การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3100 กระบวนการนิติบัญญัติ

Advertisement

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1 การเสนอร่างกฎหมายในสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐอเมริกา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะนําร่างกฎหมาย ไปส่งที่ใด

(1) ประธานกรรมาธิการที่รับผิดชอบ

(2) ประธานวุฒิสภา

(3) นําไปแสดงต่อประธานสภาฯ

(4) ประธานสภาผู้แทนราษฎร

(5) ฝ่ายธุรการของสภาฯ

ตอบ 4 หน้า 82 – 83, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 84) การเสนอร่างกฎหมายในสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐอเมริกานั้นกระทํากันอย่างง่าย ๆ คือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะนําร่างกฎหมาย ไปใส่ไว้ในกล่องรับร่างกฎหมายที่โต๊ะของประธานสภาผู้แทนราษฎร ส่วนในวุฒิสภานั้นจะส่งต่อ หัวหน้าหน่วยงานธุรการ และจะเสนอร่างต่อประธานสภาโดยวุฒิสมาชิกจะลุกขึ้นยืนและกล่าวแถลงต่อประธานวุฒิสภา

2 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงสละราชสมบัติเมื่อใด

(1) 10 ธ.ค. 2475

(2) 24 มิ.ย. 2475

(3) 2 มี.ค. 2477

(4) 24 มิ.ย. 2477

(5) 12 ต.ค. 2476

ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 68) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ได้ทรงสละราชสมบัติเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 หลังจากทรงยื่นข้อเสนอเป็นพระราชบันทึกต่อ รัฐบาลที่มีประเด็นเกี่ยวกับพระราชอํานาจทั้งด้านตุลาการ นิติบัญญัติ และบริหารบางประเด็น แต่รัฐบาลไม่อาจสนองพระราชบันทึกตามที่ทรงมีพระราชประสงค์

3 ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ในการตรวจสอบและควบคุมการบริหารงานขององค์กรนิติบัญญัติ

(1) การพิจารณาอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจําปี

(2) การยื่นกระทู้ถาม

(3) การให้ความเห็นชอบการประกาศสงคราม

(4) การเสนอญัตติ

(5) การอภิปราย

ตอบ 3 (คําบรรยาย) หน้าที่ในการตรวจสอบและควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินขององค์กรนิติบัญญัติ ได้แก่

1 การตั้งกระทู้ถาม

2 การเสนอญัตติ

3 การอภิปรายไม่ไว้วางใจ

4 การตั้งกรรมาธิการ

5 การพิจารณาพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย เป็นต้น

4 ลักษณะของพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการเงินคือข้อใด

(1) ว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงระเบียบอันเกี่ยวกับภาษี

(2) ว่าด้วยเรื่องการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายแผ่นดิน

(3) ว่าด้วยเรื่องการค้ำประกันเงินกู้

(4) ว่าด้วยเรื่องการเพิ่มเก็บอัตราภาษีสุรา

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 55) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 134 กําหนดให้ร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน หมายความถึงร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ดังต่อไปนี้

1 การตั้งขึ้น ยกเลิก ลด เปลี่ยนแปลง แก้ไข ผ่อน หรือวางระเบียบการ บังคับเกี่ยวกับภาษีหรืออากร

2 การจัดสรร รับ รักษา หรือจ่ายเงินแผ่นดิน หรือ การโอนงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดิน

3 การกู้เงิน การค้ำประกัน การใช้เงินกู้ หรือการดําเนินการที่ผูกพันทรัพย์สินของรัฐ

4 เงินตรา

5 ข้อใดเป็นเงื่อนไขของการออกพระราชกําหนด

(1) ผู้เสนอคือหัวหน้า คสช.

(2) ผู้เสนอคือคณะรัฐมนตรี

(3) ผู้เสนอคือสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

(4) เมื่อเป็นกรณีฉุกเฉินความจําเป็นรีบด่วน

(5) ข้อ 2 และ 4

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 56) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 172 วรรค 2 กําหนดให้การตราพระราชกําหนดให้กระทําได้เฉพาะเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจําเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้

6 อํานาจหน้าที่ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติจะสิ้นสุดลงเมื่อใด

(1) เมื่อประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2560

(2) เมื่อมีการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560

(3) เมื่อ พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญฯ 2560 แล้วเสร็จ

(4) เมื่อนายกรัฐมนตรีลาออก

(5) เมื่อคณะรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 เข้ารับตําแหน่ง

ตอบ 5 รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 265 วรรค 1 กําหนดให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ดํารงตําแหน่งอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ยังคงอยู่ในตําแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญนี้จะเข้ารับหน้าที่

7 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวนเท่าใดสามารถเข้าชื่อยื่นความเห็นต่อประธานสภาฯ ให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่าพระราชกําหนดใดไม่ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2560

(1) ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของรัฐสภา

(2) ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของสภาผู้แทนฯ

(3) ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของสภาผู้แทนฯ

(4) ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของรัฐสภา

(5) ทั้งหมดที่มีอยู่ในสภาผู้แทนฯ

ตอบ 3 รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 173 วรรค 1 กําหนดให้ ก่อนที่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาจะได้อนุมัติพระราชกําหนดใด ส.ส. หรือ ส.ว. จํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมด เท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา มีสิทธิเข้าชื่อเสนอความเห็นต่อประธานแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิกว่าพระราชกําหนดนั้นไม่เป็นไปตามมาตรา 172 วรรค 1 และให้ประธานแห่งสภานั้นส่งความเห็น ไปยังศาลรัฐธรรมนูญภายใน 3 วันนับแต่วันที่ได้รับความเห็นเพื่อวินิจฉัย และให้รอการพิจารณาพระราชกําหนดนั้นไว้ก่อนจนกว่าจะได้รับแจ้งคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ

8 ข้อใดไม่ใช่นัยยะสําคัญของรัฐธรรมนูญ

(1) อํานาจอธิปไตยเป็นของประชาชน

(2) สถานะสูงสุดที่ไม่มีกฎหมายอื่นใดขัดหรือแย้งได้

(3) สร้างความชอบธรรมในการใช้อํานาจของประชาชน

(4) แสดงความสัมพันธ์ของรัฐกับประชาชน

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 4 – 5), (คําบรรยาย) นัยยะสําคัญของรัฐธรรมนูญ มีดังนี้

1 อํานาจอธิปไตยเป็นของประชาชน

2 สถานะสูงสุดที่ไม่มีกฎหมายอื่นใดขัดหรือแย้งได้

3 แสดงโครงสร้างของรัฐ

4 แสดงความสัมพันธ์ของรัฐกับประชาชน ฯลฯ

9 การกําหนดความสัมพันธ์ของ “ผู้ใช้อํานาจรัฐ” กับ “ประชาชนในฐานะปัจเจก” มักยึดหลักความได้สัดส่วน และความเหมาะสม ระหว่างข้อใด

(1) ประโยชน์ของปัจเจกและประโยชน์ของสาธารณะ

(2) ความชอบด้วยกฎหมายและการใช้อํานาจรัฐ

(3) อํานาจของรัฐสภากับอํานาจองค์กรอิสระ

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า, 13), (คําบรรยาย) การกําหนดพื้นฐานความสัมพันธ์ของ“ผู้ใช้อํานาจรัฐ” กับ “ประชาชนในฐานะปัจเจก” นั้นมักยึดหลักแห่งความได้สัดส่วนและ หลักแห่งความเหมาะสม เพื่อ

1 เป็นหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายและการใช้อํานาจรัฐ

2 สร้างดุลยภาพระหว่างประโยชน์ของปัจเจกและประโยชน์ของสาธารณะ

10 คํากล่าวที่ว่า “เสรีนิยมกับประชาธิปไตยไม่ใช่สิ่งเดียวกัน” คือข้อใด

(1) ประชาธิปไตยผูกโยงกับจํานวนประชาชน

(2) เสรีนิยมคือการจํากัดอํานาจของรัฐต่อปัจเจก

(3) เสรีนิยมกับประชาธิปไตยเป็นแนวคิดที่ไม่สามารถไปด้วยกัน

(4) ประชาธิปไตยไม่สามารถทําให้เกิดเผด็จการรัฐสภาได้

(5) ข้อ 1 และ 2

ตอบ 5 (คําบรรยาย) เสรีนิยมกับประชาธิปไตยไม่ใช่สิ่งเดียวกัน เนื่องจากประชาธิปไตยนั้นจะผูกโยงกับจํานวนประชาชน เน้นส่วนใหญ่) ส่วนเสรีนิยมคือการจํากัดอํานาจของรัฐต่อปัจเจกแต่อย่างไรก็ตามทั้งสองด้านจะเป็นเงื่อนไขซึ่งกันและกัน

11 ข้อใดคือความหมายของหลักนิติรัฐ

(1) องค์กรเกี่ยวข้องกับการทุจริตประพฤติมิชอบควรมีอํานาจเด็ดขาดทั้งบริหาร ตุลาการ และนิติบัญญัติ

(2) ปฏิบัติตามกฎหมายที่ตราขึ้นจากผู้ปกครองโดยเคร่งครัด

(3) เปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถต่อสู้ป้องกันสิทธิของตนเท่าที่ผู้ปกครองกําหนด (4) กระบวนการพิจารณาไต่สวนคดีต่าง ๆ ให้เป็นไปตามดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่

(5) กฎหมายต้องมีความชัดเจนและมีความแน่นอนมากพอที่ประชาชนจะเข้าใจได้ ตอบ 2 เอกสารประกอบการสอน หน้า 19), (คําบรรยาย) หลักนิติรัฐ หมายถึง การปฏิบัติและบังคับใช้กฎหมายของรัฐต่อประชาชนในรัฐอย่างเท่าเทียมและเสมอภาคในคนทุกกลุ่ม โดยรัฐทุกรัฐ มุ่งหวังให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมายที่บังคับใช้ภายในรัฐ ซึ่งในความหมายอย่างแคบนั้น จะไม่คํานึงถึงที่มาของกฎหมาย กล่าวคือ ประชาชนจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่ตราขึ้นจากผู้ปกครองโดยเคร่งครัด

12 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะต้องห้ามของกระทู้

(1) เป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของประชาชน

(2) เป็นการออกความเห็น

(3) เป็นปัญหาข้อกฎหมาย

(4) เป็นเรื่องคลุมเครือ

(5) เป็นเรื่องที่เคยมีผู้เสนอมาก่อน

ตอบ 1 หน้า 115, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 46) ลักษณะต้องห้ามของกระทู้ มีดังนี้

1 เป็นเชิงประชด เสียดสี หรือกลั่นแกล้งใส่ร้าย

2 คลุมเครือ หรือเข้าใจยาก

3 เป็นเรื่องที่มีประเด็นคําถามซ้ำกับกระทู้ถามซึ่งมีผู้เสนอมาก่อน

4 เป็นการออกความเห็น

5 เป็นปัญหาข้อกฎหมาย

6 เป็นเรื่องไม่มีสาระสําคัญ ฯลฯ

13 ปัจจุบันประเทศใดต่อไปนี้มีระบบ นิติบัญญัติแบบสภาเดี่ยว

(1) อินโดนีเซีย

(2) ไทย

(3) กัมพูชา

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ปัจจุบันประเทศที่มีระบบนิติบัญญัติแบบสภาเดี่ยว ได้แก่ อินโดนีเซีย ไทย สวีเดน เดนมาร์ก อิสราเอล กานา เซเนกัล โมนาโค ลักเซมเบอร์ก ฯลฯ

14 หลักการสําคัญที่เป็นสาระสําคัญอันต้องกําหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่คือข้อใด

(1) วิธีปฏิบัติทางปกครองของส่วนราชการต่าง ๆ

(2) สิทธิ เสรีภาพ และการมีส่วนร่วมของพลเมือง

(3) การตรวจสอบการใช้อํานาจ

(4) ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการเมือง

(5) องค์กรสถาบันสําคัญทางการเมือง

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 12, 76), (คําบรรยาย) หลักการและสาระสําคัญที่ต้องกําหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ มีดังนี้

1 สิทธิ เสรีภาพ และการมีส่วนร่วมของพลเมือง

2 การตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐ

3 ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการเมือง

4 องค์กรสถาบันสําคัญทางการเมือง ฯลฯ

15 ข้อใดไม่ใช่คณะกรรมการสรรหาผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560

(1) ผู้นําฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร

(2) ประธานศาลปกครองสูงสุด

(3) ประธานศาลฎีกา

(4) ประธานสภาผู้แทนราษฎร

(5) ประธานวุฒิสภา

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 33) คณะกรรมการสรรหาผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญฯ 2550 ประกอบด้วย

1 ประธานศาลฎีกา

2 ประธานสภาผู้แทนราษฎร

3 ผู้นําฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร

4 ประธานศาลปกครองสูงสุด

5 บุคคลซึ่งแต่งตั้งโดยศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระที่มิใช่องค์กรอิสระที่ต้องมีการสรรหา

16 รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 กําหนดจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไว้จํานวนกี่คน

(1) 500 คน

(2) 350 คน

(3) 700 คน

(4) 550 คน

(5) 750 คน

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 21) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 83 กําหนดให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจํานวน 500 คน ดังนี้

1 สมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจํานวน 350 คน

2 สมาชิกซึ่งมาจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองจํานวน 150 คน

17 บุคคลในข้อใดที่ไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

(1) หญิงข้ามเพศอายุ 25 ปี นับถึงวันเลือกตั้ง

(2) ชายที่ได้รับสัญชาติไทยโดยการแต่งงาน

(3) หญิงอายุ 55 ปีผู้มีหุ้นในกิจการขายตรงในสื่อออนไลน์

(4) นักการเมืองที่เคยรับโทษจําคุกในคดีลหุโทษเมื่อ 5 ปีก่อนวันเลือกตั้ง

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 21 – 22) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 97 กําหนดให้บุคคลผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้เป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.

1 มีสัญชาติไทยโดยการเกิด

2 มีอายุไม่เกิน 25 ปีนับถึงวันเลือกตั้ง ฯลฯ

และมาตรา 98 กําหนดให้ บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิ สมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.

1 ติดยาเสพติดให้โทษ

2 เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต

3 เป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใด ๆ

4 เคยได้รับโทษจําคุกโดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึง 10 ปีนับถึงวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในความผิด อันได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ฯลฯ

18 ข้อใดไม่ใช่ความหมายของการเป็นตัวแทนในกระบวนการนิติบัญญัติ

(1) อํานาจอธิปไตยยังเป็นของประชาชน

(2) ได้รับความยินยอมให้ใช้อํานาจแทนประชาชนจากการเลือกตั้ง

(3) ประชาชนสามารถตรวจสอบการทํางานของตัวแทนได้

(4) มีระยะเวลาที่กําหนดความเป็นตัวแทนที่แน่นอน

(5) ได้อํานาจในการออกกฎหมายจากนายกรัฐมนตรี

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ความหมายของการเป็นตัวแทนในกระบวนการนิติบัญญัติ คือ

1 อํานาจยังเป็นของปวงชน

2 ได้รับความยินยอมให้ใช้อํานาจแทนประชาชนจากการ เลือกตั้ง

3 ประชาชนสามารถตรวจสอบการทํางานของตัวแทนได้

4 มีระยะเวลาที่กําหนดความเป็นตัวแทนที่แน่นอน ฯลฯ

19 จํานวนของสมาชิกวุฒิสภาและวาระการดํารงตําแหน่งของสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 คือข้อใด

(1) 200 คน, 6 ปี

(2) 200 คน, 5 ปี

(3) 150 คน, 6 ปี

(4) 150 คน, 5 ปี

(5) 200 คน, 7 ปี

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 23) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 107 และ 109 กําหนดให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจํานวน 200 คน โดยมีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละ 5 ปีนับแต่วันประกาศผลการเลือก

20 การปกครองระบบรัฐสภามีหลักการสําคัญคือการดุลอํานาจ หมายความว่าอย่างไร

(1) มีการแยกอํานาจการออกกฎหมาย การปฏิบัติตามกฎหมายและการลงโทษตามกฎหมาย

(2) มีการแยกฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายข้าราชการออกจากกัน

(3) มีการแยกกรรมาธิการเป็นหลายคณะเพื่อแบ่งความรับผิดชอบ

(4) มีการแยกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาออกจากกัน

(5) มีการแยกการปกครองออกเป็นส่วนกลางและส่วนภูมิภาคออกจากกัน

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 19), (คําบรรยาย) หลักการสําคัญของการปกครองระบบรัฐสภา ได้แก่

1 หลักการดุลอํานาจ หมายถึง เมื่อมีการแยกอํานาจออกเป็น 3 อํานาจ นั่นคือ อํานาจการออกกฎหมาย การปฏิบัติตามกฎหมาย และการลงโทษตามกฎหมาย แต่ละอํานาจต่างจะมีอิสระในตัวเอง และมีความสัมพันธ์กับอํานาจอื่นตามหลักแห่งการดุลอํานาจ

2 หลักแห่งความรับผิดชอบทางการเมือง หมายถึง การที่บุคคลที่ดํารงตําแหน่งทางการเมืองสามารถยืนยันผลการปฏิบัติหน้าที่ของตนเอง หากไม่สามารถยืนยันได้ย่อมไม่ชอบธรรมที่จะบริหารประเทศต่อไป

21 การปกครองระบอบใดที่พระมหากษัตริย์ทรงมีอํานาจในการปกครองแต่มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล

(1) ระบอบรัฐสภาโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

(2) ระบอบประธานาธิบดี

(3) ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

(4) ระบอบกึ่งสมบูรณาญาสิทธิราชย์

(5) ระบอบราชาธิปไตย

ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 15) ระบอบกึ่งสมบูรณาญาสิทธิราชย์ หมายถึง การปกครองที่พระมหากษัตริย์ทรงมีอํานาจในการปกครองแต่มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล หรือเรียก อีกอย่างหนึ่งว่า “ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ”

22 แนวคิด “กระแส 3 คลื่น” ของการขยายตัวของระบอบประชาธิปไตย เป็นแนวคิดของใคร

(1) Huntington

(2) Montesquieu

(3) Fukuyama

(4) Rousseau

(5) Locke

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 13 – 14) Samuel Huntington ได้สรุปพัฒนาการของระบอบประชาธิปไตย หรือ “กระแส 3 คลื่น” (Three Wave) ไว้ดังนี้

1 คลื่นลูกที่ 1 ค.ศ. 1828 – 1926 เกิดการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาและการแพร่ระบาดของการปฏิวัติในประเทศและแคว้นต่าง ๆ ของยุโรป

2 คลื่นลูกที่ 2 ค.ศ. 1943 – 1962 เกิดหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

3 คลื่นลูกที่ 3 ค.ศ. 1974 เกิดการโค่นล้มเผด็จการพลเรือนของโปรตุเกส การล่มสลายของระบอบคอมมิวนิสต์ การพังทลายของกําแพงเบอร์ลิน เป็นต้น

23 รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 กําหนดให้มีวุฒิสภาในวาระแรกจํานวนกี่คน

(1) 200 คน

(2) 250 คน

(3) 300 คน

(4) 350 คน

(5) 400 คน

ตอบ 2 รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 269 กําหนดให้ในวาระเริ่มแรกให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจํานวน 250 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามที่ คสช. ถวายคําแนะนํา โดยอายุของวุฒิสภาตามมาตรานี้มีกําหนด 5 ปีนับแต่วันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง

24 ข้อใดคือความหมายของหลักนิติรัฐ

(1) องค์กรเกี่ยวข้องกับการทุจริตประพฤติมิชอบควรมีอํานาจเด็ดขาดทั้งบริหาร ตุลาการ และนิติบัญญัติ

(2) ปฏิบัติตามกฎหมายที่ตราขึ้นจากผู้ปกครองโดยเคร่งครัด

(3) เปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถต่อสู้ป้องกันสิทธิของตนเท่าที่ผู้ปกครองกําหนด (4) กระบวนการพิจารณาไต่สวนคดีต่าง ๆ ให้เป็นไปตามดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่

(5) กฎหมายต้องมีความชัดเจนและมีความแน่นอนมากพอที่ประชาชนจะเข้าใจได้

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 11 ประกอบ

25 ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติของผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระ

(1) อายุไม่เกิน 70 ปี

(2) มีสุขภาพที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

(3) เคยเป็น ส.ส. เมื่อ 12 ปีก่อน

(4) จบการศึกษาระดับปริญญาตรี

(5) เป็นผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 33) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 201, 202 และ 216 กําหนดให้ ผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามทั่วไป ดังต่อไปนี้

1 มีอายุไม่ต่ำกว่า 45 ปี แต่ไม่เกิน 70 ปี

2 มีสัญชาติไทยโดยการเกิด

3 สําเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

4 มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์

5 มีสุขภาพที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

6 ไม่มีลักษณะต้องห้าม เช่น เป็นหรือเคยเป็น ส.ส. ส.ว.ข้าราชการการเมือง หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นในระยะ 10 ปีก่อนเข้ารับการคัดเลือกหรือสรรหา, เป็นผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ ฯลฯ

26 เจตจํานงของประชาชนสามารถแสดงออกได้ทางใดบ้าง

(1) ประชามติ

(2) ประชาพิจารณ์

(3) การเลือกตั้ง

(4) ข้อ 1 และ 3

(5) ข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 (คําบรรยาย) เจตจํานงของประชาชนถือเป็นที่มามูลฐานแห่งอํานาจของรัฐบาล ซึ่งประชาชนนั้นสามารถแสดงออกได้โดยการลงประชามติ (การรับร่างรัฐธรรมนูญ, การออกจากสมาชิก EU)และการเลือกตั้ง (ส.ส., ส.ว.)

27 ผู้มีสิทธิเสนอร่างพระราชบัญญัติตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 ได้แก่ข้อใด

(1) คณะรัฐมนตรี

(2) สมาชิกสภานิติบัญญัติ

(3) หัวหน้า คสช.

(4) ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวน 5,000 คน

(5) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวน 10 คน

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 53) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 133 กําหนดให้ร่างพระราชบัญญัติให้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรก่อน และจะเสนอได้ก็แต่โดย

1 คณะรัฐมนตรี

2 ส.ส. จํานวนไม่น้อยกว่า 20 คน

3 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวนไม่น้อยกว่า 10,000 คน เข้าชื่อเสนอกฎหมายตามหมวดสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย หรือหมวดหน้าที่ของรัฐ

ทั้งนี้ตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย

28 วุฒิสภาต้องพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ไม่เกี่ยวกับการเงินให้แล้วเสร็จภายในกี่วัน

(1) 30 วัน

(2) 45 วัน

(3) 60 วัน

(4) 90 วัน

(5) แล้วแต่ทําความตกลงกับรัฐบาล

ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 55) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 136 กําหนดให้ วุฒิสภาต้องพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เสนอมาโดยสภาผู้แทนราษฎรนั้นให้เสร็จภายใน 60 วัน แต่ถ้า เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 30 วัน เว้นแต่วุฒิสภา จะได้ลงมติให้ขยายเวลาออกไปเป็นกรณีพิเศษซึ่งต้องไม่เกิน 30 วัน หากวุฒิสภายังพิจารณาไม่เสร็จภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ ให้ถือว่าวุฒิสภาได้ให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัตินั้น

29 การถอดถอนบุคคลออกจากตําแหน่ง ต้องมีพฤติกรรมใดต่อไปนี้

(1) ส่อว่ากระทําผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ

(2) มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ

(3) ส่อว่าจงใจใช้อํานาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ

(4) ข้อ 1 และ 3

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 49), (คําบรรยาย) การถอดถอนบุคคลออกจากตําแหน่งตามรัฐธรรมนูญฯ 2550 ต้องมีพฤติกรรมดังต่อไปนี้

1 มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ

2 ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่

3 ส่อว่ากระทําผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ

4 ส่อว่ากระทําผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม

5 ส่อว่าจงใจใช้อํานาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย

6 ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง

30 สภานิติบัญญัติแห่งชาติซึ่งทําหน้าที่แทนทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา มีการพิจารณาพระราชบัญญัติอย่างไร

(1) 3 วาระ คือ รับหลักการ พิจารณาเรียงลําดับมาตรา และให้ความเห็นชอบ

(2) 3 วาระ คือ รับหลักการ กรรมาธิการ และให้ความเห็นชอบเรียงมาตรา

(3) 2 วาระ คือ พิจารณาเรียงมาตรา และให้ความเห็นชอบ

(4) 3 วาระ คือ พิจารณาเรียงมาตรา กรรมาธิการ และให้ความเห็นชอบ

(5) 4 วาระ คือ รับหลักการ เรียงมาตรา กรรมาธิการ และให้ความเห็นชอบ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของสภานิติบัญญัติแห่งชาตินั้นจะกระทําเป็น 3 วาระ คือ

1 รับหลักการ

2 พิจารณาเรียงลําดับมาตรา (โดยคณะกรรมาธิการที่สภาตั้ง)

3 ให้ความเห็นชอบ

31 ตําแหน่งใดที่ไม่อยู่ในอํานาจการถอดถอนของวุฒิสภา

(1) ประธานศาลฎีกา

(2) พนักงานอัยการ

(3) ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

(4) ผู้พิพากษา

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 49), (คําบรรยาย) ตําแหน่งที่อยู่ในอํานาจการถอดถอนของวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญฯ 2550 ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ส.ส. ส.ว. ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด อัยการสูงสุด ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้พิพากษาหรือตุลาการ พนักงานอัยการ ฯลฯ

32 พระราชบัญญัติในข้อใดไม่ใช่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560

(1) ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลปกครอง

(2) ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน

(3) ว่าด้วยพรรคการเมือง

(4) ว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 52) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 130 กําหนดให้มี พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ ดังต่อไปนี้

1 พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

2 พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา

3 พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง

4 พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน

5 พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ฯลฯ

33 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ รัฐสภาต้องพิจารณาในกําหนดระยะเวลาเท่าใด

(1) 60 วัน

(2) 90 วัน

(3) 120 วัน

(4) 150 วัน

(5) 180 วัน

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 52) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 132 (1) กําหนดให้ การเสนอร่าง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญให้เสนอต่อรัฐสภา และให้รัฐสภาประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณา ร่าง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายในเวลา 180 วัน หากยังพิจารณาไม่เสร็จ ภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ให้ถือว่ารัฐสภาให้ความเห็นชอบตามร่างที่เสนอ

34 หลักนิติธรรม ไม่ใช่คือข้อใด

(1) กฎหมายต้องไม่มีผลบังคับใช้ย้อนหลัง

(2) กฎหมายต้องบังคับเป็นการทั่วไปใช้กับทุกคนเสมอกัน

(3) กฎหมายที่ประกาศใช้แล้วต้องได้รับการบังคับให้สอดคล้องต้องกัน

(4) กฎหมายสามารถเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) หลักนิติธรรมมีลักษณะสําคัญ ดังนี้

1 กฎหมายต้องใช้บังคับเป็นการทั่วไปและใช้กับทุกคนเสมอภาคกัน

2 กฎหมายต้องไม่มีผลบังคับใช้ย้อนหลัง

3 กฎหมายที่ประกาศใช้แล้วต้องได้รับการบังคับให้สอดคล้องต้องกัน

4 กฎหมายต้องมีความถาวรต่อเนื่อง

5 ห้ามยกเว้นความรับผิดให้แก่การกระทําในอนาคต เป็นต้น

35 การขัดกันแห่งผลประโยชน์ ไม่ใช่คือข้อใด

(1) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยังดํารงตําแหน่งในหน่วยราชการ

(2) สมาชิกสภานิติบัญญัติยังดํารงตําแหน่งปลัดกระทรวง

(3) บุตรของผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานได้รับสัมปทานงานจากหน่วยงานนั้น ๆ (4) รัฐมนตรีแจ้ง ป.ป.ช. ว่าโอนหุ้นของบริษัทให้นิติบุคคลซึ่งจัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ผู้อื่นถือแทน

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ตัวอย่างการขัดกันแห่งผลประโยชน์ มีดังนี้

1 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยังดํารงตําแหน่งในหน่วยราชการ

2 สมาชิกสภานิติบัญญัติยังดํารงตําแหน่งปลัดกระทรวง

3 บุตรของผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานได้รับสัมปทานงานจากหน่วยงานนั้น ๆ

4 รัฐมนตรีเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท เว้นแต่ได้แจ้ง ป.ป.ช. ว่าโอนหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทดังกล่าวให้นิติบุคคลซึ่งจัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นถือแทน(รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 187 วรรค 2) ฯลฯ )

36 ตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 กรณีพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติหรือมิได้พระราชทาน คืนให้กับรัฐสภา จะสามารถประกาศเป็นกฎหมายได้หรือไม่ อย่างไร

(1) ไม่ได้ เพราะพระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอํานาจในการตราพระราชบัญญัติ (2) ได้ เมื่อรัฐสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงสองในสามของจํานวนสมาชิกทั้งหมด

(3) ไม่ได้ เพราะต้องมีพระปรมาภิไธยเท่านั้นจึงจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้

(4) ได้ เมื่อนายกรัฐมนตรีนําขึ้นทูลเกล้าอีกครั้ง และหากมิได้ลงพระปรมาภิไธยใน 30 วัน นายกรัฐมนตรี สามารถนําพระราชบัญญัตินั้นไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้

(5) ข้อ 2 และ 4

ตอบ 5 รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 146 กําหนดให้ ร่างพระราชบัญญัติใด พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบและพระราชทานคืนมายังรัฐสภา หรือเมื่อพ้น 90 วันแล้วมิได้พระราชทานคืนมา รัฐสภาต้อง ปรึกษาร่างพระราชบัญญัตินั้นใหม่ ถ้ารัฐสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนําขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายอีกครั้งหนึ่ง และหากมิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยภายใน 30 วัน ให้นายกรัฐมนตรีนําพระราชบัญญัตินั้น ประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็นกฎหมายได้เสมือนว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว

37 ข้อใดต่อไปนี้คือสิทธิที่เสียไปเมื่อไม่ไปเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550

(1) สิทธิในการยื่นเสนอกฎหมายเข้าสู่กระบวนการนิติบัญญัติ

(2) สิทธิสมัครรับเลือกเป็นกํานันและผู้ใหญ่บ้าน

(3) สิทธิคัดค้านการสรรหาผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระ

(4) สิทธิในการไปเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งต่อไป

(5) สิทธิในการไปเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น

ตอบ 2 (คําบรรยาย) สิทธิที่เสียไปเมื่อไม่ไปเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฯ 2550 มาตรา 72 และ พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่ง ส.ว. 2550 มาตรา 26 มีดังต่อไปนี้

1 สิทธิยื่นคําร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ส.ส. และ ส.ว.

2 สิทธิสมัครรับเลือกตั้งและสิทธิได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการสรรหาเป็น ส.ส. ส.ว.สมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น

3 สิทธิสมัครรับเลือกเป็นกํานันและผู้ใหญ่บ้านตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่

38 ข้อใดคือกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคําแนะนําและยินยอมของรัฐสภา

(1) พระราชกําหนด

(2) พระราชกฤษฎีกา

(3) พระราชบัญญัติ

(4) พระราชอัธยาศัย

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 53), (คําบรรยาย) พระราชบัญญัติ หมายถึง กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคําแนะนําและยินยอมของรัฐสภา กล่าวคือ เป็นกฎหมายที่ต้อง ผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบของรัฐสภา คือ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาก่อน จึงนํา ขึ้นทูลเกล้าฯ ให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้

39 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีวาระการดํารงตําแหน่งกี่ปี

(1) 7 ปี

(2) 6 ปี

(3) 5 ปี

(4) 4 ปี

(5) 3 ปี

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 37) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 232 และ 233 กําหนดให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติประกอบด้วยกรรมการจํานวน 9 คน ซึ่ง พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคําแนะนําของวุฒิสภาจากผู้ซึ่งได้รับการสรรหาโดยคณะกรรมการ สรรหา โดยมีวาระการดํารงตําแหน่ง 7 ปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดํารงตําแหน่งได้เพียงวาระเดียว

40 ตําแหน่งใดต่อไปนี้ที่ไม่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สิน

(1) ส.ส. ทุกคน

(2) ส.ว. ทุกคน

(3) อธิการบดี

(4) ปลัดกระทรวง

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ผู้ที่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินต่อ ป.ป.ช. ได้แก่ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ส.ส. ส.ว. ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ปลัดกระทรวงอธิการบดี รองอธิการบดี ฯลฯ

41 รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 ให้สิทธิประชาชนในการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้อย่างไร

(1) ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าชื่อกันไม่น้อยกว่า 50,000 ชื่อ เสนอขอแก้ไข

(2) ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าซื้อกันไม่น้อยกว่า 10,000 ชื่อ เสนอขอแก้ไข

(3) ประชาชนเข้าชื่อกันไม่น้อยกว่า 50,000 ชื่อ เสนอขอแก้ไข

(4) ประชาชนเข้าชื่อกันไม่น้อยกว่า 10,000 ชื่อ เสนอขอแก้ไข

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ผู้มีสิทธิเสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญฯ 2560 มีดังนี้

1 คณะรัฐมนตรี

2 ส.ส. จํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร

3 ส.ส. และ ส.ว. จํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา

4 ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวนไม่น้อยกว่า 50,000 คน ตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย

42 ข้อใดเป็นเกณฑ์การวัดความเป็นประชาธิปไตย

(1) ความพร้อมรับผิดชอบทางการเมือง

(2) ความเข้มแข็งของภาคประชาชน

(3) ความสามารถในการตรวจสอบนักการเมืองของ ป.ป.ช.

(4) ข้อ 1 และ 3

(5) ข้อ 1 และ 2

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 14) เกณฑ์การวัดความเป็นประชาธิปไตย ได้แก่

1 ความพร้อมรับผิดชอบทางการเมือง (Political Accountability)

2 การแข่งขันทางการเมือง (Political Competition)

3 ความมีเสรีภาพทางการเมือง (Political Freedom)

4 ความเสมอภาคทางการเมือง (Political Equality)

43 การปฏิรูปประเทศ เป็นหมวดหนึ่งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใด (1) พ.ศ. 2540

(2) พ.ศ. 2550

(3) พ.ศ. 2557

(4) พ.ศ. 2560

(5) ไม่ปรากฏในรัฐธรรมนูญทุกฉบับ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) “การปฏิรูปประเทศ” เป็นหมวด 16 ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ซึ่งการปฏิรูปประเทศตามหมวดนี้ต้องการดําเนินการในด้านต่าง ๆ ให้เกิดผลดังนี้ การเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม การศึกษา เศรษฐกิจและด้านอื่น ๆ

44 หลักการประชาพิจารณ์ไม่ใช่ข้อใดต่อไปนี้

(1) ต้องมีผู้เชี่ยวชาญมาให้ข้อมูลกับประชาชน

(2) รัฐตัดสินใจดําเนินโครงการแล้วจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน (3) รัฐผูกพันต้องปฏิบัติตามความคิดเห็นของประชาชน

(4) ข้อ 1 และ 3

(5) ข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 (คําบรรยาย) หลักการของการทําประชาพิจารณ์ มีดังนี้

1 จะต้องกระทําก่อนการตัดสินใจดําเนินโครงการ

2 มีการคัดเลือกผู้เข้าร่วมประชาพิจารณ์ที่สะท้อนสัดส่วนที่แท้จริงของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

3 มีผู้เชี่ยวชาญมาให้ข้อมูลกับประชาชน

4 การดําเนินการประชาพิจารณ์ต้องเป็นไปโดยเที่ยงตรงและเปิดเผย

5 ข้อสรุปจากการทําประชาพิจารณ์เป็นเพียงข้อเสนอแนะ หน่วยงานของรัฐไม่จําเป็นต้องปฏิบัติตาม

45 ข้อใดคือประชาธิปไตยทางตรง

(1) การรับฟังความคิดเห็นจากประธานชุมชน

(2) การเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

(3) การสรรหาวุฒิสภา

(4) การรับฟังข่าวสาร

(5) การไปลงประชามติ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ประชาธิปไตยทางตรง (Direct Democracy) เป็นรูปแบบการปกครองโดยที่พลเมืองสามารถมีส่วนร่วมกับการตัดสินใจใด ๆ ได้โดยตรง โดยไม่ต้องอาศัยคนกลางหรือผู้ทําหน้าที่แทนตน เช่น การไปลงประชามติ การริเริ่มออกกฎหมาย การถอดถอนผู้ได้รัน คือกตั้ง เป็นต้น

46 การกําหนดจํานวนประชาชนที่มีสิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมายน้อยลง แสดงนัยยะอะไร

(1) อํานาจของประชาชนมากขึ้น

(2) อํานาจของประชาชนน้อยลง

(3) โอกาสการเข้ามีส่วนร่วมในการปกครองน้อยลง

(4) ไม่มีนัยยะสําคัญ

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (คําบรรยาย) อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน (Popular Sovereignty) สามารถแสดงออกผ่านกฎหมายรัฐธรรมนูญได้ในหลายลักษณะ เช่น

1 กําหนดสัดส่วนของตัวแทนประชาชนในรัฐสภาให้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงมากที่สุด

2 กําหนดจํานวนประชาชนที่มีสิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมายมีจํานวนน้อยลง (แสดงนัยยะสําคัญว่าอํานาจของประชาชนมากขึ้น) เป็นต้น

47 ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าชื่อกันจํานวนเท่าใด จึงสามารถเสนอเรื่องให้ถอดถอนบุคคลออกจากตําแหน่งได้

(1) ไม่น้อยกว่า 10,000 คน

(2) ไม่น้อยกว่า 20,000 คน

(3) ไม่น้อยกว่า 50,000 คน

(4) ประชาชนไม่มีสิทธิยื่นถอดถอน

(5) ไม่จํากัดจํานวน

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 49), (คําบรรยาย) ผู้มีสิทธิเสนอเรื่องให้ถอดถอนบุคคลออกจากตําแหน่งได้ตามรัฐธรรมนูญฯ 2550 มีดังนี้

1 ส.ส. จํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร

2 ส.ว. จํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา

3 ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวนไม่น้อยกว่า 20,000 คน

48 ร่างพระราชบัญญัติที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว หลังได้รับร่างพระราชบัญญัตินั้นจากสภาแล้ว นายกรัฐมนตรีต้องรอกี่วัน ก่อนนําขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายให้พระมหากษัตริย์พิจารณา

(1) 20 วัน

(2) 15 วัน

(3) 10 วัน

(4) 5 วัน

(5) ให้นําขึ้นทูลเกล้าในวันถัดไปทันที

ตอบ 4 รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 145 กําหนดให้ ร่างพระราชบัญญัติที่ได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีรอไว้ 5 วันนับแต่วันที่ได้รับร่างพระราชบัญญัตินั้นจากรัฐสภา ถ้าไม่มีกรณีต้องดําเนินการตามมาตรา 148 ให้นําขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายภายใน 20 วันนับแต่วันพ้นกําหนดเวลาดังกล่าว

49 การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของสภาผู้แทนราษฎร โดยการยื่นญัตติขออภิปรายไม่ไว้วางใจตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 นั้นต้องให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าชื่อกันจํานวนเท่าใดของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่อยู่ในสภาผู้แทนฯ

(1) 2 ใน 3

(2) กึ่งหนึ่ง

(3) 1 ใน 5

(4) 3 ใน 5

(5) 1 ใน 3

ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 46) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 151 วรรค 1 กําหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของ สภาผู้แทนราษฎร มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะ

50 รัฐธรรมนูญฉบับใดที่ถูกเรียกว่า “รัฐธรรมนูญใต้ทุ่ม”

(1) 2489

(2) 2490

(3) 2502

(4) 2517

(5) 2534

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 71) รัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) 2490 ถูกเรียกว่า รัฐธรรมนูญใต้ตุ่มหรือตุ่มแดง ทั้งนี้เนื่องจากขณะที่ทําการร่าง น.อ.กาจ กาจสงคราม ผู้อํานวยการร่างได้นําไป ซ่อนไว้ใต้ตุ่มในบ้าน โดยเกรงว่าจะถูกเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลค้นพบและกล่าวหาว่าเป็นกบฏ

51 วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เป็นการปฏิวัติ/รัฐประหารของใคร

(1) คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ

(2) คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

(3) คณะรักษาความสงบแห่งชาติ

(4) คณะปฏิรูปการปกครองและสร้างความปรองดองแห่งชาติ

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 24, 64) การรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เป็นการรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งประกอบด้วย กองทัพบก กองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และสํานักงานตํารวจแห่งชาติ

52 “House of Lords” เป็นสภาสูงของประเทศอะไร

(1) สหรัฐอเมริกา

(2) ฝรั่งเศส

(3) จีน

(4) อังกฤษ

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 78 – 80) รัฐสภาของประเทศอังกฤษ ประกอบด้วย 2 สภา คือ

1 วุฒิสภา (สภาสูง) ซึ่งมีชื่อเรียกเฉพาะว่า “สภาขุนนาง” (House of Lords)

2 สภาผู้แทนราษฎร (สภาล่าง) ซึ่งมีชื่อเรียกเฉพาะว่า “สภาสามัญชน” (House of Commons)

53 ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา ได้มาจากการเลือกของใคร

(1) วุฒิสภา

(2) ผู้แทนราษฎร

(3) ประชาชนโดยตรง

(4) คณะผู้เลือกตั้ง

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 80), (คําบรรยาย) ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกานั้นมาจากการเลือกตั้งโดยอ้อมผ่านกลุ่มคนที่เรียกว่า “คณะผู้เลือกตั้ง” (Electoral College) ทําหน้าที่ตัดสินชี้ขาดว่าใครจะเป็นผู้นําประเทศ แทนการให้ประชาชนเป็นผู้เลือกตั้งโดยตรงโดยแต่ละรัฐจะมีจํานวนคณะผู้เลือกตั้งไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับจํานวนประชากรของรัฐนั้น ๆ

54 ข้อใดไม่ใช่หลักการขององค์กรอิสระ

(1) มีอิสระในเรื่องงบประมาณ

(2) ปราศจากอคติ

(3) มีความเที่ยงธรรม

(4) ไม่ฝักใฝ่ทางการเมือง

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 32 – 33) หลักการสําคัญขององค์กรอิสระ ได้แก่

1 ความเป็นอิสระ เช่น มีอิสระในเรื่องงบประมาณ ที่มาและการเข้าสู่ตําแหน่งการกําหนดนโยบายและการดําเนินงาน เป็นต้น

2 ความเป็นกลาง เช่น ไม่ฝักใฝ่ทางการเมือง ปราศจากอคติ เป็นต้น

3 ดํารงความยุติธรรม เช่น มีความเที่ยงธรรม ชอบธรรม เป็นต้น

55 “พฤฒสภา” คือชื่อเดิมขององค์กรใด

(1) องคมนตรี

(2) วุฒิสภา

(3) สภาผู้แทนราษฎร

(4) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ

(5) สภาปฏิรูปแห่งชาติ

ตอบ 2 หน้า 138, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 23) วุฒิสภาเกิดขึ้นครั้งแรกในชื่อ “พฤฒสภา”ซึ่งกําหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฯ 2489 และต่อมาในรัฐธรรมนูญฯ 2490 จึงเปลี่ยนเป็น “วุฒิสภา” ” โดยพบว่าที่มาของ ส.ว. ตั้งแต่เริ่มปรากฏจนกระทั่งปัจจุบันนั้นรัฐธรรมนูญส่วนใหญ่จะกําหนดให้ มาจากการแต่งตั้ง ยกเว้นรัฐธรรมนูญฯ 2540 (มาจากการเลือกตั้ง) รัฐธรรมนูญฯ 2550 (มาจาก การเลือกตั้งและสรรหา) และรัฐธรรมนูญฯ 2560 (มาจากการเลือกตั้งทางอ้อม)

56 ข้อไม่ใช่หน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560

(1) ระงับการใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง

(2) กําหนดวันเลือกตั้งและจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น

(3) ถอนสิทธิการสมัครรับเลือกตั้ง

(4) ยกเลิกการเลือกตั้ง

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 36) อํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฯ 2560 มีดังนี้

1 จัดหรือดําเนินการให้มีการจัดการเลือกตั้ง ส.ส. การเลือก ส.ว. การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น และการออกเสียงประชามติ

2 ควบคุมดูแลการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม

3 ยกเลิกการเลือกตั้งหรือการเลือก หรือการออกเสียงประชามติ

4 ระงับการใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง

5 ยื่นคําร้องต่อศาลฎีกาให้สั่งเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ฯลฯ

57 ข้อใดเป็นคุณสมบัติของคณะกรรมการ ป.ป.ช.

(1) เป็นผู้มีความซื่อสัตย์เป็นที่ประจักษ์

(2) รับราชการในตําแหน่งอธิบดีผู้พิพากษามาแล้ว 3 ปี

(3) เป็นผู้มีความชํานาญด้านการเงินการคลังมาแล้ว 5 ปี

(4) เคยประกอบวิชาชีพกฎหมายมาแล้ว 10 ปี

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 37 – 38) คุณสมบัติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีดังนี้

1 เป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์

2 รับราชการหรือเคยรับราชการในตําแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีผู้พิพากษามาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี

3 เป็นผู้มีความชํานาญด้านบริหาร การเงิน การคลัง การบัญชี หรือการบริหารกิจการวิสาหกิจ ในระดับไม่ต่ำกว่าผู้บริหารระดับสูงของบริษัทมหาชนจํากัดมาแล้วไม่น้อยกว่า 20 ปี

4 เป็นหรือเคยเป็นผู้ประกอบวิชาชีพที่มีกฎหมายรองรับ โดยประกอบวิชาชีพอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 20 ปีนับถึงวันที่ได้รับการเสนอชื่อ ฯลฯ

58 กบฎนายสิบ เกิดขึ้นในปี พ.ศ. ใด

(1) 2476

(2) 2478

(3) 2481

(4) 2491

(5) 2492

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 63) กบฏที่เกิดขึ้นภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ได้แก่

1 กบฏบวรเดช (11 ตุลาคม 2476)

2 กบฏนายสิบ (3 สิงหาคม 2478)

3 กบฏพระยาทรงสุรเดช (29 มกราคม 2481)

4 กบฏเสนาธิการ (1 ตุลาคม 2491)

5 กบฏวังหลวง (26 กุมภาพันธ์ 2492) ฯลฯ

59 ตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 สภานิติบัญญัติแห่งชาติสามารถควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินโดย

(1) การอภิปรายและลงมติไม่ไว้วางใจ

(2) การอภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติ

(3) การประชุมลับ

(4) การตั้งกระทู้ถาม

(5) ข้อ 2 และ 4

ตอบ 5 รัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) 2557 มาตรา 16 กําหนดให้ ในที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติสมาชิกทุกคนมีสิทธิตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีในเรื่องใดอันเกี่ยวกับงานในหน้าที่ได้ เมื่อมีปัญหาสําคัญ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติจํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมด จะเข้าชื่อ เสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อซักถามข้อเท็จจริงจากคณะรัฐมนตรีก็ได้ แต่จะลงมติไว้วางใจ หรือไม่ไว้วางใจมิได้

60 อริสโตเติลไม่นิยมชมชอบแนวการปกครองแบบใด

(1) ราชาธิปไตย

(2) คณาธิปไตย

(3) อภิชนาธิปไตย

(4) Polity

(5) ประชาธิปไตย

ตอบ 5 (คําบรรยาย) อริสโตเติล (Aristotle) ไม่นิยมชมชอบแนวการปกครองแบบประชาธิปไตย(Democracy) เพราะเชื่อว่าการปกครองโดยคนหลายคนโดยเฉพาะคนจน ซึ่งเป็นเสียงส่วนใหญ่นั้นจะทําให้ขาดความมีระเบียบวินัย และก่อให้เกิดความวุ่นวายในสังคม

 

จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถามข้อ

61 – 70

(1) ถูก

(2) ผิด

 

61 หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 อํานาจของนายกรัฐมนตรีมาตรา 44 ตามรัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ยังคงอยู่

ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 วรรค 2 กําหนดให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยังคงมีหน้าที่และอํานาจตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) 2557 นั่นแสดงว่า หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญฯ 2560 อํานาจของนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะหัวหน้า คสช. มาตรา 44 ตามรัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ยังคงอยู่

62 การแก้ไขรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 จะกระทําไม่ได้ถ้ามีวุฒิสมาชิกเห็นชอบจํานวนน้อยกว่า 1 ใน 3 ของวุฒิสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่ของวุฒิสภา

ตอบ 1 รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 256 (3) กําหนดให้ การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่ 1 ขั้นรับหลักการ ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วย ในการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา ซึ่งในจํานวนนี้ต้องมีสมาชิกวุฒิสภา (วุฒิสมาชิก) เห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา

63 พระราชกฤษฎีกาสามารถออกมาเพื่อใช้กับฝ่ายบริหารเพียงอย่างเดียวไม่บังคับกับประชาชนทั่วไปได้

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 58) การตราพระราชกฤษฎีกา แบ่งออกเป็น 3 กรณี คือ

1 พระราชกฤษฎีกาที่รัฐธรรมนูญกําหนดให้ตราพระราชกฤษฎีกาในกิจการที่สําคัญอันเกี่ยวกับ ฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ

2 พระราชกฤษฎีกาที่ออกมาเพื่อใช้กับฝ่ายบริหารเพียงอย่างเดียวไม่บังคับใช้กับประชาชนทั่วไป

3 พระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามกฎหมายแม่บท

64 โทมัส ฮอบส์ เชื่อว่าเมื่อประชาชนมอบอํานาจให้องค์อธิปัตย์แล้วสามารถเพิกถอนได้

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 9) โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) เชื่อว่า เมื่อทุกคนให้อํานาจกับองค์อธิปัตย์แล้วไม่มีสิทธิที่จะต่อต้านอํานาจของเขาไม่ว่าเขาจะควบคุมชีวิตเรา มากแค่ไหนก็ตาม เพราะองค์อธิปัตย์เท่านั้นที่จะทําให้เราไม่ต้องกลับไปอยู่ในภาวะธรรมชาติอีก ดังนั้นสัญญาประชาคมจึงเป็นสัญญาที่มิอาจถอนคืน ต่อต้าน ตั้งคําถามหรือตรวจสอบใด ๆ ได้

65 “หมุดก่อกําเนิดรัฐธรรมนูญหรือหมุดคณะราษฎร” เคยถูกขุดขึ้นมาก่อน

ตอบ 1 (คําบรรยาย) หมุดก่อกําเนิดรัฐธรรมนูญหรือหมุดคณะราษฎร เป็นหมุดทองเหลืองฝังอยู่กับพื้นถนนบนลานพระบรมรูปทรงม้าด้านสนามเสือป่า ซึ่งภายหลังได้ถูกปรับเปลี่ยนและเคยถูกขุด ขึ้นมาหลายครั้ง เช่น มีการนําสีดํามาราดทับ ถูกขีดจนเป็นรอยจํานวนมาก เคยถูกขุดและหายไปใน สมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และถูกนํากลับมาในสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นต้น

66 รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 ข้าราชการไม่สามารถดํารงตําแหน่งวุฒิสภาได้ ยกเว้นเฉพาะในวาระแรกเท่านั้น

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 24), (คําบรรยาย) ลักษณะต้องห้ามของผู้ดํารงตําแหน่งสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญฯ 2560 มีดังนี้

1 เป็นข้าราชการ

2 เป็นสมาชิกพรรคการเมือง

3.เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ฯลฯ

ยกเว้นเฉพาะในวาระแรก เท่านั้นที่สมาชิกวุฒิสภาสามารถเป็นข้าราชการ/ดํารงตําแหน่งหรือหน้าที่ในหน่วยราชการหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ หรือตําแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่นผู้บริหารท้องถิ่นได้

67 จอห์น ล็อค และโทมัส ฮอบส์ เห็นว่าสภาพธรรมชาติ (State of Nature) เป็นสภาวะสงคราม

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 9) โทมัส ฮอบส์ เห็นว่า ภาวะธรรมชาติของมนุษย์นั้นเป็นภาวะสงคราม แต่สําหรับ จอห์น ล็อค กลับเห็นว่าภาวะธรรมชาติของมนุษย์เป็นภาวะที่มนุษย์มีความสมบูรณ์และมีเสรีภาพเต็มที่ที่จะใช้ชีวิตอย่างที่ต้องการโดยคนอื่นไม่สามารถเข้ามารุกล้ำได้

68 รัฐสภาของอังกฤษสามารถยกเลิกกฎหมายของรัฐสภาสกอตแลนด์ได้

ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐสภาสหราชอาณาจักร (อังกฤษ) สามารถยกเลิกกฎหมายของสถาบันนิติบัญญัติลําดับรองได้ ซึ่งสถาบันนิติบัญญัติลําดับรองได้แก่ รัฐสภาสกอตแลนด์ รัฐสภาแห่งเวลส์ และรัฐสภาไอร์แลนด์เหนือ

69 องค์กรที่มีอํานาจถอดถอนนายกรัฐมนตรีคือวุฒิสภา

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 49) รัฐธรรมนูญฯ 2550 มาตรา 270 วรรค 1 กําหนดให้ผู้ดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ส.ส. ส.ว. ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด หรืออัยการสูงสุด. วุฒิสภามีอํานาจถอดถอนผู้นั้นออกจากตําแหน่งได้

70 นายกรัฐมนตรีเป็นประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในการประชุมเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2560 นั้น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ได้มีคําสั่งแต่งตั้งกรรมการ ยุทธศาสตร์ชาติ 6 ด้าน จํานวน 70 คน มีวาระการดํารงตําแหน่ง 5 ปี โดยให้ได้รับค่าตอบแทนค่าใช้จ่ายและประโยชน์ตอบแทนอื่นตามที่คณะรัฐมนตรีกําหนด

 

ข้อ 71 – 87 เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับคณะกรรมาธิการ ให้นักศึกษาพิจารณา 2 ข้อความ แล้วใช้ตัวเลือกต่อไปนี้

(1) ถ้าข้อความที่ 1 ถูก และข้อความที่ 2 ผิด

(2) ถ้าข้อความที่ 1 ผิด และข้อความที่ 2 ถูก

(3) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ถูกทั้งสองข้อ

(4) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ผิดทั้งสองข้อ

 

71 (1) รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 129 บัญญัติให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา มีอํานาจเลือกสมาชิกของแต่ละสภาตั้งเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ

(2) รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 128 บัญญัติให้กรรมาธิการสามัญซึ่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด ต้องมีจํานวนตามหรือใกล้เคียงกับอัตราส่วนของจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละพรรคการเมืองที่มีอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร

ตอบ 1 รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 129 วรรค 1 และ 8 กําหนดให้ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีอํานาจเลือกสมาชิกเต่ละสภาตั้งเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ… กรรมาธิการสามัญซึ่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด ต้องมีจํานวนตามหรือใกล้เคียงกับอัตราส่วนของ

– จํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละพรรคการเมืองที่มีอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร

72 (1) การดําเนินการของคณะกรรมาธิการสามัญประจําสภาผู้แทนราษฎร ต้องเป็นไปตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรและตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 128 วรรคหนึ่ง

(2) กรณีคณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ และผู้พิการ จะต้องดําเนินการตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 128 วรรคสอง ด้วย

ตอบ 3 รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 128 วรรค 1 และ 2 กําหนดให้ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีอํานาจตราข้อบังคับการประชุมเกี่ยวกับการเลือกและการปฏิบัติหน้าที่ของประธานสภา รองประธานสภา เรื่องหรือกิจการอันเป็นหน้าที่และอํานาจของคณะกรรมาธิการสามัญแต่ละชุด… ในส่วนที่เกี่ยวกับ การตั้งกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรวินิจฉัยว่า มีสาระสําคัญเกี่ยวกับ เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ หรือคนพิการหรือทุพพลภาพ ต้องกําหนดให้ บุคคลประเภทดังกล่าวหรือผู้แทนองค์กรเอกชนที่ทํางานเกี่ยวกับบุคคลประเภทนั้นโดยตรงร่วมเป็นกรรมาธิการวิสามัญด้วย

73 (1) องค์ประกอบที่สําคัญของฝ่ายนิติบัญญัติในรูปรัฐสภาประการหนึ่งคือ การแต่งตั้งคณะกรรมาธิการ : (Committee) เพื่อพิจารณาปัญหากฎหมายเฉพาะเรื่อง หรือตั้งขึ้นมาเพื่อสอดคล้องกับงานหลายฝ่ายของรัฐบาล

(2) คณะกรรมาธิการของรัฐสภามีบทบาทเท่ากับเป็นรัฐสภาขนาดเล็ก (Little Legislature)

ตอบ 3 หน้า 77, (คําบรรยาย) องค์ประกอบที่สําคัญของฝ่ายนิติบัญญัติในรูปรัฐสภาประการหนึ่ง คือ การแต่งตั้งคณะกรรมาธิการ (Committee) เพื่อพิจารณาปัญหากฎหมายเฉพาะเรื่อง หรือตั้งขึ้นมาเพื่อสอดคล้องกับงานหลายฝ่ายของรัฐบาล โดยคณะกรรมาธิการของรัฐสภานั้นจะมีบทบาทคล้ายกับรัฐสภาขนาดเล็ก (Little Legislature)

74 (1) การแบ่งประเภทของคณะกรรมาธิการในรัฐสภา ได้แบ่งตามกิจกรรมที่ถือปฏิบัติอยู่ เช่น

1 คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการร่างกฎหมาย หรือการพิจารณาร่างกฎหมาย

2 คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารการพัฒนา

3 คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่ในการสอบสวน ตรวจตรา และสอดคล้องการปฏิบัติงานรัฐบาล

(2) คณะกรรมาธิการในรัฐสภา อาจมีการแต่งตั้งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1 คณะกรรมาธิการสามัญ

2 คณะกรรมาธิการวิสามัญ

ตอบ 2 หน้า 77, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 27, 31) คณะกรรมาธิการในรัฐสภามี 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ คณะกรรมาธิการสามัญ และคณะกรรมาธิการวิสามัญ นอกจากนี้เราอาจจะแบ่งประเภท ของคณะกรรมาธิการในรัฐสภาได้ตามกิจกรรมที่ถือปฏิบัติอยู่ ดังนี้

1 คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการร่างพระราชบัญญัติ หรือการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ

2 คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานคลัง

3 คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่ในการสอบสวน ตรวจตราสอดส่องการปฏิบัติงานของรัฐบาล เป็นต้น

75 (1) ในกลุ่มประเทศกําลังพัฒนา คณะกรรมาธิการมักมีอิทธิพลต่อกระบวนการนิติบัญญัติอย่างชัดแจ้งโดยเฉพาะความสามารถในการทํางานอย่างรวดเร็ว

(2) เหตุผลของการที่ต้องมีคณะกรรมาธิการ เนื่องจากการทํางานของรัฐสภาตามความเป็นจริงนั้นจําเป็นต้องผสมผสานหลักทางเทคนิคกับหลักความต้องการของนักการเมือง

ตอบ 4  (คําบรรยาย) เหตุผลของการที่ต้องมีคณะกรรมาธิการมีอยู่ 4 ประการ คือ

1 เพื่อการแสวงหาข้อมูลและกลั่นกรองเรื่องให้สภา

2 จําเป็นต้องผสมผสานหลักทางเทคนิคกับความต้องการของราษฎร

3 เป็นการละลายความเป็นพรรคการเมือง

4 การสอบสวนข้อเท็จจริงและรับเรื่องราวร้องทุกข์ (ถือเป็น “หน้าที่พิเศษ” ของคณะกรรมาธิการในประเทศไทย) ซึ่งในกลุ่มประเทศกําลังพัฒนานั้นพบว่า คณะกรรมาธิการมักไม่ค่อยมีอิทธิพลต่อกระบวนการนิติบัญญัติมากนัก เนื่องจากความสามารถในการทํางานค่อนข้างต่ำ

76 (1) การทํางานในขั้น “คณะกรรมาธิการ” ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ หรือคณะกรรมาธิการวิสามัญ แม้จะเป็นสมาชิกสภาต่างจากพรรคการเมืองก็ตาม เมื่อต้องมาทํางานในกรรมาธิการชุดเดียวกันมักจะมีบรรยากาศของความปรองดอง

(2) “หน้าที่พิเศษ” ที่ถือว่าเป็นหน้าที่ประจําตามปกติธรรมดาของคณะกรรมาธิการในประเทศไทย คือ การแสวงหาข้อมูลและกลั่นกรองเรื่องให้สภา

ตอบ 1 (คําบรรยาย) “การละลายความเป็นพรรคการเมือง” หนึ่งในเหตุผลของการที่ต้องมี

– คณะกรรมาธิการนั้นพบว่า การทํางานในขั้นคณะกรรมาธิการ ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ หรือคณะกรรมาธิการวิสามัญ แม้จะเป็นสมาชิกสภาต่างจากพรรคการเมืองก็ตาม เมื่อต้องมาทํางานในกรรมาธิการชุดเดียวกันมักจะมีบรรยากาศของความปรองดอง (ดูคําอธิบายข้อ 75 ประกอบ)

77 (1) การแต่งตั้งกรรมาธิการเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมาธิการทั่วโลกมีอยู่ 2 วิธีด้วยกัน คือ

1 แต่งตั้งโดยผู้ที่มีอํานาจในการบังคับบัญชาของรัฐสภา

2 แต่งตั้งโดยรัฐสภา

(2) การปฏิบัติงานของคณะกรรมาธิการ ไม่ถือว่าเป็นเอกสิทธิ์ที่ผู้ใดจะนําไปฟ้องร้องในทางใดมิได้

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การแต่งตั้งกรรมาธิการเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมาธิการทั่วโลกมีอยู่ 3 วิธีด้วยกัน คือ

1 แต่งตั้งโดยผู้ที่มีอํานาจในการบังคับบัญชาของรัฐสภา

2 แต่งตั้งโดยคณะกรรมาธิการพิเศษที่มีอํานาจในการคัดเลือก

3 แต่งตั้งโดยรัฐสภา ซึ่งการปฏิบัติงานของคณะกรรมาธิการนั้นถือว่าเป็นเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาดผู้ใดจะนําไปฟ้องร้องในทางใด ๆ มิได้

78 (1) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกาได้เปิดโอกาสให้มีการใช้ตําแหน่งสมาชิกคณะกรรมาธิการ เป็นรางวัลตอบแทนแก่สมาชิกสภาอยู่แทนทําหน้าที่เป็นผลประโยชน์แก่พรรคการเมืองได้

(2) กรรมาธิการแต่ละคณะในสภาคองเกรส จะได้รับเลือกเข้าดํารงตําแหน่งกรรมาธิการคณะใดคณะหนึ่งขึ้นอยู่กับความสมัครใจของสมาชิก ความเหมาะสมต่อหน้าที่ ความมีอาวุโสเป็นหลัก

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกาได้เปิดโอกาสให้มีการใช้ “ตําแหน่งสมาชิกคณะกรรมาธิการ” เป็นรางวัลตอบแทนแก่สมาชิกสภาอยู่แทนทําหน้าที่เป็น ผลประโยชน์แก่พรรคการเมืองได้ ส่วนคณะกรรมาธิการแต่ละคณะในสภาคองเกรสนั้นจะ ได้รับเลือกเข้าดํารงตําแหน่งกรรมาธิการคณะใดคณะหนึ่งขึ้นอยู่กับความสมัครใจของสมาชิก ความเหมาะสมต่อหน้าที่ และความมีอาวุโสเป็นหลัก

79 (1) ในระบบรัฐสภาของสหรัฐอเมริกา หากเป็นร่างรัฐบัญญัติธรรมดาเข้าสู่คณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องแล้วคณะกรรมาธิการจะสามารถทําการจัดประชุมที่เรียกว่า การประชุมลับ (Executive Session)เพื่อที่จะกําหนดระเบียบวาระได้

(2) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกา จะประกอบด้วยคณะกรรมาธิการสามัญ คณะกรรมาธิการวิสามัญคณะกรรมาธิการร่วม คณะกรรมาธิการร่วมกันของรัฐสภา และคณะกรรมาธิการเต็มสภา

ตอบ 2 หน้า 84, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 84), (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกา มี 5 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการสามัญ

2 คณะกรรมาธิการวิสามัญ

3 คณะกรรมาธิการร่วม

4 คณะกรรมาธิการร่วมกันของรัฐสภา

5 คณะกรรมาธิการเต็มสภา ซึ่งในระบบรัฐสภาของสหรัฐฯ หากเป็นร่างรัฐบัญญัติที่มีความสลับซับซ้อน (เรื่องใหญ่ เรื่องที่ประชาชนสนใจมาก) เข้าสู่คณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องแล้ว คณะกรรมาธิการจะสามารถทําการจัดประชุมที่เรียกว่า การประชุมลับ (Executive Session) เพื่อที่จะกําหนดระเบียบวาระได้

80 (1) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาอังกฤษ ประกอบด้วยคณะกรรมาธิการเต็มสภา คณะกรรมาธิการสามัญคณะกรรมาธิการร่วม และคณะกรรมาธิการร่วมพระราชบัญญัติมหาชน

(2) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาอังกฤษยังมีคณะกรรมาธิการชุดพิเศษชุดหนึ่ง เรียกว่า คณะกรรมาธิการสามัญ สกอต (Scottish Standing Committee) ซึ่งมีกรรมาธิการทุกคนเป็นชาวสกอต และทําหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับสกอตแลนด์เท่านั้น

ตอบ 2 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาอังกฤษ มี 5 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการเต็มสภา

2 คณะกรรมาธิการสามัญ

3 คณะกรรมาธิการวิสามัญ

4 คณะกรรมาธิการร่วม

5 คณะกรรมาธิการร่างพระราชบัญญัติเอกชน

นอกจากนี้ยังมีคณะกรรมาธิการชุดพิเศษชุดหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมาธิการสามัญสกอต” (Scottish Standing Committee) ซึ่งมีกรรมาธิการทุกคนเป็นชาวสกอต และทําหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับสกอตแลนด์เท่านั้น

81 (1) คณะกรรมาธิการวิสามัญ (Select Committee) ของรัฐสภาอังกฤษ สามารถแบ่งย่อยได้ 2 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการสมัยประชุม

2 คณะกรรมาธิการชั่วคราว

(2) คณะกรรมาธิการร่วม (Joint Committee) ของรัฐสภาอังกฤษ จะเป็นคณะกรรมาธิการที่ได้รับแต่งตั้งมาจากสภาสามัญและสภาขุนนาง เพื่อร่วมกันพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ไม่เกี่ยวกับการเมือง

ตอบ 2 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการวิสามัญ (Select Committee) ของรัฐสภาอังกฤษ สามารถแบ่งย่อยได้ 3 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการสมัยประชุม

2 คณะกรรมาธิการชั่วคราว

3 คณะกรรมาธิการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ

ส่วนคณะกรรมาธิการร่วม (Joint Committee) ของรัฐสภาอังกฤษนั้นจะเป็นคณะกรรมาธิการที่ได้รับแต่งตั้งมาจากสภาสามัญและสภาขุนนางเพื่อร่วมกันพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ไม่เกี่ยวกับการเมือง

82 (1) ระบบคณะกรรมาธิการของฝรั่งเศส จะประกอบด้วยคณะกรรมาธิการสามัญ คณะกรรมาธิการวิสามัญและคณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุม

(2) คณะกรรมาธิการสามัญของฝรั่งเศส เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบร่างกฎหมายตามที่รัฐบาลหรือสภาร้องขอให้พิจารณา

ตอบ 1 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการของฝรั่งเศส มี 3 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการสามัญ เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาเรื่องหลัก ๆ

2 คณะกรรมาธิการวิสามัญ เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบร่างกฎหมายตามที่รัฐบาลหรือสภาร้องขอให้พิจารณา

3 คณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุม เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อที่สภาจะสามารถดําเนินการสอบสวนหรือรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง และเสนอข้อสรุปต่อสภา ซึ่งมักเข้าไป เกี่ยวข้องกับคดีที่สําคัญและดําเนินงานเดียวกับกระทรวงการยุติธรรม และจะถูกยุบทันทีที่ศาลได้ดําเนินคดีในข้อเท็จจริงที่คณะกรรมาธิการพิจารณาอยู่

83 (1) คณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุมของฝรั่งเศส เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อที่สภาจะสามารถดําเนินการสอบสวนหรือรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง และเสนอข้อสรุปต่อประธานาธิบดี

(2) คณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุมของฝรั่งเศส มักเข้าไปเกี่ยวข้องกับคดีที่สําคัญและดําเนินงานเดียวกับกระทรวงการยุติธรรม และจะถูกยุบทันทีที่ศาลได้ดําเนินคดีในข้อเท็จจริงที่คณะกรรมาธิการพิจารณาอยู่

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 82 ประกอบ

84 (1) ระบบกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น สามารถเปิดให้มีการซักถามในที่ประชุมคณะกรรมาธิการ (Public Hearing) เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ ร่างพระราชบัญญัติรายได้ และร่างพระราชบัญญัติที่สําคัญเกี่ยวกับผลประโยชน์ของประชาชน

(2) ระบบกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่นอาจขอให้รัฐมนตรีหรือผู้แทนรัฐบาลชี้แจงต่อที่ประชุมคณะกรรมาธิการได้ ขณะเดียวกันรัฐมนตรีหรือผู้แทนรัฐบาลก็อาจจะขอเข้าพูดที่ประชุมคณะกรรมาธิการก่อนที่ประธานคณะกรรมาธิการขอมาก็ได้

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ระบบกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น สามารถเปิดให้มีการซักถามในที่ประชุมคณะกรรมาธิการ (Public Hearing) เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ ร่างพระราชบัญญัติ รายได้ และร่างพระราชบัญญัติที่สําคัญเกี่ยวกับผลประโยชน์ของประชาชน ซึ่งอาจขอให้รัฐมนตรี หรือผู้แทนรัฐบาลชี้แจงต่อที่ประชุมคณะกรรมาธิการได้ ขณะเดียวกันรัฐมนตรีหรือผู้แทนรัฐบาลก็อาจจะขอเข้าพูดที่ประชุมคณะกรรมาธิการก่อนที่ประธานคณะกรรมาธิการขอมาก็ได้

85 (1) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น มี 2 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการสามัญ

2 คณะกรรมาธิการวิสามัญ

(2) ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญของรัฐสภาญี่ปุ่นจะมาจากการแต่งตั้งของสมาชิกในคณะกรรมาธิการด้วยกัน และในทางปฏิบัติจะได้รับการคัดเลือกโดยญัตติขอให้รับรองในคณะกรรมาธิการ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น มี 2 ประเภท คือ

1 คณะกรรมาธิการสามัญ

2 คณะกรรมาธิการวิสามัญ โดยประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญนั้นจะมาจากการเลือกตั้งของสมาชิกในคณะกรรมาธิการด้วยกัน และในทางปฏิบัติจะได้รับการคัดเลือกโดยญัตติ ขอให้รับรองในคณะกรรมาธิการ

86 (1) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยเป็นแบบผสม คือมีทั้งคณะกรรมาธิการสามัญประจําสภา (ระบบสหรัฐอเมริกา) และคณะกรรมาธิการวิสามัญซึ่งตั้งขึ้นชั่วคราว (ระบบอังกฤษ)

(2) รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 129 วรรคสี่ บัญญัติให้อํานาจคณะกรรมาธิการ เรียกเอกสารจากบุคคลใด หรือเรียกผู้พิพากษาหรือตุลาการมาแถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระทําหรือในเรื่องที่พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาอยู่นั้นได้

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยเป็นแบบผสม คือมีทั้งคณะกรรมาธิการสามัญประจําสภา (ระบบสหรัฐอเมริกา) และคณะกรรมาธิการวิสามัญซึ่งตั้งขึ้นชั่วคราว (ระบบอังกฤษ) โดยรัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 129 วรรค 4 บัญญัติให้อํานาจคณะกรรมาธิการ เรียกเอกสาร จากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระทําหรือ ในเรื่องที่พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาอยู่นั้นได้ แต่การเรียกเช่นว่านั้นมิให้ใช้บังคับแก่ผู้พิพากษาหรือตุลาการ

87 (1) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยมีที่มาจากรัฐธรรมนูญ และข้อบังคับการประชุมของสภา จะต้องคํานึงถึงหลักการกระจายอํานาจเป็นหลัก

(2) รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 129 วรรคสาม บัญญัติเรื่องการสอบหาข้อเท็จจริง คณะกรรมาธิการจะมอบอํานาจหรือมอบหมายให้บุคคลหรือคณะบุคคลใดกระทําการแทนมิได้

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยนั้นมีที่มาจากรัฐธรรมนูญ และข้อบังคับการประชุมของสภา ซึ่งจะต้องคํานึงถึงหลักแบ่งงานกันทําเป็นหลัก โดยรัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 129 วรรค 3 บัญญัติเรื่องการสอบหาข้อเท็จจริง คณะกรรมาธิการจะมอบอํานาจหรือมอบหมายให้บุคคลหรือคณะบุคคลใดกระทําการแทนมิได้

 

ข้อ 88 – 95 ให้นักศึกษาพิจารณาประเภทของคณะกรรมาธิการรัฐสภาไทย แล้วใช้ตัวเลือกต่อไปนี้

(1) คณะกรรมาธิการสามัญ

(2) คณะกรรมาธิการวิสามัญ

(3) คณะกรรมาธิการร่วม

(4) คณะกรรมาธิการเต็มสภา

(5) คณะกรรมาธิการชั่วคราว

 

88 คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจากผู้ที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น

ตอบ 1 หน้า 118, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 27 – 28) คณะกรรมาธิการสามัญ หมายถึง คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น หรือคณะบุคคลที่ วุฒิสภาแต่งตั้งจากสมาชิกวุฒิสภาเท่านั้น และตั้งไว้เป็นการถาวรตลอดอายุของสภา เพื่อการ ทํากิจการหรือเพื่อพิจาณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอํานาจหน้าที่ของรัฐสภาแล้วรายงานต่อสภา

89 คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ได้

ตอบ 2 หน้า 118, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 31) คณะกรรมาธิการวิสามัญ หมายถึง คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ได้ หรือคณะบุคคล ที่วุฒิสภาแต่งตั้งจากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกวุฒิสภาก็ได้ โดยจะแต่งตั้งขึ้นเมื่อคณะรัฐมนตรี ร้องขอ หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยื่นญัตติขอให้ตั้ง เพื่อพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นการเฉพาะ และจะสลายตัวเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจ

90 กรรมาธิการที่สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาแต่งตั้งขึ้น จากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาก็ได้

ตอบ 3 หน้า 118, (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการร่วม หมายถึง กรรมาธิการที่สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาแต่งตั้งขึ้น จากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาก็ได้ ซึ่งจะ เกิดขึ้นเฉพาะกรณีที่วุฒิสภามีการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติที่สภาผู้แทนราษฎรได้ให้ ความเห็นชอบแล้ว และสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาแล้วเห็นว่ามิใช่เป็นการแก้ไขเล็กน้อยจึงไม่เห็นด้วยกับการเก้ไขของวุฒิสภา

91 คณะกรรมาธิการที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ประกอบเป็นคณะกรรมาธิการโดยประธานในที่ประชุมจะทําหน้าที่ประธานคณะกรรมาธิการ

ตอบ 4 หน้า 119, (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการเต็มสภา หมายถึง คณะกรรมาธิการที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ประกอบเป็นคณะกรรมาธิการโดยประธาน ในที่ประชุมจะทําหน้าที่ประธานคณะกรรมาธิการ ซึ่งจะเกิดขึ้นเฉพาะในกรณีสภาได้มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญในวาระที่ 1 แล้ว

92 คณะกรรมาธิการจะเกิดขึ้นเฉพาะกรณีสภาได้มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญในวาระที่ 1 แล้ว

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 91 ประกอบ

93 คณะกรรมาธิการ…จะเกิดขึ้นเฉพาะกรณีที่วุฒิสภามีการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติที่สภาผู้แทนราษฎรได้ให้ความเห็นชอบแล้ว และสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาแล้วเห็นว่ามิใช่เป็นการแก้ไขเล็กน้อยจึงไม่เห็นด้วย กับการแก้ไขของวุฒิสภา

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 90 ประกอบ

94 คณะกรรมาธิการแต่งตั้งเมื่อคณะรัฐมนตรีร้องขอหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยื่นญัตติขอให้ตั้ง

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 89 ประกอบ

95 คณะกรรมาธิการ ตั้งไว้เป็นการถาวรตลอดอายุของสภา เพื่อการทํากิจการหรือเพื่อพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอํานาจหน้าที่ของรัฐสภาแล้วรายงานต่อสภา

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 88 ประกอบ

 

ข้อ 96 – 100 เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับกระบวนการนิติบัญญัติในฝ่ายนิติบัญญัติ : การตราพระราชบัญญัติ

ให้นักศึกษาพิจารณาข้อความแล้วใช้ตัวเลือกต่อไปนี้

(1) ถ้าข้อความนี้ ถูก

(2) ถ้าข้อความนี้ ผิด

 

96 รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 133 บัญญัติว่า ร่างพระราชบัญญัติให้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรก่อน และจะเสนอได้ก็แต่โดย

1 คณะรัฐมนตรี

2 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวนไม่น้อยกว่า 20 คน

3 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวนไม่น้อยกว่า 10,000 คน และต้องเป็นไปตามมาตรา 77 ด้วย

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 27 ประกอบ

97 กระบวนการนิติบัญญัติในรัฐสภา กรณีการพิจารณาโดยสภาผู้แทนราษฎรได้กําหนดขั้นตอนเป็น 4 วาระ

คือ 1 ขั้นรับหลักการ 2 ขั้นพิจารณา 3 ขั้นแปรบัญญัติ 4 ขั้นลงมติเห็นชอบให้ส่งต่อไปยังวุฒิสภา

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 54 55) (คําบรรยาย) กระบวนการนิติบัญญัติในรัฐสภากรณีการพิจารณาโดยสภาผู้แทนราษฎรนั้นได้กําหนดขั้นตอนเป็น 3 วาระ คือ

1 ขั้นรับหลักการ

2 ขั้นพิจารณาหรือขั้นแปรญัตติ

3 ขั้นลงมติเห็นชอบให้ส่งต่อไปยังวุฒิสภา

98 การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของวุฒิสภา กรณีเป็นการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั่วไปต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน แต่ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 28 ประกอบ

99 หากประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภา เห็นว่าร่างพระราชบัญญัติมีข้อความขัดหรือแย้งต่อ รัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ให้ส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อวินิจฉัย และแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบโดยไม่ชักช้า

ตอบ 2 รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 148 (1) กําหนดให้ หาก ส.ส. ส.ว. หรือสมาชิกของทั้งสองสภารวมกันมีจํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา เห็นว่า ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตาม บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ให้เสนอความเห็นต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา หรือ ประธานรัฐสภาแล้วแต่กรณี แล้วให้ประธานแห่งสภาที่ได้รับความเห็นดังกล่าวส่งความเห็นนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย และแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบโดยไม่ชักช้า

100 ถ้าพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ ก็ทรงมีอํานาจยับยั้งได้ โดยส่งร่างพระราชบัญญัตินั้นคืนมายังรัฐสภา หรือเก็บร่างพระราชบัญญัตินั้นไว้โดยไม่ทรงพระราชทานคืนมายังรัฐสภา จนล่วงพ้นเวลา 90 วันไปแล้ว

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 36 ประกอบ

Advertisement