การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3112 ความคิดทางการเมืองในพุทธศาสนา

Advertisement

คําสั่ง ข้อสอบเป็นแบบอัตนัยมี 4 ข้อ ให้นักศึกษาเลือกทําเพียง 3 ข้อ

ข้อ 1 “รัฐ” มีกําเนิดมาจากหลากหลายทฤษฎี จงยกทฤษฎีการเกิดรัฐที่ท่านเข้าใจมาอธิบายอย่างน้อย 3 ทฤษฎี

แนวคําตอบ

ทฤษฎีการกําเนิดของรัฐ

รัฐมีกําเนิดมาหลายพันปี อาจจะถึง 10,000 ปีมาแล้ว และหลักฐานทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ ก็ยืนยันไม่ได้ว่า รัฐกําเนิดขึ้นมาอย่างไร นักรัฐศาสตร์จึงตั้งทฤษฎีหรือสมมุติฐานของตนขึ้นมาอธิบายว่ารัฐกําเนิด ขึ้นมาอย่างไร ซึ่งมีหลายทฤษฎีด้วยกัน โดยในที่นี้จะกล่าวถึง 3 ทฤษฎี คือ ทฤษฎีเทวสิทธิ์ ทฤษฎีสัญญาประชาคม และทฤษฎีกําลังอํานาจ

1 ทฤษฎีเทวสิทธิ์ (The Divine Theory) ทฤษฎีนี้อาจเป็นทฤษฎีการกําเนิดรัฐที่เก่าแก่ ที่สุด โดยทฤษฎีนี้เชื่อว่าพระเจ้า (God) เป็นผู้ให้กําเนิดและสร้างรัฐขึ้นมาในอาณาจักรโบราณและชนเผ่าที่เก่าแก่จะมีความเชื่อว่า ผู้ปกครอง (Rulers) เป็นผู้สืบ เชื้อสายมาจากพระเจ้า พวกคริสเตียนยุคก่อนเชื่อว่า พระเจ้าสร้างรัฐขึ้นมาปกครองมนุษย์เพื่อลงโทษบาปที่มนุษย์ ได้กระทําไว้

ในสมัยกลางทฤษฎีเทวสิทธิ์ยังเป็นที่ยอมรับกัน แม้ว่าจะมีความขัดแย้งระหว่างสันตะปาบา (Pope) และจักรพรรดิโรมัน (Emperor) ในข้อที่ว่า ผู้ปกครองได้รับมอบอํานาจโดยตรงจากพระเจ้าหรือต้องผ่าน สันตะปาปา ต่อมาพวกที่สนับสนุนระบบกษัตริย์โดยเฉพาะพวกโปรเตสแตนต์ได้อ้างว่า กษัตริย์ได้รับอํานาจโดยตรง จากพระเจ้า จึงทําให้ทฤษฎีอํานาจเทวสิทธิ์ของกษัตริย์ (The Divine Right of Kings) เป็นที่ยอมรับ

ทฤษฎีอํานาจเทวสิทธิ์ทําให้กษัตริย์มีอํานาจมากจนสามารถรวบรวมนครรัฐต่าง ๆ เข้า ด้วยกันเป็นรัฐชาติได้ แต่ก็มีผลเสียที่ทําให้กษัตริย์ใช้อํานาจกดขี่ประชาชนอย่างรุนแรงโหดร้าย

2 ทฤษฎีสัญญาประชาคม (The Social Contract Theory) ทฤษฎีนี้ถือว่าประชาชนเป็น เจ้าของอํานาจอธิปไตย (Popular Sovereignty) โดยมีแนวความคิดว่า มนุษย์เป็นผู้ก่อตั้งรัฐ โดยวิธีการที่ปัจเจกชน (Iridividual) ยกอํานาจอธิปไตยที่ตนมีให้แก่ผู้ปกครองหรือรัฐบาลให้มาใช้อํานาจปกครองเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม ดูแลทุกข์สุขของประชาชน แต่ถ้าผู้ปกครองหรือรัฐบาลไม่ดี กดขี่ประชาชน ประชาชนทุกข์ยาก ประชาชนก็ยกเลิก สัญญาประชาคมได้ โดยลุกฮือขึ้นล้มล้างผู้ปกครองหรือรัฐบาลที่เลวร้ายนั้นได้

ทฤษฎีนี้ได้รับความนิยมในยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 17 – 18 เป็นอย่างมากจนทําให้ทฤษฎี เทวสิทธิ์หมดความน่าเชื่อถือลง จึงเกิดปฏิวัติล้มล้างระบอบกษัตริย์ในยุโรปอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส จนมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยและรัฐสภาขึ้นมาแทนที่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

นักทฤษฎีสัญญาประชาคมที่มีชื่อเสียงมี 2 ท่าน คือ

1) โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) เชื่อว่า แต่แรกนั้นมนุษย์ไม่ได้รวมกันอยู่ในสังคม แต่แยกกันอยู่ตามสภาพธรรมชาติ อยู่ภายใต้กฎธรรมชาติ ซึ่งไม่เหมาะสมกับความเจริญ เพราะมีลักษณะโดดเดี่ยว ยากจน โหดร้าย ไม่มีความรับผิดชอบ และไม่มีความยุติธรรมต้องต่อสู้เพื่อรักษาให้ชีวิตอยู่รอดโดยลําพัง มนุษย์จึง ตกลงทําสัญญาต่อกันให้มารวมอยู่ภายใต้การปกครองของผู้ที่มีอํานาจเข้มแข็งกว่า ซึ่งฮอบส์เห็นว่า การปกครอง

โดยกษัตริย์ที่มีอํานาจมากจะดีที่สุด และประชาชนไม่มีสิทธิที่จะยกเลิกสัญญา ไม่สามารถเรียกร้องอํานาจคืนจาก องค์อธิปัตย์ได้

2) จอห์น ล็อก John Locke) เห็นว่า สภาพธรรมชาติของมนุษย์ยังไม่สมบูรณ์เพราะ มนุษย์มีหน้าที่ตัดสินความผิดที่ตนทําด้วยตนเองจึงหาความยุติธรรมไม่ได้ ล็อกเสนอว่าควรมีการจัดตั้งสถาบันขึ้น 3 ประเภท คือ สภานิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และศาลยุติธรรม เพื่อให้ประชาชนได้รับความยุติธรรมที่สมบูรณ์

การที่จะให้ได้สถาบันทั้ง 3 ขึ้นมา มนุษย์ต้องสละสิทธิพิพากษาลงโทษของตน โดยยอม ยกสิทธินี้ให้องค์กรหนึ่งเป็นผู้นําแทนทุกคน แต่ต้องทําตามกฎเกณฑ์ที่สังคมกําหนด ขั้นตอนนี้ล็อกถือว่าเป็นสัญญา เมื่อเกิดมีสัญญาสังคมแล้ว สังคมและรัฐบาลก็เกิดขึ้นทันที

ล็อกมีความเห็นที่ต่างจากฮอบส์ในข้อที่ว่า สิทธิที่มอบให้รัฐบาลไปแล้ว สามารถเรียกคืน ได้ถ้ารัฐบาลหรือองค์อธิปัตย์เป็นทรราช ล็อกสนับสนุนให้เอกชนมีสิทธิในทรัพย์สิน ซึ่งเป็นการปกป้องสิทธิเสรีภาพ ส่วนบุคคลที่สําคัญ และได้เน้นว่าสังคมเกิดขึ้นมาได้เพราะการยินยอมโดยสมัครใจของสมาชิกของสังคม ซึ่งมีการ ปกครองโดยเสียงข้างมาก (Majority) โดยความคิดเห็นของล็อกเป็นพื้นฐานของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ในปัจจุบัน

3 ทฤษฎีกําลังอํานาจ ทฤษฎีนี้เชื่อว่า รัฐมีจุดเริ่มต้นจากการยึดครองและการบังคับโดย ผู้ที่แข็งแรงกว่าต่อผู้ที่อ่อนแอกว่า นักทฤษฎีนี้บางท่านเห็นว่า รากฐานของรัฐคือความอยุติธรรมและความชั่วร้าย ดังนั้นผู้ที่แข็งแรงกว่าจึงสามารถข่มเหงผู้ที่อ่อนแอกว่าได้ และได้สร้างกฎเกณฑ์ที่ดูเหมือนชอบด้วยกฎหมายใน การจํากัดสิทธิของบุคคลอื่น

นักรัฐศาสตร์ส่วนหนึ่งเห็นว่าการใช้กําลังอํานาจของรัฐเป็นสิ่งจําเป็น และกําลังสร้าง ความชอบธรรม (Might made Right) อํานาจคือความยุติธรรม และรัฐคืออํานาจสูงสุด มีฐานะสูงกว่าศีลธรรมจรรยา ทฤษฎีนี้มีส่วนทําให้เกิดระบอบการปกครองแบบเผด็จการในยุโรปหลายลัทธิ เช่น ลัทธินาซีเยอรมัน และลัทธิ ฟาสซิสต์อิตาลี เป็นต้น

 

ข้อ 2 “ธรรมราชา” คืออะไร ใครที่ได้รับการยกย่องให้เป็นธรรมราชาที่ยิ่งใหญ่ของโลก เขามีพฤติกรรมและนโยบายอย่างใด

แนวคําตอบ

ธรรมราชาคืออะไร

ธรรมราชา หมายถึง พระราชาผู้ทรงชนะโดยธรรม ไม่ใช่ชนะด้วยสงคราม หรือนักปกครอง ผู้ใช้ธรรมะในการเอาชนะศัตรู ไม่ใช้อาวุธหรือศาสตรา มีธรรมเป็นที่พึ่ง เป็นที่ยึดเหนี่ยวหรือเป็นเครื่องชี้นําใน การปกครองและดําเนินชีวิต

พระเจ้าอโศกมหาราช-ธรรมราชาในประวัติศาสตร์

พระพุทธเจ้าทรงยกตัวอย่างพระเจ้าจักรพรรดิที่เป็นธรรมราชาไว้ในจักกวัตติสูตร ซึ่งเป็น ธรรมราชาในอุดมคติ หาตัวตนจริงไม่พบ แต่ธรรมราชาที่มีตัวตนจริงอยู่ในประวัติศาสตร์ คือ “พระเจ้าอโศกมหาราช” หรือพระศรีธรรมโศกราช ซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือไตรภูมิพระร่วง ของพญาลิไท กษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์พระร่วง ของกรุงสุโขทัย

ประวัติของพระเจ้าอโศกมหาราชเป็นที่รู้กันแพร่หลายนับพันปีมาแล้ว เพราะมีหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์มากมาย โดยเฉพาะหลักศิลาจารึกที่กล่าวถึงพระจริยวัตรในการปกครองโดยธรรมของพระองค์ โดยมีประเด็นต่าง ๆ ที่แสดงถึงความเป็นธรรมราชาของพระเจ้าอโศกมหาราชดังนี้คือ

1 ธรรมวิชัย-ชัยชนะด้วยธรรม ธรรมวิชัย คือ การเอาชนะด้วยธรรม แทนที่การใช้ แสนยานุภาพ แต่เดิมพระเจ้าอโศกมหาราชไม่ได้ทรงนับถือพุทธศาสนา ทรงมีพระทัยดุร้ายมาก การขยายอาณาจักร ของพระองค์ทรงใช้แสนยานุภาพปราบปรามข้าศึกอย่างโหมเหี้ยม กองทัพของพระองค์ได้ชัยชนะแบบที่เรียกว่า เลือดท่วมท้องช้างหลังจากที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงหันมานับถือพุทธศาสนาแล้ว ก็ทรงเปลี่ยนแปลง พระองค์เป็นธรรมราชา และขยายอํานาจโดยใช้ธรรมวิชัยในการเอาชนะข้าศึก เช่น การใช้ธรรมโดยมิต้องใช้อาชญา มิต้องใช้ศาสตรา, การใช้กองทัพขู่ให้กลัวและยอมแพ้แล้วหันมาปฏิบัติธรรมตามแบบของพระองค์, การอบรมสั่งสอน ให้ประชาชนประพฤติธรรม, การประกาศธรรมอย่างกึกก้องแทนเสียงกลองศึก เป็นต้น

2 พุทธศาสนาภายในพระบรมราชูปถัมภ์ พระเจ้าอโศกมหาราชทรงอุปถัมภ์พุทธศาสนา อย่างเต็มที่ โดยที่สําคัญมี 2 ประเภท คือ

1) การอุปถัมภ์การสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 3 ซึ่งกระทําที่วัดอโศการาม กรุงปาตลีบุตร ประเทศอินเดีย โดยมีสาเหตุมาจากการที่มีพวกเดียรถีย์ หรือนักบวชศาสนาอื่นมาปลอมบวช แล้ว แสดงลัทธิศาสนาและความเห็นของตนว่าเป็นพระพุทธศาสนา ทําให้คําสอนและการประพฤติปฏิบัติของสงฆ์ บิดเบือนไป

2) การส่งสมณทูตออกเผยแผ่พุทธศาสนาไปในดินแดนต่าง ๆ เช่น คณะของ พระมหินทเถระ ซึ่งเป็นโอรสของพระเจ้าอโศกมหาราช ได้นําพระพุทธศาสนาเข้าไปเผยแผ่ในลังกาทวีปเป็นครั้งเเรก และคณะหนึ่งที่นําโดยพระโสณะเถระ และพระอุตตระเถระมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิโดยมี ศูนย์กลางที่นครปฐมในปัจจุบัน และได้สร้างพระปฐมเจดีย์ขึ้นเป็นเครื่องหมายแห่งการเผยแผ่ธรรมในดินแดน สุวรรณภูมิเป็นครั้งแรก

3 การยกย่องบูชาและอุปถัมภ์บํารุงศาสนา พระเจ้าอโศกมหาราชทรงเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี ดังนี้คือ

1) ทรงมีใจกว้างต่อศาสนาอื่น ไม่ทําลายล้างศาสนาฮินดูซึ่งเป็นความเชื่อของคนอินเดีย ทั่วไป และมิได้ทรงบังคับให้ประชาชนเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ

2) ทรงไม่สนับสนุนให้ยกย่องนักบวชของตนเองแล้วกล่าวร้ายนักบวชที่คนอื่นนับถือ

พระเจ้าอโศกมหาราชทรงให้ความสําคัญต่อนักบวชเป็นพิเศษ เพราะทรงเห็นว่านักบวช เป็นผู้ปฏิบัติธรรมและสั่งสอนธรรม โดยได้ทรงพระราชทานที่เพื่อปฏิบัติธรรมแก่พวกนักบวชหลายแห่ง นอกจากนี้ ยังทรงดูแลพุทธศาสนาเป็นพิเศษ เช่น ห้ามการแตกสามัคคีในหมู่สงฆ์ ทรงตั้งพระทัยจะรักษานักบวชที่ดี และ ขจัดนักบวชที่ไม่ดี

4 การสั่งสอนธรรมแก่ประชาชนทั้งที่อยู่ในและนอกอาณาจักร พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงตั้งพระทัยให้ประชาชนเจริญทางธรรมและเข้าถึงธรรม จึงทรงดําเนินการให้สั่งสอนธรรมแก่ประชาชนทั้งที่อยู่ ใกล้และที่อยู่ห่างไกล โดยทรงแสวงหาวิธีการส่งเสริมให้ประชาชนประพฤติธรรมหลายวิธี ได้แก่

1) การประกาศธรรมออกไปในทิศต่าง ๆ

2) การอบรมสั่งสอนธรรมแก่ประชาชน

3) การให้มหาดเล็กและข้าหลวงซึ่งปกครองคนจํานวนมากหลายแสนคนนั้นพูดชักชวน ให้ประชาชนเข้าถึงธรรม

4) การกําหนดให้ประชาชนฟังธรรม เป็นต้น

5 การเมตตาธรรมต่อมนุษย์และสัตว์ พระเจ้าอโศกมหาราชทรงมีเมตตาธรรมต่อมนุษย์ และสัตว์อย่างเปี่ยมล้น ดังจะเห็นได้จากการห้ามไม่ให้ปฏิบัติต่อนักโทษด้วยความชั่วร้ายทั้งหลาย คือ ด้วยความ เกลียดแกล้ง ด้วยความเหลื่อมล้ํา ด้วยความรุนแรง ด้วยความด่วนได้ ด้วยความละเลย ด้วยความเกียจคร้าน และ ด้วยความท้อถอย โดยทรงปล่อยนักโทษ 25 ครั้งใน 26 ปี ทรงยกเลิกการล่าสัตว์ส่วนพระองค์ ห้ามฆ่าสัตว์เพื่อบูชายัญ ห้ามประชาชนล่าสัตว์ ห้ามฆ่าสัตว์บางชนิด บางเวลา และการสร้างโรงพยาบาลสัตว์จํานวนมากทั่วประเทศอินเดีย

6 การตั้งธรรมอํามาตย์ พระเจ้าอโศกมหาราชทรงตั้งข้าราชการตําแหน่งใหม่ขึ้นมาชื่อว่า “ธรรมมหาอํามาตย์” มีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือพระองค์ในการบําเพ็ญธรรม ดูแลพระราชวงศ์ให้บําเพ็ญธรรม สั่งสอน ประชาชน และทํางานด้านสังคมสงเคราะห์

7 การปกครองแบบพ่อปกครองลูก พระเจ้าอโศกมหาราชทรงมีพระทัยรักและเสียสละ ให้ประชาชนเสมือนหนึ่งเป็นลูกของพระองค์ จึงทรงปกครองโดยธรรมได้อย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้แล้วยังทรงดูแล ข้าราชการให้รักประชาชนเหมือนลูกเช่นเดียวกัน

พระองค์ทรงห่วงใยและเอาใจใส่ดูแลทุกข์สุขของประชาชนอย่างยิ่ง จะเห็นได้จากการที่ พระองค์เปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีความทุกข์เข้าร้องทุกข์ได้ตลอดเวลาไม่ว่าจะทรงบรรทมหรือทรงเสวยอยู่ก็ตาม

กล่าวโดยสรุปคือ ธรรมราชา หมายถึง พระราชาผู้ทรงชนะโดยธรรม ไม่ใช่ชนะด้วยสงคราม โดยพระพุทธเจ้าทรงยกตัวอย่างพระเจ้าจักรพรรดิที่เป็นธรรมราชาไว้ในจักกวัตติสูตร ซึ่งเป็นธรรมราชาในอุดมคติ หาตัวตนจริงไม่พบ แต่ธรรมราชาที่มีตัวตนจริงอยู่ในประวัติศาสตร์ คือ “พระเจ้าอโศกมหาราช” หรือพระศรีธรรมโศกราช ซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือไตรภูมิพระร่วง ของพญาลิไท กษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์พระร่วงของกรุงสุโขทัย

จริยวัตรต่าง ๆ และนโยบายที่แสดงถึงความเป็นธรรมราชาของพระเจ้าอโศกมหาราช มีดังนี้ คือ ธรรมวิชัย ชัยชนะด้วยธรรม, พุทธศาสนาภายในพระบรมราชูปถัมภ์, การยกย่องบูชาและอุปถัมภ์บํารุงศาสนา, การสั่งสอนธรรมแก่ประชาชนทั้งที่อยู่ในและนอกอาณาจักร, การเมตตาธรรมต่อมนุษย์และสัตว์, การตั้งธรรมอํามาตย์ และการปกครองแบบพ่อปกครองลูก

 

ข้อ 3 จงเปรียบเทียบหลักการประชาธิปไตยกับหลักการของพุทธศาสนาว่า เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

แนวคําตอบ

หลักการประชาธิปไตยตะวันตกกับหลักการของพุทธศาสนามีความเหมือนกันในหลายประเด็น ดังนี้

1 หลักอํานาจอธิปไตยเป็นของประชาชน (Popular Sovereignty) อํานาจสูงสุดในการ ปกครองประเทศหรืออํานาจอธิปไตยนั้นเป็นของประชาชนทุกคนร่วมกัน ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอํานาจร่วมกัน ใช้อํานาจนี้จะทางตรงหรือทางอ้อมเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนเอง รวมทั้งอํานาจในการถอดถอนในกรณีที่มี การใช้อํานาจโดยมิชอบในพุทธศาสนาได้กล่าวถึงหลักอธิปไตย 3 ประการ คือ

1) อัตตาธิปไตย คือ การถือตน เป็นใหญ่

2) โลกาธิปไตย คือ ถือการถือโลกเป็นใหญ่

3) ธรรมาธิปไตย คือ การถือธรรมเป็นใหญ่ ซึ่งพุทธศาสนา มุ่งเน้นหลักธรรมาธิปไตยเป็นรูปแบบการปกครองที่ดีที่สุด

2 หลักสิทธิและเสรีภาพ

สิทธิ (Right) หมายถึง อํานาจหรือความสามารถที่จะทําอะไรได้ตราบใดที่ไม่ไปละเมิดสิทธิ ของผู้อื่น สิทธิบางอย่างเกิดมาตามธรรมชาติ เช่น สิทธิในชีวิตและร่างกายของตนเอง ตนจึงมีสิทธิที่จะเลี้ยงดู ปกป้องคุ้มครองชีวิตของตน สิทธิบางอย่างได้มาตามกฎหมาย เพราะกฎหมายกําหนดไว้ให้มีสิทธินั้น โดยในทาง การเมืองประชาชนก็มีสิทธิที่สําคัญหลายอย่าง เช่น สิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง (Election) สิทธิในการออกเสียง ประชามติ (Referendum) สิทธิเสนอร่างกฎหมาย (Initiative) และสิทธิ์ในการถอดถอนเจ้าหน้าที่ของรัฐออกจาก ตําแหน่ง (Recall) เป็นต้น

เสรีภาพ (Liberty) หมายถึง ความเป็นอิสระในการกระทําการต่าง ๆ ตราบใดที่ไม่ได้ ทําให้ผู้อื่นเสียหายหรือผิดกฎหมาย โดยในทางการเมืองนั้นเสรีภาพที่สําคัญที่จะบัญญัติรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ ได้แก่ เสรีภาพในการพูดและแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในการพิมพ์ เสรีภาพในการศึกษา และเสรีภาพในการจัดตั้ง สมาคมและพรรคการเมือง เป็นต้น

ในพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา โดยไม่ทรงบังคับให้ใคร เชื่อถือศรัทธาในศาสนาของพระองค์ แต่ทรงชี้ทางที่ถูกต้องให้เท่านั้น ใครจะทําตามหรือไม่นั้น ย่อมมีสิทธิเลือก นอกจากนั้นพระพุทธเจ้ายังให้เสรีภาพในการคิด เช่น พระองค์ทรงสอนพวกกาลามะ ให้ใช้วิจารญาณการพิจารณา ไตร่ตรองของตนเองให้ดีเสียก่อนจึงจะเชื่อตามหลักกาลามสูตร 10 ประการ รวมทั้งทรงสอนเรื่องศีล 5 คือ ไม่ให้ ฆ่าผู้อื่น ไม่ให้ลักทรัพย์ผู้อื่น ไม่ให้ล่วงละเมิดผู้อื่น เป็นต้น นับเป็นการแสดงให้เห็นถึงการรับรองสิทธิส่วนบุคคล ที่ผู้อื่นจะละเมิดมิได้

3 หลักความเสมอภาค (Equality) หมายถึง ความเท่าเทียมที่จะทําอะไรได้เหมือนกัน และได้รับการปฏิบัติเหมือนกันภายใต้กฎหมาย โดยในทางการเมืองก็มีความเสมอภาคที่สําคัญหลายอย่าง เช่น ความเสมอภาคในการเป็นมนุษย์เหมือนกัน ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย เด็กหรือผู้ใหญ่ คนรวยหรือคนจน ก็มีค่า แห่งความเป็นคนเหมือนกัน ย่อมมีศักดิ์ศรีเกียรติยศที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์เหมือนกัน

ความเสมอภาคทางการเมืองมีความสําคัญ คือ บุคคลจะได้รับความคุ้มครองหรียปฏิบัติ จากกฎหมายเสมอเหมือนกัน ความเสมอภาคทางการเมืองเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเมือง คือ คนที่มีภาวะหรือสภาพ เหมือนกัน ย่อมมีสิทธิทางการเมืองเสมอภาคกัน เช่น อายุ 18 ปีบริบูรณ์มีสิทธิเลือกตั้งเหมือนกันหมด เป็นต้น

ในพุทธศาสนา จะเห็นได้ชัดเจน เช่น ผู้หญิงก็สามารถเข้ามาบวชเป็นภิกษุณีได้เช่นเดียว กับผู้ชายที่ขอบวชเป็นภิกษุ, พระพุทธเจ้าทรงคัดค้านการแบ่งชั้นวรรณะตามศาสนาฮินดู โดยทรงให้ทุกวรรณะแม้แต่ จัณฑาลก็เข้าบวชในพุทธศาสนาได้ รวมทั้งพระองค์ทรงสอนว่าทุกคนมีความเสมอภาคกันหมดต่อกรรมดีและกรรมชั่ว ที่ตนทํา เป็นต้น

4 หลักการปกครองโดยกฎหมาย (Rule of Law) หมายถึง ผู้ปกครองจะใช้อํานาจใด ๆ ได้ ก็ต่อเมื่อมีกฎหมายให้อํานาจไว้ อีกทั้งการใช้อํานาจนั้นจะต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ซึ่งเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนเท่านั้น การจํากัดสิทธิเสรีภาพใด ๆ ของประชาชนจะต้องเป็นไปตาม เงื่อนไขของกฎหมายเท่านั้น ดังนั้นหลักการนี้มีขึ้นเพื่อมุ่งจะให้ความคุ้มครองแก่สิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของ ประชาชนเป็นสําคัญ

ในพุทธศาสนามีพระธรรมวินัยเป็นธรรมนูญหรือกฎหมายสูงสุด ซึ่งถือว่าเป็นหลักกฎหมาย ที่เป็นหลักปฏิบัติของสงฆ์ที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อหมู่คณะมีความสงบสุข เป็นต้น

5 หลักเสียงข้างมาก (Majority Rule) หมายถึง ในการตัดสินใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นการกําหนด ตัวผู้ปกครอง หรือการตัดสินใจของฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ จะต้องถือเอาเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ และเพื่อให้มั่นใจว่าการตัดสินนั้นสะท้อนถึงความต้องการของคนส่วนใหญ่อย่างแท้จริงก็ต้องให้ความเคารพและ คุ้มครองเสียงข้างน้อยด้วย (Minority Right) ทั้งนี้เพื่อประกันว่าฝ่ายเสียงข้างมากจะไม่ใช้มติในลักษณะพวกมากลากไป

ในพุทธศาสนาในการปกครองคณะสงฆ์ก็ใช้เสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ตัดสิน ฝ่ายใดได้รับ เสียงข้างมากสนับสนุน ฝ่ายข้างน้อยก็ปฏิบัติตาม แต่ทั้งนี้ต้องไม่ขัดกับพระธรรมวินัย เป็นต้น

ดังนั้นจากหลักการดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่าประชาธิปไตยตะวันตกและประชาธิปไตยใน พุทธศาสนามีความเหมือนกันในหลายประเด็น เช่น หลักอํานาจอธิปไตยเป็นของประชาชน หลักสิทธิและ เสรีภาพ หลักความเสมอภาค หลักการปกครองโดยกฎหมาย และหลักเสียงข้างมาก

 

ข้อ 4 จงยกหลักการพื้นฐานของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยมาอย่างน้อย 3 – 5 ข้อ โดยให้อธิบายถึงรายละเอียดมาพร้อมด้วย

แนวคําตอบ

หลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย

1 หลักความเสมอภาคและสิทธิ (Equalitarianism) เป็นความสํานึกที่ยึดมั่นว่า มนุษย์เรา มีความเสมอภาคเท่าเทียมกันโดยกําเนิดหรือโดยธรรมชาติ แม้ว่าจะมีผู้ทรงอํานาจที่อ้างสิทธิว่าตนเป็นผู้ที่พระเจ้า ส่งมาเกิดตามลัทธิเทวสิทธิ์ก็ตาม ผู้ที่มีความเชื่อในความเสมอภาคของมนุษย์ก็พยายามต่อสู้มาเป็นพันปี จนเป็นที่ ยอมรับกันและมีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร และรัฐธรรมนูญตามจารีตประเพณีอย่างของอังกฤษว่า มนุษย์เราเสมอภาคกัน

รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน พ.ศ. 2540 ของไทย ก็ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 30 วรรคแรกว่า “บุคคลย่อมเสมอภาคกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน”

วรรคสองว่า “ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน”

วรรคสามว่า “การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล เพราะเหตุแห่งความแตกต่าง ในเรื่องถิ่นกําเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพร่างกายหรือสุขภาพ สถานะ ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อ ทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญจะกระทํามิได้”

2 หลักเสรีภาพ (Libertarianism) เมื่อมนุษย์มีความเสมอภาคกัน ไม่ตกอยู่ภายใต้การกดขี่ กีดกันด้วยเหตุต่าง ๆ ตนก็มีอิสรเสรีที่จะทําอะไรก็ได้ตามที่ตนพอใจ โดยไม่ละเมิดกฎหมาย และไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพ ของผู้อื่น ทั้งนี้การที่จะได้มาซึ่งสิทธิเสรีภาพก็ต้องต่อสู้เรียกร้องช่วงชิงมาจากผู้ปกครองที่เป็นเผด็จการในรูปต่าง ๆ นับพันปี เช่น การประกาศสิทธิเสรีภาพครั้งแรกเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1688 โดยพระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิ (Bit of Right) ของรัฐสภาอังกฤษ

เสรีภาพที่สําคัญ ได้แก่ เสรีภาพในการพูด เสรีภาพในการเขียน เสรีภาพในการรวมกลุ่ม ทางการเมือง ตลอดจนสิทธิความเป็นเจ้าของ เช่น สิทธิในชีวิต และสิทธิในทรัพย์สิน เป็นต้น

3 หลักเหตุผลนิยม (Rationalism) ในอดีตมนุษย์ถูกปลูกฝังให้เชื่อถือในสิ่งที่นอกเหนือ ธรรมชาติ เช่น พระเจ้าและอํานาจปกครองที่สั่งการและบังคับให้เชื่อฟัง โดยไม่คิดถึงเหตุผลความสมควร และความเป็นจริง ทําให้มนุษย์ล้าหลังยอมรับในอํานาจอันไม่เป็นธรรมของผู้อื่น ต่อเมื่อคนเราหันมาเชื่อถือในสิ่งที่เป็น ธรรมชาติ เป็นวิทยาศาสตร์ หาเหตุผลสาเหตุความเป็นมาได้ก็ทําให้สติปัญญา ความรู้ ความสามารถของมนุษย์สูงขึ้น จนเกิดความเจริญรุ่งเรืองทางศิลปวิทยาการต่าง ๆ อันเป็นคุณประโยชน์ต่อโลกจนถึงปัจจุบัน

ส่วนเหตุผลในด้านการปกครองก็ทําให้การเชื่อฟังผู้มีอํานาจโดยไม่ไตร่ตรองหมดไป จนเกิดความกล้าที่จะตรวจสอบการกระทําและผลงานของผู้ปกครองซึ่งเป็นหลักการสําคัญของประชาธิปไตยอย่างหนึ่ง โดยความมีเหตุผลนี้เองที่สร้างให้เกิดระบอบประชาธิปไตยสมบูรณ์ขึ้น ไม่ให้ผู้ปกครองปกครองโดยใช้อารมณ์ และอํานาจอย่างไม่เป็นธรรม

4 หลักศีลธรรม (Moralism) ศีลธรรมเป็นแนวทางหรือข้อปฏิบัติในการควบคุมความ ประพฤติของมนุษย์ ศีลธรรมของชาวตะวันตกสืบเนื่องมาจากศาสนาคริสต์ที่สอนให้มีเมตตาไม่ประทุษร้ายกัน ปฏิบัติ ต่อกันเหมือนพี่น้อง (Brotherhood of Men) โดยศีลธรรมของบุคคลได้ขยายออกเป็นศีลธรรมของสังคมและการเมือง ผู้เข้ามามีส่วนร่วมในการเมืองการปกครองจะต้องมีจริยธรรม ศีลธรรม คุณธรรม และที่สําคัญคือจะต้องมีความ เป็นธรรมและยุติธรรม ไม่ใช้โอกาสในทางการเมืองมาทําการทุจริตประพฤติมิชอบ และนักการเมืองจะต้องมีความ ละอายต่อบาป การทําผิดศีลจะต้องได้รับโทษทั้งทางบ้านเมือง สังคม และต้องถูกประณาม

5 หลักการปกครองของประชาชนโดยประชาชน และเพื่อประชาชน (Government of the People, by the People and for the People) หลักการนี้เป็นส่วนหนึ่งของสุนทรพจน์ของประธานาธิบดี อับราฮัม ลินคอล์น (Abraham Lincoln) ที่ต้องการให้สหรัฐอเมริการวมเป็นหนึ่งเดียวหลังจากเกิดสงครามระหว่าง ฝ่ายเหนือกับฝ่ายใต้ โดยสุนทรพจน์ส่วนที่เป็นหลักประชาธิปไตยนี้มีข้อความที่สําคัญคือ

“บรรพบุรุษของเราได้ก่อตั้งชาติใหม่ขึ้นมาบนทวีปนี้ ด้วยมุ่งหวังในเสรีภาพ, และทุ่มเท อุทิศให้แก่หลักการที่ว่าคนทุกคนถูกสร้างให้เท่าเทียมกัน (หลักการ) ที่ว่ารัฐบาลของประชาชน, โดยประชาชน เพื่อประชาชน, จะไม่สูญหายไปจากโลก”

รัฐบาลของประชาชนนี้มีความหมายกว้าง ไม่ใช่หมายถึงเฉพาะว่า ประชาชนเป็นเจ้าของ การปกครอง แต่ประชาชนเป็นเจ้าของทุกอย่างไม่ว่า แผ่นดิน ท้องฟ้า น้ํา อากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ และสรรพชีวิต สรรพสิ่งในเขตแดนของประเทศรัฐบาลโดยประชาชน ก็หมายถึง ประชาชนมีอํานาจจัดตั้งรัฐบาลขึ้นมาด้วยรูปแบบต่าง ๆ เช่น เลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรง หรือเลือกผู้แทนราษฎรเข้ารัฐสภา แล้วรัฐสภาแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี และ คณะรัฐมนตรีมาบริหารประเทศ เมื่อตั้งรัฐบาลขึ้นมาแล้ว ประชาชนก็ต้องดูแลควบคุมตรวจสอบไม่ให้รัฐบาล เบี่ยงเบนไม่ทําหน้าที่อันสมควร ป้องกันไม่ให้รัฐบาลทุจริตประพฤติมิชอบ

รัฐบาลเพื่อประชาชน เป็นจุดมุ่งหมายของประชาธิปไตยที่สําคัญ คือ รัฐบาลต้องทําเพื่อ ประชาชน ไม่ใช่ทําเพื่อตัวเองหรือเพื่อองค์กรอื่นใด ประโยชน์สุขถือเป็นเป้าหมายสูงสุดของรัฐบาล เมื่อผู้ใดอาสา เข้ามาบริหารปกครองประเทศก็มีจุดหมายปลายทางที่ผลประโยชน์ของประชาชนเท่านั้น

Advertisement