การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2554
ข้อสอบกระบวนวิชา HIS1201 พื้นฐานวัฒนธรรมไทย
คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)
1. คำว่า “เสียนหลอ” ที่ปรากฏในเอกสารจีนนั้นหมายถึงอาณาจักรใด
1. ละโว้
2. สุพรรณภูมิ
3. กรุงศรีอยุธยา
4. ทวารวดี
ตอบ 3 หน้า 23 ในช่วง พ.ศ. 1884-1910 จดหมายเหตุราชวงศ์หมิงของจีนได้ระบุถึงการที่หลอหูหรือละโว้ ได้รวมเสียนหรือสุพรรณภูมิเข้าไว้ในอำนาจ จีนจึงเรียกแคว้นที่รวมกันนี้ว่า “เสียนหลอ” ซึ่งเป็นชื่อเรียกของอาณาจักรอยุธยาในเวลาต่อมา ทั้งนี้การสร้างกรุงศรรีอยุธยาขึ้นใน พ.ศ.1893 ก็เพื่อเป็นศูนย์กลางแห่งใหม่ของเสียนหลอที่มาจากการรวมตัวของสองแคว้นดัง กล่าวนั่นเอง
2. กษัตริย์พระองค์แรกของกรุงสุโขทัยคือใคร
1. พ่อขุนศรีนาวนำถม
2. พ่อขุนผาเมือง
3. พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
4. พ่อขุนรามคำแหง
ตอบ 1 หน้า 23, 25-26 ในช่วง 200 ปี ของกรุงสุโขทัย มีพระมหากษัตริย์ปกครองตามข้อสันนิษฐานของนักวิชาการดังนี้ 1. พ่อขุนศรีนาวนำถม ถือเป็นกษัตริย์พระองค์แรกของกรุงสุโขทัย 2. พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ 3. พ่อขุนบานเมือง 4. พ่อขุนรามคำแหง 5. พระยาไสสงคราม 6. พญาเลอไทย 7.พระยางั่วนำถม 8. พญาลิไทย 9. พระมหาธรรมราชาที่ 2 10. พระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสยลือไทย) 11. พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล)
3. กษัตริย์พระองค์ใดที่เชื่อว่าสืบเชื้อสายมาจากลวจังคราช
1. พญามังราย
2. พ่อขุนผาเมือง
3. พ่อขุนรามคำแหง
4. พระเจ้าอู่ทอง
ตอบ 1 หน้า 81, 90 ตำนานของลานนากล่าวถึงต้นราชวงศ์มังรายว่า พญามังรายสืบเชื้อสายมาจากลวจังคราช ผู้มีกำเนิดจากโอปาติกกะ และเสด็จลงมาจากสวรรค์ทางบันไดเงิน นอกจากนี้พญามังรายยังได้ครอบครองเครื่องราชูปโภคที่สืบทอดมาจากจังคราช เช่น ดาบไชย หอกและมีดสะหรีกัญไชย เป็นต้น
4. ข้อใดไม่ได้หมายถึงการปกครองแบบพ่อปกครองลูก
1. เป็นแนวทางการปกครองที่มีพื้นฐานจากการปกครองครอบครัว
2. เป็นลักษณะการปกครองที่ปรากฏในชุมชนที่ยังไม่มีระบบราชการที่เป็นแบบแผน
3. กษัตริย์กับประชาชนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน
4. เป็นระบบการปกครองที่รับมาจากอินเดีย
ตอบ 4 หน้า 90-91 การปกครองแบบพ่อปกครองลูก (Patriarchal Monarchy) เป็นแนวทางการปกครองที่มีพื้นฐานมาจากการปกครองครอบครัว โดยมีลักษณะสำคัญคือ กษัตริย์กับประชาชนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน และประชาชนสามารถร้องทุกข์ได้โดยตรงต่อกษัตริย์ จึงเป็นลักษณะการปกครองที่ปรากฏทั่วไปในชุมชนที่ยังไม่สามารถพัฒนาระบบ ราชการที่เป็นแบบแผนและเป็นทางการขึ้นได้
5. ข้อใดไม่ใช่ความหมายของ “จักรพรรดิราช”
1. กษัตริย์แห่งจักรวาล
2. พระราชาที่ยิ่งใหญ่กว่าพระราชาทั้งปวง
3. กษัตริย์
4. ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 93 พระไตรปิฏกในส่วนสุตตันตปิฏก จักกวัติสูตร ได้ระบุว่า ผู้นำที่มีคุณสมบัติเป็นเลิศจะได้รับการยกย่องว่าเป็นพระจักรพรรดิราชหรือ จักรวาทิน ซึ่งหมายถึง กษัตริย์แห่งจักรวาลหรือพระราชาที่ยิ่งใหญ่กว่าพระราชาทั้งปวง โดย คุณสมบัติของผู้ที่จะได้เป็นพระจักรพรรดิราชก็คือ ต้องเป็นผู้ที่ได้ปฏิบัติธรรมสั่งสมบารมีมาจนเต็มเปี่ยม
6. ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงหลักที่ 1 ปัจจุบันอยู่ที่ใด
1. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง
2. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
3. หอสมุดแห่งชาติ
4. เนินปราสาท ในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
ตอบ 2 หน้า 89 ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแห่งมหาราชหลักที่ 1 จารึกด้วยอักษรไทย ภาษาไทย เมื่อพุทธศักราช 18356 มีขนาดกว้า 35 ซม. สูง 111 ซม. และหนา 35 ซม. เดิมอยู่ที่เนินปราสาทเมืองเก่า จังหวัดสุโขทัย ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
7. ข้อใดคืออุดมการณ์การปกครองแบบเดิมของชนชาติไทย
1. เป็นนักรบที่มีความสามารถ
2. ผู้นำมีอำนาจสัมพันธ์กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์
3. การปกครองแบบพ่อปกครองลูก
4. ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 90-92 อุดมการณ์การปกครองตามแบบเดิมของชนชาติไทย มีลักษณะสำคัญที่สรุปได้ดังนี้
1. ผู้นำต้องเป็นนักรบที่มีความสามารถ
2. ผู้นำมีอำนาจสัมพันธ์กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์
3. กษัตริย์ใช้การปกครองแบบพ่อปกครองลูก
4. กษัตริย์ต้องปกครองตามระบบคุณธรรม ซึ่งเป็นที่ยอมรับของสังคมไทยสมัยพุทธศตวรรษที่ 19
5. ฐานะของผู้ปกครองยังไม่แตกต่างหรืออยู่ห่างจากราษฎรมากนัก
8. ข้อใดคือหลักธรรมที่สำคัญสำหรับผู้ปกครอง
1. อิทธิบาท 4
2. ทศพิธราชธรรม
3. กาลามสูตร
4. สังคหวัตถุ 4
ตอบ 2 หน้า 94 คัมภีร์ธรรมศาสตร์ ซึ่งเชื่อว่าแพร่หลายขึ้นมาถึงเขตสุโขทัยด้วย ได้กล่าวถึงหลักธรรมที่สำคัญสำหรับผู้ปกครอง หรือหลักธรรมสำหรับพระมหากษัตริย์ว่าประกอบไปด้วยหลักธรรม 10 ประการ หรือเรียกว่า “ทศพิธราชธรรม” และหลักธรรม 4 ประการ หรือเรียกว่า “ราชจรรยานุวัตร”
9. ไตรภูมิพระร่วงเป็นที่เชื่อกันว่าใครเป็นผู้พระราชนิพนธ์
1. พ่อขุนรามคำแหง
2. พระมหาธรรมราชาลิไทย
3. พระเจ้าอู่ทอง
4. รัชกาลที่ 4
ตอบ 2 หน้า 96, 105, 584 พระมหาธรรมราชาลิไทยทรงได้รับการยกย่องว่าเป็นจอม ปราชญ์ในทางพระพุทธศาสนา พระองค์แรกของประเทศไทย เนื่องจากทรงเรียนรู้พระไตรปิฎกอย่างแตกฉานจนสามารถพระราชนิพนธ์หนังสือที่ เป็นคัมภีร์ทางพุทธศาสนาเรื่องไตรภูมิพระร่วงหรือไตรภูมิกถาซึ่งถือเป็นหลัก ฐานที่ทำให้รู้ถึงความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในกรุงสุโขทัยได้เป็น อย่างดี
10. ข้อใดคือลักษณะสถาบันกษัตริย์ของล้านนาที่แตกต่างจากสุโขทัย
1. ไม่เน้นความสูงส่งของจักรพรรดิราช
2. กษัตริย์ใช้หลักธรรมราชา
3. นำอุดมการณ์เทวราชมาใช้
4. ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 98 ลักษณะของสถาบันกษัตริย์ล้านนาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 จะมีส่วนที่แตกต่างจากสถาบันกษัตริย์สุโขทัย คือ ไม่มีการเน้นความสูงส่งของพระจักรพรรดิราช หรือไม่มีการอ้างบทบาทของผู้ปกครองดุจดั่งพระโพธิสัตว์ และไม่มีการใช้ราชาศัพท์กับกษัตริย์เหมือนดังทางสุโขทัย