การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2555
ข้อสอบกระบวบวิชา MCS 2106 (MC 216) ภาษาเพื่อการสื่อสารมวลชน
คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)
1. มนุษย์ใช้อะไรเป็นสื่อกลางในการแสดงออกเชิงความคิด
(1) ท่าทาง
(2) ร่างกาย
(3) วัตถุสิ่งของ
(4) ภาษาพูด
ตอบ 4 หน้า 1 การสื่อสารของมนุษย์จำเป็นต้องใช้ภาษา เพราะภาษาเป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้แทนความหมาย เป็นสื่อกลางในการแสดงออกเชิงความคิดของมนุษย์ ดังนั้นการศึกษาเรื่องภาษาเพื่อการสื่อสาร จึงเป็นการทำความเข้าใจถึงความสำคัญของภาษาในแง่ที่เป็นเครื่องมือของการสื่อสาร และ การทำหน้าที่ของภาษาในการสื่อความหมายเป็นหลัก
2. ข้อใดถูกต้องที่สุด
(1) การสื่อสารทำให้มนุษย์มาอยู่รวมกัน
(2) ภาษาเป็นเครื่องมือการสื่อสาร
(3) ภาษาหมายถึงคำพูดและถ้อยคำ
(4) ภาษาและความหมายเป็นสิ่งเดียวกัน
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ
3. การทำให้สารเป็นความหมาย ต้องอาศัยองค์ประกอบการสื่อสารข้อใด
(1) ช่องทางการสื่อสาร
(2) ผู้ส่งสาร
(3) การถอดรหัส
(4) การเข้ารหัส
ตอบ 3 หน้า 4-5 กระบวนการถอดรหัส (Decoding) หมายถึง การแปลหรือตีความสารให้เป็น ความหมายสำหรับผู้รับสาร เช่น การที่นักศึกษาฟังและคิดตามเพื่อพยายามทำความเข้าใจ สิ่งที่อาจารย์กำลังบรรยาย ฯลฯ นอกจากนี้เครื่องยนต์กลไกก็สามารถเป็นผู้ถอดรหัสได้ เช่น เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง ฯลฯ
4. เครื่องส่งวิทยุโทรทัศน์ ทำหน้าที่ใดในกระบวนการสื่อสาร
(1) แหล่งสาร (2) เข้ารหัส (3) ช่องทางการสื่อสาร (4) ถอดรหัส
ตอบ 2 หน้า 4, (คำบรรยาย) กระบวนการเข้ารหัส (Encoding) หมายถึง การที่แหล่งสารแปลความคิดของตนให้อยู่ในรูปที่อีกฝ่ายหนึ่งสามารถรับได้โดยอาศัยประสาทสัมผัส(Senses) เป็นช่องทางการสื่อสารเพื่อนำสารมาสู่ผู้รับสาร เช่น การที่ผู้พูดเข้ารหัสเป็นคำพูดในการ สื่อสารแบบเผชิญหน้า ฯลฯ นอกจากนี้เครื่องยนต์กลไกก็สามารถเป็นผู้เข้ารหัสได้ เช่น เครื่องส่งวิทยุโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง ฯลฯ
5. การสื่อสารประเภทใดที่เป็นการสื่อสารทางเดียว
(1) การประชาสัมพันธ์
(2) การสื่อสารในองค์การ (3) การสื่อสารสาธารณะ (4) การสื่อสารมวลชน
ตอบ 4 หน้า 25 – 26 ลักษณะของการสื่อสารมวลชน มีดังนี้ 1. แหล่งสารหรือผู้ส่งสารมีลักษณะ
เป็นสถาบัน 2. เนื้อหาของสารที่ปรากฏทางสื่อมวลชนมีลักษณะเป็นสาธารณะ (Public)
3. ผู้รับสารเป็นมวลชน หรือผู้รับชมรับฟังจำนวนมากที่เป็นใครก็ได้ 4. กระบวบการ
สื่อสารมวลชนมีลักษณะเป็นการสื่อสารทางเดียว 5. ได้รับอิทธิพลจากบริบททางสังคม
6. ใช้สื่อมวลชนเป็นช่องทางการสื่อสาร
6. ข้อใดหมายถึง “สภาวะแวดล้อมที่มีอิทธิพลกำกับความหมายและพฤติกรรมการสื่อสารของมนุษย์”
(1) Environmental Noise (2) Communication Context
(3) Communicative Competence (4) Communication Content
ตอบ 2 หน้า 7, 10 บริบทของการสื่อสาร (Communication Context) หมายถึง สภาวะแวดล้อม ที่มีอิทธิพลกำกับความหมายและพฤติกรรมการสื่อสารของมนุษย์ ประกอบด้วย 4 มิติ ได้แก่
1. มิติทางกายภาพ 2. มิติทางวัฒนธรรม 3. มิติทางจิตวิทยาสังคม 4. มิติทางด้านเวลา
7. คำว่า “Communication” มีรากศัพท์มาจากคำว่าอะไร
(1) Communist (2) Community (3) Common (4) Municate
ตอบ 3 หน้า 2 คำว่า การสื่อสาร (Communication) มีรากศัพท์มาจากคำว่า Common ซึ่งหมายถึง ร่วมกัน เหมือนกัน
8. บริบททางจิตวิทยาสังคม เกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง
(1) อาคาร สถานที่ สภาพแวดล้อม (2) ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติส่วนบุคคล
(3) สถานภาพ ตำแหน่งหน้าที่ (4) กระแสแฟชั่น วิถีการดำเนินชีวิตของแต่ละคน
ตอบ 3 หน้า 10, (คำบรรยาย) บริบทของการสื่อสารในมิติทางจิตวิทยาสังคม (The Social-psychological Context) หมายถึง ความสัมพันธ์ทางสถานภาพหรือฐานะชนชั้นของผู้ร่วมสื่อสาร บทบาท ตำแหน่งหน้าที่ ความรับผิดชอบ กฎกติกา ระเบียบวินัย และเกมทีทั้ง 2 ฝ่ายเล่น เช่น การที่นักการเมืองอภิปรายในสภา ซึ่งบางครั้งก็เป็นไปตามสถานภาพของแต่ละฝ่ายและ เกมทางการเมือง เป็นต้น
9. “เกมการเมือง” เป็นบริบทของการสื่อสารมิติใด
(1) กายภาพ (2) จิตวิทยาสังคม (3) วัฒนธรรม (4) เวลา
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 8. ประกอบ
10. หนังสือพิมพ์ข่าวรามคำแหง เป็นการสื่อสารประเภทใด
(1) การสื่อสารสาธารณะ (2) การสื่อสารมวลชน
(3) การสื่อสารในองค์กร (4) การสื่อสารระหว่างบุคคล
ตอบ 3 หน้า 12, (คำบรรยาย) การสื่อสารในองค์กร (Organization Communication) คือการสื่อสารกันภายในกลุ่มที่เป็นทางการเพื่อเพิ่มผลผลิต ส่งเสริมจริยธรรม ให้ข้อมูลข่าวสาร และโน้มน้าวใจ ฯลฯ หรือเป็นการสื่อสารระหว่างผู้ที่เป็นสมาชิกขององค์กรหรือหน่วยงานต่าง ๆ เช่น การประชุมปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่, การอบรมข้าราชการใหม่, การออกหนังสือพิมพ์ ติดป้ายประชาสัมพันธ์ ติดป้ายประกาศ หรือเสียงตามสายภายในมหาวิทยาลัย ฯลฯ