การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2556
ข้อสอบกระบวนวิชา LIS 1003 การใช้ห้องสมุด
คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 60 ข้อ)
1. ข้อใดกล่าวถึงการใช้สารสนเทศได้ถูกต้องที่สุด
(1) น้องดาวตัดสินใจเลิกกับแฟนหลังจากสังเกตพฤติกรรมและวิเคราะห์ข้อมูลมาเป็นปี
(2) คุณแดงเลิกเป็นสาวกพรรคการเมืองที่มีหัวหน้าพรรคเคยหล่อตามเพื่อน
(3) คุณเสรีเลิกทำนาเพราะข่าวลือว่ารัฐบาลจะยกเลิกนโยบายรับจำนำข้าว
(4) คุณจรัสตัดสินใจไปทำนมตามกระแสในอินเทอร์เน็ต
ตอบ 1 หน้า 3, 5, (คำบรรยาย) คำว่า “สารสนเทศ” (Information) หมายถึง ข่าวสารความรู้ที่ เป็นข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกิดจากข้อมูลที่ผ่านการกลั่นกรอง วิเคราะห์ และบ่ระมวลผลแล้ว ตลอดทั้งความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ ซึ่งบันทึกลงในสื่อหรือวัสดุประเภทต่าง ๆ ที่สามารถถ่ายทอด และเผยแพร่ได้ ดังนั้นสารสนเทศจึงมีความถูกต้องและมีประโยชน์ต่อผู้ใช้มากกว่าข้อมูล เนื่องจาก สามารถนำมาช่วยแก้ไขปัญหาและประกอบการตัดสินใจได้ ส่วนคำว่า “ข้อมูล” (Data) หมายถึง ข้อมูลดิบหรือข้อเท็จจริงที่ยังไม่สมบูรณ์ ไม่ถูกต้อง หรือยังไม่ได้ผ่านการกลั่นกรอง วิเคราะห์ ตรวจสอบ และประเมินผลอย่างเป็นระบบ เช่น ข่าวจากหนังสือพิมพ์หรือโทรทัศน์ ข่าวซุบซิบหรือ ข่าวลือ การโฆษณาสินค้า ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต การกล่าวหา/โจมตีคู่แข่งทางการเมือง เป็นต้น
2. ข้อใดกล่าวถึงพัฒนาการของห้องสมุดและสารสนเทศได้ถูกต้อง
(1) ชาวกรีกเป็นผู้ริเริ่มประดิษฐ์อักษรคิวนิฟอร์ม
(2) สุเมเรียนเริ่มบันทึกข้อมูลลงบนกระดาษเป็นขาติแรก
(3) ห้องสมุดอเล็กซานเดรียสร้างโดยซาวเมใสโปเตเมีย
(4) ชาวอียิปต์เป็นชาติแรกที่ใช้กระดาษปาไปรัส
ตอบ 4 หน้า 7, (คำบรรยาย) ซาวอียิปต์ซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ตามลุ่มแม่นํ้าไนล์ ถือเป็นชนชาติแรก
ทีรู้จักบันทึกเหตุการณ์และข่าวสารความรู้ต่าง ๆ ลงบนแผ่นกระดาษปาไปรัส (Papyrus)
ด้วยตัวอักษรภาพที่เรียกว่า “ไฮโรกลิพิก” (Hieroglyphic)โดยห้องสมุดปาไปรัสที่มีชื่อเสียง ในสมัยนี้ ได้แก่ ห้องสมุดแห่งขาติเมืองกิเซห์ สร้างเมื่อราว 2,500 ปีก่อนคริสต์ศักราซ
3. ข้อใดมีความสัมพันธ์กัน
(1) หอพระมณเฑียรธรรม—หอหลวง
(2) หอพุทธสาสนสังคหะ—วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
(3) รัชกาลที่ 1—หอพระมณเฑียรธรรม
(4) รัชกาลที่ 6—หอสมุดแห่งชาติ
ตอบ 3 หน้า 9 – 10, (คำบรรยาย) ห้องสมุดในประเทศไทยมีพัฒนาการตามลำดับยุคสมัย ดังนี้
1. สมัยสุโขทัย ได้แก่ หอไตรหรือหอพระไตรปิฎกภายในวัดวาอารามตาง ๆ
2. สมัยอยุธยา ได้แก่ หอหลวงภายในพระราชวัง เพื่อเก็บรักษาหนังสือ วรรณกรรมทางโลก ตัวบทกฎหมาย และเอกสารทางราชการของราชสำนัก
3. สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการสร้างหอสมุดประจำรัชกาลต่าง ๆ ได้แก่ หอพระมณเฑียรธรรม หรือหอไตรภายในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ในสมัยรัชกาลที่ 1,
วัดพระเซตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ในสมัยรัชกาลที่ 3, หอพระสมุดวชิรญาณ หอพุทธสาสนสังคหะ (ตั้งอยู่ในวัดเบญจมบพิตร) และหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร (ถือเป็นรากฐานของหอสมุดแห่งขาติในปัจจุบัน) ในสมัยรัชกาลที่ 5
4. ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องที่สุด
(1) การคุยกันกับเพื่อนระหว่างฟ้งบรรยายช่วยให้เข้าใจเรื่องชัดเจน
(2) การคิดก่อนตัดสินใจเข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองตามคำชักชวนของเพื่อน
(3) การศึกษา คือ การเรียนในสถาบันอุดมศึกษาเพื่อให้ได้ปริญญา
(4) การเดินออกนอกห้องเรียนขณะอาจารย์บรรยายสามารถทำได้ เพราะเป็นสิทธิส่วนบุคคล
ตอบ 2 หน้า 16 – 20, (คำบรรยาย) การศึกษา หมายถึง การเสาะแสวงหาความรู้จากหลาย ๆ ทาง เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในเรื่องนั้น ๆ โดยวิธีศึกษาหาความรู้ที่เป็นพื้นฐานของ การแสวงหาความรู้มีอยู่ 4 วิธี ได้แก่ การอ่าน การฟัง การไต่ถาม และการจดบันทึก ซึ่งตรง ตามหลักของหัวใจนักปราชญ์ ได้แก่ “สุ จิ ปุ ลิ” ดังนี้
1. สุ (สุต หรือสุตตะ) คือ การฟัง หรือการรับสารทั้งปวง รวมทั้งการอ่านหนังสือ และการค้นคว้าหาความรู้จากสื่อต่าง ๆ
2. จิ (จินตนะ หรือจินตะ) คือ การคิดวิเคราะห์ไตร่ตรองสิ่งต่าง ๆ ก่อนตัดสินใจทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
3. ปุ (ปุจฉา) คือ การไต่ถามหรือเสวนาหาคำตอบจากผู้รู้
4. สิ (ลิขิต) คือ การเขียนหรือการจดบันทึก
5. การจัดทำรายงานเรื่อง “การอ่านเรื่องราวทางการเมืองเพื่อประกอบการทำรายงานเรื่อง สิทธิทางการเมืองตามขอบเขตของรัฐธรรมนูญไทย” ควรใช้วิธีการอ่านแบบใด
(1) การอ่านคร่าว ๆ
(2)การอ่านอย่างวิเคราะห์
(3) การอ่านเพื่อเก็บรายละเอียด
(4) การอ่านอย่างเจาะจง
ตอบ 2 หน้า 18, (คำบรรยาย) การอ่านอย่างวิเคราะห์ (Critical Reading) เป็นทักษะการอ่านในระดับสูงสุด ถือว่าเป็นสุดยอดของกระบวนการอ่านเอาความ ซึ่งผู้อ่านมักเป็นนักวิจัยหรือ นักวิขาการที่ต้องมีความรู้ในเรื่องที่จะอ่านมาก่อน เพราะเป็นการอ่านที่ต้องใช้วิจารณญาณอย่างมาก สามารถแสดงความคิดเห็น พร้อมทั้งประเมินค่าหรือวิจารณ์สิ่งที่อ่านได้อย่าง มีเหตุผลและมีหลักเกณฑ์ เช่น การอ่านเพื่อรวบรวมข้อมูลมาประกอบการทำรายงาน ทำวิจัย การอ่านบทวิจารณ์หนังสือ เป็นต้น
6. ข้อใดไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักของห้องสมุด
(1) การให้บริการนวนิยายเรื่อง “ทวิภพ” ในห้องสมุด
(2) ห้องสมุดประชาชนได้เชิญกวีมาให้ความรู้เกี่ยวกับการเขียนบทกวี
(3) ห้องสมุดได้จัดนิทรรศการวัฒนธรรมไทยทุกเดือน
(4) การให้บริการสำเนาวีซีดีเพลงสากลแก่นักศึกษาในราคาถูก
ตอบ 4 หน้า 24 – 25 ห้องสมุดเป็นสถานที่รวบรวมสรรพวิทยาการต่าง ๆ หลายรูปแบบ เพื่อให้ ความรู้ ข่าวสาร ถ่ายทอดวัฒนธรรม และส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าให้แก่ประชาชนโดยไม่คิด มูลค่า ทั้งนี้ห้องสมุดโดยทั่วไปมีวัตถุประสงค์ 5 ประการ คือ
1. เพื่อการศึกษา เช่น การจัดหาหนังสือประกอบการเรียนเอาไว้ให้บริการ
2. เพื่อให้ข่าวสารความรู้ เช่น การที่ห้องสมุดจัดให้มีหนังสือพิมพ์เอาไว้ให้บริการ
3. เพื่อการค้นคว้าวิจัย เข่น การจัดให้มีฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ ศูนย์สารสนเทศ ฯลฯ
4. เพื่อความจรรโลงใจ เช่น การจัดหาหนังสือธรรมะ อัตชีวประวัติบุคคลสำคัญ กวีนิพนธ์ และวรรณกรรมซีไรต์ไว้ให้บริการ เพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามแก่ชีวิต
5. เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ เช่น การให้บริการหนังสือบันเทิงต่าง ๆ นวนิยาย เรื่องสั้น ๆลๆ เพื่อช่วยให้ผู้อ่านผ่อนคลายความตึงเครียดได้
7. แหล่งสารสบเทศในข้อใดที่ให้บริการข้อมูลเฉพาะด้าน
(1) หอสมุดแห่งซาติ (2) ห้องสมุดคณะนิติศาสตร์
(3) หอจดหมายเหตุแห่งซาติ (4) ห้องสมุดสวนลุมพินี
ตอบ 2 หน้า 32 – 33 ห้องสมุดเฉพาะ หมายถึง ห้องสมุดที่จัดตั้งขึ้นในหน่วยงานซองรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ สถาบัน บริษัท สมาคม ธนาคารพาณิชย์ และองค์การระหว่างประเทศ โดยจะทำหน้าที่ให้บริการ สารสนเทศเฉพาะสาชาวิชาใดวิขาหนึ่งอย่างละเอียดลึกซึ้ง และมุ่งให้บริการแก่ผู้ใช้เฉพาะกลุ่ม ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นนักวิชาการและนักวิจัย รวมทั้งบุคคลที่ทำงานภายในหน่วยงานนั้นๆ เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ห้องสมุดคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย- ธรรมศาสตร์, ห้องสมุดสยามสมาคม, ห้องสมุดสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เป็นต้น
8. ฝ่ายใดของสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหงที่ให้บริการกฤตภาค
(1) ฝ่ายเทคนิค (2) ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ
(3) ฝ่ายวัสดุไม่ตีพิมพ์ (4) ฝ่ายวารสารและเอกสาร
ตอบ 4 หน้า 40 – 41 ฝ่ายวารสารและเอกสาร จะรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดหา พิจารณาคัดเลือก และประเมินคุณค่าวารสาร จัดทำดรรชนีและสาระสังเขปบทความจากวารสารและเอกสาร จัดทำบรรณานุกรมวารสาร รวมทั้งให้บริการวารสาร นิตยสาร หนังสือพิมพ์ จุลสาร สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง และเอกสารทั่ว ๆ ไป ตลอดจนจัดทำกฤตภาคไว้ให้บริการ
9. ข้อใดหมายถึงทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุด
(1) หนังสือทุกเล่มที่นักศึกษายืมออกจากห้องสมุด
(2) หนังสือทุกเล่มที่ห้องสมุดดำเนินการสั่งซื้อจากบริษัท
(3) หนังสือทุกเล่มที่ห้องสมุดดำเนินการตรวจรับจากบริษัท
(4) หนังสือทุกเล่มที่บริษัทจัดจำหน่ายในงานสัปดาห์ห้องสมุด
ตอบ 1 หน้า 55, 76, 133 – 134 ทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุด หมายถึง แหล่งสารสนเทศทุกรูปแบบ ที่ห้องสมุดได้คัดเลือก จัดหา วิเคราะห์ และนำมาลงทะเบียนเพื่อจัดเก็บรวบรวมตามหมวดหมู่ อย่างเป็นระเบียบ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือทุกเล่มที่นักศึกษายืมออกจากห้องสมุด สิ่งตีพิมพ์บน แผนกระดาษประเภทอื่น ๆ สิ่งบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยมือ สื่อโสตทัศน์ วัสดุย่อส่วน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนฐานข้อมูลออนไลน์ที่ห้องสมุดเป็นสมาชิกและพร้อมให้บริการ รวมทั้งบรรณารักษ์หรือบุคลากรบริการสารสนเทศที่ทำหน้าที่ให้บริการและช่วยผู้ใช้ค้นหา สารสนเทศที่ต้องการได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
10. เลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก เปรียบเสมือนส่วนใดซองหนังสือมากที่สุด
(1) เลขมาตรฐานสากลหนังสือ (2) บัตรรายการหนังสือ
(3) เลขเรียกหมู่หนังสือ (4) เลขทะเบียนหนังสือ
ตอบ 1 หน้า 61, 193, (คำบรรยาย) เลขประจำหนังสือสากล หรือเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (International Standard Book Number : ISBN) ถือเป็นเลขที่กำหนดให้มีในหนังสือทุกเล่ม (เช่นเดียวกับที่คนไทยทุกคนมีหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน) ซึ่งมีประโยซนในการควบคุม สิ่งพิมพ์และการสั่งซื้อหนังสือ รวมทั้งบอกให้ทราบถึงประเทศที่ผลิต สำนักพิมพ์ และซื่อหนังสือ ทั้งนี้เลข ISBN อาจปรากฏที่หน้าปกในหรือที่หน้าปกนอก แต่สำหรับหนังสือภาษาต่างประเทศนั้น เลข ISBN จะปรากฏในหน้าลิขสิทธิ์