การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2556
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 1300 (MCS 1350) หลักการพูดเบื้องต้น
คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)
ข้อ 1. – 10. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม
(1) เพื่อรับรู้ข้อมูลข่าวสาร (2) เพื่อมีความเข้าใจในข้อมูลข่าวสาร
(3) เพื่อเข้าถึงอารมณ์ความรู้สึก (4) เพื่อโน้มน้าวจิตใจ
1. การพูดในรูปแบบที่ทำข้อมูลสารนิเทศให้เป็นข้อมูลสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร
ตอบ 1 (คำบรรยาย) การพูดเพื่อรับรู้ข้อมูลข่าวสาร เป็นขั้นตอนแรกของการพูดเมื่อพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ของการสื่อสารเป็นหลัก โดยจะบอกข้อมูลข่าวสารเพื่อให้รับรู้ รับทราบ หรือสร้าง ปฏิสัมพันธ์ในการสื่อสาร จึงเป็นการพูดในรูปแบบที่ทำข้อมูลสารนิเทศให้เป็นข้อมูลสารสนเทศ เพื่อการสื่อสาร โดยมีลักษณะสำคัญ ดังนี้ 1. บอกกล่าว เล่าเรื่องราว บรรยายให้ฟัง 2. ประกาศให้ทราบ แจ้งความให้รู้ทั่วกัน 3. รายงานถึงสิ่งที่เกิดขึ้น
2. ขั้นตอนแรกของการพูดเมื่อพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ของการสื่อสารเป็นหลัก
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ
3. ใช้สิ่งเร้าเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมกระบวนการสื่อสารด้วยเสียงและสำเนียงเพื่อเข้าถึงอารมณ์ และความรู้สึก
ตอบ 3 หน้า 93, (คำบรรยาย) การพูดเพื่อให้สาระความบันเทิง เป็นการพูดที่ใช้สิ่งเร้าเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมกระบวนการสื่อสารด้วยเสียงและสำเนียงเพื่อเข้าถึงอารมณ์และความรู้สึก เพื่อกระตุ้นการรับรู้ สร้างความน่าสนใจ โดยต้องคำนึงถึง
1. การไม่พูดมุขตลกนานเกินไป เพราะจะทำให้ไม่ได้สาระอื่น ๆ
2. หลีกเลี่ยงการพูดไม่สุภาพ ไม่เหมาะสมกับงาน
3. การไม่ละเลยต่อประเด็น สาระสำคัญ หรือเป้าหมายทางการสื่อสาร
4. การพูดที่ใช้กระบวนการเพื่อให้เข้าใจความหมาย มีข้อมูลประกอบ สร้างสรรค์เนื้อหาโดยเน้นความเป็นจริง จากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น
ตอบ 2 หน้า 93 – 94, (คำบรรยาย) การพูดเพื่อให้ความรู้หรือเล่าข้อเท็จจริง เป็นการนำเสนอข้อมูล ความเป็นจริงจากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในข้อมูลข่าวสารเป็นสำคัญ โดยจะใช้กระบวนการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินคุณค่า เพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างกันและกัน
5. ประโยชน์ของการพูดที่หวังผลในด้านการกระทำ
ตอบ 4 หน้า 94 – 96, (คำบรรยาย) การพูดเพื่อชักจูงใจหรือโน้มน้าวจิตใจ เป็นการนำเสนอข้อมูล ข่าวสารเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนไม่เปลี่ยนพฤติกรรม การกระทำ ความเชื่อ ทัศนคติ หรือสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องต่าง ๆ โดยใช้ภาษาที่เร้าใจ และเข้าถึงปัญหาสำคัญของกลุ่มผู้ชม-ผู้ฟัง ด้วยวิธีการที่ไม่ใช่การบอกกล่าวโดยตรง แต่คำนึงถึงเงื่อนไขสำคัญ ดังนี้
1. การสร้างความเลื่อมใสศรัทธา 2. นำเสนอสิ่งที่น่าสนใจ 3. ปลุกเร้าให้เกิดการกระทำ
6. กระบวนการพูดที่พิจารณาถึงองค์ประกอบสำคัญ 3 ด้าน คือ การปรับปรุงตัวผู้พูด การวิเคราะห์ผู้ฟัง การเลือกเรื่องที่เหมาะสม หวังให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด
ตอบ 4 หน้า 11, (คำบรรยาย) ในกระบวนการพูดที่หวังให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดในการสื่อสาร คือ เพื่อโน้มน้าวจิตใจ จะต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบสำคัญ 3 ด้าน ได้แก่ 1. การปรับปรุงตัวผู้พูด 2.การวิเคราะห์ผู้ฟังและสถานการณ์การพูด (กาลเทศะ) 3. การเลือกเรื่องพูดที่เหมาะสม
7. การใช้ภาษาที่มีความเร้าใจ และเข้าถึงปัญหาสำคัญของกลุ่มผู้ชมหรือผู้ฟังด้วยวิธีการที่ไมใช่การบอกกล่าวโดยตรง
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 5. ประกอบ
8. การพูดเพื่อจรรโลงใจหรือสร้างความตระหนักรู้รับผิดชอบชั่วดีที่มีต่อสังคม ต้องอาศัยขั้นตอนนี้เป็นสำคัญ
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 5. ประกอบ
9. การทำให้บรรยากาศการพูดเป็นไปด้วยดี และเป็นธรรมชาติ สามารถสร้างความเข้าใจระหว่างกันและกัน ได้อย่างราบรื่นด้วยข้อมูลที่ตรงกัน
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 4. ประกอบ
10. ถึงจะเป็นวิธีการที่ดี แต่หากกระทำมากไปหรือใช้เวลามากเกินไป โดยละเลยต่อประเด็นสำคัญหรือเป้าหมายทางการสื่อสารก็นับว่าเปล่าประโยชน์
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 3. ประกอบ