การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 2160 (MCS 2106) ภาษาเพื่อการสื่อสารมวลชน
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1.ภาษาคืออะไร
(1) เป็นช่องทางการสื่อสาร
(2) เป็นบริบทของการสื่อสาร
(3) เป็นการเข้ารหัสสาร
(4) เป็นสิ่งที่ใช้แทนความหมาย
ตอบ 4 หน้า 1 ภาษา ประกอบด้วย สัญญาณ (Signs) สัญลักษณ์ (Symbols) และกฎหรือปทัสถาน ทางสังคมที่เป็นเครื่องกําหนดแบบแผนวิธีการใช้สัญญาณหรือสัญลักษณ์ในภาษาเพื่อใช้ในการ สื่อความหมาย ดังนั้นภาษาจึงเป็นสิ่งที่ใช้แทนความหมาย (Meaning) และเป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้ ในการสื่อสารระหว่างกัน

Advertisement

2. อะไรคือสิ่งสําคัญที่สุดในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อความหมาย
(1) เครื่องมือการสื่อสาร
(2) เทคโนโลยีการสื่อสาร
(3) ช่องทางการสื่อสาร
(4) การเข้ารหัสและการถอดรหัส
ตอบ 1 หน้า 1, 4 สิ่งสําคัญที่สุดในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อความหมาย คือ การเข้าใจถึงความสําคัญ ของภาษาในฐานะที่เป็นเครื่องมือการสื่อสาร ซึ่งหากมองภาษาในแง่นี้แล้วจะเห็นได้ว่า ภาษา ทําหน้าที่เป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้แทนความหมาย

3. การใช้ภาษาของผู้ส่งสารแต่ละคนขึ้นอยู่กับอะไร
(1) เทคโนโลยีการสื่อสาร
(2) สนามแห่งประสบการณ์ของผู้รับสาร
(3) อุปสรรคของการสื่อสาร
(4) สนามแห่งประสบการณ์ของผู้ส่งสาร
ตอบ 4 หน้า 6) (คําบรรยาย) การใช้ภาษาของผู้ส่งสารจะขึ้นอยู่กับขอบเขตหรือสนามแห่งประสบการณ์ (Fields of Experience) ของผู้ส่งสารแต่ละคน โดยผู้ส่งสารจะเข้ารหัสความหมายและเลือกใช้ สัญญาณหรือสัญลักษณ์ที่อยู่ภายในสนามแห่งประสบการณ์ของตน ส่วนผู้รับสารจะถอดรหัส ความหมายออกมาอย่างไรนั้นก็ขึ้นอยู่กับสนามแห่งประสบการณ์ของผู้รับสารเช่นกัน

4.ที่กล่าวว่า “มนุษย์เป็นสัตว์สังคม” หมายความว่าอย่างไร
(1) ธรรมชาติของมนุษย์ คือ การต่อสู้ชิงดีชิงเด่นกัน
(2) ธรรมชาติของมนุษย์ คือ การแข่งขัน
(3) ธรรมชาติของมนุษย์ คือ การทําลายล้างกัน
(4) ธรรมชาติของมนุษย์ คือ การอยู่ร่วมกัน
ตอบ 4 หน้า 1 คํากล่าวที่ว่า “มนุษย์เป็นสัตว์สังคม” เพราะธรรมชาติของมนุษย์ คือ การอยู่ร่วมกัน และพึ่งพาอาศัยกัน ซึ่งการที่มนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นสังคมต้องอาศัยการปฏิสัมพันธ์หรือการกระทํา ระหว่างกัน (Interaction) เพื่อแลกเปลี่ยนสิ่งของจําเป็นในการดํารงชีวิต แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ตลอดจนการสร้างความเข้าใจและความไว้วางใจซึ่งกันและกัน

5.แนวคิดเชิงโครงสร้างนิยม มองภาษาอย่างไร
(1) ภาษามีโครงสร้างที่ผู้ใช้จําเป็นต้องเข้าใจและนําไปใช้ตามกฎเกณฑ์ของภาษาเพื่อให้การสื่อสาร สัมฤทธิผล
(2) ภาษาไม่ใช่สิ่งหยุดนิ่งตายตัว แต่มีความสัมพันธ์กับบริบททางสังคมและวัฒนธรรม
(3) ภาษาให้ความสําคัญแก่มนุษย์ในฐานะปัจเจกชน และในฐานะของผู้ที่มีเจตจํานงในการเป็นผู้กระทํา
(4) ภาษาเกิดขึ้นพร้อมกับการให้คุณค่าและความหมายของสิ่งต่าง ๆ ในสังคมที่สังคมนั้น ๆ มองว่า
แตกต่างจากสิ่งอื่น
ตอบ 1 หน้า 2 นักวิชาการแนวโครงสร้างนิยม เช่น โซซูร์ (Saussure) และเลวี สโตรสส์ (Levi Strauss) มองว่า ภาษาเป็นกรอบใหญ่ที่เข้ามากําหนดวิธีคิดของสมาชิกในสังคม โดยภาษาในความหมาย ที่แคบ คือ ภาษาพูดและภาษาเขียน และในความหมายที่กว้างออกไป คือ ระบบสัญลักษณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาษาท่าทาง ดนตรี เครื่องแต่งกาย ฯลฯ ซึ่งภาษาดังกล่าวล้วนมีโครงสร้างที่ผู้ใช้ จําเป็นต้องเข้าใจและนําไปใช้ตามกฎเกณฑ์ของภาษาเพื่อให้การสื่อสารสัมฤทธิผล

6. “ภาษาเป็นกรอบใหญ่ที่เข้ามากําหนดวิธีคิดของสมาชิกในสังคม ภาษาในความหมายที่แคบ คือ ภาษาพูด และภาษาเขียน และในความหมายที่กว้างออกไป คือ ระบบสัญลักษณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาษาท่าทาง ดนตรี เครื่องแต่งกาย” เป็นการมองภาษาตามแนวคิดใด
(1) วัตถุนิยม
(2) โครงสร้างนิยม
(3) บริโภคนิยม
(4) วัฒนธรรมนิยม
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ

7. การตีความสัญญาณ/สัญลักษณ์ หรือทําความเข้าใจความหมายในสังคมต้องอาศัยสิ่งใด
(1) ไวยากรณ์
(2) เทคโนโลยีการสื่อสาร
(3) การอ่านและฟังอย่างถูกวิธี
(4) ปทัสถานทางสังคมและวัฒนธรรม
ตอบ 4หน้า 4 การทําความเข้าใจความหมายในสังคม หรือการตีความสัญญาณ/สัญลักษณ์บางอย่าง ต้องอาศัยปทัสถานทางสังคมและวัฒนธรรม ดังนั้นนอกจากภาษาจะมีบทบาทในฐานะเป็น เครื่องมือที่ใช้แทนความหมายแล้ว บางครั้งภาษายังมีส่วนสร้างความหมายหรือความเป็นจริง ทางสังคม (Social Reality) ด้วย

8. หากมองภาษาในฐานะเครื่องมือการสื่อสาร ภาษาทําหน้าที่อะไร
(1) เป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้แทนความหมาย
(2) เป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้สร้างความหมาย
(3) เป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้สร้างโลกความจริง
(4) เป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้สร้างวาทกรรม
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

9. ความเป็นจริงทางสังคม (Social Reality) หมายถึงอะไร
(1) ความจริงที่แท้จริง
(2) ความจริงทางกายภาพ
(3) ความเป็นจริงเกี่ยวกับสังคม
(4) ความจริงที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมเชิงสัญลักษณ์
ตอบ 4หน้า 33 โลกทางสังคม (Social World) หรือความเป็นจริงทางสังคม (Social Reality) เป็นโลกที่เกิดจากการกล่อมเกลาหรือขัดเกลาของสถาบันทางสังคม เช่น ครอบครัว โรงเรียน ที่ทํางาน ศาสนา สื่อมวลชน ฯลฯ ดังนั้นโลกทางสังคมหรือความเป็นจริงทางสังคมของมนุษย์ แต่ละคนจึงเกิดขึ้นจากสิ่งแวดล้อมเชิงสัญลักษณ์ที่แวดล้อมบุคคลเหล่านั้น หรือเป็นโลกที่เกิดจากการรับรู้ ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน เช่น คํากล่าวที่ว่า “คนซื่อ คือ คนโง่” ไม่ใช่ความจริง ที่เป็นกฎธรรมชาติ แต่เป็นความจริงที่เกิดจากการประกอบสร้างของสังคม

10. “สภาวะแวดล้อมที่มองเห็นได้ในขณะที่การสื่อสารเกิดขึ้น” เป็นบริบทการสื่อสารมิติใด
(1) กายภาพ
(2) วัฒนธรรม
(3) เวลา
(4) จิตวิทยาสังคม
ตอบ 1 หน้า 10, (คําบรรยาย, บริบทของการสื่อสารในมิติทางกายภาพ (The Physical Context) เป็นสภาวะแวดล้อมที่มองเห็นได้ในขณะที่การสื่อสารเกิดขึ้น ซึ่งจะมีอิทธิพลบางอย่างต่อเนื้อหา และรูปแบบของเรื่องที่สื่อสาร เช่น สภาพแวดล้อมในห้องเรียน หอประชุม, การจัดแสดงแสง สี เสียง ในงานมอเตอร์โชว์, การจัดวางสินค้าหน้าร้านให้สวยงามชวนซื้อ เป็นต้น

11. “ปทัสถานทางสังคมของทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร” เป็นบริบทของการสื่อสารในมิติใด
(1) กายภาพ
(2) วัฒนธรรม
(3) เวลา
(4) จิตวิทยาสังคม
ตอบ 2 หน้า 10. (คําบรรยาย) บริบทของการสื่อสารในมิติทางวัฒนธรรม (The Cultural Context) หมายถึง กฎหรือปทัสถานทางสังคมของทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร อันประกอบด้วย ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ อุดมการณ์ อัตลักษณ์ และแบบแผนวิถีการดําเนินชีวิตที่ถูกส่งผ่านจากคนรุ่นหนึ่ง มาสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง เช่น ในบางวัฒนธรรมอาจมองว่าเป็นการสุภาพที่จะต้องพูดกับคนแปลกหน้าแต่อีกวัฒนธรรมหนึ่งอาจเห็นว่าการพูดกับคนแปลกหน้าเป็นสิ่งที่พึงหลีกเลี่ยง ฯลฯ

12. “ความสัมพันธ์ทางสถานภาพหรือฐานะชนชั้นของผู้ร่วมสื่อสาร” เป็นบริบทของการสื่อสารในมิติใด
(1) กายภาพ
(2) วัฒนธรรม
(3) เวลา
(4) จิตวิทยาสังคม
ตอบ 4 หน้า 10, (คําบรรยาย) บริบทของการสื่อสารในมิติทางจิตวิทยาสังคม (The Social- psychological Concext) หมายถึง ความสัมพันธ์ทางสถานภาพหรือฐานะชนชั้นของผู้ร่วม สื่อสาร บทบาท ตําแหน่งหน้าที่ ความรับผิดชอบ กฎกติกา ระเบียบวินัย และเกมที่ทั้ง 2 ฝ่ายเล่น เช่น การที่นักการเมืองอภิปรายในสภา ซึ่งบางครั้งก็เป็นไปตามสถานภาพของแต่ละฝ่ายและ เกมทางการเมือง เป็นต้น

13. “การที่แหล่งสารแปรความคิดของตนให้อยู่ในรูปที่อีกฝ่ายหนึ่งสามารถรับได้โดยอาศัยประสาทสัมผัส
(Senses)” เป็นความหมายของอะไร
(1) สนามแห่งประสบการณ์
(3) การถอดรหัส
(2) การเข้ารหัส
(4) ภาษา
ตอบ 2 หน้า 7 กระบวนการเข้ารหัส (Encoding) หมายถึง การที่แหล่งสารแปรความคิดของตน ให้อยู่ในรูปที่อีกฝ่ายหนึ่งสามารถรับได้โดยอาศัยประสาทสัมผัส (Senses) เช่น เมื่อแหล่งสาร ต้องการจะพูดอะไรบางอย่าง สมองของเขาจะทํางานร่วมกับอวัยวะในการเปล่งเสียง เพื่อคิด คําพูดและเปล่งเสียงออกมาเป็นคําพูด ประโยค และบทสนทนา เป็นต้น

14. เครื่องรับวิทยุและโทรทัศน์ ทําหน้าที่ใดในกระบวนการสื่อสาร
(1) ผู้เข้ารหัส
(2) ผู้ถอดรหัส
(3) ช่องทางการสื่อสาร
(4) สาร
ตอบ 2 หน้า 7 – 8 (คําบรรยาย) การถอดรหัส (Decoding) หมายถึง การแปลหรือตีความสาร ให้เป็นความหมายสําหรับผู้รับสาร หรือการที่ผู้รับสารทําความเข้าใจความหมายของภาษา เช่น การที่นักศึกษาฟังและคิดตามเพื่อพยายามทําความเข้าใจสิ่งที่อาจารย์กําลังบรรยาย ฯลฯ นอกจากนี้เครื่องยนต์กลไกก็สามารถเป็นผู้ถอดรหัสได้ เช่น เครื่องรับวิทยุและโทรทัศน์ ฯลฯ

15. ข้อใดเป็นตัวอย่างของการที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารถูกแยกกันด้วยเวลาและสถานที่
(1) การถ่ายทอดสดการแข่งขันวอลเลย์บอล
(2) การจัดรายการเพลงทางวิทยุ
(3) การแสดงแสง สี เสียง
(4) ละครโทรทัศน์
ตอบ 4 หน้า 8, (คําบรรยาย) ในการสื่อสารแบบเผชิญหน้าผู้ส่งสารและผู้รับสารจะอยู่ในสถานที่ (Space) และเวลา (T me) เดียวกัน แต่บางสถานการณ์ผู้ส่งสารและผู้รับสารอาจถูกแยกกัน ด้วยเวลาและสถานที่ เช่น การรับชมละครโทรทัศน์ ซึ่งผู้ชมจะรับชมอยู่ที่บ้านตามตารางเวลา ออกอากาศ เป็นต้น

16. การประชุมโต๊ะกลม ใช้ภาษาระดับลีลาใด
(1) ทางการ
(2) ปรึกษาหารือ
(3) ลําลอง
(4) คุ้นเคย
ตอบ 2 หน้า 15, (คําบรรยาย) ลีลาปรึกษาหารือ (Consultative Style) เป็นลีลาของวัจนภาษาใน ระดับกึ่งทางการ (ไม่ถึงกับเป็นทางการ) มักใช้กับการสื่อสารในองค์กร เช่น การปรึกษาหารือ ระหว่างผู้บริหารกับพนักงาน การพูดคุยในการประชุมโต๊ะกลม การสื่อสารกลุ่มเล็ก ฯลฯ รวมทั้งอาจใช้ในรายการวิเคราะห์ข่าวทางวิทยุกระจายเสียง

17. ภาษาที่ใช้ในการร่างกฎหมาย เป็นภาษาระดับลีลาใด
(1) เยือกเย็น
(2) ทางการ
(3) ปรึกษาหารือ
(4) ลําลอง
ตอบ 1 หน้า 15, (คําบรรยาย) ลีลาเยือกเย็น (Frozen Style) เป็นลีลาของวัจนภาษาที่มีแบบแผน ตายตัว มีลักษณะเป็นทางการมากที่สุด โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อแสดงภูมิปัญญา และแสดงถึง ความศักดิ์สิทธิ์ ความขลัง เช่น ภาษาที่ใช้เขียนในร่างกฎหมายต่าง ๆ หรือการกล่าวคําปฏิญาณ ของตัวแทนบัณฑิตในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ซึ่งจะมีแบบฟอร์มการพูดที่ตายตัว เป็นต้น

18. Cultivation Theory พัฒนาจากงานวิจัยของใคร
(1) ลาสเวลล์
(2) จอร์จ เกิร์บเนอร์
(3) ธีโอดอร์ อดอร์โน
(4) ซูซาน ลางเกอร์
ตอบ 2 หน้า 32, (คําบรรยาย) ทฤษฎีการอบรมบ่มเพาะ (Cultivation Theory) เป็นทฤษฎีที่พัฒนา มาจากงานวิจัยของจอร์จ เกิร์บเนอร์ (George Gerbner) ซึ่งได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการทําหน้าที่ อบรมบ่มเพาะ (Cultivation) ของโทรทัศน์ในสังคมอเมริกัน โดยใช้เวลาในการวิจัยนานถึง 10 ปี และได้ข้อสรุปเบื้องต้นประการหนึ่ง คือ เนื้อหาข่าวสารของสื่อมวลชนโทรทัศน์ทําหน้าที่เป็น ตัวสร้าง “วัฒนธรรมร่วม” ที่ชุมชน/สังคมได้ปลูกฝังให้สมาชิกส่วนใหญ่ของสังคมได้รับข้อเท็จจริง ค่านิยม และความคิดเกี่ยวกับการดํารงอยู่ร่วมกันของมนุษย์

19.Gesture หมายถึงอะไร
(1) กายภาษา
(2) ภาษากาย
(3) การเปล่งเสียง
(4) ภาษาสัญลักษณ์
ตอบ 2 หน้า 18 – 19, 21 ประวัติศาสตร์การสื่อสารของมนุษย์เริ่มจากการที่มนุษย์พยายามสื่อสารกัน โดยมีวิวัฒนาการของภาษาเรียงตามลําดับได้ ดังนี้
1. การใช้ภาษาท่าทางหรือภาษากาย (Gesture Language) และการเคลื่อนไหวร่างกาย (Body Movement)
2. การใช้ภาษาพูด
3. การใช้ภาษาเขียน
4. การพิมพ์

20. ภาษาพูดและภาษาเขียน ช่วยให้มนุษย์พัฒนาการคิดลักษณะใด
(1) การคิดเชิงกายภาพ
(2) การคิดเป็นรูปธรรม
(3) การคิดเชิงมโนทัศน์
(4) การคิดเป็นตัวอักษร
ตอบ 4 หน้า 9 – 10, 13, (คําบรรยาย) ภาษาจะประกอบไปด้วยความหมายทั้งในลักษณะที่เป็น ความหมายโดยตรง (Denotation) และความหมายโดยนัย (Connotation) ซึ่งการที่เรา จะรู้ว่าคํา ๆ หนึ่งใช้ในความหมายลักษณะใดนั้น จะต้องพิจารณาจากบริบทของการสื่อสาร (Communication Context) ซึ่งมีอิทธิพลกํากับความหมายที่เกิดขึ้นทุกครั้งที่ทําการสื่อ

25. Mass Culture หมายถึงอะไร
(1) รูปแบบการดํารงชีวิตและสิ่งอันเป็นที่นิยมชมชอบของคนในสังคมเดียวกันที่มีลักษณะเป็นแบบเดียวกัน
หรือเหมือนกัน
(2) รูปแบบการดํารงชีวิตและสิ่งอันเป็นที่นิยมชมชอบของคนต่างสังคมที่มีลักษณะเป็นแบบเดียวกันหรือ เหมือนกัน
(3) รูปแบบการดํารงชีวิตและสิ่งอันเป็นที่นิยมชมชอบของคนต่างสังคมที่มีลักษณะเป็นแบบต่างกันหรือ
ไม่เหมือนกัน
(4) รูปแบบการดํารงชีวิตและสิ่งอันเป็นที่นิยมชมชอบของคนในสังคมเดียวกันที่มีลักษณะเป็นแบบต่างกัน
หรือไม่เหมือนกัน
ตอบ 2 หน้า 32 (คําบรรยาย) คําว่า “วัฒนธรรมประชานิยม” (Popular Culture) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วัฒนธรรมมวลชน (Mass Culture) หมายถึง รูปแบบการดํารงชีวิตและสิ่งอันเป็นที่นิยมชมชอบ ของคนต่างสังคม ต่างถิ่น ต่างฐานะ ที่มีลักษณะเป็นแบบเดียวกันหรือเหมือนกัน ส่วนใหญ่มัก เกี่ยวกับความบันเทิง การกีฬา โทรทัศน์ ภาพยนตร์ และเพลงสมัยใหม่ เช่น การนิยมวัฒนธรรม แบบ K-POP และ J-POP ของกลุ่มวัยรุ่น เป็นต้น

26. K-POP เป็นตัวอย่างของอะไร
(1) Public Communication
(2) Propaganda
(3) Population
(4) Popular Culture
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ

27. ข้อใดเป็นตัวอย่างภาษาเขียนระบบ Sign Writing
(1) ภาษาละติน
(2) ภาษากรีกโบราณ
(3) ภาษาอียิปต์โบราณ
(4) ภาษาพราหมี
ตอบ 3 หน้า 19 ภาษาภาพ เป็นการใช้ระบบสัญลักษณ์เขียนเป็นสัญญาณ (Sign Writing) โดยที่ แต่ละสัญลักษณ์มีพื้นฐานมาจากรูปภาพที่เป็นตัวแทนสิ่งของ ซึ่งภาษาในลักษณะนี้ได้รับการ พัฒนาในอาณาจักรสุเมเรียน (ประเทศอิรักในปัจจุบัน) เมื่อประมาณ 3,500 ปีก่อนคริสตกาล เช่น ภาษาไฮโรกลิฟิก (Hieroglyphics) ของอียิปต์โบราณ ซึ่งเริ่มใช้เมื่อประมาณ 2 – 3 ร้อยปี ภายหลังชาวสุเมเรียน ส่วนรูปแบบของภาษาภาพที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมากที่สุด ได้แก่ ภาษาจีน ซึ่งเริ่มใช้เมื่อประมาณ 2,000 – 1,500 ปีก่อนคริสตกาล

28. ข้อใดเป็นต้นกําเนิดอักษรภาษาไทย
(1) ภาษาละติน
(2) ภาษากรีกโบราณ
(3) ภาษาอียิปต์โบราณ
(4) ภาษาพราหม์
ตอบ 2 หน้า 19 กลุ่มของตัวอักษรที่เรียกว่า “พยัญชนะ” (Alphabet) ซึ่งใช้เป็นสัญลักษณ์แทนเสียง และนําเสียงมารวมกันเป็นคํา ถือกําเนิดขึ้นโดยชาวฟินิเชียน (The Phoenicians) เป็นชนชาติแรก ที่พัฒนาภาษาลักษณะนี้ หลังจากนั้นจึงพัฒนามาเป็นภาษากรีกโบราณที่มี 24 ตัวอักษร และ กลายเป็นต้นกําเนิดของตัวอักษรภาษาอื่น ๆ ในปัจจุบัน เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย เป็นต้น

29. วิวัฒนาการของภาษาในข้อใดที่ช่วยให้เกิดการสร้างอาณาจักร
(1) การใช้ภาษาท่าทาง
(2) การพูด
(3) การเขียน
(4) การพิมพ์
ตอบ 3 หน้า 20 วิวัฒนาการของภาษาเขียนช่วยให้เกิดการสร้างอาณาจักร โดยเฉพาะการก่อตั้งอาณาจักร ของกรีกและโรมัน นอกจากนี้ภาษาเขียนยังทําให้การปกครองเป็นไปได้ง่ายขึ้น และการรวบรวม บันทึกเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่นเดียวกับการคิดคํานวณเพื่อการจัดเก็บภาษี

30. “ลักษณะของสารที่ปรากฏทางสื่อมวลชนเป็นสารที่มีลักษณะเป็นสาธารณะ (Public)” หมายความว่า
อย่างไร
(1) เป็นเรื่องราวสําหรับสาธารณชนโดยเฉพาะ
(2) ทุกคนสามารถเข้าถึงสารนั้นได้
(3) เป็นข่าวสารสําหรับองค์กร/สถาบัน
(4) เป็นสารที่ไม่ใช่สําหรับปัจเจกชน
ตอบ 2 หน้า 25 — 26 ลักษณะของการสื่อสารมวลชน มีดังนี้
1. แหล่งสารหรือผู้ส่งสารมีลักษณะเป็นสถาบัน
2. ลักษณะของสารที่ปรากฏทางสื่อมวลชนเป็นสารที่มีลักษณะเป็นสาธารณะ
ทุกคนสามารถเข้าถึงสารนั้นได้
(Public) คือ
3. ผู้รับสารเป็นมวลชน (The Masses) หรือผู้รับชม รับฟัง (Audience) จํานวนมาก คือ ผู้รับสารที่มีมากและไม่รู้ว่าเป็นใครอยู่ที่ไหนบ้าง
4. กระบวนการสื่อสารมวลชนมีลักษณะเป็นการสื่อสารทางเดียว
5. ได้รับอิทธิพลจากบริบททางสังคม
6. ใช้สื่อมวลชนเป็นช่องทางการสื่อสาร

31. “ผู้รับสาร คือ มวลชน (Mass)” หมายความว่าอย่างไร
(1) ผู้รับสารที่มีจํานวนมากและมีความสนใจในประเด็นใดประเด็นหนึ่ง
(2) ผู้รับสารจํานวนมากที่มีลักษณะร่วมกันบางประการ
(3) กลุ่มผู้รับสารที่มีลักษณะร่วมกันบางประการเป็นลักษณะที่ใช้อ้างอิง
(4) ผู้รับสาร มีมากและไม่รู้ว่าเป็นใครอยู่ที่ไหนบ้าง
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ

32. การสื่อสารมวลชนมีลักษณะเป็นอย่างไร
(1) เป็นการสื่อสารสองทาง
(2) เป็นการสื่อสารทางเดียว
(3) เป็นการสื่อสารสองจังหวะ
(4) เป็นการสื่อสารเฉพาะเรื่อง
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ

33. การรายงานข่าว เป็นการทําหน้าที่ของสื่อมวลชนในข้อใด
(1) สอดส่องดูแลความเป็นไปในสังคม
(2) เป็นผู้มีความหมาย
(3) เชื่อมประสานส่วนต่าง ๆ ของสังคม
(4) ส่งผ่านค่านิยม
ตอบ 1 หน้า 27 (คําบรรยาย) บทบาทหน้าที่ในการสอดส่องดูแลความเป็นไปในสังคม (Surveillance)
คือ การรายงานข่าวให้ประชาชนได้รับทราบถึงความเป็นไปในสังคม รวมถึงตรวจสอบการทํางาน ของรัฐบาลหรือฝ่ายปกครองที่คาดว่าจะมีการทุจริตคอร์รัปชั่น ดังนั้นสื่อมวลชนจึงเป็นเสมือน ผู้ส่งสัญญาณเตือนภัยหากเกิดเหตุการณ์ใด ๆ ที่จะส่งผลกระทบในทางที่เป็นอันตรายต่อสังคม

34. การใช้ภาษาในการโฆษณา ต้องคํานึงถึงอะไรเป็นหลัก
(1) ค่าคะแนนความนิยมรายการ
(2) ผู้รับสารที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย
(3) นโยบายของบริษัท
(4) งบประมาณการโฆษณา
ตอบ 2 หน้า 41 การใช้ภาษาในการโฆษณาจะต้องคํานึงถึงผู้รับสารที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย โดยผู้เขียน
ข้อความโฆษณาไม่ควรยึดติดกับตัวตน รสนิยม และความชอบของตน แต่ต้องเลือกใช้ภาษาที่ สอดคล้องกับความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย หรือใช้ภาษาที่เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายเป็นหลัก เช่น ถ้ากลุ่มเป้าหมายเป็นวัยรุ่น ภาษาที่ใช้ต้องสะท้อนถึงภูมิปัญญาและรสนิยมของวัยรุ่น ฯลฯ

35. การโฆษณามีจุดมุ่งหมายเพื่ออะไร
(1) การโน้มน้าวใจ
(2) แจ้งข่าวสาร
(3) การสร้างความเข้าใจ
(4) ให้ความบันเทิง
ตอบ 1 หน้า 38 การโฆษณาเป็นการสื่อสารที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการโน้มน้าวใจ โดยมุ่งสร้างผลกระทบ ในด้านความรู้ความเข้าใจ (Cognition) ทัศนคติ (Attitude) และพฤติกรรม (Behavior) ที่ผู้รับสารมีต่อสินค้า บริการ หรือความคิด อันจะเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจของบริษัทที่โฆษณา

36. กระบวนการสร้างภาพลักษณ์ตราสินค้า มีลําดับขั้นตอนอย่างไร
(1) การเขียนข้อความโฆษณา การกําหนดสื่อ การลงโฆษณา การวัดปฏิกิริยาตอบสนอง
(2) การกําหนดตัวผู้โฆษณา การเขียนข้อความ การส่งสารผ่านสื่อ การประเมินผล
(3) การกําหนดกลุ่มเป้าหมาย แนะนําสินค้า เขียนข้อความโฆษณา นําเสนอซ้ำ ๆ
(4) การกําหนดกลุ่มเป้าหมาย กําหนดแนวคิดหลัก เขียนข้อความโฆษณา นําเสนอ
ตอบ 4 หน้า 40 กระบวนการสร้างภาพลักษณ์ตราสินค้าต้องอาศัยการสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ
ซึ่งมีลําดับขั้นตอนเริ่มจากการกําหนดกลุ่มเป้าหมาย การวิเคราะห์ลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย
การกําหนดแนวคิดหลัก การสร้างสารโฆษณาหรือสร้างสรรค์ข้อความโฆษณา และนําเสนอ
แนวคิดดังกล่าวซ้ํา ๆ ไปยังผู้บริโภคอย่างได้ผล

37. ผู้ใช้ภาษาโฆษณาควรมีสิ่งใดต่อไปนี้
(1) Personality
(2) Empathy
(3) Public Relations
(4) Stereotyped
ตอบ 2 หน้า 41 คุณสมบัติประการหนึ่งที่ผู้ใช้ภาษาโฆษณาควรจะมี คือ การรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา (Empathy) เพราะการที่นักโฆษณาสามารถเข้าถึงจิตใจของกลุ่มเป้าหมายได้ ก็จะทําให้เข้าใจว่า กลุ่มเป้าหมายมีความต้องการอะไร อะไรเป็นแรงจูงใจสําคัญในการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ของกลุ่มเป้าหมาย และควรสื่อสารอย่างไรที่จะเข้าถึงจิตใจของคนเหล่านั้นได้

38.“Advertising Concept” หมายถึงอะไร
(1) ข้อความสําคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ
(2) ข้อความสั้น ๆ ง่ายแก่การจดจําที่มักนําเสนอในชิ้นงานโฆษณาคู่กับชื่อสินค้า
(3) ข้อความพาดหัวที่ใช้ดึงดูดใจผู้อ่านให้สนใจชิ้นงานโฆษณา
(4) เพลงโฆษณาที่มีเนื้อร้อง
ตอบ 1 หน้า 41, 50, (คําบรรยาย) แนวคิดหลักที่ใช้ในการโฆษณา (Advertising Concept) หมายถึง ข้อความสําคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่ผู้โฆษณานําเสนออย่างสร้างสรรค์เพื่อตรึงความสนใจของผู้บริโภค โดยจะช่วยให้การสื่อสารมีความคมชัด ตรงประเด็น และสร้างมโนทัศน์เกี่ยวกับ สินค้าให้เกิดขึ้นในจิตใต้สํานึกของผู้บริโภค ซึ่งแนวคิดหลักของการโฆษณาจะปรากฏอยู่ที่ คําขวัญโฆษณา ข้อความพาดหัว และเนื้อหา

39. เรื่องราวที่นําเสนอผ่านรายการโทรทัศน์ มีส่วนสร้างความเป็นจริงลักษณะใด
(1) ตรงตามสภาพความจริง
(2) เป็นเรื่องทั่ว ๆ ไป
(3) มีลักษณะเป็นแบบฉบับตายตัว
(4) ไม่มีสไตล์เฉพาะตัว
ตอบ 3 หน้า 32 ผลจากการวิจัยของเกิร์บเนอร์ได้ให้ข้อสรุปว่า ลักษณะทางวัฒนธรรมที่ปรากฏใน เนื้อหาข่าวสารของโทรทัศน์ทําหน้าที่เป็นตัวสร้างวัฒนธรรมร่วม (Common Culture) ของสมาชิก
ในสังคม โดยเรื่องราวที่นําเสนอผ่านรายการโทรทัศน์ได้ผ่านการเลือกสรรมาเพียงบางส่วนเสี้ยว ของโลก มีลักษณะเป็นภาพแบบฉบับตายตัว (Stereotyped) และเป็นภาพที่บิดเบี้ยวไปจาก โลกที่เป็นจริง โดยเฉพาะเนื้อหาที่มีอิทธิพลต่อผู้คนอย่างมากในรายการประเภทละครโทรทัศน์

40. ผู้ส่งสารที่ดี ควรมีลักษณะอย่างไร
(1) มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่สื่อสาร รู้เรื่องเทคโนโลยี น่าเชื่อถือ
(2) มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน รู้เรื่องที่จะสื่อสาร เข้าใจผู้รับสาร
(3) มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน มีวิสัยทัศน์ มุ่งไปสู่เป้าหมาย
(4) มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน รู้เรื่องที่จะสื่อสาร รู้เรื่องสื่อใหม่ ๆ
ตอบ 2 หน้า 29 – 30 ลักษณะของผู้ส่งสารที่ดี มีดังนี้
1. ต้องมีจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในการสื่อสาร
2. ต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่จะสื่อสาร
3. ต้องเข้าใจความสามารถ ความพร้อม และความต้องการของผู้รับสาร

41. ข้อใดเป็นการจัดระดับความรู้ได้ถูกต้อง
(1) บอกเล่าได้เท่าที่เห็น ใช้คําพูดของตนเอง เพิ่มเติมเรื่องราว วิเคราะห์เป็น ประเมินค่า
(2) เพิ่มเติมเรื่องราว บอกเล่าได้ใช้คําพูดของตนเอง ประเมินค่าได้ วิเคราะห์เป็น
(3) ตระหนักรู้ บอกเล่าได้ ประเมินค่า วิเคราะห์ เพิ่มเติมเรื่องราวได้
(4) บอกเล่าได้เท่าที่เห็น วิเคราะห์เป็น เพิ่มเติมเรื่องราวได้ ประเมินค่า ใช้คําพูดตนเอง
ตอบ 1 หน้า 30 นักวิชาการด้านการศึกษาได้แบ่งระดับความรู้ของมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับ ดังนี้
1. บอกเล่าเรื่องราวได้ตามที่ได้เห็นหรือได้ยินมา (จัดเป็นความรู้พื้นฐาน)
2. บอกเล่าเรื่องราวตามที่ได้เห็นได้ยินมาโดยใช้คําพูดของตนได้
3. สามารถเพิ่มเติมเรื่องราวจากความรู้ที่มีอยู่จริงได้
4. สามารถวิเคราะห์ได้
5. สามารถประเมินผลในสิ่งที่สื่อสารกันได้

42. การโฆษณาโดยให้ผู้ที่เคยใช้สินค้ามากล่าวยืนยันเกี่ยวกับคุณภาพของสินค้า ได้แก่ข้อใด
(1) Vignette
(2) Presenter
(3) Personality Symbol
(4) Testimonial
ตอบ 4 หน้า 44 ลีลาการอ้างพยาน (Testimonial) เป็นลีลาการนําเสนอโฆษณาโดยใช้บุคคลที่มี ประสบการณ์เกี่ยวกับสินค้า หรือผู้ที่เคยใช้สินค้ามากล่าวยืนยันเกี่ยวกับคุณภาพของสินค้า เช่น
การโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่นําเอาผู้ที่เคยใช้สินค้ามากล่าวยืนยันถึงประสบการณ์ที่ได้รับ
หลังจากการใช้สินค้า เป็นต้น

43. ข้อความโฆษณาที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร
(1) ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ
(2) แปลก ตลก ใช้ภาษาเฉพาะกลุ่ม
(3) สั้น เรียบง่าย ไม่ต้องคิดมาก
(4) การใช้เหตุผล
ตอบ 1 หน้า 48 ข้อความโฆษณาที่ดีควรชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับจากการใช้สินค้า และ เขียนขึ้นจากความเข้าใจถึงความต้องการและแรงจูงใจของผู้บริโภค โดยคํานึงถึงปัจจัยทางด้าน
จิตวิทยาสังคมที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ

44. แนวทางการโฆษณาข้อใดที่เป็นการมุ่งขายสินค้าโดยตรง
(1) Soft Sell
(2) Hard Sell
(3) Slice of Life
(4) Lifestyle
ตอบ 2 หน้า 45 น้ำเสียง (Tone) ที่ใช้ในการนําเสนอสารโฆษณาแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
1. น้ำเสียงที่มุ่งขายสินค้าอย่างชัดเจน (Hard Sell) คือ การนําเสนอสารโฆษณาแบบ ตรงไปตรงมา มุ่งสู่การขายสินค้าโดยตรง ไม่อ้อมค้อม
2. น้ําเสียงที่มุ่งขายสินค้าทางอ้อม (Soft Sell) คือ การนําเสนอสารโฆษณาที่เน้นการสร้าง อารมณ์ความรู้สึกและทัศนคติในเชิงบวกต่อสินค้า โดยไม่ได้กล่าวถึงตัวสินค้าโดยตรงแต่เน้นการโน้มน้าวใจโดยใช้อารมณ์มากกว่าการกล่าวถึงเหตุผลเกี่ยวกับคุณสมบัติของสินค้า

45. “สัมผัสนุ่ม เต็มอิ่ม ทุกยามว่าง” เป็นตัวอย่างข้อความพาดหัวที่ใช้วิธีเขียนแบบใด
(1) พาดหัวข่าว
(2) บอกประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ
(3) ให้คําแนะนํา
(4) ชวนให้สนใจใคร่รู้
ตอบ 2 หน้า 47 การกล่าวถึงประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ (Product Claim) คือ การเขียนข้อความ พาดหัวโฆษณาที่แสดงถึงข้อยืนยันเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้บริโภคจะได้รับจากการใช้สินค้า ซึ่งสามารถดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคได้ดี เพราะเป็นการกล่าวถึงสิ่งที่อยู่ในความสนใจของผู้บริโภค และสิ่งสําคัญที่ควรคํานึงถึงคือ ข้อเสนอนั้นควรเป็นข้อเสนอที่เด่นชัดจริง ๆ และเชื่อถือได้ โดยข้อความโฆษณาส่วนอื่น ๆ ต้องให้ข้อมูลหลักฐานเพื่อพิสูจน์หรือสนับสนุนข้อเสนอนั้น ๆ

46. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของคําขวัญโฆษณาที่ดี
(1) สั้น กะทัดรัด ชัดเจน
(2) มีใจความสําคัญประเด็นเดียว
(3) มีสัมผัสคล้องจอง
(4) มีความสัมพันธ์กับภาพโฆษณา
ตอบ 4 หน้า 51 ลักษณะของคําขวัญโฆษณาที่ดี มีดังนี้
1. เป็นวลีหรือประโยคที่สั้น กะทัดรัด ชัดเจน
2. มีใจความสําคัญเพียงประเด็นเดียว
3. มีสัมผัสคล้องจอง ซึ่งอาจสัมผัสสระ หรือสัมผัสพยัญชนะ
4. มีจังหวะสม่ำเสมอ ง่ายแก่การจดจํา
5. ควรมีชื่อสินค้าอยู่ในคําขวัญ

47. ข้อพิจารณาในการเลือกผู้พูดที่จะเป็นตัวแทนขององค์กร/สถาบันในการใช้การพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์
พิจารณาจากอะไร
(1) เป็นผู้รอบรู้ในทุกเรื่อง
(2) เป็นผู้ที่รับผิดชอบโดยตรง
(3) เป็นคนสนุกสนานร่าเริง ไม่น่าเบื่อ
(4) บุคลิกดี มั่นใจในตนเอง
ตอบ 2 หน้า 62 – 63 การเลือกผู้พูดที่จะเป็นตัวแทนขององค์กร/สถาบันในการใช้การพูดเพื่อการ
ประชาสัมพันธ์ พิจารณาได้จาก
1. เป็นบุคคลสําคัญในองค์กร
2. เป็นผู้ที่รับผิดชอบโดยตรงเกี่ยวกับเรื่องที่พูด
3. เป็นผู้มีอํานาจตัดสินใจในการตัดสินระดับความลับของเรื่องที่พูด
4. เป็นผู้มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่พูด
5. เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการสื่อสาร
6. เป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพน่าเชื่อถือ มีกิริยาท่าทางเป็นธรรมชาติ

48. การทํา Execution ประกอบด้วยการกําหนดกลยุทธ์ในเรื่องใดบ้าง
(1) Source, Message, Channel, Receiver
(2) Style, Tone, Appeal
(3) Credibility, Context, Content, Clarity, Channel, Capability of Audience
(4) Attention, Interest, Desire, Action
ตอบ 2 หน้า 43, (คําบรรยาย) การสร้างความหมายในการโฆษณาจะอาศัยวิธีการนําเสนอ (Execution) ซึ่งประกอบด้วย 1. ลีลา (Style) 2. น้ำเสียง (Tone) 3. สิ่งดึงดูดความสนใจ (Appeal)

49. “รังแค ถ้าปล่อยไว้อาจจะเป็นปัญหาเรื้อรัง” เป็นตัวอย่างข้อความพาดหัวที่ใช้วิธีเขียนแบบใด
(1) พาดหัวข่าว
(2) บอกประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ
(3) ให้คําแนะนํา
(4) ชวนให้สนใจใคร่รู้
ตอบ 3 หน้า 47, (คําบรรยาย) การให้คําแนะนํา (Advice) หรือคําสั่ง คือ การเขียนข้อความพาดหัว โฆษณาด้วยการแนะนําให้ผู้อ่านกระทําอย่างใดอย่างหนึ่ง และตามด้วยคํามั่นสัญญาเกี่ยวกับ ผลที่ได้รับจากการทําตามคําแนะนํานั้น จึงเป็นวิธีที่ดึงดูดความสนใจได้ดี เพราะเป็นการเจาะจง ลงไปที่การป้องกันหรือแก้ไขปัญหาที่ผู้บริโภคอาจจะประสบหรือกําลังประสบอยู่ ซึ่งบางครั้งอาจ เขียนในรูปของคําสั่งโดยมีคําว่า “อย่า/ห้าม/จง/ต้อง” เพื่อแสดงการสั่งไม่ให้ทําหรือสั่งให้ทําก็ได้

50. “รสดีเมนูลาบ สูตรใหม่ ต้องลอง” เป็นตัวอย่างข้อความพาดหัวที่ใช้วิธีเขียนแบบใด
(1) พาดหัวข่าว
(2) บอกประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ
(3) ให้คําแนะนํา
(4) ชวนให้สนใจใคร่รู้
ตอบ 1 หน้า 47 การพาดหัวข่าว (News) คือ การเขียนข้อความพาดหัวโฆษณาที่ใช้วิธีการเขียนแบบ พาดหัวข่าว กล่าวคือ เป็นการสรุปสาระสําคัญ ซึ่งเป็นจุดที่น่าสนใจมากที่สุดในข้อความโฆษณา เช่น เน้นเรื่องความใหม่ ความแปลก ความสวยงาม ฯลฯ

51.“เป็นแบรนด์จักรยานชื่อดังที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ในปัจจุบันมีผู้ใช้มากมายในประเทศไทย ด้วยเอกลักษณ์ ที่โดดเด่น สีสันที่ไม่เหมือนใคร และมีจักรยานให้เลือกหลากหลายประเภทตามความต้องการของผู้บริโภค” ข้อความนี้ใช้วิธีการเขียนแบบใด
(1) เหมือนเขียนข่าว
(2) เล่าเรื่อง
(3) บทพูด
(4) มุ่งให้เกิดการกระทํา
ตอบ 1 หน้า 48 – 49 การเขียนแบบเขียนข่าว แต่เน้นการขายสินค้าอย่างตรงไปตรงมา (Direct Selling News Copy) เป็นวิธีการเขียนข้อความโฆษณาส่วนเนื้อเรื่องแบบเขียนข่าวลงในพื้นที่โฆษณา
โดยใช้กลยุทธ์การโฆษณาแบบเสนอข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมา จึงมีเนื้อหาคล้ายกับเนื้อหา ในข่าวหรือสารคดีของหนังสือพิมพ์และนิตยสาร แต่ก็เสนอข้อเท็จจริงที่ชัดเจนเพียงพอที่จะทําให้ผู้อ่านสนใจ และเกิดความต้องการในสินค้าหรือบริการที่โฆษณา

ข้อ 52 – 54. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Straight News
(2) Human Interest
(3) Feature Story
(4) Article

52. “พระเอกดังเสียชีวิตอย่างสงบที่ รพ.รามาฯ หมอแถลงระบุสาเหตุเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ร่างกายไม่ สนองตอบการรักษา เผยนาทีสุดท้ายของชีวิตยังมีสติ พยักหน้า ขยิบตา ก่อนค่อย ๆ จากไปโดยไม่ทรมาน ท่ามกลางครอบครัวที่กล่าวลาข้างเตียงอย่างสุดเศร้า” เป็นการเขียนข่าวประเภทใด
ตอบ 2 หน้า 84, (คําบรรยาย) การเขียนข่าวแบบสนองปุถุชนวิสัย (Human Interest) เป็นการเขียน เนื้อข่าวที่ใช้การบรรยายหรือพรรณนาให้ผู้อ่านเกิดภาพพจน์เสมือนอยู่ในเหตุการณ์ โดยภาษา ที่ใช้มักเขียนเพื่อสร้างภาพพจน์เชิงวารสารศาสตร์ด้วยการอธิบายความ ให้รายละเอียด และบรรยายภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จึงมักใช้เขียนข่าวหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ประชานิยม (เชิงปริมาณ) ข่าวอาชญากรรม ข่าวอุบัติเหตุ ข่าวบุคคลที่คนทั่วไปสนใจ ฯลฯ

53. “สํานักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ว่าเกิดเหตุกลุ่มคนร้ายหัวรุนแรง บุกโจมตีสถานที่สําคัญหลายแห่งพร้อมกันในย่านใจกลางกรุงจาการ์ตา” เป็นการเขียนข่าวประเภทใด
ตอบ 1 หน้า 84 การเขียนข่าวแบบตรงไปตรงมา (Straight News) เป็นการเขียนเนื้อข่าวที่บอกข้อเท็จจริง อย่างตรงไปตรงมาตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยไม่มีการเพิ่มเติมสีสันลงไปในเนื้อข่าว ดังนั้นลักษณะ การเขียนจึงเป็นการบอกกล่าวกับผู้อ่านว่าใคร ทําอะไร ที่ไหน เมื่อไร ทําไม และอย่างไร

54.“รางวัลศิลปาธร จัดขึ้นเพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินรุ่นกลางที่มีผลงานการสร้างสรรค์ศิลปะอย่างต่อเนื่อง เป็นที่โดดเด่น มีการริเริ่มสิ่งใหม่ทางศิลปะร่วมสมัย และเกิดผลกระทบเชิงบวกแก่สังคม เพื่อเป็นขวัญและกําลังใจแก่ผู้สร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณค่าออกสู่สังคมทั้งในระดับประเทศและในระดับสากล”
เป็นการเขียนข่าวประเภทใด
ตอบ 3 หน้า 84 การเขียนสารคดีเชิงข่าว (Feature Story) เป็นการเขียนเนื้อข่าวโดยให้ข้อมูลภูมิหลัง และรายละเอียดนอกเหนือจากที่ปรากฏเป็นข่าว ทั้งนี้เพื่อเป็นการให้ความรู้กับผู้อ่านเกี่ยวกับ เรื่องราวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

55. ข้อใดเป็นแนวทางปฏิบัติในการบรรยายสดทางโทรทัศน์
(1) บรรยายเหตุการณ์ทั้งหมดตามที่เห็นในภาพ
(2) เขียนบทพูดล่วงหน้าและอ่านตามที่เตรียมบทไว้
(3) บรรยายเรื่องราวที่สัมพันธ์กับภาพ
(4) วิพากษ์วิจารณ์สิ่งที่เห็นในภาพ
ตอบ 3 หน้า 107, (คําบรรยาย) การบรรยายสด (Live) ในขณะที่ออกอากาศทางโทรทัศน์ ผู้บรรยาย จะไม่อ่านจากบทที่เตรียมไว้ แต่จะบรรยายเหตุการณ์ตามภาพที่ปรากฏ หรือบรรยายข้อมูล และเรื่องราวให้สัมพันธ์กับภาพ ซึ่งผู้บรรยายจะต้องเตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่ ถ่ายทอดสด โดยรู้กําหนดการหรือขั้นตอนของเหตุการณ์นั้น รวมทั้งใช้ปฏิภาณไหวพริบในการ แก้สถานการณ์หากมีเหตุการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้นในขณะที่ทําการถ่ายทอดสด เช่น รายการถ่ายทอดสด พิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ฯลฯ

56. “บัลแกเรียเขื่อนแตก ยุโรปตาย 420 เช่นภัยหนาว ปินส์ดินไหวดับ 43” พาดหัวข่าวนี้มีลักษณะการใช้
ภาษาอย่างไร
(1) ใช้คําย่อ
(2) ตัดคําสั้น
(3) ใช้ฉายาพาดหัว
(4) ละประธานของประโยค
ตอบ 2 หน้า 81 การตัดคําให้สั้นลงเนื่องจากเนื้อที่มีจํากัด ทําให้ผู้เขียนพาดหัวข่าวนอกจากจะต้อง เขียนให้ได้ใจความสําคัญแล้ว ยังต้องคํานึงถึงจํานวนตัวอักษรที่ใช้ไม่ให้เกินกว่าเนื้อที่ที่มีอยู่ บางครั้งจึงจําเป็นต้องตัดคําให้สั้นลง แต่ต้องไม่ตัดจนเสียความหมายไป เช่น ปินส์ (ฟิลิปปินส์), ดินไหว (แผ่นดินไหว) ฯลฯ

57. ข้อใดเป็นหลักการเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์
(1) ใช้สํานวนโวหาร
(2) ใช้วลีที่ดึงดูดใจ
(3) ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ให้ความรู้สึกจริงใจ
(4) ใช้คําหรูหราฟังไพเราะ
ตอบ 3 หน้า 72 – 73 หลักการพื้นฐานสําหรับการเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ มีดังนี้
1. ใช้ภาษาให้ถูกต้อง
2. ใช้รูปแบบการเขียนที่เหมาะสม
3. เรียงคําในประโยคอย่างเหมาะสม
4. ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย เป็นธรรมชาติ ให้ความรู้สึกจริงใจ
5. เขียนด้วยประโยคสั้น ๆ เพื่อให้ผู้รับสารเข้าใจง่าย
6. ใช้ภาษาที่สื่อความหมาย
7. เขียนด้วยความจริงใจและซื่อสัตย์
8. ใช้ภาษาที่ปราศจากอคติ

58. คําว่า “Image” ในบทที่ 5 เรื่องภาษาเพื่อการประชาสัมพันธ์ หมายถึงอะไร
(1) ภาพลักษณ์
(2) ภาพที่เกิดจากคําพูด
(3) ภาพโฆษณา
(4) ภาพ
ตอบ 1 หน้า 58 – 59 ในบทที่ 5 เรื่องการใช้ภาษาในการประชาสัมพันธ์ คําว่า “Image” หมายถึง ภาพลักษณ์หรือภาพพจน์ ซึ่งเป็นภาพในใจอันเกิดจากการได้รับข้อมูล ข่าวสาร หรือประสบการณ์ เกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ก่อตัวเป็นทัศนคติ ความเชื่อ และการให้คุณค่า (Value) ต่อสิ่งนั้น ดังนั้น องค์กรและสถาบันที่มีภาพลักษณ์ดีย่อมมีคุณค่าในสายตาของสาธารณชน ตรงกันข้ามกับองค์กรหรือสถาบันใด ๆ ที่มีภาพลักษณ์ไม่ดีมักถูกปฏิเสธหรือไม่ได้รับการยอมรับจากสาธารณชน

59. คําว่า “Image” ในบทที่ 9 เรื่องภาษาโทรทัศน์ หมายถึงอะไร
(1) ภาพลักษณ์
(2) ภาพที่เกิดจากคําพูด
(3) ภาพโฆษณา
(4) ภาพ
ตอบ 4 หน้า 106, 108 ในบทที่ 9 เรื่องการใช้ภาษาทางวิทยุโทรทัศน์ คําว่า “Image” หมายถึง ภาพ ซึ่งภาพที่ปรากฏทางจอโทรทัศน์จะเกิดจากภาพนิ่งหลาย ๆ ภาพเรียงลําดับต่อเนื่องกัน จนกลายเป็นภาพเคลื่อนไหว โดยภาพแต่ละภาพที่ปรากฏในรายการโทรทัศน์จะเรียกว่า ชอต (Shot) และเมื่อเรานําภาพแต่ละซอดมาลําดับให้ถูกช่วงถูกตอนตามที่ควรจะเป็นก็จะได้ลําดับ เรื่องราวตามต้องการ

60. คําว่า “Editing” ในบทที่ 6 เรื่องภาษาหนังสือพิมพ์ หมายถึงอะไร
(1) การตัดต่อ
(2) การตัดต่อลําดับภาพ
(3) บรรณาธิการ
(4) การบรรณาธิกรณ์
ตอบ 4 หน้า 76, 79, 106, 111 ในบทที่ 6 เรื่องภาษาหนังสือพิมพ์ คําว่า “Editing” จะหมายถึง การบรรณาธิกรณ์เพื่อปรับปรุงข่าวก่อนส่งพิมพ์ ส่วนในบทที่ 9 เรื่องการใช้ภาษาทางวิทยุ โทรทัศน์นั้น คําว่า “Editing” หมายถึง การตัดต่อลําดับภาพ ซึ่งสามารถทําได้ทั้งรายการที่ บันทึกเทปและรายการที่ออกอากาศ โดยใช้อุปกรณ์ตัดต่อ (Editing Suite)

61. “สํานักข่าวหัวเขียว โดยแม่ลูกจัน” เป็นตัวอย่างเนื้อหาประเภทใดของหนังสือพิมพ์
(1) ข่าว
(2) บทความ
(3) สารคดี
(4) คอลัมน์
ตอบ 4 หน้า 78 คอลัมน์ (Column) เป็นข้อเขียนหรือเนื้อหาที่ลงพิมพ์เป็นประจําในหนังสือพิมพ์ อาจเป็นข้อเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นทางการเมือง ความรู้ด้านสุขภาพอนามัย วิจารณ์กีฬา ภาพยนตร์ ดนตรี ข่าวสังคมซุบซิบ คอลัมน์เด็กและเยาวชน ฯลฯ ซึ่งรับผิดชอบ โดยคอลัมนิสต์ หรือนักเขียนประจําคอลัมน์ที่เป็นผู้กําหนดเนื้อหา เช่น คอลัมน์ที่มีชื่อว่า “สํานักข่าวหัวเขียว โดยแม่ลูกจัน” ในหน้า 2 ของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เป็นต้น

62.การเขียนบทความ บทบรรณาธิการ ใช้รูปแบบการเขียนแบบใด
(1) Inverted Pyramid
(2) Upright Pyramid
(3) Combination
(4) Straight News
ตอบ 2 หน้า 80, (คําบรรยาย รูปแบบการเขียนข่าวหนังสือพิมพ์ มีดังนี้
1. แบบพีระมิดหัวกลับ (Inverted Pyramid) คือ การเสนอประเด็นสําคัญของข่าวก่อน รายละเอียด ถือเป็นรูปแบบที่นิยมใช้มากกว่าร้อยละ 85 – 90 ในการเขียนข่าวหนังสือพิมพ์
2. แบบพีระมิดหัวตั้ง Upright Pyramid) คือ การเสนอรายละเอียดของข่าวก่อน
ประเด็นสําคัญ นิยมใช้ในการเขียนบทความ บทบรรณาธิการ สารคดีเชิงข่าว ฯลฯ
3. แบบผสม (Combination) คือ การเสนอประเด็นสําคัญทั้งในตอนต้นและตอนท้าย มักใช้ในการเขียนข่าวประชาสัมพันธ์

ข้อ 63 – 65. จงใช้บทความต่อไปนี้ตอบคําถาม

“การปฏิรูปการเมืองที่ถูกต้องไม่ใช่แค่การยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่หรือตั้งองค์กรตรวจสอบใหม่
แต่จะต้องปฏิรูปคนควบคู่กันไป และปฏิรูปวัฒนธรรมทางการเมืองให้เป็นประชาธิปไตย ต้องปลูกฝังลัทธิ เสรีนิยมแทนอํานาจนิยม และสร้างกลไกให้การเมืองสามารถแก้ไขความขัดแย้งโดยสันติและในวิถีรัฐธรรมนูญ โดยไม่ต้องพึ่งรัฐประหารไป”

63. บทความนี้แสดงความคิดเห็นในระดับใด
(1) เสนอแนะ
(2) อธิบายความ
(3) วิพากษ์วิจารณ์
(4) เสนอแนวทางการแก้ปัญหา
ตอบ 4 หน้า 88 – 89, (คําบรรยาย) การแสดงความคิดเห็นในบทความ บทวิเคราะห์ และ บทบรรณาธิการ อาจแบ่งตามระดับจากง่ายไปยากที่สุดได้ ดังนี้
1. ระดับอธิบายความ คือ ผู้เขียนตีความเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบ ที่เกิดขึ้น และคาดการณ์ถึงสิ่งที่จะตามมา
2. ระดับวิพากษ์วิจารณ์ คือ ผู้เขียนประเมินค่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าดีหรือไม่ดี เห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย ใครถูกใครผิด ฯลฯ โดยแจกแจงให้เห็นข้อดีข้อด้อยในเรื่องนั้น ๆ
3. ระดับเสนอทางแก้ปัญหา คือ ผู้เขียนให้คําแนะนําหรือให้ข้อเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาแก่ ผู้รับผิดชอบ จึงจัดเป็นการเขียนในเชิงวิเคราะห์ที่กล่าวถึงสาเหตุและเสนอทางออกไปพร้อมกัน

64. บทความนี้ใช้ภาษาระดับลีลาใด
(1) ลีลาเยือกเย็น
(2) ลีลาทางการ
(3) ลีลาปรึกษาหารือ
(4) ลีลากันเอง
ตอบ 2 หน้า 15, 90, 92, (คําบรรยาย) ลีลาทางการ (Format Style) เป็นลีลาของวัจนภาษาที่เป็น พิธีการน้อยกว่าลีลาเยือกเย็น แต่ก็ยังมีลักษณะเป็นแบบแผน และมุ่งสื่อสารไปยังกลุ่มคนที่ ไม่เฉพาะเจาะจงว่าเป็นบุคคลใด เช่น ภาษาที่ใช้เขียนหนังสือราชการ หนังสือเรียน การเขียน บทบรรณาธิการในหนังสือพิมพ์ บทความทางวิชาการ บทวิเคราะห์ การปาฐกถา การบรรยาย ฯลฯ

65. บทความข้างต้นเป็นบทบรรณาธิการประเภทใด
(1) อธิบายความ
(2) วิพากษ์วิจารณ์
(3) แนะนํา
(4) เรียกร้องให้เกิดการกระทํา
ตอบ 4 หน้า 92 บทบรรณาธิการประเภทเรียกร้องให้เกิดการกระทํา (Demand Action) จัดเป็น
บทบรรณาธิการที่เรียกร้องให้บุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งรัฐบาลและเอกชนให้ลงมือกระทําอย่างใด
อย่างหนึ่งในทันทีทันใด โดยต้องชี้ให้เห็นถึงความรุนแรงของปัญหาและเหตุผลที่ต้องเรียกร้อง ให้มีการปฏิบัติ ซึ่งกองบรรณาธิการจะต้องให้ข้อมูล หลักฐาน ตัวเลข ตัวอย่างเพียงพอที่จะ สนับสนุนข้อเรียกร้องนั้นได้อย่างเต็มที่ และสามารถทําให้ผู้อ่านคล้อยตาม

ข้อ 66 – 67. จงใช้บทความต่อไปนี้ตอบคําถาม

“แต่ถึงจะทําได้หรือทําไม่ได้ก็ตาม นักการเมืองหรือพรรคการเมืองจะต้องรักษาคําสัญญาที่ให้ไว้ ต่อประชาชนในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง เพื่อสร้างศรัทธาต่อระบอบประชาธิปไตย ระบบของรัฐสภา
และนักการเมือง”

66. ข้อความนี้เป็นส่วนหนึ่งของบทบรรณาธิการประเภทใด
(1) ให้ข่าวสาร
(2) อธิบายความ
(3) แนะนํา
(4) เรียกร้องให้กระทํา
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 65. ประกอบ

67. บทความข้างต้นแสดงความคิดเห็นในระดับใด
(1) อธิบายความ
(2) วิพากษ์วิจารณ์
(3) วิเคราะห์
(4) ให้คําแนะนํา
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 63. ประกอบ

68. “คนแห่จองเหรียญที่ระลึกในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในหลวงรัชกาลที่ 9 ล้นหลาม…”
เป็นความนําประเภทใด
(1) Picture Lead
(2) Contrast Lead
(3) Background Lead
(4) Punch Lead
ตอบ 3 หน้า 84 ความนําแบบให้ภูมิหลัง (Background Lead) คือ การเขียนความนําข่าวที่เหมาะ สําหรับเหตุการณ์ที่เป็นความคืบหน้าของเหตุการณ์ที่เคยเป็นข่าวไปแล้ว เพื่อให้ผู้อ่านที่มิได้ ติดตามข่าวก่อนหน้านั้นได้ทราบภูมิหลังของข่าวก่อนที่จะรายงานความคืบหน้าต่อไป

69. คําว่า “Editing” ในบทที่ 9 เรื่องภาษาโทรทัศน์ หมายถึงอะไร
(1) การตัดต่อ
(2) การตัดต่อลําดับภาพ
(3) บรรณาธิการ
(4) การบรรณาธิกรณ์
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 60. ประกอบ

70. “เผยคนไทยนักดื่มอันดับ 3 ของเอเชีย” พาดหัวข่าวนี้มีลักษณะการใช้ภาษาอย่างไร
(1) ใช้คําย่อ
(2) ตัดคําสั้น
(3) ละประธานของประโยค
(4) ใช้ฉายาพาดหัว
ตอบ 3 หน้า 81 – 82 การละประธานของประโยค บางครั้งการเขียนพาดหัวข่าวอาจจะขึ้นต้นด้วย คํากริยาเพื่อชี้ให้เห็นความสําคัญของเหตุการณ์ว่าเกิดอะไรขึ้น เช่น ลงทะเบียนวันแรกคึก หวยเสรี ไล่ยิงน้ององอาจ เมียลูกรับเคราะห์, เผยคนไทยนักดื่มอันดับ 3 ของเอเชีย ฯลฯ

71. “พริมต้องรีบออกไปทํางานก่อน คุณทานบัตเตอร์เค้กกับกาแฟที่พริมเตรียมไว้ให้ก่อนนะคะ แต่บัตเตอร์เค้ก อาจเหลือน้อยไปนิด ทั้งหอม ทั้งนุ่ม อร่อยขนาดนั้น” เป็นการเขียนข้อความโฆษณาแบบใด
(1) เขียนข่าว
(2) ใช้อารมณ์ขัน
(3) เล่าเรื่อง
(4) บทพูด
ตอบ 4 บทสนทนา หน้า 49 การใช้บทพูดหรือบทสนทนา เป็นวิธีการเขียนข้อความโฆษณาส่วนเนื้อเรื่องในลักษณะ บทพูด ซึ่งอาจเป็นบทพูดของคนคนเดียว (Monologue) ที่พูดถึงความรู้สึกของเขาต่อสินค้า หรือบริการ หรือเป็นบทสนทนา (Dialogue) ระหว่างคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปที่สนทนากันเกี่ยวกับ ความรู้สึกและประสบการณ์ที่ได้รับจากการใช้สินค้า ดังนั้นวิธีนี้จึงมักใช้กับลีลาการโฆษณา แบบอ้างพยาน (Testimonial) โดยใช้บุคคลที่เคยใช้สินค้ามากล่าวยืนยันเกี่ยวกับสินค้านั้น ๆ

72. รายการสารคดี เป็นรายการประเภทใด
(1) ข่าวสาร
(2) ความรู้
(3) ความบันเทิง
(4) โน้มน้าวใจ
ตอบ 2 หน้า 95, (คําบรรยาย) รายการประเภทความรู้ หมายถึง รายการที่มุ่งให้ความรู้หรือการศึกษา ซึ่งจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมวิชาการ อาชีพ วัฒนธรรม และแนวทางการดําเนินชีวิตที่ดีของประชาชน
เช่น รายการสารคดี รายการธรรมะ รายการศิลปวัฒนธรรม ฯลฯ

73.“4 สาวโคโยตี้วัย 17 โร่แจ้งความดําเนินคดีป่าเกิด ขู่บังคับให้ขายตัว” เป็นความนําประเภทใด
(1) The Who Lead
(2) The What Lead
(3) The Where Lead
(4) The Why Lead
ตอบ 1 หน้า 83 ความนําแบบสรุป (Summary Lead) แบ่งออกเป็น 6 ประเภท ดังนี้
1. The Who Lead ได้แก่ ความนําที่ขึ้นต้นด้วยบุคคล องค์กรหรือสถาบันที่เป็นข่าว
2. The What Lead ได้แก่ ความนําที่ขึ้นต้นด้วยเหตุการณ์หรือสิ่งที่เกิดขึ้น
3. The Where Lead ได้แก่ ความนําที่ขึ้นต้นด้วยสถานที่ที่เกิดเหตุ
4. The When Lead ได้แก่ ความนําที่ขึ้นต้นด้วยวันเวลาที่เกิดเหตุ
5. The Why Lead ได้แก่ ความนําที่ขึ้นต้นด้วยสาเหตุหรือเหตุผลของเรื่องนั้น ๆ
6. The How Lead ได้แก่ ความนําที่ขึ้นต้นด้วยการอธิบายความถึงวิธีการแห่งเหตุการณ์ที่เป็นข่าว

74.“4 สาวโคโยตี้วัย 17 โร่แจ้งความดําเนินคดีป่าเกิด ขู่บังคับให้ขายตัว” มีลักษณะการใช้ภาษาอย่างไร
(1) ใช้ภาษาทางการ
(2) ใช้คําที่ชวนสงสัย
(3) ใช้คํา Vivid
(4) ใช้ Strong Words
ตอบ 3 หน้า 82 การใช้คํากริยาที่มีชีวิตชีวา ใช้คําที่มีพลังและสร้างสีสัน (Vivid) หรือใช้คําที่ทําให้เกิด ภาพพจน์ในการพาดหัวข่าว ซึ่งบางครั้งคํากริยาที่มีชีวิตชีวานั้นก็เป็นการสร้างสีสันเกินจริง เช่น การใช้คําว่า โวย, วาย, โต้, ปู, ป่วน, เด้ง, ผวา, อุ้ม, เช่น, ฮือ เป็นต้น :

75. “ใช้ภาษาสื่อความหมาย ให้ภาพพจน์” คําว่า “ภาพพจน์” ในที่นี้หมายถึงอะไร
(1) ภาพลักษณ์
(2) ภาพประทับใจ
(3) ภาพที่เกิดจากคําพูด
(4) ภาพที่เกิดจากการประชาสัมพันธ์
ตอบ 3 หน้า 104 ภาษาที่ใช้ทางวิทยุกระจายเสียงต้องเป็นภาษาที่สื่อความหมายชัดเจน ทําให้ผู้ฟัง เกิดภาพพจน์ (Figure of Speech) ซึ่งในที่นี้หมายถึง ภาพที่เกิดจากคําพูด โดยต้องเป็นภาษา ที่เหมาะสมกับเนื้อหา รูปแบบราชการ และเหมาะสมกับผู้ฟัง เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย และต้อง เป็นภาษาพูดไม่ใช่ภาษาเขียน

76. ข้อใดเป็นวิธีการลําดับภาพโดยใช้ภาพจางซ้อน
(1) Cut
(2) Wipe
(3) Dissolve
(4) Split Screen
ตอบ 3 หน้า 114 ดิสซอลว์ (Dissolve) คือ เทคนิคการตัดต่อลําดับภาพเพื่อทําภาพผสมให้จางซ้อนกัน โดยที่ภาพ ๆ หนึ่งค่อย ๆ จางหายไป ในขณะที่ภาพอีกภาพหนึ่งขึ้นมาแทนที่

77. ความเร็วในการอ่านบทหรือการขุดทางวิทยุกระจายเสียงขึ้นอยู่กับอะไร
(1) เวลา
(2) ระบบการกระจายเสียง
(3) ประเภทและรูปแบบรายการ
(4) ลีลาของผู้ประกาศ
ตอบ 3 หน้า 99 ความเร็วในการอ่านบทหรือการพูดทางวิทยุกระจายเสียงจะขึ้นอยู่กับประเภทและ รูปแบบรายการ ดังนี้
1. การอ่านข่าว ต้องอ่านคล่องแคล่วทันใจ ไม่จําเป็นต้องทอดจังหวะ
2. การอ่านบทความหรือสารคดี ต้องมีจังหวะจะโคน เน้นคํา เน้นความมากกว่าการอ่านข่าว
3. การอ่านคําประกาศและโฆษณา จะต้องอ่านเร็ว มีการเน้นย้ํา ลงน้ำหนักคํา ฯลฯ

78. การเปล่งเสียงเป็นธรรมชาติ หมายถึงอะไร
(1) การพูดโดยไม่มีบท
(2) การพูดตามธรรมชาติของแต่ละคน
(3) การพูดโดยใช้เสียงแท้เปล่งจากช่องท้อง
(4) การพูดเหมือนแสดงละคร
ตอบ 3 หน้า 99 – 100 หลักการพูดหรืออ่านทางวิทยุกระจายเสียงประการหนึ่ง คือ ต้องมีการเปล่งเสียง ที่เป็นธรรมชาติ ได้แก่
1. เป็นเสียงพูดที่แสดงความมั่นใจ ไม่ตะกุกตะกัก
2. เป็นเสียงที่ฟัง รื่นหู ไม่แข็งกระด้างหรือเน้นเสียงจนเกินไป
3. เป็นเสียงแท้ของผู้อ่าน โดยฝึกการเปล่งเสียง จากช่องท้อง ไม่ควรดัดเสียงหรือบีบเค้นเสียง แต่ควรมีน้ําหนักเสียงสูง-ต่ําตามธรรมชาติ
4. ในกรณีที่เป็นการอ่านบท ผู้อ่านต้องเข้าใจและตีบทให้แตกก่อนอ่าน

79. ข้อใดหมายถึงรายการที่มุ่งให้ความรู้
(1) Documentary
(2) Editoriat
(3) Advertorial
(4) Drama
ตอบ 1 หน้า 96 – 97, (คําบรรยาย) รายการสารคดี (Documentary or Feature Programme) คือ รายการที่มุ่งให้ความรู้ในเรื่องราวใดเรื่องราวหนึ่ง เช่น เรื่องราวในประวัติศาสตร์ เรื่องเล่า ตํานาน หรือเรื่องราวจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและอยู่ในความสนใจของประชาชนทั่วไป โดยใช้ เทคนิคการนําเสนอหลาย ๆ รูปแบบในรายการเดียวกัน

80. การเขียนบทวิทยุกระจายเสียงสําหรับรายการข่าว ควรเขียนแบบใด
(1) วางโครงร่างคร่าว ๆ
(2) ประเภทกึ่งสมบูรณ์
(3) ประเภทสมบูรณ์
(4) ประเภทแสดงเค้าโครง
ตอบ 3 หน้า 105, (คําบรรยาย) การเขียนบทวิทยุกระจายเสียงมีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่
1. บทที่วางโครงร่างคร่าว ๆ (Run-down Sheet) คือ บทที่ร่างลําดับเนื้อหาหรือลําดับการทํางานไว้สําหรับผู้ร่วมงาน ซึ่งมักใช้กับรายการเพลง
2. บทกึ่งสมบูรณ์ (Semi Script) คือ บทที่มีรายละเอียดสมบูรณ์ในบางส่วนและละไว้บางส่วน มักใช้กับรายการสัมภาษณ์ สนทนา ฯลฯ
3. บทสมบูรณ์ (Complete Script) คือ บทที่มีรายละเอียดทุกอย่างกําหนดไว้ชัดเจน มักใช้ กับรายการละครวิทยุ ข่าว บทความ สปอตโฆษณา ฯลฯ

81. ดนตรีประกอบในรายการโทรทัศน์ มีหน้าที่อะไร
(1) บอกเล่าเรื่องราว
(2) ถ่ายทอดเนื้อหา
(3) เน้นอารมณ์ของผู้แสดง
(4) เชื่อมระหว่างฉากต่อฉาก
ตอบ 3 หน้า 116, (คําบรรยาย) เสียงดนตรีประกอบในรายการโทรทัศน์ ถือเป็นสิ่งสําคัญรองจาก ภาพและคําพูด ซึ่งมีบทบาทหน้าที่สําคัญ ดังนี้
1. ใช้เพื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหาหลักของเรื่องหรือรายการ
2. ใช้เพื่อสร้างหรือเสริมจังหวะการเคลื่อนไหวของภาพ
3. ใช้เพื่อเน้นอารมณ์และความรู้สึกของผู้แสดง
4. ช่วยสร้างความรู้สึกแก่สถานการณ์ของเรื่องราว
5. ใช้เป็นดนตรีประจํารายการเมื่อเริ่มและจบรายการ

ข้อ 82 – 84. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Host
(2) Vox-pop
(3) Announcer
(4) Formal Interview

82. ข้อใดหมายถึงผู้จัดรายการสนทนา
ตอบ 1 หน้า 96, (คําบรรยาย) Host หมายถึง ผู้จัดรายการหรือผู้ดําเนินรายการสนทนา มีหน้าที่ กล่าวเปิดรายการ นําเข้าสู่ประเด็นที่จะสนทนา แนะนําผู้ร่วมสนทนาหรือแขกรับเชิญ (Guest) โดยอาจคอยพูดเชื่อมโยงให้การสนทนาอยู่ในประเด็น และสรุปใจความสําคัญของการสนทนา
อีกครั้งหนึ่ง

83. ข้อใดหมายถึงผู้ประกาศหรืออ่านข่าว
ตอบ 3 หน้า 107, (คําบรรยาย) Announcer หมายถึง ผู้ประกาศ ผู้อ่าน หรือโฆษก มีหน้าที่อ่าน หรือประกาศข่าวสารเพื่อถ่ายทอดไปยังผู้ชม ผู้ฟัง ซึ่งผู้อ่านหรือผู้ประกาศจะต้องมีพื้นฐานการศึกษา ประสบการณ์ และการฝึกฝนมาอย่างดี

84. ข้อใดหมายถึงการสัมภาษณ์เสียงของประชาชน
ตอบ 2 หน้า 96 รายการสัมภาษณ์ (Interview Programme) คือ รายการที่มีบุคคล 2 ฝ่าย โดยฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ซักถามหรือผู้สัมภาษณ์ (Interviewer) และอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ให้สัมภาษณ์ (Interviewee) ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่
1. รายการสัมภาษณ์อย่างเป็นทางการ (Format Interview)
2. รายการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ (Informat Interview)
3. การสัมภาษณ์เสียงของประชาชนทั่วไป (Vox-pop)

85. หากต้องการถ่ายภาพทิวทัศน์ ควรใช้ภาพขนาดใด
(1) MS ตอบ 4
(2) MLS
(3) LS
(4) ELS
หน้า 109, (คําบรรยาย) ภาพระยะไกลมาก (Extreme Long Shot : ELS) เป็นการถ่ายภาพ ในระยะไกลมาก ได้แก่ ภาพวิว หรือภาพทิวทัศน์ที่แสดงทัศนียภาพขององค์ประกอบทั้งหมด เช่น การถ่ายทํารายการสารคดีท่องเที่ยว เป็นต้น

86. คําสนทนาในบทละครโทรทัศน์ เรียกว่าอะไร
(1) Narration
(2) Announcement
(3) Monologue
(4) Dialogue
ตอบ 4 หน้า 106, (คําบรรยาย) คําสนทนาแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
1. Monologue คือ คําสนทนาที่เป็นบทพูดของผู้พูดเพียงคนเดียวในลักษณะที่เป็นการสื่อสาร กับผู้ชมรายการโดยตรง
2. Dialogue คือ คําสนทนาที่เป็นบทพูดโต้ตอบกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ซึ่งมักพบในรายการ สัมภาษณ์ ละครโทรทัศน์ ฯลฯ

87. ภาพแต่ละภาพที่ปรากฏในรายการโทรทัศน์ เรียกว่าอะไร
(1) Frame
(2) Image
(3) Shot
(4) Photo
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 59. ประกอบ

88. ข้อใดหมายถึงการเปลี่ยนแปลงระยะของภาพโดยการเปลี่ยนความยาวโฟกัสของเลนส์
(1) Zoom
(2) Dolly
(3) Boom
(4) Pan
ตอบ 1 หน้า 113, (คําบรรยาย) ซูม (Zoom) คือ เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องโดยการเปลี่ยนความยาว โฟกัสของเลนส์ซูมให้ยาวขึ้น เพื่อเปลี่ยนแปลงระยะของภาพให้วัตถุที่ถ่ายดูใกล้เข้ามา ทําให้ได้ ภาพโตขึ้นตามลําดับ (Zoom In) หรือเปลี่ยนความยาวโฟกัสของเลนส์ซูมให้สั้นเข้า เพื่อเปลี่ยนแปลงระยะของภาพให้วัตถุที่ถ่ายดูไกลออกไป ทําให้ได้ภาพเล็กลงตามลําดับ (Zoom Out)

89.Knees Shot หมายถึงภาพขนาดใด
(1) MS
(2) MLS
(3) LS
(4) ELS
ตอบ 2หน้า 109 ภาพระยะปานกลางค่อนข้างไกล (Medium Long Shot : MLS) เป็นภาพถ่าย ในระยะที่เห็นรายละเอียดของจุดเด่นในภาพไม่มากนัก แต่จะเห็นองค์ประกอบอื่น ๆ ในภาพ มากขึ้น ซึ่งหากเป็นการถ่ายภาพบุคคลก็จะเห็นในระดับหัวเข่า ดังนั้นบางครั้งจึงเรียกภาพระยะนี้ว่า Knees Shot

90. ควรใช้เทคนิคใดหากต้องการใส่ชื่อและตําแหน่งบุคคลผู้ให้สัมภาษณ์ซ้อนในภาพ
(1) Title
(2) Superimpose
(3) Split Screen
(4) Sub-title
ตอบ 2 หน้า 106 – 107, 114, (คําบรรยาย) ซูเปอร์อิมโพส (Superimpose) คือ เทคนิคการใช้ ตัวหนังสือหรือภาพ ๆ หนึ่งซ้อนทับลงบนอีกภาพหนึ่ง ซึ่งมักใช้ในการทําคําบรรยายที่เป็น ตัวอักษรซ้อนลงบนภาพที่อยู่นิ่งหรือเคลื่อนไหว ได้แก่
1. การทําไตเติ้ลรายการ คือ คําบรรยายที่บอกชื่อรายการ ชื่อผู้แสดงหรือผู้ที่ร่วมรายการ ผู้กํากับรายการ ช่างกล้อง ช่างแสง ฯลฯ โดยมักใช้ในตอนเริ่มรายการและตอนจบรายการ
2. Sub-title คือ คําบรรยายสั้น ๆ ที่บอกชื่อและตําแหน่งบุคคลในรายการโทรทัศน์ โดยจะใช้ ตัวอักษรวิ่งสีขาวที่ด้านล่างของจอ หรือใช้ตัวอักษรซ้อนลงบนภาพ มักใช้ในรายการข่าว สนทนา สัมภาษณ์ อภิปราย หรือภาพยนตร์ต่างประเทศที่มีคําบรรยายภาษาไทย

91. ขณะที่ถ่ายทําละครนอกสถานที่ แผ่นโฟมที่วางรับแสงอาทิตย์สะท้อนเข้าสู่ผู้แสดง ทําหน้าที่แทนอะไร
(1) แสงไฟหลัก
(2) ไฟลบเงา
(3) ไฟส่องฉากหลัง
(4) แผ่นกรองแสง
ตอบ 2 หน้า 115 ในกรณีที่ถ่ายทําละครนอกสถานที่ หากถ่ายภาพในช่วงเที่ยงตรงแสงจากดวงอาทิตย์ จะส่องเหนือศีรษะผู้แสดง ทําให้ดูนัยน์ตาของผู้แสดงลึกโบ๋ ดังนั้นหากจะถ่ายทําในช่วงเวลา ดังกล่าวจึงควรใช้แผ่นโฟมสะท้อนแสง (Reflex) เพื่อทําหน้าที่แทนแสงไฟลบเงา (Fill Light)ในห้องส่งโทรทัศน์

92. หากต้องการนําเสนอภาพทิวทัศน์โดยให้ผู้ชมได้ชื่นชมทิวทัศน์ในมุมกว้าง โดยการหันกล้องซึ่งติดตั้งอยู่บนเครนจากซ้ายไปขวา หรือขวามาซ้าย เป็นการใช้เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องข้อใด
(1) แพน
(2) ดอลลี่
(3) ทังค์
(4) บูม
ตอบ 3 หน้า 112 ทั้งค์ (Tongue) คือ เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องโดยการหันกล้องซึ่งติดตั้งอยู่บนเครน หรือปั้นจั่นจากซ้ายไปขวา หรือขวามาซ้าย ในขณะที่ระดับสูงต่ําของกล้องยังอยู่ในระดับเดิม เพื่อให้ผู้ชมเห็นภาพในมุมกว้างได้มากขึ้น

ข้อ 93 – 95. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Cut
(2) Wipe
(3) Freeze Frame
(4) Split Screen

93. ข้อใดเป็นเทคนิคการหยุดภาพไว้ให้ผู้ชมได้เห็นเป็นภาพนิ่ง
ตอบ 3 หน้า 114, (คําบรรยาย) ฟรีซเฟรม (Freeze Frame) คือ เทคนิคการหยุดภาพหรือแช่ภาพไว้ ให้ผู้ชมได้เห็นภาพนั้นนิ่ง ๆ อยู่ชั่วขณะหนึ่ง ส่วนมากจะใช้ในฉากจบของละครโทรทัศน์แต่ละตอน ก่อนที่ไตเติ้ลตอนจบจะขึ้น

94. ข้อใดเป็นวิธีการลําดับภาพที่รวดเร็วและง่ายที่สุด
ตอบ 1 หน้า 114 การคัด (Cut) คือ การตัดภาพจากกล้องหนึ่งไปยังอีกกล้องหนึ่ง ซึ่งเป็นวิธีการ
ลําดับภาพที่รวดเร็วและง่ายที่สุด

95. ข้อใดเป็นเทคนิคที่นํามาใช้เมื่อต้องการเสนอภาพการถ่ายทอดฟุตบอลพร้อมกับโฆษณา
ตอบ 4 หน้า 114 สปลิตสกรีน (Split Screen) คือ เทคนิคการแบ่งกรอบภาพ (Frame) ออกเป็นส่วน ๆ เพื่อนำเสนอภาพหลาย ๆ ภาพลงในหน้าจอเดียวกัน เช่น การเสนอภาพการถ่ายทอดสดฟุตบอล และโฆษณาไปพร้อม ๆ กัน เป็นต้น

ข้อ 96. – 98. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) ทังค์
(2) บูม
(3) ทิลท์
(4) อาร์ค

96. ข้อใดหมายถึงเทคนิคการเคลื่อนกล้องเป็นแนวโค้งรอบตัวผู้แสดง
ตอบ 4 หน้า 113, (คําบรรยาย) อาร์ค (Arc) คือ เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องอย่างช้าในลักษณะเดียวกับ ดอลลี่ (Dolly) แต่เป็นการเคลื่อนกล้องเป็นแนวโค้งในลักษณะครึ่งวงกลม ทั้งนี้เพื่อนําเสนอ ภาพเคลื่อนไหวรอบตัวผู้แสดง

97. ข้อใดหมายถึงเทคนิคการเคลื่อนกล้องขึ้น-ลงบนเครน
ตอบ 2 หน้า 112, (คําบรรยาย) บูม (Boom) คือ เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องขึ้น-ลงในแนวตั้งบน ฐานกล้องแบบปั้นจั่นหรือกล้องอยู่บนเครน ซึ่งจะใช้เมื่อต้องการเปลี่ยนมุมกล้องให้สูงหรือต่ํา

98. ข้อใดหมายถึงเทคนิคการเงยหรือก้มกล้องในแนวตั้ง
ตอบ 3 หน้า 112, (คําบรรยาย) ทิลท์ (Tilt) คือ เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องโดยการเงยกล้อง (Tilt Up) หรือก้มกล้อง (Tilt Down) ในลักษณะแนวตั้ง เพื่อให้ผู้ชมสามารถเห็นภาพมุมสูงและภาพมุมต่ํา ได้มากขึ้น เช่น การนําเสนอภาพตึกสูงในแนวตั้งโดยการเงยกล้อง (Tilt Up) เพื่อให้ผู้ชมได้เห็น ภาพของตึกไล่ขึ้นไปจนถึงยอดตึก เป็นต้น

99.Commentator หมายถึงอะไร
(1) ผู้ประกาศข่าวโทรทัศน์
(2) ผู้อ่านบทโฆษณา
(3) ผู้บรรยาย
(4) ผู้กํากับรายการโทรทัศน์
ตอบ 3 หน้า 97, (คําบรรยาย) Commentator หมายถึง ผู้บรรยาย ผู้วิเคราะห์หรือผู้วิจารณ์ ในรายการวิจารณ์ข่าว (News Commentary) มีหน้าที่หยิบยกประเด็นที่อยู่ในความสนใจ ของสังคมขึ้นมาอธิบาย วิพากษ์วิจารณ์ หรือแสดงความคิดเห็น บางรายการอาจเปิดโอกาส ให้ผู้ฟังร่วมแสดงความคิดเห็นด้วย

100. Run-down Sheet ควรใช้สําหรับรายการประเภทใด
(1) ข่าว
(2) บทความ
(3) สารคดี
(4) เพลง
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 80. ประกอบ

 

Advertisement