การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2563

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3100 กระบวนการนิติบัญญัติ

Advertisement

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1 สมาชิกวุฒิสภาอังกฤษประเภทใดที่ได้รับเงินเดือน

(1) แบบสืบเชื้อสายจากตระกูลเก่า

(2) ขุนนางที่ได้รับแต่งตั้ง

(3) พระสังฆาธิราช

(4) หัวหน้าผู้พิพากษาศาลฎีกา

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) สมาชิกวุฒิสภาหรือสภาขุนนาง (House of Lords) อังกฤษ แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ

1 ขุนนางสืบเชื้อสาย (Hereditary Peers) เป็นขุนนางตระกูลเก่า ซึ่งสามารถสืบทอดสมาชิกภาพของตนให้แก่ทายาทได้

2 ขุนนางตลอดชีพ (Life Peers) เป็นขุนนางที่ได้รับการแต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรี สําหรับบุคคลที่ทําประโยชน์ให้แก่สาธารณะ สมาชิกประเภทนี้สืบทอดให้แก่ทายาทไม่ได้ แต่สามารถลาออกได้

3 ขุนนางโดยตําแหน่งที่เป็นนักบวช (Spiritual Peers) เป็นขุนนางที่มาจากตัวแทนศาสนา เสืบทอดให้แก่ทายาทไม่ได้ แต่จะดํารงตําแหน่งได้ตราบเท่าที่อยู่ในสมณศักดิ์ทางศาสนจักร

4 ขุนนางกฎหมาย (Law Lords) เป็นขุนนางฝ่ายกฎหมาย ซึ่งจะดํารงตําแหน่งตลอดชีพและได้รับเงินเดือน เช่น หัวหน้าผู้พิพากษาศาลฎีกา เป็นต้น ขณะที่ขุนนางประเภทอื่น ๆ จะได้รับเพียสวัสดิการเท่านั้น

2 ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ตามรัฐธรรมนูญของประธานาธิบดีอเมริกา

(1) ผู้บัญชาการทหารสูงสุด

(2) แต่งตั้งเอกอัครราชทูต

(3) คัดเลือกผู้พิพากษาศาลสหพันธรัฐ

(4) บริหารระบบภัยพิบัติของมลรัฐที่ประสบภัย

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) หน้าที่ตามรัฐธรรมนูญของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ได้แก่

1 ประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาล

2 ผู้บัญชาการทหารสูงสุด

3 แต่งตั้งเอกอัครราชทูต

4 คัดเลือกและแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลสหพันธรัฐ

5 ยับยั้งร่างกฎหมาย

6 ทําสนธิสัญญาต่าง ๆ เป็นต้น

3 ข้อใดเป็นองค์ประกอบของรัฐธรรมนูญ

(1) การบริหารราชการของส่วนราชการต่าง ๆ

(2) คุณสมบัติผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง

(3) อํานาจของฝ่ายยุติธรรม

(4) ข้อ 2 และ 3

(5) ข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 (คําบรรยาย) องค์ประกอบของรัฐธรรมนูญ มีดังนี้

1 ระยะเวลาที่จะจัดให้มีการเลือกตั้ง

2 คุณสมบัติของผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง

3 สิทธิและหน้าที่พลเมือง

4 ขอบเขตและขีดจํากัดของอํานาจรัฐบาล

5 อํานาจของฝ่ายยุติธรรม

6 แนวทางการจัดตั้งรัฐบาล การเข้าสู่และพ้นตําแหน่ง

7 บทบาทและอํานาจของฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นต้น

4 ข้อใดไม่ใช่เกณฑ์การวัดความเป็นประชาธิปไตย

(1) ความพร้อมรับผิดชอบทางการเมือง

(2) ทุกพรรคการเมืองมีอิสระในการหาเสียงเลือกตั้ง

(3) ประชาชนสามารถจัดชุมนุมแสดงความคิดเห็นทางการเมืองได้

(4) การลงคะแนนเลือกตั้ง 1 สิทธิ 1 เสียงเท่ากัน

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 5 (คําบรรยาย) เกณฑ์การวัดความเป็นประชาธิปไตย มีดังนี้

1 ความพร้อมรับผิดชอบทางการเมือง (Political Accountability)

2 การแข่งขันทางการเมือง (Political Competition) โดยทุกพรรคการเมืองมีอิสระในการหาเสียงเลือกตั้ง

3 ความมีเสรีภาพทางการเมือง (Political Freedom) ประชาชนสามารถจัดชุมนุมแสดงความคิดเห็นทางการเมืองได้

4 ความเสมอภาคทางการเมือง (Political Equality) ซึ่งจะเห็นได้จากการลงคะแนนเลือกตั้ง 1 สิทธิ 1 เสียงเท่ากัน

5 Majority Rule and Minority Rights หมายความว่า

(1) ตัดสินใจทางการเมืองด้วยเสียงเกินครึ่งหนึ่งของผู้มาลงคะแนน

(2) ตัดสินใจทางการเมืองด้วยเสียงของชนชั้นนําในสังคม

(3) ตัดสินใจทางการเมืองด้วยเสียงส่วนใหญ่ได้ทุกเรื่อง

(4) ตัดสินใจด้วยเสียงส่วนใหญ่แต่ปกป้องสิทธิของเสียงส่วนน้อย

(5) ตัดสินใจด้วยการใช้กําลังบีบบังคับ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) Majority Rule and Minority Rights หมายถึง หลักการปกครองโดยเสียงข้างมากโดยเคารพสิทธิของเสียงข้างน้อย หรืออาจกล่าวได้อีกอย่างว่าเป็นการตัดสินใจด้วยเสียงส่วนใหญ่แต่ปกป้องสิทธิของเสียงส่วนน้อยนั่นเอง

6 ประเทศใดมีระบบรัฐสภาเดี่ยว

(1) อังกฤษ

(2) อเมริกา

(3) อินโดนีเซีย

(4) จีน

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 3 (คําบรรยาย) อินโดนีเซีย (Indonesia) เป็นประเทศที่มีการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ โดยมีประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และมีระบบรัฐสภาเดี่ยว คือ“สภาผู้แทนราษฎร”

7 อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน แสดงออกผ่านรัฐธรรมนูญอย่างไร

(1) สัดส่วนของตัวแทนในรัฐสภามาจากการเลือกตั้งโดยตรงมากที่สุด

(2) สัดส่วนของตัวแทนในรัฐสภามาจากการเลือกกันเองของสภาวิชาชีพมากที่สุด

(3) สัดส่วนของตัวแทนในรัฐสภามาจากการสรรหามากที่สุด

(4) จํานวนประชาชนที่สามารถเสนอกฎหมายมีจํานวนมาก

(5) ข้อ 1 และ 4

ตอบ 5 (คําบรรยาย) อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน (Popular Sovereignty) สามารถแสดงออกผ่านกฎหมายรัฐธรรมนูญได้ในหลายลักษณะ เช่น

1 กําหนดสัดส่วนของตัวแทนประชาชนในรัฐสภาให้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงมากที่สุด

2 กําหนดจํานวนประชาชนที่มีสิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมายมีจํานวนมากขึ้น (แสดงนัยยะสําคัญว่าอํานาจของประชาชนน้อยลง) เป็นต้น

8 ข้อใดมีคุณูปการใหญ่หลวงต่อพัฒนาการประชาธิปไตยในอังกฤษ

(1) Magna Carta

(2) Erasmus Mundus

(3) Jurassic Rex

(4) Bit of Rights

(5) เฉพาะข้อ 1 และ 4

ตอบ 5 (คําบรรยาย) สิ่งที่เป็นคุณูปการใหญ่หลวงต่อพัฒนาการประชาธิปไตยในอังกฤษ คือ

1 Viagra Carta ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นแห่งรัฐธรรมนูญอังกฤษ และเป็นกุญแจสําคัญในการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยอ้างถึงสิทธิทางการเมืองทั่ว ๆ ไป สิทธิของเสรีชนช่วยให้อํานาจค่อย ๆ เปลี่ยนมือจากกษัตริย์มาสู่ตัวแทนของประชาชน

2 Bit of Rights หรือ “บัตรแห่งสิทธิ” คือ กฎหมายหรือบทบัญญัติที่เป็นการเปิดประตูแห่งความเป็นประชาธิปไตยในอังกฤษให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ซึ่งพลเมืองจะมีสิทธิต่าง ๆติดตัวในฐานะเป็นประชาชนคนธรรมดา

9 การที่มีข้อบัญญัติรับรองว่า กษัตริย์จะไม่จับกุมผู้แทนราษฎรระหว่างการประชุมโดยไม่มีเหตุอันควรเพื่อป้องกันไม่ให้กษัตริย์ใช้อํานาจมากเกินไป ได้กลายมาเป็นหลักการใดในโลกสมัยใหม่

(1) การให้สิทธิเดินทางฟรี

(2) การได้รับเอกสิทธิ์ทางการทูต

(3) เอกสิทธิ์คุ้มครอง

(4) สวัสดิการสมาชิกสภา

(5) กฎหมายการคุ้มครองพยาน

ตอบ 3 (คําบรรยาย) หลักการเอกสิทธิ์คุ้มครอง เกิดขึ้นครั้งแรกในอังกฤษ อันเป็นผลมาจากการมีข้อบัญญัติรับรองว่า “กษัตริย์จะไม่จับกุมผู้แทนราษฎรระหว่างการประชุมโดยไม่มีเหตุอันควร เพื่อป้องกันไม่ให้กษัตริย์ใช้อํานาจมากเกินไป” ซึ่งได้กลายมาเป็นหลักการสําคัญในโลกสมัยใหม่(ดังปรากฏในรัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 125)

10 ลักษณะสําคัญของการใช้อํานาจร่วมระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร คือ

(1) สมาชิกวุฒิสภาสามารถดํารงตําแหน่งราชการประจําได้

(2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถดํารงตําแหน่งราชการประจําได้

(3) นายกรัฐมนตรีต้องมาจากสมาชิกรัฐสภา

(4) นายกรัฐมนตรีต้องมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ระบบรัฐสภา (Parliamentary System) เป็นลักษณะของการเชื่อมโยงอํานาจ(Fusion of Powers) หรือการใช้อํานาจร่วมระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร โดยจะให้ สถาบันนิติบัญญัติ (รัฐสภา) เป็นสถาบันหลัก มีอํานาจควบคุมฝ่ายบริหาร และฝ่ายบริหารจะต้องมาจากฝ่ายนิติบัญญัติ เช่น กรณีที่นายกรัฐมนตรีต้องมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นต้น

11 หากจะยกเลิกประกาศคณะปฏิวัติภายหลังการรัฐประหาร จะต้องตราพระราชบัญญัติเพื่อยกเลิกสภาพบังคับเพราะประกาศคณะปฏิวัติเป็น

(1) พระบรมราชโองการ

(2) คําสั่งของรัฏฐาธิปัตย์

(3) คําสั่งในทางปกครอง

(4) คําสั่งของเผด็จการ

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ประกาศของคณะปฏิวัติถือว่าเป็นคําสั่งของรัฏฐาธิปัตย์ (ผู้มีอํานาจสูงสุดในการปกครองประเทศ) และมีฐานะเป็นกฎหมาย ซึ่งจะมีสภาพบังคับเทียบเท่ารัฐธรรมนูญหรือ พระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา ดังนั้นการจะยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัตินั้นจะต้อง ดําเนินการเช่นเดียวกับการยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงกฎหมายธรรมดาทั่วไป คือ ต้องตราเป็นพระราชบัญญัติออกมายกเลิก

12 การเคลื่อนไหวเพื่อล้มรัฐบาลเผด็จการเพื่อนําไปสู่การสร้างประชาธิปไตยในตะวันออกกลาง เรียกว่า

(1) Arab Sauna

(2) Arab Spring

(3) Arab Jihad

(4) Arab Spoil

(5) Arab Revolt

ตอบ 2 (คําบรรยาย) อาหรับสปริง (Arab Spring) คือ การเคลื่อนไหวเพื่อล้มรัฐบาลเผด็จการเพื่อนําไปสู่การสร้างประชาธิปไตยในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ โดยมีการเดินขบวน การประท้วง รวมไปถึงการนัดหยุดงาน และมีการนําเทคโนโลยีการสื่อสารดิจิตอลอย่างเช่น เฟซบุ๊กและทวิตเตอร์มาใช้เป็นเครื่องมือชุดใหม่ในทางการเมือง ซึ่งจะเห็นได้จากการลุกฮือล้มรัฐบาลโดยประชาชนอียิปต์ ตูนิเซีย ลิเบีย ซีเรีย เป็นต้น

13 พระราชกําหนดมีศักดิ์เทียบเท่ากับ

(1) พระราชบัญญัติ

(2) พระบรมราชโองการ

(3) พระราชกฤษฎีกา

(4) ข้อบัญญัติท้องถิ่น

(5) เทศบัญญัติ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) พระราชกําหนด คือ กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคําแนะนําและยินยอมของคณะรัฐมนตรี โดยอาศัยอํานาจตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ เมื่อประกาศใช้แล้ว จะต้องเสนอให้รัฐสภาผ่านความเห็นชอบมีผลบังคับใช้เป็นพระราชบัญญัติต่อไป ดังนั้นจึงมี ศักดิ์เทียบเท่ากับพระราชบัญญัติ แต่ถ้ารัฐสภาไม่ให้ความเห็นชอบพระราชกําหนดนั้นก็จะสิ้นสุดสภาพการบังคับใช้

14 หากวุฒิสภาพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เสนอโดยสภาผู้แทนราษฎรไม่ทันภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ในรัฐธรรมนูญจะเกิดผลเช่นไร

(1) วุฒิสภาจะถูกตัดเงินเดือน

(2) ร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นอันตกไป

(3) ร่างพระราชบัญญัตินั้นต้องถูกนําเสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาอีกครั้ง

(4) ให้ถือร่างพระราชบัญญัตินั้นเสมือนว่าผ่านการพิจารณาของวุฒิสภาแล้ว

(5) ร่างพระราชบัญญัตินั้นจะต้องถูกนํามาพิจารณาในการประชุมวุฒิสภาสมัยถัดไป

ตอบ 4 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 136 กําหนดให้ วุฒิสภาต้องพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เสนอมาโดยสภาผู้แทนราษฎรนั้นให้เสร็จภายใน 60 วัน แต่ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วย การเงินต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 30 วัน เว้นแต่วุฒิสภาจะได้ลงมติให้ขยายเวลาออกไปเป็น กรณีพิเศษซึ่งต้องไม่เกิน 30 วัน หากวุฒิสภายังพิจารณาไม่เสร็จภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ ให้ถือว่าวุฒิสภาได้ให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัตินั้น หรือร่างพระราชบัญญัตินั้นได้ผ่านการพิจารณาของวุฒิสภาแล้วนั่นเอง

15 ในการควบคุมการทํางานของฝ่ายบริหารด้วยการตั้งกระทู้ถาม ผู้ตั้งกระทู้สามารถกําหนดวิธีให้ผู้ถูกถาม ตอบกระทู้ได้ดังนี้

(1) ตอบด้วยวาจาในสภาผู้แทนราษฎร

(2) ตอบด้วยวาจาในที่ประชุมกรรมาธิการ

(3) ตอบในราชกิจจานุเบกษา

(4) เฉพาะข้อ 1 และ 2

(5) เฉพาะข้อ 1 และ 3

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในการควบคุมการทํางานของฝ่ายบริหารด้วยการตั้งกระทู้ถาม สมาชิกผู้ตั้งกระทู้จะเป็นผู้กําหนดว่าต้องการให้ผู้ถูกถามตอบกระทู้ด้วยวาจาในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร หรือตอบในราชกิจจานุเบกษาเป็นลายลักษณ์อักษร

16 การตั้งกระทู้ถามในเรื่องจําเป็นเร่งด่วนต่อนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีนั้น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอาจยื่นเรื่องร้องขอต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยจะถามกระทู้ได้กี่ครั้งต่อสัปดาห์

(1) 1 ครั้ง

(2) 2 ครั้ง

(3) 3 ครั้ง

(4) 4 ครั้ง

(5) 5 ครั้ง

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การตั้งกระทู้ถามในเรื่องที่เป็นปัญหาสําคัญที่อยู่ในความสนใจของประชาชนหรือเป็นเรื่องที่กระทบถึงประโยชน์ของประเทศชาติหรือประชาชน หรือที่เป็นเรื่องเร่งด่วนนั้น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอาจแจ้งต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรว่าจะถามนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบโดยไม่ต้องระบุคําถาม ซึ่งจะกระทําได้ 1 ครั้งต่อสัปดาห์เท่านั้น

17 ในเดือนมีนาคม 2557 มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา แต่การรัฐประหารทําให้วุฒิสภา

(1) วุฒิสภาสิ้นสุดลง

(2) แปรสภาพเป็นสมัชชาแห่งชาติ

(3) แปรสภาพเป็นสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

(4) แปรสภาพเป็นสภาปฏิรูป

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ภายหลังการรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีประกาศ คสช. ฉบับที่ 30/2557 ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2557 ให้วุฒิสภาสิ้นสุดลง และในกรณีที่มีกฎหมาย บัญญัติให้การดําเนินการเรื่องใดต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร หรือ วุฒิสภา ให้เป็นอํานาจของหัวหน้า คสช. ในการให้ความเห็นชอบแทนรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาในเรื่องนั้น

18 การรัฐประหารครั้งล่าสุดเป็นการรัฐประหารครั้งที่ ในรอบหนึ่งทศวรรษ

(1) ครั้งที่ 1

(2) ครั้งที่ 2

(3) ครั้งที่ 3

(4) ครั้งที่ 4

(5) ครั้งที่ 5

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การรัฐประหารล่าสุดในประเทศไทย เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 พฤษภาโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อันมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้าคณะ ซึ่งการรัฐประหารในครั้งนี้นับเป็นการรัฐประหารครั้งที่ 2 ในรอบหนึ่งทศวรรษ (หรือในรอบ 10 ปี) ต่อจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และนับเป็นครั้งแรกที่มีการตั้งกลุ่มต่อต้าน นอกประเทศอย่างเปิดเผยในชื่อ “องค์กรเสรีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย” ภายใต้การนําของนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ อดีตหัวหน้าพรรคเพื่อไทย

19 ตามรัฐธรรมนูญเห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 การเข้าชื่อเพื่อยื่นเสนอญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีต้องใช้เสียงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวน

(1) 1 ใน 3

(2) 1 ใน 4

(3) 1 ใน 5

(4) 1 ใน 6

(5) 2 ใน 3

ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2550 มาตรา 158 กําหนดให้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีได้

20 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 กรณีร่างพระราชบัญญัติที่ไม่ผ่านความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรและมีคะแนนเสียงไม่ถึงกึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรี อาจร้องขอให้รัฐสภาพิจารณาได้โดยต้องดําเนินการอย่างใดจึงจะสามารถนําไปใช้เป็นกฎหมายได้

(1) ร้องขอให้รัฐสภาพิจารณาโดยคะแนนเสียงต้องมากกว่ากึ่งหนึ่ง

(2) ร้องขอให้วุฒิสภาพิจารณาโดยตั้งคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อพิจารณาและเสนอความคิดเห็นเพื่อให้รัฐสภาลงมติ โดยคะแนนเสียงต้องมากกว่ากึ่งหนึ่ง

(3) ร้องขอให้รัฐสภาพิจารณาโดยตั้งคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อพิจารณาและเสนอความคิดเห็นเพื่อให้รัฐสภาลงมติ โดยคะแนนเสียงต้องมากกว่ากึ่งหนึ่ง

(4) ร้องขอให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาโดยตั้งคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อพิจารณาและเสนอความคิดเห็นต่อสภาผู้แทนราษฎรลงมติ โดยคะแนนเสียงต้องมากกว่ากึ่งหนึ่ง

(5) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2

ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2550 มาตรา 145 กําหนดให้ ร่างพระราชบัญญัติที่คณะรัฐมนตรีระบุไว้ในนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภาตามมาตรา 176 ว่าจําเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดิน หากสภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่ให้ความเห็นชอบ และคะแนนเสียงที่ไม่ให้ความเห็นชอบไม่ถึง กึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ คณะรัฐมนตรีอาจร้องขอให้ รัฐสภาพิจารณาโดยตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันของรัฐสภาเพื่อพิจารณาและเสนอความเห็น เพื่อให้รัฐสภาลงมติ ถ้ารัฐสภามีมติเห็นชอบโดยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่ง ก็ให้นําไปใช้บังคับเป็นกฎหมายได้

21 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 หากร่างพระราชบัญญัติที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้วมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเห็นว่ามีหลักการขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถ รวมตัวกันเสนอความเห็นต่อประธานรัฐสภา โดยใช้จํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภาหรือสมาชิกของทั้งสองสภารวมกันเป็นจํานวนของทั้งสองสภารวมกัน

(1) ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3

(2) ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5

(3) ไม่น้อยกว่า 1 ใน 10

(4) ไม่น้อยกว่า 3 ใน 5

(5) ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3

ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2550 มาตรา 154 (1) ระบุไว้ว่า หากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกของทั้งสองสภารวมกัน มีจํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจํานวน สมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา เห็นว่าร่างพระราชบัญญัติที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ให้เสนอความเห็นต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา หรือประธานรัฐสภาแล้วแต่กรณี แล้วให้ส่งความเห็นนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย

22 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 เพื่อป้องกันมิให้เกิดเผด็จการรัฐสภาได้เปิดโอกาสให้ฝ่ายค้านตรวจสอบการทํางานของรัฐบาล โดย

(1) ใช้เสียง 1 ใน 4 ของ ส.ส. ที่ไม่ได้อยู่ฝ่ายรัฐบาลยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจได้

(2) ใช้เสียง 1 ใน 3 ของ ส.ส. ที่ไม่ได้อยู่ฝ่ายรัฐบาลยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจได้

(3) ใช้เสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของ ส.ส. ที่ไม่ได้อยู่ฝ่ายรัฐบาลยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจได้

(4) ใช้เสียงทั้งหมดของ ส.ส. ที่ไม่ได้อยู่ฝ่ายรัฐบาลยืนอภิปรายไม่ไว้วางใจได้

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 5 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2550 ได้เปิดโอกาสให้ฝ่ายค้านตรวจสอบการทํางานของรัฐบาลได้เพื่อป้องกันมิให้เกิดเผด็จการรัฐสภา โดยกําหนดให้ใช้เสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของ ส.ส. ที่ไม่ได้อยู่ ฝ่ายรัฐบาลยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลได้ เมื่อคณะรัฐมนตรีได้บริหารราชการแผ่นดินมาเกินกว่า 2 ปีแล้ว (มาตรา 160)

23 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 หากพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยกับร่าง พ.ร.บ.ที่ผ่านรัฐสภาแล้ว รัฐสภาจะต้องทําอย่างไร

(1) ปรึกษากัน แล้วแก้ไขเพิ่มเติมตามที่ทรงมีพระราชกระแส

(2) ปรึกษากัน หากยืนยันตามร่างเดิมต้องใช้เสียง 2 ใน 3 ของรัฐสภา

(3) ไม่นําขึ้นพิจารณาอีก เพราะกระทําไม่ได้

(4) ไม่มีข้อถูก

(5) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3

ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2550 มาตรา 151 กําหนดให้ ร่าง พ.ร.บ. ใด พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยและพระราชทานคืนมายังรัฐสภา หรือเมื่อพ้น 90 วันแล้วมิได้พระราชทาน คืนมา รัฐสภาจะต้องปรึกษาร่าง พ.ร.บ. นั้นใหม่ ถ้ารัฐสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียง ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา (รัฐสภา) แล้วให้นายกรัฐมนตรีนําร่าง พ.ร.บ. นั้นขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายอีกครั้งหนึ่ง

24 ข้อใดคือเกณฑ์การได้มาซึ่งวุฒิสมาชิกของไทย ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560

(1) การเลือกตั้ง

(2) การเลือกจากบัญชีรายชื่อ

(3) การเลือกตั้งตามกลุ่มอาชีพ

(4) การเลือกโดยคณะกรรมการสรรหา

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 3 หน้า 23, (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 107 และ 109 กําหนดให้ วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกวุฒิสภาแบบเลือกตั้งโดยอ้อม (เลือกกันเองของบุคคลซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ อาชีพ ลักษณะ หรือผลประโยชน์ร่วมกัน) จํานวน 200 คนซึ่งมีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละ 5 ปี

25 การกําหนดจํานวนประชาชนที่มีสิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมายมากขึ้น แสดงนัยยะสําคัญอะไร

(1) อํานาจของประชาชนมากขึ้น

(2) อํานาจของประชาชนน้อยลง

(3) โอกาสในการเข้ามีส่วนในการปกครองมากขึ้น

(4) ไม่มีนัยยะสําคัญ

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 7 ประกอบ

26 ตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ. 2557 อํานาจนิติบัญญัติอยู่ที่องค์กรใด

(1) สภาปฏิรูปแห่งชาติ

(2) รัฐสภา

(3) หัวหน้า คสช.

(4) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ

(5) ข้อ 3 และ 4

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ตามรัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) 2557 อํานาจนิติบัญญัติอยู่ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นสําคัญ โดยมีคณะรัฐมนตรีชั่วคราว รับผิดชอบการบริหารราชการแผ่นดิน และมีกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญทําหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

27 ข้อใดเป็นความแตกต่างระหว่างประชาพิจารณ์กับประชามติ

(1) ประชามติเป็นการแสดงอํานาจอธิปไตยที่เป็นของประชาชน

(2) ประชาพิจารณ์เป็นแนวทางที่รัฐใช้รับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

(3) ประชามติกําหนดให้รัฐต้องผูกพันปฏิบัติตามผลการออกเสียงประชามติ

(4) ประชาพิจารณ์ต้องการความรู้ความเข้าใจของประชาชนต่อเรื่องนั้น ๆ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ความแตกต่างระหว่างประชาพิจารณ์กับประชามติ มีดังนี้

1 ประชาพิจารณ์ตั้งอยู่บนฐานคติของการรักษาผลประโยชน์แก่ประชาชน ส่วนประชามติจะตั้งอยู่บนฐานคติของการแสดงอํานาจอธิปไตยที่เป็นของประชาชน

2 ประชาพิจารณ์เป็นแนวทางที่รัฐใช้รับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งส่วนประชามติจะเป็นกระบวนการที่รัฐขอปรึกษาหารือประชาชน เพื่อกําหนดแนวทางปฏิบัติ

3 ประชาพิจารณ์นั้นรัฐจะไม่ผูกพันและไม่จําเป็นต้องปฏิบัติตาม ส่วนประชามติกําหนดให้รัฐต้องผูกพันปฏิบัติตามผลการออกเสียงประชามติ

4 ประชาพิจารณ์ต้องการความรู้ความเข้าใจของประชาชนต่อเรื่องนั้น ๆ เพื่อลดความขัดแย้งจากการตัดสินใจของรัฐ ส่วนประชามตินั้นต้องการมติของประชาชนว่าจะให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในเรื่องนั้น ๆ

28 ข้อใดไม่ใช่หลักการของการทําประชาพิจารณ์

(1) มีผู้เชี่ยวชาญมาให้ข้อมูลกับที่ประชุม

(2) การคัดเลือกผู้เข้าร่วมประชาพิจารณ์ที่สะท้อนสัดส่วนที่แท้จริงของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

(3) จัดทําประชาพิจารณ์ก่อนการตัดสินใจดําเนินโครงการ

(4) หน่วยงานรัฐต้องหยุดดําเนินงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการที่จะทําประชาพิจารณ์ทั้งหมด

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) หลักการของการทําประชาพิจารณ์ มีดังนี้

1 จะต้องกระทําก่อนการตัดสินใจดําเนินโครงการ

2 มีการคัดเลือกผู้เข้าร่วมประชาพิจารณ์ที่สะท้อนสัดส่วนที่แท้จริงของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

3 มีผู้เชี่ยวชาญมาให้ข้อมูลกับที่ประชุม

4 การดําเนินการประชาพิจารณ์ต้องเป็นไปโดยเที่ยงตรงและเปิดเผย

5 ข้อสรุปจากการทําประชาพิจารณ์เป็นเพียงข้อเสนอแนะ หน่วยงานของรัฐไม่จําเป็นต้องปฏิบัติตาม

29 ข้อใดเป็นอํานาจหน้าที่ของรัฐสภา

(1) การตรากฎหมาย

(2) การควบคุมบริหารราชการแผ่นดิน

(3) การให้ความเห็นชอบในเรื่องสําคัญ

(4) เฉพาะข้อ 1 และ 2

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) อํานาจหน้าที่ของรัฐสภา ได้แก่

1 การตรากฎหมาย

2 การควบคุมบริหารราชการแผ่นดิน (การตั้งกระทู้ถาม, การขอเปิดอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ)

3 การให้ความเห็นชอบในเรื่องสําคัญ (การประกาศสงคราม, การทําสัญญาระหว่างประเทศ)

4 การให้การรับรองตําแหน่งสําคัญ ฯลฯ

30 กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคําแนะนําเละยินยอมของรัฐสภา เรียกว่าอะไร

(1) พระราชกําหนด

(2) พระราชกฤษฎีกา

(3) พระราชานุญาต

(4) พระราชดําริ

(5) พระราชบัญญัติ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) พระราชบัญญัติ หมายถึง กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคําแนะนําและยินยอมของรัฐสภา กล่าวคือ เป็นกฎหมายที่ต้องผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบของ รัฐสภา คือ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาก่อน จึงนําขึ้นทูลเกล้าฯ ให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้

31 ประเทศไทยได้รับพระราชทานรัฐธรรมนูญครั้งแรกเมื่อใด

(1) 14 ตุลาคม 2475

(2) 6 ตุลาคม 2475

(3) 10 ธันวาคม 2475

(4) 24 ธันวาคม 2475

(5) 24 มิถุนายน 2475

ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 เป็นรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกของประเทศไทย ซึ่งได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475

32 พรรคการเมืองใดจงใจไม่ลงสมัครแข่งขันในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557

(1) พรรคกิจสังคม

(2) พรรคประชาธิปัตย์

(3) พรรคอนาธิปัตย์

(4) พรรคเพื่อไทย

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 นั้น มีพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งหมดจํานวน 53 พรรค เช่น พรรครักประเทศไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคประชาธิปไตยใหม่ พรรคเพื่อไทย พรรคชาติพัฒนา พรรคภูมิใจไทย พรรคพลังชล ฯลฯ ส่วนพรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวที่ประกาศไม่ลงสมัครแข่งขันในการเลือกตั้งครั้งนี้

33 ข้อใดไม่ใช่ความหมายของยุคแห่งการรู้แจ้ง (Enlightenment)

(1) การยอมรับระบบเหตุผล

(2) ศาสนจักรไม่มีอิทธิพลต่อความคิด

(3) อิทธิพลของพุทธศาสนา

(4) การมีความคิดแบบวิทยาศาสตร์

(5) เฉพาะข้อ 1 และ 4

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การเสื่อมถอยของทฤษฎีครองอํานาจแบบลัทธิเทวสิทธิ์ (Divine Right Theory)เกิดจากการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมของเหล่าปัญญาชนในยุโรปและอาณานิคมบนทวีปอเมริกา ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อปฏิรูปสังคมและส่งเสริมให้มีการยอมรับระบบเหตุผล มากกว่าการใช้หลักจารีต ความเชื่อ และการเปิดเผยจากพระเจ้า ทําให้ศาสนจักรไม่มีอิทธิพลต่อ ความคิด รวมไปถึงส่งเสริมการมีความคิดแบบวิทยาศาสตร์ หรือที่รู้จักกันในนามยุคเรืองปัญญาหรือยุคแห่งการรู้แจ้ง (Enlightenment)

34 แนวคิดเรื่องสัญญาประชาคม (Social Contract) บอกว่าเราสามารถบรรลุถึงเสรีภาพในเงื่อนไขใด

(1) ในรัฐสังคมนิยมเท่านั้น

(2) ในรัฐสวัสดิการเท่านั้น

(3) ในรัฐแบบใดก็ได้

(4) ในรัฐประชาธิปไตยเท่านั้น

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ของ ชากส์ รุสโซ (Jean Jacques Rousseau) เห็นว่า สังคมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งสัญญาประชาคม (Social Contract) สามารถทําให้บุคคลในฐานะสมาชิกของสังคมนั้น บรรลุถึงเสรีภาพได้ สัญญาประชาคมจึงเป็นเสมือนรัฐธรรมนูญที่ต้องอยู่เพื่อทุกส่วนในสังคมดังนั้นการบรรลุเสรีภาพจะเกิดขึ้นในเงื่อนไขการปกครองแบบประชาธิปไตยเท่านั้น

35 เจตจํานงทั่วไป (General Win) ในทางทฤษฎี หมายถึง

(1) การมีส่วนร่วมทางการเมือง

(2) การเข้าไปใช้อํานาจการเมือง

(3) การยอมรับตัวแทนทางการเมือง

(4) การมีส่วนร่วมและกําหนดทิศทางของชุมชนที่สังกัด

(5) การมีส่วนร่วมทางการเมืองและยอมรับผู้นําการเมือง

ตอบ 4 (คําบรรยาย) เจตจํานงทั่วไป (General Wit) ในทางทฤษฎี หมายถึง การมีส่วนร่วมและกําหนดทิศทางของชุมชนที่สังกัด ซึ่งเป็นเรื่องของความเห็นพ้องต้องกันหรือมติเอกฉันท์ ของทุกคนในสังคม หรือบางครั้งอาจเป็นการตัดสินโดยเสียงข้างมากก็ถือว่าเป็นการเพียงพอแต่ต้องเป็นเสียงข้างมากที่มุ่งผลประโยชน์ของคนทุกคนหรือผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก

36 ข้อใดไม่เป็นพื้นที่ในพรมแดนส่วนตัว (Private Sphere)

(1) การคลุมฮิญาบ

(2) E-mail

(3) รสนิยม

(4) ห้องทํางานส่วนตัวในมหาวิทยาลัย

(5) งานอดิเรก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) พื้นที่ในพรมแดนส่วนตัว (Private Sphere) เป็นพื้นที่ที่ถูกใช้โดยคนหนึ่งคนใดและมีลักษณะแบ่งแยกกันเด็ดขาด มักเป็นพื้นที่ที่มีความเป็นปัจเจกบุคคล เข้าถึงได้ยากเพราะต้องการความเป็นส่วนตัว เช่น ศาสนา (การคลุมฮิญาบ) ชีวิตครอบครัว รสนิยม งานอดิเรกห้องนอน E-mail ฯลฯ

37 รัฐโลกาวิสัย (Secular State) หมายถึง

(1) รัฐที่แยกพื้นที่ส่วนตัวออกจากพื้นที่สาธารณะ

(2) รัฐที่แยกเอาศาสนาออกจากกฎเกณฑ์ทางสังคม

(3) รัฐที่เอาหลักศาสนามาปกครอง

(4) รัฐที่นําเอานักบวชมาปกครอง

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐฆราวาสหรือรัฐโลกาวิสัย (Secular State) หมายถึง รัฐหรือประเทศที่แยกเอาศาสนาออกจากกฎเกณฑ์ทางสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากการแยกศาสนจักรออกจาก ฝ่ายอาณาจักรในโลกตะวันตก (โดยเฉพาะกรณีของอังกฤษ) โดยทั่วไปรัฐฆราวาสจะมีแนวทาง บริหารประเทศโดยใช้หลักทั่วไปทางโลกมาเป็นรากฐานของการปกครอง ไม่ต่อต้านความเชื่อหรือจํากัดศาสนาใด ๆ ตัวอย่างของรัฐดังกล่าวนี้ ได้แก่ ไทย เนปาล ฯลฯ

38 ข้อใดเป็นการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนตามรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 (1) เข้าชื่อเสนอกฎหมาย

(2) เข้าเป็นสมาชิกพรรคการเมือง

(3) พิจารณากฎหมายเกี่ยวกับเด็ก สตรี เยาชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ

(4) เข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มผลประโยชน์ เช่น กลุ่มอาชีพ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนตามรัฐธรรมนูญฯ 2550 ได้แก่

1 การออกเสียงเลือกตั้ง

2 การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย (ร่าง พ.ร.บ. ในหมวดสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย และหมวดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ)

3 การเข้าชื่อเสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ

4 การเข้าเป็นสมาชิกพรรคการเมือง

5 การมีส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณากฎหมายเกี่ยวกับเด็ก สตรี เยาชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ

6 การเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มผลประโยชน์ เช่น กลุ่มอาชีพ เป็นต้น

39 กระบวนการที่ประชาชนของประเทศอังกฤษออกเสียงสนับสนุนให้อังกฤษออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป เรียกว่า

(1) ประชาพิจารณ์

(2) มหาชนสมมุติ

(3) ประชามติ

(4) เลือกตั้ง

(5) ประชาสังคม

ตอบ 3 (คําบรรยาย) เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2559 อังกฤษและกลุ่มประเทศในสหราชอาณาจักรได้มีการลงประชามติออกจากการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปหรืออียู (EU) ซึ่งผลปรากฏว่า คะแนนที่ต้องการออกจากอียูคิดเป็นร้อยละ 51.89 ส่วนคะแนนที่ต้องการอยู่กับอียูคิดเป็นร้อยละ 48.11

40 ฮันติงตัน อธิบายเรื่องการพัฒนาให้ทันสมัยว่า หากการเลื่อนชั้นทางสังคมไม่สมดุลกับการพัฒนาเศรษฐกิจจะทําให้เกิดความไม่พอใจทางสังคม และหากโอกาสในการพัฒนาตนเองไม่สมดุลก็จะนําไปสู่การมีส่วนร่วม ทางการเมือง การมีส่วนร่วมทางการเมืองที่ไม่สมดุลกับการสร้างสถาบันการเมืองจะนําไปสู่

(1) การพัฒนาการเมือง

(2) ความปั่นป่วนของเศรษฐกิจ

(3) การสร้างสถาบันการเมือง

(4) การพัฒนาให้ทันสมัย

(5) ความไร้เสถียรภาพทางการเมือง

ตอบ 5 (คําบรรยาย) แซมมวล ฮันติงตัน (Samuel Huntington) อธิบายเรื่องการพัฒนาให้ทันสมัยว่าหากการเลื่อนชั้นทางสังคมไม่สมดุลกับการพัฒนาเศรษฐกิจจะทําให้เกิดความไม่พอใจทางสังคม และหากโอกาสในการพัฒนาตนเองไม่สมดุลก็จะนําไปสู่การมีส่วนร่วมทางการเมือง การมีส่วนร่วม ทางการเมืองที่ไม่สมดุลกับการสร้างสถาบันการเมืองจะนําไปสู่ความไร้เสถียรภาพทางการเมือง แต่หากการมีส่วนร่วมทางการเมืองสมดุลกับการสร้างสถาบันการเมืองก็จะนําไปสู่การพัฒนาการเมือง (Political Development) นั่นเอง

41 คําอธิบายว่ามนุษย์เข้ามารวมเป็นสังคมการเมืองเพื่อเข้าถึงความดีรวมหมู่ (The Good หรือ Collective Good) เป็นคําอธิบายของ

(1) มองเตสกิเออ

(2) อริสโตเติล

(3) โทมัส ฮอบส์

(4) รุสโซ

(5) จอห์น ล็อค

ตอบ 2 (คําบรรยาย) อริสโตเติล อธิบายว่า มนุษย์เข้ามารวมเป็นสังคมการเมืองเพื่อเข้าถึงความดีรวมหมู่ (The Good หรือ Collective Good) โดยเกิดขึ้นจากความพยายามที่จะแสวงหา สิ่งสนองความปรารถนาในทุก ๆ ด้าน รวมทั้งทางด้านศีลธรรม ซึ่งมิได้เป็นไปเพียงเพื่อให้มีการดํารงชีวิตอยู่ได้เท่านั้น หากแต่ให้ชีวิตดํารงได้เป็นอย่างดีและพบกับชีวิตที่สมบูรณ์

42 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีวาระการดํารงตําแหน่งกี่ปี

(1) 7 ปี

(2) 6 ปี

(3) 5 ปี

(4) 4 ปี

(5) 3 ปี

ตอบ 1 หน้า 37 รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 232 และ 233 กําหนดให้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติประกอบด้วยกรรมการจํานวน 9 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรง แต่งตั้งตามคําแนะนําของวุฒิสภาจากผู้ซึ่งได้รับการสรรหาโดยคณะกรรมการสรรหา โดยมี วาระการดํารงตําแหน่ง 7 ปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดํารงตําแหน่งได้เพียงวาระเดียว

43 การปฏิรูปประเทศ เป็นหมวดหนึ่งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใด (1) พ.ศ. 2540

(2) พ.ศ. 2550

(3) พ.ศ. 2557

(4) พ.ศ. 2560

(5) ไม่ปรากฏในรัฐธรรมนูญทุกฉบับ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) “การปฏิรูปประเทศ” เป็นหมวด 16 ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ซึ่งการปฏิรูปประเทศตามหมวดนี้ต้องการดําเนินการในด้านต่าง ๆ ให้เกิดผลดังนี้ การเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม การศึกษา เศรษฐกิจและด้านอื่น ๆ

44 รัฐธรรมนูญในฐานะกฎหมายสูงสุดมีลักษณะอย่างไร

(1) กฎหมายใดจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้

(2) การแก้กฎหมายทําได้ง่าย

(3) เป็นไปตามเจตจํานงของผู้ปกครองสูงสุด

(4) ลําดับชั้นของกฎหมายไม่มีความจําเป็น

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 หน้า 5 รัฐธรรมนูญในฐานะกฎหมายสูงสุด มีลักษณะดังนี้

1 กฎหมายใดจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้

2 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญทําได้ยาก

45 ข้อใดแสดงว่าอํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย

(1) ตัวแทนจากวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งกันเองของสภาวิชาชีพ

(2) ตัวแทนในรัฐสภามาจากการเลือกตั้งโดยตรงมากที่สุด

(3) จํานวนประชากรที่ลงชื่อเสนอกฎหมายได้ต้องใช้จํานวนมากที่สุด

(4) ประชาชนออกเสียงประชามติแล้วให้รัฐแก้ไขได้เล็กน้อย

(5) การประกาศตัวเป็นองค์อธิปัตย์ของแกนนํากลุ่มผู้ชุมนุมที่มีผู้เข้าร่วมชุมนุมจํานวนมาก

ตอบ 2 (คําบรรยาย) อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน (Popular Sovereignty) สามารถแสดงออกผ่านกฎหมายรัฐธรรมนูญได้ในหลายลักษณะ เช่น

1 กําหนดสัดส่วนของตัวแทนประชาชนในรัฐสภาให้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงมากที่สุด

2 กําหนดจํานวนประชาชนที่มีสิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมายมีจํานวนน้อยลง (แสดงนัยยะสําคัญว่าอํานาจของประชาชนมากขึ้น) เป็นต้น

46 ตําแหน่งใดต่อไปนี้ที่ไม่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สิน

(1) ส.ส. ทุกคน

(2) ส.ว. ทุกคน

(3) อธิการบดี

(4) ปลัดกระทรวง

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ผู้ที่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินต่อ ป.ป.ช. ได้แก่ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ส.ส. ส.ว. ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ปลัดกระทรวงอธิการบดี รองอธิการบดี ฯลฯ

47 รัฐธรรมนูญ มีนัยยะสําคัญในเรื่องใด

(1) จํากัดอํานาจของรัฐบาล

(2) แสดงความสัมพันธ์ของรัฐกับประชาชน

(3) สร้างความชอบธรรมในการใช้อํานาจของรัฐ

(4) ถูกทุกข้อ

(5) เฉพาะข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 4 – 5, (คําบรรยาย) นัยยะสําคัญของรัฐธรรมนูญ มีดังนี้

1 จํากัดอํานาจและการกระทําของรัฐบาล

2 แสดงความสัมพันธ์ของรัฐกับประชาชน

3 สร้างความชอบธรรมในการใช้อํานาจของรัฐบาล

4 อํานาจอธิปไตยเป็นของประชาชน

5 สถานะสูงสุดที่ไม่มีกฎหมายอื่นใดขัดหรือแย้ง ฯลฯ

48 องค์กรท้องถิ่นใดหายไปในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560

(1) เทศบาล

(2) สภาท้องถิ่น

(3) องค์การบริหารส่วนตําบล

(4) กํานัน

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 5 (คําบรรยาย) องค์กรท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญฯ 2560 ได้แก่

1 ระดับหมู่บ้าน เช่น ผู้ใหญ่บ้าน หมู่บ้าน สภาท้องถิ่น

2 ระดับตําบล เช่น กํานั้น องค์การบริหารส่วนตําบล (อบต.)

3 ระดับอําเภอ เช่น เทศบาล เมืองพัทยา

4 ระดับจังหวัด เช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เป็นต้น

49 ข้อใดไม่ใช่องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560

(1) กกต.

(2) ป.ป.ช.

(3) คตง.

(4) สตง

(5) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

ตอบ 4 หน้า 35 – 39 องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญฯ 2560 ประกอบด้วย 5 องค์กร ได้แก่

1 คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)

2 ผู้ตรวจการแผ่นดิน

3 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)

4 คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.)

5 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

50 “พฤฒสภา” คือชื่อเดิมขององค์กรใด้

(1) องคมนตรี

(2) วุฒิสภา

(3) สภาผู้แทนราษฎร

(4) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ

(5) สภาปฏิรูปแห่งชาติ

ตอบ 2 หน้า 23 วุฒิสภาเกิดขึ้นครั้งแรกในชื่อ “ พฤฒสภา” ซึ่งกําหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฯ 2489 และต่อมาในรัฐธรรมนูญฯ 2490 จึงเปลี่ยนเป็น “วุฒิสภา” โดยพบว่าที่มาของ ส.ว. ตั้งแต่ เริ่มปรากฏจนกระทั่งปัจจุบันนั้นรัฐธรรมนูญส่วนใหญ่จะกําหนดให้มาจากการแต่งตั้ง ยกเว้น รัฐธรรมนูญฯ 2540 (มาจากการเลือกตั้ง) รัฐธรรมนูญฯ 2550 (มาจากการเลือกตั้งและสรรหา)และรัฐธรรมนูญฯ 2560 (มาจากการเลือกตั้งทางอ้อม)

51 “The End of History” เป็นแนวคิดของใคร

(1) จอห์น ล็อค

(2) ฟรานซิส ฟูกยามา

(3) มองเตสกิเออ

(4) รุสโซ

(5) โทมัส ฮอบส์

ตอบ 2 หน้า 14, (คําบรรยาย) ฟรานซิส ฟูกยามา (Francis Fukuyama) ได้เขียนหนังสือชื่อ “การสิ้นสุดของประวัติศาสตร์” (The End of History) เพื่อสนับสนุนแนวคิดเสรีนิยมประชาธิปไตย โดยเขาเชื่อว่า โลกทุกวันนี้ไม่ต้องศึกษาเรื่องอุดมการณ์ทางการเมืองอีกต่อไป เพราะเราได้มาถึง จุดสิ้นสุดของการแข่งขันทางอุดมการณ์แล้ว นับตั้งแต่สงครามเย็นยุติลงหลังการพังทลายของกําแพงเบอร์ลินในปี ค.ศ. 1990

52 องค์อธิปัตย์ตามแนวคิดสัญญาประชาคมของโทมัส ฮอบส์ และจอห์น ล็อค ต่างกันอย่างไร

(1) การเพิกถอนอํานาจของผู้ให้อํานาจ

(2) ความเป็นเจ้าชีวิตของประชาชน

(3) การเป็นเจ้าของทรัพย์สิน

(4) ถูกทุกข้อ

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 หน้า 9, (คําบรรยาย) องค์อธิปัตย์ตามแนวคิดสัญญาประชาคมของโทมัส ฮอบส์ และจอห์น ล็อค นั้นแตกต่างกันในประเด็นเรื่อง “การเพิกถอนอํานาจของผู้ให้อํานาจ” โดยโทมัส ฮอบส์ เห็นว่า เมื่อประชาชนมอบอํานาจให้องค์อธิปัตย์แล้วไม่สามารถเพิกถอนได้ ไม่ว่าเขาจะควบคุมชีวิตเรา มากแค่ไหนก็ตาม แต่สําหรับ จอห์น ล็อค กลับเห็นว่าอํานาจดังกล่าวสามารถเพิกถอนได้เมื่อเห็นว่าองค์อธิปัตย์ไม่อาจดูแลปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของตนได้

53 วุฒิสภาต้องพิจารณาร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการเงินให้เสร็จภายในกี่วัน .

(1) 15 วัน

(2) 30 วัน

(3) 45 วัน

(4) 60 วัน

(5) 90 วัน

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 14 ประกอบ

54 ใครมีสิทธิเลือกตั้ง

(1) ภิกษุ

(2) อยู่ระหว่างสู้คดีถูกเพิกถอนสิทธิ

(3) จบการศึกษาระดับประถมศึกษา

(4) นักโทษ

(5) จิตฟันเฟือน

ตอบ 3 (คําบรรยาย) “รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 95 กําหนดให้ บุคคลผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

1 มีสัญชาติไทย

2 มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีในวันเลือกตั้ง

3 มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วไม่น้อยกว่า 90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง และมาตรา 96 กําหนดให้ บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้งเป็นบุคคลต้องห้าม มิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง

1 เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช

2 อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งไม่ว่าคดีนั้นจะถึงที่สุดแล้วหรือไม่

3 ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคําสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย (เป็นนักโทษ)

4 วิกลจริตหรือจิตฟันเฟือนไม่สมประกอบ

55 ข้อใดคือประชาธิปไตยทางตรง

(1) การรับฟังความคิดเห็นจากประธานชุมชน

(2) การเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

(3) การสรรหาวุฒิสภา

(4) การรับฟังข่าวสาร

(5) การไปลงประชามติ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ประชาธิปไตยทางตรง (Direct Democracy) เป็นรูปแบบการปกครองโดยที่พลเมืองสามารถมีส่วนร่วมกับการตัดสินใจใด ๆ ได้โดยตรง โดยไม่ต้องอาศัยคนกลางหรือผู้ทําหน้าที่แทนตน เช่น การไปลงประชามติ การริเริ่มออกกฎหมาย การถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้ง เป็นต้น

56 การกําหนดความสัมพันธ์ของ “ผู้ใช้อํานาจรัฐ” กับ “ประชาชนในฐานะปัจเจก” มักยึดหลักความได้สัดส่วน และความเหมาะสม ระหว่างข้อใด

(1) ความชอบด้วยกฎหมายและการใช้อํานาจรัฐ

(2) ประโยชน์ของปัจเจกและประโยชน์ของสาธารณะ

(3) อํานาจของรัฐสภากับอํานาจองค์กรอิสระ

(4) ข้อ 1 และ 3 ถูก

(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก

ตอบ 5 หน้า 13, (คําบรรยาย) การกําหนดพื้นฐานความสัมพันธ์ของ “ผู้ใช้อํานาจรัฐ” กับ “ประชาชนในฐานะปัจเจก” นั้นมักยึดหลักแห่งความได้สัดส่วนและหลักแห่งความเหมาะสม เพื่อ

1 เป็นหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายและการใช้อํานาจรัฐ

2 สร้างดุลยภาพระหว่างประโยชน์ของปัจเจกและประโยชน์ของสาธารณะ

57 ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 กรณีพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติหรือมิได้พระราชทานคืนให้กับรัฐสภา จะสามารถประกาศเป็นกฎหมายได้หรือไม่ อย่างไร

(1) ไม่ได้ เพราะพระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอํานาจในการตราพระราชบัญญัติ (2) ได้ เมื่อรัฐสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงสองในสามของจํานวนสมาชิกทั้งหมด

(3) ไม่ได้ เพราะต้องมีพระปรมาภิไธยเท่านั้นจึงจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ (4) ได้ เมื่อนายกรัฐมนตรีนําขึ้นทูลเกล้าอีกครั้ง และหากมิได้ลงพระปรมาภิไธยใน 30 วันนายกรัฐมนตรีสามารถนําพระราชบัญญัตินั้นไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ (5) ข้อ 2 และ 4

ตอบ 5 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 146 กําหนดให้ ร่างพระราชบัญญัติใดพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบและพระราชทานคืนมายังรัฐสภา หรือเมื่อพ้น 90 วันแล้วมิได้พระราชทานคืนมา รัฐสภาต้องปรึกษาร่างพระราชบัญญัตินั้นใหม่ ถ้ารัฐสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียง ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนําขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายอีก ครั้งหนึ่ง และหากมิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยภายใน 30 วัน ให้นายกรัฐมนตรีนําพระราชบัญญัติ นั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็นกฎหมายได้เสมือนว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว

58 คํากล่าวที่ว่า “เสรีนิยมกับประชาธิปไตยไม่ใช่สิ่งเดียวกัน” คือข้อใด

(1) ประชาธิปไตยผูกโยงกับจํานวนประชาชน

(2) เสรีนิยมคือการจํากัดอํานาจของรัฐต่อปัจเจก

(3) เสรีนิยมกับประชาธิปไตยเป็นแนวคิดที่ไม่สามารถไปด้วยกัน

(4) ประชาธิปไตยไม่สามารถทําให้เกิดเผด็จการรัฐสภาได้

(5) ข้อ 1 และ 2

ตอบ 5 (คําบรรยาย) เสรีนิยมกับประชาธิปไตยไม่ใช่สิ่งเดียวกัน เนื่องจากประชาธิปไตยนั้นจะผูกโยงกับจํานวนประชาชน (เน้นส่วนใหญ่) ส่วนเสรีนิยมคือการจํากัดอํานาจของรัฐต่อปัจเจก แต่อย่างไร ก็ตามทั้งสองด้านจะเป็นเงื่อนไขซึ่งกันและกัน

59 ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน ข้อใดไม่ถูกต้อง

(1) รัฐมีอํานาจมาก ประชาชนจะมีอํานาจน้อยลง

(2) รัฐถูกจํากัดอํานาจมาก ประชาชนจะมีเสรีภาพมากขึ้น

(3) ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลในการครอบครองของรัฐได้โดยสะดวกถ้ามิใช่ข้อมูลเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐหรือเป็นความลับตามกฎหมายบัญญัติ

(4) บุคคลที่มีสัญชาติไทยโดยการเกิด รัฐไทยไม่สามารถถอนสัญชาติแต่สามารถเนรเทศได้

(5) ประชาชนสามารถฟ้องหน่วยงานรัฐเมื่อถูกบุคลากรของรัฐละเมิดได้

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ความสัมพันธ์ของรัฐกับประชาชนในสาระสําคัญของรัฐธรรมนูญ สามารถพิจารณาได้ดังนี้

1 สิทธิและเสรีภาพของประชาชน เช่น รัฐมีอํานาจมาก ประชาชนจะมีอํานาจน้อยลง 2 จํากัดอํานาจรัฐต่อประชาชนอย่างไร เช่น รัฐถูกจํากัดอํานาจมาก ประชาชนจะมีเสรีภาพมากขึ้น

3 ประชาชนเข้ามาเกี่ยวข้องกับรัฐได้อย่างไร เช่น ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลในการครอบครอง ของรัฐได้โดยสะดวกถ้ามิใช่ข้อมูลเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐหรือเป็นความลับตามกฎหมายบัญญัติ, ประชาชนสามารถฟ้องหน่วยงานรัฐเมื่อถูกบุคลากรของรัฐละเมิดได้ เป็นต้น

60 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มีผลบังคับใช้เมื่อใด

(1) 5 พ.ค. 2560

(2) 6 เมษายน 2560

(3) 24 มิถุนายน 2460

(4) 10 ธันวาคม 2560

(5) 1 ธันวาคม 2560

ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 20 ของประเทศไทย โดยรัฐธรรมนูญฉบับนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร (รัชกาลที่ 10) ทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560 ณ พระที่นั่งอนันตสมาคมและมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระราชโองการ

61 ใครเป็นผู้ลงนามรับสนองพระราชโองการในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560

(1) นายมีชัย ฤชุพันธุ์ (ประธาน คกก. ร่างรัฐธรรมนูญ)

(2) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี)

(3) พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ (ประธานองคมนตรี)

(4) นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช.)

(5) นายวีระพล ตั้งสุวรรณ (ประธานศาลฎีกา)

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 60 ประกอบ

62 รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 กําหนดให้มีวุฒิสภาในวาระแรกจํานวนกี่คน

(1) 200 คน

(2) 250 คน

(3) 300 คน

(4) 350 คน

(5) 400 คน

ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 บทเฉพาะกาล มาตรา 269 กําหนดให้ในวาระเริ่มแรกให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจํานวน 250 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามที่ คสช. ถวายคําแนะนําโดยอายุของวุฒิสภาตามมาตรานี้มีกําหนด 5 ปีนับแต่วันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง

63 ข้อใดคือความหมายของหลักนิติรัฐ

(1) องค์กรเกี่ยวข้องกับการทุจริตประพฤติมิชอบควรมีอํานาจเด็ดขาดทั้งบริหาร ตุลาการ และนิติบัญญัติ

(2) ปฏิบัติตามกฎหมายที่ตราขึ้นจากผู้ปกครองโดยเคร่งครัด

(3) เปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถต่อสู้ป้องกันสิทธิของตนเท่าที่ผู้ปกครองกําหนด

(4) กระบวนการพิจารณาไต่สวนคดีต่าง ๆ ให้เป็นไปตามดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่

(5) กฎหมายต้องมีความชัดเจนและมีความแน่นอนมากพอที่ประชาชนจะเข้าใจได้

ตอบ 2 หน้า 19, (คําบรรยาย) หลักนิติรัฐ หมายถึง การปฏิบัติและบังคับใช้กฎหมายของรัฐต่อประชาชนในรัฐอย่างเท่าเทียมและเสมอภาคในคนทุกกลุ่ม โดยรัฐทุกรัฐมุ่งหวังให้ประชาชน ปฏิบัติตามกฎหมายที่บังคับใช้ภายในรัฐ ซึ่งในความหมายอย่างแคบนั้นจะไม่คํานึงถึงที่มาของกฎหมาย กล่าวคือ ประชาชนจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่ตราขึ้นจากผู้ปกครองโดยเคร่งครัด

64 ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติของผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระ

(1) อายุไม่เกิน 70 ปี

(2) มีสุขภาพที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

(3) เคยเป็น ส.ส. เมื่อ 12 ปีก่อน

(4) จบการศึกษาระดับปริญญาตรี

(5) เป็นผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ

ตอบ 5 หน้า 33 รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 201 202 และ 216 กําหนดให้ ผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามทั่วไปดังต่อไปนี้

1 มีอายุไม่ต่ำกว่า 45 ปี แต่ไม่เกิน 70 ปี

2 มีสัญชาติไทยโดยการเกิด

3 สําเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

4 มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์

5 มีสุขภาพที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

6 ไม่มีลักษณะต้องห้าม เช่น เป็นหรือเคยเป็น ส.ส. ส.ว. ข้าราชการการเมือง หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นในระยะ 10 ปีก่อนเข้ารับการคัดเลือกหรือสรรหา, เป็นผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ ฯลฯ

65 การเสนอพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการเงินต้องได้รับความเห็นชอบจากใครก่อนจึงจะสามารถเสนอเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาได้

(1) คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

(2) นายกรัฐมนตรี

(3) กระทรวงการคลัง

(4) ป.ป.ช.

(5) เมื่อผู้เสนอ พ.ร.บ. นั้นเป็นผู้มีสิทธิตามรัฐธรรมนูญแล้วไม่จําเป็นต้องมีผู้เห็นชอบ

ตอบ 2 หน้า 54 รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 133 กําหนดให้ ร่างพระราชบัญญัติให้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรก่อน และจะเสนอได้ก็แต่โดย

(1) คณะรัฐมนตรี

(2) ส.ส. จํานวนไม่น้อยกว่า 20 คน

(3) ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวนไม่น้อยกว่า 10,000 คน ในกรณีที่ร่างพระราชบัญญัติซึ่งมีผู้เสนอตาม (2) หรือ (3) เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินจะเสนอได้ก็ต่อเมื่อมีคํารับรองของนายกรัฐมนตรี

 

จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถามข้อ 66. – 70.

(1) ถูก

(2) ผิด

 

66 หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 อํานาจของนายกรัฐมนตรีมาตรา 44 ตามรัฐธรรมนูญฯ (ชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ได้ยุติลง

ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 265 วรรค 2 กําหนดให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยังคงมีหน้าที่และอํานาจตามที่บัญญัติไว้ใน รัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) 2557 นั่นแสดงว่า หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญฯ 2560 อํานาจของ นายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะหัวหน้า คสช. มาตรา 44 ตามรัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ยังคงอยู่

67 การแก้ไขรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 จะกระทําไม่ได้ถ้ามีวุฒิสมาชิกเห็นชอบจํานวนน้อยกว่า 1 ใน 3 ของวุฒิสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่ของวุฒิสภา

ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 256 (3) กําหนดให้ การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่ 1 ขั้นรับหลักการ ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียง เห็นชอบด้วยในการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ของทั้งสองสภา ซึ่งในจํานวนนี้ต้องมีสมาชิกวุฒิสภา (วุฒิสมาชิก) เห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา

68 บุคคลที่จบการศึกษาระดับปริญญาโท สามารถไปสมัครเป็นผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระได้ทุกคน

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 64 ประกอบ

69 โทมัส ฮอบส์ เชื่อว่าเมื่อประชาชนมอบอํานาจให้องค์อธิปัตย์แล้วไม่สามารถเพิกถอนได้

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 52 ประกอบ

70 “หมุดก่อกําเนิดรัฐธรรมนูญหรือหมุดคณะราษฎร” ไม่เคยถูกขุดขึ้นมาก่อน

ตอบ 2 (คําบรรยาย) หมุดก่อกําเนิดรัฐธรรมนูญหรือหมุดคณะราษฎร เป็นหมุดทองเหลืองฝังอยู่กับพื้นถนนบนลานพระบรมรูปทรงม้าด้านสนามเสือป่า ซึ่งภายหลังได้ถูกปรับเปลี่ยนและเคยถูกขุด ขึ้นมาหลายครั้ง เช่น มีการนําสีดํามาราดทับ ถูกขีดจนเป็นรอยจํานวนมาก เคยถูกขุดและหายไปในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และถูกนํากลับมาในสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นต้น

 

ข้อ 71 – 87 เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับคณะกรรมาธิการ ให้นักศึกษาพิจารณา 2 ข้อความ แล้ว ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้

(1) ถ้าข้อความที่ 1 ถูก และข้อความที่ 2 ผิด

(2) ถ้าข้อความที่ 1 ผิด และข้อความที่ 2 ถูก

(3) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ถูกทั้งสองข้อ

(4) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ผิดทั้งสองข้อ

 

71 (1) รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 129 บัญญัติให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา มีอํานาจเลือกสมาชิกของแต่ละสภาตั้งเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ

(2) รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 128 บัญญัติให้กรรมาธิการสามัญซึ่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทั้งหมด ต้องมีจํานวนตามหรือใกล้เคียงกับอัตราส่วนของจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละพรรคการเมืองที่มีอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร

ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 129 วรรค 1 และ 8 กําหนดให้ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีอํานาจเลือกสมาชิกแต่ละสภาตั้งเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ กรรมาธิการสามัญ ซึ่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด ต้องมีจํานวนตามหรือใกล้เคียงกับอัตราส่วนของจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละพรรคการเมืองที่มีอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร

72 (1) การดําเนินการของคณะกรรมาธิการสามัญประจําสภาผู้แทนราษฎร ต้องเป็นไปตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรและตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 128 วรรคหนึ่ง

(2) กรณีคณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ และผู้พิการ จะต้องดําเนินการตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 128 วรรคสอง ด้วย

ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 128 วรรค 1 และ 2 กําหนดให้ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีอํานาจตราข้อบังคับการประชุมเกี่ยวกับการเลือกและการปฏิบัติหน้าที่ของประธานสภารองประธานสภา เรื่องหรือกิจการอันเป็นหน้าที่และอํานาจของคณะกรรมาธิการสามัญแต่ละชุด ในส่วนที่เกี่ยวกับการตั้งกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรวินิจฉัยว่ามีสาระสําคัญเกี่ยวกับเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ หรือคนพิการหรือ ทุพพลภาพ ต้องกําหนดให้บุคคลประเภทดังกล่าวหรือผู้แทนองค์กรเอกชนที่ทํางานเกี่ยวกับบุคคลประเภทนั้นโดยตรง ร่วมเป็นกรรมาธิการวิสามัญด้วย…

73 (1) องค์ประกอบที่สําคัญของฝ่ายนิติบัญญัติในรูปรัฐสภาประการหนึ่งคือ การแต่งตั้งคณะกรรมาธิการ (Committee) เพื่อพิจารณาปัญหากฎหมายเฉพาะเรื่อง หรือตั้งขึ้นมาเพื่อสอดคล้องกับงานหลายฝ่ายของรัฐบาล

(2) คณะกรรมาธิการของรัฐสภามีบทบาทเท่ากับเป็นรัฐสภาขนาดเล็ก (Little Legislature)

ตอบ 3 (คําบรรยาย) องค์ประกอบที่สําคัญของฝ่ายนิติบัญญัติในรูปรัฐสภาประการหนึ่งคือ การแต่งตั้งคณะกรรมาธิการ (Committee) เพื่อพิจารณาปัญหากฎหมายเฉพาะเรื่อง หรือตั้งขึ้นมาเพื่อ สอดคล้องกับงานหลายฝ่ายของรัฐบาล โดยคณะกรรมาธิการของรัฐสภานั้นจะมีบทบาทคล้ายกับรัฐสภาขนาดเล็ก (Little Legislature)

74 (1) การแบ่งประเภทของคณะกรรมาธิการในรัฐสภา ได้แบ่งตามกิจกรรมที่ถือปฏิบัติอยู่ เช่น

1 คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการร่างกฎหมาย หรือการพิจารณาร่างกฎหมาย 2 คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารการพัฒนา

3 คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่ในการสอบสวน ตรวจตรา และสอดคล้องการปฏิบัติงานรัฐบาล (2) คณะกรรมาธิการในรัฐสภา อาจมีการแต่งตั้งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1 คณะกรรมาธิการสามัญ

2 คณะกรรมาธิการวิสามัญ

ตอบ 2 หน้า 27, 31 คณะกรรมาธิการในรัฐสภามี 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ คณะกรรมาธิการสามัญ และคณะกรรมาธิการวิสามัญ นอกจากนี้เราอาจจะแบ่งประเภทของคณะกรรมาธิการในรัฐสภาได้ ตามกิจกรรมที่ถือปฏิบัติอยู่ ดังนี้

1 คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการร่างพระราชบัญญัติ หรือการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ

2 คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานคลัง

3 คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่ในการสอบสวน ตรวจตราสอดส่องการปฏิบัติงานของรัฐบาล เป็นต้น

75 (1) ในกลุ่มประเทศกําลังพัฒนา คณะกรรมาธิการมักมีอิทธิพลต่อกระบวนการนิติบัญญัติอย่างชัดแจ้งโดยเฉพาะความสามารถในการทํางานอย่างรวดเร็ว

(2) เหตุผลของการที่ต้องมีคณะกรรมาธิการ เนื่องจากการทํางานของรัฐสภาตามความเป็นจริงนั้นจําเป็นต้องผสมผสานหลักทางเทคนิคกับหลักความต้องการของนักการเมือง

ตอบ 4 (คําบรรยาย) เหตุผลของการที่ต้องมีคณะกรรมาธิการมีอยู่ 4 ประการ คือ

1 เพื่อการแสวงหาข้อมูลและกลั่นกรองเรื่องให้สภา

2 จําเป็นต้องผสมผสานหลักทางเทคนิคกับความต้องการของราษฎร

3 เป็นการละลายความเป็นพรรคการเมือง

4 การสอบสวนข้อเท็จจริงและรับเรื่องราวร้องทุกข์ ถือเป็น “หน้าที่พิเศษ” ของคณะกรรมาธิการในประเทศไทย) ซึ่งในกลุ่มประเทศกําลังพัฒนานั้นพบว่า คณะกรรมาธิการมักไม่ค่อยมีอิทธิพล ต่อกระบวนการนิติบัญญัติมากนัก เนื่องจากความสามารถในการทํางานค่อนข้างต่ำ

76 (1) การทํางานในขั้น “คณะกรรมาธิการ” ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ หรือคณะกรรมาธิการวิสามัญแม้จะเป็นสมาชิกสภาต่างจากพรรคการเมืองก็ตาม เมื่อต้องมาทํางานในคณะกรรมาธิการชุดเดียวกันมักจะมีบรรยากาศของความปรองดอง

(2) “หน้าที่พิเศษ” ที่ถือว่าเป็นหน้าที่ประจําตามปกติธรรมดาของคณะกรรมาธิการในประเทศไทย คือ การแสวงหาข้อมูลและกลั่นกรองเรื่องให้สภา

ตอบ 1 (คําบรรยาย) “การละลายความเป็นพรรคการเมือง” หนึ่งในเหตุผลของการที่ต้องมีคณะกรรมาธิการนั้นพบว่า การทํางานในขันคณะกรรมาธิการ ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ หรือคณะกรรมาธิการวิสามัญ แม้จะเป็นสมาชิกสภาต่างจากพรรคการเมืองก็ตาม เมื่อต้องมาทํางานในกรรมาธิการชุดเดียวกันมักจะมีบรรยากาศของความปรองดอง (ดูคําอธิบายข้อ 75 ประกอบ)

77 (1) การแต่งตั้งกรรมาธิการเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมาธิการทั่วโลกมีอยู่ 2 วิธีด้วยกัน คือ

1 แต่งตั้งโดยผู้ที่มีอํานาจในการบังคับบัญชาของรัฐสภา

2 แต่งตั้งโดยรัฐสภา (2) การปฏิบัติงานของคณะกรรมาธิการ ไม่ถือว่าเป็นเอกสิทธิ์ที่ผู้ใดจะนําไปฟ้องร้องในทางใดมิได้

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การแต่งตั้งกรรมาธิการเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมาธิการทั่วโลกมีอยู่ 3 วิธีด้วยกัน คือ

1 แต่งตั้งโดยผู้ที่มีอํานาจในการบังคับบัญชาของรัฐสภา

2 แต่งตั้งโดยคณะกรรมาธิการพิเศษที่มีอํานาจในการคัดเลือก

3 แต่งตั้งโดยรัฐสภา ซึ่งการปฏิบัติงานของคณะกรรมาธิการนั้นถือว่าเป็นเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาดผู้ใดจะนําไปฟ้องร้องในทางใด ๆ มิได้

78 (1) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกาได้เปิดโอกาสให้มีการใช้ตําแหน่งสมาชิกคณะกรรมาธิการเป็นรางวัลตอบแทนแก่สมาชิกสภาอยู่แทนทําหน้าที่เป็นผลประโยชน์แก่พรรคการเมืองได้

(2) กรรมาธิการแต่ละคณะในสภาคองเกรส จะได้รับเลือกเข้าดํารงตําแหน่งกรรมาธิการคณะใดคณะหนึ่งขึ้นอยู่กับความสมัครใจของสมาชิก ความเหมาะสมต่อหน้าที่ ความมีอาวุโสเป็นหลัก

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกาได้เปิดโอกาสให้มีการใช้“ตําแหน่งสมาชิกคณะกรรมาธิการ” เป็นรางวัลตอบแทนแก่สมาชิกสภาอยู่แทนทําหน้าที่เป็น ผลประโยชน์แก่พรรคการเมืองได้ ส่วนคณะกรรมาธิการแต่ละคณะในสภาคองเกรสนั้นจะ ได้รับเลือกเข้าดํารงตําแหน่งกรรมาธิการคณะใดคณะหนึ่งขึ้นอยู่กับความสมัครใจของสมาชิกความเหมาะสมต่อหน้าที่ และความมีอาวุโสเป็นหลัก

79 (1) ในระบบรัฐสภาของสหรัฐอเมริกา หากเป็นร่างรัฐบัญญัติธรรมดาเข้าสู่คณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องแล้วคณะกรรมาธิการจะสามารถทําการจัดประชุมที่เรียกว่า การประชุมลับ (Executive Session)เพื่อที่จะกําหนดระเบียบวาระได้

(2) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกา จะประกอบด้วยคณะกรรมาธิการสามัญ คณะกรรมาธิการวิสามัญคณะกรรมาธิการร่วม คณะกรรมาธิการร่วมกันของรัฐสภา และคณะกรรมาธิการเต็มสภา

ตอบ 2 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกา มี 5 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการสามัญ

2 คณะกรรมาธิการวิสามัญ

3 คณะกรรมาธิการร่วม

4 คณะกรรมาธิการร่วมกันของรัฐสภา

5 คณะกรรมาธิการเต็มสภา ซึ่งในระบบรัฐสภาของสหรัฐฯ หากเป็นร่างรัฐบัญญัติที่มีความสลับซับซ้อน (เรื่องใหญ่ เรื่องที่ ประชาชนสนใจมาก) เข้าสู่คณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องแล้วคณะกรรมาธิการจะสามารถทําการ จัดประชุมที่เรียกว่า การประชุมลับ (Executive Session) เพื่อที่จะกําหนดระเบียบวาระได้

80 (1) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาอังกฤษ ประกอบด้วยคณะกรรมาธิการเต็มสภา คณะกรรมาธิการสามัญคณะกรรมาธิการร่วม และคณะกรรมาธิการร่วมพระราชบัญญัติมหาชน

(2) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาอังกฤษยังมีคณะกรรมาธิการชุดพิเศษชุดหนึ่ง เรียกว่า คณะกรรมาธิการสามัญสกอต (Scottish Standing Committee) ซึ่งมีกรรมาธิการทุกคนเป็นชาวสกอต และทําหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับสกอตแลนด์เท่านั้น

ตอบ 2 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาอังกฤษ มี 5 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการเต็มสภา

2 คณะกรรมาธิการสามัญ

3 คณะกรรมาธิการวิสามัญ

4 คณะกรรมาธิการร่วม

5 คณะกรรมาธิการร่างพระราชบัญญัติเอกชน นอกจากนี้ยังมีคณะกรรมาธิการชุดพิเศษชุดหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมาธิการสามัญสกอต” (Scottish Standing Committee) ซึ่งมีกรรมาธิการทุกคนเป็นชาวสกอต และทําหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับสกอตแลนด์เท่านั้น

81 (1) คณะกรรมาธิการวิสามัญ (Select Committee) ของรัฐสภาอังกฤษ สามารถแบ่งย่อยได้อีก 2 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการสมัยประชุม

2 คณะกรรมาธิการชั่วคราว (2) คณะกรรมาธิการร่วม (Joint Committee) ของรัฐสภาอังกฤษ จะเป็นคณะกรรมาธิการที่ได้รับแต่งตั้งมาจากสภาสามัญและสภาขุนนาง เพื่อร่วมกันพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ไม่เกี่ยวกับการเมือง

ตอบ 2 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการวิสามัญ (Select Committee) ของรัฐสภาอังกฤษ สามารถแบ่งย่อยได้ 3 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการสมัยประชุม

2 คณะกรรมาธิการชั่วคราว

3 คณะกรรมาธิการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ส่วนคณะกรรมาธิการร่วม (Joint Committee) ของรัฐสภาอังกฤษนั้นจะเป็นคณะกรรมาธิการ ที่ได้รับแต่งตั้งมาจากสภาสามัญและสภาขุนนาง เพื่อร่วมกันพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ไม่เกี่ยวกับการเมือง

82 (1) ระบบคณะกรรมาธิการของฝรั่งเศส จะประกอบด้วยคณะกรรมาธิการสามัญ คณะกรรมาธิการวิสามัญและคณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุม

(2) คณะกรรมาธิการสามัญของฝรั่งเศส เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบร่างกฎหมายตามที่รัฐบาลหรือสภาร้องขอให้พิจารณา

ตอบ 1 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการของฝรั่งเศส มี 3 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการสามัญ เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาเรื่องหลัก ๆ

2 คณะกรรมาธิการวิสามัญ เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบร่างกฎหมายตามที่รัฐบาลหรือสภาร้องขอให้พิจารณา

3 คณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุม เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อที่สภาจะสามารถดําเนินการสอบสวนหรือรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง และเสนอข้อสรุปต่อสภา ซึ่งมักเข้าไป เกี่ยวข้องกับคดีที่สําคัญและดําเนินงานเดียวกับกระทรวงการยุติธรรม และจะถูกยุบทันทีที่ศาลได้ดําเนินคดีในข้อเท็จจริงที่คณะกรรมาธิการพิจารณาอยู่

83 (1) คณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุมของฝรั่งเศส เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อที่สภาจะสามารถดําเนินการสอบสวนหรือรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง และเสนอข้อสรุปต่อประธานาธิบดี

(2) คณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุมของฝรั่งเศส มักเข้าไปเกี่ยวข้องกับคดีที่สําคัญและดําเนินงานเดียวกับกระทรวงการยุติธรรม และจะถูกยุบทันทีที่ศาลได้ดําเนินคดีในข้อเท็จจริงที่คณะกรรมาธิการพิจารณาอยู่

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 82 ประกอบ

84 (1) ระบบกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น สามารถเปิดให้มีการซักถามในที่ประชุมคณะกรรมาธิการ (Public Hearing) เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ ร่างพระราชบัญญัติรายได้ และร่างพระราชบัญญัติที่สําคัญเกี่ยวกับผลประโยชน์ของประชาชน

(2) ระบบกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่นอาจขอให้รัฐมนตรีหรือผู้แทนรัฐบาลชี้แจงต่อที่ประชุมคณะกรรมาธิการได้ขณะเดียวกันรัฐมนตรีหรือผู้แทนรัฐบาลก็อาจจะขอเข้าพูดที่ประชุมคณะกรรมาธิการก่อนที่ประธานคณะกรรมาธิการขอมาก็ได้

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ระบบกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น สามารถเปิดให้มีการซักถามในที่ประชุมคณะกรรมาธิการ (Public Hearing) เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ ร่างพระราชบัญญัติ รายได้ และร่างพระราชบัญญัติที่สําคัญเกี่ยวกับผลประโยชน์ของประชาชน ซึ่งอาจขอให้รัฐมนตรี หรือผู้แทนรัฐบาลชี้แจงต่อที่ประชุมคณะกรรมาธิการได้ ขณะเดียวกันรัฐมนตรีหรือผู้แทนรัฐบาลก็อาจจะขอเข้าพูดที่ประชุมคณะกรรมาธิการก่อนที่ประธานคณะกรรมาธิการขอมาก็ได้

85 (1) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น มี 2 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการสามัญ

2 คณะกรรมาธิการวิสามัญ

(2) ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญของรัฐสภาญี่ปุ่นจะมาจากการแต่งตั้งของสมาชิกในคณะกรรมาธิการด้วยกัน และในทางปฏิบัติจะได้รับการคัดเลือกโดยญัตติขอให้รับรองในคณะกรรมาธิการ

ตอบ 1 (คําบรรยาย), คณะกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น มี 2 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการสามัญ

2 คณะกรรมาธิการวิสามัญ โดยประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญนั้นจะมาจากการเลือกตั้งของสมาชิกในคณะกรรมาธิการด้วยกัน และในทางปฏิบัติจะได้รับการคัดเลือกโดยญัตติขอให้รับรองในคณะกรรมาธิการ

86 (1) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยเป็นแบบผสม คือมีทั้งคณะกรรมาธิการสามัญประจําสภา(ระบบสหรัฐอเมริกา) และคณะกรรมาธิการวิสามัญซึ่งตั้งขึ้นชั่วคราว (ระบบอังกฤษ)

(2) รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 129 วรรคสี่ บัญญัติให้อํานาจคณะกรรมาธิการ เรียกเอกสารจากบุคคลใด หรือเรียกผู้พิพากษาหรือตุลาการมาแถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระทําหรือในเรื่องที่พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาอยู่นั้นได้

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยเป็นแบบผสม คือมีทั้งคณะกรรมาธิการสามัญประจําสภา (ระบบสหรัฐอเมริกา) และคณะกรรมาธิการวิสามัญซึ่งตั้งขึ้นชั่วคราว (ระบบอังกฤษ) โดยรัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 129 วรรค 4 บัญญัติให้อํานาจคณะกรรมาธิการ เรียกเอกสาร จากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระทําหรือ ในเรื่องที่พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาอยู่นั้นได้ แต่การเรียกเช่นว่านั้นมิให้ใช้บังคับแก่ผู้พิพากษาหรือตุลาการ

87 (1) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยมีที่มาจากรัฐธรรมนูญ และข้อบังคับการประชุมของสภา จะต้องคํานึงถึงหลักการกระจายอํานาจเป็นหลัก

(2) รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 129 วรรคสาม บัญญัติเรื่องการสอบหาข้อเท็จจริง คณะกรรมาธิการ จะมอบอํานาจหรือมอบหมายให้บุคคลหรือคณะบุคคลใดกระทําการแทนมิได้

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยนั้นมีที่มาจากรัฐธรรมนูญ และข้อบังคับการประชุมของสภา ซึ่งจะต้องคํานึงถึงหลักแบ่งงานกันทําเป็นหลัก โดยรัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 129 วรรค 3 บัญญัติเรื่องการสอบหาข้อเท็จจริง คณะกรรมาธิการจะมอบอํานาจหรือ มอบหมายให้บุคคลหรือคณะบุคคลใดกระทําการแทนมิได้

 

ข้อ 88 – 95 ให้นักศึกษาพิจารณาประเภทของคณะกรรมาธิการรัฐสภาไทย แล้วใช้ตัวเลือกต่อไปนี้

(1) คณะกรรมาธิการสามัญ

(2) คณะกรรมาธิการวิสามัญ

(3) คณะกรรมาธิการร่วม

(4) คณะกรรมาธิการเต็มสภา

(5) คณะกรรมาธิการชั่วคราว

 

88 คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจากผู้ที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น

ตอบ 1 หน้า 27 – 28 คณะกรรมาธิการสามัญ หมายถึง คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น หรือคณะบุคคลที่วุฒิสภาแต่งตั้งจากสมาชิกวุฒิสภาเท่านั้น และตั้งไว้เป็นการถาวรตลอดอายุของสภา เพื่อการทํากิจการหรือเพื่อพิจาณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอํานาจหน้าที่ของรัฐสภาแล้วรายงานต่อสภา

89 คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ได้

ตอบ 2 หน้า 31 คณะกรรมาธิการวิสามัญ หมายถึง คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ได้ หรือคณะบุคคลที่วุฒิสภาแต่งตั้งจากผู้ที่เป็นหรือมิได้ เป็นสมาชิกวุฒิสภาก็ได้ โดยจะแต่งตั้งขึ้นเมื่อคณะรัฐมนตรีร้องขอ หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยื่นญัตติขอให้ตั้ง เพื่อพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นการเฉพาะและจะสลายตัวเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจ

90 กรรมาธิการที่สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาแต่งตั้งขึ้น จากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาก็ได้

ตอบ 3 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการร่วม หมายถึง กรรมาธิการที่สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาแต่งตั้งขึ้น จากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาก็ได้ ซึ่งจะเกิดขึ้นเฉพาะ กรณีที่วุฒิสภามีการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติที่สภาผู้แทนราษฎรได้ให้ความเห็นชอบแล้ว และสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาแล้วเห็นว่ามิใช่เป็นการแก้ไขเล็กน้อยจึงไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขของวุฒิสภา

91 คณะกรรมาธิการที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ประกอบเป็นคณะกรรมาธิการโดยประธานในที่ประชุมจะทําหน้าที่ประธานคณะกรรมาธิการ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการเต็มสภา หมายถึง คณะกรรมาธิการที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ประกอบเป็นคณะกรรมาธิการโดยประธานในที่ประชุม จะทําหน้าที่ประธานคณะกรรมาธิการ ซึ่งจะเกิดขึ้นเฉพาะในกรณีสภาได้มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญในวาระที่ 1 แล้ว

92 คณะกรรมาธิการ…จะเกิดขึ้นเฉพาะในกรณีสภาได้มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญในวาระที่ 1 แล้ว . .

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 91 ประกอบ

93 คณะกรรมาธิการจะเกิดขึ้นเฉพาะกรณีที่วุฒิสภามีการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติที่สภาผู้แทนราษฎรได้ให้ความเห็นชอบแล้ว และสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาแล้วเห็นว่ามิใช่เป็นการแก้ไขเล็กน้อยจึงไม่เห็นด้วย กับการแก้ไขของวุฒิสภา

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 90 ประกอบ

94 คณะกรรมาธิการแต่งตั้งเมื่อคณะรัฐมนตรีร้องขอ หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยื่นญัตติขอให้ตั้ง

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 89 ประกอบ

95 คณะกรรมาธิการ ตั้งไว้เป็นการถาวรตลอดอายุของสภา เพื่อการทํากิจการหรือเพื่อพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอํานาจหน้าที่ของรัฐสภาแล้วรายงานต่อสภา

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 88 ประกอบ

 

ข้อ 96 – 100 เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับกระบวนการนิติบัญญัติในฝ่ายนิติบัญญัติ การตราพระราชบัญญัติ ให้นักศึกษาพิจารณาข้อความแล้วใช้ตัวเลือกต่อไปนี้

(1) ถ้าข้อความนี้ ถูก

(2) ถ้าข้อความนี้ ผิด

 

96 รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 133 บัญญัติว่า ร่างพระราชบัญญัติให้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรก่อนและจะเสนอได้ก็แต่โดย

1 คณะรัฐมนตรี

2 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวนไม่น้อยกว่า 20 คน

3 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวนไม่น้อยกว่า 10,000 คน และต้องเป็นไปตามมาตรา 77 ด้วย

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 65 ประกอบ

 

97 กระบวนการนิติบัญญัติในรัฐสภา กรณีการพิจารณาโดยสภาผู้แทนราษฎรได้กําหนดขั้นตอนเป็น 4 วาระ คือ

1 ขั้นรับหลักการ

2 ขั้นพิจารณา

3 ขั้นแปรบัญญัติ

4 ขั้นลงมติเห็นชอบให้ส่งต่อไปยังวุฒิสภา

ตอบ 2 หน้า 54 – 55 กระบวนการนิติบัญญัติในรัฐสภา กรณีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติโดยสภาผู้แทนราษฎรนั้นจะพิจารณาเป็น 3 วาระ คือ

1 ขั้นรับหลักการ

2 ขั้นพิจารณาหรือขั้นแปรญัตติ

3 ขั้นลงมติเห็นชอบให้ส่งต่อไปยังวุฒิสภา

98 การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของวุฒิสภา กรณีเป็นการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั่วไปต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน แต่ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 14 ประกอบ

99 หากประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภา เห็นว่าร่างพระราชบัญญัติมีข้อความขัดหรือแย้งต่อ รัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ให้ส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อวินิจฉัย และแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบโดยไม่ชักช้า

ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 148 (1) กําหนดให้ หาก ส.ส. ส.ว. หรือสมาชิกของทั้งสองสภารวมกันมีจํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของ ทั้งสองสภา เห็นว่าร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้น โดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ให้เสนอความเห็นต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา หรือประธานรัฐสภาแล้วแต่กรณี แล้วให้ประธานแห่งสภาที่ได้รับความเห็น ดังกล่าวส่งความเห็นนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย และแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบ โดยไม่ชักช้า

100 ถ้าพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ ก็ทรงมีอํานาจยับยั้งได้ โดยส่งร่างพระราชบัญญัตินั้นคืนมายังรัฐสภา หรือเก็บร่างพระราชบัญญัตินั้นไว้โดยไม่ทรงพระราชทานคืนมายังรัฐสภา จนล่วงพ้นเวลา 90 วันไปแล้ว

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 57 ประกอบ

Advertisement