การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2553

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3004 พระธรรมนูญศาลยุติธรรม

Advertisement

คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ1. ในศาลจังหวัดแห่งหนึ่ง มีนายหนึ่งดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาล นายสอง ผู้พิพากษาอาวุโส นายสาม นายสี่ นายห้า และนายหก ผู้พิพากษาศาลจังหวัด ตามลำดับ

นายหนึ่งได้จ่ายสำนวนคดีอาญาเรื่องหนึ่งให้นายสามและนายสี่เป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษา เมื่อองค์คณะทั้งสองได้รับสำนวนคดีแล้ว นายสามพบว่าจำเลยคนหนึ่งเป็นผู้ที่นายสามได้รู้จักคุ้นเคย ตั้งแต่เรียนชั้นมัธยมปลาย

นายสามเห็นว่าเป็นกรณีที่จะกระทบกระเทือนต่อความยุติธรรมในการ พิจารณาพิพากษาคดี จึงทำบันทึกเสนอความเห็นต่อนายหนึ่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลให้โอนสำนวนคดี ให้แกผู้พิพากษาอื่น นายหนึ่งเห็นด้วยกับนายสามจึงโอนสำนวนคดีดังกล่าวให้นายหกเป็นองค์คณะ แทนนายสาม

ท่านเห็นว่าการกระทำดังกล่าวชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมหรือไมเพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 33 วรรคแรก วรรคสองและวรรคสาม การเรียกคืนสำนวนคดีหรือการโอนสำนวนคดี ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบขององค์คณะผู้พิพากษาใด ประธานศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น

หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาล จะกระทำได้ต่อเมื่อเป็นกรณีที่จะกระทบกระเทือนต่อ ความยุติธรรมในการพิจารณาหรือพิพากษอรรถคดีของศาลนั้น และรองประธานศาลฎีกา รองประธานศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรือผู้พิพากษาในศาลจังหวัดหรือศาลแขวงที่มี อาวุโสสูงสุดในศาลนั้น แล้วแต่กรณีที่มิได้เป็นองค์คณะในสำนวนคดีดังกล่าวได้เสนอความเห็นให้กระทำได้

ในกรณีที่รองประธานศาลฎีกา รองประธานศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค รองอธิบดี ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรือผู้พิพากษาในศาลจังหวัดหรือศาลแขวง ที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลนั้น แล้วแต่กรณี ไมอาจ ปฏิบัติราชการได้หรือได้เข้าเป็นองค์คณะในสำนวนคดีที่เรียกคืนหรือโอนนั้น ให้รองประธานศาลฎีกา รองประธาน- ศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น

หรือผู้พิพากษาที่มีอาวุโสถัดลงมาตาม ลำดับในศาลนั้น เป็นผู้มีอำนาจในการเสนอความเห็นแทน ในกรณีที่รองประธานศาลฎีกา รองประธานศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น มีหนึ่งคนหรือมีหลายคนแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ หรือได้เข้าเป็นองค์คณะในสำนวนคดีที่เรียกคืนหรือโอนนั้นทั้งหมด ให้ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสสูงสุดของศาลนั้น เป็นผู้มีอำนาจในการเสนอความเห็น

ผู้พิพากษาอาวุโสหรือผู้พิพากษาประจำศาลไมมีอำนาจในการเสนอความเห็นตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง

วินิจฉัย

ตามบทบัญญัติดังกล่าว โดยหลักแล้วเมื่อหัวหน้าผู้รับผิดชอบของศาล จ่ายสำนวนคดีให้แกองค์คณะผู้พิพากษาในศาลไปแล้ว ก็ต้องให้องค์คณะดังกล่าวนั้นพิจารณาคดีไปจนเสร็จสำนวน จะเรียกคืนสำนวนคดี หรือโอนสำนวนจากองค์คณะผู้พิพากษาผู้รับผิดชอบสำนวนคดีนั้นไปให้องค์คณะผู้พิพากษาอื่นไมได้ เว้นแต่

1 เป็นกรณีที่จะกระทบกระเทือนต่อความยุติธรรม ในการพิจารณาหรือพิพากษาอรรถคติ ของศาลนั้น และ

2 ในกรณีของศาลจังหวัด ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลจังหวัด ซึ่งมิได้เป็นองค์คณะในคดีนั้น เสนอความเห็นให้เรียกคืนสำนวนคดีนั้น หรือให้โอนสำนวนคดีนั้นไปให้ องค์คณะผู้พิพากษาอื่น

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายหนึ่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัด ได้จ่ายสำนวนคดีอาญา เรื่องหนึ่งให้นายสามและนายสี่เป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษา

เมื่อนายสามเห็นว่าในการดำเนินกระบวนพิจารณา คดีขององค์คณะผู้พิพากษาในคดีดังกลาวเป็นกรณีที่จะกระทบกระเทือนต่อความยุติธรรมในการพิจารณา พิพากษาคดีนั้น จึงทำบันทึกเสนอความเห็นต่อนายหนึ่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลให้โอนสำนวนคดีให้แก่ผู้พิพกษาอื่น ดังนี้ ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยจึงมีอยู่ว่า นายสามมีอำนาจในการเสนอความเห็นให้โอนสำนวนคดีหรือไม่

กรณีดังกล่าว เมื่อพิจารณาจากพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 33 ประกอบกับข้อเท็จจริง ตามอุทาหรณ์ เห็นว่า นายสามไม่มีอำนาจในการเสนอความเห็นให้โอนสำนวนคดีดังกล่าว ทั้งนี้เพราะเมื่อนายสาม ผู้พิพากษาศาลจังหวัดและเป็นองค์คณะในสำนวนคดีดังกล่าวจึงต้องห้ามมิให้ทำการเสนอความเห็นตามมาตร33 วรรคแรก ซึงผู้ที่มีอำนาจทำความเห็นเสนอได้

คือนายห้าซึ่งเป็นผู้พิพากษาที่มีอาวุโสถัดลงมาตามมาตรา 33 วรรดสอง (นายสองไมมีอำนาจเสนอความเห็น เพราะเป็นผู้พิพากษาอาวุโสตามมาตรา 33 วรรคลาม) ดังนั้น การที่นายหนึ่งเห็นด้วยกับนายสามจึงโอนสำนวนคดีดังกล่าวให้นายหกเป็นองค์คณะแทนนายสามจึงไม่ชอบด้วย พระธรรมนูญศาลยุติธรรม

สรุป การกระทำดังกล่าวไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

 

ข้อ 2. นายกลมเช่าซื้อรถยนต์คันหนึ่งราคาแปดแสนบาทเจากบริษัท ยานยนต์ จากัด ในสัญญาเช่าซื้อ มีข้อกำหนดว่า ในระหว่างที่ผู้ซื้อยังผ่อนชำระราคาค่าเช่าซื้อไม่ครบ ผู้เช่าซื้อจะนำรถที่เช่าซื้อไปใช้ในการทำธุรกิจของผู้เช่าซื้อเท่านั้น

และห้ามนำไปใช้ในกิจการที่ผิดกฎหมาย เมื่อนายกลมชำระค่า เช่าซื้อครบถ้วนแล้ว บริษัท ยานยนต์ จำกัด จะไปโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ที่เช่าซื้อให้แก่นายกลม ต่อกรมการขนส่งทางบก

นายกลมรับรถยนต์ที่เช่าซื้อมาแล้ว ในระหว่างที่นายกลมชำระค่าเช่าซื้อยังไม่ครบ นายกลมนำรถคันดังกลาวไปขับแข่งความเร็วกับเพื่อนในถนนหลวงในเวลาค่ำคืน เจ้าพนักงานตำรวจจับนายกลมพร้อมด้วยรถยนต์ที่เช่าซื้อนำส่งพนักงานอัยการส่งฟ้องศาลจังหวัดสมุทรปราการ

ขอให้ลงโทษนายกลมจำเลยตามกฎหมาย และขอให้ริบรถยนต์ของกลางที่ใช้ในการกระทำความผิด ศาลจังหวัดสมุทรปราการ โดยนยอรรถพลผู้พิพากษาพิจารณาแล้วพิพากษาว่า นายกลมมีความผิดตามฟ้อง ให้ปรับนายกลมหกพันบาท และริบรถยนต์ของกลาง

ผู้จัดการบริษัท ยานยนต์ จ่ากัด ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดสมุทรปราการว่า รถยนต์ของกลางเป็น ของบริษัท ยานยนต์ จำกัด ผู้ให้เช่าซื้อ ขอให้ศาลสั่งคืนรถยนต์คันดังกล่าวแก่บริษัท ยานยนต์ จำกัด โดยอ้างว่า ผู้ให้เช่าซื้อมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำผิดของจำเลย ศาลจังหวัดสมุทรปราการ โดยนายอรรถพลไต่สวนคำร้องแล้วมีคำสั่งให้คืนรถยนต์ของกลางแก่บริษัท ยานยนต์ จำกัด ผู้ให้เช่าซื้อ

คำสั่งของนายอรรถพล ผู้พิพากษาศาลจังหวัดสมุทรปราการชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุได

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 24 “ให้ผู้พิพากษาคนหนึ่งมีอำนาจดังต่อไปนี้ (2) ออกคำสั่งใด ๆ ซึ่งมิใช่เป็นไปในทางวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี

มาตรา 26 “ภายใต้บังดับมาตรา 25 ในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลชั้นต้น นอกจาก ศาลแขวงและศาลยุติธรรมอื่นซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อย สองคนและต้องไม่เป็นผู้พิพากษาประจำศาลเกินหนึ่งคน จึงเป็นองค์คณะทีjมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง หรือคดีอาญาทั้งปวง

วินิจฉัย

ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 26 ได้บัญญัติหลักไว้ว่า ศาลจังหวัดซึ่งเป็นศาลชั้นต้น มีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดีที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมอื่น และในการ พิจารณาพิพากษาคดีของศาลจังหวัดซึ่งเป็นศาลชั้นต้นนั้น จะต้องมีผู้พิพากษาเป็นองค์คณะอย่างน้อย 2 คน จึงจะเป็นองค์คณะที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนั้น

แต่อย่างไรก็ตาม มาตร 24(2) ได้บัญญัติให้อำนาจผู้พิพากษาคนหนึ่ง สามารถที่จะออกคำสั่งใดๆ ได้ ถ้าคำสั่งนั้นมิใช่เป็นไปในทางวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งดดี

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ศาลจังหวัดสมุทรปราการซึ่งเป็นศาลชั้นต้นมีคำสั่งริบรถยนต์ของกลาง และเมื่อผู้ร้องคือ บริษัท ยานยนต์ จำกัด ยื่นคำร้องขอคืนของกลางโดยอ้างว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของรถยนต์และผู้ร้องมิได้ รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำผิดของจำเลย ดังนี้ ศาลจังหวัดสมุทรปราการต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อย 2 คน จึงเป็นองค์คณะในการสั่งคำร้องดังกล่าวตามมาตรา 26

ดังนั้นเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า ศาลจังหวัดสมุทรปราการโดยนายอรรถพลผู้พิพากษาคนเดียว พิจารณาพิพากษาสั่งคืนรถยนต์ของกลางดังกล่าว จึงเป็นการไมชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 24(2) และมาตรา 26 เพราะเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดีซึ่งไม่อยู่ในอำนาจของผู้พิพากษาคนเดียวที่จะสั่งได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ 2492/25481891/2551)

สรุป คำสั่งของนายอรรถพล ผู้พิพากษาศาลจังหวัดสมุทรปราการไม่ชอบด้วยกฎหมาย 

 

ข้อ 3. นางสวยฟ้องคดีต่อศาลอาญาขอให้ลงโทษนายแสบฐานชิงทรัพย์ (ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปี) โดยเหตุเกิดในท้องที่เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร นายยิ่งผู้พิพากษาประจำศาลในศาลอาญา สั่งคำฟ้องว่านัดไต่สวนมูลฟ้องหมายแจ้งนัดจำเลย

่อมา อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาได้จ่าย สำนวนคดีให้นายยอดผู้พิพากษาศาลอาญาและนายยิ่งเป็นองค์คณะ เมื่อถึงวันนัดไต่สวนมูลฟ้อง นายยอดลาป่วย นายยิ่งคนเดียวนั่งไต่สวนมูลฟ้องจนคดีเสร็จสิ้นการไต่สวน นายยิ่งจึงมีคำสั่งว่า คดีมีมูลให้ประทับฟ้อง

เมื่อถึงวันนัดสอบคำให้การ นายยิ่งจึงมีความเห็นคล้อยตามนายยอดว่า เป็นคดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดตลิ่งชัน นายยอดและนายยิ่งจึงร่วมกันทำคำสั่งโอนคดี ไปยังศาลจังหวัดตลิ่งชัน ให้วินิจฉัยว่า

1)         คำสั่งนัดไต่สวนมูลพ้องของนายยิ่งชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมหรือไม่

2)         การไต่สวนมูลฟ้องและการมีคำสั่งประทับฟ้องของนายยิ่งชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมหรือไม่

3)         คำสั่งโอนคดีของนายยอดกับนายยิ่งชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมหรือไม่

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 16 วรรคสาม ‘‘ในกรณีที่มีการยื่นฟ้องคดีต่อศาลแพ่งหรือศาลอาญา และคดีนั้น เกิดขึ้นนอกเขตของศาลแพ่งหรือศาลอาญา ศาลแพ่งหรือศาลอาญาแล้วแต่กรณี อาจใช้ดุลพินิจยอมรับไว้ พิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งโอนคดีไปยังศาลยุติธรรมอื่นที่มีเขตอำนาจ

มาตรา 24 “ให้ผู้พิพากษาคนหนึ่งมีอํานาจดังต่อไปนี้

(2)        ออกคำสั่งใด ๆ ซึ่งมิใช่เป็นไปในทางวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอำนาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ในอำนาจ ของศาลนั้นดังตอไปนี้

(1) ไต่สวนและวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องหรือคำขอที่ยื่นต่อศาลในคดีทั้งปวง

(2)        ไต่สวนและมีคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการเพื่อความปลอดภัย

(3)        ไต่สวนมูลฟ้องและมีคำสั่งในคดีอาญา

(4)        พิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจำนวนเงินที่ฟ้องไมเกิน สามแสนบาท ราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจำนวนเงินดังกล่าวอาจขยายได้โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

(5)        พิจารณาพิพากษคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างสูงไว้ให้จำคุกไม่เกิน สามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่จะลงโทษจำคุกเกินหกเดือน หรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งโทษจำคุกหรือปรับอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วไมได้

ผู้พิพากษาประจำศาลไม่มีอำนาจตาม (3)(4) หรือ (5)

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

1) การที่นางสวยฟ้องคดีต่อศาลอาญาขอให้ลงโทษนายแสบฐานชิงทรัพย์ โดยเหตุเกิดใน ท้องที่เขตตลิ่งชันนั่น โดยหลักตามมาตรา 16 วรรคสามแห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม แม้คดีจะเกิดนอกเขต ศาลอาญา เมื่อมีการนำคดีมาฟ้องต่อศาลอาญา ศาลอาญาอาจใช้ดุลพินิจยอมรับไว้พิจารณาพิพากษา หรือมีคำสั่งโอนคดีไปยังศาลที่มีเขตอำนาจได้

และการที่ศาลอาญาโดยนายยิ่งสั่งคำฟ้องว่านัดไต่สวนมูลฟ้องหมายแจ้งนัดจำเลยนั้น ไม่ถือเป็นการดำเนินคดีตามมาตรา 25(3)(4)(5) นายยิ่งผู้พิพากษาประจำศาลจึงมีอำนาจออกคำสั่งได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 25 วรรคสอง ประกอบกับคำสั่งดังกล่าวก็มิใช่คำสั่งที่เป็นไปในหางวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี ผู้พิพากษาคนเดียวย่อมมีอำนาจสั่งได้ตามมาตรา 24(2) ดังนั้น คำสั่งนัดไต่สวนมูลฟ้องของนายยิ่ง จึงชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

2)         การไตสวนมูลฟ้องและมีคำสั่งในคดีอาญาตามมาตรา 25(3) นั้น ผู้พิพากษาประจำศาล ไม่สามารถทำได้ตามมาตรา 25 วรรคสอง ดังนั้น เมื่อนายยิ่งเป็นผู้พิพากษาประจำศาล การไต่สวนมูลฟ้องและการมีคำสั่งประทับฟ้องของนายยิ่งจึงไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

3)         เมื่อการสั่งประทับฟ้องของนายยิ่งไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม จึงถือไม่ได้ว่า ศาลอาญาได้ใช้ดุลพินิจรับคดีไว้พิจารณาพิพากษาตามมาตรา 16 วรรคสาม แต่ศาลอาญายังคงมีอำนาจตามมาตรา ดังกล่าวในการที่จะสั่งโอนคดีไปยังศาลจังหวัดตลิ่งชันที่มีเขตอำนาจได้ ดังนั้น คำสั่งโอนคดีของนายยอดและ นายยิ่งจึงชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

สรุป 1) คำสั่งนัดไต่สวนมูลฟ้องของนายยิ่งชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

2)         การไตสวนมูลฟ้องและการมีคำสั่งประทับฟ้องของนายยิ่งไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

3)         คำสั่งโอนคดีของนายยอดกับนายยิ่งชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม 

Advertisement