LAW1101 (LAW1001) หลักกฎหมายมหาชน 1/2564

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2564

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 1101 (LAW 1001) หลักกฎหมายมหาชน

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ (

ข้อ 1 จงอธิบายและหยิบยกพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการใช้อํานาจรัฐมาสัก 3 – 4 พระราชบัญญัติ เพื่อให้เข้าใจถึงกลไกการตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาพอสังเขป พร้อมยกตัวอย่างประกอบ

ธงคําตอบ

การควบคุมการใช้อํานาจรัฐ หมายถึง การควบคุมการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐ องค์กรของรัฐ และเหตุที่ต้องมีการควบคุมการใช้อํานาจรัฐดังกล่าวก็เพราะกฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายและหน่วยงานของรัฐนั่นเองที่ไม่เสมอภาค รัฐ หน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐมีอํานาจเหนือประชาชน หากไม่มีการควบคุม เจ้าหน้าที่ของ รัฐหรือหน่วยงานของรัฐอาจใช้ดุลพินิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้ ซึ่งการใช้ดุลพินิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย คือ การที่เจ้าหน้าที่ของรัฐ องค์กรของรัฐ และหน่วยงานของรัฐ กระทําการหรืองดเว้นกระทําการใช้อํานาจที่มีอยู่ตามกฎหมาย หรือใช้อํานาจนอกวัตถุประสงค์ของกฎหมาย อันก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชน

สําหรับพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการใช้อํานาจรัฐนั้น มีหลายฉบับ เช่น

1 พระราชบัญญัติความรับผิดในทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ พ.ศ. 2539

พระราชบัญญัติฉบับนี้จะใช้บังคับแก่การกระทําละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐต่อบุคคลภายนอกหรือต่อหน่วยงานของรัฐ โดยจะกําหนดให้เจ้าหน้าที่รัฐผู้กระทําละเมิดจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบใน ความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้น ไม่ว่าการกระทําละเมิดนั้นจะเกิดขึ้นเนื่องจากการกระทําโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อก็ตาม

2 พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 เป็นพระราชบัญญัติที่มีวัตถุประสงค์ในการวางมาตรฐานการปฏิบัติงานราชการแผ่นดินของหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการออกกฎหรือคําสั่งทางปกครอง ให้มีหลักเกณฑ์ และขั้นตอนที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และเป็นธรรมแก่ประชาชน เช่น การวางกรอบวิธีปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ ของรัฐในการออกกฎหรือคําสั่งทางปกครอง รูปแบบและผลของคําสั่ง การอุทธรณ์คําสั่ง การเพิกถอนคําสั่ง วิธีการแจ้งคําสั่ง ระยะเวลาและอายุความ เป็นต้น

3 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542

เป็นพระราชบัญญัติที่ใช้ควบคุมการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐให้เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งถ้าหากเจ้าหน้าที่รัฐใช้อํานาจทางปกครองหรือใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการ ออกกฎ หรือคําสั่ง หรือการกระทําใด ๆ เอกชนผู้ได้รับความเสียหายก็สามารถฟ้องร้องเป็นคดีต่อศาลปกครองได้ โดยอาศัยกลไกของกฎหมายฉบับนี้

4 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขจนถึงปัจจุบัน)

เป็นพระราชบัญญัติในการควบคุมการใช้อํานาจรัฐในลักษณะของการวางความสัมพันธ์ของหน่วยงานราชการทั้ง 3 ส่วน คือ ราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาค และราชการบริหาร ส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นการควบคุมการใช้อํานาจรัฐของเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานราชการต่าง ๆ ในลักษณะของ การควบคุมบังคับบัญชา และการกํากับดูแลในระหว่างแต่ละส่วนราชการ เช่น ราชการบริหารส่วนกลางจะควบคุม บังคับบัญชาราชการบริหารส่วนภูมิภาค แต่จะกํากับดูแลราชการบริหารส่วนท้องถิ่น เป็นต้น

ข้อ 2 จงอธิบายถึงปรัชญากฎหมายมหาชนที่สําคัญเกี่ยวกับ “การสร้างดุลยภาพ” (Equilibrium) ว่ามีหลักการสําคัญอย่างไร และมีความสัมพันธ์กับหลักนิติรัฐอย่างไร

ธงคําตอบ

ปรัชญาของกฎหมายมหาชนที่สําคัญ คือ การสร้างดุลยภาพระหว่างประโยชน์สาธารณะกับสิทธิ เสรีภาพของประชาชน (เอกชน) ซึ่งเป็นเรื่องที่นักกฎหมายมหาชนทุกคนจะต้องระลึกอยู่เสมอไม่ว่านักกฎหมาย มหาชนผู้นั้นจะอยู่ในฐานะใดหรืออยู่ในอาชีพใด กฎหมายมหาชนที่ดีหรือที่ประสบผลสําเร็จนั้น จะต้องเป็น กฎหมายมหาชนที่มีการประสานทั้งสองอย่างนี้ให้ดําเนินไปด้วยกันได้ โดยไม่ให้ข้างใดข้างหนึ่งมีความสําคัญกว่า อีกข้างหนึ่งมากจนเกินไป เพราะหากเป็นเช่นนั้นก็จะเกิดความเสียหายติดตามมา กล่าวคือ ถ้าให้ความสําคัญกับ ประโยชน์สาธารณะมากเกินไป แม้ว่าจะเพื่อความมีประสิทธิภาพในการปกครอง หรือเพื่อความรวดเร็วในการ ดําเนินการของฝ่ายปกครองก็ตาม แต่ผลที่จะเกิดตามมา คือจะทําให้กฎหมายมหาชนกลายเป็นกฎหมายเอกสิทธิ์ ของฝ่ายปกครองที่ทําให้ฝ่ายปกครองมีอํานาจเพิ่มมากขึ้นและสภาพของ “นิติรัฐ” ก็จะลดลง สิทธิเสรีภาพ ของเอกชนก็จะถูกควบคุมจนหมดไปได้ในที่สุด แต่ถ้าให้ความสําคัญกับสิทธิเสรีภาพของเอกชนมากเกินไป

การบริหารงานของรัฐหรือการดําเนินการเพื่อประโยชน์สาธารณะก็จะเกิดการติดขัด หรือดําเนินไปได้อย่างยากลําบาก หรือต้องใช้ค่าใช้จ่ายเป็นจํานวนมาก เพราะเมื่อสิทธิเสรีภาพของเอกชนมีมากเกินก็จะทําให้ฐานะ ของรัฐหรือฝ่ายปกครองเท่ากันกับฐานะของเอกชน

ซึ่งจุดมุ่งหมายหลักของการประสานประโยชน์สาธารณะกับสิทธิเสรีภาพของเอกชนข้างต้นจะ บรรลุผลสําเร็จที่ประสงค์ได้ก็ด้วย คุณสมบัติ ความรู้ ความตระหนักในความสําคัญ และทัศนะของนักกฎหมาย มหาชนที่จะใช้สิ่งที่กล่าวมานี้ ในการตีความเพื่อสร้างกฎหมายมหาชนขึ้นมาบนพื้นฐานของดุลยภาพระหว่างประโยชน์สาธารณะกับสิทธิเสรีภาพของเอกชน

ส่วนประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างการสร้างดุลยภาพกับหลักนิติรัฐนั้น เมื่อฝ่ายปกครองเข้าไปมีนิติสัมพันธ์กับประชาชน ฝ่ายปกครองก็ไม่สามารถจะฝ่าฝืนหรือหลีกเลี่ยงกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นได้

ยิ่งไปกว่านั้นถ้าเป็นนิติรัฐที่มีการพัฒนาก้าวหน้าอย่างสมบูรณ์แล้ว กรณีก็จะเข้มงวดถึงกับว่าถ้าไม่มีกฎหมายที่ รัฐสภาตราขึ้นให้อํานาจฝ่ายปกครองไว้ ฝ่ายปกครองก็ไม่อาจจะกระทําการใดๆ อันเป็นการบังคับประชาชนได้เลย ถ้าประชาชนไม่สมัครใจ ซึ่งหมายความว่า ถ้าไม่มีกฎหมายที่รัฐสภาตราขึ้นให้อํานาจฝ่ายปกครองไว้โดยตรง หรือโดยปริยาย ฝ่ายปกครองก็จะไม่สามารถใช้มาตรการอย่างใดๆ ต่อประชาชนผู้อยู่ใต้ปกครองได้เลยใน “นิติรัฐ” แม้จะมีกฎหมายให้อํานาจฝ่ายปกครองไว้ ฝ่ายปกครองก็ยังต้องดําเนินการตามที่ กฎหมายให้อํานาจไว้นั้นด้วย “วิธีการ” และตาม “ขั้นตอน” ที่กฎหมายกําหนด หรืออาจจะกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า “ฝ่ายปกครองซึ่งเป็นองค์กรใช้อํานาจรัฐจะกระทําอย่างใด ๆ ต่อประชาชนได้ก็ต่อเมื่อมีกฎหมายให้อํานาจไว้ และด้วยวิธีการที่ระบบกฎหมายในขณะนั้นได้กําหนดไว้เท่านั้น”

หากฝ่ายปกครองละเมิดหลักการแห่ง “นิติรัฐ” ดังกล่าว ประชาชนก็สามารถดําเนินคดีกับการ กระทําที่มิชอบทุกประเภทของฝ่ายปกครองโดยการร้องขอต่อผู้มีอํานาจวินิจฉัย ขอให้ “ยกเลิก” หรือขอให้ “เพิกถอน” หรือขอให้ “เปลี่ยนแปลงแก้ไข” การกระทําหรือคําสั่งอันมิชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายปกครองนั้นได้

ข้อ 3 จงอธิบายลักษณะสําคัญของสมาพันธรัฐและสหพันธรัฐ และเปรียบเทียบความแตกต่างของรัฐ ทั้งสองรูปแบบ

ธงคําตอบ

“รัฐรวม” ในปัจจุบัน จะแบ่งแยกออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ “สมาพันธรัฐ” และ “สหพันธรัฐ”

สมาพันธรัฐ เป็นรูปแบบของรัฐรวมที่เกิดจากการรวมตัวของรัฐที่ค่อนข้างพบได้ยากในอดีต และ ในปัจจุบันก็ไม่ปรากฏรูปแบบดังกล่าวแล้ว และแม้แต่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์จะใช้ชื่อเต็มว่า “สมาพันธรัฐสวิส” ก็ตาม แต่กลับไม่ได้มีรูปแบบเป็นสมาพันธรัฐนับแต่ปี ค.ศ. 1848 เป็นต้นมา หรือสมาพันธรัฐอื่น ๆ ในอดีต เช่น ประเทศเยอรมนี (ระหว่างปี ค.ศ. 1815 – 1866), ประเทศสหรัฐอเมริกา (ระหว่างปี ค.ศ. 1776 – 1787) เป็นต้น และแม้สมาพันธรัฐจะไม่ปรากฏแล้วในปัจจุบัน แต่การศึกษารูปแบบของรัฐยังคงไม่อาจละเลยข้อความคิดว่าด้วย สมาพันธรัฐได้ เนื่องจากในแง่มุมหนึ่ง สมาพันธรัฐนับว่าเป็นรูปแบบของรัฐที่จะนําไปสู่การก่อตั้งสหพันธรัฐได้

สหพันธรัฐ คือ รัฐอันประกอบไปด้วยรัฐสมาชิกจํานวนหนึ่งซึ่งอาจมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปใน แต่ละสหพันธรัฐ โดยรัฐสมาชิกนั้นมีลักษณะคล้ายรัฐเดี่ยวพอสมควร กล่าวคือ รัฐสมาชิกแต่ละรัฐจะมีรัฐธรรมนูญ และสถาบันการเมือง (ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ) เป็นของตนเอง เพียงแต่จะถูกจํากัดอํานาจ อธิปไตยภายนอก คือ รัฐสมาชิกไม่อาจดําเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับรัฐอื่น ๆ ได้อย่างเต็มที่เหมือนกับ รัฐเดี่ยว นอกจากนั้น อํานาจอธิปไตยภายในของรัฐสมาชิกก็ถูกจํากัดเช่นกัน เนื่องจากอํานาจทั้งหลายของรัฐสมาชิกจะต้องอยู่ในบังคับของรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธรัฐ

ความแตกต่างระหว่างสมาพันธรัฐและสหพันธรัฐ ได้แก่

1 บ่อเกิด สหพันธ์รัฐ คือ รัฐที่เกิดจากการรวมตัวกันของรัฐหลายรัฐโดยการลงนามร่วมกันใน สนธิสัญญา ส่วนสหพันธรัฐ คือ รัฐที่เกิดจากการรวมตัวกันของรัฐหลายรัฐโดยมีการสถาปนารัฐธรรมนูญร่วมกัน

2 องค์กร สมาพันธรัฐ มีการก่อตั้งสภาเพื่อใช้อํานาจบางประการร่วมกัน (มติ กฎหมาย หรือ นโยบาย) โดยสมาชิกของสภาจะมาจากการส่งตัวแทนเข้าร่วมโดยรัฐสมาชิก (ไม่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาของ สมาพันธรัฐ) และการใช้อํานาจของสภาจะต้องได้รับสัตยาบันจากรัฐสมาชิก

ส่วนสหพันธรัฐ มีการก่อตั้งสภา คณะรัฐมนตรี และศาลร่วมกัน โดยสมาชิกสภาของสหพันธรัฐ มาจากการเลือกตั้ง และกฎหมายที่ได้รับการเคราโดยสภามีผลบังคับใช้โดยตรงต่อรัฐสมาชิก

3 อํานาจอธิปไตยของรัฐสมาชิก รัฐสมาชิกของสมาพันธรัฐมีอํานาจอธิปไตยโดยสมบูรณ์เช่นเดิม และสามารถถอนตัวจากการเป็นสมาชิกได้

ส่วนรัฐสมาชิกของสหพันธรัฐมีอํานาจอธิปไตยเพียงบางส่วน คือ มีเพียงเท่าที่รัฐธรรมนูญของสหพันธรัฐได้กําหนดไว้ และไม่อาจถอนตัวได้

LAW1101 (LAW1001) หลักกฎหมายมหาชน s/2563

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2563

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 1101 (LAW 1001) หลักกฎหมายมหาชน

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 จงอธิบายความแตกต่างระหว่างหลักกฎหมายมหาชนกับหลักกฎหมายเอกชนในประเด็นต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ มาให้เข้าใจอย่างชัดเจน

ความแตกต่างด้านทฤษฎี

ความแตกต่างด้านตัวการในการสร้างหรือทํานิติสัมพันธ์

ความแตกต่างด้านเนื้อหาและความมุ่งหมาย

ความแตกต่างด้านรูปแบบนิติสัมพันธ์

ความแตกต่างด้านนิติวิธี

ความแตกต่างด้านนิติปรัชญา

ความแตกต่างด้านเขตอํานาจศาล

ธงคําตอบ

ความแตกต่างระหว่างหลักกฎหมายมหาชนกับหลักกฎหมายเอกชนในประเด็นต่าง ๆ มีดังนี้

1 ความแตกต่างด้านทฤษฎีการแบ่งแยกกฎหมายมหาชนกับกฎหมายเอกชน

(1) ทฤษฎีผลประโยชน์ เป็นทฤษฎีที่เห็นว่าการแบ่งแยกกฎหมายมหาชนกับกฎหมายเอกชนนั้น สามารถจําแนกได้จากจุดมุ่งหมายในการสร้างผลประโยชน์มาใช้ในการแบ่งแยก โดยกฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์สาธารณะหรือประโยชน์ของมหาชน ส่วนกฎหมายเอกชนเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์ของเอกชนหรือปัจเจกบุคคล

(2) ทฤษฎีตัวการ เป็นทฤษฎีที่เห็นว่าการแบ่งแยกกฎหมายมหาชนกับกฎหมายเอกชนนั้น สามารถจําแนกได้จากตัวการที่ก่อหรือทําให้เกิดนิติสัมพันธ์มาใช้ในการแบ่งแยก โดยหากตัวการที่ก่อหรือทําให้เกิด นิติสัมพันธ์ทางกฎหมายได้แก่รัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชนหรือปัจเจกบุคคลแล้ว นิติสัมพันธ์ทางกฎหมายที่เกิดขึ้นย่อมเป็นนิติสัมพันธ์ทางกฎหมายมหาชน แต่ถ้าหากตัวการที่ก่อหรือทําให้เกิดนิติสัมพันธ์ทางกฎหมายได้แก่ เอกชนหรือปัจเจกบุคคลด้วยกันเอง นิติสัมพันธ์ทางกฎหมายที่เกิดขึ้นย่อมเป็นนิติสัมพันธ์ทางกฎหมายเอกชน

(3) ทฤษฎีความไม่เท่าเทียมกัน เป็นทฤษฎีที่เห็นว่าการแบ่งแยกกฎหมายมหาชนกับกฎหมายเอกชนนั้น สามารถจําแนกได้จากความสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณีที่ก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ทางกฎหมาย หาก ความสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณีไม่เท่าเทียมกัน นิติสัมพันธ์ทางกฎหมายที่เกิดขึ้นย่อมเป็นนิติสัมพันธ์ทางกฎหมาย มหาชน แต่ถ้าหากความสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณีเท่าเทียมกัน นิติสัมพันธ์ทางกฎหมายที่เกิดขึ้นย่อมเป็นนิติสัมพันธ์ทางกฎหมายเอกชน

2 ความแตกต่างด้านองค์กรหรือบุคคลที่เข้าไปสร้างหรือทํานิติสัมพันธ์ (ทฤษฎีตัวการกฎหมายมหาชน คู่กรณี คือ องค์กรหรือบุคคลที่เข้าไปสร้างหรือทํานิติสัมพันธ์ ได้แก่ รัฐ หรือหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายหนึ่งกับเอกชนที่เป็นคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง

กฎหมายเอกชน คู่กรณี คือ องค์กรหรือบุคคลที่เข้าไปสร้างหรือทํานิติสัมพันธ์ ได้แก่ เอกชน ที่เป็นคู่กรณีฝ่ายหนึ่งกับเอกชนที่เป็นคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง

3 ความแตกต่างด้านเนื้อหาและความมุ่งหมาย (ทฤษฎีผลประโยชน์)

กฎหมายมหาชน มีวัตถุประสงค์ในการดําเนินงานเพื่อประโยชน์สาธารณะและการให้บริการ สาธารณะ โดยมิได้มีความมุ่งหมายถึงผลกําไรเป็นตัวเงินหรือทรัพย์สิน แต่มุ่งหวังถึงความพึงพอใจและการตอบสนองความต้องการของประชาชนส่วนรวมเป็นสําคัญ

กฎหมายเอกชน มีวัตถุประสงค์ในการดําเนินงานเพื่อประโยชน์ของเอกชนแต่ละบุคคล โดยมีความมุ่งหมายถึงผลกําไรเป็นตัวเงิน ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์ในลักษณะอื่นใดเพื่อประโยชน์ของปัจเจกบุคคล เป็นสําคัญ ทั้งนี้ มีข้อยกเว้นกรณีที่เป็นเอกชนบางประเภทที่อาจดําเนินงานเพื่อประโยชน์สาธารณะ ดังเช่น มูลนิธิ หรือสมาคมการกุศล เป็นต้น

4 ความแตกต่างด้านรูปแบบของนิติสัมพันธ์ (ทฤษฎีความไม่เท่าเทียมกัน)

กฎหมายมหาชน มีลักษณะเป็นการใช้บังคับอํานาจที่มีอยู่เหนือนิติสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือกับปัจเจกบุคคล โดยวิธีการที่เป็น “การกระทําฝ่ายเดียว” และปรากฏออกมาในรูปแบบ “คําสั่ง” กล่าวคือ เป็นการกระทําที่ฝ่ายหนึ่ง (รัฐและผู้ปกครอง) สามารถกําหนดหน้าที่ทางกฎหมายให้กับอีกฝ่ายหนึ่ง (รัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือปัจเจกบุคคล) กระทําตาม โดยฝ่ายที่มีหน้าที่ต้องกระทําตามอาจไม่ได้ตกลงยินยอมด้วยก็ตาม กฎหมายเอกชน มีลักษณะที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักความเป็นอิสระในการแสดงเจตนา หลักความเสมอภาค และหลักเสรีภาพในการทําสัญญา โดยคู่กรณีต้องมีความสมัครใจ (เจตนาเสนอสนองตรงกัน สัญญาจึงจะเกิด) และคู่กรณีฝ่ายหนึ่งไม่มีอํานาจเหนือคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง โดยจะทําการบังคับอีกฝ่ายหนึ่งโดยปราศจากความยินยอมมิได้

5 ความแตกต่างด้านนิติวิธี

กฎหมายมหาชน มีลักษณะเป็นการนํานิติวิธีทางกฎหมาย โดยการนําแนวความคิดวิเคราะห์ การแก้ไขปัญหาทางกฎหมายมหาชน โดยการสร้างหลักกฎหมายมหาชนขึ้นมาใช้บังคับ (โดยปฏิเสธการนําแนวความคิด วิเคราะห์ตามหลักกฎหมายเอกชนมาใช้บังคับโดยตรง)

กฎหมายเอกชน มีลักษณะเป็นการนํานิติวิธีทางกฎหมาย โดยการนําความคิดวิเคราะห์ การแก้ไขปัญหาทางกฎหมายเอกชนที่มุ่งเน้นถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกบุคคลด้วยกันเอง และมุ่งเน้นถึงการรักษาผลประโยชน์ของเอกชนด้วยกัน

6 ความแตกต่างด้านนิติปรัชญา

กฎหมายมหาชน มีลักษณะเป็นการมุ่งเน้นถึงการประสานและสร้างความสมดุลระหว่างผลประโยชน์สาธารณะหรือผลประโยชน์ของส่วนรวมกับผลประโยชน์ของปัจเจกบุคคลหรือเอกชน ที่มุ่งถึงการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลตามที่กฎหมายให้อํานาจหรือกําหนดไว้

กฎหมายเอกชน มีลักษณะเป็นการมุ่งเน้นถึงความยุติธรรมที่เท่าเทียมกัน และตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความสมัครใจของคู่กรณี

7 ความแตกต่างด้านเขตอํานาจศาล

กฎหมายมหาชน หากเป็นข้อพิพาทระหว่างรัฐกับรัฐ หรือข้อพิพาทระหว่างรัฐกับปัจเจกบุคคล หรือเอกชนในทางกฎหมายมหาชนแล้ว คดีข้อพิพาทจะขึ้นสู่การพิจารณาของศาลเฉพาะหรือศาลพิเศษในทาง มหาชน เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง เป็นต้น

กฎหมายเอกชน หากเป็นข้อพิพาทระหว่างปัจเจกบุคคล หรือเอกชนต่อปัจเจกบุคคลหรือ เอกชนในทางกฎหมายเอกชนแล้ว คดีข้อพิพาทจะขึ้นสู่การพิจารณาของศาลยุติธรรม ดังเช่น ศาลแพ่ง ศาลอาญา ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง หรือศาลภาษี เป็นต้น

 

ข้อ 2 จงอธิบายความเกี่ยวข้องกันของการควบคุมการใช้อํานาจรัฐกับการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินมาโดยละเอียด พร้อมยกตัวอย่างประกอบ

ธงคําตอบ

การควบคุมการใช้อํานาจรัฐ หมายถึง การควบคุมการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐ องค์กร ของรัฐ และหน่วยงานของรัฐนั่นเอง และเหตุที่ต้องมีการควบคุมการใช้อํานาจรัฐดังกล่าวก็เพราะกฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่ไม่เสมอภาครัฐ หน่วยงานของรัฐ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีอํานาจเหนือประชาชน หากไม่มีการควบคุม เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐอาจใช้ดุลพินิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้ ซึ่งการใช้ดุลพินิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย คือ การที่เจ้าหน้าที่ของรัฐ องค์กรของรัฐ และหน่วยงานของรัฐ กระทําการหรืองดเว้นกระทําการใช้อํานาจที่มีอยู่ ตามกฎหมาย หรือใช้อํานาจนอกวัตถุประสงค์ของกฎหมาย อันก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชน

สําหรับพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการใช้อํานาจรัฐนั้น มีหลายฉบับ เช่น พ.ร.บ. ความรับผิดชอบทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ พ.ศ. 2539, พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 เป็นต้น

การควบคุมการใช้อํานาจรัฐนั้น แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่

1 การควบคุมการใช้อํานาจรัฐแบบป้องกัน หมายความว่า ก่อนที่เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือ ฝ่ายปกครองจะได้วินิจฉัยสั่งการ หรือมีการกระทําในทางปกครองที่จะไปกระทบต่อสถานภาพทางกฎหมาย ของบุคคลใด ควรมีระบบป้องกันหรือควบคุมการวินิจฉัยสั่งการหรือการกระทํานั้นเสียก่อน กล่าวคือมีกฎหมาย กําหนดกระบวนการหรือขั้นตอนต่าง ๆ ก่อนที่จะมีคําสั่งนั้นออกไป ซึ่งการควบคุมการใช้อํานาจรัฐแบบป้องกันดังกล่าวนี้ เป็นไปตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติ ราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 นั่นเอง เช่น

(1) เปิดโอกาสให้คู่กรณีได้โต้แย้งคัดค้าน คือ การให้โอกาสผู้ที่อาจได้รับความเสียหายจากการกระทําของฝ่ายปกครอง สามารถแสดงข้อโต้แย้งของตนได้ในเรื่องที่จะสั่งการนั้น

(2) มีการปรึกษาหารือ คือการให้ผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ

(3) หลักการไม่มีส่วนได้เสีย กล่าวคือ ผู้มีอํานาจสั่งการทางปกครองจะต้องไม่มีส่วนได้เสีย

(4) มีการไต่สวนทั่วไป ซึ่งเป็นวิธีการที่กําหนดให้ฝ่ายปกครองต้องสอบสวนหาข้อเท็จจริง โดยทําการรวบรวมความคิดเห็นของบุคคลผู้มีส่วนได้เสีย แล้วทําเป็นรายงานก่อนที่ฝ่ายปกครองจะได้ตัดสินใจ กระทําการที่จะมีผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย

(5) เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองจะต้องแจ้งสิทธิและหน้าที่ในกระบวนการพิจารณาทางปกครองให้คู่กรณีทราบตามความจําเป็นแก่กรณี

(6) ถ้าเป็นคําสั่งทางปกครองที่อาจอุทธรณ์หรือโต้แย้งต่อไปได้ จะต้องระบุกรณีที่อาจอุทธรณ์หรือโต้แย้ง การยื่นคําอุทธรณ์หรือคําโต้แย้งและระยะเวลาสําหรับการอุทธรณ์หรือการโต้แย้งดังกล่าวไว้ด้วย

2 การควบคุมการใช้อํานาจรัฐแบบแก้ไข หมายความว่า เมื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐได้สั่งการใดหรือ วินิจฉัยเรื่องใดไปแล้ว หากกระทบต่อสถานภาพทางกฎหมายของบุคคลใดในทางที่มิชอบด้วยกฎหมายจึงกําหนด ให้มีระบบการควบคุมการใช้อํานาจรัฐแบบแก้ไขโดยองค์กรที่เกี่ยวข้อง คือ ระบบการควบคุมการใช้อํานาจรัฐ และระบบการควบคุมการใช้อํานาจรัฐโดยองค์กรภายนอกของฝ่ายบริหารโดยองค์กรภายในของฝ่ายบริหาร

(1) ระบบการควบคุมการใช้อํานาจรัฐโดยองค์กรภายในของฝ่ายบริหาร เป็นระบบ การควบคุมการใช้อํานาจรัฐโดยขึ้นอยู่กับการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของรัฐ โดยอาจกระทําได้โดย การบังคับบัญชา และการกํากับดูแล ได้แก่

ก) ระบบการควบคุมการใช้อํานาจรัฐ ด้วยการควบคุมบังคับบัญชาและการกํากับดูแล การควบคุมบังคับบัญชา โดยผู้บังคับบัญชาทําการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายและความเหมาะสมในการกระทําของผู้ใต้บังคับบัญชาโดยอาจตรวจสอบเองหรือมีบุคคลมาร้องเรียน

การกํากับดูแล โดยหน่วยงานของรัฐจะดําเนินการตรวจสอบความชอบ ด้วยกฎหมายของการกระทําของหน่วยงานตามสายการบังคับบัญชา

ข) ระบบการควบคุมการใช้อํานาจรัฐ ด้วยการร้องทุกข์และการอุทธรณ์ภายใน หน่วยงาน โดยสามารถร้องทุกข์หรืออุทธรณ์คําสั่งไปยังผู้ออกคําสั่งนั้น

(2) ระบบการควบคุมการใช้อํานาจรัฐโดยองค์กรภายนอกของฝ่ายบริหาร ได้แก่ ก) การควบคุมโดยองค์กรทางการเมือง เช่น รัฐสภา เป็นต้น

ข) การควบคุมโดยองค์กรพิเศษ คือ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญฯ เช่น คณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นต้น

(3) ระบบการควบคุมการใช้อํานาจรัฐโดยองค์กรศาล ได้แก่

ก) การควบคุมการใช้อํานาจรัฐโดยศาลยุติธรรม

ข) การควบคุมการใช้อํานาจรัฐโดยศาลปกครอง ค) การควบคุมการใช้อํานาจรัฐโดยศาลรัฐธรรมนูญการควบคุมการใช้อํานาจรัฐมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการบริหารราชการแผ่นดินของไทย ดังนี้คือ

การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของไทยตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาค และราชการบริหาร ส่วนท้องถิ่น ราชการบริหารส่วนกลาง ประกอบด้วย กระทรวง ทบวง กรม เป็นการจัดระเบียบบริหารราชการ ในรูปแบบการรวมอํานาจ โดยการปกครองแบบนี้อํานาจในการตัดสินใจทั้งหลายจะอยู่ที่ส่วนกลางทั้งสิ้น มีการ รวมกําลังในการบังคับต่าง ๆ ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง และมีลําดับขั้นการบังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่อย่างชัดเจน

ราชการบริหารส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย จังหวัด อําเภอ กิ่งอําเภอ ตําบล หมู่บ้าน เป็นการจัด ระเบียบบริหารราชการในรูปแบบการแบ่งอํานาจ ซึ่งเป็นรูปแบบการปกครองที่ส่วนกลางมอบอํานาจตัดสินใจ บางประการให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ไปปฏิบัติหน้าที่ในส่วนภูมิภาค โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐดังกล่าวก็ยังคงอยู่ในบังคับบัญชาของส่วนกลางตลอดเวลา

ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนตําบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล เมืองพัทยา และกรุงเทพมหานคร เป็นการจัดระเบียบบริหารราชการในรูปแบบการกระจายอํานาจ โดยรัฐ จะมอบอํานาจปกครองบางส่วนให้แก่องค์กรอื่นที่ไม่ใช่องค์กรส่วนกลางหรือส่วนภูมิภาค เพื่อจัดทําบริการสาธารณะ บางอย่าง โดยจะมีอิสระตามสมควร ไม่ต้องขึ้นอยู่ในการบังคับบัญชาของส่วนกลาง เพียงแต่ขึ้นอยู่ในการกํากับดูแล เท่านั้น

ในการบริหารราชการแผ่นดินของไทยทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นราชการบริหารส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค หรือส่วนท้องถิ่น เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการจัดทําบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนส่วนรวม และการ ใช้อํานาจทางปกครองในการออกกฎ ออกคําสั่ง หรือการกระทําทางปกครองในรูปแบบอื่น เช่น การทําสัญญา ทางปกครอง เป็นต้น ซึ่งหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานต่าง ๆ จะดําเนินการต่าง ๆ ดังกล่าวได้ ก็จะต้องมีกฎหมายมหาชนหรือกฎหมายปกครองได้บัญญัติให้อํานาจและหน้าที่ไว้ด้วย เช่น พระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน เป็นต้น

และนอกจากนี้ ในการใช้อํานาจรัฐเพื่อการดําเนินการต่าง ๆ นั้น ยังมีกฎหมายที่ได้บัญญัติเกี่ยวกับ การควบคุมการใช้อํานาจรัฐอีกหลายฉบับ เช่น พระราชบัญญัติความรับผิดในทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐฯ เป็นกฎหมายที่ใช้ควบคุมการใช้อํานาจรัฐ โดยควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐมิให้เจ้าหน้าที่รัฐกระทําการใด ๆ ไม่ว่าจะโดยจงใจหรือโดยประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลภายนอกหรือต่อหน่วยงานของรัฐ และพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ เป็นกฎหมายที่ใช้ควบคุมการใช้อํานาจทางปกครอง ของเจ้าหน้าที่รัฐ โดยเฉพาะการใช้อํานาจทางปกครองในการออกคําสั่งทางปกครองว่าจะต้องเป็นไปตามขั้นตอนและหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกําหนดไว้เท่านั้น

ในกรณีที่เจ้าหน้าที่รัฐกระทําการใด ๆ เนื่องจากการใช้อํานาจรัฐและก่อให้เกิดความเสียหายขึ้น แก่บุคคลภายนอก หรือเจ้าหน้าที่รัฐได้ใช้อํานาจทางปกครองออกกฎหรือคําสั่ง และเป็นกฎหรือคําสั่งที่ไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย ดังนี้บุคคลที่ได้รับความเสียหายหรือได้รับความเดือดร้อนจากการใช้อํานาจหรือจากการกระทําของ เจ้าหน้าที่รัฐดังกล่าว ย่อมสามารถฟ้องเป็นคดีต่อศาลปกครองเพื่อเรียกค่าเสียหายหรือให้ศาลปกครองสั่งให้เพิกถอน กฎหรือคําสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นได้ โดยอาศัยสิทธิตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและ วิธีพิจารณาคดีปกครองฯ นั่นเอง

 

ข้อ 3 จงอธิบายเกี่ยวกับการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของประเทศไทย ประกอบกับการควบคุม การใช้อํานาจรัฐ ว่ามีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างไร มาโดยละเอียด

ธงคําตอบ

การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของประเทศไทย ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 นั้น แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาค และราชการบริหาร ส่วนท้องถิ่น

1 ราชการบริหารส่วนกลาง หมายความถึง ราชการที่ฝ่ายปกครองจัดทําเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ของประชาชนทั่วทั้งอาณาเขตของประเทศ เช่น การรักษาความสงบภายใน การป้องกันประเทศ การคมนาคม การคลัง เป็นต้น

องค์การที่จัดทําราชการบริหารส่วนกลาง ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม ซึ่งตั้งอยู่ในส่วนกลาง และมีอํานาจหน้าที่จัดทําราชการในอํานาจหน้าที่ของคนตลอดทั้งประเทศ

2 ราชการบริหารส่วนภูมิภาค หมายความถึง ราชการของกระทรวง ทบวง กรม อันเป็น องค์กรของราชการบริหารส่วนกลางที่ได้แบ่งแยกออกไปจัดทําตามเขตการปกครองต่าง ๆ ของประเทศ เพื่อตอบ สนองความต้องการส่วนรวมของประชาชนในเขตการปกครองนั้น ๆ โดยมีเจ้าหน้าที่ของราชการบริหารส่วนกลาง ซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรม ต่าง ๆ ออกไปประจําตามเขตการปกครองนั้น ๆ เพื่อบริหารราชการภายใต้การ บังคับบัญชาของราชการบริหารส่วนกลาง ซึ่งราชการบริหารส่วนภูมิภาคของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัด อําเภอ รวมตลอดถึงตําบลและหมู่บ้าน โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าในส่วนภูมิภาค

3 ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น หมายความถึง ราชการบางอย่างที่รัฐมอบหมายให้องค์การ บริหารส่วนท้องถิ่นจัดทําเอง เพื่อสนองความต้องการส่วนรวมของประชาชนเฉพาะในเขตท้องถิ่นนั้น โดยมีเจ้าหน้าที่ ขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นนั้นเอง ซึ่งตามหลักไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของราชการบริหารส่วนกลาง องค์การบริหาร ส่วนท้องถิ่นของประเทศไทย ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตําบล เมืองพัทยา และกรุงเทพมหานคร

ในการบริหารราชการแผ่นดินของประเทศไทยทุกระดับนั้น ไม่ว่าจะเป็นราชการบริหารส่วนกลางส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการใช้อํานาจรัฐโดยองค์กรของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐใน การจัดทําบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนส่วนรวม รวมทั้งการใช้อํานาจปกครองในการออกกฎหรือ คําสั่งต่าง ๆ หรือการกระทําทางปกครองในรูปแบบอื่น เช่น การทําสัญญาทางปกครอง เป็นต้น ซึ่งองค์กรของรัฐ และเจ้าหน้าที่ของรัฐจะมีอํานาจดําเนินการต่าง ๆ ได้ก็จะต้องมีกฎหมายมหาชนหรือกฎหมายปกครองได้บัญญัติ ให้อํานาจและหน้าที่ไว้ด้วย เช่น พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 เป็นต้น

และการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของประเทศไทยดังกล่าว จะมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการควบคุมการใช้อํานาจรัฐ ดังนี้คือ

การควบคุมการใช้อํานาจรัฐ หมายถึง การควบคุมการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐ องค์กร ของรัฐและหน่วยงานของรัฐนั่นเอง และเหตุที่ต้องมีการควบคุมการใช้อํานาจรัฐดังกล่าวก็เพราะกฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่ไม่เสมอภาค รัฐ หน่วยงานของรัฐ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีอํานาจเหนือประชาชน หากไม่มีการ ควบคุม เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐอาจใช้ดุลพินิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้ ซึ่งการใช้ดุลพินิจที่ไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย คือ การที่เจ้าหน้าที่ของรัฐ องค์กรของรัฐ และหน่วยงานของรัฐ กระทําการหรืองดเว้นกระทําการ ใช้อํานาจที่มีอยู่ตามกฎหมาย หรือใช้อํานาจนอกวัตถุประสงค์ของกฎหมาย อันก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชน

สําหรับพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการใช้อํานาจรัฐนั้น มีหลายฉบับ เช่น พ.ร.บ. ความรับผิดชอบทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ พ.ศ. 2539, พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 เป็นต้น

1 พระราชบัญญัติความรับผิดในทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ พ.ศ. 2539

พระราชบัญญัติฉบับนี้จะใช้บังคับแก่การกระทําละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐต่อบุคคลภายนอกหรือต่อหน่วยงานของรัฐ โดยจะกําหนดให้เจ้าหน้าที่รัฐผู้กระทําละเมิดจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ในความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้น ไม่ว่าการกระทําละเมิดนั้นจะเกิดขึ้นเนื่องจากการกระทําโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อก็ตาม

แต่อย่างไรก็ตาม การที่เจ้าหน้าที่รัฐจะต้องรับผิดในทางละเมิดในการปฏิบัติงานในหน้าที่ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ ก็เฉพาะเมื่อเป็นการจงใจกระทําเพื่อการเฉพาะตัว หรือจงใจให้เกิดความเสียหาย หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น

2 พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 เป็นพระราชบัญญัติที่มีวัตถุประสงค์ในการวางมาตรฐานการปฏิบัติงานราชการแผ่นดินของหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการออกกฎหรือคําสั่งทางปกครอง ให้มีหลักเกณฑ์ และขั้นตอนที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และเป็นธรรมแก่ประชาชน เช่น การวางกรอบวิธีปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ ของรัฐในการออกกฎหรือคําสั่งทางปกครอง รูปแบบและผลของคําสั่ง การอุทธรณ์คําสั่ง การเพิกถอนคําสั่ง วิธีการแจ้งคําสั่ง ระยะเวลาและอายุความ เป็นต้น

3 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 เป็นพระราชบัญญัติที่ใช้ควบคุมการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐให้เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งถ้าหากเจ้าหน้าที่รัฐใช้อํานาจทางปกครองหรือใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการ ออกกฎ หรือคําสั่ง หรือการกระทําใด ๆ เอกชนผู้ได้รับความเสียหายก็สามารถฟ้องร้องเป็นคดีต่อศาลปกครองได้ โดยอาศัยกลไกของกฎหมายฉบับนี้และที่ถือว่าพระราชบัญญัติทั้ง 3 ฉบับดังกล่าวข้างต้นเกี่ยวข้องกับการควบคุมการใช้อํานาจรัฐนั้น เพราะเป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงการควบคุมการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐ องค์กรของรัฐ และหน่วยงานของรัฐ ในการดําเนินการต่าง ๆ เพื่อจัดทําบริการสาธารณะ รวมทั้งการใช้อํานาจทางปกครอง ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ หรือคําสั่ง หรือการกระทําใด ๆ จะต้องอยู่ภายใต้กรอบที่กฎหมายได้บัญญัติไว้เท่านั้น ถ้าเจ้าหน้าที่ของรัฐ องค์กร ของรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบหรือใช้อํานาจทางปกครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย คือ ไม่เป็นไปตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ แล้วก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน หรือก่อให้เกิด ความเสียหายแก่ประชาชนหรือแก่รัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ องค์กรของรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐก็จะต้องรับผิดชอบ ในความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้น รวมทั้งผู้ที่ได้รับผลกระทบต่อการกระทําดังกล่าวสามารถฟ้องร้องต่อศาลปกครอง เพื่อให้ศาลปกครองมีคําสั่งยกเลิกเพิกถอนการกระทําดังกล่าวนั้นได้ ทั้งนี้ก็โดยอาศัยกลไกของกฎหมายทั้ง 3 ฉบับดังกล่าวนั่นเอง

LAW1101 (LAW 1001) หลักกฎหมายมหาชน 1/2563

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2563

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 1101 (LAW 1001) หลักกฎหมายมหาชน

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 จงอธิบาย และให้รายละเอียดของเรื่องต่อไปนี้

กฎหมายจารีตนครบาล

การปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินสมัยรัชกาลที่ 5

ระบบมณฑลเทศาภิบาล

การใช้อํานาจรัฐ และการควบคุมการใช้อํานาจรัฐ

ระบบศาลคู่

ธงคําตอบ

1 กฎหมายจารีตนครบาล

เป็นวิธีการสอบสวนที่ใช้เฉพาะในคดีโจรผู้ร้ายและผู้กระทําความผิดอันมีโทษหลวง (เทียบได้กับคดีอาญาแผ่นดินในปัจจุบัน) เท่านั้น และใช้ในบางกรณีดังปรากฏในพระไอยกาลักษณะโจรบางมาตรา เช่น ต้องเป็นกรณีที่โจรให้การมีพิรุธจึงถูกใช้วิธีการทรมานต่าง ๆ เช่น มัดโยง ตบปาก จําคา จําขื่อ เฆี่ยน เพื่อถามเอาหลักฐาน จากตัวผู้ต้องหาเอง เช่น ให้รับสารภาพ ให้บอกที่ซ่อนทรัพย์ที่ลักหรือปล้นไป ทั้งนี้เพื่อสอบสวนให้ได้ความจริง หากผู้ต้องหาสามารถนําพยานหลักฐานมานําสืบพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนได้ก็จะรอดพ้นคดีไป แต่ถ้าผู้ต้องหาให้การหาพิรุธไม่ได้ก็มิให้เฆี่ยนตามจารีตนครบาล และให้เจ้าพนักงานนครบาลผู้สอบสวนพิเคราะห์อย่างเป็นธรรมด้วย

ในทางปฏิบัติเจ้าพนักงานมักใช้จารีตนครบาลอย่างไม่เหมาะสม ทําให้ภาพลักษณ์ของการ สอบสวนคดีดูเป็นการป่าเถื่อนโหดร้าย ซึ่งวิธีการสอบสวนในสมัยโบราณดังกล่าว คือในสมัยอยุธยารวมถึงสมัย ต้นรัตนโกสินทร์นั้น เมื่อมีการฟ้องร้องคดีอาญากันขึ้น จําเลยจะถูกสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้กระทําผิด และจําเลยมีหน้าที่ในการนําพยานหลักฐานเข้าสืบเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนเอง ซึ่งเป็นหลักการที่ตรงกันข้ามกับ วิธีพิจารณาความอาญาในปัจจุบันที่ว่า ในคดีอาญาต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าจําเลยเป็นผู้บริสุทธิ์ และภาระการพิสูจน์เป็นของโจทย์ (ซึ่งการพิจารณาคดีโจรผู้ร้ายตามจารีตนครบาลได้ถูกยกเลิกไปแล้ว)

2 การปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินในสมัยรัชกาลที่ 5 ในระบบการปกครองของกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นจะมีรูปแบบที่เหมือนกับสมัยกรุงศรีอยุธยา คือ มีอัครมหาเสนาบดี 2 ตําแหน่ง ได้แก่ สมุหนายก และสมุหกลาโหม และมีจัตุสดมภ์ทั้ง 4 ได้แก่ เวียง วัง คลัง นา เมื่อในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวบ้านเมืองเจริญมากขึ้น อารยธรรมแบบตะวันตกหลาย ๆ ด้านเริ่มเข้ามาในสังคมไทย การปกครองและการบริหารราชการแบบเดิมไม่เหมาะสมกับกาลสมัย พระองค์จึงทรงปฏิรูปการปกครองเพื่อ “สร้างรัฐชาติ” โดยทรงจัดระเบียบราชการบริหารส่วนกลางเสียใหม่ โดยได้ทรง เปลี่ยนแปลงจากการปกครองแบบ “จัตุสดมภ์” แบบเดิม มาเป็นแบ่งส่วนราชการออกเป็น กระทรวง ทบวง กรม ซึ่งทําให้กระทรวง ทบวง กรม เป็นหน่วยงานของราชการบริหารส่วนกลางตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน

และนอกจากนั้นพระองค์ได้ทรงปฏิรูปการปกครองในส่วนภูมิภาคด้วย เนื่องจากพระองค์ต้องการ ให้มีการรวมอํานาจการปกครองหัวเมืองเข้ามาไว้ที่ศูนย์กลางเพียงแห่งเดียวแทนการปกครองหัวเมืองแบบเดิมที่ เป็นไปอย่างหลวม ๆ จึงทรงให้ยกเลิกระบบ “กินเมือง” และจัดให้มีการปกครองแบบเทศาภิบาลขึ้น ซึ่งเป็นระบบ การบริหารราชการที่ประกอบด้วยข้าราชการของพระมหากษัตริย์ไปทําหน้าที่แทนรัฐบาลกลางในส่วนภูมิภาค

3 ระบบมณฑลเทศาภิบาล

ระบบมณฑลเทศาภิบาล คือ ระบบแบ่งเขตการปกครองส่วนภูมิภาคในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จ เป็นการปกครองโดยลักษณะที่จัดให้มีหน่วยราชการบริหารอันประกอบด้วยตําแหน่งพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ข้าราชการต่างพระเนตรพระกรรณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและเป็นที่ไว้วางใจของรัฐบาลของพระองค์ รับแบ่งภาระของรัฐบาลซึ่งประจําอยู่แต่เฉพาะในราชธานี (ส่วนกลาง) นั้นออกไปดําเนินการ (ไปทํา หน้าที่แทนรัฐบาลกลาง) ในส่วนภูมิภาคของประเทศซึ่งอยู่ห่างไกลจากรัฐบาลซึ่งอยู่ในราชธานีให้ได้ใกล้ชิดกับอาณาประชากร เพื่อให้เขาได้รับความร่มเย็นเป็นสุขและเกิดความเจริญทั่วถึงกัน โดยมีระเบียบแบบแผนอันเป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ จึงแบ่งเขตปกครองโดยขนาดลดหลั่นกันเป็นชั้นอันดับดังนี้คือ ใหญ่ที่สุดเป็น มณฑล รองถัดลงไปเป็นเมือง (หรือจังหวัด) รองไปอีกเป็นอําเภอ ตําบล และหมู่บ้าน มีการจัดแบ่งหน้าที่ราชการเป็นส่วนสัดแผนกงานให้สอดคล้องกับทํานองการของกระทรวง ทบวง กรม ในราชธานี และจัดสรรข้าราชการที่ มีความรู้สติปัญญา ความประพฤติดี ให้ไปประจําทํางานตามตําแหน่งหน้าที่ มิให้มีการก้าวก่ายสับสนกันดังที่ เป็นมาแต่ก่อน โดยมีการกําหนดข้าราชการผู้รับผิดชอบ ดังนี้คือ

(1) มณฑล ให้ข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้รับผิดชอบ

(2) เมือง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบ

(3) อําเภอ ให้นายอําเภอเป็นผู้รับผิดชอบ

(4) ตําบล ให้กํานันเป็นผู้รับผิดชอบ

(5) หมู่บ้าน ให้ผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้รับผิดชอบ

4 การใช้อํานาจรัฐ และการควบคุมการใช้อํานาจรัฐ

การใช้อํานาจรัฐ หมายถึง การใช้ดุลพินิจในการวินิจฉัยสั่งการ หรือการกระทําทางปกครองของ เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือฝ่ายปกครอง การควบคุมการใช้อํานาจรัฐ หมายถึง การควบคุมการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐ องค์กร ของรัฐ และหน่วยงานของรัฐนั่นเอง และเหตุที่ต้องมีการควบคุมการใช้อํานาจรัฐดังกล่าวก็เพราะกฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่ไม่เสมอภาครัฐ หน่วยงานของรัฐ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีอํานาจเหนือประชาชน หากไม่มีการควบคุม เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐอาจใช้ดุลพินิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้ ซึ่งการใช้ดุลพินิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย คือ การที่เจ้าหน้าที่ของรัฐ องค์กรของรัฐ และหน่วยงานของรัฐ กระทําการหรืองดเว้นกระทําการใช้อํานาจที่มีอยู่ ตามกฎหมาย หรือใช้อํานาจนอกวัตถุประสงค์ของกฎหมาย อันก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชน

5 ระบบศาลคู่

ระบบศาลคู่ หมายถึง ระบบการควบคุมฝ่ายปกครองทางศาลที่มีศาลพิเศษแยกต่างหากจากศาล ยุติธรรม กล่าวคือ เป็นระบบการควบคุมฝ่ายปกครองที่ให้ศาลยุติธรรมมีอํานาจหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดเฉพาะคดี แพ่งและคดีอาญาเท่านั้น ส่วนการวินิจฉัยชี้ขาดคดีปกครองนั้นให้อยู่ในอํานาจหน้าที่ของศาลปกครอง ซึ่งมีระบบ ศาลและระบบผู้พิพากษาแยกต่างหากจากระบบศาลยุติธรรม ตัวอย่างประเทศที่ใช้ระบบศาลคู่ เช่น ประเทศ ฝรั่งเศส เบลเยียม สวีเดน ฟินแลนด์ ไทย เป็นต้น

 

ข้อ 2 จงอธิบายความหมายของกฎหมายมหาชนมาให้เข้าใจ และกฎหมายมหาชนมีลักษณะทาง กฎหมายแตกต่างจากกฎหมายเอกชนอย่างไร

ธงคําตอบ

กฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายที่กําหนดถึงกฎเกณฑ์ทางกฎหมายทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับ “สถานะและอํานาจของรัฐและผู้ปกครอง” รวมทั้งเป็นกฎเกณฑ์ทางกฎหมายที่กําหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ และผู้ปกครองกับพลเมืองผู้อยู่ใต้การปกครอง ในฐานะที่รัฐและผู้ปกครองมีเอกสิทธิทางปกครองเหนือพลเมือง ซึ่งอยู่ในฐานะเป็นเอกชน

สาขาของกฎหมายมหาชน ได้แก่ รัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง และกฎหมายการคลัง ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและผู้ปกครองกับพลเมืองตามกฎหมายมหาชนนั้น เป็นความสัมพันธ์ในลักษณะที่รัฐและผู้ปกครองมีเอกสิทธิ์ทางปกครองเหนือพลเมือง ซึ่งจะแตกต่างกับกฎหมายเอกชนที่ตั้งอยู่บน พื้นฐานแห่งความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันของคู่กรณี และตั้งอยู่บนหลักความศักดิ์สิทธิ์แห่งการแสดงเจตนาและเสรีภาพในการทําสัญญา

สําหรับความแตกต่างระหว่างหลักกฎหมายมหาชนกับหลักกฎหมายเอกชนนั้น สามารถแยกออกเป็นหัวข้อที่สําคัญ ๆ ได้ดังนี้

1 ความแตกต่างทางด้านองค์กรหรือบุคคลที่เข้าไปสร้างหรือทํานิติสัมพันธ์ (ทฤษฎีตัวการ) กฎหมายมหาชน คู่กรณี คือ องค์กรหรือบุคคลที่เข้าไปสร้างหรือทํานิติสัมพันธ์ ได้แก่ รัฐ หรือหน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายหนึ่งกับเอกชนที่เป็นคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง

กฎหมายเอกชน คู่กรณี คือ องค์กรหรือบุคคลที่เข้าไปสร้างหรือทํานิติสัมพันธ์ ได้แก่ เอกชน ที่เป็นคู่กรณีฝ่ายหนึ่งกับเอกชนที่เป็นคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง

2 ความแตกต่างทางด้านเนื้อหาและความมุ่งหมาย (ทฤษฎีผลประโยชน์)

กฎหมายมหาชน มีวัตถุประสงค์ในการดําเนินงานเพื่อประโยชน์สาธารณะและการให้บริการ สาธารณะ โดยมิได้มีความมุ่งหมายถึงผลกําไรเป็นตัวเงินหรือทรัพย์สิน แต่มุ่งหวังถึงความพึงพอใจและการตอบสนองความต้องการของประชาชนส่วนรวมเป็นสําคัญ

กฎหมายเอกชน มีวัตถุประสงค์ในการดําเนินงานเพื่อประโยชน์ของเอกชนแต่ละบุคคล โดยมีความมุ่งหมายถึงผลกําไรเป็นตัวเงิน ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์ในลักษณะอื่นใดเพื่อประโยชน์ของปัจเจกบุคคล เป็นสําคัญ ทั้งนี้ มีข้อยกเว้นกรณีที่เป็นเอกชนบางประเภทที่อาจดําเนินงานเพื่อประโยชน์สาธารณะ ดังเช่น มูลนิธิ หรือสมาคมการกุศล เป็นต้น

3 ความแตกต่างทางด้านรูปแบบของนิติสัมพันธ์ (ทฤษฎีความไม่เท่าเทียมกัน)

กฎหมายมหาชน มีลักษณะเป็นการใช้บังคับอํานาจที่มีอยู่เหนือนิติสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือกับปัจเจกบุคคล โดยวิธีการที่เป็น “การกระทําฝ่ายเดียว” และปรากฏออกมาในรูปแบบ “คําสั่ง” กล่าวคือ เป็นการกระทําที่ฝ่ายหนึ่ง (รัฐและผู้ปกครอง) สามารถกําหนดหน้าที่ทางกฎหมายให้กับอีกฝ่ายหนึ่ง (รัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือปัจเจกบุคคล) กระทําตาม โดยฝ่ายที่มีหน้าที่ต้องกระทําตามอาจไม่ได้ตกลงยินยอมด้วยก็ตาม กฎหมายเอกชน มีลักษณะที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักความเป็นอิสระในการแสดงเจตนา หลักความเสมอภาค และหลักเสรีภาพในการทําสัญญา โดยคู่กรณีต้องมีความสมัครใจ (เจตนาเสนอสนองตรงกัน สัญญาจึงจะเกิด) และคู่กรณีฝ่ายหนึ่งไม่มีอํานาจเหนือคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง โดยจะทําการบังคับอีกฝ่ายหนึ่งโดย ปราศจากความยินยอมมิได้

4 ความแตกต่างทางด้านนิติวิธี

กฎหมายมหาชน มีลักษณะเป็นการนํานิติวิธีทางกฎหมาย โดยการนําแนวความคิดวิเคราะห์ การแก้ไขปัญหาทางกฎหมายมหาชน โดยการสร้างหลักกฎหมายมหาชนขึ้นมาใช้บังคับ (โดยปฏิเสธการนําแนวความคิดวิเคราะห์ตามหลักกฎหมายเอกชนมาใช้บังคับโดยตรง)

กฎหมายเอกชน มีลักษณะเป็นการนํานิติวิธีทางกฎหมาย โดยการนําความคิดวิเคราะห์ การแก้ไขปัญหาทางกฎหมายเอกชนที่มุ่งเน้นถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกบุคคลด้วยกันเอง และมุ่งเน้นถึงการรักษาผลประโยชน์ของเอกชนด้วยกัน

5 ความแตกต่างทางด้านนิติปรัชญา

กฎหมายมหาชน มีลักษณะเป็นการมุ่งเน้นถึงการประสานและสร้างความสมดุลระหว่างผลประโยชน์สาธารณะหรือผลประโยชน์ของส่วนรวมกับผลประโยชน์ของปัจเจกบุคคลหรือเอกชน ที่มุ่งถึงการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลตามที่กฎหมายให้อํานาจหรือกําหนดไว้

กฎหมายเอกชน มีลักษณะเป็นการมุ่งเน้นถึงความยุติธรรมที่เท่าเทียมกัน และตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความสมัครใจของคู่กรณี

6 ความแตกต่างทางด้านเขตอํานาจศาล

กฎหมายมหาชน หากเป็นข้อพิพาทระหว่างรัฐกับรัฐ หรือข้อพิพาทระหว่างรัฐกับปัจเจกบุคคล หรือเอกชนในทางกฎหมายมหาชนแล้ว คดีข้อพิพาทจะขึ้นสู่การพิจารณาของศาลเฉพาะหรือศาลพิเศษในทาง มหาชน เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง เป็นต้น

กฎหมายเอกชน หากเป็นข้อพิพาทระหว่างปัจเจกบุคคล หรือเอกชนต่อปัจเจกบุคคลหรือ เอกชนในทางกฎหมายเอกชนแล้ว คดีข้อพิพาทจะขึ้นสู่การพิจารณาของศาลยุติธรรม ดังเช่น ศาลแพ่ง ศาลอาญา ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง หรือศาลภาษี เป็นต้น

 

ข้อ 3 จงอธิบายหลักการแบ่งแยกอํานาจ

ธงคําตอบ

หลักการแบ่งแยกอํานาจนั้น แบ่งออกได้เป็น 2 ทฤษฎี คือ

1 หลักการแบ่งแยกลักษณะการใช้อํานาจรัฐของอริสโตเติล (Aristotle) และการแบ่งแยก ภารกิจของรัฐของจอห์น ล็อค (John Locke)

อริสโตเติลได้แบ่งแยกลักษณะการใช้อํานาจรัฐออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่

(1) การประชุม คือมีบุคคลหลายคนมาร่วมประชุมกันเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน แล้วมีการลงมติกัน

(2) การสั่งการ คือ มีการสั่งการให้บุคคลอื่นไปกระทําการตามลําดับบังคับบัญชา

(3) การวินิจฉัยชี้ขาด หรือการตัดสิน

แต่อริสโตเติลก็มิได้แสดงความคิดเห็นว่าองค์กรใดหรือหน่วยงานใดเป็นผู้ใช้อํานาจใด เพียงแต่ ชี้ให้เห็นว่าลักษณะการใช้อํานาจรัฐไม่ว่าด้วยองค์กรใด ก็จะมีลักษณะการใช้อํานาจ 3 รูปแบบดังกล่าว

ต่อมาจอห์น ล็อค นักปรัชญาชาวอังกฤษ ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ทฤษฎีของเขา โดยเขาเห็นว่า การใช้ อํานาจรัฐจะแบ่งออกเป็น 3 ภารกิจ ได้แก่

(1) การบัญญัติกฎหมายหรือการตรากฎหมาย คือการบัญญัติกฎเกณฑ์ที่มีลักษณะเป็นนามธรรม และมีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไปไปบังคับใช้

(2) การบังคับใช้ คืออํานาจในการบังคับใช้กฎหมาย หรือการเอากฎหมายที่บัญญัติขึ้นมา

(3) การดําเนินกิจการด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ซึ่งจอห์น ล็อค มีความเห็นว่า ภารกิจต่าง ๆ สามารถแบ่งแยกออกเป็นระบบ และกําหนดให้ แต่ละภารกิจอยู่ภายใต้องค์กรใดองค์กรหนึ่งโดยเฉพาะแยกต่างหากจากองค์กรและภารกิจอื่น ๆ แต่ไม่ได้กล่าวถึงการถ่วงดุลอํานาจแต่อย่างใด

2 หลักการแบ่งแยกอํานาจของมองเตสกิเออ (Montesquieu)

หลักการแบ่งแยกอํานาจของมองเตสกิเออ นักปรัชญาการเมืองชาวฝรั่งเศส ถือเป็นหลักการที่ เพราะเป็นผู้ค้นหาระบบการปกครองที่สามารถป้องกันมิให้อํานาจตกอยู่ในมือสําคัญที่สุดในการปกครองสมัยใหม่ ของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง

หลักการแบ่งแยกอํานาจของมองเตสกิเออ ประกอบด้วยเงื่อนไข 2 ประการคือ

ประการที่ 1 ภารกิจของรัฐจะต้องถูกแบ่งแยกออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ อํานาจนิติบัญญัติ อํานาจบริหาร และอํานาจตุลาการ

ประการที่ 2 ภารกิจทั้ง 3 ประเภท จะต้องอยู่ภายใต้อํานาจของ 3 องค์กรหลักของรัฐ ซึ่ง แต่ละองค์กรเป็นอิสระต่อกันอย่างชัดเจน คือไม่มีองค์กรใดอยู่ภายใต้อํานาจของอีกองค์กรหนึ่ง

โดยมองเตสกิเออได้แบ่งแยกการใช้อํานาจรัฐและองค์กรผู้ใช้อํานาจออกเป็น 3 อํานาจ ดังนี้คือ

(1) อํานาจนิติบัญญัติ เป็นอํานาจในการบัญญัติกฎหมายหรือตรากฎหมายขึ้นมาเพื่อใช้บังคับ กับประชาชน และให้องค์กรฝ่ายนิติบัญญัติ (รัฐสภา) เป็นผู้ใช้อํานาจดังกล่าว

(2) อํานาจบริหาร เป็นอํานาจในการจัดให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย รวมทั้งอํานาจควบคุม นโยบายทั้งภายนอกและภายใน ซึ่งองค์กรผู้ใช้อํานาจดังกล่าวได้แก่รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี

(3) อํานาจตุลาการ เป็นอํานาจในการตัดสินและการพิพากษาคดีเพื่อลงโทษผู้กระทําความผิด หรือวินิจฉัยข้อพิพาทต่าง ๆ ซึ่งองค์กรผู้ใช้อํานาจดังกล่าวคือศาล

ซึ่งเมื่อครบเงื่อนไขทั้ง 2 ประการ จะทําให้อํานาจรัฐไม่อยู่ในมือของบุคคลใดบุคคลหนึ่งอันเป็นการประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนไปในตัว และจะมีการถ่วงดุลอํานาจกัน เพียงแต่ในสมัยมองเตสกิเออนั้น จะมีการถ่วงดุลกันเฉพาะองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติกับองค์กรฝ่ายบริหารเท่านั้น ส่วนองค์กรฝ่ายตุลากรจะไม่มีบทบาทในเรื่องการถ่วงดุลอํานาจแต่อย่างใด ทั้งนี้เพราะในสมัยมองเตสกิเออนั้นจะไม่มีศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครองแต่อย่างใด ซึ่งจะแตกต่างกับหลักการแบ่งแยกอํานาจในสมัยปัจจุบัน ซึ่งองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติ องค์กรฝ่ายบริหาร และองค์กรฝ่ายตุลาการ ต่างฝ่ายต่างสามารถถ่วงดุลอํานาจซึ่งกันและกันได้

 

LAW1101 (LAW1001) หลักกฎหมายมหาชน s/2562

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2562

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 1001 หลักกฎหมายมหาชน

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 ให้นักศึกษาอธิบาย “ความหมายของกฎหมายมหาชน” และ “ความแตกต่างระหว่างกฎหมาย มหาชนกับกฎหมายเอกชน”

ธงคําตอบ

กฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายที่กําหนดถึงกฎเกณฑ์ทางกฎหมายทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับ “สถานะและอํานาจของรัฐและผู้ปกครอง” รวมทั้งเป็นกฎเกณฑ์ทางกฎหมายที่กําหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ และผู้ปกครองกับพลเมืองผู้อยู่ใต้การปกครอง ในฐานะที่รัฐและผู้ปกครองมีเอกสิทธิทางปกครองเหนือพลเมือง ซึ่งอยู่ในฐานะเป็นเอกชน

สาขาของกฎหมายมหาชน ได้แก่ รัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง และกฎหมายการคลัง ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและผู้ปกครองกับพลเมืองตามกฎหมายมหาชนนั้น เป็นความสัมพันธ์ในลักษณะที่รัฐและผู้ปกครองมีเอกสิทธิ์ทางปกครองเหนือพลเมือง ซึ่งจะแตกต่างกับกฎหมายเอกชนที่ตั้งอยู่บน พื้นฐานแห่งความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันของคู่กรณี และตั้งอยู่บนหลักความศักดิ์สิทธิ์แห่งการแสดงเจตนาและเสรีภาพในการทําสัญญา

สําหรับความแตกต่างระหว่างหลักกฎหมายมหาชนกับหลักกฎหมายเอกชนนั้น สามารถแยกออกเป็นหัวข้อที่สําคัญ ๆ ได้ดังนี้

1 ความแตกต่างทางด้านองค์กรหรือบุคคลที่เข้าไปสร้างหรือทํานิติสัมพันธ์ (ทฤษฎีตัวการ กฎหมายมหาชน คู่กรณี คือ องค์กรหรือบุคคลที่เข้าไปสร้างหรือทํานิติสัมพันธ์ ได้แก่ รัฐ หรือหน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายหนึ่งกับเอกชนที่เป็นคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง

กฎหมายเอกชน คู่กรณี คือ องค์กรหรือบุคคลที่เข้าไปสร้างหรือทํานิติสัมพันธ์ ได้แก่ เอกชน ที่เป็นคู่กรณีฝ่ายหนึ่งกับเอกชนที่เป็นคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง

2 ความแตกต่างทางด้านเนื้อหาและความมุ่งหมาย (ทฤษฎีผลประโยชน์)

กฎหมายมหาชน มีวัตถุประสงค์ในการดําเนินงานเพื่อประโยชน์สาธารณะและการให้บริการ สาธารณะ โดยมิได้มีความมุ่งหมายถึงผลกําไรเป็นตัวเงินหรือทรัพย์สิน แต่มุ่งหวังถึงความพึงพอใจและการตอบสนองความต้องการของประชาชนส่วนรวมเป็นสําคัญ

กฎหมายเอกชน มีวัตถุประสงค์ในการดําเนินงานเพื่อประโยชน์ของเอกชนแต่ละบุคคล โดยมีความมุ่งหมายถึงผลกําไรเป็นตัวเงิน ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์ในลักษณะอื่นใดเพื่อประโยชน์ของปัจเจกบุคคล เป็นสําคัญ ทั้งนี้ มีข้อยกเว้นกรณีที่เป็นเอกชนบางประเภทที่อาจดําเนินงานเพื่อประโยชน์สาธารณะ ดังเช่น มูลนิธิ หรือสมาคมการกุศล เป็นต้น

3 ความแตกต่างทางด้านรูปแบบของนิติสัมพันธ์ (ทฤษฎีความไม่เท่าเทียมกัน)

กฎหมายมหาชน มีลักษณะเป็นการใช้บังคับอํานาจที่มีอยู่เหนือนิติสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือกับปัจเจกบุคคล โดยวิธีการที่เป็น “การกระทําฝ่ายเดียว” และปรากฏออกมาในรูปแบบ “คําสั่ง” กล่าวคือ เป็นการกระทําที่ฝ่ายหนึ่ง (รัฐและผู้ปกครอง) สามารถกําหนดหน้าที่ทางกฎหมายให้กับอีกฝ่ายหนึ่ง (รัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือปัจเจกบุคคล) กระทําตาม โดยฝ่ายที่มีหน้าที่ต้องกระทําตามอาจไม่ได้ตกลงยินยอมด้วยก็ตาม กฎหมายเอกชน มีลักษณะที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักความเป็นอิสระในการแสดงเจตนา หลักความเสมอภาค และหลักเสรีภาพในการทําสัญญา โดยคู่กรณีต้องมีความสมัครใจ (เจตนาเสนอสนองตรงกัน สัญญาจึงจะเกิด) และคู่กรณีฝ่ายหนึ่งไม่มีอํานาจเหนือคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง โดยจะทําการบังคับอีกฝ่ายหนึ่งโดยปราศจากความยินยอมมิได้

4 ความแตกต่างทางด้านนิติวิธี

กฎหมายมหาชน มีลักษณะเป็นการนํานิติวิธีทางกฎหมาย โดยการนําแนวความคิดวิเคราะห์ การแก้ไขปัญหาทางกฎหมายมหาชน โดยการสร้างหลักกฎหมายมหาชนขึ้นมาใช้บังคับ (โดยปฏิเสธการนําแนวความคิด วิเคราะห์ตามหลักกฎหมายเอกชนมาใช้บังคับโดยตรง)

กฎหมายเอกชน มีลักษณะเป็นการนํานิติวิธีทางกฎหมาย โดยการนําความคิดวิเคราะห์ การแก้ไขปัญหาทางกฎหมายเอกชนที่มุ่งเน้นถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกบุคคลด้วยกันเอง และมุ่งเน้นถึงการรักษาผลประโยชน์ของเอกชนด้วยกัน

5 ความแตกต่างทางด้านนิติปรัชญา

กฎหมายมหาชน มีลักษณะเป็นการมุ่งเน้นถึงการประสานและสร้างความสมดุลระหว่างผลประโยชน์สาธารณะหรือผลประโยชน์ของส่วนรวมกับผลประโยชน์ของปัจเจกบุคคลหรือเอกชน ที่มุ่งถึงการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลตามที่กฎหมายให้อํานาจหรือกําหนดไว้

กฎหมายเอกชน มีลักษณะเป็นการมุ่งเน้นถึงความยุติธรรมที่เท่าเทียมกัน และตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความสมัครใจของคู่กรณี

6 ความแตกต่างทางด้านเขตอํานาจศาล

กฎหมายมหาชน หากเป็นข้อพิพาทระหว่างรัฐกับรัฐ หรือข้อพิพาทระหว่างรัฐกับปัจเจกบุคคล หรือเอกชนในทางกฎหมายมหาชนแล้ว คดีข้อพิพาทจะขึ้นสู่การพิจารณาของศาลเฉพาะหรือศาลพิเศษในทาง มหาชน เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง เป็นต้น

กฎหมายเอกชน หากเป็นข้อพิพาทระหว่างปัจเจกบุคคล หรือเอกชนต่อปัจเจกบุคคลหรือ เอกชนในทางกฎหมายเอกชนแล้ว คดีข้อพิพาทจะขึ้นสู่การพิจารณาของศาลยุติธรรม ดังเช่น ศาลแพ่ง ศาลอาญา ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง หรือศาลภาษี เป็นต้น

 

ข้อ 2 จงอธิบายเกี่ยวกับ “หลักประโยชน์สาธารณะ (Public Interest)” และ “หลักการพื้นฐานของ การให้บริการสาธารณะ (Public Service)”

ธงคําตอบ

หลักประโยชน์สาธารณะ (Public Interest) หมายถึง หลักการใช้อํานาจรัฐเพื่อตอบสนองต่อ ความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ มิใช่การตอบสนองต่อความต้องการของปัจเจกบุคคลเพียงคนใดคนหนึ่ง หรือกลุ่มบุคคลบางกลุ่ม และมิใช่การตอบสนองต่อความต้องการของรัฐหรือผู้ดําเนินการนั้น หรืออาจกล่าวได้ว่า ประโยชน์สาธารณะ คือ ความต้องการของปัจเจกบุคคลแต่ละคนที่ตรงกัน และเป็นความต้องการที่ตรงกัน จํานวนมากจนเป็นความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ในสังคม มีผลทําให้ความต้องการในลักษณะดังกล่าวเป็นประโยชน์สาธารณะ ซึ่งจะมีความแตกต่างจากประโยชน์ส่วนบุคคลของปัจเจกบุคคลหรือเอกชนแต่ละคน ส่วนหลักพื้นฐานของการให้บริการสาธารณะ (Public Service) มีดังนี้ คือ

1 หลักความต่อเนื่องในการบริการสาธารณะ หมายถึง การจัดทําบริการสาธารณะจะต้องมี ความสม่ําเสมอและต่อเนื่องตลอดเวลา

2 หลักความเสมอภาคในการบริการสาธารณะ หมายถึง การไม่เลือกปฏิบัติ ต้องให้ความ เสมอภาคอย่างเท่าเทียมกันทั้งในด้านการให้บริการและการรับบุคคลเข้าทํางานในหน่วยงานของรัฐ

3 หลักการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการบริการสาธารณะ คือ จะต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ให้เกิดความทันสมัยและทันต่อความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่อยู่เสมอ

 

ข้อ 3 จงอธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง “สิทธิ” “เสรีภาพ” “รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน” และ “พระราชกําหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548” ว่ามีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างไร

ธงคําตอบ

“สิทธิ (Right)” หมายถึง อํานาจหรือประโยชน์ที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองให้แก่บุคคลในอัน ที่จะกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของตนหรือบุคคลอื่น ซึ่งกฎหมายที่รับรองและคุ้มครองสิทธิดังกล่าวคือรัฐธรรมนูญนั่นเอง

“เสรีภาพ (Liberty)” หมายถึง ความมีเสรีและความเป็นอิสระที่สามารถจะกระทําหรืองดเว้น การกระทําได้โดยปลอดอุปสรรค และโดยไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น เป็นอํานาจในการกําหนดพฤติกรรมตนเองโดย ปราศจากการแทรกแซง การบังคับ และการขู่เข็ญ

ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ได้มีบทบัญญัติที่เกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพ ของปวงชนชาวไทยไว้ในหมวด 3 อยู่หลายประการ (ตั้งแต่มาตรา 25 – 49) อาทิเช่น

1 บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย มีสิทธิและเสรีภาพและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย เท่าเทียมกัน… (มาตรา 27)

2 บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย การจับและการคุมขังบุคคลจะกระทํามิได้ เว้นแต่มีคําสั่งหรือหมายของศาลหรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ

การค้นตัวบุคคลหรือการกระทําใดอันกระทบกระเทือนต่อสิทธิหรือเสรีภาพในชีวิตหรือร่างกายจะกระทํามิได้ เว้นแต่จะมีเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติ (มาตรา 28)

3 บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนา และย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติหรือ ประกอบพิธีกรรมตามหลักศาสนาของตน แต่ต้องไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของปวงชนชาวไทย ไม่เป็นอันตรายต่อ ความปลอดภัยของรัฐ และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน (มาตรา 31)

4 บุคคลย่อมมีสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว เกียรติยศ ชื่อเสียง และครอบครัว…. (มาตรา 32) 5. บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น การจํากัดเสรีภาพดังกล่าวจะกระทํามิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติ แห่งกฎหมายที่ตราขึ้นโดยเฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันสุขภาพของประชาชน (มาตรา 34)

ซึ่งสิทธิและเสรีภาพดังกล่าวนั้นบุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพที่จะทําการนั้นได้และจะได้รับ คุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ตราบเท่าที่การใช้สิทธิหรือเสรีภาพเช่นว่านั้นไม่กระทบกระเทือนหรือเป็นอันตรายต่อ ความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และไม่ละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของ บุคคลอื่น (มาตรา 25)

อย่างไรก็ดี อาจมีการตรากฎหมายที่มีผลเป็นการจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลไว้ในบางกรณีได้ โดยอาศัยอํานาจตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น การตราพระราชกําหนด (ตามมาตรา 172 – 174 ประกอบ มาตรา 26) ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจําเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ และเพื่อ ประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ พระมหากษัตริย์จะทรงตราพระราชกําหนดให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติก็ได้ ซึ่งประเทศไทยเคยมีการตราพระราชกําหนดที่เป็นการจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลตามรัฐธรรมนูญไว้คือพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ซึ่งในการตราพระราชกําหนด ดังกล่าวมาใช้บังคับนั้นได้ให้เหตุผลไว้ในหมายเหตุแนบท้ายของพระราชกําหนดดังกล่าวไว้ด้วยว่า เป็นกรณีฉุกเฉินที่มี ความจําเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัย สาธารณะ และป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ จึงจําเป็นต้องตราพระราชกําหนดนี้ และตามมาตรา 9 ได้บัญญัติให้ นายกรัฐมนตรีมีอํานาจออกข้อกําหนดต่าง ๆ เช่น การห้ามมิให้บุคคลใดออกนอกเคหสถานภายในระยะเวลา ที่กําหนด ห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุมกัน ณ ที่ใด ๆ หรือกระทําการอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย ห้ามการเสนอข่าว การจําหน่าย หรือทําให้แพร่หลายซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์หรือสื่ออื่นใดที่มีข้อความอันอาจทําให้ ประชาชนเกิดความหวาดกลัวหรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารทําให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉิน จนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เป็นต้น ซึ่งข้อกําหนด ดังกล่าวย่อมถือว่าเป็นการจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลแล้ว และถ้าหากผู้ใดฝ่าฝืนข้อกําหนดดังกล่าวก็จะมี ความผิดและถูกลงโทษ (มาตรา 18)

ดังนั้น จะเห็นได้ว่า “สิทธิ” “เสรีภาพ” “รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน” และ “พระราชกําหนดการ บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548” ย่อมมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันดังที่ได้อธิบายไว้ดังกล่าวข้างต้น

LAW1101 (LAW1001) หลักกฎหมายมหาชน 1/2562

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2562

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 1001 หลักกฎหมายมหาชน

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 จงอธิบายอย่างละเอียดว่า กฎหมายมหาชนและหลักกฎหมายมหาชน มีความสําคัญและเกี่ยวข้องกับตัวนักศึกษาอย่างไร พร้อมยกตัวอย่างประกอบ

ธงคําตอบ

“กฎหมายมหาชน” คือ กฎหมายที่บัญญัติให้อํานาจและหน้าที่แก่รัฐ แก่หน่วยงานทางปกครอง หรือหน่วยงานของรัฐและแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในทางปกครองและการบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชน ส่วนใหญ่ ในฐานะที่ฝ่ายปกครองมีอํานาจเหนือผู้ใต้ปกครอง

กฎหมายมหาชน ปัจจุบันได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายปกครอง ซึ่งกฎหมายปกครองนั้น อาจจะอยู่ในชื่อของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกําหนด ประมวลกฎหมาย หรืออาจจะอยู่ในชื่อของประกาศคณะปฏิวัติก็ได้

กฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์ในการวางระเบียบการปกครองของรัฐในทาง การเมืองโดยกําหนดโครงสร้างของรัฐ ระบอบการปกครอง การใช้อํานาจอธิปไตย และการดําเนินงานของสถาบันสูงสุด ของรัฐที่ใช้อํานาจอธิปไตย กล่าวคือ เป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงอํานาจในการปกครองประเทศ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 อํานาจ คือ

1 อํานาจนิติบัญญัติ เป็นอํานาจในการออกกฎหมายมาใช้บังคับกับประชาชนผู้เป็นเจ้าของ อํานาจอธิปไตย ซึ่งมีรัฐสภาเป็นผู้ใช้อํานาจนี้

2 อํานาจบริหาร เป็นอํานาจที่จะจัดให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย มีรัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี เป็นผู้ใช้อํานาจนี้

3 อํานาจตุลาการ เป็นอํานาจในการตัดสินและพิพากษาอรรถคดี ซึ่งองค์กรสําคัญที่ใช้อํานาจนี้คือ ศาล

กฎหมายปกครอง เป็นกฎหมายที่วางหลักเกี่ยวกับการจัดระเบียบการปกครองของรัฐในทางปกครองหรือที่เรียกว่า “การจัดระเบียบราชการบริหาร” รวมทั้งการวางระเบียบเกี่ยวกับกิจกรรมของฝ่ายปกครอง ที่เรียกว่า “บริการสาธารณะ” ซึ่งฝ่ายปกครองจัดทําเพื่อสนองความต้องการส่วนรวมของประชาชน

ราชการแผ่นดินของไทยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหาร ส่วนภูมิภาค และราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นผลมาจากกฎหมายปกครองดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น

นอกจากนี้ยังกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า กฎหมายปกครอง เป็นกฎหมายที่บัญญัติให้อํานาจหน้าที่ ในทางปกครองแก่หน่วยงานทางปกครอง และเจ้าหน้าที่ของรัฐในการออกคําสั่งทางปกครอง ให้อํานาจในการออกกฎ ให้อํานาจในการกระทําทางปกครองและสัญญาทางปกครอง

ซึ่งในการใช้อํานาจนิติบัญญัติ อํานาจบริหาร และอํานาจตุลาการตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ รวมทั้ง การใช้อํานาจทางปกครองในการออกกฎ ออกคําสั่งทางปกครอง หรือการกระทําทางปกครองในรูปแบบอื่น และ การทําสัญญาทางปกครองขององค์กรของรัฐหรือหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น ก็เพื่อการบริหารราชการแผ่นดินและเพื่อการจัดทําบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนส่วนรวมของประเทศซึ่งรวมทั้ง เพื่อประโยชน์แก่ตัวข้าพเจ้าด้วย ดังนั้นในการใช้อํานาจต่าง ๆ หรือการกระทําต่าง ๆ ขององค์กรของรัฐหรือ หน่วยงานทางปกครอง และเจ้าหน้าที่ของรัฐ จึงต้องมีกฎหมายมหาชนบัญญัติให้อํานาจและหน้าที่ไว้ด้วย เพราะถ้าไม่มีกฎหมายมหาชนบัญญัติให้อํานาจและหน้าที่ไว้ องค์กรของรัฐหรือหน่วยงานทางปกครองและ เจ้าหน้าที่ของรัฐก็จะไม่สามารถที่จะดําเนินการใด ๆ ได้

และนอกจากนั้น ในการใช้อํานาจต่าง ๆ ขององค์กรของรัฐหรือหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ก็จะต้องได้ใช้อํานาจโดยถูกต้องตามหลักของกฎหมายมหาชนด้วย ซึ่งได้แก่

1 หลักความชอบด้วยกฎหมาย หมายถึง การใช้อํานาจหน้าที่ขององค์กรของรัฐ ไม่ว่าจะเป็น องค์กรของรัฐฝ่ายนิติบัญญัติ องค์กรของรัฐฝ่ายบริหาร และองค์กรของรัฐฝ่ายตุลาการ จะต้องเป็นการใช้อํานาจหน้าที่ ตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้เท่านั้น จะใช้อํานาจหน้าที่นอกเหนือจากที่กฎหมายบัญญัติไว้มิได้

2 หลักประโยชน์สาธารณะ หมายถึง การใช้อํานาจหน้าที่ขององค์กรของรัฐฝ่ายต่าง ๆ จะต้องเป็นการใช้อํานาจหน้าที่เพื่อสนองตอบต่อความต้องการของคนส่วนใหญ่ในสังคม ไม่ใช่เป็นการ สนองตอบต่อความต้องการของคนบางกลุ่มบางพวกหรือเพื่อใครคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะ

3 หลักความยุติธรรม หมายถึง การใช้อํานาจหน้าที่ขององค์กรของรัฐฝ่ายต่าง ๆ จะต้องเป็น การใช้อํานาจหน้าที่กับบุคคลทุกคนในสังคมอย่างเสมอภาคกัน และจะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความยุติธรรม

และนอกจากนั้นยังมีหลักกฎหมายมหาชนหรือหลักกฎหมายปกครองที่มีความสําคัญต่อการบริหารราชการแผ่นดินอีกหลายประการ เช่น หลักความซื่อสัตย์สุจริต หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เป็นต้น

หรือแม้แต่มหาวิทยาลัยรามคําแหงซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ และเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยซึ่งถือว่า เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ จะใช้อํานาจทางปกครองเพื่อออกกฎ เช่น ระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัยหรือออกคําสั่ง ทางปกครอง หรือกระทําการทางปกครองในรูปแบบอื่น หรือการทําสัญญาทางปกครองในการบริหารมหาวิทยาลัย

เพื่อประโยชน์ของมหาวิทยาลัยและนักศึกษาทุกคนซึ่งรวมทั้งข้าพเจ้าด้วยนั้นก็จะต้องมีกฎหมายมหาชน ซึ่งในที่นี้ คือ พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยรามคําแหง ซึ่งเป็นกฎหมายปกครองได้บัญญัติให้อํานาจและหน้าที่ไว้ด้วย และจะต้อง ใช้อํานาจและหน้าที่นั้นโดยถูกต้องตามหลักการต่าง ๆ ของกฎหมายมหาชนดังกล่าวข้างต้นด้วย เพราะถ้าเจ้าหน้าที่ ของมหาวิทยาลัยได้ใช้อํานาจหน้าที่เกินขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติไว้ หรือเป็นการใช้อํานาจโดยที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้อํานาจไว้ หรือได้ใช้อํานาจและหน้าที่ไม่ถูกต้องตามหลักของกฎหมายมหาชนแล้ว ย่อมอาจก่อให้เกิด ข้อพิพาทซึ่งเรียกว่า ข้อพิพาททางปกครองขึ้นมาได้ และเมื่อเกิดข้อพิพาททางปกครองหรือคดีปกครองขึ้นมาแล้ว ก็สามารถนําข้อพิพาทนั้นไปฟ้องเป็นคดีต่อศาลปกครองได้

ดังนั้นจะเห็นได้ว่ากฎหมายมหาชนและหลักกฎหมายมหาชนมีความเกี่ยวข้องและสําคัญแก่ตัวข้าพเจ้า ตามที่ได้อธิบายไว้ดังกล่าวข้างต้น

 

ข้อ 2 จงอธิบายความแตกต่างระหว่างกฎหมายมหาชนกับกฎหมายเอกชนในประเด็นดังต่อไปนี้มาให้เข้าใจอย่างชัดเจน

ธงคําตอบ

(1) ความแตกต่างด้านองค์กรหรือตัวบุคคลที่เข้าไปมีนิติสัมพันธ์

(2) ความแตกต่างด้านเนื้อหาและความมุ่งหมาย

(3) ความแตกต่างด้านรูปแบบของนิติสัมพันธ์

(4) ความแตกต่างด้านนิติวิธี

(5) ความแตกต่างด้านนิติปรัชญา

(6) ความแตกต่างด้านเขตอํานาจศาล

ความแตกต่างระหว่างหลักกฎหมายมหาชนกับหลักกฎหมายเอกชนนั้น สามารถแยกออกเป็นหัวข้อที่สําคัญ ๆ ได้ดังนี้

1 ความแตกต่างทางด้านองค์กรหรือบุคคลที่เข้าไปสร้างหรือทํานิติสัมพันธ์ (ทฤษฎีตัวการ) กฎหมายมหาชน คู่กรณี คือ องค์กรหรือบุคคลที่เข้าไปสร้างหรือทํานิติสัมพันธ์ ได้แก่ รัฐ หรือหน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายหนึ่งกับเอกชนที่เป็นคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง

กฎหมายเอกชน คู่กรณี คือ องค์กรหรือบุคคลที่เข้าไปสร้างหรือทํานิติสัมพันธ์ ได้แก่ เอกชน ที่เป็นคู่กรณีฝ่ายหนึ่งกับเอกชนที่เป็นคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง

2 ความแตกต่างทางด้านเนื้อหาและความมุ่งหมาย (ทฤษฎีผลประโยชน์)

กฎหมายมหาชน มีวัตถุประสงค์ในการดําเนินงานเพื่อประโยชน์สาธารณะและการให้บริการ สาธารณะ โดยมิได้มีความมุ่งหมายถึงผลกําไรเป็นตัวเงินหรือทรัพย์สิน แต่มุ่งหวังถึงความพึงพอใจและการตอบสนองความต้องการของประชาชนส่วนรวมเป็นสําคัญ

กฎหมายเอกชน มีวัตถุประสงค์ในการดําเนินงานเพื่อประโยชน์ของเอกชนแต่ละบุคคล โดยมีความมุ่งหมายถึงผลกําไรเป็นตัวเงิน ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์ในลักษณะอื่นใดเพื่อประโยชน์ของปัจเจกบุคคล เป็นสําคัญ ทั้งนี้ มีข้อยกเว้นกรณีที่เป็นเอกชนบางประเภทที่อาจดําเนินงานเพื่อประโยชน์สาธารณะ ดังเช่น มูลนิธิ หรือสมาคมการกุศล เป็นต้น

3 ความแตกต่างทางด้านรูปแบบของนิติสัมพันธ์ (ทฤษฎีความไม่เท่าเทียมกัน)

กฎหมายมหาชน มีลักษณะเป็นการใช้บังคับอํานาจที่มีอยู่เหนือนิติสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือกับปัจเจกบุคคล โดยวิธีการที่เป็น “การกระทําฝ่ายเดียว” และปรากฏออกมาในรูปแบบ “คําสั่ง” กล่าวคือ เป็นการกระทําที่ฝ่ายหนึ่ง (รัฐและผู้ปกครอง) สามารถกําหนดหน้าที่ทางกฎหมายให้กับอีกฝ่ายหนึ่ง (รัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือปัจเจกบุคคล) กระทําตาม โดยฝ่ายที่มีหน้าที่ต้องกระทําตามอาจไม่ได้ตกลงยินยอมด้วยก็ตาม กฎหมายเอกชน มีลักษณะที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักความเป็นอิสระในการแสดงเจตนา หลักความเสมอภาค และหลักเสรีภาพในการทําสัญญา โดยคู่กรณีต้องมีความสมัครใจ (เจตนาเสนอสนองตรงกัน สัญญาจึงจะเกิด) และคู่กรณีฝ่ายหนึ่งไม่มีอํานาจเหนือคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง โดยจะทําการบังคับอีกฝ่ายหนึ่งโดย ปราศจากความยินยอมมิได้

4 ความแตกต่างทางด้านนิติวิธี

กฎหมายมหาชน มีลักษณะเป็นการนํานิติวิธีทางกฎหมาย โดยการนําแนวความคิดวิเคราะห์ การแก้ไขปัญหาทางกฎหมายมหาชน โดยการสร้างหลักกฎหมายมหาชนขึ้นมาใช้บังคับ (โดยปฏิเสธการนําแนวความคิด วิเคราะห์ตามหลักกฎหมายเอกชนมาใช้บังคับโดยตรง)

กฎหมายเอกชน มีลักษณะเป็นการนํานิติวิธีทางกฎหมาย โดยการนําความคิดวิเคราะห์ การแก้ไขปัญหาทางกฎหมายเอกชนที่มุ่งเน้นถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกบุคคลด้วยกันเอง และมุ่งเน้นถึงการรักษาผลประโยชน์ของเอกชนด้วยกัน

5 ความแตกต่างทางด้านนิติปรัชญา

กฎหมายมหาชน มีลักษณะเป็นการมุ่งเน้นถึงการประสานและสร้างความสมดุลระหว่างผลประโยชน์สาธารณะหรือผลประโยชน์ของส่วนรวมกับผลประโยชน์ของปัจเจกบุคคลหรือเอกชน ที่มุ่งถึงการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลตามที่กฎหมายให้อํานาจหรือกําหนดไว้

กฎหมายเอกชน มีลักษณะเป็นการมุ่งเน้นถึงความยุติธรรมที่เท่าเทียมกัน และตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความสมัครใจของคู่กรณี

6 ความแตกต่างทางด้านเขตอํานาจศาล

กฎหมายมหาชน หากเป็นข้อพิพาทระหว่างรัฐกับรัฐ หรือข้อพิพาทระหว่างรัฐกับปัจเจกบุคคล หรือเอกชนในทางกฎหมายมหาชนแล้ว คดีข้อพิพาทจะขึ้นสู่การพิจารณาของศาลเฉพาะหรือศาลพิเศษในทาง มหาชน เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง เป็นต้น

กฎหมายเอกชน หากเป็นข้อพิพาทระหว่างปัจเจกบุคคล หรือเอกชนต่อปัจเจกบุคคลหรือ เอกชนในทางกฎหมายเอกชนแล้ว คดีข้อพิพาทจะขึ้นสู่การพิจารณาของศาลยุติธรรม ดังเช่น ศาลแพ่ง ศาลอาญา ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง หรือศาลภาษี เป็นต้น

 

ข้อ 3 เหตุใดจึงกล่าวว่า การควบคุมการใช้อํานาจรัฐ ก็คือการควบคุมการใช้ดุลพินิจ และดุลพินิจที่จะต้อง ถูกควบคุมมีลักษณะอย่างไร และมีกระบวนการในการวางระบบการควบคุมไว้อย่างไร จงอธิบาย พร้อมยกตัวอย่างประกอบมาโดยละเอียด

ธงคําตอบ

ที่กล่าวกันว่า “การควบคุมการใช้อํานาจรัฐ ก็คือการควบคุมการใช้ดุลพินิจ” ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐนั้น เนื่องมาจากเหตุผลที่ว่าในการใช้อํานาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐนั้น มีได้ 2 รูปแบบ คือ

1 อํานาจผูกพัน คือ อํานาจหน้าที่ที่องค์กรฝ่ายปกครองของรัฐต้องปฏิบัติเมื่อมีข้อเท็จจริง อย่างใด ๆ เกิดขึ้นตามที่กฎหมายซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น ๆ ได้บัญญัติกําหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว ดังนี้องค์กรฝ่ายปกครอง ของรัฐจะต้องออกคําสั่ง และคําสั่งนั้นต้องมีเนื้อความเป็นไปตามที่กฎหมายกําหนดไว้ เช่น เรื่องการร้องขอ จดทะเบียนสมรส เมื่อชายและหญิงผู้ร้องขอมีคุณสมบัติครบถ้วนและปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งการสมรสที่บัญญัติ ไว้ใน ป.พ.พ. แล้ว นายทะเบียนครอบครัวจะต้องทําการจดทะเบียนสมรสให้แก่ผู้ร้องขอเสมอ เป็นต้น

2 อํานาจดุลพินิจ อํานาจดุลพินิจแตกต่างกับอํานาจผูกพันข้างต้น กล่าวคือ อํานาจดุลพินิจ เป็นอํานาจที่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติหรือองค์กรฝ่ายปกครองของรัฐสามารถเลือกตัดสินใจออกคําสั่ง หรือเลือกสั่งการอย่างใด ๆ ได้ตามที่กฎหมายให้อํานาจไว้ เพื่อให้บรรลุตามความมุ่งหมายหรือตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย กล่าวอีกนัยหนึ่ง อํานาจดุลพินิจก็คือ อํานาจที่กฎหมายเปิดช่องให้องค์กรฝ่ายปกครองของรัฐมีอิสระในการตัดสินใจ เมื่อมีเหตุการณ์หรือมีข้อเท็จจริงใด ๆ ที่กําหนดไว้เกิดขึ้น

เหตุที่ต้องมีการควบคุมการใช้อํานาจรัฐดังกล่าวก็เพราะกฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่ไม่เสมอภาค รัฐ หน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ มีอํานาจเหนือประชาชนหากไม่มีการควบคุม เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงาน ของรัฐอาจใช้ดุลพินิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้ การใช้ดุลพินิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย คือ การที่เจ้าหน้าที่ของรัฐ องค์กรของรัฐ หน่วยงานของรัฐ กระทําการหรืองดเว้นกระทําการใช้อํานาจที่มีอยู่ตามกฎหมาย หรือใช้อํานาจ นอกวัตถุประสงค์ของกฎหมาย อันก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชน

การควบคุมการใช้อํานาจรัฐนั้น แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่

1 การควบคุมการใช้อํานาจรัฐแบบป้องกัน หมายความว่า ก่อนที่เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือ ฝ่ายปกครองจะได้วินิจฉัยสั่งการ หรือมีการกระทําในทางปกครองที่จะไปกระทบต่อสถานภาพทางกฎหมาย ของบุคคลใด ควรมีระบบป้องกันหรือควบคุมการวินิจฉัยสั่งการหรือการกระทํานั้นเสียก่อน กล่าวคือมีกฎหมาย กําหนดกระบวนการหรือขั้นตอนต่าง ๆ ก่อนที่จะมีคําสั่งนั้นออกไป

ซึ่งการควบคุมการใช้อํานาจรัฐแบบป้องกันดังกล่าวนี้ เป็นไปตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 นั่นเอง เช่น

(1) เปิดโอกาสให้คู่กรณีได้โต้แย้งคัดค้าน คือ การให้โอกาสผู้ที่อาจได้รับความเสียหาย จากการกระทําของฝ่ายปกครอง สามารถแสดงข้อโต้แย้งของตนได้ในเรื่องที่จะสั่งการนั้น

(2) มีการปรึกษาหารือ คือการให้ผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ

(3) หลักการไม่มีส่วนได้เสีย กล่าวคือ ผู้มีอํานาจสั่งการทางปกครองจะต้องไม่มีส่วนได้เสีย

(4) มีการไต่สวนทั่วไป ซึ่งเป็นวิธีการที่กําหนดให้ฝ่ายปกครองต้องสอบสวนหาข้อเท็จจริง โดยทําการรวบรวมความคิดเห็นของบุคคลผู้มีส่วนได้เสีย แล้วทําเป็นรายงานก่อนที่ฝ่ายปกครองจะได้ตัดสินใจ กระทําการที่จะมีผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย

(5) เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองจะต้องแจ้งสิทธิและหน้าที่ในกระบวนการพิจารณาทางปกครอง ให้คู่กรณีทราบตามความจําเป็นแก่กรณี

(6) ถ้าเป็นคําสั่งทางปกครองที่อาจอุทธรณ์หรือโต้แย้งต่อไปได้ จะต้องระบุกรณีที่อาจอุทธรณ์ หรือโต้แย้ง การยื่นคําอุทธรณ์หรือคําโต้แย้ง และระยะเวลาสําหรับการอุทธรณ์หรือการโต้แย้งดังกล่าวไว้ด้วย

2 การควบคุมการใช้อํานาจรัฐแบบแก้ไข หมายความว่า เมื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐได้สั่งการใดหรือ วินิจฉัยเรื่องใดไปแล้ว หากกระทบต่อสถานภาพทางกฎหมายของบุคคลใดในทางที่มิชอบด้วยกฎหมายจึงกําหนด ให้มีระบบการควบคุมการใช้อํานาจรัฐแบบแก้ไขโดยองค์กรที่เกี่ยวข้อง คือ ระบบการควบคุมการใช้อํานาจรัฐ โดยองค์กรภายในของฝ่ายบริหาร และระบบการควบคุมการใช้อํานาจรัฐโดยองค์กรภายนอกของฝ่ายบริหาร

(1) ระบบการควบคุมการใช้อํานาจรัฐโดยองค์กรภายในของฝ่ายบริหาร เป็นระบบ การควบคุมการใช้อํานาจรัฐโดยขึ้นอยู่กับการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของรัฐ โดยอาจกระทําได้โดยการบังคับบัญชา และการกํากับดูแล ได้แก่

ก) ระบบการควบคุมการใช้อํานาจรัฐ ด้วยการควบคุมบังคับบัญชาและการกํากับดูแล การควบคุมบังคับบัญชา โดยผู้บังคับบัญชาทําการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายและความเหมาะสมในการกระทําของผู้ใต้บังคับบัญชาโดยอาจตรวจสอบเองหรือมีบุคคลมาร้องเรียนการกํากับดูแล โดยหน่วยงานของรัฐจะดําเนินการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการกระทําของหน่วยงานตามสายการบังคับบัญชา

ข) ระบบการควบคุมการใช้อํานาจรัฐ ด้วยการร้องทุกข์และการอุทธรณ์ภายใน หน่วยงาน โดยสามารถร้องทุกข์หรืออุทธรณ์คําสั่งไปยังผู้ออกคําสั่งนั้น

(2) ระบบการควบคุมการใช้อํานาจรัฐโดยองค์กรภายนอกของฝ่ายบริหาร ได้แก่

ก) การควบคุมโดยองค์กรทางการเมือง เช่น รัฐสภา เป็นต้น

ข) การควบคุมโดยองค์กรพิเศษ คือ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญฯ เช่น คณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นต้น

(3) ระบบการควบคุมการใช้อํานาจรัฐโดยองค์กรศาล ได้แก่

ก) การควบคุมการใช้อํานาจรัฐโดยศาลยุติธรรม

ข) การควบคุมการใช้อํานาจรัฐโดยศาลปกครอง

ค) การควบคุมการใช้อํานาจรัฐโดยศาลรัฐธรรมนูญ

LAW1101 (LAW1001) หลักกฎหมายมหาชน s/2561

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 1001 หลักกฎหมายมหาชน

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1 จงอธิบายความหมายของกฎหมายมหาชน และกฎหมายมหาชนแตกต่างจากกฎหมายเอกชนอย่างไร

ธงคําตอบ

กฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายที่กําหนดถึงกฎเกณฑ์ทางกฎหมายทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับ “สถานะและอํานาจของรัฐและผู้ปกครอง” รวมทั้งเป็นกฎเกณฑ์ทางกฎหมายที่กําหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ และผู้ปกครองกับพลเมืองผู้อยู่ใต้การปกครอง ในฐานะที่รัฐและผู้ปกครองมีเอกสิทธิทางปกครองเหนือพลเมือง ซึ่งอยู่ในฐานะเป็นเอกชน

สาขาของกฎหมายมหาชน ได้แก่ รัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง และกฎหมายการคลัง ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและผู้ปกครองกับพลเมืองตามกฎหมายมหาชนนั้น เป็นความสัมพันธ์ในลักษณะที่รัฐและผู้ปกครองมีเอกสิทธิ์ทางปกครองเหนือพลเมือง

ซึ่งจะแตกต่างกับกฎหมายเอกชนที่ตั้งอยู่บน พื้นฐานแห่งความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันของคู่กรณี และตั้งอยู่บนหลักความศักดิ์สิทธิ์แห่งการแสดงเจตนาและเสรีภาพในการทําสัญญา

สําหรับความแตกต่างระหว่างหลักกฎหมายมหาชนกับหลักกฎหมายเอกชนนั้น สามารถแยกออกเป็นหัวข้อที่สําคัญ ๆ ได้ดังนี้

1 ความแตกต่างทางด้านองค์กรหรือบุคคลที่เข้าไปสร้างหรือทํานิติสัมพันธ์ (ทฤษฎีตัวการ) กฎหมายมหาชน คู่กรณี คือ องค์กรหรือบุคคลที่เข้าไปสร้างหรือทํานิติสัมพันธ์ ได้แก่ รัฐ หรือหน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายหนึ่งกับเอกชนที่เป็นคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง

กฎหมายเอกชน คู่กรณี คือ องค์กรหรือบุคคลที่เข้าไปสร้างหรือทํานิติสัมพันธ์ ได้แก่ เอกชน ที่เป็นคู่กรณีฝ่ายหนึ่งกับเอกชนที่เป็นคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง

2 ความแตกต่างทางด้านเนื้อหาและความมุ่งหมาย (ทฤษฎีผลประโยชน์)

กฎหมายมหาชน มีวัตถุประสงค์ในการดําเนินงานเพื่อประโยชน์สาธารณะและการให้บริการ สาธารณะ โดยมิได้มีความมุ่งหมายถึงผลกําไรเป็นตัวเงินหรือทรัพย์สิน แต่มุ่งหวังถึงความพึงพอใจและการตอบสนองความต้องการของประชาชนส่วนรวมเป็นสําคัญ

กฎหมายเอกชน มีวัตถุประสงค์ในการดําเนินงานเพื่อประโยชน์ของเอกชนแต่ละบุคคล โดยมีความมุ่งหมายถึงผลกําไรเป็นตัวเงิน ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์ในลักษณะอื่นใดเพื่อประโยชน์ของปัจเจกบุคคล เป็นสําคัญ ทั้งนี้ มีข้อยกเว้นกรณีที่เป็นเอกชนบางประเภทที่อาจดําเนินงานเพื่อประโยชน์สาธารณะ ดังเช่น มูลนิธิ หรือสมาคมการกุศล เป็นต้น

3 ความแตกต่างทางด้านรูปแบบของนิติสัมพันธ์ (ทฤษฎีความไม่เท่าเทียมกัน)

กฎหมายมหาชน มีลักษณะเป็นการใช้บังคับอํานาจที่มีอยู่เหนือนิติสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือกับปัจเจกบุคคล โดยวิธีการที่เป็น “การกระทําฝ่ายเดียว” และปรากฏออกมาในรูปแบบ “คําสั่ง กล่าวคือ เป็นการกระทําที่ฝ่ายหนึ่ง (รัฐและผู้ปกครอง) สามารถกําหนดหน้าที่ทางกฎหมายให้กับอีกฝ่ายหนึ่ง (รัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือปัจเจกบุคคล) กระทําตาม โดยฝ่ายที่มีหน้าที่ต้องกระทําตามอาจไม่ได้ตกลงยินยอมด้วยก็ตาม

กฎหมายเอกชน มีลักษณะที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักความเป็นอิสระในการแสดงเจตนา หลักความเสมอภาค และหลักเสรีภาพในการทําสัญญา โดยคู่กรณีต้องมีความสมัครใจ (เจตนาเสนอสนองตรงกัน สัญญาจึงจะเกิด) และคู่กรณีฝ่ายหนึ่งไม่มีอํานาจเหนือคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง โดยจะทําการบังคับอีกฝ่ายหนึ่งโดยปราศจากความยินยอมมิได้

4 ความแตกต่างทางด้านนิติวิธี

กฎหมายมหาชน มีลักษณะเป็นการนํานิติวิธีทางกฎหมาย โดยการนําแนวความคิดวิเคราะห์ การแก้ไขปัญหาทางกฎหมายมหาชน โดยการสร้างหลักกฎหมายมหาชนขึ้นมาใช้บังคับ (โดยปฏิเสธการนําแนวความคิด วิเคราะห์ตามหลักกฎหมายเอกชนมาใช้บังคับโดยตรง)

กฎหมายเอกชน มีลักษณะเป็นการนํานิติวิธีทางกฎหมาย โดยการนําความคิดวิเคราะห์ การแก้ไขปัญหาทางกฎหมายเอกชนที่มุ่งเน้นถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกบุคคลด้วยกันเอง และมุ่งเน้นถึงการรักษาผลประโยชน์ของเอกชนด้วยกัน

5 ความแตกต่างทางด้านนิติปรัชญา

กฎหมายมหาชน มีลักษณะเป็นการมุ่งเน้นถึงการประสานและสร้างความสมดุลระหว่างผลประโยชน์สาธารณะหรือผลประโยชน์ของส่วนรวมกับผลประโยชน์ของปัจเจกบุคคลหรือเอกชน ที่มุ่งถึงการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลตามที่กฎหมายให้อํานาจหรือกําหนดไว้

กฎหมายเอกชน มีลักษณะเป็นการมุ่งเน้นถึงความยุติธรรมที่เท่าเทียมกัน และตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความสมัครใจของคู่กรณี

6 ความแตกต่างทางด้านเขตอํานาจศาล

กฎหมายมหาชน หากเป็นข้อพิพาทระหว่างรัฐกับรัฐ หรือข้อพิพาทระหว่างรัฐกับปัจเจกบุคคล หรือเอกชนในทางกฎหมายมหาชนแล้ว คดีข้อพิพาทจะขึ้นสู่การพิจารณาของศาลเฉพาะหรือศาลพิเศษในทาง มหาชน เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง เป็นต้น

กฎหมายเอกชน หากเป็นข้อพิพาทระหว่างปัจเจกบุคคล หรือเอกชนต่อปัจเจกบุคคลหรือ เอกชนในทางกฎหมายเอกชนแล้ว คดีข้อพิพาทจะขึ้นสู่การพิจารณาของศาลยุติธรรม ดังเช่น ศาลแพ่ง ศาลอาญา ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง หรือศาลภาษี เป็นต้น

 

ข้อ 2 ให้อธิบายความหมายของหลักประโยชน์สาธารณะ (Public Interest) และหลักการที่เป็นสาระสําคัญ ในการบริการสาธารณะ (Public Service) มีหลักการสําคัญอะไรบ้าง

ธงคําตอบ

หลักประโยชน์สาธารณะ หมายถึง หลักการใช้อํานาจรัฐเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ มิใช่การตอบสนองต่อความต้องการของปัจเจกบุคคลเพียงคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มบุคคล บางกลุ่ม และมิใช่การตอบสนองต่อความต้องการของรัฐหรือผู้ดําเนินการนั้นเอง หรืออาจกล่าวได้ว่าประโยชน์ สาธารณะ คือความต้องการของปัจเจกบุคคลแต่ละคนที่ตรงกัน และเป็นความต้องการที่ตรงกันจํานวนมากจนเป็น ความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ในสังคม มีผลทําให้ความต้องการในลักษณะดังกล่าวเป็นประโยชน์สาธารณะซึ่งจะมีความแตกต่างจากประโยชน์ส่วนบุคคลของปัจเจกบุคคลหรือเอกชนแต่ละคน

หลักการที่เป็นสาระสําคัญในการบริการสาธารณะนั้น อย่างน้อยต้องมีหลักการที่สําคัญดังต่อไปนี้ คือ

1 หลักความต่อเนื่องในการบริการสาธารณะ หมายถึง การจัดทําบริการสาธารณะจะต้องมี ความสม่ําเสมอและต่อเนื่องตลอดเวลา

2 หลักความเสมอภาคในการบริการสาธารณะ หมายถึง การไม่เลือกปฏิบัติ ต้องให้ความ เสมอภาคทั้งในด้านการให้บริการและการรับบุคคลเข้าทํางานในหน่วยงานของรัฐ

3 หลักการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการบริการสาธารณะ คือ จะต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ให้เกิดความทันสมัยนั่นเอง

4 หลักการกํากับดูแลการบริการสาธารณะโดยรัฐ หมายถึง ในการดําเนินการจัดทําบริการ สาธารณะต่าง ๆ โดยหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของรัฐ ทั้งนี้ก็เพื่อให้การจัดทําบริการสาธารณะบรรลุผลสําเร็จตามวัตถุประสงค์

 

ข้อ 3 จงอธิบายความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันของการควบคุมการใช้อํานาจรัฐกับการบริหารราชการแผ่นดินของไทยมาโดยละเอียด

ธงคําตอบ

การควบคุมการใช้อํานาจรัฐ หมายถึง การควบคุมการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐ องค์กร ของรัฐ และหน่วยงานของรัฐนั่นเอง และเหตุที่ต้องมีการควบคุมการใช้อํานาจรัฐดังกล่าวก็เพราะกฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่ไม่เสมอภาค รัฐ หน่วยงานของรัฐ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีอํานาจเหนือประชาชน หากไม่มีการควบคุม เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐอาจใช้ดุลพินิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้ ซึ่งการใช้ดุลพินิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย คือ การที่เจ้าหน้าที่ของรัฐ องค์กรของรัฐ และหน่วยงานของรัฐ กระทําการหรืองดเว้นกระทําการใช้อํานาจที่มีอยู่ ตามกฎหมาย หรือใช้อํานาจนอกวัตถุประสงค์ของกฎหมาย อันก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชน

สําหรับพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการใช้อํานาจรัฐนั้น มีหลายฉบับ เช่น พระราชบัญญัติ ความรับผิดชอบทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ พ.ศ. 2539 พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 เป็นต้น การควบคุมการใช้อํานาจรัฐนั้น แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่

1 การควบคุมการใช้อํานาจรัฐแบบป้องกัน หมายความว่า ก่อนที่เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือ ฝ่ายปกครองจะได้วินิจฉัยสั่งการ หรือมีการกระทําในทางปกครองที่จะไปกระทบต่อสถานภาพทางกฎหมายของบุคคลใด ควรมีระบบป้องกันหรือควบคุมการวินิจฉัยสั่งการหรือการกระทํานั้นเสียก่อน กล่าวคือมีกฎหมาย กําหนดกระบวนการหรือขั้นตอนต่าง ๆ ก่อนที่จะมีคําสั่งนั้นออกไปซึ่งการควบคุมการใช้อํานาจรัฐแบบป้องกันดังกล่าวนี้ เป็นไปตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 นั่นเอง เช่น

(1) เปิดโอกาสให้คู่กรณีได้โต้แย้งคัดค้าน คือ การให้โอกาสผู้ที่อาจได้รับความเสียหาย จากการกระทําของฝ่ายปกครอง สามารถแสดงข้อโต้แย้งของตนได้

(2) มีการปรึกษาหารือ คือการให้ผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ

(3) หลักการไม่มีส่วนได้เสีย กล่าวคือ ผู้มีอํานาจสั่งการทางปกครองจะต้องไม่มีส่วนได้เสียในเรื่องที่จะสั่งการนั้น

(4) มีการไต่สวนทั่วไป ซึ่งเป็นวิธีการที่กําหนดให้ฝ่ายปกครองต้องสอบสวนหาข้อเท็จจริง โดยทําการรวบรวมความคิดเห็นของบุคคลผู้มีส่วนได้เสีย แล้วทําเป็นรายงานก่อนที่ฝ่ายปกครองจะได้ตัดสินใจ กระทําการที่จะมีผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย

(5) เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองจะต้องแจ้งสิทธิและหน้าที่ในกระบวนการพิจารณาทางปกครองให้คู่กรณีทราบตามความจําเป็นแก่กรณี

(6) ถ้าเป็นคําสั่งทางปกครองที่อาจอุทธรณ์หรือโต้แย้งต่อไปได้ จะต้องระบุกรณีที่อาจอุทธรณ์ หรือโต้แย้ง การยื่นคําอุทธรณ์หรือคําโต้แย้ง และระยะเวลาสําหรับการอุทธรณ์หรือการโต้แย้งดังกล่าวไว้ด้วย 2. การควบคุมการใช้อํานาจรัฐแบบแก้ไข หมายความว่า เมื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐได้สั่งการใดหรือ วินิจฉัยเรื่องใดไปแล้ว หากกระทบต่อสถานภาพทางกฎหมายของบุคคลใดในทางที่มิชอบด้วยกฎหมายจึงกําหนด ให้มีระบบการควบคุมการใช้อํานาจรัฐแบบแก้ไขโดยองค์กรที่เกี่ยวข้อง คือ ระบบการควบคุมการใช้อํานาจรัฐ โดยองค์กรภายในของฝ่ายบริหาร และระบบการควบคุมการใช้อํานาจรัฐโดยองค์กรภายนอกของฝ่ายบริหาร

(1) ระบบการควบคุมการใช้อํานาจรัฐโดยองค์กรภายในของฝ่ายบริหาร เป็นระบบ การควบคุมการใช้อํานาจรัฐโดยขึ้นอยู่กับการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของรัฐ โดยอาจกระทําได้โดย การบังคับบัญชา และการกํากับดูแล ได้แก่

ก) ระบบการควบคุมการใช้อํานาจรัฐ ด้วยการควบคุมบังคับบัญชาและการกํากับดูแล การควบคุมบังคับบัญชา โดยผู้บังคับบัญชาทําการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายและความเหมาะสมในการกระทําของผู้ใต้บังคับบัญชาโดยอาจตรวจสอบเองหรือมีบุคคลมาร้องเรียนการกํากับดูแล โดยหน่วยงานของรัฐจะดําเนินการตรวจสอบความชอบ ด้วยกฎหมายของการกระทําของหน่วยงานตามสายการบังคับบัญชา

ข) ระบบการควบคุมการใช้อํานาจรัฐ ด้วยการร้องทุกข์และการอุทธรณ์ภายใน หน่วยงาน โดยสามารถร้องทุกข์หรืออุทธรณ์คําสั่งไปยังผู้ออกคําสั่งนั้น

(2) ระบบการควบคุมการใช้อํานาจรัฐโดยองค์กรภายนอกของฝ่ายบริหาร ได้แก่ ก) การควบคุมโดยองค์กรทางการเมือง เช่น รัฐสภา เป็นต้น

ข) การควบคุมโดยองค์กรพิเศษ คือ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญฯ เช่น คณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นต้น

(3) ระบบการควบคุมการใช้อํานาจรัฐโดยองค์กรศาล ได้แก่

ก) การควบคุมการใช้อํานาจรัฐโดยศาลยุติธรรม

ข) การควบคุมการใช้อํานาจรัฐโดยศาลปกครอง

ค) การควบคุมการใช้อํานาจรัฐโดยศาลรัฐธรรมนูญ

การควบคุมการใช้อํานาจรัฐมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการบริหารราชการแผ่นดินของไทย ดังนี้คือ

การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของไทยตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาค และราชการบริหารส่วนท้องถิ่น

ราชการบริหารส่วนกลาง ประกอบด้วย กระทรวง ทบวง กรม เป็นการจัดระเบียบบริหารราชการ ในรูปแบบการรวมอํานาจ โดยการปกครองแบบนี้อํานาจในการตัดสินใจทั้งหลายจะอยู่ที่ส่วนกลางทั้งสิ้น มีการ รวมกําลังในการบังคับต่าง ๆ ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง และมีลําดับขั้นการบังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่อย่างชัดเจน

ราชการบริหารส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย จังหวัด อําเภอ กิ่งอําเภอ ตําบล หมู่บ้าน เป็นการจัด ระเบียบบริหารราชการในรูปแบบการแบ่งอํานาจ ซึ่งเป็นรูปแบบการปกครองที่ส่วนกลางมอบอํานาจตัดสินใจ บางประการให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ไปปฏิบัติหน้าที่ในส่วนภูมิภาค โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐดังกล่าวก็ยังคงอยู่ในบังคับบัญชาของส่วนกลางตลอดเวลา

ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนตําบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล เมืองพัทยา และกรุงเทพมหานคร เป็นการจัดระเบียบบริหารราชการในรูปแบบการกระจายอํานาจ โดยรัฐ จะมอบอํานาจปกครองบางส่วนให้แก่องค์กรอื่นที่ไม่ใช่องค์กรส่วนกลางหรือส่วนภูมิภาค เพื่อจัดทําบริการสาธารณะ บางอย่าง โดยจะมีอิสระตามสมควร ไม่ต้องขึ้นอยู่ในการบังคับบัญชาของส่วนกลาง เพียงแต่ขึ้นอยู่ในการกํากับดูแลเท่านั้น

ในการบริหารราชการแผ่นดินของไทยทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นราชการบริหารส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค หรือส่วนท้องถิ่น เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการจัดทําบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนส่วนรวม และการ ใช้อํานาจทางปกครองในการออกกฎ ออกคําสั่ง หรือการกระทําทางปกครองในรูปแบบอื่น เช่น การทําสัญญา ทางปกครอง เป็นต้น ซึ่งหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานต่าง ๆ จะดําเนินการต่าง ๆ ดังกล่าวได้ ก็จะต้องมีกฎหมายมหาชนหรือกฎหมายปกครองได้บัญญัติให้อํานาจและหน้าที่ไว้ด้วย เช่น พระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน เป็นต้น

และนอกจากนี้ ในการใช้อํานาจรัฐเพื่อการดําเนินการต่าง ๆ นั้น ยังมีกฎหมายที่ได้บัญญัติเกี่ยวกับ การควบคุมการใช้อํานาจรัฐอีกหลายฉบับ เช่น พระราชบัญญัติความรับผิดในทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐฯ เป็นกฎหมายที่ใช้ควบคุมการใช้อํานาจรัฐ โดยควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐมิให้เจ้าหน้าที่รัฐกระทําการใด ๆ ไม่ว่าจะโดยจงใจหรือโดยประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลภายนอกหรือต่อหน่วยงาน ของรัฐ และพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ เป็นกฎหมายที่ใช้ควบคุมการใช้อํานาจทางปกครอง ของเจ้าหน้าที่รัฐ โดยเฉพาะการใช้อํานาจทางปกครองในการออกคําสั่งทางปกครองว่าจะต้องเป็นไปตามขั้นตอนและหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกําหนดไว้เท่านั้น

ในกรณีที่เจ้าหน้าที่รัฐกระทําการใด ๆ เนื่องจากการใช้อํานาจรัฐและก่อให้เกิดความเสียหายขึ้น แก่บุคคลภายนอก หรือเจ้าหน้าที่รัฐได้ใช้อํานาจทางปกครองออกกฎหรือคําสั่ง และเป็นกฎหรือคําสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้บุคคลที่ได้รับความเสียหายหรือได้รับความเดือดร้อนจากการใช้อํานาจหรือจากการกระทําของเจ้าหน้าที่รัฐดังกล่าว ย่อมสามารถฟ้องเป็นคดีต่อศาลปกครองเพื่อเรียกค่าเสียหายหรือให้ศาลปกครองสั่งให้เพิกถอน กฎหรือคําสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นได้ โดยอาศัยสิทธิตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและ วิธีพิจารณาคดีปกครองฯ นั่นเอง

 

LAW1101 (LAW1001) หลักกฎหมายมหาชน s/2560

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 1001 หลักกฎหมายมหาชน

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 ให้อธิบายความหมายของหลักประโยชน์สาธารณะ (Public Interest) และหลักการที่เป็นสาระสําคัญ ในการบริการสาธารณะ (Public Service) มีหลักการสําคัญอะไรบ้าง และภายใต้หลักการดังกล่าว ในการบังคับอํานาจรัฐ เป็นการกระทําผ่านการใช้อํานาจรัฐขององค์กรใดบ้าง (อธิบายมาให้เข้าใจอย่างชัดเจนถึงการใช้อํานาจในการบริการสาธารณะของแต่ละองค์กร)

ธงคําตอบ

หลักประโยชน์สาธารณะ หมายถึง หลักการใช้อํานาจรัฐเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ มิใช่การตอบสนองต่อความต้องการของปัจเจกบุคคลเพียงคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มบุคคลบางกลุ่ม และมิใช่การตอบสนองต่อความต้องการของรัฐหรือผู้ดําเนินการนั้นเอง หรืออาจกล่าวได้ว่าประโยชน์สาธารณะ คือความต้องการของปัจเจกบุคคลแต่ละคนที่ตรงกัน และเป็นความต้องการที่ตรงกันจํานวนมากจน เป็นความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ในสังคม มีผลทําให้ความต้องการในลักษณะดังกล่าวเป็นประโยชน์สาธารณะ ซึ่งจะมีความแตกต่างจากประโยชน์ส่วนบุคคลของปัจเจกบุคคลหรือเอกชนแต่ละคนดังต่อไปนี้ คือ

หลักการที่เป็นสาระสําคัญในการบริการสาธารณะนั้น อย่างน้อยต้องมีหลักการที่สําคัญ

1 หลักความต่อเนื่องในการบริการสาธารณะ หมายถึง การจัดทําบริการสาธารณะ จะต้องมีความสม่ำเสมอและต่อเนื่องตลอดเวลา

2 หลักความเสมอภาคในการบริการสาธารณะ หมายถึง การไม่เลือกปฏิบัติ ต้องให้ ความเสมอภาคทั้งในด้านการให้บริการและการรับบุคคลเข้าทํางานในหน่วยงานของรัฐ

3 หลักการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการบริการสาธารณะ คือ จะต้องมีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงให้เกิดความทันสมัยนั่นเอง

4 หลักการกํากับดูแลการบริการสาธารณะโดยรัฐ หมายถึง ในการดําเนินการจัดทําบริการ สาธารณะต่าง ๆ โดยหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของรัฐ ทั้งนี้ก็เพื่อให้การจัดทําบริการสาธารณะบรรลุผลสําเร็จตามวัตถุประสงค์

การใช้อํานาจรัฐในการจัดทําบริการสาธารณะ เป็นการกระทําผ่านการใช้อํานาจรัฐโดยองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติ องค์กรฝ่ายบริหาร และองค์กรฝ่ายตุลาการ

1 การบริการสาธารณะโดยองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติ (รัฐสภา) ซึ่งมีอํานาจและหน้าที่ใน การบัญญัติหรือออกกฎหมายที่ใช้บังคับเป็นการทั่วไปและใช้บังคับกับประชาชน ตลอดจนมีอํานาจและหน้าที่ในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน การใช้อํานาจทางปกครองและการบริการสาธารณะขององค์กรฝ่ายบริหาร

2 การบริการสาธารณะโดยองค์กรฝ่ายบริหาร (คณะรัฐมนตรี) ซึ่งมีอํานาจและหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดิน การใช้อํานาจทางปกครอง และการจัดทําบริการสาธารณะ เพื่อตอบสนองความต้องการตลอดจนเพื่อใช้อํานาจรัฐในการพัฒนาประเทศภายใต้นโยบายของรัฐบาลของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ที่ได้แถลงต่อรัฐสภา ซึ่งเป็นการใช้อํานาจเพื่อประโยชน์สาธารณะ

3 การบริการสาธารณะโดยองค์กรฝ่ายตุลาการ (ศาล) ปัจจุบันได้แก่ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลทหาร และศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีอํานาจและหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาคดีและอํานวยความยุติธรรมตามที่กฎหมายบัญญัติและกําหนดขอบเขตอํานาจของแต่ละศาลไว้ซึ่งจะแตกต่างกัน ซึ่งเป็นการ ใช้อํานาจหน้าที่เพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตลอดจนการอํานวย ความยุติธรรมให้แก่ประชาชนโดยทั่วไป ซึ่งเป็นการใช้อํานาจเพื่อประโยชน์สาธารณะ

 

ข้อ 2 จงอธิบายว่ากฎหมายมหาชนและหลักกฎหมายมหาชนมีความสําคัญต่อการบริหารราชการแผ่นดินหรือไม่อย่างไร พร้อมยกตัวอย่างประกอบ

ธงคําตอบ

“กฎหมายมหาชน” คือ กฎหมายที่บัญญัติให้อํานาจและหน้าที่แก่รัฐ แก่หน่วยงานทางปกครอง หรือหน่วยงานของรัฐและแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในทางปกครองและการบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชน ส่วนใหญ่ ในฐานะที่ฝ่ายปกครองมีอํานาจเหนือผู้ใต้ปกครอง

กฎหมายมหาชน ปัจจุบันได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายปกครอง ซึ่งกฎหมายปกครอง นั้นอาจจะอยู่ในชื่อของ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกําหนด ประมวลกฎหมายหรืออาจจะอยู่ในชื่อของประกาศคณะปฏิวัติก็ได้

กฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์ในการวางระเบียบการปกครองของรัฐในทาง การเมืองโดยกําหนดโครงสร้างของรัฐ ระบอบการปกครอง การใช้อํานาจอธิปไตยและการดําเนินงานของสถาบันสูงสุด ของรัฐที่ใช้อํานาจอธิปไตย กล่าวคือ เป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงอํานาจในการปกครองประเทศ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 อำนาจ คือ

1 อํานาจนิติบัญญัติ เป็นอํานาจในการออกกฎหมายมาใช้บังคับกับประชาชนผู้เป็นเจ้าของ อํานาจอธิปไตย ซึ่งมีรัฐสภาเป็นผู้ใช้อํานาจนี้

2 อํานาจบริหาร เป็นอํานาจที่จะจัดให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย มีรัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี เป็นผู้ใช้อํานาจนี้

3 อํานาจตุลาการ เป็นอํานาจในการตัดสินและพิพากษาอรรถคดี ซึ่งองค์กรสําคัญที่ใช้ อํานาจนี้ คือ ศาล

กฎหมายปกครอง เป็นกฎหมายที่วางหลักเกี่ยวกับการจัดระเบียบการปกครองของรัฐในทาง ปกครองหรือที่เรียกว่า “การจัดระเบียบราชการบริหาร” รวมทั้งการวางระเบียบเกี่ยวกับกิจกรรมของฝ่ายปกครอง ที่เรียกว่า “บริการสาธารณะ” ซึ่งฝ่ายปกครองจัดทําเพื่อสนองความต้องการส่วนรวมของประชาชน

ราชการแผ่นดินของไทยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหาร ส่วนภูมิภาค และราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นผลมาจากกฎหมายปกครองดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น

นอกจากนี้ยังกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า กฎหมายปกครอง เป็นกฎหมายที่บัญญัติให้อํานาจหน้าที่ ในทางปกครองแก่หน่วยงานทางปกครอง และเจ้าหน้าที่ของรัฐในการออกคําสั่งทางปกครอง ให้อํานาจในการออกกฎ ให้อํานาจในการกระทําทางปกครองและสัญญาทางปกครอง

จากหลักการต่าง ๆ ที่ได้อธิบายมาแล้วทั้งหมด จึงเห็นได้ว่า กฎหมายมหาชนไม่ว่าจะเป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายปกครองซึ่งอาจจะอยู่ในชื่อของกฎหมายใด ๆ ก็ตาม มีความสําคัญต่อการเมือง การปกครองและการบริหารราชการแผ่นดินของไทยเป็นอย่างมาก เพราะเป็นกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์ในการวาง หล้าเกี่ยวกับการจัดระเบียบการปกครองของรัฐ รวมทั้งการบัญญัติถึงอํานาจหน้าที่ขององค์กรของรัฐทั้งองค์กร ฝ่ายนิติบัญญัติ องค์กรฝ่ายบริหาร และองค์กรฝ่ายตุลาการ และยังได้บัญญัติถึงอํานาจหน้าที่ในทางปกครองของ ฝ่ายปกครอง ได้แก่ อํานาจหน้าที่ในการดําเนินการจัดทําบริการสาธารณะ อํานาจในการออกกฎหรือคําสั่ง อํานาจ ในการกระทําทางปกครองและอํานาจในการทําสัญญาทางปกครอง ซึ่งกรณีดังกล่าวหากไม่มีกฎหมายมหาชน บัญญัติให้อํานาจและหน้าที่ไว้ องค์กรของรัฐและฝ่ายปกครองก็จะไม่สามารถที่จะดําเนินการใด ๆ ได้ ทั้งนี้เพราะ ตามหลักของกฎหมายมหาชน องค์กรของรัฐและฝ่ายปกครองจะกระทําการใด ๆ ได้ก็ต่อเมื่อมีกฎหมายบัญญัติ ให้อํานาจและหน้าที่ไว้เท่านั้น

ส่วนหลักกฎหมายมหาชนที่มีความสําคัญต่อการเมืองการปกครอง และการบริหารราชการแผ่นดินนั้นมีหลักการที่สําคัญ ๆ หลายประการ เช่น

1 หลักความชอบด้วยกฎหมาย หมายถึง การใช้อํานาจหน้าที่ขององค์กรของรัฐ ไม่ว่า จะเป็นองค์กรของรัฐฝ่ายนิติบัญญัติ องค์กรของรัฐฝ่ายบริหาร และองค์กรของรัฐฝ่ายตุลาการ จะต้องเป็นการใช้ อํานาจหน้าที่ตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้เท่านั้น จะใช้อํานาจหน้าที่นอกเหนือจากที่กฎหมายบัญญัติไว้มิได้

2 หลักประโยชน์สาธารณะ หมายถึง การใช้อํานาจหน้าที่ขององค์กรของรัฐฝ่ายต่าง ๆ จะต้องเป็นการใช้อํานาจหน้าที่เพื่อสนองตอบต่อความต้องการของคนส่วนใหญ่ในสังคม ไม่ใช่เป็นการสนองตอบ ต่อความต้องการของคนบางกลุ่มบางพวกหรือเพื่อใครคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะ

3 หลักความยุติธรรม หมายถึง การใช้อํานาจหน้าที่ขององค์กรของรัฐฝ่ายต่าง ๆ จะต้อง เป็นการใช้อํานาจหน้าที่กับบุคคลทุกคนในสังคมอย่างเสมอภาคกัน และจะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความยุติธรรม และนอกจากนั้นยังมีหลักกฎหมายมหาชนที่มีความสําคัญต่อการเมืองการปกครอง และการ บริหารราชการแผ่นดินอีกหลายประการ เช่น หลักความซื่อสัตย์สุจริต หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เป็นต้น

ตัวอย่างเช่น นายกรัฐมนตรีหรือผู้ว่าราชการจังหวัดจะออกกฎ ระเบียบ หรือคําสั่งใด เพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน ก็จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายมหาชน ซึ่งได้แก่ พ.ร.บ. ระเบียบ บริหารราชการแผ่นดินได้กําหนดไว้ด้วย และนอกจากนั้นในการออกกฎ ระเบียบ หรือคําสั่งใด ๆ ดังกล่าวก็จะต้อง คํานึงถึงหลักกฎหมายมหาชนต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นด้วย

 

ข้อ 3 การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของไทยมีความเกี่ยวข้องกับหลักกฎหมายมหาชนในเรื่องใดบ้าง ให้นักศึกษาระบุหลักกฎหมายมหาชนเหล่านั้นมาสัก 4 – 5 หลักการ พร้อมให้เหตุผลประกอบโดยละเอียด

ธงคําตอบ

ในการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของไทย ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค และระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่นนั้น เพื่อให้การบริหาร ราชการแผ่นดินและการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนส่วนรวมบรรลุวัตถุประสงค์ นอกจากเจ้าหน้าที่ ของรัฐและองค์กรของรัฐจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่กฎหมายมหาชนได้กําหนดไว้แล้ว เจ้าหน้าที่ของรัฐและ องค์กรของรัฐก็จะต้องได้ใช้อํานาจหน้าที่ในการดําเนินการในเรื่องต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ ระเบียบ หรือคําสั่งเพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินและเพื่อการจัดทําบริการสาธารณะให้ถูกต้องตามหลักกฎหมายมหาชนด้วย เพราะถ้าหากการใช้อํานาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือองค์กรของรัฐไม่ถูกต้องตามหลักกฎหมายมหาชนแล้ว นอกจากจะทําให้การบริหารราชการแผ่นดินและการจัดทําบริการสาธารณะไม่บรรลุวัตถุประสงค์แล้ว ยังอาจจะก่อให้เกิดปัญหาและข้อพิพาททางปกครองขึ้นมาก็ได้

ซึ่งหลักกฎหมายมหาชนที่เกี่ยวข้องกับการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของไทยที่สําคัญ ๆได้แก่

1 หลักความชอบด้วยกฎหมาย หมายถึง การใช้อํานาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่และองค์กร ของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรของรัฐฝ่ายนิติบัญญัติ องค์กรของรัฐฝ่ายบริหาร และองค์กรของรัฐฝ่ายตุลาการ จะต้อง เป็นการใช้อํานาจหน้าที่ตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้เท่านั้น จะใช้อํานาจหน้าที่นอกเหนือจากที่กฎหมายบัญญัติไว้มิได้

2 หลักประโยชน์สาธารณะ หมายถึง การใช้อํานาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่และองค์กร ของรัฐฝ่ายต่าง ๆ จะต้องเป็นการใช้อํานาจหน้าที่เพื่อสนองตอบต่อความต้องการของคนส่วนใหญ่ในสังคม ไม่ใช่เป็นการสนองตอบต่อความต้องการของคนบางกลุ่มบางพวกหรือเพื่อใครคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะ

3 หลักความยุติธรรม หมายถึง การใช้อํานาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่และองค์กรของรัฐ ฝ่ายต่าง ๆ จะต้องเป็นการใช้อํานาจหน้าที่กับบุคคลทุกคนในสังคมอย่างเสมอภาคกัน และจะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความยุติธรรม

4 หลักความสุจริต หมายถึง การใช้อํานาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่และองค์กรของรัฐจะต้อง กระทําด้วยความเหมาะสมและตามสมควร โดยมีจุดประสงค์เพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ และจะต้องกระทําต่อ บุคคลทุกคนโดยเสมอภาคและเท่าเทียมกัน

5 หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี หมายถึง การใช้อํานาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่และ องค์กรของรัฐจะต้องกระทําเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ มีประสิทธิภาพและ คุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ อํานวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชน และมีผู้รับผิดชอบต่อ ผลงานของงาน เป็นต้น

LAW1101 (LAW1001) หลักกฎหมายมหาชน 2/2560

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 1001 หลักกฎหมายมหาชน

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 จงอธิบายความหมายของกฎหมายมหาชน และกฎหมายมหาชนแตกต่างจากกฎหมายเอกชนอย่างไร

ธงคําตอบ

เมื่อพิจารณาจากความหมาย ลักษณะ และขอบเขตของกฎหมายมหาชนแล้ว สามารถที่จะ สรุปได้ว่า “กฎหมายมหาชน” เป็นกฎหมายที่มีสาระสําคัญดังต่อไปนี้ คือ

1 เป็นกฎหมายที่มีลักษณะในการกําหนดสถานะและนิติสัมพันธ์ของคู่กรณี โดยที่คู่กรณี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นองค์กรของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ และมีการสร้างนิติสัมพันธ์กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง โดยอาจ เป็นองค์กรของรัฐด้วยกัน หรืออาจเป็นคู่กรณีที่มีสภาพบุคคลตามกฎหมายเอกชนก็ได้

2 เป็นกฎหมายที่มีลักษณะในการมุ่งถึงประโยชน์ในการสร้างนิติสัมพันธ์ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สาธารณะ

3 เป็นกฎหมายที่มีลักษณะในการสร้างนิติสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณีทั้งสองฝ่าย โดยไม่จําต้อง ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งหลักความเสมอภาค กล่าวคือ คู่กรณีฝ่ายรัฐสามารถมีอํานาจบังคับเหนือคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งที่เป็นเอกชนได้ หากเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สาธารณะ

4 เป็นกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางกฎหมายเป็นการทั่วไป โดยคู่กรณีจะเจรจาหรือตกลง กันเองว่าจะนํากฎหมายใดมาใช้หรือไม่ใช้กฎหมายใดมิได้ (หากมีการทําข้อตกลงยกเว้นย่อมถือได้ว่ามีลักษณะ เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนได้)

5 เป็นกฎหมายที่กําหนดให้ศาลพิเศษมีอํานาจในการพิจารณาพิพากษาคดี หากเกิด กรณีข้อพิพาทขึ้นศาลที่มีอํานาจในการพิจารณาพิพากษาคดี คือ ศาลพิเศษ เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง เป็นต้น (ทั้งนี้ย่อมเป็นไปตามลักษณะข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในแต่ละกรณี)

สําหรับความแตกต่างระหว่างหลักกฎหมายมหาชนกับหลักกฎหมายเอกชนนั้น สามารถแยกออกเป็นหัวข้อที่สําคัญ ๆ ได้ดังนี้

1 ความแตกต่างทางด้านองค์กรหรือบุคคลที่เข้าไปสร้างหรือทํานิติสัมพันธ์ (ทฤษฎีตัวการ)

กฎหมายมหาชน คู่กรณี คือ องค์กรหรือบุคคลที่เข้าไปสร้างหรือทํานิติสัมพันธ์ ได้แก่ รัฐ หรือหน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายหนึ่งกับเอกชนที่เป็นคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง

กฎหมายเอกชน คู่กรณี คือ องค์กรหรือบุคคลที่เข้าไปสร้างหรือทํานิติสัมพันธ์ ได้แก่ เอกชนที่เป็นคู่กรณีฝ่ายหนึ่งกับเอกชนที่เป็นคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง

2 ความแตกต่างทางด้านเนื้อหาและความมุ่งหมาย (ทฤษฎีผลประโยชน์)

กฎหมายมหาชน มีวัตถุประสงค์ในการดําเนินงานเพื่อประโยชน์สาธารณะและการให้บริการสาธารณะ โดยมิได้มีความมุ่งหมายถึงผลกําไรเป็นตัวเงินหรือทรัพย์สิน แต่มุ่งหวังถึงความพึงพอใจและการตอบสนองความต้องการของประชาชนส่วนรวมเป็นสําคัญ

กฎหมายเอกชน มีวัตถุประสงค์ในการดําเนินงานเพื่อประโยชน์ของเอกชนแต่ละบุคคล โดยมีความมุ่งหมายถึงผลกําไรเป็นตัวเงิน ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์ในลักษณะอื่นใดเพื่อประโยชน์ของปัจเจกบุคคล เป็นสําคัญ ทั้งนี้ มีข้อยกเว้นกรณีที่เป็นเอกชนบางประเภทที่อาจดําเนินงานเพื่อประโยชน์สาธารณะ ดังเช่น มูลนิธิหรือสมาคมการกุศล เป็นต้น

3 ความแตกต่างทางด้านรูปแบบของนิติสัมพันธ์ (ทฤษฎีความไม่เท่าเทียมกัน)

กฎหมายมหาชน มีลักษณะเป็นการใช้บังคับอํานาจที่มีอยู่เหนือนิติสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือกับปัจเจกบุคคล โดยวิธีการที่เป็น “การกระทําฝ่ายเดียว” และปรากฏออกมาในรูปแบบ “คําสั่ง” กล่าวคือ เป็นการกระทําที่ฝ่ายหนึ่ง (รัฐและผู้ปกครอง) สามารถกําหนดหน้าที่ทางกฎหมายให้กับอีกฝ่ายหนึ่ง (รัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือปัจเจกบุคคล) กระทําตาม โดยฝ่ายที่มีหน้าที่ต้องกระทําตามอาจไม่ได้ตกลงยินยอมด้วยก็ตาม กฎหมายเอกชน มีลักษณะที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักความเป็นอิสระในการแสดงเจตนา หลักความเสมอภาค และหลักเสรีภาพในการทําสัญญา โดยคู่กรณีต้องมีความสมัครใจ (เจตนาเสนอสนองตรงกัน สัญญาจึงจะเกิด) และคู่กรณีฝ่ายหนึ่งไม่มีอํานาจเหนือคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง โดยจะทําการบังคับอีกฝ่ายหนึ่งโดย ปราศจากความยินยอมมิได้

4 ความแตกต่างทางด้านนิติวิธี

กฎหมายมหาชน มีลักษณะเป็นการนํานิติวิธีทางกฎหมาย โดยการนําแนวความคิด วิเคราะห์การแก้ไขปัญหาทางกฎหมายมหาชน โดยการสร้างหลักกฎหมายมหาชนขึ้นมาใช้บังคับ (โดยปฏิเสธการนําแนวความคิดวิเคราะห์ตามหลักกฎหมายเอกชนมาใช้บังคับโดยตรง)

กฎหมายเอกชน มีลักษณะเป็นการนํานิติวิธีทางกฎหมาย โดยการนําความคิดวิเคราะห์ การแก้ไขปัญหาทางกฎหมายเอกชนที่มุ่งเน้นถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกบุคคลด้วยกันเอง และมุ่งเน้นถึงการรักษาผลประโยชน์ของเอกชนด้วยกัน

5 ความแตกต่างทางด้านนิติปรัชญา

กฎหมายมหาชน มีลักษณะเป็นการมุ่งเน้นถึงการประสานและสร้างความสมดุลระหว่างผลประโยชน์สาธารณะหรือผลประโยชน์ของส่วนรวมกับผลประโยชน์ของปัจเจกบุคคลหรือเอกชน ที่มุ่งถึงการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลตามที่กฎหมายให้อํานาจหรือกําหนดไว้

กฎหมายเอกชน มีลักษณะเป็นการมุ่งเน้นถึงความยุติธรรมที่เท่าเทียมกัน และตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความสมัครใจของคู่กรณี

6 ความแตกต่างทางด้านเขตอํานาจศาล

กฎหมายมหาชน หากเป็นข้อพิพาทระหว่างรัฐกับรัฐ หรือข้อพิพาทระหว่างรัฐกับ ปัจเจกบุคคลหรือเอกชนในทางกฎหมายมหาชนแล้ว คดีข้อพิพาทจะขึ้นสู่การพิจารณาของศาลเฉพาะหรือ ศาลพิเศษในทางมหาชน เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง เป็นต้น

กฎหมายเอกชน หากเป็นข้อพิพาทระหว่างปัจเจกบุคคล หรือเอกชนต่อปัจเจกบุคคล หรือเอกชนในทางกฎหมายเอกชนแล้ว คดีข้อพิพาทจะขึ้นสู่การพิจารณาของศาลยุติธรรม ดังเช่น ศาลแพ่ง ศาลอาญา ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง หรือศาลภาษี เป็นต้น

 

ข้อ 2 จงอธิบายว่ากฎหมายมหาชนและหลักกฎหมายมหาชนมีความสําคัญและเกี่ยวข้องกับตัวนักศึกษาอย่างไร พร้อมยกตัวอย่างประกอบ

ธงคําตอบ

“กฎหมายมหาชน” คือ กฎหมายที่บัญญัติให้อํานาจและหน้าที่แก่รัฐ แก่หน่วยงานทางปกครอง หรือหน่วยงานของรัฐและแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในทางปกครองและการบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชน ส่วนใหญ่ ในฐานะที่ฝ่ายปกครองมีอํานาจเหนือผู้ใต้ปกครอง

กฎหมายมหาชน ปัจจุบันได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายปกครอง ซึ่งกฎหมายปกครองนั้นอาจจะอยู่ในชื่อของ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกําหนด ประมวลกฎหมายหรืออาจจะอยู่ในชื่อของประกาศคณะปฏิวัติก็ได้

กฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์ในการวางระเบียบการปกครองของรัฐในทาง การเมืองโดยกําหนดโครงสร้างของรัฐ ระบอบการปกครอง การใช้อํานาจอธิปไตยและการดําเนินงานของสถาบันสูงสุด ของรัฐที่ใช้อํานาจอธิปไตย กล่าวคือ เป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงอํานาจในการปกครองประเทศ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 อํานาจ คือ

1 อํานาจนิติบัญญัติ เป็นอํานาจในการออกกฎหมายมาใช้บังคับกับประชาชนผู้เป็นเจ้าของ อํานาจอธิปไตย ซึ่งมีรัฐสภาเป็นผู้ใช้อํานาจนี้

2 อํานาจบริหาร เป็นอํานาจที่จะจัดให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย มีรัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี เป็นผู้ใช้อํานาจนี้

3 อํานาจตุลาการ เป็นอํานาจในการตัดสินและพิพากษาอรรถคดี ซึ่งองค์กรสําคัญที่ใช้ อํานาจนี้ คือ ศาล

กฎหมายปกครอง เป็นกฎหมายที่วางหลักเกี่ยวกับการจัดระเบียบการปกครองของรัฐในทาง ปกครองหรือที่เรียกว่า “การจัดระเบียบราชการบริหาร” รวมทั้งการวางระเบียบเกี่ยวกับกิจกรรมของฝ่ายปกครอง ที่เรียกว่า “บริการสาธารณะ” ซึ่งฝ่ายปกครองจัดทําเพื่อสนองความต้องการส่วนรวมของประชาชน

ราชการแผ่นดินของไทยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหาร ส่วนภูมิภาค และราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นผลมาจากกฎหมายปกครองดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น

นอกจากนี้ยังกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า กฎหมายปกครอง เป็นกฎหมายที่บัญญัติให้อํานาจหน้าที่ ในทางปกครองแก่หน่วยงานทางปกครอง และเจ้าหน้าที่ของรัฐในการออกคําสั่งทางปกครอง ให้อํานาจในการออกกฎให้อํานาจในการกระทําทางปกครองและสัญญาทางปกครอง

ซึ่งในการใช้อํานาจนิติบัญญัติ อํานาจบริหาร และอํานาจตุลาการตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการใช้อํานาจทางปกครองในการออกกฎ ออกคําสั่งทางปกครอง หรือการกระทําทางปกครองในรูปแบบอื่น และการทําสัญญาทางปกครองขององค์กรของรัฐหรือหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น ก็เพื่อการ บริหารราชการแผ่นดินและเพื่อการจัดทําบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนส่วนรวมของประเทศ ซึ่งรวมทั้ง เพื่อประโยชน์แก่ตัวข้าพเจ้าด้วย ดังนั้นในการใช้อํานาจต่าง ๆ หรือการกระทําต่าง ๆ ขององค์กรของรัฐหรือหน่วยงาน ทางปกครอง เพื่อประโยชน์แก่ตัวข้าพเจ้าด้วย ซึ่งมีการชนบัญญัติให้อํานาจและหน้าที่ไว้ด้วย เพราะถ้าไม่มีกฎหมายมหาชนบัญญัติให้อํานาจและหน้าที่ไว้ องค์กรของรัฐหรือหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐก็จะ ไม่สามารถที่จะดําเนินการใด ๆ ได้

และนอกจากนั้น ในการใช้อํานาจต่าง ๆ ขององค์กรของรัฐหรือหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ก็จะต้องได้ใช้อํานาจโดยถูกต้องตามหลักของกฎหมายมหาชนด้วย เช่น หลักความชอบด้วยกฎหมาย หลักความสุจริต หลักประโยชน์สาธารณะ หลักความยุติธรรม และหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เป็นต้น

หรือแม้แต่มหาวิทยาลัยรามคําแหงซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ และเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัย ซึ่งถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ จะใช้อํานาจทางปกครองเพื่อออกกฎ เช่น ระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัยหรือ ออกคําสั่งทางปกครอง หรือกระทําการทางปกครองในรูปแบบอื่น หรือการทําสัญญาทางปกครองในการบริหาร มหาวิทยาลัยเพื่อประโยชน์ของมหาวิทยาลัยและนักศึกษาทุกคนซึ่งรวมทั้งข้าพเจ้าด้วยนั้นก็จะต้องมีกฎหมายมหาชน

ซึ่งในที่นี้คือ พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยรามคําแหง ซึ่งเป็นกฎหมายปกครองได้บัญญัติให้อํานาจและหน้าที่ไว้ด้วย และจะต้องใช้อํานาจและหน้าที่นั้นโดยถูกต้องตามหลักการต่าง ๆ ของกฎหมายมหาชนดังกล่าวข้างต้นด้วย เพราะถ้า เจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยได้ใช้อํานาจหน้าที่เกินขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติไว้ หรือเป็นการใช้อํานาจโดยที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้อํานาจไว้ หรือได้ใช้อํานาจและหน้าที่ไม่ถูกต้องตามหลักของกฎหมายมหาชนแล้ว ย่อมอาจ ก่อให้เกิดข้อพิพาทซึ่งเรียกว่า ข้อพิพาททางปกครองขึ้นมาได้ และเมื่อเกิดข้อพิพาททางปกครองหรือคดีปกครอง ขึ้นมาแล้ว ก็สามารถนําข้อพิพาทนั้นไปฟ้องเป็นคดีต่อศาลปกครองได้

ดังนั้น จะเห็นได้ว่ากฎหมายมหาชนและหลักกฎหมายมหาชน มีความสําคัญและเกี่ยวข้องกับข้าพเจ้า ตามที่ได้อธิบายไว้ดังกล่าวข้างต้น

ข้อ 3 จงอธิบายจุดอ่อนและจุดแข็งของการควบคุมการใช้อํานาจรัฐในแบบวิธีการป้องกันและแบบแก้ไขมาโดยละเอียด

ธงคําตอบ

การควบคุมการใช้อํานาจรัฐ หมายถึง การควบคุมการใช้ดุลพินิจในการวินิจฉัยสั่งการ หรือ การกระทําทางปกครองของเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือฝ่ายปกครองนั่นเอง ซึ่งการควบคุมการใช้อํานาจรัฐนั้น แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่

1 การควบคุมการใช้อํานาจรัฐแบบป้องกัน หมายความว่า ก่อนที่เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือ ฝ่ายปกครองจะได้วินิจฉัยสั่งการ หรือมีการกระทําในทางปกครองที่จะไปกระทบต่อสถานภาพทางกฎหมายของบุคคลใด ควรมีระบบป้องกันหรือควบคุมการวินิจฉัยสั่งการหรือการกระทํานั้นเสียก่อน กล่าวคือมีกฎหมายกําหนด กระบวนการหรือขั้นตอนต่าง ๆ ก่อนที่จะมีคําสั่งนั้นออกไป

ซึ่งการควบคุมการใช้อํานาจรัฐแบบป้องกันดังกล่าวนี้ เป็นไปตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 นั่นเอง เช่น

(1) เปิดโอกาสให้คู่กรณีได้โต้แย้งคัดค้าน คือ การให้โอกาสผู้ที่อาจได้รับความเสียหาย จากการกระทําของฝ่ายปกครอง สามารถแสดงข้อโต้แย้งของตนได้

(2) มีการปรึกษาหารือ คือการให้ผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ

(3) หลักการไม่มีส่วนได้เสีย กล่าวคือ ผู้มีอํานาจสั่งการทางปกครองจะต้องไม่มีส่วนได้เสียในเรื่องที่จะสั่งการนั้น

(4) มีการไต่สวนทั่วไป ซึ่งเป็นวิธีการที่กําหนดให้ฝ่ายปกครองต้องสอบสวนหา ข้อเท็จจริง โดยทําการรวบรวมความคิดเห็นของบุคคลผู้มีส่วนได้เสีย แล้วทําเป็นรายงานก่อนที่ฝ่ายปกครองจะได้ตัดสินใจกระทําการที่จะมีผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย

(5) เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองจะต้องแจ้งสิทธิและหน้าที่ในกระบวนการพิจารณาทางปกครองให้คู่กรณีทราบตามความจําเป็นแก่กรณี

(6) ถ้าเป็นคําสั่งทางปกครองที่อาจอุทธรณ์หรือโต้แย้งต่อไปได้ จะต้องระบุกรณีที่อาจอุทธรณ์หรือโต้แย้ง การยื่นคําอุทธรณ์หรือคําโต้แย้ง และระยะเวลาสําหรับการอุทธรณ์หรือการโต้แย้งดังกล่าวไว้ด้วย

จุดอ่อน ของการควบคุมการใช้อํานาจรัฐแบบป้องกัน คือการขาดสภาพบังคับ และการถือปฏิบัติของเจ้าหน้าที่รัฐ จึงทําให้วิธีการดังกล่าวไม่ค่อยจะได้ผล แต่จุดแข็ง คือ ถือเป็นการควบคุม การใช้อํานาจรัฐก่อนที่จะมีการทํานิติกรรม หรือคําสั่งทางปกครอง อีกทั้งเป็นวิธีการที่ช่วยเสริมการควบคุม โดยทางศาล เพราะฝ่ายปกครองจะต้องระมัดระวังในขั้นตอนการพิจารณาออกคําสั่ง ทําให้การกระทําของฝ่ายปกครองมีความโปร่งใสและเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น รวมทั้งยังลดคดีที่จะมีไปสู่ศาลอีกทางหนึ่งด้วย

2 การควบคุมการใช้อํานาจรัฐแบบแก้ไข หมายความว่า เมื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐได้สั่งการใด หรือวินิจฉัยเรื่องใดไปแล้ว หากกระทบต่อสถานภาพทางกฎหมายของบุคคลใดในทางที่มิชอบด้วยกฎหมายจึง กําหนดให้มีระบบการควบคุมการใช้อํานาจรัฐแบบแก้ไขโดยองค์กรที่เกี่ยวข้อง คือ ระบบการควบคุมการใช้อํานาจรัฐ โดยองค์กรภายในของฝ่ายบริหาร และระบบการควบคุมการใช้อํานาจรัฐโดยองค์กรภายนอกของฝ่ายบริหาร

(1) ระบบการควบคุมการใช้อํานาจรัฐโดยองค์กรภายในของฝ่ายบริหาร เป็นระบบการควบคุมการใช้อํานาจรัฐโดยขึ้นอยู่กับการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของรัฐ โดยอาจกระทําได้โดยการบังคับบัญชา และการกํากับดูแล ได้แก่

ก) ระบบการควบคุมการใช้อํานาจรัฐ ด้วยการควบคุมบังคับบัญชาและการกํากับดูแล

– การควบคุมบังคับบัญชา โดยผู้บังคับบัญชาทําการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายและความเหมาะสมในการกระทําของผู้ใต้บังคับบัญชา โดยอาจตรวจสอบเองหรือมีบุคคลมาร้องเรียน

– การกํากับดูแล โดยหน่วยงานของรัฐจะดําเนินการตรวจสอบ ความชอบด้วยกฎหมายของการกระทําของหน่วยงานตามสายการบังคับบัญชา

ข) ระบบการควบคุมการใช้อํานาจรัฐ ด้วยการร้องทุกข์และการอุทธรณ์ภายใน หน่วยงาน โดยสามารถร้องทุกข์หรืออุทธรณ์คําสั่งไปยังผู้ออกคําสั่งนั้น

(2) ระบบการควบคุมการใช้อํานาจรัฐโดยองค์กรภายนอกของฝ่ายบริหาร ได้แก่

ก) การควบคุมโดยองค์กรทางการเมือง เช่น รัฐสภา เป็นต้น

ข) การควบคุมโดยองค์กรพิเศษ คือ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญฯ เช่น คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการ ตรวจเงินแผ่นดิน เป็นต้น

(3) ระบบการควบคุมการใช้อํานาจรัฐโดยองค์กรศาล ได้แก่

ก) การควบคุมการใช้อํานาจรัฐโดยศาลยุติธรรม

ข) การควบคุมการใช้อํานาจรัฐโดยศาลปกครอง

ค) การควบคุมการใช้อํานาจรัฐโดยศาลรัฐธรรมนูญ

วิธีการควบคุมการใช้อํานาจรัฐที่ดีที่สุด คือ การควบคุมแบบแก้ไข (ภายหลัง) ที่เรียกว่า ใช้ระบบ ตุลาการ (ศาลคู่) นั่นคือ ศาลปกครอง เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะมีระบบการพิจารณาที่ใช้ศาล และมีกฎหมายรองรับ ทําให้การพิจารณาพิพากษาเกิดผลในทางปฏิบัติอย่างยิ่ง อาทิเช่น กฎหมายจัดตั้งและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 กฎหมายว่าด้วยความรับผิดในทางละเมิดของ เจ้าหน้าที่รัฐ พ.ศ. 2539

ส่วนการควบคุมการใช้อํานาจรัฐโดยองค์กรภายในของฝ่ายบริหารหรือโดยองค์กรทางการเมืองถือเป็นจุดอ่อนของการควบคุมการใช้อํานาจรัฐในรูปแบบนี้ เพราะไม่ค่อยเกิดผลในทางปฏิบัติมากนัก

LAW1101 (LAW1001) หลักกฎหมายมหาชน 1/2561

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW1101 (LAW 1001) หลักกฎหมายมหาชน

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 กฎหมายมหาชนคืออะไร ความยุติธรรมคืออะไร กฎหมายมีความสัมพันธ์กับความยุติธรรม

อย่างไรบ้าง จงอธิบายโดยละเอียด

ธงคําตอบ

กฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายที่กําหนดถึงกฎเกณฑ์ทางกฎหมายทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับ “สถานะและอํานาจรัฐและผู้ปกครอง รวมทั้งเป็นกฎเกณฑ์ทางกฎหมายที่กําหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและผู้ปกครองกับพลเมืองผู้อยู่ใต้การปกครอง ในฐานะที่รัฐและผู้ปกครองมีเอกสิทธิทางปกครองเหนือพลเมืองซึ่งอยู่ในฐานะเป็นเอกชน”

สาขาของกฎหมายมหาชน ได้แก่ รัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง และกฎหมายการคลัง

ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและผู้ปกครองกับพลเมืองตามกฎหมายมหาชนนั้น เป็นความสัมพันธ์ในลักษณะที่รัฐและผู้ปกครองมีเอกสิทธิ์ทางปกครองเหนือพลเมือง ซึ่งจะแตกต่างกับกฎหมายเอกชนที่ตั้งอยู่บน พื้นฐานแห่งความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันของคู่กรณี และตั้งอยู่บนหลักความศักดิ์สิทธิ์แห่งการแสดงเจตนาและเสรีภาพในการทําสัญญา

รัฐธรรมนูญ คือ กฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ เป็นกติกาการปกครองของรัฐ และเป็นกลไกการใช้อํานาจขององค์กรต่าง ๆ ทั้งองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติ องค์กรฝ่ายบริหาร องค์กรฝ่ายตุลาการ และ องค์กรของรัฐที่เป็นองค์กรอิสระ

กติกาหรือกฎเกณฑ์ที่เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศมีทั้งดีและไม่ดี มีทั้งที่เป็นรัฐธรรมนูญเผด็จการ และรัฐธรรมนูญประชาธิปไตย ซึ่งหากกติกาหรือกฎเกณฑ์ที่ใช้ในการปกครองประเทศเป็นกติกาที่ไม่ดีคือเป็นกฎเกณฑ์ที่กําหนดขึ้นตามอําเภอใจของผู้มีอํานาจจัดให้มีรัฐธรรมนูญ ก็ควรจะต้องมีการแก้ไขกติกาหรือกฎเกณฑ์แห่งกฎหมายนั้น

ความสัมพันธ์ของกฎหมายมหาชนกับหลักความยุติธรรม

ความยุติธรรมคืออะไร เป็นสิ่งที่นักกฎหมายต้องพิจารณาและให้ความสําคัญอย่างมาก เพราะกฎหมายนั้นตราออกมาใช้บังคับเพื่อความเป็นธรรมในสังคม ความยุติธรรมนี้จะเอาอะไรมาเป็นปทัสถาน ของความยุติธรรมว่าพอดี หรือเพียงพอแล้ว เพราะเวลาพูดถึงความยุติธรรมถ้าใช้สามัญสํานึกของตัวเองเป็นหลัก บางเรื่องก็อาจจะเห็นว่าไม่เป็นธรรม แต่ถ้าเอาสังคมส่วนรวมเป็นที่ตั้งก็อาจเป็นธรรม เช่น กรณีออกกฎหมาย เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ หากใช้บังคับแก่คนทั่วไปโดยไม่เลือกใช้เฉพาะกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งแล้ว เช่นนี้ก็ย่อมถือว่ากฎหมายนั้นมีความยุติธรรมแล้ว

โดยทั่วไป ความยุติธรรมเป็นสิ่งบางอย่างที่ “รู้สึก” ได้ หรือรับรู้ได้โดย “สัญชาตญาณ” แต่ก็ ยากที่จะอธิบาย หรือให้นิยามความหมายของสิ่งที่รู้สึกได้ดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม

ความหมายของคําว่า “ความยุติธรรม” มีความหลากหลาย รายละเอียดต่าง ๆ อาจศึกษา หาอ่านได้โดยตรงในวิชานิติปรัชญา ในที่นี้จะยกคําจํากัดความของนักกฎหมายหรือนักปราชญ์เพียงบางท่าน เช่น

เดวิด ฮูม (David Hume) อธิบายไว้ว่า ความยุติธรรมเป็นคุณธรรมอย่างหนึ่งที่มิได้ปรากฏขึ้นเองโดยธรรมชาติ แต่เป็นคุณธรรมที่เกิดจากการคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ (Artificial Virtue)

เพลโต (Plato : 427 – 347 B.C.) ปรัชญาเมธีชาวกรีกในงานเขียนเรื่อง “อุดมรัฐ” (The Republic) ได้ให้คํานิยามความยุติธรรมว่า หมายถึง การทํากรรมดี (Doing welt is Justice) หรือการทําในสิ่งที่ ถูกต้อง (Right Conduct)

อริสโตเติล (Aristotle) มองว่าความยุติธรรม คือ คุณธรรมทางสังคม (Social Virtue) ประการหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และคุณธรรมเรื่องความยุติธรรมนี้จะใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อเมื่อมนุษย์ได้ปลดปล่อยตัวเขาเองจากแรงผลักดันของความเห็นแก่ตัวอย่างยิ่ง อริสโตเติล แบ่งความยุติธรรมออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 ความยุติธรรมโดยธรรมชาติ (Natural Justice) หมายถึง หลักความยุติธรรม ซึ่งมีลักษณะ เป็นสากล ไม่เปลี่ยนแปลง ใช้ได้ต่อมนุษย์ทุกคน ไม่มีขอบเขตจํากัด และอาจค้นพบได้โดย “เหตุผลบริสุทธิ์” ของมนุษย์

2 ความยุติธรรมตามแบบแผน (Conventional Justice) หมายถึง ความยุติธรรมซึ่ง เป็นไปตามตัวบทกฎหมายของบ้านเมือง หรือธรรมนิยมปฏิบัติของแต่ละสังคมหรือชุมชน ความยุติธรรมลักษณะนี้อาจเข้าใจแตกต่างกันตามสถานที่และอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลาหรือตามความเหมาะสม

กฎหมายกับความยุติธรรมนั้นย่อมมีความสัมพันธ์กัน ดังพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จ

พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ในพิธีพระราชทานประกาศนียบัตรแก่ผู้สอบไล่ได้วิชาความรู้ชั้นเนติบัณฑิต สมัยที่ 33 ปีการศึกษา 2523 ณ อาคารใหม่สวนอัมพร 24 ตุลาคม 2524 ตอนหนึ่งว่า “ตัวกฎหมายก็ไม่ใช่ความยุติธรรม เป็นแต่เพียงเครื่องมือที่ใช้ในการประสิทธิ์ประสาทความยุติธรรมเท่านั้น ดังนั้นนักกฎหมายในการใช้กฎหมายจึงต้องมุ่งหมายใช้เพื่อรักษาและอํานวยความยุติธรรม และการรักษาความยุติธรรมในแผ่นดินก็มิได้มีวงแคบอยู่เพียงแค่ขอบเขตของกฎหมาย หากต้องขยายออกไปให้ถึงศีลธรรมจรรยา ตลอดจนเหตุและผลตามเป็นจริงด้วย”

และนอกจากนั้น ลอร์ดเดนนิ่ง (Lord Denning) และจอห์น รอลส์ (John Rawls) ได้อธิบาย ความหมายของความยุติธรรมว่า คือ สิ่งที่ผู้มีเหตุมีผลและมีความรับผิดชอบต่อสังคมถือว่าเป็นสิ่งที่ชอบธรรม และบุคคลที่มีเหตุผลนั้นต้อง “เป็นคนกลาง” ไม่มีส่วนได้เสียในเรื่องที่วินิจฉัย โดยความเห็นของ Lord Brown- Wilkinson ในคดีปิโนเชต์ได้นําคําพิพากษาของลอร์ดเฮวาร์ดมาอ้างด้วยว่า “เป็นความสําคัญขั้นพื้นฐานที่ว่าไม่เพียงแต่จะทําให้เกิดความยุติธรรมเท่านั้น แต่ต้องทําให้คนเห็นปรากฏชัดเจนและปราศจากข้อสงสัยใด ๆ ว่า มีความยุติธรรมเกิดขึ้นจริง…” ในคําพิพากษานั้น

 

ข้อ 2 จงอธิบายอย่างละเอียดว่ากฎหมายมหาชนและหลักกฎหมายมหาชนมีความเกี่ยวข้องและสําคัญแก่ตัวนักศึกษาอย่างไร

ธงคําตอบ

“กฎหมายมหาชน” คือ กฎหมายที่บัญญัติให้อํานาจและหน้าที่แก่รัฐ แก่หน่วยงานทางปกครอง หรือหน่วยงานของรัฐและแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในทางปกครองและการบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชน ส่วนใหญ่ ในฐานะที่ฝ่ายปกครองมีอํานาจเหนือผู้ใต้ปกครอง

กฎหมายมหาชน ปัจจุบันได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายปกครอง ซึ่งกฎหมาย ปกครองนั้นอาจจะอยู่ในชื่อของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกําหนด ประมวล กฎหมาย หรืออาจจะอยู่ในชื่อของประกาศคณะปฏิวัติก็ได้

กฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์ในการวางระเบียบการปกครองของรัฐ ในทางการเมืองโดยกําหนดโครงสร้างของรัฐระบอบการปกครอง การใช้อํานาจอธิปไตย และการดําเนินงานของ สถาบันสูงสุดของรัฐที่ใช้อํานาจอธิปไตย กล่าวคือ เป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงอํานาจในการปกครองประเทศ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 อํานาจ คือ

1 อํานาจนิติบัญญัติ เป็นอํานาจในการออกกฎหมายมาใช้บังคับกับประชาชนผู้เป็นเจ้าของ อํานาจอธิปไตย ซึ่งมีรัฐสภาเป็นผู้ใช้อํานาจนี้

2 อํานาจบริหาร เป็นอํานาจที่จะจัดให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย มีรัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี เป็นผู้ใช้อํานาจนี้

3 อํานาจตุลาการ เป็นอํานาจในการตัดสินและพิพากษาอรรถคดี ซึ่งองค์กรสําคัญที่ใช้ อํานาจนี้ คือ ศาล

กฎหมายปกครอง เป็นกฎหมายที่วางหลักเกี่ยวกับการจัดระเบียบการปกครองของรัฐในทางปกครองหรือที่เรียกว่า “การจัดระเบียบราชการบริหาร” รวมทั้งการวางระเบียบเกี่ยวกับกิจกรรมของฝ่ายปกครอง ที่เรียกว่า “บริการสาธารณะ” ซึ่งฝ่ายปกครองจัดทําเพื่อสนองความต้องการส่วนรวมของประชาชน

ราชการแผ่นดินของไทยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหาร ส่วนภูมิภาค และราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นผลมาจากกฎหมายปกครองดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น

นอกจากนี้ยังกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า กฎหมายปกครอง เป็นกฎหมายที่บัญญัติให้อํานาจหน้าที่ ในทางปกครองแก่หน่วยงานทางปกครอง และเจ้าหน้าที่ของรัฐในการออกคําสั่งทางปกครอง ให้อํานาจในการออกกฎ ให้อํานาจในการกระทําทางปกครองและสัญญาทางปกครอง

ซึ่งในการใช้อํานาจนิติบัญญัติ อํานาจบริหาร และอํานาจตุลาการตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการใช้อํานาจทางปกครองในการออกกฎ ออกคําสั่งทางปกครอง หรือการกระทําทางปกครองในรูปแบบอื่น และการทําสัญญาทางปกครองขององค์กรของรัฐหรือหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น ก็เพื่อการ บริหารราชการแผ่นดินและเพื่อการจัดทําบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนส่วนรวมของประเทศ ซึ่งรวมทั้งเพื่อประโยชน์แก่ตัวข้าพเจ้าด้วย ดังนั้นในการใช้อํานาจต่าง ๆ หรือการกระทําต่าง ๆ ขององค์กรของรัฐ หรือหน่วยงานทางปกครอง และเจ้าหน้าที่ของรัฐ จึงต้องมีกฎหมายมหาชนบัญญัติให้อํานาจและหน้าที่ไว้ด้วย เพราะถ้าไม่มีกฎหมายมหาชนบัญญัติให้อํานาจและหน้าที่ไว้ องค์กรของรัฐหรือหน่วยงานทางปกครองและ เจ้าหน้าที่ของรัฐก็จะไม่สามารถที่จะดําเนินการใด ๆ ได้ และนอกจากนั้น ในการใช้อํานาจต่าง ๆ ขององค์กรของรัฐหรือหน่วยงานทางปกครองและ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ก็จะต้องได้ใช้อํานาจโดยถูกต้องตามหลักของกฎหมายมหาชนด้วย ซึ่งได้แก่

1 หลักความชอบด้วยกฎหมาย หมายถึง การใช้อํานาจหน้าที่ขององค์กรของรัฐ ไม่ว่า จะเป็นองค์กรของรัฐฝ่ายนิติบัญญัติ องค์กรของรัฐฝ่ายบริหาร และองค์กรของรัฐฝ่ายตุลาการ จะต้องเป็นการใช้ อํานาจหน้าที่ตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้เท่านั้น จะใช้อํานาจหน้าที่นอกเหนือจากที่กฎหมายบัญญัติไว้มิได้

2 หลักประโยชน์สาธารณะ หมายถึง การใช้อํานาจหน้าที่ขององค์กรของรัฐฝ่ายต่าง ๆ จะต้องเป็นการใช้อํานาจหน้าที่เพื่อสนองตอบต่อความต้องการของคนส่วนใหญ่ในสังคม ไม่ใช่เป็นการสนองตอบ ต่อความต้องการของคนบางกลุ่มบางพวกหรือเพื่อใครคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะ

3 หลักความยุติธรรม หมายถึง การใช้อํานาจหน้าที่ขององค์กรของรัฐฝ่ายต่าง ๆ จะต้อง เป็นการใช้อํานาจหน้าที่กับบุคคลทุกคนในสังคมอย่างเสมอภาคกัน และจะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความยุติธรรม

และนอกจากนั้นยังมีหลักกฎหมายมหาชนหรือหลักกฎหมายปกครองที่มีความสําคัญต่อการบริหารราชการแผ่นดินอีกหลายประการ เช่น หลักความซื่อสัตย์สุจริต หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เป็นต้น หรือแม้แต่มหาวิทยาลัยรามคําแหงซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ และเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัย ซึ่งถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ จะใช้อํานาจทางปกครองเพื่อออกกฎ เช่น ระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัยหรือ ออกคําสั่งทางปกครอง หรือกระทําการทางปกครองในรูปแบบอื่น หรือการทําสัญญาทางปกครองในการบริหาร มหาวิทยาลัยเพื่อประโยชน์ของมหาวิทยาลัยและนักศึกษาทุกคนซึ่งรวมทั้งข้าพเจ้าด้วยนั้นก็จะต้องมีกฎหมายมหาชน

ซึ่งในที่นี้คือ พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยรามคําแหง ซึ่งเป็นกฎหมายปกครองได้บัญญัติให้อํานาจและหน้าที่ไว้ด้วย และจะต้องใช้อํานาจและหน้าที่นั้นโดยถูกต้องตามหลักการต่าง ๆ ของกฎหมายมหาชนดังกล่าวข้างต้นด้วย เพราะถ้า เจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยได้ใช้อํานาจหน้าที่เกินขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติไว้ หรือเป็นการใช้อํานาจโดยที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้อํานาจไว้ หรือได้ใช้อํานาจและหน้าที่ไม่ถูกต้องตามหลักของกฎหมายมหาชนแล้ว ย่อมอาจก่อให้เกิดข้อพิพาทซึ่งเรียกว่า ข้อพิพาททางปกครองขึ้นมาได้ และเมื่อเกิดข้อพิพาททางปกครองหรือคดีปกครอง ขึ้นมาแล้ว ก็สามารถนําข้อพิพาทนั้นไปฟ้องเป็นคดีต่อศาลปกครองได้

ดังนั้น จะเห็นได้ว่ากฎหมายมหาชนและหลักกฎหมายมหาชนมีความเกี่ยวข้องและสําคัญแก่ ตัวข้าพเจ้า ตามที่ได้อธิบายไว้ดังกล่าวข้างต้น

 

ข้อ 3 ทําไมจึงต้องควบคุมการใช้อํานาจรัฐ ในทางทฤษฎี การควบคุมการใช้อํานาจรัฐที่ดีมีองค์ประกอบ อะไรบ้าง และเกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติใดบ้าง ให้นักศึกษาระบุมาสัก 4 – 5 พระราชบัญญัติ พร้อมทั้งอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ

ธงคําตอบ

กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่ไม่เสมอภาค กล่าวคือ รัฐมีเอกสิทธิ์ทางปกครองอยู่เหนือเอกชนนั้น เป็นการแสดงให้เห็นถึงลักษณะเฉพาะของกฎหมายมหาชนที่มีความเหนือกว่าในอํานาจรัฐ ซึ่งได้มา จากประชาชนในการที่รัฐย่อมมีอํานาจในการแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกนิติกรรมหรือสัญญาทางปกครองที่ รัฐเห็นว่าเป็นนิติกรรมหรือสัญญาทางปกครองที่ไม่เกิดประโยชน์ในการจัดทําบริการสาธารณะ หรือไม่เกิดผลดี แก่สาธารณชนได้ แต่การใช้อํานาจรัฐดังกล่าวต้องเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบด้วยกฎหมายด้วย

และเนื่องจากกฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่ให้อํานาจรัฐ หน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ มีอยู่เหนือประชาชน ดังนั้นหากไม่มีการควบคุม เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐอาจใช้ดุลพินิจที่ไม่ชอบ ด้วยกฎหมายได้ ซึ่งการใช้ดุลพินิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายคือการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐ องค์กรของรัฐ หน่วยงานของรัฐ กระทําการหรืองดเว้นกระทําการใช้อํานาจที่มีอยู่ตามกฎหมาย หรือใช้อํานาจนอกวัตถุประสงค์ของกฎหมาย อันก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชน การควบคุมการใช้อํานาจรัฐที่ดี มีองค์ประกอบดังนี้ คือ

1 ระบบขององค์กรและกระบวนการตรวจสอบการกระทําของรัฐและเจ้าหน้าที่นั้น ควรมี ระบบที่ครอบคลุมกิจการของรัฐทุกด้าน เพื่อให้การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นไปโดยทั่วถึงอย่างแท้จริง

2 ระบบควบคุมการใช้อํานาจรัฐนั้น ต้องเหมาะสมกับสภาพกิจกรรมของรัฐที่ถูกควบคุม และต้องมั่นใจว่าระบบควบคุมการใช้อํานาจรัฐนั้นต้องสร้างสมดุลภาพของความจําเป็นในการใช้อํานาจรัฐ เพื่อประโยชน์ส่วนรวมกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนแต่ละคนให้ได้

3 องค์กรที่มีหน้าที่ตรวจสอบควบคุมนั้น ต้องมีลักษณะเป็นอิสระที่จะตรวจสอบควบคุม กิจกรรมที่รัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทําได้ โดยองค์กรควบคุมนั้นเองจะต้องถูกตรวจสอบได้ด้วย

4 จะต้องมีการปรับปรุงกลไกทั้งหลายที่ประชาชนจะสามารถใช้สิทธินําเรื่องมาสู่องค์กร ทั้งหลายได้โดยกว้างขวางขึ้น อันจะทําให้ระบบการควบคุมมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

สําหรับพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการใช้อํานาจรัฐนั้น มีหลายฉบับ เช่น

1 พระราชบัญญัติความรับผิดในทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ พ.ศ. 2539 โดย พ.ร.บ. ฉบับนี้จะใช้บังคับแก่การกระทําละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐต่อบุคคลภายนอกหรือต่อหน่วยงาน ของรัฐ โดยจะกําหนดให้เจ้าหน้าที่รัฐผู้กระทําละเมิดจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้น ไม่ว่าการกระทําละเมิดนั้นจะเกิดขึ้นเนื่องจากการกระทําโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อก็ตาม

2 พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 เป็น พ.ร.บ.ที่มีวัตถุประสงค์ ในการวางมาตรฐานการปฏิบัติงานราชการแผ่นดินของหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง กับการออกกฎหรือคําสั่งทางปกครอง ให้มีหลักเกณฑ์และขั้นตอนที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และเป็นธรรมแก่ ประชาชน เช่น การวางกรอบวิธีปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ของรัฐในการออกกฎหรือคําสั่งทางปกครอง รูปแบบและผล ของคําสั่ง การอุทธรณ์คําสั่ง การเพิกถอนคําสั่ง วิธีการแจ้งคําสั่ง ระยะเวลาและอายุความ เป็นต้น

3 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 เป็น พ.ร.บ.ที่ใช้ควบคุมการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐให้เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งถ้าหากเจ้าหน้าที่รัฐ ใช้อํานาจทางปกครองหรือใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ หรือคําสั่ง หรือการกระทําใด ๆ เอกชนผู้ได้รับความเสียหายก็สามารถฟ้องร้องเป็นคดีต่อศาลปกครองได้โดยอาศัยกลไกของกฎหมายฉบับนี้

พระราชบัญญัติทั้ง 3 ฉบับ จะมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันและมีความสําคัญในเรื่องการ ควบคุมการใช้อํานาจรัฐเป็นอย่างมาก ตัวอย่างเช่น พระราชบัญญัติความรับผิดในทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐฯ เป็นกฎหมายที่ใช้ควบคุมการใช้อํานาจรัฐ โดยควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐมิให้เจ้าหน้าที่รัฐกระทําการใด ๆ ไม่ว่าจะโดยจงใจหรือโดยประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลภายนอกหรือต่อหน่วยงานของรัฐ และพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ เป็นกฎหมายที่ใช้ควบคุมการใช้อํานาจทางปกครอง ของเจ้าหน้าที่รัฐ โดยเฉพาะการใช้อํานาจทางปกครองในการออกคําสั่งทางปกครองว่าจะต้องเป็นไปตามขั้นตอนและหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกําหนดไว้เท่านั้น

ในกรณีที่เจ้าหน้าที่รัฐกระทําการใด ๆ เนื่องจากการใช้อํานาจรัฐและก่อให้เกิดความเสียหายขึ้น แก่บุคคลภายนอก หรือเจ้าหน้าที่รัฐได้ใช้อํานาจทางปกครองออกกฎหรือคําสั่ง และเป็นกฎหรือคําสั่งที่ไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย ดังนี้บุคคลที่ได้รับความเสียหายหรือได้รับความเดือดร้อนจากการใช้อํานาจหรือจากการกระทําของ เจ้าหน้าที่รัฐดังกล่าว ย่อมสามารถฟ้องเป็นคดีต่อศาลปกครองเพื่อเรียกค่าเสียหายหรือให้ศาลปกครองสั่งให้เพิกถอน กฎหรือคําสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นได้ โดยอาศัยสิทธิตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองฯ นั่นเอง

LAW2108 (2008) กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยเช่าทรัพย์ 1/2564

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2564

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2108 (LAW 2008) ป.พ.พ.ว่าด้วยเช่าทรัพย์ เช่าซื้อ ฯลฯ

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1 แดงได้ทําสัญญาเช่าเป็นหนังสือและจดทะเบียนให้ขาวเช่าอาคารพาณิชย์ของแดงมีกําหนดเวลา 6 ปี มีข้อตกลงว่าขาวเช่าอาคารพาณิชย์เพื่อทําเป็นร้านเสริมสวยและตัดผมเท่านั้น ขาวเช่าอาคารได้เพียง 1 ปี แดงขายอาคารนี้ให้แก่ดํา การซื้อขายทําโดยชอบด้วยกฎหมาย หลังจากนั้นอีก 6 เดือน ขาวได้ใช้อาคารนี้เปลี่ยนมาใช้ทําเป็นภัตตาคาร ดําทราบ ดังนั้นจึงบอกเลิกสัญญาเช่าทันทีและให้ขาวขนของออกจากอาคารที่เช่าให้เสร็จใน 1 เดือน ขาวไม่ปฏิบัติตาม ดําจึงฟ้องเรียกอาคารคืน การกระทําของดําชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จงวินิจฉัย

หากข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงไปว่าขาวทําร้านเสริมสวยและตัดผมมาจนครบ 6 ปี และสัญญาเช่า แดงได้ให้คํามั่นจะให้เช่าไว้ว่าจะให้ขาวเช่าต่อไปอีก 3 ปี เมื่อขาวเช่าครบ 6 ปี ขาวขอเช่า แต่ดํา ปฏิเสธได้หรือไม่ เพียงใด จงวินิจฉัย

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 538 “เช่าอสังหาริมทรัพย์นั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อ ฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสําคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ ถ้าเช่ามีกําหนดกว่าสามปีขึ้นไป หรือกําหนด ตลอดอายุของผู้เช่าหรือผู้ให้เช่าไซร้ หากมิได้ทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ท่านว่าการเช่านั้น จะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้แต่เพียงสามปี”

มาตรา 552 “อันผู้เช่าจะใช้ทรัพย์สินที่เช่าเพื่อการอย่างอื่นนอกจากที่ใช้กันตามประเพณีนิยม ปกติ หรือการดังกําหนดไว้ในสัญญานั้น ท่านว่าหาอาจจะทําได้ไม่

มาตรา 554 “ถ้าผู้เช่ากระทําการฝ่าฝืนบทบัญญัติในมาตรา 552 มาตรา 553 หรือฝ่าฝืนข้อสัญญา ผู้ให้เช่าจะบอกกล่าวให้ผู้เช่าปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทกฎหมายหรือข้อสัญญานั้น ๆ ก็ได้ ถ้าและผู้เช่าละเลยเสีย ไม่ปฏิบัติตาม ท่านว่าผู้ให้เช่าจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้”

มาตรา 569 “อันสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์นั้นย่อมไม่ระงับไป เพราะเหตุโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินซึ่งให้เช่า

ผู้รับโอนย่อมรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนซึ่งมีต่อผู้เช่านั้นด้วย”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่แดงทําสัญญาเป็นหนังสือและจดทะเบียนให้ขาวเช่าอาคารพาณิชย์ของแดง มีกําหนดเวลา 6 ปี โดยมีข้อตกลงว่า ขาวเช่าอาคารพาณิชย์เพื่อทําเป็นร้านเสริมสวยและตัดผมเท่านั้น สัญญาเช่าระหว่างแดงและขาวย่อมมีผลสมบูรณ์และสามารถใช้ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ตามมาตรา 538

การที่ขาวได้เช่าอาคารดังกล่าวได้เพียง 1 ปี แดงได้ขายอาคารนี้ให้แก่ดํา และการซื้อขายนั้น ทําโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้รับโอนย่อมต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของแดงผู้โอนซึ่งมีต่อขาวผู้เข่าด้วยตาม มาตรา 569 กล่าวคือ ดําจะต้องให้ขาวเช่าอาคารดังกล่าวต่อไปจนครบ 6 ปี

การที่ขาวผู้เช่าได้ใช้อาคารที่เช่าเปลี่ยนมาใช้ทําเป็นภัตตาคาร ย่อมถือว่าขาวได้นําทรัพย์สินที่เช่า ไปใช้เพื่อการอย่างอื่นนอกจากที่กําหนดไว้ในสัญญา ดังนี้ ดําย่อมสามารถบอกเลิกสัญญาเช่าได้ตามมาตรา 554 ประกอบมาตรา 552 แต่ดําจะต้องบอกกล่าวให้ขาวผู้เช่าปฏิบัติให้ถูกต้องตามข้อสัญญาก่อน และถ้าผู้เช่า ละเลยเสียไม่ปฏิบัติตาม ดําผู้ให้เช่าก็สามารถบอกเลิกสัญญาเช่านั้นได้ แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า เมื่อทราบ ดําได้บอกเลิกสัญญาเช่าทันที และให้ขาวขนของออกจากอาคารที่เช่าให้เสร็จใน 1 เดือน โดยไม่มีการบอกกล่าว ให้ขาวผู้เช่าปฏิบัติให้ถูกต้องตามข้อสัญญาก่อน และเมื่อขาวไม่ปฏิบัติตาม ดําจึงฟ้องเรียกอาคารคืนนั้น การกระทําของดําจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าหากขาวทําร้านเสริมสวยและตัดผมมาจนครบกําหนด 6 ปี และตามสัญญา เช่านั้น แดงได้ให้คํามั่นจะให้เช่าไว้ว่าจะให้ขาวเช่าต่อไปอีก 3 ปีนั้น เป็นเพียงสิทธิและหน้าที่ตามคํามั่นจะให้เช่า เท่านั้น ไม่ใช่สิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่า จึงไม่ผูกพันดําผู้โอน ดังนั้น เมื่อขาวผู้เช่าได้เช่าอาคารมาจนครบ 6 ปีแล้ว สัญญาเช่าระหว่างแดงและขาวย่อมระงับลง และเมื่อขาวขอเช่าต่อ แต่ดําปฏิเสธ การปฏิบัติของดํา จึงชอบด้วยกฎหมาย

สรุป การที่ดําบอกเลิกสัญญาเช่าทันทีไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนกรณีที่ขาวขอเข่าต่อ ดําสามารถปฏิเสธได้

ข้อ 2 ทิชาทําสัญญาเช่าบ้านหลังหนึ่งที่กําลังจะเริ่มก่อสร้างจากคิวเพื่ออยู่อาศัยมีกําหนด 10 ปี โดยทิชา ตกลงให้เงินช่วยค่าก่อสร้างแก่คิวเป็นเงิน 500,000 บาทในวันทําสัญญา และกําหนดค่าเช่างวดละ 5,000 บาท ชําระทุกวันที่ 20 ของเดือน สัญญาเช่าทําเป็นหนังสือลงลายมือชื่อคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย แต่ไม่ได้นําไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หลังจากทิชาเข้าอยู่อาศัยในบ้านได้ 4 ปี คิวได้ โอนขายบ้านนั้นให้พาย โดยพายรับทราบถึงสัญญาเช่าระหว่างคิวและทิชา พายจึงแจ้งให้ทิชา ออกจากบ้านไปทันทีที่รับโอนบ้านจากคิว ทิชาปฏิเสธโดยอ้างว่าพายต้องรับโอนซึ่งสิทธิหน้าที่ของคิว ในฐานะผู้ให้เช่าบ้านไปด้วยเนื่องจากสัญญาเช่ายังไม่ครบกําหนด ดังนี้ ข้ออ้างของทิชาฟังขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 538 “เช่าอสังหาริมทรัพย์นั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อ ฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสําคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ ถ้าเช่ามีกําหนดกว่าสามปีขึ้นไป หรือกําหนด ตลอดอายุของผู้เช่าหรือผู้ให้เช่าไซร้ หากมิได้ทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ท่านว่าการเช่านั้น จะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้แต่เพียงสามปี”

วินิจฉัย

ตามบทบัญญัติมาตรา 538 ได้กําหนดไว้ว่า สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์จะสามารถฟ้องร้องบังคับคดี กันได้ก็ต่อเมื่อได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสําคัญ และถ้าเป็นการเช่า ที่มีกําหนดเวลาเกิน 3 ปีขึ้นไป หรือกําหนดตลอดอายุของผู้เช่าหรือผู้ให้เช่า ถ้ามิได้ทําเป็นหนังสือและจดทะเบียน ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีกันได้เพียง 3 ปีเท่านั้น

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ทิชาได้ทําสัญญาเช่าบ้านหลังหนึ่งที่กําลังก่อสร้างจากคิวเพื่ออยู่อาศัย มีกําหนด 10 ปี โดยทิชาตกลงให้เงินช่วยค่าก่อสร้างแก่คิวเป็นเงิน 500,000 บาทในวันทําสัญญานั้น ทําให้ สัญญาเช่าฉบับดังกล่าวเป็นสัญญาเช่าต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าการเช่าธรรมดา ซึ่งสัญญาเช่าต่างตอบแทนฯนั้น จะผูกพันผู้รับโอนก็ต่อเมื่อสัญญาเช่าซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์นั้นได้ทําถูกต้องตามมาตรา 538 กล่าวคือ ถ้าเป็นสัญญาเช่าที่มีระยะเวลา 10 ปี จะต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย เมื่อปรากฏว่า สัญญาเช่าบ้านระหว่างทิชาและคิวได้ทําเป็นหนังสือ แต่ไม่ได้นําไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สัญญาเช่าดังกล่าวจึงไม่ผูกพันพายผู้รับโอนแม้พายจะได้ทราบถึงสัญญาเช่าระหว่างทิชาและคิวอยู่แล้วก็ตาม ดังนั้นเมื่อพายได้แจ้งให้ทิชาออกจากบ้านไปทันทีที่รับโอนบ้านจากคิวหลังจากที่ทิชาได้เข้าอยู่อาศัยในบ้านได้ 4 ปีแล้ว การที่ทิชาปฏิเสธโดยอ้างว่าพายต้องรับโอนซึ่งสิทธิและหน้าที่ของคิวในฐานะผู้ให้เช่าบ้านไปด้วย เนื่องจากสัญญาเช่ายังไม่ครบกําหนดนั้น ข้ออ้างของทิชาย่อมฟังไม่ขึ้น

สรุป ข้ออ้างของทิชาฟังไม่ขึ้น

ข้อ 3 นายเอกว่าจ้างนายโทมาจากประเทศอิตาลี โดยออกค่าเดินทางจากประเทศอิตาลีมายังกรุงเทพฯ เพื่อให้มาเป็นหัวหน้าพ่อครัวในร้านอาหารอิตาเลี่ยนของตน ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2563 ถึง วันที่ 1 มกราคม 2564 ตกลงจ่ายค่าจ้างเป็นรายเดือนก่อนวันที่ 25 ของเดือน เมื่อครบกําหนด วันที่ 1 มกราคม 2564 แล้ว นายเอกมิได้เลิกจ้างนายโท ยังคงให้นายโททํางานต่อไป ทั้งยังยอม จ่ายค่าจ้างให้นายโทด้วย แต่เนื่องจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ยังคงแพร่ระบาด อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้กิจการของนายเอกไม่อาจดําเนินการได้ด้วยดีนัก เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2564 นายเอกจึงบอกเลิกการจ้างด้วยวาจาไปยังนายโท อยากทราบว่า การบอกกล่าวเลิกสัญญาของนายเอกเป็นผลให้สัญญาเลิกกันเมื่อใด และนายเอกจะต้องจ่ายค่าตั๋วเครื่องบินเพื่อเดินทางไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาตามคําเรียกร้องของนายโทหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 581 “ถ้าระยะเวลาที่ได้ตกลงว่าจ้างกันนั้นสุดสิ้นลงแล้ว ลูกจ้างยังคงทํางานอยู่ต่อไปอีก และนายจ้างรู้ดังนั้นก็ไม่ทักท้วงไซร้ ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าคู่สัญญาเป็นอันได้ทําสัญญาจ้างกันใหม่ โดยความอย่างเดียวกันกับสัญญาเดิม แต่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจจะเลิกสัญญาเสียได้ด้วยการบอกกล่าวตามความ ในมาตราต่อไปนี้”

มาตรา 582 “ถ้าคู่สัญญาไม่ได้กําหนดลงไว้ในสัญญาว่าจะจ้างกันนานเท่าไร ท่านว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง จะเลิกสัญญาด้วยการบอกกล่าวล่วงหน้า ในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกําหนดจ่ายสินจ้างคราวใดคราวหนึ่งเพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกําหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปข้างหน้าก็อาจทําได้ แต่ไม่จําต้องบอกกล่าวล่วงหน้ากว่าสามเดือน

อนึ่ง ในเมื่อบอกกล่าวดังว่านี้ นายจ้างจะจ่ายสินจ้างแต่ลูกจ้างเสียให้ครบจํานวนที่จะต้องจ่ายจนถึงเวลาเลิกสัญญาตามกําหนดที่บอกกล่าวนั้นทีเดียวแล้วปล่อยลูกจ้างจากงานเสียในทันทีก็อาจทําได้”

มาตรา 586 “ถ้าลูกจ้างเป็นผู้ซึ่งนายจ้างได้จ้างเอามาแต่ต่างถิ่นโดยนายจ้างออกเงินค่าเดินทางให้ไซร้ เมื่อการจ้างแรงงานสุดสิ้นลง และถ้ามิได้กําหนดกันไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญาแล้ว ท่านว่านายจ้างจําต้อง ใช้เงินค่าเดินทางขากลับให้ แต่จะต้องเป็นดังต่อไปนี้ คือ

(1) สัญญามิได้เลิกหรือระงับเพราะการกระทําหรือความผิดของลูกจ้าง และ

(2) ลูกจ้างกลับไปยังถิ่นที่ได้จ้างเอามาภายในเวลาอันสมควร”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเอกได้ว่าจ้างนายโทมาจากประเทศอิตาลี โดยออกค่าเดินทางจาก ประเทศอิตาลีมายังกรุงเทพฯ เพื่อให้มาเป็นหัวหน้าพ่อครัวในร้านอาหารอิตาเลี่ยนของตน ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2563 ถึงวันที่ 1 มกราคม 2564 โดยตกลงจ่ายค่าจ้างเป็นรายเดือนก่อนวันที่ 25 ของเดือน เมื่อครบกําหนดวันที่ 1 มกราคม 2564 แล้ว นายเอกมิได้เลิกจ้างนายโท ยังคงให้นายโททํางานต่อไป ทั้งยังยอมจ่ายค่าจ้างให้นายโท ด้วยนั้น กรณีนี้ย่อมถือว่านายเอกและนายโทได้ทําสัญญาจ้างกันใหม่โดยความอย่างเดียวกันกับสัญญาเดิมตาม มาตรา 581 และเป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกําหนดระยะเวลาการจ้าง ดังนั้น ถ้าต่อมานายเอกต้องการบอกเลิกสัญญา จึงต้องปฏิบัติตามมาตรา 582 สัญญาจ้างจึงจะสิ้นสุดลง

การที่นายเอกบอกเลิกสัญญาจ้างนายโทในวันที่ 30 สิงหาคม 2554 นั้น การบอกเลิกสัญญาจ้าง ของนายเอกย่อมเป็นผลให้สัญญาจ้างเลิกกันเมื่อถึงกําหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไป คือวันที่ 24 ตุลาคม 2564

และเมื่อสัญญาจ้างได้สิ้นสุดลง โดยหลักนายจ้างมีหน้าที่ต้องออกเงินค่าเดินทางขากลับให้แก่ลูกจ้างที่มาจากต่างถิ่น ตามมาตรา 586 แต่จํากัดเพียงเฉพาะสัญญามิได้เลิกหรือระงับเพราะการกระทําหรือความผิดของลูกจ้าง และลูกจ้างกลับไปยังถิ่นที่ได้จ้างเอามา แต่เมื่อข้อเท็จจริงนายเอกจ้างนายโทมาจากประเทศอิตาลีโดยออกค่าเดินทาง จากประเทศอิตาลีมายังกรุงเทพฯ ดังนั้น การที่นายโทเรียกเงินค่าตั๋วเดินทางกลับไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา จึงมิใช่การเรียกร้องค่าเดินทางกลับไปยังถิ่นที่นายเอกจ้างมา นายเอกจึงไม่ต้องจ่ายค่าตั๋วเครื่องบินเพื่อเดินทาง ไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาตามคําเรียกร้องของนายโท

สรุป การบอกกล่าวเลิกสัญญาของนายเอกเป็นผลให้สัญญาเลิกกันในวันที่ 24 ตุลาคม 2564 และนายเอกไม่ต้องจ่ายค่าตั๋วเครื่องบินเพื่อเดินทางไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาตามคําเรียกร้องของนายโท

WordPress Ads
error: Content is protected !!