การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2555
ข้อสอบกระบวนวิชา HIS 1201 พื้นฐานวัฒนธรรมไทย
คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)
1. ข้อใดไม่ใช่วัฒนธรรมอินเดียที่รัฐโบราณในประเทศไทยรับเข้ามา
(1) ตัวอักษรปัลลวะ
(2) ภาษาบาลี
(3) ศิลปกรรม
(4) ศาสนาคริสต์
ตอบ 4 หน้า 11 -13 วัฒนธรรมอินเดียที่รัฐโบราณในประเทศไทยรับเข้ามาได้แก่
1. ด้านศาสนา เช่น ศาสนาพุทธและพราหมณ์
2. ด้านภาษาและวรรณคดี เช่น ตัวอักษรปัลลวะ อักษรเทวนาศรี ภาษาบาลี-สันสกฤต ฯลฯ
3. ด้านการปกครอง เช่น ระบบเทวราชา และกฎหมายธรรมศาสตร์
4. ด้านศิลปกรรม เช่น รูปแบบทางสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรม
2. ข้อใดคือลักษณะสำคัญซองแคว้นศรีวิชัย
(1) นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน
(2) ใช้กลองมโหระทึก
(3) ทาฟันสีดำ
(4) นับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
ตอบ 1 หน้า 15 แคว้นศรีวิชัย เจริญขึ้นตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 – 18 ในบริเวณที่เป็น จังหวัดสุราษฎร์ธานีและนครศรีธรรมราชในปัจจุบัน โดยมีฐานะเป็นศูนย์กลางทางการค้า ที่สำคัญที่สุดในช่วงเวลานั้น ทำหน้าที่เป็นคนกลางติดต่อระหว่างอินเดียและจีน จึงทำให้ รับวัฒนธรรมอินเดียเอาไว้หลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพุทธศาสนานิกายมหายาน เจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก ส่วนศาสนาฮินดูก็มีผู้นับถือเช่นกัน
3. “แคว้นเสียม” คือชื่อที่จีนใช้เรียกแว่นแคว้นใด
(1) ละโว้
(2) สุพรรณภูมิ
(3) เชลียง
(4) ทวารวดี
ตอบ 2 หน้า 18 แคว้นสุพรรณภูมิ หรือที่จีนเรียกว่า “แคว้นเสียม” ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่นํ้า เจ้าพระยาในบริเวณที่เป็นแคว้นนครชัยศรีแต่เดิม โดยมีศูนย์กลางสำคัญอยู่ที่เมืองสุพรรณบุรี เมืองแพรกศรีราชา (สรรคบุรี) เพชรบุรี และราชบุรี
4. แคว้นเงินยางเชียงแสน สถาปนาขึ้นโดยราชวงศ์ใด
(1) ลาวจก (2) ศรีนาวนำถม (3) พระร่วง (4) อู่ทอง
ตอบ 1 หน้า 20 แคว้นเงินยางเชียงแสน หรือหิรัญนครเงินยาง สถาปนาขึ้นโดยราชวงศ์ลาวจกในพุทธศตวรรษที่ 17 ซึ่งในสมัยของพระยาเจื๋อง ขอบข่ายของแคว้นเงินยางได้ขยายขึ้นไป ถึงสิบสองปันนา หลวงพระบาง และเวียงจันทน์ต่อมาลูกหลานของพระยาเจื๋องได้ปกครอง อีก 4 – 5 คน ก็ถึงสมัยของพระยามังราย
5. พระนามเดิมของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์คือข้อใด
(1) พ่อขุนรามคำแหง (2) พ่อขุนบางกลางหาว (3) พ่อขุนผาเมือง (4) พ่อขุนศรีนาวนำถม
ตอบ 2 หน้า 23, (คำบรรยาย) หลักฐานสุโขทัยเท่าที่มีปรากฏ ได้กล่าวถึงกษัตริย์พระองศ์แรกของกรุงสุโขทัย คือ พ่อขุนศรีนาวนำถม ซึ่งเป็นพระราชบิดาของพ่อขุนผาเมือง ผู้ปกครองเมืองราด ส่วนกษัตริย์สุโขทัยพระองศ์ต่อมา คือ พ่อขุนครีอินทราทิตย์ หรือมีพ6ระนามเดิมว่า พ่อขุนบางกลางหาว ซึ่งเป็นพระสหายของพ่อขุนผาเมือง
6. แว่นแคว้นใดต่อไปนี้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับลังกามากที่สุด
(1) ล้านนา (2) นครศรีธรรมราช (3) สุโขทัย (4) อยุธยา
ตอบ 2 หน้า 25 แคว้นศรีธรรมราช หรือนครศรีธรรมราช พัฒนาไปจากแคว้นศรีวิชัย ภายหลังที่ แคว้นศรีวิชัยเสื่อมอำนาจไปแล้ว โดยแคว้นศรีธรรมราชจะมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับลังกา มากที่สุด ซึ่งจะเห็นได้จากการที่พุทธศาสนาเถรวาทจากลังกาเข้ามามีอิทธิพลแทนที่พุทธศาสนามหายานของศรีวิชัย
7. สมัยกษัตริย์พระองค์ใดของสุโขทัยที่มีความรุ่งเรืองทั้งทางศาสนาและวรรณกรรม
(1) พ่อขุนรามคำแหง (2) พ่อขุนศรีนาวนำถม (3) พระมหาธรรมราชาลิไทย (4) พระยางั่วนำถม
ตอบ 3 หน้า 27, 105, 584 ในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทย สุโขทัยมีความรุ่งเรืองทางพุทธศาสนา และวรรณกรรมเป็นอย่างมาก เนื่องจากทรงเป็นกษัตริย์ไทยที่ได้รับยกย่องว่าเป็นจอมปราชญ์ ในทางพระพุทธศาสนาพระองค์แรกของไทย นอกจากนี้ยังทรงแต่งคัมภีร์ทางพุทธศาสนาเรื่อง ไตรภูมิพระร่วงหรือไตรภูมิกถา และทรงเป็นผู้อุปถัมภ์พระสุมณเถระไปเผยแผ่พุทธศาสนา ในอาณาจักรล้านนา
8. สมัยใดถือว่าเป็นยุคทองของอาณาจักรล้านนา
(1) พระยามังราย (2) พระยากือนา (3) พระยาติโลกราช (4) พระยาสามฝั่งแกน
ตอบ 3 หน้า 32 สมัยของพระยาติโลกราช (พ.ศ. 1984 – 2030) ถือได้ว่าเป็นยุคทองของอาณาจักรล้านนา เพราะสามารถฟื้นฟูอำนาจของล้านนาขึ้นมาได้อีกครั้งหนึ่ง นอกจากนี้ พระยาติโลกราชยังเป็นผู้มีความสามารถในการรบและขยันรบ จึงมีนโยบายขยายอำนาจ ออกไปอย่างกว้างขวาง เช่น ทางเหนือขึ้นไปถึงเขตไทยใหญ่ คือ เมืองเชียงรุ้ง ส่วนทางใต้ ลงมาถึงเมืองแพร่และน่าน
9. ข้อใดหมายถึง “มหาชนสมมุติ”
(1) กษัตริย์เป็นองค์อวตารของเทพเจ้า
(2) กษัตริย์ คือ บุคคลที่มีคุณธรรมที่ได้รับการเลือกสรรจากประชาชน
(3) กษัตริย์ คือ ผู้สืบเชื้อสายจากพระพุทธเจ้า (4) กษัตริย์เป็นผู้ที่สามารถขยายอำนาจทั้ง 8 ทิศ
ตอบ 2 หน้า 92 ผู้นำที่ดีควรเป็น “มหาชนสมมุติ” เป็นหลักการของพุทธศาสนาที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก ตอนอัคคัญสูตร ซึ่งได้กล่าวถึงผู้นำที่ดีว่า ผู้นำหรือกษัตริย์ควรเป็นมนุษย์เหมือน ประชาชนมิใช่เทพเจ้า โดยต้องเป็นบุคคลที่มีคุณธรรมสูงกว่าผู้อื่น รวมทั้งได้รับการยอมรับ และเลือกสรรจากประชาชน จึงจะเรียกว่าเป็นมหาชนสมมุติ
10. ข้อใดหมายถึงการปกครองแบบนครรัฐ
(1) เมืองหลวงสามารถควบคุมส่วนภูมิภาคได้อย่างแท้จริง (2) การรวมศูนย์อำนาจมีประสิทธิภาพ
(3) เมืองลูกหลวงก่อการกบฏหลายครั้งในช่วงต้นอยุธยา (4) เมืองส่วนภูมิภาคไม่ต้องการแยกตัวเป็นอิสระ
ตอบ 3 หน้า 104 7- 105, 160, (คำบรรยาย) การปกครองแบบนครรัฐ (City State) คือ การที่เมือง หรือนครต่าง ๆ ในส่วนภูมิภาคมีอิสระดุจเป็นรัฐของตัวเอง แว่นแคว้นจึงรวมตัวกันแต่เพียงหลวม ๆ ในลักษณะสมาพันธรัฐ ส่งผลให้การรวมศูนย์อำนาจไม่มีประสิทธิภาพ เพราะเมืองหลวง ไม่สามารถควบคุมเมืองส่วนภูมิภาคได้อย่างแท้จริง ดังนั้นเมื่อโอกาสอำนวย เจ้าเมืองชั้นนอก (เมืองลูกหลวง) อาจแยกตัวเป็นอิสระ หรือเข้ามาแย่งชิงอำนาจที่เมืองหลวง เช่น กรณีที่พญาลิไทย เจ้าเมืองศรีสัชนาลัยมาชิงราชย์ที่สุโขทัย หรือการที่เมืองลูกหลวงก่อกบฏหลายครั้งในล้านนา และอยุธยาตอนต้น