การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2557
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3008 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 2
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ
ข้อ 1. โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยฐานกระทําโดยประมาทเป็นเหตุให้นายกระเฉดผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 โดยโจทก์บรรยายมาในฟ้องว่า จําเลยขับ รถยนต์โดยประมาทชนนายกระเฉดผู้เสียหายเป็นเหตุให้นายกระเฉดผู้เสียหายสมองกระทบกระเทือน และมีเลือดคั่ง ต้องรักษาตัวด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า 20 วัน โดยคําฟ้องโจทก์มิได้บรรยายว่า จําเลยขับรถยนต์โดยประมาทอย่างไร (ในคําฟ้องบรรยายระบุวัน เวลา และสถานที่เกิดเหตุและ บทกฎหมายที่ขอให้ลงโทษจําเลยมาถูกต้องครบถ้วน) ดังนี้ คําฟ้องของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 158 “ฟ้องต้องทําเป็นหนังสือ และมี
(5) การกระทําทั้งหลายที่อ้างว่าจําเลยได้กระทําผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับ เวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทํานั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จําเลยเข้าใจ ข้อหาได้ดี”
วินิจฉัย
ในการฟ้องคดีอาญา นอกจากคําฟ้องต้องทําเป็นหนังสือแล้ว โจทก์จะต้องบรรยายฟ้องถึง การกระทําทั้งหลายที่โจทก์กล่าวหาว่าจําเลยกระทําผิดด้วย กล่าวคือ จะต้องบรรยายถึงการกระทําผิดไว้ให้ชัดเจน ครบถ้วนขององค์ประกอบแห่งความผิดนั้น มิฉะนั้นแล้ว คําฟ้องของโจทก์จะกลายเป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่ชอบด้วย ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 158 (5)
กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยฐานกระทําโดยประมาทเป็นเหตุให้ นายกระเฉดผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสตาม ป.อาญา มาตรา 300 โดยคําฟ้องในส่วนของการกระทําโจทก์ บรรยายฟ้องว่า จําเลยขับรถยนต์โดยประมาท แต่ในคําฟ้องของโจทก์ไม่ได้บรรยายข้อความว่าจําเลยขับรถยนต์ โดยประมาทอย่างไร ซึ่งจะเป็นเหตุแสดงถึงความประมาท เพื่อที่จําเลยจะได้ทราบข้อกล่าวหาและสามารถให้การ ต่อสู้คดีได้ คําฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องเคลือบคลุม ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อาญา มาตรา 158 (5) (เทียบตามนัย คําพิพากษาฎีกาที่ 241/2493)
สรุป คําฟ้องของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ข้อ 2. พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2550 เวลากลางคืนหลังเที่ยง ถึงวันที่ 1 มกราคม 2551 เวลากลางวัน จําเลยได้ลักเอารถจักรยานยนต์ของนายขึ้นช่ายผู้เสียหายไปโดยทุจริต ขอให้ ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 335 (1) ในวันนัดพิจารณา จําเลยให้การรับสารภาพ ตามฟ้อง โจทก์ จําเลย แถลงไม่ติดใจสืบพยาน ดังนี้ ศาลจะพิพากษาไปโดยไม่สืบพยานได้หรือไม่ และจะพิพากษาลงโทษจําเลยได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 176 วรรคแรก “ในชั้นพิจารณา ถ้าจําเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจะพิพากษา โดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ เว้นแต่คดีที่มีข้อหาในความผิดซึ่งจําเลยรับสารภาพนั้น กฎหมายกําหนดอัตราโทษ อย่างต่ําไว้ให้จําคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น ศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจําเลย ได้กระทําผิดจริง”
วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยตาม ป.อาญา มาตรา 344 ซึ่งมีระวางโทษ จําคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ และตาม ป.อาญา มาตรา 335 (1) ซึ่งมีระวางโทษ จําคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปีและปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาทนั้น มิใช่คดีที่กฎหมายกําหนดอัตราโทษ อย่างต่ำไว้ให้จําคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น ซึ่งศาลจะต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่า จําเลยได้กระทําผิดจริง เมื่อจําเลยให้การรับสารภาพ ศาลย่อมมีอํานาจพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไป ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 176 วรรคแรก
แต่อย่างไรก็ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 176 วรรคแรก มิได้บัญญัติว่า เมื่อจําเลยให้การรับสารภาพ แล้วศาลต้องพิพากษาลงโทษจําเลยตามฟ้องเสมอไป ศาลจะต้องพิจารณาข้อเท็จจริงตามฟ้องประกอบคํารับสารภาพ ของจําเลยว่า การกระทําของจําเลยเป็นความผิดตามฟ้องหรือไม่ จากข้อเท็จจริง คํารับสารภาพของจําเลยที่ว่า จําเลยรับสารภาพตามฟ้อง ถือเป็นคําให้การที่ไม่ชัดเจนว่าจําเลยได้ลักทรัพย์ตามฟ้องในเวลากลางวันหรือกลางคืน เพราะเหตุอาจเกิดในเวลากลางวันก็ได้ เมื่อโจทก์ไม่ติดใจสืบพยาน จึงต้องยกประโยชน์ให้แก่จําเลย โดยฟังว่า จําเลยสักทรัพย์ในเวลากลางวัน อันเป็นความผิดตาม ป.อาญา มาตรา 334 (คําพิพากษาฎีกาที่ 4537/2548 และ 4790/2550) ดังนั้น ศาลจึงมีอํานาจพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปได้ และศาลจะพิพากษาลงโทษ จําเลยได้ตาม ป.อาญา มาตรา 334
สรุป
ศาลจะพิพากษาไปโดยไม่สืบพยานได้ และศาลจะพิพากษาลงโทษจําเลยได้ตามมาตรา 334
ข้อ 3. โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2558 เวลากลางคืนหลังเที่ยง จําเลยลักทรัพย์เอาสร้อยคอทองคําของนางสาวมะละกอไปโดยใช้กําลังประทุษร้าย ขอให้ลงโทษจําเลยฐานชิงทรัพย์ตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 339 ศาลพิจารณาได้ความจากพยานหลักฐานที่โจทก์นําสืบว่าในคืนเกิดเหตุ จําเลยไม่ได้ใช้กําลังประทุษร้าย นางสาวมะละกอ ผู้เสียหาย จําเลยเพียงแต่ใช้มือซ้ายดึงคอเสื้อของผู้เสียหาย แล้วใช้มือขวา กระชากสร้อยคอทองคําหนัก 1 สลึงที่นางสาวมะละกอสวมใส่อยู่ที่คอขาดติดมือไป การกระทํา ของจําเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ตามที่โจทก์ฟ้อง แต่เป็นการลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้า ซึ่งเป็นความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ ดังนี้ ศาลจะพิพากษาลงโทษจําเลยได้หรือไม่ เพียงใด
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
และวรรคหก “ห้ามมิให้พิพากษา หรือสังเกินคําขอ หรือที่ มิได้กล่าวในฟ้อง
ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงบางข้อดังกล่าวในฟ้อง และตามที่ปรากฏในทางพิจารณาไม่ใช่เป็น เรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ห้ามมิให้ศาลลงโทษจําเลยในข้อเท็จจริงนั้น ๆ
ถ้าความผิดตามที่ฟ้องนั้นรวมการกระทําหลายอย่าง แต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ใน ตัวเอง ศาลจะลงโทษจําเลยในการกระทําผิดอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่พิจารณาได้ความก็ได้”
วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยฐานชิงทรัพย์ แต่ศาลฟังข้อเท็จจริงว่า จําเลยกระทําความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ ดังนี้เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องระบุองค์ประกอบความผิดว่า จําเลยลักทรัพย์ โดยกิริยาฉกฉวยเอาซึ่งหน้าอันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ และคําขอท้ายฟ้องของโจทก์ก็มิได้ขอให้ ลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์ตาม ป.อาญา มาตรา 336 จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์ ดังนั้น ศาลจะลงโทษจําเลยฐานวิ่งราวทรัพย์ตามที่พิจารณาได้ความไม่ได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคแรกและ วรรคสี่
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อความผิดฐานชิงทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องรวมการกระทําหลายอย่าง แต่ละอย่าง อาจเป็นความผิดได้ในตัวเอง เมื่อศาลพิจารณาได้ความจากพยานหลักฐานที่โจทก์นําสืบว่าจําเลยกระทําความผิด ฐานวิ่งราวทรัพย์ ซึ่งเป็นการลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้า แม้ศาลจะลงโทษจําเลยฐานวิ่งราวทรัพย์ไม่ได้ศาล ก็ลงโทษจําเลยฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืนตาม ป.อาญา มาตรา 335 (1) ซึ่งเป็นความผิดที่ประกอบกับ องค์ประกอบอย่างหนึ่งของความผิดฐานชิงทรัพย์ในเวลากลางคืนตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคหก
สรุป
ศาลจะพิพากษาลงโทษจําเลยฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืนได้ แต่จะพิพากษาลงโทษ จําเลยฐานวิ่งราวทรัพย์ตามที่พิจารณาได้ความไม่ได้
ข้อ 4. พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยฐานวิ่งราวทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 336 ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า จําเลยมีความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 335 (8) ลงโทษจําคุก 2 ปี โทษจําคุกให้รอการลงโทษไว้ให้มีกําหนด 1 ปี โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลพิพากษาลงโทษจําเลยให้หนักขึ้น ส่วนจําเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลพิพากษา ยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วพิพากษาว่า จําเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 ลงโทษปรับ 6,000 บาท ดังนี้ จําเลยจะฎีกาขอให้ศาลลดโทษปรับได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 218 “ในคดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่างหรือเพียงแต่แก้ไขเล็กน้อย และ เห้ลงโทษจําคุกจําเลยไม่เกินห้าปี หรือปรับหรือทั้งจําทั้งปรับ แต่โทษจําคุกไม่เกินห้าปี ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหา ข้อเท็จจริง
ในคดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่างหรือเพียงแต่แก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจําคุก จําเลยเกินห้าปี ไม่ว่าจะมีโทษอย่างอื่นด้วยหรือไม่ ห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง”
มาตรา 219 “ในคดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจําคุกจําเลยไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกิน สีหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ถ้าศาลอุทธรณ์ยังคงลงโทษจําเลยไม่เกินกําหนดที่ว่ามานี้ ห้ามมิให้คู่ความฎีกาใน ปัญหาข้อเท็จจริง แต่ข้อห้ามนี้มิให้ใช้แก่จําเลยในกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขมากและเพิ่มเติมโทษจําเลย”
วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ จําเลยจะฎีกาขอให้ศาลลงโทษปรับได้หรือไม่ เห็นว่า การที่จําเลยฎีกา ขอให้ศาลลดโทษปรับ เป็นการฎีกาในปัญหาที่สืบเนื่องจากการที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลยพินิจลงโทษปรับจําเลย 6,000 บาท ฎีกาของจําเลยจึงเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จําเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (8) ลงโทษจําคุก 2 ปี โทษจําคุกให้รอการลงโทษไว้มีกําหนด 1 ปี และศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จําเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 334 ลงโทษปรับ 6,000 บาท เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์เปลี่ยนโทษจําคุกที่ศาลชั้นต้นรอการลงโทษมาเป็นโทษปรับอย่างเดียว และยังเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์เปลี่ยนทั้งบทลงโทษและโทษด้วย จึงถือว่าเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขมาก ในกรณีนี้จึงไม่ต้องห้ามฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงตามมาตรา 218 แต่ก็ต้องพิจารณาตามมาตรา 219 ต่อไป
เมื่อพิจารณาตามมาตรา 219 แล้วได้ความว่า การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต่างพิพากษา ลงโทษจําคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท ตามมาตรา 219 ห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่ มีข้อยกเว้นให้จําเลยฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงได้ในกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขมากและเพิ่มเติมโทษจําเลยด้วย
ตามข้อเท็จจริงดังกล่าว แม้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจําคุกจําเลย แต่ก็มีเงื่อนไขให้รอการ ลงโทษจําคุก ซึ่งเป็นคุณแก่จําเลยมากกว่าคําพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ลงโทษปรับอย่างเดียว กรณีนี้ถือว่าคําพิพากษา ศาลอุทธรณ์เป็นการพิพากษาเพิ่มเต็มโทษจําเลย (คําพิพากษาฎีกาที่ 4525/2533)
ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขมาก และเพิ่มเติมโทษจําเลยด้วย จําเลยจึงฎีกาขอให้ศาล ลดโทษปรับซึ่งเป็นการฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงได้ตามมาตรา 219
สรุป จําเลยจะฎีกาขอให้ศาลลดโทษปรับได้