การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3310 การบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ

Advertisement

คําสั่ง

ข้อสอบมี 5 ข้อ เลือกทํา 3 ข้อ

ข้อ 1 การศึกษาการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบมีประโยชน์ต่อความรู้ทางการบริหารรัฐกิจหรือไม่ อย่างไร

แนวคําตอบ

การศึกษาการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบมีประโยชน์ต่อความรู้ทางการบริหารรัฐกิจ ดังนี้

1 ช่วยสร้างองค์ความรู้ทางวิชาการหรือความเป็นศาสตร์ให้กับการบริหารรัฐกิจ คือ การศึกษาถึงความเหมือนและความแตกต่างทางการบริหารรัฐกิจก็เพื่อต้องการทดสอบสมมุติฐานของทฤษฎี บางทฤษฎี หรือเป็นการสร้างองค์ความรู้ขึ้นมาใหม่ เพื่อทําให้ทฤษฎีทางการบริหารรัฐกิจมีความชัดเจน ทันสมัย และไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่

2 เสริมสร้างความรู้ที่แจ้งชัดให้แก่ผู้ศึกษา คือ การศึกษาการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ จะทําการวิเคราะห์และทําความเข้าใจกับส่วนที่เหมือนและแตกต่างของการบริหารรัฐกิจ จึงทําให้ผู้ศึกษามีความรู้ ที่กว้างไกลและเข้าใจลึกซึ้งมากขึ้น และสามารถนําไปเปรียบเทียบกับกรณีอื่น ๆ ที่ลึกซึ้งต่อไปได้

3 สามารถนําไปประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติได้ คือ การศึกษาการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ จะทําให้ผู้ศึกษาสามารถนําความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับหน่วยงานของตนให้เกิดประสิทธิภาพได้ โดยการเลือก เฉพาะส่วนที่ดีและใช้ได้กับหน่วยงานมาพิจารณาปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับลักษณะพื้นฐานของหน่วยงาน

4 การศึกษาลักษณะของแต่ละระบบบริหารหรือแต่ละกลุ่มของระบบบริหารไม่ว่าจะเป็น ลักษณะที่คล้ายคลึงกันหรือแตกต่างกัน ทําให้เห็นถึงลักษณะร่วมซึ่งจะส่งผลให้สามารถกําหนดเป็นกฎเกณฑ์หรือ ทฤษฎีทางการบริหารรัฐกิจได้

5 ทําให้ทราบว่าอะไรเป็นสาเหตุหรือปัจจัยที่ทําให้เกิดความแตกต่างในระบบบริหาร

6 ทําให้ทราบว่าปัจจัยสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทางการบริหารรัฐกิจ ได้แก่ การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม มีอิทธิพลต่อการบริหารรัฐกิจประเทศนั้น ๆ อย่างไร และการเปรียบเทียบจะช่วยให้ สามารถปรับปรุงการบริหารรัฐกิจให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม หรือปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับ การบริหารรัฐกิจของประเทศนั้น ๆ

7 ช่วยอธิบายข้อคล้ายคลึงและข้อแตกต่างในพฤติกรรมของข้าราชการในระบบราชการ ที่แตกต่างกัน และในกลุ่มวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน เพื่อเป็นข้อมูลในการปฏิบัติงาน

8 ช่วยให้เห็นว่าควรมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างและอย่างไร เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพ ข้อเท็จจริง และลดข้อบกพร่องโดยพิจารณาเปรียบเทียบข้อดีของประเทศอื่น ๆ มาปรับใช้

 

 

ข้อ 2 ตัวแบบทางการศึกษาการบริหารรัฐกิจของประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศกําลังพัฒนามีลักษณะแตกต่างกันอย่างไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ

แนวคําตอบ

ตัวแบบทางการศึกษาการบริหารรัฐกิจ คือ ตัวแบบการบริหารที่นําเสนอโดยนักคิดเพื่ออธิบาย และสร้างความเข้าใจในปรากฏการณ์ทางการบริหารที่เกิดขึ้นจริงในระบบการปกครองต่าง ๆ ซึ่งจากการศึกษา ของเฮด (Heady) ได้อธิบายลักษณะการบริหารรัฐกิจของประเทศที่พัฒนาแล้วและการบริหารรัฐกิจของประเทศ กําลังพัฒนา ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

ลักษณะการบริหารรัฐกิจของประเทศที่พัฒนาแล้ว

1 โครงสร้างระบบราชการมีขนาดใหญ่โตและสลับซับซ้อน มีหน่วยงานย่อยภายในหน่วยงาน มีสายการบังคับบัญชาที่ชัดเจน และมีการแบ่งงานกันทําของหน่วยงานต่าง ๆ โดยระบบราชการแบบนี้จะมีลักษณะ ที่สอดคล้องกับตัวแบบระบบราชการในอุดมคติ (Ideal Type Bureaucracy) ของ Max Weber

2 มีการจัดโครงสร้างของหน่วยงานราชการและแบ่งหน้าที่กิจกรรมของรัฐออกเป็น ส่วนต่าง ๆ ตามประเภทของงานและตามความถนัดของบุคลากร เพื่อเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการแบ่งหน้าที่ ของหน่วยงานที่ให้ความสําคัญกับการตอบสนองตามนโยบายของรัฐบาล ดังนั้นหน่วยงานราชการจึงมีการกําหนด หน้าที่ชัดเจน และมีการสรรหาและคัดเลือกบุคลากรตามหลักคุณธรรมและหลักความสามารถ

3 ระบบราชการพัฒนาอยู่ภายใต้อํานาจของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ทั้งระบบ ราชการและฝ่ายการเมืองต่างมีการพัฒนาไปพร้อม ๆ กันและมีการแบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจน โดยฝ่ายการเมือง มีหน้าที่ในการกําหนดหลักเกณฑ์และนโยบายของประเทศ และระบบราชการมีหน้าที่ในการบริหารงานตาม นโยบายของฝ่ายการเมือง ดังนั้นระบบราชการจึงไม่ค่อยมีโอกาสในการวางนโยบาย

4 ระบบราชการเน้นความเป็นวิชาชีพและมีความเป็นอาชีพ เช่นเดียวกับอาชีพอื่น ๆ เนื่องจากการทํางานในระบบราชการจะต้องส่งเสริมมาตรฐานคุณค่าในการปฏิบัติงาน เช่น มีการสรรหาบุคคล เข้าทํางานโดยการวัดจากความรู้ความสามารถ การจัดการฝึกอบรมเพื่อให้ผู้ปฏิบัติมีความรู้และความชํานาญ ในการทํางาน เป็นต้น

5 ข้าราชการให้ความสําคัญกับการปฏิบัติตามนโยบายเป็นสําคัญ แม้ว่าข้าราชการจะถูก ปลูกฝังให้เป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น แต่ก็ไม่ได้มีบทบาทต่อการนําเสนอทางนโยบายแต่อย่างใด

ลักษณะการบริหารรัฐกิจของประเทศกําลังพัฒนา

1 ลักษณะของการบริหารมีการลอกเลียนแบบมาจากระบบการบริหารของประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะประเทศตะวันตก มากกว่าจะเป็นลักษณะการบริหารที่มีรูปแบบเฉพาะของตน

2 หน่วยงานราชการขาดแคลนข้าราชการที่มีทักษะจําเป็นในการบริหารการพัฒนาประเทศ โดยข้าราชการส่วนใหญ่มักมีความรู้ทั่ว ๆ ไป (Generalist) มากกว่าที่จะเป็นผู้ชํานาญการเฉพาะด้าน (Specialist) และข้าราชการมีจํานวนมากแต่มีส่วนน้อยที่มีคุณภาพ จึงทําให้เกิดช่องว่างระหว่างอุปสงค์และอุปทานของกําลังคน ในระบบราชการอันสืบเนื่องมาจากแนวการปฏิบัติยึดติดกับระบบอุปถัมภ์

3 หน่วยงานราชการมุ่งเน้นกฎระเบียบหรือความเป็นพิธีการมากกว่าผลสําเร็จหรือ การบรรลุเป้าหมาย รวมทั้งให้ความสําคัญกับการทํางานตามสายการบังคับบัญชาอย่างเคร่งครัด ทําให้การทํางาน เกิดความล่าช้า (Red Tape)

4 แนวทางการปฏิบัติจริงขัดแย้งกับรูปแบบที่กําหนด หรือมีความแตกต่างระหว่าง ความคาดหวังกับความเป็นจริง ซึ่ง Riggs เรียกว่า “การรูปแบบ” หมายถึง สิ่งที่เป็นทางการแต่เพียงรูปแบบ (Formalism) แต่ในความเป็นจริงแล้วกลับนําเอาค่านิยมมาใช้เป็นแนวทางในการบริหารงาน

5 หน่วยงานราชการมีความเป็นอิสระในทางปฏิบัติ ปราศจากการควบคุมทางการเมือง ทําให้เกิดความใหญ่โตเทอะทะ และก้าวก่ายงานทางการเมือง

ความแตกต่างของการบริหารรัฐกิจในประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศกําลังพัฒนา

จากลักษณะของการบริหารรัฐกิจในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศกําลังพัฒนาตาม ข้อเสนอของเฮดดี้นั้น การบริหารรัฐกิจในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศกําลังพัฒนามีลักษณะที่แตกต่างกัน หลายประการ ดังนี้

1 ประเทศกําลังพัฒนามีการกําหนดโครงสร้างระบบราชการเช่นเดียวกับประเทศพัฒนาแล้ว แต่ในทางปฏิบัติกลับไม่มีบทบาทหน้าที่ชัดเจน มีการก้าวก่ายการทํางานระหว่างหน่วยงาน ทําให้ระบบราชการ ไม่มีประสิทธิภาพเหมือนประเทศพัฒนาแล้ว

2 การบริหารงานบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการสรรหา การคัดเลือก การเลื่อนขั้นเลื่อนตําแหน่ง ในประเทศพัฒนาแล้วจะเป็นไปตามระบบคุณธรรม แต่ประเทศกําลังพัฒนาจะเป็นไปตามระบบอุปถัมภ์ แม้ประเทศ กําลังพัฒนาบางประเทศ เช่น ประเทศไทย จะมีการกําหนดให้การบริหารงานบุคคลใช้ระบบคุณธรรม แต่ในทาง ปฏิบัติกลับใช้ระบบอุปถัมภ์ในการบริหารงานบุคคล

3 ข้าราชการประเทศพัฒนาแล้วเป็นผู้ชํานาญการเฉพาะด้าน แต่ข้าราชการประเทศ กําลังพัฒนาเป็นผู้มีความรู้ทั่ว ๆ ไป

4 ประเทศพัฒนาแล้วจะมีการแบ่งแยกหน้าที่ระหว่างฝ่ายการเมืองและฝ่ายข้าราชการ อย่างชัดเจน โดยฝ่ายการเมืองมีหน้าที่กําหนดนโยบาย ส่วนฝ่ายข้าราชการมีหน้าที่ปฏิบัติตามนโยบายที่ฝ่ายการเมือง กําหนด แต่ในประเทศกําลังพัฒนาบางประเทศข้าราชการมีอํานาจเหนือฝ่ายการเมืองและมีบทบาทอย่างมาก ในการกําหนดนโยบาย หรือในบางประเทศฝ่ายการเมืองมักเข้ามาก้าวก่ายงานของข้าราชการ ดังนั้นความสัมพันธ์ ระหว่างบทบาทหน้าที่ของฝ่ายการเมืองและฝ่ายข้าราชการในประเทศกําลังพัฒนาจึงไม่มีความชัดเจนเหมือน ประเทศพัฒนาแล้ว

 

ข้อ 3 จงอธิบายถึงความแตกต่างของลักษณะการบริหารรัฐกิจในส่วนของบทบาทของข้าราชการประเทศอังกฤษและญี่ปุ่นมาโดยละเอียด

แนวคําตอบ

. การบริหารรัฐกิจของประเทศอังกฤษมีลักษณะการบริหารแบบพลเรือน/พลเมือง (Civic Culture Administration/Civic Culture Model) ซึ่งเป็นรูปแบบการบริหารที่ให้ความสําคัญกับการเข้าไปมีส่วนร่วม ในทางการเมืองของประชาชน การยินยอมให้มีการกระจายอํานาจและยอมรับเสียงส่วนใหญ่ซึ่งมีสิทธิในอํานาจ การบริหารการปกครอง รวมทั้งการยินยอมให้มีการเปลี่ยนแปลงและยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ ๆ

ส่วนการบริหารรัฐกิจของประเทศญี่ปุ่นมีลักษณะการบริหารแนวใหม่ (Modern Model) ซึ่งเป็น รูปแบบการบริหารที่ผสมผสานระหว่างรูปแบบการบริหารของประเทศญี่ปุ่นเองกับรูปแบบการบริหารของประเทศ ตะวันตกหรือประเทศพัฒนาแล้ว จึงส่งผลให้ญี่ปุ่นมีลักษณะการบริหารรัฐกิจที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการเข้ามาเป็นตัวแทนการรับราชการ การมุ่งเน้นระบบคุณธรรมมากกว่าระบบอุปถัมภ์ การมุ่งเน้นการทํางาน ที่มีประสิทธิภาพบนพื้นฐานของความจงรักภักดีของข้าราชการตามกระแสชาตินิยม และการบริหารที่มีความสัมพันธ์ ใกล้ชิดกับการเมือง เนื่องจากฝ่ายการเมืองโดยมากมาจากกลุ่มข้าราชการระดับสูง ดังนั้นการบริหารรัฐกิจของ ประเทศอังกฤษและญี่ปุ่นจึงมีทั้งในส่วนที่เหมือนและแตกต่างกัน ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงความแตกต่างของบทบาท ข้าราชการของทั้งสองประเทศ

บทบาทของข้าราชการประเทศอังกฤษ

1 เป็น “ผู้รับใช้กษัตริย์” (Crown Servants) มิใช่ผู้รับใช้ประชาชน โดยในสายตาของสังคม – มองว่าอาชีพรับราชการเป็นอาชีพที่มีเกียรติ

2 เป็นผู้คุ้มครอง (Protector) โดยต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์อย่างเคร่งครัด

3 ปฏิบัติตามนโยบายของฝ่ายการเมือง โดยไม่ได้รับการยอมรับให้แสดงความคิดเห็นต่อฝ่ายการเมืองอย่างเปิดเผย คือ แสดงความคิดเห็นต่อฝ่ายการเมืองได้แต่ไม่เน้น การเปิดเผยตัว (Anonymity) เป็นลักษณะการปิดทองหลังพระ ดังนั้นความรับผิดชอบ ในนโยบายการเมืองจึงตกอยู่ที่ฝ่ายการเมือง

บทบาทของข้าราชการประเทศญี่ปุ่น

ข้าราชการประเทศญี่ปุ่นมีบทบาทเป็น “ผู้รับใช้องค์จักรพรรดิ” มิใช่ผู้รับใช้ประชาชน โดย ในสายตาของสังคมมองว่าข้าราชการเป็นอาชีพที่มีเกียรติสูงในวงสังคม น่ายกย่อง และจากการออกกฎหมาย ว่าด้วยระบบข้าราชการพลเรือน ค.ศ. 1947 ซึ่งพยายามให้สิทธิเสรีภาพแก่ข้าราชการพลเรือน ยิ่งทําให้ข้าราชการ มีบทบาทมากยากต่อการควบคุมโดยสภาได้

ข้าราชการระดับสูงของหน่วยงานราชการมีบทบาทต่อการริเริ่มและเสนอนโยบาย รวมทั้ง การสนับสนุนให้ดํารงตําแหน่งสําคัญ ๆ ทางการเมือง การเปลี่ยนอาชีพจากข้าราชการไปสู่อาชีพทางการเมือง ได้รับการยอมรับจากประชาชนญี่ปุ่นซึ่งก็คล้ายกับข้าราชการอังกฤษต่างกันตรงที่ข้าราชการอังกฤษมุ่งเน้น การปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย เพื่อรักษาไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยของสังคม ในขณะที่ข้าราชการญี่ปุ่น มุ่งอํานาจตัดสินใจในนโยบายของรัฐบาล ดังนั้นเป้าหมายของข้าราชการญี่ปุ่นจึงเพื่อครอบงําทางการเมือง มากกว่าอยู่ภายใต้อํานาจทางการเมืองเหมือนกับข้าราชการอังกฤษ

ความแตกต่างของบทบาทข้าราชการประเทศอังกฤษและญี่ปุ่น เมื่อเปรียบเทียบบทบาทของข้าราชการทั้งสองประเทศแล้ว จะเห็นได้ว่า แม้ข้าราชการ ประเทศอังกฤษและญี่ปุ่นจะมีบทบาทเป็น “ผู้รับใช้กษัตริย์” เหมือนกัน แต่ก็มีความแตกต่างอย่างชัดเจนในเรื่องของ บทบาทในการกําหนดนโยบาย กล่าวคือ ข้าราชการอังกฤษมีบทบาทเป็นผู้ปฏิบัติตามนโยบายที่ฝ่ายการเมือง กําหนด ไม่มีส่วนร่วมในการกําหนดนโยบายหรือมีก็อาจอยู่เพียงเบื้องหลัง ไม่สามารถแสดงความคิดเห็นต่อ ฝ่ายการเมืองได้อย่างเปิดเผย ซึ่งต่างจากข้าราชการประเทศญี่ปุ่นที่มีบทบาทในการกําหนดนโยบายอย่างมาก และมีอํานาจครอบงําทางการเมือง

 

ข้อ 4 จงอธิบายถึงลักษณะของหลักการบริหารงานบุคคลในประเทศอินเดียกับประเทศไทยมาโดยละเอียด

แนวคําตอบ

การบริหารงานบุคคลในประเทศอินเดีย

การบริหารงานบุคคลในประเทศอินเดียมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน โดยประเทศอินเดียมีการสรรหา และคัดเลือกข้าราชการโดยใช้ “ระบบคุณธรรม” ซึ่งเป็นผลมาจากการได้รับอิทธิพสรูปแบบการบริหารมาจาก ประเทศอังกฤษ จึงส่งผลให้ประเทศอินเดียมีการสรรหาและคัดเลือกข้าราชการที่เข้มงวดและจริงจัง ให้ความสนใจ รับคนที่จบมหาวิทยาลัย มีคณะกรรมการ Union Public Service Commission ในการรับสมัครและการคัดเลือก เป็นไปตามกฎหมายและกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด

การบริหารงานบุคคลในประเทศไทย

1  ประเทศไทยมีการสรรหาและคัดเลือกข้าราชการโดยใช้ “ระบบปิดภายใต้ระบบอุปถัมภ์” คือ มีการสรรหาและคัดเลือกข้าราชการจากตระกูลชั้นสูงโดยการเปิดสอบแข่งขันตามระบบคุณธรรม แต่ในทางปฏิบัติ กลับใช้ระบบอุปถัมภ์ ซึ่งประมาณ 15% ของข้าราชการชั้นสูงเป็นผู้สําเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัย มีเงินเดือน เป็นค่าตอบแทน มีการฝึกอบรมทั้งในและนอกประเทศ และมีหน้าที่ตามตําแหน่งอย่างมีระเบียบแบบแผน โดยโอกาสความก้าวหน้าในการเลื่อนตําแหน่งนั้นขึ้นอยู่กับความเห็นชอบของผู้บริหารในระดับสูง

สรุป แม้การบริหารงานบุคคลในประเทศอินเดียกับประเทศไทยจะมีลักษณะเหมือนกัน บางประการ เช่น ให้ความสนใจรับคนที่จบจากมหาวิทยาลัย รวมทั้งมีกฎระเบียบในการบริหารงานบุคคลอย่าง ชัดเจน แต่การบริหารงานบุคคลในประเทศอินเดียกับประเทศไทยก็มีลักษณะที่แตกต่างกัน กล่าวคือ ประเทศ อินเดียใช้ “ระบบคุณธรรม” ในการบริหารงานบุคคล จึงทําให้อินเดียได้คนดีมีความรู้ความสามารถเข้ามาทํางาน ทําให้การบริหารรัฐกิจมีประสิทธิภาพ และเกิดปัญหาเรื่องการทุจริตคอร์รัปชันในวงราชการน้อยกว่าประเทศไทย ซึ่งใช้ “ระบบอุปถัมภ์” ในการบริหารงานบุคคล

 

ข้อ 5 จงอธิบายถึงหลักการบริหารงานตามแนวคิดการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลมาโดยละเอียด

แนวคําตอบ

หลักการบริหารงานตามแนวคิดการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) มี 6 ประการ คือ

1 หลักการมีส่วนร่วมของสาธารณชน (Public Participation) คือ การให้ประชาชน ทุกคนมีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจและการบริหารอย่างเท่าเทียมกัน รวมถึงการให้เสรีภาพ แก่สื่อมวลชนและสาธารณชนในการแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์

2 หลักความสุจริตและโปร่งใส (Honesty and Transparency) คือ การกําหนด ระบบกติกาและการดําเนินงานที่เปิดเผย ตรงไปตรงมา ผู้เกี่ยวข้องและประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงและได้รับ ข้อมูลข่าวสารอย่างเสรี เป็นธรรม ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ

3 หลักพันธะความรับผิดชอบต่อสังคม (Accountability) คือ การมีความรับผิดชอบ ในบทบาทภาระหน้าที่ที่มีต่อสาธารณชน โดยมีการจัดองค์กรหรือการกําหนดกฎเกณฑ์ที่เน้นการดําเนินงาน เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มต่าง ๆ ในสังคมอย่างเป็นธรรม

4 หลักกลไกการเมืองที่ชอบธรรม (Political Legitimacy) คือ ผู้ที่เป็นรัฐบาลหรือ ผู้ที่มีบทบาทในการบริหารประเทศต้องชอบธรรมและเป็นที่ยอมรับของคนในสังคมส่วนรวม ทั้งในเรื่องความสุจริต ความเที่ยงธรรม และความสามารถในการบริหารประเทศ

5 หลักกฎเกณฑ์ที่ยุติธรรมและชัดเจน (Fair Legal Framework and Predictability) คือ การกําหนดกรอบในการปฏิบัติหรือกฎหมายที่เป็นธรรมและยุติธรรมสําหรับกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม ซึ่งกฎเกณฑ์ จะต้องเป็นที่เข้าใจตรงกัน มีประสิทธิภาพในการบังคับใช้ สามารถคาดหวังผลและรู้ถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อไม่ปฏิบัติ ตามกฎเกณฑ์ที่วางไว้

6 หลักประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Efficiency and Effectiveness) คือ ประสิทธิภาพ ในการดําเนินงานไม่ว่าจะเป็นด้านการจัดกระบวนการทํางาน การจัดองค์การ การจัดสรรบุคลากร และมีการใช้ ทรัพยากรสาธารณะต่าง ๆ อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม มีการดําเนินการและให้บริการสาธารณะที่ให้ผลลัพธ์ เป็นที่น่าพอใจและกระตุ้นการพัฒนาของสังคมทุกด้าน

Advertisement