การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3310 การบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ

Advertisement

คําสั่ง ข้อสอบมี 5 ข้อ ให้เลือกทํา 3 ข้อ สําหรับผู้ที่ส่งงานในห้องให้ระบุ Code และเลือกทํา 2 ข้อ

ข้อ 1 จงอธิบายถึงข้อเสนอของกลุ่มศึกษาบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ (CPA) ที่มีต่อพัฒนาการวิชาบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ

แนวคําตอบ

กลุ่มบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ (Comparative Public Administration : CPA) หรือเรียก อีกชื่อหนึ่งว่า กลุ่มบริหารเปรียบเทียบ (Comparative Administration Group : CAG) เกิดขึ้นภายหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ในขณะนั้นประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งสถาปนาตัวเองเป็นผู้นําโลก ได้ประกาศใช้แผนมาร์แชล (Marshall Plan) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือทางด้านการเมือง การทหาร เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษา และเทคโนโลยีแก่ประเทศพันธมิตรของสหรัฐอเมริกา การช่วยเหลือดังกล่าวมีส่วนผลักดันให้ประเทศ โลกที่ 3 หรือประเทศกําลังพัฒนาเกิดอุดมการณ์การพัฒนา (Developmentatism) โดยมีความเชื่อว่า บรรดา ประเทศยากจนสามารถพัฒนาประเทศของตนให้เหมือนกับประเทศที่เจริญแล้วหรือประเทศอุตสาหกรรมได้ หากนําแนวทางของสหรัฐอเมริกามาเป็นต้นแบบ

ผลจากนโยบายการให้ความช่วยเหลือและอุดมการณ์การพัฒนาทําให้เกิดกลุ่ม CPA ซึ่งกลุ่มนี้ มองว่าระบบบริหารของประเทศโลกที่ 3 เป็นระบบที่ไม่มีประสิทธิภาพเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศตะวันตก ดังนั้น ถ้าต้องการจะให้ระบบบริหารของประเทศโลกที่ 3 มีประสิทธิภาพ สามารถเป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศได้ ก็จําเป็นจะต้องพัฒนาและปรับปรุงระบบบริหารของประเทศเหล่านี้ให้ “ทันสมัย” ซึ่งกลุ่ม CPA ได้เรียกร้องให้มี การสร้างสถาบันทางการบริหาร (Institution-Building) ใหม่ ๆ ขึ้นในประเทศโลกที่ 3

แนวความคิดของกลุ่ม CPA ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในช่วงยุคทองของการบริหารรัฐกิจ เปรียบเทียบ (ค.ศ. 1969 – 1974) ซึ่งจะเห็นได้จากการจัดพิมพ์วารสาร เอกสาร ตําราเกี่ยวกับการบริหารรัฐกิจ เปรียบเทียบมากมาย และในมหาวิทยาลัยของสหรัฐอเมริกาก็มีการเปิดการเรียนการสอนการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ กันมาก ซึ่งจุดเน้นของแนวความคิดของกลุ่ม CPA มีดังนี้

1 การสร้างระบบการบริหารแบบอเมริกัน (American Public Administration) ซึ่งเป็น ระบบที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด (The Best Efficiency) สามารถเป็นต้นแบบให้กับประเทศโลกที่ 3 เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ในการพัฒนาประเทศได้

2 การนํารูปแบบการบริหารแบบอเมริกันไปใช้จะต้องครอบคลุมในทุก ๆ ด้าน เนื่องจาก รูปแบบการบริหารงานแบบอเมริกันมีลักษณะ “ครบวงจร” หรือเป็นแบบ “Package” คือ ประกอบด้วยความรู้ ทางด้านการบริหารทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการบริหารงานบุคคล การบริหารงบประมาณ การจัดการ เทคโนโลยี รวมทั้งทัศนคติและค่านิยมแบบอเมริกัน เช่น เรื่องของความมีประสิทธิภาพ ความประหยัด ความมีเหตุผลและ ความรับผิดชอบ เป็นต้น

3 มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อต้องการที่จะปรับปรุงระบบราชการของประเทศโลกที่ 3 ให้มี ความทันสมัยแบบสหรัฐอเมริกา เนื่องจากมีความเชื่อว่าระบบราชการเป็นเครื่องมือที่สําคัญที่จะช่วยให้การพัฒนา ประเทศสําเร็จผล โดยนอกจากจะกําหนดมาตรการต่าง ๆ ในการเพิ่มขีดความสามารถให้แก่ระบบราชการใน ประเทศโลกที่ 3 ยังได้เสนอให้มีการสร้างสถาบันทางการบริหารใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น เพื่อช่วยในการพัฒนาประเทศ

4 การเพิ่มขีดความสามารถของระบบบริหารของหน่วยงานราชการ จะต้องกระทําก่อน สิ่งอื่นใดทั้งหมด โดยไม่คํานึงถึงระดับของการพัฒนาทางการเมือง

ในช่วงยุคเสื่อมของการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ (ค.ศ. 1975 – 1976) แนวความคิดของ กลุ่ม CPA ถูกโจมตีว่ามุ่งเน้นการบริหารงานตามแบบตะวันตกจนละเลยการพิจารณาถึงปัจจัยสภาพแวดล้อมภายใน ของประเทศโลกที่ 3 จึงทําให้การบริหารงานของประเทศโลกที่ 3 ไม่ประสบผลสําเร็จเท่าที่ควร เพราะการพัฒนา จําเป็นต้องใช้เวลาในการสร้างสมประสบการณ์ของประเทศนั้น ๆ เอง เพื่อค้นหารูปแบบการบริหารงานที่เหมาะสม กับประเทศของตน

นอกจากนี้แนวคิดของกลุ่ม CPA ยังถูกมองว่าเป็นเครื่องมือของประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยเฉพาะ สหรัฐอเมริกาในการขยายอิทธิพลและอํานาจครอบงําประเทศโลกที่ 3 โดยผ่านวิธีการชักจูงให้ประเทศโลกที่ 3 หันมาเลียนแบบสไตล์การบริหารแบบสหรัฐอเมริกา

 

ข้อ 2 ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นในระบบราชการไทยส่งผลกระทบต่อการบริหารระบบราชการในประเทศที่กําลังพัฒนาอย่างไรภายใต้ข้อเสนอของ Fred W. Riggs

แนวคําตอบ

ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นในระบบราชการไทยส่งผลกระทบต่อการบริหารระบบราชการ ตามข้อเสนอของเฟรด ดับบลิว. ริกส์ (Fred W. Riggs) ใน 3 ประการ คือ

1 Poly-Communalism คือ การบริหารที่มีการแบ่งพวกแบ่งพ้องหรือแบ่งเป็นกลุ่มต่าง ๆ ในองค์การ ซึ่งเป็นการแบ่งภายใต้ความแตกต่างของภูมิหลัง เช่น การศึกษา ภูมิลําเนา สถานะ เป็นต้น การบริหาร ในลักษณะนี้มีข้อดี คือ ทําให้ข้าราชการมีความสนิทสนมกัน แต่ข้อเสีย คือ อาจนําไปสู่การทุจริตคอร์รัปชั่นได้ง่าย เพราะความสนิทสนมกันในกลุ่มอาจนําไปสู่การช่วยเหลือกันเพื่อหาผลประโยชน์ให้กับพวกพ้อง

2 Nepotism คือ การบริหารที่มีการเล่นพรรคเล่นพวกแบบวงศาคณาญาติ ซึ่งทําให้เกิด ระบบอุปถัมภ์หรือระบบเส้นสายในระบบราชการ

3 Bazaar-Canteen คือ การบริหารที่มีการกําหนดราคาแบบเป็นทางการ แต่ในความ เป็นจริงมักจะใช้วิธีการต่อรองราคาหรือการติดสินบนข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ กล่าวคือ ปกติการติดต่อกับ หน่วยงานราชการหรือการใช้บริการของหน่วยงานราชการจะมีการกําหนดค่าธรรมเนียมในการให้บริการไว้ชัดเจน แต่ในทางปฏิบัติอาจมีการติดสินบนข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อให้ได้รับบริการที่รวดเร็วหรือเป็นไปตาม ความต้องการของผู้ใช้บริการ ดังเช่นสํานวนไทยที่ว่า “ยื่นหมูยื่นแมว” “กินตามน้ำ” หรือ “ค่าน้ำร้อนน้ำชา”

 

ข้อ 3 จงอธิบายถึงความแตกต่างของคําว่า “Closed System” กับ “Open System”

แนวคําตอบ

“Closed System” คือ วิธีการสรรหาบุคคลเข้ารับราชการโดยใช้ระบบปิด ซึ่งเป็นวิธีการ ที่ใช้ในประเทศอังกฤษ ส่วน “Open System” คือ วิธีการสรรหาบุคคลเข้ารับราชการโดยใช้ระบบเปิด ซึ่งเป็น วิธีการที่ใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยทั้ง 2 วิธีมีความแตกต่างกัน ดังนี้

การสรรหาบุคคลโดยใช้วิธี “Closed System” ได้แก่

– เปิดรับสมัครเฉพาะผู้จบจากมหาวิทยาลัยทันที ไม่สนใจประสบการณ์ – วิธีการสรรหามีความเข้มงวดมาก โดยวิธีการสอบจะลดความเข้มงวดตามลําดับชั้นของตําแหน่งข้าราชการ

– การบรรจุข้าราชการระดับสูงมักเป็นบุคคลในสายข้าราชการ หรือบุคคลภายนอกชั้นสูง

– มีแนวคิดว่าคนชั้นสูงมีการศึกษาเป็นหัวสมองของประเทศ หรือเน้นการศึกษามากกว่าประสบการณ์ การสรรหาบุคคลโดยใช้วิธี “Open System” ได้แก่

– เปิดกว้างในการรับสมัคร ไม่จํากัดอายุและประสบการณ์

– วิธีการสรรหามีความยืดหยุ่น ไม่จํากัดวิธีคัดเลือก

– การบรรจุบุคคลระดับสูงจะสรรหาจากบุคคลหลายระดับ เน้นเป็นตัวแทนประชาชนได้

– มีแนวคิดว่าข้าราชการต้องมีการศึกษาสูงและมีประสบการณ์มาก

 

ข้อ 4 จงอธิบายถึงความแตกต่างของสังคมที่เป็นรัฐราชการว่ามีลักษณะอย่างไร

แนวคําตอบ

ตามแนวคิดของเฟรด ดับบลิว. ริกส์ (Fred W. Riggs) มองว่า สังคมที่เป็น “รัฐราชการ” หรือ “อํามาตยาธิปไตย” (Bureaucratic Polity) จะมีลักษณะดังนี้

1 ข้าราชการมีอํานาจและบทบาทในการบริหารราชการแผ่นดินอย่างมาก ทั้งในด้านการเมืองและการบริหาร

2 มีการเล่นพรรคเล่นพวก และมีการแสดงอํานาจนิยมของหน่วยราชการ

3 มีลักษณะของการเมืองของรัฐข้าราชการ คือ มีการต่อสู้ทางการเมือง การต่อสู้ระหว่างกลุ่มข้าราชการต่าง ๆ

4 ข้าราชการเป็นใหญ่มีอํานาจตัดสินใจแทนประชาชน

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด คือ ประเทศไทย นับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน อํานาจทางการเมืองโดยส่วนใหญ่มักตกอยู่ในมือของข้าราชการทั้งข้าราชการพลเรือนและข้าราชการ ทหาร โดยข้าราชการมักจะดํารงตําแหน่งสําคัญต่าง ๆ ทางการเมือง เช่น นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี สมาชิก สภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา เป็นต้น ทําให้ข้าราชการมีอํานาจและบทบาทในการบริหารราชการแผ่นดิน เป็นอย่างมากจนยากต่อการควบคุมหรือตรวจสอบโดยสถาบันอื่น ๆ

ดังนั้นสังคมที่เป็นรัฐราชการอย่างเช่นประเทศไทยจึงมีลักษณะที่แตกต่างกับสังคมที่มิใช่ รัฐราชการอย่างเช่นประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา เนื่องจากประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกาจะมีการแบ่ง บทบาทอํานาจหน้าที่ระหว่างฝ่ายการเมืองและฝ่ายข้าราชการอย่างชัดเจน โดยฝ่ายการเมืองจะทําหน้าที่ในการ กําหนดนโยบาย ส่วนฝ่ายข้าราชการจะทําหน้าที่ในการบริหารงานตามนโยบายที่ฝ่ายการเมืองกําหนด ฝ่ายข้าราชการ จะไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมือง

 

ข้อ 5 จงอธิบายลักษณะสําคัญของหลักธรรมาภิบาลมาพอสังเขป

แนวคําตอบ

หลักธรรมาภิบาล (Good Governance) มีองค์ประกอบสําคัญ 6 ประการ คือ

1 หลักการมีส่วนร่วมของสาธารณชน (Public Participation) คือ การให้ประชาชน ทุกคนมีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจและการบริหารอย่างเท่าเทียมกัน รวมถึงการให้เสรีภาพ แก่สื่อมวลชนและสาธารณชนในการแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์

2 หลักความสุจริตและโปร่งใส (Honesty and Transparency) คือ การกําหนด ระบบกติกาและการดําเนินงานที่เปิดเผย ตรงไปตรงมา ผู้เกี่ยวข้องและประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงและได้รับ ข้อมูลข่าวสารอย่างเสรี เป็นธรรม ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ

3 หลักพันระความรับผิดชอบต่อสังคม (Accountability) คือ การมีความรับผิดชอบ ในบทบาทภาระหน้าที่ที่มีต่อสาธารณชน โดยมีการจัดองค์กรหรือการกําหนดกฎเกณฑ์ที่เน้นการดําเนินงานเพื่อ ตอบสนองความต้องการของกลุ่มต่าง ๆ ในสังคมอย่างเป็นธรรม

4 หลักกลไกการเมืองที่ชอบธรรม (Political Legitimacy) คือ ผู้ที่เป็นรัฐบาลหรือ ผู้ที่มีบทบาทในการบริหารประเทศต้องชอบธรรมและเป็นที่ยอมรับของคนในสังคมส่วนรวม ทั้งในเรื่องความสุจริต ความเที่ยงธรรม และความสามารถในการบริหารประเทศ

5 หลักกฎเกณฑ์ที่ยุติธรรมและชัดเจน (Fair Legal Framework and Predictability) คือ การกําหนดกรอบในการปฏิบัติหรือกฎหมายที่เป็นธรรมและยุติธรรมสําหรับกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม ซึ่งกฎเกณฑ์ จะต้องเป็นที่เข้าใจตรงกัน มีประสิทธิภาพในการบังคับใช้ สามารถคาดหวังผลและรู้ถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อไม่ปฏิบัติตาม กฎเกณฑ์ที่วางไว้

6 หลักประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Efficiency and Effectiveness) คือ ประสิทธิภาพ ในการดําเนินงานไม่ว่าจะเป็นด้านการจัดกระบวนการทํางาน การจัดองค์การ การจัดสรรบุคลากร และมีการใช้ ทรัพยากรสาธารณะต่าง ๆ อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม มีการดําเนินการและให้บริการสาธารณะที่ให้ผลลัพธ์เป็นที่ น่าพอใจและกระตุ้นการพัฒนาของสังคมทุกด้าน

Advertisement