POL2310 ทฤษฎีองค์การ 1/2561

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2310 ทฤษฎีองค์การ

คําสั่ง ข้อสอบมี 3 ข้อ

1 พฤติกรรมองค์การคืออะไร และมีปัจจัยอะไรบ้างที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมองค์การ จงอธิบายมาให้เข้าใจโดยละเอียด

แนวคําตอบ

ความหมายของพฤติกรรมองค์การ

Gibson, Ivancevich and Downelly ให้ความหมายว่า พฤติกรรมองค์การเป็นการศึกษา พฤติกรรมของมนุษย์ ทัศนคติ และผลการปฏิบัติงานภายในสภาพแวดล้อมขององค์การ โดยใช้ทฤษฎี วิธีการ และหลักการของวิชาสาขาจิตวิทยา สังคมวิทยา และมานุษยวิทยามาผสมผสานเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับการรับรู้ของคน ค่านิยม ความสามารถในการเรียนรู้ การกระทําต่าง ๆ ในขณะที่กําลังทํางานอยู่ในองค์การ รวมทั้งศึกษาวิเคราะห์ ผลกระทบของสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การที่มีผลต่อองค์การ ทรัพยากรบุคคล จุดมุ่งหมาย วัตถุประสงค์ และกลยุทธ์ต่าง ๆ ภายนอกด้วย

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมองค์การ ได้แก่

1 บุคลากร ซึ่งมีความแตกต่างกันในด้านความรู้ความสามารถ การรับรู้ การเรียนรู้ ทัศนคติ ค่านิยม และบุคลิกภาพ จึงส่งผลให้บุคลากรที่ทํางานในองค์การมีพฤติกรรมที่แตกต่างกัน และมีอิทธิพลต่อพฤติกรรม องค์การที่แตกต่างกันออกไปด้วย

2 โครงสร้าง หมายถึง การจัดกลุ่มงานเข้าด้วยกันตามจุดมุ่งหมายขององค์การและตาม หน้าที่ มีสายการบังคับบัญชา มีการจัดสรรอํานาจหน้าที่ระหว่างตําแหน่งหน้าที่การบริหารต่าง ๆ หรืออาจกล่าว ได้ว่า โครงสร้างเป็นแบบแผนของความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่าง ๆ ในองค์การที่สร้างขึ้นมา โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อสนับสนุนการดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์การให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้

โครงสร้างองค์การจะช่วยขจัดความไม่ชัดเจนต่าง ๆ ของบทบาทหน้าที่ ทําให้การปฏิบัติงาน ขององค์การสามารถบรรลุเป้าหมายที่กําหนดไว้ ก่อให้เกิดความร่วมมือในการทํางานในองค์การ การจัดองค์การ มีระเบียบขั้นตอนการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งแก้ปัญหาข้อบกพร่องในการดําเนินงานได้เป็นอย่างดี ดังนั้นโครงสร้างองค์การจึงเป็นพื้นฐานที่สําคัญในการบริหาร ถ้าองค์การมีโครงสร้างที่เหมาะสม มีการจัดโครงสร้าง ที่ชัดเจนสมดุลกับปริมาณงานที่มีอยู่ในองค์การแล้ว ก็จะช่วยให้การบริหารงานในองค์การประสบความสําเร็จ

3 เทคโนโลยี ถือเป็นปัจจัยที่มีบทบาทสําคัญในการทํางาน โดยในปัจจุบันมีการนํา เครื่องจักรมาใช้แทนที่คนงานระดับล่าง ทําให้การผลิตหรือการทํางานมีความรวดเร็วขึ้น การนําเทคโนโลยีมาใช้ใน การทํางานทําให้องค์การต้องมีการออกแบบองค์การใหม่ และบุคคลในองค์การจะต้องมีการฝึกฝนพัฒนาตนเอง เพื่อเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นองค์การจึงจําเป็นต้องมีการพัฒนา องค์การด้วยวิธีการดังนี้

1) การจัดการคุณภาพ (Total Quality Management หรือ TQM) เป็นการพัฒนา กระบวนการทํางานให้ต่อเนื่องกัน เพื่อลดความแตกต่างระหว่างผู้ปฏิบัติงานด้วยกัน ตลอดจนให้มีมาตรฐานใน การผลิตและการให้บริการในแนวเดียวกัน ซึ่งจะทําให้ต้นทุนในการผลิตลดลงและผลผลิตมีคุณภาพมากขึ้น

2) การรื้อปรับระบบ (Reengineering) เป็นการปรับระบบในองค์การโดยการคิดใหม่ ตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน มีการทํางานและกระบวนการใหม่ ๆ โดยนําเอาเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการทํางาน

3) ระบบการผลิตแบบยืดหยุ่น (Flexible Manufacturing System) เป็นระบบ การผลิตที่จะสามารถผลิตสินค้าที่มีปริมาณน้อย แต่ใช้ต้นทุนตําหรือมีต้นทุนต่อหน่วยเหมือนกับการผลิตจํานวนมาก ในการผลิตแบบนี้องค์การสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ โดยที่องค์การไม่จําเป็นที่จะต้องผลิตสินค้า ในปริมาณมากอีกต่อไป

4) การพ้นสมัยของคนงาน (Worker Obsolescence) หมายถึง ความสําคัญของ พนักงานลดลง เนื่องจากการนําเทคโนโลยีที่มีพัฒนาการที่สูงขึ้นเข้ามาใช้แทนที่ ทําให้งานมีลักษณะต้องทําซ้ำและทําเหมือนกันทุกวัน กลายเป็นงานที่มีความสําคัญมากยิ่งขึ้น เพราะเทคโนโลยีสมัยใหม่ทําให้งานกลายเป็นงาน ในระบบอัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยทําให้ผลผลิตมากขึ้นโดยการใช้พนักงานเพียงไม่กี่คน แต่เป็นพนักงานที่มีความชํานาญ ในการทํางานที่แตกต่างไปจากเดิม

4 สิ่งแวดล้อม เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อองค์การแตกต่างกันออกไป โดยสิ่งแวดล้อม ของการบริหารองค์การแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1) สิ่งแวดล้อมโดยทั่วไป เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อองค์การของรัฐทุก ๆ องค์การ มีลักษณะเป็นสิ่งแวดล้อมร่วมของสังคมที่ทุก ๆ หน่วยงานจะต้องเผชิญ เช่น ลักษณะของวัฒนธรรมประเพณี ค่านิยมของคนในชาติ สภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การศึกษา ภูมิศาสตร์ของประเทศ เป็นต้น

2) สิ่งแวดล้อมที่มีลักษณะเฉพาะ เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลโดยตรงและมักจะมีความ สัมพันธ์ต่อองค์การในลักษณะที่ค่อนข้างเป็นทางการ เช่น จํานวนทรัพยากรที่จําเป็นเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการ บริหารงานในหน่วยงานนั้น ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานนั้น ๆ กับองค์การอื่น ๆ ในสังคม

 

ข้อ 2 จงอธิบายถึงมิติของโครงสร้างองค์การว่าประกอบไปด้วยมิติใดบ้างตามข้อเสนอของ Mintzberg

แนวคําตอบ

1 Strategic Apex คือ ผู้บริหารระดับสูง เป็นผู้มีบทบาทสําคัญในการกําหนดกลยุทธ์ และนโยบาย หรือทิศทางขององค์การ

2 Middle Line คือ ผู้บริหารระดับกลาง มีหน้าที่คอยประสานระหว่างผู้บริหารระดับสูง กับผู้ปฏิบัติในระดับล่าง ซึ่งในปัจจุบันผู้บริหารระดับกลางถูกลดบทบาทลงและมีจํานวนน้อยลงเรื่อย ๆ โดยเฉพาะ ในองค์การภาคเอกชน แต่ในทางตรงข้ามองค์การภาครัฐกลับมีคนกลุ่มนี้จํานวนมาก

3 Operating Core คือ ผู้ปฏิบัติการในระดับล่าง เป็นกลุ่มคนที่มีความสําคัญในกระบวนการ เจิต โดยมีหน้าที่ในการผลักดันให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายขององค์การ ซึ่งผู้ปฏิบัติการในระดับล่างนี้ถือเป็น ส่วนของโครงสร้างที่มีจํานวนมากที่สุดและมีโอกาสเปลี่ยนแปลงบ่อยที่สุดในองค์การ

4 Technostructure คือ ผู้เชี่ยวชาญในด้านเทคนิคการดําเนินงานขององค์การ เช่น วิศวกร โปรแกรมเมอร์ นักบัญชี นักเทคนิคการแพทย์ นักวิจัยการตลาด เป็นต้น

5 Support Staff คือ ฝ่ายอํานวยการ มีหน้าที่อํานวยความสะดวกแก่ฝ่ายงานหลัก เช่น ฝ่ายบุคคล ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ฝ่ายธุรการ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เป็นต้น

ทั้งนี้ Mintzberg ได้ให้ข้อสังเกตไว้ว่า มิติที่จัดว่าเป็นส่วนของ “สายงานหลัก” ขององค์การ จะประกอบไปด้วยส่วนที่ 1, 2 และ 3 เท่านั้น ส่วนมิติที่ 4 และ 5 เป็นเพียง “ฝ่ายสนับสนุน” ไม่มีบทบาทตาม สายการบังคับบัญชาชัดเจน ซึ่งบางองค์การอาจใช้บุคคลภายนอกมาปฏิบัติงานแทน

 

ข้อ 3 ให้นักศึกษาอธิบายและเปรียบเทียบความเหมือนและความต่างของแนวคิดวิทยาศาสตร์การจัดการของเทเลอร์ (Frederick W. Taylor) กับแนวคิดหลักการบริหารของฟาโยล (Henri Fayol)

แนวคําตอบ

แนวคิดวิทยาศาสตร์การจัดการของเทเลอร์ (Frederick w. Taylor) เทเลอร์เสนอหลักวิทยาศาสตร์การจัดการ (Scientific Management) เพื่อปรับปรุงวิธีการ ทํางานของคนงานให้มีประสิทธิภาพ โดยเทเลอร์เสนอให้ฝ่ายจัดการหรือฝ่ายบริหารมีหน้าที่ดังนี้

1 สร้างหลักการทํางานหรือวิธีการทํางานที่ดีที่สุด (One Best Way) เพื่อใช้สําหรับการทํางานตามขั้นตอนต่าง ๆ ของงานแทนหลักความเคยชินซึ่งคนงานเคยใช้ปฏิบัติกันสืบมา

2 การคัดเลือกคนงานตามกฎเกณฑ์วิทยาศาสตร์เพื่อให้ได้คนที่เหมาะสมกับงานแต่ละประเภท โดยฝ่ายจัดการมีหน้าที่มอบหมายประเภทของงานที่คนงานแต่ละคนถนัดที่สุดและทํางานได้ดีที่สุด

3 พัฒนาคนงานโดยการสอนให้คนงานสามารถทํางานได้อย่างถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ – การจัดการ

4 สร้างบรรยากาศการร่วมมือในการทํางานอย่างฉันมิตรระหว่างฝ่ายจัดการและฝ่ายคนงาน

การพัฒนาสร้างเกณฑ์การทํางานตามหลักวิทยาศาสตร์นั้นอาศัยการทดลองอย่างละเอียดตาม หลักของการศึกษาเรื่องเวลาและการเคลื่อนไหว (Time and Motion Study) เพราะเชื่อว่าหากมีการออกแบบงาน ให้มีการเคลื่อนไหวร่างกายของคนงานให้น้อยที่สุด และมีเวลาการทํางานน้อยที่สุด จะนําไปสู่ประสิทธิภาพสูงสุด ในการทํางาน

แนวคิดหลักการบริหารของฟาโยล (Henri Fayol) ฟาโยล ได้เสนอหลักการบริหารทั่วไป 14 ประการ ได้แก่

1 การมีเอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command)

2 การมีเอกภาพในการสั่งการ (Unity of Direction)

3 การแบ่งงานกันทํา (Division of Work)

4 การรวมอํานาจไว้ที่ส่วนกลาง (Centralization)

5 อํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบ (Authority and Responsibility) 6 ความเสมอภาค (Equity)

7 สายการบังคับบัญชา (Scalar Chain)

8 การให้ผลประโยชน์ตอบแทน (Remuneration)

9 การมีระเบียบข้อบังคับ (Order)

10 ความมีระเบียบวินัย (Discipline)

11 ความคิดริเริ่ม (Initiative)

12 ผลประโยชน์ของบุคคลควรจะเป็นรองจากผลประโยชน์ส่วนรวม (Subordination of Individual Interest to the General Interest)

13 ความมั่นคงในหน้าที่การงาน (Stability of Tenure of Person)

14 ความสามัคคีเป็นน้ําหนึ่งใจเดียวกัน (Esprit de Corps)

 

นอกจากนี้ฟาโยลยังได้เสนอกระบวนการบริหารของนักบริหารไว้ 5 ประการ หรือเรียกว่า “POCCC” ประกอบด้วย

1 P = Planning คือ การวางแผน

2 0 = Organizing คือ การจัดองค์การ

3 C = Commanding คือ การบังคับบัญชา

4 C = Coordinating คือ การประสานงาน

5 C = Controlling คือ การควบคุมงาน

หลักการบริหารของฟาโยลเป็นหลักการบริหารสากลที่สามารถนํามาใช้ได้กับองค์การทุกประเภท และนับเป็นหลักการของทฤษฎีที่สมบูรณ์ครั้งแรกที่ช่วยให้ผู้บริหารสามารถวางระเบียบแบบแผนและหลักเกณฑ์ ที่จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถรวบรวมทรัพยากรต่าง ๆ และบุคคลเข้ามารวมอยู่ในองค์การให้สามารถทํางานโดยมี ประสิทธิภาพจนบรรลุเป้าหมายที่กําหนดได้

เปรียบเทียบความเหมือนและความต่างของแนวคิดวิทยาศาสตร์การจัดการของเทเลอร์ กับแนวคิดหลักการบริหารของฟาโยล

ความเหมือน ทั้งสองแนวคิดต่างเป็นแนวคิดในยุคคลาสสิก ซึ่งมีจุดเน้นที่สําคัญ เช่น 1 เน้นประสิทธิภาพในการทํางาน

2 มององค์การในระบบปิด คือ มองเฉพาะเรื่องปัจจัยภายในองค์การ ละเลยเรื่องของปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ

3 มองคนเป็นสัตว์เศรษฐกิจ คือ คนทํางานเพราะต้องการผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจ เช่น เงินเดือน โบนัส เป็นสําคัญ

4 เน้นการแบ่งงานกันทําตามความชํานาญเฉพาะด้าน ความต่าง

หน่วยในการวิเคราะห์ทั้งสองแนวคิดแตกต่างกัน โดยเทเลอร์มุ่งเน้นการค้นหาวิธีการทํางาน ที่ดีที่สุดในการทํางานของกลุ่มคนงานในโรงงาน แต่ฟาโยลให้ความสําคัญกับการกําหนดหลักการบริหารสําหรับนักบริหาร

POL2310 ทฤษฎีองค์การ 2/2557

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2310 ทฤษฎีองค์การ

คําสั่ง ข้อสอบมี 4 ข้อ ให้ทําทุกข้อ ๆ

ข้อ 1 จงอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับการจัดการมีอะไรบ้าง จงอธิบายมาโดยละเอียด

แนวคําตอบ

องค์การ หมายถึง การที่คนมารวมตัวกันเพื่อเข้าทํางานโดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกันและต้องการ ที่จะทํางานให้บรรลุวัตถุประสงค์ ซึ่งระบบย่อยขององค์การ ประกอบด้วย เป้าหมาย/วัตถุประสงค์ คน โครงสร้าง เทคนิค และความรู้ข้อมูลข่าวสาร

การจัดการ หมายถึง การดําเนินงานของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปเพื่อที่จะให้บรรลุวัตถุประสงค์ ที่ได้ตั้งเอาไว้ร่วมกัน โดยคํานึงถึงการจัดสรรทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพเข้าช่วย ซึ่งกระบวนการจัดการ ประกอบด้วย การวางแผน การประสานงาน การจัดองค์การ การตัดสินใจ และการควบคุมงาน

ความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับการจัดการ มีดังนี้

1 ความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมาย/วัตถุประสงค์กับการวางแผน หมายถึง เมื่อกําหนด เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ขององค์การแล้ว ก็ต้องหาหนทางเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้น โดยนักบริหารจะต้อง นําความรู้ในวิชาการวางแผนมาใช้ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับขั้นตอน 4 ขั้นตอน คือ

1) การกําหนดเป้าหมาย

2) การอธิบายสถานการณ์ปัจจุบัน

3) การหาเครื่องมือที่จะมาช่วย พร้อมทั้งตระหนักถึงปัญหาและอุปสรรคในการ บรรลุเป้าหมาย

4) การพัฒนาทางเลือกที่จะบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์

2 ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับการประสานงาน หมายถึง นักบริหารต้องมีภาวะผู้นํา และมีความรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นํา เพื่อจูงใจให้กลุ่มคนมาบริหารองค์การให้บรรลุเป้าหมาย นอกจากนี้ผู้บริหารต้อง มีความสามารถในการสื่อข้อความ เพราะการสื่อข้อความจะช่วยให้เข้าใจงานและสามารถทํางานได้ง่ายขึ้น รวมทั้ง ช่วยให้เกิดประสิทธิผลที่ดี

3 ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างกับการจัดองค์การ หมายถึง การจัดองค์การเพื่อให้ องค์การมีโครงสร้างที่เหมาะสม ซึ่งพิจารณาจากเกณฑ์ดังต่อไปนี้

1) ปัญหารอบด้านขององค์การ

2) กระบวนการปฏิบัติงานที่มีความรวดเร็ว

3) การจัดสรรคนให้เหมาะสมกับโครงสร้างขององค์การ

4) การติดต่อและการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลภายในองค์การที่สอดคล้องกับโครงสร้างองค์การ

5) การจัดโครงสร้างองค์การที่เอื้ออํานวยต่อการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีความยืดหยุ่น และจูงใจให้คนมีความเอาใจใส่ต่อการทํางาน

6) การปกครองบังคับบัญชาทุกระดับมีความสอดคล้องกัน

7) การให้อํานาจหน้าที่กับผู้รับผิดชอบที่เหมาะสมในการจัดโครงสร้างองค์การ

8) การจัดโครงสร้างให้สอดคล้องกับนโยบาย

9) การแบ่งส่วนงานที่มีความเหมาะสม

4 ความสัมพันธ์ระหว่างเทคนิคกับการตัดสินใจ หมายถึง เทคนิคการบริหารจะเป็น ประโยชน์ที่ทําให้องค์การปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมาย ซึ่งเทคนิคทางการบริหารมี 2 รูปแบบ คือ การตัดสินใจที่ใช้อยู่ เป็นประจํา (Programmed Decision-Making) และการตัดสินใจที่ไม่เกิดบ่อยนัก (Nonprogrammed Decision Making) ดังนั้นนักบริหารจะต้องรู้จักหลักการตัดสินใจในโอกาสต่าง ๆ เช่น

1) การตัดสินใจภายใต้ภาวะที่แน่นอน (Certainty) คือ การตัดสินใจที่ทราบผลในแต่ละทางเลือก

2) การตัดสินใจในภาวะที่มีความเสี่ยง (Risk) คือ การตัดสินใจที่ทราบความเป็นไปของผลในแต่ละทางเลือก

3) การตัดสินใจในภาวะที่ไม่แน่นอน (Uncertainty) คือ การตัดสินใจที่ไม่ทราบความเป็นไปของผลที่เกิดขึ้น

5 ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ข้อมูลข่าวสารกับการควบคุมงาน หมายถึง นักบริหาร จะต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารในการกําหนดนโยบายและการนํานโยบายไปสู่การปฏิบัติ รวมทั้งในการควบคุมงาน ทุกประเภทเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย โดยนักบริหารจะต้องใช้ระบบการควบคุมเพื่อตรวจสอบว่าการบริหารงานในองค์การ เป็นไปตามที่กําหนดไว้ในแผนหรือไม่ ซึ่งการควบคุมงานจะทําให้องค์การสามารถปฏิบัติงานต่อไปได้อย่างราบรื่น

 

ข้อ 2 จากแนวคิดของนักทฤษฎีองค์การทําให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนได้นําแนวคิดต่าง ๆ เหล่านี้ไปปฏิบัติ ดังนั้นจึงให้นักศึกษาเลือกนําเสนอนักคิด 3 ท่านพร้อมอธิบายผลงานมาโดยละเอียด

แนวคําตอบ

1 Max Weber

Weber นักทฤษฎีองค์การชาวเยอรมัน ได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาของระบบราชการ” เขาเสนอว่า การจัดองค์การแบบระบบราชการ (Bureaucracy) เป็นวิธีการจัดองค์การที่มีประสิทธิภาพเหนือกว่า วิธีอื่นใด ซึ่งลักษณะขององค์การแบบระบบราชการมีดังนี้

1 มีการควบคุมกันโดยการแบ่งลําดับชั้นของการบังคับบัญชา (Hierarchy)

2 การปฏิบัติงานทุกขั้นตอนเป็นไปตามกฎระเบียบ (Rule and Regulation) 3 มีการจัดคนที่มีความรู้ความชํานาญเข้าด้วยกัน (Specialization)

4 มีการบริหารงานโดยไม่อาศัยเรื่องส่วนตัว (Impersonality)

5 เน้นการยึดถือความสามารถทางวิชาการ (Technical Competence)

6 เน้นความสําคัญของการพัฒนาบุคคล (Training and Development)

7 แยกผลประโยชน์ส่วนตัวออกจากองค์การ (Individual Interest, Official)

 

จุดเด่นของแนวคิดของ Weber ได้แก่

1 เป็นการควบคุมโดยอาศัยการจัดโครงสร้างการบังคับบัญชาลดหลั่นกันลงมา

2 ไม่สนใจตัวบุคคล

3 เน้นที่ตัวบทกฎหมายและความมีเหตุผลเพื่อการบรรลุเป้าหมายขององค์การอย่างมีประสิทธิภาพ

4 เน้นความสําคัญของโครงสร้าง ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม สนใจแต่การบริหารภายในองค์การ

ข้อดีจากแนวคิดของ Weber ได้แก่

1 องค์การมีประสิทธิภาพในการทํางาน (Efficiency)

2 มีความเสมอภาค (Equity)

ข้อเสียจากแนวคิดของ Weber ได้แก่

1 เกิดความแปลกแยกต่อองค์การ งาน และกฎระเบียบ (Alienation)

2 เกิดความเฉื่อยชา ไม่มีประสิทธิภาพ

3 เกิดความล่าช้า (Red Tape)

4 เกิดความไม่คล่องตัว (Rigidity)

5 เน้นความสําคัญของกฎ ระเบียบ และข้อบังคับมากเกินไป จนมองข้ามความสําคัญในด้านอื่น

6 แบ่งแยกงานกันตามความถนัดมากจนเกินไป

7 ขาดการประสานงาน (Lack of Coordination)

8 มีการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง (Resistance to Change)

นอกจากนี้ Weber ยังได้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับการครอบงํา (Domination) โดยเห็นว่า ผู้นํา หรือนักบริหารจะบริหารงานให้มีประสิทธิภาพได้ขึ้นอยู่กับการที่ผู้ใต้บังคับบัญชายินยอมที่จะปฏิบัติตาม และ ต้องมีระบบการบริหารมาดําเนินการให้คําสั่งมีผลใช้บังคับได้ ซึ่งลักษณะของการครอบงํา มี 3 รูปแบบ คือ

1 การครอบงําโดยอาศัยจารีตประเพณี (Traditional Domination)

2 การครอบงําโดยใช้บารมี (Charismatic Domination)

3 การครอบงําโดยวิธีกฎหมายและการมีเหตุผล (Legal Domination)

  1. Luther Gulick และ Lyndall Urwick

Gulick และ Urwick ได้รวบรวมแนวคิดทางด้านการบริหารต่าง ๆ ไว้ในหนังสือชื่อ “Paper on the Science of Administration : Note on the Theory of Organization” โดยเสนอแนวความคิด กระบวนการบริหารที่เรียกว่า “POSDCORB” ซึ่งเป็นหน้าที่สําคัญของนักบริหาร 7 ประการ ได้แก่

1 P = Planning คือ การวางแผน เป็นการวางเค้าโครงกิจกรรมซึ่งเป็นการเตรียมการ ก่อนการลงมือปฏิบัติเพื่อให้การดําเนินการบรรลุเป้าหมายที่กําหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ

2 0 = Organizing คือ การจัดองค์การ เป็นการกําหนดโครงสร้างขององค์การโดย พิจารณาให้เหมาะสมกับงาน เช่น การแบ่งงานเป็นกรม กอง หรือแผนก โดยอาศัยปริมาณงาน คุณภาพของงาน หรือจัดตามลักษณะเฉพาะของงาน นอกจากนี้อาจพิจารณาในแง่ของการควบคุม หรือพิจารณาในแง่ของ หน่วยงาน เช่น หน่วยงานหลัก และหน่วยงานที่ปรึกษา เป็นต้น

3 S = Staffing คือ การจัดหาบุคลากรมาปฏิบัติงาน เป็นเรื่องเกี่ยวกับการบริหาร ทรัพยากรมนุษย์ในองค์การนั่นเอง ทั้งนี้เพื่อให้ได้บุคลากรมาปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับ การจัดแบ่งหน่วยงานที่กําหนดเอาไว้

4 D = Directing คือ การอํานวยการ เป็นภารกิจในการใช้ศิลปะในการบริหารงาน เช่น ภาวะผู้นํา มนุษยสัมพันธ์ การจูงใจ และการตัดสินใจ เป็นต้น

5 C – Coordinating คือ การประสานงาน เป็นการประสานให้ส่วนต่าง ๆ ของ กระบวนการทํางานมีความต่อเนื่องกัน เพื่อให้การดําเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและราบรื่น

6 R = Reporting คือ การรายงาน เป็นกระบวนการและเทคนิคของการรายงาน ให้ผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้นได้ทราบถึงผลการปฏิบัติงาน โดยมีความสัมพันธ์กับการติดต่อสื่อสารในองค์การ อยู่ด้วย

7 B = Budgeting คือ การงบประมาณ เป็นภารกิจที่เกี่ยวกับการวางแผนการทําบัญชี การควบคุมเกี่ยวกับการเงินและการคลัง

สาระสําคัญของแนวคิด POSDCORB คือ “ประสิทธิภาพ” ซึ่ง Gulick และ Urwick เห็นว่า ประสิทธิภาพเป็นเรื่องที่สําคัญที่สุดของการบริหาร และเพื่อให้การบริหารงานในทุกหน่วยงานมีประสิทธิภาพ จะต้องมีการแบ่งงานตามความเหมาะสมและความจําเป็นหรือความถนัดของคนงาน โดยแบ่งหน่วยงานออก ตามกระบวนการ วัตถุประสงค์ ลูกค้า และพื้นที่ ซึ่งทุกหน่วยงานจะต้องจัดรูปแบบองค์การเป็นรูปสามเหลี่ยม พีระมิด และมีสายการบังคับบัญชาที่ลดหลั่นกันลงมา

3 Douglas Murray McGregor

ไว้ในหนังสือชื่อ “The Human Side of Enterprise” โดยมีฐานคติในการมองคนในองค์การ 2 แบบ คือ

1 ทฤษฎี X ถือว่า

– คนทั่วไปเกียจคร้าน ชอบเลี่ยงงาน

– ขาดความกระตือรือร้น ไม่มีความรับผิดชอบ

– เห็นแก่ตัวเพิกเฉยต่อความต้องการขององค์การ

2 ทฤษฎี Y ถือว่า

– คนชอบทํางาน ไม่ได้เกียจคร้าน

– การควบคุมภายนอกไม่ใช่วิถีทางที่จะได้มาซึ่งงาน คนสามารถที่จะหาแนวทางและควบคุมตนเองได้

– ความพึงพอใจที่ได้ปฏิบัติงานตามศักยภาพเป็นรางวัลที่มีความสําคัญที่จะทําให้คนมีความรู้สึกผูกพันกับองค์การ

– คนโดยทั่วไปจะเรียนรู้เพื่อแสวงหาความรับผิดชอบต่อไป

– คนส่วนใหญ่อาศัยภาวะสร้างสรรค์ในการแก้ไขปัญหาในองค์การ

ทฤษฎี Y คือ “ภาพพจน์ของคน” ในแนวมนุษยสัมพันธ์ ซึ่งเชื่อว่าโดยธรรมชาติมนุษย์เป็นคนดี ดังนั้นคนจึงควรควบคุมตนเองได้ การควบคุมตนเองหมายถึงการปรับปรุงองค์การในเรื่องต่าง ๆ เช่น การกระจายอํานาจ การมอบอํานาจหน้าที่ การขยายงาน การมีส่วนร่วม และการบริหารงานโดยยึดเป้าหมาย จึงเห็นได้ว่าข้อเสนอ การปรับปรุงของ McGregor เป็นการย้ําให้เห็นความสําคัญของคน และช่วยให้คนหลุดพ้นจากการควบคุมของ องค์การ ซึ่งเป็นค่านิยมหลักของมนุษย์ที่เห็นว่าคนมาก่อนองค์การ

การมองคนในองค์การตามทฤษฎี X และทฤษฎี Y ของ McGregor ช่วยให้เราแยกแยะคนได้ ทําให้เรารู้ว่าใครเป็นเพื่อนที่ดีหรือนายที่ดี ซึ่งการมองแบบนี้เรียกว่า “Polarization” แต่ในสภาพความเป็นจริง เราไม่สามารถบอกได้ว่าคนไหนเป็นประเภท X หรือประเภท Y แต่อาจจะบอกได้ว่าค่อนข้างไปทาง X หรือ Yมากกว่า ดังนั้นการมองคนเป็น Polarization จึงเป็นจุดอ่อนอย่างหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามก็ถือว่าทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีแรกที่ช่วย ทําให้สามารถจําแนกประเภทของคนได้

 

ข้อ 3 จงอธิบายเปรียบเทียบถึงความสอดคล้องของผลงานของนักคิดกลุ่มพฤติกรรมศาสตร์ โดยยกตัวอย่างผลงานมาอย่างน้อย 2 คน

แนวคําตอบ

นักคิดกลุ่มพฤติกรรมศาสตร์ เป็นกลุ่มที่ทําการศึกษาพฤติกรรมในองค์การ คือ ศึกษาเรื่อง ของการกระทําและการแสดงออกของมนุษย์ในองค์การทั้งในระดับบุคคลและกลุ่มบุคคล ตัวอย่างของนักคิด กลุ่มพฤติกรรมศาสตร์ที่สําคัญ ได้แก่ Abraham Maslow, Clayton Alderfer, Douglas Murray McGregor, Frederick Herzberg, McClelland เป็นต้น

ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างผลงานของ Abraham Maslow และ Frederick Herzberg มาอธิบาย

1 ซึ่งนักคิดทั้งสองท่านนี้มีแนวคิดที่สอดคล้องกัน

Abraham Maslow

Maslow ได้เสนอ “ทฤษฎีความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ 5 ประการ” (Five Basic Needs Theory) โดยเห็นว่า ผู้บริหารจะสามารถสร้างแรงจูงใจแก่พนักงานได้หากคํานึงถึงความต้องการที่แตกต่างกันไป ตามลําดับขั้นความต้องการของมนุษย์ ดังนี้

1 ความต้องการทางกายภาพ (Physiological Needs) คือ ปัจจัยพื้นฐาน 4 ประการ ได้แก่ ที่อยู่อาศัย อาหารและน้ํา ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม นอกจากนี้ปัจจุบันยังอาจหมายความรวมถึงการติดต่อสื่อสารด้วย

2 ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย (Safety Needs) คือ ความปลอดภัยในชีวิตและ ทรัพย์สิน ความมั่นคงในการดํารงอยู่ เช่น การไม่ถูกไล่ออกจากงาน เป็นต้น

3 ความต้องการความรักและการยอมรับ (Love Needs หรือ Social Needs) คือ ความต้องการความรักทั้งเป็นผู้รับและผู้ให้ และการได้รับการยอมรับในสังคม

4 ความต้องการได้รับการยกย่องนับถือ (Esteem Needs) คือ ความต้องการในการได้รับ การชื่นชมและการสรรเสริญจากสังคม

5 ความต้องการความสําเร็จที่เกิดจากตนเอง (Self-Actualization Needs) คือ ความ ต้องการทําในสิ่งที่ตนสามารถจะทําได้ เพื่อเป็นการสนองต่อความพอใจหรือความปรารถนาของตนเอง เช่น การบวช ความร่ํารวย เป็นต้น

ตามทฤษฎีของ Maslow นี้ เมื่อมนุษย์ได้รับการตอบสนองความต้องการด้วยขั้นของความ ต้องการใดไปแล้ว ความต้องการขั้นนั้นจะไม่มีผลในการจูงใจมนุษย์คนนั้นอีก ดังนั้นองค์การสามารถนําแนวทาง ดังกล่าวไปพิจารณาตอบสนองเพื่อก่อให้เกิดแรงจูงใจแก่คนงานได้โดยการตอบสนองตามระดับ อย่างไรก็ตาม การตอบสนองความต้องการแต่ละระดับนั้น องค์การไม่ควรตอบสนองความต้องการนั้น ๆ เต็มที่ มิฉะนั้นแล้ว ความต้องการดังกล่าวจะไม่ใช่เป็นตัวมูลเหตุจูงใจให้คนงาน เพราะถูกมองว่าเป็นหน้าที่ขององค์การนั้นเอง

Frederick Herzberg

Herzberg ได้เสนอ “ทฤษฎีสองปัจจัย” (Two Factors Theory) โดยเห็นว่า ความต้องการ มีผลกระทบต่อพฤติกรรมของคนงานโดยความต้องการแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 ปัจจัยจูงใจ (Motivation Factors) เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับงานโดยตรง ได้แก่ ความสําเร็จ ของงาน การได้รับการยอมรับผลงาน ความก้าวหน้าของงาน ความรับผิดชอบในงานที่มากขึ้น และลักษณะของงาน ที่ท้าทายน่าสนใจ ดังนั้นถ้าองค์การสามารถดําเนินการให้เกิดสิ่งนี้จะมีผลกระตุ้นให้คนงานทํางานได้ดีขึ้น แต่ถึงแม้ว่า จะไม่มีก็ไม่ได้ก่อให้เกิดความไม่พอใจแต่อย่างใด

2 ปัจจัยอนามัย (Hygiene Factors) เป็นปัจจัยที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของงาน ได้แก่ นโยบายขององค์การ การบริหารบังคับบัญชา กฎระเบียบเพื่อควบคุมการทํางาน สภาพหรือเงื่อนไขการทํางาน ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ความมั่นคงในการทํางาน เงินเดือน สวัสดิการ เป็นต้น ดังนั้นจึงเปรียบเสมือนกับ เป็นหน้าที่ขององค์การที่จะต้องทําให้เกิดขึ้น ซึ่งถ้าไม่มีจะทําให้คนงานไม่พอใจ แต่จะไม่มีส่วนกระตุ้นให้เกิด การทํางานที่ดีขึ้นแต่อย่างใด

การเปรียบเทียบความสอดคล้องกันระหว่างผลงานของ Maslow กับ Herzberg

1 ความต้องการระดับต่ำ ได้แก่ ความต้องการทางกายภาพ (ความต้องการขั้นที่ 1) และ ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย (ความต้องการขั้นที่ 2) ตามแนวคิดของ Maslow สอดคล้องกับปัจจัยอนามัย เช่น เงื่อนไขการทํางาน เงินเดือน ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา นโยบายและการบริหาร ตามแนวคิดของ Herzberg

2 ความต้องการระดับสูง ได้แก่ การได้รับการยอมรับ (ความต้องการขั้นที่ 3) การได้รับ การยกย่อง (ความต้องการขั้นที่ 4) และการทํางานให้สําเร็จด้วยตนเอง (ความต้องการขั้นที่ 5) ตามแนวคิดของ Maslow สอดคล้องกับปัจจัยจูงใจ เช่น ความสําเร็จของงาน การได้รับการยอมรับผลงาน ความก้าวหน้าของงาน ความรับผิดชอบในงาน และลักษณะของงาน ตามแนวคิดของ Herzberg

 

ข้อ 4 จงอธิบายถึงองค์ประกอบของโครงสร้างขององค์การมาโดยละเอียด

แนวคําตอบ

องค์ประกอบของโครงสร้างองค์การ มี 4 องค์ประกอบ คือ

1 การแบ่งส่วนงาน (Division of Labor) คือ การจัดโครงสร้างองค์การตามแนวราบ เป็นการแบ่งแยกงานและการรวมกลุ่มงาน หรือเป็นการจําแนกประเภทของงานตามความชํานาญพิเศษหรือ ตามความถนัดในงานนั้น ๆ และปริมาณของกิจกรรมในองค์การ ซึ่งการแบ่งส่วนงานมากเกินไปอาจก่อให้เกิด ความสิ้นเปลืองและความเบื่อหน่ายของพนักงาน เนื่องจากงานจะมีลักษณะซ้ําซากจําเจ ลักษณะของการแบ่งส่วนงาน มีดังนี้

1) การแบ่งงานตามวิชาชีพ (Personal Specialties) เป็นการแบ่งงานตามความถนัด เฉพาะทาง เช่น งานด้านบัญชี วิศวกร และวิทยาศาสตร์

2) การแบ่งงานตามกิจกรรมภายในองค์การ (Horizontal Specialization) เป็นการ แบ่งงานโดยพิจารณาจากกิจกรรมภายในองค์การ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ

(1) การแบ่งตามหน้าที่ เช่น การแบ่งเป็นฝ่ายผลิต ฝ่ายขาย และฝ่ายจัดส่ง

(2) การแบ่งตามผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ขององค์การ เช่น หน่วยงานดูแลการผลิต ผงซักฟอก หน่วยงานดูแลการผลิตยาสีฟัน

(3) การแบ่งตามพื้นที่ เช่น การแบ่งของธนาคาร

2 การจัดส่วนงาน (Hierarchy) คือ การจัดชั้นสายการบังคับบัญชา หรือการจัดโครงสร้าง องค์การในแนวดิ่ง เป็นการแบ่งหน่วยงานออกเป็นระดับโดยพิจารณาจากความสําคัญของงานว่าควรจะเป็นงาน ในระดับใด ซึ่งแต่ละระดับจะมีบทบาทและความสําคัญลดหลั่นกันลงมา การจัดสายการบังคับบัญชาที่ดีไม่ควรเกิน 5 ลําดับชั้น เพราะถ้ามีชั้นการบังคับบัญชามากจะเกิดปัญหาการสื่อสารหรือการบิดเบือนข้อมูล

3 ขอบเขตของการบังคับบัญชา (Span of Control) หรือขนาดของการควบคุม คือ จํานวนผู้ใต้บังคับบัญชาที่ผู้บังคับบัญชาคนหนึ่ง ๆ รับผิดชอบโดยตรง ซึ่งตามทฤษฎีแล้วผู้บังคับบัญชา 1 คน ควรมี ผู้ใต้บังคับบัญชาไม่เกิน 15 คน จึงจะทําให้การตัดสินใจและการสั่งการมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ขนาดของการควบคุม จะกว้างหรือแคบขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ปฏิบัติงาน ความยากง่ายของงาน และความจําเป็นในสถานการณ์ต่าง ๆ .

4 การมอบอํานาจในการตัดสินใจหรือการปฏิบัติงาน (Delegation of Authority) เป็นการพิจารณานโยบายขององค์การว่ามุ่งเน้นการกระจายอํานาจหรือการรวมอํานาจ ซึ่งสามารถพิจารณาได้จาก จํานวนผู้ตัดสินใจในการบริหารงานในองค์การ หากองค์การมีจํานวนผู้ตัดสินใจมากแสดงว่าองค์การเน้นการ กระจายอํานาจ แต่ถ้าองค์การมีจํานวนผู้ตัดสินใจเพียงคนเดียวแสดงว่าองค์การเน้นการรวมอํานาจ ทั้งนี้จุดสําคัญ ของการมอบอํานาจและการกระจายอํานาจก็คือ ผู้บังคับบัญชาสามารถกระทําได้เฉพาะการมอบอํานาจในงาน หรือการกระจายอํานาจในการปฏิบัติงานเท่านั้น จะกระจายความรับผิดชอบไม่ได้

POL2310 ทฤษฎีองค์การ 2/2558

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2310 ทฤษฎีองค์การ

คําสั่ง ข้อสอบมี 4 ข้อ ให้ทําทุกข้อ ๆ ละ 25 คะแนน

ข้อ 1 ให้นําเสนอแนวคิดทฤษฎีของนักคิดยุคดั้งเดิมมา 3 แนวคิด

แนวคําตอบ

ทฤษฎีองค์การยุคดั้งเดิมหรือยุคคลาสสิก เป็นทฤษฎีที่ให้ความสําคัญกับโครงสร้างขององค์การ โดยมีความเชื่อว่า โครงสร้างสามารถควบคุมพฤติกรรมของคนได้ ซึ่งเป็นการมองเฉพาะภายในองค์การ และเน้น ประสิทธิภาพของานจนมองคนเป็นเครื่องจักร ซึ่งนักทฤษฎี/นักคิดยุคดั้งเดิมที่สําคัญ ได้แก่ Adam Smith, Max Weber, Frederick W. Taylor, Luther Gulick & Lyndall Urwick, Henri Fayol, James Mooney & Alan Reiley เป็นต้น ซึ่งในที่นี้จะนําเสนอแนวคิดทฤษฎีของนักคิดยุคดั้งเดิม 3 แนวคิด ดังนี้

1 Frederick W. Taylor

Taylor เสนอ “ทฤษฎีการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์” (Scientific Management) เขาได้รับการ ยกย่องว่าเป็น “บิดาของการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์” เนื่องจากเป็นผู้ริเริ่มการนําเอาหลักวิทยาศาสตร์มาใช้ทดแทน จารีตประเพณีอันเป็นความเคยชินในการทํางาน โดยหันมายึดหลักการที่สําคัญที่สุด คือ การเพิ่มประสิทธิภาพ ในการผลิตด้วยการคิดค้นการทํางานตามหลักวิทยาศาสตร์

สาระสําคัญของทฤษฎีการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์

1 การอาศัยเทคนิคทําให้ได้งานมากที่สุดเพื่อเข้าสู่หลัก “One Best Way”

2 การค้นหาหลักเกณฑ์ในการทํางาน โดย

– สรรหาคนด้วยหลักวิทยาศาสตร์

– การศึกษาและพัฒนาบุคคลเพื่อทําตามเทคนิคที่กําหนด

– ความร่วมมือระหว่างหัวหน้างานและคนงานเป็นสิ่งจําเป็น

3 ควรมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในกลุ่ม มีการแบ่งงานกันทําระหว่างฝ่ายจัดการและคนงาน

4 ทํางานให้ได้ผลผลิตที่สูงสุดมากกว่าจะกําหนดผลผลิตที่เข้มงวด

5 ควรมีการพัฒนาคนงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

หลักการที่สําคัญ

1 ต้องสร้างหลักการทํางานที่เป็นวิทยาศาสตร์ โดยใช้หลัก Time and Motion Study แล้วกําหนดเป็น One Best Way เพื่อทําให้เกิดวิธีการทํางานที่มีประสิทธิภาพ

2 มีการเลือกคนที่เหมาะสม

3 มีกระบวนการพัฒนาคน

4 สร้างการมีส่วนร่วม (Friendly Cooperation) ให้เกิดขึ้นในองค์การ

ทฤษฎีการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ของ Taylor เป็นทฤษฎีที่เน้น “โครงสร้าง” โดยเห็นว่า หากมีโครงสร้างในการทํางานที่ดี มีการจัดแบ่งงานที่ดีที่สุดในสถานที่ปฏิบัติงาน และมีการวิเคราะห์เพื่อหา One Best Way มาใช้ในการทํางานในองค์การแล้วจะก่อให้เกิดการทํางานที่มีประสิทธิภาพและประหยัด จึงกล่าวได้ว่าการบริหารงาน ที่ยึดหลักทฤษฎีนี้สนใจเฉพาะการบริหารรายในโดยไม่สนใจสิ่งแวดล้อม มองคนเหมือนเครื่องจักรที่ต้องจูงใจให้ทํางาน ด้วยเงิน (Money Incentive) จึงมีลักษณะเป็นองค์การในระบบปิด

2 Luther Gulick & Lyndall Urwick

Gulick & Urwick ได้รวบรวมแนวคิดทางด้านการบริหารต่าง ๆ ไว้ในหนังสือชื่อ “Paper on the Science of Administration : Note on the Theory of Organization” โดยเสนอแนวความคิด กระบวนการบริหารที่เรียกว่า “POSDCORB” ซึ่งเป็นหน้าที่สําคัญของนักบริหาร 7 ประการ ได้แก่

1 P = Planning คือ การวางแผน เป็นการวางเค้าโครงกิจกรรมซึ่งเป็นการเตรียมการ ก่อนการลงมือปฏิบัติเพื่อให้การดําเนินการบรรลุเป้าหมายที่กําหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ

2 O = Organizing คือ การจัดองค์การ เป็นการกําหนดโครงสร้างขององค์การโดยพิจารณา ให้เหมาะสมกับงาน เช่น การแบ่งงานเป็นกรม กอง หรือแผนก โดยอาศัยปริมาณงาน คุณภาพของงานหรือจัด ตามลักษณะเฉพาะของงาน นอกจากนี้อาจพิจารณาในแง่ของการควบคุม หรือพิจารณาในแง่ของหน่วยงาน เช่น หน่วยงานหลัก และหน่วยงานที่ปรึกษา เป็นต้น

3 S = Staffing คือ การจัดหาบุคลากรมาปฏิบัติงาน เป็นเรื่องเกี่ยวกับการบริหาร ทรัพยากรมนุษย์ในองค์การนั่นเอง ทั้งนี้เพื่อให้ได้บุคลากรมาปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับ การจัดแบ่งหน่วยงานที่กําหนดเอาไว้

4 D = Directing คือ การอํานวยการ เป็นภารกิจในการใช้ศิลปะในการบริหารงาน เช่น ภาวะผู้นํา มนุษยสัมพันธ์ การจูงใจ และการตัดสินใจ เป็นต้น

5 CO = Coordinating คือ การประสานงาน เป็นการประสานให้ส่วนต่าง ๆ ของ กระบวนการทํางานมีความต่อเนื่องกัน เพื่อให้การดําเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและราบรื่น

6 R = Reporting คือ การรายงาน เป็นกระบวนการและเทคนิคของการรายงานให้ ผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้นได้ทราบถึงผลการปฏิบัติงาน โดยมีความสัมพันธ์กับการติดต่อสื่อสารในองค์การอยู่ด้วย

7 B = Budgeting คือ การงบประมาณ เป็นภารกิจที่เกี่ยวกับการวางแผนการทําบัญชี การควบคุมเกี่ยวกับการเงินและการคลัง

สาระสําคัญของแนวคิด POSDCORB คือ “ประสิทธิภาพ” ซึ่ง Gulick & Urwick เห็นว่า ประสิทธิภาพเป็นเรื่องที่สําคัญที่สุดของการบริหาร และเพื่อให้การบริหารงานในทุกหน่วยงานมีประสิทธิภาพจะต้อง มีการแบ่งงานตามความเหมาะสมและความจําเป็นหรือความถนัดของคนงาน โดยแบ่งหน่วยงานออกตาม กระบวนการ วัตถุประสงค์ ลูกค้า และพื้นที่ ซึ่งทุกหน่วยงานจะต้องจัดรูปแบบองค์การเป็นรูปสามเหลี่ยมพีระมิด และมีสายการบังคับบัญชาที่ลดหลั่นกันลงมา

3 Henri Fayol

Fayol เป็นนักอุตสาหกรรมชาวฝรั่งเศส เขาได้เสนอกระบวนการบริหารของนักบริหารไว้ 5 ประการ หรือเรียกว่า “POCCC” ได้แก่

1 P = Planning คือ การวางแผน

2 O = Organizing คือ การจัดองค์การ

3 C = Commanding คือ การบังคับบัญชา

4 C = Coordinating คือ การประสานงาน

5 C = Controlling คือ การควบคุมงาน นอกจากนี้ Fayol ยังได้เสนอหลักการบริหารทั่วไป 14 ประการ ได้แก่

1 การมีเอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command)

2 การมีเอกภาพในการสั่งการ (Unity of Direction)

3 การแบ่งงานกันทํา (Division of Work)

4 การรวมอํานาจไว้ที่ส่วนกลาง (Centralization)

5 อํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบ (Authority and Responsibility) 6 ความเสมอภาค (Equity)

7 สายการบังคับบัญชา (Scalar Chain)

8 การให้ผลประโยชน์ตอบแทน (Remuneration)

9 การมีระเบียบข้อบังคับ (Order)

10 ความมีระเบียบวินัย (Discipline)

11 ความคิดริเริ่ม (Initiative)

12 ผลประโยชน์ของบุคคลควรจะเป็นรองจากผลประโยชน์ส่วนรวม (Subordination of Individual Interest to the General Interest)

13 ความมั่นคงในหน้าที่การงาน (Stability of tenure of Person)

14 ความสามัคคีเป็นน้ําหนึ่งใจเดียวกัน (Esprit de Corps)

จากหลักการบริหารดังกล่าวจะเห็นได้ว่า Fayol ยอมรับองค์การที่เป็นทางการ โดยใช้ประโยชน์ จากการแบ่งงานกันทํา และเน้นความสําคัญขององค์การ คือ ความเป็นระเบียบ ความมั่นคง ความคิดริเริ่ม และ ความสามัคคี นอกจากนี้หลักการบริหารของ Fayol นับเป็นหลักการของทฤษฎีที่สมบูรณ์ครั้งแรกที่ช่วยให้ผู้บริหาร สามารถวางระเบียบแบบแผนและหลักเกณฑ์ที่จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถรวบรวมทรัพยากรต่าง ๆ และบุคคลเข้ามา รวมอยู่ในองค์การให้สามารถทํางานโดยมีประสิทธิภาพจนบรรลุเป้าหมายที่กําหนดได้

 

ข้อ 2 จงอธิบายถึงลักษณะของการบริหารงานในระบบราชการตามแนวความคิดของ Max Weber

แนวคําตอบ

Max Weber นักทฤษฎีองค์การชาวเยอรมัน ได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาของระบบราชการ” เขาเสนอว่า การจัดองค์การแบบระบบราชการ (Bureaucracy) เป็นวิธีการจัดองค์การที่มีประสิทธิภาพเหนือกว่า วิธีอื่นใด ซึ่งการบริหารงานในระบบราชการตามแนวคิดของ Weber มีลักษณะดังนี้

1 มีการควบคุมกันโดยการแบ่งลําดับชั้นของการบังคับบัญชา (Hierarchy)

2 การปฏิบัติงานทุกขั้นตอนเป็นไปตามกฎระเบียบ (Rule and Regulation) 3 มีการจัดคนที่มีความรู้ความชํานาญเข้าด้วยกัน (Specialization)

4 มีการบริหารงานโดยไม่อาศัยเรื่องส่วนตัว (Impersonality)

5 เน้นการยึดถือความสามารถทางวิชาการ (Technical Competence)

6 เน้นความสําคัญของการพัฒนาบุคคล (Training and Development)

7 แยกผลประโยชน์ส่วนตัวออกจากองค์การ (Individual Interest, Official)

จุดเด่นของแนวคิดของ Weber ได้แก่

1 เป็นการควบคุมโดยอาศัยการจัดโครงสร้างการบังคับบัญชาลดหลั่นกันลงมา

2 ไม่สนใจตัวบุคคล

3 เน้นที่ตัวบทกฎหมายและความมีเหตุผลเพื่อการบรรลุเป้าหมายขององค์การอย่างมีประสิทธิภาพ

4 เน้นความสําคัญของโครงสร้าง ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม สนใจแต่การบริหารภายในองค์การ

ข้อดีจากแนวคิดของ Weber ได้แก่

1 องค์การมีประสิทธิภาพในการทํางาน (Efficiency)

2 มีความเสมอภาค (Equity)

ข้อเสียจากแนวคิดของ weber ได้แก่

1 เกิดความแปลกแยกต่อองค์การ งาน และกฎระเบียบ (Alienation)

2 เกิดความเฉื่อยชา ไม่มีประสิทธิภาพ

3 เกิดความล่าช้า (Red Tape)

4 เกิดความไม่คล่องตัว (Rigidity)

5 เน้นความสําคัญของกฎ ระเบียบ และข้อบังคับมากเกินไป จนมองข้ามความสําคัญในด้านอื่น

6 แบ่งแยกงานกันตามความถนัดมากจนเกินไป

7 ขาดการประสานงาน (Lack of Coordination)

8 มีการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง (Resistance to Change)

 

ข้อ 3 จงอธิบายถึงแนวคิดเกี่ยวกับองค์ประกอบของโครงสร้างองค์การ พร้อมทั้งระบุชื่อนักคิดอย่างน้อย

1 ทฤษฎี

แนวคําตอบ

Gibson ได้เสนอองค์ประกอบของโครงสร้างองค์การ ซึ่งมี 4 องค์ประกอบ คือ

1 การแบ่งส่วนงาน (Division of Labor) คือ การจัดโครงสร้างองค์การตามแนวราบ เป็นการแบ่งแยกงานและการรวมกลุ่มงาน หรือเป็นการจําแนกประเภทของงานตามความชํานาญพิเศษหรือ ตามความถนัดในงานนั้น ๆ และปริมาณของกิจกรรมในองค์การ ซึ่งการแบ่งส่วนงานมากเกินไปอาจก่อให้เกิด ความสิ้นเปลืองและความเบื่อหน่ายของพนักงาน เนื่องจากงานจะมีลักษณะซ้ําซากจําเจ ลักษณะของการแบ่ง ส่วนงานมีดังนี้

1) การแบ่งงานตามวิชาชีพ (Personal Specialties) เป็นการแบ่งงานตามความถนัด เฉพาะทาง เช่น งานด้านบัญชี วิศวกร และวิทยาศาสตร์

2) การแบ่งงานตามกิจกรรมภายในองค์การ (Horizontal Specialization) เป็น การแบ่งงานโดยพิจารณาจากกิจกรรมภายในองค์การ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ

(1) การแบ่งตามหน้าที่ เช่น การแบ่งเป็นฝ่ายผลิต ฝ่ายขาย และฝ่ายจัดส่ง

(2) การแบ่งตามผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ขององค์การ เช่น หน่วยงานดูแลการผลิต ผงซักฟอก หน่วยงานดูแลการผลิตยาสีฟัน

(3) การแบ่งตามพื้นที่ เช่น การแบ่งของธนาคาร

2 การจัดส่วนงาน (Hierarchy) คือ การจัดชั้นสายการบังคับบัญชา หรือการจัดโครงสร้าง องค์การในแนวดิ่ง เป็นการแบ่งหน่วยงานออกเป็นระดับโดยพิจารณาจากความสําคัญของงานว่าควรจะเป็นงาน ในระดับใด ซึ่งแต่ละระดับจะมีบทบาทและความสําคัญลดหลั่นกันลงมา การจัดสายการบังคับบัญชาที่ดีไม่ควรเกิน 5 ลําดับชั้น เพราะถ้ามีชั้นการบังคับบัญชามากจะเกิดปัญหาการสื่อสารหรือการบิดเบือนข้อมูล

3 ขอบเขตของการบังคับบัญชา (Span of Control) หรือขนาดของการควบคุม คือ จํานวนผู้ใต้บังคับบัญชาที่ผู้บังคับบัญชาคนหนึ่ง ๆ รับผิดชอบโดยตรง การมีขนาดของการควบคุมที่เหมาะสมจะทําให้ การตัดสินใจและการสั่งการมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ขนาดของการควบคุมจะกว้างหรือแคบขึ้นอยู่กับความสามารถของ ผู้ปฏิบัติงาน ความยากง่ายของงาน และความจําเป็นในสถานการณ์ต่าง ๆ

4 การมอบอํานาจในการตัดสินใจหรือการปฏิบัติงาน (Delegation of Authority) เป็นการพิจารณานโยบายขององค์การว่ามุ่งเน้นการกระจายอํานาจหรือการรวมอํานาจ ซึ่งสามารถพิจารณาได้จาก จํานวนผู้ตัดสินใจในการบริหารงานในองค์การ หากองค์การมีจํานวนผู้ตัดสินใจมากแสดงว่าองค์การเน้นการ * * มาจ แต่ถ้าองค์การมีจํานวนผู้ตัดสินใจเพียงคนเดียวแสดงว่าองค์การเน้นการรวมอํานาจ ทั้งนี้ จุดสําคัญของการมอบอํานาจและการกระจายอํานาจก็คือ ผู้บังคับบัญชาสามารถกระทําได้เฉพาะการมอบอํานาจ ในงานหรือการกระจายอํานาจในการปฏิบัติงานเท่านั้น จะกระจายความรับผิดชอบไม่ได้

 

ข้อ 4 จงอธิบายแนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมและการจูงใจในองค์การมาอย่างน้อย 1 ทฤษฎี

แนวคําตอบ

การจูงใจ (Motivation) หมายถึง การสร้างแรงปรารถนาในตัวคนให้กระทําบางสิ่งบางอย่าง เพื่อให้การกระทํานั้นเป็นไปเพื่อตอบสนองความต้องการของปัจเจกบุคคล หรือหมายถึงความสามารถในการชักจูง ให้บางคนเกิดความคล้อยตาม ซึ่งนักคิดกลุ่มพฤติกรรมศาสตร์มองว่า การจูงใจถือเป็นปัจจัยตัวหนึ่งที่มีผลต่อการ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์ในองค์การนอกเหนือจากค่านิยม ทัศนคติ บุคลิก มุมมอง การเรียนรู้ และเป็น ปัจจัยที่มีส่วนสําคัญต่อการเกิดผลสําเร็จของงาน โดยแนวคิดการจูงใจนี้ได้รับความสนใจจากนักคิดกลุ่ม พฤติกรรมศาสตร์หลายท่าน เช่น Abraham Maslow, Clayton Alderfer, Douglas Murray McGregor, Frederick Herzberg, David McClelland, Victor H. Vroom, J. Stacy Adams เป็นต้น ซึ่งในที่นี้จะนําเสนอ แนวคิดของ Abraham Maslow

Abraham Maslow เสนอ “ทฤษฎีลําดับขั้นของความต้องการ” (Hierarchy of Needs Theory) หรือ “ทฤษฎีความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ 5 ประการ” (Five Basic Needs Theory) โดยเห็นว่า ผู้บริหารจะสามารถสร้างแรงจูงใจแก่พนักงานได้หากคํานึงถึงความต้องการที่แตกต่างกันไปตามลําดับขั้นความต้องการ ของมนุษย์ ดังนี้

1 ความต้องการทางกายภาพ (Physiological Needs) คือ ปัจจัยพื้นฐาน 4 ประการ ได้แก่ ที่อยู่อาศัย อาหารและน้ํายารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม นอกจากนี้ปัจจุบันยังอาจหมายความรวมถึงการติดต่อสื่อสารด้วย

2 ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย (Safety Needs) คือ ความปลอดภัยในชีวิตและ ทรัพย์สิน ความมั่นคงในการดํารงอยู่ เช่น การไม่ถูกไล่ออกจากงาน เป็นต้น

3 ความต้องการความรักและการยอมรับ (Love Needs หรือ Social Needs) คือ ความต้องการความรักทั้งเป็นผู้รับและผู้ให้ และการได้รับการยอมรับในสังคม

4 ความต้องการได้รับการยกย่องนับถือ (Esteem Needs) คือ ความต้องการในการ ได้รับการชื่นชมและการสรรเสริญจากสังคม

5 ความต้องการความสําเร็จที่เกิดจากตนเอง (Self-Actualization Needs) คือ ความ ต้องการทําในสิ่งที่ตนสามารถจะทําได้ เพื่อเป็นการสนองต่อความพอใจหรือความปรารถนาของตนเอง เช่น การบวช ความร่ํารวย เป็นต้น

ตามทฤษฎีของ Maslow นี้ เมื่อมนุษย์ได้รับการตอบสนองความต้องการด้วยขั้นของความ ต้องการใดไปแล้ว ความต้องการขั้นนั้นจะไม่มีผลในการจูงใจมนุษย์คนนั้นอีก ดังนั้นองค์การสามารถนําแนวทาง ดังกล่าวไปพิจารณาตอบสนองเพื่อก่อให้เกิดแรงจูงใจแก่คนงานได้โดยการตอบสนองตามระดับ อย่างไรก็ตาม การตอบสนองความต้องการแต่ละระดับนั้น องค์การไม่ควรตอบสนองความต้องการนั้น ๆ เต็มที่ มิฉะนั้นแล้ว ความต้องการดังกล่าวจะไม่ใช่เป็นตัวมูลเหตุจูงใจให้คนงาน เพราะถูกมองว่าเป็นหน้าที่ขององค์การนั่นเอง

POL2310 ทฤษฎีองค์การ 1/2557

การสอบซ่อมภาค 1 ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2310 ทฤษฎีองค์การ

คําสั่ง ข้อสอบเป็นแบบอัตนัยมี 4 ข้อ ให้ทําทุกข้อ ๆ

ข้อ 1 จงอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับการจัดการมาโดยละเอียด

แนวคําตอบ

องค์การ หมายถึง การที่คนมารวมตัวกันเพื่อเข้าทํางานโดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกันและต้องการที่ จะทํางานให้บรรลุวัตถุประสงค์ ซึ่งระบบย่อยขององค์การ ประกอบด้วย เป้าหมาย/วัตถุประสงค์ คน โครงสร้าง เทคนิค และความรู้ข้อมูลข่าวสาร

การจัดการ หมายถึง การดําเนินงานของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปเพื่อที่จะให้บรรลุวัตถุประสงค์ ที่ได้ตั้งเอาไว้ร่วมกัน โดยคํานึงถึงการจัดสรรทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพเข้าช่วย ซึ่งกระบวนการจัดการ ประกอบด้วย การวางแผน การประสานงาน การจัดองค์การ การตัดสินใจ และการควบคุมงาน

ความสัมพันธ์ขององค์การและการจัดการ มีดังนี้

1 ความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมาย/วัตถุประสงค์กับการวางแผน หมายถึง เมื่อกําหนด เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ขององค์การแล้ว ก็ต้องหาหนทางเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้น โดยนักบริหารจะต้อง นําความรู้ในวิชาการวางแผนมาใช้ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับขั้นตอน 4 ขั้นตอน คือ

1) การกําหนดเป้าหมาย

2) การอธิบายสถานการณ์ปัจจุบัน

3) การหาเครื่องมือที่จะมาช่วย พร้อมทั้งตระหนักถึงปัญหาและอุปสรรคในการ บรรลุเป้าหมาย

4) การพัฒนาทางเลือกที่จะบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์

2 ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับการประสานงาน หมายถึง นักบริหารต้องมีภาวะผู้นํา และมีความรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นํา เพื่อจูงใจให้กลุ่มคนมาบริหารองค์การให้บรรลุเป้าหมาย นอกจากนี้ผู้บริหารต้อง มีความสามารถในการสื่อข้อความ เพราะการสือข้อความจะช่วยให้เข้าใจงานและสามารถทํางานได้ง่ายขึ้น รวมทั้ง ช่วยให้เกิดประสิทธิผลที่ดี

3 ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างกับการจัดองค์การ หมายถึง การจัดองค์การเพื่อให้ องค์การมีโครงสร้างที่เหมาะสม ซึ่งพิจารณาจากเกณฑ์ดังต่อไปนี้

1) ปัญหารอบด้านขององค์การ

2) กระบวนการปฏิบัติงานที่มีความรวดเร็ว

3) การจัดสรรคนให้เหมาะสมกับโครงสร้างขององค์การ

4) การติดต่อและการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลภายในองค์การที่สอดคล้องกับโครงสร้างองค์การ

5) การจัดโครงสร้างองค์การที่เอื้ออํานวยต่อการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีความยืดหยุ่น และจูงใจให้คนมีความเอาใจใส่ต่อการทํางาน

6) การปกครองบังคับบัญชาทุกระดับมีความสอดคล้องกัน

7) การให้อํานาจหน้าที่กับผู้รับผิดชอบที่เหมาะสมในการจัดโครงสร้างองค์การ

8) การจัดโครงสร้างให้สอดคล้องกับนโยบาย

9) การแบ่งส่วนงานที่มีความเหมาะสม

4 ความสัมพันธ์ระหว่างเทคนิคกับการตัดสินใจ หมายถึง เทคนิคการบริหารจะเป็น ประโยชน์ที่ทําให้องค์การปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมาย ซึ่งเทคนิคทางการบริหารมี 2 รูปแบบ คือ การตัดสินใจที่ใช้อยู่ เป็นประจํา (Programmed Decision-Making) และการตัดสินใจที่ไม่เกิดบ่อยนัก (Nonprogrammed Decision Making) ดังนั้นนักบริหารจะต้องรู้จักหลักการตัดสินใจในโอกาสต่าง ๆ เช่น

1) การตัดสินใจภายใต้ภาวะที่แน่นอน (Certainty) คือ การตัดสินใจที่ทราบผลในแต่ละทางเลือก

2) การตัดสินใจในภาวะที่มีความเสี่ยง (Risk) คือ การตัดสินใจที่ทราบความเป็นไปของผลในแต่ละทางเลือก

3) การตัดสินใจในภาวะที่ไม่แน่นอน (Uncertainty) คือ การตัดสินใจที่ไม่ทราบ

ความเป็นไปของผลที่เกิดขึ้น

5 ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ข้อมูลข่าวสารกับการควบคุมงาน หมายถึง นักบริหาร จะต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารในการกําหนดนโยบายและการนํานโยบายไปสู่การปฏิบัติ รวมทั้งในการควบคุมงาน ทุกประเภทเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย โดยนักบริหารจะต้องใช้ระบบการควบคุมเพื่อตรวจสอบว่าการบริหารงานในองค์การ เป็นไปตามที่กําหนดไว้ในแผนหรือไม่ ซึ่งการควบคุมงานจะทําให้องค์การสามารถปฏิบัติงานต่อไปได้อย่างราบรื่น

 

ข้อ 2 จากการศึกษาวิชาทฤษฎีองค์การให้นักศึกษาเลือกนําเสนอนักคิด 3 ท่านพร้อมอธิบายผลงานมาโดยละเอียด

แนวคําตอบ

1 Max Weber

Weber นักทฤษฎีองค์การชาวเยอรมัน ได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาของระบบราชการ” เขาเสนอว่า การจัดองค์การแบบระบบราชการ (Bureaucracy) เป็นวิธีการจัดองค์การที่มีประสิทธิภาพเหนือกว่า วิธีอื่นใด ซึ่งลักษณะขององค์การแบบระบบราชการมีดังนี้

1 มีการควบคุมกันโดยการแบ่งสําดับชั้นของการบังคับบัญชา (Hierarchy)

2 การปฏิบัติงานทุกขั้นตอนเป็นไปตามกฎระเบียบ (Rule and Regulation)

3 มีการจัดคนที่มีความรู้ความชํานาญเข้าด้วยกัน (Specialization)

4 มีการบริหารงานโดยไม่อาศัยเรื่องส่วนตัว (Impersonality)

5 เน้นการยึดถือความสามารถทางวิชาการ (Technical Competence)

6 เน้นความสําคัญของการพัฒนาบุคคล (Training and Development) 7 แยกผลประโยชน์ส่วนตัวออกจากองค์การ (Individual Interest, Official)

จุดเด่นของแนวคิดของ Weber ได้แก่

1 เป็นการควบคุมโดยอาศัยการจัดโครงสร้างการบังคับบัญชาลดหลั่นกันลงมา

2 ไม่สนใจตัวบุคคล

3 เน้นที่ตัวบทกฎหมายและความมีเหตุผลเพื่อการบรรลุเป้าหมายขององค์การอย่างมีประสิทธิภาพ

4 เน้นความสําคัญของโครงสร้าง ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม สนใจแต่การบริหารภายในองค์การ ข้อดีจากแนวคิดของ Weber ได้แก่

1 องค์การมีประสิทธิภาพในการทํางาน (Efficiency)

2 มีความเสมอภาค (Equity)

ข้อเสียจากแนวคิดของ Weber ได้แก่

1 เกิดความแปลกแยกต่อองค์การงาน และกฎระเบียบ. (Alienation)

2 เกิดความเฉื่อยชา ไม่มีประสิทธิภาพ

3 เกิดความล่าช้า (Red Tape)

4 เกิดความไม่คล่องตัว (Rigidity)

5 เน้นความสําคัญของกฎ ระเบียบ และข้อบังคับมากเกินไป จนมองข้ามความสําคัญในด้านอื่น

6 แบ่งแยกงานกันตามความถนัดมากจนเกินไป

7 ขาดการประสานงาน (Lack of Coordination)

8 มีการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง (Resistance to Change)

นอกจากนี้ Weber ยังได้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับการครอบงํา (Domination) โดยเห็นว่า ผู้นํา หรือนักบริหารจะบริหารงานให้มีประสิทธิภาพได้ขึ้นอยู่กับการที่ผู้ใต้บังคับบัญชายินยอมที่จะปฏิบัติตาม และ ต้องมีระบบการบริหารมาดําเนินการให้คําสั่งมีผลใช้บังคับได้ ซึ่งลักษณะของการครอบงํา มี 3 รูปแบบ คือ

1 การครอบงําโดยอาศัยจารีตประเพณี (Traditional Domination)

2 การครอบงําโดยใช้บารมี (Charismatic Domination)

3 การครอบงําโดยวิธีกฎหมายและการมีเหตุผล (Legal Domination)

 

2 Luther Gulick และ Lyndall Urwick

Gulick และ Urwick ได้รวบรวมแนวคิดทางด้านการบริหารต่าง ๆ ไว้ในหนังสือชื่อ “Paper on the Science of Administration : Note on the Theory of Organization” โดยเสนอแนวความคิด กระบวนการบริหารที่เรียกว่า “POSDCORB” ซึ่งเป็นหน้าที่สําคัญของนักบริหาร 7 ประการ ได้แก่

1 P = Planning คือ การวางแผน เป็นการวางเค้าโครงกิจกรรมซึ่งเป็นการเตรียมการ ก่อนการลงมือปฏิบัติเพื่อให้การดําเนินการบรรลุเป้าหมายที่กําหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ

2 O = Organizing คือ การจัดองค์การ เป็นการกําหนดโครงสร้างขององค์การโดย พิจารณาให้เหมาะสมกับงาน เช่น การแบ่งงานเป็นกรม กอง หรือแผนก โดยอาศัยปริมาณงาน คุณภาพของงาน หรือจัดตามลักษณะเฉพาะของงาน นอกจากนี้อาจพิจารณาในแง่ของการควบคุม หรือพิจารณาในแง่ของ หน่วยงาน เช่น หน่วยงานหลัก และหน่วยงานที่ปรึกษา เป็นต้น

3 S = Staffing คือ การจัดหาบุคลากรมาปฏิบัติงาน เป็นเรื่องเกี่ยวกับการบริหาร ทรัพยากรมนุษย์ในองค์การนั้นเอง ทั้งนี้เพื่อให้ได้บุคลากรมาปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับ การจัดแบ่งหน่วยงานที่กําหนดเอาไว้

4 D = Directing คือ การอํานวยการ เป็นภารกิจในการใช้ศิลปะในการบริหารงาน เช่น ภาวะผู้นํา มนุษยสัมพันธ์ การจูงใจ และการตัดสินใจ เป็นต้น

5 CO – Coordinating คือ การประสานงาน เป็นการประสานให้ส่วนต่าง ๆ ของ กระบวนการทํางานมีความต่อเนื่องกัน เพื่อให้การดําเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและราบรื่น

6 R = Reporting คือ การรายงาน เป็นกระบวนการและเทคนิคของการรายงานให้ ” ผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้นได้ทราบถึงผลการปฏิบัติงาน โดยมีความสัมพันธ์กับการติดต่อสื่อสารในองค์การอยู่ด้วย

7 B = Budgeting คือ การงบประมาณ เป็นภารกิจที่เกี่ยวกับการวางแผนการทําบัญชี การควบคุมเกี่ยวกับการเงินและการคลัง

สาระสําคัญของแนวคิด POSDCORB คือ “ประสิทธิภาพ” ซึ่ง Gulick และ Urwick เห็นว่า ประสิทธิภาพเป็นเรื่องที่สําคัญที่สุดของการบริหาร และเพื่อให้การบริหารงานในทุกหน่วยงานมีประสิทธิภาพ จะต้องมีการแบ่งงานตามความเหมาะสมและความจําเป็นหรือความถนัดของคนงาน โดยแบ่งหน่วยงานออก ตามกระบวนการ วัตถุประสงค์ ลูกค้า และพื้นที่ ซึ่งทุกหน่วยงานจะต้องจัดรูปแบบองค์การเป็นรูปสามเรเลียม พีระมิด และมีสายการบังคับบัญชาที่ลดหลั่นกันลงมา

  1. Douglas Murray McGregor McGregor

McGregor  เสนอทฤษฎี x และทฤษฎี y ไว้ในหนังสือชื่อ “The Human Side of Enterprise” โดยมีฐานคติในการมองคนในองค์การ 2 แบบ คือ

1 ทฤษฎี X ถือว่า

– คนทั่วไปเกียจคร้าน ชอบเสี่ยงงาน – ขาดความกระตือรือร้น ไม่มีความรับผิดชอบ

– เห็นแก่ตัวเพิกเฉยต่อความต้องการขององค์การ

2 ทฤษฎี Y ถือว่า

– คนชอบทํางาน ไม่ได้เกียจคร้าน

– การควบคุมภายนอกไม่ใช่วิถีทางที่จะได้มาซึ่งงาน คนสามารถที่จะหาแนวทางและควบคุมตนเองได้

– ความพึงพอใจที่ได้ปฏิบัติงานตามศักยภาพเป็นรางวัลที่มีความสําคัญที่จะทําให้คนมีความรู้สึกผูกพันกับองค์การ

– คนโดยทั่วไปจะเรียนรู้เพื่อแสวงหาความรับผิดชอบต่อไป

– คนส่วนใหญ่อาศัยภาวะสร้างสรรค์ในการแก้ไขปัญหาในองค์การ

ทฤษฎี Y คือ “ภาพพจน์ของคน” ในแนวมนุษยสัมพันธ์ ซึ่งเชื่อว่าโดยธรรมชาติมนุษย์เป็นคนดี ดังนั้นคนจึงควรควบคุมตนเองได้ การควบคุมตนเองหมายถึงการปรับปรุงองค์การในเรื่องต่าง ๆ เช่น การกระจายอํานาจ การมอบอํานาจหน้าที่ การขยายงาน การมีส่วนร่วม และการบริหารงานโดยยึดเป้าหมาย จึงเห็นได้ว่าข้อเสนอ การปรับปรุงของ McGregor เป็นการย้ําให้เห็นความสําคัญของคน และช่วยให้คนหลุดพ้นจากการควบคุมของ องค์การ ซึ่งเป็นค่านิยมหลักของมนุษย์ที่เห็นว่าคนมาก่อนองค์การ

การมองคนในองค์การตามทฤษฎี X และทฤษฎี Y ของ McGregor ช่วยให้เราแยกแยะคนได้ ทําให้เรารู้ว่าใครเป็นเพื่อนที่ดีหรือนายที่ดี ซึ่งการมองแบบนี้เรียกว่า “Polarization” แต่ในสภาพความเป็นจริง เราไม่สามารถบอกได้ว่าคนไหนเป็นประเภท X หรือประเภท Y แต่อาจจะบอกได้ว่าค่อนข้างไปทาง X หรือ Y มากกว่า ดังนั้นการมองคนเป็น Polarization จึงเป็นจุดอ่อนอย่างหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามก็ถือว่าทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีแรกที่ช่วย ทําให้สามารถจําแนกประเภทของคนได้

 

ข้อ 3 จงอธิบายถึงความแตกต่างระหว่างองค์การเป็นทางการกับองค์การไม่เป็นทางการมาโดยละเอียด

แนวคําตอบ

องค์การ หมายถึง การรวมตัวกันของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มีจุดมุ่งหมายร่วมกันอย่างใด อย่างหนึ่ง โดยผ่านกระบวนการจัดโครงสร้างและกําหนดกิจกรรม เพื่อก่อให้เกิดการแบ่งงานกันทํา และส่งผลให้ บรรลุยังจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งองค์การแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ องค์การเป็นทางการ (Formal Organization) และองค์การไม่เป็นทางการ (Informal organization)

ความแตกต่างระหว่างองค์การเป็นทางการและองค์การไม่เป็นทางการ

องค์การเป็นทางการ เป็นการรวมตัวเพื่อร่วมมือกันทํางานให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน โดยในการ ทํางานนั้นจะมีการกําหนดโครงสร้างและรูปแบบไว้ชัดเจนตายตัว คือ มีการกําหนดอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบ สายการบังคับบัญชา การแบ่งงานกันทํา ขนาดการควบคุม เอกภาพในการบังคับบัญชา ตลอดจนมาตรการและ วิธีการปฏิบัติงานที่ชัดเจนตายตัว ดังตัวอย่างขององค์การและหน่วยงานโดยทั่ว ๆ ไปทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น มหาวิทยาลัย ธนาคาร เป็นต้น

ส่วนองค์การไม่เป็นทางการ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า องค์การแฝง เป็นการรวมตัวกันโดยอาศัย ระบบความสัมพันธ์ที่เป็นส่วนตัว ความรู้จักคุ้นเคย มีการดําเนินกิจกรรมร่วมกัน เพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกันอย่างใด อย่างหนึ่ง โดยจะไม่มีการกําหนดโครงสร้างและรูปแบบใด ๆ ไว้ตายตัวทั้งสิ้น ซึ่งองค์การลักษณะนี้มักเกิดขึ้นจาก ความต้องการของสมาชิกที่ไม่ได้รับการตอบสนองจากองค์การที่เป็นทางการ และมักแอบแฝงอยู่ในองค์การที่เป็น ทางการเสมอ เช่น กลุ่ม NGO, กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงต่าง ๆ เป็นต้น

 

ข้อ 4 จงอธิบายถึงองค์ประกอบของโครงสร้างขององค์การมาโดยละเอียด

แนวคําตอบ

องค์ประกอบของโครงสร้างองค์การ มี 4 องค์ประกอบ คือ

1 การแบ่งส่วนงาน (Division of Labor) คือ การจัดโครงสร้างองค์การตามแนวราบ เป็นการแบ่งแยกงานและการรวมกลุ่มงาน หรือเป็นการจําแนกประเภทของงานตามความชํานาญพิเศษหรือตามความ ถนัดในงานนั้น ๆ และปริมาณของกิจกรรมในองค์การ ซึ่งการแบ่งส่วนงานมากเกินไปอาจก่อให้เกิดความสิ้นเปลือง และความเบื่อหน่ายของพนักงาน เนื่องจากงานจะมีลักษณะซ้ําซากจําเจ ลักษณะของการแบ่งส่วนงานมีดังนี้

1) การแบ่งงานตามวิชาชีพ (Personal Specialties) เป็นการแบ่งงานตามความถนัด เฉพาะทาง เช่น งานด้านบัญชี วิศวกร และวิทยาศาสตร์

2) การแบ่งงานตามกิจกรรมภายในองค์การ (Horizontal Specialization) เป็นการ แบ่งงานโดยพิจารณาจากกิจกรรมภายในองค์การ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ

(1) การแบ่งตามหน้าที่ เช่น การแบ่งเป็นฝ่ายผลิต ฝ่ายขาย และฝ่ายจัดส่ง

(2) การแบ่งตามผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ขององค์การ เช่น หน่วยงานดูแลการผลิต

– ผงซักฟอก หน่วยงานดูแลการผลิตยาสีฟัน

(3) การแบ่งตามพื้นที่ เช่น การแบ่งของธนาคาร

2 การจัดส่วนงาน (Hierarchy) คือ การจัดชั้นสายการบังคับบัญชา หรือการจัดโครงสร้าง องค์การในแนวดิ่ง เป็นการแบ่งหน่วยงานออกเป็นระดับโดยพิจารณาจากความสําคัญของงานว่าควรจะเป็นงาน ในระดับใด ซึ่งแต่ละระดับจะมีบทบาทและความสําคัญลดหลั่นกันลงมา การจัดสายการบังคับบัญชาที่ที่ไม่ควรเกิน 5 ลําดับชั้น เพราะถ้ามีชั้นการบังคับบัญชามากจะเกิดปัญหาการสื่อสารหรือการบิดเบือนข้อมูล

3 ขอบเขตของการบังคับบัญชา (Span of Control) หรือขนาดของการควบคุม คือ จํานวนผู้ใต้บังคับบัญชาที่ผู้บังคับบัญชาคนหนึ่ง ๆ รับผิดชอบโดยตรง ซึ่งตามทฤษฎีแล้วผู้บังคับบัญชา 1 คน ควรมี ผู้ใต้บังคับบัญชาไม่เกิน 15 คน จึงจะทําให้การตัดสินใจและการสั่งการมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ขนาดของการควบคุม จะกว้างหรือแคบขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ปฏิบัติงาน ความยากง่ายของงาน และความจําเป็นในสถานการณ์ต่าง ๆ

4 การมอบอํานาจในการตัดสินใจหรือการปฏิบัติงาน (Delegation of Authority) เป็นการพิจารณานโยบายขององค์การว่าม งเน้นการกระจายอํานาจหรือการรวมอํานาจ ซึ่งสามารถพิจารณาได้จากจํานวนผู้ตัดสินใจในการบริหารงานในองค์การ หากองค์การมีจํานวนผู้ตัดสินใจมากแสดงว่าองค์การเน้นการ กระจายอํานาจ แต่ถ้าองค์การมีจํานวนผู้ตัดสินใจเพียงคนเดียวแสดงว่าองค์การเน้นการรวมอํานาจ ทั้งนี้จุดสําคัญ ของการมอบอํานาจและการกระจายอํานาจก็คือ ผู้บังคับบัญชาสามารถกระทําได้เฉพาะการมอบอํานาจในงาน หรือการกระจายอํานาจในการปฏิบัติงานเท่านั้น จะกระจายความรับผิดชอบไม่ได้

POL2310 ทฤษฎีองค์การ s/2557

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2310 ทฤษฎีองค์การ

คําสั่ง ข้อสอบมี 4 ข้อ ให้ทําทุกข้อ ๆ ละ 25 คะแนน (รวม 100 คะแนน)

ข้อ 1 จงอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างระบบย่อยองค์การกับการจัดการมาโดยละเอียด

แนวคําตอบ

องค์การ หมายถึง การที่คนมารวมตัวกันเพื่อเข้าทํางานโดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกันและต้องการ ที่จะทํางานให้บรรลุวัตถุประสงค์ ซึ่งระบบย่อยขององค์การ ประกอบด้วย เป้าหมาย/วัตถุประสงค์ คน โครงสร้าง เทคนิค และความรู้ข้อมูลข่าวสาร

การจัดการ หมายถึง การดําเนินงานของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปเพื่อที่จะให้บรรลุวัตถุประสงค์ ที่ได้ตั้งเอาไว้ร่วมกัน โดยคํานึงถึงการจัดสรรทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพเข้าช่วย ซึ่งกระบวนการจัดการ ประกอบด้วย การวางแผน การประสานงาน การจัดองค์การ การตัดสินใจ และการควบคุมงาน

ความสัมพันธ์ระหว่างระบบย่อยองค์การกับการจัดการ มีดังนี้

1 ความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมาย/วัตถุประสงค์กับการวางแผน หมายถึง เมื่อกําหนด เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ขององค์การแล้ว ก็ต้องหาหนทางเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้น โดยนักบริหารจะต้อง นําความรู้ในวิชาการวางแผนมาใช้ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับขั้นตอน 4 ขั้นตอน คือ

1) การกําหนดเป้าหมาย

2) การอธิบายสถานการณ์ปัจจุบัน

3) การหาเครื่องมือที่จะมาช่วย พร้อมทั้งตระหนักถึงปัญหาและอุปสรรคในการบรรลุเป้าหมาย

4) การพัฒนาทางเลือกที่จะบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์

2 ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับการประสานงาน หมายถึง นักบริหารต้องมีภาวะผู้นํา และมีความรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นํา เพื่อจูงใจให้กลุ่มคนมาบริหารองค์การให้บรรลุเป้าหมาย นอกจากนี้ผู้บริหารต้อง มีความสามารถในการสื่อข้อความ เพราะการสื่อข้อความจะช่วยให้เข้าใจงานและสามารถทํางานได้ง่ายขึ้น รวมทั้ง ช่วยให้เกิดประสิทธิผลที่ดี

3 ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างกับการจัดองค์การ หมายถึง การจัดองค์การเพื่อให้ องค์การมีโครงสร้างที่เหมาะสม ซึ่งพิจารณาจากเกณฑ์ดังต่อไปนี้

1) ปัญหารอบด้านขององค์การ

2) กระบวนการปฏิบัติงานที่มีความรวดเร็ว

3) การจัดสรรคนให้เหมาะสมกับโครงสร้างขององค์การ

4) การติดต่อและการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลภายในองค์การที่สอดคล้องกับ โครงสร้างองค์การ

5) การจัดโครงสร้างองค์การที่เอื้ออํานวยต่อการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพมีความยืดหยุ่น และจูงใจให้คนมีความเอาใจใส่ต่อการทํางาน

6) การปกครองบังคับบัญชาทุกระดับมีความสอดคล้องกัน

7) การให้อํานาจหน้าที่กับผู้รับผิดชอบที่เหมาะสมในการจัดโครงสร้างองค์การ

8) การจัดโครงสร้างให้สอดคล้องกับนโยบาย

9) การแบ่งส่วนงานที่มีความเหมาะสม

4 ความสัมพันธ์ระหว่างเทคนิคกับการตัดสินใจ หมายถึง เทคนิคการบริหารจะเป็น ประโยชน์ที่ทําให้องค์การปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมาย ซึ่งเทคนิคทางการบริหารมี 2 รูปแบบ คือ การตัดสินใจที่ใช้อยู่ เป็นประจํา (Programmed Decision-Making) และการตัดสินใจที่ไม่เกิดบ่อยนัก (Nonprogrammed Decision Making) ดังนั้นนักบริหารจะต้องรู้จักหลักการตัดสินใจในโอกาสต่าง ๆ เช่น

1) การตัดสินใจภายใต้ภาวะที่แน่นอน (Certainty) คือ การตัดสินใจที่ทราบผลในแต่ละทางเลือก

2) การตัดสินใจในภาวะที่มีความเสี่ยง (Risk) คือ การตัดสินใจที่ทราบความเป็นไปของผลในแต่ละทางเลือก

3) การตัดสินใจในภาวะที่ไม่แน่นอน (Uncertainty) คือ การตัดสินใจที่ไม่ทราบความเป็นไปของผลที่เกิดขึ้น

5 ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ข้อมูลข่าวสารกับการควบคุมงาน หมายถึง นักบริหาร จะต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารในการกําหนดนโยบายและการนํานโยบายไปสู่การปฏิบัติ รวมทั้งในการควบคุมงาน ทุกประเภทเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย โดยนักบริหารจะต้องใช้ระบบการควบคุมเพื่อตรวจสอบว่าการบริหารงานในองค์การ เป็นไปตามที่กําหนดไว้ในแผนหรือไม่ ซึ่งการควบคุมงานจะทําให้องค์การสามารถปฏิบัติงานต่อไปได้อย่างราบรื่น

 

ข้อ 2 ทฤษฎีองค์การสํานักคลาสสิก สํานักนีโอคลาสสิก และสํานักระบบเปิด มีแนวทางการศึกษาแตกต่างกันอย่างไร จงอธิบายมาให้เข้าใจอย่างชัดเจน

แนวคําตอบ

  1. Richard Scott ได้แบ่งทฤษฎีองค์การออกเป็น 3 สํานัก ดังนี้

1 สํานักคลาสสิก หรือสํานักเหตุผลนิยม

สํานักคลาสสิก หรือสํานักเหตุผลนิยม เป็นสํานักที่ให้ความสําคัญกับโครงสร้างที่เป็นทางการ ขององค์การ โดยมีความเชื่อว่า โครงสร้างสามารถควบคุมพฤติกรรมของคนได้ ซึ่งเป็นการมองเฉพาะภายในองค์การ เน้นประสิทธิภาพของงานจนมองคนเป็นเครื่องจักร ลักษณะองค์การของสํานักนี้จึงเป็นองค์การระบบปิด

ฐานคติของสํานักคลาสสิก ได้แก่

1 องค์การเป็นระบบที่มีเหตุผลและประกอบด้วยสมาชิกในองค์การที่มีเหตุผลและรู้สํานึกในสิ่งที่ตนเองกระทํา

2 การตัดสินใจหรือการกระทําใด ๆ ของคนมุ่งให้เกิดประโยชน์สูงสุด

3 การควบคุมสมาชิกเป็นสิ่งที่มีประสิทธิภาพที่สุดขององค์การ

สาระสําคัญของแนวคิด ได้แก่

1 เน้นความเฉพาะเจาะจงของวัตถุประสงค์ โดยเชื่อว่าหากองค์การมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนแล้ว การกําหนดทิศทางการทํางานหรือการเลือกตัดสินใจเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์การเป็นสิ่งที่สามารถทําได้

2 เน้นความเป็นทางการของโครงสร้างองค์การ โดยเชื่อว่าโครงสร้างที่เป็นทางการจะทําให้พฤติกรรมต่าง ๆ ของคนอยู่ในระเบียบวินัย

คุณสมบัติขององค์การตามแนวคิดของสํานักคลาสสิก ได้แก่

1 เป็นกลุ่มสังคม

2 มีขอบเขตที่ชัดเจน

3 มีวัตถุประสงค์เฉพาะเจาะจง

4 มีการจัดแบ่งอํานาจหน้าที่

5 ใช้กฎ ระเบียบ การดําเนินการ การควบคุมและเทคนิค

6 ใช้การสื่อสารอย่างเป็นทางการ

7 เน้นความชํานาญเฉพาะด้านและการจัดแบ่งงาน

8 มีการว่าจ้างผู้มีทักษะ

แนวคิดของสํานักคลาสสิกให้ความสําคัญกับโครงสร้างองค์การ จึงเหมาะที่จะนําไปประยุกต์ใช้ กับองค์การแบบราชการ (Bureaucracy) และองค์การที่เป็นทางการ (Format Organization)

นักทฤษฎีองค์การของสํานักคลาสสิก ได้แก่ Max Weber, Frederick W. Taylor, Luther Gulick & Lyndall Urwick, Henri Fayol

 

2 สํานักนีโอคลาสสิก หรือสํานักธรรมชาตินิยม

สํานักนีโอคลาสสิก หรือสํานักธรรมชาตินิยม สํานักนี้ไม่เห็นด้วยกับสํานักคลาสสิก โดยเฉพาะ เรื่องโครงสร้าง เพราะถือว่าโครงสร้างเป็นเพียงส่วนหนึ่งขององค์การเท่านั้น แต่สิ่งที่สําคัญในองค์การคือ “คน” ดังนั้นการศึกษาของสํานักนีโอคลาสสิกจึงแตกต่างกับสํานักคลาสสิก เพราะสํานักนีโอคลาสสิกให้ความสนใจ พฤติกรรมของคน โดยเห็นว่าคนเป็นปัจจัยที่สําคัญขององค์การ และถ้าคนมีประสิทธิภาพจะทําให้สามารถแก้ปัญหา ขององค์การได้ ซึ่งสํานักนี้ได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ทฤษฎีย่อย คือ ทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์ (Human Relation School) และทฤษฎีมนุษยนิยม (Humanism)

ฐานคติของสํานักนีโอคลาสสิก ได้แก่

1 คนมีความต้องการที่หลากหลาย และความต้องการนี้เป็นแรงขับให้เกิดพฤติกรรมต่าง ๆ

2 การควบคุมและการลงโทษไม่ใช่วิธีการที่จะทําให้องค์การบรรลุเป้าหมายที่กําหนด

3 วิธีการจูงใจที่ดีที่สุด คือ การจูงใจที่ตอบสนองความต้องการของคนในการได้รับการยอมรับและการตระหนักในศักยภาพและความสามารถในฐานะมนุษย์

สาระสําคัญของแนวคิด ได้แก่

1 เน้นความสลับซับซ้อนของวัตถุประสงค์ โดยเห็นว่าองค์การไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพียงประการเดียวที่จะเป็นกรอบของพฤติกรรมที่จะเกิดขึ้นในองค์การ

2 เน้นโครงสร้างที่ไม่เป็นทางการ โดยเชื่อว่าการมีโครงสร้างที่ไม่เป็นทางการจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการติดต่อสื่อสารให้ง่ายและรวดเร็วขึ้น

คุณสมบัติขององค์การตามแนวคิดของสํานักนีโอคลาสสิก ได้แก่

1 ต้องมีโครงสร้างเชิงพฤติกรรม

2 ขึ้นอยู่กับความเต็มใจของสมาชิกในการอุทิศเวลาในการทํางาน

3 แสวงหาความอยู่รอด

4 เน้นการมีส่วนร่วม

5 ใช้การสื่อสารอย่างไม่เป็นทางการ

แนวคิดของสํานักนีโอคลาสสิกเหมาะที่จะนําไปประยุกต์ใช้กับองค์การที่ไม่เป็นทางการ (Informal organization) เช่น องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) กลุ่มให้คําปรึกษาทางกฎหมาย กลุ่มสหกรณ์ เป็นต้น

นักทฤษฎีองค์การสํานักนีโอคลาสสิก ได้แก่ Hugo Munsterberg, Elton Mayo, Douglas Murray McGregor, Abraham H. Maslow, Frederick Herzberg เป็นต้น

3 สํานักระบบเปิด

สํานักระบบเปิด จะเน้นคนและคํานึงถึงสิ่งแวดล้อมขององค์การ ซึ่งแตกต่างจากสํานักคลาสสิก ที่ไม่ได้ให้ความสําคัญกับคน และสํานักนีโอคลาสสิกที่สนใจเฉพาะคนแต่ไม่ได้คํานึงถึงสิ่งแวดล้อม การศึกษาของ สํานักระบบเปิดให้ความสําคัญกับองค์การระบบเปิด โดยเน้นให้องค์การต้องปรับตัวให้ทันกับสิ่งแวดล้อมและ รู้จักการบริหารงานให้เป็นระบบในลักษณะบูรณาการ และให้ความสําคัญกับข้อมูลป้อนกลับ ซึ่งในปัจจุบันนี้ ทฤษฎีระบบเปิดสามารถนํามาประยุกต์ใช้ได้ทั้งงานประจําและงานโครงการ

ฐานคติของสํานักระบบเปิด ได้แก่

1 องค์การและสิ่งแวดล้อมภายนอกมีปฏิสัมพันธ์กัน

2 สิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

3 คนมีค่านิยมและผลประโยชน์ที่แตกต่างกัน

สาระสําคัญของแนวคิด ได้แก่

1 ระบบต้องมีระบบย่อย เช่น วัตถุประสงค์ คน โครงสร้าง เทคนิค ความรู้ข้อมูลข่าวสารซึ่งระบบย่อยเหล่านี้จะมีความสัมพันธ์และติดต่อซึ่งกันและกัน

2 มีลักษณะเป็นภาพรวม

3 มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกับสิ่งแวดล้อม

4 ให้ความสําคัญกับการแปรเปลี่ยนข้อมูลจากปัจจัยนําเข้ามาเป็นปัจจัยนําออก

5 ช่วยในการจัดแบ่งส่วนต่าง ๆ ขององค์การตามความแตกต่าง มีสถานภาพที่คงที่ คือ การให้องค์การมีความสมดุลกับสภาพแวดล้อม

6 เน้นความสําคัญของความแตกต่างระหว่างองค์การกับสิ่งแวดล้อม

คุณสมบัติขององค์การตามแนวคิดของสํานักระบบเปิด ได้แก่

1 เป็นระบบที่มีลําดับชั้น

2 มีความสามารถในการดํารงรักษาตนเอง โดยอาศัยกระบวนการแลกเปลี่ยนทรัพยากรกับสิ่งแวดล้อม

3 ระบบประกอบด้วยปัจจัยนําเข้า (Input) กระบวนการ (Process) และผลผลิต (Output)

4 ไม่มีขอบเขตชัดเจน

5 เป็นระบบที่ทํางานเองโดยอัตโนมัติ

นักทฤษฎีองค์การของสํานักระบบเปิด ได้แก่ Katz and Kahn, Chester L. Barnard, Herbert A Simon, Amitai Etzioni เป็นต้น

 

ข้อ 3 ให้เลือกนักคิดมา 3 ท่านพร้อมทั้งอธิบายผลงานของท่านมาพอให้เข้าใจ

แนวคําตอบ

1 Max Weber

Weber นักทฤษฎีองค์การชาวเยอรมัน ได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาของระบบราชการ” เขาเสนอว่า การจัดองค์การแบบระบบราชการ (Bureaucracy) เป็นวิธีการจัดองค์การที่มีประสิทธิภาพเหนือกว่า วิธีอื่นใด ซึ่งลักษณะขององค์การแบบระบบราชการมีดังนี้

1 มีการควบคุมกันโดยการแบ่งลําดับชั้นของการบังคับบัญชา (Hierarchy)

2 การปฏิบัติงานทุกขั้นตอนเป็นไปตามกฎระเบียบ (Rule and Regulation) 3 มีการจัดคนที่มีความรู้ความชํานาญเข้าด้วยกัน (Specialization)

4 มีการบริหารงานโดยไม่อาศัยเรื่องส่วนตัว (Impersonality)

5 เน้นการยึดถือความสามารถทางวิชาการ (Technical Competence)

6 เน้นความสําคัญของการพัฒนาบุคคล (Training and Development)

7 แยกผลประโยชน์ส่วนตัวออกจากองค์การ (Individual Interest, Official)

จุดเด่นของแนวคิดของ Weber ได้แก่

1 เป็นการควบคุมโดยอาศัยการจัดโครงสร้างการบังคับบัญชาลดหลั่นกันลงมา

2 ไม่สนใจตัวบุคคล

3 เน้นที่ตัวบทกฎหมายและความมีเหตุผลเพื่อการบรรลุเป้าหมายขององค์การอย่างมีประสิทธิภาพ

4 เน้นความสําคัญของโครงสร้าง ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม สนใจแต่การบริหารภายในองค์การ

ข้อดีจากแนวคิดของ Weber ได้แก่

1 องค์การมีประสิทธิภาพในการทํางาน (Efficiency)

2 มีความเสมอภาค (Equity)

ข้อเสียจากแนวคิดของ Weber ได้แก่

1 เกิดความแปลกแยกต่อองค์การ งาน และกฎระเบียบ (Alienation)

2 เกิดความเฉื่อยชา ไม่มีประสิทธิภาพ

3 เกิดความล่าช้า (Red Tape)

4 เกิดความไม่คล่องตัว (Rigidity)

5 เน้นความสําคัญของกฎ ระเบียบ และข้อบังคับมากเกินไป จนมองข้ามความสําคัญในด้านอื่น

6 แบ่งแยกงานกันตามความถนัดมากจนเกินไป

7 ขาดการประสานงาน (Lack of Coordination)

8 มีการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง (Resistance to Change)

นอกจากนี้ Weber ยังได้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับการครอบงํา (Domination) โดยเห็นว่า ผู้นํา หรือนักบริหารจะบริหารงานให้มีประสิทธิภาพได้ขึ้นอยู่กับการที่ผู้ใต้บังคับบัญชายินยอมที่จะปฏิบัติตาม และ ต้องมีระบบการบริหารมาดําเนินการให้คําสั่งมีผลใช้บังคับได้ ซึ่งลักษณะของการครอบงํา มี 3 รูปแบบ คือ

1 การครอบงําโดยอาศัยจารีตประเพณี (Traditional Domination)

2 การครอบงําโดยใช้บารมี (Charismatic Domination)

3 การครอบงําโดยวิธีกฎหมายและการมีเหตุผล (Legal Domination)

 

2 Luther Gulick และ Lyndall Urwick

Gulick และ Urwick ได้รวบรวมแนวคิดทางด้านการบริหารต่าง ๆ ไว้ในหนังสือชื่อ “Paper on the Science of Administration : Note on the Theory of organization” โดยเสนอแนวความคิด กระบวนการบริหารที่เรียกว่า “POSDCORB” ซึ่งเป็นหน้าที่สําคัญของนักบริหาร 7 ประการ ได้แก่

1 P = Planning คือ การวางแผน เป็นการวางเค้าโครงกิจกรรมซึ่งเป็นการเตรียมการ ก่อนการลงมือปฏิบัติเพื่อให้การดําเนินการบรรลุเป้าหมายที่กําหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ

2 O = Organizing คือ การจัดองค์การ เป็นการกําหนดโครงสร้างขององค์การโดย พิจารณาให้เหมาะสมกับงาน เช่น การแบ่งงานเป็นกรม กอง หรือแผนก โดยอาศัยปริมาณงาน คุณภาพของงาน หรือจัดตามลักษณะเฉพาะของงาน นอกจากนี้อาจพิจารณาในแง่ของการควบคุม หรือพิจารณาในแง่ของ หน่วยงาน เช่น หน่วยงานหลัก และหน่วยงานที่ปรึกษา เป็นต้น

3 S = Staffing คือ การจัดหาบุคลากรมาปฏิบัติงาน เป็นเรื่องเกี่ยวกับการบริหาร ทรัพยากรมนุษย์ในองค์การนั่นเอง ทั้งนี้เพื่อให้ได้บุคลากรมาปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับ การจัดแบ่งหน่วยงานที่กําหนดเอาไว้

4 D = Directing คือ การอํานวยการ เป็นภารกิจในการใช้ศิลปะในการบริหารงาน เช่น ภาวะผู้นํา มนุษยสัมพันธ์ การจูงใจ และการตัดสินใจ เป็นต้น

5 Co – Coordinating คือ การประสานงาน เป็นการประสานให้ส่วนต่าง ๆ ของ กระบวนการทํางานมีความต่อเนื่องกัน เพื่อให้การดําเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและราบรื่น

6 R = Reporting คือ การรายงาน เป็นกระบวนการและเทคนิคของการรายงานให้ ผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้นได้ทราบถึงผลการปฏิบัติงาน โดยมีความสัมพันธ์กับการติดต่อสื่อสารในองค์การอยู่ด้วย

7 B = Budgeting คือ การงบประมาณ เป็นภารกิจที่เกี่ยวกับการวางแผนการทําบัญชี การควบคุมเกี่ยวกับการเงินและการคลัง

สาระสําคัญของแนวคิด POSDCORB คือ “ประสิทธิภาพ” ซึ่ง Gulick และ Urwick เห็นว่า ประสิทธิภาพเป็นเรื่องที่สําคัญที่สุดของการบริหาร และเพื่อให้การบริหารงานในทุกหน่วยงานมีประสิทธิภาพ จะต้องมีการแบ่งงานตามความเหมาะสมและความจําเป็นหรือความถนัดของคนงาน โดยแบ่งหน่วยงานออก ตามกระบวนการ วัตถุประสงค์ ลูกค้า และพื้นที่ ซึ่งทุกหน่วยงานจะต้องจัดรูปแบบองค์การเป็นรูปสามเหลี่ยม พีระมิด และมีสายการบังคับบัญชาที่ลดหลั่นกันลงมา

3 Douglas Murray McGregor

McGregor เสนอทฤษฎี X และทฤษฎี Y ไว้ในหนังสือชื่อ “The Human Side of Enterprise” โดยมีฐานคติในการมองคนในองค์การ 2 แบบ คือ

1 ทฤษฎี X ถือว่า

– คนทั่วไปเกียจคร้าน ชอบเลี้ยงงาน

– ขาดความกระตือรือร้น ไม่มีความรับผิดชอบ

– เห็นแก่ตัวเพิกเฉยต่อความต้องการขององค์การ

2 ทฤษฎี Y ถือว่า

– คนชอบทํางาน ไม่ได้เกียจคร้าน – การควบคุมภายนอกไม่ใช่วิถีทางที่จะได้มาซึ่งงาน คนสามารถที่จะหาแนวทางและควบคุมตนเองได้

– ความพึงพอใจที่ได้ปฏิบัติงานตามศักยภาพเป็นรางวัลที่มีความสําคัญที่จะทําให้คนมีความรู้สึกผูกพันกับองค์การ

– คนโดยทั่วไปจะเรียนรู้เพื่อแสวงหาความรับผิดชอบต่อไป

– คนส่วนใหญ่อาศัยภาวะสร้างสรรค์ในการแก้ไขปัญหาในองค์การ

ทฤษฎี Y คือ “ภาพพจน์ของคน” ในแนวมนุษยสัมพันธ์ ซึ่งเชื่อว่าโดยธรรมชาติมนุษย์เป็นคนดี ดังนั้นคนจึงควรควบคุมตนเองได้ การควบคุมตนเองหมายถึงการปรับปรุงองค์การในเรื่องต่าง ๆ เช่น การกระจายอํานาจ การมอบอํานาจหน้าที่ การขยายงาน การมีส่วนร่วม และการบริหารงานโดยยึดเป้าหมาย จึงเห็นได้ว่าข้อเสนอ การปรับปรุงของ McGregor เป็นการย้ําให้เห็นความสําคัญของคน และช่วยให้คนหลุดพ้นจากการควบคุมของ องค์การ ซึ่งเป็นค่านิยมหลักของมนุษย์ที่เห็นว่าคนมาก่อนองค์การ

การมองคนในองค์การตามทฤษฎี X และทฤษฎี Y ของ McGregor ช่วยให้เราแยกแยะคนได้ ทําให้เรารู้ว่าใครเป็นเพื่อนที่ดีหรือนายที่ดี ซึ่งการมองแบบนี้เรียกว่า “Polarization” แต่ในสภาพความเป็นจริง เราไม่สามารถบอกได้ว่าคนไหนเป็นประเภท X หรือประเภท Y แต่อาจจะบอกได้ว่าค่อนข้างไปทาง X หรือ Y มากกว่า ดังนั้นการมองคนเป็น Polarization จึงเป็นจุดอ่อนอย่างหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามก็ถือว่าทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีแรกที่ช่วย ทําให้สามารถจําแนกประเภทของคนได้

 

ข้อ 4 จงอธิบายคําต่อไปนี้มาให้เข้าใจอย่างชัดเจน

ก. ความขัดแย้ง

แนวคําตอบ

ความขัดแย้ง (Conflicts) หมายถึง การที่บุคคล 2 ฝ่ายขึ้นไปมีข้อมูล ค่านิยม ความเชื่อ ความคิดเห็น และความรู้สึกที่แตกต่างกันในด้านต่าง ๆ ดังนี้

– ด้านจิตวิทยา คือ การตกลงกันไม่ได้ ต่างฝ่ายต่างคิดในจิตของตน

– ด้านเศรษฐศาสตร์ คือ การแย่งชิงผลประโยชน์

– ด้านรัฐศาสตร์ คือ การแย่งชิงอํานาจ

– ด้านสังคมวิทยา คือ ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มต่าง ๆ

– ด้านมานุษยวิทยา คือ ความเป็นมาที่แตกต่างกันของมนุษย์

– ด้านการจัดการ คือ ถ้ามองภาพดีจะเห็นว่าความขัดแย้งเป็นเรื่องของการสร้างสรรค์แต่ถ้ามองในแง่ไม่ดีจะเห็นว่าความขัดแย้งเป็นเรื่องของการทําลาย

สาเหตุของความขัดแย้ง ได้แก่

1 ความแตกต่างกันด้านวัตถุประสงค์

2 การแข่งขันกันใช้ทรัพยากรที่มีจํากัด

3 การมีบทบาทที่แตกต่างกัน

4 การมีพื้นฐานส่วนตัวที่แตกต่างกัน เช่น ค่านิยม ความเชื่อ พฤติกรรมส่วนตัว

5 การเปลี่ยนแปลงในองค์การที่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง

ผลของความขัดแย้ง

ผลดี คือ ทําให้มีแนวความคิดที่จะรับมือกับปัญหา และปัญหาต่าง ๆ ได้รับการแก้ไข ความ ขัดแย้งภายนอกช่วยกระตุ้นให้เกิดความสามัคคี

ผลเสีย คือ ในองค์การขาดความร่วมมือ ขาดการยอมรับซึ่งกันและกัน และสูญเสียบุคลากร ในองค์การ

วิธีการแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้ง ได้แก่

1 ประนีประนอม

2 จัดหาทรัพยากรเพิ่มขึ้นให้เพียงพอกับความต้องการ

3 ใช้กฎหมายหรือกฎระเบียบบังคับ

4 หลีกเลี่ยงไม่พูดถึงเรื่องความขัดแย้ง

 

ข. อํานาจ

แนวคําตอบ

อํานาจ (Power) หมายถึง ขีดความสามารถซึ่งบุคคลคนหนึ่งมีอิทธิพลเหนือพฤติกรรมของคนอีกคนหนึ่ง

อํานาจประกอบด้วย

1 ศักยภาพที่ไม่จําเป็นต้องให้เกิดประสิทธิผล

2 มีความสัมพันธ์ระหว่างกัน

3 มีข้อสมมติฐานว่าบุคคลที่มีอํานาจด้อยกว่าต้องรู้จักสํารวมพฤติกรรม

John Frence และ Bertram Raven ได้จําแนกประเภทของอํานาจไว้ 5 ประเภท คือ

1 อํานาจที่ได้รับการยอมรับ (Legitimate Power) คือ ความสามารถของบุคคลในการมีอิทธิพลเหนือผู้อื่นโดยอาศัยตําแหน่งหน้าที่

2 อํานาจในการให้รางวัล (Reward Power) คือ ความสามารถของบุคคลในการให้รางวัล แก่ผู้อื่น เช่น ขึ้นเงินเดือนหรือค่าจ้าง เลื่อนขั้น เลื่อนตําแหน่ง

3 อํานาจในการบังคับ (Coercive Power) คือ อํานาจในการลงโทษผู้ไม่ปฏิบัติตาม เช่น ไม่เลื่อนขั้นหรือเลื่อนตําแหน่ง โยกย้ายไปทํางานที่แย่ลง

4 อํานาจที่มาจากความเชี่ยวชาญ (Expert Power) คือ อํานาจในการมีอิทธิพลเหนือผู้อื่นโดยอาศัยความเชี่ยวชาญพิเศษ

5 อํานาจจากบุคลิกลักษณะ (Referent Power) คือ บุคลิกลักษณะพิเศษของแต่ละบุคคล ยุทธวิธีในการได้มาซึ่งอํานาจ ได้แก่

1 ความมีเหตุผล (Reason)

2 ความเป็นมิตร (Friendliness)

3 การรวมกัน (Coalition)

4 การต่อรอง (Bargaining)

5 ใช้วิธีการบังคับ (Assertiveness)

6 ใช้อํานาจหน้าที่ที่สูงกว่า (Higher Authority)

7 บังคับมิให้ละเมิด (Sanctions)

 

ค. อํานาจหน้าที่

แนวคําตอบ

อํานาจหน้าที่ (Authority) หมายถึง อํานาจที่ได้รับจากการมอบหมาย ซึ่งเป็นอํานาจที่ จะต้องปฏิบัติตามและถือว่าเป็นสิ่งที่มีความชอบธรรม

Max Weber เห็นว่า การได้มาซึ่งอํานาจหน้าที่มี 3 ประการ คือ

1 อํานาจจากประเพณีนิยม (Traditional Authority)

2 อํานาจจากบุคลิกภาพหรือบารมี (Charismatic Authority)

3 อํานาจตามหน้าที่ที่กฎหมายระบุไว้ (Legalistic Authority)

หลักเกณฑ์การมอบอํานาจหน้าที่ ได้แก่

1 มอบให้กับตําแหน่งไม่ใช่ตัวบุคคล

2 ผู้บริหารระดับสูงต้องปฏิบัติตามนโยบาย และมีการมอบอํานาจให้คนอื่นทําแทน

3 เป็นการพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา

4 การมอบหมายควรมอบเป็นลําดับชั้น

5 การมอบหมายควรทําเป็นลายลักษณ์อักษรถ้าเป็นเรื่องสําคัญ

ปัญหาอุปสรรคของการมอบอํานาจหน้าที่ ได้แก่

1 เกิดจากผู้มอบอํานาจหน้าที่ เช่น กลัวการสูญเสียอํานาจ ไม่เห็นความสําคัญ มีความพอใจที่จะรวบอํานาจหน้าที่ไว้ด้วยตนเอง

2 เกิดจากผู้รับมอบอํานาจหน้าที่ เช่น ไม่เต็มใจรับ ไม่เชื่อมั่นในตัวเอง ไม่มีความรู้ในงานที่ได้รับมอบหมาย ไม่เข้าใจงานที่ได้รับมอบอํานาจหน้าที่

3 เกิดจากสิ่งแวดล้อม เช่น ระเบียบกําหนดให้เป็นอํานาจเฉพาะตัว ความสามัคคีหรือความขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์ แนวคิดเผด็จการ

วิธีแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการมอบอํานาจหน้าที่ ได้แก่

1 กําหนดเป้าหมายให้ผู้รับมอบเข้าใจชัดเจน

2 ให้ความรับผิดชอบกับอํานาจได้สัดส่วนกัน

3 ต้องมีศิลปะการจูงใจผู้ใต้บังคับบัญชา

4 กําหนดเครื่องมือในการควบคุมให้ดี

5 จัดให้มีการมอบหมายอย่างเป็นระบบ

 

ง. อิทธิพล

แนวคําตอบ

อิทธิพล (Influence) หมายถึง การปฏิบัติการทางสังคมที่บุคคลหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่งสามารถ ชักจูงให้บุคคลอีกคนหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่งให้กระทําหรือไม่กระทําอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งในสภาพปกติฝ่ายหลังจะ ไม่กระทําเช่นนั้น

วิธีการที่จะมีอิทธิพล เช่น ทางร่างกาย การถูกบังคับ ด้านความเชี่ยวชาญ และอิทธิพลด้านบารมี

คุณลักษณะของผู้ใช้อิทธิพล เช่น มีความเชี่ยวชาญ อยู่ในตําแหน่งที่สามารถให้คุณให้โทษได้ หรือในขณะที่มีกฎหมายรองรับ และมีผลกระทบต่อการตัดสินใจในองค์การ

 

จ. พฤติกรรมความเครียด

แนวคําตอบ

พฤติกรรมความเครียด (Stress Behavioral) หมายถึง สภาวะทางจิตใจที่ต้องเผชิญกับปัญหา ต่าง ๆ ซึ่งอาจจะเกิดจากตัวเราหรือสภาพแวดล้อม โดยอาจเป็นสิ่งดีที่คาดว่าจะเกิดแต่ไม่เกิด หรือเป็นสิ่งไม่ดีที่ คาดว่าจะไม่เกิดแต่กลับเกิด เช่น มีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นในร่างกาย เป็นต้น

สาเหตุของความเครียดส่วนที่เกี่ยวกับองค์การ ได้แก่

1 นโยบายองค์การ เช่น พิจารณาผลงานไม่ยุติธรรม ได้รับการโยกย้ายอย่างไม่เป็นธรรมกฎเกณฑ์ไม่มีความยืดหยุ่น

2 โครงสร้างขององค์การ เช่น ขาดการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ มีโอกาสก้าวหน้าน้อยเน้นความเชี่ยวชาญมากเกินไป

3 สภาวะด้านกายภาพ เช่น ขาดความเป็นส่วนตัว อากาศไม่ดี

4 กระบวนการทํางาน เช่น กระบวนการติดต่อสื่อสารไม่เหมาะสม ข้อมูลย้อนกลับมีน้อยเป้าหมายขององค์การไม่ชัดเจน ระบบการควบคุมไม่ดี

5 สาเหตุอื่น ๆ เช่น ผู้ใต้บังคับบัญชาขาดประสิทธิภาพ งานที่ทําเสี่ยงอันตราย เกิดความขัดแย้งระหว่างเพื่อนร่วมงาน

วิธีการบริหารความเครียด มี 2 วิธี คือ

1 เกี่ยวกับงาน เช่น กําหนดบทบาทในการทํางานของตนเองให้ชัดเจน รู้จักการแบ่งเวลาบริหารเวลาให้เหมาะสม มอบหมายงานให้คนอื่นทําบ้าง

2 เกี่ยวกับอารมณ์ เช่น คบกับคนที่ไม่เครียด หาวิธีคลายเครียด

POL2310 ทฤษฎีองค์การ s/2558

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2310 ทฤษฎีองค์การ

คําสั่ง ข้อสอบมี 4 ข้อ ให้ทําทุกข้อ ๆ ละ 25 คะแนน (รวม 100 คะแนน)

ข้อ 1 จงอธิบายความสัมพันธ์ของระบบย่อยองค์การกับการจัดการมาให้เข้าใจ

แนวคําตอบ

องค์การ หมายถึง การที่คนมารวมตัวกันเพื่อเข้าทํางานโดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกันและต้องการ ที่จะทํางานให้บรรลุวัตถุประสงค์ ซึ่งระบบย่อยขององค์การ ประกอบด้วย เป้าหมาย/วัตถุประสงค์ คน โครงสร้าง เทคนิค และความรู้ข้อมูลข่าวสาร

การจัดการ หมายถึง การดําเนินงานของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปเพื่อที่จะให้บรรลุวัตถุประสงค์ ที่ได้ตั้งเอาไว้ร่วมกัน โดยคํานึงถึงการจัดสรรทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพเข้าช่วย ซึ่งกระบวนการจัดการ ประกอบด้วย การวางแผน การประสานงาน การจัดองค์การ การตัดสินใจ และการควบคุมงาน

ความสัมพันธ์ระหว่างระบบย่อยองค์การกับการจัดการ มีดังนี้

1 ความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมาย/วัตถุประสงค์กับการวางแผน หมายถึง เมื่อกําหนด เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ขององค์การแล้ว ก็ต้องหาหนทางเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้น โดยนักบริหารจะต้อง นําความรู้ในวิชาการวางแผนมาใช้ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับขั้นตอน 4 ขั้นตอน คือ

1) การกําหนดเป้าหมาย

2) การอธิบายสถานการณ์ปัจจุบัน

3) การหาเครื่องมือที่จะมาช่วย พร้อมทั้งตระหนักถึงปัญหาและอุปสรรคในการบรรลุเป้าหมาย

4) การพัฒนาหนทางที่จะบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์

2 ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับการประสานงาน หมายถึง นักบริหารต้องมีภาวะผู้นํา และมีความรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นํา เพื่อจูงใจให้กลุ่มคนมาบริหารองค์การให้บรรลุเป้าหมาย นอกจากนี้ผู้บริหารต้อง มีความสามารถในการสื่อข้อความ เพราะการสื่อข้อความจะช่วยให้เข้าใจงานและสามารถทํางานได้ง่ายขึ้น รวมทั้ง ช่วยให้เกิดประสิทธิผลที่ดีต่อองค์การ

3 ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างกับการจัดองค์การ หมายถึง การจัดองค์การเพื่อให้ องค์การมีโครงสร้างที่เหมาะสม ซึ่งพิจารณาจากเกณฑ์ดังต่อไปนี้

1) ปัญหารอบด้านขององค์การ

2) กระบวนการปฏิบัติงานที่มีความรวดเร็ว

3) การจัดสรรคนให้เหมาะสมกับโครงสร้างขององค์การ

4) การติดต่อและการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลภายในองค์การที่สอดคล้องกับ โครงสร้างองค์การ

5) การจัดโครงสร้างองค์การที่เอื้ออํานวยต่อการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพมีความยืดหยุ่น และจูงใจให้คนมีความเอาใจใส่ต่อการทํางาน

6) การปกครองบังคับบัญชาทุกระดับมีความสอดคล้องกัน

7) การให้อํานาจหน้าที่กับผู้รับผิดชอบที่เหมาะสมในการจัดโครงสร้างองค์การ

8) การจัดโครงสร้างให้สอดคล้องกับนโยบาย

9) การแบ่งส่วนงานที่มีความเหมาะสม

4 ความสัมพันธ์ระหว่างเทคนิคกับการตัดสินใจ หมายถึง เทคนิคการบริหารจะเป็น ประโยชน์ที่ทําให้องค์การปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมาย ซึ่งเทคนิคทางการบริหารมี 2 รูปแบบ คือ การตัดสินใจที่ใช้อยู่ เป็นประจํา (Programmed Decision-Making) และการตัดสินใจที่ไม่เกิดบ่อยนัก (Nonprogrammed Decision Making) ดังนั้นนักบริหารจะต้องรู้จักหลักการตัดสินใจในโอกาสต่าง ๆ เช่น

1) การตัดสินใจภายในภาวะที่แน่นอน (Certainty) คือ การตัดสินใจที่ทราบผลในแต่ละทางเลือก

2) การตัดสินใจในภาวะที่มีความเสี่ยง (Risk) คือ การตัดสินใจที่ทราบความเป็นไปของผลในแต่ละทางเลือก

3) การตัดสินใจในภาวะที่ไม่แน่นอน (Uncertainty) คือ การตัดสินใจที่ไม่ทราบความเป็นไปของผลที่เกิดขึ้น

5 ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ข้อมูลข่าวสารกับการควบคุมงาน หมายถึง นักบริหาร จะต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารในการกําหนดนโยบายและการนํานโยบายไปสู่การปฏิบัติ รวมทั้งในการควบคุมงาน ทุกประเภทเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย โดยนักบริหารจะต้องใช้ระบบการควบคุมเพื่อตรวจสอบว่าการบริหารงานในองค์การ เป็นไปตามที่กําหนดไว้ในแผนหรือไม่ ซึ่งการควบคุมงานจะทําให้องค์การสามารถปฏิบัติงานต่อไปได้อย่างราบรื่น

 

ข้อ 2 จงอธิบายการแบ่งยุคทฤษฎีองค์การ 3 ยุคมาพอสังเขป พร้อมทั้งยกตัวอย่างแนวคิดของนักทฤษฎีองค์การมาอย่างน้อยยุคละ 2 คน

แนวคําตอบ

  1. Richard Scott ได้แบ่งยุคทฤษฎีองค์การออกเป็น 3 ยุค ได้แก่

1 สํานักเหตุผลนิยม หรือสํานักคลาสสิก

ลักษณะของสํานักเหตุผลนิยม ได้แก่

1 เป็นองค์การระบบปิด

2 อาศัยโครงสร้างเข้ามาควบคุมคน

3 การบริหารคํานึงถึงประสิทธิภาพและประหยัด

ฐานคติของสํานักเหตุผลนิยม ได้แก่

1 องค์การเป็นระบบที่มีเหตุผลและประกอบด้วยสมาชิกในองค์การที่มีเหตุผลและรู้สํานึกในสิ่งที่ตนเองกระทํา

2 การตัดสินใจหรือการกระทําใด ๆ ของคนมุ่งให้เกิดประโยชน์สูงสุด

3 การควบคุมสมาชิกเป็นสิ่งที่มีประสิทธิภาพที่สุดขององค์การ

คุณสมบัติขององค์การตามแนวคิดของสํานักเหตุผลนิยม ได้แก่

1 เป็นกลุ่มสังคม ประกอบด้วยคน 2 คนขึ้นไปมารวมตัวกันและมีปฏิสัมพันธ์ในการทํางานและการรวมกลุ่มต้องมีการประสานกันอย่างมีสํานึก

2 มีขอบเขตที่ชัดเจน

3 มีวัตถุประสงค์เฉพาะเจาะจง

4 มีการจัดแบ่งอํานาจหน้าที่

5 ใช้กฎระเบียบ การดําเนินการ การควบคุมและเทคนิค

6 ใช้การสื่อสารอย่างเป็นทางการ

7 เน้นความชํานาญเฉพาะด้านและการจัดแบ่งงาน

8 มีการว่าจ้างมีทักษะ และมีความรู้ความชํานาญเข้ามาทํางานในองค์การ การประยุกต์ใช้แนวคิดของสํานักเหตุผลนิยมให้ความสําคัญกับโครงสร้างองค์การ จึงเหมาะที่จะนําไปประยุกต์ใช้ กับองค์การแบบราชการ (Bureaucracy) และองค์การที่เป็นทางการ (Format Organization)

นักทฤษฎีองค์การของสํานักเหตุผลนิยม เช่น

– Adam Smith เสนอหลักการแบ่งงานกันทํา (Division of Labor) โดยเห็นว่าการ แบ่งงานกันทําจะก่อให้เกิดผลดี 3 ประการ คือ เป็นการเพิ่มความคล่องตัวให้กับการปฏิบัติงานของคนงาน ประหยัดเวลาในการผลิต และทําให้สามารถผลิตผลงานได้จํานวนมาก

– Frederick ‘W. Taylor เสนอหลักการบริหารงานแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) เพื่อปรับปรุงวิธีการทํางานของคนงานให้มีประสิทธิภาพ โดย Taylor เสนอให้ฝ่ายจัดการหรือ ฝ่ายบริหารมีหน้าที่ดังนี้

1) สร้างหลักการทํางานหรือวิธีการทํางานที่ดีที่สุด (One Best Way)

2) คัดเลือกคนงานตามเกณฑ์วิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้คนที่เหมาะกับงานแต่ละประเภท

3) พัฒนาคนงานให้สามารถทํางานได้อย่างถูกต้อง

4) สร้างบรรยากาศการทํางานระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง

2 สํานักธรรมชาตินิยม หรือสํานักนีโอคลาสสิก ลักษณะของสํานักธรรมชาตินิยม ได้แก่

1 สนใจพฤติกรรมของคน

2 เห็นคนเป็นปัจจัยที่สําคัญขององค์การ

3 เห็นว่าถ้าคนมีประสิทธิภาพจะแก้ปัญหาขององค์การได้

ฐานคติของสํานักธรรมชาตินิยม ได้แก่

1 คนมีความต้องการที่หลากหลาย และความต้องการนี้เป็นแรงขับให้เกิดพฤติกรรมต่าง ๆ

2 การควบคุมและการลงโทษไม่ใช่วิธีการที่จะทําให้องค์การบรรลุเป้าหมายที่กําหนด 3 วิธีการจูงใจที่ดีที่สุด คือ การจูงใจที่ตอบสนองความต้องการของคนในการได้รับการยอมรับและการตระหนักในศักยภาพและความสามารถในฐานะมนุษย์

คุณสมบัติขององค์การตามแนวคิดของสํานักธรรมชาตินิยม ได้แก่

1 ต้องมีโครงสร้างเชิงพฤติกรรม เช่น ลักษณะและพฤติกรรมของปัจเจกบุคคลและกลุ่ม

2 ขึ้นอยู่กับความเต็มใจของสมาชิกในการอุทิศเวลาในการทํางาน

3 แสวงหาความอยู่รอด

4 เน้นการมีส่วนร่วม

5 ใช้การสื่อสารอย่างไม่เป็นทางการ

การประยุกต์ใช้

แนวคิดของสํานักธรรมชาตินิยมเหมาะที่จะนําไปประยุกต์ใช้กับองค์การที่ไม่เป็นทางการ (Informal Organization) เช่น องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) กลุ่มให้คําปรึกษาทางกฎหมาย กลุ่มสหกรณ์ เป็นต้น

นักทฤษฎีองค์การของสํานักธรรมชาตินิยม เช่น

– Elton Mayo เป็นนักทฤษฎีด้านมนุษยสัมพันธ์คนแรกที่ค้นพบเรื่องสําคัญเกี่ยวกับ พฤติกรรมของมนุษย์ในการทํางาน โดยเห็นว่าปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจไม่ได้มีความสําคัญมากกว่าความรู้สึกทาง ด้านจิตใจ เพราะถ้าหากคนที่ทํางานร่วมกันมีความรู้สึกที่ดีต่อกันและทํางานอย่างมีส่วนร่วมจะทําให้งานประสบ ความสําเร็จ

– Warren G. Bennis มีความเห็นว่าองค์การไม่จําเป็นต้องมีโครงสร้างที่เป็นทางการ ดังเช่นที่ Max Weber กล่าวไว้ Bennis กลับมีความเห็นว่าองค์การในยุคมนุษยสัมพันธ์ควรเป็นองค์การที่มีลักษณะ ความคล่องตัว

3 สํานักระบบเปิด

ลักษณะของสํานักระบบเปิด ได้แก่

1 เน้นคนและคํานึงถึงสิ่งแวดล้อมขององค์การ

2 เน้นให้องค์การต้องปรับตัวให้ทันกับสิ่งแวดล้อม และรู้จักการบริหารงานให้เป็นระบบในลักษณะบูรณาการ

3 ให้ความสําคัญกับข้อมูลป้อนกลับ ฐานคติของสํานักระบบเปิด ได้แก่

1 องค์การและสิ่งแวดล้อมภายนอกมีปฏิสัมพันธ์กัน

2 สิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

3 คนมีค่านิยมและผลประโยชน์ที่แตกต่างกัน คุณสมบัติขององค์การตามแนวคิดของสํานักระบบเปิด ได้แก่

1 เป็นระบบที่มีลําดับชั้น

2 มีความสามารถในการดํารงรักษาตนเอง โดยอาศัยกระบวนการแลกเปลี่ยนทรัพยากรกับสิ่งแวดล้อม

3 ระบบประกอบด้วยปัจจัยนําเข้า (Input) กระบวนการ (Process) และผลผลิต (Output)

4 ไม่มีขอบเขตชัดเจน

5 เป็นระบบที่ทํางานเองโดยอัตโนมัติ

การประยุกต์ใช้

แนวคิดสํานักระบบเปิดเหมาะที่จะนําไปประยุกต์ใช้กับองค์การสมัยใหม่ น องค์การแบบ เครือข่าย (Network Organization) และองค์การเสมือนจริง (Virtual Organization) เป็นต้น

นักทฤษฎีองค์การของสํานักระบบเปิด เช่น

– Chester I. Barnard เสนอแนวคิดที่ทําให้เห็นว่าองค์การจะระสบความสําเร็จยอม ขึ้นอยู่กับการจัดสร้างระบบความร่วมมือ ผู้บริหารต้องให้ความสําคัญกับงานและคนในองค์การ ซึ่ง Barnard เสนอ หนังสือชื่อ “The Function of The Executive” และได้นําเสนอความคิดว่าผู้บริหารจะต้องเป็นผู้ที่มีบทบาท ในการให้ความสะดวกในการติดต่อสื่อสารภายในองค์การและภายนอกองค์การ

– Herbert A. Simon ได้สร้างศาสตร์สาขาใหม่ คือ “วิทยาการจัดการ” โดยการนําเอา ความรู้ทางคณิตศาสตร์ สถิติ วิศวกรรม อุตสาหกรรม การบัญชี คอมพิวเตอร์ และการจัดการมาผสมผสานและ ประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มผลผลิต และเสนอแนวคิดว่าบทบาทที่สําคัญของผู้บริหาร คือ การตัดสินใจ โดยเขียนหนังสือ ชื่อ “Administrative Behavior”

 

ข้อ 3 ปัจจัยซึ่งกําหนดพฤติกรรมกลุ่มมีอะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างแนวคิดการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในสภาวะต่าง ๆ มา 2 แนวคิด

แนวคําตอบ

ปัจจัยกําหนดพฤติกรรมกลุ่ม มี 4 ประการ ได้แก่

1 โครงสร้างของกลุ่ม เป็นเรื่องของบทบาท ปทัสถาน และสถานภาพของคนในกลุ่ม โดยบทบาทแต่ละบทบาทจะเป็นสิ่งกําหนดว่าคนที่สวมบทบาทนั้นจะมีพฤติกรรมอย่างไร ส่วนการสร้างปทัสถาน ของกลุ่ม หมายถึง แนวทางปฏิบัติอันเป็นที่ยอมรับของสมาชิกในกลุ่ม และองค์การจะใช้เป็นเครื่องมือในการ ควบคุมคน ซึ่งการสร้างปทัสถานของกลุ่มสามารถกระทําได้หลายวิธี เช่น ผู้นํากลุ่มเป็นผู้กําหนดการเรียนรู้จาก ประสบการณ์ในอดีต เป็นต้น

2 ลักษณะเฉพาะของกลุ่ม เป็นปัจจัยที่ช่วยให้เราสามารถทําความเข้าใจพฤติกรรมกลุ่มได้ เช่น บุคลิกส่วนตัวของสมาชิกกลุ่มแต่ละคนเมื่อมารวมตัวกัน ลักษณะที่สําคัญอีกประการหนึ่งคือ การกําหนดรูปแบบ การแสดงออกทางอารมณ์ของสมาชิกองค์การให้สอดคล้องกับปทัสถานของกลุ่ม เช่น สมาชิกขององค์การที่มีหน้าที่ ให้บริการแก่ประชาชน ควรพูดจาให้สุภาพ หน้าตายิ้มแย้ม ให้การบริการที่เท่าเทียมแก่ประชาชน

3 การสื่อสารภายในกลุ่ม ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มคนในองค์การจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ กลุ่มคนในองค์การมีระบบการสื่อสารที่ดี ในขณะเดียวกันความขัดแย้งระหว่างกลุ่มคนในองค์การส่วนมากก็มักจะ เกิดจากระบบการสื่อสารที่ไม่ดีเช่นกัน

4 ภาวะผู้นํา หมายถึง ความสามารถของผู้นําในการมีอิทธิพลต่อบุคคลอื่นในกลุ่มให้มุ่ง ทํางานเพื่อบรรลุเป้าหมาย

แนวคิดการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในสภาวะต่าง ๆ

การศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในสภาวะต่าง ๆ คือ การศึกษาเกี่ยวกับภาวะผู้นํา, อํานาจ อํานาจหน้าที่ และอิทธิพล, ความขัดแย้งในองค์การ, พฤติกรรมความเครียด และการพัฒนาองค์การ ซึ่งในที่นี้ จะขอนําเสนอแนวคิดการศึกษาพฤติกรรม 2 แนวคิด คือ ความขัดแย้งในองค์การ และพฤติกรรมความเครียด

– ความขัดแย้ง (Conflicts) หมายถึง การที่บุคคล 2 ฝ่ายขึ้นไปมีข้อมูล ค่านิยม ความเชื่อ ความคิดเห็น และความรู้สึกที่แตกต่างกันในด้านต่าง ๆ ดังนี้

– ด้านจิตวิทยา คือ การตกลงกันไม่ได้ ต่างฝ่ายต่างคิดในจิตของตน – ด้านเศรษฐศาสตร์ คือ การแย่งชิงผลประโยชน์ – ด้านรัฐศาสตร์ คือ การแย่งชิงอํานาจ – ด้านสังคมวิทยา คือ ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มต่าง ๆ – ด้านมานุษยวิทยา คือ ความเป็นมาที่แตกต่างกันของมนุษย์ – ด้านการจัดการ คือ ถ้ามองภาพดีจะเห็นว่าความขัดแย้งเป็นเรื่องของการสร้างสรรค์

แต่ถ้ามองในแง่ไม่ดีจะเห็นว่าความขัดแย้งเป็นเรื่องของการทําลาย สาเหตุของความขัดแย้ง ได้แก่

1 ความแตกต่างกันด้านวัตถุประสงค์

2 การแข่งขันกันใช้ทรัพยากรที่มีจํากัด

3 การมีบทบาทที่แตกต่างกัน

5 การเปลี่ยนแปลงในองค์การที่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง ผลของความขัดแย้ง

ผลดี คือ ทําให้มีแนวความคิดที่จะรับมือกับปัญหา และปัญหาต่าง ๆ ได้รับการแก้ไข ความ ขัดแย้งภายนอกช่วยกระตุ้นให้เกิดความสามัคคี

ในองค์การ

วิธีการแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้ง ได้แก่

1 ประนีประนอม

2 จัดหาทรัพยากรเพิ่มขึ้นให้เพียงพอกับความต้องการ

3 ใช้กฎหมายหรือกฎระเบียบบังคับ

4 หลีกเลี่ยงไม่พูดถึงเรื่องความขัดแย้ง

พฤติกรรมความเครียด (Stress Behaviorat) หมายถึง สภาวะทางจิตใจที่ต้องเผชิญกับปัญหา ต่าง ๆ ซึ่งอาจจะเกิดจากตัวเราหรือสภาพแวดล้อม โดยอาจเป็นสิ่งดีที่คาดว่าจะเกิดแต่ไม่เกิด หรือเป็นสิ่งไม่ดีที่ คาดว่าจะไม่เกิดแต่กลับเกิด เช่น มีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นในร่างกาย เป็นต้น

สาเหตุของความเครียดส่วนที่เกี่ยวกับองค์การ ได้แก่

1 นโยบายองค์การ เช่น พิจารณาผลงานไม่ยุติธรรม ได้รับการโยกย้ายอย่างไม่เป็นธรรม

กฎเกณฑ์ไม่มีความยืดหยุ่น

2 โครงสร้างขององค์การ เช่น ขาดการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ มีโอกาสก้าวหน้าน้อยเน้นความเชี่ยวชาญมากเกินไป

3 สภาวะด้านกายภาพ เช่น ขาดความเป็นส่วนตัว อากาศไม่ดี

4 กระบวนการทํางาน เช่น กระบวนการติดต่อสื่อสารไม่เหมาะสม ข้อมูลย้อนกลับมีน้อยเป้าหมายขององค์การไม่ชัดเจน ระบบการควบคุมไม่ดี

5 สาเหตุอื่น ๆ เช่น ผู้ใต้บังคับบัญชาขาดประสิทธิภาพ งานที่ทําเสี่ยงอันตราย เกิดความขัดแย้งระหว่างเพื่อนร่วมงาน

วิธีการบริหารความเครียด มี 2 วิธี คือ

1 เกี่ยวกับงาน เช่น กําหนดบทบาทในการทํางานของตนเองให้ชัดเจน รู้จักการแบ่งเวลาบริหารเวลาให้เหมาะสม มอบหมายงานให้คนอื่นทําบ้าง

2 เกี่ยวกับอารมณ์ เช่น คบกับคนที่ไม่เครียด หาวิธีคลายเครียด

 

ข้อ 4 จงอธิบายคําต่อไปนี้มาพอให้เข้าใจ

ก Organization

แนวคําตอบ

– Organization หรือองค์การ หมายถึง การรวมตัวกันของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มีวัตถุประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายร่วมกันอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยผ่านกระบวนการจัดโครงสร้างและกําหนดกิจกรรม เพื่อก่อให้เกิด – การแบ่งงานกันทํา และส่งผลให้บรรลุยังจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งองค์การแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 องค์การที่เป็นทางการหรือองค์การแบบรูปนัย (Formal Organization) คือ องค์การ ที่มีการกําหนดโครงสร้างและรูปแบบไว้ชัดเจนตายตัว กล่าวคือ มีการกําหนดวัตถุประสงค์ อํานาจหน้าที่และ ความรับผิดชอบ สายการบังคับบัญชา การแบ่งงานกันทํา ขนาดการควบคุม เอกภาพในการบังคับบัญชา ตลอดจน มาตรการและวิธีการปฏิบัติงานที่ชัดเจนตายตัว ดังตัวอย่างขององค์การและหน่วยงานโดยทั่ว ๆ ไปทั้งภาครัฐและ ภาคเอกชน เช่น มหาวิทยาลัย ธนาคาร เป็นต้น –

2 องค์การที่ไม่เป็นทางการหรือองค์การแบบอรูปนัย (Informal Organization) คือ องค์การ ที่ไม่มีการกําหนดโครงสร้างและรูปแบบใด ๆ ไว้ตายตัวทั้งสิ้น สมาชิกมีความสัมพันธ์แบบไม่เป็นทางการ มีการสื่อสาร ข้อความอย่างรวดเร็ว ยึดความสําคัญของอํานาจบารมีมากกว่าอํานาจหน้าที่ ซึ่งองค์การลักษณะนี้มักเกิดขึ้นจาก ความต้องการของสมาชิกที่ไม่ได้รับการตอบสนองจากองค์การที่เป็นทางการ และมักแอบแฝงอยู่ในองค์การที่ เป็นทางการเสมอ เช่น กลุ่ม NGO, กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงต่าง ๆ เป็นต้น

ข Bureaucracy

แนวคําตอบ

คําว่า Bureaucracy หรือระบบราชการ ได้มีนักวิชาการให้ความหมายไว้หลากหลาย ซึ่งหาก พิจารณาตามช่วงเวลา เราสามารถแบ่งความหมายของระบบราชการได้เป็น 2 ช่วง คือ ในอดีตระบบราชการถูกมองว่า เป็นองค์การที่มีขนาดใหญ่ มีลักษณะของการบริหารจัดการที่มีความสลับซับซ้อนบนพื้นฐานของหลักเหตุผล ความสัมพันธ์ของคนในองค์การอยู่ภายใต้บรรทัดฐานของความเป็นทางการ โดยมิได้มุ่งประเด็นของภารกิจของ ความเป็นรัฐหรือเอกชน ดังจะเห็นได้จากคํานิยามของ Max Weber บิดาของระบบราชการ ซึ่งมองว่าระบบราชการ เป็นองค์การที่มีการดําเนินงานที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของกฎระเบียบที่ชัดเจนตายตัว และความสัมพันธ์ที่คํานึงถึง สายการบังคับบัญชา ซึ่งแตกต่างจากมุมมองในยุคใหม่ที่มองระบบราชการว่าเป็นองค์การที่บริหารงานเพื่อเสริมสร้าง ประโยชน์แก่สาธารณะเป็นสําคัญ ซึ่งพยายามแสดงถึงเจตนารมณ์ของผู้บริหารองค์การระบบราชการที่สะท้อน การตอบสนองความต้องการของสาธารณะ และโดยมากมุ่งเป้าประสงค์ไปที่การผลิตสินค้าและบริการสาธารณะ

ดังนั้นคุณลักษณะของข้าราชการในหน่วยงานราชการจึงมีความแตกต่างกันเมื่อเปรียบเทียบ ระหว่างอดีตกับปัจจุบัน กล่าวคือ ข้าราชการในอดีตจะต้องมีคุณลักษณะของการมุ่งเน้นการปฏิบัติงานบนพื้นฐาน ของความเป็นทางการ และคํานึงถึงกฎระเบียบที่เคร่งครัดตายตัว ส่วนข้าราชการในปัจจุบันมิใช่จะยึดติดแต่ กฎระเบียบเท่านั้น หากต้องมีความชํานาญเชี่ยวชาญและสามารถให้บริการสาธารณะได้เป็นอย่างดี จึงจะสามารถ ตอบสนองต่อภารกิจของระบบราชการตามความหมายในยุคใหม่

ค POSDCORB

แนวคําตอบ

Gulick และ Urwick ได้รวบรวมแนวคิดทางด้านการบริหารต่าง ๆ ไว้ในหนังสือชื่อ “Paper on the Science of Administration : Note on the Theory of Organization” โดยเสนอแนวความคิด กระบวนการบริหารที่เรียกว่า “POSDCORB” ซึ่งเป็นหน้าที่สําคัญของนักบริหาร 7 ประการ ได้แก่

1 P = Planning คือ การวางแผน เป็นการวางเค้าโครงกิจกรรมซึ่งเป็นการเตรียมการ ก่อนการลงมือปฏิบัติเพื่อให้การดําเนินการบรรลุเป้าหมายที่กําหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ

2 O = Organizing คือ การจัดองค์การ เป็นการกําหนดโครงสร้างขององค์การโดยพิจารณา ให้เหมาะสมกับงาน เช่น การแบ่งงานเป็นกรม กอง หรือแผนก โดยอาศัยปริมาณงาน คุณภาพของงานหรือจัด ตามลักษณะเฉพาะของงาน นอกจากนี้อาจพิจารณาในแง่ของการควบคุม หรือพิจารณาในแง่ของหน่วยงาน เช่น หน่วยงานหลัก และหน่วยงานที่ปรึกษา เป็นต้น

3 S = Staffing คือ การจัดหาบุคลากรมาปฏิบัติงาน เป็นเรื่องเกี่ยวกับการบริหาร ทรัพยากรมนุษย์ในองค์การนั่นเอง ทั้งนี้เพื่อให้ได้บุคลากรมาปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับ การจัดแบ่งหน่วยงานที่กําหนดเอาไว้

4 D = Directing คือ การอํานวยการ เป็นภารกิจในการใช้ศิลปะในการบริหารงาน เช่น ภาวะผู้นํา มนุษยสัมพันธ์ การจูงใจ และการตัดสินใจ เป็นต้น

5 (O = Coordinating คือ การประสานงาน เป็นการประสานให้ส่วนต่าง ๆ ของ กระบวนการทํางานมีความต่อเนื่องกัน เพื่อให้การดําเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและราบรื่น

6 R = Reporting คือ การรายงาน เป็นกระบวนการและเทคนิคของการรายงานให้ ผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้นได้ทราบถึงผลการปฏิบัติงาน โดยมีความสัมพันธ์กับการติดต่อสื่อสารในองค์การอยู่ด้วย

7 B = Budgeting คือ การงบประมาณ เป็นภารกิจที่เกี่ยวกับการวางแผนการทําบัญชี การควบคุมเกี่ยวกับการเงินและการคลัง

ง Authority

แนวคําตอบ

Authority หรืออํานาจหน้าที่ หมายถึง อํานาจที่ได้รับจากการมอบหมาย ซึ่งเป็นอํานาจที่ จะต้องปฏิบัติตามและถือว่าเป็นสิ่งที่มีความชอบธรรม

Max Weber เห็นว่า การได้มาซึ่งอํานาจหน้าที่มี 3 ประการ คือ

1 อํานาจจากประเพณีนิยม (Traditional Authority)

2 อํานาจจากบุคลิกภาพหรือบารมี (Charismatic Authority)

3 อํานาจตามหน้าที่ที่กฎหมายระบุไว้ (Legalistic Authority)

หลักเกณฑ์การมอบอํานาจหน้าที่ ได้แก่

1 มอบให้กับตําแหน่งไม่ใช่ตัวบุคคล

2 ผู้บริหารระดับสูงต้องปฏิบัติตามนโยบาย และมีการมอบอํานาจให้คนอื่นทําแทน

3 เป็นการพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา

4 การมอบหมายควรมอบเป็นลําดับชั้น

5 การมอบหมายควรทําเป็นลายลักษณ์อักษรถ้าเป็นเรื่องสําคัญ

ปัญหาอุปสรรคของการมอบอํานาจหน้าที่ ได้แก่

1 เกิดจากผู้มอบอํานาจหน้าที่ เช่น กลัวการสูญเสียอํานาจ ไม่เห็นความสําคัญ มีความพอใจที่จะรวบอํานาจหน้าที่ไว้ด้วยตนเอง

2 เกิดจากผู้รับมอบอํานาจหน้าที่ เช่น ไม่เต็มใจรับ ไม่เชื่อมั่นในตัวเอง ไม่มีความรู้หรือไม่เข้าใจงานที่ได้รับมอบอํานาจหน้าที่

3 เกิดจากสิ่งแวดล้อม เช่น ระเบียบกําหนดให้เป็นอํานาจเฉพาะตัว ความสามัคคีหรือความขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์

แนวคิดเผด็จการ

วิธีแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการมอบอํานาจหน้าที่ ได้แก่

1 กําหนดเป้าหมายให้ผู้รับมอบเข้าใจชัดเจน

2 ให้ความรับผิดชอบกับอํานาจได้สัดส่วนกัน

3 ต้องมีศิลปะการจูงใจผู้ใต้บังคับบัญชา

4 กําหนดเครื่องมือในการควบคุมให้ดี

5 จัดให้มีการมอบหมายอย่างเป็นระบบ

จ The Changing Nature of Work

แนวคําตอบ

The Changing Nature of Work คือ การเปลี่ยนแปลงลักษณะงานขององค์การในอนาคต ซึ่งเป็นผลมาจากการจัดโครงสร้างองค์การแบบ Bureaucracy นั้น ไม่มีความเหมาะสมกับองค์การในอนาคต จึงต้องมีการจัดรูปแบบองค์การใหม่หรือเรียกว่า Post Bureaucracy ซึ่งมีประสิทธิภาพดีกว่าเข้ามาทดแทน ดังนั้น ลักษณะงานขององค์การในอนาคตจึงเปลี่ยนจาก Bureaucracy ไปเป็น Post Bureaucracy ดังนี้

Bureaucracy

1 แรงงานไร้ฝีมือ (Unskilled Work)

2 งานที่ทําซ้ําซาก (Meaningless Repetitive Tasks)

3 งานที่ต่างคนต่างทํา (Individual Work)

4 งานที่แบ่งตามขั้นตอน (Functional-Ease Work)

5 งานที่ต้องอาศัยทักษะอย่างเดียว (Single-Skilled)

6 ยึดถืออํานาจของผู้บังคับบัญชา (Power of Bosses)

7 มีความสัมพันธ์จากส่วนบนลงล่าง (Coordination

from Above)

 

Post Bureaucracy

1 แรงงานที่มีความรู้ความสามารถ (Knowledge Work)

2 งานที่ทันสมัยและท้าทาย (Innovation and Caring)

3 มีการทํางานเป็นทีม (Teamwork)

4 มีการทํางานแบบโครงการ (Project-Base Work)

5 งานที่ต้องอาศัยความรู้หลายอย่าง (Multi-Skilled)

6 ยึดถืออํานาจของลูกค้าเป็นสําคัญ (Power of Customers)

7 ความสัมพันธ์เกิดจากผู้ร่วมงานในระดับเดียวกัน

(Coordination Among Peers)

POL3100 กระบวนการนิติบัญญัติ 1/2563

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2563

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3100 กระบวนการนิติบัญญัติ

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1 สมาชิกวุฒิสภาอังกฤษประเภทใดที่ได้รับเงินเดือน

(1) แบบสืบเชื้อสายจากตระกูลเก่า

(2) ขุนนางที่ได้รับแต่งตั้ง

(3) พระสังฆาธิราช

(4) หัวหน้าผู้พิพากษาศาลฎีกา

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) สมาชิกวุฒิสภาหรือสภาขุนนาง (House of Lords) อังกฤษ แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ

1 ขุนนางสืบเชื้อสาย (Hereditary Peers) เป็นขุนนางตระกูลเก่า ซึ่งสามารถสืบทอดสมาชิกภาพของตนให้แก่ทายาทได้

2 ขุนนางตลอดชีพ (Life Peers) เป็นขุนนางที่ได้รับการแต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรี สําหรับบุคคลที่ทําประโยชน์ให้แก่สาธารณะ สมาชิกประเภทนี้สืบทอดให้แก่ทายาทไม่ได้ แต่สามารถลาออกได้

3 ขุนนางโดยตําแหน่งที่เป็นนักบวช (Spiritual Peers) เป็นขุนนางที่มาจากตัวแทนศาสนา เสืบทอดให้แก่ทายาทไม่ได้ แต่จะดํารงตําแหน่งได้ตราบเท่าที่อยู่ในสมณศักดิ์ทางศาสนจักร

4 ขุนนางกฎหมาย (Law Lords) เป็นขุนนางฝ่ายกฎหมาย ซึ่งจะดํารงตําแหน่งตลอดชีพและได้รับเงินเดือน เช่น หัวหน้าผู้พิพากษาศาลฎีกา เป็นต้น ขณะที่ขุนนางประเภทอื่น ๆ จะได้รับเพียสวัสดิการเท่านั้น

2 ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ตามรัฐธรรมนูญของประธานาธิบดีอเมริกา

(1) ผู้บัญชาการทหารสูงสุด

(2) แต่งตั้งเอกอัครราชทูต

(3) คัดเลือกผู้พิพากษาศาลสหพันธรัฐ

(4) บริหารระบบภัยพิบัติของมลรัฐที่ประสบภัย

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) หน้าที่ตามรัฐธรรมนูญของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ได้แก่

1 ประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาล

2 ผู้บัญชาการทหารสูงสุด

3 แต่งตั้งเอกอัครราชทูต

4 คัดเลือกและแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลสหพันธรัฐ

5 ยับยั้งร่างกฎหมาย

6 ทําสนธิสัญญาต่าง ๆ เป็นต้น

3 ข้อใดเป็นองค์ประกอบของรัฐธรรมนูญ

(1) การบริหารราชการของส่วนราชการต่าง ๆ

(2) คุณสมบัติผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง

(3) อํานาจของฝ่ายยุติธรรม

(4) ข้อ 2 และ 3

(5) ข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 (คําบรรยาย) องค์ประกอบของรัฐธรรมนูญ มีดังนี้

1 ระยะเวลาที่จะจัดให้มีการเลือกตั้ง

2 คุณสมบัติของผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง

3 สิทธิและหน้าที่พลเมือง

4 ขอบเขตและขีดจํากัดของอํานาจรัฐบาล

5 อํานาจของฝ่ายยุติธรรม

6 แนวทางการจัดตั้งรัฐบาล การเข้าสู่และพ้นตําแหน่ง

7 บทบาทและอํานาจของฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นต้น

4 ข้อใดไม่ใช่เกณฑ์การวัดความเป็นประชาธิปไตย

(1) ความพร้อมรับผิดชอบทางการเมือง

(2) ทุกพรรคการเมืองมีอิสระในการหาเสียงเลือกตั้ง

(3) ประชาชนสามารถจัดชุมนุมแสดงความคิดเห็นทางการเมืองได้

(4) การลงคะแนนเลือกตั้ง 1 สิทธิ 1 เสียงเท่ากัน

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 5 (คําบรรยาย) เกณฑ์การวัดความเป็นประชาธิปไตย มีดังนี้

1 ความพร้อมรับผิดชอบทางการเมือง (Political Accountability)

2 การแข่งขันทางการเมือง (Political Competition) โดยทุกพรรคการเมืองมีอิสระในการหาเสียงเลือกตั้ง

3 ความมีเสรีภาพทางการเมือง (Political Freedom) ประชาชนสามารถจัดชุมนุมแสดงความคิดเห็นทางการเมืองได้

4 ความเสมอภาคทางการเมือง (Political Equality) ซึ่งจะเห็นได้จากการลงคะแนนเลือกตั้ง 1 สิทธิ 1 เสียงเท่ากัน

5 Majority Rule and Minority Rights หมายความว่า

(1) ตัดสินใจทางการเมืองด้วยเสียงเกินครึ่งหนึ่งของผู้มาลงคะแนน

(2) ตัดสินใจทางการเมืองด้วยเสียงของชนชั้นนําในสังคม

(3) ตัดสินใจทางการเมืองด้วยเสียงส่วนใหญ่ได้ทุกเรื่อง

(4) ตัดสินใจด้วยเสียงส่วนใหญ่แต่ปกป้องสิทธิของเสียงส่วนน้อย

(5) ตัดสินใจด้วยการใช้กําลังบีบบังคับ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) Majority Rule and Minority Rights หมายถึง หลักการปกครองโดยเสียงข้างมากโดยเคารพสิทธิของเสียงข้างน้อย หรืออาจกล่าวได้อีกอย่างว่าเป็นการตัดสินใจด้วยเสียงส่วนใหญ่แต่ปกป้องสิทธิของเสียงส่วนน้อยนั่นเอง

6 ประเทศใดมีระบบรัฐสภาเดี่ยว

(1) อังกฤษ

(2) อเมริกา

(3) อินโดนีเซีย

(4) จีน

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 3 (คําบรรยาย) อินโดนีเซีย (Indonesia) เป็นประเทศที่มีการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ โดยมีประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และมีระบบรัฐสภาเดี่ยว คือ“สภาผู้แทนราษฎร”

7 อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน แสดงออกผ่านรัฐธรรมนูญอย่างไร

(1) สัดส่วนของตัวแทนในรัฐสภามาจากการเลือกตั้งโดยตรงมากที่สุด

(2) สัดส่วนของตัวแทนในรัฐสภามาจากการเลือกกันเองของสภาวิชาชีพมากที่สุด

(3) สัดส่วนของตัวแทนในรัฐสภามาจากการสรรหามากที่สุด

(4) จํานวนประชาชนที่สามารถเสนอกฎหมายมีจํานวนมาก

(5) ข้อ 1 และ 4

ตอบ 5 (คําบรรยาย) อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน (Popular Sovereignty) สามารถแสดงออกผ่านกฎหมายรัฐธรรมนูญได้ในหลายลักษณะ เช่น

1 กําหนดสัดส่วนของตัวแทนประชาชนในรัฐสภาให้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงมากที่สุด

2 กําหนดจํานวนประชาชนที่มีสิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมายมีจํานวนมากขึ้น (แสดงนัยยะสําคัญว่าอํานาจของประชาชนน้อยลง) เป็นต้น

8 ข้อใดมีคุณูปการใหญ่หลวงต่อพัฒนาการประชาธิปไตยในอังกฤษ

(1) Magna Carta

(2) Erasmus Mundus

(3) Jurassic Rex

(4) Bit of Rights

(5) เฉพาะข้อ 1 และ 4

ตอบ 5 (คําบรรยาย) สิ่งที่เป็นคุณูปการใหญ่หลวงต่อพัฒนาการประชาธิปไตยในอังกฤษ คือ

1 Viagra Carta ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นแห่งรัฐธรรมนูญอังกฤษ และเป็นกุญแจสําคัญในการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยอ้างถึงสิทธิทางการเมืองทั่ว ๆ ไป สิทธิของเสรีชนช่วยให้อํานาจค่อย ๆ เปลี่ยนมือจากกษัตริย์มาสู่ตัวแทนของประชาชน

2 Bit of Rights หรือ “บัตรแห่งสิทธิ” คือ กฎหมายหรือบทบัญญัติที่เป็นการเปิดประตูแห่งความเป็นประชาธิปไตยในอังกฤษให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ซึ่งพลเมืองจะมีสิทธิต่าง ๆติดตัวในฐานะเป็นประชาชนคนธรรมดา

9 การที่มีข้อบัญญัติรับรองว่า กษัตริย์จะไม่จับกุมผู้แทนราษฎรระหว่างการประชุมโดยไม่มีเหตุอันควรเพื่อป้องกันไม่ให้กษัตริย์ใช้อํานาจมากเกินไป ได้กลายมาเป็นหลักการใดในโลกสมัยใหม่

(1) การให้สิทธิเดินทางฟรี

(2) การได้รับเอกสิทธิ์ทางการทูต

(3) เอกสิทธิ์คุ้มครอง

(4) สวัสดิการสมาชิกสภา

(5) กฎหมายการคุ้มครองพยาน

ตอบ 3 (คําบรรยาย) หลักการเอกสิทธิ์คุ้มครอง เกิดขึ้นครั้งแรกในอังกฤษ อันเป็นผลมาจากการมีข้อบัญญัติรับรองว่า “กษัตริย์จะไม่จับกุมผู้แทนราษฎรระหว่างการประชุมโดยไม่มีเหตุอันควร เพื่อป้องกันไม่ให้กษัตริย์ใช้อํานาจมากเกินไป” ซึ่งได้กลายมาเป็นหลักการสําคัญในโลกสมัยใหม่(ดังปรากฏในรัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 125)

10 ลักษณะสําคัญของการใช้อํานาจร่วมระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร คือ

(1) สมาชิกวุฒิสภาสามารถดํารงตําแหน่งราชการประจําได้

(2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถดํารงตําแหน่งราชการประจําได้

(3) นายกรัฐมนตรีต้องมาจากสมาชิกรัฐสภา

(4) นายกรัฐมนตรีต้องมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ระบบรัฐสภา (Parliamentary System) เป็นลักษณะของการเชื่อมโยงอํานาจ(Fusion of Powers) หรือการใช้อํานาจร่วมระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร โดยจะให้ สถาบันนิติบัญญัติ (รัฐสภา) เป็นสถาบันหลัก มีอํานาจควบคุมฝ่ายบริหาร และฝ่ายบริหารจะต้องมาจากฝ่ายนิติบัญญัติ เช่น กรณีที่นายกรัฐมนตรีต้องมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นต้น

11 หากจะยกเลิกประกาศคณะปฏิวัติภายหลังการรัฐประหาร จะต้องตราพระราชบัญญัติเพื่อยกเลิกสภาพบังคับเพราะประกาศคณะปฏิวัติเป็น

(1) พระบรมราชโองการ

(2) คําสั่งของรัฏฐาธิปัตย์

(3) คําสั่งในทางปกครอง

(4) คําสั่งของเผด็จการ

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ประกาศของคณะปฏิวัติถือว่าเป็นคําสั่งของรัฏฐาธิปัตย์ (ผู้มีอํานาจสูงสุดในการปกครองประเทศ) และมีฐานะเป็นกฎหมาย ซึ่งจะมีสภาพบังคับเทียบเท่ารัฐธรรมนูญหรือ พระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา ดังนั้นการจะยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัตินั้นจะต้อง ดําเนินการเช่นเดียวกับการยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงกฎหมายธรรมดาทั่วไป คือ ต้องตราเป็นพระราชบัญญัติออกมายกเลิก

12 การเคลื่อนไหวเพื่อล้มรัฐบาลเผด็จการเพื่อนําไปสู่การสร้างประชาธิปไตยในตะวันออกกลาง เรียกว่า

(1) Arab Sauna

(2) Arab Spring

(3) Arab Jihad

(4) Arab Spoil

(5) Arab Revolt

ตอบ 2 (คําบรรยาย) อาหรับสปริง (Arab Spring) คือ การเคลื่อนไหวเพื่อล้มรัฐบาลเผด็จการเพื่อนําไปสู่การสร้างประชาธิปไตยในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ โดยมีการเดินขบวน การประท้วง รวมไปถึงการนัดหยุดงาน และมีการนําเทคโนโลยีการสื่อสารดิจิตอลอย่างเช่น เฟซบุ๊กและทวิตเตอร์มาใช้เป็นเครื่องมือชุดใหม่ในทางการเมือง ซึ่งจะเห็นได้จากการลุกฮือล้มรัฐบาลโดยประชาชนอียิปต์ ตูนิเซีย ลิเบีย ซีเรีย เป็นต้น

13 พระราชกําหนดมีศักดิ์เทียบเท่ากับ

(1) พระราชบัญญัติ

(2) พระบรมราชโองการ

(3) พระราชกฤษฎีกา

(4) ข้อบัญญัติท้องถิ่น

(5) เทศบัญญัติ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) พระราชกําหนด คือ กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคําแนะนําและยินยอมของคณะรัฐมนตรี โดยอาศัยอํานาจตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ เมื่อประกาศใช้แล้ว จะต้องเสนอให้รัฐสภาผ่านความเห็นชอบมีผลบังคับใช้เป็นพระราชบัญญัติต่อไป ดังนั้นจึงมี ศักดิ์เทียบเท่ากับพระราชบัญญัติ แต่ถ้ารัฐสภาไม่ให้ความเห็นชอบพระราชกําหนดนั้นก็จะสิ้นสุดสภาพการบังคับใช้

14 หากวุฒิสภาพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เสนอโดยสภาผู้แทนราษฎรไม่ทันภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ในรัฐธรรมนูญจะเกิดผลเช่นไร

(1) วุฒิสภาจะถูกตัดเงินเดือน

(2) ร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นอันตกไป

(3) ร่างพระราชบัญญัตินั้นต้องถูกนําเสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาอีกครั้ง

(4) ให้ถือร่างพระราชบัญญัตินั้นเสมือนว่าผ่านการพิจารณาของวุฒิสภาแล้ว

(5) ร่างพระราชบัญญัตินั้นจะต้องถูกนํามาพิจารณาในการประชุมวุฒิสภาสมัยถัดไป

ตอบ 4 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 136 กําหนดให้ วุฒิสภาต้องพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เสนอมาโดยสภาผู้แทนราษฎรนั้นให้เสร็จภายใน 60 วัน แต่ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วย การเงินต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 30 วัน เว้นแต่วุฒิสภาจะได้ลงมติให้ขยายเวลาออกไปเป็น กรณีพิเศษซึ่งต้องไม่เกิน 30 วัน หากวุฒิสภายังพิจารณาไม่เสร็จภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ ให้ถือว่าวุฒิสภาได้ให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัตินั้น หรือร่างพระราชบัญญัตินั้นได้ผ่านการพิจารณาของวุฒิสภาแล้วนั่นเอง

15 ในการควบคุมการทํางานของฝ่ายบริหารด้วยการตั้งกระทู้ถาม ผู้ตั้งกระทู้สามารถกําหนดวิธีให้ผู้ถูกถาม ตอบกระทู้ได้ดังนี้

(1) ตอบด้วยวาจาในสภาผู้แทนราษฎร

(2) ตอบด้วยวาจาในที่ประชุมกรรมาธิการ

(3) ตอบในราชกิจจานุเบกษา

(4) เฉพาะข้อ 1 และ 2

(5) เฉพาะข้อ 1 และ 3

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในการควบคุมการทํางานของฝ่ายบริหารด้วยการตั้งกระทู้ถาม สมาชิกผู้ตั้งกระทู้จะเป็นผู้กําหนดว่าต้องการให้ผู้ถูกถามตอบกระทู้ด้วยวาจาในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร หรือตอบในราชกิจจานุเบกษาเป็นลายลักษณ์อักษร

16 การตั้งกระทู้ถามในเรื่องจําเป็นเร่งด่วนต่อนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีนั้น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอาจยื่นเรื่องร้องขอต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยจะถามกระทู้ได้กี่ครั้งต่อสัปดาห์

(1) 1 ครั้ง

(2) 2 ครั้ง

(3) 3 ครั้ง

(4) 4 ครั้ง

(5) 5 ครั้ง

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การตั้งกระทู้ถามในเรื่องที่เป็นปัญหาสําคัญที่อยู่ในความสนใจของประชาชนหรือเป็นเรื่องที่กระทบถึงประโยชน์ของประเทศชาติหรือประชาชน หรือที่เป็นเรื่องเร่งด่วนนั้น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอาจแจ้งต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรว่าจะถามนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบโดยไม่ต้องระบุคําถาม ซึ่งจะกระทําได้ 1 ครั้งต่อสัปดาห์เท่านั้น

17 ในเดือนมีนาคม 2557 มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา แต่การรัฐประหารทําให้วุฒิสภา

(1) วุฒิสภาสิ้นสุดลง

(2) แปรสภาพเป็นสมัชชาแห่งชาติ

(3) แปรสภาพเป็นสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

(4) แปรสภาพเป็นสภาปฏิรูป

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ภายหลังการรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีประกาศ คสช. ฉบับที่ 30/2557 ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2557 ให้วุฒิสภาสิ้นสุดลง และในกรณีที่มีกฎหมาย บัญญัติให้การดําเนินการเรื่องใดต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร หรือ วุฒิสภา ให้เป็นอํานาจของหัวหน้า คสช. ในการให้ความเห็นชอบแทนรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาในเรื่องนั้น

18 การรัฐประหารครั้งล่าสุดเป็นการรัฐประหารครั้งที่ ในรอบหนึ่งทศวรรษ

(1) ครั้งที่ 1

(2) ครั้งที่ 2

(3) ครั้งที่ 3

(4) ครั้งที่ 4

(5) ครั้งที่ 5

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การรัฐประหารล่าสุดในประเทศไทย เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 พฤษภาโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อันมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้าคณะ ซึ่งการรัฐประหารในครั้งนี้นับเป็นการรัฐประหารครั้งที่ 2 ในรอบหนึ่งทศวรรษ (หรือในรอบ 10 ปี) ต่อจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และนับเป็นครั้งแรกที่มีการตั้งกลุ่มต่อต้าน นอกประเทศอย่างเปิดเผยในชื่อ “องค์กรเสรีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย” ภายใต้การนําของนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ อดีตหัวหน้าพรรคเพื่อไทย

19 ตามรัฐธรรมนูญเห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 การเข้าชื่อเพื่อยื่นเสนอญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีต้องใช้เสียงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวน

(1) 1 ใน 3

(2) 1 ใน 4

(3) 1 ใน 5

(4) 1 ใน 6

(5) 2 ใน 3

ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2550 มาตรา 158 กําหนดให้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีได้

20 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 กรณีร่างพระราชบัญญัติที่ไม่ผ่านความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรและมีคะแนนเสียงไม่ถึงกึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรี อาจร้องขอให้รัฐสภาพิจารณาได้โดยต้องดําเนินการอย่างใดจึงจะสามารถนําไปใช้เป็นกฎหมายได้

(1) ร้องขอให้รัฐสภาพิจารณาโดยคะแนนเสียงต้องมากกว่ากึ่งหนึ่ง

(2) ร้องขอให้วุฒิสภาพิจารณาโดยตั้งคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อพิจารณาและเสนอความคิดเห็นเพื่อให้รัฐสภาลงมติ โดยคะแนนเสียงต้องมากกว่ากึ่งหนึ่ง

(3) ร้องขอให้รัฐสภาพิจารณาโดยตั้งคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อพิจารณาและเสนอความคิดเห็นเพื่อให้รัฐสภาลงมติ โดยคะแนนเสียงต้องมากกว่ากึ่งหนึ่ง

(4) ร้องขอให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาโดยตั้งคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อพิจารณาและเสนอความคิดเห็นต่อสภาผู้แทนราษฎรลงมติ โดยคะแนนเสียงต้องมากกว่ากึ่งหนึ่ง

(5) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2

ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2550 มาตรา 145 กําหนดให้ ร่างพระราชบัญญัติที่คณะรัฐมนตรีระบุไว้ในนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภาตามมาตรา 176 ว่าจําเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดิน หากสภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่ให้ความเห็นชอบ และคะแนนเสียงที่ไม่ให้ความเห็นชอบไม่ถึง กึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ คณะรัฐมนตรีอาจร้องขอให้ รัฐสภาพิจารณาโดยตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันของรัฐสภาเพื่อพิจารณาและเสนอความเห็น เพื่อให้รัฐสภาลงมติ ถ้ารัฐสภามีมติเห็นชอบโดยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่ง ก็ให้นําไปใช้บังคับเป็นกฎหมายได้

21 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 หากร่างพระราชบัญญัติที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้วมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเห็นว่ามีหลักการขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถ รวมตัวกันเสนอความเห็นต่อประธานรัฐสภา โดยใช้จํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภาหรือสมาชิกของทั้งสองสภารวมกันเป็นจํานวนของทั้งสองสภารวมกัน

(1) ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3

(2) ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5

(3) ไม่น้อยกว่า 1 ใน 10

(4) ไม่น้อยกว่า 3 ใน 5

(5) ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3

ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2550 มาตรา 154 (1) ระบุไว้ว่า หากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกของทั้งสองสภารวมกัน มีจํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจํานวน สมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา เห็นว่าร่างพระราชบัญญัติที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ให้เสนอความเห็นต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา หรือประธานรัฐสภาแล้วแต่กรณี แล้วให้ส่งความเห็นนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย

22 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 เพื่อป้องกันมิให้เกิดเผด็จการรัฐสภาได้เปิดโอกาสให้ฝ่ายค้านตรวจสอบการทํางานของรัฐบาล โดย

(1) ใช้เสียง 1 ใน 4 ของ ส.ส. ที่ไม่ได้อยู่ฝ่ายรัฐบาลยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจได้

(2) ใช้เสียง 1 ใน 3 ของ ส.ส. ที่ไม่ได้อยู่ฝ่ายรัฐบาลยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจได้

(3) ใช้เสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของ ส.ส. ที่ไม่ได้อยู่ฝ่ายรัฐบาลยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจได้

(4) ใช้เสียงทั้งหมดของ ส.ส. ที่ไม่ได้อยู่ฝ่ายรัฐบาลยืนอภิปรายไม่ไว้วางใจได้

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 5 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2550 ได้เปิดโอกาสให้ฝ่ายค้านตรวจสอบการทํางานของรัฐบาลได้เพื่อป้องกันมิให้เกิดเผด็จการรัฐสภา โดยกําหนดให้ใช้เสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของ ส.ส. ที่ไม่ได้อยู่ ฝ่ายรัฐบาลยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลได้ เมื่อคณะรัฐมนตรีได้บริหารราชการแผ่นดินมาเกินกว่า 2 ปีแล้ว (มาตรา 160)

23 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 หากพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยกับร่าง พ.ร.บ.ที่ผ่านรัฐสภาแล้ว รัฐสภาจะต้องทําอย่างไร

(1) ปรึกษากัน แล้วแก้ไขเพิ่มเติมตามที่ทรงมีพระราชกระแส

(2) ปรึกษากัน หากยืนยันตามร่างเดิมต้องใช้เสียง 2 ใน 3 ของรัฐสภา

(3) ไม่นําขึ้นพิจารณาอีก เพราะกระทําไม่ได้

(4) ไม่มีข้อถูก

(5) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3

ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2550 มาตรา 151 กําหนดให้ ร่าง พ.ร.บ. ใด พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยและพระราชทานคืนมายังรัฐสภา หรือเมื่อพ้น 90 วันแล้วมิได้พระราชทาน คืนมา รัฐสภาจะต้องปรึกษาร่าง พ.ร.บ. นั้นใหม่ ถ้ารัฐสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียง ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา (รัฐสภา) แล้วให้นายกรัฐมนตรีนําร่าง พ.ร.บ. นั้นขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายอีกครั้งหนึ่ง

24 ข้อใดคือเกณฑ์การได้มาซึ่งวุฒิสมาชิกของไทย ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560

(1) การเลือกตั้ง

(2) การเลือกจากบัญชีรายชื่อ

(3) การเลือกตั้งตามกลุ่มอาชีพ

(4) การเลือกโดยคณะกรรมการสรรหา

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 3 หน้า 23, (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 107 และ 109 กําหนดให้ วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกวุฒิสภาแบบเลือกตั้งโดยอ้อม (เลือกกันเองของบุคคลซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ อาชีพ ลักษณะ หรือผลประโยชน์ร่วมกัน) จํานวน 200 คนซึ่งมีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละ 5 ปี

25 การกําหนดจํานวนประชาชนที่มีสิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมายมากขึ้น แสดงนัยยะสําคัญอะไร

(1) อํานาจของประชาชนมากขึ้น

(2) อํานาจของประชาชนน้อยลง

(3) โอกาสในการเข้ามีส่วนในการปกครองมากขึ้น

(4) ไม่มีนัยยะสําคัญ

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 7 ประกอบ

26 ตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ. 2557 อํานาจนิติบัญญัติอยู่ที่องค์กรใด

(1) สภาปฏิรูปแห่งชาติ

(2) รัฐสภา

(3) หัวหน้า คสช.

(4) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ

(5) ข้อ 3 และ 4

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ตามรัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) 2557 อํานาจนิติบัญญัติอยู่ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นสําคัญ โดยมีคณะรัฐมนตรีชั่วคราว รับผิดชอบการบริหารราชการแผ่นดิน และมีกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญทําหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

27 ข้อใดเป็นความแตกต่างระหว่างประชาพิจารณ์กับประชามติ

(1) ประชามติเป็นการแสดงอํานาจอธิปไตยที่เป็นของประชาชน

(2) ประชาพิจารณ์เป็นแนวทางที่รัฐใช้รับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

(3) ประชามติกําหนดให้รัฐต้องผูกพันปฏิบัติตามผลการออกเสียงประชามติ

(4) ประชาพิจารณ์ต้องการความรู้ความเข้าใจของประชาชนต่อเรื่องนั้น ๆ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ความแตกต่างระหว่างประชาพิจารณ์กับประชามติ มีดังนี้

1 ประชาพิจารณ์ตั้งอยู่บนฐานคติของการรักษาผลประโยชน์แก่ประชาชน ส่วนประชามติจะตั้งอยู่บนฐานคติของการแสดงอํานาจอธิปไตยที่เป็นของประชาชน

2 ประชาพิจารณ์เป็นแนวทางที่รัฐใช้รับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งส่วนประชามติจะเป็นกระบวนการที่รัฐขอปรึกษาหารือประชาชน เพื่อกําหนดแนวทางปฏิบัติ

3 ประชาพิจารณ์นั้นรัฐจะไม่ผูกพันและไม่จําเป็นต้องปฏิบัติตาม ส่วนประชามติกําหนดให้รัฐต้องผูกพันปฏิบัติตามผลการออกเสียงประชามติ

4 ประชาพิจารณ์ต้องการความรู้ความเข้าใจของประชาชนต่อเรื่องนั้น ๆ เพื่อลดความขัดแย้งจากการตัดสินใจของรัฐ ส่วนประชามตินั้นต้องการมติของประชาชนว่าจะให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในเรื่องนั้น ๆ

28 ข้อใดไม่ใช่หลักการของการทําประชาพิจารณ์

(1) มีผู้เชี่ยวชาญมาให้ข้อมูลกับที่ประชุม

(2) การคัดเลือกผู้เข้าร่วมประชาพิจารณ์ที่สะท้อนสัดส่วนที่แท้จริงของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

(3) จัดทําประชาพิจารณ์ก่อนการตัดสินใจดําเนินโครงการ

(4) หน่วยงานรัฐต้องหยุดดําเนินงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการที่จะทําประชาพิจารณ์ทั้งหมด

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) หลักการของการทําประชาพิจารณ์ มีดังนี้

1 จะต้องกระทําก่อนการตัดสินใจดําเนินโครงการ

2 มีการคัดเลือกผู้เข้าร่วมประชาพิจารณ์ที่สะท้อนสัดส่วนที่แท้จริงของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

3 มีผู้เชี่ยวชาญมาให้ข้อมูลกับที่ประชุม

4 การดําเนินการประชาพิจารณ์ต้องเป็นไปโดยเที่ยงตรงและเปิดเผย

5 ข้อสรุปจากการทําประชาพิจารณ์เป็นเพียงข้อเสนอแนะ หน่วยงานของรัฐไม่จําเป็นต้องปฏิบัติตาม

29 ข้อใดเป็นอํานาจหน้าที่ของรัฐสภา

(1) การตรากฎหมาย

(2) การควบคุมบริหารราชการแผ่นดิน

(3) การให้ความเห็นชอบในเรื่องสําคัญ

(4) เฉพาะข้อ 1 และ 2

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) อํานาจหน้าที่ของรัฐสภา ได้แก่

1 การตรากฎหมาย

2 การควบคุมบริหารราชการแผ่นดิน (การตั้งกระทู้ถาม, การขอเปิดอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ)

3 การให้ความเห็นชอบในเรื่องสําคัญ (การประกาศสงคราม, การทําสัญญาระหว่างประเทศ)

4 การให้การรับรองตําแหน่งสําคัญ ฯลฯ

30 กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคําแนะนําเละยินยอมของรัฐสภา เรียกว่าอะไร

(1) พระราชกําหนด

(2) พระราชกฤษฎีกา

(3) พระราชานุญาต

(4) พระราชดําริ

(5) พระราชบัญญัติ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) พระราชบัญญัติ หมายถึง กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคําแนะนําและยินยอมของรัฐสภา กล่าวคือ เป็นกฎหมายที่ต้องผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบของ รัฐสภา คือ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาก่อน จึงนําขึ้นทูลเกล้าฯ ให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้

31 ประเทศไทยได้รับพระราชทานรัฐธรรมนูญครั้งแรกเมื่อใด

(1) 14 ตุลาคม 2475

(2) 6 ตุลาคม 2475

(3) 10 ธันวาคม 2475

(4) 24 ธันวาคม 2475

(5) 24 มิถุนายน 2475

ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 เป็นรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกของประเทศไทย ซึ่งได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475

32 พรรคการเมืองใดจงใจไม่ลงสมัครแข่งขันในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557

(1) พรรคกิจสังคม

(2) พรรคประชาธิปัตย์

(3) พรรคอนาธิปัตย์

(4) พรรคเพื่อไทย

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 นั้น มีพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งหมดจํานวน 53 พรรค เช่น พรรครักประเทศไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคประชาธิปไตยใหม่ พรรคเพื่อไทย พรรคชาติพัฒนา พรรคภูมิใจไทย พรรคพลังชล ฯลฯ ส่วนพรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวที่ประกาศไม่ลงสมัครแข่งขันในการเลือกตั้งครั้งนี้

33 ข้อใดไม่ใช่ความหมายของยุคแห่งการรู้แจ้ง (Enlightenment)

(1) การยอมรับระบบเหตุผล

(2) ศาสนจักรไม่มีอิทธิพลต่อความคิด

(3) อิทธิพลของพุทธศาสนา

(4) การมีความคิดแบบวิทยาศาสตร์

(5) เฉพาะข้อ 1 และ 4

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การเสื่อมถอยของทฤษฎีครองอํานาจแบบลัทธิเทวสิทธิ์ (Divine Right Theory)เกิดจากการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมของเหล่าปัญญาชนในยุโรปและอาณานิคมบนทวีปอเมริกา ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อปฏิรูปสังคมและส่งเสริมให้มีการยอมรับระบบเหตุผล มากกว่าการใช้หลักจารีต ความเชื่อ และการเปิดเผยจากพระเจ้า ทําให้ศาสนจักรไม่มีอิทธิพลต่อ ความคิด รวมไปถึงส่งเสริมการมีความคิดแบบวิทยาศาสตร์ หรือที่รู้จักกันในนามยุคเรืองปัญญาหรือยุคแห่งการรู้แจ้ง (Enlightenment)

34 แนวคิดเรื่องสัญญาประชาคม (Social Contract) บอกว่าเราสามารถบรรลุถึงเสรีภาพในเงื่อนไขใด

(1) ในรัฐสังคมนิยมเท่านั้น

(2) ในรัฐสวัสดิการเท่านั้น

(3) ในรัฐแบบใดก็ได้

(4) ในรัฐประชาธิปไตยเท่านั้น

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ของ ชากส์ รุสโซ (Jean Jacques Rousseau) เห็นว่า สังคมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งสัญญาประชาคม (Social Contract) สามารถทําให้บุคคลในฐานะสมาชิกของสังคมนั้น บรรลุถึงเสรีภาพได้ สัญญาประชาคมจึงเป็นเสมือนรัฐธรรมนูญที่ต้องอยู่เพื่อทุกส่วนในสังคมดังนั้นการบรรลุเสรีภาพจะเกิดขึ้นในเงื่อนไขการปกครองแบบประชาธิปไตยเท่านั้น

35 เจตจํานงทั่วไป (General Win) ในทางทฤษฎี หมายถึง

(1) การมีส่วนร่วมทางการเมือง

(2) การเข้าไปใช้อํานาจการเมือง

(3) การยอมรับตัวแทนทางการเมือง

(4) การมีส่วนร่วมและกําหนดทิศทางของชุมชนที่สังกัด

(5) การมีส่วนร่วมทางการเมืองและยอมรับผู้นําการเมือง

ตอบ 4 (คําบรรยาย) เจตจํานงทั่วไป (General Wit) ในทางทฤษฎี หมายถึง การมีส่วนร่วมและกําหนดทิศทางของชุมชนที่สังกัด ซึ่งเป็นเรื่องของความเห็นพ้องต้องกันหรือมติเอกฉันท์ ของทุกคนในสังคม หรือบางครั้งอาจเป็นการตัดสินโดยเสียงข้างมากก็ถือว่าเป็นการเพียงพอแต่ต้องเป็นเสียงข้างมากที่มุ่งผลประโยชน์ของคนทุกคนหรือผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก

36 ข้อใดไม่เป็นพื้นที่ในพรมแดนส่วนตัว (Private Sphere)

(1) การคลุมฮิญาบ

(2) E-mail

(3) รสนิยม

(4) ห้องทํางานส่วนตัวในมหาวิทยาลัย

(5) งานอดิเรก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) พื้นที่ในพรมแดนส่วนตัว (Private Sphere) เป็นพื้นที่ที่ถูกใช้โดยคนหนึ่งคนใดและมีลักษณะแบ่งแยกกันเด็ดขาด มักเป็นพื้นที่ที่มีความเป็นปัจเจกบุคคล เข้าถึงได้ยากเพราะต้องการความเป็นส่วนตัว เช่น ศาสนา (การคลุมฮิญาบ) ชีวิตครอบครัว รสนิยม งานอดิเรกห้องนอน E-mail ฯลฯ

37 รัฐโลกาวิสัย (Secular State) หมายถึง

(1) รัฐที่แยกพื้นที่ส่วนตัวออกจากพื้นที่สาธารณะ

(2) รัฐที่แยกเอาศาสนาออกจากกฎเกณฑ์ทางสังคม

(3) รัฐที่เอาหลักศาสนามาปกครอง

(4) รัฐที่นําเอานักบวชมาปกครอง

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐฆราวาสหรือรัฐโลกาวิสัย (Secular State) หมายถึง รัฐหรือประเทศที่แยกเอาศาสนาออกจากกฎเกณฑ์ทางสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากการแยกศาสนจักรออกจาก ฝ่ายอาณาจักรในโลกตะวันตก (โดยเฉพาะกรณีของอังกฤษ) โดยทั่วไปรัฐฆราวาสจะมีแนวทาง บริหารประเทศโดยใช้หลักทั่วไปทางโลกมาเป็นรากฐานของการปกครอง ไม่ต่อต้านความเชื่อหรือจํากัดศาสนาใด ๆ ตัวอย่างของรัฐดังกล่าวนี้ ได้แก่ ไทย เนปาล ฯลฯ

38 ข้อใดเป็นการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนตามรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 (1) เข้าชื่อเสนอกฎหมาย

(2) เข้าเป็นสมาชิกพรรคการเมือง

(3) พิจารณากฎหมายเกี่ยวกับเด็ก สตรี เยาชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ

(4) เข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มผลประโยชน์ เช่น กลุ่มอาชีพ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนตามรัฐธรรมนูญฯ 2550 ได้แก่

1 การออกเสียงเลือกตั้ง

2 การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย (ร่าง พ.ร.บ. ในหมวดสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย และหมวดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ)

3 การเข้าชื่อเสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ

4 การเข้าเป็นสมาชิกพรรคการเมือง

5 การมีส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณากฎหมายเกี่ยวกับเด็ก สตรี เยาชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ

6 การเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มผลประโยชน์ เช่น กลุ่มอาชีพ เป็นต้น

39 กระบวนการที่ประชาชนของประเทศอังกฤษออกเสียงสนับสนุนให้อังกฤษออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป เรียกว่า

(1) ประชาพิจารณ์

(2) มหาชนสมมุติ

(3) ประชามติ

(4) เลือกตั้ง

(5) ประชาสังคม

ตอบ 3 (คําบรรยาย) เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2559 อังกฤษและกลุ่มประเทศในสหราชอาณาจักรได้มีการลงประชามติออกจากการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปหรืออียู (EU) ซึ่งผลปรากฏว่า คะแนนที่ต้องการออกจากอียูคิดเป็นร้อยละ 51.89 ส่วนคะแนนที่ต้องการอยู่กับอียูคิดเป็นร้อยละ 48.11

40 ฮันติงตัน อธิบายเรื่องการพัฒนาให้ทันสมัยว่า หากการเลื่อนชั้นทางสังคมไม่สมดุลกับการพัฒนาเศรษฐกิจจะทําให้เกิดความไม่พอใจทางสังคม และหากโอกาสในการพัฒนาตนเองไม่สมดุลก็จะนําไปสู่การมีส่วนร่วม ทางการเมือง การมีส่วนร่วมทางการเมืองที่ไม่สมดุลกับการสร้างสถาบันการเมืองจะนําไปสู่

(1) การพัฒนาการเมือง

(2) ความปั่นป่วนของเศรษฐกิจ

(3) การสร้างสถาบันการเมือง

(4) การพัฒนาให้ทันสมัย

(5) ความไร้เสถียรภาพทางการเมือง

ตอบ 5 (คําบรรยาย) แซมมวล ฮันติงตัน (Samuel Huntington) อธิบายเรื่องการพัฒนาให้ทันสมัยว่าหากการเลื่อนชั้นทางสังคมไม่สมดุลกับการพัฒนาเศรษฐกิจจะทําให้เกิดความไม่พอใจทางสังคม และหากโอกาสในการพัฒนาตนเองไม่สมดุลก็จะนําไปสู่การมีส่วนร่วมทางการเมือง การมีส่วนร่วม ทางการเมืองที่ไม่สมดุลกับการสร้างสถาบันการเมืองจะนําไปสู่ความไร้เสถียรภาพทางการเมือง แต่หากการมีส่วนร่วมทางการเมืองสมดุลกับการสร้างสถาบันการเมืองก็จะนําไปสู่การพัฒนาการเมือง (Political Development) นั่นเอง

41 คําอธิบายว่ามนุษย์เข้ามารวมเป็นสังคมการเมืองเพื่อเข้าถึงความดีรวมหมู่ (The Good หรือ Collective Good) เป็นคําอธิบายของ

(1) มองเตสกิเออ

(2) อริสโตเติล

(3) โทมัส ฮอบส์

(4) รุสโซ

(5) จอห์น ล็อค

ตอบ 2 (คําบรรยาย) อริสโตเติล อธิบายว่า มนุษย์เข้ามารวมเป็นสังคมการเมืองเพื่อเข้าถึงความดีรวมหมู่ (The Good หรือ Collective Good) โดยเกิดขึ้นจากความพยายามที่จะแสวงหา สิ่งสนองความปรารถนาในทุก ๆ ด้าน รวมทั้งทางด้านศีลธรรม ซึ่งมิได้เป็นไปเพียงเพื่อให้มีการดํารงชีวิตอยู่ได้เท่านั้น หากแต่ให้ชีวิตดํารงได้เป็นอย่างดีและพบกับชีวิตที่สมบูรณ์

42 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีวาระการดํารงตําแหน่งกี่ปี

(1) 7 ปี

(2) 6 ปี

(3) 5 ปี

(4) 4 ปี

(5) 3 ปี

ตอบ 1 หน้า 37 รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 232 และ 233 กําหนดให้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติประกอบด้วยกรรมการจํานวน 9 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรง แต่งตั้งตามคําแนะนําของวุฒิสภาจากผู้ซึ่งได้รับการสรรหาโดยคณะกรรมการสรรหา โดยมี วาระการดํารงตําแหน่ง 7 ปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดํารงตําแหน่งได้เพียงวาระเดียว

43 การปฏิรูปประเทศ เป็นหมวดหนึ่งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใด (1) พ.ศ. 2540

(2) พ.ศ. 2550

(3) พ.ศ. 2557

(4) พ.ศ. 2560

(5) ไม่ปรากฏในรัฐธรรมนูญทุกฉบับ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) “การปฏิรูปประเทศ” เป็นหมวด 16 ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ซึ่งการปฏิรูปประเทศตามหมวดนี้ต้องการดําเนินการในด้านต่าง ๆ ให้เกิดผลดังนี้ การเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม การศึกษา เศรษฐกิจและด้านอื่น ๆ

44 รัฐธรรมนูญในฐานะกฎหมายสูงสุดมีลักษณะอย่างไร

(1) กฎหมายใดจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้

(2) การแก้กฎหมายทําได้ง่าย

(3) เป็นไปตามเจตจํานงของผู้ปกครองสูงสุด

(4) ลําดับชั้นของกฎหมายไม่มีความจําเป็น

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 หน้า 5 รัฐธรรมนูญในฐานะกฎหมายสูงสุด มีลักษณะดังนี้

1 กฎหมายใดจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้

2 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญทําได้ยาก

45 ข้อใดแสดงว่าอํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย

(1) ตัวแทนจากวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งกันเองของสภาวิชาชีพ

(2) ตัวแทนในรัฐสภามาจากการเลือกตั้งโดยตรงมากที่สุด

(3) จํานวนประชากรที่ลงชื่อเสนอกฎหมายได้ต้องใช้จํานวนมากที่สุด

(4) ประชาชนออกเสียงประชามติแล้วให้รัฐแก้ไขได้เล็กน้อย

(5) การประกาศตัวเป็นองค์อธิปัตย์ของแกนนํากลุ่มผู้ชุมนุมที่มีผู้เข้าร่วมชุมนุมจํานวนมาก

ตอบ 2 (คําบรรยาย) อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน (Popular Sovereignty) สามารถแสดงออกผ่านกฎหมายรัฐธรรมนูญได้ในหลายลักษณะ เช่น

1 กําหนดสัดส่วนของตัวแทนประชาชนในรัฐสภาให้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงมากที่สุด

2 กําหนดจํานวนประชาชนที่มีสิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมายมีจํานวนน้อยลง (แสดงนัยยะสําคัญว่าอํานาจของประชาชนมากขึ้น) เป็นต้น

46 ตําแหน่งใดต่อไปนี้ที่ไม่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สิน

(1) ส.ส. ทุกคน

(2) ส.ว. ทุกคน

(3) อธิการบดี

(4) ปลัดกระทรวง

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ผู้ที่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินต่อ ป.ป.ช. ได้แก่ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ส.ส. ส.ว. ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ปลัดกระทรวงอธิการบดี รองอธิการบดี ฯลฯ

47 รัฐธรรมนูญ มีนัยยะสําคัญในเรื่องใด

(1) จํากัดอํานาจของรัฐบาล

(2) แสดงความสัมพันธ์ของรัฐกับประชาชน

(3) สร้างความชอบธรรมในการใช้อํานาจของรัฐ

(4) ถูกทุกข้อ

(5) เฉพาะข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 4 – 5, (คําบรรยาย) นัยยะสําคัญของรัฐธรรมนูญ มีดังนี้

1 จํากัดอํานาจและการกระทําของรัฐบาล

2 แสดงความสัมพันธ์ของรัฐกับประชาชน

3 สร้างความชอบธรรมในการใช้อํานาจของรัฐบาล

4 อํานาจอธิปไตยเป็นของประชาชน

5 สถานะสูงสุดที่ไม่มีกฎหมายอื่นใดขัดหรือแย้ง ฯลฯ

48 องค์กรท้องถิ่นใดหายไปในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560

(1) เทศบาล

(2) สภาท้องถิ่น

(3) องค์การบริหารส่วนตําบล

(4) กํานัน

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 5 (คําบรรยาย) องค์กรท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญฯ 2560 ได้แก่

1 ระดับหมู่บ้าน เช่น ผู้ใหญ่บ้าน หมู่บ้าน สภาท้องถิ่น

2 ระดับตําบล เช่น กํานั้น องค์การบริหารส่วนตําบล (อบต.)

3 ระดับอําเภอ เช่น เทศบาล เมืองพัทยา

4 ระดับจังหวัด เช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เป็นต้น

49 ข้อใดไม่ใช่องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560

(1) กกต.

(2) ป.ป.ช.

(3) คตง.

(4) สตง

(5) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

ตอบ 4 หน้า 35 – 39 องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญฯ 2560 ประกอบด้วย 5 องค์กร ได้แก่

1 คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)

2 ผู้ตรวจการแผ่นดิน

3 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)

4 คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.)

5 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

50 “พฤฒสภา” คือชื่อเดิมขององค์กรใด้

(1) องคมนตรี

(2) วุฒิสภา

(3) สภาผู้แทนราษฎร

(4) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ

(5) สภาปฏิรูปแห่งชาติ

ตอบ 2 หน้า 23 วุฒิสภาเกิดขึ้นครั้งแรกในชื่อ “ พฤฒสภา” ซึ่งกําหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฯ 2489 และต่อมาในรัฐธรรมนูญฯ 2490 จึงเปลี่ยนเป็น “วุฒิสภา” โดยพบว่าที่มาของ ส.ว. ตั้งแต่ เริ่มปรากฏจนกระทั่งปัจจุบันนั้นรัฐธรรมนูญส่วนใหญ่จะกําหนดให้มาจากการแต่งตั้ง ยกเว้น รัฐธรรมนูญฯ 2540 (มาจากการเลือกตั้ง) รัฐธรรมนูญฯ 2550 (มาจากการเลือกตั้งและสรรหา)และรัฐธรรมนูญฯ 2560 (มาจากการเลือกตั้งทางอ้อม)

51 “The End of History” เป็นแนวคิดของใคร

(1) จอห์น ล็อค

(2) ฟรานซิส ฟูกยามา

(3) มองเตสกิเออ

(4) รุสโซ

(5) โทมัส ฮอบส์

ตอบ 2 หน้า 14, (คําบรรยาย) ฟรานซิส ฟูกยามา (Francis Fukuyama) ได้เขียนหนังสือชื่อ “การสิ้นสุดของประวัติศาสตร์” (The End of History) เพื่อสนับสนุนแนวคิดเสรีนิยมประชาธิปไตย โดยเขาเชื่อว่า โลกทุกวันนี้ไม่ต้องศึกษาเรื่องอุดมการณ์ทางการเมืองอีกต่อไป เพราะเราได้มาถึง จุดสิ้นสุดของการแข่งขันทางอุดมการณ์แล้ว นับตั้งแต่สงครามเย็นยุติลงหลังการพังทลายของกําแพงเบอร์ลินในปี ค.ศ. 1990

52 องค์อธิปัตย์ตามแนวคิดสัญญาประชาคมของโทมัส ฮอบส์ และจอห์น ล็อค ต่างกันอย่างไร

(1) การเพิกถอนอํานาจของผู้ให้อํานาจ

(2) ความเป็นเจ้าชีวิตของประชาชน

(3) การเป็นเจ้าของทรัพย์สิน

(4) ถูกทุกข้อ

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 หน้า 9, (คําบรรยาย) องค์อธิปัตย์ตามแนวคิดสัญญาประชาคมของโทมัส ฮอบส์ และจอห์น ล็อค นั้นแตกต่างกันในประเด็นเรื่อง “การเพิกถอนอํานาจของผู้ให้อํานาจ” โดยโทมัส ฮอบส์ เห็นว่า เมื่อประชาชนมอบอํานาจให้องค์อธิปัตย์แล้วไม่สามารถเพิกถอนได้ ไม่ว่าเขาจะควบคุมชีวิตเรา มากแค่ไหนก็ตาม แต่สําหรับ จอห์น ล็อค กลับเห็นว่าอํานาจดังกล่าวสามารถเพิกถอนได้เมื่อเห็นว่าองค์อธิปัตย์ไม่อาจดูแลปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของตนได้

53 วุฒิสภาต้องพิจารณาร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการเงินให้เสร็จภายในกี่วัน .

(1) 15 วัน

(2) 30 วัน

(3) 45 วัน

(4) 60 วัน

(5) 90 วัน

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 14 ประกอบ

54 ใครมีสิทธิเลือกตั้ง

(1) ภิกษุ

(2) อยู่ระหว่างสู้คดีถูกเพิกถอนสิทธิ

(3) จบการศึกษาระดับประถมศึกษา

(4) นักโทษ

(5) จิตฟันเฟือน

ตอบ 3 (คําบรรยาย) “รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 95 กําหนดให้ บุคคลผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

1 มีสัญชาติไทย

2 มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีในวันเลือกตั้ง

3 มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วไม่น้อยกว่า 90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง และมาตรา 96 กําหนดให้ บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้งเป็นบุคคลต้องห้าม มิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง

1 เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช

2 อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งไม่ว่าคดีนั้นจะถึงที่สุดแล้วหรือไม่

3 ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคําสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย (เป็นนักโทษ)

4 วิกลจริตหรือจิตฟันเฟือนไม่สมประกอบ

55 ข้อใดคือประชาธิปไตยทางตรง

(1) การรับฟังความคิดเห็นจากประธานชุมชน

(2) การเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

(3) การสรรหาวุฒิสภา

(4) การรับฟังข่าวสาร

(5) การไปลงประชามติ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ประชาธิปไตยทางตรง (Direct Democracy) เป็นรูปแบบการปกครองโดยที่พลเมืองสามารถมีส่วนร่วมกับการตัดสินใจใด ๆ ได้โดยตรง โดยไม่ต้องอาศัยคนกลางหรือผู้ทําหน้าที่แทนตน เช่น การไปลงประชามติ การริเริ่มออกกฎหมาย การถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้ง เป็นต้น

56 การกําหนดความสัมพันธ์ของ “ผู้ใช้อํานาจรัฐ” กับ “ประชาชนในฐานะปัจเจก” มักยึดหลักความได้สัดส่วน และความเหมาะสม ระหว่างข้อใด

(1) ความชอบด้วยกฎหมายและการใช้อํานาจรัฐ

(2) ประโยชน์ของปัจเจกและประโยชน์ของสาธารณะ

(3) อํานาจของรัฐสภากับอํานาจองค์กรอิสระ

(4) ข้อ 1 และ 3 ถูก

(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก

ตอบ 5 หน้า 13, (คําบรรยาย) การกําหนดพื้นฐานความสัมพันธ์ของ “ผู้ใช้อํานาจรัฐ” กับ “ประชาชนในฐานะปัจเจก” นั้นมักยึดหลักแห่งความได้สัดส่วนและหลักแห่งความเหมาะสม เพื่อ

1 เป็นหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายและการใช้อํานาจรัฐ

2 สร้างดุลยภาพระหว่างประโยชน์ของปัจเจกและประโยชน์ของสาธารณะ

57 ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 กรณีพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติหรือมิได้พระราชทานคืนให้กับรัฐสภา จะสามารถประกาศเป็นกฎหมายได้หรือไม่ อย่างไร

(1) ไม่ได้ เพราะพระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอํานาจในการตราพระราชบัญญัติ (2) ได้ เมื่อรัฐสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงสองในสามของจํานวนสมาชิกทั้งหมด

(3) ไม่ได้ เพราะต้องมีพระปรมาภิไธยเท่านั้นจึงจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ (4) ได้ เมื่อนายกรัฐมนตรีนําขึ้นทูลเกล้าอีกครั้ง และหากมิได้ลงพระปรมาภิไธยใน 30 วันนายกรัฐมนตรีสามารถนําพระราชบัญญัตินั้นไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ (5) ข้อ 2 และ 4

ตอบ 5 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 146 กําหนดให้ ร่างพระราชบัญญัติใดพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบและพระราชทานคืนมายังรัฐสภา หรือเมื่อพ้น 90 วันแล้วมิได้พระราชทานคืนมา รัฐสภาต้องปรึกษาร่างพระราชบัญญัตินั้นใหม่ ถ้ารัฐสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียง ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนําขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายอีก ครั้งหนึ่ง และหากมิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยภายใน 30 วัน ให้นายกรัฐมนตรีนําพระราชบัญญัติ นั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็นกฎหมายได้เสมือนว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว

58 คํากล่าวที่ว่า “เสรีนิยมกับประชาธิปไตยไม่ใช่สิ่งเดียวกัน” คือข้อใด

(1) ประชาธิปไตยผูกโยงกับจํานวนประชาชน

(2) เสรีนิยมคือการจํากัดอํานาจของรัฐต่อปัจเจก

(3) เสรีนิยมกับประชาธิปไตยเป็นแนวคิดที่ไม่สามารถไปด้วยกัน

(4) ประชาธิปไตยไม่สามารถทําให้เกิดเผด็จการรัฐสภาได้

(5) ข้อ 1 และ 2

ตอบ 5 (คําบรรยาย) เสรีนิยมกับประชาธิปไตยไม่ใช่สิ่งเดียวกัน เนื่องจากประชาธิปไตยนั้นจะผูกโยงกับจํานวนประชาชน (เน้นส่วนใหญ่) ส่วนเสรีนิยมคือการจํากัดอํานาจของรัฐต่อปัจเจก แต่อย่างไร ก็ตามทั้งสองด้านจะเป็นเงื่อนไขซึ่งกันและกัน

59 ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน ข้อใดไม่ถูกต้อง

(1) รัฐมีอํานาจมาก ประชาชนจะมีอํานาจน้อยลง

(2) รัฐถูกจํากัดอํานาจมาก ประชาชนจะมีเสรีภาพมากขึ้น

(3) ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลในการครอบครองของรัฐได้โดยสะดวกถ้ามิใช่ข้อมูลเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐหรือเป็นความลับตามกฎหมายบัญญัติ

(4) บุคคลที่มีสัญชาติไทยโดยการเกิด รัฐไทยไม่สามารถถอนสัญชาติแต่สามารถเนรเทศได้

(5) ประชาชนสามารถฟ้องหน่วยงานรัฐเมื่อถูกบุคลากรของรัฐละเมิดได้

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ความสัมพันธ์ของรัฐกับประชาชนในสาระสําคัญของรัฐธรรมนูญ สามารถพิจารณาได้ดังนี้

1 สิทธิและเสรีภาพของประชาชน เช่น รัฐมีอํานาจมาก ประชาชนจะมีอํานาจน้อยลง 2 จํากัดอํานาจรัฐต่อประชาชนอย่างไร เช่น รัฐถูกจํากัดอํานาจมาก ประชาชนจะมีเสรีภาพมากขึ้น

3 ประชาชนเข้ามาเกี่ยวข้องกับรัฐได้อย่างไร เช่น ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลในการครอบครอง ของรัฐได้โดยสะดวกถ้ามิใช่ข้อมูลเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐหรือเป็นความลับตามกฎหมายบัญญัติ, ประชาชนสามารถฟ้องหน่วยงานรัฐเมื่อถูกบุคลากรของรัฐละเมิดได้ เป็นต้น

60 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มีผลบังคับใช้เมื่อใด

(1) 5 พ.ค. 2560

(2) 6 เมษายน 2560

(3) 24 มิถุนายน 2460

(4) 10 ธันวาคม 2560

(5) 1 ธันวาคม 2560

ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 20 ของประเทศไทย โดยรัฐธรรมนูญฉบับนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร (รัชกาลที่ 10) ทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560 ณ พระที่นั่งอนันตสมาคมและมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระราชโองการ

61 ใครเป็นผู้ลงนามรับสนองพระราชโองการในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560

(1) นายมีชัย ฤชุพันธุ์ (ประธาน คกก. ร่างรัฐธรรมนูญ)

(2) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี)

(3) พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ (ประธานองคมนตรี)

(4) นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช.)

(5) นายวีระพล ตั้งสุวรรณ (ประธานศาลฎีกา)

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 60 ประกอบ

62 รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 กําหนดให้มีวุฒิสภาในวาระแรกจํานวนกี่คน

(1) 200 คน

(2) 250 คน

(3) 300 คน

(4) 350 คน

(5) 400 คน

ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 บทเฉพาะกาล มาตรา 269 กําหนดให้ในวาระเริ่มแรกให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจํานวน 250 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามที่ คสช. ถวายคําแนะนําโดยอายุของวุฒิสภาตามมาตรานี้มีกําหนด 5 ปีนับแต่วันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง

63 ข้อใดคือความหมายของหลักนิติรัฐ

(1) องค์กรเกี่ยวข้องกับการทุจริตประพฤติมิชอบควรมีอํานาจเด็ดขาดทั้งบริหาร ตุลาการ และนิติบัญญัติ

(2) ปฏิบัติตามกฎหมายที่ตราขึ้นจากผู้ปกครองโดยเคร่งครัด

(3) เปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถต่อสู้ป้องกันสิทธิของตนเท่าที่ผู้ปกครองกําหนด

(4) กระบวนการพิจารณาไต่สวนคดีต่าง ๆ ให้เป็นไปตามดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่

(5) กฎหมายต้องมีความชัดเจนและมีความแน่นอนมากพอที่ประชาชนจะเข้าใจได้

ตอบ 2 หน้า 19, (คําบรรยาย) หลักนิติรัฐ หมายถึง การปฏิบัติและบังคับใช้กฎหมายของรัฐต่อประชาชนในรัฐอย่างเท่าเทียมและเสมอภาคในคนทุกกลุ่ม โดยรัฐทุกรัฐมุ่งหวังให้ประชาชน ปฏิบัติตามกฎหมายที่บังคับใช้ภายในรัฐ ซึ่งในความหมายอย่างแคบนั้นจะไม่คํานึงถึงที่มาของกฎหมาย กล่าวคือ ประชาชนจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่ตราขึ้นจากผู้ปกครองโดยเคร่งครัด

64 ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติของผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระ

(1) อายุไม่เกิน 70 ปี

(2) มีสุขภาพที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

(3) เคยเป็น ส.ส. เมื่อ 12 ปีก่อน

(4) จบการศึกษาระดับปริญญาตรี

(5) เป็นผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ

ตอบ 5 หน้า 33 รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 201 202 และ 216 กําหนดให้ ผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามทั่วไปดังต่อไปนี้

1 มีอายุไม่ต่ำกว่า 45 ปี แต่ไม่เกิน 70 ปี

2 มีสัญชาติไทยโดยการเกิด

3 สําเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

4 มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์

5 มีสุขภาพที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

6 ไม่มีลักษณะต้องห้าม เช่น เป็นหรือเคยเป็น ส.ส. ส.ว. ข้าราชการการเมือง หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นในระยะ 10 ปีก่อนเข้ารับการคัดเลือกหรือสรรหา, เป็นผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ ฯลฯ

65 การเสนอพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการเงินต้องได้รับความเห็นชอบจากใครก่อนจึงจะสามารถเสนอเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาได้

(1) คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

(2) นายกรัฐมนตรี

(3) กระทรวงการคลัง

(4) ป.ป.ช.

(5) เมื่อผู้เสนอ พ.ร.บ. นั้นเป็นผู้มีสิทธิตามรัฐธรรมนูญแล้วไม่จําเป็นต้องมีผู้เห็นชอบ

ตอบ 2 หน้า 54 รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 133 กําหนดให้ ร่างพระราชบัญญัติให้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรก่อน และจะเสนอได้ก็แต่โดย

(1) คณะรัฐมนตรี

(2) ส.ส. จํานวนไม่น้อยกว่า 20 คน

(3) ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวนไม่น้อยกว่า 10,000 คน ในกรณีที่ร่างพระราชบัญญัติซึ่งมีผู้เสนอตาม (2) หรือ (3) เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินจะเสนอได้ก็ต่อเมื่อมีคํารับรองของนายกรัฐมนตรี

 

จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถามข้อ 66. – 70.

(1) ถูก

(2) ผิด

 

66 หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 อํานาจของนายกรัฐมนตรีมาตรา 44 ตามรัฐธรรมนูญฯ (ชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ได้ยุติลง

ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 265 วรรค 2 กําหนดให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยังคงมีหน้าที่และอํานาจตามที่บัญญัติไว้ใน รัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) 2557 นั่นแสดงว่า หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญฯ 2560 อํานาจของ นายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะหัวหน้า คสช. มาตรา 44 ตามรัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ยังคงอยู่

67 การแก้ไขรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 จะกระทําไม่ได้ถ้ามีวุฒิสมาชิกเห็นชอบจํานวนน้อยกว่า 1 ใน 3 ของวุฒิสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่ของวุฒิสภา

ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 256 (3) กําหนดให้ การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่ 1 ขั้นรับหลักการ ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียง เห็นชอบด้วยในการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ของทั้งสองสภา ซึ่งในจํานวนนี้ต้องมีสมาชิกวุฒิสภา (วุฒิสมาชิก) เห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา

68 บุคคลที่จบการศึกษาระดับปริญญาโท สามารถไปสมัครเป็นผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระได้ทุกคน

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 64 ประกอบ

69 โทมัส ฮอบส์ เชื่อว่าเมื่อประชาชนมอบอํานาจให้องค์อธิปัตย์แล้วไม่สามารถเพิกถอนได้

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 52 ประกอบ

70 “หมุดก่อกําเนิดรัฐธรรมนูญหรือหมุดคณะราษฎร” ไม่เคยถูกขุดขึ้นมาก่อน

ตอบ 2 (คําบรรยาย) หมุดก่อกําเนิดรัฐธรรมนูญหรือหมุดคณะราษฎร เป็นหมุดทองเหลืองฝังอยู่กับพื้นถนนบนลานพระบรมรูปทรงม้าด้านสนามเสือป่า ซึ่งภายหลังได้ถูกปรับเปลี่ยนและเคยถูกขุด ขึ้นมาหลายครั้ง เช่น มีการนําสีดํามาราดทับ ถูกขีดจนเป็นรอยจํานวนมาก เคยถูกขุดและหายไปในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และถูกนํากลับมาในสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นต้น

 

ข้อ 71 – 87 เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับคณะกรรมาธิการ ให้นักศึกษาพิจารณา 2 ข้อความ แล้ว ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้

(1) ถ้าข้อความที่ 1 ถูก และข้อความที่ 2 ผิด

(2) ถ้าข้อความที่ 1 ผิด และข้อความที่ 2 ถูก

(3) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ถูกทั้งสองข้อ

(4) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ผิดทั้งสองข้อ

 

71 (1) รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 129 บัญญัติให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา มีอํานาจเลือกสมาชิกของแต่ละสภาตั้งเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ

(2) รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 128 บัญญัติให้กรรมาธิการสามัญซึ่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทั้งหมด ต้องมีจํานวนตามหรือใกล้เคียงกับอัตราส่วนของจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละพรรคการเมืองที่มีอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร

ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 129 วรรค 1 และ 8 กําหนดให้ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีอํานาจเลือกสมาชิกแต่ละสภาตั้งเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ กรรมาธิการสามัญ ซึ่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด ต้องมีจํานวนตามหรือใกล้เคียงกับอัตราส่วนของจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละพรรคการเมืองที่มีอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร

72 (1) การดําเนินการของคณะกรรมาธิการสามัญประจําสภาผู้แทนราษฎร ต้องเป็นไปตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรและตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 128 วรรคหนึ่ง

(2) กรณีคณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ และผู้พิการ จะต้องดําเนินการตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 128 วรรคสอง ด้วย

ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 128 วรรค 1 และ 2 กําหนดให้ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีอํานาจตราข้อบังคับการประชุมเกี่ยวกับการเลือกและการปฏิบัติหน้าที่ของประธานสภารองประธานสภา เรื่องหรือกิจการอันเป็นหน้าที่และอํานาจของคณะกรรมาธิการสามัญแต่ละชุด ในส่วนที่เกี่ยวกับการตั้งกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรวินิจฉัยว่ามีสาระสําคัญเกี่ยวกับเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ หรือคนพิการหรือ ทุพพลภาพ ต้องกําหนดให้บุคคลประเภทดังกล่าวหรือผู้แทนองค์กรเอกชนที่ทํางานเกี่ยวกับบุคคลประเภทนั้นโดยตรง ร่วมเป็นกรรมาธิการวิสามัญด้วย…

73 (1) องค์ประกอบที่สําคัญของฝ่ายนิติบัญญัติในรูปรัฐสภาประการหนึ่งคือ การแต่งตั้งคณะกรรมาธิการ (Committee) เพื่อพิจารณาปัญหากฎหมายเฉพาะเรื่อง หรือตั้งขึ้นมาเพื่อสอดคล้องกับงานหลายฝ่ายของรัฐบาล

(2) คณะกรรมาธิการของรัฐสภามีบทบาทเท่ากับเป็นรัฐสภาขนาดเล็ก (Little Legislature)

ตอบ 3 (คําบรรยาย) องค์ประกอบที่สําคัญของฝ่ายนิติบัญญัติในรูปรัฐสภาประการหนึ่งคือ การแต่งตั้งคณะกรรมาธิการ (Committee) เพื่อพิจารณาปัญหากฎหมายเฉพาะเรื่อง หรือตั้งขึ้นมาเพื่อ สอดคล้องกับงานหลายฝ่ายของรัฐบาล โดยคณะกรรมาธิการของรัฐสภานั้นจะมีบทบาทคล้ายกับรัฐสภาขนาดเล็ก (Little Legislature)

74 (1) การแบ่งประเภทของคณะกรรมาธิการในรัฐสภา ได้แบ่งตามกิจกรรมที่ถือปฏิบัติอยู่ เช่น

1 คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการร่างกฎหมาย หรือการพิจารณาร่างกฎหมาย 2 คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารการพัฒนา

3 คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่ในการสอบสวน ตรวจตรา และสอดคล้องการปฏิบัติงานรัฐบาล (2) คณะกรรมาธิการในรัฐสภา อาจมีการแต่งตั้งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1 คณะกรรมาธิการสามัญ

2 คณะกรรมาธิการวิสามัญ

ตอบ 2 หน้า 27, 31 คณะกรรมาธิการในรัฐสภามี 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ คณะกรรมาธิการสามัญ และคณะกรรมาธิการวิสามัญ นอกจากนี้เราอาจจะแบ่งประเภทของคณะกรรมาธิการในรัฐสภาได้ ตามกิจกรรมที่ถือปฏิบัติอยู่ ดังนี้

1 คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการร่างพระราชบัญญัติ หรือการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ

2 คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานคลัง

3 คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่ในการสอบสวน ตรวจตราสอดส่องการปฏิบัติงานของรัฐบาล เป็นต้น

75 (1) ในกลุ่มประเทศกําลังพัฒนา คณะกรรมาธิการมักมีอิทธิพลต่อกระบวนการนิติบัญญัติอย่างชัดแจ้งโดยเฉพาะความสามารถในการทํางานอย่างรวดเร็ว

(2) เหตุผลของการที่ต้องมีคณะกรรมาธิการ เนื่องจากการทํางานของรัฐสภาตามความเป็นจริงนั้นจําเป็นต้องผสมผสานหลักทางเทคนิคกับหลักความต้องการของนักการเมือง

ตอบ 4 (คําบรรยาย) เหตุผลของการที่ต้องมีคณะกรรมาธิการมีอยู่ 4 ประการ คือ

1 เพื่อการแสวงหาข้อมูลและกลั่นกรองเรื่องให้สภา

2 จําเป็นต้องผสมผสานหลักทางเทคนิคกับความต้องการของราษฎร

3 เป็นการละลายความเป็นพรรคการเมือง

4 การสอบสวนข้อเท็จจริงและรับเรื่องราวร้องทุกข์ ถือเป็น “หน้าที่พิเศษ” ของคณะกรรมาธิการในประเทศไทย) ซึ่งในกลุ่มประเทศกําลังพัฒนานั้นพบว่า คณะกรรมาธิการมักไม่ค่อยมีอิทธิพล ต่อกระบวนการนิติบัญญัติมากนัก เนื่องจากความสามารถในการทํางานค่อนข้างต่ำ

76 (1) การทํางานในขั้น “คณะกรรมาธิการ” ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ หรือคณะกรรมาธิการวิสามัญแม้จะเป็นสมาชิกสภาต่างจากพรรคการเมืองก็ตาม เมื่อต้องมาทํางานในคณะกรรมาธิการชุดเดียวกันมักจะมีบรรยากาศของความปรองดอง

(2) “หน้าที่พิเศษ” ที่ถือว่าเป็นหน้าที่ประจําตามปกติธรรมดาของคณะกรรมาธิการในประเทศไทย คือ การแสวงหาข้อมูลและกลั่นกรองเรื่องให้สภา

ตอบ 1 (คําบรรยาย) “การละลายความเป็นพรรคการเมือง” หนึ่งในเหตุผลของการที่ต้องมีคณะกรรมาธิการนั้นพบว่า การทํางานในขันคณะกรรมาธิการ ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ หรือคณะกรรมาธิการวิสามัญ แม้จะเป็นสมาชิกสภาต่างจากพรรคการเมืองก็ตาม เมื่อต้องมาทํางานในกรรมาธิการชุดเดียวกันมักจะมีบรรยากาศของความปรองดอง (ดูคําอธิบายข้อ 75 ประกอบ)

77 (1) การแต่งตั้งกรรมาธิการเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมาธิการทั่วโลกมีอยู่ 2 วิธีด้วยกัน คือ

1 แต่งตั้งโดยผู้ที่มีอํานาจในการบังคับบัญชาของรัฐสภา

2 แต่งตั้งโดยรัฐสภา (2) การปฏิบัติงานของคณะกรรมาธิการ ไม่ถือว่าเป็นเอกสิทธิ์ที่ผู้ใดจะนําไปฟ้องร้องในทางใดมิได้

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การแต่งตั้งกรรมาธิการเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมาธิการทั่วโลกมีอยู่ 3 วิธีด้วยกัน คือ

1 แต่งตั้งโดยผู้ที่มีอํานาจในการบังคับบัญชาของรัฐสภา

2 แต่งตั้งโดยคณะกรรมาธิการพิเศษที่มีอํานาจในการคัดเลือก

3 แต่งตั้งโดยรัฐสภา ซึ่งการปฏิบัติงานของคณะกรรมาธิการนั้นถือว่าเป็นเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาดผู้ใดจะนําไปฟ้องร้องในทางใด ๆ มิได้

78 (1) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกาได้เปิดโอกาสให้มีการใช้ตําแหน่งสมาชิกคณะกรรมาธิการเป็นรางวัลตอบแทนแก่สมาชิกสภาอยู่แทนทําหน้าที่เป็นผลประโยชน์แก่พรรคการเมืองได้

(2) กรรมาธิการแต่ละคณะในสภาคองเกรส จะได้รับเลือกเข้าดํารงตําแหน่งกรรมาธิการคณะใดคณะหนึ่งขึ้นอยู่กับความสมัครใจของสมาชิก ความเหมาะสมต่อหน้าที่ ความมีอาวุโสเป็นหลัก

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกาได้เปิดโอกาสให้มีการใช้“ตําแหน่งสมาชิกคณะกรรมาธิการ” เป็นรางวัลตอบแทนแก่สมาชิกสภาอยู่แทนทําหน้าที่เป็น ผลประโยชน์แก่พรรคการเมืองได้ ส่วนคณะกรรมาธิการแต่ละคณะในสภาคองเกรสนั้นจะ ได้รับเลือกเข้าดํารงตําแหน่งกรรมาธิการคณะใดคณะหนึ่งขึ้นอยู่กับความสมัครใจของสมาชิกความเหมาะสมต่อหน้าที่ และความมีอาวุโสเป็นหลัก

79 (1) ในระบบรัฐสภาของสหรัฐอเมริกา หากเป็นร่างรัฐบัญญัติธรรมดาเข้าสู่คณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องแล้วคณะกรรมาธิการจะสามารถทําการจัดประชุมที่เรียกว่า การประชุมลับ (Executive Session)เพื่อที่จะกําหนดระเบียบวาระได้

(2) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกา จะประกอบด้วยคณะกรรมาธิการสามัญ คณะกรรมาธิการวิสามัญคณะกรรมาธิการร่วม คณะกรรมาธิการร่วมกันของรัฐสภา และคณะกรรมาธิการเต็มสภา

ตอบ 2 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกา มี 5 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการสามัญ

2 คณะกรรมาธิการวิสามัญ

3 คณะกรรมาธิการร่วม

4 คณะกรรมาธิการร่วมกันของรัฐสภา

5 คณะกรรมาธิการเต็มสภา ซึ่งในระบบรัฐสภาของสหรัฐฯ หากเป็นร่างรัฐบัญญัติที่มีความสลับซับซ้อน (เรื่องใหญ่ เรื่องที่ ประชาชนสนใจมาก) เข้าสู่คณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องแล้วคณะกรรมาธิการจะสามารถทําการ จัดประชุมที่เรียกว่า การประชุมลับ (Executive Session) เพื่อที่จะกําหนดระเบียบวาระได้

80 (1) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาอังกฤษ ประกอบด้วยคณะกรรมาธิการเต็มสภา คณะกรรมาธิการสามัญคณะกรรมาธิการร่วม และคณะกรรมาธิการร่วมพระราชบัญญัติมหาชน

(2) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาอังกฤษยังมีคณะกรรมาธิการชุดพิเศษชุดหนึ่ง เรียกว่า คณะกรรมาธิการสามัญสกอต (Scottish Standing Committee) ซึ่งมีกรรมาธิการทุกคนเป็นชาวสกอต และทําหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับสกอตแลนด์เท่านั้น

ตอบ 2 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาอังกฤษ มี 5 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการเต็มสภา

2 คณะกรรมาธิการสามัญ

3 คณะกรรมาธิการวิสามัญ

4 คณะกรรมาธิการร่วม

5 คณะกรรมาธิการร่างพระราชบัญญัติเอกชน นอกจากนี้ยังมีคณะกรรมาธิการชุดพิเศษชุดหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมาธิการสามัญสกอต” (Scottish Standing Committee) ซึ่งมีกรรมาธิการทุกคนเป็นชาวสกอต และทําหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับสกอตแลนด์เท่านั้น

81 (1) คณะกรรมาธิการวิสามัญ (Select Committee) ของรัฐสภาอังกฤษ สามารถแบ่งย่อยได้อีก 2 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการสมัยประชุม

2 คณะกรรมาธิการชั่วคราว (2) คณะกรรมาธิการร่วม (Joint Committee) ของรัฐสภาอังกฤษ จะเป็นคณะกรรมาธิการที่ได้รับแต่งตั้งมาจากสภาสามัญและสภาขุนนาง เพื่อร่วมกันพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ไม่เกี่ยวกับการเมือง

ตอบ 2 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการวิสามัญ (Select Committee) ของรัฐสภาอังกฤษ สามารถแบ่งย่อยได้ 3 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการสมัยประชุม

2 คณะกรรมาธิการชั่วคราว

3 คณะกรรมาธิการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ส่วนคณะกรรมาธิการร่วม (Joint Committee) ของรัฐสภาอังกฤษนั้นจะเป็นคณะกรรมาธิการ ที่ได้รับแต่งตั้งมาจากสภาสามัญและสภาขุนนาง เพื่อร่วมกันพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ไม่เกี่ยวกับการเมือง

82 (1) ระบบคณะกรรมาธิการของฝรั่งเศส จะประกอบด้วยคณะกรรมาธิการสามัญ คณะกรรมาธิการวิสามัญและคณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุม

(2) คณะกรรมาธิการสามัญของฝรั่งเศส เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบร่างกฎหมายตามที่รัฐบาลหรือสภาร้องขอให้พิจารณา

ตอบ 1 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการของฝรั่งเศส มี 3 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการสามัญ เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาเรื่องหลัก ๆ

2 คณะกรรมาธิการวิสามัญ เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบร่างกฎหมายตามที่รัฐบาลหรือสภาร้องขอให้พิจารณา

3 คณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุม เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อที่สภาจะสามารถดําเนินการสอบสวนหรือรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง และเสนอข้อสรุปต่อสภา ซึ่งมักเข้าไป เกี่ยวข้องกับคดีที่สําคัญและดําเนินงานเดียวกับกระทรวงการยุติธรรม และจะถูกยุบทันทีที่ศาลได้ดําเนินคดีในข้อเท็จจริงที่คณะกรรมาธิการพิจารณาอยู่

83 (1) คณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุมของฝรั่งเศส เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อที่สภาจะสามารถดําเนินการสอบสวนหรือรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง และเสนอข้อสรุปต่อประธานาธิบดี

(2) คณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุมของฝรั่งเศส มักเข้าไปเกี่ยวข้องกับคดีที่สําคัญและดําเนินงานเดียวกับกระทรวงการยุติธรรม และจะถูกยุบทันทีที่ศาลได้ดําเนินคดีในข้อเท็จจริงที่คณะกรรมาธิการพิจารณาอยู่

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 82 ประกอบ

84 (1) ระบบกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น สามารถเปิดให้มีการซักถามในที่ประชุมคณะกรรมาธิการ (Public Hearing) เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ ร่างพระราชบัญญัติรายได้ และร่างพระราชบัญญัติที่สําคัญเกี่ยวกับผลประโยชน์ของประชาชน

(2) ระบบกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่นอาจขอให้รัฐมนตรีหรือผู้แทนรัฐบาลชี้แจงต่อที่ประชุมคณะกรรมาธิการได้ขณะเดียวกันรัฐมนตรีหรือผู้แทนรัฐบาลก็อาจจะขอเข้าพูดที่ประชุมคณะกรรมาธิการก่อนที่ประธานคณะกรรมาธิการขอมาก็ได้

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ระบบกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น สามารถเปิดให้มีการซักถามในที่ประชุมคณะกรรมาธิการ (Public Hearing) เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ ร่างพระราชบัญญัติ รายได้ และร่างพระราชบัญญัติที่สําคัญเกี่ยวกับผลประโยชน์ของประชาชน ซึ่งอาจขอให้รัฐมนตรี หรือผู้แทนรัฐบาลชี้แจงต่อที่ประชุมคณะกรรมาธิการได้ ขณะเดียวกันรัฐมนตรีหรือผู้แทนรัฐบาลก็อาจจะขอเข้าพูดที่ประชุมคณะกรรมาธิการก่อนที่ประธานคณะกรรมาธิการขอมาก็ได้

85 (1) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น มี 2 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการสามัญ

2 คณะกรรมาธิการวิสามัญ

(2) ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญของรัฐสภาญี่ปุ่นจะมาจากการแต่งตั้งของสมาชิกในคณะกรรมาธิการด้วยกัน และในทางปฏิบัติจะได้รับการคัดเลือกโดยญัตติขอให้รับรองในคณะกรรมาธิการ

ตอบ 1 (คําบรรยาย), คณะกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น มี 2 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการสามัญ

2 คณะกรรมาธิการวิสามัญ โดยประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญนั้นจะมาจากการเลือกตั้งของสมาชิกในคณะกรรมาธิการด้วยกัน และในทางปฏิบัติจะได้รับการคัดเลือกโดยญัตติขอให้รับรองในคณะกรรมาธิการ

86 (1) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยเป็นแบบผสม คือมีทั้งคณะกรรมาธิการสามัญประจําสภา(ระบบสหรัฐอเมริกา) และคณะกรรมาธิการวิสามัญซึ่งตั้งขึ้นชั่วคราว (ระบบอังกฤษ)

(2) รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 129 วรรคสี่ บัญญัติให้อํานาจคณะกรรมาธิการ เรียกเอกสารจากบุคคลใด หรือเรียกผู้พิพากษาหรือตุลาการมาแถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระทําหรือในเรื่องที่พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาอยู่นั้นได้

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยเป็นแบบผสม คือมีทั้งคณะกรรมาธิการสามัญประจําสภา (ระบบสหรัฐอเมริกา) และคณะกรรมาธิการวิสามัญซึ่งตั้งขึ้นชั่วคราว (ระบบอังกฤษ) โดยรัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 129 วรรค 4 บัญญัติให้อํานาจคณะกรรมาธิการ เรียกเอกสาร จากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระทําหรือ ในเรื่องที่พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาอยู่นั้นได้ แต่การเรียกเช่นว่านั้นมิให้ใช้บังคับแก่ผู้พิพากษาหรือตุลาการ

87 (1) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยมีที่มาจากรัฐธรรมนูญ และข้อบังคับการประชุมของสภา จะต้องคํานึงถึงหลักการกระจายอํานาจเป็นหลัก

(2) รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 129 วรรคสาม บัญญัติเรื่องการสอบหาข้อเท็จจริง คณะกรรมาธิการ จะมอบอํานาจหรือมอบหมายให้บุคคลหรือคณะบุคคลใดกระทําการแทนมิได้

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยนั้นมีที่มาจากรัฐธรรมนูญ และข้อบังคับการประชุมของสภา ซึ่งจะต้องคํานึงถึงหลักแบ่งงานกันทําเป็นหลัก โดยรัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 129 วรรค 3 บัญญัติเรื่องการสอบหาข้อเท็จจริง คณะกรรมาธิการจะมอบอํานาจหรือ มอบหมายให้บุคคลหรือคณะบุคคลใดกระทําการแทนมิได้

 

ข้อ 88 – 95 ให้นักศึกษาพิจารณาประเภทของคณะกรรมาธิการรัฐสภาไทย แล้วใช้ตัวเลือกต่อไปนี้

(1) คณะกรรมาธิการสามัญ

(2) คณะกรรมาธิการวิสามัญ

(3) คณะกรรมาธิการร่วม

(4) คณะกรรมาธิการเต็มสภา

(5) คณะกรรมาธิการชั่วคราว

 

88 คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจากผู้ที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น

ตอบ 1 หน้า 27 – 28 คณะกรรมาธิการสามัญ หมายถึง คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น หรือคณะบุคคลที่วุฒิสภาแต่งตั้งจากสมาชิกวุฒิสภาเท่านั้น และตั้งไว้เป็นการถาวรตลอดอายุของสภา เพื่อการทํากิจการหรือเพื่อพิจาณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอํานาจหน้าที่ของรัฐสภาแล้วรายงานต่อสภา

89 คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ได้

ตอบ 2 หน้า 31 คณะกรรมาธิการวิสามัญ หมายถึง คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ได้ หรือคณะบุคคลที่วุฒิสภาแต่งตั้งจากผู้ที่เป็นหรือมิได้ เป็นสมาชิกวุฒิสภาก็ได้ โดยจะแต่งตั้งขึ้นเมื่อคณะรัฐมนตรีร้องขอ หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยื่นญัตติขอให้ตั้ง เพื่อพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นการเฉพาะและจะสลายตัวเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจ

90 กรรมาธิการที่สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาแต่งตั้งขึ้น จากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาก็ได้

ตอบ 3 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการร่วม หมายถึง กรรมาธิการที่สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาแต่งตั้งขึ้น จากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาก็ได้ ซึ่งจะเกิดขึ้นเฉพาะ กรณีที่วุฒิสภามีการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติที่สภาผู้แทนราษฎรได้ให้ความเห็นชอบแล้ว และสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาแล้วเห็นว่ามิใช่เป็นการแก้ไขเล็กน้อยจึงไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขของวุฒิสภา

91 คณะกรรมาธิการที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ประกอบเป็นคณะกรรมาธิการโดยประธานในที่ประชุมจะทําหน้าที่ประธานคณะกรรมาธิการ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการเต็มสภา หมายถึง คณะกรรมาธิการที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ประกอบเป็นคณะกรรมาธิการโดยประธานในที่ประชุม จะทําหน้าที่ประธานคณะกรรมาธิการ ซึ่งจะเกิดขึ้นเฉพาะในกรณีสภาได้มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญในวาระที่ 1 แล้ว

92 คณะกรรมาธิการ…จะเกิดขึ้นเฉพาะในกรณีสภาได้มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญในวาระที่ 1 แล้ว . .

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 91 ประกอบ

93 คณะกรรมาธิการจะเกิดขึ้นเฉพาะกรณีที่วุฒิสภามีการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติที่สภาผู้แทนราษฎรได้ให้ความเห็นชอบแล้ว และสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาแล้วเห็นว่ามิใช่เป็นการแก้ไขเล็กน้อยจึงไม่เห็นด้วย กับการแก้ไขของวุฒิสภา

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 90 ประกอบ

94 คณะกรรมาธิการแต่งตั้งเมื่อคณะรัฐมนตรีร้องขอ หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยื่นญัตติขอให้ตั้ง

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 89 ประกอบ

95 คณะกรรมาธิการ ตั้งไว้เป็นการถาวรตลอดอายุของสภา เพื่อการทํากิจการหรือเพื่อพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอํานาจหน้าที่ของรัฐสภาแล้วรายงานต่อสภา

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 88 ประกอบ

 

ข้อ 96 – 100 เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับกระบวนการนิติบัญญัติในฝ่ายนิติบัญญัติ การตราพระราชบัญญัติ ให้นักศึกษาพิจารณาข้อความแล้วใช้ตัวเลือกต่อไปนี้

(1) ถ้าข้อความนี้ ถูก

(2) ถ้าข้อความนี้ ผิด

 

96 รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 133 บัญญัติว่า ร่างพระราชบัญญัติให้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรก่อนและจะเสนอได้ก็แต่โดย

1 คณะรัฐมนตรี

2 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวนไม่น้อยกว่า 20 คน

3 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวนไม่น้อยกว่า 10,000 คน และต้องเป็นไปตามมาตรา 77 ด้วย

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 65 ประกอบ

 

97 กระบวนการนิติบัญญัติในรัฐสภา กรณีการพิจารณาโดยสภาผู้แทนราษฎรได้กําหนดขั้นตอนเป็น 4 วาระ คือ

1 ขั้นรับหลักการ

2 ขั้นพิจารณา

3 ขั้นแปรบัญญัติ

4 ขั้นลงมติเห็นชอบให้ส่งต่อไปยังวุฒิสภา

ตอบ 2 หน้า 54 – 55 กระบวนการนิติบัญญัติในรัฐสภา กรณีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติโดยสภาผู้แทนราษฎรนั้นจะพิจารณาเป็น 3 วาระ คือ

1 ขั้นรับหลักการ

2 ขั้นพิจารณาหรือขั้นแปรญัตติ

3 ขั้นลงมติเห็นชอบให้ส่งต่อไปยังวุฒิสภา

98 การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของวุฒิสภา กรณีเป็นการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั่วไปต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน แต่ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 14 ประกอบ

99 หากประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภา เห็นว่าร่างพระราชบัญญัติมีข้อความขัดหรือแย้งต่อ รัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ให้ส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อวินิจฉัย และแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบโดยไม่ชักช้า

ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 148 (1) กําหนดให้ หาก ส.ส. ส.ว. หรือสมาชิกของทั้งสองสภารวมกันมีจํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของ ทั้งสองสภา เห็นว่าร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้น โดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ให้เสนอความเห็นต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา หรือประธานรัฐสภาแล้วแต่กรณี แล้วให้ประธานแห่งสภาที่ได้รับความเห็น ดังกล่าวส่งความเห็นนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย และแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบ โดยไม่ชักช้า

100 ถ้าพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ ก็ทรงมีอํานาจยับยั้งได้ โดยส่งร่างพระราชบัญญัตินั้นคืนมายังรัฐสภา หรือเก็บร่างพระราชบัญญัตินั้นไว้โดยไม่ทรงพระราชทานคืนมายังรัฐสภา จนล่วงพ้นเวลา 90 วันไปแล้ว

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 57 ประกอบ

POL3100 กระบวนการนิติบัญญัติ s/2560

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3100 กระบวนการนิติบัญญัติ

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1 ข้อใดเป็นเกณฑ์การวัดความเป็นประชาธิปไตย

(1) ความพร้อมรับผิดชอบทางการเมือง

(2) ความเข้มแข็งของภาคประชาชน

(3) ความสามารถในการตรวจสอบนักการเมืองของ ป.ป.ช.

(4) ข้อ 1 และ 3 ถูก (5) ข้อ 1 และ 2 ถูก

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 14) เกณฑ์การวัดความเป็นประชาธิปไตย ได้แก่

1 ความพร้อมรับผิดชอบทางการเมือง (Political Accountability)

2 การแข่งขันทางการเมือง (Political Competition)

3 ความมีเสรีภาพทางการเมือง (Political Freedom)

4 ความเสมอภาคทางการเมือง (Political Equality)

2 การปฏิรูปประเทศ เป็นหมวดหนึ่งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใด (1) พ.ศ. 2540

(2) พ.ศ. 2550

(3) พ.ศ. 2557

(4) พ.ศ. 2560

(5) ไม่ปรากฏในรัฐธรรมนูญทุกฉบับ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) “การปฏิรูปประเทศ” เป็นหมวด 16 ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ซึ่งการปฏิรูปประเทศตามหมวดนี้ต้องการดําเนินการในด้านต่าง ๆ ให้เกิดผลดังนี้ การเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม การศึกษา เศรษฐกิจและด้านอื่น ๆ

3 รัฐธรรมนูญในฐานะกฎหมายสูงสุดมีลักษณะอย่างไร

(1) กฎหมายใดจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้

(2) การแก้กฎหมายทําได้ง่าย

(3) เป็นไปตามเจตจํานงของผู้ปกครองสูงสุด

(4) ลําดับชั้นของกฎหมายไม่มีความจําเป็น

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 5) รัฐธรรมนูญในฐานะกฎหมายสูงสุด มีลักษณะดังนี้

1 กฎหมายใดจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้

2 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญทําได้ยาก

4 ข้อใดแสดงว่าอํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย

(1) ตัวแทนจากวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งกันเองของสภาวิชาชีพ

(2) ตัวแทนในรัฐสภามาจากการเลือกตั้งโดยตรงมากที่สุด

(3) จํานวนประชากรที่ลงชื่อเสนอกฎหมายได้ต้องใช้จํานวนมากที่สุด

(4) ประชาชนออกเสียงประชามติแล้วให้รัฐแก้ไขได้เล็กน้อย

(5) การประกาศตัวเป็นองค์อธิปัตย์ของแกนนํากลุ่มผู้ชุมนุมที่มีผู้เข้าร่วมชุมนุมจํานวนมาก

ตอบ 2 (คําบรรยาย) อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน (Popular Sovereignty) สามารถแสดงออกผ่านกฎหมายรัฐธรรมนูญได้ในหลายลักษณะ เช่น

1 กําหนดสัดส่วนของตัวแทนประชาชนในรัฐสภาให้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงมากที่สุด

2 กําหนดจํานวนประชาชนที่มีสิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมายมีจํานวนน้อยลง (แสดงนัยยะสําคัญว่าอํานาจของประชาชนมากขึ้น) เป็นต้น

5 หลักการประชาพิจารณ์ไม่ใช่ข้อใดต่อไปนี้

(1) รัฐตัดสินใจดําเนินโครงการแล้วจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน (2) รัฐผูกพันต้องปฏิบัติตามความคิดเห็นของประชาชน

(3) ต้องมีผู้เชี่ยวชาญมาให้ข้อมูลกับประชาชน

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 (คําบรรยาย) หลักการของการทําประชาพิจารณ์ มีดังนี้

1 จะต้องกระทําก่อนการตัดสินใจดําเนินโครงการ

2 มีการคัดเลือกผู้เข้าร่วมประชาพิจารณ์ที่สะท้อนสัดส่วนที่แท้จริงของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

3 มีผู้เชี่ยวชาญมาให้ข้อมูลกับประชาชน

4 การดําเนินการประชาพิจารณ์ต้องเป็นไปโดยเที่ยงตรงและเปิดเผย

5 ข้อสรุปจากการทําประชาพิจารณ์เป็นเพียงข้อเสนอแนะ หน่วยงานของรัฐไม่จําเป็นต้องปฏิบัติตาม

6 รัฐธรรมนูญ มีนัยยะสําคัญในเรื่องใด

(1) จํากัดอํานาจของรัฐบาล

(2) แสดงความสัมพันธ์ของรัฐกับประชาชน

(3) สร้างความชอบธรรมในการใช้อํานาจของรัฐ

(4) ถูกทุกข้อ

(5) เฉพาะข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 4 – 5), (คําบรรยาย) นัยยะสําคัญของรัฐธรรมนูญ มีดังนี้

1 จํากัดอํานาจและการกระทําของรัฐบาล

2 แสดงความสัมพันธ์ของรัฐกับประชาชน

3 สร้างความชอบธรรมในการใช้อํานาจของรัฐบาล

4 อํานาจอธิปไตยเป็นของประชาชน

5 สถานะสูงสุดที่ไม่มีกฎหมายอื่นใดขัดหรือแย้ง ฯลฯ

7 สมาชิกองค์กรท้องถิ่นใดหายไปในรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560

(1) เทศบาล

(2) สภาท้องถิ่น

(3) องค์การบริหารส่วนตําบล

(4) กํานัน

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 5 (คําบรรยาย) สมาชิกองค์กรท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญฯ 2560 ได้แก่

1 ระดับหมู่บ้าน เช่น ผู้ใหญ่บ้าน กรรมการหมู่บ้าน สมาชิกสภาท้องถิ่น

2 ระดับตําบล เช่น กํานัน สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตําบล (อบต.)

3 ระดับอําเภอ เช่น สมาชิกสภาเทศบาล สมาชิกสภาเมืองพัทยา

4 ระดับจังหวัด เช่น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.)สมาชิกสภาจังหวัด (ส.จ.) เป็นต้น

8 ข้อใดไม่ใช่องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560

(1) กกต.

(2) ป.ป.ช.

(3) คตง.

(4) สตง.

(5) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 35 – 39) องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 ประกอบด้วย 5 องค์กร ได้แก่

1 คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)

2 ผู้ตรวจการแผ่นดิน

3 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)

4 คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.)

5 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

9 “The End of History” เป็นแนวคิดของใคร

(1) จอห์น ล็อค

(2) ฟรานซิส ฟูกยามา

(3) มองเตสกิเออ

(4) รุสโซ

(5) โทมัส ฮอบส์

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 14), (คําบรรยาย) ฟรานซิส ฟูกยามา (Francis Fukuyama)ได้เขียนหนังสือชื่อ “การสิ้นสุดของประวัติศาสตร์” (The End of History) เพื่อสนับสนุนแนวคิด เสรีนิยมประชาธิปไตยโดยเขาเชื่อว่า โลกทุกวันนี้ไม่ต้องศึกษาเรื่องอุดมการณ์ทางการเมืองอีก ต่อไป เพราะเราได้มาถึงจุดสิ้นสุดของการแข่งขันทางอุดมการณ์แล้ว นับตั้งแต่สงครามเย็นยุติลงหลังการพังทลายของกําแพงเบอร์ลินในปี ค.ศ. 1990

10 องค์อธิปัตย์ตามแนวคิดสัญญาประชาคมของโทมัส ฮอบส์ และจอห์น ล็อค ต่างกันอย่างไร

(1) การเพิกถอนอํานาจของผู้ให้อํานาจ

(2) ความเป็นเจ้าชีวิตของประชาชน

(3) การเป็นเจ้าของทรัพย์สิน

(4) ถูกทุกข้อ

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 9), (คําบรรยาย) องค์อธิปัตย์ตามแนวคิดสัญญาประชาคมของโทมัส ฮอบส์ และจอห์น ล็อค นั้นแตกต่างกันในประเด็นเรื่อง “การเพิกถอนอํานาจของผู้ให้อํานาจ” โดยโทมัส ฮอบส์ เห็นว่าเมื่อประชาชนมอบอํานาจให้องค์อธิปัตย์แล้วไม่สามารถเพิกถอนได้ ไม่ว่าเขาจะควบคุมชีวิตเรามากแค่ไหนก็ตาม แต่สําหรับ จอห์น ล็อค กลับเห็นว่าอํานาจดังกล่าวสามารถเพิกถอนได้เมื่อเห็นว่าองค์อธิปัตย์ไม่อาจดูแลปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของตนได้

11 วุฒิสภาต้องพิจารณาร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการเงินให้เสร็จภายในกี่วัน

(1) 15 วัน

(2) 30 วัน

(3) 45 วัน

(4) 60 วัน

(5) 90 วัน

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 55) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 136 กําหนดให้ วุฒิสภาต้องพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เสนอมาโดยสภาผู้แทนราษฎรนั้นให้เสร็จภายใน 60 วัน แต่ถ้า เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 30 วัน เว้นแต่วุฒิสภา จะได้ลงมติให้ขยายเวลาออกไปเป็นกรณีพิเศษซึ่งต้องไม่เกิน 30 วัน หากวุฒิสภายังพิจารณาไม่เสร็จภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ ให้ถือว่าวุฒิสภาได้ให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัตินั้น

12 ใครมีสิทธิเลือกตั้ง

(1) ภิกษุ

(2) อยู่ระหว่างสู้คดีถูกเพิกถอนสิทธิ

(3) จบการศึกษาระดับประถมศึกษา

(4) นักโทษ

(5) จิตฟันเฟือน

ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 95 กําหนดให้ บุคคลผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

1 มีสัญชาติไทย

2 มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีในวันเลือกตั้ง

3 มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วไม่น้อยกว่า 90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง และมาตรา 96 กําหนดให้ บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้งเป็นบุคคลต้องห้าม มิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง

1 เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช

2 อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งไม่ว่าคดีนั้นจะถึงที่สุดแล้วหรือไม่

3 ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคําสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย (เป็นนักโทษ)

4 วิกลจริตหรือจิตฟันเฟือนไม่สมประกอบ

13 ข้อใดคือประชาธิปไตยทางตรง

(1) การรับฟังความคิดเห็นจากประธานชุมชน

(2) การเลือกุสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

(3) การสรรหาวุฒิสภา

(4) การรับฟังข่าวสาร

(5) การไปลงประชามติ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ประชาธิปไตยทางตรง (Direct Democracy) เป็นรูปแบบการปกครองโดยที่พลเมืองสามารถมีส่วนร่วมกับการตัดสินใจใด ๆ ได้โดยตรง โดยไม่ต้องอาศัยคนกลางหรือผู้ทําหน้าที่แทนตน เช่น การไปลงประชามติ การริเริ่มออกกฎหมาย การถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้ง เป็นต้น

14 การกําหนดจํานวนประชาชนที่มีสิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมายน้อยลง แสดงนัยยะอะไร

(1) อํานาจของประชาชนมากขึ้น

(2) อํานาจของประชาชนน้อยลง

(3) โอกาสการเข้ามีส่วนร่วมในการปกครองน้อยลง

(4) ไม่มีนัยยะสําคัญ

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 4 ประกอบ

15 ประเทศไทยได้รับพระราชทานรัฐธรรมนูญครั้งแรกเมื่อใด

(1) 24 ธันวาคม 2475

(2) 24 มิถุนายน 2475

(3) 10 ธันวาคม 2475

(4) 14 ตุลาคม 2475

(5) 6 ตุลาคม 2475

ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 66 – 67) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทย ซึ่งได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475

16 ข้อใดคือพื้นที่ส่วนตัว (Private Sphere)

(1) ห้องทํางานในมหาวิทยาลัย

(2) การโพสต์บนเฟซบุ๊ค

(3) ไลน์กลุ่ม

(4) การคลุมฮิญาบ

(5) ห้อง Study ในห้องสมุด

ตอบ 4 (คําบรรยาย) พื้นที่ส่วนตัว (Private Sphere) เป็นพื้นที่ที่ถูกใช้โดยคนหนึ่งคนใด และมีลักษณะแบ่งแยกกันเด็ดขาด มักเป็นพื้นที่ที่มีความเป็นปัจเจกบุคคล เข้าถึงได้ยากเพราะต้องการความ เป็นส่วนตัว เช่น ศาสนา (การคลุมฮิญาบ) ชีวิตครอบครัว รสนิยม งานอดิเรก ห้องนอน อีเมล(E-mail) ฯลฯ

17 กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจําเป็นรีบด่วนเรียกว่า

(1) พระราชกฤษฎีกา

(2) พระราชานุญาต

(3) พระราชบัญญัติ

(4) พระราชกําหนด

(5) พระราชดําริ

ตอบ 4 หน้า 98 – 99, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 56) พระราชกําหนด คือ กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจําเป็นรีบด่วน ได้แก่ กรณีฉุกเฉิน ที่มีความจําเป็นรีบด่วนในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ หรือมีความจําเป็น ต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยภาษีอากรหรือเงินตรา

18 การตัดสินใจด้วยเสียงส่วนใหญ่แต่ปกป้องเสียงส่วนน้อย คือข้อใด

(1) Secular State

(2) Human Rights

(3) Parliamentary System

(4) Social Contract

(5) Majority Rule and Minority Rights

ตอบ 5 (คําบรรยาย) Majority Rule and Minority Rights หมายถึง หลักการปกครองโดยเสียงข้างมากโดยเคารพสิทธิของเสียงข้างน้อย หรืออาจกล่าวได้อีกอย่างว่าเป็นการตัดสินใจด้วยเสียงส่วนใหญ่แต่ปกป้องสิทธิของเสียงส่วนน้อยนั่นเอง

19 ประเทศใดที่สามารถนํา “ตํารากฎหมายที่สําคัญ” มาเป็นหลักในการพิจารณาคดีได้

(1) อังกฤษ

(2) สหรัฐอเมริกา

(3) สวีเดน

(4) ฝรั่งเศส

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ที่มาของหลักในการพิจารณาคดีของอังกฤษ ได้แก่ ตํารากฎหมายที่สําคัญกฎหมายจารีตประเพณี ขนบธรรมเนียมหรือหลักปฏิบัติ เป็นต้น

20 การกําหนดความสัมพันธ์ของ “ผู้ใช้อํานาจรัฐ” กับ “ประชาชนในฐานะปัจเจก” มักยึดหลักความได้สัดส่วนและความเหมาะสม ระหว่างข้อใด

(1) ความชอบด้วยกฎหมายและการใช้อํานาจรัฐ

(2) ประโยชน์ของปัจเจกและประโยชน์ของสาธารณะ

(3) อํานาจของรัฐสภากับอํานาจองค์กรอิสระ

(4) ข้อ 1 และ 3 ถูก

(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 13), (คําบรรยาย) การกําหนดพื้นฐานความสัมพันธ์ของ“ผู้ใช้อํานาจรัฐ” กับ “ประชาชนในฐานะปัจเจก” นั้นมักยึดหลักแห่งความได้สัดส่วนและ หลักแห่งความเหมาะสม เพื่อ

1 เป็นหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายและการใช้อํานาจรัฐ

2 สร้างดุลยภาพระหว่างประโยชน์ของปัจเจกและประโยชน์ของสาธารณะ

21 ข้อใดไม่ใช่ปัญหาของการทําประชาพิจารณ์ในประเทศไทย

(1) การคัดเลือกผู้เข้าร่วมประชาพิจารณ์ไม่สะท้อนสัดส่วนที่แท้จริงของผู้มีส่วนได้เสีย

(2) จัดทําประชาพิจารณ์ก่อนการตัดสินใจดําเนินโครงการ

(3) ไม่มีผู้เชี่ยวชาญมาชี้แจงให้ข้อมูลอย่างครบถ้วน

(4) ผู้มาร่วมบางส่วนไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการได้

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ปัญหาของการทําประชาพิจารณ์ในประเทศไทย ได้แก่

1 การคัดเลือกผู้เข้าร่วมประชาพิจารณ์ไม่สะท้อนสัดส่วนที่แท้จริงของผู้มีส่วนได้เสีย 2 รัฐตัดสินใจดําเนินโครงการก่อนจัดทําประชาพิจารณ์

3 ไม่มีผู้เชี่ยวชาญมาชี้แจงให้ข้อมูลอย่างครบถ้วน

4 ผู้มาร่วมบางส่วนไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการได้

5 ความไม่เป็นกลางของคณะกรรมการประชาพิจารณ์

6 ปัญหาในเรื่องงบประมาณ เป็นต้น

22 คํากล่าวที่ว่า “เสรีนิยมกับประชาธิปไตยไม่ใช่สิ่งเดียวกัน” คือข้อใด

(1) ประชาธิปไตยผูกโยงกับจํานวนประชาชน

(2) เสรีนิยมคือการจํากัดอํานาจของรัฐต่อปัจเจก

(3) เสรีนิยมกับประชาธิปไตยเป็นแนวคิดที่ไม่สามารถไปด้วยกัน

(4) ประชาธิปไตยไม่สามารถทําให้เกิดเผด็จการรัฐสภาได้

(5) ข้อ 1 และ 2

ตอบ 5 (คําบรรยาย) เสรีนิยมกับประชาธิปไตยไม่ใช่สิ่งเดียวกัน เนื่องจากประชาธิปไตยนั้นจะผูกโยงกับจํานวนประชาชน (เน้นส่วนใหญ่) ส่วนเสรีนิยมคือการจํากัดอํานาจของรัฐต่อปัจเจกแต่อย่างไรก็ตามทั้งสองด้านจะเป็นเงื่อนไขซึ่งกันและกัน

23 ข้อใดไม่ใช่ความหมายของยุครู้แจ้ง (Enlightenment)

(1) การยอมรับระบบเหตุผล

(2) ปฏิเสธอํานาจในการปกครองของศาสนจักร

(3) การมีความคิดแบบวิทยาศาสตร์

(4) การเชื่อในบารมีของผู้นําสูงสุด

(5) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ยุครู้แจ้ง (Enlightenment) หรือ “ยุคเรืองปัญญา” คือ ยุคที่มีการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมของเหล่าปัญญาชนในยุโรปและอาณานิคมบนทวีปอเมริกาช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 โดยมีเป้าหมายเพื่อปฏิรูปสังคม ส่งเสริมการมีความคิดแบบวิทยาศาสตร์ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และให้มีการยอมรับระบบเหตุผลมากกว่าการใช้หลักจารีต การเชื่อในบารมีของผู้นําสูงสุดและ การเปิดเผยจากพระเจ้า ซึ่งส่งผลให้ศาสนจักรไม่มีอิทธิพลต่อความคิดและถือเป็นการปฏิเสธอํานาจในการปกครองของศาสนจักรนั่นเอง

24 ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน ข้อใดไม่ถูกต้อง

(1) รัฐมีอํานาจมาก ประชาชนจะมีอํานาจน้อยลง

(2) รัฐถูกจํากัดอํานาจมาก ประชาชนจะมีเสรีภาพมากขึ้น

(3) ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลในการครอบครองของรัฐได้โดยสะดวกถ้ามิใช่ข้อมูลเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐหรือเป็นความลับตามกฎหมายบัญญัติ

(4) บุคคลที่มีสัญชาติไทยโดยการเกิด รัฐไทยไม่สามารถถอนสัญชาติแต่สามารถเนรเทศได้

(5) ประชาชนสามารถฟ้องหน่วยงานรัฐเมื่อถูกบุคลากรของรัฐละเมิดได้

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ความสัมพันธ์ของรัฐกับประชาชนในสาระสําคัญของรัฐธรรมนูญ สามารถพิจารณาได้ดังนี้

1 สิทธิและเสรีภาพของประชาชน เช่น รัฐมีอํานาจมาก ประชาชนจะมีอํานาจน้อยลง 2 จํากัดอํานาจรัฐต่อประชาชนอย่างไร เช่น รัฐถูกจํากัดอํานาจมาก ประชาชนจะมีเสรีภาพมากขึ้น

3 ประชาชนเข้ามาเกี่ยวข้องกับรัฐได้อย่างไร เช่น ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลในการครอบครอง ของรัฐได้โดยสะดวกถ้ามิใช่ข้อมูลเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐหรือเป็นความลับตามกฎหมายบัญญัติ,ประชาชนสามารถฟ้องหน่วยงานรัฐเมื่อถูกบุคลากรของรัฐละเมิดได้ เป็นต้น

25 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มีผลบังคับใช้เมื่อใด

(1) 5 พฤษภาคม 2560

(2) 6 เมษายน 2560

(3) 24 มิถุนายน 2460

(4) 10 ธันวาคม 2560

(5) 1 ธันวาคม 2560

ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 20 ของประเทศไทย โดยรัฐธรรมนูญฉบับนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร(รัชกาลที่ 10) ทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560 ณ พระที่นั่งอนันตสมาคมและมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระราชโองการ

26 ใครเป็นผู้ลงนามรับสนองพระราชโองการในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560

(1) นายมีชัย ฤชุพันธุ์ (ประธาน คกก. ร่างรัฐธรรมนูญ)

(2) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี)

(3) พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ (ประธานองคมนตรี)

(4) นายพรเพชร วิชิตชลชัย (ประธาน สนช.)

(5) นายวีระพล ตั้งสุวรรณ (ประธานศาลฎีกา)

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 25 ประกอบ

27 รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 กําหนดให้มีวุฒิสภาในวาระแรกจํานวนกี่คน

(1) 200 คน

(2) 50 คน

(3) 300 คน

(4) 350 คน

(5) 400 คน

ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 บทเฉพาะกาล มาตรา 269 กําหนดให้ในวาระเริ่มแรกให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจํานวน 250 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามที่ คสช. ถวายคําแนะนําโดยอายุของวุฒิสภาตามมาตรานี้มีกําหนด 5 ปีนับแต่วันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง

28 ข้อใดคือความหมายของหลักนิติรัฐ

(1) องค์กรเกี่ยวข้องกับการทุจริตประพฤติมิชอบควรมีอํานาจเด็ดขาดทั้งบริหาร ตุลาการ และนิติบัญญัติ

(2) ปฏิบัติตามกฎหมายที่ตราขึ้นจากผู้ปกครองโดยเคร่งครัด

(3) เปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถต่อสู้ป้องกันสิทธิของตนเท่าที่ผู้ปกครองกําหนด (4) กระบวนการพิจารณาไต่สวนคดีต่าง ๆ ให้เป็นไปตามดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ (5) กฎหมายต้องมีความชัดเจนและมีความแน่นอนมากพอที่ประชาชนจะเข้าใจได้ ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 19), (คําบรรยาย) หลักนิติรัฐ หมายถึง การปฏิบัติและบังคับใช้กฎหมายของรัฐต่อประชาชนในรัฐอย่างเท่าเทียมและเสมอภาคในคนทุกกลุ่ม โดยรัฐทุกรัฐ มุ่งหวังให้ประชาชนบฏิบัติตามกฎหมายที่บังคับใช้ภายในรัฐ ซึ่งในความหมายอย่างแคบนั้น จะไม่คํานึงถึงที่มาของกฎหมาย กล่าวคือ ประชาชนจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่ตราขึ้นจากผู้ปกครองโดยเคร่งครัด

29 ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติของผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระ

(1) อายุไม่เกิน 70 ปี

(2) มีสุขภาพที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

(3) เคยเป็น ส.ส. เมื่อ 12 ปีก่อน

(4) จบการศึกษาระดับปริญญาตรี

(5) เป็นผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 33) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 201, 202 และ 216กําหนดให้ ผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามทั่วไป ดังต่อไปนี้

1 มีอายุไม่ต่ำกว่า 45 ปี แต่ไม่เกิน 70 ปี

2 มีสัญชาติไทยโดยการเกิด

3 สําเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

4 มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์

5 มีสุขภาพที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

6 ไม่มีลักษณะต้องห้าม เช่น เป็นหรือเคยเป็น ส.ส. ส.ว. ข้าราชการการเมือง หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นในระยะ 10 ปีก่อนเข้ารับการคัดเลือกหรือสรรหา,เป็นผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ ฯลฯ

30 ในความขัดแย้งทางการเมืองไทยตั้งแต่ช่วง 2540 จนถึงปัจจุบันมีการใช้สัญลักษณ์ทาง “สี” แทนกลุ่มผู้ชุมนุมกลุ่มต่าง ๆ คําว่า “สลิ่ม” มีจุดเริ่มต้นจากผู้ชุมนุมกลุ่มใด

(1) กปปส.”

(2) นปช.

(3) พธม.

(4) กปปส. และ นปช. รวมกัน

(5) ประชาชนพิทักษ์ชาติ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) “สลิ่ม” มีจุดเริ่มต้นมาจากผู้ชุมนุมกลุ่มประชาชนพิทักษ์ชาติ (ไม่แบ่งสี) โดยการนําของ นพ. ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ ซึ่งเรียกตัวเองว่าเป็น “กลุ่มเสื้อหลากสี” การเคลื่อนไหวของกลุ่มได้สร้าง ปฏิกิริยาโต้ตอบจากคนเสื้อแดง/พรรคเพื่อไทยว่าคนเสื้อหลากสีก็คือเสื้อเหลืองจําแลง เพราะเห็นว่า ทั้งอุดมการณ์ การกระทํา และการแสดงออกไม่ต่างกับเสื้อเหลือง การดูแคลนคนเสื้อหลากสีของ คนเสื้อแดงจึงแทนด้วยคําว่า สลิม ด้วยเหตุผลที่ว่าสลิม (ซาหริ่ม) เป็นขนมที่มีเส้นหลากหลายสีสันและเป็นการล้อไปกับสภาพเสื้อที่หลากหลายของกลุ่มเสื้อหลากสีนั้นเอง

31 แนวคิดเรื่องของสัญญาประชาคมเชื่อว่าการบรรลุเสรีภาพจะเกิดขึ้นในเงื่อนไขการปกครองแบบใด

(1) ในรัฐแบบใดก็ได้

(2) ในรัฐสวัสดิการเท่านั้น

(3) ในรัฐประชาธิปไตยเท่านั้น

(4) ในรัฐสังคมนิยมเท่านั้น

(5) ในรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์เท่านั้น

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ซอง ชากส์ รุสโซ (Jean Jacques Rousseau) เห็นว่า สังคมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งสัญญาประชาคม (Social Contract) สามารถทําให้บุคคลในฐานะสมาชิกของสังคมนั้นบรรลุ ถึงเสรีภาพได้ สัญญาประชาคมจึงเป็นเสมือนรัฐธรรมนูญที่ต้องอยู่เพื่อทุกส่วนในสังคม ดังนั้นการบรรลุเสรีภาพจะเกิดขึ้นในเงื่อนไขการปกครองแบบประชาธิปไตยเท่านั้น

32 การเสนอพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการเงินต้องได้รับความเห็นชอบจากใครก่อนจึงจะสามารถเสนอเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาได้

(1) คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

(2) นายกรัฐมนตรี

(3) กระทรวงการคลัง

(4) ป.ป.ช.

(5) เมื่อผู้เสนอ พ.ร.บ. นั้นเป็นผู้มีสิทธิตามรัฐธรรมนูญแล้วไม่จําเป็นต้องมีผู้เห็นชอบ ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 53) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 133 กําหนดให้ร่างพระราชบัญญัติให้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรก่อน และจะเสนอได้ก็แต่โดย

1 คณะรัฐมนตรี

2 ส.ส. จํานวนไม่น้อยกว่า 20 คน

3 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวนไม่น้อยกว่า 10,000 คน ในกรณีที่ร่างพระราชบัญญัติซึ่งมีผู้เสนอตาม 2 หรือ 3 เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินจะเสนอได้ก็ต่อเมื่อมีคํารับรองของนายกรัฐมนตรี

33 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐอเมริกามีวาระการดํารงตําแหน่งที่ปี

(1) 4 ปี

(2) 6 ปี

(3) 2 ปี

(4) 5 ปี

ตอบ  3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 80), (คําบรรยาย) รัฐสภาหรือสภาคองเกรสของสหรัฐอเมริกาประกอบด้วย 2 สภา คือ

1 สภาผู้แทนราษฎรที่มีสมาชิกจํานวน 435 คน มีวาระการดํารงตําแหน่ง 2 ปี

2 วุฒิสภาที่มีสมาชิกจํานวน 100 คน มีวาระการดํารงตําแหน่ง 6 ปี

34 ข้อใดถูกต้อง

(1) ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกามาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน

(2) นายกรัฐมนตรีของอังกฤษมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน

(3) นายกรัฐมนตรีของรัสเซียมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน

(4) นายกรัฐมนตรีของฝรั่งเศสมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ ไม่มีข้อถูก (คําบรรยาย)

ข้อเลือก 1 ผิด ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกานั้นมาจากการเลือกตั้งโดยอ้อมผ่านทางคณะผู้เลือกตั้ง (Electoral College)

ข้อเลือก 2 ผิด นายกรัฐมนตรีอังกฤษนั้นมาจากหัวหน้าพรรคการเมืองที่ได้เสียงข้างมากในสภาโดยการแต่งตั้งของพระมหากษัตริย์

ข้อเลือก 3 ผิด นายกรัฐมนตรีรัสเซียนั้นมาจากการแต่งตั้งของประธานาธิบดี

ข้อเลือก 4 ผิด นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศสนั้นมาจากการแต่งตั้งของประธานาธิบดี

35 การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของสภาผู้แทนราษฎร วาระใดเป็นการพิจารณารับหลักการ

(1) วาระที่ 1

(2) วาระการนําเสนอของกรรมาธิการ

(3) วาระที่ 2

(4) วาระที่ 3

(5) วาระที่ 4

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 54 – 55) กระบวนการนิติบัญญัติในรัฐสภา กรณีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติโดยสภาผู้แทนราษฎรนั้นจะพิจารณาเป็น 3 วาระ คือ

1 ขั้นรับหลักการ

2 ขั้นพิจารณาหรือขั้นแปรญัตติ

3 ขั้นลงมติเห็นชอบให้ส่งต่อไปยังวุฒิสภา

36 เจตจํานงของประชาชนสามารถแสดงออกได้ทางใดบ้าง

(1) ประชามติ

(2) ประชาพิจารณ์

(3) การเลือกตั้ง

(4) ข้อ 1 และ 3

(5) ข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 (คําบรรยาย) เจตจํานงของประชาชนถือเป็นที่มามูลฐานแห่งอํานาจของรัฐบาล ซึ่งประชาชนนั้นสามารถแสดงออกได้โดยการลงประชามติ (การรับร่างรัฐธรรมนูญ, การออกจากสมาชิก EU)และการเลือกตั้ง ส.ส., ส.ว.)

37 พื้นที่สาธารณะหมายถึงข้อใด

(1) บาทวิถีหน้าบ้าน

(2) เฟซบุ๊ค

(3) สวนรถไฟ

(4) ห้อง Study ในห้องสมุด

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) พื้นที่สาธารณะ (Public Sphere) เป็นการใช้พื้นที่ทํากิจกรรมร่วมกัน โดยไม่ได้จํากัดการมีส่วนร่วมหรือการเข้าในพื้นที่สาธารณะ ซึ่งมักเป็นพื้นที่เปิดที่ทุกคนที่เกี่ยวข้องหรือตัดสินใจ สามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้อย่างเท่าเทียมกัน เช่น ถนน ทางเดิน ทางเท้า (บาทวิถีหน้าบ้าน) สนามสวนสาธารณะ (สวนรถไฟ) ห้อง Study ในห้องสมุด สื่อสังคมออนไลน์ (เฟซบุ๊ค, ไลน์กลุ่ม) ฯลฯ

38 สภาขุนนางอังกฤษประเภทนักบวช มีวาระการดํารงกี่ปี

(1) 4 ปี

(2) 6 ปี

(3) ตามระยะเวลาการบวช

(4) ตามระยะเวลาที่อยู่ในตําแหน่งที่กําหนด

(5) ตลอดชีพ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) สภาขุนนางของอังกฤษ แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ

1 ขุนนางสืบเชื้อสาย (Hereditary Peers) มาจากการสืบทอดตําแหน่งทางสายโลหิต – และมีวาระการดํารงตําแหน่งตลอดชีพ

2 ขุนนางตลอดชีพ (Life Peers) มาจากการแต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรี และสามารถดํารงตําแหน่งได้ตลอดชีวิต แต่สืบทอดให้ทายาทไม่ได้

3 ขุนนางโดยตําแหน่งที่เป็นนักบวช (Spiritual Peers) มาจากคริสตจักรแห่งอังกฤษ เช่น บิชอปและอาร์ชบิชอปต่าง ๆ โดยจะมีวาระตามระยะเวลาที่อยู่ในตําแหน่งที่กําหนด

4 ขุนนางกฎหมาย (Law Lords) เป็นสมาชิกที่มีความรู้ด้านกฎหมายและทําหน้าที่เป็นตุลาการศาลสูงสุด โดยจะมีวาระการดํารงตําแหน่งตลอดชีพ และถือเป็นขุนนางประเภทเดียวเท่านั้นที่ได้รับเงินเดือน

39 Brexit คืออะไร

(1) กระบวนการรับฟังความคิดเห็นเรื่องการออกจากสหภาพยุโรปของประชาชนชาวอังกฤษ

(2) โครงการรณรงค์เพื่อเรียกร้องให้อังกฤษถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป

(3) กระบวนการประชามติของประชาชนชาวอังกฤษต่อกรณีแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป

(4) กระบวนการประชามติของประชาชนชาวอังกฤษต่อกรณีการรับผู้ลี้ภัยจากตะวันออกกลาง

(5) โครงการรณรงค์เพื่อต่อต้านการสร้างมัสยิดในอังกฤษ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) Brexit (มาจากคําว่า British + Exit) คือ กระบวนการประชามติของประชาชนชาวอังกฤษต่อกรณีแยกตัวออกจากสหภาพยุโรปหรืออียู (EU)

40 รัฐโลกาวิสัย (Secular State) หมายถึง

(1) รัฐที่แยกพื้นที่ส่วนตัวออกจากพื้นที่สาธารณะ

(2) รัฐที่แยกเอาศาสนาออกจากกฎเกณฑ์ทางสังคม

(3) รัฐที่เอานักปรัชญามาปกครอง

(4) รัฐที่แยกเอาศาสนาออกจากอํานาจในการปกครอง

(5) รัฐที่ระบุให้ผู้ปกครองต้องนับถือศาสนาใดศาสนาหนึ่งเป็นการเฉพาะ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐฆราวาสหรือรัฐโลกาวิสัย (Secular State) หมายถึง รัฐหรือประเทศที่แยกเอาศาสนาออกจากกฎเกณฑ์ทางสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากการแยกศาสนจักรออกจากฝ่ายอาณาจักร ในโลกตะวันตก (โดยเฉพาะกรณีของอังกฤษ) โดยทั่วไปรัฐฆราวาสจะมีแนวทางบริหารประเทศ โดยใช้หลักทั่วไปทางโลกมาเป็นรากฐานของการปกครอง ไม่ต่อต้านความเชื่อหรือจํากัดศาสนาใด ๆ ตัวอย่างของรัฐดังกล่าวนี้ ได้แก่ ไทย เนปาล ฯลฯ

41 ข้อใดเป็นหน้าที่ของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

(1) ผู้บัญชาการทหารสูงสุด

(2) แต่งตั้งผู้ว่าการมลรัฐ

(3) จัดการศึกษาให้ทุกมลรัฐ

(4) ยับยั้งกฎหมายของมลรัฐที่เห็นว่าไม่ชอบ

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 หน้า 29 – 30, (คําบรรยาย) หน้าที่ตามรัฐธรรมนูญของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ได้แก่

1 ประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาล

2 ผู้บัญชาการทหารสูงสุด

3 แต่งตั้งเอกอัครราชทูต

4 คัดเลือกและแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลสหพันธรัฐ

5 ยับยั้งร่างกฎหมาย

6 ทําสนธิสัญญาต่าง ๆ เป็นต้น

42 รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อมีทั้งหมดกี่คน

(1) 100 คน

(2) 150 คน

(3) 200 คน

(4) ตามจํานวนจังหวัด

(5) ไม่มี ส.ส. แบบนี้

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 21) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 83 กําหนดให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจํานวน 500 คน ดังนี้

1 สมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจํานวน 350 คน

2 สมาชิกซึ่งมาจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองจํานวน 150 คน

43 “พฤฒิสภา” ที่ถูกบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2489 เปรียบเทียบได้กับองค์กรใด

(1) องคมนตรี

(2) ศาลรัฐธรรมนูญ

(3) วุฒิสภา

(4) สภาพัฒนาการเมือง

(5) สนช.

ตอบ 3 หน้า 138, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 23) วุฒิสภาเกิดขึ้นครั้งแรกในชื่อ “พฤฒสภา”ซึ่งกําหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฯ 2489 และต่อมาในรัฐธรรมนูญฯ 2490 จึงเปลี่ยนเป็น “วุฒิสภา” โดยพบว่าที่มาของ ส.ว. ตั้งแต่เริ่มปรากฏจนกระทั่งปัจจุบันนั้นรัฐธรรมนูญส่วนใหญ่จะกําหนดให้ มาจากการแต่งตั้ง ยกเว้นรัฐธรรมนูญฯ 2540 (มาจากการเลือกตั้ง) รัฐธรรมนูญฯ 2550 (มาจากการเลือกตั้งและสรรหา) และรัฐธรรมนูญฯ 2560 (มาจากการเลือกตั้งทางอ้อม)

44 ประเทศใดที่ลงประชามติให้ผู้ปกครองมีอํานาจเหนือกว่ารัฐสภา

(1) อังกฤษ

(2) ฝรั่งเศส

(3) อเมริกา

(4) รัสเซีย

(5) จีน

ตอบ 4 (คําบรรยาย) บอริส เยลต์ชิน (Boris Yeltsin) ประธานาธิบดีคนแรกของสหพันธรัฐรัสเซียได้ฉีกรัฐธรรมนูญที่มีอยู่เดิมและห้ามการต่อต้านทางการเมืองชั่วคราว ภายหลังรัฐสภาขณะนั้น พยายามถอดเขาออกจากตําแหน่ง โดยเยลต์ซินได้ริเริ่มรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพื่อให้ประธานาธิบดี มีอํานาจเหนือกว่ารัฐสภา และมีการลงประชามติเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2536 ด้วยคะแนนเสียงเห็นชอบร้อยละ 58.5

45 “ม็อบมือถือ” เป็นชื่อเรียกการชุมนุมของประชาชนเมื่อปี พ.ศ. ใด

(1) พ.ศ. 2514

(2) พ.ศ. 2516

(3) พ.ศ. 2535

(4) พ.ศ. 2540

(5) พ.ศ. 2557

ตอบ 3 (คําบรรยาย) “ม็อบมือถือ” เป็นชื่อเรียกการชุมนุมของประชาชนในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬระหว่างวันที่ 17 – 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ทั้งนี้เพราะพบว่าผู้ชุมนุมส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลาง นักธุรกิจหรือบุคคลในวัยทํางาน และได้มีการใช้โทรศัพท์มือถือเป็นเครื่องมือสําคัญในการติดต่อสื่อสารในการชุมนุมครั้งนี้

46 หลักนิติธรรมคือข้อใด

(1) กฎหมายต้องบังคับเป็นการทั่วไปใช้กับทุกคนเสมอกัน

(2) กฎหมายต้องไม่มีผลบังคับใช้ย้อนหลัง

(3) กฎหมายที่ประกาศใช้แล้วต้องได้รับการบังคับให้สอดคล้องต้องกัน

(4) กฎหมายต้องมีความมั่นคงพอสมควร

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) หลักนิติธรรมมีลักษณะสําคัญ ดังนี้

1 กฎหมายต้องใช้บังคับเป็นการทั่วไปและใช้กับทุกคนเสมอภาคกัน

2 กฎหมายต้องไม่มีผลบังคับใช้ย้อนหลัง

3 กฎหมายที่ประกาศใช้แล้วต้องได้รับการบังคับให้สอดคล้องต้องกัน

4 กฎหมายต้องมีความมั่นคงและต่อเนื่อง

5 ห้ามยกเว้นความรับผิดให้แก่การกระทําในอนาคต เป็นต้น

47 ผู้มีสิทธิเสนอพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 คือข้อใด

(1) คณะรัฐมนตรี

(2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวน 10 คนขึ้นไป

(3) ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวน 10,000 ชื่อขึ้นไป

(4) องค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 52) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 131 กําหนดให้ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจะเสนอได้ก็แต่โดย

1 คณะรัฐมนตรี โดยข้อเสนอแนะของศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญหรือองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง

2 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร

48 การรัฐประหารครั้งแรกหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย เกิดขึ้นเมื่อใด

(1) พ.ศ. 2475

(2) พ.ศ. 2476

(3) พ.ศ. 2490

(4) พ.ศ. 2494

(5) พ.ศ. 2500

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 63 – 64), (คําบรรยาย) การรัฐประหารในประเทศไทยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย มีดังนี้

1 การรัฐประหาร 20 มิถุนายน 2476 โดย พ.อ. พระยาพหลพลพยุหเสนา

2 การรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 โดยพลโทผิน ชุณหะวัณ

3 การรัฐประหาร 29 พฤศจิกายน 2494 โดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม

4 การรัฐประหาร 16 กันยายน 2500 โดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

5 การรัฐประหาร 20 ตุลาคม 2501 โดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ฯลฯ

49 รัฐธรรมนูญฉบับใดใช้ระยะเวลาในการร่างรัฐธรรมนูญนานที่สุด

(1) ฉบับที่ 1

(2) ฉบับที่ 8

(3) ฉบับที่ 3

(4) ฉบับที่ 7

(5) ฉบับที่ 16

ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2511 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 8 และถือเป็นรัฐธรรมนูญที่ใช้เวลาในการร่างนานที่สุด โดยเริ่มร่างเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2502ถึงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2511 ใช้เวลา 9 ปีเศษ และได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2511

50 การขัดกันแห่งผลประโยชน์คือข้อใด

(1) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่ดํารงตําแหน่งในหน่วยราชการใด ๆ

(2) สมาชิกสภานิติบัญญัติยังดํารงตําแหน่งปลัดกระทรวง

(3) บุตรของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่รับเงินหรือประโยชน์ใด ๆ จากหน่วยราชการที่นอกเหนือไปจากการปฏิบัติต่อบุคคลอื่น ๆ ในธุรกิจการงานปกติ

(4) รัฐมนตรีแจ้ง ป.ป.ช. ว่า โอนหุ้นของบริษัทให้นิติบุคคลซึ่งจัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ผู้อื่นถือแทน

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ตัวอย่างการขัดกันแห่งผลประโยชน์ มีดังนี้

1 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยังดํารงตําแหน่งในหน่วยราชการ

2 สมาชิกสภานิติบัญญัติยังดํารงตําแหน่งปลัดกระทรวง

3 บุตรของผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานได้รับสัมปทานงานจากหน่วยงานนั้น ๆ

4 รัฐมนตรีเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท เว้นแต่ได้แจ้ง ป.ป.ช. ว่าโอนหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทดังกล่าวให้นิติบุคคลซึ่งจัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นถือแทน(รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 187 วรรค 2) ฯลฯ

51 ตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 กรณีพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติหรือมิได้พระราชทานคืนให้กับรัฐสภา จะสามารถประกาศเป็นกฎหมายได้หรือไม่ อย่างไร

(1) ไม่ได้ เพราะพระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอํานาจในการตราพระราชบัญญัติ

(2) ได้ เมื่อรัฐสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงสองในสามของจํานวนสมาชิกทั้งหมด

(3) ไม่ได้ เพราะต้องมีพระปรมาภิไธยเท่านั้นจึงจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้

(4) ได้ เมื่อนายกรัฐมนตรีนําขึ้นทูลเกล้าอีกครั้ง และหากมิได้ลงพระปรมาภิไธยใน 30 วัน นายกรัฐมนตรี สามารถนําพระราชบัญญัตินั้นไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้

(5) ข้อ 2 และ 4

ตอบ 5 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 146 กําหนดให้ ร่างพระราชบัญญัติใดพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบและพระราชทานคืนมายังรัฐสภา หรือเมื่อพ้น 90 วันแล้วมิได้พระราชทานคืนมา รัฐสภาต้องปรึกษาร่างพระราชบัญญัตินั้นใหม่ ถ้ารัฐสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียง ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนําขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายอีก ครั้งหนึ่ง และหากมิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยภายใน 30 วัน ให้นายกรัฐมนตรีนําพระราชบัญญัติ นั้นประภาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็นกฎหมายได้เสมือนว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว

52 ข้อใดต่อไปนี้คือสิทธิที่เสียไปเมื่อไม่ไปเลือกตั้ง ตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550

(1) สิทธิในการยื่นเสนอกฎหมายเข้าสู่กระบวนการนิติบัญญัติ

(2) สิทธิสมัครรับเลือกเป็นกํานันและผู้ใหญ่บ้าน

(3) สิทธิคัดค้านการสรรหาผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระ

(4) สิทธิในการไปเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งต่อไป

(5) สิทธิในการไปเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น

ตอบ 2 (คําบรรยาย) สิทธิที่เสียไปเมื่อไม่ไปเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฯ 2550 มาตรา 72 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่ง ส.ว. 2550 มาตรา 26 มีดังต่อไปนี้

1 สิทธิยื่นคําร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ส.ส. และ ส.ว.

2 สิทธิสมัครรับเลือกตั้งและสิทธิได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการสรรหาเป็น ส.ส. ส.ว.สมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น

3 สิทธิสมัครรับเลือกเป็นกํานันและผู้ใหญ่บ้านตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่

53 ข้อใดคือกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคําแนะนําและยินยอมของรัฐสภา

(1) พระราชกําหนด

(2) พระราชกฤษฎีกา

(3) พระราชบัญญัติ

(4) พระราชอัธยาศัย

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 53), (คําบรรยาย) พระราชบัญญัติ หมายถึง กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคําแนะนําและยินยอมของรัฐสภา กล่าวคือ เป็นกฎหมายที่ต้องผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบของรัฐสภา คือ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาก่อน จึงนําขึ้นทูลเกล้าฯ ให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้

54 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีวาระการดํารงตําแหน่งกี่ปี

(1) 7 ปี

(2) 6 ปี

(3) 5 ปี

(4) 4 ปี

(5) 3 ปี

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 37) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 232 และ 233 กําหนดให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติประกอบด้วยกรรมการจํานวน 9 คน ซึ่ง พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคําแนะนําของวุฒิสภาจากผู้ซึ่งได้รับการสรรหาโดยคณะกรรมการ สรรหา โดยมีวาระการดํารงตําแหน่ง 7 ปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดํารงตําแหน่งได้เพียงวาระเดียว

55 ตําแหน่งใดต่อไปนี้ที่ไม่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สิน

(1) ส.ส. ทุกคน

(2) ส.ว. ทุกคน

(3) อธิการบดี

(4) ปลัดกระทรวง

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ผู้ที่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินต่อ ป.ป.ช. ได้แก่ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ส.ส. ส.ว.ประธานศาลฎีกา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ปลัดกระทรวง อธิการบดี รองอธิการบดี ฯลฯ

56 รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 ให้สิทธิประชาชนในการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้อย่างไร (1) ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าชื่อกันไม่น้อยกว่า 50,000 ชื่อ เสนอขอแก้ไข

(2) ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าชื่อกันไม่น้อยกว่า 10,000 ชื่อ เสนอขอแก้ไข (3) ประชาชนเข้าชื่อกันไม่น้อยกว่า 50,000 ชื่อ เสนอขอแก้ไข

(4) ประชาชนเข้าซื้อกันไม่น้อยกว่า 10,000 ชื่อ เสนอขอแก้ไข

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ผู้มีสิทธิเสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญฯ 2560 มีดังนี้

1 คณะรัฐมนตรี

2 ส.ส. จํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร

3 ส.ส. และ ส.ว. จํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา

4 ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวนไม่น้อยกว่า 50,000 คน ตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย

57 ข้อใดไม่ใช่ข้อบกพร่องของสภาพธรรมชาติตามแนวคิดของจอห์น ล็อค

(1) มนุษย์แต่ละคนอาจมองข้อบังคับต่างกัน

(2) มนุษย์อาจถือเหตุผลประโยชน์ของตนเป็นกฎธรรมชาติให้ผู้อื่นต้องปฏิบัติตาม (3) อาจใช้อารมณ์ในการตัดสินกันเองได้

(4) ความไม่ยุติธรรมอาจทําให้ผู้เสียประโยชน์ตอบโต้โดยไม่คํานึงถึงหลักการได้

(5) มนุษย์ทําตามความอยาก หิวและตัณหา

ตอบ 5 (คําบรรยาย) จอห์น ล็อค เห็นว่า สภาพธรรมชาติมีข้อบกพร่องใน 3 ประการ คือ

1 มนุษย์แต่ละคนอาจมองข้อบังคับต่างกัน และอาจถือเหตุผลประโยชน์ของตนเป็นกฎธรรมชาติให้ผู้อื่นต้องปฏิบัติตาม

2 การที่มนุษย์ตัดสินกันเอง อาจใช้อารมณ์และเกิดการแก้แค้นกันเองได้

3 ความไม่ยุติธรรมอาจทําให้ฝ่ายผู้เสียประโยชน์ออกมาตอบโต้โดยไม่คํานึงถึงหลักการได้

58 การออกเสียงประชามติคือข้อใด

(1) อํานาจอธิปไตยเป็นของประชาชน

(2) การมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับตัดสินใจ

(3) แสดงออกซึ่งเจตจํานงร่วม

(4) ถูกทุกข้อ

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การออกเสียงประชามติ (Referendum) คือ การนําร่างกฎหมาย ร่างรัฐธรรมนูญและนโยบายที่สําคัญของประเทศไปผ่านการตัดสินใจเพื่อแสดงความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ โดยประชาชนผู้เป็นเจ้าของอํานาจอธิปไตย ซึ่งถือเป็นการมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับตัดสินใจและแสดงออกซึ่งเจตจํานงร่วมต่อแนวทางการปกครองประเทศ

59 ข้อใดคือความแตกต่างระหว่างประชาพิจารณ์กับประชามติ

(1) ให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ กับประชาชน

(2) ความผูกพันปฏิบัติของรัฐตามผลการออกเสียงของประชาชน

(3) การสร้างกระบวนการให้ประชาชนสามารถเข้าร่วมได้อย่างทั่วถึง

(4) การไม่ตัดสินใจต่อผลในเรื่องนั้น ๆ ล่วงหน้า

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ความแตกต่างระหว่างประชาพิจารณ์กับประชามติ มีดังนี้

1 ประชาพิจารณ์นั้นรัฐจะไม่ผูกพันและไม่จําเป็นต้องปฏิบัติตามส่วนประชามติกําหนดให้รัฐต้องผูกพันปฏิบัติตามผลการออกเสียงประชามติ

2 ประชาพิจารณ์ตั้งอยู่บนฐานคติของการรักษาผลประโยชน์แก่ประชาชนส่วนประชามติจะตั้งอยู่บนฐานคติของการแสดงอํานาจอธิปไตยที่เป็นของประชาชน

3 ประชาพิจารณ์เป็นแนวทางที่รัฐใช้รับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งส่วนประชามติจะเป็นกระบวนการที่รัฐขอปรึกษาหารือประชาชน เพื่อกําหนดแนวทางปฏิบัติ

4 ประชาพิจารณ์ต้องการความรู้ความเข้าใจของประชาชนต่อเรื่องนั้น ๆ เพื่อลดความขัดแย้งจากการตัดสินใจของรัฐ ส่วนประชามตินั้นต้องการมติของประชาชนว่าจะให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในเรื่องนั้น ๆ

60 คณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มีจํานวนกี่คน

(1) 3 คน

(2) 5 คน

(3) 7 คน

(4) 9 คน

(5) 11 คน

ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 33), (คําบรรยาย) คณะกรรมการสรรหาผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญฯ 2560 มีจํานวนทั้งหมด 9 คน ประกอบด้วย

1 ประธานศาลฎีกา

2 ประธานสภาผู้แทนราษฎร

3 ผู้นําฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร

4 ประธานศาลปกครองสูงสุด

5 บุคคลซึ่งแต่งตั้งโดยศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระที่มิใช่องค์กรอิสระที่ต้องมีการสรรหาอีก 5 คน

 

จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถามข้อ 61 – 70

(1) ถูก

(2) ผิด

 

61 หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 อํานาจของนายกรัฐมนตรีมาตรา 44 ตามรัฐธรรมนูญฯ (ชั่วคราว)พ.ศ. 2557 ได้ยุติลง

ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 วรรค 2 กําหนดให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยังคงมีหน้าที่และอํานาจตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) 2557… นั่นแสดงว่า หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญฯ 2560 อํานาจของนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะหัวหน้า คสช. มาตรา 44 ตามรัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว)พ.ศ. 2557 ยังคงอยู่

62 การแก้ไขรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 จะกระทําไม่ได้ถ้ามีวุฒิสมาชิกเห็นชอบจํานวนน้อยกว่า 1 ใน 3 ของวุฒิสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่ของวุฒิสภา

ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 256 (3) กําหนดให้ การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่ 1 ขั้นรับหลักการ ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียง เห็นชอบด้วยในการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ของทั้งสองสภา ซึ่งในจํานวนนี้ต้องมีสมาชิกวุฒิสภา (วุฒิสมาชิก) เห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา

63 บุคคลที่จบการศึกษาระดับปริญญาโท สามารถไปสมัครเป็นผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระได้ทุกคน

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 29 ประกอบ

64 โทมัส ฮอบส์ เชื่อว่าเมื่อประชาชนมอบอํานาจให้องค์อธิปัตย์แล้วไม่สามารถเพิกถอนได้

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 10 ประกอบ

65 “หมุดก่อกําเนิดรัฐธรรมนูญหรือหมุดคณะราษฎร” ไม่เคยถูกขุดขึ้นมาก่อน

ตอบ 2 (คําบรรยาย) หมุดก่อกําเนิดรัฐธรรมนูญหรือหมุดคณะราษฎร เป็นหมุดทองเหลืองฝังอยู่กับพื้นถนนบนลานพระบรมรูปทรงม้าด้านสนามเสือป่า ซึ่งภายหลังได้ถูกปรับเปลี่ยนและเคยถูกขุด ขึ้นมาหลายครั้ง เช่น มีการนําสีมาราดทับ ถูกขีดจนเป็นรอยจํานวนมาก เคยถูกขุดและหายไปในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และถูกนํากลับมาในสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นต้น

66 รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 ข้าราชการไม่สามารถดํารงตําแหน่งวุฒิสภาได้ ยกเว้นเฉพาะในวาระแรกเท่านั้น

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 24), (คําบรรยาย) ลักษณะต้องห้ามของผู้ดํารงตําแหน่งสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญฯ 2560 มีดังนี้

1 เป็นข้าราชการ

2 เป็นสมาชิกพรรคการเมือง

3 เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ฯลฯ ยกเว้นเฉพาะในวาระแรก เท่านั้นที่สมาชิกวุฒิสภาสามารถเป็นข้าราชการ/ดํารงตําแหน่งหรือหน้าที่ในหน่วยราชการหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ หรือตําแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่นผู้บริหารท้องถิ่นได้

67 จอห์น ล็อค และโทมัส ฮอบส์ เห็นว่าสภาพธรรมชาติ (State of Nature) เป็นสภาวะสงคราม

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 9) โทมัส ฮอบส์ เห็นว่า ภาวะธรรมชาติของมนุษย์นั้นเป็นภาวะสงคราม แต่สําหรับ จอห์น ล็อค กลับเห็นว่าภาวะธรรมชาติของมนุษย์เป็นภาวะที่มนุษย์ มีความสมบูรณ์และมีเสรีภาพเต็มที่ที่จะใช้ชีวิตอย่างที่ต้องการโดยคนอื่นไม่สามารถเข้ามารุกล้ำได้

68 รัฐสภาของอังกฤษไม่สามารถยกเลิกกฎหมายของรัฐสภาสกอตแลนด์ได้

ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐสภาสหราชอาณาจักร (อังกฤษ) สามารถยกเลิกกฎหมายของสถาบันนิติบัญญัติลําดับรองได้ ซึ่งสถาบันนิติบัญญัติลําดับรองได้แก่ รัฐสภาสกอตแลนด์ รัฐสภาแห่งเวลส์ และรัฐสภาไอร์แลนด์เหนือ

69 คณะกู้บ้านกู้เมืองและกบฏบวรเดช คือกลุ่มเดียวกัน

ตอบ 1 (คําบรรยาย) กบฏบวรเดช หรือ “คณะกู้บ้านกู้เมือง” เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2476 นับเป็นการกบฏครั้งแรกในรัฐไทยสมัยใหม่ ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 โดยมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งระหว่างระบอบเก่าและระบอบใหม่ จากข้อโต้แย้งในเรื่องเค้า โครงการเศรษฐกิจแห่งชาติของนายปรีดี พนมยงค์ และชนวนสําคัญที่สุดคือ ข้อโต้แย้งในเรื่อง พระเกียรติยศและพระราชอํานาจของพระมหากษัตริย์ในระบอบใหม่ ซึ่งเป็นผลนําไปสู่การนํากําลังทหารก่อกบฏโดยมี พ.อ.พระยาศรีสิทธิสงคราม เป็นแม่ทัพ

70 องค์กรที่มีอํานาจถอดถอนนายกรัฐมนตรีคือวุฒิสภา

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 49) รัฐธรรมนูญฯ 2550 มาตรา 270 วรรค 1 กําหนดให้ผู้ดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ส.ส. ส.ว. ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด หรืออัยการสูงสุด… วุฒิสภามีอํานาจถอดถอนผู้นั้นออกจากตําแหน่งได้

 

ข้อ 71 – 87 เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับคณะกรรมาธิการ ให้นักศึกษาพิจารณา 2 ข้อความ แล้วใช้ตัวเลือก ต่อไปนี้

(1) ถ้าข้อความที่ 1 ถูก และข้อความที่ 2 ผิด

(2) ถ้าข้อความที่ 1 ผิด และข้อความที่ 2 ถูก

(3) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ถูกทั้งสองข้อ

(4) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ผิดทั้งสองข้อ

 

71 (1) ร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ 7 สิงหาคม 2559 มาตรา 129 บัญญัติให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีอํานาจเลือกสมาชิกของแต่ละสภาตั้งเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ

(2) ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว ตามมาตรา 128 บัญญัติให้กรรมาธิการสามัญซึ่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็นสมาชิก – สภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด ต้องมีจํานวนตามหรือใกล้เคียงกับอัตราส่วนของจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละพรรคการเมืองที่มีอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ 7 สิงหาคม 2559 มาตรา 129 วรรค 1 และ 2 กําหนดให้ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีอํานาจเลือกสมาชิกแต่ละสภาตั้งเป็นคณะกรรมาธิการ สามัญ กรรมาธิการสามัญซึ่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด ต้องมีจํานวนตาม หรือใกล้เคียงกับอัตราส่วนของจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละพรรคการเมืองที่มีอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร

72 (1) ปัจจุบันการดําเนินการของคณะกรรมาธิการสามัญประจําสภาผู้แทนราษฎร ต้องเป็นไปตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551 ข้อ 82 ให้สภาตั้งคณะกรรมาธิการสามัญขึ้น 35 คณะ

(2) กรณีคณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ และผู้พิการ จะต้องดําเนินการตามรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ 7 สิงหาคม 2559 มาตรา 128 วรรคสอง ด้วย

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ปัจจุบันการดําเนินการของคณะกรรมาธิการสามัญประจําสภาผู้แทนราษฎรต้องเป็นไปตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551 ในหมวด 4 กรรมาธิการ ข้อ 82 ให้สภาตั้งคณะกรรมาธิการสามัญขึ้น 35 คณะ แต่ละคณะมีกรรมาธิการจํานวน 15 คน ส่วนร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ 7 สิงหาคม 2559 มาตรา 128 วรรค 2 กําหนดให้ ในส่วนที่ เกี่ยวกับการตั้งกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ประธานสภาผู้แทนราษฎร วินิจฉัยว่ามีสาระสําคัญเกี่ยวกับเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ หรือคนพิการหรือทุพพลภาพ ต้อง กําหนดให้บุคคลประเภทดังกล่าวหรือผู้แทนองค์กรเอกชนที่ทํางานเกี่ยวกับบุคคลประเภทนั้นโดยตรง ร่วมเป็นกรรมาธิการวิสามัญด้วย…

73 (1) องค์ประกอบที่สําคัญของฝ่ายนิติบัญญัติในรูปรัฐสภาประการหนึ่งคือ การแต่งตั้งคณะกรรมาธิการ(Committee) เพื่อพิจารณาปัญหากฎหมายเฉพาะเรื่อง หรือตั้งขึ้นมาเพื่อสอดคล้องกับงานหลายฝ่ายของรัฐบาล

(2) คณะกรรมาธิการของรัฐสภามีบทบาทเท่ากับเป็นรัฐสภาขนาดเล็ก (Little Legislature)

ตอบ 3 หน้า 77, (คําบรรยาย) องค์ประกอบที่สําคัญของฝ่ายนิติบัญญัติในรูปรัฐสภาประการหนึ่ง คือ การแต่งตั้งคณะกรรมาธิการ (Committee) เพื่อพิจารณาปัญหากฎหมายเฉพาะเรื่อง หรือตั้งขึ้นมาเพื่อสอดคล้องกับงานหลายฝ่ายของรัฐบาล โดยคณะกรรมาธิการของรัฐสภานั้น จะมีบทบาทคล้ายกับรัฐสภาขนาดเล็ก (Little Legislature)

74 (1) การแบ่งประเภทของคณะกรรมาธิการในรัฐสภา ได้แบ่งตามกิจกรรมที่ถือปฏิบัติอยู่ เช่น

1 คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการร่างกฎหมาย หรือการพิจารณาร่างกฎหมาย

2 คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารการพัฒนา

3 คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่ในการสอบสวน ตรวจตรา และสอดคล้องการปฏิบัติงานรัฐบาล

(2) คณะกรรมาธิการในรัฐสภา อาจมีการแต่งตั้งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1 คณะกรรมาธิการสามัญ

2 คณะกรรมาธิการวิสามัญ

ตอบ 2 หน้า 77, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 27, 31) คณะกรรมาธิการในรัฐสภามี 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ คณะกรรมาธิการสามัญ และคณะกรรมาธิการวิสามัญ นอกจากนี้เราอาจจะแบ่งประเภท ของคณะกรรมาธิการในรัฐสภาได้ตามกิจกรรมที่ถือปฏิบัติอยู่ ดังนี้

1 คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการร่างพระราชบัญญัติ หรือการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ

2 คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานคลัง

3 คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่ในการสอบสวน ตรวจตราสอดส่องการปฏิบัติงานของรัฐบาล เป็นต้น

75 (1) ในกลุ่มประเทศกําลังพัฒนา คณะกรรมาธิการมักมีอิทธิพลต่อกระบวนการนิติบัญญัติอย่างชัดแจ้งโดยเฉพาะความสามารถในการทํางานอย่างรวดเร็ว

(2) เหตุผลของการที่ต้องมีคณะกรรมาธิการ เนื่องจากการทํางานของรัฐสภาตามความเป็นจริงนั้นจําเป็นต้องผสมผสานหลักทางเทคนิคกับหลักความต้องการของนักการเมือง

ตอบ 4 (คําบรรยาย) เหตุผลของการที่ต้องมีคณะกรรมาธิการมีอยู่ 4 ประการ คือ

1 เพื่อการแสวงหาข้อมูลและกลั่นกรองเรื่องให้สภา

2 จําเป็นต้องผสมผสานหลักทางเทคนิคกับความต้องการของราษฎร

3 เป็นการละลายความเป็นพรรคการเมือง

4 การสอบสวนข้อเท็จจริงและรับเรื่องราวร้องทุกข์ ถือเป็น “หน้าที่พิเศษ” ของคณะกรรมาธิการในประเทศไทย) ซึ่งในกลุ่มประเทศกําลังพัฒนานั้นพบว่า คณะกรรมาธิการมักไม่ค่อยมีอิทธิพลต่อกระบวนการนิติบัญญัติมากนัก เนื่องจากความสามารถในการทํางานค่อนข้างต่ำ

76 (1) การทํางานในขั้น “คณะกรรมาธิการ” ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ หรือคณะกรรมาธิการวิสามัญแม้จะเป็นสมาชิกสภาต่างจากพรรคการเมืองก็ตาม เมื่อต้องมาทํางานในคณะกรรมาธิการชุดเดียวกันมักจะมีบรรยากาศของความปรองดอง

(2) “หน้าที่พิเศษ” ที่ถือว่าเป็นหน้าที่ประจําตามปกติธรรมดาของคณะกรรมาธิการในประเทศไทย คือ การแสวงหาข้อมูลและกลั่นกรองเรื่องให้สภา

ตอบ 1 (คําบรรยาย) “การละลายความเป็นพรรคการเมือง” หนึ่งในเหตุผลของการที่ต้องมีคณะกรรมาธิการนั้นพบว่า การทํางานในขั้นคณะกรรมาธิการ ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ หรือคณะกรรมาธิการวิสามัญ แม้จะเป็นสมาชิกสภาต่างจากพรรคการเมืองก็ตาม เมื่อต้องมาทํางานในกรรมาธิการชุดเดียวกันมักจะมีบรรยากาศของความปรองดอง (ดูคําอธิบายข้อ 75 ประกอบ)

77 (1) การแต่งตั้งกรรมาธิการเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมาธิการทั่วโลกมีอยู่ 2 วิธีด้วยกัน คือ

1 แต่งตั้งโดยผู้ที่มีอํานาจในการบังคับบัญชาของรัฐสภา

2 แต่งตั้งโดยรัฐสภา

(2) การปฏิบัติงานของคณะกรรมาธิการ ไม่ถือว่าเป็นเอกสิทธิ์ที่ผู้ใดจะนําไปฟ้องร้องในทางใดมิได้

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การแต่งตั้งกรรมาธิการเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมาธิการทั่วโลกมีอยู่ 3 วิธีด้วยกัน คือ

1 แต่งตั้งโดยผู้ที่มีอํานาจในการบังคับบัญชาของรัฐสภา 1 – 1

2 แต่งตั้งโดยคณะกรรมาธิการพิเศษที่มีอํานาจในการคัดเลือก

3 แต่งตั้งโดยรัฐสภา ซึ่งการปฏิบัติงานของคณะกรรมาธิการนั้นถือว่าเป็นเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาด ผู้ใดจะนําไปฟ้องร้องในทางใด ๆ มิได้

78 (1) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกาได้เปิดโอกาสให้มีการใช้ตําแหน่งสมาชิกคณะกรรมาธิการเป็นรางวัลตอบแทนแก่สมาชิกสภาอยู่แทนทําหน้าที่เป็นผลประโยชน์แก่พรรคการเมืองได้

(2) กรรมาธิการแต่ละคณะในสภาคองเกรส จะได้รับเลือกเข้าดํารงตําแหน่งกรรมาธิการคณะใดคณะหนึ่งขึ้นอยู่กับความสมัครใจของสมาชิก ความเหมาะสมต่อหน้าที่ ความมีอาวุโสเป็นหลัก

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกาได้เปิดโอกาสให้มีการใช้“ตําแหน่งสมาชิกคณะกรรมาธิการ” เป็นรางวัลตอบแทนแก่สมาชิกสภาอยู่แทนทําหน้าที่เป็น ผลประโยชน์แก่พรรคการเมืองได้ ส่วนคณะกรรมาธิการแต่ละคณะในสภาคองเกรสนั้นจะ ได้รับเลือกเข้าดํารงตําแหน่งกรรมาธิการคณะใดคณะหนึ่งขึ้นอยู่กับความสมัครใจของสมาชิกความเหมาะสมต่อหน้าที่ และความมีอาวุโสเป็นหลัก

79 (1) ในระบบรัฐสภาของสหรัฐอเมริกา หากเป็นร่างรัฐบัญญัติธรรมดาเข้าสู่คณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องแล้วคณะกรรมาธิการจะสามารถทําการจัดประชุมที่เรียกว่า การประชุมลับ (Executive Session)เพื่อที่จะกําหนดระเบียบวาระได้

(2) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกา จะประกอบด้วยคณะกรรมาธิการสามัญ คณะกรรมาธิการวิสามัญคณะกรรมาธิการร่วม คณะกรรมาธิการร่วมกันของรัฐสภา และคณะกรรมาธิการเต็มสภา

ตอบ 2 หน้า 84, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 84), (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกา มี 5 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการสามัญ

2 คณะกรรมาธิการวิสามัญ

3 คณะกรรมาธิการร่วม

4 คณะกรรมาธิการร่วมกันของรัฐสภา

5 คณะกรรมาธิการเต็มสภา ซึ่งในระบบรัฐสภาของสหรัฐฯ หากเป็นร่างรัฐบัญญัติที่มีความสลับซับซ้อน (เรื่องใหญ่ เรื่องที่ ประชาชนสนใจมาก) เข้าสู่คณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องแล้วคณะกรรมาธิการจะสามารถทําการจัดประชุมที่เรียกว่า การประชุมลับ (Executive Session) เพื่อที่จะกําหนดระเบียบวาระได้

80 (1) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาอังกฤษ ประกอบด้วยคณะกรรมาธิการเต็มสภา คณะกรรมาธิการสามัญคณะกรรมาธิการร่วม และคณะกรรมาธิการร่วม พระราชบัญญัติมหาชน

(2) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาอังกฤษยังมีคณะกรรมาธิการชุดพิเศษชุดหนึ่ง เรียกว่า คณะกรรมาธิการสามัญ สกอต (Scottish Standing Committee) ซึ่งมีกรรมาธิการทุกคนเป็นชาวสกอต และทําหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับสกอตแลนด์เท่านั้น

ตอบ 2 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาอังกฤษ มี 5 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการเต็มสภา

2 คณะกรรมาธิการสามัญ

3 คณะกรรมาธิการวิสามัญ

4 คณะกรรมาธิการร่วม

5 คณะกรรมาธิการร่างพระราชบัญญัติเอกชน นอกจากนี้ยังมีคณะกรรมาธิการชุดพิเศษชุดหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมาธิการสามัญสกอต” (Scottish Standing Committee) ซึ่งมีกรรมาธิการทุกคนเป็นชาวสกอต และทําหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับสกอตแลนด์เท่านั้น

81 (1) คณะกรรมาธิการวิสามัญ (Select Committee) ของรัฐสภาอังกฤษ สามารถแบ่งย่อยได้อีก 2 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการสมัยประชุม

2 คณะกรรมาธิการชั่วคราว

(2) คณะกรรมาธิการร่วม (Joint Committee) ของรัฐสภาอังกฤษ จะเป็นคณะกรรมาธิการที่ได้รับแต่งตั้ง มาจากสภาสามัญและสภาขุนนาง เพื่อร่วมกันพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ไม่เกี่ยวกับการเมือง

ตอบ 2 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการวิสามัญ (Select Committee) ของรัฐสภาอังกฤษ สามารถแบ่งย่อยได้ 3 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการสมัยประชุม

2 คณะกรรมาธิการชั่วคราว

3 คณะกรรมาธิการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ส่วนคณะกรรมาธิการร่วม (Joint Committee) ของรัฐสภาอังกฤษนั้นจะเป็นคณะกรรมาธิการ ที่ได้รับแต่งตั้งมาจากสภาสามัญและสภาขุนนาง เพื่อร่วมกันพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ไม่เกี่ยวกับการเมือง

82 (1) ระบบคณะกรรมาธิการของฝรั่งเศส จะประกอบด้วยคณะกรรมาธิการสามัญ คณะกรรมาธิการวิสามัญและคณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุม

(2) คณะกรรมาธิการสามัญของฝรั่งเศส เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบร่างกฎหมายตามที่รัฐบาล หรือสภาร้องขอให้พิจารณา

ตอบ 1 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการของฝรั่งเศส มี 3 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการสามัญ เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาเรื่องหลัก ๆ

2 คณะกรรมาธิการวิสามัญ เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบร่างกฎหมายตามที่รัฐบาลหรือสภาร้องขอให้พิจารณา

3 คณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุม เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อที่สภาจะสามารถดําเนินการสอบสวนหรือรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง และเสนอข้อสรุปต่อสภา ซึ่งมักเข้าไป เกี่ยวข้องกับคดีที่สําคัญและดําเนินงานเดียวกับกระทรวงการยุติธรรม และจะถูกยุบทันทีที่ศาลได้ดําเนินคดีในข้อเท็จจริงที่คณะกรรมาธิการพิจารณาอยู่

83 (1) คณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุมของฝรั่งเศส เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อที่สภาจะสามารถดําเนินการสอบสวนหรือรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง และเสนอข้อสรุปต่อประธานาธิบดี

(2) คณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุมของฝรั่งเศส มักเข้าไปเกี่ยวข้องกับคดีที่สําคัญและดําเนินงานเดียวกับกระทรวงการยุติธรรม และจะถูกยุบทันทีที่ศาลได้ดําเนินคดีในข้อเท็จจริงที่คณะกรรมาธิการพิจารณาอยู่

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 82 ประกอบ

84 (1) ระบบกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น สามารถเปิดให้มีการซักถามในที่ประชุมคณะกรรมาธิการ (Public Hearing) เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ ร่างพระราชบัญญัติรายได้ และร่างพระราชบัญญัติที่สําคัญเกี่ยวกับผลประโยชน์ของประชาชน

(2) ระบบกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่นอาจขอให้รัฐมนตรีหรือผู้เทนรัฐบาลชี้แจงต่อที่ประชุมคณะกรรมาธิการได้ขณะเดียวกันรัฐมนตรีหรือผู้แทนรัฐบาลก็อาจจะขอเข้าพูดที่ประชุมคณะกรรมาธิการก่อนที่ประธานคณะกรรมาธิการขอมาก็ได้

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ระบบกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น สามารถเปิดให้มีการซักถามในที่ประชุมคณะกรรมาธิการ (Public Hearing) เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ ร่างพระราชบัญญัติรายได้ และร่างพระราชบัญญัติที่สําคัญเกี่ยวกับผลประโยชน์ของประชาชน ซึ่งอาจขอให้รัฐมนตรีหรือ ผู้แทนรัฐบาลชี้แจงต่อที่ประชุมคณะกรรมาธิการได้ ขณะเดียวกันรัฐมนตรีหรือผู้แทนรัฐบาลก็อาจจะขอเข้าพูดที่ประชุมคณะกรรมาธิการก่อนที่ประธานคณะกรรมาธิการขอมาก็ได้

85 (1) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น มี 2 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการสามัญ

2 คณะกรรมาธิการวิสามัญ

(2) ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญของรัฐสภาญี่ปุ่นจะมาจากการแต่งตั้งของสมาชิกในคณะกรรมาธิการด้วยกัน และในทางปฏิบัติจะได้รับการคัดเลือกโดยญัตติขอให้รับรองในคณะกรรมาธิการ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น มี 2 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการสามัญ

2 คณะกรรมาธิการวิสามัญ โดยประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญนั้นจะมาจากการเลือกตั้งของสมาชิกในคณะกรรมาธิการด้วยกัน และในทางปฏิบัติจะได้รับการคัดเลือกโดยญัตติขอให้รับรองในคณะกรรมาธิการ

86 (1) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยเป็นแบบผสม คือมีทั้งคณะกรรมาธิการสามัญประจําสภา (ระบบสหรัฐอเมริกา) และคณะกรรมาธิการวิสามัญซึ่งตั้งขึ้นชั่วคราว (ระบบอังกฤษ)

(2) ร่างรัฐธรรมนูญ (ฉบับลงประชามติ) 7 สิงหาคม 2559 มาตรา 129 วรรคสี่ บัญญัติให้อํานาจคณะกรรมาธิการเรียกเอกสารจากบุคคลใด หรือเรียกผู้พิพากษาหรือตุลาการมาแถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระทําหรือในเรื่องที่พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาอยู่นั้นได้

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยเป็นแบบผสม คือมีทั้งคณะกรรมาธิการสามัญประจําสภา (ระบบสหรัฐอเมริกา) และคณะกรรมาธิการวิสามัญซึ่งตั้งขึ้นชั่วคราว (ระบบอังกฤษ)โดยร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ 7 สิงหาคม 2559 มาตรา 129 วรรค 4 บัญญัติให้อํานาจ คณะกรรมาธิการ เรียกเอกสารจากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดง ความเห็นในกิจการที่กระทําหรือในเรื่องที่พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาอยู่นั้นได้แต่การเรียกเช่นว่านั้นมีให้ใช้บังคับแก่ผู้พิพากษาหรือตุลาการ

87 (1) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยมีที่มาจากรัฐธรรมนูญ และข้อบังคับการประชุมของสภา จะต้องคํานึงถึงหลักการกระจายอํานาจเป็นหลัก

(2) ร่างรัฐธรรมนูญ (ฉบับลงประชามติ) 7 สิงหาคม 2559 มาตรา 129 วรรคสาม บัญญัติเรื่องการสอบหาข้อเท็จจริง คณะกรรมาธิการจะมอบอํานาจหรือมอบหมายให้บุคคลหรือคณะบุคคลใดกระทําการแทนมิได้

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยนั้นมีที่มาจากรัฐธรรมนูญ และข้อบังคับการประชุมของสภา ซึ่งจะต้องคํานึงถึงหลักแบ่งงานกันทําเป็นหลัก โดยร่างรัฐธรรมนูญฉบับ ลงประชามติ 7 สิงหาคม 2559 มาตรา 129 วรรค 3 บัญญัติเรื่องการสอบหาข้อเท็จจริง คณะกรรมาธิการจะมอบอํานาจหรือมอบหมายให้บุคคลหรือคณะบุคคลใดกระทําการแทน มิได้

 

ข้อ 88 – 95 ให้นักศึกษาพิจารณาประเภทของคณะกรรมาธิการรัฐสภาไทย แล้วใช้ตัวเลือกต่อไปนี้

(1) คณะกรรมาธิการสามัญ

(2) คณะกรรมาธิการวิสามัญ

(3) คณะกรรมาธิการร่วม

(4) คณะกรรมาธิการเต็มสภา

 

88 คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจากผู้ที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น

ตอบ 1 หน้า 118, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 27 – 28) คณะกรรมาธิการสามัญ หมายถึงคณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น หรือคณะบุคคลที่ วุฒิสภาแต่งตั้งจากสมาชิกวุฒิสภาเท่านั้น และตั้งไว้เป็นการถาวรตลอดอายุของสภา เพื่อการ ทํากิจการหรือเพื่อพิจาณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอํานาจหน้าที่ของรัฐสภาแล้วรายงานต่อสภา

89 คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ได้

ตอบ 2 หน้า 118, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 31) คณะกรรมาธิการวิสามัญ หมายถึง คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ได้ หรือคณะบุคคล ที่วุฒิสภาแต่งตั้งจากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกวุฒิสภาก็ได้ โดยจะแต่งตั้งขึ้นเมื่อคณะรัฐมนตรี ร้องขอ หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยื่นญัตติขอให้ตั้ง เพื่อพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นการเฉพาะและจะสลายตัวเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจ

90 กรรมาธิการที่สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาแต่งตั้งขึ้น จากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาก็ได้

ตอบ 3 หน้า 118, (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการร่วม หมายถึง กรรมาธิการที่สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาแต่งตั้งขึ้น จากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาก็ได้ ซึ่งจะ เกิดขึ้นเฉพาะกรณีที่วุฒิสภามีการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติที่สภาผู้แทนราษฎรได้ให้ ความเห็นชอบแล้ว และสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาแล้วเห็นว่ามิใช่เป็นการแก้ไขเล็กน้อย จึงไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขของวุฒิสภา

91 คณะกรรมาธิการที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ประกอบเป็นคณะกรรมาธิการโดยประธานในที่ประชุมจะทําหน้าที่ประธานคณะกรรมาธิการ

ตอบ 4 หน้า 119 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการเต็มสภา หมายถึง คณะกรรมาธิการที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ประกอบเป็นคณะกรรมาธิการโดยประธานในที่ ประชุมจะทําหน้าที่ประธานคณะกรรมาธิการ ซึ่งจะเกิดขึ้นเฉพาะในกรณีสภาได้มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญในวาระที่ 1 แล้ว

92 คณะกรรมาธิการ…จะเกิดขึ้นเฉพาะในกรณีสภาได้มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญในวาระที่ 1 แล้ว

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 91 ประกอบ

93 คณะกรรมาธิการจะเกิดขึ้นเฉพาะกรณีที่วุฒิสภามีการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติที่สภาผู้แทนราษฎรได้ให้ความเห็นชอบแล้ว และสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาแล้วเห็นว่ามิใช่เป็นการแก้ไขเล็กน้อยจึงไม่เห็นด้วย กับการแก้ไขของวุฒิสภา

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 90 ประกอบ

94 คณะกรรมาธิการแต่งตั้งเมื่อคณะรัฐมนตรีร้องขอ หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยื่นญัตติขอให้ตั้ง

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 89 ประกอบ

95 คณะกรรมาธิการ…ตั้งไว้เป็นการถาวรตลอดอายุของสภา เพื่อการทํากิจการหรือเพื่อพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอํานาจหน้าที่ของรัฐสภาแล้วรายงานต่อสภา

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 88 ประกอบ

 

ข้อ 96 – 100 เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับกระบวนการนิติบัญญัติในฝ่ายนิติบัญญัติ การตราพระราชบัญญัติ ให้นักศึกษาพิจารณาข้อความแล้วใช้ตัวเลือกต่อไปนี้

(1) ถ้าข้อความนี้ ถูก

(2) ถ้าข้อความนี้ ผิด

 

96 ตามร่างรัฐธรรมนูญ (ฉบับลงประชามติ) 7 สิงหาคม 2559 มาตรา 133 บัญญัติว่า ร่างพระราชบัญญัติให้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรก่อน และจะเสนอได้ก็แต่โดย

1 คณะรัฐมนตรี

2 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จํานวนไม่น้อยกว่า 20 คน

3 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวนไม่น้อยกว่า 10,000 คน

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ 7 สิงหาคม 2559 มาตรา 133 กําหนดให้ร่างพระราชบัญญัติให้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรก่อน และจะเสนอได้ก็แต่โดย

1 คณะรัฐมนตรี

2 ส.ส. จํานวนไม่น้อยกว่า 20 คน

3 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวนไม่น้อยกว่า 10,000 คน เข้าชื่อเสนอกฎหมายตามหมวดสิทธิและ เสรีภาพของปวงชนชาวไทย หรือหมวดหน้าที่ของรัฐ ทั้งนี้ตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย

97 กระบวนการนิติบัญญัติในรัฐสภา กรณีการพิจารณาโดยสภาผู้แทนราษฎรได้กําหนดขั้นตอนเป็น 4 วาระ คือ

1 ขั้นรับหลักการ

2 ขั้นพิจารณา

3 ขั้นแปรบัญญัติ

4 ขั้นลงมติเห็นชอบให้ส่งต่อไปยังวุฒิสภา

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 35 ประกอบ

98 การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของวุฒิสภา กรณีเป็นการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั่วไปต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน แต่ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 11 ประกอบ

99 หากประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภา เห็นว่าร่างพระราชบัญญัติมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ให้ส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อวินิจฉัย และแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบโดยไม่ชักช้า

ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 148 (1) กําหนดให้ หาก ส.ส. ส.ว. หรือสมาชิกของทั้งสองสภารวมกันมีจํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้ง สองสภา เห็นว่าร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้น โดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ให้เสนอความเห็นต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา หรือประธานรัฐสภาแล้วแต่กรณี แล้วให้ประธานแห่งสภาที่ได้รับความเห็น ดังกล่าวส่งความเห็นนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย และแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบโดยไม่ชักช้า

100 ถ้าพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ ก็ทรงมีอํานาจยับยั้งได้ โดยส่งร่างพระราชบัญญัตินั้นคืนมายังรัฐสภา หรือเก็บร่างพระราชบัญญัตินั้นไว้โดยไม่ทรงพระราชทานคืนมายังรัฐสภา จนล่วงพ้นเวลา 90 วันไปแล้ว

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 51 ประกอบ

POL3100 กระบวนการนิติบัญญัติ 1/2561

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3100 กระบวนการนิติบัญญัติ

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1 ข้อใดเป็นเกณฑ์การวัดความเป็นประชาธิปไตย

(1) ความพร้อมรับผิดชอบทางการเมือง

(2) ความเข้มแข็งของภาคประชาชน

(3) ความสามารถในการตรวจสอบนักการเมืองของ ป.ป.ช.

(4) ข้อ 1 และ 3 ถูก

(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 14) เกณฑ์การวัดความเป็นประชาธิปไตย ได้แก่

1 ความพร้อมรับผิดชอบทางการเมือง (Political Accountability)

2 การแข่งขันทางการเมือง (Political Competition)

3 ความมีเสรีภาพทางการเมือง (Political Freedom)

4 ความเสมอภาคทางการเมือง (Political Equality)

2 การปฏิรูปประเทศ เป็นหมวดหนึ่งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใด (1) พ.ศ. 2540

(2) พ.ศ. 2550

(3) พ.ศ. 2557

(4) พ.ศ. 2560

(5) ไม่ปรากฏในรัฐธรรมนูญทุกฉบับ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) “การปฏิรูปประเทศ” เป็นหมวด 16 ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ซึ่งการปฏิรูปประเทศตามหมวดนี้ต้องการดําเนินการในด้านต่าง ๆ ให้เกิดผลดังนี้ การเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม การศึกษา เศรษฐกิจและด้านอื่น ๆ

3 รัฐธรรมนูญในฐานะกฎหมายสูงสุดมีลักษณะอย่างไร

(1) กฎหมายใดจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้

(2) การแก้กฎหมายทําได้ง่าย

(3) เป็นไปตามเจตจํานงของผู้ปกครองสูงสุด

(4) ลําดับชั้นของกฎหมายไม่มีความจําเป็น

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 5) รัฐธรรมนูญในฐานะกฎหมายสูงสุด มีลักษณะดังนี้

1 กฎหมายใดจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้

2 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญทําได้ยาก

4 ข้อใดแสดงว่าอํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย

(1) ตัวแทนจากวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งกันเองของสภาวิชาชีพ

(2) ตัวแทนในรัฐสภามาจากการเลือกตั้งโดยตรงมากที่สุด

(3) จํานวนประชากรที่ลงชื่อเสนอกฎหมายได้ต้องใช้จํานวนมากที่สุด

(4) ประชาชนออกเสียงประชามติแล้วให้รัฐแก้ไขได้เล็กน้อย

(5) การประกาศตัวเป็นองค์อธิปัตย์ของแกนนํากลุ่มผู้ชุมนุมที่มีผู้เข้าร่วมชุมนุมจํานวนมาก

ตอบ 2 (คําบรรยาย) อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน (Popular Sovereignty) สามารถแสดงออกผ่านกฎหมายรัฐธรรมนูญได้ในหลายลักษณะ เช่น

1 กําหนดสัดส่วนของตัวแทนประชาชนในรัฐสภาให้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงมากที่สุด

2 กําหนดจํานวนประชาชนที่มีสิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมายมีจํานวนน้อยลง (แสดงนัยยะสําคัญว่าอํานาจของประชาชนมากขึ้น) เป็นต้น

5 หลักการประชาพิจารณ์ ไม่ใช่ข้อใดต่อไปนี้

(1) รัฐตัดสินใจดําเนินโครงการแล้วจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน (2) รัฐผูกพันต้องปฏิบัติตามความคิดเห็นของประชาชน

(3) ต้องมีผู้เชี่ยวชาญมาให้ข้อมูลกับประชาชน

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 (คําบรรยาย) หลักการของการทําประชาพิจารณ์ มีดังนี้

1 จะต้องกระทําก่อนการตัดสินใจดําเนินโครงการ

2 มีการคัดเลือกผู้เข้าร่วมประชาพิจารณ์ที่สะท้อนสัดส่วนที่แท้จริงของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

3 มีผู้เชี่ยวชาญมาให้ข้อมูลกับประชาชน

4 การดําเนินการประชาพิจารณ์ต้องเป็นไปโดยเที่ยงตรงและเปิดเผย

5 ข้อสรุปจากการทําประชาพิจารณ์เป็นเพียงข้อเสนอแนะ หน่วยงานของรัฐไม่จําเป็นต้องปฏิบัติตาม

6 รัฐธรรมนูญ มีนัยยะสําคัญในเรื่องใด

(1) จํากัดอํานาจของรัฐบาล

(2) แสดงความสัมพันธ์ของรัฐกับประชาชน

(3) สร้างความชอบธรรมในการใช้อํานาจของรัฐ

(4) ถูกทุกข้อ

(5) เฉพาะข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 4 – 5), (คําบรรยาย) นัยยะสําคัญของรัฐธรรมนูญ มีดังนี้

1 จํากัดอํานาจและการกระทําของรัฐบาล

2 แสดงความสัมพันธ์ของรัฐกับประชาชน

3 สร้างความชอบธรรมในการใช้อํานาจของรัฐบาล

4 อํานาจอธิปไตยเป็นของประชาชน

5 สถานะสูงสุดที่ไม่มีกฎหมายอื่นใดขัดหรือแย้ง ฯลฯ

7 องค์กรท้องถิ่นใดหายไปในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560

(1) เทศบาล

(2) สภาท้องถิ่น

(3) องค์การบริหารส่วนตําบล

(4) กํานัน

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 5 (คําบรรยาย) องค์กรท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญฯ 2560 ได้แก่

1 ระดับหมู่บ้าน เช่น ผู้ใหญ่บ้าน หมู่บ้าน สภาท้องถิ่น

2 ระดับตําบล เช่น กํานั้น องค์การบริหารส่วนตําบล (อบต.)

3 ระดับอําเภอ เช่น เทศบาล เมืองพัทยา

4 ระดับจังหวัด เช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เป็นต้น

8 ข้อใดไม่ใช่องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560

(1) กกต.

(2) ป.ป.ช.

(3) คตง.

(4) สตง.

(5) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 35 – 39) องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญฯ 2560 ประกอบด้วย 5 องค์กร ได้แก่

1 คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)

2 ผู้ตรวจการแผ่นดิน

3 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)

4 คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.)

5 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

9 ใครมีสิทธิเลือกตั้ง

(1) ภิกษุ

(2) อยู่ระหว่างสู้คดีถูกเพิกถอนสิทธิ

(3) จบการศึกษาระดับประถมศึกษา

(4) นักโทษ

(5) จิตฟั่นเฟือน

ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 95 กําหนดให้ บุคคลผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

1 มีสัญชาติไทย

2 มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีในวันเลือกตั้ง

3 มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วไม่น้อยกว่า 90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง และมาตรา 96 กําหนดให้ บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้งเป็นบุคคลต้องห้าม มิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง

1 เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช

2 อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งไม่ว่าคดีนั้นจะถึงที่สุดแล้วหรือไม่

3 ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคําสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย (เป็นนักโทษ)

4 วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

10 องค์อธิปัตย์ตามแนวคิดสัญญาประชาคมของโทมัส ฮอบส์ และจอห์น ล็อค ต่างกันอย่างไร

(1) การเพิกถอนอํานาจของผู้ให้อํานาจ

(2) ความเป็นเจ้าชีวิตของประชาชน

(3) การเป็นเจ้าของทรัพย์สิน

(4) ถูกทุกข้อ

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 9), (คําบรรยาย) องค์อธิปัตย์ตามแนวคิดสัญญาประชาคมของโทมัส ฮอบส์ และจอห์น ล็อค นั้นแตกต่างกันในประเด็นเรื่อง “การเพิกถอนอํานาจของผู้ให้อํานาจ” โดยโทมัส ฮอบส์ เห็นว่าเมื่อประชาชนมอบอํานาจให้องค์อธิปัตย์แล้วไม่สามารถเพิกถอนได้ ไม่ว่าเขาจะควบคุมชีวิตเรามากแค่ไหนก็ตาม แต่สําหรับ จอห์น ล็อค กลับเห็นว่าอํานาจดังกล่าวสามารถเพิกถอนได้เมื่อเห็นว่าองค์อธิปัตย์ไม่อาจดูแลปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของตนได้

11 วุฒิสภาต้องพิจารณาร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการเงินให้เสร็จภายในกี่วัน (1) 15 วัน

(2) 30 วัน

(3) 45 วัน

(4) 60 วัน

(5) 90 วัน

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 55) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 136 กําหนดให้ วุฒิสภา ต้องพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เสนอมาโดยสภาผู้แทนราษฎรนั้นให้เสร็จภายใน 60 วัน แต่ถ้า เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 30 วัน เว้นแต่วุฒิสภา จะได้ลงมติให้ขยายเวลาออกไปเป็นกรณีพิเศษซึ่งต้องไม่เกิน 30 วัน หากวุฒิสภายังพิจารณาไม่เสร็จภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ ให้ถือว่าวุฒิสภาได้ให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัตินั้น

12 “The End of History” เป็นแนวคิดของใคร

(1) จอห์น ล็อค

(2) ฟรานซิส ฟูกู้ยามา

(3) มองเตสกิเออ

(4) รุสโซ

(5) โทมัส ฮอบส์

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 14), (คําบรรยาย) ฟรานซิส ฟูกยามา (Francis Fukuyama) ได้เขียนหนังสือชื่อ “การสิ้นสุดของประวัติศาสตร์” (The End of History) เพื่อสนับสนุนแนวคิด เสรีนิยมประชาธิปไตยโดยเขาเชื่อว่า โลกทุกวันนี้ไม่ต้องศึกษาเรื่องอุดมการณ์ทางการเมืองอีก ต่อไป เพราะเราได้มาถึงจุดสิ้นสุดของการแข่งขันทางอุดมการณ์แล้ว นับตั้งแต่สงครามเย็นยุติลงหลังการพังทลายของกําแพงเบอร์ลินในปี ค.ศ. 1990

13 ข้อใดคือประชาธิปไตยทางตรง

(1) การรับฟังความคิดเห็นจากประธานชุมชน

(2) การเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

(3) การสรรหาวุฒิสภา

(4) การรับฟังข่าวสาร

(5) การไปลงประชามติ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ประชาธิปไตยทางตรง (Direct Democracy) เป็นรูปแบบการปกครองโดยที่พลเมืองสามารถมีส่วนร่วมกับการตัดสินใจใด ๆ ได้โดยตรง โดยไม่ต้องอาศัยคนกลางหรือผู้ทําหน้าที่แทนตน เช่น การไปลงประชามติ การริเริ่มออกกฎหมาย การถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้ง เป็นต้น

14 การกําหนดจํานวนประชาชนที่มีสิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมายน้อยลง แสดงนัยยะอะไร

(1) อํานาจของประชาชนมากขึ้น

(2) อํานาจของประชาชนน้อยลง

(3) โอกาสการเข้ามีส่วนร่วมในการปกครองน้อยลง

(4) ไม่มีนัยยะสําคัญ

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 4 ประกอบ

15 ประเทศไทยได้รับพระราชทานรัฐธรรมนูญครั้งแรกเมื่อใด

(1) 24 ธันวาคม 2475

(2) 24 มิถุนายน 2475

(3) 10 ธันวาคม 2475

(4) 14 ตุลาคม 2475

(5) 6 ตุลาคม 2475

ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 66 – 67) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทย ซึ่งได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475

16 ข้อใดคือพื้นที่ส่วนตัว (Private Sphere)

(1) ห้องทํางานในมหาวิทยาลัย

(2) การโพสต์บนเฟซบุ๊ค

(3) ไลน์กลุ่ม

(4) การคลุมฮิญาบ

(5) ห้อง Study ในห้องสมุด

ตอบ 4 (คําบรรยาย) พื้นที่ส่วนตัว (Private Sphere) เป็นพื้นที่ที่ถูกใช้โดยคนหนึ่งคนใด และมีลักษณะแบ่งแยกกันเด็ดขาด มักเป็นพื้นที่ที่มีความเป็นปัจเจกบุคคล เข้าถึงได้ยากเพราะต้องการความ เป็นส่วนตัว เช่น ศาสนา (การคลุมฮิญาบ) ชีวิตครอบครัว รสนิยม งานอดิเรก ห้องนอน อีเมล(E-mail) ฯลฯ

17 กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจําเป็นรีบด่วนเรียกว่า

(1) พระราชกฤษฎีกา

(2) พระราชานุญาต

(3) พระราชบัญญัติ

(4) พระราชกําหนด

(5) พระราชดําริ

ตอบ 4 หน้า 98 – 99, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 56) พระราชกําหนด คือ กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจําเป็นรีบด่วน ได้แก่ กรณีฉุกเฉินที่มี ความจําเป็นรีบด่วนในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคง ในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ หรือมีความจําเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยภาษีอากรหรือเงินตรา

18 การตัดสินใจด้วยเสียงส่วนใหญ่แต่ปกป้องเสียงส่วนน้อย คือข้อใด

(1) Secular State

(2) Human Rights

(3) Parliamentary System

(4) Social Contract

(5) Majority Rule and Minority Rights

ตอบ 5 (คําบรรยาย) Majority Rule and Minority Rights หมายถึง หลักการปกครองโดยเสียงข้างมากโดยเคารพสิทธิของเสียงข้างน้อย หรืออาจกล่าวได้อีกอย่างว่าเป็นการตัดสินใจด้วยเสียงส่วนใหญ่แต่ปกป้องสิทธิของเสียงส่วนน้อยนั่นเอง

19 ประเทศใดที่สามารถนํา “ตํารากฎหมายที่สําคัญ” มาเป็นหลักในการพิจารณาคดีได้

(1) อังกฤษ

(2) สหรัฐอเมริกา

(4) ฝรั่งเศส

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ที่มาของหลักในการพิจารณาคดีของอังกฤษ ได้แก่ ตํารากฎหมายที่สําคัญกฎหมายจารีตประเพณี ขนบธรรมเนียมหรือหลักปฏิบัติ เป็นต้น

20 การกําหนดความสัมพันธ์ของ “ผู้ใช้อํานาจรัฐ” กับ “ประชาชนในฐานะปัจเจก” มักยึดหลักความได้สัดส่วนและความเหมาะสม ระหว่างข้อใด

(1) ความชอบด้วยกฎหมายและการใช้อํานาจรัฐ

(2) ประโยชน์ของปัจเจกและประโยชน์ของสาธารณะ

(3) อํานาจของรัฐสภากับอํานาจองค์กรอิสระ

(4) ข้อ 1 และ 3 ถูก

(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 13), (คําบรรยาย) การกําหนดพื้นฐานความสัมพันธ์ของ“ผู้ใช้อํานาจรัฐ” กับ “ประชาชนในฐานะปัจเจก” นั้นมักยึดหลักแห่งความได้สัดส่วนและ หลักแห่งความเหมาะสม เพื่อ

1 เป็นหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายและการใช้อํานาจรัฐ

2 สร้างดุลยภาพระหว่างประโยชน์ของปัจเจกและประโยชน์ของสาธารณะ

21 ข้อใดไม่ใช่ปัญหาของการทําประชาพิจารณ์ในประเทศไทย

(1) การคัดเลือกผู้เข้าร่วมประชาพิจารณ์ไม่สะท้อนสัดส่วนที่แท้จริงของผู้มีส่วนได้เสีย

(2) จัดทําประชาพิจารณ์ก่อนการตัดสินใจดําเนินโครงการ

(3) ไม่มีผู้เชี่ยวชาญมาชี้แจงให้ข้อมูลอย่างครบถ้วน

(4) ผู้มาร่วมบางส่วนไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการได้

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ปัญหาของการทําประชาพิจารณ์ในประเทศไทย ได้แก่

1 การคัดเลือกผู้เข้าร่วมประชาพิจารณ์ไม่สะท้อนสัดส่วนที่แท้จริงของผู้มีส่วนได้เสีย 2 รัฐตัดสินใจดําเนินโครงการก่อนจัดทําประชาพิจารณ์

3 ไม่มีผู้เชี่ยวชาญมาชี้แจงให้ข้อมูลอย่างครบถ้วน

4 ผู้มาร่วมบางส่วนไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการได้

5 ความไม่เป็นกลางของคณะกรรมการประชาพิจารณ์

6 ปัญหาในเรื่องงบประมาณ เป็นต้น

22 คํากล่าวที่ว่า “เสรีนิยมกับประชาธิปไตยไม่ใช่สิ่งเดียวกัน” คือข้อใด

(1) ประชาธิปไตยผูกโยงกับจํานวนประชาชน

(2) เสรีนิยมคือการจํากัดอํานาจของรัฐต่อปัจเจก

(3) เสรีนิยมกับประชาธิปไตยเป็นแนวคิดที่ไม่สามารถไปด้วยกัน

(4) ประชาธิปไตยไม่สามารถทําให้เกิดเผด็จการรัฐสภาได้

(5) ข้อ 1 และ 2

ตอบ 5 (คําบรรยาย) เสรีนิยมกับประชาธิปไตยไม่ใช่สิ่งเดียวกัน เนื่องจากประชาธิปไตยนั้นจะผูกโยงกับจํานวนประชาชน (เน้นส่วนใหญ่) ส่วนเสรีนิยมคือการจํากัดอํานาจของรัฐต่อปัจเจกแต่อย่างไรก็ตามทั้งสองด้านจะเป็นเงื่อนไขซึ่งกันและกัน

23 ข้อใดไม่ใช่ความหมายของยุครู้แจ้ง (Enlightenment)

(1) การยอมรับระบบเหตุผล

(2) ปฏิเสธอํานาจในการปกครองของศาสนจักร

(3) การมีความคิดแบบวิทยาศาสตร์

(4) การเชื่อในบารมีของผู้นําสูงสุด

(5) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ยุครู้แจ้ง (Enlightenment) หรือ “ยุคเรืองปัญญา” คือ ยุคที่มีการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมของเหล่าปัญญาชนในยุโรปและอาณานิคมบนทวีปอเมริกาช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 โดยมีเป้าหมายเพื่อปฏิรูปสังคม ส่งเสริมการมีความคิดแบบวิทยาศาสตร์ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และให้มีการยอมรับระบบเหตุผลมากกว่าการใช้หลักจารีต การเชื่อในบารมีของผู้นําสูงสุดและ การเปิดเผยจากพระเจ้า ซึ่งส่งผลให้ศาสนจักรไม่มีอิทธิพลต่อความคิดและถือเป็นการปฏิเสธอํานาจในการปกครองของศาสนจักรนั้นเอง

24 ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน ข้อใดไม่ถูกต้อง

(1) รัฐมีอํานาจมาก ประชาชนจะมีอํานาจน้อยลง

(2) รัฐถูกจํากัดอํานาจมาก ประชาชนจะมีเสรีภาพมากขึ้น

(3) ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลในการครอบครองของรัฐได้โดยสะดวกถ้ามใช้ข้อมูลเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐหรือเป็นความลับตามกฎหมายบัญญัติ

(4) บุคคลที่มีสัญชาติไทยโดยการเกิด รัฐไทยไม่สามารถถอนสัญชาติแต่สามารถเนรเทศได้

(5) ประชาชนสามารถฟ้องหน่วยงานรัฐเมื่อถูกบุคลากรของรัฐละเมิดได้

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ความสัมพันธ์ของรัฐกับประชาชนในสาระสําคัญของรัฐธรรมนูญ สามารถพิจารณาได้ดังนี้

1 สิทธิและเสรีภาพของประชาชน เช่น รัฐมีอํานาจมาก ประชาชนจะมีอํานาจน้อยลง 2 จํากัดอํานาจรัฐต่อประชาชนอย่างไร เช่น รัฐถูกจํากัดอํานาจมาก ประชาชนจะมีเสรีภาพมากขึ้น

3 ประชาชนเข้ามาเกี่ยวข้องกับรัฐได้อย่างไร เช่น ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลในการครอบครอง ของรัฐได้โดยสะดวกถ้ามิใช่ข้อมูลเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐหรือเป็นความลับตามกฎหมายบัญญัติ,ประชาชนสามารถฟ้องหน่วยงานรัฐเมื่อถูกบุคลากรของรัฐละเมิดได้ เป็นต้น

25 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มีผลบังคับใช้เมื่อใด

(1) 5 พ.ค. 2560

(2) 6 เมษายน 2560

(3) 24 มิถุนายน 2460

(4) 10 ธันวาคม 2560

(5) 1 ธันวาคม 2560

ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 20 ของประเทศไทย โดยรัฐธรรมนูญฉบับนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร (รัชกาลที่ 10) ทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560 ณ พระที่นั่งอนันตสมาคมและมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระราชโองการ

26 ใครเป็นผู้ลงนามรับสนองพระราชโองการในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560

(1) นายมีชัย ฤชุพันธุ์ (ประธาน คกก. ร่างรัฐธรรมนูญ)

(2) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี)

(3) พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ (ประธานองคมนตรี)

(4) นายพรเพชร วิชิตชลชัย (ประธาน สนช.)

(5) นายวีระพล ตั้งสุวรรณ (ประธานศาลฎีกา)

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 25 ประกอบ

27 รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 กําหนดให้มีวุฒิสภาในวาระแรกจํานวนกี่คน

(1) 200 คน

(2) 250 คน

(3) 300 คน

(4) 350 คน

(5) 400 คน

ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 บทเฉพาะกาล มาตรา 269 กําหนดให้ ในวาระเริ่มแรกให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจํานวน 250 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามที่ คสช. ถวายคําแนะนําโดยอายุของวุฒิสภาตามมาตรานี้มีกําหนด 5 ปีนับแต่วันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง

28 ข้อใดคือความหมายของหลักนิติรัฐ

(1) องค์กรเกี่ยวข้องกับการทุจริตประพฤติมิชอบควรมีอํานาจเด็ดขาดทั้งบริหาร ตุลาการ และนิติบัญญัติ

(2) ปฏิบัติตามกฎหมายที่ตราขึ้นจากผู้ปกครองโดยเคร่งครัด

(3) เปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถต่อสู้ป้องกันสิทธิของตนเท่าที่ผู้ปกครองกําหนด (4) กระบวนการพิจารณาไต่สวนคดีต่าง ๆ ให้เป็นไปตามดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ (5) กฎหมายต้องมีความชัดเจนและมีความแน่นอนมากพอที่ประชาชนจะเข้าใจได้ ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 19), (คําบรรยาย) หลักนิติรัฐ หมายถึง การปฏิบัติและบังคับใช้กฎหมายของรัฐต่อประชาชนในรัฐอย่างเท่าเทียมและเสมอภาคในคนทุกกลุ่ม โดยรัฐทุกรัฐ มุ่งหวังให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมายที่บังคับใช้ภายในรัฐ ซึ่งในความหมายอย่างแคบนั้น จะไม่คํานึงถึงที่มาของกฎหมาย กล่าวคือ ประชาชนจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่ตราขึ้นจาก ผู้ปกครองโดยเคร่งครัด

29 ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติของผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระ

(1) อายุไม่เกิน 70 ปี

(2) มีสุขภาพที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

(3) เคยเป็น ส.ส. เมื่อ 12 ปีก่อน

(4) จบการศึกษาระดับปริญญาตรี

(5) เป็นผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 33) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 201, 202 และ 216 กําหนดให้ ผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามทั่วไป ดังต่อไปนี้

1 มีอายุไม่ต่ำกว่า 45 ปี แต่ไม่เกิน 70 ปี

2 มีสัญชาติไทยโดยการเกิด

3 สําเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

4 มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์

5 มีสุขภาพที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

6 ไม่มีลักษณะต้องห้าม เช่น เป็นหรือเคยเป็น ส.ส. ส.ว. ข้าราชการการเมือง หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นในระยะ 10 ปีก่อนเข้ารับการคัดเลือกหรือสรรหา,เป็นผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ ฯลฯ

30 ในความขัดแย้งทางการเมืองไทยตั้งแต่ช่วง 2540 จนถึงปัจจุบันมีการใช้สัญลักษณ์ทาง “สี” แทนกลุ่มผู้ชุมนุมกลุ่มต่าง ๆ คําว่า “สลิม” มีจุดเริ่มต้นจากผู้ชุมนุมกลุ่มใด

(1) กปปส.

(2) นปช.

(3) พธม.

(4) กปปส. และ นปช. รวมกัน

(5) ประชาชนพิทักษ์ชาติ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) “สลิ่ม” มีจุดเริ่มต้นมาจากผู้ชุมนุมกลุ่มประชาชนพิทักษ์ชาติ (ไม่แบ่งสี) โดยการนําของ นพ. ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ ซึ่งเรียกตัวเองว่าเป็น “กลุ่มเสื้อหลากสี” การเคลื่อนไหวของกลุ่มได้สร้าง ปฏิกิริยาโต้ตอบจากคนเสื้อแดง/พรรคเพื่อไทยว่าคนเสื้อหลากสีก็คือเสื้อเหลืองจําแลง เพราะเห็นว่า ทั้งอุดมการณ์ การกระทํา และการแสดงออกไม่ต่างกับเสื้อเหลือง การดูแคลนคนเสื้อหลากสีของ คนเสื้อแดงจึงแทนด้วยคําว่า สลิ่ม ด้วยเหตุผลที่ว่าสลิ่ม (ซาหริ่ม) เป็นขนมที่มีเส้นหลากหลายสีสันและเป็นการล้อไปกับสภาพเสื้อที่หลากหลายของกลุ่มเสื้อหลากสีนั่นเอง

31 แนวคิดเรื่องของสัญญาประชาคมเชื่อว่าการบรรลุเสรีภาพจะเกิดขึ้นในเงื่อนไขการปกครองแบบใด

(1) ในรัฐแบบใดก็ได้

(2) ในรัฐสวัสดิการเท่านั้น

(3) ในรัฐประชาธิปไตยเท่านั้น

(4) ในรัฐสังคมนิยมเท่านั้น

(5) ในรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์เท่านั้น

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ซอง ชากส์ รุสโซ (Jean Jacques Rousseau) เห็นว่า สังคมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งสัญญาประชาคม (Social Contract) สามารถทําให้บุคคลในฐานะสมาชิกของสังคมนั้นบรรลุ ถึงเสรีภาพได้ สัญญาประชาคมจึงเป็นเสมือนรัฐธรรมนูญที่ต้องอยู่เพื่อทุกส่วนในสังคม ดังนั้นการบรรลุเสรีภาพจะเกิดขึ้นในเงื่อนไขการปกครองแบบประชาธิปไตยเท่านั้น

32 การเสนอพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการเงินต้องได้รับความเห็นชอบจากใครก่อนจึงจะสามารถเสนอเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาได้

(1) คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

(2) นายกรัฐมนตรี

(3) กระทรวงการคลัง

(4) ป.ป.ช.

(5) เมื่อผู้เสนอ พ.ร.บ. นั้นเป็นผู้มีสิทธิตามรัฐธรรมนูญแล้วไม่จําเป็นต้องมีผู้เห็นชอบ

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 53) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 133 กําหนดให้ร่างพระราชบัญญัติให้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรก่อน และจะเสนอได้ก็แต่โดย

1 คณะรัฐมนตรี

2 ส.ส. จํานวนไม่น้อยกว่า 20 คน

3 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวนไม่น้อยกว่า 10,000 คน ในกรณีที่ร่างพระราชบัญญัติซึ่งมีผู้เสนอตาม 2 หรือ 3 เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน จะเสนอได้ก็ต่อเมื่อมีคํารับรองของนายกรัฐมนตรี

33 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐอเมริกามีวาระการดํารงตําแหน่งกี่ปี

(1) 4 ปี

(2) 6 ปี

(3) 2 ปี

(4) 5 ปี

(5) 7 ปี

ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 80), (คําบรรยาย) รัฐสภาหรือสภาคองเกรสของสหรัฐอเมริกาประกอบด้วย 2 สภา คือ

1 สภาผู้แทนราษฎรที่มีสมาชิกจํานวน 435 คน มีวาระการดํารงตําแหน่ง 2 ปี

2 วุฒิสภาที่มีสมาชิกจํานวน 100 คน มีวาระการดํารงตําแหน่ง 6 ปี

34 ข้อใดถูกต้อง

(1) ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกามาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน

(2) นายกรัฐมนตรีของอังกฤษมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน

(3) นายกรัฐมนตรีของรัสเซียมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน

(4) นายกรัฐมนตรีของฝรั่งเศสมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ ไม่มีข้อถูก (คําบรรยาย) ข้อเลือก 1 ผิด ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกานั้นมาจากการเลือกตั้งโดยอ้อมผ่านทางคณะผู้เลือกตั้ง (Electoral College) ข้อเลือก 2 ผิด นายกรัฐมนตรีอังกฤษนั้นมาจากหัวหน้าพรรคการเมืองที่ได้เสียงข้างมากในสภาโดยการแต่งตั้งของพระมหากษัตริย์ ข้อเลือก 3 ผิด นายกรัฐมนตรีรัสเซียนั้นมาจากการแต่งตั้งของประธานาธิบดี ข้อเลือก 4 ผิด นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศสนั้นมาจากการแต่งตั้งของประธานาธิบดี

35 การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของสภาผู้แทนราษฎร วาระใดเป็นการพิจารณารับหลักการ

(1) วาระที่ 1

(2) วาระการนําเสนอของกรรมาธิการ

(3) วาระที่ 2

(4) วาระที่ 3

(5) วาระที่ 4

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 54 – 55) กระบวนการนิติบัญญัติในรัฐสภา กรณีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติโดยสภาผู้แทนราษฎรนั้นจะพิจารณาเป็น 3 วาระ คือ

1 ขั้นรับหลักการ

2 ขั้นพิจารณาหรือขั้นแปรญัตติ

3 ขั้นลงมติเห็นชอบให้ส่งต่อไปยังวุฒิสภา

36 เจตจํานงของประชาชนสามารถแสดงออกได้ทางใดบ้าง

(1) ประชามติ

(2) ประชาพิจารณ์

(3) การเลือกตั้ง

(4) ข้อ 1 และ 3

(5) ข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 (คําบรรยาย) เจตจํานงของประชาชนถือเป็นที่มามูลฐานแห่งอํานาจของรัฐบาล ซึ่งประชาชนนั้นสามารถแสดงออกได้โดยการลงประชามติ (การรับร่างรัฐธรรมนูญ การออกจากสมาชิก EU) และการเลือกตั้ง ส.ส. ส.ว.)

37 พื้นที่สาธารณะหมายถึงข้อใด

(1) บาทวิถีหน้าบ้าน

(2) เฟซบุ๊ค

(3) สวนรถไฟ

(4) ห้อง Study ในห้องสมุด

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) พื้นที่สาธารณะ (Public Sphere) เป็นการใช้พื้นที่ทํากิจกรรมร่วมกัน โดยไม่ได้จํากัด “ การมีส่วนร่วมหรือการเข้าในพื้นที่สาธารณะ ซึ่งมักเป็นพื้นที่เปิดที่ทุกคนที่เกี่ยวข้องหรือตัดสินใจสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้อย่างเท่าเทียมกัน เช่น ถนน ทางเดิน ทางเท้า (บาทวิถีหน้าบ้าน) สนามสวนสาธารณะ (สวนรถไฟ) ห้อง Study ในห้องสมุด สื่อสังคมออนไลน์ (เฟซบุ๊ค, ไลน์กลุ่ม) ฯลฯ

38 สภาขุนนางอังกฤษประเภทนักบวช มีวาระการดํารงกี่ปี

(1) 4 ปี

(2) 6 ปี

(3) ตามระยะเวลาการบวช

(4) ตามระยะเวลาที่อยู่ในตําแหน่งที่กําหนด

(5) ตลอดชีพ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) สภาขุนนางของอังกฤษ แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ

1 ขุนนางสืบเชื้อสาย (Hereditary Peers) มาจากการสืบทอดตําแหน่งทางสายโลหิตและมีวาระการดํารงตําแหน่งตลอดชีพ

2 ขุนนางตลอดชีพ (Life Peers) มาจากการแต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรี และสามารถดํารงตําแหน่งได้ตลอดชีวิต แต่สืบทอดให้ทายาทมได้

  1. ขุนนางโดยตําแหน่งที่เป็นนักบวช (Spiritual Peers) มาจากคริสตจักรแห่งอังกฤษ เช่น บิชอปและอาร์ชบิชอปต่าง ๆ โดยจะมีวาระตามระยะเวลาที่อยู่ในตําแหน่งที่กําหนด

4 ขุนนางกฎหมาย (Law Lords) เป็นสมาชิกที่มีความรู้ด้านกฎหมายและทําหน้าที่เป็นตุลาการศาลสูงสุด โดยจะมีวาระการดํารงตําแหน่งตลอดชีพ และถือเป็นขุนนางประเภทเดียวเท่านั้นที่ได้รับเงินเดือน

39 Brexit คืออะไร

(1) กระบวนการรับฟังความคิดเห็นเรื่องการออกจากสหภาพยุโรปของประชาชนชาวอังกฤษ

(2) โครงการรณรงค์เพื่อเรียกร้องให้อังกฤษถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป

(3) กระบวนการประชามติของประชาชนชาวอังกฤษต่อกรณีแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป

(4) กระบวนการประชามติของประชาชนชาวอังกฤษต่อกรณีการรับผู้ลี้ภัยจากตะวันออกกลาง

(5) โครงการรณรงค์เพื่อต่อต้านการสร้างมัสยิดในอังกฤษ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) Brexir (มาจากคําว่า British + Exit) คือ กระบวนการประชามติของประชาชนชาวอังกฤษต่อกรณีแยกตัวออกจากสหภาพยุโรปหรืออียู (EU)

40 รัฐโลกาวิสัย (Secular State) หมายถึง

(1) รัฐที่แยกพื้นที่ส่วนตัวออกจากพื้นที่สาธารณะ

(2) รัฐที่แยกเอาศาสนาออกจากกฎเกณฑ์ทางสังคม

(3) รัฐที่เอานักปรัชญามาปกครอง

(4) รัฐที่แยกเอาศาสนาออกจากอํานาจในการปกครอง

(5) รัฐที่ระบุให้ผู้ปกครองต้องนับถือศาสนาใดศาสนาหนึ่งเป็นการเฉพาะ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐฆราวาสหรือรัฐโลกาวิสัย (Secular State) หมายถึง รัฐหรือประเทศที่แยกเอาศาสนาออกจากกฎเกณฑ์ทางสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากการแยกศาสนจักรออกจากฝ่ายอาณาจักร ในโลกตะวันตก (โดยเฉพาะกรณีของอังกฤษ) โดยทั่วไปรัฐฆราวาสจะมีแนวทางบริหารประเทศ โดยใช้หลักทั่วไปทางโลกมาเป็นรากฐานของการปกครอง ไม่ต่อต้านความเชื่อหรือจํากัดศาสนา ใด ๆ ตัวอย่างของรัฐดังกล่าวนี้ ได้แก่ ไทย เนปาล ฯลฯ

41 ข้อใดเป็นหน้าที่ของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

(1) ผู้บัญชาการทหารสูงสุด

(2) จัดการศึกษาให้ทุกมลรัฐ

(3) แต่งตั้งผู้ว่าการมลรัฐ

(4) ยับยั้งกฎหมายของมลรัฐที่เห็นว่าไม่ชอบ

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 หน้า 29 – 30, (คําบรรยาย) หน้าที่ตามรัฐธรรมนูญของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ได้แก่

1 ประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาล

2 ผู้บัญชาการทหารสูงสุด

3 แต่งตั้งเอกอัครราชทูต

4 คัดเลือกและแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลสหพันธรัฐ

5 ยับยั้งร่างกฎหมาย

6 ทําสนธิสัญญาต่าง ๆ เป็นต้น

42 รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อมีทั้งหมดกี่คน

(1) 100 คน

(2) 150 คน

(4) ตามจํานวนจังหวัด

(5) ไม่มี ส.ส. แบบนี้

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 21) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 83 กําหนดให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจํานวน 500 คน ดังนี้

1 สมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจํานวน 350 คน

2 สมาชิกซึ่งมาจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองจํานวน 150 คน

43 “พฤฒสภา” ที่ถูกบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2489 เปรียบเทียบได้กับองค์กรใด

(1) องคมนตรี

(2) ศาลรัฐธรรมนูญ

(3) วุฒิสภา

(4) สภาพัฒนาการเมือง

(5) สนช.

ตอบ 3 หน้า 138, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 23) วุฒิสภาเกิดขึ้นครั้งแรกในชื่อ “ พฤฒสภา”ซึ่งกําหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฯ 2489 และต่อมาในรัฐธรรมนูญฯ 2490 จึงเปลี่ยนเป็น “วุฒิสภา โดยพบว่าที่มาของ ส.ว. ตั้งแต่เริ่มปรากฎจนกระทั่งปัจจุบันนั้นรัฐธรรมนูญส่วนใหญ่จะกําหนดให้ มาจากการแต่งตั้ง ยกเว้นรัฐธรรมนูญฯ 2540 (มาจากการเลือกตั้ง) รัฐธรรมนูญฯ 2550 (มาจากการเลือกตั้งและสรรหา) และรัฐธรรมนูญฯ 2560 (มาจากการเลือกตั้งทางอ้อม)

44 ประเทศใดที่ลงประชามติให้ผู้ปกครองมีอํานาจเหนือกว่ารัฐสภา

(1) อังกฤษ

(2) ฝรั่งเศส

(3) อเมริกา

(4) รัสเซีย

(5) จีน

ตอบ 4 (คําบรรยาย) บอริส เยลต์ซิน (Boris Yeltsin) ประธานาธิบดีคนแรกของสหพันธรัฐรัสเซียได้ฉีกรัฐธรรมนูญที่มีอยู่เดิมและห้ามการต่อต้านทางการเมืองชั่วคราว ภายหลังรัฐสภาขณะนั้น พยายามถอดเขาออกจากตําแหน่ง โดยเยลต์ซินได้ริเริ่มรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพื่อให้ประธานาธิบดี มีอํานาจเหนือกว่ารัฐสภา และมีการลงประชามติเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2536 ด้วยคะแนนเสียงเห็นชอบร้อยละ 58.5

45 “ม็อบมือถือ” เป็นชื่อเรียกการชุมนุมของประชาชนเมื่อปี พ.ศ. ใด

(1) พ.ศ. 2514

(2) พ.ศ. 2516

(3) พ.ศ. 2535

(4) พ.ศ. 2540

(5) พ.ศ. 2557

ตอบ 3 (คําบรรยาย) “ม็อบมือถือ” เป็นชื่อเรียกการชุมนุมของประชาชนในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬระหว่างวันที่ 15 – 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ทั้งนี้เพราะพบว่าผู้ชุมนุมส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลาง นักธุรกิจหรือบุคคลในวัยทํางาน และได้มีการใช้โทรศัพท์มือถือเป็นเครื่องมือสําคัญในการติดต่อ สื่อสารในการชุมนุมครั้งนี้

46 หลักนิติธรรมคือข้อใด

(1) กฎหมายต้องบังคับเป็นการทั่วไปใช้กับทุกคนเสมอกัน

(2) กฎหมายต้องไม่มีผลบังคับใช้ย้อนหลัง

(3) กฎหมายที่ประกาศใช้แล้วต้องได้รับการบังคับให้สอดคล้องต้องกัน

(4) กฎหมายต้องมีความมั่นคงพอสมควร

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) หลักนิติธรรมมีลักษณะสําคัญ ดังนี้

1 กฎหมายต้องใช้บังคับเป็นการทั่วไปและใช้กับทุกคนเสมอภาคกัน

2 กฎหมายต้องไม่มีผลบังคับใช้ย้อนหลัง

3 กฎหมายที่ประกาศใช้แล้วต้องได้รับการบังคับให้สอดคล้องต้องกัน

4 กฎหมายต้องมีความมั่นคงและต่อเนื่อง

5 ห้ามยกเว้นความรับผิดให้แก่การกระทําในอนาคต เป็นต้น

47 ผู้มีสิทธิเสนอพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 คือข้อใด

(1) คณะรัฐมนตรี

(2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวน 10 คนขึ้นไป

(3) ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวน 10,000 ชื่อขึ้นไป

(4) องค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 52) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 131 กําหนดให้ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจะเสนอได้ก็แต่โดย

1 คณะรัฐมนตรี โดยข้อเสนอแนะของศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญหรือองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง

2 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร

48 การปฏิวัติครั้งแรกหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย เกิดขึ้นเมื่อใด

(1) พ.ศ. 2475

(2) พ.ศ. 2476

(3) พ.ศ. 2490

(4) พ.ศ. 2494

(5) พ.ศ. 2500

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 63 – 64), (คําบรรยาย) การรัฐประหาร (หรือการปฏิวัติที่เรามักจะเรียกกันจนติดปาก) ในประเทศไทย หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบ ประชาธิปไตย มีดังนี้

1 การรัฐประหาร 20 มิถุนายน 2476 โดย พ.อ. พระยาพหลพลพยุหเสนา

2 การรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 โดยพลโทผิน ชุณหะวัณ

3 การรัฐประหาร 29 พฤศจิกายน 2494 โดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม

4 การรัฐประหาร 16 กันยายน 2500 โดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

5 การรัฐประหาร 20 ตุลาคม 2501 โดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ฯลฯ

49 รัฐธรรมนูญฉบับใดใช้ระยะเวลาในการร่างรัฐธรรมนูญนานที่สุด

(1) ฉบับที่ 1

(2) ฉบับที่ 8

(3) ฉบับที่ 3

(4) ฉบับที่ 7

(5) ฉบับที่ 16

ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2511 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 8 และถือเป็นรัฐธรรมนูญที่ใช้เวลาในการร่างนานที่สุด โดยเริ่มร่างเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2502 ถึงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2511 ใช้เวลา 9 ปีเศษ และได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2511

50 การขัดกันแห่งผลประโยชน์คือข้อใด

(1) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่ดํารงตําแหน่งในหน่วยราชการใด ๆ

(2) สมาชิกสภานิติบัญญัติยังดํารงตําแหน่งปลัดกระทรวง

(3) บุตรของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่รับเงินหรือประโยชน์ใด ๆ จากหน่วยราชการที่นอกเหนือไปจากการปฏิบัติต่อบุคคลอื่น ๆ ในธุรกิจการงานปกติ

(4) รัฐมนตรีแจ้ง ป.ป.ช. ว่า โอนหุ้นของบริษัทให้นิติบุคคลซึ่งจัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ผู้อื่นถือแทน

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ตัวอย่างการขัดกันแห่งผลประโยชน์ มีดังนี้

1 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยังดํารงตําแหน่งในหน่วยราชการ

2 สมาชิกสภานิติบัญญัติยังดํารงตําแหน่งปลัดกระทรวง

3 บุตรของผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานได้รับสัมปทานงานจากหน่วยงานนั้น ๆ

4 รัฐมนตรีเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท เว้นแต่ได้แจ้ง ป.ป.ช. ว่าโอนหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทดังกล่าวให้นิติบุคคลซึ่งจัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นถือแทน(รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 187 วรรค 2) ฯลฯ

51 ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 กรณีพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นขอบร่างพระราชบัญญัติหรือมิได้พระราชทานคืนให้กับรัฐสภา จะสามารถประกาศเป็นกฎหมายได้หรือไม่ อย่างไร

(1) ไม่ได้ เพราะพระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอํานาจในการตราพระราชบัญญัติ (2) ได้ เมื่อรัฐสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงสองในสามของจํานวนสมาชิกทั้งหมด

(3) ไม่ได้ เพราะต้องมีพระปรมาภิไธยเท่านั้นจึงจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ (4) ได้ เมื่อนายกรัฐมนตรีนําขึ้นทูลเกล้าอีกครั้ง และหากมิได้ลงพระปรมาภิไธยใน 30 วันนายกรัฐมนตรีสามารถนําพระราชบัญญัตินั้นไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้

(5) ข้อ 2 และ 4

ตอบ 5 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 146 กําหนดให้ร่างพระราชบัญญัติในพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบและพระราชทานคืนมายังรัฐสภา หรือเมื่อพ้น 90 วันแล้วมิได้พระราชทานคืนมา รัฐสภาต้องปรึกษาร่างพระราชบัญญัตินั้นใหม่ ถ้ารัฐสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียง ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนําขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายอีก ครั้งหนึ่ง และหากมิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยภายใน 30 วัน ให้นายกรัฐมนตรีนําพระราชบัญญัติ นั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็นกฎหมายได้เสมือนว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว

52 ข้อใดต่อไปนี้คือสิทธิที่เสียไปเมื่อไม่ไปเลือกตั้ง ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550

(1) สิทธิในการยื่นเสนอกฎหมายเข้าสู่กระบวนการนิติบัญญัติ

(2) สิทธิสมัครรับเลือกเป็นกํานันและผู้ใหญ่บ้าน

(3) สิทธิคัดค้านการสรรหาผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระ

(4) สิทธิในการไปเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งต่อไป

(5) สิทธิในการไปเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น

ตอบ 2 (คําบรรยาย) สิทธิที่เสียไปเมื่อไม่ไปเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฯ 2550 มาตรา 72 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่ง ส.ว. 2550 มาตรา 26 มีดังต่อไปนี้

1 สิทธิยื่นคําร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ส.ส. และ ส.ว.

2 สิทธิสมัครรับเลือกตั้งและสิทธิได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการสรรหาเป็น ส.ส. ส.ว.สมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น

3 สิทธิสมัครรับเลือกเป็นกํานันและผู้ใหญ่บ้านตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่

53 ข้อใดคือกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคําแนะนําและยินยอมของรัฐสภา

(1) พระราชกําหนด

(2) พระราชกฤษฎีกา

(3) พระราชบัญญัติ

(4) พระราชอัธยาศัย

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 53), (คําบรรยาย) พระราชบัญญัติ หมายถึง กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคําแนะนําและยินยอมของรัฐสภา กล่าวคือ เป็นกฎหมายที่ต้อง ผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบของรัฐสภา คือ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาก่อน จึงนํา ขึ้นทูลเกล้าฯ ให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้

54 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีวาระการดํารงตําแหน่งกี่ปี

(1) 7 ปี

(2) 6 ปี

(3) 5 ปี

(4) 4 ปี

(5) 3 ปี

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 37) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 232 และ 233 กําหนดให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติประกอบด้วยกรรมการจํานวน 9 คน ซึ่ง พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคําแนะนําของวุฒิสภาจากผู้ซึ่งได้รับการสรรหาโดยคณะกรรมการ สรรหา โดยมีวาระการดํารงตําแหน่ง 7 ปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดํารงตําแหน่งได้เพียงวาระเดียว

55 ตําแหน่งใดต่อไปนี้ที่ไม่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สิน

(1) ส.ส. ทุกคน

(2) ส.ว. ทุกคน

(3) อธิการบดี

(4) ปลัดกระทรวง

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ผู้ที่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินต่อ ป.ป.ช. ได้แก่ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ส.ส. ส.ว. ประธานศาลฎีกา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินปลัดกระทรวง อธิการบดี รองอธิการบดี ฯลฯ

56 รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ให้สิทธิประชาชนในการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้อย่างไร

(1) ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าชื่อกันไม่น้อยกว่า 50,000 ชื่อ เสนอขอแก้ไข (2) ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าชื่อกันไม่น้อยกว่า 10,000 ชื่อ เสนอขอแก้ไข

(3) ประชาชนเข้าชื่อกันไม่น้อยกว่า 50,000 ชื่อ เสนอขอแก้ไข

(4) ประชาชนเข้าชื่อกันไม่น้อยกว่า 10,000 ชื่อ เสนอขอแก้ไข

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ผู้มีสิทธิเสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญฯ 2560 มีดังนี้

1 คณะรัฐมนตรี

2 ส.ส. จํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร

3 ส.ส. และ ส.ว. จํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา

4 ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวนไม่น้อยกว่า 50,000 คน ตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย

57 ข้อใดไม่ใช่ข้อบกพร่องของสภาพธรรมชาติตามแนวคิดของจอห์น ล็อค

(1) มนุษย์แต่ละคนอาจมองข้อบังคับต่างกัน

(2) มนุษย์อาจถือเหตุผลประโยชน์ของตนเป็นกฎธรรมชาติให้ผู้อื่นต้องปฏิบัติตาม (3) อาจใช้อารมณ์ในการตัดสินกันเองได้

(4) ความไม่ยุติธรรมอาจทําให้ผู้เสียประโยชน์ตอบโต้โดยไม่คํานึงถึงหลักการได้

(5) มนุษย์ทําตามความอยาก หิวและตัณหา

ตอบ 5 (คําบรรยาย) จอห์น ล็อค เห็นว่า สภาพธรรมชาติมีข้อบกพร่องใน 3 ประการ คือ

1 มนุษย์แต่ละคนอาจมองข้อบังคับต่างกัน และอาจถือเหตุผลประโยชน์ของตนเป็นกฎธรรมชาติให้ผู้อื่นต้องปฏิบัติตาม

2 การที่มนุษย์ตัดสินกันเอง อาจใช้อารมณ์และเกิดการแก้แค้นกันเองได้

3 ความไม่ยุติธรรมอาจทําให้ฝ่ายผู้เสียประโยชน์ออกมาตอบโต้โดยไม่คํานึงถึงหลักการได้

58 การออกเสียงประชามติ ไม่ใช่ข้อใด

(1) อํานาจอธิปไตยเป็นของประชาชน

(2) การมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับตัดสินใจ

(3) แสดงออกซึ่งเจตจํานงร่วม

(4) ถูกทุกข้อ

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การออกเสียงประชามติ (Referendum) คือ การนําร่างกฎหมาย ร่างรัฐธรรมนูญและนโยบายที่สําคัญของประเทศไปผ่านการตัดสินใจเพื่อแสดงความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ โดยประชาชนผู้เป็นเจ้าของอํานาจอธิปไตย ซึ่งถือเป็นการมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับตัดสินใจและแสดงออกซึ่งเจตจํานงร่วมต่อแนวทางการปกครองประเทศ

59 ข้อใดคือความแตกต่างระหว่างประชาพิจารณ์กับประชามติ

(1) ให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ กับประชาชน

(2) ความผูกพันปฏิบัติของรัฐตามผลการออกเสียงของประชาชน

(3) การสร้างกระบวนการให้ประชาชนสามารถเข้าร่วมได้อย่างทั่วถึง

(4) การไม่ตัดสินใจต่อผลในเรื่องนั้น ๆ ล่วงหน้า

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ความแตกต่างระหว่างประชาพิจารณ์กับประชามติ มีดังนี้

1 ประชาพิจารณ์นั้นรัฐจะไม่ผูกพันและไม่จําเป็นต้องปฏิบัติตามส่วนประชามติกําหนดให้รัฐต้องผูกพันปฏิบัติตามผลการออกเสียงประชามติ

2 ประชาพิจารณ์ตั้งอยู่บนฐานคติของการรักษาผลประโยชน์แก่ประชาชนส่วนประชามติจะตั้งอยู่บนฐานคติของการแสดงอํานาจอธิปไตยที่เป็นของประชาชน

3 ประชาพิจารณ์เป็นแนวทางที่รัฐใช้รับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งส่วนประชามติจะเป็นกระบวนการที่รัฐขอปรึกษาหารือประชาชน เพื่อกําหนดแนวทางปฏิบัติ

4 ประชาพิจารณ์ต้องการความรู้ความเข้าใจของประชาชนต่อเรื่องนั้น ๆ เพื่อลดความขัดแย้งจากการตัดสินใจของรัฐ ส่วนประชามตินั้นต้องการมติของประชาชนว่าจะให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในเรื่องนั้น ๆ

60 คณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มีจํานวนกี่คน

(1) 3 คน

(2) 5 คน

(3) 7 คน

(4) 9 คน

(5) 11 คน

ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 33), (คําบรรยาย) คณะกรรมการสรรหาผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญฯ 2560 มีจํานวนทั้งหมด 9 คน ประกอบด้วย

1 ประธานศาลฎีกา

2 ประธานสภาผู้แทนราษฎร

3 ผู้นําฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร

4 ประธานศาลปกครองสูงสุด

5 บุคคลซึ่งแต่งตั้งโดยศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระที่มิใช่องค์กรอิสระที่ต้องมีการสรรหาอีก 5 คน

 

จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถามข้อ 61 – 70

(1) ถูก

(2) ผิด

 

61 หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 อํานาจของนายกรัฐมนตรีมาตรา 44 ตามรัฐธรรมนูญฯ (ชั่วคราว) – พ.ศ. 2557 ได้ยุติลง

ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 วรรค 2 กําหนดให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคณะรักษาความสงบเห่งชาติ (คสช.) ยังคงมีหน้าที่และอํานาจตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) 2557. นั่นแสดงว่า หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญฯ 2560 อํานาจของนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะหัวหน้า คสช. มาตรา 44 ตามรัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ยังคงอยู่

62 การแก้ไขรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 จะกระทําไม่ได้ถ้ามีวุฒิสมาชิกเห็นชอบจํานวนน้อยกว่า 1 ใน 3 ของวุฒิสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่ของวุฒิสภา

ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 256 (3) กําหนดให้ การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่ 1 ขั้นรับหลักการ ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียง เห็นชอบด้วยในการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ของทั้งสองสภา ซึ่งในจํานวนนี้ต้องมีสมาชิกวุฒิสภา (วุฒิสมาชิก) เห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา

63 บุคคลที่จบการศึกษาระดับปริญญาโท สามารถไปสมัครเป็นผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระได้ทุกคน

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 29 ประกอบ

64 โทมัส ฮอบส์ เชื่อว่าเมื่อประชาชนมอบอํานาจให้องค์อธิปัตย์แล้วไม่สามารถเพิกถอนได้

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 10 ประกอบ

65 “หมุดก่อกําเนิดรัฐธรรมนูญหรือหมุดคณะราษฎร” ไม่เคยถูกขุดขึ้นมาก่อน

ตอบ 2 (คําบรรยาย) หมุดกอกําเนิดรัฐธรรมนูญหรือหมุดคณะราษฎร เป็นหมุดทองเหลืองฝังอยู่กับพื้นถนนบนลานพระบรมรูปทรงม้าด้านสนามเสือป่า ซึ่งภายหลังได้ถูกปรับเปลี่ยนและเคยถูกขุด ขึ้นมาหลายครั้ง เช่น มีการนําสีดํามาราดทับ ถูกขีดจนเป็นรอยจํานวนมาก เคยถูกขุดและหายไปในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และถูกนํากลับมาในสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นต้น

66 รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 ข้าราชการไม่สามารถดํารงตําแหน่งวุฒิสภาได้ ยกเว้นเฉพาะในวาระแรกเท่านั้น

ตอบ 1

(เอกสารประกอบการสอน หน้า 24), (คําบรรยาย) ลักษณะต้องห้ามของผู้ดํารงตําแหน่งสมาชิก วุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญฯ 2560 มีดังนี้

1 เป็นข้าราชการ

2 เป็นสมาชิกพรรคการเมือง

3 เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ฯลฯ ยกเว้นเฉพาะในวาระแรกเท่านั้นที่สมาชิกวุฒิสภาสามารถเป็นข้าราชการ/ดํารงตําแหน่งหรือหน้าที่ในหน่วยราชการหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ หรือตําแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่นผู้บริหารท้องถิ่นได้

67 จอห์น ล็อค และโทมัส ฮอบส์ เห็นว่าสภาพธรรมชาติ (State of Nature) เป็นสภาวะสงคราม

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 9) โทมัส ฮอบส์ เห็นว่า ภาวะธรรมชาติของมนุษย์นั้นเป็นภาวะสงคราม แต่สําหรับ จอห์น ล็อค กลับเห็นว่าภาวะธรรมชาติของมนุษย์เป็นภาวะที่มนุษย์มีความสมบูรณ์และมีเสรีภาพเต็มที่ที่จะใช้ชีวิตอย่างที่ต้องการโดยคนอื่นไม่สามารถเข้ามารุกล้ำได้

68 รัฐสภาของอังกฤษไม่สามารถยกเลิกกฎหมายของรัฐสภาสกอตแลนด์ได้

ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐสภาสหราชอาณาจักร (อังกฤษ) สามารถยกเลิกกฎหมายของสถาบันนิติบัญญัติลําดับรองได้ ซึ่งสถาบันนิติบัญญัติลําดับรองได้แก่ รัฐสภาสกอตแลนด์ รัฐสภาแห่งเวลส์ และรัฐสภาไอร์แลนด์เหนือ

69 คณะกู้บ้านกู้เมืองและกบฏบวรเดช คือกลุ่มเดียวกัน

ตอบ 1 (คําบรรยาย) กบฏบวรเดช หรือ “คณะกู้บ้านกู้เมือง” เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2476 นับเป็นการกบฏครั้งแรกในรัฐไทยสมัยใหม่ ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 โดยมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งระหว่างระบอบเก่าและระบอบใหม่ จากข้อโต้แย้งในเรื่องเค้า โครงการเศรษฐกิจแห่งชาติของนายปรีดี พนมยงค์ และชนวนสําคัญที่สุดคือ ข้อโต้แย้งในเรื่อง พระเกียรติยศและพระราชอํานาจของพระมหากษัตริย์ในระบอบใหม่ ซึ่งเป็นผลนําไปสู่การนํากําลังทหารก่อกบฏโดยมี พ.อ.พระยาศรีสิทธิสงคราม เป็นแม่ทัพ

70 นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถูกถอดถอนออกจากตําแหน่งเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2557 ด้วยข้อหาเรื่องทุจริตโครงการรับจํานําข้าว

ตอบ 2 (คําบรรยาย) เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยให้นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร พ้นจากตําแหน่ง กรณีโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี เนื่องจากใช้สถานะหรือ ตําแหน่งนายกรัฐมนตรีเข้าไปแทรกแซงการบรรจุแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการเพื่อประโยชน์ตนเองหรือผู้อื่น

 

ข้อ 71 – 87 เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับคณะกรรมาธิการ ให้นักศึกษาพิจารณา 2 ข้อความ แล้วใช้ตัวเลือก ต่อไปนี้

(1) ถ้าข้อความที่ 1 ถูก และข้อความที่ 2 ผิด

(2) ถ้าข้อความที่ 1 ผิด และข้อความที่ 2 ถูก

(3) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ถูกทั้งสองข้อ 1

(4) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ผิดทั้งสองข้อ

 

71 (1) รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 129 บัญญัติให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา มีอํานาจเลือกสมาชิกของแต่ละสภาตั้งเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ

(2) รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 128 บัญญัติให้กรรมาธิการสามัญซึ่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด ต้องมีจํานวนตามหรือใกล้เคียงกับอัตราส่วนของจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละ พรรคการเมืองที่มีอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร

ตอบ 1 รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 129 วรรค 1 และ 8 กําหนดให้ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีอํานาจเลือกสมาชิกแต่ละสภาตั้งเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ…. กรรมาธิการสามัญซึ่งตั้งจาก ผู้ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด ต้องมีจํานวนตามหรือใกล้เคียงกับอัตราส่วนของจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละพรรคการเมืองที่มีอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร

72 (1) การดําเนินการของคณะกรรมาธิการสามัญประจําสภาผู้แทนราษฎร ต้องเป็นไปตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรและตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 128 วรรคหนึ่ง

(2) กรณีคณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ และผู้พิการ จะต้องดําเนินการตามรัฐธรรมนูญพ.ศ. 2560 มาตรา 128 วรรคสอง ด้วย

ตอบ 3 รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 128 วรรค 1 และ 2 กําหนดให้ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีอํานาจตราข้อบังคับการประชุมเกี่ยวกับการเลือกและการปฏิบัติหน้าที่ของประธานสภา รองประธานสภา เรื่องหรือกิจการอันเป็นหน้าที่และอํานาจของคณะกรรมาธิการสามัญแต่ละชุด… ในส่วนที่เกี่ยวกับ การตั้งกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรวินิจฉัยว่า มีสาระสําคัญเกี่ยวกับเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ หรือคนพิการหรือทุพพลภาพ ต้องกําหนดให้ บุคคลประเภทดังกล่าวหรือผู้แทนองค์กรเอกชนที่ทํางานเกี่ยวกับบุคคลประเภทนั้นโดยตรงร่วมเป็นกรรมาธิการวิสามัญด้วย

73 (1) องค์ประกอบที่สําคัญของฝ่ายนิติบัญญัติในรูปรัฐสภาประการหนึ่งคือ การแต่งตั้งคณะกรรมาธิการ(Committee) เพื่อพิจารณาปัญหากฎหมายเฉพาะเรื่อง หรือตั้งขึ้นมาเพื่อสอดคล้องกับงานหลายฝ่ายของรัฐบาล

(2) คณะกรรมาธิการของรัฐสภามีบทบาทเท่ากับเป็นรัฐสภาขนาดเล็ก (Little Legislature)

ตอบ 3 หน้า 77, (คําบรรยาย) องค์ประกอบที่สําคัญของฝ่ายนิติบัญญัติในรูปรัฐสภาประการหนึ่ง คือ การแต่งตั้งคณะกรรมาธิการ (Committee) เพื่อพิจารณาปัญหากฎหมายเฉพาะเรื่อง หรือตั้งขึ้นมาเพื่อสอดคล้องกับงานหลายฝ่ายของรัฐบาล โดยคณะกรรมาธิการของรัฐสภานั้น จะมีบทบาทคล้ายกับรัฐสภาขนาดเล็ก (Little Legislature)

74 (1) การแบ่งประเภทของคณะกรรมาธิการในรัฐสภา ได้แบ่งตามกิจกรรมที่ถือปฏิบัติอยู่ เช่น

1 คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการร่างกฎหมาย หรือการพิจารณาร่างกฎหมาย

2 คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารการพัฒนา

3 คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่ในการสอบสวน ตรวจตรา และสอดคล้องการปฏิบัติงานรัฐบาล

(2) คณะกรรมาธิการในรัฐสภา อาจมีการแต่งตั้งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1 คณะกรรมาธิการสามัญ

2 คณะกรรมาธิการวิสามัญ

ตอบ 2 หน้า 77, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 27, 31) คณะกรรมาธิการในรัฐสภามี 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ คณะกรรมาธิการสามัญ และคณะกรรมาธิการวิสามัญ นอกจากนี้เราอาจจะแบ่งประเภท ของคณะกรรมาธิการในรัฐสภาได้ตามกิจกรรมที่ถือปฏิบัติอยู่ ดังนี้

1 คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการร่างพระราชบัญญัติ หรือการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ

2 คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานคลัง

3 คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่ในการสอบสวน ตรวจตราสอดส่องการปฏิบัติงานของรัฐบาล เป็นต้น

75 (1) ในกลุ่มประเทศกําลังพัฒนา คณะกรรมาธิการมักมีอิทธิพลต่อกระบวนการนิติบัญญัติอย่างชัดแจ้งโดยเฉพาะความสามารถในการทํางานอย่างรวดเร็ว

(2) เหตุผลของการที่ต้องมีคณะกรรมาธิการ เนื่องจากการทํางานของรัฐสภาตามความเป็นจริงนั้นจําเป็นต้องผสมผสานหลักทางเทคนิคกับหลักความต้องการของนักการเมือง

ตอบ 4 (คําบรรยาย) เหตุผลของการที่ต้องมีคณะกรรมาธิการมีอยู่ 4 ประการ คือ

1 เพื่อการแสวงหาข้อมูลและกลั่นกรองเรื่องให้สภา

2 จําเป็นต้องผสมผสานหลักทางเทคนิคกับความต้องการของราษฎร

3 เป็นการละลายความเป็นพรรคการเมือง

4 การสอบสวนข้อเท็จจริงและรับเรื่องราวร้องทุกข์ (ถือเป็น “ หน้าที่พิเศษ” ของคณะกรรมาธิการในประเทศไทย) ซึ่งในกลุ่มประเทศกําลังพัฒนานั้นพบว่า คณะกรรมาธิการมักไม่ค่อยมีอิทธิพลต่อกระบวนการนิติบัญญัติมากนัก เนื่องจากความสามารถในการทํางานค่อนข้างต่ำ

76 (1) การทํางานในขั้น “คณะกรรมาธิการ” ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ หรือคณะกรรมาธิการวิสามัญแม้จะเป็นสมาชิกสภาต่างจากพรรคการเมืองก็ตาม เมื่อต้องมาทํางานในคณะกรรมาธิการชุดเดียวกันมักจะมีบรรยากาศของความปรองดอง

(2) “หน้าที่พิเศษ” ที่ถือว่าเป็นหน้าที่ประจําตามปกติธรรมดาของคณะกรรมาธิการในประเทศไทย คือ การแสวงหาข้อมูลและกลั่นกรองเรื่องให้สภา

ตอบ 1 (คําบรรยาย) “การละลายความเป็นพรรคการเมือง” หนึ่งในเหตุผลของการที่ต้องมีคณะกรรมาธิการนั้นพบว่า การทํางานในขั้นคณะกรรมาธิการ ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ หรือคณะกรรมาธิการวิสามัญ แม้จะเป็นสมาชิกสภาต่างจากพรรคการเมืองก็ตาม เมื่อต้องมาทํางานในกรรมาธิการชุดเดียวกันมักจะมีบรรยากาศของความปรองดอง (ดูคําอธิบายข้อ 75 ประกอบ)

77 (1) การแต่งตั้งกรรมาธิการเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมาธิการทั่วโลกมีอยู่ 2 วิธีด้วยกัน คือ

1 แต่งตั้งโดยผู้ที่มีอํานาจในการบังคับบัญชาของรัฐสภา

2 แต่งตั้งโดยรัฐสภา

(2) การปฏิบัติงานของคณะกรรมาธิการ ไม่ถือว่าเป็นเอกสิทธิ์ที่ผู้ใดจะนําไปฟ้องร้องในทางใดมิได้

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การแต่งตั้งกรรมาธิการเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมาธิการทั่วโลกมีอยู่ 3 วิธีด้วยกัน คือ

1 แต่งตั้งโดยผู้ที่มีอํานาจในการบังคับบัญชาของรัฐสภา

2 แต่งตั้งโดยคณะกรรมาธิการพิเศษที่มีอํานาจในการคัดเลือก

3 แต่งตั้งโดยรัฐสภา ซึ่งการปฏิบัติงานของคณะกรรมาธิการนั้นถือว่าเป็นเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาด ผู้ใดจะนําไปฟ้องร้องในทางใด ๆ มิได้

78 (1) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกาได้เปิดโอกาสให้มีการใช้ตําแหน่งสมาชิกคณะกรรมาธิการเป็นรางวัลตอบแทนแก่สมาชิกสภาอยู่แทนทําหน้าที่เป็นผลประโยชน์แก่พรรคการเมืองได้

(2) กรรมาธิการแต่ละคณะในสภาคองเกรส จะได้รับเลือกเข้าดํารงตําแหน่งกรรมาธิการคณะใดคณะหนึ่งขึ้นอยู่กับความสมัครใจของสมาชิก ความเหมาะสมต่อหน้าที่ ความมีอาวุโสเป็นหลัก

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกาได้เปิดโอกาสให้มีการใช้“ตําแหน่งสมาชิกคณะกรรมาธิการ” เป็นรางวัลตอบแทนแก่สมาชิกสภาอยู่แทนทําหน้าที่เป็น ผลประโยชน์แก่พรรคการเมืองได้ ส่วนคณะกรรมาธิการแต่ละคณะในสภาคองเกรสนั้นจะ ได้รับเลือกเข้าดํารงตําแหน่งกรรมาธิการคณะใดคณะหนึ่งขึ้นอยู่กับความสมัครใจของสมาชิกความเหมาะสมต่อหน้าที่ และความมีอาวุโสเป็นหลัก

79 (1) ในระบบรัฐสภาของสหรัฐอเมริกา หากเป็นร่างรัฐบัญญัติธรรมดาเข้าสู่คณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องแล้วคณะกรรมาธิการจะสามารถทําการจัดประชุมที่เรียกว่า การประชุมลับ (Executive Session)เพื่อที่จะกําหนดระเบียบวาระได้ (2) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกา จะประกอบด้วยคณะกรรมาธิการสามัญ คณะกรรมาธิการวิสามัญคณะกรรมาธิการร่วม คณะกรรมาธิการร่วมกันของรัฐสภา และคณะกรรมาธิการเต็มสภา

ตอบ 2 หน้า 84, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 84), (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกา มี 5 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการสามัญ

2 คณะกรรมาธิการวิสามัญ

3 คณะกรรมาธิการร่วม

4 คณะกรรมาธิการร่วมกันของรัฐสภา

5 คณะกรรมาธิการเต็มสภา ซึ่งในระบบรัฐสภาของสหรัฐฯ หากเป็นร่างรัฐบัญญัติที่มีความสลับซับซ้อน (เรื่องใหญ่ เรื่องที่ ประชาชนสนใจมาก) เข้าสู่คณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องแล้วคณะกรรมาธิการจะสามารถทําการจัดประชุมที่เรียกว่า การประชุมลับ (Executive Session) เพื่อที่จะกําหนดระเบียบวาระได้

80 (1) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาอังกฤษ ประกอบด้วยคณะกรรมาธิการเต็มสภา คณะกรรมาธิการสามัญคณะกรรมาธิการร่วม และคณะกรรมาธิการร่วมพระราชบัญญัติมหาชน

(2) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาอังกฤษยังมีคณะกรรมาธิการชุดพิเศษชุดหนึ่ง เรียกว่า คณะกรรมาธิการสามัญสกอต (Scottish Standing Committee) ซึ่งมีกรรมาธิการทุกคนเป็นชาวสกอต และทําหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับสกอตแลนด์เท่านั้น

ตอบ 2 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาอังกฤษ มี 5 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการเต็มสภา

2 คณะกรรมาธิการสามัญ

3 คณะกรรมาธิการวิสามัญ

4 คณะกรรมาธิการร่วม

5 คณะกรรมาธิการร่างพระราชบัญญัติเอกชน

นอกจากนี้ยังมีคณะกรรมาธิการชุดพิเศษชุดหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมาธิการสามัญสกอต” (Scottish Standing Committee) ซึ่งมีกรรมาธิการทุกคนเป็นชาวสกอต และทําหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับสกอตแลนด์เท่านั้น

81 (1) คณะกรรมาธิการวิสามัญ (Select Committee) ของรัฐสภาอังกฤษ สามารถแบ่งย่อยได้อีก 2 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการสมัยประชุม

2 คณะกรรมาธิการชั่วคราว

(2) คณะกรรมาธิการร่วม (Joint Committee) ของรัฐสภาอังกฤษ จะเป็นคณะกรรมาธิการที่ได้รับแต่งตั้งมาจากสภาสามัญและสภาขุนนาง เพื่อร่วมกันพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ไม่เกี่ยวกับการเมือง

 

 

ตอบ 2 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการวิสามัญ (Select Committee) ของรัฐสภาอังกฤษ สามารถแบ่งย่อยได้ 3 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการสมัยประชุม

2 คณะกรรมาธิการชั่วคราว

3 คณะกรรมาธิการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ส่วนคณะกรรมาธิการร่วม (Joint Committee) ของรัฐสภาอังกฤษนั้นจะเป็นคณะกรรมาธิการ ที่ได้รับแต่งตั้งมาจากสภาสามัญและสภาขุนนาง เพื่อร่วมกันพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ไม่เกี่ยวกับการเมือง

82 (1) ระบบคณะกรรมาธิการของฝรั่งเศส จะประกอบด้วยคณะกรรมาธิการสามัญ คณะกรรมาธิการวิสามัญและคณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุม

(2) คณะกรรมาธิการสามัญของฝรั่งเศส เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบร่างกฎหมายตามที่รัฐบาลหรือสภาร้องขอให้พิจารณา

ตอบ 1 (คําบรรยาย), คณะกรรมาธิการของฝรั่งเศส มี 3 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการสามัญ เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาเรื่องหลัก ๆ

2 คณะกรรมาธิการวิสามัญ เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบร่างกฎหมายตามที่รัฐบาลหรือสภาร้องขอให้พิจารณา

3 คณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุม เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อที่สภาจะสามารถดําเนินการสอบสวนหรือรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง และเสนอข้อสรุปต่อสภา ซึ่งมักเข้าไป เกี่ยวข้องกับคดีที่สําคัญและดําเนินงานเดียวกับกระทรวงการยุติธรรม และจะถูกยุบทันทีที่ศาลได้ดําเนินคดีในข้อเท็จจริงที่คณะกรรมาธิการพิจารณาอยู่

83 (1) คณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุมของฝรั่งเศส เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อที่สภาจะสามารถดําเนินการสอบสวนหรือรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง และเสนอข้อสรุปต่อประธานาธิบดี

(2) คณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุมของฝรั่งเศส มักเข้าไปเกี่ยวข้องกับคดีที่สําคัญและดําเนินงาน – เดียวกับกระทรวงการยุติธรรม และจะถูกยุบทันทีที่ศาลได้ดําเนินคดีในข้อเท็จจริงที่คณะกรรมาธิการพิจารณาอยู่

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 82 ประกอบ

84 (1) ระบบกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น สามารถเปิดให้มีการซักถามในที่ประชุมคณะกรรมาธิการ (Public Hearing) เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ ร่างพระราชบัญญัติรายได้ และร่างพระราชบัญญัติที่สําคัญเกี่ยวกับผลประโยชน์ของประชาชน

(2) ระบบกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่นอาจขอให้รัฐมนตรีหรือผู้แทนรัฐบาลชี้แจงต่อที่ประชุมคณะกรรมาธิการได้ขณะเดียวกันรัฐมนตรีหรือผู้แทนรัฐบาลก็อาจจะขอเข้าพูดที่ประชุมคณะกรรมาธิการก่อนที่ประธานคณะกรรมาธิการขอมาก็ได้

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ระบบกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น สามารถเปิดให้มีการซักถามในที่ประชุมคณะกรรมาธิการ (Public Hearing) เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ ร่างพระราชบัญญัติรายได้ และร่างพระราชบัญญัติที่สําคัญเกี่ยวกับผลประโยชน์ของประชาชน ซึ่งอาจขอให้รัฐมนตรีหรือ ผู้แทนรัฐบาลชี้แจงต่อที่ประชุมคณะกรรมาธิการได้ ขณะเดียวกันรัฐมนตรีหรือผู้แทนรัฐบาลก็ อาจจะขอเข้าพูดที่ประชุมคณะกรรมาธิการก่อนที่ประธานคณะกรรมาธิการขอมาก็ได้

 

85 (1) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น มี 2 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการสามัญ

2 คณะกรรมาธิการวิสามัญ

(2) ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญของรัฐสภาญี่ปุ่นจะมาจากการแต่งตั้งของสมาชิกในคณะกรรมาธิการด้วยกัน และในทางปฏิบัติจะได้รับการคัดเลือกโดยญัตติขอให้รับรองในคณะกรรมาธิการ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น มี 2 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการสามัญ

2 คณะกรรมาธิการวิสามัญ โดยประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญนั้นจะมาจากการเลือกตั้ง ของสมาชิกในคณะกรรมาธิการด้วยกัน และในทางปฏิบัติจะได้รับการคัดเลือกโดยญัตติขอให้รับรองในคณะกรรมาธิการ

86 (1) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยเป็นแบบผสม คือมีทั้งคณะกรรมาธิการสามัญประจําสภา(ระบบสหรัฐอเมริกา) และคณะกรรมาธิการวิสามัญซึ่งตั้งขึ้นชั่วคราว (ระบบอังกฤษ)

(2) รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 129 วรรคสี บัญญัติให้อํานาจคณะกรรมาธิการ เรียกเอกสารจากบุคคลใด หรือเรียกผู้พิพากษาหรือตุลาการมาแถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระทําหรือในเรื่องที่พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาอยู่นั้นได้

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยเป็นแบบผสม คือมีทั้งคณะกรรมาธิการสามัญประจําสภา (ระบบสหรัฐอเมริกา) และคณะกรรมาธิการวิสามัญซึ่งตั้งขึ้นชั่วคราว (ระบบอังกฤษ) โดยรัฐธรรมนูญฯ 2550 มาตรา 129 วรรค 4 บัญญัติให้อํานาจคณะกรรมาธิการ เรียกเอกสาร “จากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระทําหรือ ในเรื่องที่พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาอยู่นั้นได้ แต่การเรียกเช่นว่านั้นมิให้ใช้บังคับแก่ผู้พิพากษาหรือตุลาการ

87 (1) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยมีที่มาจากรัฐธรรมนูญ และข้อบังคับการประชุมของสภา จะต้องคํานึงถึงหลักการกระจายอํานาจเป็นหลัก

(2) รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 129 วรรคสาม บัญญัติเรื่องการสอบหาข้อเท็จจริง คณะกรรมาธิการจะมอบอํานาจหรือมอบหมายให้บุคคลหรือคณะบุคคลใดกระทําการแทนมิได้

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยนั้นมีที่มาจากรัฐธรรมนูญ และข้อบังคับการประชุมของสภา ซึ่งจะต้องคํานึงถึงหลักแบ่งงานกันทําเป็นหลัก โดยรัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 129 วรรค 3 บัญญัติเรื่องการสอบหาข้อเท็จจริง คณะกรรมาธิการจะมอบอํานาจหรือมอบหมายให้บุคคลหรือคณะบุคคลใดกระทําการแทนมิได้

 

ข้อ 88 – 95 ให้นักศึกษาพิจารณาประเภทของคณะกรรมาธิการรัฐสภาไทย แล้วใช้ตัวเลือกต่อไปนี้

(1) คณะกรรมาธิการสามัญ

(2) คณะกรรมาธิการวิสามัญ

(3) คณะกรรมาธิการร่วม

(4) คณะกรรมาธิการเต็มสภา

(5) คณะกรรมาธิการชั่วคราว

 

88 คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจากผู้ที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น

ตอบ 1 หน้า 118, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 27 – 28) คณะกรรมาธิการสามัญ หมายถึง คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น หรือคณะบุคคลที่วุฒิสภา แต่งตั้งจากสมาชิกวุฒิสภาเท่านั้น และตั้งไว้เป็นการถาวรตลอดอายุของสภา เพื่อการทํากิจการหรือเพื่อพิจาณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอํานาจหน้าที่ของรัฐสภาแล้วรายงานต่อสภา

89 คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ได้

ตอบ 2 หน้า 118, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 31) คณะกรรมาธิการวิสามัญ หมายถึง คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ได้ หรือคณะบุคคล ที่วุฒิสภาแต่งตั้งจากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกวุฒิสภาก็ได้ โดยจะแต่งตั้งขึ้นเมื่อคณะรัฐมนตรี ร้องขอ หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยื่นญัตติขอให้ตั้ง เพื่อพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นการเฉพาะและจะสลายตัวเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจ

90 กรรมาธิการที่สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาแต่งตั้งขึ้น จากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาก็ได้ ตอบ 3 หน้า 118, (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการร่วม หมายถึง กรรมาธิการที่สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาแต่งตั้งขึ้น จากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาก็ได้ ซึ่งจะ เกิดขึ้นเฉพาะกรณีที่วุฒิสภามีการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติที่สภาผู้แทนราษฎรได้ให้ ความเห็นชอบแล้ว และสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาแล้วเห็นว่ามิใช่เป็นการแก้ไขเล็กน้อยจึงไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขของวุฒิสภา

91 คณะกรรมาธิการที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ประกอบเป็นคณะกรรมาธิการโดยประธานในที่ประชุมจะทําหน้าที่ประธานคณะกรรมาธิการ

ตอบ 4 หน้า 119, (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการเต็มสภา หมายถึง คณะกรรมาธิการที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ประกอบเป็นคณะกรรมาธิการโดยประธานในที่ประชุมจะทําหน้าที่ประธานคณะกรรมาธิการ ซึ่งจะเกิดขึ้นเฉพาะในกรณีสภาได้มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญในวาระที่ 1 แล้ว

92 คณะกรรมาธิการ…จะเกิดขึ้นเฉพาะในกรณีสภาได้มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญในวาระที่ 1 แล้ว

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 91 ประกอบ

93 คณะกรรมาธิการจะเกิดขึ้นเฉพาะกรณีที่วุฒิสภามีการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติที่สภาผู้แทนราษฎรได้ให้ความเห็นชอบแล้ว และสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาแล้วเห็นว่ามิใช่เป็นการแก้ไขเล็กน้อยจึงไม่เห็นด้วย กับการแก้ไขของวุฒิสภา ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 90 ประกอบ

94 คณะกรรมาธิการแต่งตั้งเมื่อคณะรัฐมนตรีร้องขอ หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยื่นญัตติขอให้ตั้ง

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 89 ประกอบ

95 คณะกรรมาธิการ…ตั้งไว้เป็นการถาวรตลอดอายุของสภา เพื่อการทํากิจการหรือเพื่อพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอํานาจหน้าที่ของรัฐสภาแล้วรายงานต่อสภา

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 88 ประกอบ

 

ข้อ 96 – 100 เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับกระบวนการนิติบัญญัติในฝ่ายนิติบัญญัติ  การตราพระราชบัญญัติให้นักศึกษาพิจารณาข้อความแล้วใช้ตัวเลือกต่อไปนี้

(1) ถ้าข้อความนี้ ถูก

(2) ถ้าข้อความนี้ ผิด

 

96 รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 33 บัญญัติว่า ร่างพระราชบัญญัติให้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรก่อนและจะเสนอได้ก็แต่โดย

1 คณะรัฐมนตรี

2 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวนไม่น้อยกว่า 20 คน

3 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวนไม่น้อยกว่า 10,000 คน และต้องเป็นไปตามมาตรา 77 ด้วย

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 32 ประกอบ

97 กระบวนการนิติบัญญัติในรัฐสภา กรณีการพิจารณาโดยสภาผู้แทนราษฎรได้กําหนดขั้นตอนเป็น 4 วาระ คือ

1 ขั้นรับหลักการ

2 ขั้นพิจารณา

3 ขั้นแปรบัญญัติ

4 ขั้นลงมติเห็นชอบให้ส่งต่อไปยังวุฒิสภา

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 35 ประกอบ

98 การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของวุฒิสภา กรณีเป็นการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั่วไปต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน แต่ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 11 ประกอบ

99 หากประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภา เห็นว่าร่างพระราชบัญญัติมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ให้ส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อวินิจฉัย และแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบโดยไม่ชักช้า

ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 148 (1) กําหนดให้ หาก ส.ส. ส.ว. หรือสมาชิกของทั้งสองสภารวมกันมีจํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้ง สองสภา เห็นว่าร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้น โดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ให้เสนอความเห็นต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา หรือประธานรัฐสภาแล้วแต่กรณี แล้วให้ประธานแห่งสภาที่ได้รับความเห็น ดังกล่าวส่งความเห็นนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย และแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบโดยไม่ชักช้า

100 ถ้าพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ ก็ทรงมีอํานาจยับยั้งได้ โดยส่งร่างพระราชบัญญัตินั้นคืนมายังรัฐสภา หรือเก็บร่างพระราชบัญญัตินั้นไว้โดยไม่ทรงพระราชทานคืนมายังรัฐสภา จนล่วงพ้นเวลา 90 วันไปแล้ว

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 51 ประกอบ

POL3100 กระบวนการนิติบัญญัติ 1/2560

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3100 กระบวนการนิติบัญญัติ

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1 การเสนอร่างกฎหมายในสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐอเมริกา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะนําร่างกฎหมาย ไปส่งที่ใด

(1) ประธานกรรมาธิการที่รับผิดชอบ

(2) ประธานวุฒิสภา

(3) นําไปแสดงต่อประธานสภาฯ

(4) ประธานสภาผู้แทนราษฎร

(5) ฝ่ายธุรการของสภาฯ

ตอบ 4 หน้า 82 – 83, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 84) การเสนอร่างกฎหมายในสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐอเมริกานั้นกระทํากันอย่างง่าย ๆ คือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะนําร่างกฎหมาย ไปใส่ไว้ในกล่องรับร่างกฎหมายที่โต๊ะของประธานสภาผู้แทนราษฎร ส่วนในวุฒิสภานั้นจะส่งต่อ หัวหน้าหน่วยงานธุรการ และจะเสนอร่างต่อประธานสภาโดยวุฒิสมาชิกจะลุกขึ้นยืนและกล่าวแถลงต่อประธานวุฒิสภา

2 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงสละราชสมบัติเมื่อใด

(1) 10 ธ.ค. 2475

(2) 24 มิ.ย. 2475

(3) 2 มี.ค. 2477

(4) 24 มิ.ย. 2477

(5) 12 ต.ค. 2476

ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 68) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ได้ทรงสละราชสมบัติเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 หลังจากทรงยื่นข้อเสนอเป็นพระราชบันทึกต่อ รัฐบาลที่มีประเด็นเกี่ยวกับพระราชอํานาจทั้งด้านตุลาการ นิติบัญญัติ และบริหารบางประเด็น แต่รัฐบาลไม่อาจสนองพระราชบันทึกตามที่ทรงมีพระราชประสงค์

3 ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ในการตรวจสอบและควบคุมการบริหารงานขององค์กรนิติบัญญัติ

(1) การพิจารณาอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจําปี

(2) การยื่นกระทู้ถาม

(3) การให้ความเห็นชอบการประกาศสงคราม

(4) การเสนอญัตติ

(5) การอภิปราย

ตอบ 3 (คําบรรยาย) หน้าที่ในการตรวจสอบและควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินขององค์กรนิติบัญญัติ ได้แก่

1 การตั้งกระทู้ถาม

2 การเสนอญัตติ

3 การอภิปรายไม่ไว้วางใจ

4 การตั้งกรรมาธิการ

5 การพิจารณาพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย เป็นต้น

4 ลักษณะของพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการเงินคือข้อใด

(1) ว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงระเบียบอันเกี่ยวกับภาษี

(2) ว่าด้วยเรื่องการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายแผ่นดิน

(3) ว่าด้วยเรื่องการค้ำประกันเงินกู้

(4) ว่าด้วยเรื่องการเพิ่มเก็บอัตราภาษีสุรา

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 55) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 134 กําหนดให้ร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน หมายความถึงร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ดังต่อไปนี้

1 การตั้งขึ้น ยกเลิก ลด เปลี่ยนแปลง แก้ไข ผ่อน หรือวางระเบียบการ บังคับเกี่ยวกับภาษีหรืออากร

2 การจัดสรร รับ รักษา หรือจ่ายเงินแผ่นดิน หรือ การโอนงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดิน

3 การกู้เงิน การค้ำประกัน การใช้เงินกู้ หรือการดําเนินการที่ผูกพันทรัพย์สินของรัฐ

4 เงินตรา

5 ข้อใดเป็นเงื่อนไขของการออกพระราชกําหนด

(1) ผู้เสนอคือหัวหน้า คสช.

(2) ผู้เสนอคือคณะรัฐมนตรี

(3) ผู้เสนอคือสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

(4) เมื่อเป็นกรณีฉุกเฉินความจําเป็นรีบด่วน

(5) ข้อ 2 และ 4

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 56) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 172 วรรค 2 กําหนดให้การตราพระราชกําหนดให้กระทําได้เฉพาะเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจําเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้

6 อํานาจหน้าที่ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติจะสิ้นสุดลงเมื่อใด

(1) เมื่อประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2560

(2) เมื่อมีการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560

(3) เมื่อ พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญฯ 2560 แล้วเสร็จ

(4) เมื่อนายกรัฐมนตรีลาออก

(5) เมื่อคณะรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 เข้ารับตําแหน่ง

ตอบ 5 รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 265 วรรค 1 กําหนดให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ดํารงตําแหน่งอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ยังคงอยู่ในตําแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญนี้จะเข้ารับหน้าที่

7 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวนเท่าใดสามารถเข้าชื่อยื่นความเห็นต่อประธานสภาฯ ให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่าพระราชกําหนดใดไม่ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2560

(1) ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของรัฐสภา

(2) ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของสภาผู้แทนฯ

(3) ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของสภาผู้แทนฯ

(4) ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของรัฐสภา

(5) ทั้งหมดที่มีอยู่ในสภาผู้แทนฯ

ตอบ 3 รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 173 วรรค 1 กําหนดให้ ก่อนที่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาจะได้อนุมัติพระราชกําหนดใด ส.ส. หรือ ส.ว. จํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมด เท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา มีสิทธิเข้าชื่อเสนอความเห็นต่อประธานแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิกว่าพระราชกําหนดนั้นไม่เป็นไปตามมาตรา 172 วรรค 1 และให้ประธานแห่งสภานั้นส่งความเห็น ไปยังศาลรัฐธรรมนูญภายใน 3 วันนับแต่วันที่ได้รับความเห็นเพื่อวินิจฉัย และให้รอการพิจารณาพระราชกําหนดนั้นไว้ก่อนจนกว่าจะได้รับแจ้งคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ

8 ข้อใดไม่ใช่นัยยะสําคัญของรัฐธรรมนูญ

(1) อํานาจอธิปไตยเป็นของประชาชน

(2) สถานะสูงสุดที่ไม่มีกฎหมายอื่นใดขัดหรือแย้งได้

(3) สร้างความชอบธรรมในการใช้อํานาจของประชาชน

(4) แสดงความสัมพันธ์ของรัฐกับประชาชน

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 4 – 5), (คําบรรยาย) นัยยะสําคัญของรัฐธรรมนูญ มีดังนี้

1 อํานาจอธิปไตยเป็นของประชาชน

2 สถานะสูงสุดที่ไม่มีกฎหมายอื่นใดขัดหรือแย้งได้

3 แสดงโครงสร้างของรัฐ

4 แสดงความสัมพันธ์ของรัฐกับประชาชน ฯลฯ

9 การกําหนดความสัมพันธ์ของ “ผู้ใช้อํานาจรัฐ” กับ “ประชาชนในฐานะปัจเจก” มักยึดหลักความได้สัดส่วน และความเหมาะสม ระหว่างข้อใด

(1) ประโยชน์ของปัจเจกและประโยชน์ของสาธารณะ

(2) ความชอบด้วยกฎหมายและการใช้อํานาจรัฐ

(3) อํานาจของรัฐสภากับอํานาจองค์กรอิสระ

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า, 13), (คําบรรยาย) การกําหนดพื้นฐานความสัมพันธ์ของ“ผู้ใช้อํานาจรัฐ” กับ “ประชาชนในฐานะปัจเจก” นั้นมักยึดหลักแห่งความได้สัดส่วนและ หลักแห่งความเหมาะสม เพื่อ

1 เป็นหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายและการใช้อํานาจรัฐ

2 สร้างดุลยภาพระหว่างประโยชน์ของปัจเจกและประโยชน์ของสาธารณะ

10 คํากล่าวที่ว่า “เสรีนิยมกับประชาธิปไตยไม่ใช่สิ่งเดียวกัน” คือข้อใด

(1) ประชาธิปไตยผูกโยงกับจํานวนประชาชน

(2) เสรีนิยมคือการจํากัดอํานาจของรัฐต่อปัจเจก

(3) เสรีนิยมกับประชาธิปไตยเป็นแนวคิดที่ไม่สามารถไปด้วยกัน

(4) ประชาธิปไตยไม่สามารถทําให้เกิดเผด็จการรัฐสภาได้

(5) ข้อ 1 และ 2

ตอบ 5 (คําบรรยาย) เสรีนิยมกับประชาธิปไตยไม่ใช่สิ่งเดียวกัน เนื่องจากประชาธิปไตยนั้นจะผูกโยงกับจํานวนประชาชน เน้นส่วนใหญ่) ส่วนเสรีนิยมคือการจํากัดอํานาจของรัฐต่อปัจเจกแต่อย่างไรก็ตามทั้งสองด้านจะเป็นเงื่อนไขซึ่งกันและกัน

11 ข้อใดคือความหมายของหลักนิติรัฐ

(1) องค์กรเกี่ยวข้องกับการทุจริตประพฤติมิชอบควรมีอํานาจเด็ดขาดทั้งบริหาร ตุลาการ และนิติบัญญัติ

(2) ปฏิบัติตามกฎหมายที่ตราขึ้นจากผู้ปกครองโดยเคร่งครัด

(3) เปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถต่อสู้ป้องกันสิทธิของตนเท่าที่ผู้ปกครองกําหนด (4) กระบวนการพิจารณาไต่สวนคดีต่าง ๆ ให้เป็นไปตามดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่

(5) กฎหมายต้องมีความชัดเจนและมีความแน่นอนมากพอที่ประชาชนจะเข้าใจได้ ตอบ 2 เอกสารประกอบการสอน หน้า 19), (คําบรรยาย) หลักนิติรัฐ หมายถึง การปฏิบัติและบังคับใช้กฎหมายของรัฐต่อประชาชนในรัฐอย่างเท่าเทียมและเสมอภาคในคนทุกกลุ่ม โดยรัฐทุกรัฐ มุ่งหวังให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมายที่บังคับใช้ภายในรัฐ ซึ่งในความหมายอย่างแคบนั้น จะไม่คํานึงถึงที่มาของกฎหมาย กล่าวคือ ประชาชนจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่ตราขึ้นจากผู้ปกครองโดยเคร่งครัด

12 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะต้องห้ามของกระทู้

(1) เป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของประชาชน

(2) เป็นการออกความเห็น

(3) เป็นปัญหาข้อกฎหมาย

(4) เป็นเรื่องคลุมเครือ

(5) เป็นเรื่องที่เคยมีผู้เสนอมาก่อน

ตอบ 1 หน้า 115, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 46) ลักษณะต้องห้ามของกระทู้ มีดังนี้

1 เป็นเชิงประชด เสียดสี หรือกลั่นแกล้งใส่ร้าย

2 คลุมเครือ หรือเข้าใจยาก

3 เป็นเรื่องที่มีประเด็นคําถามซ้ำกับกระทู้ถามซึ่งมีผู้เสนอมาก่อน

4 เป็นการออกความเห็น

5 เป็นปัญหาข้อกฎหมาย

6 เป็นเรื่องไม่มีสาระสําคัญ ฯลฯ

13 ปัจจุบันประเทศใดต่อไปนี้มีระบบ นิติบัญญัติแบบสภาเดี่ยว

(1) อินโดนีเซีย

(2) ไทย

(3) กัมพูชา

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ปัจจุบันประเทศที่มีระบบนิติบัญญัติแบบสภาเดี่ยว ได้แก่ อินโดนีเซีย ไทย สวีเดน เดนมาร์ก อิสราเอล กานา เซเนกัล โมนาโค ลักเซมเบอร์ก ฯลฯ

14 หลักการสําคัญที่เป็นสาระสําคัญอันต้องกําหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่คือข้อใด

(1) วิธีปฏิบัติทางปกครองของส่วนราชการต่าง ๆ

(2) สิทธิ เสรีภาพ และการมีส่วนร่วมของพลเมือง

(3) การตรวจสอบการใช้อํานาจ

(4) ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการเมือง

(5) องค์กรสถาบันสําคัญทางการเมือง

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 12, 76), (คําบรรยาย) หลักการและสาระสําคัญที่ต้องกําหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ มีดังนี้

1 สิทธิ เสรีภาพ และการมีส่วนร่วมของพลเมือง

2 การตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐ

3 ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการเมือง

4 องค์กรสถาบันสําคัญทางการเมือง ฯลฯ

15 ข้อใดไม่ใช่คณะกรรมการสรรหาผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560

(1) ผู้นําฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร

(2) ประธานศาลปกครองสูงสุด

(3) ประธานศาลฎีกา

(4) ประธานสภาผู้แทนราษฎร

(5) ประธานวุฒิสภา

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 33) คณะกรรมการสรรหาผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญฯ 2550 ประกอบด้วย

1 ประธานศาลฎีกา

2 ประธานสภาผู้แทนราษฎร

3 ผู้นําฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร

4 ประธานศาลปกครองสูงสุด

5 บุคคลซึ่งแต่งตั้งโดยศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระที่มิใช่องค์กรอิสระที่ต้องมีการสรรหา

16 รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 กําหนดจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไว้จํานวนกี่คน

(1) 500 คน

(2) 350 คน

(3) 700 คน

(4) 550 คน

(5) 750 คน

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 21) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 83 กําหนดให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจํานวน 500 คน ดังนี้

1 สมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจํานวน 350 คน

2 สมาชิกซึ่งมาจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองจํานวน 150 คน

17 บุคคลในข้อใดที่ไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

(1) หญิงข้ามเพศอายุ 25 ปี นับถึงวันเลือกตั้ง

(2) ชายที่ได้รับสัญชาติไทยโดยการแต่งงาน

(3) หญิงอายุ 55 ปีผู้มีหุ้นในกิจการขายตรงในสื่อออนไลน์

(4) นักการเมืองที่เคยรับโทษจําคุกในคดีลหุโทษเมื่อ 5 ปีก่อนวันเลือกตั้ง

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 21 – 22) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 97 กําหนดให้บุคคลผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้เป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.

1 มีสัญชาติไทยโดยการเกิด

2 มีอายุไม่เกิน 25 ปีนับถึงวันเลือกตั้ง ฯลฯ

และมาตรา 98 กําหนดให้ บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิ สมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.

1 ติดยาเสพติดให้โทษ

2 เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต

3 เป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใด ๆ

4 เคยได้รับโทษจําคุกโดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึง 10 ปีนับถึงวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในความผิด อันได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ฯลฯ

18 ข้อใดไม่ใช่ความหมายของการเป็นตัวแทนในกระบวนการนิติบัญญัติ

(1) อํานาจอธิปไตยยังเป็นของประชาชน

(2) ได้รับความยินยอมให้ใช้อํานาจแทนประชาชนจากการเลือกตั้ง

(3) ประชาชนสามารถตรวจสอบการทํางานของตัวแทนได้

(4) มีระยะเวลาที่กําหนดความเป็นตัวแทนที่แน่นอน

(5) ได้อํานาจในการออกกฎหมายจากนายกรัฐมนตรี

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ความหมายของการเป็นตัวแทนในกระบวนการนิติบัญญัติ คือ

1 อํานาจยังเป็นของปวงชน

2 ได้รับความยินยอมให้ใช้อํานาจแทนประชาชนจากการ เลือกตั้ง

3 ประชาชนสามารถตรวจสอบการทํางานของตัวแทนได้

4 มีระยะเวลาที่กําหนดความเป็นตัวแทนที่แน่นอน ฯลฯ

19 จํานวนของสมาชิกวุฒิสภาและวาระการดํารงตําแหน่งของสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 คือข้อใด

(1) 200 คน, 6 ปี

(2) 200 คน, 5 ปี

(3) 150 คน, 6 ปี

(4) 150 คน, 5 ปี

(5) 200 คน, 7 ปี

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 23) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 107 และ 109 กําหนดให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจํานวน 200 คน โดยมีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละ 5 ปีนับแต่วันประกาศผลการเลือก

20 การปกครองระบบรัฐสภามีหลักการสําคัญคือการดุลอํานาจ หมายความว่าอย่างไร

(1) มีการแยกอํานาจการออกกฎหมาย การปฏิบัติตามกฎหมายและการลงโทษตามกฎหมาย

(2) มีการแยกฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายข้าราชการออกจากกัน

(3) มีการแยกกรรมาธิการเป็นหลายคณะเพื่อแบ่งความรับผิดชอบ

(4) มีการแยกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาออกจากกัน

(5) มีการแยกการปกครองออกเป็นส่วนกลางและส่วนภูมิภาคออกจากกัน

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 19), (คําบรรยาย) หลักการสําคัญของการปกครองระบบรัฐสภา ได้แก่

1 หลักการดุลอํานาจ หมายถึง เมื่อมีการแยกอํานาจออกเป็น 3 อํานาจ นั่นคือ อํานาจการออกกฎหมาย การปฏิบัติตามกฎหมาย และการลงโทษตามกฎหมาย แต่ละอํานาจต่างจะมีอิสระในตัวเอง และมีความสัมพันธ์กับอํานาจอื่นตามหลักแห่งการดุลอํานาจ

2 หลักแห่งความรับผิดชอบทางการเมือง หมายถึง การที่บุคคลที่ดํารงตําแหน่งทางการเมืองสามารถยืนยันผลการปฏิบัติหน้าที่ของตนเอง หากไม่สามารถยืนยันได้ย่อมไม่ชอบธรรมที่จะบริหารประเทศต่อไป

21 การปกครองระบอบใดที่พระมหากษัตริย์ทรงมีอํานาจในการปกครองแต่มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล

(1) ระบอบรัฐสภาโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

(2) ระบอบประธานาธิบดี

(3) ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

(4) ระบอบกึ่งสมบูรณาญาสิทธิราชย์

(5) ระบอบราชาธิปไตย

ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 15) ระบอบกึ่งสมบูรณาญาสิทธิราชย์ หมายถึง การปกครองที่พระมหากษัตริย์ทรงมีอํานาจในการปกครองแต่มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล หรือเรียก อีกอย่างหนึ่งว่า “ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ”

22 แนวคิด “กระแส 3 คลื่น” ของการขยายตัวของระบอบประชาธิปไตย เป็นแนวคิดของใคร

(1) Huntington

(2) Montesquieu

(3) Fukuyama

(4) Rousseau

(5) Locke

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 13 – 14) Samuel Huntington ได้สรุปพัฒนาการของระบอบประชาธิปไตย หรือ “กระแส 3 คลื่น” (Three Wave) ไว้ดังนี้

1 คลื่นลูกที่ 1 ค.ศ. 1828 – 1926 เกิดการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาและการแพร่ระบาดของการปฏิวัติในประเทศและแคว้นต่าง ๆ ของยุโรป

2 คลื่นลูกที่ 2 ค.ศ. 1943 – 1962 เกิดหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

3 คลื่นลูกที่ 3 ค.ศ. 1974 เกิดการโค่นล้มเผด็จการพลเรือนของโปรตุเกส การล่มสลายของระบอบคอมมิวนิสต์ การพังทลายของกําแพงเบอร์ลิน เป็นต้น

23 รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 กําหนดให้มีวุฒิสภาในวาระแรกจํานวนกี่คน

(1) 200 คน

(2) 250 คน

(3) 300 คน

(4) 350 คน

(5) 400 คน

ตอบ 2 รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 269 กําหนดให้ในวาระเริ่มแรกให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจํานวน 250 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามที่ คสช. ถวายคําแนะนํา โดยอายุของวุฒิสภาตามมาตรานี้มีกําหนด 5 ปีนับแต่วันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง

24 ข้อใดคือความหมายของหลักนิติรัฐ

(1) องค์กรเกี่ยวข้องกับการทุจริตประพฤติมิชอบควรมีอํานาจเด็ดขาดทั้งบริหาร ตุลาการ และนิติบัญญัติ

(2) ปฏิบัติตามกฎหมายที่ตราขึ้นจากผู้ปกครองโดยเคร่งครัด

(3) เปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถต่อสู้ป้องกันสิทธิของตนเท่าที่ผู้ปกครองกําหนด (4) กระบวนการพิจารณาไต่สวนคดีต่าง ๆ ให้เป็นไปตามดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่

(5) กฎหมายต้องมีความชัดเจนและมีความแน่นอนมากพอที่ประชาชนจะเข้าใจได้

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 11 ประกอบ

25 ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติของผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระ

(1) อายุไม่เกิน 70 ปี

(2) มีสุขภาพที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

(3) เคยเป็น ส.ส. เมื่อ 12 ปีก่อน

(4) จบการศึกษาระดับปริญญาตรี

(5) เป็นผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 33) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 201, 202 และ 216 กําหนดให้ ผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามทั่วไป ดังต่อไปนี้

1 มีอายุไม่ต่ำกว่า 45 ปี แต่ไม่เกิน 70 ปี

2 มีสัญชาติไทยโดยการเกิด

3 สําเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

4 มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์

5 มีสุขภาพที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

6 ไม่มีลักษณะต้องห้าม เช่น เป็นหรือเคยเป็น ส.ส. ส.ว.ข้าราชการการเมือง หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นในระยะ 10 ปีก่อนเข้ารับการคัดเลือกหรือสรรหา, เป็นผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ ฯลฯ

26 เจตจํานงของประชาชนสามารถแสดงออกได้ทางใดบ้าง

(1) ประชามติ

(2) ประชาพิจารณ์

(3) การเลือกตั้ง

(4) ข้อ 1 และ 3

(5) ข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 (คําบรรยาย) เจตจํานงของประชาชนถือเป็นที่มามูลฐานแห่งอํานาจของรัฐบาล ซึ่งประชาชนนั้นสามารถแสดงออกได้โดยการลงประชามติ (การรับร่างรัฐธรรมนูญ, การออกจากสมาชิก EU)และการเลือกตั้ง (ส.ส., ส.ว.)

27 ผู้มีสิทธิเสนอร่างพระราชบัญญัติตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 ได้แก่ข้อใด

(1) คณะรัฐมนตรี

(2) สมาชิกสภานิติบัญญัติ

(3) หัวหน้า คสช.

(4) ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวน 5,000 คน

(5) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวน 10 คน

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 53) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 133 กําหนดให้ร่างพระราชบัญญัติให้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรก่อน และจะเสนอได้ก็แต่โดย

1 คณะรัฐมนตรี

2 ส.ส. จํานวนไม่น้อยกว่า 20 คน

3 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวนไม่น้อยกว่า 10,000 คน เข้าชื่อเสนอกฎหมายตามหมวดสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย หรือหมวดหน้าที่ของรัฐ

ทั้งนี้ตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย

28 วุฒิสภาต้องพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ไม่เกี่ยวกับการเงินให้แล้วเสร็จภายในกี่วัน

(1) 30 วัน

(2) 45 วัน

(3) 60 วัน

(4) 90 วัน

(5) แล้วแต่ทําความตกลงกับรัฐบาล

ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 55) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 136 กําหนดให้ วุฒิสภาต้องพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เสนอมาโดยสภาผู้แทนราษฎรนั้นให้เสร็จภายใน 60 วัน แต่ถ้า เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 30 วัน เว้นแต่วุฒิสภา จะได้ลงมติให้ขยายเวลาออกไปเป็นกรณีพิเศษซึ่งต้องไม่เกิน 30 วัน หากวุฒิสภายังพิจารณาไม่เสร็จภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ ให้ถือว่าวุฒิสภาได้ให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัตินั้น

29 การถอดถอนบุคคลออกจากตําแหน่ง ต้องมีพฤติกรรมใดต่อไปนี้

(1) ส่อว่ากระทําผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ

(2) มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ

(3) ส่อว่าจงใจใช้อํานาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ

(4) ข้อ 1 และ 3

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 49), (คําบรรยาย) การถอดถอนบุคคลออกจากตําแหน่งตามรัฐธรรมนูญฯ 2550 ต้องมีพฤติกรรมดังต่อไปนี้

1 มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ

2 ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่

3 ส่อว่ากระทําผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ

4 ส่อว่ากระทําผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม

5 ส่อว่าจงใจใช้อํานาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย

6 ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง

30 สภานิติบัญญัติแห่งชาติซึ่งทําหน้าที่แทนทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา มีการพิจารณาพระราชบัญญัติอย่างไร

(1) 3 วาระ คือ รับหลักการ พิจารณาเรียงลําดับมาตรา และให้ความเห็นชอบ

(2) 3 วาระ คือ รับหลักการ กรรมาธิการ และให้ความเห็นชอบเรียงมาตรา

(3) 2 วาระ คือ พิจารณาเรียงมาตรา และให้ความเห็นชอบ

(4) 3 วาระ คือ พิจารณาเรียงมาตรา กรรมาธิการ และให้ความเห็นชอบ

(5) 4 วาระ คือ รับหลักการ เรียงมาตรา กรรมาธิการ และให้ความเห็นชอบ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของสภานิติบัญญัติแห่งชาตินั้นจะกระทําเป็น 3 วาระ คือ

1 รับหลักการ

2 พิจารณาเรียงลําดับมาตรา (โดยคณะกรรมาธิการที่สภาตั้ง)

3 ให้ความเห็นชอบ

31 ตําแหน่งใดที่ไม่อยู่ในอํานาจการถอดถอนของวุฒิสภา

(1) ประธานศาลฎีกา

(2) พนักงานอัยการ

(3) ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

(4) ผู้พิพากษา

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 49), (คําบรรยาย) ตําแหน่งที่อยู่ในอํานาจการถอดถอนของวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญฯ 2550 ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ส.ส. ส.ว. ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด อัยการสูงสุด ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้พิพากษาหรือตุลาการ พนักงานอัยการ ฯลฯ

32 พระราชบัญญัติในข้อใดไม่ใช่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560

(1) ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลปกครอง

(2) ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน

(3) ว่าด้วยพรรคการเมือง

(4) ว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 52) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 130 กําหนดให้มี พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ ดังต่อไปนี้

1 พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

2 พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา

3 พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง

4 พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน

5 พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ฯลฯ

33 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ รัฐสภาต้องพิจารณาในกําหนดระยะเวลาเท่าใด

(1) 60 วัน

(2) 90 วัน

(3) 120 วัน

(4) 150 วัน

(5) 180 วัน

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 52) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 132 (1) กําหนดให้ การเสนอร่าง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญให้เสนอต่อรัฐสภา และให้รัฐสภาประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณา ร่าง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายในเวลา 180 วัน หากยังพิจารณาไม่เสร็จ ภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ให้ถือว่ารัฐสภาให้ความเห็นชอบตามร่างที่เสนอ

34 หลักนิติธรรม ไม่ใช่คือข้อใด

(1) กฎหมายต้องไม่มีผลบังคับใช้ย้อนหลัง

(2) กฎหมายต้องบังคับเป็นการทั่วไปใช้กับทุกคนเสมอกัน

(3) กฎหมายที่ประกาศใช้แล้วต้องได้รับการบังคับให้สอดคล้องต้องกัน

(4) กฎหมายสามารถเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) หลักนิติธรรมมีลักษณะสําคัญ ดังนี้

1 กฎหมายต้องใช้บังคับเป็นการทั่วไปและใช้กับทุกคนเสมอภาคกัน

2 กฎหมายต้องไม่มีผลบังคับใช้ย้อนหลัง

3 กฎหมายที่ประกาศใช้แล้วต้องได้รับการบังคับให้สอดคล้องต้องกัน

4 กฎหมายต้องมีความถาวรต่อเนื่อง

5 ห้ามยกเว้นความรับผิดให้แก่การกระทําในอนาคต เป็นต้น

35 การขัดกันแห่งผลประโยชน์ ไม่ใช่คือข้อใด

(1) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยังดํารงตําแหน่งในหน่วยราชการ

(2) สมาชิกสภานิติบัญญัติยังดํารงตําแหน่งปลัดกระทรวง

(3) บุตรของผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานได้รับสัมปทานงานจากหน่วยงานนั้น ๆ (4) รัฐมนตรีแจ้ง ป.ป.ช. ว่าโอนหุ้นของบริษัทให้นิติบุคคลซึ่งจัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ผู้อื่นถือแทน

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ตัวอย่างการขัดกันแห่งผลประโยชน์ มีดังนี้

1 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยังดํารงตําแหน่งในหน่วยราชการ

2 สมาชิกสภานิติบัญญัติยังดํารงตําแหน่งปลัดกระทรวง

3 บุตรของผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานได้รับสัมปทานงานจากหน่วยงานนั้น ๆ

4 รัฐมนตรีเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท เว้นแต่ได้แจ้ง ป.ป.ช. ว่าโอนหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทดังกล่าวให้นิติบุคคลซึ่งจัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นถือแทน(รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 187 วรรค 2) ฯลฯ )

36 ตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 กรณีพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติหรือมิได้พระราชทาน คืนให้กับรัฐสภา จะสามารถประกาศเป็นกฎหมายได้หรือไม่ อย่างไร

(1) ไม่ได้ เพราะพระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอํานาจในการตราพระราชบัญญัติ (2) ได้ เมื่อรัฐสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงสองในสามของจํานวนสมาชิกทั้งหมด

(3) ไม่ได้ เพราะต้องมีพระปรมาภิไธยเท่านั้นจึงจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้

(4) ได้ เมื่อนายกรัฐมนตรีนําขึ้นทูลเกล้าอีกครั้ง และหากมิได้ลงพระปรมาภิไธยใน 30 วัน นายกรัฐมนตรี สามารถนําพระราชบัญญัตินั้นไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้

(5) ข้อ 2 และ 4

ตอบ 5 รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 146 กําหนดให้ ร่างพระราชบัญญัติใด พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบและพระราชทานคืนมายังรัฐสภา หรือเมื่อพ้น 90 วันแล้วมิได้พระราชทานคืนมา รัฐสภาต้อง ปรึกษาร่างพระราชบัญญัตินั้นใหม่ ถ้ารัฐสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนําขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายอีกครั้งหนึ่ง และหากมิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยภายใน 30 วัน ให้นายกรัฐมนตรีนําพระราชบัญญัตินั้น ประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็นกฎหมายได้เสมือนว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว

37 ข้อใดต่อไปนี้คือสิทธิที่เสียไปเมื่อไม่ไปเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550

(1) สิทธิในการยื่นเสนอกฎหมายเข้าสู่กระบวนการนิติบัญญัติ

(2) สิทธิสมัครรับเลือกเป็นกํานันและผู้ใหญ่บ้าน

(3) สิทธิคัดค้านการสรรหาผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระ

(4) สิทธิในการไปเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งต่อไป

(5) สิทธิในการไปเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น

ตอบ 2 (คําบรรยาย) สิทธิที่เสียไปเมื่อไม่ไปเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฯ 2550 มาตรา 72 และ พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่ง ส.ว. 2550 มาตรา 26 มีดังต่อไปนี้

1 สิทธิยื่นคําร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ส.ส. และ ส.ว.

2 สิทธิสมัครรับเลือกตั้งและสิทธิได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการสรรหาเป็น ส.ส. ส.ว.สมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น

3 สิทธิสมัครรับเลือกเป็นกํานันและผู้ใหญ่บ้านตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่

38 ข้อใดคือกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคําแนะนําและยินยอมของรัฐสภา

(1) พระราชกําหนด

(2) พระราชกฤษฎีกา

(3) พระราชบัญญัติ

(4) พระราชอัธยาศัย

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 53), (คําบรรยาย) พระราชบัญญัติ หมายถึง กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคําแนะนําและยินยอมของรัฐสภา กล่าวคือ เป็นกฎหมายที่ต้อง ผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบของรัฐสภา คือ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาก่อน จึงนํา ขึ้นทูลเกล้าฯ ให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้

39 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีวาระการดํารงตําแหน่งกี่ปี

(1) 7 ปี

(2) 6 ปี

(3) 5 ปี

(4) 4 ปี

(5) 3 ปี

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 37) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 232 และ 233 กําหนดให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติประกอบด้วยกรรมการจํานวน 9 คน ซึ่ง พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคําแนะนําของวุฒิสภาจากผู้ซึ่งได้รับการสรรหาโดยคณะกรรมการ สรรหา โดยมีวาระการดํารงตําแหน่ง 7 ปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดํารงตําแหน่งได้เพียงวาระเดียว

40 ตําแหน่งใดต่อไปนี้ที่ไม่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สิน

(1) ส.ส. ทุกคน

(2) ส.ว. ทุกคน

(3) อธิการบดี

(4) ปลัดกระทรวง

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ผู้ที่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินต่อ ป.ป.ช. ได้แก่ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ส.ส. ส.ว. ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ปลัดกระทรวงอธิการบดี รองอธิการบดี ฯลฯ

41 รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 ให้สิทธิประชาชนในการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้อย่างไร

(1) ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าชื่อกันไม่น้อยกว่า 50,000 ชื่อ เสนอขอแก้ไข

(2) ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าซื้อกันไม่น้อยกว่า 10,000 ชื่อ เสนอขอแก้ไข

(3) ประชาชนเข้าชื่อกันไม่น้อยกว่า 50,000 ชื่อ เสนอขอแก้ไข

(4) ประชาชนเข้าชื่อกันไม่น้อยกว่า 10,000 ชื่อ เสนอขอแก้ไข

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ผู้มีสิทธิเสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญฯ 2560 มีดังนี้

1 คณะรัฐมนตรี

2 ส.ส. จํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร

3 ส.ส. และ ส.ว. จํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา

4 ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวนไม่น้อยกว่า 50,000 คน ตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย

42 ข้อใดเป็นเกณฑ์การวัดความเป็นประชาธิปไตย

(1) ความพร้อมรับผิดชอบทางการเมือง

(2) ความเข้มแข็งของภาคประชาชน

(3) ความสามารถในการตรวจสอบนักการเมืองของ ป.ป.ช.

(4) ข้อ 1 และ 3

(5) ข้อ 1 และ 2

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 14) เกณฑ์การวัดความเป็นประชาธิปไตย ได้แก่

1 ความพร้อมรับผิดชอบทางการเมือง (Political Accountability)

2 การแข่งขันทางการเมือง (Political Competition)

3 ความมีเสรีภาพทางการเมือง (Political Freedom)

4 ความเสมอภาคทางการเมือง (Political Equality)

43 การปฏิรูปประเทศ เป็นหมวดหนึ่งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใด (1) พ.ศ. 2540

(2) พ.ศ. 2550

(3) พ.ศ. 2557

(4) พ.ศ. 2560

(5) ไม่ปรากฏในรัฐธรรมนูญทุกฉบับ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) “การปฏิรูปประเทศ” เป็นหมวด 16 ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ซึ่งการปฏิรูปประเทศตามหมวดนี้ต้องการดําเนินการในด้านต่าง ๆ ให้เกิดผลดังนี้ การเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม การศึกษา เศรษฐกิจและด้านอื่น ๆ

44 หลักการประชาพิจารณ์ไม่ใช่ข้อใดต่อไปนี้

(1) ต้องมีผู้เชี่ยวชาญมาให้ข้อมูลกับประชาชน

(2) รัฐตัดสินใจดําเนินโครงการแล้วจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน (3) รัฐผูกพันต้องปฏิบัติตามความคิดเห็นของประชาชน

(4) ข้อ 1 และ 3

(5) ข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 (คําบรรยาย) หลักการของการทําประชาพิจารณ์ มีดังนี้

1 จะต้องกระทําก่อนการตัดสินใจดําเนินโครงการ

2 มีการคัดเลือกผู้เข้าร่วมประชาพิจารณ์ที่สะท้อนสัดส่วนที่แท้จริงของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

3 มีผู้เชี่ยวชาญมาให้ข้อมูลกับประชาชน

4 การดําเนินการประชาพิจารณ์ต้องเป็นไปโดยเที่ยงตรงและเปิดเผย

5 ข้อสรุปจากการทําประชาพิจารณ์เป็นเพียงข้อเสนอแนะ หน่วยงานของรัฐไม่จําเป็นต้องปฏิบัติตาม

45 ข้อใดคือประชาธิปไตยทางตรง

(1) การรับฟังความคิดเห็นจากประธานชุมชน

(2) การเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

(3) การสรรหาวุฒิสภา

(4) การรับฟังข่าวสาร

(5) การไปลงประชามติ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ประชาธิปไตยทางตรง (Direct Democracy) เป็นรูปแบบการปกครองโดยที่พลเมืองสามารถมีส่วนร่วมกับการตัดสินใจใด ๆ ได้โดยตรง โดยไม่ต้องอาศัยคนกลางหรือผู้ทําหน้าที่แทนตน เช่น การไปลงประชามติ การริเริ่มออกกฎหมาย การถอดถอนผู้ได้รัน คือกตั้ง เป็นต้น

46 การกําหนดจํานวนประชาชนที่มีสิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมายน้อยลง แสดงนัยยะอะไร

(1) อํานาจของประชาชนมากขึ้น

(2) อํานาจของประชาชนน้อยลง

(3) โอกาสการเข้ามีส่วนร่วมในการปกครองน้อยลง

(4) ไม่มีนัยยะสําคัญ

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (คําบรรยาย) อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน (Popular Sovereignty) สามารถแสดงออกผ่านกฎหมายรัฐธรรมนูญได้ในหลายลักษณะ เช่น

1 กําหนดสัดส่วนของตัวแทนประชาชนในรัฐสภาให้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงมากที่สุด

2 กําหนดจํานวนประชาชนที่มีสิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมายมีจํานวนน้อยลง (แสดงนัยยะสําคัญว่าอํานาจของประชาชนมากขึ้น) เป็นต้น

47 ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าชื่อกันจํานวนเท่าใด จึงสามารถเสนอเรื่องให้ถอดถอนบุคคลออกจากตําแหน่งได้

(1) ไม่น้อยกว่า 10,000 คน

(2) ไม่น้อยกว่า 20,000 คน

(3) ไม่น้อยกว่า 50,000 คน

(4) ประชาชนไม่มีสิทธิยื่นถอดถอน

(5) ไม่จํากัดจํานวน

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 49), (คําบรรยาย) ผู้มีสิทธิเสนอเรื่องให้ถอดถอนบุคคลออกจากตําแหน่งได้ตามรัฐธรรมนูญฯ 2550 มีดังนี้

1 ส.ส. จํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร

2 ส.ว. จํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา

3 ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวนไม่น้อยกว่า 20,000 คน

48 ร่างพระราชบัญญัติที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว หลังได้รับร่างพระราชบัญญัตินั้นจากสภาแล้ว นายกรัฐมนตรีต้องรอกี่วัน ก่อนนําขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายให้พระมหากษัตริย์พิจารณา

(1) 20 วัน

(2) 15 วัน

(3) 10 วัน

(4) 5 วัน

(5) ให้นําขึ้นทูลเกล้าในวันถัดไปทันที

ตอบ 4 รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 145 กําหนดให้ ร่างพระราชบัญญัติที่ได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีรอไว้ 5 วันนับแต่วันที่ได้รับร่างพระราชบัญญัตินั้นจากรัฐสภา ถ้าไม่มีกรณีต้องดําเนินการตามมาตรา 148 ให้นําขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายภายใน 20 วันนับแต่วันพ้นกําหนดเวลาดังกล่าว

49 การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของสภาผู้แทนราษฎร โดยการยื่นญัตติขออภิปรายไม่ไว้วางใจตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 นั้นต้องให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าชื่อกันจํานวนเท่าใดของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่อยู่ในสภาผู้แทนฯ

(1) 2 ใน 3

(2) กึ่งหนึ่ง

(3) 1 ใน 5

(4) 3 ใน 5

(5) 1 ใน 3

ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 46) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 151 วรรค 1 กําหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของ สภาผู้แทนราษฎร มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะ

50 รัฐธรรมนูญฉบับใดที่ถูกเรียกว่า “รัฐธรรมนูญใต้ทุ่ม”

(1) 2489

(2) 2490

(3) 2502

(4) 2517

(5) 2534

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 71) รัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) 2490 ถูกเรียกว่า รัฐธรรมนูญใต้ตุ่มหรือตุ่มแดง ทั้งนี้เนื่องจากขณะที่ทําการร่าง น.อ.กาจ กาจสงคราม ผู้อํานวยการร่างได้นําไป ซ่อนไว้ใต้ตุ่มในบ้าน โดยเกรงว่าจะถูกเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลค้นพบและกล่าวหาว่าเป็นกบฏ

51 วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เป็นการปฏิวัติ/รัฐประหารของใคร

(1) คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ

(2) คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

(3) คณะรักษาความสงบแห่งชาติ

(4) คณะปฏิรูปการปกครองและสร้างความปรองดองแห่งชาติ

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 24, 64) การรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เป็นการรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งประกอบด้วย กองทัพบก กองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และสํานักงานตํารวจแห่งชาติ

52 “House of Lords” เป็นสภาสูงของประเทศอะไร

(1) สหรัฐอเมริกา

(2) ฝรั่งเศส

(3) จีน

(4) อังกฤษ

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 78 – 80) รัฐสภาของประเทศอังกฤษ ประกอบด้วย 2 สภา คือ

1 วุฒิสภา (สภาสูง) ซึ่งมีชื่อเรียกเฉพาะว่า “สภาขุนนาง” (House of Lords)

2 สภาผู้แทนราษฎร (สภาล่าง) ซึ่งมีชื่อเรียกเฉพาะว่า “สภาสามัญชน” (House of Commons)

53 ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา ได้มาจากการเลือกของใคร

(1) วุฒิสภา

(2) ผู้แทนราษฎร

(3) ประชาชนโดยตรง

(4) คณะผู้เลือกตั้ง

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 80), (คําบรรยาย) ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกานั้นมาจากการเลือกตั้งโดยอ้อมผ่านกลุ่มคนที่เรียกว่า “คณะผู้เลือกตั้ง” (Electoral College) ทําหน้าที่ตัดสินชี้ขาดว่าใครจะเป็นผู้นําประเทศ แทนการให้ประชาชนเป็นผู้เลือกตั้งโดยตรงโดยแต่ละรัฐจะมีจํานวนคณะผู้เลือกตั้งไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับจํานวนประชากรของรัฐนั้น ๆ

54 ข้อใดไม่ใช่หลักการขององค์กรอิสระ

(1) มีอิสระในเรื่องงบประมาณ

(2) ปราศจากอคติ

(3) มีความเที่ยงธรรม

(4) ไม่ฝักใฝ่ทางการเมือง

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 32 – 33) หลักการสําคัญขององค์กรอิสระ ได้แก่

1 ความเป็นอิสระ เช่น มีอิสระในเรื่องงบประมาณ ที่มาและการเข้าสู่ตําแหน่งการกําหนดนโยบายและการดําเนินงาน เป็นต้น

2 ความเป็นกลาง เช่น ไม่ฝักใฝ่ทางการเมือง ปราศจากอคติ เป็นต้น

3 ดํารงความยุติธรรม เช่น มีความเที่ยงธรรม ชอบธรรม เป็นต้น

55 “พฤฒสภา” คือชื่อเดิมขององค์กรใด

(1) องคมนตรี

(2) วุฒิสภา

(3) สภาผู้แทนราษฎร

(4) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ

(5) สภาปฏิรูปแห่งชาติ

ตอบ 2 หน้า 138, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 23) วุฒิสภาเกิดขึ้นครั้งแรกในชื่อ “พฤฒสภา”ซึ่งกําหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฯ 2489 และต่อมาในรัฐธรรมนูญฯ 2490 จึงเปลี่ยนเป็น “วุฒิสภา” ” โดยพบว่าที่มาของ ส.ว. ตั้งแต่เริ่มปรากฏจนกระทั่งปัจจุบันนั้นรัฐธรรมนูญส่วนใหญ่จะกําหนดให้ มาจากการแต่งตั้ง ยกเว้นรัฐธรรมนูญฯ 2540 (มาจากการเลือกตั้ง) รัฐธรรมนูญฯ 2550 (มาจาก การเลือกตั้งและสรรหา) และรัฐธรรมนูญฯ 2560 (มาจากการเลือกตั้งทางอ้อม)

56 ข้อไม่ใช่หน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560

(1) ระงับการใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง

(2) กําหนดวันเลือกตั้งและจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น

(3) ถอนสิทธิการสมัครรับเลือกตั้ง

(4) ยกเลิกการเลือกตั้ง

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 36) อํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฯ 2560 มีดังนี้

1 จัดหรือดําเนินการให้มีการจัดการเลือกตั้ง ส.ส. การเลือก ส.ว. การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น และการออกเสียงประชามติ

2 ควบคุมดูแลการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม

3 ยกเลิกการเลือกตั้งหรือการเลือก หรือการออกเสียงประชามติ

4 ระงับการใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง

5 ยื่นคําร้องต่อศาลฎีกาให้สั่งเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ฯลฯ

57 ข้อใดเป็นคุณสมบัติของคณะกรรมการ ป.ป.ช.

(1) เป็นผู้มีความซื่อสัตย์เป็นที่ประจักษ์

(2) รับราชการในตําแหน่งอธิบดีผู้พิพากษามาแล้ว 3 ปี

(3) เป็นผู้มีความชํานาญด้านการเงินการคลังมาแล้ว 5 ปี

(4) เคยประกอบวิชาชีพกฎหมายมาแล้ว 10 ปี

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 37 – 38) คุณสมบัติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีดังนี้

1 เป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์

2 รับราชการหรือเคยรับราชการในตําแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีผู้พิพากษามาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี

3 เป็นผู้มีความชํานาญด้านบริหาร การเงิน การคลัง การบัญชี หรือการบริหารกิจการวิสาหกิจ ในระดับไม่ต่ำกว่าผู้บริหารระดับสูงของบริษัทมหาชนจํากัดมาแล้วไม่น้อยกว่า 20 ปี

4 เป็นหรือเคยเป็นผู้ประกอบวิชาชีพที่มีกฎหมายรองรับ โดยประกอบวิชาชีพอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 20 ปีนับถึงวันที่ได้รับการเสนอชื่อ ฯลฯ

58 กบฎนายสิบ เกิดขึ้นในปี พ.ศ. ใด

(1) 2476

(2) 2478

(3) 2481

(4) 2491

(5) 2492

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 63) กบฏที่เกิดขึ้นภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ได้แก่

1 กบฏบวรเดช (11 ตุลาคม 2476)

2 กบฏนายสิบ (3 สิงหาคม 2478)

3 กบฏพระยาทรงสุรเดช (29 มกราคม 2481)

4 กบฏเสนาธิการ (1 ตุลาคม 2491)

5 กบฏวังหลวง (26 กุมภาพันธ์ 2492) ฯลฯ

59 ตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 สภานิติบัญญัติแห่งชาติสามารถควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินโดย

(1) การอภิปรายและลงมติไม่ไว้วางใจ

(2) การอภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติ

(3) การประชุมลับ

(4) การตั้งกระทู้ถาม

(5) ข้อ 2 และ 4

ตอบ 5 รัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) 2557 มาตรา 16 กําหนดให้ ในที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติสมาชิกทุกคนมีสิทธิตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีในเรื่องใดอันเกี่ยวกับงานในหน้าที่ได้ เมื่อมีปัญหาสําคัญ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติจํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมด จะเข้าชื่อ เสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อซักถามข้อเท็จจริงจากคณะรัฐมนตรีก็ได้ แต่จะลงมติไว้วางใจ หรือไม่ไว้วางใจมิได้

60 อริสโตเติลไม่นิยมชมชอบแนวการปกครองแบบใด

(1) ราชาธิปไตย

(2) คณาธิปไตย

(3) อภิชนาธิปไตย

(4) Polity

(5) ประชาธิปไตย

ตอบ 5 (คําบรรยาย) อริสโตเติล (Aristotle) ไม่นิยมชมชอบแนวการปกครองแบบประชาธิปไตย(Democracy) เพราะเชื่อว่าการปกครองโดยคนหลายคนโดยเฉพาะคนจน ซึ่งเป็นเสียงส่วนใหญ่นั้นจะทําให้ขาดความมีระเบียบวินัย และก่อให้เกิดความวุ่นวายในสังคม

 

จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถามข้อ

61 – 70

(1) ถูก

(2) ผิด

 

61 หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 อํานาจของนายกรัฐมนตรีมาตรา 44 ตามรัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ยังคงอยู่

ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 วรรค 2 กําหนดให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยังคงมีหน้าที่และอํานาจตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) 2557 นั่นแสดงว่า หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญฯ 2560 อํานาจของนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะหัวหน้า คสช. มาตรา 44 ตามรัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ยังคงอยู่

62 การแก้ไขรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 จะกระทําไม่ได้ถ้ามีวุฒิสมาชิกเห็นชอบจํานวนน้อยกว่า 1 ใน 3 ของวุฒิสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่ของวุฒิสภา

ตอบ 1 รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 256 (3) กําหนดให้ การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่ 1 ขั้นรับหลักการ ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วย ในการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา ซึ่งในจํานวนนี้ต้องมีสมาชิกวุฒิสภา (วุฒิสมาชิก) เห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา

63 พระราชกฤษฎีกาสามารถออกมาเพื่อใช้กับฝ่ายบริหารเพียงอย่างเดียวไม่บังคับกับประชาชนทั่วไปได้

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 58) การตราพระราชกฤษฎีกา แบ่งออกเป็น 3 กรณี คือ

1 พระราชกฤษฎีกาที่รัฐธรรมนูญกําหนดให้ตราพระราชกฤษฎีกาในกิจการที่สําคัญอันเกี่ยวกับ ฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ

2 พระราชกฤษฎีกาที่ออกมาเพื่อใช้กับฝ่ายบริหารเพียงอย่างเดียวไม่บังคับใช้กับประชาชนทั่วไป

3 พระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามกฎหมายแม่บท

64 โทมัส ฮอบส์ เชื่อว่าเมื่อประชาชนมอบอํานาจให้องค์อธิปัตย์แล้วสามารถเพิกถอนได้

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 9) โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) เชื่อว่า เมื่อทุกคนให้อํานาจกับองค์อธิปัตย์แล้วไม่มีสิทธิที่จะต่อต้านอํานาจของเขาไม่ว่าเขาจะควบคุมชีวิตเรา มากแค่ไหนก็ตาม เพราะองค์อธิปัตย์เท่านั้นที่จะทําให้เราไม่ต้องกลับไปอยู่ในภาวะธรรมชาติอีก ดังนั้นสัญญาประชาคมจึงเป็นสัญญาที่มิอาจถอนคืน ต่อต้าน ตั้งคําถามหรือตรวจสอบใด ๆ ได้

65 “หมุดก่อกําเนิดรัฐธรรมนูญหรือหมุดคณะราษฎร” เคยถูกขุดขึ้นมาก่อน

ตอบ 1 (คําบรรยาย) หมุดก่อกําเนิดรัฐธรรมนูญหรือหมุดคณะราษฎร เป็นหมุดทองเหลืองฝังอยู่กับพื้นถนนบนลานพระบรมรูปทรงม้าด้านสนามเสือป่า ซึ่งภายหลังได้ถูกปรับเปลี่ยนและเคยถูกขุด ขึ้นมาหลายครั้ง เช่น มีการนําสีดํามาราดทับ ถูกขีดจนเป็นรอยจํานวนมาก เคยถูกขุดและหายไปใน สมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และถูกนํากลับมาในสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นต้น

66 รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 ข้าราชการไม่สามารถดํารงตําแหน่งวุฒิสภาได้ ยกเว้นเฉพาะในวาระแรกเท่านั้น

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 24), (คําบรรยาย) ลักษณะต้องห้ามของผู้ดํารงตําแหน่งสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญฯ 2560 มีดังนี้

1 เป็นข้าราชการ

2 เป็นสมาชิกพรรคการเมือง

3.เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ฯลฯ

ยกเว้นเฉพาะในวาระแรก เท่านั้นที่สมาชิกวุฒิสภาสามารถเป็นข้าราชการ/ดํารงตําแหน่งหรือหน้าที่ในหน่วยราชการหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ หรือตําแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่นผู้บริหารท้องถิ่นได้

67 จอห์น ล็อค และโทมัส ฮอบส์ เห็นว่าสภาพธรรมชาติ (State of Nature) เป็นสภาวะสงคราม

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 9) โทมัส ฮอบส์ เห็นว่า ภาวะธรรมชาติของมนุษย์นั้นเป็นภาวะสงคราม แต่สําหรับ จอห์น ล็อค กลับเห็นว่าภาวะธรรมชาติของมนุษย์เป็นภาวะที่มนุษย์มีความสมบูรณ์และมีเสรีภาพเต็มที่ที่จะใช้ชีวิตอย่างที่ต้องการโดยคนอื่นไม่สามารถเข้ามารุกล้ำได้

68 รัฐสภาของอังกฤษสามารถยกเลิกกฎหมายของรัฐสภาสกอตแลนด์ได้

ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐสภาสหราชอาณาจักร (อังกฤษ) สามารถยกเลิกกฎหมายของสถาบันนิติบัญญัติลําดับรองได้ ซึ่งสถาบันนิติบัญญัติลําดับรองได้แก่ รัฐสภาสกอตแลนด์ รัฐสภาแห่งเวลส์ และรัฐสภาไอร์แลนด์เหนือ

69 องค์กรที่มีอํานาจถอดถอนนายกรัฐมนตรีคือวุฒิสภา

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 49) รัฐธรรมนูญฯ 2550 มาตรา 270 วรรค 1 กําหนดให้ผู้ดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ส.ส. ส.ว. ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด หรืออัยการสูงสุด. วุฒิสภามีอํานาจถอดถอนผู้นั้นออกจากตําแหน่งได้

70 นายกรัฐมนตรีเป็นประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในการประชุมเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2560 นั้น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ได้มีคําสั่งแต่งตั้งกรรมการ ยุทธศาสตร์ชาติ 6 ด้าน จํานวน 70 คน มีวาระการดํารงตําแหน่ง 5 ปี โดยให้ได้รับค่าตอบแทนค่าใช้จ่ายและประโยชน์ตอบแทนอื่นตามที่คณะรัฐมนตรีกําหนด

 

ข้อ 71 – 87 เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับคณะกรรมาธิการ ให้นักศึกษาพิจารณา 2 ข้อความ แล้วใช้ตัวเลือกต่อไปนี้

(1) ถ้าข้อความที่ 1 ถูก และข้อความที่ 2 ผิด

(2) ถ้าข้อความที่ 1 ผิด และข้อความที่ 2 ถูก

(3) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ถูกทั้งสองข้อ

(4) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ผิดทั้งสองข้อ

 

71 (1) รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 129 บัญญัติให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา มีอํานาจเลือกสมาชิกของแต่ละสภาตั้งเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ

(2) รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 128 บัญญัติให้กรรมาธิการสามัญซึ่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด ต้องมีจํานวนตามหรือใกล้เคียงกับอัตราส่วนของจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละพรรคการเมืองที่มีอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร

ตอบ 1 รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 129 วรรค 1 และ 8 กําหนดให้ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีอํานาจเลือกสมาชิกเต่ละสภาตั้งเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ… กรรมาธิการสามัญซึ่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด ต้องมีจํานวนตามหรือใกล้เคียงกับอัตราส่วนของ

– จํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละพรรคการเมืองที่มีอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร

72 (1) การดําเนินการของคณะกรรมาธิการสามัญประจําสภาผู้แทนราษฎร ต้องเป็นไปตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรและตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 128 วรรคหนึ่ง

(2) กรณีคณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ และผู้พิการ จะต้องดําเนินการตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 128 วรรคสอง ด้วย

ตอบ 3 รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 128 วรรค 1 และ 2 กําหนดให้ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีอํานาจตราข้อบังคับการประชุมเกี่ยวกับการเลือกและการปฏิบัติหน้าที่ของประธานสภา รองประธานสภา เรื่องหรือกิจการอันเป็นหน้าที่และอํานาจของคณะกรรมาธิการสามัญแต่ละชุด… ในส่วนที่เกี่ยวกับ การตั้งกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรวินิจฉัยว่า มีสาระสําคัญเกี่ยวกับ เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ หรือคนพิการหรือทุพพลภาพ ต้องกําหนดให้ บุคคลประเภทดังกล่าวหรือผู้แทนองค์กรเอกชนที่ทํางานเกี่ยวกับบุคคลประเภทนั้นโดยตรงร่วมเป็นกรรมาธิการวิสามัญด้วย

73 (1) องค์ประกอบที่สําคัญของฝ่ายนิติบัญญัติในรูปรัฐสภาประการหนึ่งคือ การแต่งตั้งคณะกรรมาธิการ : (Committee) เพื่อพิจารณาปัญหากฎหมายเฉพาะเรื่อง หรือตั้งขึ้นมาเพื่อสอดคล้องกับงานหลายฝ่ายของรัฐบาล

(2) คณะกรรมาธิการของรัฐสภามีบทบาทเท่ากับเป็นรัฐสภาขนาดเล็ก (Little Legislature)

ตอบ 3 หน้า 77, (คําบรรยาย) องค์ประกอบที่สําคัญของฝ่ายนิติบัญญัติในรูปรัฐสภาประการหนึ่ง คือ การแต่งตั้งคณะกรรมาธิการ (Committee) เพื่อพิจารณาปัญหากฎหมายเฉพาะเรื่อง หรือตั้งขึ้นมาเพื่อสอดคล้องกับงานหลายฝ่ายของรัฐบาล โดยคณะกรรมาธิการของรัฐสภานั้นจะมีบทบาทคล้ายกับรัฐสภาขนาดเล็ก (Little Legislature)

74 (1) การแบ่งประเภทของคณะกรรมาธิการในรัฐสภา ได้แบ่งตามกิจกรรมที่ถือปฏิบัติอยู่ เช่น

1 คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการร่างกฎหมาย หรือการพิจารณาร่างกฎหมาย

2 คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารการพัฒนา

3 คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่ในการสอบสวน ตรวจตรา และสอดคล้องการปฏิบัติงานรัฐบาล

(2) คณะกรรมาธิการในรัฐสภา อาจมีการแต่งตั้งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1 คณะกรรมาธิการสามัญ

2 คณะกรรมาธิการวิสามัญ

ตอบ 2 หน้า 77, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 27, 31) คณะกรรมาธิการในรัฐสภามี 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ คณะกรรมาธิการสามัญ และคณะกรรมาธิการวิสามัญ นอกจากนี้เราอาจจะแบ่งประเภท ของคณะกรรมาธิการในรัฐสภาได้ตามกิจกรรมที่ถือปฏิบัติอยู่ ดังนี้

1 คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการร่างพระราชบัญญัติ หรือการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ

2 คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานคลัง

3 คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่ในการสอบสวน ตรวจตราสอดส่องการปฏิบัติงานของรัฐบาล เป็นต้น

75 (1) ในกลุ่มประเทศกําลังพัฒนา คณะกรรมาธิการมักมีอิทธิพลต่อกระบวนการนิติบัญญัติอย่างชัดแจ้งโดยเฉพาะความสามารถในการทํางานอย่างรวดเร็ว

(2) เหตุผลของการที่ต้องมีคณะกรรมาธิการ เนื่องจากการทํางานของรัฐสภาตามความเป็นจริงนั้นจําเป็นต้องผสมผสานหลักทางเทคนิคกับหลักความต้องการของนักการเมือง

ตอบ 4  (คําบรรยาย) เหตุผลของการที่ต้องมีคณะกรรมาธิการมีอยู่ 4 ประการ คือ

1 เพื่อการแสวงหาข้อมูลและกลั่นกรองเรื่องให้สภา

2 จําเป็นต้องผสมผสานหลักทางเทคนิคกับความต้องการของราษฎร

3 เป็นการละลายความเป็นพรรคการเมือง

4 การสอบสวนข้อเท็จจริงและรับเรื่องราวร้องทุกข์ (ถือเป็น “หน้าที่พิเศษ” ของคณะกรรมาธิการในประเทศไทย) ซึ่งในกลุ่มประเทศกําลังพัฒนานั้นพบว่า คณะกรรมาธิการมักไม่ค่อยมีอิทธิพลต่อกระบวนการนิติบัญญัติมากนัก เนื่องจากความสามารถในการทํางานค่อนข้างต่ำ

76 (1) การทํางานในขั้น “คณะกรรมาธิการ” ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ หรือคณะกรรมาธิการวิสามัญ แม้จะเป็นสมาชิกสภาต่างจากพรรคการเมืองก็ตาม เมื่อต้องมาทํางานในกรรมาธิการชุดเดียวกันมักจะมีบรรยากาศของความปรองดอง

(2) “หน้าที่พิเศษ” ที่ถือว่าเป็นหน้าที่ประจําตามปกติธรรมดาของคณะกรรมาธิการในประเทศไทย คือ การแสวงหาข้อมูลและกลั่นกรองเรื่องให้สภา

ตอบ 1 (คําบรรยาย) “การละลายความเป็นพรรคการเมือง” หนึ่งในเหตุผลของการที่ต้องมี

– คณะกรรมาธิการนั้นพบว่า การทํางานในขั้นคณะกรรมาธิการ ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ หรือคณะกรรมาธิการวิสามัญ แม้จะเป็นสมาชิกสภาต่างจากพรรคการเมืองก็ตาม เมื่อต้องมาทํางานในกรรมาธิการชุดเดียวกันมักจะมีบรรยากาศของความปรองดอง (ดูคําอธิบายข้อ 75 ประกอบ)

77 (1) การแต่งตั้งกรรมาธิการเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมาธิการทั่วโลกมีอยู่ 2 วิธีด้วยกัน คือ

1 แต่งตั้งโดยผู้ที่มีอํานาจในการบังคับบัญชาของรัฐสภา

2 แต่งตั้งโดยรัฐสภา

(2) การปฏิบัติงานของคณะกรรมาธิการ ไม่ถือว่าเป็นเอกสิทธิ์ที่ผู้ใดจะนําไปฟ้องร้องในทางใดมิได้

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การแต่งตั้งกรรมาธิการเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมาธิการทั่วโลกมีอยู่ 3 วิธีด้วยกัน คือ

1 แต่งตั้งโดยผู้ที่มีอํานาจในการบังคับบัญชาของรัฐสภา

2 แต่งตั้งโดยคณะกรรมาธิการพิเศษที่มีอํานาจในการคัดเลือก

3 แต่งตั้งโดยรัฐสภา ซึ่งการปฏิบัติงานของคณะกรรมาธิการนั้นถือว่าเป็นเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาดผู้ใดจะนําไปฟ้องร้องในทางใด ๆ มิได้

78 (1) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกาได้เปิดโอกาสให้มีการใช้ตําแหน่งสมาชิกคณะกรรมาธิการ เป็นรางวัลตอบแทนแก่สมาชิกสภาอยู่แทนทําหน้าที่เป็นผลประโยชน์แก่พรรคการเมืองได้

(2) กรรมาธิการแต่ละคณะในสภาคองเกรส จะได้รับเลือกเข้าดํารงตําแหน่งกรรมาธิการคณะใดคณะหนึ่งขึ้นอยู่กับความสมัครใจของสมาชิก ความเหมาะสมต่อหน้าที่ ความมีอาวุโสเป็นหลัก

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกาได้เปิดโอกาสให้มีการใช้ “ตําแหน่งสมาชิกคณะกรรมาธิการ” เป็นรางวัลตอบแทนแก่สมาชิกสภาอยู่แทนทําหน้าที่เป็น ผลประโยชน์แก่พรรคการเมืองได้ ส่วนคณะกรรมาธิการแต่ละคณะในสภาคองเกรสนั้นจะ ได้รับเลือกเข้าดํารงตําแหน่งกรรมาธิการคณะใดคณะหนึ่งขึ้นอยู่กับความสมัครใจของสมาชิก ความเหมาะสมต่อหน้าที่ และความมีอาวุโสเป็นหลัก

79 (1) ในระบบรัฐสภาของสหรัฐอเมริกา หากเป็นร่างรัฐบัญญัติธรรมดาเข้าสู่คณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องแล้วคณะกรรมาธิการจะสามารถทําการจัดประชุมที่เรียกว่า การประชุมลับ (Executive Session)เพื่อที่จะกําหนดระเบียบวาระได้

(2) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกา จะประกอบด้วยคณะกรรมาธิการสามัญ คณะกรรมาธิการวิสามัญคณะกรรมาธิการร่วม คณะกรรมาธิการร่วมกันของรัฐสภา และคณะกรรมาธิการเต็มสภา

ตอบ 2 หน้า 84, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 84), (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกา มี 5 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการสามัญ

2 คณะกรรมาธิการวิสามัญ

3 คณะกรรมาธิการร่วม

4 คณะกรรมาธิการร่วมกันของรัฐสภา

5 คณะกรรมาธิการเต็มสภา ซึ่งในระบบรัฐสภาของสหรัฐฯ หากเป็นร่างรัฐบัญญัติที่มีความสลับซับซ้อน (เรื่องใหญ่ เรื่องที่ประชาชนสนใจมาก) เข้าสู่คณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องแล้ว คณะกรรมาธิการจะสามารถทําการจัดประชุมที่เรียกว่า การประชุมลับ (Executive Session) เพื่อที่จะกําหนดระเบียบวาระได้

80 (1) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาอังกฤษ ประกอบด้วยคณะกรรมาธิการเต็มสภา คณะกรรมาธิการสามัญคณะกรรมาธิการร่วม และคณะกรรมาธิการร่วมพระราชบัญญัติมหาชน

(2) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาอังกฤษยังมีคณะกรรมาธิการชุดพิเศษชุดหนึ่ง เรียกว่า คณะกรรมาธิการสามัญ สกอต (Scottish Standing Committee) ซึ่งมีกรรมาธิการทุกคนเป็นชาวสกอต และทําหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับสกอตแลนด์เท่านั้น

ตอบ 2 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาอังกฤษ มี 5 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการเต็มสภา

2 คณะกรรมาธิการสามัญ

3 คณะกรรมาธิการวิสามัญ

4 คณะกรรมาธิการร่วม

5 คณะกรรมาธิการร่างพระราชบัญญัติเอกชน

นอกจากนี้ยังมีคณะกรรมาธิการชุดพิเศษชุดหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมาธิการสามัญสกอต” (Scottish Standing Committee) ซึ่งมีกรรมาธิการทุกคนเป็นชาวสกอต และทําหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับสกอตแลนด์เท่านั้น

81 (1) คณะกรรมาธิการวิสามัญ (Select Committee) ของรัฐสภาอังกฤษ สามารถแบ่งย่อยได้ 2 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการสมัยประชุม

2 คณะกรรมาธิการชั่วคราว

(2) คณะกรรมาธิการร่วม (Joint Committee) ของรัฐสภาอังกฤษ จะเป็นคณะกรรมาธิการที่ได้รับแต่งตั้งมาจากสภาสามัญและสภาขุนนาง เพื่อร่วมกันพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ไม่เกี่ยวกับการเมือง

ตอบ 2 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการวิสามัญ (Select Committee) ของรัฐสภาอังกฤษ สามารถแบ่งย่อยได้ 3 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการสมัยประชุม

2 คณะกรรมาธิการชั่วคราว

3 คณะกรรมาธิการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ

ส่วนคณะกรรมาธิการร่วม (Joint Committee) ของรัฐสภาอังกฤษนั้นจะเป็นคณะกรรมาธิการที่ได้รับแต่งตั้งมาจากสภาสามัญและสภาขุนนางเพื่อร่วมกันพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ไม่เกี่ยวกับการเมือง

82 (1) ระบบคณะกรรมาธิการของฝรั่งเศส จะประกอบด้วยคณะกรรมาธิการสามัญ คณะกรรมาธิการวิสามัญและคณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุม

(2) คณะกรรมาธิการสามัญของฝรั่งเศส เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบร่างกฎหมายตามที่รัฐบาลหรือสภาร้องขอให้พิจารณา

ตอบ 1 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการของฝรั่งเศส มี 3 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการสามัญ เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาเรื่องหลัก ๆ

2 คณะกรรมาธิการวิสามัญ เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบร่างกฎหมายตามที่รัฐบาลหรือสภาร้องขอให้พิจารณา

3 คณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุม เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อที่สภาจะสามารถดําเนินการสอบสวนหรือรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง และเสนอข้อสรุปต่อสภา ซึ่งมักเข้าไป เกี่ยวข้องกับคดีที่สําคัญและดําเนินงานเดียวกับกระทรวงการยุติธรรม และจะถูกยุบทันทีที่ศาลได้ดําเนินคดีในข้อเท็จจริงที่คณะกรรมาธิการพิจารณาอยู่

83 (1) คณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุมของฝรั่งเศส เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อที่สภาจะสามารถดําเนินการสอบสวนหรือรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง และเสนอข้อสรุปต่อประธานาธิบดี

(2) คณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุมของฝรั่งเศส มักเข้าไปเกี่ยวข้องกับคดีที่สําคัญและดําเนินงานเดียวกับกระทรวงการยุติธรรม และจะถูกยุบทันทีที่ศาลได้ดําเนินคดีในข้อเท็จจริงที่คณะกรรมาธิการพิจารณาอยู่

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 82 ประกอบ

84 (1) ระบบกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น สามารถเปิดให้มีการซักถามในที่ประชุมคณะกรรมาธิการ (Public Hearing) เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ ร่างพระราชบัญญัติรายได้ และร่างพระราชบัญญัติที่สําคัญเกี่ยวกับผลประโยชน์ของประชาชน

(2) ระบบกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่นอาจขอให้รัฐมนตรีหรือผู้แทนรัฐบาลชี้แจงต่อที่ประชุมคณะกรรมาธิการได้ ขณะเดียวกันรัฐมนตรีหรือผู้แทนรัฐบาลก็อาจจะขอเข้าพูดที่ประชุมคณะกรรมาธิการก่อนที่ประธานคณะกรรมาธิการขอมาก็ได้

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ระบบกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น สามารถเปิดให้มีการซักถามในที่ประชุมคณะกรรมาธิการ (Public Hearing) เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ ร่างพระราชบัญญัติ รายได้ และร่างพระราชบัญญัติที่สําคัญเกี่ยวกับผลประโยชน์ของประชาชน ซึ่งอาจขอให้รัฐมนตรี หรือผู้แทนรัฐบาลชี้แจงต่อที่ประชุมคณะกรรมาธิการได้ ขณะเดียวกันรัฐมนตรีหรือผู้แทนรัฐบาลก็อาจจะขอเข้าพูดที่ประชุมคณะกรรมาธิการก่อนที่ประธานคณะกรรมาธิการขอมาก็ได้

85 (1) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น มี 2 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการสามัญ

2 คณะกรรมาธิการวิสามัญ

(2) ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญของรัฐสภาญี่ปุ่นจะมาจากการแต่งตั้งของสมาชิกในคณะกรรมาธิการด้วยกัน และในทางปฏิบัติจะได้รับการคัดเลือกโดยญัตติขอให้รับรองในคณะกรรมาธิการ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น มี 2 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการสามัญ

2 คณะกรรมาธิการวิสามัญ โดยประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญนั้นจะมาจากการเลือกตั้งของสมาชิกในคณะกรรมาธิการด้วยกัน และในทางปฏิบัติจะได้รับการคัดเลือกโดยญัตติ ขอให้รับรองในคณะกรรมาธิการ

86 (1) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยเป็นแบบผสม คือมีทั้งคณะกรรมาธิการสามัญประจําสภา (ระบบสหรัฐอเมริกา) และคณะกรรมาธิการวิสามัญซึ่งตั้งขึ้นชั่วคราว (ระบบอังกฤษ)

(2) รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 129 วรรคสี่ บัญญัติให้อํานาจคณะกรรมาธิการ เรียกเอกสารจากบุคคลใด หรือเรียกผู้พิพากษาหรือตุลาการมาแถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระทําหรือในเรื่องที่พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาอยู่นั้นได้

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยเป็นแบบผสม คือมีทั้งคณะกรรมาธิการสามัญประจําสภา (ระบบสหรัฐอเมริกา) และคณะกรรมาธิการวิสามัญซึ่งตั้งขึ้นชั่วคราว (ระบบอังกฤษ) โดยรัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 129 วรรค 4 บัญญัติให้อํานาจคณะกรรมาธิการ เรียกเอกสาร จากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระทําหรือ ในเรื่องที่พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาอยู่นั้นได้ แต่การเรียกเช่นว่านั้นมิให้ใช้บังคับแก่ผู้พิพากษาหรือตุลาการ

87 (1) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยมีที่มาจากรัฐธรรมนูญ และข้อบังคับการประชุมของสภา จะต้องคํานึงถึงหลักการกระจายอํานาจเป็นหลัก

(2) รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 129 วรรคสาม บัญญัติเรื่องการสอบหาข้อเท็จจริง คณะกรรมาธิการจะมอบอํานาจหรือมอบหมายให้บุคคลหรือคณะบุคคลใดกระทําการแทนมิได้

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยนั้นมีที่มาจากรัฐธรรมนูญ และข้อบังคับการประชุมของสภา ซึ่งจะต้องคํานึงถึงหลักแบ่งงานกันทําเป็นหลัก โดยรัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 129 วรรค 3 บัญญัติเรื่องการสอบหาข้อเท็จจริง คณะกรรมาธิการจะมอบอํานาจหรือมอบหมายให้บุคคลหรือคณะบุคคลใดกระทําการแทนมิได้

 

ข้อ 88 – 95 ให้นักศึกษาพิจารณาประเภทของคณะกรรมาธิการรัฐสภาไทย แล้วใช้ตัวเลือกต่อไปนี้

(1) คณะกรรมาธิการสามัญ

(2) คณะกรรมาธิการวิสามัญ

(3) คณะกรรมาธิการร่วม

(4) คณะกรรมาธิการเต็มสภา

(5) คณะกรรมาธิการชั่วคราว

 

88 คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจากผู้ที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น

ตอบ 1 หน้า 118, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 27 – 28) คณะกรรมาธิการสามัญ หมายถึง คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น หรือคณะบุคคลที่ วุฒิสภาแต่งตั้งจากสมาชิกวุฒิสภาเท่านั้น และตั้งไว้เป็นการถาวรตลอดอายุของสภา เพื่อการ ทํากิจการหรือเพื่อพิจาณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอํานาจหน้าที่ของรัฐสภาแล้วรายงานต่อสภา

89 คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ได้

ตอบ 2 หน้า 118, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 31) คณะกรรมาธิการวิสามัญ หมายถึง คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ได้ หรือคณะบุคคล ที่วุฒิสภาแต่งตั้งจากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกวุฒิสภาก็ได้ โดยจะแต่งตั้งขึ้นเมื่อคณะรัฐมนตรี ร้องขอ หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยื่นญัตติขอให้ตั้ง เพื่อพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นการเฉพาะ และจะสลายตัวเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจ

90 กรรมาธิการที่สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาแต่งตั้งขึ้น จากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาก็ได้

ตอบ 3 หน้า 118, (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการร่วม หมายถึง กรรมาธิการที่สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาแต่งตั้งขึ้น จากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาก็ได้ ซึ่งจะ เกิดขึ้นเฉพาะกรณีที่วุฒิสภามีการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติที่สภาผู้แทนราษฎรได้ให้ ความเห็นชอบแล้ว และสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาแล้วเห็นว่ามิใช่เป็นการแก้ไขเล็กน้อยจึงไม่เห็นด้วยกับการเก้ไขของวุฒิสภา

91 คณะกรรมาธิการที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ประกอบเป็นคณะกรรมาธิการโดยประธานในที่ประชุมจะทําหน้าที่ประธานคณะกรรมาธิการ

ตอบ 4 หน้า 119, (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการเต็มสภา หมายถึง คณะกรรมาธิการที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ประกอบเป็นคณะกรรมาธิการโดยประธาน ในที่ประชุมจะทําหน้าที่ประธานคณะกรรมาธิการ ซึ่งจะเกิดขึ้นเฉพาะในกรณีสภาได้มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญในวาระที่ 1 แล้ว

92 คณะกรรมาธิการจะเกิดขึ้นเฉพาะกรณีสภาได้มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญในวาระที่ 1 แล้ว

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 91 ประกอบ

93 คณะกรรมาธิการ…จะเกิดขึ้นเฉพาะกรณีที่วุฒิสภามีการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติที่สภาผู้แทนราษฎรได้ให้ความเห็นชอบแล้ว และสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาแล้วเห็นว่ามิใช่เป็นการแก้ไขเล็กน้อยจึงไม่เห็นด้วย กับการแก้ไขของวุฒิสภา

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 90 ประกอบ

94 คณะกรรมาธิการแต่งตั้งเมื่อคณะรัฐมนตรีร้องขอหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยื่นญัตติขอให้ตั้ง

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 89 ประกอบ

95 คณะกรรมาธิการ ตั้งไว้เป็นการถาวรตลอดอายุของสภา เพื่อการทํากิจการหรือเพื่อพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอํานาจหน้าที่ของรัฐสภาแล้วรายงานต่อสภา

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 88 ประกอบ

 

ข้อ 96 – 100 เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับกระบวนการนิติบัญญัติในฝ่ายนิติบัญญัติ : การตราพระราชบัญญัติ

ให้นักศึกษาพิจารณาข้อความแล้วใช้ตัวเลือกต่อไปนี้

(1) ถ้าข้อความนี้ ถูก

(2) ถ้าข้อความนี้ ผิด

 

96 รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 133 บัญญัติว่า ร่างพระราชบัญญัติให้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรก่อน และจะเสนอได้ก็แต่โดย

1 คณะรัฐมนตรี

2 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวนไม่น้อยกว่า 20 คน

3 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวนไม่น้อยกว่า 10,000 คน และต้องเป็นไปตามมาตรา 77 ด้วย

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 27 ประกอบ

97 กระบวนการนิติบัญญัติในรัฐสภา กรณีการพิจารณาโดยสภาผู้แทนราษฎรได้กําหนดขั้นตอนเป็น 4 วาระ

คือ 1 ขั้นรับหลักการ 2 ขั้นพิจารณา 3 ขั้นแปรบัญญัติ 4 ขั้นลงมติเห็นชอบให้ส่งต่อไปยังวุฒิสภา

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 54 55) (คําบรรยาย) กระบวนการนิติบัญญัติในรัฐสภากรณีการพิจารณาโดยสภาผู้แทนราษฎรนั้นได้กําหนดขั้นตอนเป็น 3 วาระ คือ

1 ขั้นรับหลักการ

2 ขั้นพิจารณาหรือขั้นแปรญัตติ

3 ขั้นลงมติเห็นชอบให้ส่งต่อไปยังวุฒิสภา

98 การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของวุฒิสภา กรณีเป็นการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั่วไปต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน แต่ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 28 ประกอบ

99 หากประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภา เห็นว่าร่างพระราชบัญญัติมีข้อความขัดหรือแย้งต่อ รัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ให้ส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อวินิจฉัย และแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบโดยไม่ชักช้า

ตอบ 2 รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 148 (1) กําหนดให้ หาก ส.ส. ส.ว. หรือสมาชิกของทั้งสองสภารวมกันมีจํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา เห็นว่า ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตาม บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ให้เสนอความเห็นต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา หรือ ประธานรัฐสภาแล้วแต่กรณี แล้วให้ประธานแห่งสภาที่ได้รับความเห็นดังกล่าวส่งความเห็นนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย และแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบโดยไม่ชักช้า

100 ถ้าพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ ก็ทรงมีอํานาจยับยั้งได้ โดยส่งร่างพระราชบัญญัตินั้นคืนมายังรัฐสภา หรือเก็บร่างพระราชบัญญัตินั้นไว้โดยไม่ทรงพระราชทานคืนมายังรัฐสภา จนล่วงพ้นเวลา 90 วันไปแล้ว

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 36 ประกอบ

WordPress Ads
error: Content is protected !!