การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2559
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2011 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตัวแทน นายหน้า
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)
ข้อ 1. ดําตั้งแดงไปกู้เงินโดยมิได้มอบหมายเป็นหนังสือ แดงไปกู้เงินเขียวมา 5 แสนบาท แดงลงชื่อในสัญญากู้ไว้เรียบร้อย โดยเขียนในสัญญากู้ว่ากู้แทนดํา ต่อมาดําผิดนัดชําระหนี้ เขียวจะฟ้องใครระหว่างดํา กับแดงให้รับผิดชําระหนี้ เพราะเหตุใด มีเหตุอื่นที่จะฟ้องดําให้รับผิดได้อีกหรือไม่ ในทางใดบ้าง (ตอบมาโดยยกหลักมาตรามาให้ครบและเหตุผลโดยชัดแจ้ง)
ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 653 วรรคหนึ่ง “การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืม เป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสําคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่”
มาตรา 798 “กิจการอันใดท่านบังคับไว้โดยกฎหมายว่าต้องทําเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทน เพื่อกิจการอันนั้นก็ต้องทําเป็นหนังสือด้วย
กิจการอันใดท่านบังคับไว้ว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนเพื่อกิจการอันนั้นก็ต้อง มีหลักฐานเป็นหนังสือด้วย”
มาตรา 820 “ตัวการย่อมมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายอันตัวแทนหรือ ตัวแทนช่วงได้ทําไปภายในขอบอํานาจแห่งฐานตัวแทน”
มาตรา 821 “บุคคลผู้ใดเชิดบุคคลอีกคนหนึ่งออกแสดงเป็นตัวแทนของตนก็ดี รู้แล้วย่อมให้ บุคคลอีกคนหนึ่งเชิดตัวเขาเองออกแสดงเป็นตัวแทนของตนก็ดี ท่านว่าบุคคลผู้นั้นจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก ผู้สุจริตเสมือนว่าบุคคลอีกคนหนึ่งนั้นเป็นตัวแทนของตน”
มาตรา 823 “ถ้าตัวแทนกระทําการอันใดอันหนึ่งโดยปราศจากอํานาจก็ดี หรือทํานอกทําเหนือ ขอบอํานาจก็ดี ท่านว่าย่อมไม่ผูกพันตัวการเว้นแต่ตัวการจะให้สัตยาบันแก่การนั้น
ถ้าตัวการไม่ให้สัตยาบัน ท่านว่าตัวแทนย่อมต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกโดยลําพังตนเอง เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าบุคคลภายนอกนั้นได้รู้อยู่ว่าตนทําการโดยปราศจากอํานาจ หรือทํานอกเหมือขอบอํานาจ”
วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ วินิจฉัยได้ดังนี้
กรณีแรก การกู้ยืมเงินเกินกว่า 2,000 บาทขึ้นไปนั้น บทบัญญัติมาตรา 653 วรรคหนึ่ง บังคับว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสําคัญ จึงจะใช้ฟ้องร้องบังคับคดีตาม กฎหมายได้ เมื่อกฎหมายบังคับให้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนเพื่อไปทําสัญญากู้จึงต้องมีหลักฐาน เป็นหนังสือด้วย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าดํามอบอํานาจให้แดงไปกู้เงินโดยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ เช่นนี้แดงย่อม ไม่มีอํานาจลงชื่อในสัญญากู้เงินนั้น เพราะดําตั้งแดงเป็นตัวแทนไปกู้เงินโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 798 วรรคสอง
การที่แดงลงชื่อในสัญญากู้เงินกับเขียวก็เท่ากับว่าแดงลงชื่อโดยปราศจากอํานาจตามมาตรา 823 วรรคหนึ่ง สัญญากู้ยืมเงินนั้นจึงไม่ผูกพันดําตัวการ แดงตัวแทนจึงต้องรับผิดต่อเขียวโดยลําพังตนเองตามมาตรา 823 วรรคสอง ดังนั้น เมื่อต่อมาดําผิดนัดชําระหนี้ เขียวจึงสามารถฟ้องแดงให้รับผิดในฐานะคู่สัญญาได้โดยตรง
กรณีที่ 2 แม้เขียวจะไม่สามารถฟ้องดําให้รับผิดในฐานะตัวการได้ แต่การที่ดําตั้งแดงให้กู้เงิน จากเขียวและแดงได้เขียนในสัญญากู้ว่ากู้แทนดํานั้น ย่อมถือว่าดําได้เชิดแดงออกแสดงเป็นตัวแทนของดํา ดําจึงต้อง รับผิดต่อเขียวเสมือนว่าแดงเป็นตัวแทนของดําตามมาตรา 821 ประกอบมาตรา 820 ดังนั้น เมื่อดําผิดนัดชําระหนี้ เขียวจึงสามารถฟ้องให้ดํารับผิดในกรณีได้
สรุป
เขียวฟ้องให้แดงรับผิดในฐานะคู่สัญญาโดยตรงได้ และอีกทางหนึ่งสามารถฟ้องให้ดํา รับผิดในฐานะที่ดําเชิดแดงเป็นตัวแทนเขิดได้