การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2564

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2111 (LAW 2011) ป.พ.พ.ว่าด้วยตัวแทน นายหน้า

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 นายเรืองต้องการนําเงินจํานวน 1 ล้านบาทไปปล่อยกู้ จึงตั้งนายรุ่งเป็นตัวแทนให้นําเงินจํานวน ดังกล่าวไปดําเนินการปล่อยกู้แทนตน แต่มีเงื่อนไขในการตั้งตัวแทนว่าให้นายรุ่งกระทําการทุกอย่าง ในนามของนายรุ่งเอง นายรุ่งจึงนําเงินจํานวน 1 ล้านบาท ปล่อยกู้ให้แก่นายขาว โดยมีการส่งมอบ เงินจํานวนดังกล่าวต่อนายขาวในนามของนายรุ่ง และในสัญญากู้ยืมเงินก็ระบุชื่อนายรุ่งเป็นผู้ให้กู้ เงินจํานวน 1 ล้านบาท และระบุชื่อนายขาวเป็นผู้กู้ พร้อมมีการลงลายมือชื่อนายรุ่งและนายขาว ในสัญญากู้ยืมเงินด้วย ปรากฏต่อมาว่าเมื่อหนี้เงินกู้ถึงกําหนดชําระ นายขาวทราบว่านายเรืองเป็น เจ้าของเงินกู้ที่แท้จริงจํานวน 1 ล้านบาท จึงทําการเข้าชําระหนี้แก่นายเรือง โดยการโอนเงินจํานวน 1 ล้านบาท ผ่านระบบ Mobile Banking เข้าไปยังบัญชีธนาคารของนายเรื่อง หลังจากนั้น 1 วัน นายรุ่งได้นําสัญญากู้ยืมเงินซึ่งระบุชื่อนายรุ่งเป็นผู้ให้กู้มาเรียกให้นายขาวชําระหนี้อีกครั้ง

ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยตามกฎหมายตัวแทนว่า

(ก) การชําระหนี้ของนายขาวมีผลผูกพันนายเรืองหรือไม่

(ข) นายรุ่งสามารถนําสัญญากู้ยืมเงินซึ่งระบุชื่อตนเป็นผู้ให้กู้มาเรียกให้นายขาวชําระหนี้แก่ตน ได้หรือไม่ อย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 806 “ตัวการซึ่งมิได้เปิดเผยชื่อจะกลับแสดงตนให้ปรากฏและเข้ารับเอาสัญญาใด ๆ ซึ่งตัวแทนได้ทําไว้แทนตนก็ได้ แต่ถ้าตัวการผู้ใดได้ยอมให้ตัวแทนของตนทําการออกหน้าเป็นตัวการไซร้ ท่านว่า ตัวการผู้นั้นหาอาจจะทําให้เสื่อมเสียถึงสิทธิของบุคคลภายนอกอันเขามีต่อตัวแทน และเขาขวนขวายได้มา
แต่ก่อนที่รู้ว่าเป็นตัวแทนนั้นได้ไม่”

มาตรา 820 “ตัวการย่อมมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายอันตัวแทนหรือ ตัวแทนช่วงได้ทําไปภายในขอบอํานาจแห่งฐานตัวแทน”

วินิจฉัย

(ก) กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเรืองต้องการนําเงินจํานวน 1 ล้านบาทไปปล่อยกู้ จึงตั้งนายรุ่ง เป็นตัวแทนให้นําเงินจํานวนดังกล่าวไปดําเนินการปล่อยกู้แทนตน โดยมีเงื่อนไขในการตั้งตัวแทนว่าให้นายรุ่ง กระทําการทุกอย่างในนามของนายรุ่งเองนั้น ถือเป็นการตั้งตัวแทนตามมาตรา 806 ซึ่งเป็นกรณีที่ตัวแทนจะต้อง ปกปิดซ่อนเร้นตัวการเอาไว้ และต้องกระทําการทุกอย่างในนามของตนเอง ดังนั้น เมื่อนายรุ่งได้นําเงินจํานวน 1 ล้านบาทปล่อยกู้ให้แก่นายขาว โดยมีการส่งมอบเงินจํานวนดังกล่าวต่อนายขาวในนามของนายรุ่ง และในสัญญา กู้ยืมเงินก็ระบุชื่อนายรุ่งเป็นผู้ให้กู้ยืมเงินจํานวน 1 ล้านบาท และระบุชื่อนายขาวเป็นผู้กู้ พร้อมมีการลงลายมือชื่อ นายรุ่งและนายขาวในสัญญากู้ยืมเงินด้วย การทําสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวจึงมีผลผูกพันนายรุ่งตัวแทน และนายขาว บุคคลภายนอกซึ่งเป็นผู้กู้ตามกฎหมาย

เมื่อปรากฏต่อมาว่า เมื่อหนี้เงินกู้ถึงกําหนดชําระและนายขาวได้ทราบว่านายเรืองเป็นเจ้าของเงินกู้ที่แท้จริงจํานวน 1 ล้านบาทดังกล่าว จึงทําการเข้าชําระหนี้แก่นายเรืองโดยการโอนเงินจํานวน 1 ล้านบาท ผ่านระบบ Mobile Banking เข้าไปยังบัญชีธนาคารของนายเรืองนั้น ถือเป็นกรณีที่ชื่อของนายเรืองตัวการได้ถูก เปิดเผยและกลับแสดงตนให้ปรากฏ และเข้ารับเอาประโยชน์แห่งสัญญาซึ่งนายรุ่งตัวแทนได้ทําไว้แทนตนแล้ว ตามมาตรา 806 ดังนั้น การชําระหนี้ของนายขาวจึงมีผลผูกพันนายเรืองตามมาตรา 820

(ข) เมื่อนายขาวชําระหนี้เงินกู้จํานวน 1 ล้านบาทให้แก่นายเรืองตัวการแล้ว การชําระหนี้ย่อม มีผลผูกพันนายเรืองตัวการ และมีผลทําให้หนี้เงินกู้ย่อมระงับสิ้นไปตามมาตรา 820 ดังนั้น นายรุ่งจึงไม่สามารถ
น่าสัญญากู้ยืมเงินซึ่งระบุชื่อตนเป็นผู้ให้กู้มาเรียกให้นายขาวชําระหนี้แก่ตนได้อีก

สรุป
(ก) การชําระหนี้ของนายขาวมีผลผูกพันนายเรือง
(ข) นายรุ่งไม่สามารถนําสัญญากู้ยืมเงินซึ่งระบุชื่อตนเป็นผู้ให้กู้มาเรียกให้นายขาวชําระหนี้
แก่ตนได้อีก

ข้อ 2 บริษัท เอบีซี จํากัด ประกอบกิจการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้ายี่ห้อเอบีซี ซึ่งจดทะเบียนและมีที่ตั้ง สํานักงานใหญ่อยู่ในประเทศญี่ปุ่น ได้ทําหนังสือแต่งตั้งบริษัท แสงไฟฟ้า จํากัด ให้เป็นตัวแทน จําหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าของบริษัทฯ ในประเทศไทย เนื่องจากเห็นว่าบริษัท แสงไฟฟ้า จํากัด มีความเชี่ยวชาญเพราะเป็นตัวแทนจําหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าของหลายบริษัทอยู่แล้ว และยังมี โรงงานผลิตอะไหล่เครื่องใช้ไฟฟ้าหลากหลายยี่ห้อ ต่อมาบริษัท แสงไฟฟ้า จํากัด ได้นําโทรทัศน์ ยี่ห้อเอบีซีไปวางขายที่ห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร และนายโชคร้ายได้ซื้อโทรทัศน์ ยี่ห้อเอบีซีไปหนึ่งเครื่องในราคา 80,000 บาท หลังจากใช้งานไปได้สองเดือน บ้านนายโชคร้าย หลังคารั่วทําให้มีน้ําซึมลงมา และโทรทัศน์เครื่องดังกล่าวได้รับความเสียหาย นายโชคร้ายจึงส่ง โทรทัศน์ไปซ่อมที่บริษัท แสงไฟฟ้า จํากัด เมื่อซ่อมเสร็จได้นําโทรทัศน์กลับมาใช้ที่บ้าน ปรากฏว่า โทรทัศน์เครื่องดังกล่าวเกิดระเบิดขึ้นจากการใช้ชิ้นส่วนในการซ่อมแซมที่ไม่ได้มาตรฐาน ทําให้ บ้านไฟไหม้เสียหายไปบางส่วน ดังนี้ตามกฎหมายลักษณะตัวแทน นายโชคร้ายจะเรียกให้บริษัท เอบีซี จํากัด และบริษัท แสงไฟฟ้า จํากัด รับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นได้หรือไม่ อย่างไร จงอธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 820 “ตัวการย่อมมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายอันตัวแทนหรือ ตัวแทนช่วงได้ทําไปภายในขอบอํานาจแห่งฐานตัวแทน”

มาตรา 823 “ถ้าตัวแทนกระทําการอันใดอันหนึ่งโดยปราศจากอํานาจก็ดี หรือทํานอกทําเหนือขอบอํานาจก็ดี ท่านว่าย่อมไม่ผูกพันตัวการเว้นแต่ตัวการจะให้สัตยาบันแก่การนั้น

ถ้าตัวการไม่ให้สัตยาบัน ท่านว่าตัวแทนย่อมต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกโดยลําพังตนเอง เว้นแต่ จะพิสูจน์ได้ว่าบุคคลภายนอกนั้นได้รู้อยู่ว่าตนทําการโดยปราศจากอํานาจ หรือทํานอกเหนือขอบอํานาจ”

มาตรา 833 “อันว่าตัวแทนค้าต่าง คือบุคคลซึ่งในทางค้าขายของเขาย่อมทําการซื้อหรือขาย ทรัพย์สิน หรือรับจัดทํากิจการค้าขายอย่างอื่นในนามของตนเองต่างตัวการ

มาตรา 835 “บทบัญญัติทั้งหลายแห่งประมวลกฎหมายนี้อันว่าด้วยตัวแทนนั้น ท่านให้ใช้บังคับ ถึงตัวแทนค้าต่างด้วยเพียงที่ไม่ขัดกับบทบัญญัติในหมวดนี้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่บริษัท เอบีซี จํากัด ประกอบกิจการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้ายี่ห้อเอบีซี ซึ่งจดทะเบียนและมีที่ตั้งสํานักงานใหญ่อยู่ในประเทศญี่ปุ่น ได้ทําหนังสือแต่งตั้งบริษัท แสงไฟฟ้า จํากัด ให้เป็น ตัวแทนจําหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าของบริษัทฯ ในประเทศไทย เนื่องจากเห็นว่าบริษัท แสงไฟฟ้า จํากัด มีความเชี่ยวชาญ เพราะเป็นตัวแทนจําหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าของหลายบริษัทอยู่แล้ว และยังมีโรงงานผลิตอะไหล่เครื่องใช้ไฟฟ้า หลากหลายยี่ห้อนั้น ย่อมถือว่าบริษัท แสงไฟฟ้า จํากัด เป็นตัวแทนค้าต่างที่มีอํานาจในการจําหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้า ของบริษัท เอบีซี จํากัด ตามมาตรา 833 แต่ไม่ได้เป็นตัวแทนค้าต่างในการรับซ่อมแซมเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เสียหาย แต่อย่างใด

การที่บริษัท แสงไฟฟ้า จํากัด ได้นําโทรทัศน์ยี่ห้อเอบีซีไปวางขายที่ห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร และนายโชคร้ายได้ซื้อโทรทัศน์ยี่ห้อเอบีซีไปหนึ่งเครื่องราคา 80,000 บาท หลังจากใช้งาน ไปได้สองเดือน บ้านนายโชคร้ายหลังคารั่ว ทําให้มีน้ําซึมลงมา และโทรทัศน์เครื่องดังกล่าวได้รับความเสียหายนั้น

ความเสียหายที่เกิดขึ้นถือเป็นความเสียหายที่เกิดจากการกระทําของนายโชคร้ายเอง ไม่เกี่ยวกับความชํารุดบกพร่อง ของสินค้าที่อยู่ในความรับผิดชอบของบริษัท เอบีซี จํากัด ดังนั้น นายโชคจะเรียกให้บริษัท เอบีซี จํากัด รับผิดตามมาตรา 820 ไม่ได้

การที่นายโชคร้ายได้ส่งโทรทัศน์เครื่องดังกล่าวไปซ่อมที่บริษัท แสงไฟฟ้า จํากัด และบริษัทแสงไฟฟ้า จํากัด ได้รับซ่อมโทรทัศน์เครื่องนั้น ถือเป็นการกระทํานอกเหนือขอบอํานาจของตัวแทน ดังนั้น ความเสียหายที่เกิดขึ้นภายหลังการซ่อมแซมที่ไม่ได้มาตรฐาน ทําให้โทรทัศน์เครื่องดังกล่าวเกิดระเบิดขึ้น และ ทําให้บ้านไฟไหม้เสียหายไปบางส่วนนั้นจึงไม่ผูกพันบริษัท เอบีซี จํากัด และเมื่อไม่ปรากฏว่าบริษัท เอบีซี จํากัด ได้ให้สัตยาบันในการรับซ่อมโทรทัศน์ของบริษัท แสงไฟฟ้า จํากัด แต่อย่างใด ดังนั้น นายโชคร้ายจะเรียกให้ บริษัท เอบีซี จํากัด รับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่ได้ นายโชคร้ายจะต้องไปเรียกให้บริษัท แสงไฟฟ้า จํากัด รับผิดโดยลําพังตามมาตรา 823 ประกอบมาตรา 835

สรุป นายโชคร้ายจะเรียกให้บริษัท เอบีซี จํากัด รับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่ได้ แต่เรียก
ให้บริษัท แสงไฟฟ้า จํากัด รับผิดได้

ข้อ 3 นายเมฆต้องการขายรถจักรยานยนต์ Ducati ราคา 550,000 บาท จึงติดต่อให้นายหมอกช่วยหา คนมาซื้อรถจักรยานยนต์ Ducati ของนายเมฆ โดยนายเมฆจะให้บําเหน็จ 20,000 บาท ต่อมา นายหมอกสืบทราบว่านายพายุต้องการซื้อรถจักรยานยนต์ Ducati นายหมอกจึงติดต่อให้นายพายุ มาพบนายเมฆ จนมีการวางมัดจํา 50,000 บาท และตกลงชําระราคาส่วนที่เหลือในวันไปจดทะเบียน ที่กรมการขนส่งทางบก แต่เมื่อถึงวันนัดที่กรมการขนส่งทางบก นายพายุกลับไม่ยอมไปจดทะเบียน รถจักรยานยนต์ Ducati ที่ตกลงซื้อนั้นรวมทั้งชําระราคาส่วนที่เหลือ ดังนี้ นายหมอกจะได้รับ ค่าบําเหน็จนายหน้าจากนายเมฆหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 845 “บุคคลผู้ใดตกลงจะให้ค่าบําเหน็จแก่นายหน้าเพื่อที่ชี้ช่องให้ได้เข้าทําสัญญาก็ดี จัดการให้ได้ทําสัญญากันก็ดี ท่านว่าบุคคลผู้นั้นจะต้องรับผิดใช้ค่าบําเหน็จก็ต่อเมื่อสัญญานั้นได้ทํากันสําเร็จ เนื่องแต่ผลแห่งการที่นายหน้าได้ชี้ช่องหรือจัดการนั้น ถ้าสัญญาที่ได้ทํากันไว้นั้นมีเงื่อนไขเป็นเงื่อนบังคับก่อนไซร้ ท่านว่าจะเรียกร้องบําเหน็จค่านายหน้ายังหาได้ไม่ จนกว่าเงื่อนไขนั้นสําเร็จแล้ว

นายหน้ามีสิทธิจะได้รับชดใช้ค่าใช้จ่ายที่ได้เสียไปก็ต่อเมื่อได้ตกลงกันไว้เช่นนั้น ความข้อนี้ท่านให้
ใช้บังคับแม้ถึงว่าสัญญาจะมิได้ทํากันสําเร็จ”

วินิจฉัย

จากบทบัญญัติมาตรา 845 วรรคหนึ่ง จะเห็นได้ว่า ลักษณะของสัญญานายหน้านั้น คือ สัญญา ซึ่งบุคคลคนหนึ่งตกลงให้นายหน้าเป็นผู้ชี้ช่องทางหรือจัดการจนเขาได้ทําสัญญากับบุคคลภายนอก และนายหน้า รับกระทําการตามนั้น และเมื่อนายหน้าได้ชี้ช่องหรือจัดการจนเขาได้เข้าทําสัญญากันแล้ว นายหน้าย่อมจะได้รับ ค่าบําเหน็จ

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเมฆต้องการขายรถจักรยานยนต์ Ducati ราคา 550,000 บาท จึง ติดต่อให้นายหมอกช่วยหาคนมาซื้อรถจักรยานยนต์ Ducati ของนายเมฆ โดยนายเมฆจะให้บําเหน็จ 20,000 บาท เมื่อปรากฏว่านายหมอกสืบทราบว่านายพายุต้องการซื้อรถจักรยานยนต์ Ducati นายหมอกจึงได้ติดต่อให้นายพายุ มาพบนายเมฆ จนมีการวางมัดจํา 50,000 บาท และตกลงชําระราคาส่วนที่เหลือในวันไปจดทะเบียนที่กรมการ ขนส่งทางบกนั้น ย่อมถือว่านายหมอกได้ทําหน้าที่ของตนในฐานะนายหน้าครบถ้วนแล้ว กล่าวคือ ถือว่านายหมอก ได้ชี้ช่องหรือจัดการให้นายพายุและนายเมฆได้เข้าทําสัญญาซื้อขายรถจักรยานยนต์ Ducati ซึ่งเป็นสัญญาซื้อขาย เสร็จเด็ดขาดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ดังนั้น นายหมอกจึงมีสิทธิได้รับค่าบําเหน็จนายหน้าจากนายเมฆตามมาตรา 845 ส่วนการที่นายพายุไม่ยอมปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายโดยไม่ยอมไปจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ Ducati ที่ตกลงซื้อรวมทั้งชําระราคาส่วนที่เหลือนั้น เป็นเรื่องที่นายเมฆและนายพายุจะเป็นผู้ดําเนินการกันตามสัญญาอีกกรณีหนึ่ง

สรุป นายหมอกมีสิทธิได้รับค่าบําเหน็จนายหน้าจากนายเมฆ

 

Advertisement