การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2563

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW2011 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตัวแทน นายหน้า

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 นายพร้อมมอบหมายด้วยวาจาให้นายหมากไปซื้อรถยนต์จากนางสาวชะเอมแทนตน ตกลงให้บําเหน็จ 5,000 บาท นายหมากได้ชําระเงินค่ารถยนต์ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2563 จํานวน 500,000 บาท ซึ่งเป็นวันทําสัญญาและตกลงให้มีการส่งมอบรถยนต์ให้นายพร้อมในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 นางสาวชะเอมเห็นว่านายหมากต้องไปพบนายพร้อมเพื่อรับบําเหน็จอยู่แล้ว จึงมอบหมายให้นายหมากนํารถยนต์ไปส่งมอบให้นายพร้อมแทนตน และได้มอบรถยนต์คันดังกล่าว ให้นายหมากไปในวันทําสัญญา โดยนางสาวชะเอมและนายหมากไม่ได้แจ้งให้นายพร้อมทราบ ดังนี้ หากนายหมากนํารถยนต์ไปส่งมอบ นายหมากจะมีสิทธิได้บําเหน็จจากนายพร้อมหรือไม่ จงอธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 797 “อันว่าสัญญาตัวแทนนั้น คือสัญญาซึ่งให้บุคคลหนึ่งเรียกว่าตัวแทน มีอํานาจทําการ แทนบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าตัวการ และตกลงจะทําการดังนั้น

อันความเป็นตัวแทนนั้นจะเป็นโดยตั้งแต่แสดงออกชัดหรือโดยปริยายก็ย่อมได้”

มาตรา 805 “ตัวแทนนั้น เมื่อไม่ได้รับความยินยอมของตัวการ จะเข้าทํานิติกรรมอันใดในนาม ของตัวการทํากับตนเองในนามของตนเองหรือในฐานเป็นตัวแทนของบุคคลภายนอกหาได้ไม่ เว้นแต่นิติกรรมนั้น
มีเฉพาะแต่การชําระหนี้”

มาตรา 818 “การในหน้าที่ตัวแทนส่วนใดตัวแทนได้ทํามิชอบในส่วนนั้น ท่านว่าตัวแทนไม่มีสิทธิจะได้บําเหน็จ”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายพร้อมมอบหมายด้วยวาจาให้นายหมากไปซื้อรถยนต์จากนางสาวชะเอม แทนตน ตกลงให้บําเหน็จ 5,000 บาท และนายหมากได้นําเงินไปชําระค่ารถยนต์ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2563 จํานวน 500,000 บาท ซึ่งเป็นวันทําสัญญานั้น ถือว่านายหมากได้กระทําการไปในขอบอํานาจของตัวแทนตาม มาตรา 797 วรรคหนึ่ง

และเมื่อนายหมากได้ไปซื้อรถยนต์ตามคําสั่งของนายพร้อมตัวการ จึงเป็นการกระทําที่ชอบ ด้วยหน้าที่ของตัวแทน ดังนั้น นายหมากจึงมีสิทธิได้รับบําเหน็จ 5,000 บาทตามข้อตกลง แม้ว่าจากข้อเท็จจริงนายหมากจะรับเป็นตัวแทนของนางสาวชะเอมในการนํารถยนต์ไปส่งมอบให้นายพร้อมโดยไม่ได้รับความยินยอมจากนายพร้อมซึ่งเป็นตัวการก็ตาม แต่ก็ไม่ถือว่าเป็นการกระทําที่มิชอบด้วยหน้าที่ของการเป็นตัวแทนตามมาตรา 805 และมาตรา 818 แต่อย่างใด เพราะนายหมากเพียงทําหน้าที่ตัวแทนของนางสาวชะเอมในการนํารถยนต์ไปส่งมอบ อันเป็นการชําระหนี้เท่านั้น
สรุป นายหมากมีสิทธิได้รับบําเหน็จจากนายพร้อม

ข้อ 2 นายต่อประกอบกิจการขายสินค้าเกี่ยวกับความงาม นายวอกนําครีมบํารุงผิว 100 ขวดที่ตนผลิต มาฝากให้นายต่อทําการขายให้ในราคาขวดละ 200 บาท ปรากฏว่านายต่อไม่ได้เก็บรักษาครีม บํารุงผิวดังกล่าวอย่างเหมาะสม โดยนําไปวางจําหน่ายตากแดดเป็นเวลาหลายวัน ต่อมานางสมร ได้ทําการซื้อครีมบํารุงผิวดังกล่าวไปจํานวน 10 ขวด ชําระราคา 2,000 บาท ข้อเท็จจริงปรากฏ ต่อมาว่าหลังจากใช้ครีมได้ 1 วัน นางสมรมีอาการแพ้อย่างรุนแรงจนต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล เสียค่ารักษา 20,000 บาท ผลการตรวจสอบคุณภาพพบว่าครีมบํารุงผิวดังกล่าวเสื่อมสภาพจากการตากแดดเป็นเวลานานสามารถก่อให้เกิดอาการแพ้อย่างรุนแรงได้ นางสมรจึงนําครีมบํารุงผิว ทั้งหมดมาคืนนายต่อและเรียกเงินคืน 2,000 บาท และเรียกร้องให้นายต่อรับผิดชดใช้ค่ารักษา พยาบาลจํานวน 20,000 บาทแก่ตน

ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยตามกฎหมายตัวแทนว่า นายต่อมีความรับผิดต่อนางสมรอย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 659 วรรคสาม “ถ้าและผู้รับฝากเป็นผู้มีวิชาชีพเฉพาะกิจการค้าขายหรืออาชีวะ
อย่างหนึ่งอย่างใดก็จําต้องใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้
ในกิจการค้าขายหรืออาชีวะอย่างนั้น”

มาตรา 833 “อันว่าตัวแทนค้าต่าง คือบุคคลซึ่งในทางค้าขายของเขาย่อมทําการซื้อ หรือ ขายทรัพย์สิน หรือรับจัดทํากิจการค้าขายอย่างอื่นในนามของตนเองต่างตัวการ”

มาตรา 837 “ในการที่ตัวแทนค้าต่างทําการขายหรือซื้อหรือจัดทํากิจการค้าขายอย่างอื่นต่างตัวการนั้น ท่านว่าตัวแทนค้าต่างย่อมได้ซึ่งสิทธิอันมีต่อคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งในกิจการเช่นนั้น และตัวแทนค้าต่างย่อมเป็นผู้ต้องผูกพันต่อคู่สัญญาฝ่ายนั้นด้วย”

มาตรา 842 วรรคหนึ่ง “เมื่อใดเขามอบหมายทรัพย์สินไว้แก่ตัวแทนค้าต่าง ท่านให้นําบทบัญญัติ ทั้งหลายแห่งประมวลกฎหมายนี้ลักษณะฝากทรัพย์มาใช้บังคับอนุโลมตามสมควร”

วินิจฉัย

ตามบทบัญญัติมาตรา 837 ได้บัญญัติถึงสิทธิหน้าที่และความรับผิดของตัวแทนค้าต่างต่อบุคคลภายนอกไว้ว่า เมื่อตัวแทนค้าต่างได้ทําการขายหรือซื้อหรือจัดทํากิจการอย่างใดแทนตัวการแล้ว ตัวแทนค้าต่างย่อม ต้องผูกพันเป็นคู่สัญญากับบุคคลภายนอกโดยตรง ถ้าบุคคลภายนอกผิดสัญญา ตัวแทนค้าต่างย่อมมีสิทธิฟ้องร้อง ตามสัญญานั้นในนามของตนเองได้ และในขณะเดียวกันก็ต้องรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอกตามสัญญานั้นด้วย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายต่อประกอบกิจการขายสินค้าเกี่ยวกับความงาม และนายวอก ได้นําครีมบํารุงผิว 100 ขวดที่ตนผลิตมาฝากให้นายต่อทําการขายให้ในราคาขวดละ 200 บาทนั้น ถือว่านายต่อ เป็นตัวแทนค้าต่างตามมาตรา 833 ซึ่งการเป็นตัวแทนค้าต่างของนายต่อดังกล่าวนี้ นายต่อจะต้องใช้ความสามารถ ในกิจการค้าขายและต้องใช้ความระมัดระวังในการดูแลทรัพย์สินของตัวการตามมาตรฐานที่กฎหมายได้กําหนดไว้ ตามมาตรา 842 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 659 วรรคสาม กล่าวคือ จะดูแลรักษาทรัพย์สินของตัวการอย่าง ผู้มีอาชีพจะดูแลรักษาเพียงเท่ากับทรัพย์สินของตนเองหาได้ไม่ แต่จะต้องใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเท่าที่ เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการค้าขายเช่นนั้น

การที่นายต่อไม่ได้เก็บรักษาครีมบํารุงผิวดังกล่าวอย่างเหมาะสม โดยนําไปวางจําหน่ายตากแดดเป็นเวลาหลายวัน ย่อมถือได้ว่านายต่อไม่ได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควร จะต้องใช้ในกิจการค้าขายเช่นนั้นตามมาตรา 842 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 659 วรรคสาม ดังนั้น เมื่อนางสมร ได้ทําการซื้อครีมบํารุงผิวดังกล่าวไปใช้จํานวน 10 ขวด เป็นเงิน 2,000 บาท และมีอาการแพ้อย่างรุนแรงจนต้อง เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล เสียค่ารักษา 20,000 บาท เนื่องจากครีมบํารุงผิวดังกล่าวเสื่อมคุณภาพจากการตากแดด เป็นเวลานาน เมื่อนางสมรนําครีมบํารุงผิวทั้งหมดมาคืนนายต่อและเรียกเงินคืน 2,000 บาท และเรียกร้องให้ นายต่อรับผิดชดใช้ค่ารักษาพยาบาลจํานวน 20,000 บาทแก่ตน นายต่อจึงมีหน้าที่จะต้องรับคืนครีมบํารุงผิวและ คืนเงินแก่นางสมร 2,000 บาท ตามมาตรา 837 และจะต้องรับผิดในการชดใช้ค่ารักษาพยาบาลแก่นางสมร เพราะไม่ได้เก็บรักษาครีมบํารุงผิวที่นายวอกนํามาฝากขายอย่างเหมาะสมทําให้นางสมรได้รับอันตรายจากการใช้ ครีมบํารุงผิวตามมาตรา 842 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 659 วรรคสาม

สรุป นายต่อมีความรับผิดต่อนางสมรคือจะต้องรับคืนครีมบํารุงผิวและคืนเงินแก่นางสมร 2,000 บาท และจะต้องรับผิดชดใช้ค่ารักษาพยาบาลแก่นางสมรจํานวน 20,000 บาท

ข้อ 3 นายเอกต้องการขายที่ดิน 4 ไร่ ติดถนนใหญ่ในกรุงเทพมหานคร ราคา 30,000,000 บาท นายเอก ติดต่อให้นายโทซึ่งทําธุรกิจด้านการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เป็นนายหน้าให้ นายโทตกลงเป็น นายหน้าให้นายเอกในอัตราบําเหน็จร้อยละ 5 ต่อมานายโทได้นํานายตรีมาดูที่ดินและพบนายเอก นายตรีชอบที่ดินดังกล่าวมากและต้องการทําสัญญาจะซื้อจะขายทันที แต่นายเอกเมื่อเห็นว่า นายตรีชอบที่ดินของตนมากจึงปฏิเสธไม่ขายที่ดินให้ อย่างไรก็ตาม 2 สัปดาห์ต่อมา นายเอก แอบติดต่อและนัดหมายกับนายตรีเพื่อขายที่ดินให้โดยไม่ให้นายโททราบ สุดท้ายนายเอกและ นายตรีได้ทําสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกันจนเสร็จเรียบร้อย เมื่อนายโททราบการทําสัญญา จะซื้อจะขายดังกล่าวจึงมาเรียกค่านายหน้าจากนายเอก

ให้ท่านวินิจฉัยว่า นายโทมีสิทธิที่จะได้รับค่านายหน้าจากนายเอกหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 845 วรรคหนึ่ง “บุคคลผู้ใดตกลงจะให้ค่าบําเหน็จแก่นายหน้าเพื่อที่ชี้ช่องให้ได้เข้า ท่าสัญญาก็ดี จัดการให้ได้ทําสัญญากันก็ดี ท่านว่าบุคคลผู้นั้นจะต้องรับผิดใช้ค่าบําเหน็จก็ต่อเมื่อสัญญานั้น ได้ทํากันสําเร็จ เนื่องแต่ผลแห่งการที่นายหน้าได้ชี้ช่องหรือจัดการนั้น ถ้าสัญญาที่ได้ทํากันไว้นั้นมีเงื่อนไข เป็นเงื่อนบังคับก่อนไซร้ ท่านว่าจะเรียกร้องบําเหน็จค่านายหน้ายังหาได้ไม่ จนกว่าเงื่อนไขนั้นสําเร็จแล้ว”

วินิจฉัย

จากบทบัญญัติมาตรา 845 วรรคหนึ่ง จะเห็นได้ว่า ลักษณะของสัญญานายหน้านั้น คือ สัญญา ซึ่งบุคคลคนหนึ่งตกลงให้นายหน้าเป็นผู้ชี้ช่องหรือจัดการจนเขาได้ทําสัญญากับบุคคลภายนอก และนายหน้า รับกระทําการตามนั้น และเมื่อนายหน้าได้ชี้ช่องหรือจัดการจนเขาได้เข้าทําสัญญากันแล้ว นายหน้าย่อมจะได้รับ ค่าบําเหน็จ

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเอกต้องการขายที่ดิน 4 ไร่ ราคา 30,000,000 บาท โดยได้ติดต่อ นายโทให้เป็นนายหน้าให้ และนายโทตกลงเป็นนายหน้าให้นายเอกในอัตราบําเหน็จร้อยละ 5 นั้น เมื่อนายโท ได้ตกลงเป็นนายหน้าให้นายเอกย่อมถือว่าสัญญานายหน้าได้เกิดขึ้นแล้วตามมาตรา 845

การที่นายโทได้นํานายตรีมาดูที่ดินและพบนายเอก และนายตรีชอบที่ดินดังกล่าวมากและต้องการทําสัญญาจะซื้อจะขายทันทีนั้น ถือว่าเป็นการชี้ช่องหรือจัดการให้ได้เข้าทําสัญญาแล้ว แม้นายเอกจะยังไม่ได้ทํา สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกันในครั้งแรก แต่หลังจากนั้นต่อมาอีก 2 สัปดาห์ นายเอกได้แอบติดต่อและนัดหมาย กับนายตรีเพื่อจะขายที่ดินให้โดยไม่ให้นายโททราบ สุดท้ายนายเอกและนายตรีได้ทําสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกัน จนเสร็จเรียบร้อย ดังนั้น นายโทจึงมีสิทธิได้รับค่านายหน้าจากนายเอก เพราะการจะซื้อจะขายดังกล่าวเป็นผล สืบเนื่องมาจากการชี้ช่องหรือจัดการให้ได้เข้าทําสัญญาของนายโท ซึ่งหากนายโทไม่ได้นํานายตรีมาพบนายเอก สัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวก็คงไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย

สรุป นายโทมีสิทธิที่จะได้รับค่านายหน้าจากนายเอก

Advertisement