การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2551
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3008 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 2
คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)
ต่อมาในวันที่ 29 กรกฎาคม 2551 พนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องนายทรงสิทธิ์ในความผิดเรื่องเดียวกัน และข้อหาเดียวกันต่อศาลอีก ศาลมีคำสั่งไม่รับฟ้องทุกฐานความผิด
ดังนี้ คำพิพากษายกฟ้องและคำสั่งไม่รับฟ้องของศาลชอบหรือไม่ เพราะเหตุใด
ธงคำตอบ
มาตรา 166 ถ้าโจทก์ไม่มาตามกำหนดนัด ให้ศาลยกฟ้องเสีย แต่ถ้าศาลเห็นว่ามีเหตุสมควรจึงมาไม่ได้ จะสั่งเลื่อนคดีไปก็ได้
คดีที่ศาลได้ยกฟ้องดังกล่าวแล้ว ถ้าโจทก์มาร้องภายในสิบห้าวัน นับแต่วันศาลยกฟ้องนั้น โดยแสดงให้ศาลเห็นได้ว่ามีเหตุสมควรจึงมาไม่ได้ ก็ให้ศาลยกคดีนั้นขึ้นไต่สวนมูลฟ้องใหม่
ในคดีที่ศาลยกฟ้องดังกล่าวแล้ว จะฟ้องจำเลยในเรื่องเดียวกันนั้นอีกไม่ได้ แต่ถ้าศาลยกฟ้องเช่นนี้ในคดีซึ่งราษฎรเท่านั้นเป็นโจทก์ ไม่ตัดอำนาจพนักงานอัยการฟ้องคดีนั้นอีก เว้นแต่จะเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว
วินิจฉัย
ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยประการแรกมีว่า คำพิพากษายกฟ้องของศาลชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า ตามบทบัญญัติมาตรา 166 วรรคแรก ได้กำหนด
หน้าที่ของโจทก์ไว้ว่า “ในวันไต่สวนมูลฟ้องโจทก์จะต้องมาศาลตามกำหนดนัด มิฉะนั้นก็ให้ศาลยกฟ้องเสีย เว้นแต่จะมีเหตุสมควร ศาลจึงจะเลื่อนคดี
ไป” จากบทบัญญัติดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายที่จะเร่งรัดการดำเนินกระบวนพิจารณาให้เป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็วมิให้มีการประวิงคดี จึงกำหนดมาตรการดังกล่าวเพื่อให้โจทก์ปฏิบัติตามโดยเคร่งครัด มิฉะนั้นย่อมเสี่ยงต่อการที่จะถูกยกฟ้อง อันเป็นผลเสียต่อคดีของโจทก์เอง ซึ่งข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ศาลมีคำสั่งให้นัดไต่สวนมูลฟ้อง ในวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 เวลา 9.00 น. และโจทก์ก็ทราบนัดโดยชอบแล้ว กรณีเช่นนี้ โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องไปศาลตามกำหนดนัด แต่กลับไม่มีผู้ใดมาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องหรือขอเลื่อนคดี
ถึงแม้จะปรากกข้อเท็จจริงว่า การส่งหมายนัดและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยวิธีปิดหมายยังไม่มีผลใช้ได้ตามกฎหมายก็หาทำให้โจทก์หมดหน้าที่ที่จะต้องไปศาลตามกำหนดนัดไม่ เมื่อโจทก์และทนายโจทก์ไม่มาศาล การที่ศาลพิพากษายกฟ้องจึงชอบแล้ว (ฎ. 2085/2547)
ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยประการต่อมามีว่า คำสั่งไม่รับฟ้องของศาลชอบหรือไม่ เห็นว่า ตามมาตรา 166 วรรคสาม บัญญัติว่า “ในคดีที่ศาลยกฟ้องดังกล่าวแล้ว จะฟ้องจำเลยในเรื่องเดียวกันนั้นอีกไม่ได้ แต่ถ้าศาลยกฟ้องเช่นนี้ในคดีซึ่งราษฎรเท่านั้นเป็นโจทก์ ไม่ตัดอำนาจพนักงานอัยการฟ้องคดีนั้นอีก เว้นแต่จะเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว” ซึ่งตามข้อเท็จจริงดังกล่าวการที่ธนาคารสยาม จำกัด ซึ่งถือว่าเป็นราษฎรเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายทรงสิทธิ์เป็นจำเลยในความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 มาตรา 268 และมาตรา 341 และศาลยกฟ้อง ปัญหาจึงมีว่า เมื่อพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องนายทรงสิทธิ์ในความผิดเรื่องเดียวกันและข้อหาเดียวกันต่อศาลอีก ความผิดฐานใดจะฟ้องนายทรงสิทธิ์ได้อีก ซึ่งแยกพิจารณาดังนี้
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 และมาตรา 268 ไม่ใช่ความผิดต่อส่วนตัวศาลยกฟ้องเช่นนี้ในคดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ ไม่ตัดอำนาจพนักงานอัยการฟ้องคดีนั้นอีก พนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องนายทรงสิทธิ์ได้อีก ที่ศาลมีคำสั่งไม่รับฟ้อง 2 ฐานนี้จึงไม่ชอบ
ส่วนความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 เป็นความผิดต่อส่วนตัว เมื่อศาลยกฟ้องเช่นนี้ในคดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ จึงตัดอำนาจพนักงานอัยการ พนักงานอัยการจึงไม่มีอำนาจฟ้องนายทรงสิทธิ์อีก ที่ศาลมีคำสั่งไม่รับฟ้องในฐานความผิดนี้จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
สรุป คำพิพากษายกฟ้องของศาลชอบด้วยกฎหมายแล้ว ส่วนคำสั่งไม่รับฟ้องความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 และมาตรา 268 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และคำสั่งไม่รับฟ้องในความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ชอบด้วยกฎหมายแล้ว