การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3100 กระบวนการนิติบัญญัติ

Advertisement

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1 ข้อใดเป็นเกณฑ์การวัดความเป็นประชาธิปไตย

(1) ความพร้อมรับผิดชอบทางการเมือง

(2) ความเข้มแข็งของภาคประชาชน

(3) ความสามารถในการตรวจสอบนักการเมืองของ ป.ป.ช.

(4) ข้อ 1 และ 3 ถูก

(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 14) เกณฑ์การวัดความเป็นประชาธิปไตย ได้แก่

1 ความพร้อมรับผิดชอบทางการเมือง (Political Accountability)

2 การแข่งขันทางการเมือง (Political Competition)

3 ความมีเสรีภาพทางการเมือง (Political Freedom)

4 ความเสมอภาคทางการเมือง (Political Equality)

2 การปฏิรูปประเทศ เป็นหมวดหนึ่งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใด (1) พ.ศ. 2540

(2) พ.ศ. 2550

(3) พ.ศ. 2557

(4) พ.ศ. 2560

(5) ไม่ปรากฏในรัฐธรรมนูญทุกฉบับ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) “การปฏิรูปประเทศ” เป็นหมวด 16 ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ซึ่งการปฏิรูปประเทศตามหมวดนี้ต้องการดําเนินการในด้านต่าง ๆ ให้เกิดผลดังนี้ การเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม การศึกษา เศรษฐกิจและด้านอื่น ๆ

3 รัฐธรรมนูญในฐานะกฎหมายสูงสุดมีลักษณะอย่างไร

(1) กฎหมายใดจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้

(2) การแก้กฎหมายทําได้ง่าย

(3) เป็นไปตามเจตจํานงของผู้ปกครองสูงสุด

(4) ลําดับชั้นของกฎหมายไม่มีความจําเป็น

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 5) รัฐธรรมนูญในฐานะกฎหมายสูงสุด มีลักษณะดังนี้

1 กฎหมายใดจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้

2 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญทําได้ยาก

4 ข้อใดแสดงว่าอํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย

(1) ตัวแทนจากวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งกันเองของสภาวิชาชีพ

(2) ตัวแทนในรัฐสภามาจากการเลือกตั้งโดยตรงมากที่สุด

(3) จํานวนประชากรที่ลงชื่อเสนอกฎหมายได้ต้องใช้จํานวนมากที่สุด

(4) ประชาชนออกเสียงประชามติแล้วให้รัฐแก้ไขได้เล็กน้อย

(5) การประกาศตัวเป็นองค์อธิปัตย์ของแกนนํากลุ่มผู้ชุมนุมที่มีผู้เข้าร่วมชุมนุมจํานวนมาก

ตอบ 2 (คําบรรยาย) อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน (Popular Sovereignty) สามารถแสดงออกผ่านกฎหมายรัฐธรรมนูญได้ในหลายลักษณะ เช่น

1 กําหนดสัดส่วนของตัวแทนประชาชนในรัฐสภาให้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงมากที่สุด

2 กําหนดจํานวนประชาชนที่มีสิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมายมีจํานวนน้อยลง (แสดงนัยยะสําคัญว่าอํานาจของประชาชนมากขึ้น) เป็นต้น

5 หลักการประชาพิจารณ์ ไม่ใช่ข้อใดต่อไปนี้

(1) รัฐตัดสินใจดําเนินโครงการแล้วจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน (2) รัฐผูกพันต้องปฏิบัติตามความคิดเห็นของประชาชน

(3) ต้องมีผู้เชี่ยวชาญมาให้ข้อมูลกับประชาชน

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 (คําบรรยาย) หลักการของการทําประชาพิจารณ์ มีดังนี้

1 จะต้องกระทําก่อนการตัดสินใจดําเนินโครงการ

2 มีการคัดเลือกผู้เข้าร่วมประชาพิจารณ์ที่สะท้อนสัดส่วนที่แท้จริงของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

3 มีผู้เชี่ยวชาญมาให้ข้อมูลกับประชาชน

4 การดําเนินการประชาพิจารณ์ต้องเป็นไปโดยเที่ยงตรงและเปิดเผย

5 ข้อสรุปจากการทําประชาพิจารณ์เป็นเพียงข้อเสนอแนะ หน่วยงานของรัฐไม่จําเป็นต้องปฏิบัติตาม

6 รัฐธรรมนูญ มีนัยยะสําคัญในเรื่องใด

(1) จํากัดอํานาจของรัฐบาล

(2) แสดงความสัมพันธ์ของรัฐกับประชาชน

(3) สร้างความชอบธรรมในการใช้อํานาจของรัฐ

(4) ถูกทุกข้อ

(5) เฉพาะข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 4 – 5), (คําบรรยาย) นัยยะสําคัญของรัฐธรรมนูญ มีดังนี้

1 จํากัดอํานาจและการกระทําของรัฐบาล

2 แสดงความสัมพันธ์ของรัฐกับประชาชน

3 สร้างความชอบธรรมในการใช้อํานาจของรัฐบาล

4 อํานาจอธิปไตยเป็นของประชาชน

5 สถานะสูงสุดที่ไม่มีกฎหมายอื่นใดขัดหรือแย้ง ฯลฯ

7 องค์กรท้องถิ่นใดหายไปในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560

(1) เทศบาล

(2) สภาท้องถิ่น

(3) องค์การบริหารส่วนตําบล

(4) กํานัน

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 5 (คําบรรยาย) องค์กรท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญฯ 2560 ได้แก่

1 ระดับหมู่บ้าน เช่น ผู้ใหญ่บ้าน หมู่บ้าน สภาท้องถิ่น

2 ระดับตําบล เช่น กํานั้น องค์การบริหารส่วนตําบล (อบต.)

3 ระดับอําเภอ เช่น เทศบาล เมืองพัทยา

4 ระดับจังหวัด เช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เป็นต้น

8 ข้อใดไม่ใช่องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560

(1) กกต.

(2) ป.ป.ช.

(3) คตง.

(4) สตง.

(5) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 35 – 39) องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญฯ 2560 ประกอบด้วย 5 องค์กร ได้แก่

1 คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)

2 ผู้ตรวจการแผ่นดิน

3 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)

4 คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.)

5 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

9 ใครมีสิทธิเลือกตั้ง

(1) ภิกษุ

(2) อยู่ระหว่างสู้คดีถูกเพิกถอนสิทธิ

(3) จบการศึกษาระดับประถมศึกษา

(4) นักโทษ

(5) จิตฟั่นเฟือน

ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 95 กําหนดให้ บุคคลผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

1 มีสัญชาติไทย

2 มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีในวันเลือกตั้ง

3 มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วไม่น้อยกว่า 90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง และมาตรา 96 กําหนดให้ บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้งเป็นบุคคลต้องห้าม มิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง

1 เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช

2 อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งไม่ว่าคดีนั้นจะถึงที่สุดแล้วหรือไม่

3 ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคําสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย (เป็นนักโทษ)

4 วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

10 องค์อธิปัตย์ตามแนวคิดสัญญาประชาคมของโทมัส ฮอบส์ และจอห์น ล็อค ต่างกันอย่างไร

(1) การเพิกถอนอํานาจของผู้ให้อํานาจ

(2) ความเป็นเจ้าชีวิตของประชาชน

(3) การเป็นเจ้าของทรัพย์สิน

(4) ถูกทุกข้อ

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 9), (คําบรรยาย) องค์อธิปัตย์ตามแนวคิดสัญญาประชาคมของโทมัส ฮอบส์ และจอห์น ล็อค นั้นแตกต่างกันในประเด็นเรื่อง “การเพิกถอนอํานาจของผู้ให้อํานาจ” โดยโทมัส ฮอบส์ เห็นว่าเมื่อประชาชนมอบอํานาจให้องค์อธิปัตย์แล้วไม่สามารถเพิกถอนได้ ไม่ว่าเขาจะควบคุมชีวิตเรามากแค่ไหนก็ตาม แต่สําหรับ จอห์น ล็อค กลับเห็นว่าอํานาจดังกล่าวสามารถเพิกถอนได้เมื่อเห็นว่าองค์อธิปัตย์ไม่อาจดูแลปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของตนได้

11 วุฒิสภาต้องพิจารณาร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการเงินให้เสร็จภายในกี่วัน (1) 15 วัน

(2) 30 วัน

(3) 45 วัน

(4) 60 วัน

(5) 90 วัน

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 55) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 136 กําหนดให้ วุฒิสภา ต้องพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เสนอมาโดยสภาผู้แทนราษฎรนั้นให้เสร็จภายใน 60 วัน แต่ถ้า เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 30 วัน เว้นแต่วุฒิสภา จะได้ลงมติให้ขยายเวลาออกไปเป็นกรณีพิเศษซึ่งต้องไม่เกิน 30 วัน หากวุฒิสภายังพิจารณาไม่เสร็จภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ ให้ถือว่าวุฒิสภาได้ให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัตินั้น

12 “The End of History” เป็นแนวคิดของใคร

(1) จอห์น ล็อค

(2) ฟรานซิส ฟูกู้ยามา

(3) มองเตสกิเออ

(4) รุสโซ

(5) โทมัส ฮอบส์

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 14), (คําบรรยาย) ฟรานซิส ฟูกยามา (Francis Fukuyama) ได้เขียนหนังสือชื่อ “การสิ้นสุดของประวัติศาสตร์” (The End of History) เพื่อสนับสนุนแนวคิด เสรีนิยมประชาธิปไตยโดยเขาเชื่อว่า โลกทุกวันนี้ไม่ต้องศึกษาเรื่องอุดมการณ์ทางการเมืองอีก ต่อไป เพราะเราได้มาถึงจุดสิ้นสุดของการแข่งขันทางอุดมการณ์แล้ว นับตั้งแต่สงครามเย็นยุติลงหลังการพังทลายของกําแพงเบอร์ลินในปี ค.ศ. 1990

13 ข้อใดคือประชาธิปไตยทางตรง

(1) การรับฟังความคิดเห็นจากประธานชุมชน

(2) การเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

(3) การสรรหาวุฒิสภา

(4) การรับฟังข่าวสาร

(5) การไปลงประชามติ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ประชาธิปไตยทางตรง (Direct Democracy) เป็นรูปแบบการปกครองโดยที่พลเมืองสามารถมีส่วนร่วมกับการตัดสินใจใด ๆ ได้โดยตรง โดยไม่ต้องอาศัยคนกลางหรือผู้ทําหน้าที่แทนตน เช่น การไปลงประชามติ การริเริ่มออกกฎหมาย การถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้ง เป็นต้น

14 การกําหนดจํานวนประชาชนที่มีสิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมายน้อยลง แสดงนัยยะอะไร

(1) อํานาจของประชาชนมากขึ้น

(2) อํานาจของประชาชนน้อยลง

(3) โอกาสการเข้ามีส่วนร่วมในการปกครองน้อยลง

(4) ไม่มีนัยยะสําคัญ

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 4 ประกอบ

15 ประเทศไทยได้รับพระราชทานรัฐธรรมนูญครั้งแรกเมื่อใด

(1) 24 ธันวาคม 2475

(2) 24 มิถุนายน 2475

(3) 10 ธันวาคม 2475

(4) 14 ตุลาคม 2475

(5) 6 ตุลาคม 2475

ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 66 – 67) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทย ซึ่งได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475

16 ข้อใดคือพื้นที่ส่วนตัว (Private Sphere)

(1) ห้องทํางานในมหาวิทยาลัย

(2) การโพสต์บนเฟซบุ๊ค

(3) ไลน์กลุ่ม

(4) การคลุมฮิญาบ

(5) ห้อง Study ในห้องสมุด

ตอบ 4 (คําบรรยาย) พื้นที่ส่วนตัว (Private Sphere) เป็นพื้นที่ที่ถูกใช้โดยคนหนึ่งคนใด และมีลักษณะแบ่งแยกกันเด็ดขาด มักเป็นพื้นที่ที่มีความเป็นปัจเจกบุคคล เข้าถึงได้ยากเพราะต้องการความ เป็นส่วนตัว เช่น ศาสนา (การคลุมฮิญาบ) ชีวิตครอบครัว รสนิยม งานอดิเรก ห้องนอน อีเมล(E-mail) ฯลฯ

17 กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจําเป็นรีบด่วนเรียกว่า

(1) พระราชกฤษฎีกา

(2) พระราชานุญาต

(3) พระราชบัญญัติ

(4) พระราชกําหนด

(5) พระราชดําริ

ตอบ 4 หน้า 98 – 99, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 56) พระราชกําหนด คือ กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจําเป็นรีบด่วน ได้แก่ กรณีฉุกเฉินที่มี ความจําเป็นรีบด่วนในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคง ในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ หรือมีความจําเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยภาษีอากรหรือเงินตรา

18 การตัดสินใจด้วยเสียงส่วนใหญ่แต่ปกป้องเสียงส่วนน้อย คือข้อใด

(1) Secular State

(2) Human Rights

(3) Parliamentary System

(4) Social Contract

(5) Majority Rule and Minority Rights

ตอบ 5 (คําบรรยาย) Majority Rule and Minority Rights หมายถึง หลักการปกครองโดยเสียงข้างมากโดยเคารพสิทธิของเสียงข้างน้อย หรืออาจกล่าวได้อีกอย่างว่าเป็นการตัดสินใจด้วยเสียงส่วนใหญ่แต่ปกป้องสิทธิของเสียงส่วนน้อยนั่นเอง

19 ประเทศใดที่สามารถนํา “ตํารากฎหมายที่สําคัญ” มาเป็นหลักในการพิจารณาคดีได้

(1) อังกฤษ

(2) สหรัฐอเมริกา

(4) ฝรั่งเศส

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ที่มาของหลักในการพิจารณาคดีของอังกฤษ ได้แก่ ตํารากฎหมายที่สําคัญกฎหมายจารีตประเพณี ขนบธรรมเนียมหรือหลักปฏิบัติ เป็นต้น

20 การกําหนดความสัมพันธ์ของ “ผู้ใช้อํานาจรัฐ” กับ “ประชาชนในฐานะปัจเจก” มักยึดหลักความได้สัดส่วนและความเหมาะสม ระหว่างข้อใด

(1) ความชอบด้วยกฎหมายและการใช้อํานาจรัฐ

(2) ประโยชน์ของปัจเจกและประโยชน์ของสาธารณะ

(3) อํานาจของรัฐสภากับอํานาจองค์กรอิสระ

(4) ข้อ 1 และ 3 ถูก

(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 13), (คําบรรยาย) การกําหนดพื้นฐานความสัมพันธ์ของ“ผู้ใช้อํานาจรัฐ” กับ “ประชาชนในฐานะปัจเจก” นั้นมักยึดหลักแห่งความได้สัดส่วนและ หลักแห่งความเหมาะสม เพื่อ

1 เป็นหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายและการใช้อํานาจรัฐ

2 สร้างดุลยภาพระหว่างประโยชน์ของปัจเจกและประโยชน์ของสาธารณะ

21 ข้อใดไม่ใช่ปัญหาของการทําประชาพิจารณ์ในประเทศไทย

(1) การคัดเลือกผู้เข้าร่วมประชาพิจารณ์ไม่สะท้อนสัดส่วนที่แท้จริงของผู้มีส่วนได้เสีย

(2) จัดทําประชาพิจารณ์ก่อนการตัดสินใจดําเนินโครงการ

(3) ไม่มีผู้เชี่ยวชาญมาชี้แจงให้ข้อมูลอย่างครบถ้วน

(4) ผู้มาร่วมบางส่วนไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการได้

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ปัญหาของการทําประชาพิจารณ์ในประเทศไทย ได้แก่

1 การคัดเลือกผู้เข้าร่วมประชาพิจารณ์ไม่สะท้อนสัดส่วนที่แท้จริงของผู้มีส่วนได้เสีย 2 รัฐตัดสินใจดําเนินโครงการก่อนจัดทําประชาพิจารณ์

3 ไม่มีผู้เชี่ยวชาญมาชี้แจงให้ข้อมูลอย่างครบถ้วน

4 ผู้มาร่วมบางส่วนไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการได้

5 ความไม่เป็นกลางของคณะกรรมการประชาพิจารณ์

6 ปัญหาในเรื่องงบประมาณ เป็นต้น

22 คํากล่าวที่ว่า “เสรีนิยมกับประชาธิปไตยไม่ใช่สิ่งเดียวกัน” คือข้อใด

(1) ประชาธิปไตยผูกโยงกับจํานวนประชาชน

(2) เสรีนิยมคือการจํากัดอํานาจของรัฐต่อปัจเจก

(3) เสรีนิยมกับประชาธิปไตยเป็นแนวคิดที่ไม่สามารถไปด้วยกัน

(4) ประชาธิปไตยไม่สามารถทําให้เกิดเผด็จการรัฐสภาได้

(5) ข้อ 1 และ 2

ตอบ 5 (คําบรรยาย) เสรีนิยมกับประชาธิปไตยไม่ใช่สิ่งเดียวกัน เนื่องจากประชาธิปไตยนั้นจะผูกโยงกับจํานวนประชาชน (เน้นส่วนใหญ่) ส่วนเสรีนิยมคือการจํากัดอํานาจของรัฐต่อปัจเจกแต่อย่างไรก็ตามทั้งสองด้านจะเป็นเงื่อนไขซึ่งกันและกัน

23 ข้อใดไม่ใช่ความหมายของยุครู้แจ้ง (Enlightenment)

(1) การยอมรับระบบเหตุผล

(2) ปฏิเสธอํานาจในการปกครองของศาสนจักร

(3) การมีความคิดแบบวิทยาศาสตร์

(4) การเชื่อในบารมีของผู้นําสูงสุด

(5) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ยุครู้แจ้ง (Enlightenment) หรือ “ยุคเรืองปัญญา” คือ ยุคที่มีการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมของเหล่าปัญญาชนในยุโรปและอาณานิคมบนทวีปอเมริกาช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 โดยมีเป้าหมายเพื่อปฏิรูปสังคม ส่งเสริมการมีความคิดแบบวิทยาศาสตร์ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และให้มีการยอมรับระบบเหตุผลมากกว่าการใช้หลักจารีต การเชื่อในบารมีของผู้นําสูงสุดและ การเปิดเผยจากพระเจ้า ซึ่งส่งผลให้ศาสนจักรไม่มีอิทธิพลต่อความคิดและถือเป็นการปฏิเสธอํานาจในการปกครองของศาสนจักรนั้นเอง

24 ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน ข้อใดไม่ถูกต้อง

(1) รัฐมีอํานาจมาก ประชาชนจะมีอํานาจน้อยลง

(2) รัฐถูกจํากัดอํานาจมาก ประชาชนจะมีเสรีภาพมากขึ้น

(3) ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลในการครอบครองของรัฐได้โดยสะดวกถ้ามใช้ข้อมูลเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐหรือเป็นความลับตามกฎหมายบัญญัติ

(4) บุคคลที่มีสัญชาติไทยโดยการเกิด รัฐไทยไม่สามารถถอนสัญชาติแต่สามารถเนรเทศได้

(5) ประชาชนสามารถฟ้องหน่วยงานรัฐเมื่อถูกบุคลากรของรัฐละเมิดได้

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ความสัมพันธ์ของรัฐกับประชาชนในสาระสําคัญของรัฐธรรมนูญ สามารถพิจารณาได้ดังนี้

1 สิทธิและเสรีภาพของประชาชน เช่น รัฐมีอํานาจมาก ประชาชนจะมีอํานาจน้อยลง 2 จํากัดอํานาจรัฐต่อประชาชนอย่างไร เช่น รัฐถูกจํากัดอํานาจมาก ประชาชนจะมีเสรีภาพมากขึ้น

3 ประชาชนเข้ามาเกี่ยวข้องกับรัฐได้อย่างไร เช่น ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลในการครอบครอง ของรัฐได้โดยสะดวกถ้ามิใช่ข้อมูลเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐหรือเป็นความลับตามกฎหมายบัญญัติ,ประชาชนสามารถฟ้องหน่วยงานรัฐเมื่อถูกบุคลากรของรัฐละเมิดได้ เป็นต้น

25 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มีผลบังคับใช้เมื่อใด

(1) 5 พ.ค. 2560

(2) 6 เมษายน 2560

(3) 24 มิถุนายน 2460

(4) 10 ธันวาคม 2560

(5) 1 ธันวาคม 2560

ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 20 ของประเทศไทย โดยรัฐธรรมนูญฉบับนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร (รัชกาลที่ 10) ทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560 ณ พระที่นั่งอนันตสมาคมและมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระราชโองการ

26 ใครเป็นผู้ลงนามรับสนองพระราชโองการในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560

(1) นายมีชัย ฤชุพันธุ์ (ประธาน คกก. ร่างรัฐธรรมนูญ)

(2) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี)

(3) พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ (ประธานองคมนตรี)

(4) นายพรเพชร วิชิตชลชัย (ประธาน สนช.)

(5) นายวีระพล ตั้งสุวรรณ (ประธานศาลฎีกา)

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 25 ประกอบ

27 รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 กําหนดให้มีวุฒิสภาในวาระแรกจํานวนกี่คน

(1) 200 คน

(2) 250 คน

(3) 300 คน

(4) 350 คน

(5) 400 คน

ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 บทเฉพาะกาล มาตรา 269 กําหนดให้ ในวาระเริ่มแรกให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจํานวน 250 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามที่ คสช. ถวายคําแนะนําโดยอายุของวุฒิสภาตามมาตรานี้มีกําหนด 5 ปีนับแต่วันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง

28 ข้อใดคือความหมายของหลักนิติรัฐ

(1) องค์กรเกี่ยวข้องกับการทุจริตประพฤติมิชอบควรมีอํานาจเด็ดขาดทั้งบริหาร ตุลาการ และนิติบัญญัติ

(2) ปฏิบัติตามกฎหมายที่ตราขึ้นจากผู้ปกครองโดยเคร่งครัด

(3) เปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถต่อสู้ป้องกันสิทธิของตนเท่าที่ผู้ปกครองกําหนด (4) กระบวนการพิจารณาไต่สวนคดีต่าง ๆ ให้เป็นไปตามดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ (5) กฎหมายต้องมีความชัดเจนและมีความแน่นอนมากพอที่ประชาชนจะเข้าใจได้ ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 19), (คําบรรยาย) หลักนิติรัฐ หมายถึง การปฏิบัติและบังคับใช้กฎหมายของรัฐต่อประชาชนในรัฐอย่างเท่าเทียมและเสมอภาคในคนทุกกลุ่ม โดยรัฐทุกรัฐ มุ่งหวังให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมายที่บังคับใช้ภายในรัฐ ซึ่งในความหมายอย่างแคบนั้น จะไม่คํานึงถึงที่มาของกฎหมาย กล่าวคือ ประชาชนจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่ตราขึ้นจาก ผู้ปกครองโดยเคร่งครัด

29 ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติของผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระ

(1) อายุไม่เกิน 70 ปี

(2) มีสุขภาพที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

(3) เคยเป็น ส.ส. เมื่อ 12 ปีก่อน

(4) จบการศึกษาระดับปริญญาตรี

(5) เป็นผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 33) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 201, 202 และ 216 กําหนดให้ ผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามทั่วไป ดังต่อไปนี้

1 มีอายุไม่ต่ำกว่า 45 ปี แต่ไม่เกิน 70 ปี

2 มีสัญชาติไทยโดยการเกิด

3 สําเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

4 มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์

5 มีสุขภาพที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

6 ไม่มีลักษณะต้องห้าม เช่น เป็นหรือเคยเป็น ส.ส. ส.ว. ข้าราชการการเมือง หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นในระยะ 10 ปีก่อนเข้ารับการคัดเลือกหรือสรรหา,เป็นผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ ฯลฯ

30 ในความขัดแย้งทางการเมืองไทยตั้งแต่ช่วง 2540 จนถึงปัจจุบันมีการใช้สัญลักษณ์ทาง “สี” แทนกลุ่มผู้ชุมนุมกลุ่มต่าง ๆ คําว่า “สลิม” มีจุดเริ่มต้นจากผู้ชุมนุมกลุ่มใด

(1) กปปส.

(2) นปช.

(3) พธม.

(4) กปปส. และ นปช. รวมกัน

(5) ประชาชนพิทักษ์ชาติ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) “สลิ่ม” มีจุดเริ่มต้นมาจากผู้ชุมนุมกลุ่มประชาชนพิทักษ์ชาติ (ไม่แบ่งสี) โดยการนําของ นพ. ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ ซึ่งเรียกตัวเองว่าเป็น “กลุ่มเสื้อหลากสี” การเคลื่อนไหวของกลุ่มได้สร้าง ปฏิกิริยาโต้ตอบจากคนเสื้อแดง/พรรคเพื่อไทยว่าคนเสื้อหลากสีก็คือเสื้อเหลืองจําแลง เพราะเห็นว่า ทั้งอุดมการณ์ การกระทํา และการแสดงออกไม่ต่างกับเสื้อเหลือง การดูแคลนคนเสื้อหลากสีของ คนเสื้อแดงจึงแทนด้วยคําว่า สลิ่ม ด้วยเหตุผลที่ว่าสลิ่ม (ซาหริ่ม) เป็นขนมที่มีเส้นหลากหลายสีสันและเป็นการล้อไปกับสภาพเสื้อที่หลากหลายของกลุ่มเสื้อหลากสีนั่นเอง

31 แนวคิดเรื่องของสัญญาประชาคมเชื่อว่าการบรรลุเสรีภาพจะเกิดขึ้นในเงื่อนไขการปกครองแบบใด

(1) ในรัฐแบบใดก็ได้

(2) ในรัฐสวัสดิการเท่านั้น

(3) ในรัฐประชาธิปไตยเท่านั้น

(4) ในรัฐสังคมนิยมเท่านั้น

(5) ในรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์เท่านั้น

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ซอง ชากส์ รุสโซ (Jean Jacques Rousseau) เห็นว่า สังคมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งสัญญาประชาคม (Social Contract) สามารถทําให้บุคคลในฐานะสมาชิกของสังคมนั้นบรรลุ ถึงเสรีภาพได้ สัญญาประชาคมจึงเป็นเสมือนรัฐธรรมนูญที่ต้องอยู่เพื่อทุกส่วนในสังคม ดังนั้นการบรรลุเสรีภาพจะเกิดขึ้นในเงื่อนไขการปกครองแบบประชาธิปไตยเท่านั้น

32 การเสนอพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการเงินต้องได้รับความเห็นชอบจากใครก่อนจึงจะสามารถเสนอเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาได้

(1) คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

(2) นายกรัฐมนตรี

(3) กระทรวงการคลัง

(4) ป.ป.ช.

(5) เมื่อผู้เสนอ พ.ร.บ. นั้นเป็นผู้มีสิทธิตามรัฐธรรมนูญแล้วไม่จําเป็นต้องมีผู้เห็นชอบ

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 53) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 133 กําหนดให้ร่างพระราชบัญญัติให้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรก่อน และจะเสนอได้ก็แต่โดย

1 คณะรัฐมนตรี

2 ส.ส. จํานวนไม่น้อยกว่า 20 คน

3 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวนไม่น้อยกว่า 10,000 คน ในกรณีที่ร่างพระราชบัญญัติซึ่งมีผู้เสนอตาม 2 หรือ 3 เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน จะเสนอได้ก็ต่อเมื่อมีคํารับรองของนายกรัฐมนตรี

33 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐอเมริกามีวาระการดํารงตําแหน่งกี่ปี

(1) 4 ปี

(2) 6 ปี

(3) 2 ปี

(4) 5 ปี

(5) 7 ปี

ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 80), (คําบรรยาย) รัฐสภาหรือสภาคองเกรสของสหรัฐอเมริกาประกอบด้วย 2 สภา คือ

1 สภาผู้แทนราษฎรที่มีสมาชิกจํานวน 435 คน มีวาระการดํารงตําแหน่ง 2 ปี

2 วุฒิสภาที่มีสมาชิกจํานวน 100 คน มีวาระการดํารงตําแหน่ง 6 ปี

34 ข้อใดถูกต้อง

(1) ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกามาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน

(2) นายกรัฐมนตรีของอังกฤษมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน

(3) นายกรัฐมนตรีของรัสเซียมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน

(4) นายกรัฐมนตรีของฝรั่งเศสมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ ไม่มีข้อถูก (คําบรรยาย) ข้อเลือก 1 ผิด ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกานั้นมาจากการเลือกตั้งโดยอ้อมผ่านทางคณะผู้เลือกตั้ง (Electoral College) ข้อเลือก 2 ผิด นายกรัฐมนตรีอังกฤษนั้นมาจากหัวหน้าพรรคการเมืองที่ได้เสียงข้างมากในสภาโดยการแต่งตั้งของพระมหากษัตริย์ ข้อเลือก 3 ผิด นายกรัฐมนตรีรัสเซียนั้นมาจากการแต่งตั้งของประธานาธิบดี ข้อเลือก 4 ผิด นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศสนั้นมาจากการแต่งตั้งของประธานาธิบดี

35 การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของสภาผู้แทนราษฎร วาระใดเป็นการพิจารณารับหลักการ

(1) วาระที่ 1

(2) วาระการนําเสนอของกรรมาธิการ

(3) วาระที่ 2

(4) วาระที่ 3

(5) วาระที่ 4

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 54 – 55) กระบวนการนิติบัญญัติในรัฐสภา กรณีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติโดยสภาผู้แทนราษฎรนั้นจะพิจารณาเป็น 3 วาระ คือ

1 ขั้นรับหลักการ

2 ขั้นพิจารณาหรือขั้นแปรญัตติ

3 ขั้นลงมติเห็นชอบให้ส่งต่อไปยังวุฒิสภา

36 เจตจํานงของประชาชนสามารถแสดงออกได้ทางใดบ้าง

(1) ประชามติ

(2) ประชาพิจารณ์

(3) การเลือกตั้ง

(4) ข้อ 1 และ 3

(5) ข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 (คําบรรยาย) เจตจํานงของประชาชนถือเป็นที่มามูลฐานแห่งอํานาจของรัฐบาล ซึ่งประชาชนนั้นสามารถแสดงออกได้โดยการลงประชามติ (การรับร่างรัฐธรรมนูญ การออกจากสมาชิก EU) และการเลือกตั้ง ส.ส. ส.ว.)

37 พื้นที่สาธารณะหมายถึงข้อใด

(1) บาทวิถีหน้าบ้าน

(2) เฟซบุ๊ค

(3) สวนรถไฟ

(4) ห้อง Study ในห้องสมุด

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) พื้นที่สาธารณะ (Public Sphere) เป็นการใช้พื้นที่ทํากิจกรรมร่วมกัน โดยไม่ได้จํากัด “ การมีส่วนร่วมหรือการเข้าในพื้นที่สาธารณะ ซึ่งมักเป็นพื้นที่เปิดที่ทุกคนที่เกี่ยวข้องหรือตัดสินใจสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้อย่างเท่าเทียมกัน เช่น ถนน ทางเดิน ทางเท้า (บาทวิถีหน้าบ้าน) สนามสวนสาธารณะ (สวนรถไฟ) ห้อง Study ในห้องสมุด สื่อสังคมออนไลน์ (เฟซบุ๊ค, ไลน์กลุ่ม) ฯลฯ

38 สภาขุนนางอังกฤษประเภทนักบวช มีวาระการดํารงกี่ปี

(1) 4 ปี

(2) 6 ปี

(3) ตามระยะเวลาการบวช

(4) ตามระยะเวลาที่อยู่ในตําแหน่งที่กําหนด

(5) ตลอดชีพ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) สภาขุนนางของอังกฤษ แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ

1 ขุนนางสืบเชื้อสาย (Hereditary Peers) มาจากการสืบทอดตําแหน่งทางสายโลหิตและมีวาระการดํารงตําแหน่งตลอดชีพ

2 ขุนนางตลอดชีพ (Life Peers) มาจากการแต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรี และสามารถดํารงตําแหน่งได้ตลอดชีวิต แต่สืบทอดให้ทายาทมได้

  1. ขุนนางโดยตําแหน่งที่เป็นนักบวช (Spiritual Peers) มาจากคริสตจักรแห่งอังกฤษ เช่น บิชอปและอาร์ชบิชอปต่าง ๆ โดยจะมีวาระตามระยะเวลาที่อยู่ในตําแหน่งที่กําหนด

4 ขุนนางกฎหมาย (Law Lords) เป็นสมาชิกที่มีความรู้ด้านกฎหมายและทําหน้าที่เป็นตุลาการศาลสูงสุด โดยจะมีวาระการดํารงตําแหน่งตลอดชีพ และถือเป็นขุนนางประเภทเดียวเท่านั้นที่ได้รับเงินเดือน

39 Brexit คืออะไร

(1) กระบวนการรับฟังความคิดเห็นเรื่องการออกจากสหภาพยุโรปของประชาชนชาวอังกฤษ

(2) โครงการรณรงค์เพื่อเรียกร้องให้อังกฤษถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป

(3) กระบวนการประชามติของประชาชนชาวอังกฤษต่อกรณีแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป

(4) กระบวนการประชามติของประชาชนชาวอังกฤษต่อกรณีการรับผู้ลี้ภัยจากตะวันออกกลาง

(5) โครงการรณรงค์เพื่อต่อต้านการสร้างมัสยิดในอังกฤษ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) Brexir (มาจากคําว่า British + Exit) คือ กระบวนการประชามติของประชาชนชาวอังกฤษต่อกรณีแยกตัวออกจากสหภาพยุโรปหรืออียู (EU)

40 รัฐโลกาวิสัย (Secular State) หมายถึง

(1) รัฐที่แยกพื้นที่ส่วนตัวออกจากพื้นที่สาธารณะ

(2) รัฐที่แยกเอาศาสนาออกจากกฎเกณฑ์ทางสังคม

(3) รัฐที่เอานักปรัชญามาปกครอง

(4) รัฐที่แยกเอาศาสนาออกจากอํานาจในการปกครอง

(5) รัฐที่ระบุให้ผู้ปกครองต้องนับถือศาสนาใดศาสนาหนึ่งเป็นการเฉพาะ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐฆราวาสหรือรัฐโลกาวิสัย (Secular State) หมายถึง รัฐหรือประเทศที่แยกเอาศาสนาออกจากกฎเกณฑ์ทางสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากการแยกศาสนจักรออกจากฝ่ายอาณาจักร ในโลกตะวันตก (โดยเฉพาะกรณีของอังกฤษ) โดยทั่วไปรัฐฆราวาสจะมีแนวทางบริหารประเทศ โดยใช้หลักทั่วไปทางโลกมาเป็นรากฐานของการปกครอง ไม่ต่อต้านความเชื่อหรือจํากัดศาสนา ใด ๆ ตัวอย่างของรัฐดังกล่าวนี้ ได้แก่ ไทย เนปาล ฯลฯ

41 ข้อใดเป็นหน้าที่ของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

(1) ผู้บัญชาการทหารสูงสุด

(2) จัดการศึกษาให้ทุกมลรัฐ

(3) แต่งตั้งผู้ว่าการมลรัฐ

(4) ยับยั้งกฎหมายของมลรัฐที่เห็นว่าไม่ชอบ

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 หน้า 29 – 30, (คําบรรยาย) หน้าที่ตามรัฐธรรมนูญของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ได้แก่

1 ประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาล

2 ผู้บัญชาการทหารสูงสุด

3 แต่งตั้งเอกอัครราชทูต

4 คัดเลือกและแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลสหพันธรัฐ

5 ยับยั้งร่างกฎหมาย

6 ทําสนธิสัญญาต่าง ๆ เป็นต้น

42 รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อมีทั้งหมดกี่คน

(1) 100 คน

(2) 150 คน

(4) ตามจํานวนจังหวัด

(5) ไม่มี ส.ส. แบบนี้

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 21) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 83 กําหนดให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจํานวน 500 คน ดังนี้

1 สมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจํานวน 350 คน

2 สมาชิกซึ่งมาจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองจํานวน 150 คน

43 “พฤฒสภา” ที่ถูกบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2489 เปรียบเทียบได้กับองค์กรใด

(1) องคมนตรี

(2) ศาลรัฐธรรมนูญ

(3) วุฒิสภา

(4) สภาพัฒนาการเมือง

(5) สนช.

ตอบ 3 หน้า 138, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 23) วุฒิสภาเกิดขึ้นครั้งแรกในชื่อ “ พฤฒสภา”ซึ่งกําหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฯ 2489 และต่อมาในรัฐธรรมนูญฯ 2490 จึงเปลี่ยนเป็น “วุฒิสภา โดยพบว่าที่มาของ ส.ว. ตั้งแต่เริ่มปรากฎจนกระทั่งปัจจุบันนั้นรัฐธรรมนูญส่วนใหญ่จะกําหนดให้ มาจากการแต่งตั้ง ยกเว้นรัฐธรรมนูญฯ 2540 (มาจากการเลือกตั้ง) รัฐธรรมนูญฯ 2550 (มาจากการเลือกตั้งและสรรหา) และรัฐธรรมนูญฯ 2560 (มาจากการเลือกตั้งทางอ้อม)

44 ประเทศใดที่ลงประชามติให้ผู้ปกครองมีอํานาจเหนือกว่ารัฐสภา

(1) อังกฤษ

(2) ฝรั่งเศส

(3) อเมริกา

(4) รัสเซีย

(5) จีน

ตอบ 4 (คําบรรยาย) บอริส เยลต์ซิน (Boris Yeltsin) ประธานาธิบดีคนแรกของสหพันธรัฐรัสเซียได้ฉีกรัฐธรรมนูญที่มีอยู่เดิมและห้ามการต่อต้านทางการเมืองชั่วคราว ภายหลังรัฐสภาขณะนั้น พยายามถอดเขาออกจากตําแหน่ง โดยเยลต์ซินได้ริเริ่มรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพื่อให้ประธานาธิบดี มีอํานาจเหนือกว่ารัฐสภา และมีการลงประชามติเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2536 ด้วยคะแนนเสียงเห็นชอบร้อยละ 58.5

45 “ม็อบมือถือ” เป็นชื่อเรียกการชุมนุมของประชาชนเมื่อปี พ.ศ. ใด

(1) พ.ศ. 2514

(2) พ.ศ. 2516

(3) พ.ศ. 2535

(4) พ.ศ. 2540

(5) พ.ศ. 2557

ตอบ 3 (คําบรรยาย) “ม็อบมือถือ” เป็นชื่อเรียกการชุมนุมของประชาชนในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬระหว่างวันที่ 15 – 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ทั้งนี้เพราะพบว่าผู้ชุมนุมส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลาง นักธุรกิจหรือบุคคลในวัยทํางาน และได้มีการใช้โทรศัพท์มือถือเป็นเครื่องมือสําคัญในการติดต่อ สื่อสารในการชุมนุมครั้งนี้

46 หลักนิติธรรมคือข้อใด

(1) กฎหมายต้องบังคับเป็นการทั่วไปใช้กับทุกคนเสมอกัน

(2) กฎหมายต้องไม่มีผลบังคับใช้ย้อนหลัง

(3) กฎหมายที่ประกาศใช้แล้วต้องได้รับการบังคับให้สอดคล้องต้องกัน

(4) กฎหมายต้องมีความมั่นคงพอสมควร

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) หลักนิติธรรมมีลักษณะสําคัญ ดังนี้

1 กฎหมายต้องใช้บังคับเป็นการทั่วไปและใช้กับทุกคนเสมอภาคกัน

2 กฎหมายต้องไม่มีผลบังคับใช้ย้อนหลัง

3 กฎหมายที่ประกาศใช้แล้วต้องได้รับการบังคับให้สอดคล้องต้องกัน

4 กฎหมายต้องมีความมั่นคงและต่อเนื่อง

5 ห้ามยกเว้นความรับผิดให้แก่การกระทําในอนาคต เป็นต้น

47 ผู้มีสิทธิเสนอพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 คือข้อใด

(1) คณะรัฐมนตรี

(2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวน 10 คนขึ้นไป

(3) ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวน 10,000 ชื่อขึ้นไป

(4) องค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 52) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 131 กําหนดให้ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจะเสนอได้ก็แต่โดย

1 คณะรัฐมนตรี โดยข้อเสนอแนะของศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญหรือองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง

2 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร

48 การปฏิวัติครั้งแรกหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย เกิดขึ้นเมื่อใด

(1) พ.ศ. 2475

(2) พ.ศ. 2476

(3) พ.ศ. 2490

(4) พ.ศ. 2494

(5) พ.ศ. 2500

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 63 – 64), (คําบรรยาย) การรัฐประหาร (หรือการปฏิวัติที่เรามักจะเรียกกันจนติดปาก) ในประเทศไทย หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบ ประชาธิปไตย มีดังนี้

1 การรัฐประหาร 20 มิถุนายน 2476 โดย พ.อ. พระยาพหลพลพยุหเสนา

2 การรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 โดยพลโทผิน ชุณหะวัณ

3 การรัฐประหาร 29 พฤศจิกายน 2494 โดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม

4 การรัฐประหาร 16 กันยายน 2500 โดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

5 การรัฐประหาร 20 ตุลาคม 2501 โดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ฯลฯ

49 รัฐธรรมนูญฉบับใดใช้ระยะเวลาในการร่างรัฐธรรมนูญนานที่สุด

(1) ฉบับที่ 1

(2) ฉบับที่ 8

(3) ฉบับที่ 3

(4) ฉบับที่ 7

(5) ฉบับที่ 16

ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2511 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 8 และถือเป็นรัฐธรรมนูญที่ใช้เวลาในการร่างนานที่สุด โดยเริ่มร่างเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2502 ถึงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2511 ใช้เวลา 9 ปีเศษ และได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2511

50 การขัดกันแห่งผลประโยชน์คือข้อใด

(1) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่ดํารงตําแหน่งในหน่วยราชการใด ๆ

(2) สมาชิกสภานิติบัญญัติยังดํารงตําแหน่งปลัดกระทรวง

(3) บุตรของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่รับเงินหรือประโยชน์ใด ๆ จากหน่วยราชการที่นอกเหนือไปจากการปฏิบัติต่อบุคคลอื่น ๆ ในธุรกิจการงานปกติ

(4) รัฐมนตรีแจ้ง ป.ป.ช. ว่า โอนหุ้นของบริษัทให้นิติบุคคลซึ่งจัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ผู้อื่นถือแทน

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ตัวอย่างการขัดกันแห่งผลประโยชน์ มีดังนี้

1 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยังดํารงตําแหน่งในหน่วยราชการ

2 สมาชิกสภานิติบัญญัติยังดํารงตําแหน่งปลัดกระทรวง

3 บุตรของผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานได้รับสัมปทานงานจากหน่วยงานนั้น ๆ

4 รัฐมนตรีเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท เว้นแต่ได้แจ้ง ป.ป.ช. ว่าโอนหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทดังกล่าวให้นิติบุคคลซึ่งจัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นถือแทน(รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 187 วรรค 2) ฯลฯ

51 ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 กรณีพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นขอบร่างพระราชบัญญัติหรือมิได้พระราชทานคืนให้กับรัฐสภา จะสามารถประกาศเป็นกฎหมายได้หรือไม่ อย่างไร

(1) ไม่ได้ เพราะพระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอํานาจในการตราพระราชบัญญัติ (2) ได้ เมื่อรัฐสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงสองในสามของจํานวนสมาชิกทั้งหมด

(3) ไม่ได้ เพราะต้องมีพระปรมาภิไธยเท่านั้นจึงจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ (4) ได้ เมื่อนายกรัฐมนตรีนําขึ้นทูลเกล้าอีกครั้ง และหากมิได้ลงพระปรมาภิไธยใน 30 วันนายกรัฐมนตรีสามารถนําพระราชบัญญัตินั้นไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้

(5) ข้อ 2 และ 4

ตอบ 5 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 146 กําหนดให้ร่างพระราชบัญญัติในพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบและพระราชทานคืนมายังรัฐสภา หรือเมื่อพ้น 90 วันแล้วมิได้พระราชทานคืนมา รัฐสภาต้องปรึกษาร่างพระราชบัญญัตินั้นใหม่ ถ้ารัฐสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียง ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนําขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายอีก ครั้งหนึ่ง และหากมิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยภายใน 30 วัน ให้นายกรัฐมนตรีนําพระราชบัญญัติ นั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็นกฎหมายได้เสมือนว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว

52 ข้อใดต่อไปนี้คือสิทธิที่เสียไปเมื่อไม่ไปเลือกตั้ง ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550

(1) สิทธิในการยื่นเสนอกฎหมายเข้าสู่กระบวนการนิติบัญญัติ

(2) สิทธิสมัครรับเลือกเป็นกํานันและผู้ใหญ่บ้าน

(3) สิทธิคัดค้านการสรรหาผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระ

(4) สิทธิในการไปเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งต่อไป

(5) สิทธิในการไปเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น

ตอบ 2 (คําบรรยาย) สิทธิที่เสียไปเมื่อไม่ไปเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฯ 2550 มาตรา 72 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่ง ส.ว. 2550 มาตรา 26 มีดังต่อไปนี้

1 สิทธิยื่นคําร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ส.ส. และ ส.ว.

2 สิทธิสมัครรับเลือกตั้งและสิทธิได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการสรรหาเป็น ส.ส. ส.ว.สมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น

3 สิทธิสมัครรับเลือกเป็นกํานันและผู้ใหญ่บ้านตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่

53 ข้อใดคือกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคําแนะนําและยินยอมของรัฐสภา

(1) พระราชกําหนด

(2) พระราชกฤษฎีกา

(3) พระราชบัญญัติ

(4) พระราชอัธยาศัย

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 53), (คําบรรยาย) พระราชบัญญัติ หมายถึง กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคําแนะนําและยินยอมของรัฐสภา กล่าวคือ เป็นกฎหมายที่ต้อง ผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบของรัฐสภา คือ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาก่อน จึงนํา ขึ้นทูลเกล้าฯ ให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้

54 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีวาระการดํารงตําแหน่งกี่ปี

(1) 7 ปี

(2) 6 ปี

(3) 5 ปี

(4) 4 ปี

(5) 3 ปี

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 37) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 232 และ 233 กําหนดให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติประกอบด้วยกรรมการจํานวน 9 คน ซึ่ง พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคําแนะนําของวุฒิสภาจากผู้ซึ่งได้รับการสรรหาโดยคณะกรรมการ สรรหา โดยมีวาระการดํารงตําแหน่ง 7 ปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดํารงตําแหน่งได้เพียงวาระเดียว

55 ตําแหน่งใดต่อไปนี้ที่ไม่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สิน

(1) ส.ส. ทุกคน

(2) ส.ว. ทุกคน

(3) อธิการบดี

(4) ปลัดกระทรวง

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ผู้ที่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินต่อ ป.ป.ช. ได้แก่ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ส.ส. ส.ว. ประธานศาลฎีกา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินปลัดกระทรวง อธิการบดี รองอธิการบดี ฯลฯ

56 รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ให้สิทธิประชาชนในการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้อย่างไร

(1) ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าชื่อกันไม่น้อยกว่า 50,000 ชื่อ เสนอขอแก้ไข (2) ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าชื่อกันไม่น้อยกว่า 10,000 ชื่อ เสนอขอแก้ไข

(3) ประชาชนเข้าชื่อกันไม่น้อยกว่า 50,000 ชื่อ เสนอขอแก้ไข

(4) ประชาชนเข้าชื่อกันไม่น้อยกว่า 10,000 ชื่อ เสนอขอแก้ไข

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ผู้มีสิทธิเสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญฯ 2560 มีดังนี้

1 คณะรัฐมนตรี

2 ส.ส. จํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร

3 ส.ส. และ ส.ว. จํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา

4 ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวนไม่น้อยกว่า 50,000 คน ตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย

57 ข้อใดไม่ใช่ข้อบกพร่องของสภาพธรรมชาติตามแนวคิดของจอห์น ล็อค

(1) มนุษย์แต่ละคนอาจมองข้อบังคับต่างกัน

(2) มนุษย์อาจถือเหตุผลประโยชน์ของตนเป็นกฎธรรมชาติให้ผู้อื่นต้องปฏิบัติตาม (3) อาจใช้อารมณ์ในการตัดสินกันเองได้

(4) ความไม่ยุติธรรมอาจทําให้ผู้เสียประโยชน์ตอบโต้โดยไม่คํานึงถึงหลักการได้

(5) มนุษย์ทําตามความอยาก หิวและตัณหา

ตอบ 5 (คําบรรยาย) จอห์น ล็อค เห็นว่า สภาพธรรมชาติมีข้อบกพร่องใน 3 ประการ คือ

1 มนุษย์แต่ละคนอาจมองข้อบังคับต่างกัน และอาจถือเหตุผลประโยชน์ของตนเป็นกฎธรรมชาติให้ผู้อื่นต้องปฏิบัติตาม

2 การที่มนุษย์ตัดสินกันเอง อาจใช้อารมณ์และเกิดการแก้แค้นกันเองได้

3 ความไม่ยุติธรรมอาจทําให้ฝ่ายผู้เสียประโยชน์ออกมาตอบโต้โดยไม่คํานึงถึงหลักการได้

58 การออกเสียงประชามติ ไม่ใช่ข้อใด

(1) อํานาจอธิปไตยเป็นของประชาชน

(2) การมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับตัดสินใจ

(3) แสดงออกซึ่งเจตจํานงร่วม

(4) ถูกทุกข้อ

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การออกเสียงประชามติ (Referendum) คือ การนําร่างกฎหมาย ร่างรัฐธรรมนูญและนโยบายที่สําคัญของประเทศไปผ่านการตัดสินใจเพื่อแสดงความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ โดยประชาชนผู้เป็นเจ้าของอํานาจอธิปไตย ซึ่งถือเป็นการมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับตัดสินใจและแสดงออกซึ่งเจตจํานงร่วมต่อแนวทางการปกครองประเทศ

59 ข้อใดคือความแตกต่างระหว่างประชาพิจารณ์กับประชามติ

(1) ให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ กับประชาชน

(2) ความผูกพันปฏิบัติของรัฐตามผลการออกเสียงของประชาชน

(3) การสร้างกระบวนการให้ประชาชนสามารถเข้าร่วมได้อย่างทั่วถึง

(4) การไม่ตัดสินใจต่อผลในเรื่องนั้น ๆ ล่วงหน้า

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ความแตกต่างระหว่างประชาพิจารณ์กับประชามติ มีดังนี้

1 ประชาพิจารณ์นั้นรัฐจะไม่ผูกพันและไม่จําเป็นต้องปฏิบัติตามส่วนประชามติกําหนดให้รัฐต้องผูกพันปฏิบัติตามผลการออกเสียงประชามติ

2 ประชาพิจารณ์ตั้งอยู่บนฐานคติของการรักษาผลประโยชน์แก่ประชาชนส่วนประชามติจะตั้งอยู่บนฐานคติของการแสดงอํานาจอธิปไตยที่เป็นของประชาชน

3 ประชาพิจารณ์เป็นแนวทางที่รัฐใช้รับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งส่วนประชามติจะเป็นกระบวนการที่รัฐขอปรึกษาหารือประชาชน เพื่อกําหนดแนวทางปฏิบัติ

4 ประชาพิจารณ์ต้องการความรู้ความเข้าใจของประชาชนต่อเรื่องนั้น ๆ เพื่อลดความขัดแย้งจากการตัดสินใจของรัฐ ส่วนประชามตินั้นต้องการมติของประชาชนว่าจะให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในเรื่องนั้น ๆ

60 คณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มีจํานวนกี่คน

(1) 3 คน

(2) 5 คน

(3) 7 คน

(4) 9 คน

(5) 11 คน

ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 33), (คําบรรยาย) คณะกรรมการสรรหาผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญฯ 2560 มีจํานวนทั้งหมด 9 คน ประกอบด้วย

1 ประธานศาลฎีกา

2 ประธานสภาผู้แทนราษฎร

3 ผู้นําฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร

4 ประธานศาลปกครองสูงสุด

5 บุคคลซึ่งแต่งตั้งโดยศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระที่มิใช่องค์กรอิสระที่ต้องมีการสรรหาอีก 5 คน

 

จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถามข้อ 61 – 70

(1) ถูก

(2) ผิด

 

61 หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 อํานาจของนายกรัฐมนตรีมาตรา 44 ตามรัฐธรรมนูญฯ (ชั่วคราว) – พ.ศ. 2557 ได้ยุติลง

ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 วรรค 2 กําหนดให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคณะรักษาความสงบเห่งชาติ (คสช.) ยังคงมีหน้าที่และอํานาจตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) 2557. นั่นแสดงว่า หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญฯ 2560 อํานาจของนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะหัวหน้า คสช. มาตรา 44 ตามรัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ยังคงอยู่

62 การแก้ไขรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 จะกระทําไม่ได้ถ้ามีวุฒิสมาชิกเห็นชอบจํานวนน้อยกว่า 1 ใน 3 ของวุฒิสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่ของวุฒิสภา

ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 256 (3) กําหนดให้ การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่ 1 ขั้นรับหลักการ ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียง เห็นชอบด้วยในการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ของทั้งสองสภา ซึ่งในจํานวนนี้ต้องมีสมาชิกวุฒิสภา (วุฒิสมาชิก) เห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา

63 บุคคลที่จบการศึกษาระดับปริญญาโท สามารถไปสมัครเป็นผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระได้ทุกคน

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 29 ประกอบ

64 โทมัส ฮอบส์ เชื่อว่าเมื่อประชาชนมอบอํานาจให้องค์อธิปัตย์แล้วไม่สามารถเพิกถอนได้

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 10 ประกอบ

65 “หมุดก่อกําเนิดรัฐธรรมนูญหรือหมุดคณะราษฎร” ไม่เคยถูกขุดขึ้นมาก่อน

ตอบ 2 (คําบรรยาย) หมุดกอกําเนิดรัฐธรรมนูญหรือหมุดคณะราษฎร เป็นหมุดทองเหลืองฝังอยู่กับพื้นถนนบนลานพระบรมรูปทรงม้าด้านสนามเสือป่า ซึ่งภายหลังได้ถูกปรับเปลี่ยนและเคยถูกขุด ขึ้นมาหลายครั้ง เช่น มีการนําสีดํามาราดทับ ถูกขีดจนเป็นรอยจํานวนมาก เคยถูกขุดและหายไปในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และถูกนํากลับมาในสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นต้น

66 รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 ข้าราชการไม่สามารถดํารงตําแหน่งวุฒิสภาได้ ยกเว้นเฉพาะในวาระแรกเท่านั้น

ตอบ 1

(เอกสารประกอบการสอน หน้า 24), (คําบรรยาย) ลักษณะต้องห้ามของผู้ดํารงตําแหน่งสมาชิก วุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญฯ 2560 มีดังนี้

1 เป็นข้าราชการ

2 เป็นสมาชิกพรรคการเมือง

3 เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ฯลฯ ยกเว้นเฉพาะในวาระแรกเท่านั้นที่สมาชิกวุฒิสภาสามารถเป็นข้าราชการ/ดํารงตําแหน่งหรือหน้าที่ในหน่วยราชการหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ หรือตําแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่นผู้บริหารท้องถิ่นได้

67 จอห์น ล็อค และโทมัส ฮอบส์ เห็นว่าสภาพธรรมชาติ (State of Nature) เป็นสภาวะสงคราม

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 9) โทมัส ฮอบส์ เห็นว่า ภาวะธรรมชาติของมนุษย์นั้นเป็นภาวะสงคราม แต่สําหรับ จอห์น ล็อค กลับเห็นว่าภาวะธรรมชาติของมนุษย์เป็นภาวะที่มนุษย์มีความสมบูรณ์และมีเสรีภาพเต็มที่ที่จะใช้ชีวิตอย่างที่ต้องการโดยคนอื่นไม่สามารถเข้ามารุกล้ำได้

68 รัฐสภาของอังกฤษไม่สามารถยกเลิกกฎหมายของรัฐสภาสกอตแลนด์ได้

ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐสภาสหราชอาณาจักร (อังกฤษ) สามารถยกเลิกกฎหมายของสถาบันนิติบัญญัติลําดับรองได้ ซึ่งสถาบันนิติบัญญัติลําดับรองได้แก่ รัฐสภาสกอตแลนด์ รัฐสภาแห่งเวลส์ และรัฐสภาไอร์แลนด์เหนือ

69 คณะกู้บ้านกู้เมืองและกบฏบวรเดช คือกลุ่มเดียวกัน

ตอบ 1 (คําบรรยาย) กบฏบวรเดช หรือ “คณะกู้บ้านกู้เมือง” เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2476 นับเป็นการกบฏครั้งแรกในรัฐไทยสมัยใหม่ ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 โดยมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งระหว่างระบอบเก่าและระบอบใหม่ จากข้อโต้แย้งในเรื่องเค้า โครงการเศรษฐกิจแห่งชาติของนายปรีดี พนมยงค์ และชนวนสําคัญที่สุดคือ ข้อโต้แย้งในเรื่อง พระเกียรติยศและพระราชอํานาจของพระมหากษัตริย์ในระบอบใหม่ ซึ่งเป็นผลนําไปสู่การนํากําลังทหารก่อกบฏโดยมี พ.อ.พระยาศรีสิทธิสงคราม เป็นแม่ทัพ

70 นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถูกถอดถอนออกจากตําแหน่งเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2557 ด้วยข้อหาเรื่องทุจริตโครงการรับจํานําข้าว

ตอบ 2 (คําบรรยาย) เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยให้นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร พ้นจากตําแหน่ง กรณีโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี เนื่องจากใช้สถานะหรือ ตําแหน่งนายกรัฐมนตรีเข้าไปแทรกแซงการบรรจุแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการเพื่อประโยชน์ตนเองหรือผู้อื่น

 

ข้อ 71 – 87 เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับคณะกรรมาธิการ ให้นักศึกษาพิจารณา 2 ข้อความ แล้วใช้ตัวเลือก ต่อไปนี้

(1) ถ้าข้อความที่ 1 ถูก และข้อความที่ 2 ผิด

(2) ถ้าข้อความที่ 1 ผิด และข้อความที่ 2 ถูก

(3) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ถูกทั้งสองข้อ 1

(4) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ผิดทั้งสองข้อ

 

71 (1) รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 129 บัญญัติให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา มีอํานาจเลือกสมาชิกของแต่ละสภาตั้งเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ

(2) รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 128 บัญญัติให้กรรมาธิการสามัญซึ่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด ต้องมีจํานวนตามหรือใกล้เคียงกับอัตราส่วนของจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละ พรรคการเมืองที่มีอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร

ตอบ 1 รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 129 วรรค 1 และ 8 กําหนดให้ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีอํานาจเลือกสมาชิกแต่ละสภาตั้งเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ…. กรรมาธิการสามัญซึ่งตั้งจาก ผู้ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด ต้องมีจํานวนตามหรือใกล้เคียงกับอัตราส่วนของจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละพรรคการเมืองที่มีอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร

72 (1) การดําเนินการของคณะกรรมาธิการสามัญประจําสภาผู้แทนราษฎร ต้องเป็นไปตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรและตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 128 วรรคหนึ่ง

(2) กรณีคณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ และผู้พิการ จะต้องดําเนินการตามรัฐธรรมนูญพ.ศ. 2560 มาตรา 128 วรรคสอง ด้วย

ตอบ 3 รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 128 วรรค 1 และ 2 กําหนดให้ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีอํานาจตราข้อบังคับการประชุมเกี่ยวกับการเลือกและการปฏิบัติหน้าที่ของประธานสภา รองประธานสภา เรื่องหรือกิจการอันเป็นหน้าที่และอํานาจของคณะกรรมาธิการสามัญแต่ละชุด… ในส่วนที่เกี่ยวกับ การตั้งกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรวินิจฉัยว่า มีสาระสําคัญเกี่ยวกับเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ หรือคนพิการหรือทุพพลภาพ ต้องกําหนดให้ บุคคลประเภทดังกล่าวหรือผู้แทนองค์กรเอกชนที่ทํางานเกี่ยวกับบุคคลประเภทนั้นโดยตรงร่วมเป็นกรรมาธิการวิสามัญด้วย

73 (1) องค์ประกอบที่สําคัญของฝ่ายนิติบัญญัติในรูปรัฐสภาประการหนึ่งคือ การแต่งตั้งคณะกรรมาธิการ(Committee) เพื่อพิจารณาปัญหากฎหมายเฉพาะเรื่อง หรือตั้งขึ้นมาเพื่อสอดคล้องกับงานหลายฝ่ายของรัฐบาล

(2) คณะกรรมาธิการของรัฐสภามีบทบาทเท่ากับเป็นรัฐสภาขนาดเล็ก (Little Legislature)

ตอบ 3 หน้า 77, (คําบรรยาย) องค์ประกอบที่สําคัญของฝ่ายนิติบัญญัติในรูปรัฐสภาประการหนึ่ง คือ การแต่งตั้งคณะกรรมาธิการ (Committee) เพื่อพิจารณาปัญหากฎหมายเฉพาะเรื่อง หรือตั้งขึ้นมาเพื่อสอดคล้องกับงานหลายฝ่ายของรัฐบาล โดยคณะกรรมาธิการของรัฐสภานั้น จะมีบทบาทคล้ายกับรัฐสภาขนาดเล็ก (Little Legislature)

74 (1) การแบ่งประเภทของคณะกรรมาธิการในรัฐสภา ได้แบ่งตามกิจกรรมที่ถือปฏิบัติอยู่ เช่น

1 คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการร่างกฎหมาย หรือการพิจารณาร่างกฎหมาย

2 คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารการพัฒนา

3 คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่ในการสอบสวน ตรวจตรา และสอดคล้องการปฏิบัติงานรัฐบาล

(2) คณะกรรมาธิการในรัฐสภา อาจมีการแต่งตั้งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1 คณะกรรมาธิการสามัญ

2 คณะกรรมาธิการวิสามัญ

ตอบ 2 หน้า 77, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 27, 31) คณะกรรมาธิการในรัฐสภามี 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ คณะกรรมาธิการสามัญ และคณะกรรมาธิการวิสามัญ นอกจากนี้เราอาจจะแบ่งประเภท ของคณะกรรมาธิการในรัฐสภาได้ตามกิจกรรมที่ถือปฏิบัติอยู่ ดังนี้

1 คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการร่างพระราชบัญญัติ หรือการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ

2 คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานคลัง

3 คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่ในการสอบสวน ตรวจตราสอดส่องการปฏิบัติงานของรัฐบาล เป็นต้น

75 (1) ในกลุ่มประเทศกําลังพัฒนา คณะกรรมาธิการมักมีอิทธิพลต่อกระบวนการนิติบัญญัติอย่างชัดแจ้งโดยเฉพาะความสามารถในการทํางานอย่างรวดเร็ว

(2) เหตุผลของการที่ต้องมีคณะกรรมาธิการ เนื่องจากการทํางานของรัฐสภาตามความเป็นจริงนั้นจําเป็นต้องผสมผสานหลักทางเทคนิคกับหลักความต้องการของนักการเมือง

ตอบ 4 (คําบรรยาย) เหตุผลของการที่ต้องมีคณะกรรมาธิการมีอยู่ 4 ประการ คือ

1 เพื่อการแสวงหาข้อมูลและกลั่นกรองเรื่องให้สภา

2 จําเป็นต้องผสมผสานหลักทางเทคนิคกับความต้องการของราษฎร

3 เป็นการละลายความเป็นพรรคการเมือง

4 การสอบสวนข้อเท็จจริงและรับเรื่องราวร้องทุกข์ (ถือเป็น “ หน้าที่พิเศษ” ของคณะกรรมาธิการในประเทศไทย) ซึ่งในกลุ่มประเทศกําลังพัฒนานั้นพบว่า คณะกรรมาธิการมักไม่ค่อยมีอิทธิพลต่อกระบวนการนิติบัญญัติมากนัก เนื่องจากความสามารถในการทํางานค่อนข้างต่ำ

76 (1) การทํางานในขั้น “คณะกรรมาธิการ” ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ หรือคณะกรรมาธิการวิสามัญแม้จะเป็นสมาชิกสภาต่างจากพรรคการเมืองก็ตาม เมื่อต้องมาทํางานในคณะกรรมาธิการชุดเดียวกันมักจะมีบรรยากาศของความปรองดอง

(2) “หน้าที่พิเศษ” ที่ถือว่าเป็นหน้าที่ประจําตามปกติธรรมดาของคณะกรรมาธิการในประเทศไทย คือ การแสวงหาข้อมูลและกลั่นกรองเรื่องให้สภา

ตอบ 1 (คําบรรยาย) “การละลายความเป็นพรรคการเมือง” หนึ่งในเหตุผลของการที่ต้องมีคณะกรรมาธิการนั้นพบว่า การทํางานในขั้นคณะกรรมาธิการ ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ หรือคณะกรรมาธิการวิสามัญ แม้จะเป็นสมาชิกสภาต่างจากพรรคการเมืองก็ตาม เมื่อต้องมาทํางานในกรรมาธิการชุดเดียวกันมักจะมีบรรยากาศของความปรองดอง (ดูคําอธิบายข้อ 75 ประกอบ)

77 (1) การแต่งตั้งกรรมาธิการเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมาธิการทั่วโลกมีอยู่ 2 วิธีด้วยกัน คือ

1 แต่งตั้งโดยผู้ที่มีอํานาจในการบังคับบัญชาของรัฐสภา

2 แต่งตั้งโดยรัฐสภา

(2) การปฏิบัติงานของคณะกรรมาธิการ ไม่ถือว่าเป็นเอกสิทธิ์ที่ผู้ใดจะนําไปฟ้องร้องในทางใดมิได้

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การแต่งตั้งกรรมาธิการเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมาธิการทั่วโลกมีอยู่ 3 วิธีด้วยกัน คือ

1 แต่งตั้งโดยผู้ที่มีอํานาจในการบังคับบัญชาของรัฐสภา

2 แต่งตั้งโดยคณะกรรมาธิการพิเศษที่มีอํานาจในการคัดเลือก

3 แต่งตั้งโดยรัฐสภา ซึ่งการปฏิบัติงานของคณะกรรมาธิการนั้นถือว่าเป็นเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาด ผู้ใดจะนําไปฟ้องร้องในทางใด ๆ มิได้

78 (1) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกาได้เปิดโอกาสให้มีการใช้ตําแหน่งสมาชิกคณะกรรมาธิการเป็นรางวัลตอบแทนแก่สมาชิกสภาอยู่แทนทําหน้าที่เป็นผลประโยชน์แก่พรรคการเมืองได้

(2) กรรมาธิการแต่ละคณะในสภาคองเกรส จะได้รับเลือกเข้าดํารงตําแหน่งกรรมาธิการคณะใดคณะหนึ่งขึ้นอยู่กับความสมัครใจของสมาชิก ความเหมาะสมต่อหน้าที่ ความมีอาวุโสเป็นหลัก

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกาได้เปิดโอกาสให้มีการใช้“ตําแหน่งสมาชิกคณะกรรมาธิการ” เป็นรางวัลตอบแทนแก่สมาชิกสภาอยู่แทนทําหน้าที่เป็น ผลประโยชน์แก่พรรคการเมืองได้ ส่วนคณะกรรมาธิการแต่ละคณะในสภาคองเกรสนั้นจะ ได้รับเลือกเข้าดํารงตําแหน่งกรรมาธิการคณะใดคณะหนึ่งขึ้นอยู่กับความสมัครใจของสมาชิกความเหมาะสมต่อหน้าที่ และความมีอาวุโสเป็นหลัก

79 (1) ในระบบรัฐสภาของสหรัฐอเมริกา หากเป็นร่างรัฐบัญญัติธรรมดาเข้าสู่คณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องแล้วคณะกรรมาธิการจะสามารถทําการจัดประชุมที่เรียกว่า การประชุมลับ (Executive Session)เพื่อที่จะกําหนดระเบียบวาระได้ (2) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกา จะประกอบด้วยคณะกรรมาธิการสามัญ คณะกรรมาธิการวิสามัญคณะกรรมาธิการร่วม คณะกรรมาธิการร่วมกันของรัฐสภา และคณะกรรมาธิการเต็มสภา

ตอบ 2 หน้า 84, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 84), (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกา มี 5 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการสามัญ

2 คณะกรรมาธิการวิสามัญ

3 คณะกรรมาธิการร่วม

4 คณะกรรมาธิการร่วมกันของรัฐสภา

5 คณะกรรมาธิการเต็มสภา ซึ่งในระบบรัฐสภาของสหรัฐฯ หากเป็นร่างรัฐบัญญัติที่มีความสลับซับซ้อน (เรื่องใหญ่ เรื่องที่ ประชาชนสนใจมาก) เข้าสู่คณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องแล้วคณะกรรมาธิการจะสามารถทําการจัดประชุมที่เรียกว่า การประชุมลับ (Executive Session) เพื่อที่จะกําหนดระเบียบวาระได้

80 (1) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาอังกฤษ ประกอบด้วยคณะกรรมาธิการเต็มสภา คณะกรรมาธิการสามัญคณะกรรมาธิการร่วม และคณะกรรมาธิการร่วมพระราชบัญญัติมหาชน

(2) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาอังกฤษยังมีคณะกรรมาธิการชุดพิเศษชุดหนึ่ง เรียกว่า คณะกรรมาธิการสามัญสกอต (Scottish Standing Committee) ซึ่งมีกรรมาธิการทุกคนเป็นชาวสกอต และทําหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับสกอตแลนด์เท่านั้น

ตอบ 2 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาอังกฤษ มี 5 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการเต็มสภา

2 คณะกรรมาธิการสามัญ

3 คณะกรรมาธิการวิสามัญ

4 คณะกรรมาธิการร่วม

5 คณะกรรมาธิการร่างพระราชบัญญัติเอกชน

นอกจากนี้ยังมีคณะกรรมาธิการชุดพิเศษชุดหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมาธิการสามัญสกอต” (Scottish Standing Committee) ซึ่งมีกรรมาธิการทุกคนเป็นชาวสกอต และทําหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับสกอตแลนด์เท่านั้น

81 (1) คณะกรรมาธิการวิสามัญ (Select Committee) ของรัฐสภาอังกฤษ สามารถแบ่งย่อยได้อีก 2 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการสมัยประชุม

2 คณะกรรมาธิการชั่วคราว

(2) คณะกรรมาธิการร่วม (Joint Committee) ของรัฐสภาอังกฤษ จะเป็นคณะกรรมาธิการที่ได้รับแต่งตั้งมาจากสภาสามัญและสภาขุนนาง เพื่อร่วมกันพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ไม่เกี่ยวกับการเมือง

 

 

ตอบ 2 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการวิสามัญ (Select Committee) ของรัฐสภาอังกฤษ สามารถแบ่งย่อยได้ 3 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการสมัยประชุม

2 คณะกรรมาธิการชั่วคราว

3 คณะกรรมาธิการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ส่วนคณะกรรมาธิการร่วม (Joint Committee) ของรัฐสภาอังกฤษนั้นจะเป็นคณะกรรมาธิการ ที่ได้รับแต่งตั้งมาจากสภาสามัญและสภาขุนนาง เพื่อร่วมกันพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ไม่เกี่ยวกับการเมือง

82 (1) ระบบคณะกรรมาธิการของฝรั่งเศส จะประกอบด้วยคณะกรรมาธิการสามัญ คณะกรรมาธิการวิสามัญและคณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุม

(2) คณะกรรมาธิการสามัญของฝรั่งเศส เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบร่างกฎหมายตามที่รัฐบาลหรือสภาร้องขอให้พิจารณา

ตอบ 1 (คําบรรยาย), คณะกรรมาธิการของฝรั่งเศส มี 3 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการสามัญ เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาเรื่องหลัก ๆ

2 คณะกรรมาธิการวิสามัญ เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบร่างกฎหมายตามที่รัฐบาลหรือสภาร้องขอให้พิจารณา

3 คณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุม เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อที่สภาจะสามารถดําเนินการสอบสวนหรือรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง และเสนอข้อสรุปต่อสภา ซึ่งมักเข้าไป เกี่ยวข้องกับคดีที่สําคัญและดําเนินงานเดียวกับกระทรวงการยุติธรรม และจะถูกยุบทันทีที่ศาลได้ดําเนินคดีในข้อเท็จจริงที่คณะกรรมาธิการพิจารณาอยู่

83 (1) คณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุมของฝรั่งเศส เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อที่สภาจะสามารถดําเนินการสอบสวนหรือรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง และเสนอข้อสรุปต่อประธานาธิบดี

(2) คณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุมของฝรั่งเศส มักเข้าไปเกี่ยวข้องกับคดีที่สําคัญและดําเนินงาน – เดียวกับกระทรวงการยุติธรรม และจะถูกยุบทันทีที่ศาลได้ดําเนินคดีในข้อเท็จจริงที่คณะกรรมาธิการพิจารณาอยู่

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 82 ประกอบ

84 (1) ระบบกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น สามารถเปิดให้มีการซักถามในที่ประชุมคณะกรรมาธิการ (Public Hearing) เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ ร่างพระราชบัญญัติรายได้ และร่างพระราชบัญญัติที่สําคัญเกี่ยวกับผลประโยชน์ของประชาชน

(2) ระบบกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่นอาจขอให้รัฐมนตรีหรือผู้แทนรัฐบาลชี้แจงต่อที่ประชุมคณะกรรมาธิการได้ขณะเดียวกันรัฐมนตรีหรือผู้แทนรัฐบาลก็อาจจะขอเข้าพูดที่ประชุมคณะกรรมาธิการก่อนที่ประธานคณะกรรมาธิการขอมาก็ได้

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ระบบกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น สามารถเปิดให้มีการซักถามในที่ประชุมคณะกรรมาธิการ (Public Hearing) เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ ร่างพระราชบัญญัติรายได้ และร่างพระราชบัญญัติที่สําคัญเกี่ยวกับผลประโยชน์ของประชาชน ซึ่งอาจขอให้รัฐมนตรีหรือ ผู้แทนรัฐบาลชี้แจงต่อที่ประชุมคณะกรรมาธิการได้ ขณะเดียวกันรัฐมนตรีหรือผู้แทนรัฐบาลก็ อาจจะขอเข้าพูดที่ประชุมคณะกรรมาธิการก่อนที่ประธานคณะกรรมาธิการขอมาก็ได้

 

85 (1) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น มี 2 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการสามัญ

2 คณะกรรมาธิการวิสามัญ

(2) ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญของรัฐสภาญี่ปุ่นจะมาจากการแต่งตั้งของสมาชิกในคณะกรรมาธิการด้วยกัน และในทางปฏิบัติจะได้รับการคัดเลือกโดยญัตติขอให้รับรองในคณะกรรมาธิการ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น มี 2 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการสามัญ

2 คณะกรรมาธิการวิสามัญ โดยประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญนั้นจะมาจากการเลือกตั้ง ของสมาชิกในคณะกรรมาธิการด้วยกัน และในทางปฏิบัติจะได้รับการคัดเลือกโดยญัตติขอให้รับรองในคณะกรรมาธิการ

86 (1) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยเป็นแบบผสม คือมีทั้งคณะกรรมาธิการสามัญประจําสภา(ระบบสหรัฐอเมริกา) และคณะกรรมาธิการวิสามัญซึ่งตั้งขึ้นชั่วคราว (ระบบอังกฤษ)

(2) รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 129 วรรคสี บัญญัติให้อํานาจคณะกรรมาธิการ เรียกเอกสารจากบุคคลใด หรือเรียกผู้พิพากษาหรือตุลาการมาแถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระทําหรือในเรื่องที่พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาอยู่นั้นได้

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยเป็นแบบผสม คือมีทั้งคณะกรรมาธิการสามัญประจําสภา (ระบบสหรัฐอเมริกา) และคณะกรรมาธิการวิสามัญซึ่งตั้งขึ้นชั่วคราว (ระบบอังกฤษ) โดยรัฐธรรมนูญฯ 2550 มาตรา 129 วรรค 4 บัญญัติให้อํานาจคณะกรรมาธิการ เรียกเอกสาร “จากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระทําหรือ ในเรื่องที่พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาอยู่นั้นได้ แต่การเรียกเช่นว่านั้นมิให้ใช้บังคับแก่ผู้พิพากษาหรือตุลาการ

87 (1) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยมีที่มาจากรัฐธรรมนูญ และข้อบังคับการประชุมของสภา จะต้องคํานึงถึงหลักการกระจายอํานาจเป็นหลัก

(2) รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 129 วรรคสาม บัญญัติเรื่องการสอบหาข้อเท็จจริง คณะกรรมาธิการจะมอบอํานาจหรือมอบหมายให้บุคคลหรือคณะบุคคลใดกระทําการแทนมิได้

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยนั้นมีที่มาจากรัฐธรรมนูญ และข้อบังคับการประชุมของสภา ซึ่งจะต้องคํานึงถึงหลักแบ่งงานกันทําเป็นหลัก โดยรัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 129 วรรค 3 บัญญัติเรื่องการสอบหาข้อเท็จจริง คณะกรรมาธิการจะมอบอํานาจหรือมอบหมายให้บุคคลหรือคณะบุคคลใดกระทําการแทนมิได้

 

ข้อ 88 – 95 ให้นักศึกษาพิจารณาประเภทของคณะกรรมาธิการรัฐสภาไทย แล้วใช้ตัวเลือกต่อไปนี้

(1) คณะกรรมาธิการสามัญ

(2) คณะกรรมาธิการวิสามัญ

(3) คณะกรรมาธิการร่วม

(4) คณะกรรมาธิการเต็มสภา

(5) คณะกรรมาธิการชั่วคราว

 

88 คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจากผู้ที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น

ตอบ 1 หน้า 118, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 27 – 28) คณะกรรมาธิการสามัญ หมายถึง คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น หรือคณะบุคคลที่วุฒิสภา แต่งตั้งจากสมาชิกวุฒิสภาเท่านั้น และตั้งไว้เป็นการถาวรตลอดอายุของสภา เพื่อการทํากิจการหรือเพื่อพิจาณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอํานาจหน้าที่ของรัฐสภาแล้วรายงานต่อสภา

89 คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ได้

ตอบ 2 หน้า 118, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 31) คณะกรรมาธิการวิสามัญ หมายถึง คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ได้ หรือคณะบุคคล ที่วุฒิสภาแต่งตั้งจากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกวุฒิสภาก็ได้ โดยจะแต่งตั้งขึ้นเมื่อคณะรัฐมนตรี ร้องขอ หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยื่นญัตติขอให้ตั้ง เพื่อพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นการเฉพาะและจะสลายตัวเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจ

90 กรรมาธิการที่สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาแต่งตั้งขึ้น จากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาก็ได้ ตอบ 3 หน้า 118, (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการร่วม หมายถึง กรรมาธิการที่สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาแต่งตั้งขึ้น จากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาก็ได้ ซึ่งจะ เกิดขึ้นเฉพาะกรณีที่วุฒิสภามีการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติที่สภาผู้แทนราษฎรได้ให้ ความเห็นชอบแล้ว และสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาแล้วเห็นว่ามิใช่เป็นการแก้ไขเล็กน้อยจึงไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขของวุฒิสภา

91 คณะกรรมาธิการที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ประกอบเป็นคณะกรรมาธิการโดยประธานในที่ประชุมจะทําหน้าที่ประธานคณะกรรมาธิการ

ตอบ 4 หน้า 119, (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการเต็มสภา หมายถึง คณะกรรมาธิการที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ประกอบเป็นคณะกรรมาธิการโดยประธานในที่ประชุมจะทําหน้าที่ประธานคณะกรรมาธิการ ซึ่งจะเกิดขึ้นเฉพาะในกรณีสภาได้มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญในวาระที่ 1 แล้ว

92 คณะกรรมาธิการ…จะเกิดขึ้นเฉพาะในกรณีสภาได้มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญในวาระที่ 1 แล้ว

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 91 ประกอบ

93 คณะกรรมาธิการจะเกิดขึ้นเฉพาะกรณีที่วุฒิสภามีการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติที่สภาผู้แทนราษฎรได้ให้ความเห็นชอบแล้ว และสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาแล้วเห็นว่ามิใช่เป็นการแก้ไขเล็กน้อยจึงไม่เห็นด้วย กับการแก้ไขของวุฒิสภา ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 90 ประกอบ

94 คณะกรรมาธิการแต่งตั้งเมื่อคณะรัฐมนตรีร้องขอ หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยื่นญัตติขอให้ตั้ง

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 89 ประกอบ

95 คณะกรรมาธิการ…ตั้งไว้เป็นการถาวรตลอดอายุของสภา เพื่อการทํากิจการหรือเพื่อพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอํานาจหน้าที่ของรัฐสภาแล้วรายงานต่อสภา

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 88 ประกอบ

 

ข้อ 96 – 100 เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับกระบวนการนิติบัญญัติในฝ่ายนิติบัญญัติ  การตราพระราชบัญญัติให้นักศึกษาพิจารณาข้อความแล้วใช้ตัวเลือกต่อไปนี้

(1) ถ้าข้อความนี้ ถูก

(2) ถ้าข้อความนี้ ผิด

 

96 รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 33 บัญญัติว่า ร่างพระราชบัญญัติให้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรก่อนและจะเสนอได้ก็แต่โดย

1 คณะรัฐมนตรี

2 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวนไม่น้อยกว่า 20 คน

3 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวนไม่น้อยกว่า 10,000 คน และต้องเป็นไปตามมาตรา 77 ด้วย

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 32 ประกอบ

97 กระบวนการนิติบัญญัติในรัฐสภา กรณีการพิจารณาโดยสภาผู้แทนราษฎรได้กําหนดขั้นตอนเป็น 4 วาระ คือ

1 ขั้นรับหลักการ

2 ขั้นพิจารณา

3 ขั้นแปรบัญญัติ

4 ขั้นลงมติเห็นชอบให้ส่งต่อไปยังวุฒิสภา

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 35 ประกอบ

98 การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของวุฒิสภา กรณีเป็นการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั่วไปต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน แต่ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 11 ประกอบ

99 หากประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภา เห็นว่าร่างพระราชบัญญัติมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ให้ส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อวินิจฉัย และแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบโดยไม่ชักช้า

ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 148 (1) กําหนดให้ หาก ส.ส. ส.ว. หรือสมาชิกของทั้งสองสภารวมกันมีจํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้ง สองสภา เห็นว่าร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้น โดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ให้เสนอความเห็นต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา หรือประธานรัฐสภาแล้วแต่กรณี แล้วให้ประธานแห่งสภาที่ได้รับความเห็น ดังกล่าวส่งความเห็นนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย และแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบโดยไม่ชักช้า

100 ถ้าพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ ก็ทรงมีอํานาจยับยั้งได้ โดยส่งร่างพระราชบัญญัตินั้นคืนมายังรัฐสภา หรือเก็บร่างพระราชบัญญัตินั้นไว้โดยไม่ทรงพระราชทานคืนมายังรัฐสภา จนล่วงพ้นเวลา 90 วันไปแล้ว

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 51 ประกอบ

Advertisement