระเบียบ ข้อบังคับ หรือหลักเกณฑ์ที่ กําหนดไว้ ตัวอย่างเช่น

– ข้าราชการไทยมีหน้าที่ดูแลรับใช้ประชาชน แต่ในทางปฏิบัติกลับแสดงตนเป็นนายของประชาชนแทนที่จะเป็นผู้รับใช้ประชาชน – การกําหนดให้มีการสอบแข่งขันเพื่อคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการประจําหน่วยงานราชการต่าง ๆ โดยใช้หลักความรู้ความสามารถเป็นเกณฑ์ แต่ในทางปฏิบัติกลับมีลักษณะของการใช้ระบบอุปถัมภ์ ไม่มีการพิจารณาคัดเลือกบุคคลโดยใช้หลักความรู้ความสามารถ

– การกําหนดมาตรการ 5 จอมของสํานักงานตํารวจแห่งชาติ เพื่อกวดขันวินัยการจราจรลดปัญหาการจราจรติดขัด และลดการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน แต่ในทางปฏิบัติกลับไม่มีการบังคับใช้อย่างเข้มงวด

SALA Model คือ การกําหนดโครงสร้างของหน่วยงานราชการหรือองค์การหนึ่ง ๆ มักจะมี หน้าที่หลายอย่างในหน่วยงานเดียวกัน ทําให้หน่วยงานราชการต่าง ๆ เกิดความสับสนในการทํางานและทํางาน ก้าวก่ายกัน บางกรณีหน่วยงานราชการอาจเข้าไปก้าวก่ายอํานาจหน้าที่ของฝ่ายการเมือง หรือบางกรณีฝ่ายการเมือง อาจเข้าไปก้าวก่ายอํานาจหน้าที่ของหน่วยงานราชการ ทําให้การบริหารงานไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นลักษณะของ SALA Model จึงแสดงถึงความไม่ผสมผสานกันระหว่างแนวคิดในการพัฒนากับความเป็นจริงในทางปฏิบัติดังเช่น คํากล่าวว่า “หัวมังกุท้ายมังกร” ตัวอย่างเช่น

– กรุงเทพมหานครมีหน้าที่หลายอย่างจนทําให้การทํางานเกิดความซ้ำซ้อนหรือเกิดการก้าวก่ายอํานาจหน้าที่กับหน่วยงานราชการอื่น ๆ เช่น เรื่องการจราจร นอกจาก กรุงเทพมหานครแล้วยังมีหน่วยงานอื่น ๆ ที่ทําหน้าที่ดูแลรับผิดชอบ เช่น กรมการขนส่ง ทางบก สํานักงานตํารวจแห่งชาติ เป็นต้น

 

ข้อ 3 จงอธิบายถึงลักษณะของการบริหารรัฐกิจในประเทศพัฒนาแล้วตามข้อเสนอของเวเบอร์ พร้อมยกตัวอย่างประกอบมาโดยละเอียด

แนวคําตอบ

แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) ได้เสนอตัวแบบการบริหารรัฐกิจในประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งเรียกว่า “ตัวแบบ Weberian” หรือ “ตัวแบบฉบับดั้งเดิม” หรือ “ตัวแบบระบบราชการในอุดมคติ” ตัวแบบของเวเบอร์ ถือว่าเป็นต้นแบบของระบบการเมืองและการบริหารของประเทศพัฒนาแล้ว และถูกนํามาใช้เป็นแนวทางในการ ทําความเข้าใจการบริหารรัฐกิจของประเทศพัฒนาแล้ว เช่น ฝรั่งเศส เยอรมัน อังกฤษ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ตลอดจนประเทศต่าง ๆ ในยุโรปด้วย ยกเว้น 2 ประเทศ คือ ญี่ปุ่น และรัสเซีย

– ตัวแบบ Weberian ของเวเบอร์ถูกกําหนดขึ้นมาโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักเหตุผลของ อํานาจตามบทบัญญัติทางกฎหมาย ทั้งในส่วนของลักษณะโครงสร้างและพฤติกรรมของการบริหารรัฐกิจ ดังนี้

1 ลักษณะโครงสร้าง ได้แก่

1) มีสายการบังคับบัญชาที่ลดหลั่นกันลงไปเป็นลําดับชั้นจากสูงลงมาต่ำ(Hierarchy)

2) มีการแบ่งงานกันทําตามความชํานาญเฉพาะด้าน (Division of Labor)

3) มีการกําหนดระเบียบ ระบบ กฎเกณฑ์อย่างแน่นอนชัดเจน (System of Rules)

4) มีบทบาทภายใต้อํานาจของฝ่ายการเมือง

2 ลักษณะทางด้านพฤติกรรม ได้แก่

1) การไม่คํานึงถึงตัวบุคคล (Impersonality)

2) การใช้เหตุผล (Rationality) ในการปฏิบัติ

3) การมุ่งปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ (Rule Orientation)

4) การมุ่งความยุติธรรมหรือระบบคุณธรรม (Merit System)

5) การเลือกสรรบุคคลโดยอาศัยการแข่งขัน

 

ข้อ 4 จงอธิบายลักษณะของการสรรหาและคัดเลือกข้าราชการในประเทศอังกฤษและอเมริกามาโดยละเอียด

แนวคําตอบ

การบริหารรัฐกิจของประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกามีลักษณะการบริหารแบบพลเรือน/ พลเมือง (Civic Culture Administration/Civic Culture Model) ซึ่งเป็นรูปแบบที่ให้ความสําคัญกับการเข้าไป มีส่วนร่วมในทางการเมืองของประชาชน การยินยอมให้มีการกระจายอํานาจและยอมรับเสียงส่วนใหญ่ซึ่งมีสิทธิ ในอํานาจการบริหารการปกครอง รวมทั้งการยินยอมให้มีการเปลี่ยนแปลงและยอมรับการเปลี่ยนแปลงในสิ่งใหม่ ๆ

การบริหารรัฐกิจของทั้งสองประเทศมีทั้งส่วนที่คล้ายคลึงกันและส่วนที่แตกต่างกัน โดยประเด็น ความแตกต่างที่สําคัญประการหนึ่งก็คือเรื่องของการสรรหาและคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการ ซึ่งสามารถอธิบาย เปรียบเทียบให้เห็นถึงความแตกต่างได้ดังนี้

การสรรหาบุคคลเข้ารับราชการ

1. ประเทศอังกฤษสรรหาบุคคลเข้ารับราชการโดยใช้ “ระบบปิด” (Closed System) คือ

– เปิดรับสมัครเฉพาะผู้จบจากมหาวิทยาลัยทันที ไม่สนใจประสบการณ์

– วิธีการสรรหามีความเข้มงวดมาก โดยวิธีการสอบจะลดความเข้มงวดตามลําดับชั้นของตําแหน่งข้าราชการ

– การบรรจุข้าราชการระดับสูงมักเป็นบุคคลในสายข้าราชการหรือบุคคลภายนอกชั้นสูง

– มีแนวคิดว่าคนชั้นสูงมีการศึกษาเป็นหัวสมองของประเทศ หรือเน้นการศึกษามากกว่าประสบการณ์

2 ประเทศสหรัฐอเมริกาสรรหาบุคคลเข้ารับราชการโดยใช้ “ระบบเปิด” (Open System) คือ

– เปิดกว้างในการรับสมัคร ไม่จํากัดอายุและประสบการณ์

– วิธีการสรรหามีความยืดหยุ่น ไม่จํากัดวิธีคัดเลือก

– การบรรจุบุคคลระดับสูงจะสรรหาจากบุคคลหลายระดับ เน้นเป็นตัวแทนประชาชนได้

– มีแนวคิดว่าข้าราชการต้องมีการศึกษาสูงและมีประสบการณ์มาก

การคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการ

1 ประเทศอังกฤษคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการโดยเน้น“Career-staffing” คือ

– ให้ความสําคัญกับเรื่องสมรรถภาพทั่ว ๆ ไป เชาวน์ไหวพริบ

– ต้องผ่านการสอบแข่งขันซึ่งจะเน้นทฤษฎีมากกว่าปฏิบัติ

– ไม่สนับสนุนให้มีการโอนย้ายหน่วยงาน หรือเปลี่ยนอาชีพจากเอกชนมาเป็นข้าราชการ

2 ประเทศสหรัฐอเมริกาคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการโดยเน้น “Program-staffing” คือ

– ให้ความสําคัญกับเรื่องสมรรถภาพในความชํานาญเฉพาะด้านตามความต้องการของภาครัฐจากการเกิดขึ้นของโครงการตามนโยบาย

– ต้องผ่านการสอบแข่งขันซึ่งจะเน้นปฏิบัติมากกว่าทฤษฎี ดูประสบการณ์

– มีการโยกย้ายเปลี่ยนอาชีพจากเอกชนมาเป็นข้าราชการได้สูง (Mobility)

– ไม่มีการยับยั้งและให้โอกาสในการโอนย้ายระหว่างหน่วยงานสูงเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ได้มาก

 

ข้อ 5 จงอธิบายถึงหลักการบริหารงานตามแนวคิดการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลมาโดยละเอียด

แนวคําตอบ

หลักการบริหารงานตามแนวคิดการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) มี 6 ประการ คือ

1 หลักการมีส่วนร่วมของสาธารณชน (Public Participation) คือ การให้ประชาชน ทุกคนมีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจและการบริหารอย่างเท่าเทียมกัน รวมถึงการให้เสรีภาพ แก่สื่อมวลชนและสาธารณชนในการแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์

2 หลักความสุจริตและโปร่งใส (Honesty and Transparency) คือ การกําหนด ระบบกติกาและการดําเนินงานที่เปิดเผย ตรงไปตรงมา ผู้เกี่ยวข้องและประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงและได้รับ ข้อมูลข่าวสารอย่างเสรี เป็นธรรม ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ

3 หลักพันธะความรับผิดชอบต่อสังคม (Accountability) คือ การมีความรับผิดชอบ ในบทบาทภาระหน้าที่ที่มีต่อสาธารณชน โดยมีการจัดองค์กรหรือการกําหนดกฎเกณฑ์ที่เน้นการดําเนินงานเพื่อ ตอบสนองความต้องการของกลุ่มต่าง ๆ ในสังคมอย่างเป็นธรรม

4 หลักกลไกการเมืองที่ชอบธรรม (Political Legitimacy) คือ ผู้ที่เป็นรัฐบาลหรือ ผู้ที่มีบทบาทในการบริหารประเทศต้องชอบธรรมและเป็นที่ยอมรับของคนในสังคมส่วนรวม ทั้งในเรื่องความสุจริต ความเที่ยงธรรม และความสามารถในการบริหารประเทศ

5 หลักกฎเกณฑ์ที่ยุติธรรมและชัดเจน (Fair Legal Framework and Predictability) คือ การกําหนดกรอบในการปฏิบัติหรือกฎหมายที่เป็นธรรมและยุติธรรมสําหรับกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม ซึ่งกฎเกณฑ์ จะต้องเป็นที่เข้าใจตรงกัน มีประสิทธิภาพในการบังคับใช้ สามารถคาดหวังผลและรู้ถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อไม่ปฏิบัติตาม กฎเกณฑ์ที่วางไว้

6 หลักประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Efficiency and Effectiveness) คือ ประสิทธิภาพ ในการดําเนินงานไม่ว่าจะเป็นด้านการจัดกระบวนการทํางาน การจัดองค์การ การจัดสรรบุคลากร และมีการใช้ ทรัพยากรสาธารณะต่าง ๆ อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม มีการดําเนินการและให้บริการสาธารณะที่ให้ผลลัพธ์เป็นที่ น่าพอใจและกระตุ้นการพัฒนาของสังคมทุกด้าน

POL3310 การบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ 2/2558

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3310 การบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ

คําสั่ง ข้อสอบมี 5 ข้อ เลือกทํา 3 ข้อ

ข้อ 1 จงอธิบายถึงพัฒนาการของวิชาการศึกษาบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันมาโดยละเอียด

แนวคําตอบ

พัฒนาการของการศึกษาการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ

การศึกษาการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบเกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 โดย เกิดจากวูดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson) ซึ่งต้องการขจัดปัญหาระบบอุปถัมภ์ในระบบราชการของสหรัฐอเมริกา ในขณะนั้นให้หมดไป จึงทําให้เกิดกลุ่มศึกษาการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบกลุ่มที่ 1 คือ กลุ่มศึกษาเปรียบเทียบ ระบบบริหาร (Comparative Study Administration : CSA) เพื่อศึกษาระบบบริหารราชการของประเทศยุโรป คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส และปรัสเซีย (เยอรมันปัจจุบัน) และนําแนวทางการบริหารจากประเทศดังกล่าวมาใช้แก้ปัญหา การบริหารราชการของสหรัฐอเมริกา

การศึกษาของกลุ่ม CSA นําไปสู่พัฒนาการของการศึกษาการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ ซึ่ง แบ่งออกเป็น 4 ช่วงเวลา ดังนี้

1 ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1939 1940)

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งสถาปนาตัวเองเป็นผู้นําโลก ได้ ประกาศใช้แผนมาร์แชล (Marshall Plan) โดยมีวัตถุประสงค์ในการให้ความช่วยเหลือทางด้านการเมือง การทหาร เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษา และเทคโนโลยีแก่ประเทศพันธมิตรของสหรัฐอเมริกา ซึ่งการช่วยเหลือดังกล่าว มีส่วนผลักดันให้ประเทศโลกที่ 3 หรือประเทศกําลังพัฒนาเกิดอุดมการณ์การพัฒนา (Developmentalism) โดย มีความเชื่อว่า บรรดาประเทศยากจนสามารถพัฒนาประเทศของตนให้เหมือนกับประเทศที่เจริญแล้วหรือประเทศ อุตสาหกรรมได้ หากนําแนวทางของสหรัฐอเมริกามาเป็นต้นแบบ

ผลจากนโยบายการให้ความช่วยเหลือและอุดมการณ์การพัฒนาทําให้เกิดกลุ่มศึกษา การบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบกลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มบริหารเปรียบเทียบ (Comparative Administration Group : CAG) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กลุ่มบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ (Comparative Public Administration : CPA) ซึ่งกลุ่มนี้ มองว่าระบบบริหารของประเทศโลกที่ 3 เป็นระบบที่ไม่มีประสิทธิภาพเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศตะวันตก ดังนั้น ถ้าต้องการจะให้ระบบบริหารของประเทศโลกที่ 3 มีประสิทธิภาพ สามารถเป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศได้ ก็จําเป็นจะต้องพัฒนาและปรับปรุงระบบบริหารของประเทศเหล่านี้ให้ “ทันสมัย” ซึ่งกลุ่ม CAG/CPA ได้เรียกร้อง ให้มีการสร้างสถาบันทางการบริหาร (Institution-Building) ใหม่ ๆ ขึ้นในประเทศโลกที่ 3

2 ยุคทองของการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ (ค.ศ. 1969 1974)

เป็นยุคที่แนวความคิดของกลุ่ม CAG/CPA ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย จะเห็นได้จาก การจัดพิมพ์วารสาร เอกสาร ตําราเกี่ยวกับการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบมากมาย และในมหาวิทยาลัยของสหรัฐอเมริกา ก็มีการเปิดการเรียนการสอนการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบกันมาก ซึ่งจุดเน้นของแนวความคิดของกลุ่ม CAG/CPA มีดังนี้

1) การสร้างระบบการบริหารแบบอเมริกัน (American Public Administration) ซึ่งเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด (The Best Efficiency) สามารถเป็นต้นแบบให้กับประเทศโลกที่ 3 เพื่อใช้ เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศได้

2) การนํารูปแบบการบริหารแบบอเมริกันไปใช้จะต้องครอบคลุมในทุก ๆ ด้าน เนื่องจากรูปแบบการบริหารงานแบบอเมริกันมีลักษณะ “ครบวงจร” หรือเป็นแบบ “Package” คือ ประกอบด้วย ความรู้ทางด้านการบริหารทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการบริหารงานบุคคล การบริหารงบประมาณ การจัดการ เทคโนโลยี รวมทั้งทัศนคติและค่านิยมแบบอเมริกัน

3) มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อต้องการที่จะปรับปรุงระบบราชการของประเทศโลกที่ 3 ให้มีความทันสมัยแบบสหรัฐอเมริกา โดยการกําหนดมาตรการต่าง ๆ ในการเพิ่มขีดความสามารถให้แก่ระบบราชการ ในประเทศโลกที่ 3 และเสนอให้มีการสร้างสถาบันทางการบริหารใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น

4) การเพิ่มขีดความสามารถของระบบบริหารของหน่วยงานราชการ จะต้องกระทํา ก่อนสิ่งอื่นใดทั้งหมด โดยไม่คํานึงถึงระดับของการพัฒนาทางการเมือง

3 ยุคเสื่อมของการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ (ค.ศ. 1975 – 1976)

สาเหตุที่ทําให้การศึกษาการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบของกลุ่ม CAG/CPA เสื่อม มี 2 ประการ คือ

1) ความบกพร่องของแนวความคิดของกลุ่ม CAG/CPA ได้แก่

– การศึกษาของกลุ่ม CAG/CPA มุ่งเน้นการบริหารงานตามแบบตะวันตก ละเลยการพิจารณาถึงปัจจัยสภาพแวดล้อมภายในของประเทศโลกที่ 3 จึงทําให้การบริหารงานของประเทศโลกที่ 3 ไม่ประสบผลสําเร็จเท่าที่ควร เพราะการพัฒนาจําเป็นต้องใช้เวลาในการสร้างสมประสบการณ์ของประเทศนั้น ๆ เอง เพื่อค้นหารูปแบบการบริหารงานที่เหมาะสมกับประเทศของตน

– การถูกวิพากษ์วิจารณ์จนเกิดความไม่แน่ใจในศาสตร์การบริหารรัฐกิจ เปรียบเทียบ กล่าวคือ การบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบตามแนวคิดของกลุ่ม CAG/CPA ถูกมองว่าเป็นเครื่องมือของ ประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาในการขยายอิทธิพลและอํานาจครอบงําประเทศโลกที่ 3 โดยผ่าน วิธีการชักจูงให้ประเทศโลกที่ 3 หันมาเลียนแบบสไตล์การบริหารแบบสหรัฐอเมริกา

2) สถานการณ์ภายในและภายนอกของสหรัฐอเมริกา ทําให้สหรัฐอเมริกาต้องกลับมา สนใจดูแลความสงบเรียบร้อยภายในประเทศจนละเลยการให้ความช่วยเหลือประเทศโลกที่ 3 ประกอบกับนักวิชาการ เริ่มทําตัวเหมือน “มือปืนรับจ้าง” เห็นแก่เงินรางวัลอามิสสินจ้างมากกว่าความก้าวหน้าทางวิชาการ ส่งผลให้ การศึกษาการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบซบเซาลง :

4 ยุคฟื้นฟูการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ (ค.ศ. 1976 – ปัจจุบัน)

– ในช่วงปลายปี ค.ศ. 1975 นักวิชาการเริ่มกลับมามองถึงปัญหาร่วมกัน โดยการรวมตัวกัน จัดประชุมทางวิชาการเพื่อประเมินสถานการณ์และสถานภาพของการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบในอดีตและมอง แนวโน้มในอนาคต โดยได้จัดพิมพ์แนวทางการศึกษาการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบที่ได้จากการประชุมครั้งนี้ไว้ใน หนังสือ “Public Administration Review” ฉบับที่ 6 (พ.ย. – ธ.ค. 1976) ซึ่งถือว่าเป็นการเริ่มต้นแนวการศึกษา การบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง

ในยุคนี้จึงทําให้เกิดกลุ่มศึกษาการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบกลุ่มที่ 3 คือ กลุ่มบริหารรัฐกิจ เปรียบเทียบแนวใหม่ (New Comparative Public Administration : New CPA) ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากต้องการแก้ไข ข้อบกพร่องของกลุ่ม CAG/CPA โดยแนวความคิดของกลุ่ม New CPA นี้ มุ่งเน้นการศึกษาระบบบริหารที่เกิดขึ้นจริง ในประเทศโลกที่ 3 มากกว่าการสร้างทฤษฎี รวมทั้งเป็นการมุ่งตอบคําถามว่าทําไมการพัฒนาของประเทศหนึ่ง จึงประสบความสําเร็จในขณะที่อีกประเทศหนึ่งล้มเหลว มีปัจจัยอะไรที่ส่งผลให้เกิดความสําเร็จหรือความล้มเหลว ในการพัฒนา ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการนํานโยบายไปปฏิบัติ

 

ข้อ 2 จงอธิบายถึงลักษณะของการศึกษาบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบในกลุ่มประเทศกําลังพัฒนาตามตัวแบบของเฟรด ดับบลิว. ริกส์ มาโดยละเอียด

แนวคําตอบ

1  เฟรด ดับบลิว. ริกส์ (Fred W. Riggs) ได้ศึกษาการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบในกลุ่มประเทศ กําลังพัฒนา ได้แก่ กลุ่มประเทศในแถบเอเชียมรสุม เช่น ปากีสถาน อินเดีย จีน เกาหลี รวมถึงประเทศไทยด้วย ซึ่งพบว่าประเทศเหล่านี้มีลักษณะเป็นสังคมพริสมาติก (Prismatic Society) หรือสังคมส่งผ่าน (Transition Society) คือ สังคมที่อยู่ระหว่างสังคมด้อยพัฒนากับสังคมพัฒนาแล้ว ดังนั้นริกส์จึงเสนอตัวแบบพริสมาติก (Prismatic Model) เพื่ออธิบายลักษณะการบริหารรัฐกิจในกลุ่มประเทศกําลังพัฒนา ซึ่งมีองค์ประกอบสําคัญ 9 ประการ ดังนี้

1 Heterogeneity คือ การผสมผสานระหว่างการปกครองและการบริหารภายใต้สังคม ที่เจริญแล้ว (แบบตะวันตก) กับสังคมด้อยพัฒนา (แบบดั้งเดิม)

2 Formalism คือ การบริหารที่มีความแตกต่างระหว่างปทัสถานหรือกฎเกณฑ์ที่ตั้งไว้ อย่างเป็นทางการกับความเป็นจริงในทางปฏิบัติ

3 Overlapping คือ การมีโครงสร้างเหมือนกับประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่ในทางปฏิบัติ จะเป็นแบบด้อยพัฒนา ทําให้การบริหารงานของแต่ละหน่วยงานก้าวก่ายหน้าที่กัน

4 Poly-Communalism คือ การบริหารงานที่มีการแบ่งพวกแบ่งพ้องในองค์การ ซึ่งเป็น การแบ่งภายใต้ความแตกต่างของภูมิหลัง เช่น การศึกษา ภูมิลําเนา สถานะ ฯลฯ

5 Nepotism คือ การบริหารงานที่อยู่ภายใต้ระบบอุปถัมภ์หรือระบบเส้นสาย และมีการ เล่นพรรคเล่นพวกแบบวงศาคณาญาติ

6 Bazaar-Carteen คือ การกําหนดราคาแบบเป็นทางการ แต่ในความเป็นจริงมักจะใช้ วิธีการต่อรองราคาหรือการติดสินบนพนักงานของรัฐ ดังเช่นสํานวนไทยที่ว่า “ยื่นหมูยื่นแมว” “กินตามน้ำ” หรือ “ค่าน้ำร้อนน้ำชา” ซึ่งทําให้เกิดปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นในระบบราชการ

7 Poly nor noticism and lock of consensus คือ การที่ประชาชนมีค่านิยมและปทัสถานทางสังคมหลากหลาย ทําให้ขาดความเห็นชอบร่วมกัน

8 Authority and Control คือ หน้าที่ที่ได้รับกับการแสดงบทบาทในความเป็นจริง มักขัดแย้งกัน หมายความว่า คนที่ต้องแสดงบทบาทในการใช้อํานาจ แต่ไม่มีอํานาจควบคุมการเมืองและการบริหาร อย่างแท้จริง ในทางตรงกันข้ามคนที่ไม่มีบทบาทในการใช้อํานาจกลับเป็นผู้ที่มีอํานาจในการดําเนินการทาง การเมืองและการบริหารอยู่อย่างลับ ๆ

9 SALA Model คือ การกําหนดโครงสร้างของหน่วยงานราชการหรือองค์การหนึ่ง ๆ มักจะ มีหน้าที่หลายอย่างในหน่วยงานเดียวกัน ซึ่งทําให้เกิดการก้าวก่ายหน้าที่กัน และแสดงถึงความไม่ผสมผสานกัน ระหว่างแนวคิดในการพัฒนากับความเป็นจริงในทางปฏิบัติดังเช่นคํากล่าวที่ว่า “หัวมังกุท้ายมังกร”

 

ข้อ 3 จงอธิบายถึงการบริหารรัฐกิจในประเทศรัสเซียมาโดยละเอียด

แนวคําตอบ

การบริหารรัฐกิจในประเทศรัสเซีย เป็นการบริหารที่มีพื้นฐานมาจากประเทศยุโรป แต่มีแนวโน้ม ว่าจะเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริหารไปตามระบบการปกครองแบบสหพันธรัฐที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ปฏิวัติเมื่อ ปี ค.ศ. 1917 โดยมีพรรคคอมมิวนิสต์เป็นสถาบันที่มีบทบาทมากทั้งทางด้านการเมืองและการบริหารราชการ ดังนั้น การบริหารรัฐกิจในประเทศรัสเซียจึงเป็นการบริหารภายใต้ระบบคอมมิวนิสต์ และมีลักษณะของการเป็นเอกรัฐ มากกว่าการเป็นสาธารณรัฐ

ลักษณะเด่นทางการบริหาร

– การบริหารของรัสเซียมีลักษณะเด่น 2 ประการ คือ

1 เป็นการบริหารที่มุ่งเน้นการรวมศูนย์อํานาจแต่กระจายความรับผิดชอบ กล่าวคือ อํานาจในการตัดสินใจทุกอย่างจะรวมอยู่ที่ผู้นําประเทศเพียงคนเดียว แต่เมื่อมีการปฏิบัติงานแล้วทุกฝ่ายและ ข้าราชการทุกคนจะต้องร่วมกันรับผิดชอบต่อผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น

2 เป็นการบริหารที่มุ่งเน้นการตรวจสอบ จากผลงานของเฟนสอดได้แสดงให้เห็นถึง สิ่งสําคัญที่สุดที่ผู้นํารัสเซียต้องการก็คือ การสร้างความจงรักภักดีของข้าราชการ โดยการมีนโยบายให้สิทธิการ จ้างงานตลอดชีพแก่ข้าราชการรุ่นเก่าที่ปฏิบัติงานมานาน ไม่มีการปลดเกษียณ ในขณะเดียวกันก็พยายามสร้าง ข้าราชการรุ่นใหม่ขึ้นมาแทนข้าราชการรุ่นเก่าโดยการจัดให้มีการฝึกอบรมและสอนงานจากข้าราชการรุ่นเก่า โดยทั้งข้าราชการรุ่นเก่าและข้าราชการรุ่นใหม่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมและตรวจสอบการปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด หากข้าราชการละเลยไม่ปฏิบัติตามหน้าที่และคําสั่งจะถูกลงโทษค่อนข้างหนัก ดังนั้นข้าราชการทุกคนจึงพยายาม กระทําทุกอย่างเพื่อลดอันตรายที่เกิดขึ้นกับตัวเองให้น้อยลง

การบริหารงานบุคคล

ในตอนปลายของปี ค.ศ. 1920 – 1930 ประเทศรัสเซียมีการรวมอํานาจไว้ที่ส่วนกลาง ผู้นํา พรรคคอมมิวนิสต์จึงเป็นผู้มีอํานาจตัดสินใจสรรหาและคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการ โดยเน้นบุคคลที่มีความรู้ – ความสามารถสูง ต่อมาภายหลังปี ค.ศ. 1930 รัสเซียได้มีการเปิดรับสมัครบุคคลเข้ารับราชการเป็นจํานวนมาก

ส่งผลให้เกิดปัญหาในการดําเนินการสรรหาและคัดเลือก ดังนั้นรัฐบาลภายใต้การนําของครุสเซฟจึงได้ประกาศ รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการโดยไม่คํานึงถึงคุณวุฒิ เพียงแต่ขอให้ยอมรับและปฏิบัติตามระเบียบวินัยของพรรค อย่างไม่มีเงื่อนไขเท่านั้น ส่งผลให้ข้าราชการส่วนใหญ่มาจากอาชีพกรรมกรช่างไม้และกรรมกรขุดดิน

เนื่องจากผู้นําพรรคคอมมิวนิสต์ต้องการให้ได้มาซึ่งอํานาจเบ็ดเสร็จในการควบคุมหน่วยราชการ และตัวข้าราชการ ดังนั้นการบรรจุบุคคลลงสู่ตําแหน่งต่าง ๆ จึงมีลักษณะของการบังคับเลือก ซึ่งถูกมองว่าเป็น เรื่องธรรมดาของระบบราชการในประเทศคอมมิวนิสต์ มากกว่าจะมีการเปิดสอบคัดเลือก โดยพิจารณาประวัติ การศึกษาและระดับคะแนน ซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานสําคัญในการพิจารณาตัดสินในการรับบุคคลใดเข้ารับราชการ ดังนั้นรัสเซียจึงเป็นประเทศที่ให้ความสําคัญกับระดับการศึกษาของบุคคลมากกว่าสถานภาพทางสังคม และ ฐานะของครอบครัว

บทบาทของข้าราชการ

การบริหารรัฐกิจของรัสเซียมีการรวมอํานาจไว้ที่เบื้องบน แต่กระจายความรับผิดชอบลงสู่ เบื้องล่าง จึงทําให้บทบาทของข้าราชการเป็นเพียงผู้ปฏิบัติตามคําสั่งอย่างเคร่งครัดมากกว่าการแสดงความคิดเห็น ข้าราชการจะให้ความสําคัญกับบุคคลที่มีบทบาทในการให้คุณให้โทษแก่ตน โดยข้าราชการที่ประสบความสําเร็จ ในการทํางานมักเป็นข้าราชการที่มีความจงรักภักดี มีความรอบรู้และมีความฉลาดในการเอาตัวรอดในสถานการณ์ ต่าง ๆ อย่างมาก ดังนั้นข้าราชการจึงถูกมองว่ามีสถานภาพเป็น “ผู้รับใช้นายมากกว่าผู้รับใช้ประชาชน”

การควบคุมการดําเนินงาน

ในการดําเนินงานของหน่วยงานราชการ ข้าราชการจะถูกควบคุมอย่างเข้มงวดทั้งจากภายใน หน่วยงาน คือ จากผู้บังคับบัญชา และหน่วยงานภายนอก อันได้แก่ คณะกรรมการควบคุมพรรค ศาล กรรมการ ควบคุมประจํารัฐ ตํารวจ รวมทั้งหน่วยงานควบคุมพิเศษซึ่งปะปนอยู่กับประชาชนโดยทั่วไป โดยจะมีเจ้าหน้าที่ ควบคุมทุกระดับหน่วยงานเพื่อตรวจตราผู้กระทําความผิด ซึ่งเจ้าหน้าที่เหล่านี้ได้รับเลือกมาจากประชาชน ซึ่ง ในความเห็นของเฟนสอดมองว่า การมีระบบตรวจสอบดังกล่าวชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลพยายามที่จะเปิดโอกาสให้ ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารอย่างมาก โดยเฉพาะการตรวจสอบ เนื่องจากสามารถวิจารณ์ข้าราชการ ในการทํางานได้ แต่การวิจารณ์ทุกครั้งมักจะถูกเตรียมการไว้โดยพรรคคอมมิวนิสต์

นอกจากนี้เบนดิกซ์ (Bendix) ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่าพรรคคอมมิวนิสต์พยายามแสดงตนว่าเป็น ตัวแทนของประชาชน แต่การกระทําบางอย่างมักขัดแย้งกับเจตนารมณ์ดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการห้ามจัดตั้งกลุ่ม ใด ๆ นอกเหนือจากพรรคคอมมิวนิสต์ การปิดโอกาสในการส่งเสริมให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมและสื่อสาร ระหว่างประชาชนกับผู้มีอํานาจรัฐ จนกลายเป็นสังคมที่ป้องกันมิให้ประชาชนมีความเท่าเทียมกัน

 

ข้อ 4 จงอธิบายถึงข้อแตกต่างระหว่างการบริหารราชการในประเทศไทยและอินเดียมาโดยละเอียด

แนวคําตอบ

การบริหารราชการในประเทศไทย มีรูปแบบการบริหารแบบระบบกลุ่มผู้นําทางราชการ ทั้งฝ่ายพลเรือนและทหาร (Bureaucratic Elite Systems Civil and Military) ซึ่งเป็นการบริหารที่อํานาจทาง การเมืองและการบริหารราชการมักตกอยู่ในมือของข้าราชการทั้งข้าราชการทหารและข้าราชการพลเรือน

ส่วนการบริหารราชการในประเทศอินเดีย มีรูปแบบการบริหารแบบระบบกึ่งแข่งขันของ พรรคการเมืองที่มีอํานาจเหนือเด่น (Dominant-Party Semicompetitive Systems) ซึ่งเป็นการบริหารที่มี พรรคการเมืองหนึ่งพรรคมีอํานาจเหนือพรรคการเมืองอื่น ๆ จึงทําให้อํานาจทางการเมืองและการบริหารราชการ ตกอยู่ภายใต้อํานาจของพรรคการเมืองที่มีอํานาจอยู่ในขณะนั้น การบริหารราชการของประเทศอินเดียได้รับ อิทธิพลรูปแบบการบริหารราชการมาจากประเทศอังกฤษ จึงทําให้การบริหารราชการของประเทศอินเดียมีความ ทันสมัยอย่างมาก และมีลักษณะการบริหารราชการที่มุ่งเน้นระบบคุณธรรม (Merit System) ตามแนวทางของ ประเทศตะวันตก

ความแตกต่างระหว่างการบริหารราชการในประเทศไทยและอินเดีย มีดังนี้

1 การบริหารงานบุคคล ประเทศไทยสรรหาและคัดเลือกข้าราชการโดยใช้ “ระบบปิด ภายใต้ระบบอุปถัมภ์” คือ มีการสรรหาและคัดเลือกข้าราชการจากตระกูลชั้นสูงโดยการเปิดสอบแข่งขันตาม ระบบคุณธรรม แต่ในทางปฏิบัติกลับใช้ระบบอุปถัมภ์ ซึ่งแตกต่างจากประเทศอินเดียที่มีการสรรหาและคัดเลือก ข้าราชการโดยใช้ระบบคุณธรรม ซึ่งเป็นผลมาจากการได้รับอิทธิพลรูปแบบการบริหารราชการมาจากประเทศอังกฤษ จึงทําให้ประเทศอินเดียมีการสรรหาและคัดเลือกข้าราชการที่เข้มงวดและจริงจัง ให้ความสนใจรับคนที่จบ มหาวิทยาลัย มีคณะกรรมการ Union Public Service Commission ในการรับสมัครและการคัดเลือกเป็นไปตาม กฎหมายและกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด

2 บทบาทและสถานภาพของข้าราชการ ข้าราชการไทยและข้าราชการอินเดียมีบทบาท และสถานภาพเป็น “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” เหมือนกัน แต่ต่างกันตรงที่ข้าราชการไทยมีอํานาจและอิทธิพลทั้งด้าน การเมืองและการบริหารราชการ แต่ข้าราชการอินเดียจะต้องอยู่ภายใต้อํานาจและอิทธิพลของฝ่ายการเมือง (พรรคการเมือง) โดยข้าราชการอินเดียถูกกําหนดให้เป็นผู้ปฏิบัติตามนโยบายที่ฝ่ายการเมืองเป็นผู้กําหนดเท่านั้น

3 การควบคุมการบริหารราชการ ระบบราชการไทยถูกปกครองและครอบงําโดยกลุ่ม ข้าราชการทหารและพลเรือนชั้นสูง จึงทําให้ข้าราชการไทยมีอํานาจและบทบาทในการบริหารราชการแผ่นดิน อย่างมากจนยากต่อการควบคุมโดยสถาบันอื่น ๆ โดยเฉพาะในส่วนของฝ่ายการเมือง ดังที่ริกส์ (Riggs) ได้เสนอว่า ระบบการบริหารของไทยมีลักษณะเป็น “รัฐราชการ” หรือ “อํามาตยาธิปไตย” (Bureaucratic Polity) เนื่องจาก

1) มีการเล่นพรรคเล่นพวก และมีการแสดงอํานาจนิยมของหน่วยราชการ

2) มีลักษณะของการเมืองของรัฐข้าราชการ คือ มีการต่อสู้ทางการเมือง การต่อสู้ระหว่างกลุ่มข้าราชการต่าง ๆ

3) ข้าราชการเป็นใหญ่มีอํานาจตัดสินใจแทนประชาชน

ซึ่งแตกต่างจากประเทศอินเดียที่มีการควบคุมการบริหารราชการทั้งการควบคุมโดยตรง จากภายในองค์การ คือ การควบคุมตามสายการบังคับบัญชา และการควบคุมโดยอ้อมจากฝ่ายการเมือง คือ การควบคุมจากพรรคการเมืองที่มีอํานาจและบทบาทสําคัญในช่วงนั้น ซึ่งข้าราชการตั้งแต่ระดับสูงลงมาถึงระดับล่าง จะต้องมีการรายงานและนําเสนองานผ่านความเห็นชอบของฝ่ายการเมือง ซึ่งโดยมากเป็นกลุ่มพรรคครองเกรส เนื่องจากถือว่าเป็นพรรคการเมืองที่มีอํานาจและอิทธิพลครอบงําระบบการเมืองมากกว่าพรรคอื่น ๆ จึงมีอิทธิพลต่อ การควบคุมตรวจสอบการบริหารราชการของข้าราชการ

 

ข้อ 5 จงอธิบายถึงหลักการบริหารงานตามแนวคิดการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลมาโดยละเอียด

แนวคําตอบ

หลักการบริหารงานตามแนวคิดการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) มี 6 ประการ คือ

1 หลักการมีส่วนร่วมของสาธารณชน (Public Participation) คือ การให้ประชาชน ทุกคนมีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจและการบริหารอย่างเท่าเทียมกัน รวมถึงการให้เสรีภาพ แก่สื่อมวลชนและสาธารณชนในการแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์

2 หลักความสุจริตและโปร่งใส (Honesty and Transparency) คือ การกําหนด ระบบกติกาและการดําเนินงานที่เปิดเผย ตรงไปตรงมา ผู้เกี่ยวข้องและประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงและได้รับ ข้อมูลข่าวสารอย่างเสรี เป็นธรรม ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ

3 หลักพันธะความรับผิดชอบต่อสังคม (Accountability) คือ การมีความรับผิดชอบ ในบทบาทภาระหน้าที่ที่มีต่อสาธารณชน โดยมีการจัดองค์กรหรือการกําหนดกฎเกณฑ์ที่เน้นการดําเนินงานเพื่อ ตอบสนองความต้องการของกลุ่มต่าง ๆ ในสังคมอย่างเป็นธรรม

4 หลักกลไกการเมืองที่ชอบธรรม (Political Legitimacy) คือ ผู้ที่เป็นรัฐบาลหรือ ผู้ที่มีบทบาทในการบริหารประเทศต้องชอบธรรมและเป็นที่ยอมรับของคนในสังคมส่วนรวม ทั้งในเรื่องความสุจริต ความเที่ยงธรรม และความสามารถในการบริหารประเทศ

5 หลักกฎเกณฑ์ที่ยุติธรรมและชัดเจน (Fair Legal Framework and Predictability) คือ การกําหนดกรอบในการปฏิบัติหรือกฎหมายที่เป็นธรรมและยุติธรรมสําหรับกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม ซึ่งกฎเกณฑ์จะต้องมีการบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นที่เข้าใจตรงกัน มีประสิทธิภาพในการบังคับใช้ สามารถคาดหวังผล และรู้ถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่วางไว้

6 หลักประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Efficiency and Effectiveness) คือ ประสิทธิภาพ ในการดําเนินงานไม่ว่าจะเป็นด้านการจัดกระบวนการทํางาน การจัดองค์การ การจัดสรรบุคลากร และมีการใช้ ทรัพยากรสาธารณะต่าง ๆ อย่างคุ้มค่าเละเหมาะสม มีการดําเนินการและให้บริการสาธารณะที่ให้ผลลัพธ์เป็นที่ น่าพอใจและกระตุ้นการพัฒนาของสังคมทุกด้าน

WordPress Ads
error: Content is protected !!