การสอบไล่ ภาค 1 ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3108 (LAW 3008) กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 2
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. นายเขียวเป็นโจทย์ยื่นฟ้องนายดําข้อหาลักทรัพย์นายเขียว ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 (นายเขียวบรรยายฟ้องถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ) ศาลชั้นต้นตรวจคําฟ้องแล้ว เห็นว่านายเขียวยื่นฟ้องถูกเขตอ้านาจศาลและทําคําฟ้องถูกต้องตามแบบที่กฎหมายบัญญัติ อีกทั้ง ไม่ปรากฏว่านายเขียวยื่นฟ้องคดีโดยไม่สุจริตหรือโดยบิดเบือนข้อเท็จจริงเพื่อกลั่นแกล้งหรือ เอาเปรียบจําเลยหรือโดยมุ่งหวังผลอย่างอื่นยิ่งกว่าประโยชน์ที่พึงได้โดยชอบ รวมถึงไม่ปรากฏว่า นายเขียวเคยจงใจฝ่าฝืนคําสั่งหรือคําพิพากษาของศาลในคดีอาญาอื่นซึ่งถึงที่สุดแล้วโดยปราศจาก เหตุผลอันสมควร จึงสั่งให้ไต่สวนมูลฟ้องในคดีที่นายเขียวเป็นโจทย์ยื่นฟ้อง หลังจากศาลไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีนี้มีมูลจึงให้ประทับฟ้องไว้พิจารณา

Advertisement

เมื่อศาลพิจารณาคดีเสร็จแล้วจึงนัดอ่านคําพิพากษาในวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 แต่เมื่อถึงกําหนด นัดอ่านคําพิพากษานายดําไม่มาศาล ศาลเห็นว่านายดําจงใจไม่มาฟังคําพิพากษาจึงออกหมายจับ หลังจากออกหมายจับแล้วไม่ได้ตัวนายดํามาภายใน 1 เดือนนับแต่วันออกหมายจับ ศาลจึงอ่าน คําพิพากษาลับหลังนายดําในวันที่ 3 สิงหาคม 2564 โดยพิพากษาจําคุกนายดํา 3 ปี และปรับ 60,000 บาท เมื่อครบกําหนด 1 เดือนนับแต่วันที่ถือว่าได้อ่านคําพิพากษาหรือคําสั่งให้คู่ความฟัง ไม่มีการยื่นอุทธรณ์คดีจึงถึงที่สุด

หลังจากนั้นในวันที่ 10 ตุลาคม 2564 นายดําซึ่งกําลังหลบหนีได้มอบให้ทนายความมายื่นฟ้อง นายเขียวต่อศาล ข้อหาหมิ่นประมาท ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 (โจทก์บรรยายฟ้องชอบด้วยกฎหมายทุกประการ) ศาลชั้นต้นตรวจคําฟ้องแล้วเห็นว่านายดํา ยื่นฟ้องถูกเขตอํานาจศาลและคําฟ้องถูกต้องตามแบบที่กฎหมายบัญญัติ แต่นายดําเคยจงใจฝ่าฝืน คําพิพากษาของศาลในคดีอาญาอื่นจึงยกฟ้องโดยไม่ไต่สวนมูลฟ้อง

ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นยกฟ้องคดีนี้โดยไม่ไต่สวนมูลฟ้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 161/1 “ในคดีราษฎรเป็นโจทย์ หากความปรากฏต่อศาลเองหรือมีพยานหลักฐานที่ศาล เรียกมาว่าโจทย์ฟ้องคดีโดยไม่สุจริตหรือโดยบิดเบือนข้อเท็จจริง เพื่อกลั่นแกล้งหรือเอาเปรียบจําเลยหรือโดย มุ่งหวังผลอย่างอื่นยิ่งกว่าประโยชน์ที่พึงได้โดยชอบ ให้ศาลยกฟ้อง และห้ามมิให้โจทก์ยื่นฟ้องในเรื่องเดียวกันนั้นอีก

การฟ้องคดีโดยไม่สุจริตตามวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึงการที่โจทย์จงใจฝ่าฝืนคําสั่งหรือ
คําพิพากษาของศาลในคดีอาญาอื่นซึ่งถึงที่สุดแล้วโดยปราศจากเหตุผลอันสมควรด้วย”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเขียวเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายดําข้อหาลักทรัพย์นายเขียว ขอให้ลงโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 เมื่อศาลชั้นต้นตรวจคําฟ้องแล้วเห็นว่าคดีนี้มีมูลจึงให้ประทับฟ้อง ไว้พิจารณา และเมื่อศาลพิจารณาคดีเสร็จแล้วจึงนัดอ่านคําพิพากษา แต่เมื่อถึงกําหนดนัดอ่านคําพิพากษา นายดําไม่มาศาล ศาลเห็นว่านายดําจงใจไม่มาฟังคําพิพากษาจึงออกหมายจับ หลังออกหมายจับแล้วไม่ได้ตัวนายดํา ภายใน 1 เดือนนับแต่วันออกหมายจับ ศาลจึงอ่านคําพิพากษาลับหลังนายดํา โดยพิพากษาจําคุกนายดํา 3 ปี และปรับ 60,000 บาท และคดีถึงที่สุดแล้วนั้น

ต่อมาการที่นายดําซึ่งกําลังหลบหนีได้มอบให้ทนายความมายื่นฟ้องนายเขียวต่อศาลข้อหาหมิ่นประมาท ขอให้ศาลลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 นั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่านายดํา จงใจฝ่าฝืนคําสั่งหรือคําพิพากษาของศาลในคดีอาญาอื่นซึ่งถึงที่สุดแล้วโดยปราศจากเหตุผลอันสมควรคดีที่นายดํา มอบให้ทนายความยื่นฟ้องนายเขียวในข้อหาหมิ่นประมาท จึงถือว่าเป็นการฟ้องคดีโดยไม่สุจริต ศาลชั้นต้น จึงมีอํานาจที่จะยกฟ้องคดีได้โดยไม่ต้องมีการไต่สวนมูลฟ้องตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 161/1 ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้น ยกฟ้องคดีนี้โดยไม่ไต่สวนมูลฟ้องจึงชอบด้วยกฎหมาย

สรุป การที่ศาลชั้นต้นยกฟ้องคดีนี้โดยไม่ไต่สวนมูลฟ้องขอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 2. พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยทั้งสองในความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 336 (ซึ่งมีระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท) ในวันนัดพิจารณา โจทก์ จําเลยทั้งสอง และทนายจําเลยทั้งสองมาศาล ศาลชั้นต้นอ่านและอธิบาย ฟ้องให้จําเลยทั้งสองฟัง จําเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์ ในวันนัด สืบพยานโจทก์ โจทก์และจําเลยที่ 1 มาศาล ส่วนจําเลยที่ 2 ขอเลื่อนคดี โจทก์แถลงต่อศาลชั้นต้น ขอนําสิบตํารวจโทสมาน เจ้าพนักงานตํารวจผู้ร่วมจับกุมจําเลยที่ 1 ไม่เกี่ยวแก่จําเลยที่ 2 ที่มาศาล เข้าสืบเป็นพยานโจทก์ปากแรก ศาลชั้นต้นสอบจําเลยที่ 1 แล้วแถลงว่าไม่ทราบสาเหตุที่ทนายจําเลย ที่ 1 ไม่มาศาล และไม่ค้านที่โจทก์ขอนําพยานเข้าสืบ ศาลชั้นต้นจึงให้โจทก์นําสิบตํารวจโทสมาน เข้าเบิกความเป็นพยานโจทก์จนแล้วเสร็จ และได้ความจากคําเบิกความของสิบตํารวจโทสมานว่า สิบตํารวจโทสมานจับกุมจําเลยที่ 1 ได้ ส่วนจําเลยที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์หลบหนีไปในเวลา เดียวกันกับที่จับจําเลยที่ 1 ได้ ให้วินิจฉัยว่า

(ก) การสืบพยานโจทก์ของศาลชั้นต้นดังกล่าวโดยจําเลยที่ 1 ไม่มีทนายความมาศาลชอบหรือไม่

(ข) ศาลจะรับฟังคําเบิกความของสิบตํารวจโทสมานประกอบคดีของจําเลยที่ 2 ได้หรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 172 วรรคหนึ่ง “การพิจารณาและสืบพยานในศาล ให้ทําโดยเปิดเผยต่อหน้าจําเลย เว้นแต่บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น”

มาตรา 172 ทวิ “ภายหลังที่ศาลได้ดําเนินการตามมาตรา 172 วรรคสองแล้ว เมื่อศาลเห็น เป็นการสมควร เพื่อให้การดําเนินการพิจารณาเป็นไปโดยไม่ชักช้า ศาลมีอํานาจพิจารณาและสืบพยานลับหลัง จําเลยได้ในกรณีดังต่อไปนี้”

(2) ในคดีที่มีจําเลยหลายคน ถ้าศาลพอใจตามคําแถลงของโจทก์ว่า การพิจารณาและการสืบ พยานตามที่โจทก์ขอให้กระทําไม่เกี่ยวแก่จําเลยคนใด ศาลจะพิจารณาและสืบพยานลับหลังจําเลยคนนั้นก็ได้

ในคดีที่ศาลพิจารณาและสืบพยานตาม (2) หรือ (3) ลับหลังจําเลยคนใด ไม่ว่ากรณีจะเป็น ประการใด ห้ามมิให้ศาลรับฟังการพิจารณาและการสืบพยานที่กระทําลับหลังนั้นเป็นผลเสียหายแก่จําเลยคนนั้น”

มาตรา 174 วรรคหนึ่ง “ก่อนนําพยานเข้าสืบ โจทก์มีอํานาจเปิดคดีเพื่อให้ศาลทราบคดีโจทก์ คือแถลงถึงลักษณะของฟ้อง อีกทั้งพยานหลักฐานที่จะนําสืบเพื่อพิสูจน์ความผิดของจําเลย เสร็จแล้วให้โจทก์
นําพยานเข้าสืบ”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

(ก) ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 172 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ การพิจารณาและการสืบพยานในศาล ให้ทําโดยเปิดเผยต่อหน้าจําเลย และตามมาตรา 174 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้อํานาจแก่โจทก์ที่จะแถลงเปิดคดี เสร็จแล้วให้โจทก์นําพยานเข้าสืบโดยมิได้บัญญัติว่า การพิจารณาและการสืบพยานในศาลนั้นจะต้องมี ทนายจําเลยมาศาลด้วยแต่อย่างใด ดังนั้น การที่ทนายจําเลยที่ 1 ไม่มาศาล โดยจําเลยที่ 1 ไม่ทราบสาเหตุ และจําเลยที่ 1 ไม่คัดค้านที่โจทก์จะขอนําพยานเข้าสืบ ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะทําการสืบพยานโจทก์ไปได้ การสืบพยานโจทก์ของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย

(ข) แม้ศาลชั้นต้นจะมีอํานาจพิจารณาและสืบพยานลับหลังจําเลยที่ 2 ได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 172 ทวิวรรคหนึ่ง (2) ก็ตาม แต่ตามมาตรา 72 ทวิวรรคสอง ห้ามมิให้ศาลรับฟังการพิจารณาและการสืบพยาน ที่กระทําลับหลังจําเลยที่ 2 นั้น เป็นผลเสียหายแก่จําเลยที่ 2 ดังนั้น เมื่อคําเบิกความของสิบตํารวจโทสมานที่ ศาลชั้นต้นกระทําลับหลังจําเลยที่ 2 ที่ได้ความว่า จําเลยที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์หลบหนีไปในเวลาเดียวกันกับที่ จับจําเลยที่ 1 ได้ ซึ่งเป็นคําเบิกความที่เกี่ยวแก่จําเลยที่ 2 และเป็นผลเสียหายแก่จําเลยที่ 2 จึงต้องห้ามมิให้ศาล รับฟังคําเบิกความของสิบตํารวจโทสมานประกอบคดีของจําเลยที่ 2

สรุป (ก) การสืบพยานโจทก์ของศาลชั้นต้นดังกล่าว โดยจําเลยที่ 1 ไม่มีทนายความมาศาล
ชอบด้วยกฎหมาย

(ข) ศาลจะรับฟังคําเบิกความของสิบตํารวจโทสมานประกอบคดีของจําเลยที่ 2 ไม่ได้

 

ข้อ 3. พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องว่า จําเลยชิงทรัพย์รถยนต์ของกลางคันหมายเลขทะเบียน วจ 2244 กรุงเทพมหานคร ของนางสาวกะรัตผู้เสียหายไปโดยทุจริต โดยบรรยายฟ้องว่าจําเลยใช้อาวุธปืน
ตีศีรษะนางสาวกะรัตได้รับบาดเจ็บเพื่อให้นางสาวกะรัตส่งมอบรถยนต์ของกลางคันดังกล่าวให้ ขอให้ศาลลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 (ฟ้องถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ) จําเลยให้การปฏิเสธอ้างว่าตนมิได้กระทําผิด ทางพิจารณาฟังได้ว่ารถยนต์ของกลางมิใช่เป็นของนางสาวกะรัต แต่เป็นของจําเลยที่นางสาวกะรัตยืมไปใช้แล้วไม่ยอมส่งคืน จําเลยทวงถามให้ นางสาวกะรัตคืนรถยนต์หลายครั้ง แต่นางสาวกะรัตเพิกเฉย ทําให้จําเลยโกรธ ในวันเกิดเหตุ จําเลย จึงใช้อาวุธปืนตีศีรษะนางสาวกะรัตได้รับบาดเจ็บสาหัส ประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า 20 วัน การกระทําของจําเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ แต่จําเลยมีความผิดฐานทําร้าย ร่างกายเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทําได้รับอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 (8)

ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจําเลยมิได้หลงต่อสู้

ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่าศาลพิพากษาลงโทษจําเลยได้หรือไม่ เพียงใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 192 วรรคหนึ่ง วรรคสี่ และวรรคหก “ห้ามมิให้พิพากษา หรือสั่งเกินคําขอ หรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง

ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงบางข้อดังกล่าวในฟ้อง และตามที่ปรากฏในทางพิจารณาไม่ใช่เป็นเรื่องที่ โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ห้ามมิให้ศาลลงโทษจําเลยในข้อเท็จจริงนั้น ๆ

ถ้าความผิดตามที่ฟ้องนั้นรวมการกระทําหลายอย่าง แต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง ศาลจะลงโทษจําเลยในการกระทําผิดอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่พิจารณาได้ความก็ได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องว่า จําเลยชิงทรัพย์รถยนต์ของกลางของ นางสาวกะรัตผู้เสียหายไปโดยทุจริต โดยบรรยายฟ้องว่าจําเลยใช้อาวุธปืนตีศีรษะนางสาวกะรัตได้รับบาดเจ็บ เพื่อให้นางสาวกะรัตส่งมอบรถยนต์ของกลางคันดังกล่าวให้ ขอให้ศาลลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 จําเลยให้การปฏิเสธอ้างว่าตนมิได้กระทําผิดนั้น ความผิดตามฟ้องฐานชิงทรัพย์ที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง รวมการกระทําผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 และการทําร้ายร่างกาย (ประทุษร้าย) เพื่อให้ได้ทรัพย์นั้นเป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 อยู่ในตัว

เมื่อข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาฟังได้ว่า รถยนต์ของกลางมิใช่เป็นของนางสาวกะรัตแต่เป็นของ
จําเลยที่นางสาวกะรัตยืมไปใช้แล้วไม่ยอมส่งคืน จําเลยทวงถามให้นางสาวกะรัตคืนรถยนต์หลายครั้ง แต่นางสาวกะรัต เพิกเฉย จําเลยโกรธ ในวันเกิดเหตุจําเลยจึงใช้อาวุธปืนตีศีรษะนางสาวกะรัตได้รับบาดเจ็บสาหัส ประกอบกรณียกิจ ตามปกติไม่ได้เกินกว่า 20 วัน การกระทําของจําเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ แต่จําเลยมีความผิดฐาน ทําร้ายร่างกายเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทําได้รับอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา 297 (8) ศาลจึงไม่สามารถ พิพากษาลงโทษจําเลยฐานชิงทรัพย์ตามฟ้องได้ แต่สามารถพิพากษาลงโทษจําเลยฐานทําร้ายร่างกายตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 295 ได้ ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคหก อย่างไรก็ตาม ศาลไม่อาจพิพากษาลงโทษ จําเลยฐานทําร้ายร่างกายเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทําได้รับอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 (8) เนื่องจากการที่จําเลยทําร้ายร่างกายนางสาวกะรัตได้รับบาดเจ็บสาหัส ประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า 20 วันนั้น เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์มิได้กล่าวมาในฟ้อง ซึ่งต้องห้ามมิให้ลงโทษเกินคําขอตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง และวรรคสี่

สรุป ศาลจะพิพากษาลงโทษจําเลยได้ในความผิดฐานทําร้ายร่างกายตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 295 ตามเหตุผลและหลักกฎหมายดังกล่าวข้างต้น

 

ข้อ 4. โจทก์ฟ้องว่าจําเลยที่ 1 และจําเลยที่ 2 ร่วมกันถีบประตูบ้านผู้เสียหายพัง และบุกรุกเข้าไปในบ้าน
อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปกติสุข โดยร่วมกระทําผิดด้วยกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ซึ่งเป็นการกระทํากรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ขอให้ลงโทษฐานทําให้ เสียทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 ซึ่งมีอัตราโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี บทหนึ่ง และ เป็นความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 (2) ประกอบมาตรา 362 ซึ่งมี

อัตราโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี อีกบทหนึ่ง จําเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพผิดตามฟ้อง ส่วนจําเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วฟังข้อเท็จจริงว่า จําเลยที่ 1 เพียงลําพังคนเดียวกระทําผิด ฐานบุกรุกเพียงบทเดียว หาได้ถีบประตูบ้านผู้เสียหายพัง อันเป็นความผิดฐานทําให้เสียทรัพย์ อีกบทหนึ่งไม่ ส่วนจําเลยที่ 2 มิได้ร่วมกระทําผิดกับจําเลยที่ 1 ด้วย จึงมีคําพิพากษาว่าจําเลยที่ 1 มีความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 ซึ่งมีอัตราโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี โดยให้ลงโทษจําคุก 1 เดือน ต่อหาความผิดอื่นสําหรับจําเลยที่ 1 ให้ยกฟ้อง และให้ยกฟ้องโจทก์ สําหรับจําเลยที่ 2

(ก) โจทก์อุทธรณ์ว่า พยานหลักฐานโจทก์มีน้ําหนักมั่นคงรับฟังได้ว่าจําเลยทั้ง 2 ร่วมกันกระทําผิด
จริง ขอให้ลงโทษจําเลยทั้ง 2 ตามฟ้อง

(ข) จําเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า จําเลยที่ 1 มิได้กระทําผิด ขอให้ศาลยกฟ้องโดยผู้พิพากษาที่นั่ง พิจารณาและลงลายมือชื่อในคําพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ ให้วินิจฉัยว่าศาลจะมีคําสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ตามข้อ (ก) และสั่งรับอุทธรณ์ของจําเลยที่ 1 ตาม ข้อ (ข) ไว้พิจารณาหรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 15 “วิธีพิจารณาข้อใดซึ่งประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ให้นําบทบัญญัติ
แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับเท่าที่พอจะใช้บังคับได้”

มาตรา 193 ทวิ “ห้ามมิให้อุทธรณ์คําพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีซึ่งอัตราโทษ อย่างสูงตามที่กฎหมายกําหนดไว้ให้จําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ เว้นแต่ กรณีต่อไปนี้ให้จําเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้

(1) จําเลยต้องคําพิพากษาให้ลงโทษจําคุกหรือให้ลงโทษกักขังแทนโทษจําคุก
(2) จําเลยต้องคําพิพากษาให้ลงโทษจําคุก แต่ศาลรอการลงโทษไว้
(3) ศาลพิพากษาว่าจําเลยมีความผิด แต่รอการกําหนดโทษไว้ หรือ
(4) จําเลยต้องคําพิพากษาให้ลงโทษปรับเกินหนึ่งพันบาท”

มาตรา 193 ตรี “ในคดีซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 193 ทวิ ถ้าผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณา หรือลงชื่อในคําพิพากษาหรือทําความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นพิเคราะห์เห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสําคัญ อันควรสู่ศาลอุทธรณ์ และอนุญาตให้อุทธรณ์ หรืออธิบดีกรมอัยการหรือพนักงานอัยการ ซึ่งอธิบดีกรมอัยการได้ มอบหมายลงลายมือชื่อรับรองในอุทธรณ์ว่า มีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยก็ให้รับอุทธรณ์นั้นไว้
พิจารณาต่อไป”

และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 225 “ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่นอุทธรณ์นั้นคู่ความจะต้อง กล่าวไว้โดยชัดแจ้งในอุทธรณ์ และต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งจะต้องเป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยด้วย
ถ้าคู่ความฝ่ายใดมิได้ยกปัญหาข้อใดอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นกล่าว ในศาลชั้นต้นหรือคู่ความฝ่ายใดไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายใด ๆ ขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นเพราะพฤติการณ์ ไม่เปิดช่องให้กระทําได้ หรือเพราะเหตุเป็นเรื่องที่ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยกระบวนพิจารณาชั้นอุทธรณ์
คู่ความที่เกี่ยวข้องย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

(ก) สําหรับอุทธรณ์ของโจทก์ตาม (ก) นั้น เมื่อโจทก์ฟ้องว่า จําเลยที่ 1 และจําเลยที่ 2 ร่วมกัน บุกรุกโดยร่วมกันกระทําความผิดตั้งแต่สองคนขึ้นไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 (2) ซึ่งอัตราโทษ จําคุกไม่เกิน 5 ปี แม้ทางพิจารณาจะฟังได้ว่า จําเลยที่ 1 กระทําผิดโดยลําพังคนเดียว จําเลยที่ 2 มิได้ร่วมกระทํา ผิดด้วยจึงพิพากษาลงโทษจําเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 262 ซึ่งมีระวางโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี ซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 193 ทวีก็ตาม แต่การพิจารณา อัตราโทษต้องห้ามอุทธรณ์ ตามมาตรา 193 ทวีนั้น ต้องพิจารณาจากอัตราโทษในความผิดที่โจทก์ฟ้อง หาใช่พิจารณาจากอัตราโทษในความผิดที่พิจารณาได้ความไม่ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ฟ้อง ขอให้ลงโทษจําเลยทั้ง 2 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 (2) ซึ่งมีอัตราโทษจําคุกเกิน 3 ปี คดีของโจทก์จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 93 ทวี

ส่วนข้อหาความผิดฐานทําให้เสียทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 นั้น แม้จะมีอัตราโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปีก็ตาม แต่ตามฟ้องโจทก์บรรยายว่า เป็นการกระทํากรรมเดียวกับความผิด ฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 (2) ซึ่งเป็นบทหนักที่มีอัตราโทษไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 193 ทวิ ความผิดฐานทําให้เสียทรัพย์ซึ่งเป็นบทเบาก็พลอยไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหา ข้อเท็จจริงไปด้วย ดังนั้น แม้การที่โจทก์อุทธรณ์ว่าพยานหลักฐานโจทก์มีน้ําหนักมั่นคงรับฟังได้ว่าจําเลยทั้ง 2 ร่วมกันกระทําความผิดจริงอันเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นจะเป็นการอุทธรณ์ ในปัญหาข้อเท็จจริงก็ตาม อุทธรณ์ของโจทก์ก็ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 193 ทวิ ศาลจึงต้องสั่งรับอุทธรณ์
ของโจทก์ไว้พิจารณา

(ข) ส่วนอุทธรณ์ของจําเลยที่ 1 นั้น แม้ไม่เข้าเกณฑ์ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 193 ทวีก็ตาม แต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าคดีนี้จําเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพผิดตามฟ้อง การที่จําเลยที่ 1 กลับ อุทธรณ์ว่าจําเลยที่ 1 มิได้กระทําผิด อุทธรณ์ของจําเลยที่ 1 จึงเป็นการยกข้อเท็จจริงใหม่ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นขึ้นกล่าวอ้างในการอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 225 ประกอบ ป.วิ.อาญา มาตรา 15 และแม้ว่าผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาและลงลายมือชื่อในคําพิพากษาศาลชั้นต้น อนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ ก็ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อาญา มาตรา 193 ตรี ซึ่งระบุให้มีการอนุญาตหรือ รับรองให้อุทธรณ์ได้เฉพาะแต่ในคดีซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 193 ทวิเท่านั้น ถ้าเป็นคดีซึ่ง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามบทบัญญัติมาตราอื่นนอกจากมาตรา 193 ทวิ จะมีการอนุญาตหรือรับรองให้อุทธรณ์ไม่ได้ ดังนั้น ศาลจะมีคําสั่งรับอุทธรณ์ของจําเลยที่ 1 ไว้พิจารณาไม่ได้

สรุป ศาลมีคําสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ตามข้อ (ก) ไว้พิจารณาได้ แต่จะสั่งรับอุทธรณ์ของจําเลยที่ 1 ตามข้อ (ข) ไว้พิจารณาไม่ได้

Advertisement