การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2556
ข้อสอบกระบวนวิขา MCS 2106 (MCS 2160) ภาษาเพื่อการสื่อสารมวลชน
คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)
1. กระบวนการเข้ารหัสสารจะต้องอาศัยสิ่งใด
(1) ผู้รับสาร
(2) สาร
(3) ช่องทางการลื่อสาร
(4) สนามแห่งประสบการณ์
ตอบ 3 หน้า 4, (คำบรรยาย) กระบวนการเข้ารหัสสาร (Encoding) หมายถึง การที่แหล่งสารแปลความคิดของตนให้อยู่ในรูปที่อีกฝ่ายหนึ่งสามารถรับได้ โดยอาศัยประสาทสัมผัส (Senses) เป็นช่องทางการสื่อสารเพื่อนำสารมาสู่ผู้รับสาร เช่น การที่ผู้พูดเข้ารหัสเป็นคำพูดในการ สื่อสารแบบเผชิญหน้า ฯลฯ นอกจากนี้เครื่องยนต์กลไกก็สามารถเป็นผู้เข้ารหัสได้ เช่น เครื่องส่งวิทยุโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง ฯลฯ
2. บริบททางจิตวิทยาสังคม เกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง
(1) อาคาร สถานที่ สภาพแวดล้อม
(2) ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติส่วนบุคคล
(3) สถานภาพ ตำแหน่งหน้าที่
(4) กระแสแฟชั่น วิถีการดำเนินชีวิตของแต่ละคน
ตอบ 3 หน้า 10, (คำบรรยาย) บริบทของการสื่อสารในมิติทางจิตวิทยาสังคม (The Social-psychological Context) หมายถึง ความสัมพันธ์ทางสถานภาพหรือฐานะชนชั้นของผู้ร่วมสื่อสาร บทบาท ตำแหน่งหน้าที่ ความรับผิดชอบ กฎกติกา ระเบียบวินัย และเกมที่ทั้ง 2 ฝ่ายเล่น เช่น การที่นักการเมืองอภิปรายในสภา ซึ่งบางครั้งก็เป็นไปตามสถานภาพของแต่ละฝ่ายและ เกมทางการเมือง เป็นต้น
3. “การจัดแสดงแสง สี เสียง” เป็นการใช้บริบทการลื่อสารมิติใด
(1) กายภาพ (2) จิตวิทยาสังคม (3) วัฒนธรรม (4) เวลา
ตอบ 1 หน้า 10, (คำบรรยาย) บริบทของการสื่อสารในมิติทางกายภาพ (The Physical Context) เป็นสภาวะแวดล้อมที่มองเห็นได้ในขณะที่การสื่อสารเกิดขึ้น ซึ่งจะมีอิทธิพลบางอย่างต่อเนื้อหา และรูปแบบของเรื่องที่สื่อสาร เช่น สภาพแวดล้อมในห้องเรียน หอประชุมการจัดแสดงแสง สี เสียง ในงานมอเตอร์โชว์, การจัดวางสินค้าหน้าร้านให้สวยงามชวนซื้อ เป็นต้น
4. การปราศรัยของแกนนำ กปปส. เป็นการสื่อสารประเทใด
(1) การสื่อสารระหว่างบุคล (2) การสื่อสารสาธารณะ
(3) การสื่อสารองค์การ (4) การสื่อสารมวลชน
ตอบ 2 หน้า 12, (คำบรรยาย) การสื่อสารสาธารณะ (Public Communication) หมายถึง การสื่อสารไปยังกลุ่มผู้รับฟังจำนวนมากเพื่อให้ข่าวสาร โน้มน้าวใจ และให้ความบันเทิง โดยผู้ส่งสารและผู้รับสารสามารถเห็บหน้าซึ่งกันและกันได้ แต่ไม่สามารถแสดงปฏิกิริยา โต้ตอบกันได้โดยตรงในทันทีทันใด เช่น การพูดในที่ประชุมขนาดใหญ่, การจัดแสดงคอนเสิร์ต การปราศรัยหาเสียงทางการเมือง, การจัดอภิปรายหรือสัมมนา ฯลฯ
5. ป้ายโฆษณาหน้าลิฟต์รณรงค์ให้นักศึกษาแต่งกายให้ถูกระเบียบ เป็นการสื่อสารประเภทใด
(1) การสื่อสารระหว่างบุคล (2) การสื่อสารสาธารณะ
(3) การสื่อสารองค์การ (4) การสื่อสารมวลชน
ตอบ 3 หน้า 12, (คำบรรยาย) การสื่อสารองค์การ (Organization Communication) หมายถึง การสื่อสารกันภายในกลุ่มที่เป็นทางการเพื่อเพิ่มผลผลิต ส่งเสริมจริยธรรม ให้ข้อมูลข่าวสาร และโน้มน้าวใจ ฯลฯ หรือเป็นการสื่อสารระหว่างผู้ที่เป็นสมาชิกขององค์การหรือหน่วยงานต่าง ๆ เช่น การประชุมปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่, การอบรมข้าราชการใหม่, การออกหนังสือพิมพ์ ติดป้ายโฆษณาประชาสัมพันธ์ ติดป้ายประกาศ หรือเสียงตามสายภายในมหาวิทยาลัย ฯลฯ
6. การที่มองว่าภาษีมีส่วนสร้างความหมาย เป็นการมองภาษาตามแนวคิดใด
(1) โครงสร้างนิยม (2)วัฒนธรรมนิยม (3) สังคมนิยม (4)บริโภคนิยม
ตอบ 2 (คำบรรยาย) แนวคิดในเชิงวัฒนธรรมนิยม (Culturalism) มองว่า ภาษาไม่ใช่สิ่งที่หยุดนิ่ง ตายตัว แต่มีความสัมพันธ์กับบริบททางสังคมและวัฒนธรรม ดั้งนั้นภาษาจึงไม่ได้เป็นเพียง การกำหนดคุณค่าหรือความหมายของสิ่งต่าง ๆ หรือความจริงที่อยู่รอบตัวเท่านั้น แต่ภาษา เป็นสิ่งที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของมนุษย์เพื่อก่อให้เกิดความคิดและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ รวมถึงภาษามีส่วนสร้างความหมาย สร้างความเข้าใจต่อสิ่งต่าง ๆ และสร้างสรรค์ความจริง ทางสังคม (Social Reality) หรือโลกทางสังคม (Social World)
7. แนวคิดใดที่มองว่าเราสามารถเข้าใจสังคมจากการถอดรหัสโครงสร้างของภาษา
(1) โครงสร้างนิยม (2)วัฒนธรรมนิยม (3) สังคมนิยม (4) บริโภคนิยม
ตอบ 1 (คำบรรยาย) แนวคิดในเชิงโครงสร้างนิยม (Structuralism) มองว่า ภาษาเป็นเครื่องมือที่ ใช้แทนความหมาย และเป็นกรอบความคิดของมนุษย์ โดยเป็นสิ่งที่วิวัฒนาการสืบต่อกันมา มีโครงสร้างที่แน่นอน และมีระบบไวยากรณ์เป็นตัวกำหนดหลักเกณฑ์หรือควบคุมการใช้ภาษา ดังนั้นผลผลิตทางด้านภาษาจึงเป็นเสมือนบันทึกทางสังคมที่สามารถนำมาวิเคราะห์และ ถอดรหัสโครงสร้างของภาษา เพื่อทำความเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงทางสังคม เช่น การวิเคราะห์วรรณกรรมต่าง ๆ หรือแม้แต่ภาษาร่วมสมัยที่ปรากฏในสื่อมวลชน จะทำให้ สามารถทำความเข้าใจความคิดของคนในสังคมนั้น ๆ ได้ว่าให้ความสำคัญเรื่องอะไรบ้าง
8. แนวคิดใดที่มองภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้แทนความหมาย
(1) โครงสร้างนิยม (2) วัฒนธรรมนิยม (3) สังคมนิยม (4) บริโภคนิยม
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 7. ประกอบ
9. Connotation เป็นความหมายลักษณะใด
(1) ความหมายที่เชื่อมโยงกับสัตภาพ (2) ความหมายของสิ่งที่มีตัวตนอ้างถึงได้
(3) ความหมายที่ใช้กันโดยทั่วไป (4) ความหมายรอง
ตอบ 4 หน้า 13, (คำบรรยาย) ภาษาประกอบด้วยความหมายใน 2 ลักษณะ คือ
1. ความหมายโดยตรง (Denotation) หมายถึง ความหมายจากสัญลักษณ์ที่เด่นชัด ความหมายที่เชื่อมโยงกับสัตภาพอันเป็นสิ่งที่มีตัวตนอ้างถึงได้ หรือความที่เจ้าของภาษา รู้และใช้กันโดยทั่วไป ดังนั้นจึงเป็นความหมายของคำตามที่ปรากฏในพจนานุกรม
2. ความหมายโดยนัย (Connotation) หมายถึง การให้ความหมายเพิ่มเติมหรือความหมายรอง นอกเหนือจากความหมายโดยตรง ซึ่งจะมีความเกี่ยวข้องกับวัตถุน้อยกว่าความหมายโดยตรง
10. “การวิเคราะห์วรรณกรรมต่าง ๆ หรือแม้แต่ภาษาร่วมสมัยที่ปรากฏในสื่อมวลชน จะทำให้สามารถทำความ เข้าใจความคิดของคนในสังคมนั้น ๆ ได้ว่าให้ความสำคัญกับเรื่องอะไรบ้าง” เป็นทัศนะของนักทฤษฎีแนวใด
(1) โครงสร้างนิยม (2) วัฒนธรรมนิยม (3) สังคมนิยม (4) ประจักษ์นิยม
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 7. ประกอบ