การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2563
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3011 กฎหมายลักษณะพยาน
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

1. โจทก์ฟ้องจําเลยโดยได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์คือนายรพี่บิดานายพีระ เป็นผู้รับมอบอํานาจจาก นายพีระเพื่อฟ้องดําเนินคดีกับจําเลยในคดีละเมิดเรียกค่าสินไหมทดแทนจํานวน 500,000 บาท เนื่องจากจําเลยได้ใช้มีดยาวครึ่งฟุตแทงเข้าไปที่แผ่นหลังของนายพีระทําให้ได้รับบาดเจ็บสาหัส ปอดทะลุต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลนานกว่า 1 เดือน จําเลยให้การในคําให้การว่า นายรพี่จะ เป็นผู้รับมอบอํานาจจากนายพีระจริงหรือไม่ จําเลยไม่ทราบและไม่รับรอง จําเลยได้กระทําการแทง นายพีระจริงแต่เพราะนายพีระยินยอมให้กระทํา เพราะวันที่เกิดเหตุนายพีระอ้างว่านายพีระได้ไป สักยันต์หนังเหนียวแทงไม่เข้าจากพระอาจารย์ดัง และท้าให้จําเลยทดลองแทงเพื่อพิสูจน์ความขลัง ซึ่งจําเลยไม่อยากทําแต่นายพีระรบเร้าให้จําเลยทําการทดลองแทง 3 ครั้ง ใน 2 ครั้งแรกแทงไม่เข้า จนครั้งที่ 3 นายพีระก็บอกให้จําเลยแทงสุดแรง จําเลยจึงแทงมีดนั้นมิดแผ่นหลังนายพีระจน นายพีระบาดเจ็บสาหัส ทั้งหมดจึงไม่ใช่ความผิดจําเลย จําเลยไม่จําต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ให้กับโจทก์และขอให้ศาลยกฟ้อง คดีมีประเด็นข้อพิพาทและภาระการพิสูจน์อย่างไร

Advertisement

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 84 “การวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงในคดีใดจะต้องกระทําโดยอาศัยพยานหลักฐานใน
สํานวนคดีนั้น เว้นแต่

(3) ข้อเท็จจริงที่คู่ความรับหรือถือว่ารับกันแล้วในศาล”

มาตรา 84/1 “คู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างข้อเท็จจริงเพื่อสนับสนุนคําคู่ความของตนให้คู่ความฝ่ายนั้น มีภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงนั้น แต่ถ้ามีข้อสันนิษฐานไว้ในกฎหมายหรือมีข้อสันนิษฐานที่ควรจะเป็นซึ่งปรากฏ
จากสภาพปกติธรรมดาของเหตุการณ์เป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายใด คู่ความฝ่ายนั้นต้องพิสูจน์เพียงว่าตนได้ปฏิบัติ ตามเงื่อนไขแห่งการที่ตนจะได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานนั้นครบถ้วนแล้ว”

มาตรา 177 วรรคสอง “ให้จําเลยแสดงโดยชัดแจ้งในคําให้การว่า จําเลยยอมรับหรือปฏิเสธ ข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น”

มาตรา 183 วรรคหนึ่ง “ในวันชี้สองสถาน ให้คู่ความมาศาล และให้ศาลตรวจคําคู่ความและ คําแถลงของคู่ความ แล้วนําข้ออ้าง ข้อเถียงที่ปรากฏในคําคู่ความและคําแถลงของคู่ความเทียบกันดู และสอบถาม คู่ความทุกฝ่ายถึงข้ออ้าง ข้อเถียงและพยานหลักฐานที่จะยื่นต่อศาลว่าฝ่ายใดยอมรับหรือโต้แย้งข้ออ้าง ข้อเถียงนั้น อย่างไร ข้อเท็จจริงใดที่คู่ความยอมรับกันก็เป็นอันยุติไปตามนั้น ส่วนข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายหนึ่ง ยกขึ้นอ้าง แต่คู่ความฝ่ายอื่นไม่รับและเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับประเด็นข้อพิพาทตามคําคู่ความ ให้ศาลกําหนดไว้เป็น ประเด็นข้อพิพาท และกําหนดให้คู่ความฝ่ายใดนําพยานหลักฐานมาสืบในประเด็นข้อใดก่อนหรือหลังก็ได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย ดังนี้คือ
1. คดีนี้มีประเด็นข้อพิพาทว่าอย่างไร
2. ภาระการพิสูจน์หรือหน้าที่นําสืบตกแก่คู่ความฝ่ายใด

ประเด็นที่ 1 คดีนี้มีประเด็นข้อพิพาทว่าอย่างไร

คําว่า “ประเด็นข้อพิพาท” หมายถึง ข้ออ้างข้อเถียงในปัญหาข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่ฝ่าย หนึ่งยกขึ้นอ้างในคําคู่ความ และคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งไม่รับ ดังนั้นปัญหาข้อใดที่ฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้างและคู่ความอีก ฝ่ายหนึ่งรับแล้ว ย่อมไม่เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาท (ป.วิ.แพ่ง มาตรา 84 (3), มาตรา 177 วรรคสอง และ มาตรา 183 วรรคหนึ่ง)

กรณีตามอุทาหรณ์ จากคําฟ้องของโจทก์และคําให้การของจําเลยดังกล่าว แยกพิจารณาได้ดังนี้

1. การที่นายรพี่บิดาขางนายพีระเป็นโจทก์ฟ้องจําเลยโดยอ้างว่า จําเลยได้ใช้มีดยาวครึ่งฟุต แทงเข้าไปที่แผ่นหลังของนายพีระทําให้บาดเจ็บสาหัส ปอดทะลุต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลนานกว่า 1 เดือน นั้น เมื่อจําเลยให้การว่านายรพี่จะเป็นผู้รับมอบอํานาจนายพีระจริงหรือไม่ จําเลยไม่ทราบและไม่รับรอง คําให้การเช่นนี้ถือว่า เป็นคําให้การที่ไม่ชัดแจ้งว่าจําเลยไม่ทราบไม่รับรองในเรื่องอํานาจฟ้องของโจทก์ อย่างไร จึงเป็นคําให้การที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.แพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง จึงถือว่าจําเลยได้ยอมรับว่านายรพี บิดาของนายพีระมีอํานาจฟ้องคดีนี้ จึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทในเรื่องอํานาจฟ้อง

2. การที่จําเลยให้การว่าได้กระทําการแทงนายพีระจริง แต่เป็นเพราะนายพีระยินยอมให้ กระทํานั้น เมื่อจําเลยให้การว่าได้กระทําการแทงนายพีระจริง ย่อมถือเป็นการรับชัดแจ้งตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 84 (3) จึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทว่าจําเลยได้แทงนายพีระจริงหรือไม่ และแม้จําเลยจะให้การว่าที่แทงนายพีระ
เป็นเพราะนายพีระยินยอมให้กระทําก็ตาม ก็ไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทที่จะต้องนําสืบแต่อย่างใด เพราะแม้ จากการนําสืบจะปรากฏว่า นายพีระได้ยินยอมให้กระทําจริง ศาลก็จะพิพากษายกฟ้องเพราะเหตุดังกล่าวไม่ได้

3. การที่โจทก์ฟ้องให้จําเลยรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายจํานวน 500,000 บาทนั้น แม้จําเลยจะไม่ได้ให้การเกี่ยวกับค่าเสียหายไว้ ก็ต้องถือว่าจําเลยไม่ยอมรับในส่วนนี้ จึงก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับค่าเสียหายว่า “ค่าเสียหาย 500,000 บาท จริงหรือไม่”

ประเด็นที่ 2 ภาระการพิสูจน์หรือหน้าที่นําสืบตกแก่คู่ความฝ่ายใด

สําหรับภาระการพิสูจน์หรือหน้าที่นําสืบนั้น ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 84/1 ได้กําหนดหลักเกณฑ์ ไว้ว่า ผู้ใดกล่าวอ้างข้อเท็จจริงใด ผู้นั้นมีหน้าที่นําสืบ

ดังนั้น เมื่อคดีนี้มีประเด็นข้อพิพาทประเด็นเดียวว่า “ค่าเสียหาย 500,000 บาท จริงหรือไม่” เมื่อโจทก์กล่าวอ้าง แม้จําเลยจะไม่ได้ให้การโต้แย้งจํานวนเงินค่าเสียหาย ภาระการพิสูจน์ข้อนี้ยังคงตกแก่โจทก์ (เป็นหน้าที่ของฝ่ายที่เรียกร้องจะต้องนําสืบถึงจํานวนค่าเสียหาย) แต่หากโจทก์ไม่นําสืบหรือนําสืบไม่ได้ตามฟ้อง ศาลก็มีอํานาจกําหนดค่าเสียหายให้โจทก์ได้เองตามสมควร โดยพิจารณาจากพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่ง ละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 438 วรรคหนึ่ง

สรุป

ประเด็นที่ 1 คดีนี้มีประเด็นข้อพิพาทประเด็นเดียวว่า “ค่าเสียหาย 500,000 บาท จริงหรือไม่”

ประเด็นที่ 2 : ภาระการพิสูจน์หรือหน้าที่นําสืบในคดีนี้ตกแก่โจทก์

 

ข้อ 2. นายเอกได้ยื่นคําฟ้องว่าได้ให้นายโทกู้ยืมเงินไปทั้งสิ้น 1,000,000 บาท โดยคิดอัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 15 ต่อปี โดยมีเอกสารเป็นสัญญากู้ยืมเงินมาแสดง และในสัญญาดังกล่าวระบุว่านายโท “ได้รับเงินไปทั้งหมดแล้ว” นายโทยื่นคําให้การว่าได้ทําสัญญากู้ยืมเงินจริง แต่ตนได้รับเงินไปเพียง 800,000 บาท ไม่ใช่ 1,000,000 บาท ตามที่เขียนในสัญญากู้ยืมเงิน

ในการสืบพยาน นายโทได้อ้างนายตรีเป็นพยานบุคคล (มีการยื่นบัญชีพยานระบุชื่อนายตรี เรียบร้อยแล้ว โดยนายตรีได้เบิกความด้วยวาจาว่า “ตนเห็นนายโทรับเงินจากนายเอกไปทั้งสิ้น 800,000 บาท ไม่ใช่ 1,000,000 บาท แต่นายเอกโต้แย้งอ้างว่าคําเบิกความของนายตรีนี้รับฟังไม่ขึ้น ห้ามรับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เพราะเป็นการสืบหักล้างพยานเอกสาร ให้ท่านวินิจฉัยว่า ศาลจะสามารถรับฟังคําเบิกความตามถ้อยคํานี้ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 94 “เมื่อใดมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ห้ามมิให้ศาลยอมรับฟัง พยานบุคคลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ แม้ถึงว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะได้ยินยอมก็ดี

(ก) ขอสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสาร เมื่อไม่สามารถนําเอกสารมาแสดง

(ข) ขอสืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้างอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อได้นําเอกสารมาแสดงแล้วว่า
ยังมีข้อความเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นอยู่อีก

แต่ว่าบทบัญญัติแห่งมาตรานี้ มิให้ใช้บังคับในกรณีที่บัญญัติไว้ในอนุมาตรา (2) แห่งมาตรา 93
และมิให้ถือว่าเป็นการตัดสิทธิคู่ความในอันที่จะกล่าวอ้างและนําพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างว่าพยานเอกสาร ที่แสดงนั้นเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ถูกต้องทั้งหมด หรือแต่บางส่วน
เอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ หรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตีความหมายผิด”
หรือสัญญาหรือหนี้อย่างอื่นที่ระบุไว้ใน

มาตรา 113 “พยานทุกคนต้องเบิกความด้วยวาจาและห้ามไม่ให้พยานอ่านข้อความที่เขียนมา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล หรือเป็นพยานผู้เชี่ยวชาญ”

วินิจฉัย

โดยหลักแล้ว เมื่อใดมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ย่อมต้องห้ามไม่ให้นําพยาน บุคคลมาสืบแทนพยานเอกสาร ในเมื่อไม่สามารถนําเอกสารมาแสดง หรือขอสืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้าง อย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อได้นําเอกสารมาแสดงแล้วว่ายังมีข้อความเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความ ในเอกสารนั้นอยู่อีก เว้นแต่กรณีอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ที่สามารถนําสืบพยานบุคคลหักล้างพยานเอกสารได้ คือ

1. กรณีต้นฉบับเอกสารสูญหาย หรือถูกทําลายโดยเหตุสุดวิสัย หรือไม่สามารถนําต้นฉบับมาได้ โดยประการอื่น

2. พยานเอกสารที่แสดงนั้นเป็นเอกสารปลอม

3. พยานเอกสารที่แสดงนั้นไม่ถูกต้องทั้งหมดหรือบางส่วน

4. สัญญาหรือหนี้ที่ระบุไว้ในเอกสารไม่สมบูรณ์

5. คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตีความหมายผิด (ป.วิ.แพ่ง มาตรา 94)

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเอกได้ยื่นคําฟ้องว่าได้ให้นายโทกู้ยืมเงินไปทั้งสิ้น 1,000,000 บาท โดยคิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี โดยมีเอกสารเป็นสัญญากู้ยืมเงินมาแสดง และในสัญญาดังกล่าวระบุว่า นายโท “ได้รับเงินไปทั้งหมดแล้ว” นายโทยื่นคําให้การว่าได้ทําสัญญากู้ยืมเงินจริง แต่ตนได้รับเงินไปเพียง 800,000 บาท ไม่ใช่ 1,000,000 บาท ตามที่เขียนในสัญญากู้ยืมเงิน และในวันสืบพยาน นายโทได้อ้างนายตรีเป็น พยานบุคคลมาสืบ และนายตรีได้เบิกความด้วยวาจาว่า “ตนเห็นนายโทรับเงินจากนายเอกไปทั้งสิ้น 800,000 บาท ไม่ใช่ 1,000,000 บาท” นั้น เป็นการนําสืบโต้แย้งเกี่ยวกับจํานวนเงินที่กู้ยืมจากนายเอกว่าไม่ได้รับเงินจํานวน ดังกล่าว อันถือเป็นการนําสืบถึงความไม่สมบูรณ์แห่งหนี้ ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 94 วรรคท้าย ไม่ใช่การนําสืบ เปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร ดังนั้น นายโทย่อมมีสิทธินําพยานบุคคลมาสืบได้ไม่ต้องห้าม ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 94 และศาลสามารถรับฟังคําเบิกความตามถ้อยคําดังกล่าวได้

สรุป ศาลสามารถรับฟังคําเบิกความตามถ้อยคําของนายตรีพยานบุคคลได้

 

ข้อ 3. เมื่อท่านต้องไปเบิกความเป็นพยานต่อศาล ท่านมีหน้าที่อย่างไรบ้าง

ธงคําตอบ

ในกรณีที่ข้าพเจ้าต้องไปเบิกความเป็นพยานต่อศาล ข้าพเจ้ามีหน้าที่ต้องปฏิบัติดังนี้ คือ

1. ต้องไปเบิกความต่อศาลตามความเป็นจริง เพราะเมื่อบุคคลใดได้รับหมายเรียกให้ไป เป็นพยานต่อศาลแล้ว ถ้าบุคคลนั้นมิใช่บุคคลที่ได้รับการยกเว้นตามกฎหมาย และไม่ใช่บุคคลที่มีสถานะพิเศษ ตามกฎหมาย หรือมีข้อแก้ตัวอันจําเป็นหรือเจ็บป่วยแล้ว บุคคลนั้นก็จะต้องไปเบิกความตามวัน เวลา และสถานที่ ที่ปรากฏอยู่ในหมายเรียก ถ้ามีการขัดขืนโดยไม่ยอมไปเบิกความตามวัน เวลา และสถานที่ที่ปรากฏอยู่ใน หมายเรียกนั้น บุคคลนั้นก็จะมีความผิดฐานขัดขืนหมายเรียกและต้องรับโทษทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 170

และการไปเบิกความต่อศาลนั้น ก็จะต้องเบิกความตามความเป็นจริง เพราะถ้าหากมีการ เบิกความอันเป็นเท็จแล้ว ก็อาจมีความผิดและต้องรับโทษทางอาญาฐานเบิกความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 177

2. ต้องสาบานตนหรือกล่าวคําปฏิญาณตนก่อนเบิกความ ทั้งนี้เพราะตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 112 ได้บัญญัติว่า “ก่อนเบิกความ พยานทุกคนต้องสาบานตนตามลัทธิศาสนา หรือจารีตประเพณีแห่งชาติตน หรือกล่าวคําปฏิญาณว่าจะให้การตามสัตย์จริงเสียก่อน…” เว้นแต่จะเป็นบุคคลที่ได้รับยกเว้นตามกฎหมายเท่านั้น ที่ไม่ต้องสาบานตนหรือกล่าวคําปฏิญาณตนก่อนเบิกความ

3. ต้องเบิกความด้วยวาจา เพราะตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 113 บัญญัติว่า “พยานทุกคนต้อง เบิกความด้วยวาจาและห้ามไม่ให้พยานอ่านข้อความที่เขียนมา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล หรือเป็นพยานผู้เชี่ยวชาญ”

แต่กรณีดังกล่าว มีข้อยกเว้นดังต่อไปนี้คือ

(1) ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 120/1 วรรคหนึ่ง คือในกรณีที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีคําร้องและคู่ความอีกฝ่ายไม่คัดค้าน และศาลอนุญาตให้คู่ความนั้นเสนอบันทึกถ้อยคําของผู้ที่ตนประสงค์จะอ้างเป็นพยานยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นต่อศาลแทนการซักถามเป็นพยานต่อหน้าศาลได้

(2) ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 120/2 วรรคหนึ่ง คือกรณีที่คู่ความมีคําร้องร่วมกัน และศาล เห็นสมควรอนุญาตให้เสนอบันทึกถ้อยคํายืนยันข้อเท็จจริง หรือความเห็นผู้ให้ถ้อยคํา (พยาน) ซึ่งมีถิ่นที่อยู่ใน ต่างประเทศต่อศาลแทนการนําพยานบุคคลมาเบิกความต่อหน้าศาลได้

(3) ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 115 คือ กรณีที่เป็นพยานบุคคลที่อยู่ในฐานะพิเศษ เช่น พระภิกษุและสามเณรในพุทธศาสนา แม้มาเป็นพยานแต่จะไม่ยอมเบิกความหรือตอบคําถามใด ๆ ก็ได้

4. ต้องไม่เบิกความต่อหน้าพยานคนอื่นของฝ่ายตนที่จะเบิกความภายหลัง เพราะตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 114 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ห้ามมิให้พยานเบิกความต่อหน้าพยานอื่นที่จะเบิกความภายหลัง…” คําว่า “พยานอื่น” ที่จะเบิกความภายหลังนั้นหมายความถึงเฉพาะ “พยานของฝ่ายตน” เท่านั้น ถ้าเป็นพยาน บุคคลของคู่ความฝ่ายอื่นก็ไม่ต้องห้าม

5. ต้องลงชื่อในบันทึกคําเบิกความของตนที่ศาลทําขึ้น เพราะตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 121 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ในการนั่งพิจารณาทุกครั้ง เมื่อพยานคนใดเบิกความแล้ว ให้ศาลอ่านคําเบิกความนั้น ให้พยานฟัง และให้พยานลงลายมือชื่อไว้…” เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้น เช่น กรณีการเสนอบันทึกถ้อยคําของผู้ที่ มีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศแทนการเบิกความต่อศาล หรือการสืบพยานบุคคลโดยใช้ระบบการประชุมทางจอภาพ หากลงลายมือชื่อในคําเบิกความไม่ได้ ก็ให้ลงลายพิมพ์นิ้วมือต่อหน้าศาลแทน โดยไม่ต้องมีพยานสองคน ลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือนั้นตามมาตรา 50 (1)

Advertisement