การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW2111 (LAW 2011) กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตัวแทน นายหน้า

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1. นายแชมป์เปิดร้านขายกาแฟที่จังหวัดเชียงใหม่ แต่ไม่มีเวลาดูแลกิจการของตน จึงทําหนังสือมอบอํานาจให้นายวินเป็นตัวแทนในการบริหารกิจการร้านขายกาแฟของตน นายวินเห็นว่า ร้านขายกาแฟของนายแชมป์มีห้องว่างอยู่หนึ่งห้องไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไร จึงนําห้องว่างดังกล่าว ออกให้นายโชคเขาเป็นร้านขายของที่ระลึก ตกลงทําสัญญาเช่าเป็นระยะเวลา 4 ปี หลังจากที่ นายโชคทําการเช่าได้ 1 ปี กับ 2 เดือน นายแชมป์ต้องการห้องเช่าดังกล่าวคืนจากนายโชค จึงเรียกให้นายโชคส่งคืนห้องเช่าแก่ตน แต่นายโชคปฏิเสธว่ายังไม่ครบกําหนดตามสัญญาเช่าและไม่ยอมส่งคืนห้องเช่าดังกล่าว

ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่า ตามกฎหมายตัวแทน นายโชคมีสิทธิปฏิเสธข้อเรียกร้องของนายแชมป์ หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 797 “อันว่าสัญญาตัวแทนนั้น คือสัญญาซึ่งให้บุคคลหนึ่งเรียกว่าตัวแทน มีอํานาจทําการ แทนบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าตัวการ และตกลงจะทําการดังนั้น

อันความเป็นตัวแทนนั้น จะเป็นโดยตั้งแต่แสดงออกชัดหรือโดยปริยายก็ย่อมได้”

มาตรา 801 “ถ้าตัวแทน ได้รับมอบอํานาจทั่วไป ท่านว่าจะทํากิจใด ๆ ในทางจัดการแทนตัวการ
ก็ย่อมทําได้ทุกอย่าง

แต่การเช่นอย่างจะกล่าวต่อไปนี้ ท่านว่าหาอาจจะทําได้ไม่ คือ

(2) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์กว่าสามปีขึ้นไป”

มาตรา 820 “ตัวการย่อมมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายอันตัวแทนหรือ ตัวแทนช่วงได้ทําไปภายในขอบอํานาจแห่งฐานตัวแทน”

มาตรา 823 “ถ้าตัวแทนกระทําการอันใดอันหนึ่งโดยปราศจากอํานาจก็ดี หรือทํานอกทําเหนือขอบอํานาจก็ดี ท่านว่าย่อมไม่ผูกพันตัวการเว้นแต่ตัวการจะให้สัตยาบันแก่การนั้น

ถ้าตัวการไม่ให้สัตยาบัน ท่านว่าตัวแทนย่อมต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกโดยลําพังตนเอง เว้นแต่ จะพิสูจน์ได้ว่าบุคคลภายนอกนั้นได้รู้อยู่ว่าตนทําการโดยปราศจากอํานาจ หรือทํานอกเหนือขอบอํานาจ”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การปนายแชมป์ได้ทําหนังสือมอบอํานาจให้นายวินเป็นตัวแทนในการบริหาร กิจการร้านขายกาแฟของตน โดยที่นาย!ชมป์ตัวการไม่ได้ระบุกิจการที่ได้มอบอํานาจให้นายวินกระทําการแทนไว้ โดยเฉพาะเจาะจงนั้น ย่อมถือว่านายแชมป์ได้ตั้งให้นายวินเป็นตัวแทนรับมอบอํานาจทั่วไปตามมาตรา 797 ประกอบมาตรา 801 ดังนั้น นายวินย่อม สามารถกระทําการแทนตัวการได้ทุกอย่าง เว้นแต่กิจการที่ได้ระบุไว้ใน มาตรา 801 (1) – (6) ที่นายวินตัวแทนจะกระทําไม่ได้

การที่นายวินได้นําห้องว่างในร้านขายกาแฟของนายแชมป์ออกให้นายโชคเช่าเพื่อประกอบกิจการร้านขายของที่ระลึกเป็นเวลา 4 ปีนั้น ถือเป็นการกระทําที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 801 (2) เพราะตัวแทนรับมอบอํานาจ โดยทั่วไปนั้น จะเอาอสังหาริมทรัพย์ของตัวการออกให้บุคคลภายนอกเช่าเกินกว่า 3 ปีไม่ได้ จึงมีผลทําให้สัญญาเช่า ที่นายวินทํากับนายโชคมีผลผูกพันนายแชมป์เพียง 3 ปีเท่านั้นเพราะอยู่ในขอบอํานาจแห่งฐานตัวแทนตาม มาตรา 820 ในส่วนที่เกิน 3 ปีนั้นย่อมไม่มีผลผูกพันนายแชมป์ตัวการเพราะเป็นกรณีที่นายวินกระทําการโดย ปราศจากอํานาจหรือนอกเหนือขอบอํานาจแห่งฐานตัวแทนตามมาตรา 823 ดังนั้น เมื่อนายแชมป์ต้องการห้องเช่า ดังกล่าวคืนจากนายโชค นายแชมป์ย่อมมีสิทธิเรียกให้นายโชคส่งคืนห้องที่นายโชคเช่าแก่ตนได้ โดยนายโชคจะปฏิเสธว่ายังไม่ครบกําหนดตามสัญญาเช่าและไม่ยอมส่งคืนห้องเช่าดังกล่าวไม่ได้

สรุป นายโชคไม่มีสิทธิปฏิเสธข้อเรียกร้องของนายแชมป์

ข้อ 2 นายดลมีอาชีพค้าขายไม้พันธุ์ ไม้ประดับต่าง ๆ โดยยังรับจากผู้ที่ต้องการนําไม้ประดับมาให้ช่วย ขายด้วย โดยนายดลจะค้าขายไม้พันธุ์ ไม้ประดับเหล่านั้นในนามร้านของนายดลเองและเรียก บําเหน็จจากการขายให้เช่นนั้น 5% ต่อมานายแดงนําต้นบอนไซมาฝากให้นายดลขายจํานวน 30 ต้น หลังจากนําต้นบอนไซมาให้ร้านนายดลขายได้ 1 เดือน พบว่านายดลไม่ได้ขายต้นบอนไซของนายแดง ให้แม้แต่ต้นเดียวอีกทั้งต้นบอนไซครึ่งหนึ่งเฉาตายเพราะนายดลนําไปวางไว้อย่างไม่เหมาะสม กลางแดดจัด นายแดงจึงเรียกให้นายดลรับผิดชดใช้ค่าบอนไซที่ตายนั้นทั้งหมดเป็นเงิน 7,500 บาท นายดลกลับอ้างว่าต้นไม้ประดับในส่วนของตนเองก็เฉาตายไปครึ่งหนึ่งเหมือนกัน เช่นนี้นายดล ต้องรับผิดชดใช้ค่าบอนไปหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 659 วรรคสาม ถ้าและผู้รับฝากเป็นผู้มีวิชาชีพเฉพาะกิจการค้าขายหรืออาชีวะอย่างหนึ่งอย่างใดก็จําต้องใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการค้าขายหรืออาชีวะอย่างนั้น”

มาตรา 833 “อันว่าตัวแทนค้าต่าง คือบุคคลซึ่งในทางค้าขายของเขาย่อมทําการซื้อหรือขาย ทรัพย์สิน หรือรับจัดทํากิจการค้าขายอย่างอื่นในนามของตนเองต่างตัวการ

มาตรา 842 วรรคหนึ่ง “เมื่อใดเขามอบหมายทรัพย์สินไว้แก่ตัวแทนค้าต่าง ท่านให้นําบทบัญญัติ ทั้งหลายแห่งประมวลกฎหมายนี้ลักษณะ ฝากทรัพย์มาใช้บังคับอนุโลมตามสมควร”

วินิจฉัย

ตามอุทาหรณ์ การที่นายดลมีอาชีพขายไม้ประดับต่าง ๆ โดยยังรับจากผู้ที่ต้องการนําไม้ประดับ มาให้ช่วยขายด้วยโดยนายดุลจะค้าขาย ไม้ประดับเหล่านั้นในนามร้านของนายดลเองและเรียกบําเหน็จจากการ

ขายให้เช่นนั้น 5% การกระทําของนายผลเช่นนี้ถือเป็นตัวแทนค้าต่างตามมาตรา 833 ซึ่งการเป็นตัวแทนค้าต่าง ของนายดลดังกล่าวนี้ นายดลจะต้องใช้ความสามารถในกิจการค้าขายและต้องใช้ความระมัดระวังในการดูแล ทรัพย์สินของตัวการตามมาตรฐานที่กฎหมายได้กําหนดไว้ตามมาตรา 842 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 659 วรรคสาม กล่าวคือตัวแทนค้าต่างจะดูแลรักษาทรัพย์สินของตัวการอย่างผู้มีวิชาชีพจะดูแลรักษาเพียงเท่ากับทรัพย์สินของตนเองหาได้ไม่ แต่จะต้อ ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควร จะต้องใช้ในกิจการค้าขายเช่นนั้น

การที่นายแดงได้นําต้นบอนไซมาฝากให้นายดลขายจํานวน 30 ต้น และหลังจากนําต้นบอนไซ มาให้ร้านนายดลขายได้ 1 เดือน พบว่านายดลขายต้นบอนไซของนายแดงไม่ได้แม้แต่ต้นเดียวอีกทั้งต้นบอนไซ ครึ่งหนึ่งเฉาตายเพราะนายดลนําไปวางไว้อย่างไม่เหมาะสมกลางแดดจัด ไม่หาหลังคามาปกคลุมหรือย้ายที่วาง
กรณีเช่นนี้ย่อมถือได้ว่า นายดลไม่ได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ ในกิจการค้าขายเช่นนั้นตามมาตรา 84 วรรคหนึ่งประกอบมาตรา 659 วรรคสาม ดังนั้น เมื่อนายแดงเรียกให้ นายดลรับผิดชดใช้ค่าบอนไซที่ตายนั้นทั้งหมดเป็นเงิน 7,500 บาท นายดลจะปฏิเสธความรับผิดโดยอ้างว่า ต้นไม้ประดับในส่วนของตนเองก็เฉาตายไปครึ่งหนึ่งเหมือนกันไม่ได้ นายดลจะต้องรับผิดชดใช้ค่าบอนไซจํานวน 7,500 บาทแก่นายแดง

สรุป นายดลจะต้องรับผิดใช้ค่าบอนไซที่ตายนั้นทั้งหมดเป็นเงิน 7,500 บาทแก่นายแดง

ข้อ 3 นายทองต้องการขายที่ดิน 50 ตารางวา จึงตกลงให้นายนาคเป็นนายหน้าหาผู้ซื้อให้ในราคา 5,000,000 บาท จะให้ค่านายหน้า 25,000 บาท ต่อมานายนาคทราบว่านายดินต้องการซื้อ จึงนํานายดินไปพบนาย ทอง นายดินได้ขอวางมัดจําไว้ก่อน 300,000 บาท โดยตกลงจะไป จดทะเบียนโอนอีก 7 วัน หลังจากนั้นนายดินกลับหายไปไม่มาจดทะเบียนรับโอนและชําระราคา ค่าที่ดิน ต่อมานายนาคได้มาเรียกบําเหน็จนายหน้าจากนายทอง เช่นนี้นายทองต้องจ่ายบําเหน็จ นายหน้าและค่าใช้จ่ายจากการกระทําการเป็นนายหน้าอีก 50,000 บาทหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 845 “บุคคลผู้ใดตกลงจะให้ค่าบําเหน็จแก่นายหน้าเพื่อที่ชี้ช่องให้ได้เข้าทําสัญญาก็ดี จัดการให้ได้ทําสัญญากันก็ดี ท่านว่าบุคคลผู้นั้นจะต้องรับผิดใช้ค่าบําเหน็จก็ต่อเมื่อสัญญานั้นได้ทํากันสําเร็จ เนื่องแต่ผลแห่งการที่นายหน้าได้ชี้ช่องหรือจัดการนั้น ถ้าสัญญาที่ได้ทํากันไว้นั้นมีเงื่อนไขเป็นเงื่อนบังคับก่อนไซร้ ท่านว่าจะเรียกร้องบําเหน็จค่านายหน้ายังหาได้ไม่ จนกว่าเงื่อนไขนั้นสําเร็จแล้ว

นายหน้ามีสิทธิจะได้รับชดใช้ค่าใช้จ่ายที่ได้เสียไปก็ต่อเมื่อได้ตกลงกันไว้เช่นนั้น ความข้อนี้ท่านให้
ใช้บังคับแม้ถึงว่าสัญญาจะมิได้ทํากันสําเร็จ”

วินิจฉัย

จากบทบัญญัติมาตรา 815 วรรคหนึ่ง จะเห็นได้ว่า ลักษณะของสัญญานายหน้านั้น คือ สัญญา ซึ่งบุคคลคนหนึ่งตกลงให้นายหน้าเป็นผู้ที่ช่องทาง หรือจัดการจนเขาได้ทําสัญญากับบุคคลภายนอก และนายหน้า รับกระทําการตามนั้น และเมื่อนายหน้าได้ชี้ช่องหรือจัดการจนเขาได้เข้าทําสัญญากันแล้ว นายหน้าย่อมจะได้รับ ค่าบําเหน็จ

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายทองต้องการขายที่ดิน 50 ตารางวา จึงตกลงให้นายนาคเป็นนายหน้า หาผู้ซื้อให้ในราคา 5,000,000 บาท จะให้ค่านายหน้า 25,000 บาท ต่อมานายนาคทราบว่านายดินต้องการซื้อ จึงนํานายดินไปพบนายทอง และนายดินได้ขอวางมัดจําไว้ก่อน 300,000 บาท โดยตกลงจะไปจดทะเบียนโอน ในอีก 7 วันนั้น ถือว่าเป็นกรณีที่นายนาคได้ชี้ช่องหรือจัดการจนเป็นผลสําเร็จในการทําสัญญาจะซื้อขายจนมี การวางมัดจําแล้ว ส่วนหลังจากนั้นการที่นายดินกลับหายไปไม่มาจดทะเบียนรับโอนและชําระราคาค่าที่ดินนั้น

เป็นกรณีที่บุคคลภายนอกไม่ปฏิบัติตาม สัญญาจะซื้อขายซึ่งเป็นเรื่องที่คู่สัญญาจะซื้อขายจะไปเรียกร้องกันเอง ดังนั้น เมื่อนายนาคได้มาเรียกร้องค่าบําเหน็จนายหน้าจากนายทอง นายทองจึงต้องจ่ายค่าบําเหน็จนายหน้า จํานวน 25,000 บาทให้แก่นายนาคตาม ที่ตกลงกันตามมาตรา 845 วรรคหนึ่ง

ในส่วนค่าใช้จ่ายจากการกระทําการเป็นนายหน้า 50,000 บาทนั้น เมื่อไม่ได้มีการตกลงกันไว้ นายทองจึงไม่ต้องจ่ายให้แก่นายนาคแต่อย่างใดตามมาตรา 845 วรรคสอง

สรุป นายทองต้องจ่ายค่าบําเหน็จนายหน้าให้แก่นายนาคจํานวน 25,000 บาท แต่ไม่ต้องจ่ายค่าใช้จ่ายจํานวน 50,000 บาท แก่นายนาค

Advertisement