การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2555
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 2106 (MC 216) ภาษาเพื่อการสื่อสารมวลชน
คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)
1. ภาษามีความสำคัญต่อการสื่อสารอย่างไร
(1) เป็นบริบทของการสื่อสาร
(2) เป็นช่องทางการสื่อสาร
(3) เป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้แทนความหมาย
(4) เป็นวิธีการสื่อสาร
ตอบ 3 หน้า 1 ภาษามีความสำคัญต่อการสื่อสาร คือ ภาษาเป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้แทนความหมาย ทำให้ มนุษย์สามารถส่งความหมายที่อยู่ในความคิดของตนไปยังอีกฝ่ายหนึ่งได้ โดยให้ทั้งสองฝ่ายรับรู้ และเข้าใจความหมายร่วมกัน ดังนั้นภาษาจึงมีความสำคัญต่อการสื่อสารของมนุษย์อย่างยิ่ง เพราะหากไม่มีภาษา มนุษย์ย่อมไม่สามารถส่อสารกันได้
2. แนวคิดวัฒนธรรมนิยม มองว่าภาษาเป็นอย่างไร
(1) เป็นไปตามโครงสร้างที่แน่นอน
(2) เป็นสิ่งที่หยุดนิ่งตายตัว
(3) เป็นกรอบความคิดของมนุษย์
(4) สร้างสรรค์ความจริงทางสังคม
ตอบ 4 (คำบรรยาย) แนวคิดในเชิงวัฒนธรรมนิยม (Cutturalism) มองว่า ภาษาไม่ใช่สิ่งที่หยุดนิ่งตายตัว แต่มีความสัมพันธ์กับบริบททางสังคมและวัฒนธรรม ดังนั้นภาษาจึงเป็นสิ่งที่เกิดจากการสร้างสรรค์ ของมนุษย์เพื่อก่อให้เกิดความคิดและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ รวมถึงการสร้างสรรค์ ความจริงทางสังคม (Social Reality) หรือโลกทางสังคม (Social World)
3. แนวคิดโครงสร้างนิยม มองว่าภาษาเป็นอย่างไร
(1) ไม่ใช่สิ่งที่หยุดนิ่งตายตัว (2) มีความสัมพันธ์กับบริบททางสังคม
(3) เป็นเสมือนบันทึกทางสังคม (4) สร้างสรรค์ความจริงทางสังคม
ตอบ 3 (คำบรรยาย) แนวคิดในเชิงโครงสร้างนิยม (Structuralism) มองว่า ภาษาเป็นสิ่งที่วิวัฒนาการ สืบต่อกันมา โดยมีโครงสร้างที่แน่นอน และมีระบบไวยากรณ์เป็นตัวกำหนดหลักเกณฑ์หรือ ควบคุมการใช้ภาษา ดังนั้นผลผลิตทางด้านภาษาจึงเป็นเสมือนบันทึกทางสังคม และเป็น กรอบความคิดของมนุษย์
4. ในยุคปัจจุบันการบันทึกความคิดทางสังคมปรากฏอยู่ที่ใด
(1) ในห้องสมุด (2) ในพิพิธภัณฑ์
(3) ในหอจดหมายเหตุ (4) ในเพลง ภาพยนตร์ ละคร
ตอบ 4 หน้า 20, (คำบรรยาย) การบันทึกความคิดทางสังคมในยุคปัจจุบันจะปรากฏอยู่ทั่วไปในสื่อ สมัยใหม่จำนวนมาก เช่น เพลง ภาพยนตร์ หรือละคร นอกเหนือไปจากสื่อวรรณกรรมประเภทต่าง ๆ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นการบันทึกความคิดทางสังคมในยุคอดีต)
5. การที่ผู้ส่งสารกับผู้รับสารพูดคนละภาษา เป็นอุปสรรคการสื่อสารข้อใด
(1) Semantic Noise (2) Mechanical Noise
(3) Environmental Noise (4) Communication Noise
ตอบ 1 หน้า 6 อุปสรรคด้านภาษา (Semantic Noise) หมายถึง อุปสรรคการสื่อสารที่เกิดจากการ แปลความหมายของคำและประโยค ซึ่งต้องผ่านการตีความหมาย แต่บางครั้งการใช้คำหรือ ประโยคไม่ถูกต้องทำให้การเข้าใจความหมายผิดพลาดหรือบิดเบือนไปจากสิ่งที่ต้องการจะสื่อ โดยมักจะเกิดขึ้นเมื่อประชาชนต่างกลุ่มต่างท้องถิ่นพูดกันคนละภาษา หรือขาดทักษะทางภาษา จึงให้ความหมายต่อคำ วลี หรือประโยคใดประโยคหนึ่งแตกต่างกัน
6. การทำความเข้าใจความหมายของ “ภาษา” ต้องอาศัยอะไร
(1) ผู้สงสาร (2) บริบทของการสื่อสาร (3) การเข้ารหัส (4) การสื่อสารกลับ
ตอบ 2 หน้า 7, 10 บริบทของการสื่อสาร (Communication Context) หมายถึง สภาวะแวดล้อม ที่มีอิทธิพลกำกับความหมายและพฤติกรรมการสื่อสารของมนุษย์ ซึ่งการที่มนุษย์จะมีพฤติกรรมการสื่อสารอย่างไร หรือทำความเข้าใจความหมายของภาษาร่วมกันได้เพียงใดนั้น ย่อมต้องอาศัยบริบทของการสื่อสารอย่างน้อย 4 มิติ ได้แก่ 1. มิติทางกายภาพ2. มิติทางวัฒนธรรม 3. มิติทางจิตวิทยาสังคม 4. มิติทางด้านเวลา
7. อวัจนภาษาข้อใดที่เป็นภาษาหลักของสื่อวิทยุโทรทัศน์
(1) ปริภาษา (2) อาการภาษา (3) กายภาษา (4) ภาพ
ตอบ 4 หน้า 106, 108, 117 ในการผลิตรายการทางสื่อวิทยุโทรทัศน์นั้น เราจะถือว่าภาพ (Image) เป็นอวัจนภาษาที่เป็นภาษาหลัก ส่วนคำบรรยาย (Narrative or Commentary) เป็นวัจนภาษา ที่เป็นภาษารอง ซึ่งจะช่วยเสริมความเข้าใจให้ผู้ชมเมื่อดูภาพอย่างเดียวแล้วไม่สามารถเข้าใจได้ นอกจากนี้อวัจนภาษาประเภทอื่น เช่น ดนตรี แสง สี เสียง ขนาด และมุมกล้องจะเป็นตัวช่วยเสริม เพื่อสื่อเรื่องราวในภาพให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
8. การที่สิ่งเร้ากระทบประสาทสัมผัส เป็นขั้นตอนใดของกระบวนการรับรู้
(1) Sensory Stimulation (2) Stimulation is Organized
(3) Stimulation is Interpreted (4) Stimulation is Evaluated
ตอบ 1 หน้า 11 เดอวิโต (Devito) ได้อธิบายกระบวนการรับรู้ว่าประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ที่ต่อเนื่องกัน ดังนี้ 1. สิ่งเร้ากระทบกับประสาทสัมผัส (Sensory stimulation)
2. สิ่งเร้าที่ผ่านประสาทสัมผัสถูกจัดหมวดหมู่ (Sensory Stimulation is Organized)
3. สิ่งเร้าที่ผ่านประสาทสัมผัสถูกตีความและประเมินค่า (Sensory Stimulation is Interpreted-Evaluated)
9. การสื่อสารประเภทใดที่ไม่มีการสื่อสารกลับ
(1) การสื่อสารในตัวบุคคล (2) การสื่อสารระหว่างบุคคล
(3) การสื่อสารสาธารณะ (4) การสื่อสารมวลชน
ตอบ 4 หน้า 5 – 6, 8, 26 การสื่อสารกลับ (Feedback) หมายถึง ปฏิกิริยาตอบสนองของผู้รับสาร ที่ปรากฏอยู่ในรูปของสารที่ส่งกลับไปยังแหส่งสาร โดยการสื่อสารกลับสามารถเกิดขึ้นได้ทั้ง การสื่อสารภายในตัวบุคคล การสื่อสารระหว่างบุคคล และการสื่อสารสาธารณะ ยกเว้นในการ สื่อสารมวลชน ซึ่งเป็นกระบวนการสื่อสารทางเดียว (One-way Process) ที่ไม่มีการสื่อสารกลับ โดยทันที (Immediate Feedback) แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการสื่อสารกลับภายหลัง (Delayed Feedback) เช่น การส่งจดหมาย อีเมล์ โทรศัพท์ ฯลฯ
10. การคิดวิเคราะห์ เป็นการสื่อสารประเภทใด
(1) การสื่อสารภายในตัวบุคคล (2) การสื่อสารระหว่างบุคคล
(3) การสื่อสารในองค์กร (4) การสื่อสารมวลชน
ตอบ 1 หน้า 12 การสื่อสารภายในตัวบุคคล (Intrapersonal Communication) เป็นการที่มนุษย์ สื่อสารกับตนเอง ได้แก่ การคิด (Thinking) การใช้เหตุผล (Reason) การคิดวิเคราะห์ (Analyze) และการทบทวนตนเอง (Reflection) เป็นต้น