การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2563
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 2160 (MCS 2106) ภาษาเพื่อการสื่อสารมวลชน
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1.อะไรเป็นสื่อกลางสําหรับส่งผ่านหรือถ่ายทอดความคิด
(1) ผู้ส่งสาร
(2) ภาษา
(3) เครื่องมือการสื่อสาร
(4) ผู้รับสาร
ตอบ 2 หน้า 1 ประสิทธิ์ กาพย์กลอน มองว่า ภาษาเป็นสื่อกลางสําหรับส่งผ่านหรือถ่ายทอดความคิด แต่ก็มีทัศนะอื่น ๆ ที่มองแตกต่างออกไป เช่น นักภาษาบางกลุ่มมีความเห็นว่า ภาษาเป็นเครื่อง กําหนดความคิด นั่นคือ ภาษามีอิทธิพลต่อความคิดของคนเรา และยังมีอิทธิพลต่อการรับรู้และ พฤติกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์อีกด้วย

Advertisement

2.อะไรเป็นเครื่องกําหนดความคิด มีอิทธิพลต่อความคิด และมีอิทธิพลต่อการรับรู้และพฤติกรรมต่าง ๆ
ของมนุษย์
(1) ผู้ส่งสาร
(2) ภาษา
(3) เครื่องมือการสื่อสาร
(4) ผู้รับสาร
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

3.“พริตตี้ในงานแสดงมอเตอร์โชว์” เป็นบริบทการสื่อสารมิติใด
(1) กายภาพ
(2) จิตวิทยาสังคม
(3) วัฒนธรรม
(4) เวลา
ตอบ 1 หน้า 10, (คําบรรยาย) บริบทของการสื่อสารในมิติทางกายภาพ (The Physical Context) หมายถึง สภาวะแวดล้อมที่มองเห็นได้ในขณะที่การสื่อสารเกิดขึ้น ซึ่งจะมีอิทธิพลบางอย่างต่อ เนื้อหาและรูปแบบของเรื่องที่สื่อสาร เช่น สภาพแวดล้อมในห้องเรียน หอประชุม, การจัดแสดง แสง สี เสียง หรือสาวพริตตี้ในงานมอเตอร์โชว์, การจัดวางสินค้าหน้าร้านให้สวยงาม เป็นต้น

4.การที่มองว่าภาษามีส่วนสร้างความหมาย เป็นการมองภาษาตามแนวคิดใด
(1) โครงสร้างนิยม
(2) วัฒนธรรมนิยม
(3) สังคมนิยม
(4) บริโภคนิยม
ตอบ 2 หน้า 4, (คําบรรยาย) แนวคิดในเชิงวัฒนธรรมนิยม (Culturalism) มองว่า ภาษาไม่ใช่สิ่งที่ หยุดนิ่งตายตัว แต่มีความสัมพันธ์กับบริบททางสังคมและวัฒนธรรม ดังนั้นภาษาจึงไม่ได้เป็น เพียงการกําหนดคุณค่าหรือความหมายของสิ่งต่าง ๆ หรือความจริงที่อยู่ล้อมรอบตัวเท่านั้น แต่ภาษาเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการสร้างสรรค์ของมนุษย์ เพื่อก่อให้เกิดความคิดและนําไปสู่การ เปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ รวมไปถึงภาษามีส่วนสร้างความหมาย สร้างความเข้าใจต่อสิ่งต่าง ๆ และ สร้างสรรค์ความจริงทางสังคม (Social Reality) หรือโลกทางสังคม (Social World)

5.“Encoding” หมายถึงอะไร
(1) กระบวนการที่แหล่งสารแปรความคิดให้อยู่ในรูปที่อีกฝ่ายหนึ่งสามารถรับรู้ได้
(2) คําพูดหรือข้อเขียน สัญญาณ สัญลักษณ์ต่าง ๆ ซึ่งใช้แทนความหมาย
(3) วิธีการที่สารเดินทางไปยังผู้รับสาร
(4) กระบวนการที่ผู้รับสารพยายามทําความเข้าใจความหมายเรื่องราวที่อ่านหรือฟังนั้น
ตอบ 1 หน้า 8 กระบวนการเข้ารหัส (Encoding) หมายถึง การที่แหล่งสารแปรความคิดของตนให้ อยู่ในรูปที่อีกฝ่ายหนึ่งสามารถรับรู้ได้ โดยอาศัยประสาทสัมผัส (Senses) เช่น เมื่อแหล่งสาร ต้องการจะพูดอะไรบางอย่าง สมองของเขาจะทํางานร่วมกับอวัยวะในการเปล่งเสียง เพื่อคิด คําพูดและเปล่งเสียงออกมาเป็นคําพูด ประโยค และบทสนทนา เป็นต้น

6.“ภาษาเป็นสิ่งที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของมนุษย์ เพื่อก่อให้เกิดความคิดและนําไปสู่การเปลี่ยนแปลง
ใหม่ ๆ รวมถึงการสร้างความจริงทางสังคม” เป็นการมองภาษาตามแนวคิดใด
(1) วัตถุนิยม
(2) โครงสร้างนิยม
(3) บริโภคนิยม
(4) วัฒนธรรมนิยม
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

7.“ลําไย” หมายถึง รําคาญ เป็นการใช้ภาษาในความหมายลักษณะใด
(1) ความหมายโดยตรง
(2) ความหมายรอง
(3) ความหมายโดยนัย
(4) ความหมายเชิงวาทกรรม
ตอบ 3หน้า 14, (คําบรรยาย) ภาษาประกอบด้วยความหมายใน 2 ลักษณะ ดังนี้
1. ความหมายโดยตรง (Denotation) หมายถึง ความหมายที่ได้มาจากสัญลักษณ์ที่เด่นชัด ความหมายที่เชื่อมโยงกับสัตภาพอันเป็นสิ่งที่มีตัวตนอ้างถึงได้ หรือความหมายที่เจ้าของภาษารู้และใช้กันทั่วไป ดังนั้นจึงเป็นความหมายของคําตามที่ปรากฏในพจนานุกรม เช่น คําว่า “ลําไย” หมายถึง ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง ผลกลม รสหวาน เป็นต้น
2. ความหมายโดยนัย (Connotation) หมายถึง ความหมายเพิ่มเติมหรือความหมายรอง นอกเหนือไปจากความหมายโดยตรง ซึ่งจะมีความเกี่ยวข้องกับวัตถุน้อยกว่าความหมาย โดยตรง เช่น คําว่า “ลําไย” หมายถึง รําคาญ ซึ่งเป็นคําสแลงที่ใช้กันเฉพาะกลุ่ม เป็นต้น

8. “ภาษาในความหมายที่แคบ คือ ภาษาพูดและภาษาเขียน และในความหมายที่กว้างออกไป คือ ระบบ สัญลักษณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาษาท่าทาง ดนตรี เครื่องแต่งกาย ฯลฯ” เป็นการนิยามความหมายของ ภาษาตามแนวคิดใด
(1) วัตถุนิยม
(2) โครงสร้างนิยม
(3) บริโภคนิยม
(4) วัฒนธรรมนิยม ตอบ 2 หน้า 2 นักวิชาการแนวโครงสร้างนิยม เช่น โซซูร์ (Saussure) และเลวี สโตรสส์ (Levi Strauss) มองว่า ภาษาเป็นกรอบใหญ่ที่เข้ามากําหนดวิธีคิดของสมาชิกในสังคม โดยภาษาในความหมาย ที่แคบ คือ ภาษาพูดและภาษาเขียน และในความหมายที่กว้างออกไป คือ ระบบสัญลักษณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาษาท่าทาง ดนตรี เครื่องแต่งกาย ฯลฯ ซึ่งภาษาดังกล่าวล้วนมีโครงสร้างที่ผู้ใช้ จําเป็นต้องเข้าใจและนําไปใช้ตามกฎเกณฑ์ของภาษาเพื่อให้การสื่อสารสัมฤทธิผล

9.อะไรเป็นตัวกําหนดหลักเกณฑ์หรือควบคุมการใช้ภาษา
(1) ผู้ส่งสาร
(2) สื่อ
(3) สาร
(4) ไวยากรณ์
ตอบ 4 หน้า 2, (คําบรรยาย) แนวคิดเชิงโครงสร้างนิยม (Structuralism) มองว่า ภาษาเป็นเครื่องมือ ที่ใช้แทนความหมาย และเป็นกรอบความคิดของมนุษย์ โดยภาษา คือ สิ่งที่วิวัฒนาการสืบต่อ กันมา ซึ่งภาษาพูดและภาษาเขียนนั้นต่างก็มีโครงสร้างที่แน่นอน และปรากฏเป็นหน่วยย่อย ที่สามารถนํามาวิเคราะห์ได้ตามโครงสร้างของภาษา เช่น พยัญชนะ คํา พยางค์ เป็นต้น และ เมื่อนํามาประกอบเข้าด้วยกันอย่างมีระบบจะเรียกว่า “ไวยากรณ์” เป็นตัวกําหนดหลักเกณฑ์หรือควบคุมการใช้ภาษา

10. “แค่ขาวก็ชนะ” ข้อความนี้ต้องการสื่อความหมายว่าอย่างไร
(1) ผิวขาวทําให้ดูดีและประสบความสําเร็จ
(2) ผิวขาวเป็นคนดีกว่าผิวดํา
(3) คนผิวขาวเหนือกว่าคนผิวดํา
(4) คนผิวดําเป็นผู้ต่ําต้อย
ตอบ 1 หน้า 14, (คําบรรยาย) ความหมายเชิงวาทกรรม (Discourse Meaning) หมายถึง ความหมาย ที่คิดหรือประดิษฐ์ขึ้นเพื่อสร้างเอกลักษณ์หรืออัตลักษณ์ หรือให้ความสําคัญกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ในสังคม ไม่ว่าจะเป็นความรู้ ความจริง อํานาจ หรือตัวตน เช่น ข้อความที่ว่า “แค่ขาวก็ชนะ” เป็นความหมายเชิงวาทกรรมในการโฆษณาที่ต้องการสื่อความหมายว่า ผิวขาวทําให้ดูดีและประสบความสําเร็จ เป็นต้น

11. การจะรู้ว่าภาษาที่ใช้นั้นใช้ในความหมายโดยตรงหรือความหมายโดยนัย พิจารณาจากอะไร
(1) ถ้อยคํา
(2) ผู้ส่งสาร
(3) ผู้รับสาร
(4) บริบท
ตอบ 4 หน้า 10 – 11, 14, (คําบรรยาย) ภาษาจะประกอบไปด้วยความหมายทั้งในลักษณะที่เป็น ความหมายโดยตรง (Denotation) และความหมายโดยนัย (Connotation) ซึ่งการที่เราจะ รู้ได้ว่าคํา ๆ หนึ่งใช้ในความหมายลักษณะใดนั้น จะต้องพิจารณาจากบริบทของการสื่อสาร (Communication Context) ซึ่งมีอิทธิพลกํากับความหมายที่เกิดขึ้นทุกครั้งที่ทําการสื่อสาร

12.“กายภาษา” หมายถึงอะไร
(1) ลักษณะทางกายภาพ
(2) กิริยาอาการ
(3) ภาษาท่าทาง
(4) ภาษาใบ้
ตอบ 1 หน้า 17, (คําบรรยาย) ลักษณะทางกายภาพ (กายภาษา) หมายถึง อวัจนภาษาที่เกิดจาก ลักษณะหรือรูปลักษณ์ภายนอกของบุคคล ได้แก่ รูปร่าง หน้าตา การแต่งกาย เครื่องประดับ เสื้อผ้า ผม ฯลฯ ซึ่งสามารถบ่งบอกถึงรสนิยมและค่านิยมได้

13. ทําอย่างไรผู้รับสารจึงจะสามารถเข้าถึงความหมายที่แท้จริง
(1) การเชื่อฟังผู้นําความคิด
(2) การติดตามข่าวสารจากสื่อ
(3) การฟังบทสัมภาษณ์จากแหล่งข่าว
(4) การวิเคราะห์วาทกรรม
ตอบ 4หน้า 15 การวิเคราะห์วาทกรรม (Discourse Analysis) หมายถึง การที่ผู้รับสารสามารถ มองเข้าไปที่สารและวิเคราะห์ได้ว่าสารนั้นถูกผลิตขึ้น ถูกใช้ และผู้ผลิตสารพยายามทําให้ ผู้รับสารเข้าใจอย่างไร ซึ่งจะมีประโยชน์ในการทําให้ผู้รับสารสามารถทราบถึงวิธีการที่จะเข้าถึงความหมายที่แท้จริงผ่านสารที่ปรากฏออกมาได้

14. ภาษามีความสําคัญอย่างไร
(1) เป็นช่องทางการสื่อสาร
(2) เป็นความหมายโดยตรง
(3) เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่ง
(4) เป็นสิ่งที่ใช้แทนความหมาย
ตอบ 4 หน้า 2 ภาษามีความสําคัญต่อการสื่อสาร คือ ภาษาเป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้แทนความหมาย ทําให้ มนุษย์สามารถส่งความหมายที่อยู่ในความคิดของตนไปยังอีกฝ่ายหนึ่งได้ โดยให้ทั้งสองฝ่ายรับรู้และเข้าใจความหมายร่วมกัน ดังนั้นภาษาจึงมีความสําคัญต่อการสื่อสารของมนุษย์เป็นอย่างยิ่ง เพราะหากไม่มีภาษา มนุษย์ย่อมไม่สามารถสื่อสารกันได้

15. ข้อใดถูกต้องที่สุด
(1) การสื่อสารทําให้มนุษย์มาอยู่รวมกัน
(2) ภาษาเป็นวิธีการสื่อสารของมนุษย์
(3) ภาษาเป็นสิ่งที่ใช้แทนความหมาย
(4) ภาษาและความหมายเป็นสิ่งเดียวกัน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 14. ประกอบ

16. การสื่อสารประเภทใดที่ผู้ส่งสารกับผู้รับสารอยู่คนละสถานที่และคนละเวลา
(1) การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
(2) การสื่อสารองค์กร
(3) การสื่อสารสาธารณะ
(4) การสื่อสารมวลชน
ตอบ 4 หน้า 9, (คําบรรยาย) การสื่อสารในบางสถานการณ์ ผู้ส่งสารกับผู้รับสารอาจปรากฏอยู่ใน สถานที่ (Space) และเวลา (Time) เดียวกัน เช่น การสื่อสารแบบเผชิญหน้า แต่บางสถานการณ์ ผู้ส่งสารกับผู้รับสารอาจถูกแยกจากกันด้วยสถานที่และเวลา เช่น การสื่อสารมวลชนที่ผู้ส่งสาร กับผู้รับสารอยู่คนละสถานที่และคนละเวลา เป็นต้น

17. ความหมายมิได้ขึ้นอยู่กับสารเท่านั้น แต่ความหมายขึ้นอยู่กับอะไร
(1) เทคโนโลยีการสื่อสาร
(2) ช่องทางการสื่อสาร
(3) ลีลาของผู้ส่งสาร
(4) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สื่อสาร
ตอบ 4 หน้า 15 เดอวิโต กล่าวว่า ความหมายมิได้ขึ้นอยู่กับสารเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นสารเชิงวัจนะ หรืออวัจนะ หรือทั้ง 2 อย่าง แต่ความหมายจะขึ้นอยู่กับปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่าง ผู้ส่งสารกับผู้รับสาร รวมทั้งขึ้นอยู่กับความคิดและความรู้สึกของผู้รับสารเอง เพราะในขณะที่ ทําการสื่อสารผู้รับสารมิใช่เป็นเพียงผู้รับ แต่เป็นผู้สร้างความหมายให้กับสารด้วย

18. การพูดของดีเจรายการเพลงป๊อบทางวิทยุกระจายเสียง เป็นการใช้ภาษาระดับลีลาใด
(1) ทางการ
(2) ปรึกษาหารือ
(3) ลําลอง
(4) คุ้นเคย
ตอบ 3 หน้า 16, (คําบรรยาย) ลีลาลําลอง (Casual Style) เป็นลีลาของวัจนภาษาที่ไม่เป็นทางการ มีลักษณะเป็นการสื่อสารในสถานการณ์ทั่ว ๆ ไป บรรยากาศแบบสบาย ๆ โดยมักใช้พูดกันใน ชีวิตประจําวัน การทํางาน หรือภาษาที่ใช้ในการสื่อสารมวลชน เช่น การจัดรายการสนทนา รายการเกมโชว์ รายการเพลง และรายการคุยข่าวทางวิทยุกระจายเสียง

19. ข้อใดเป็นชนชาติแรกที่พัฒนาภาษาระบบพยัญชนะ
(1) สุเมเรียน
(2) ฟินีเชียน
(3) อียิปต์
(4) จีน
ตอบ 2 หน้า 20 กลุ่มของตัวอักษรที่เรียกว่า “พยัญชนะ” (Alphabet) ซึ่งใช้เป็นสัญลักษณ์แทนเสียง และนําเสียงมารวมกันเป็นคํา ถือกําเนิดขึ้นโดยชาวฟินิเซียน (The Phoenicians) เป็นชนชาติแรก ที่พัฒนาภาษาลักษณะนี้ หลังจากนั้นจึงพัฒนามาเป็นภาษากรีกโบราณที่มี 24 ตัวอักษร และ กลายเป็นต้นกําเนิดของตัวอักษรภาษาอื่น ๆ ในปัจจุบัน เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย เป็นต้น

20. ภาษาช่วยให้มนุษย์พัฒนาการคิดลักษณะใด
(1) การคิดเชิงกายภาพ
(2) การคิดเป็นรูปธรรม
(3) การคิดเชิงมโนทัศน์
(4) การคิดเป็นตัวอักษร
ตอบ 3 หน้า 19 ภาษาเป็นปัจจัยหนึ่งที่แสดงถึงความเจริญทางอารยธรรมของมนุษย์ในยุคแรก เพราะ ภาษาช่วยให้มนุษย์ได้พัฒนาการคิดเชิงมโนทัศน์ (Conceptual Thinking) และทําให้มนุษย์ สามารถมีอิทธิพลต่อความคิดของผู้อื่นได้ นอกจากนี้ยังทําให้สามารถถ่ายทอดวัฒนธรรม และ เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เป็นนามธรรมได้

21. ในการรายงานข่าว ผู้สื่อข่าวต้องมีความรู้ระดับใด
(1) ระดับที่ 1
(2) ระดับที่ 2
(3) ระดับที่ 3
(4) ระดับที่ 4
ตอบ 2 หน้า 30 นักสื่อสารมวลชนต้องสามารถวิเคราะห์ได้ว่า ความรู้ที่ตนมีอยู่นั้นเพียงพอสําหรับ เรื่องราวที่จะสื่อสารหรือไม่ ซึ่งสามารถพิจารณาได้ดังนี้

1. หากต้องการเขียนข่าวรายงานเหตุการณ์ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ควรมีความรู้ (อย่างน้อย) ในระดับที่ 2 ก็เพียงพอ เนื่องจากการรายงานข่าวต้องรายงานตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น โดยไม่มีการเพิ่มเติมข้อคิดเห็นของผู้เขียน
2. หากจะเขียนสารคดีเชิงข่าวเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับภูมิหลังหรือข้อมูลเจาะลึกของเรื่องนั้น ผู้เขียนต้องมีความรู้อย่างน้อยในระดับที่ 3
3. หากจะเขียนบทวิเคราะห์เกี่ยวกับความเป็นมา สาเหตุ และพยากรณ์ถึงเหตุการณ์ที่จะ ตามมาเกี่ยวกับเรื่องนั้น ผู้เขียนควรมีความรู้อย่างน้อยในระดับที่ 4
4. หากจะเขียนบทวิจารณ์ว่า การกระทําเกี่ยวกับฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นถูกต้อง หรือไม่ถูกต้อง ดีหรือไม่ดี ผู้เขียนควรมีความรู้ในระดับที่ 5

22. ในการเขียนบทวิเคราะห์ ผู้เขียนต้องมีความรู้ระดับใด
(1) ระดับที่ 1
(2) ระดับที่ 2
(3) ระดับที่ 3
(4) ระดับที่ 4
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ

23. “การสื่อสารระหว่างนักการเมืองฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน ซึ่งบางครั้งเป็นไปตามสถานภาพของแต่ละฝ่าย และเกมทางการเมือง ความเป็นมิตรหรือไม่เป็นมิตร ความเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ และการที่เรื่อง
ที่สื่อสารนั้นเป็นเรื่องจริงจังหรือไม่จริงจัง” เป็นบริบทของการสื่อสารในมิติใด
(1) กายภาพ
(2) ความเป็นมา
(3) วัฒนธรรม
(4) จิตวิทยาสังคม
ตอบ 4 หน้า 11, (คําบรรยาย) บริบทการสื่อสารในมิติจิตวิทยาสังคม (The Social-psychological Context) หมายถึง ความสัมพันธ์ทางสถานภาพหรือฐานะชนชั้นของผู้ร่วมสื่อสาร กฎกติกาและ เกมที่ทั้ง 2 ฝ่ายเล่น เช่น การสื่อสารระหว่างนักการเมืองฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน ซึ่งบางครั้ง เป็นไปตามสถานภาพของแต่ละฝ่ายและเกมทางการเมือง ฯลฯ นอกจากนั้นยังรวมถึงแบบแผน ทางวัฒนธรรมของสังคมที่ซึ่งการสื่อสารเกิดขึ้น ความเป็นมิตรหรือไม่เป็นมิตร ความเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ และการที่เรื่องที่สื่อสารนั้นเป็นเรื่องจริงจังหรือไม่จริงจัง

24. การนําเสนอบทความและบทวิเคราะห์ เป็นการทําหน้าที่ของสื่อมวลชนข้อใด
(1) แจ้งข่าวสาร
(2) ตีความ
(3) ส่งผ่านค่านิยม
(4) ให้ความบันเทิง
ตอบ 2 หน้า 27 (คําบรรยาย) บทบาทหน้าที่ในการตีความหมาย (Interpretation) คือ การนําเสนอ เรื่องราวที่ผ่านการตีความหมายโดยผู้สื่อข่าว ผู้เขียนข่าว และกองบรรณาธิการของสื่อมวลชน ซึ่งไม่ได้นําเสนอเฉพาะข้อเท็จจริงและข้อมูลเท่านั้น แต่เป็นการรายงานข่าวในลักษณะของการ เล่าเรื่องที่ผ่านการกลั่นกรองจากมุมมองของสื่อมวลชน เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลจาก มุมมองที่หลากหลายและสามารถประเมินข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นได้ เช่น การนําเสนอบทวิเคราะห์ บทบรรณาธิการหรือบทนํา และบทความของหนังสือพิมพ์, รายการเล่าข่าวทางวิทยุโทรทัศน์ ช่องต่าง ๆ เป็นต้น ๆ

25.K-POP เป็นตัวอย่างของอะไร
(1) ความไร้วัฒนธรรม
(2) ความคลั่งไคล้
(3) วัฒนธรรมประชานิยม
(4) การเลียนแบบ
ตอบ 3 หน้า 32, (คําบรรยาย) คําว่า “วัฒนธรรมประชานิยม” (Popular Culture) หรือเรียกว่า “วัฒนธรรมมวลชน” (Mass Culture) หมายถึง รูปแบบการดํารงชีวิตและสิ่งอันเป็นที่นิยม ชมชอบของคนต่างสังคม ต่างถิ่น ต่างฐานะ จะมีลักษณะเป็นแบบเดียวกันหรือเหมือน ๆ กัน ส่วนใหญ่มักจะเกี่ยวกับความบันเทิง การกีฬา โทรทัศน์ ภาพยนตร์ และเพลงสมัยใหม่ เช่น การนิยมวัฒนธรรมแบบ K-POP และ J-POP ของกลุ่มวัยรุ่น เป็นต้น

26. ภาษาไทยอยู่ในกลุ่มใด
(1) Pictograph
(2) Sign Writing
(3) Alphabet
(4) Iconic
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 19. ประกอบ

27. หากประชาชนหวังพึ่งพาข่าวสารจากสื่อใดสื่อหนึ่งเพียงชื่อเดียว จะเกิดสิ่งใดตามมา
(1) สื่อนั้นได้รับความนิยมสูง
(2) จะเป็นผู้รับสารที่กระตือรือร้น
(3) อาจถูกครอบงําได้ง่าย
(4) เกิดการผูกขาดของเจ้าของสื่อ
ตอบ 3หน้า 27 – 28 หากประชาชนหวังพึ่งพาข่าวสารจากสื่อใดสื่อหนึ่งเพียงสื่อเดียวหรือมีความภักดี ต่อสื่อมากเกินไป อาจทําให้ถูกชี้นําจากสื่อได้ในระยะยาว และทําให้สูญเสียความสามารถในการ คิดเชิงวิเคราะห์ในที่สุด ซึ่งการที่สื่อมวลชนคิดวิเคราะห์และตีความข่าวสารให้ทั้งหมดนี้ ทําให้ ประชาชนกลายเป็นผู้รับสารที่มีลักษณะ Passive คือ ผู้รับสารที่ไม่ชอบคิดเอง ชอบปล่อยให้ คนอื่นคิดแทนตนเอง และไม่ยอมคิดพิจารณาไตร่ตรองถึงข้อเท็จจริงต่าง ๆ ด้วยวิจารณญาณ ของตน สุดท้ายก็จะเป็นผู้ที่อาจถูกครอบงําได้ง่าย

28. “คลื่นพุทธศาสนิกชนจากทั่วทุกสารทิศจํานวนมากหลั่งไหลเดินทางมาที่วัดอัมพวัน” ข่าวนี้หากเขียนใหม่ ให้กระชับ ชัดเจน ไม่เยิ่นเย้อ ควรเขียนอย่างไร
(1) คลื่นพุทธศาสนิกชนหลั่งไหลเดินทางมาที่วัดอัมพวัน
(2) พุทธศาสนิกชนจากทั่วทุกสารทิศจํานวนมากเดินทางมาที่วัดอัมพวัน
(3) คลื่นพุทธศาสนิกชนหลั่งไหลเดินทางมาที่วัดอัมพวัน
(4) พุทธศาสนิกชนจํานวนมากเดินทางมาที่วัดอัมพวัน
ตอบ 4 ประโยคดังกล่าวใช้คําฟุ่มเฟือย จึงควรเขียนใหม่ให้กระชับ ชัดเจน ไม่เยิ่นเย้อ โดยใช้ว่า
พุทธศาสนิกชนจํานวนมากเดินทางมาที่วัดอัมพวัน

29.มวลชน หมายถึงอะไร
(1) คนจํานวนมากที่มีลักษณะร่วมกันบางประการ
(2) คนจํานวนมากที่สนใจเรื่องเดียวกัน
(3) คนจํานวนมากและไม่รู้ว่าเป็นใครอยู่ที่ไหนบ้าง
(4) คนจํานวนมากที่อยู่รวมกันเป็นสังคม
ตอบ 3หน้า 25 – 26 ลักษณะของการสื่อสารมวลชน มีดังนี้
1. แหล่งสารหรือผู้ส่งสารมีลักษณะเป็นสถาบัน
2. เนื้อหาของสารที่ปรากฏทางสื่อมวลชนมีลักษณะเป็นสาธารณะ (Public)
3. ผู้รับสารเป็นมวลชน (The Masses) หรือผู้รับชม รับฟัง (Audience) จํานวนมาก คือ คนจํานวนมากและไม่รู้ว่าเป็นใครอยู่ที่ไหนบ้าง
4. กระบวนการสื่อสารมวลชนมีลักษณะเป็นการสื่อสารทางเดียว
5. ได้รับอิทธิพลจากบริบททางสังคม
6. ใช้สื่อมวลชนเป็นช่องทางการสื่อสาร

30. รายการกระจกหกด้าน เป็นรายการประเภทใด
(1) สารคดี
(2) บันเทิงคดี
(3) ข่าว
(4) สารคดีเชิงข่าว
ตอบ 1 หน้า 74 – 75, (คําบรรยาย) รายการสารคดี (Documentary or Feature Programme) คือ รายการที่นําเสนอความรู้ในเรื่องราวใดเรื่องราวหนึ่ง เช่น เรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ เรื่องเล่า ตํานาน หรือเรื่องราวจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและอยู่ในความสนใจของประชาชนทั่วไป โดยใช้เทคนิคการนําเสนอหลาย ๆ รูปแบบในรายการเดียวกัน

31. ข้อเขียนประเภทใดมีจุดมุ่งหมายเพื่อเสนอข้อคิดเห็น
(1) ข่าว ตอบ 4
(2) โฆษณา
(3) สารคดี
(4) บทความ
หน้า 63, (คําบรรยาย) บทความ (Article) คือ ความเรียงประเภทร้อยแก้วในหนังสือพิมพ์ เพื่อนําเสนอข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับสาธารณชนในวงกว้าง ในลักษณะข้อเขียน ขนาดสั้น กระชับ และมีพื้นฐานอยู่บนการโต้แย้งแสดงเหตุผล ประกอบด้วย ข้อมูลหรือหลักฐาน ที่น่าเชื่อถือ เพื่อสนับสนุนความคิดของผู้เขียน หรือเพื่อช่วยให้ผู้อ่านนําไปคิดวิเคราะห์และหา ข้อสรุปเกี่ยวกับเรืองนั้น ๆ

ข้อ 32 – 34. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Highly Selective
(2) Stereotype
(3) Common Culture
(4) Cuttivation

32. ภาพของตัวละครที่ปรากฏในรายการโทรทัศน์ มีลักษณะเป็นอย่างไร
ตอบ 2 หน้า 32 ผลการวิจัยของจอร์จ เกิร์บเนอร์ ได้ให้ข้อสรุปว่า เนื้อหาที่นําเสนอทางโทรทัศน์นั้น ได้ผ่านกระบวนการสร้างที่เลือกเพียงบางส่วนเสี้ยวของโลกมานําเสนอ (Highly Selective) ซึ่งมีลักษณะเป็นภาพแบบฉบับตายตัว (Stereotyped/Stylized & Repetitive) และยังเป็น ภาพที่บิดเบี้ยวไปจากโลกที่เป็นจริงอีกด้วย โดยเฉพาะเนื้อหาที่มีอิทธิพลต่อผู้คนอย่างมากใน รายการประเภทละครโทรทัศน์

33.เนื้อหาที่นําเสนอทางโทรทัศน์นั้นผ่านกระบวนการสร้างที่มีลักษณะอย่างไร
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 32. ประกอบ

34. จอร์จ เกิร์บเนอร์ ได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการทําหน้าที่ใดของรายการโทรทัศน์
ตอบ 4 หน้า 32 จอร์จ เกิร์บเนอร์ ได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการทําหน้าที่อบรมบ่มเพาะ (Cultivation) ของโทรทัศน์ โดยศึกษาบทบาทด้านวัฒนธรรมในการปลูกฝังสมาชิกในสังคมอเมริกัน และได้ ข้อสรุปเบื้องต้นประการหนึ่ง คือ ลักษณะทางวัฒนธรรมที่ปรากฏออกมาจากเนื้อหาข่าวสาร ของโทรทัศน์ทําหน้าที่เป็นตัวสร้างวัฒนธรรมร่วม (Common Culture) ของสมาชิกในสังคม

35. สถานที่ ช่องว่าง ระยะห่าง เป็นอวัจนภาษาข้อใด
(1) กายภาษา
(2) วัตถุภาษา
(3) ปริภาษา
(4) เทศภาษา
ตอบ 4 หน้า 17 ช่องว่างหรือระยะห่าง (เทศภาษา) หมายถึง อวัจนภาษาเรื่องช่องว่างและระยะห่าง ของคู่สนทนา เช่น ระยะห่างระหว่างหญิงกับหญิง และหญิงกับชายย่อมมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ รวมถึงเทศภาษาที่เกิดจากความเคารพในสถานที่แต่ละแห่งด้วย เช่น วัด โรงเรียน โรงพยาบาล ฯลฯ ที่บุคคลให้ความสําคัญมากกว่าสถานที่ธรรมดา

36. เนื้อหาของโฆษณาที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการสร้างแบรนด์ ควรเน้นอะไร
(1) ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสินค้า
(2) สรรพคุณของสินค้า
(3) ราคาและสถานที่จัดจําหน่าย
(4) ภาพลักษณ์และบุคลิกตราสินค้า
ตอบ 4 หน้า 39, (คําบรรยาย) เนื้อหาของโฆษณาทางโทรทัศน์ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการสร้างแบรนด์ ในปัจจุบัน ควรเน้นการสร้างภาพลักษณ์ (Image) และบุคลิกตราสินค้า (Brand Personality) โดยใช้ภาพ คําพูด บุคคล สี และสัญลักษณ์ต่าง ๆ เข้าไปกระตุ้นและชักจูงจิตใจของผู้บริโภค กลุ่มเป้าหมายให้ยึดมั่นกับสินค้าและบริษัทที่เป็นผู้โฆษณา

37. โครงสร้างการเขียนข้อความโฆษณาเป็นไปตามทฤษฎีใด
(1) Innovation Adoption
(2) SMCR
(3) Inverted Pyramid
(4) AIDA
ตอบ 4 หน้า 52 – 53 โครงสร้างของชิ้นงานโฆษณา มักนิยมเขียนข้อความโฆษณาตามกรอบแนวคิด AIDA ได้แก่
1. ข้อความพาดหัว มีหน้าที่สร้างความใส่ใจ (Attention : A)
2. ข้อความโฆษณา (เนื้อเรื่อง) มีหน้าที่สร้างความสนใจ (Interest : I) และต้องการซื้อ
3. ข้อความส่วนท้าย มีหน้าที่กระตุ้นความต้องการหรือความปรารถนา (Desire : D)
4. คําขวัญและชื่อสินค้า มีหน้าที่เน้นให้เกิดการกระทํา (Action : A)

38. “Advertising Concept” หมายถึงอะไร
(1) ข้อความสําคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ
(2) ข้อความสั้น ๆ ง่ายแก่การจดจําที่มักนําเสนอในชิ้นงานโฆษณาคู่กับชื่อสินค้า
(3) ข้อความพาดหัวที่ใช้ดึงดูดใจผู้อ่านให้สนใจชิ้นงานโฆษณา
(4) เพลงโฆษณาที่มีเนื้อร้อง
ตอบ 1 หน้า 40, (คําบรรยาย) แนวคิดหลักที่ใช้ในการโฆษณา (Advertising Concept) หมายถึง ข้อความสําคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ซึ่งผู้โฆษณาได้นําเสนอไว้อย่างสร้างสรรค์ เพื่อที่จะ ตรึงความสนใจของผู้บริโภค โดยจะช่วยให้การสื่อสารมีความคมชัด ตรงประเด็น และสร้าง มโนทัศน์เกี่ยวกับสินค้าให้เกิดขึ้นในจิตใต้สํานึกของผู้บริโภค ซึ่งแนวคิดหลักของการโฆษณา จะปรากฏอยู่ที่คําขวัญโฆษณา ข้อความพาดหัว และเนื้อหา

39. กระบวนการสร้างภาพลักษณ์ตราสินค้า มีลําดับขั้นตอนอย่างไร
(1) การเขียนข้อความโฆษณา การกําหนดสื่อ การลงโฆษณา การวัดปฏิกิริยาตอบสนอง
(2) การกําหนดตัวผู้โฆษณา การเขียนข้อความ การส่งสารผ่านสื่อ การประเมินผล
(3) การกําหนดกลุ่มเป้าหมาย กําหนดแนวคิดหลัก การสร้างสรรค์โฆษณา
(4) การวิเคราะห์จุดเด่นของสินค้า การให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสินค้า
ตอบ 3 หน้า 40 กระบวนการสร้างภาพลักษณ์ตราสินค้าจะต้องอาศัยการสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ
ซึ่งมีลําดับขั้นตอนเริ่มจากการกําหนดกลุ่มเป้าหมาย การวิเคราะห์ลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย
การกําหนดแนวคิดหลัก การสร้างสารโฆษณาหรือสร้างสรรค์ข้อความโฆษณา และการนําเสนอ แนวคิดดังกล่าวซ้ำ ๆ ไปยังผู้บริโภคอย่างได้ผล

40. ผู้ใช้ภาษาโฆษณาควรมีสิ่งใดต่อไปนี้
(1) Personality
(2) Empathy
(3) Public Relations
(4) Positioning
ตอบ 2 หน้า 40 คุณสมบัติประการหนึ่งที่ผู้ใช้ภาษาโฆษณาควรมี คือ การรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา (Empathy) เพราะการที่นักโฆษณาสามารถเข้าถึงจิตใจของกลุ่มเป้าหมายได้จะทําให้เข้าใจว่า กลุ่มเป้าหมายมีความต้องการอะไร อะไรเป็นแรงจูงใจสําคัญในการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ของกลุ่มเป้าหมาย และควรสื่อสารอย่างไรที่จะเข้าถึงจิตใจของคนเหล่านั้นได้

41. ข้อใดเป็นลักษณะของผู้รับสารแบบ Passive
(1) มีการแสดงปฏิกิริยาต่อเนื้อหาทางสื่อมวลชน
(2) ไม่คล้อยตามง่าย
(3) มีความคิดเชิงวิพากษ์
(4) ไม่ชอบคิดเอง ชอบให้คนอื่นคิดแทน
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 27. ประกอบ

42. ข้อใดเป็นตัวอย่างของคําขวัญที่เน้นคุณภาพและชื่อสินค้า
(1) โตชิบา นําสิ่งที่ดีสู่ชีวิต
(2) ชาร์ป ก้าวล้ำไปในอนาคต
(3) คุณค่าที่คุณคู่ควร
(4) ห้าห่วง ทนหายห่วง
ตอบ 4 หน้า 48 คําขวัญโฆษณา เป็นข้อความสั้น ๆ ที่บ่งบอกถึงแนวคิดหลัก (Theme) ของสินค้า หรือบริการ เพื่อให้ผู้รับสารจดจําได้ด้วยการกล่าวซ้ํา ๆ ทุกครั้งของการโฆษณา ซึ่งคําขวัญ โฆษณาที่ดีจะต้องสั้น กระชับ ชัดเจน และจดจําง่าย โดยมีแนวทางการเขียนคําขวัญโฆษณา หลายลักษณะ ดังนี้
1. คําขวัญที่เน้นคุณสมบัติของสินค้า เช่น ฮูเวอร์ แรงแต่เงียบ
2. คําขวัญที่เน้นคุณภาพของสินค้า เช่น ห้าห่วง ทนหายห่วง
3. คําขวัญที่เน้นชื่อสินค้า เช่น เจบีพี ใช้ดีจึงบอกเพื่อน
4. คําขวัญที่เน้นภาพลักษณ์ของบริษัท เช่น การบินไทย รักคุณเท่าฟ้า, โตชิบา นําสิ่งที่ดีสู่ชีวิต, ชาร์ป ก้าวล้ำไปในอนาคต ฯลฯ

43. ข้อความโฆษณาที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร
(1) ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ
(2) แปลก ตลก ใช้ภาษาเฉพาะกลุ่ม
(3) สั้น เรียบง่าย ไม่ต้องคิดมาก
(4) การใช้เหตุผล
ตอบ 1 หน้า 46 ข้อความโฆษณาที่ดีควรชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับจากการใช้สินค้า
และเขียนขึ้นจากความเข้าใจถึงความต้องการและแรงจูงใจของผู้บริโภค โดยคํานึงถึงปัจจัย ทางด้านจิตวิทยาสังคมที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ

44. แนวทางการโฆษณาข้อใดที่เป็นการมุ่งขายสินค้าโดยตรง
(1) Soft Sell
(2) Hard Sell
(3) Slice of Life
(4) Lifestyle
ตอบ 2หน้า 43 น้ำเสียง (Tone) ที่ใช้ในการนําเสนอสารโฆษณาแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
1. น้ำเสียงที่มุ่งขายสินค้าอย่างชัดเจน (Hard Sell) คือ การนําเสนอสารโฆษณาในลักษณะ ตรงไปตรงมา มุ่งสู่การขายสินค้าโดยตรง ไม่อ้อมค้อม
2. น้ำเสียงที่มุ่งขายสินค้าทางอ้อม (Soft Sell) คือ การนําเสนอสารโฆษณาที่เน้นการสร้าง อารมณ์ความรู้สึกและทัศนคติเชิงบวกต่อสินค้า โดยไม่ได้กล่าวถึงตัวสินค้าโดยตรง แต่จะเน้นการโน้มน้าวใจโดยใช้อารมณ์มากกว่าการกล่าวถึงเหตุผลเกี่ยวกับคุณสมบัติของสินค้า

45. “สร้างสรรค์ความสุขได้ทุกวัน ด้วยสีสันแห่งโลกสวย” เป็นตัวอย่างข้อความโฆษณาที่ใช้อะไรเป็นสิ่งดึงดูดใจ
(1) เหตุผล
(2) คุณลักษณะของสินค้า
(3) อารมณ์
(4) คุณค่าเชิงอรรถประโยชน์
ตอบ 3 หน้า 44 สิ่งดึงดูดใจ (Appeal) ที่ปรากฏในสารโฆษณาแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
1. ด้านเหตุผล เป็นการใช้คุณสมบัติทางกายภาพของสินค้ามาเป็นสิ่งดึงดูดใจ โดยจะกล่าวถึง การใช้ประโยชน์ ลักษณะเด่น คุณสมบัติ คุณภาพของสินค้า ราคาสินค้า ฯลฯ
2. ด้านอารมณ์หรือลักษณะทางจิตวิทยา เป็นการใช้ความต้องการหรือแรงจูงใจของผู้บริโภค มาดึงดูดใจให้ซื้อสินค้า โดยจะกล่าวถึงอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการใช้สินค้านั้น ๆ เช่น ความพึงพอใจ ความเท่ ความสุข ความเป็นผู้มีความคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ

46. “คนชื่อ คือ คนโง่” เป็นความจริงลักษณะใด
(1) Fact
(2) Truth
(3) Physical World
(4) Social Reality
ตอบ 4 หน้า 33 โลกทางสังคม (Social World) หรือความเป็นจริงทางสังคม (Social Reality) คือ โลกที่เกิดขึ้นจากการกล่อมเกลาหรือขัดเกลาของสถาบันทางสังคม เช่น ครอบครัว โรงเรียน ศาสนา ที่ทํางาน สื่อมวลชน ฯลฯ ดังนั้นโลกทางสังคมของมนุษย์แต่ละคนจึงเป็นโลกที่เกิดขึ้น จากสิ่งแวดล้อมเชิงสัญลักษณ์ที่แวดล้อมบุคคลเหล่านั้น หรือเป็นโลกที่เกิดจากการรับรู้ ซึ่งมี ลักษณะแตกต่างกัน เช่น คํากล่าวที่ว่า “คนซื่อ คือ คนโง่” ไม่ใช่ความจริงที่เป็นกฎธรรมชาติ แต่เป็นความจริงที่เกิดจากการประกอบสร้างของสังคม

47. การออกแถลงการณ์ชี้แจงกรณีเกิดเพลิงไหม้ที่อาคารสํานักงานใหญ่ของธนาคารฯ เป็นการประชาสัมพันธ์ที่มีวัตถุประสงค์ข้อใด
(1) เพื่อบอกกล่าวเผยแพร่
(2) เพื่อให้ประชาชนยอมรับ
(3) เพื่อแก้ไขความเข้าใจผิด
(4) เพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางการตลาด
ตอบ 3 หน้า 56, (คําบรรยาย) การประชาสัมพันธ์ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขความเข้าใจผิด คือ ในการ ดําเนินงานขององค์กรหรือสถาบัน บางครั้งก็อาจมีกระแสข่าวลือหรือข่าวสารที่ผิดพลาด ทําให้องค์กรเสื่อมเสียชื่อเสียงหรือประชาชนเกิดความเข้าใจผิดขึ้นได้ องค์กรจึงใช้การประชาสัมพันธ์ เพื่อชี้แจงแถลงข้อเท็จจริง และเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ทั้งนี้สิ่งสําคัญที่สุดในการชี้แจง แก้ไขความเข้าใจผิด คือ ต้องมีหลักฐานข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เช่น การออกแถลงการณ์ชี้แจงกรณี เกิดเพลิงไหม้ที่อาคารสํานักงานใหญ่ของธนาคารแห่งหนึ่ง เป็นต้น

48. “จุดเด่นของเรา คือ การคืนกําไรสู่สังคมมากกว่าการปันผลกําไรให้แก่สมาชิก ที่อื่นเขาอาจมีเงินมากกว่า เรา บางแห่งมี 40 – 50 ล้านบาท แต่ผลกําไรที่ได้กลับคืนสู่สมาชิกเท่านั้น นั่นคือ จุดเด่นที่ทําให้หมู่บ้าน ของข้าพเจ้าได้รับรางวัล ทําให้มีคนมาดูงานจากทั่วประเทศ” ข้อความนี้ขาดองค์ประกอบใด
(1) Credibility
(2) Content
(3) Clarity
(4) Consistency
ตอบ 1 หน้า 60, (คําบรรยาย) ความน่าเชื่อถือ (Credibility) คือ การสื่อสารมีจุดเริ่มต้นจากบรรยากาศ ของความน่าเชื่อถือ (Belief) ซึ่งสถาบันหรือหน่วยงานได้สร้างขึ้นจากบุคลิกของผู้พูด เนื้อหาที่ มีประโยชน์ และมีการอ้างอิงข้อมูลหลักฐาน เช่น ข้อความข้างต้นขาดการอ้างข้อมูลหลักฐานที่ น่าเชื่อถือเกี่ยวกับการคืนกําไรสู่สังคมว่า มีอะไรบ้าง เป็นต้น

49.“ใหม่ ยูเมะ มินิ 10 ซอง แค่ 600 บาท” เป็นการเขียนข้อความพาดหัววิธีใด
(1) พาดหัวข่าว
(2) กล่าวถึงประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ
(3) ให้คําแนะนํา
(4) ชวนให้สนใจใคร่รู้
ตอบ 1 หน้า 45 การพาดหัวข่าว (News) คือ การเขียนข้อความพาดหัวโฆษณาที่ใช้วิธีการเขียนแบบ พาดหัวข่าว กล่าวคือ เป็นการสรุปสาระสําคัญ ซึ่งเป็นจุดที่น่าสนใจมากที่สุดในข้อความโฆษณา เช่น เน้นเรื่องความใหม่ ความแปลก ความสวยงาม ฯลฯ

50. “การเขียนที่ให้ประเด็นสําคัญ (Climax) ของข่าวก่อนให้รายละเอียด (Detail)” เป็นการเขียนข่าวแบบใด
(1) การเขียนแบบพีระมิดหัวกลับ
(2) การเขียนข่าวแบบพีระมิดหัวตั้ง
(3) การเขียนข่าวรูปแบบผสม
(4) การเขียนแบบคอลัมน์
ตอบ 1 หน้า 65 – 66, (คําบรรยาย) รูปแบบการเขียนข่าวหนังสือพิมพ์ มีดังนี้
1. แบบพีระมิดหัวกลับ (Inverted Pyramid) คือ การเสนอประเด็นสําคัญ (Climax) ของข่าว ก่อนให้รายละเอียด (Detail) ถือเป็นรูปแบบที่นิยมใช้มากกว่าร้อยละ 85 – 90 ในการเขียนข่าวหนังสือพิมพ์
2. แบบพีระมิดหัวตั้ง (Upright Pyramid) คือ การเสนอรายละเอียดของข่าวก่อนประเด็น สําคัญ นิยมใช้ในการเขียนบทความ บทบรรณาธิการ สารคดีเชิงข่าว ฯลฯ
3. แบบผสม (Combination) คือ การเสนอประเด็นสําคัญทั้งในตอนต้นและตอนท้าย มักใช้ ในการเขียนข่าวประชาสัมพันธ์

51. การเขียนข่าวแบบใดที่นิยมมากที่สุด
(1) การเขียนข่าวแบบพีระมิดหัวกลับ
(2) การเขียนข่าวแบบพีระมิดหัวตั้ง
(3) การเขียนข่าวรูปแบบผสม
(4) การเขียนข่าวแบบคอลัมน์
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 50. ประกอบ

ข้อ 52, – 54. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Straight News
(2) Human Interest
(3) Feature Story.
(4) Article

52. “พื้นห้องเศษขวดเบียร์แตกกระจายเกลื่อนบนที่นอน มีเส้นผมยาวประมาณ 2-3 นิ้ว หลุดอยู่หลายกระจุก ลักษณะคล้ายต่อสู้จิกผมของคนร้าย ข้างที่นอนมีหมอนเปียกชุ่มเลือด” เป็นการเขียนข่าวประเภทใด
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การเขียนข่าวแบบสนองปุถุชนวิสัย (Human Interest) เป็นการเขียนเนื้อข่าว ที่ใช้การบรรยายหรือพรรณนาให้ผู้อ่านเกิดภาพพจน์เสมือนอยู่ในเหตุการณ์ โดยภาษาที่ใช้มัก เขียนเพื่อสร้างภาพพจน์เชิงวารสารศาสตร์ด้วยการอธิบายความ ให้รายละเอียด และบรรยาย ภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จึงมักใช้เขียนข่าวหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ประชานิยม (เชิงปริมาณ) ข่าวอาชญากรรม ข่าวอุบัติเหตุ ข่าวบุคคลที่คนทั่วไปสนใจ ฯลฯ

53. “กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้พิจารณาเห็นสมควรกําหนดแนวปฏิบัติในการเข้าไป นํายาน พาหนะ หรือพาหนะอื่นใดเข้าไปในเขตอนุรักษ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร” เป็นการเขียนข่าวประเภทใด
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การเขียนข่าวแบบตรงไปตรงมา (Straight News) เป็นการเขียนเนื้อข่าวที่บอก ข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมาตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยไม่มีการเพิ่มเติมสีสันลงไปในเนื้อข่าว ดังนั้นจึงเป็นการเขียนที่บอกกล่าวกับผู้อ่านว่าใคร ทําอะไร ที่ไหน เมื่อไร ทําไม และอย่างไร

54. “ถั่วเหลืองซึ่งใช้ทําเต้าหู้อุดมไปด้วยสารไอโซฟลาโวนส์ อันเป็นพฤกษเคมีอย่างหนึ่ง มีคุณสมบัติเหมือน ฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจน การกินอาหารที่ทําจากถั่วเหลืองมาก เชื่อว่า ช่วยป้องกันมะเร็งทรวงอกได้” เป็นการเขียนข่าวประเภทใด
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การเขียนสารคดีเชิงข่าว (Feature Story) เป็นการเขียนเนื้อข่าวโดยให้ข้อมูล ภูมิหลังและรายละเอียดนอกเหนือจากที่ปรากฏเป็นข่าว ทั้งนี้เพื่อเป็นการให้ความรู้กับผู้อ่าน เกี่ยวกับเรื่องราวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

55.PSA หมายถึงอะไร
(1) ข่าวแจกเพื่อการประชาสัมพันธ์
(2) สารคดีเพื่อการประชาสัมพันธ์
(3) บทพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์
(4) ประกาศเพื่อบริการสาธารณะ
ตอบ 4 หน้า 59 การประกาศเพื่อบริการสาธารณะ (Public Service Announcement : PSA) คือ การแจ้งให้ประชาชนทราบถึงกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กรหรือสถาบัน ซึ่งเป็นกิจกรรมบําเพ็ญ ประโยชน์เพื่อสาธารณชนผ่านทางสื่อต่าง ๆ เช่น ประกาศเกี่ยวกับการจัดนิทรรศการ การจัด สัมมนา การจัดประชุมเชิงวิชาการ ฯลฯ

56. ข้อใดคือ ส่วนที่บอกใจความสําคัญที่สุดของข่าว
(1) พาดหัวข่าว
(2) พาดหัวรอง
(3) วรรคนํา
(4) เนื้อข่าว
ตอบ 1 หน้า 65 พาดหัวข่าว (Headline) คือ ส่วนที่บอกผลของข่าวหรือใจความสําคัญที่สุดของข่าว อาจให้ความสําคัญด้วยอวัจนภาษา เช่น ขนาดตัวอักษรตัวโต มีการล้อมกรอบ มีการลงพื้นดํา มีเครื่องหมายวรรคตอนประกอบ ฯลฯ ทั้งนี้พาดหัวข่าวจะมีลักษณะของภาษาปาก คือ สั้นห้วน ไม่ถูกหลักเกณฑ์ทางภาษา มักขึ้นต้นประโยคด้วยกริยาลอย ๆ มีการเล่นคํา ให้สีสัน ให้อารมณ์ หรือตั้งสมญานามให้บุคคลที่เป็นข่าว

57. “หยุดสงกรานต์ 5 วันรวด ครม.เพิ่มให้” พาดหัวข่าวนี้มีลักษณะการใช้ภาษาอย่างไร
(1) ละประธาน ตัดคําสั้น ใช้ภาษาปาก การย่อคํา ใช้ชื่อเล่นหรือฉายาในการพาดหัว
(2) ใช้คําที่ชวนสงสัย ใช้สํานวนสร้างความรู้สึก การย่อคํา ใช้ชื่อเล่นหรือฉายาในการพาดหัว
(3) ละประธานของประโยค ใช้เครื่องหมายวรรคตอน ใช้ชื่อเล่นหรือฉายาในการพาดหัว
(4) ละประธานของประโยค ใช้คําย่อ ตัดคําสั้น ใช้ชื่อเล่นหรือฉายาในการพาดหัว
ตอบ 4 หน้า 65, (คําบรรยาย) พาดหัวข่าวข้างต้นมีลักษณะการใช้ภาษา ดังนี้
1. การละประธานของประโยค โดยการขึ้นต้นด้วยคํากริยาเพื่อชี้ให้เห็นความสําคัญของ เหตุการณ์ว่าเกิดอะไรขึ้น เช่น หยุดสงกรานต์
2. คําย่อที่ใช้กันโดยทั่วไป เช่น ครม. (คณะรัฐมนตรี)
3. การตัดคําให้สั้นลง เนื่องจากเนื้อที่มีจํากัด เช่น หยุด (วันหยุด)
4. การเรียกชื่อบุคคลโดยใช้ชื่อเล่นหรือฉายา เช่น ตู้ (พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา) ฯลฯ

58. “อยากได้สิ่งดี ๆ ก็ต้องไม่หยุดค้นหา” เป็นการเขียนพาดหัวโฆษณาแบบใด
(1) บอกประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ
(2) ให้คําแนะนํา
(3) เจาะจงกลุ่มเป้าหมาย
(4) พาดหัวข่าว
ตอบ 2 หน้า 45, (คําบรรยาย) การให้คําแนะนํา (Advice) หรือคําสั่ง คือ การเขียนข้อความพาดหัว โฆษณาด้วยการแนะนําให้ผู้อ่านกระทําอย่างใดอย่างหนึ่ง และตามด้วยคํามั่นสัญญาเกี่ยวกับ ผลที่ได้รับจากการทําตามคําแนะนํานั้น จึงเป็นวิธีที่ดึงดูดความสนใจได้ดี เพราะเป็นการเจาะจง ลงไปที่การป้องกันหรือแก้ไขปัญหาที่ผู้บริโภคอาจจะประสบหรือกําลังประสบอยู่ ซึ่งบางครั้ง อาจเขียนในรูปคําสั่งโดยมีคําว่า “อย่า/ห้าม/จง/ต้อง” เพื่อแสดงการสั่งไม่ให้ทําหรือสั่งให้ทํา

59. ข้อใดเป็นหลักพื้นฐานของการเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์
(1) ภาษาพลิ้วไหวไปตามเนื้อเรื่อง
(2) สื่ออารมณ์ความรู้สึก
(3) หลีกเลี่ยงวลีที่ไพเราะแต่ไร้ความหมาย
(4) ควรใช้คําศัพท์เฉพาะ
ตอบ 2 หน้า 60, (คําบรรยาย) หลักการพื้นฐานสําหรับการเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ มีดังนี้
1. ใช้ภาษาให้ถูกต้อง
2. ใช้รูปแบบการเขียนที่เหมาะสม
3. เรียงคําในประโยคอย่างเหมาะสม
4. ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย เป็นธรรมชาติ สื่ออารมณ์ ความรู้สึกจริงใจ
5. เขียนด้วยประโยคสั้น ๆ เพื่อให้ผู้รับสารเข้าใจง่าย
6. ใช้ภาษา ที่สื่อความหมาย
7. เขียนด้วยความจริงใจและซื่อสัตย์
8. ใช้ภาษาที่ปราศจากอคติ

60. ข้อใดเป็นแนวทางการใช้ภาษาทําให้เกิดภาพพจน์
(1) ใช้ภาษาที่ทําให้เห็นภาพ
(2) ใช้คําที่ทําให้เห็นความแตกต่าง
(3) ไม่ควรใช้การเปรียบเทียบ
(4) ใช้คําที่เป็นศัพท์เฉพาะ
ตอบ 1 หน้า 83, (คําบรรยาย) ภาษาที่ใช้ทางวิทยุกระจายเสียงต้องเป็นภาษาที่สื่อความหมายชัดเจน ทําให้ผู้ฟังเกิดภาพพจน์ (Figure of Speech) ซึ่งในที่นี้หมายถึง ภาพที่เกิดจากคําพูด โดยต้องใช้ภาษาที่ทําให้เห็นภาพ เป็นภาษาที่เหมาะสมกับเนื้อหา รูปแบบรายการ และเหมาะสมกับผู้ฟัง เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย และต้องเป็นภาษาพูดไม่ใช่ภาษาเขียน

61.ข้อใดหมายถึง รายการที่มีจุดมุ่งหมายให้ความรู้และความบันเทิง
(1) Documentary
(2) Docu-drama
(3) Advertorial
(4) Drama
ตอบ 2 หน้า 76 รายการสาระละคร (Docu-drama) คือ รายการที่มุ่งให้ความรู้และความบันเทิง ไปพร้อม ๆ กัน โดยใช้รูปแบบของละครผสมกับสารคดี กล่าวคือ ส่วนที่ทําเป็นรูปแบบละคร ก็เพื่อให้เข้าใจง่าย เกิดภาพตามไปได้ชัดเจน และเกิดความเพลิดเพลิน ส่วนที่เป็นสารคดีก็มัก เป็นส่วนที่มุ่งในเชิงวิชาการ

62. ข้อใดหมายถึง บทความหรือสารคดีที่มุ่งขายสินค้า
(1) Documentary
(2) Docu-drama
(3) Advertorial
(4) Drama
ตอบ 3 (คําบรรยาย) Advertorial มาจากคําว่า Advertising + Editorial Matter หมายถึง เนื้อหา โฆษณาที่ให้ความรู้ควบคู่ไปกับการโน้มน้าวใจ โดยมีลักษณะเป็นโฆษณาแฝงสอดแทรกอยู่ใน บทความหรือสารคดีที่มุ่งขายสินค้า หรือเป็นโฆษณาในสื่อสิ่งพิมพ์รูปแบบหนึ่งที่ตั้งใจให้ดูเหมือนเป็นบทความหรือสารคดีมากกว่าโฆษณา

63. การเขียนบทวิทยุกระจายเสียงส่วนเนื้อหา คอลัมน์ซ้ายมือระบุอะไร
(1) เนื้อหาที่จะพูด
(2) สิ่งที่เกี่ยวข้องกับรายการ
(3) ชื่อรายการ
(4) แหล่งที่มาของเสียง
ตอบ 4 หน้า 81, (คําบรรยาย) ส่วนเนื้อหาหรือส่วนที่เป็นตัวบทวิทยุกระจายเสียง เป็นส่วนที่บอก ผู้เกี่ยวข้องและสิ่งที่กําหนดให้ทํา ได้แก่ ใครพูด พูดว่าอะไร พูดอย่างไร ฯลฯ ซึ่งสามารถแบ่ง ออกเป็น 2 คอลัมน์ ดังนี้
1. คอลัมน์ซ้ายมือ เป็นการระบุแหล่งที่มาของเสียง เช่น เสียงผู้ประกาศ (Announcer/ANNCR)
2. คอลัมน์ขวามือ เป็นการระบุว่าเสียงจะเข้ามาในลักษณะใด และผู้ประกาศควรพูดว่าอย่างไร โดยใช้ภาษาพูดที่สุภาพ

64. ถ้าต้องการให้เสียงดนตรีคลออยู่ใต้เสียงพูด ใช้คําสั่งว่าอะไร
(1) Fade In
(2) Fade Out
(3) Fade Under
(4) Cross Fade
ตอบ 3 (คําบรรยาย) วิธีการใช้เสียงดนตรีในบทวิทยุกระจายเสียง มีดังนี้
1. Fade In คือ การปล่อยเสียงดนตรีให้ค่อย ๆ ดังขึ้นจนเข้าสู่ระดับเสียงปกติ
2. Fade Out คือ การหรี่เสียงดนตรีให้เบาลงจนเงียบหายไป
3. Fade Under คือ การหรี่เสียงดนตรีให้เบาลงแล้วคลออยู่ใต้เสียงพูดของผู้ประกาศ
4. Fade Up คือ ในขณะที่เสียงดนตรีกําลังคลออยู่ใต้เสียงพูดของผู้ประกาศ พอพูดจบ ก็ทําให้เสียงดนตรีนั้นดังขึ้นอีกครั้ง

ข้อ 65. – 67. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Host
(2) Disc Jockey
(3) Announcer
(4) Producer

65. ข้อใดหมายถึง ผู้จัดรายการ
ตอบ 1 หน้า 74, (คําบรรยาย) Host หมายถึง ผู้จัดรายการหรือผู้ดําเนินรายการสนทนา ซึ่งมีหน้าที่ กล่าวเปิดรายการ นําเข้าสู่ประเด็นที่จะสนทนา แนะนําผู้ร่วมสนทนาหรือแขกรับเชิญ (Guest) โดยอาจคอยพูดเชื่อมโยงให้การสนทนาอยู่ในประเด็น และสรุปใจความสําคัญของการสนทนาอีกครั้งหนึ่ง

66. ข้อใดหมายถึง ผู้ประกาศ
ตอบ 3 (คําบรรยาย), (ดูคําอธิบายข้อ 63. ประกอบ) Announcer หมายถึง ผู้ประกาศ ผู้อ่าน หรือ โฆษก มีหน้าที่อ่านหรือประกาศข่าวสารเพื่อถ่ายทอดไปยังผู้ชม ผู้ฟัง ซึ่งผู้อ่านหรือผู้ประกาศ จะต้องมีพื้นฐานการศึกษา ประสบการณ์ และการฝึกฝนมาอย่างดี

67. ข้อใดหมายถึง ผู้ผลิตรายการ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) Producer หมายถึง ผู้ผลิตรายการ ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการผลิตรายการ อํานวยการ และประสานงานกับบุคลากรในการผลิตรายการทุกส่วนตามแผนการผลิตรายการ ที่ได้กําหนดไว้

68. หากต้องการถ่ายภาพทิวทัศน์ ควรใช้ภาพขนาดใด
(1) MLS
(2) LS
(3) ELS
(4) SLS
ตอบ 3 หน้า 87, (คําบรรยาย) ภาพระยะไกลมาก (Extreme Long Shot : ELS) เป็นการถ่ายภาพ ในระยะไกลมาก ได้แก่ ภาพวิว หรือภาพทิวทัศน์ที่แสดงทัศนียภาพขององค์ประกอบทั้งหมด เช่น การถ่ายทํารายการสารคดีท่องเที่ยว เป็นต้น

69. หากต้องการถ่ายฉากงานหมั้นและต้องการให้เห็นภาพเฉพาะมือที่สวมแหวน ควรใช้ภาพขนาดใด
(1) MLS
(2) LS
(3) CU
(4) ECU
ตอบ 4 หน้า 87, (คําบรรยาย) ภาพระยะใกล้มาก (Extreme Close Up : ECU) เป็นการถ่ายภาพ ในระยะที่ใกล้มาก เพื่อต้องการเน้นรายละเอียดเฉพาะส่วน เช่น การเน้นถ่ายเฉพาะมือของ นางเอกที่สวมแหวนหมั้น, การถ่ายอวัยวะเฉพาะส่วนของแมลง ฯลฯ หรือหากเป็นภาพบุคคล ก็จะเห็นเฉพาะส่วนใบหน้า เพื่อต้องการเน้นอารมณ์ความรู้สึกของผู้แสดง เช่น การเน้นถ่าย เฉพาะดวงตาขณะผู้แสดงกําลังร้องไห้ ฯลฯ

70. คําว่า “Image” ในภาษาประชาสัมพันธ์ หมายถึงอะไร
(1) ภาพ
(2) ภาพลักษณ์
(3) ภาพประกอบข่าว
(4) ภาพที่เกิดจากคําพูด
ตอบ 2 หน้า 56 ในภาษาประชาสัมพันธ์ คําว่า “Image” หมายถึง ภาพลักษณ์หรือภาพพจน์ ซึ่งเป็นภาพในใจอันเกิดจากการได้รับข้อมูล ข่าวสาร หรือประสบการณ์เกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ก่อตัว ขึ้นมาเป็นทัศนคติ ความเชื่อ และการให้คุณค่า (Value) ต่อสิ่งนั้น ดังนั้นองค์กรและสถาบันที่ มีภาพลักษณ์ดีย่อมมีคุณค่าในสายตาของสาธารณชน ตรงกันข้ามกับองค์กรหรือสถาบันใด ๆ ที่มีภาพลักษณ์ไม่ดีมักถูกปฏิเสธหรือไม่ได้รับการยอมรับจากสาธารณชน

71. คําว่า “Image” ในภาษาโทรทัศน์ หมายถึงอะไร
(1) ภาพ
(2) ภาพลักษณ์
(3) ภาพประกอบข่าว

(4) ภาพที่เกิดจากคําพูด
ตอบ 1 หน้า 86 ในภาษาโทรทัศน์ คําว่า “Image” หมายถึง ภาพ ซึ่งภาพที่ปรากฏทางจอโทรทัศ จะเกิดจากภาพนิ่งหลาย ๆ ภาพเรียงลําดับต่อเนื่องกันจนกลายเป็นภาพเคลื่อนไหว โดยภาพ แต่ละภาพที่ปรากฏในรายการโทรทัศน์จะเรียกว่า ซอต (Shot) และเมื่อเรานําภาพแต่ละซอดมาลําดับให้ถูกช่วงถูกตอนตามที่ควรจะเป็นก็จะได้ลําดับเรื่องราวตามต้องการ

72. คําว่า “Editing” ในภาษาหนังสือพิมพ์ หมายถึงอะไร
(1) การตัดต่อลําดับภาพ
(2) การตกแต่งภาพ
(3) การบรรณาธิกรณ์
(4) บรรณาธิการ
ตอบ 3 หน้า 64, 89 ในภาษาหนังสือพิมพ์ คําว่า “Editing” หมายถึง การบรรณาธิกรณ์ปรับปรุงข่าว ก่อนส่งพิมพ์ ส่วนในภาษาโทรทัศน์นั้น คําว่า “Editing” หมายถึง การตัดต่อลําดับภาพ ซึ่งจะ ทําได้ทั้งรายการที่บันทึกเทป และรายการที่ออกอากาศ โดยใช้อุปกรณ์ตัดต่อ (Editing Suite)

73. คําว่า “Editing” ในภาษาโทรทัศน์ หมายถึงอะไร
(1) การตัดต่อลําดับภาพ
(2) การตกแต่งต้นฉบับ
(3) การบรรณาธิกรณ์
(4) บรรณาธิการ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 72. ประกอบ

74. หากต้องการสร้างบรรยากาศที่วังเวง น่ากลัว ควรใช้แสงสีอะไร
(1) เหลือง
(2) ฟ้า
(3) ดํา
(4) น้ําเงิน
ตอบ 4 หน้า 93 – 94, (คําบรรยาย) การใช้สีเพื่อประกอบการให้แสงจะมีอิทธิพลต่อจิตใจและ ความรู้สึกนึกคิดของผู้ชม เช่น สีเหลืองจะให้บรรยากาศที่อบอุ่น เป็นแสงยามเช้า จึงมักใช้ ในรายการประเภทครอบครัว หรือรายการแม่บ้าน, สีน้ําเงินจะให้บรรยากาศลึกลับ วังเวง น่ากลัว จึงมักใช้ในรายการประเภทละครผี เป็นต้น

75. หากต้องการนําเสนอภาพทิวทัศน์โดยให้ผู้ชมได้ชื่นชมทิวทัศน์ในมุมกว้าง โดยการหันกล้องซึ่งติดตั้งอยู่ บนเครนจากซ้ายไปขวา หรือขวามาซ้าย เป็นการใช้เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องข้อใด
(1) แพน
(2) ดอลลี่
(3) ทังค์
(4) บูม
ตอบ 3 หน้า 90 ทั้งค์ (Tongue) คือ เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องโดยการหันกล้องซึ่งติดตั้งอยู่บน ปั้นจั่นหรือบนเครนจากซ้ายไปขวา หรือขวามาซ้าย ในขณะที่ระดับสูงต่ําของกล้องยังอยู่ใน ระดับเดิมเพื่อให้ผู้ชมเห็นภาพในมุมกว้างได้มากขึ้น

ข้อ 76. – 78.จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Cut
(2) Wipe
(3) Freeze Frame
(4) Sptit Screen

76. ข้อใดเป็นเทคนิคการหยุดภาพไว้ให้ผู้ชมได้เห็นเป็นภาพนิ่ง
ตอบ 3 หน้า 92, (คําบรรยาย) ฟรีซเฟรม (Freeze Frame) คือ เทคนิคการหยุดภาพหรือแช่ภาพ ไว้ให้ผู้ชมได้เห็นภาพนั้นนิ่ง ๆ อยู่ชั่วขณะหนึ่ง ส่วนมากจะใช้ในฉากจบของละครโทรทัศน์ใน แต่ละตอน ก่อนที่ไตเติ้ลตอนจบจะขึ้น

77. ข้อใดเป็นวิธีการลําดับภาพที่รวดเร็วและง่ายที่สุด
ตอบ 1 หน้า 92 การคัต (Cut) คือ การตัดภาพจากกล้องหนึ่งไปยังอีกกล้องหนึ่ง ซึ่งถือเป็นวิธีการ ลําดับภาพที่รวดเร็วและง่ายที่สุด

78. ข้อใดเป็นเทคนิคที่นํามาใช้เมื่อต้องการเสนอภาพการถ่ายทอดฟุตบอลพร้อมกับโฆษณา
ตอบ 4 หน้า 92 สปลิตสกรีน (Split Screen) คือ เทคนิคการแบ่งกรอบภาพ (Frame) ให้ออกเป็น ส่วน ๆ เพื่อนําเสนอภาพหลาย ๆ ภาพลงในหน้าจอเดียวกัน เช่น การเสนอภาพถ่ายทอดสด ฟุตบอลและโฆษณาไปพร้อม ๆ กัน เป็นต้น

ข้อ 79. – 81.จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Pan
(2) Tilt
(3) Pedestal
(4) Boom

79. ข้อใดหมายถึง เทคนิคการเงยหรือก้มกล้องในแนวตั้ง
ตอบ 2 หน้า 90, (คําบรรยาย) ทิลท์ (Tilt) คือ เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องโดยการเงยกล้อง (Tilt Up) หรือก้มกล้อง (Tilt Down) ในลักษณะแนวตั้ง เพื่อให้ผู้ชมสามารถเห็นภาพมุมสูงและภาพมุมต่ํา ได้มากขึ้น เช่น การนําเสนอภาพตึกสูงในแนวตั้งโดยการเงยกล้อง (Tilt Up) เพื่อให้ผู้ชมเห็นภาพ ของตึกไล่ขึ้นไปจนถึงยอดตึก เป็นต้น

80.ข้อใดหมายถึง เทคนิคการเคลื่อนกล้องขึ้น-ลง บนฐานกล้อง
หน้า 90 พีเดสตอล (Pedestal) คือ เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องขึ้น-ลง บนฐานกล้องแบบ
Studio Pedestal โดยใช้คันบังคับ

81.ข้อใดหมายถึง เทคนิคการเคลื่อนกล้องขึ้น-ลง บนฐานกล้องแบบปั้นจั่น
ตอบ 4 หน้า 90, (คําบรรยาย) บูม (Boom) คือ เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องขึ้น-ลง ในแนวตั้งบน ฐานกล้องแบบปั้นจั่น หรือกล้องอยู่บนเครน ซึ่งจะใช้เมื่อต้องการเปลี่ยนมุมกล้องให้สูงหรือต่ํา

82.Commentator หมายถึงอะไร
(1) ผู้ประกาศข่าวโทรทัศน์
(2) ผู้อ่านบทโฆษณา
(3) ผู้บรรยาย
(4) ผู้กํากับรายการโทรทัศน์
ตอบ 3 หน้า 75, (คําบรรยาย) Commentator หมายถึง ผู้บรรยาย ผู้วิเคราะห์ หรือผู้วิจารณ์ใน รายการวิจารณ์ข่าว (News Commentary) ซึ่งมีหน้าที่หยิบยกประเด็นที่อยู่ในความสนใจ ของสังคมขึ้นมาอธิบาย วิพากษ์วิจารณ์ หรือแสดงความคิดเห็น บางรายการอาจเปิดโอกาส ให้ผู้ฟังร่วมแสดงความคิดเห็นด้วย

83.Run-down Sheet ควรใช้สําหรับรายการประเภทใด
(1) ข่าว
(2) บทความ
(3) สารคดี
(4) เพลง
ตอบ 4หน้า 83, (คําบรรยาย) การเขียนบทวิทยุกระจายเสียงมีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่
1. บทที่วางโครงร่างคร่าว ๆ (Run-down Sheet) คือ บทที่ร่างลําดับเนื้อหาหรือลําดับ ในการทํางานไว้สําหรับผู้ร่วมงาน ซึ่งมักใช้กับรายการเพลง
2. บทกึ่งสมบูรณ์ (Semi Script) คือ บทที่มีรายละเอียดสมบูรณ์ในบางส่วนและละเอาไว้ บางส่วน มักใช้กับรายการสัมภาษณ์ สนทนา ฯลฯ
3. บทสมบูรณ์ (Complete Script) คือ บทที่มีรายละเอียดทุกอย่างกําหนดไว้ชัดเจน มักใช้กับรายการละครวิทยุ ข่าว บทความ สปอตโฆษณา ฯลฯ

84. ข้อใดเป็นหลักการใช้ภาษาวิทยุกระจายเสียง
(1) ไม่ควรนําเรื่องส่วนตัวมาพูดในรายการ
(2) ใช้ภาษาระดับลีลากันเอง
(3) ใช้สํานวนโวหารเพื่อเรียกร้องความสนใจ
(4) ใช้คําหรูหราฟังไพเราะ
ตอบ 1 หน้า 82 – 83 แนวทางหรือหลักการใช้ภาษาพูดทางวิทยุกระจายเสียง มีดังนี้
1. ใช้ประโยคสั้น ๆ ง่าย ๆ พูดแล้วไม่ต้องให้คิดนาน
2. การพูดทุกตอนต้องแสดงความหมายในแง่เดียว ไม่มีการขัดแย้งกันเอง
3. ใช้ภาษาสุภาพ ให้เกียรติผู้ฟัง อย่าใช้ภาษาที่แสดงภูมิอวดผู้ฟัง เช่น ใช้คํายาก คําแปลก ๆ
4. ใช้น้ำเสียงเป็นกันเองกับผู้ฟัง
5. ไม่นําเรื่องส่วนตัวของผู้ดําเนินรายการ หรือญาติมิตรมาพูดคุยในรายการ
6. ไม่ควรใช้คําคะนองที่ใช้กันเฉพาะกลุ่ม ไม่พูดคําหยาบและคําผวน ฯลฯ

85. หนังสือพิมพ์เชิงคุณภาพเสนอข่าวประเภทใด
(1) ข่าวที่ประชาชนสนใจ
(2) ข่าวหนัก
(3) ข่าวเบา
(4) ข่าวที่มีคุณภาพ
ตอบ 2 หน้า 62, 64 หนังสือพิมพ์เชิงคุณภาพ (Quality Newspaper) หมายถึง หนังสือพิมพ์ที่ นําเสนอข่าวสารข้อมูลที่มีสาระ ซึ่งผู้อ่านต้องใช้ความรู้และความคิดติดตามเรื่องราวต่าง ๆ เหล่านั้นจึงจะเข้าใจ โดยข่าวที่นําเสนอจะมีลักษณะการใช้ภาษาเป็นภาษาระดับทางการ (เนื้อข่าวหน้าใน) และกึ่งทางการ (พาดหัวข่าว) ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นข่าวหนัก (Hard News) เช่น ข่าวการเมือง ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวการศึกษา ข่าวสิ่งแวดล้อม ข่าวศิลปวัฒนธรรม ฯลฯ

86. บทบรรณาธิการเป็นความเรียงประเภทใด
(1) ร้อยแก้ว
(2) ร้อยกรอง
(3) ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง
(4) สารคดี
ตอบ 1 หน้า 63 บทบรรณาธิการหรือบทนํา (Editorial) คือ ความเรียงประเภทร้อยแก้ว โดยมี จุดมุ่งหมายหลักของการเขียนเพื่อแสดงถึงทัศนะหรือความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์ฉบับนั้น ซึ่งมีต่อสถานการณ์ที่กําลังอยู่ในความสนใจของสาธารณชน ดังนั้น บทบรรณาธิการจึงนับว่ามีความสําคัญในการเป็นข้อเขียนที่แสดงถึงจุดยืนหรือทิศทางของหนังสือพิมพ์ทั้งฉบับต่อสถานการณ์ที่กําลังอยู่ในกระแสสังคม

87. บทบรรณาธิการมีความสําคัญอย่างไร
(1) เป็นข้อเขียนประเภทแสดงความคิดเห็น
(2) เป็นการนําเสนอข้อมูลใหม่ ๆ
(3) แสดงถึงจุดยืนของหนังสือพิมพ์ต่อสถานการณ์ที่อยู่ในกระแสสังคม
(4) แสดงความคิดเห็นของบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ที่มีต่อเรื่องทั่วไป
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 86. ประกอบ

88. หนังสือพิมพ์เชิงคุณภาพมีลักษณะการใช้ภาษาอย่างไร
(1) ใช้ภาษาทางการและภาษาปาก
(2) ใช้ภาษาทางการและกึ่งทางการ
(3) ใช้ภาษาปาก
(4) ใช้ภาษากึ่งทางการและภาษาปาก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 85. ประกอบ

89.การเขียนบทความ บทบรรณาธิการ ใช้รูปแบบการเขียนแบบใด
(1) Inverted Pyramid
(2) Upright Pyramid
(3) Combination
(4) Straight News
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 50. ประกอบ

ข้อ 90, – 92. จงใช้บทความต่อไปนี้ตอบคําถาม
“ทั้งหมดนี้เป็นภารกิจเร่งด่วนที่รัฐบาลต้องรีบทําให้เกิดความชัดเจน และต้องประชาสัมพันธ์เร่งด่วน เพื่อให้รับรู้ร่วมกัน ต้องมีความชัดเจนก่อนประชาคมอาเซียนจะมีผล ในระเบียบหรือข้อตกลงบางอย่าง ประชาชนคนไทยต้องรับรู้เป็นแนวทาง เรื่องขนบธรรมเนียมประเพณีหลักปฏิบัติต่าง ๆ”

90. บทความข้างต้นเป็นบทบรรณาธิการประเภทใด
(1) อธิบายความ
(2) วิพากษ์วิจารณ์
(3) แนะนํา
(4) เรียกร้องให้เกิดการกระทํา
ตอบ 4 หน้า 71 บทบรรณาธิการประเภทเรียกร้องให้เกิดการกระทํา (Demand Action) จัดเป็น บทบรรณาธิการที่เรียกร้องให้บุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งรัฐบาลและเอกชนให้ลงมือกระทําอย่างใด อย่างหนึ่งในทันทีทันใด โดยต้องชี้ให้เห็นถึงความรุนแรงของปัญหาและเหตุผลที่ต้องเรียกร้อง ให้มีการปฏิบัติ ซึ่งกองบรรณาธิการจะต้องให้ข้อมูล หลักฐาน ตัวเลข ตัวอย่างเพียงพอที่จะ สนับสนุนข้อเรียกร้องนั้นได้อย่างเต็มที่ และสามารถทําให้ผู้อ่านคล้อยตาม

91. บทความนี้ใช้ภาษาระดับลีลาใด
(1) ลีลาเยือกเย็น
(2) ลีลาทางการ
(3) ลีลาปรึกษาหารือ
(4) ลีลากันเอง
ตอบ 2 หน้า 16, (คําบรรยาย) ลีลาทางการ (Format Style) เป็นลีลาของวัจนภาษาที่เป็นพิธีการ น้อยกว่าลีลาเยือกเย็น แต่ก็ยังมีลักษณะเป็นแบบแผน และมุ่งสื่อสารไปยังกลุ่มคนที่ไม่เฉพาะ เจาะจงว่าเป็นบุคคลใด เช่น ภาษาที่ใช้เขียนหนังสือราชการ หนังสือเรียน บทบรรณาธิการใน หนังสือพิมพ์ บทความทางวิชาการ บทวิเคราะห์ การปาฐกถา การบรรยาย ฯลฯ

92. บทความนี้แสดงความคิดเห็นในระดับใด
(1) เสนอแนะ
(2) อธิบายความ
(3) วิพากษ์วิจารณ์
(4) เสนอแนวทางการแก้ปัญหา
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การแสดงความคิดเห็นในบทความ บทวิเคราะห์ และบทบรรณาธิการ อาจจะ
แบ่งตามระดับจากง่ายไปยากที่สุดได้ดังนี้
1. ระดับอธิบายความ คือ ผู้เขียนตีความเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบ ที่เกิดขึ้น และคาดการณ์ถึงสิ่งที่จะตามมา
2. ระดับวิพากษ์วิจารณ์ คือ ผู้เขียนประเมินค่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าดีหรือไม่ดี เห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย ใครถูกใครผิด ฯลฯ โดยแจกแจงให้เห็นข้อดีข้อด้อยในเรื่องนั้น ๆ
3. ระดับเสนอทางแก้ปัญหา คือ ผู้เขียนให้คําแนะนําหรือให้ข้อเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหา แก่ผู้รับผิดชอบ จึงจัดเป็นการเขียนในเชิงวิเคราะห์ที่กล่าวถึงสาเหตุและเสนอทางออกไป พร้อม ๆ กัน ๆ

ข้อ 93 – 94. จงใช้บทความต่อไปนี้ตอบคําถาม
“แต่ถึงจะทําได้หรือทําไม่ได้ก็ตาม นักการเมืองหรือพรรคการเมืองจะต้องรักษาคําสัญญาที่ให้ไว้ต่อ ประชาชนในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง เพื่อสร้างศรัทธาต่อระบอบประชาธิปไตย ระบบของรัฐสภา
และนักการเมือง ตามคําเรียกร้องของหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์”

93. ข้อความนี้เป็นส่วนหนึ่งของบทบรรณาธิการประเภทใด
(1) ให้ข่าวสาร
(2) อธิบายความ
(3) แนะนํา
(4) เรียกร้องให้กระทํา
ตอบ 3 หน้า 71 บทบรรณาธิการประเภทเสนอแนะ (Suggest) เป็นบทบรรณาธิการที่ผู้เขียนได้ ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่กําลังเป็นข่าวและต้องการให้มีการแก้ปัญหาในทางที่ถูกต้อง ซึ่งการเสนอแนะหรือแนะนําจะเป็นเพียงการชี้แนวทางที่เป็นไปได้ให้ผู้อ่านและผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้พิจารณาเลือกปฏิบัติ โดยอาจให้กระทํา ไม่กระทํา หรือเลือกกระทําตามแต่กรณี แต่จะ ไม่รุนแรงถึงกับเรียกร้องให้มีการตอบสนองข้อเสนอแนะนั้น

94.บทความข้างต้นแสดงความคิดเห็นในระดับใด
(1) อธิบายความ
(2) วิพากษ์วิจารณ์
(3) วิเคราะห์
(4) ให้คําแนะนํา
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 92. ประกอบ

95. “ให้สาระและบันเทิงพร้อมทั้งความเพลิดเพลิน” เป็นลักษณะของสารคดีประเภทใด
(1) สารคดีข่าว
(2) สารคดีประวัติศาสตร์
(3) สารคดีทั่วไป
(4) สารคดีสนองปุถุชนวิสัย
ตอบ 3 หน้า 68 สารคดีทั่วไป เป็นสารคดีที่ประกอบด้วยเนื้อหาด้านต่าง ๆ เช่น สารคดีชีวประวัติ สารคดีเรื่องเล่า สารคดีท่องเที่ยว สารคดีทางวิชาการต่าง ๆ ฯลฯ ซึ่งจะมีลักษณะร่วมกันอยู่ ประการหนึ่ง คือ ให้สาระและบันเทิงพร้อมทั้งความเพลิดเพลินควบคู่กันไป โดยมุ่งเน้นไปที่
ความเพลิดเพลินมากกว่า

96. “จะดีกว่ามั้ย ถ้ากระดาษที่ใช้ช่วยลดโลกร้อนได้” เป็นการเขียนพาดหัวโฆษณาวิธีใด
(1) พาดหัวข่าว
(2) บอกประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ
(3) ให้คําแนะนํา
(4) ชวนให้สนใจใคร่รู้
ตอบ 2 หน้า 45 การกล่าวถึงประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ (Product Claim) คือ การเขียนข้อความ พาดหัวโฆษณาที่แสดงถึงข้อยืนยันเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้บริโภคจะได้รับจากการใช้สินค้า ซึ่งสามารถดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคได้ดี เพราะเป็นการกล่าวถึงสิ่งที่อยู่ในความสนใจของผู้บริโภค และสิ่งสําคัญที่ควรคํานึงถึงก็คือ ข้อเสนอนั้นควรเป็นข้อเสนอที่เด่นชัดจริง ๆ และเชื่อถือได้ โดยข้อความโฆษณาส่วนอื่น ๆ ต้องให้ข้อมูลหลักฐานเพื่อพิสูจน์หรือสนับสนุนข้อเสนอนั้น ๆ

97. “พบกับประสบการณ์การเดินทางเหนือระดับที่โรงแรมและรีสอร์ท ซึ่งครอบคลุมสถานที่ท่องเที่ยวเด่น ๆ ในประเทศไทย ผ่อนคลายในห้องสวีทขนาดใหญ่ หรือวิลล่าหลายห้องนอนพร้อมสระน้ําส่วนตัว สนุกกับ กิจกรรมมากมาย เพลิดเพลินกับบรรยากาศสุดหรู” เป็นการเขียนข้อความโฆษณาแบบใด
(1) เขียนข่าว
(2) เล่าเรื่อง
(3) บทสนทนา
(4) เป็นคําสั่ง
ตอบ 2 หน้า 47 การเขียนแบบการเล่าเรื่อง (Narrative Description) เป็นวิธีการเขียนข้อความ โฆษณาส่วนเนื้อเรื่องที่บรรยายเกี่ยวกับประสบการณ์ หรือผลที่จะได้รับจากการใช้สินค้าและ
บริการที่โฆษณา โดยใช้รูปแบบการเขียนอธิบายความแบบเล่าเรื่อง

98. ข้อใดเป็นเทคนิคการเขียนบทวิทยุสําหรับรายการประเภทข่าว
(1) เขียนประโยคสั้น ๆ
(3) ใช้คําเปรียบเทียบให้เกิดภาพพจน์
(2) เขียนเหมือนการพูดตัวต่อตัว
(4) อ้างคําพูดของแหล่งข่าว
ตอบ 1 หน้า 81, (คําบรรยาย) เทคนิคการเขียนบทวิทยุสําหรับรายการประเภทข่าว มีดังนี้
1. เขียนประโยคสั้น ๆ แต่ละประโยคมีแนวคิดเดียว
2. ไม่เขียนคําย่อ
3. การยกคําพูดผู้อื่นมากล่าวอ้างต้องเรียบเรียงขึ้นใหม่ โดยอ้างถึงคําพูดของแหล่งข่าว แต่เปลี่ยนคําสรรพนามเป็นบุรุษที่ 3
4. ศัพท์เฉพาะหรือคําอ่านยากต้องวงเล็บคําอ่านไว้
5. กรณีที่เป็นตัวเลขจํานวนมากต้องเขียนด้วยตัวหนังสือ

99.Moderator หมายถึงอะไร
(1) ผู้ประกาศข่าวโทรทัศน์
(2) ผู้ดําเนินรายการอภิปราย
(3) ผู้บรรยาย
(4) ผู้กํากับรายการโทรทัศน์
ตอบ 2 หน้า 74 รายการอภิปราย (Discussion Programme) เป็นรายการพูดคุยกันเป็นหมู่คณะ โดยเนื้อหาเป็นเชิงแสดงความคิดเห็นโต้แย้ง หรือสนับสนุนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยมีผู้ดําเนิน รายการอภิปราย (Moderator) เป็นผู้ควบคุมการอภิปรายให้อยู่ในประเด็น และสรุปประเด็น สําคัญ ๆ ให้ผู้ฟัง

100. Vox-pop หมายถึงอะไร
(1) การบรรยายโดยบันทึกเสียงล่วงหน้า
(2) เสียงประกอบ
(3) การบรรยายสด
(4) การสัมภาษณ์ประชาชนทั่วไป
ตอบ 4 หน้า 74 รายการสัมภาษณ์ (Interview Programme) คือ รายการที่มีบุคคล 2 ฝ่าย โดยที่ ฝ่ายหนึ่งจะเป็นผู้ซักถามหรือผู้สัมภาษณ์ (Interviewer) ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ให้สัมภาษณ์ (Interviewee) ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่
1. รายการสัมภาษณ์อย่างเป็นทางการ (Formal Interview)
2. รายการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ (Informat Interview)
3. การสัมภาษณ์เสียงของประชาชนทั่วไป (Vox-pop)

Advertisement