การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2010 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยคําประกัน ฯลฯ

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. นายกรุงเทพกู้เงินนายต่างจังหวัด 50 ล้านบาท เพื่อนํามาลงทุนในการปลูกอ้อยโดยมีหลักฐานการกู้เงินถูกต้อง หลังจากนั้น 2 เดือน ปรากฏว่า ราคาอ้อยตกต่ำ ทําให้นายกรุงเทพขาดทุน นายต่างจังหวัดเกรงว่านายกรุงเทพจะชําระหนี้เงินกู้ไม่ได้ จึงขอให้นายกรุงเทพหาผู้ค้ำประกันใน หนี้เงินกู้ดังกล่าว นายกรุงเทพจึงไปหานายตําบลให้มาเป็นผู้ค้ำประกันในหนี้รายนี้ นายตําบลจึง ไปตกลงกับนายต่างจังหวัดว่าจะเป็นผู้ค้ำประกันและรับค้ำประกันในวงเงิน 30 ล้านบาท พร้อม กับทําหนังสือค้ำประกัน มีนายตําบลลงลายมือชื่อในหนังสือค้ำประกัน เมื่อหนี้ถึงกําหนดชําระ นายกรุงเทพไม่สามารถชําระหนี้เงินกู้ได้ นายต่างจังหวัดจึงขอให้นายตําบลรับผิดตามหนังสือ คําประกัน นายตําบลต่อสู้จะขอรับผิดเพียง 30 ล้านบาทเท่านั้น นายต่างจังหวัดจึงมาปรึกษาท่านว่า ข้อต่อสู้ของนายตําบลรับฟังได้หรือไม่ และเงินส่วนที่เหลืออีก20 ล้านบาท จะบังคับจากใครได้บ้าง จงอธิบายพร้อมหลักกฎหมายประกอบให้ชัดเจน

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 680 “อันว่าค้ำประกันนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ค้ำประกัน ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่งเพื่อชําระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชําระหนี้นั้น

อนึ่งสัญญาค้ำประกันนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกัน เป็นสําคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่”

มาตรา 683 “อันค้ำประกันอย่างไม่มีจํากัดนั้น ย่อมคุ้มถึงดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทน ซึ่งลูกหนี้ค้างชําระ ตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้รายนั้นด้วย”

มาตรา 685 “ถ้าเมื่อบังคับตามสัญญาค้ำประกันนั้น ผู้ค้ำประกันไม่ชําระหนี้ทั้งหมดของลูกหนี้ รวมทั้งดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทน และอุปกรณ์ด้วยไซร้ หนี้ยังเหลืออยู่เท่าใด ท่านว่าลูกหนี้ยังคงรับผิดต่อเจ้าหนี้ ในส่วนที่เหลือนั้น”

มาตรา 686 “ลูกหนี้ผิดนัดลงเมื่อใด ท่านว่าเจ้าหนี้ชอบที่จะเรียกให้ผู้ค้ำประกันชําระหนี้ได้”

วินิจฉัย

ในกรณีที่การกู้เงินและการค้ําประกันนั้นได้กระทําถูกต้องตามกฎหมาย และมีหลักฐานใน การฟ้องร้องบังคับคดี หากลูกหนี้ผิดนัดชําระหนี้ ย่อมก่อให้เกิดสิทธิแก่เจ้าหนี้ในการบังคับการชําระหนี้เอาจากลูกหนี้ และผู้ค้ําประกันได้ตามมาตรา 680 และมาตรา 686

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายตําบลได้ตกลงเป็นผู้ค้ำประกันในหนี้ที่นายกรุงเทพกู้เงิน นายต่างจังหวัด โดยมีการทําหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อนายตําบลคนเดียวนั้น สัญญาค้ำประกันย่อมมีผล สมบูรณ์ใช้บังคับกันได้ตามมาตรา 680 วรรคสอง เพราะสัญญาค้ำประกันนั้นเพียงแต่ลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกัน เพียงฝ่ายเดียวก็สามารถใช้เป็นหลักฐานฟ้องร้องกันได้แล้ว ดังนั้น เมื่อหนี้ถึงกําหนด นายกรุงเทพลูกหนี้ชําระหนี้ ไม่ได้ นายต่างจังหวัดย่อมสามารถเรียกให้นายตําบลชําระหนี้ได้ตามมาตรา 686

แต่อย่างไรก็ดี แม้ว่าหนี้ที่นายกรุงเทพกู้จากนายต่างจังหวัดนั้นจะมีจํานวน 50 ล้านบาท แต่ นายตําบลได้ตกลงค้ําประกันโดยมีการจํากัดความรับผิดไว้เพียง 30 ล้านบาท ตามมาตรา 680 และมาตรา 683 ดังนั้น นายตําบลจึงต้องรับผิดต่อนายต่างจังหวัดเพียง 30 ล้านบาทเท่านั้น และเมื่อนายตําบลได้ยอมชําระหนี้ ตามสัญญา 30 ล้านบาทแล้ว ส่วนที่เหลือนายต่างจังหวัดจะบังคับเอาจากนายตําบลอีกไม่ได้ จะต้องไปบังคับ เอาจากนายกรุงเทพลูกหนี้ เพราะตามมาตรา 685 ได้กําหนดไว้ว่า เมื่อมีการบังคับตามสัญญาค้ําประกันแล้ว หนี้ ยังเหลืออยู่เท่าใด ลูกหนี้จะต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ในส่วนที่เหลือนั้น

สรุป

ข้อต่อสู้ของนายตําบลรับฟังได้ และเงินส่วนที่เหลืออีก 20 ล้านบาท นายต่างจังหวัด จะต้องไปบังคับเอาจากนายกรุงเทพลูกหนี้

 

ข้อ 2. นางปลากู้เงินนายนก 5 ล้านบาท มีหลักฐานถูกต้อง และมีนายเต่านําโฉนดที่ดินของนายเต่ามาทําสัญญาจํานองเป็นประกันในหนี้เงินกู้รายนี้ เมื่อทําสัญญาจํานองเสร็จ นายเต่าต้องการสร้างคอนโด เนื่องจากที่ดินของนายเต่ามีโครงการรถไฟฟ้าแล่นผ่าน นายเต่าจึงนําโฉนดที่ดินแปลงดังกล่าวไปขอ กู้เงินจากนายแสงเป็นเงิน 10 ล้านบาท โดยได้ทําสัญญาจํานอง หลังจากการจดทะเบียนครั้งแรก 30 วัน แต่หนี้เงินกู้ 10 ล้านบาท มีกําหนดครบชําระก่อนหนี้เงินกู้ 5 ล้านบาท 3 เดือน นายนกจึง มาขอคําแนะนําจากนักศึกษา ดังนี้

1 การจดทะเบียนจํานองในครั้งที่ 2 ถูกต้องหรือไม่ มีข้อกฎหมายอย่างไร

2 นายนกจะมีสิทธิในการได้รับการชําระหนี้อย่างไร จงอธิบาย

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 702 “อันว่าจํานองนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้จํานอง เอาทรัพย์สินตราไว้ แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้รับจํานองเป็นประกันการชําระหนี้ โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจํานอง

ผู้รับจํานองชอบที่จะได้รับชําระหนี้จากทรัพย์สินที่จํานองก่อนเจ้าหนี้สามัญ มิพักต้องพิเคราะห์ ว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะได้โอนไปยังบุคคลภายนอกแล้วหรือหาไม่”

มาตรา 705 “การจํานองทรัพย์สินนั้น นอกจากผู้เป็นเจ้าของในขณะนั้นแล้ว ท่านว่าใครอื่น จะจํานองหาได้ไม่”

มาตรา 709 “บุคคลคนหนึ่งจะจํานองทรัพย์สินของตนไว้เพื่อประกันหนี้อันบุคคลอื่นจะต้อง ชําระก็ให้ทําได้”

มาตรา 712 “ถึงแม้ว่ามีข้อสัญญาเป็นอย่างอื่นก็ตาม ทรัพย์สินซึ่งจํานองไว้แก่บุคคลคนหนึ่ง นั้น ท่านว่าจะเอาไปจํานองแก่บุคคลอีกคนหนึ่งในระหว่างเวลาที่สัญญาก่อนยังมีอายุอยู่ก็ได้”

มาตรา 714 “อันสัญญาจํานองนั้น ท่านว่าต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่”

มาตรา 730 “เมื่อทรัพย์สินอันหนึ่งอันเดียวได้จํานองแก่ผู้รับจํานองหลายคนด้วยกัน ท่านให้ ถือลําดับผู้รับจํานองเรียงตามวันและเวลาจดทะเบียน และผู้รับจํานองคนก่อนจักได้รับใช้หนี้ก่อนผู้รับจํานองคนหลัง”

มาตรา 731 “อันผู้รับจํานองคนหลังจะบังคับตามสิทธิของตนให้เสียหายแก่ผู้รับจํานองคน ก่อนนั้น ท่านว่าหาอาจทําได้ไม่”

มาตรา 732 “ทรัพย์สินซึ่งจํานองขายทอดตลาดได้เงินเป็นจํานวนสุทธิเท่าใด ท่านให้จัดใช้แก่ ผู้รับจํานองเรียงตามลําดับ และถ้ายังมีเงินเหลืออยู่อีก ก็ให้ส่งมอบแก่ผู้จํานอง”

วินิจฉัย

ในเรื่องสัญญาจํานองนั้นตามมาตรา 712 ได้บัญญัติไว้ว่า แม้เจ้าของทรัพย์สินจะได้นําทรัพย์สิน ไปจํานองไว้กับบุคคลหนึ่งแล้ว เจ้าของทรัพย์สินก็มีสิทธินําทรัพย์สินนั้นไปจํานองกับบุคคลอื่นอีกได้ แม้จะมีข้อสัญญา ห้ามไม่ให้นําทรัพย์สินไปจํานองอีกก็ตาม แต่การบังคับจํานองต้องเป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 730 – 732 คือ ผู้รับจํานองคนก่อนย่อมมีสิทธิได้รับชําระหนี้ก่อนผู้รับจํานองคนหลัง โดยถือเอาวันและเวลาจดทะเบียนจํานอง ก่อนหลังเป็นเกณฑ์ และผู้รับจํานองคนหลังจะบังคับจํานองให้เสียหายแก่ผู้รับจํานองคนก่อนไม่ได้

กรณีตามอุทาหรณ์ ข้าพเจ้าจะให้คําแนะนําแก่นายนก ดังนี้

1 การจดทะเบียนจํานองในครั้งที่ 2 ถูกต้องหรือไม่ มีข้อกฎหมายอย่างไร เห็นว่า การที่ นายเต่านําโฉนดที่ดินของนายเต่ามาทําสัญญาจํานองเป็นประกันหนี้เงินกู้ระหว่างนายปลาและนายนกนั้น สัญญาจํานองย่อมมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับกันได้ตามมาตรา 702, 705, 709 และ 714 และการที่นายเต่าต้องการ สร้างคอนโดจึงนําโฉนดที่ดินแปลงดังกล่าวไปขอกู้เงินจากนายแสง และได้ทําสัญญาจํานองเป็นประกันเงินกู้กับ นายแสงอีกนั้นนายเต่าก็สามารถกระทําได้ตามมาตรา 712 ที่กําหนดว่า ทรัพย์สินซึ่งจํานองไว้แก่บุคคลคนหนึ่งนั้น จะเอาไปจํานองแก่บุคคลอีกคนหนึ่งในระหว่างเวลาที่สัญญาก่อนยังมีอายุอยู่ก็ได้ ดังนั้นสัญญาจํานองระหว่าง นายเต่าและนายแสงจึงมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับกันได้ตามมาตรา 702 และมาตรา 714 ประกอบมาตรา 712

2 นายนกจะมีสิทธิได้รับชําระหนี้อย่างไร เห็นว่า เมื่อเป็นกรณีที่มีผู้รับจํานองหลายราย (จํานองซ้อน) ตามมาตรา 712 การบังคับจํานองจึงต้องเป็นไปตามมาตรา 730 – 732 คือ นายนกผู้รับจํานองรายแรก มีสิทธิได้รับชําระหนี้ก่อนนายแสงผู้รับจํานองรายหลัง (มาตรา 730, 732) และนายแสงจะบังคับตามสิทธิของตน ให้เสียหายแก่นายนกไม่ได้ แม้ว่าหนี้เงินกู้ระหว่างนายเต่ากับนายแสงจะถึงกําหนดชําระก่อนก็ตาม (มาตรา 731)

สรุป

ข้าพเจ้าจะให้คําแนะนําแก่นายนก ดังนี้

1 การจดทะเบียนจํานองในครั้งที่ 2 ถูกต้องสมบูรณ์

2  นายนกจะมีสิทธิได้รับชําระหนี้ก่อนนายแสง

 

ข้อ 3. นางดอกไม้เป็นหนี้นายตึก 5 แสนบาท มีหลักฐานถูกต้อง ขณะเดียวกันได้นําทองรูปพรรณจากสุโขทัยมามอบให้นายตึกเพื่อเป็นประกันการชําระหนี้โดยมิได้มีการทําหลักฐานใด ๆ ภริยานายตึกเห็น ทองรูปพรรณแล้วอยากได้ จึงขอให้นายตึกทําสัญญากับนางดอกไม้ว่า หากนางดอกไม้ชําระหนี้ไม่ได้ ขอให้ทองคําเป็นการใช้หนี้แทน โดยมีการลงลายมือชื่อทั้ง 2 คน อยากทราบว่าสัญญาดังกล่าวมีผลบังคับได้หรือไม่ จงอธิบายพร้อมหลักกฎหมาย

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 747 “อันว่าจํานํานั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าผู้จํานํา ส่งมอบสังหาริมทรัพย์ สิ่งหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้รับจํานํา เพื่อเป็นประกันการชําระหนี้”

มาตรา 756 “การที่จะตกลงกันไว้เสียแต่ก่อนเวลาหนี้ถึงกําหนดชําระเป็นข้อความอย่างใด อย่างหนึ่งว่า ถ้าไม่ชําระหนี้ ให้ผู้รับจํานําเข้าเป็นเจ้าของทรัพย์สินจํานํา หรือให้จัดการแก่ทรัพย์สินนั้นเป็น ประการอื่น นอกจากตามบทบัญญัติทั้งหลายว่าด้วยการบังคับจํานํานั้นไซร้ ข้อตกลงเช่นนั้น ท่านว่าไม่สมบูรณ์”

วินิจฉัย

ในเรื่องสัญญาจํานํานั้น บทบัญญัติมาตรา 747 มิได้กําหนดให้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือ ทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แต่อย่างใด เพียงแต่มีการส่งมอบสังหาริมทรัพย์ที่ต้องการจํานํา สัญญาจํานําก็สมบูรณ์แล้ว

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นางดอกไม้เป็นหนี้นายตึก และได้นําทองรูปพรรณจากสุโขทัยมามอบ ให้นายตึกเพื่อเป็นประกันการชําระหนี้นั้น แม้จะมิได้มีการทําหลักฐานใด ๆ ไว้ แต่ตามกฎหมายถือว่าเมื่อได้มีการ ส่งมอบสังหาริมทรัพย์เพื่อเป็นหลักประกันการชําระหนี้แล้ว ย่อมก่อให้เกิดสัญญาจํานําถูกต้องและมีผลบังคับกันได้ ตามมาตรา 747

ส่วนกรณีที่นายตึกขอทําสัญญากับนางดอกไม้ว่า หากนางดอกไม้ชําระหนี้ไม่ได้ ขอให้ทองคํา เป็นการใช้หนี้แทนนั้น แม้ว่าจะมีการลงลายมือชื่อของทั้ง 2 ฝ่าย แต่ก็เป็นข้อตกลงที่ขัดต่อกฎหมาย ต้องห้ามตาม มาตรา 756 เพราะเป็นการตกลงกันล่วงหน้าระหว่างผู้รับจํานํากับผู้จํานํา ก่อนเวลาที่หนี้ถึงกําหนดชําระว่า ถ้าไม่ชําระหนี้ให้ผู้รับจํานําเข้าเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่จํานํานั้นได้ ข้อตกลงเช่นนี้จึงไม่สมบูรณ์ตกเป็นโมฆะ

สรุป

สัญญาดังกล่าวมีผลบังคับได้ แต่ข้อตกลงที่ว่า หากนางดอกไม้ชําระหนี้ไม่ได้ ขอให้ ทองคําเป็นการใช้หนี้แทนนั้นไม่สมบูรณ์ตกเป็นโมฆะ

Advertisement