การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2556
ข้อสอบกระบวนวิชา HIS 1201 พื้นฐานวัฒนธรรมไทย
คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)
1. ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่ทำให้ชุมชนระดับหมู่บ้านพัฒนาเป็นชุมชนเมือง
(1) มีการเพาะปลูกข้าว
(2) การค้าขายระหว่างชุมชน
(3) มีแหล่งนํ้าที่เพียงพอต่อการอุปโภคและบริโภค
(4) การนับถือพุทธศาสนา
ตอบ 4 หน้า 8-9 ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ชุมชนระดับหมู่บ้านพัฒนาเป็นชุมชนเมืองได้ มีดังนี้
1. มีแหล่งเพาะปลูกข้าว 2. มีแหล่งน้ำที่เพียงพอต่อการอุปโภคและบริโภค
3. มีการค้าขายระหว่างชุมชน
2. ข้อใดกล่าวถึงแคว้นศรีวิชัยได้ถูกต้อง
(1) ประชาชนส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาท
(2) อาณาเขตของศรีวิชัยครอบคลุมคาบสมุทรมลายูและเกาะสุมาตรา
(3) ประชากรส่วนใหญ่เป็นพวกนิกรอยด์
(4) เป็นศูนย์กลางพุทธศาสนานิกายเถรวาทที่สำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ตอบ 2 หน้า 15 ลักษณะสำคัญของแคว้นศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 12 – 18) มีดังนี้ 1. เจริญขึ้นที่ จ.สุราษฎร์ธานีและนครศรีธรรมราช ต่อมามีอาณาเขตครอบคลุมไปตลอดคาบสมุทรมลายู และเกาะสุมาตรา 2. ประชากรส่วนใหญ่เป็นพวกมาลาโยโพลีเนเชียน 3. นับถือพุทธศาสนา นิกายมหายานเป็นส่วนใหญ่ ส่วนศาสนาฮินดูก็มีผู้นับถือเช่นกัน 4. เป็นศูนย์กลางทางการค้า ที่สำคัญที่สุดในช่วงเวลานี้โดยเป็นคนกลางติดต่อระหว่างอินเดียและจีน
3. ข้อใดไม่ใช่แว่นแคว้นโบราณที่อยู่ในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย
(1) แคว้นเชลียง
(2) แคว้นหริภุญไชย (3) แคว้นหิรัญนครเงินยาง (4) แคว้นโยนกเชียงแสน
ตอบ 1 หน้า 14, 18, 20, 24 แว่นแคว้นโบราณที่อยู่ในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยในสมัยพุทธศตวรรษที่ 16 – 18 มีดังนี้ 1. แคว้นหริภุญไชย 2. แคว้นโยนกเชียงแสน 3. แคว้นเงินยางเชียงแสน หรือหิรัญนครเงินยาง 4. แคว้นพะเยา (ส่วนแคว้นเชลียง เจริญขึ้นมาในเขตลุ่มน้ำยมราวพุทธศตวรรษที่ 17 บริเวณ จ.สุโขทัยในเขตภาคกลางตอนบน)
4. ราชวงศ์กษัตริย์ที่ปกครองแคว้นศรีธรรมราชคือราชวงศ์ใด
(1) ปัทมวงศ์ (2) มังราย (3) ศรีนาวนำถม (4) สิงหนวัติ
ตอบ 1 หน้า 25 แคว้นศรีธรรมราช หรือนครศรีธรรมราช พัฒนาไปจากแคว้นศรีวิชัยภายหลังที่แคว้นศรีวิชัยเสื่อมอำนาจไปแล้ว โดยมีกษัตริย์ราชวงศ์ปัทมวงศ์หรือปทุมวงศ์ เข้ามามีอำนาจ และปกครองแคว้นศรีธรรมราชในตอนกลางพุทธศตวรรษที่ 18 ทั้งนี้แคว้นศรีธรรมราชจะมี ความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับลังกามากที่สุด ซึ่งจะเห็นได้จากการที่พุทธศาสนาเถรวาทจากลังกา เข้ามามีอิทธิพลแทนที่พุทธศาสนามหายานของศรีวิชัย
5. ยุคทองของแคว้นล้านนาตรงกับสมัยกษัตริย์องค์ใด
(1) พระยากือนา (2) พระยาติโลกราช (3) พระยาแก้ว (4) พระยางำเมือง
ตอบ 2 หน้า 32 สมัยของพระยาติโลกราช (พ.ศ. 198*1 – 2030) ถือได้ว่าเป็นยุคทองของอาณาจักร ล้านนา เพราะสามารถฟื้นฟูอำนาจของล้านนาขึ้นมาได้อีกครั้งหนึ่ง นอกจากนี้พระยาติโลกราชยังเป็นผู้มีความสามารถในการรบและขยับรบ จึงมีนโยบายขยายอำนาจออกไปอย่างกว้างขวาง เช่น ทางเหนือขึ้นไปถึงเขตไทยใหญ่ คือ เมืองเชียงรุ้ง ส่วนทางใต้ลงมาถึงเมืองแพร่และน่าน
6. ข้อใดไม่ใช่อุดมการณ์การปกครองตามแบบเดิมของชนชาติไทย
(1) ผู้นำต้องเป็นนักรบที่มีความสามารถ (2) ผู้นำมีความสัมพันธ์กับอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์
(3) ผู้นำต้องปกครองตามระบบคุณธรรม ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันในสมัยนั้น
(4) ผู้นำใช้แนวทางการปกครองที่มีพื้นฐานมาจากการนับถือเทพเจ้าในศาสนาฮินดู
ตอบ 4 หน้า 90 – 92 อุดมการณ์การปกครองตามแบบเดิมของชนชาติไทย มีลักษณะสำคัญที่สรุปได้ดังนี้
1. กษัตริย์หรือผู้นำต้องเป็นนักรบที่มีความสามารถ 2. กษัตริย์หรือผู้นำมีความสัมพันธ์กับ อำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ 3. กษัตริย์หรือผู้นำใช้การปกครองแบบพ่อปกครองลูก 4. กษัตริย์หรือ ผู้นำต้องปกครองตามระบบคุณธรรม ซึ่งเป็นที่ยอมรับของสังคมในสมัยพุทธศตวรรษที่ 19
5. ฐานะของผู้ปกครองยังไม่แตกต่างหรืออยู่ห่างจากราษฎรมากนัก
7. ข้อใดกล่าวถึง “มหาชนสมมุติ” ได้ถูกต้องที่สุด
(1) เป็นมนุษย์ที่ได้รับการสรรเสริญจากคนทั่วไปให้เป็นเทพเจ้า
(2) หลักการมหาชนสมมุติปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระเวท
(3) เป็นมนุษย์ที่ได้รับการยอมรับและเลือกสรรจากประชาชนให้เป็นผู้นำ เพราะมีคุณธรรมสูงกว่าผู้อื่น
(4) เป็นผู้นำที่มีอำนาจเด็ดขาดเพราะเป็นเทพเจ้าอวตารลงมา
ตอบ 3 หน้า 92 ผู้นำที่ดีควรเป็น “มหาชนสมมุติ” เป็นหลักการของพุทธศาสนาที่ปรากฏอยู่ใน
พระไตรปิฏก ตอนอัคคัญสูตร ซึ่งได้กล่าวถึงผู้นำที่ดีว่า ผู้นำหรือกษัตริย์ควรเป็นมนุษย์เหมือน ประชาชนมิใช่เทพเจ้า โดยต้องเป็นมนุษย์ที่ได้รับการยอมรับและเลือกสรรจากประชาชน ให้เป็นผู้นำ เพราะมีคุณธรรมสูงกว่าผู้อื่น จึงจะเรียกว่าเป็นมหาชนสมมุติ
8. ข้อใดไม่ใช่ความแตกต่างของสถาบันกษัตริย์ล้านนากับสุโขทัยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20
(1) การเน้นความสูงส่งของพระจักรพรรดิราช (2) การใช้คำราชาศัพท์
(3) การอ้างบทบาทของผู้ปกครองดุจดังพระโพธิสัตว์ (4) การเน้นความสำคัญของหลักทศพิธราชธรรม
ตอบ 4 หน้า 98 ลักษณะของสถาบันกษัตริย์ล้านนาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 จะมีส่วนที่แตกต่างจาก สถาบันกษัตริย์สุโขทัย คือ ไม่มีการเน้นความสูงส่งของพระจักรพรรดิราช หรือไม่มีการอ้างบทบาท ของผู้ปกครองดุจดังพระโพธิสัตว์ และไม่มีการใช้คำราชาศัพท์กับกษัตริย์เหมือนดังทางสุโขทัย ส่วนหลักการของธรรมราชาอื่นๆ เช่น การเน้นความสำคัญของหลักทศพิธราชธรรม การทำสงครามธรรมยุทธ ฯลฯ ทางล้านนาก็ใช้คล้ายคลึงกับสุโขทัย
9. เทวดาหรือยักษ์ที่ทำหน้าที่รักษาทิศทั้ง 4 ในจักรวาล
(1) จตุมหาราชิกา (2) จตุโลกบาล (3) จตุรงคบาท (4) จตุคาม
ตอบ 2 หน้า 99, (คำบรรยาย) ในคติพราหมณ์มีความเชื่อว่า ในระบบจักรวาล (Universe or Macrocosmos) มีทิศหลักที่สำคัญอยู่ 4 ทิศ คือ ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก และ ทิศตะวันตก ซึ่งแต่ละทิศจะมีเทวดาหรือยักษ์ผู้รักษาทิศทั้ง 4 ของจักรวาลอยู่ประจำ รวมทั้งหมด 4 ตน เรียกว่า “โลกาปะละ หรือจตุโลกบาล”
10. คติการปกครองที่กษัตริย์อ้างว่าเป็นพระโพธิสัตว์หรือพระพุทธเจ้าคือคติใด
(1) พุทธราชา (2) ธรรมราช (3) เทวราช (4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
ตอบ 2 หน้า 95 – 96 สถาบันกษัตริย์สุโขทัยตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ได้เพิ่มความสูงส่ง ของคติการปกครองแบบธรรมราชาหรือธรรมราชขึ้นไปอีก โดยใช้วิธีการหนึ่งคือ กษัตริย์แสดง บทบาทในฐานะพระโพธิสัตว์หรือพระพุทธเจ้า ดังหลักฐานในจารึกสุโขทัยหลักที่ 4 ที่กล่าวถึง การเสด็จออกผนวชของสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไทย และทรงตั้งปณิธานจะเป็นพระพุทธเจ้า พาสรรพสัตว์ข้ามวัฏสงสาร
11. ข้อใดคือการปกครองแบบทหาร
(1) การปกครองแบบเผด็จการ
(2) การปกครองที่ข้าราชการทุกคนต้องออกไปรบเมื่อมีสงคราม
(3) การปกครองที่ข้าราชการและประชาชนต้องออกไปรบเมื่อมีสงคราม
(4) ทหารเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดและขึ้นมาเป็นผู้ปกครองบ้านเมือง
ตอบ 3 หน้า 102 การปกครองแบบทหาร หมายถึง ลักษณะการปกครองที่ข้าราชการและประชาชน ทุกคนต้องออกไปรบได้ยามมีศึกลงคราม ซึ่งถือเป็นประเพณีการปกครองของชุมชนไทยมาแต่ดั้งเดิม โดยมีรากฐานมาจากประชากรของชุมชนยังมีจำนวนจำกัด ไม่เพียงพอที่จะจัดแบ่งออกเป็น ทหารประจำการและพลเรือนได้
12. ข้อใดไม่ใช่เมืองประเทศราชของสุโขทัยที่ระบุไว้ในศิลาจารึกหลักที่ 1
(1) เวียงจันทน์ (2) นครศรีธรรมราช (3) เมาะตะมะ (4) เชียงใหม่
ตอบ 4 หน้า 106 ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 ได้ระบุเขตเมืองประเทศราชของสุโขทัยในสมัย พ่อขุนรามคำแหงไว้ดังนี้
1. ทิศตะวันออก ได้แก่ บริเวณฝั่งซ้ายแม่นํ้าโขง คือ เขตเวียงจันทน์ และเวียงคำ
2. ทิศใต้ ได้แก่ เขตเมืองแพรก (ชัยนาท)สุพรรณภูมิ (สุพรรณบุรี) ราชบุรี เพชรบุรีไปจนถึง นครศรีธรรมราชและฝั่งทะเลสมุทร
3. ทิศตะวันตก ได้แก่ เขตหัวเมืองมอญ คือ หงสาวดี เมาะตะมะ และตะนาวศรี
4. ทิศเหนือ ได้แก่ เขตเมืองแพร่ น่าน และชะวา (หลวงพระบาง)
13. แนวความคิดเรื่องมณฑล มาจากระบบความคืดเรื่องใด
(1) ศูนย์กลางของจักรวาล (2) พันนา (3) พุทธราชา
(4) อุดมการณ์การปกครองตามแบบเดิมของชนชาติไทย
ตอบ 1 หน้า 107 แนวความคิดเรื่องมณฑล มาจากความคิดเรื่องโครงสร้างของจักรวาลตามคติของ ศาสนาพราหมณ์และพุทธ ซึ่งเน้นในเรื่องศูนย์กลางของจักรวาล คือ เขาพระสุเมรุ และองค์ประกอบต่างๆ ที่อยู่ล้อมรอบตั้งแต่ใกล้จนห่างออกไปเป็นลำดับ ต่อมาแนวความคิดเรื่องมณฑลได้ถูก นำไปใช้ในการจัดระเทียบของราชธานีและศาสนสถาน รวมทั้งใช้วางรูปแบบความสัมพันธ์ ระหว่างเมืองศูนย์กลางและเมืองบริวารด้วย
14. ศูนย์กลางอำนาจของเขมรในบริเวณลุมแม่น้ำเจ้าพระยาคือที่ใด
(1) ละโว้ (2) สุพรรณภูมิ (3) อยุธยา (4) ราชบุรี
ตอบ 1 หน้า 15, 117 ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 16 – 18 อิทธิพลทางการเมืองและวัฒนธรรมของเขมร ได้แผ่เข้ามาในเขตลุ่มแม่นํ้าเจ้าพระยาเป็นระยะ ๆ โดยมีศูนย์กลางอำนาจของเขมรอยู่ที่เมืองละโว้ หรือลพบุรี ซึ่งได้รับการส่งเสริมให้เป็นที่มั่นสำคัญกว่าเมืองทั้งหลายในเขตภาคตะวันออกของ ลุ่มแม่นํ้าเจ้าพระยา และมีการรวมตัวกันอย่างหลวม ๆ ในทำนองสมาพันธรัฐในนามของ “กัมโพช”
15. การที่ชื่อกษัตริย์อยุธยามีคำว่า “จักรพรรดิราช” ต่อท้ายชื่อ แสดงให้เห็นคติการปกครองแบบใด
(1) พุทธราชา (2) ธรรมราชา (3) เทวราชา
(4) อุดมการณ์การปกครองตามแบบเดิมของชนชาติไทย
ตอบ 2 หน้า 120 หลักฐานที่แสดงว่าพระมหากษัตริย์อยุธยาทรงให้ความสำคัญต่อคติการปกครอง แบบธรรมราชา เช่น การประกาศว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นมหาชนสมมุติและเป็นพระโพธิสัตว์ ในกฎหมายธรรมศาสตร์ นอกจากนี้พระนามของพระมหากษัตริย์อยุธยามักจะปรากฏมีคำว่า “ผู้ทรงทศพิธราชธรรม ธรรมมิกราช หรือจักรพรรดิราช” ต่อท้ายชื่อเสมอ
16. ข้อใดหมายถึงกฎมณเฑียรบาล
(1) กฎหมายที่ใช้ลงโทษผู้กระทำความผิดทั่วไป (2) กฎหมายที่ใช้ลงโทษพระสงฆ์ที่ทำผิด
(3) กฎที่กำหนดหลักปฏิบัติที่บุคคลทั้งหลายต่างกระทำต่อพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 124 กฎหมายสำคัญที่รองรับสถานะอันสูงส่งดุจเทวะของพระมหากษัตริย์อยุธยาก็คือ “กฎมณเฑียรบาล” ที่ตราขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งถึอเป็นเอกสารฉบับแรก ที่บันทึกเกี่ยวกับสถานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์อยุธยาลงไว้เป็นลายลักษณ์ อักษร โดยมีจุดมุงหมายเพื่อกำหนดหลักปฏิบัติที่บุคคลทั้งหลายต้องกระทำต่อพระมหากษัตริย์ แสะพระราชวงศ์ จึงถือเป็นหลักฐานที่แสดงถึงการเป็นเทวราชาของกษัตริย์อยุธยาได้อย่างดี
17. ข้อใดไม่ใช่เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์
(1) พระแสงขรรค์ชัยศรี (2) พระมหาพิชัยมงกุฎ (3) ฉลองพระบาทเชิงงอน (4) พระที่นั่งอัฐทิศ
ตอบ 4 หน้า 123 – 125, 127, (คำบรรยาย) เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ หมายถึง เครื่องใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นเครื่องแสดงพระบารมี ประกอบด้วย ของ 5 สิ่ง ได้แก่
1. พระมหาพิชัยมงกุฎ คือ สัญลักษณ์ของการเป็นองศ์ประมุขของแผ่นดิน
2. พระแสงขรรค์ชัยศรี คือ สัญลักษณ์แห่งความกล้าหาญ
3. ธารพระกรชัยพฤกษ์ คือ สัญลักษณ์แห่งพระปัญญาอันยิ่งใหญ่
4. พัดวาลวิชนีและพระแส้จามรี คือ สัญลักษณ์แห่งการบันดาลความอยู่เย็นเป็นสุข ปัดเป่าผองภัยและความทุกข์ร้อนของประชาชนให้หมคสิ้นไป
5. ฉลองพระบาทเชิงงอน คือ สัญลักษณ์แห่งการทรงไว้ซึ่งพระบรมเดชานุภาพในทุกหนทุกแห่ง (ส่วนพระที่นั่งอัฐทิศ เป็นสัญลักษณ์แทนทิศทั้ง 8 ในจักรวาล ใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก)
18. พระเชษฐบิดร เป็นสัญลักษณ์ของข้อใด
(1) เทพเจ้า
(2) พระรัตนตรัย (3) พระพุทธเจ้า (4) พระมหากษัตริย์ที่สวรรคตไปแล้ว
ตอบ 4 หน้า 126, 140 ในสมัยอยุธยา พระมหากษัตริย์ทรงถือว่าอยู่ในสถานะที่สูงกว่าพระรัตนตรัย ดังหลักฐานจากพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาที่กำหนดให้ข้าราชการต้องถวายสักการะ พระเชษฐบิดรก่อนพระรัตนตรัย (พระเชษฐบิดร คือ เทวรูบของสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง และถือว่า เป็นสัญลักษณ์แทนพระมหากษัตริย์ที่สวรรคตไปแล้วทุกพระองศ์) โดยจะต้องกระทำปีละ 2 ครั้ง
19. กรมธรรมการและกรมสังฆการี ทำหน้าที่อะไร
(1) จัดเก็บภาษีประชาชน (2) ดูแลความเรียบร้อยของคณะสงฆ์
(3) พิจารณาคดีความ (4) ประกอบพิธีกรรมในราชสำนัก
ตอบ 2 หน้า 137, 151 – 152 ในสมัยอยุธยา พระมหากษัตริย์ทรงจัดตั้งองค์กรทางราชการในสังกัด กรมวัง ได้แก่ กรมธรรมการและกรมสังฆการี เป็นผู้ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลความเรียบร้อยของ คณะสงฆ์ทั่วราชอาณาจักร เป็นผู้เสนอชื่อพระเถระผู้ใหญ่เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งเป็น สมเด็จพระสังฆราชและพระราชาคณะ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่พิจารณาคดีที่พระสงฆ์เป็นคู่ความ อยู่ด้วย
20. ข้อใดไม่ใช่วิธีการเสริมสร้างอำนาจและความมั่นคงของสถาบันกษัตริย์สมัยอยุธยา
(1) การใช้พิธีกรรมทางศาสนา เพื่อเพิ่มความศักดิ์สิทธิ์ให้แก่สถาบันกษัตริย์
(2) การกำหนดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เพื่อป้องกันความปลอดภัยของพระมหากษัตริย์
(3) การสร้างความใกล้ชิดกับประชาชน
(4) การหาวิธีต่าง ๆ เพื่อลิดรอนอำนาจของเจ้านายและขุนนาง
ตอบ 3 หน้า 140 วิธีการเสริมสร้างอำนาจและความมั่นคงให้กับสถาบันกษัตริย์ในสมัยอยุธยา มีดังนี้
1. การใช้พิธีกรรมทางศาสนา เพื่อเพิ่มความศักดิ์สิทธิ์ให้แก่สถาบันกษัตริย์
2. การกำหนดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เป็นอันมาก เพื่อป้องกันความปลอดภัยของพระมหากษัตริย์
3. การกำหนดวิธีการต่าง ๆ เพื่อลิดรอนและคานอำนาจของเจ้านายและขุนนาง
21. ข้อไดไม่ใช่ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การค้าสำเภาหลวงของกษัตริย์อยุธยาประสบความสำเร็จ
(1) ผลเก็บเกี่ยวที่ได้จากนาหลวง
(2) ระบบส่วย
(3) การค้าผูกขาด
(4) การค้าในระบบบรรณาการกับจีน
ตอบ 1 หน้า 144 – 145 ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การค้าสำเภาหลวงของพระมหากษัตริย์อยุธยา ประสบความสำเร็จและได้กำไรงดงาม มีดังนี้
1. ระบบส่วย หรือสินค้าต่าง ๆ ที่รัฐเก็บจากราษฎรแทนแรงงานโดยไม่ต้องจ่ายราคา
2. การค้าผูกขาด โดยทรงกระทำผ่านองค์กรของรัฐ คือ พระคลังสินค้า
3. การค้าในระบบบรรณาการกับจีน
22. ส่วนใหญ่อยุธยาใช้นโยบายใดในการปกครองประเทศราช
(1) การปกครองทางตรง (2) การแบ่งแยกและปกครอง
(3) การปกครองทางอ้อม (4) ผนวกประเทศราชเป็นดินแดนของอยุธยาโดยตรง
ตอบ 3 หน้า 169 – 170 นโยบายของอยุธยาในการปกครองประเทศราชส่วนใหญ่จะใช้การปกครอง ทางอ้อม (Indirect Rule) คือ การให้เจ้านายดั้งเดิมของประเทศราชได้ปกครองตนเองต่อไป แตต้องส่งบรรณาการมาให้ตามกำหนดเวลา และเกณฑ์ทัพมาช่วยอยุธยาถ้าได้รับคำสั่ง ซึ่งนับเป็นนโยนายที่ผ่อนคลายความตึงเครียดของประเทศราชได้ดีกว่า และทำให้อยุธยา มีอำนาจได้ยาวนานกว่าการปกครองทางตรง
23. ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์คติการปกครองแบบใดที่เด่นชัดที่สุด
(1) ธรรมราชา (2) เทวราชา (3) คติความเชื่อดั้งเดิมของชนชาติไทย (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 183, 187 ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ลักษณะธรรมราชาเป็นอุดมการณ์หรือคติการปกครอง ที่มีความสำคัญเด่นชัดที่สุด ในขณะที่แนวทางการปกครองแบบเทวราชาจะถูกลดความสำคัญลงไป โดยมีความพยายามเพิ่มความเป็นมนุษย์ให้กับสถาบันกษัตริย์มากขึ้น และเริ่มลดสถานะ อันสูงส่งและศักดิ์สิทธิ์ดุจเทพเจ้าของพระมหากษัตริย์ลงจากแต่ก่อน
24. ในสมัยรัตนโกสินทร์ การนำกลองวินิจฉัยเภรีตั้งไว้หน้าพระราชรัง เพื่อให้ราษฎรมาตีกลองยื่นฎีกามีขึ้นในรัชกาลใด
(1) รัชกาลที่ 1 (2) รัชกาลที่ 3 (3) รัชกาลที่ 4 (4) รัชกาลที่ 5
ตอบ 2 หน้า 186 – 187 ในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้มีการรื้อฟื้นประเพณีการร้องทุกข์ของราษฎรไทยโดยจัดตั้งกลองชื่อ “วินิจฉัยเภรี” ตั้งไว้หน้าพระราชรัง เพื่อให้ราษฎรที่มีเรื่องทุกข์ร้อนสามารถ มาตีกลองร้องทุกข์และยื่นฎีกาได้ ซึ่งจะมีนายตำรวจเวรเป็นผู้ออกมารับเรื่องราว เพื่อนำขึ้น กราบบังคมทูลต่อพระมหากษัตริย์
25. หนังสือราชกิจจานุเบกษาคืออะไร
(1) พจนานุกรม
(2) หนังสือพิมพ์รายวัน (3) หนังสือประมวลกฎหมาย
(4) หนังสือราชการที่ออกเป็นรายสัปดาห์เพื่อให้ข้อมูลราชการแก่ประชาชน
ตอบ 4 หน้า 199 – 200 รัชกาลที่ 4 ทรงจัดพิมพ์หนังสือทางราชการออกเผยแพร่เป็นรายสัปดาห์ ที่เรียกว่า “ราชกิจจานุเบกษา” โดยได้ความคิดและแบบอย่างมาจากตะวันตก ทั้งนี้เพื่อให้ ข้อมูลแก่ประชาชนเกี่ยวกับประกาศราชการและกฎหมายต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และ ปิดหนทางที่ขุนนางจะทำดวงตราปลอมเพื่ออ้างรับสั่งกับราษฎร
26. จิตสำนึกเกี่ยวกับ ‘‘รัฐชาติ” ได้ก่อตัวขึ้นมาในรัชกาลใด
(1) รัชกาลที่ 4 (2) รัชกาลที่ 5 (3) รัชกาลที่ 6 (4) รัชกาลที่ 7
ตอบ 2 หน้า 207 ในสมัยพัฒนาประเทศให้ทันสมัย พระมหากษัตริย์ยังทรงทำหน้าที่เป็นผู้นำในการ ปลูกฝังจิตสำนึกเกี่ยวกับหน้าที่ของประชาชนที่ต้องมีต่อชาติ ซึ่งเริ่มขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อรัฐชาติ (National State) ได้ก่อตัวขึ้น แต่ยังเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกในหมู่ข้าราชการ เช่น พวกข้าหลวงมณฑลเทศาภิบาล
27. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุของการปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดินในสมัยรัชกาลที่ 5
(1) เพื่อรักษาเอกราชของประเทศ
(2) เพื่อสร้างความเจริญและส่งเสริมความเป็นอยู่ของราษฎรให้ดีขึ้น
(3) เพื่อลร้างเสริมบารมีตามแนวทางของคติธรรมราชา
(4) เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ตอบ 3 หน้า 226 – 227 สาเหตุของการปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดินในสมัยรัชกาลที่ 5 มีดังนี้
1. เพื่อรักษาเอกราชของประเทศ 2. เพื่อสร้างความเจริญและส่งเสริมสภาพความเป็นอยู่ที่ดี ของประชาชน 3. เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
28. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับระบบมณฑลเทศาภิบาล
(1) ไทยได้แนวทางมาจากการปกครองของอังกฤษในพม่าและมลายู
(2) เป็นการบริหารระบบรวมศูนย์อำนาจที่เมืองหลวง
(3) ข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นคนในท้องถิ่นที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ปกครอง
(4) มีการจัดตั้งระบบมณฑลเทศาภิบาลตามความพร้อมในแต่ละภูมิภาค
ตอบ 3 หน้า 234-236 ลักษณะสำคัญของระบบมณฑลเทศาภิบาล มีดังนี้ 1. เป็นการบริหารแบบรวมศูนย์อำนาจ เพื่อให้เมืองหลวงควบคุมอาณาบริเวณทั้งหมดของอาณาจักรและเขต ประเทศราชได้อย่างทั่วถึง 2. ไทยได้แนวทางมาจากการปกครองของอังกฤษในพม่าและมลายู
3. ข้าหลวงเทคาภิบาลเป็นคนในสังกัดกระทรวงมหาดไทยในกรุงเทพฯ ที่ได้รับแต่งตั้งโดยตรง ออกไปจากเมืองหลวง 4. มีการจัดทั้งระบบมณฑลเทศาภิบาลตามความพร้อมในแต่ละภูมิภาค มิได้จัดทีเดียวทั่วประเทศฯลฯ
29. “คณะราษภร” ที่ยึดอำนาจการปกครองจากพระมหากษัตริย์ส่วนใหญ่เป็นคนกลุ่มใด (1) ข้าราชการทหาร (2) ข้าราชการพลเรือน
(3) ประชาชน (4) ข้าราชการทหารและพลเรือน
ตอบ 4 หน้า 238, 241 การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในประเทศไทยได้สิ้นสุดลงในวันทื่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เมื่อคณะบุคคลที่เรียกตนเองว่า “คณะราษฎร” อันประกอบด้วย ข้าราชการทหารและพลเรือนเป็นส่วนใหญ่ ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองจากพระมหากษัตริย์ และทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
30. คณะราษฎร ได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันใด
(1) 10 ธันวาคม 2475
(2) 24 มิถุนายน 2475
(3) 10 มิถุนายน 2475
(4) 20 มิถุนายน 2475
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 29. ประกอบ
31. บริเวณที่ตั้งของอาณาจักรสุโขทัย ได้แก่ ภูมิภาคใดของประเทศไทยในปัจจุบัน
(1) ภาคใต้ตอนบน
(2) ภาคกลางตอนบน
(3)ภาคเหนือตอนบน
(4)ภาคอีสานตอนบน
ตอบ 2 หน้า 23 – 24, (คำบรรยาย) บริเวณที่ตั้งของอาณาจักรสุโขทัยอยู่ในเขตภาคกลางตอนบน ของประเทศไทยในปัจจุบัน โดยเมืองสุโขทัย-ศรีสัชนาลัย ตั้งอยู่บบที่ราบลุ่มแม่นํ้ายม ซึ่งอยู่ ทางด้านทิศตะวันออกของตัวเมือง และมีศูนย์กลางของชุมชนเมื่อแรกตั้งอยู่ที่เมืองเก่าสุโขทัย บริเวณวัดพระพายหลวง หลังจากนั้นในสมัยพ่อขุนรามคำแหงจึงย้ายศูนย์กลางของราชธานี มาอยู่ในตัวเมืองสุโขทัยปัจจุบัน บริเวณวัดมหาธาตุ
32. เมืองสุโขทัย-ศรีสัชนาลัย ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่นํ้าใด
(1) ปิง (2) ยม (3) น่าน (4) เจ้าพระยา
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 31. ประกอบ
33. เจ้านายพระองค์ใดที่กระทำยุทธหัตถีชนะขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด เมื่อครั้งมีพระชนมายุ 19 พรรษา
(1) พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (2) พ่อขุนผาเมือง (3) พ่อขุนรามคำแหง (4) พระองค์ดำ
ตอบ 3 หน้า 90,(คำบรรยาย) ในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 หรือจารึกพ่อขุนรามคำแหง ได้มีการยกย่อง พ่อขุนรามคำแหงที่ทรงกระทำยุทธหัตถีชนะขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด เมื่อครั้งมีพระชนมายุ 19 พรรษา และหลังจากชัยชนะครั้งนั้นพระองค์ก็ได้รับบำเหน็จรางวัล โดยได้รับพระราชทาน อิสริยยศเป็นพระรามคำแหง
34. หนังสือไตรภูมิพระร่วงปลูกฝังความเชื่อเรื่อง “ทำดีได้ขึ้นสวรรค์ ทำชั่วตกนรก” หนังสือนี้เป็นพระราชนิพนธ์ ของกษัตริย์พระองค์ใด
(1) พ่อขุนรามคำแหง (2) พระมหาธรรมราชาลิไทย (3) พญามังราย (4) พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
ตอบ 2 หน้า 96, 105, 584 พระมหาธรรมราชาลิไทยทรงได้รับการยกย่องว่าเป็นจอมปราชญ์ในทาง พระพุทธศาสนาพระองค์แรกของประเทศไทย เนื่องจากพระองค์ทรงเรียนรู้พระไตรปิฎกอย่างแตกฉาน จนสามารถพระราชนิพนธ์หนังสือที่เป็นคัมภีร์ทางพุทธศาสนาเรื่องไตรภูมิพระร่วงหรือ ไตรภูมิกถา ซึ่งถือเป็นหลักฐานที่ทำให้รู้ถึงความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในกรุงสุโขทัย ได้เป็นอย่างดี
35. สังคมไทยสมัยใดที่มีความคล้ายคลึงกันมากที่สุด
(1) สุโขทัย-ล้านนา
(2) สุโขทัย-อยุธยา (3) ล้านนา-อยุธยา (4) สุโขทัย-ต้นรัตนโกสินทร์
ตอบ 1 หน้า 270, (คำบรรยาย) สังคมไทยสมัยสุโขทัยและล้านนาในพุทธศตวรรษที่ 19 – 21 จะมี ลักษณะคล้ายคลึงกัน คือ มีลักษณะผสมของสังคมหมู่บ้านที่ยังมีหลักความสัมพันธ์ฉันท์เครือญาติ กับสังคมเมืองที่พยายามวางแบบแผนกฎเกณฑ์ของความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกอย่างเป็น ทางการมากขึ้น ดังนั้นเมืองสำคัญในแคว้นสุโขทัยและล้านนาจึงล้วนมีวิวัฒนาการไปจาก หมู่บ้านที่ขยายตัว หรือจากการรวมกลุ่มของหมู่บ้านทั้งสิ้น
36. “…เบื้องหัวนอนเมืองสุโขทัยนี้ มีกุฎีพิหาร ปู่ครูอยู่ มีสรีดภงส…” ถามว่าเบื้องหัวนอนคือทิศใด
(1) ทิศตะวันออก (2) ทิศตะวันตก (3) ทิศเหนือ (4) ทิศใต้
ตอบ 4 หน้า 589, (คำบรรยาย) ในศิลาจาริกสุโขทัยหลักที่ 1 หรือจารึกพ่อขุนรามคำแหงได้กลาวถึงทิศทั้ง 4 ซึ่งมีชื่อเรียกแตกต่างจากปัจจุบัน กล่าวคือ เบื้องตีนนอน (ทิศเหนือ),เบื้องหัวนอน (ทิศใต้), เบื้องตะวันออก (ทิศตะวันออก) และเบื้องตะวันตก (ทิศตะวันตก)
37. ในศิลาจาริกหลักที่ 1 มีข้อความว่า “…เมื่อก่อนลายสือไทยนี้บ่มี 1205 ศกปีมะแม พ่อขุนรามคำแหงหาใคร่ใจในใจ แลใส่ลายสือไทยนี้ ลายสือไทยนี้จึ่งมีเพื่อขุนผู้นั้นใส่ไว้…” ถามว่ามหาศักราช 1205 ตรงกับ พ.ศ. ใด
(1) 1626 (2) 1726 (3) 1826 (4) 1926
ตอบ 3 หน้า 105, 272, (คำบรรยาย) ในศิลาจาริกสุโขทัยหลักที่ 1 หรือจารึกพ่อขุนรามคำแหงมีหลักฐานที่แสดงถึงความรู้ทางศาสนาและอักษรศาสตร์ของพ่อขุนรามคำแหงว่า พระองค์ทรงเป็น ผู้ประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใช้ได้สำเร็จ ดังข้อความที่ว่า “…เมื่อก่อนลายสือไทยนี้บ่มี 1205 ศกปีมะแม พ่อขุนรามคำแหงหาใคร่ใจในใจ แลใส่ลายสือไทยนี้ ลายสือไทยนี้จึ่งมีเพื่อขุนผู้นั้นใส่ไว้…” (มหาศักราชเกิดหลังพุทธศักราช 621 ปี ดังนั้นถ้าเทียบมหาศักราช 1205 เป็นพุทธศักราช จะเท่ากับพุทธศักราช หรือ พ.ศ. 1826)
38. ไพร่ในข้อใดที่มีสถานะต่ำที่สุดในสังคม
(1) ไพร่ฟ้าหน้าใส (2) ไพร่ฟ้าหน้าปก (3) ไพร่ฟ้าข้าไท (4) ไพร่ไท
ตอบ 3 หน้า 271, 289 – 290, (คำบรรยาย) ในสมัยสุโขทัย คำว่า “ไพร่” มีความหมายถึง สามัญชน โดยทั่วๆ ไป ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ ส่วนสร้อยที่ต่อท้ายคำว่าไพร่จะมีความหมายเฉพาะตัว ที่บ่งบอกถึงลักษณะของไพร่ที่แตกต่างกันไป เช่น ไพร่ฟ้าหน้าใส/ไพร่ไท (ประชาชนทั่วไป), ไพรฟ้าหน้าปก (ประชาชนที่มีทุกข์ร้อน), ไพรฟ้าข้าไท (ทาส ซึ่งมีสถานะตํ่าสฺดในสังคม) เป็นต้น
39. ไพร่ชั้นดีในสมัยล้านนามีหลายอาชีพที่ได้รับสิทธิพิเศษไม่ถูกเกณฑ์แรงงาน ไพร่ในข้อใดที่ถูกเกณฑ์แรงงาน
(1) ช่างทอง (2) ช่างเงิน (3) พ่อค้า (4) ชาวสวน
ตอบ 4 หน้า 283 เอกสารทั้งของสุโขทัยและล้านนาได้จัดแบ่งไพร่ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่
1. ไพรชั้นดี คือ ไพร่ที่มีความรู้ความสามารถหรือมีฐานะดี เช่น ช่างฝีมือ (ช่างทอง ช่างเงิน ฯลฯ) พ่อค้า และเศรษฐี ซึ่งจะได้รับสิทธิพิเศษไม่ถูกเกณฑ์แรงงานเหมือนไพร่สามัญ แต่อาจต้อง เสียเงินหรือส่วยเป็นการชดเชย
2. ไพร่สามัญ คือ สามัญชนส่วนใหญ่ที่ทำมาหากินด้วยการทำไร่ไถนา ไม่มีความรู้ความสามารถ พิเศษอันใด จึงต้องมาให้แรงงานตามกำหนด เช่น ชาวนา ชาวไร่ ชาวสวน ฯลฯ
40. “ผู้ใดมีคุณต่อพ่อแม่มาก ได้มรดกมาก” เป็นข้อความในกฎหมายไทยไนสมัยใด
(1) ล้านนา (2) สุโขทัย (3) อยุธยา (4) ธนบุรี
ตอบ 1 หน้า 295, (คำบรรยาย) สังคมสมัยล้านนามีหลักปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องความกตัญญต่อผู้ใหญ่ว่า เมื่อพ่อแม่ตายไปให้จัดมรดกแก่ลูกที่แสดงความกตัญญูต่อพ่อแม่ได้มากกว่าคนอื่น ๆ ทั้งนี้ เพื่อตอบแทนความดีและให้เป็นตัวอย่างแก่ผู้อื่นด้วย ดังข้อความในกฎหมายมังรายศาสตร์ ของล้านนาที่ว่า “ผิลูกหลานมีอยู่หลายคน ผู้ใดมีคุณต่อพ่อแม่มาก ก็ให้มรดกมาก…”
41. กษัตริย์สมัยสุโขทัยมีวิธีควบคุมอำนาจของลูกเจ้าลูกขุนอย่างไร
(1) ออกกฎหมายให้ลูกเจ้าลูกขุนเป็นขุนธรรม
(2) ให้ราษฎรฟ้องร้องลูกเจ้าลูกขุนได้
(3) ไม่ให้ลูกเจ้าลูกขุนเป็นแม่ทัพ
(4) ไม่ให้ลูกเจ้าลูกขุนครองเมือง
ตอบ 2 หน้า 276 พระมหากษัตริย์สุโขทัยมีวิธีควบคุมอำนาจของลูกเจ้าลูกขุน ดังนี้
1. ให้ไพร่หรือราษฎรฟ้องร้องกล่าวโทษลูกเจ้าลูกขุนได้โดยตรงต่อพระมหากษัตริย์ และ พยายามตัดสินคดีความให้อย่างยุติธรรม 2. ปลูกฝังให้ลูกเจ้าลูกขุนทำตัวเป็นขุนธรรมมิใช่ขุนมาร เพราะขุนธรรมเท่านั้นจึงจะอยู่ในอำนาจได้นาน (แต่ไม่ได้ออกเป็นกฎหมายบังคับ)
42. “ข้อยมาเป็นข้า” ในสมัยล้านนา เทียบได้กับทาสชนิดใดในสมัยอยุธยา
(1) ทาสเชลย (2) ทาสในเรือนเบี้ย (3) ทาสสินไถ่ (4) ทาสขัดดอก
ตอบ 1 หน้า 290, 351, (คำบรรยาย) ข้าหรือทาสของล้านนามี 5 ชนิด คือ
1. ข้าที่ซื้อด้วยข้าวของ ซึ่งตรงกับทาสสินไถ่ของอยุธยา
2. ลูกข้าหญิง ซึ่งตรงกับทาสในเรือนเบี้ยของอยุธยา
3. มอบตัวเป็นข้า ซึ่งตรงกับทาสที่เลี้ยงไว้ในยามข้าวยากหมากแพงของอยุธยา
4. ฉิบหายด้วยความผิดจึงเข้าเป็นข้า ซึ่งตรงกับทาสที่ได้มาด้วยการช่วยให้พ้นโทษปรับของอยุธยา
5. ข้อยมาเป็นข้า ซึ่งตรงกับทาสเชลยของอยุธยา
43. ข้อใดมิใช่มรดกด้านอารยธรรมของไทยในสมัยสุโขทัย
(1) ไตรภูมิพระร่วง (2) มังรายศาสตร์ (3) เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ (4) พระพุทธรูปปางลีลา
ตอบ 2 หน้า 710, 712, (คำบรรยาย), (ดูคำอธิบายข้อ 34. และ 40. ประกอบ) หนังสือมังรายศาสตร์ หรือวินิจฉัยมังราย คือ กฎหมายต่าง ๆ ของพระยามังรายในสมัยล้านนาที่มีผู้คัดลอกรวบรวมไว้ สืบเนื่องมาเป็นเวลานาน ซึ่งเท่าที่ทราบในปัจจุบันมีสำนวนต่าง ๆ คัดลอกไว้อยู่ประมาณ 4 ฉบับด้วยกัน (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นมรดกด้านอารยธรรมของไทยในสมัยสุโขทัย)
44. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับไพร่สุโขทัย
(1) ไมต้องเสียจกอบ (2) ไม่ต้องเสียอากรค่านา
(3) ฟ้องร้องมูลนายไม่ได้ (4) ยกมรดกให้ลูกหลานไม่ได้
ตอบ 1 หน้า 285, 287 – 288 ไพร่สุโขทัยมีสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคในการดำเนินชีวิตหลายด้าน ดังนี้ 1. สิทธิในการร้องทุกข์หรือฟ้องร้องมูลนายต่อพระมหากษัตริย์ได้ด้วยตนเองโดยตรง
2. สิทธิในการศาล 3. สิทธิในที่ดินที่ได้หักร้างถางพงไว้ 4. สิทธิในการยกมรดกให้แก่ลูกหลาน 5. สิทธิในการค้าขายสินค้าได้ทุกชนิดอย่างเสรี 6. สิทธิในการได้รับยกเว้นภาษีผ่านด่าน หรือไม่ต้องเสียจกอบ แต่ก็ต้องเสียภาษีชนิดอื่น เช่น ภาษีข้าว หรืออากรค่านา 7. สิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพ ฯลฯ
45. ผู้ใดมีศักดินาสูงสุดในสมัยอยุธยา
(1) วังหน้า (2) พระเจ้าแผ่นดิน (3) เจ้าพระยาโกษาธิบดี (4) เจ้าพระยากลาโหม
ตอบ 1 หน้า 309, 357 กฎหมายอยุธยากำหนดให้ประชาชนทุกคนยกเว้นพระมหากษัตริย์ จะได้รับพระราชทานศักดินาประจำตัวเป็นจำนวนเลขลดหลั่นกันไปตามยศและตำแหน่ง โดยผู้ที่มีศักดินา สูงสุดในแผ่นดิน คือ เจ้านายระดับกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) มีศักดินา 100,000 ไร่ ส่วนผู้ที่มีศักดินาต่ำสุด คือ ยาจก วณิพก ทาส และลูกทาส มีศักดินา 5 ไร่
46. ขุนนางอยุธยาไม่มีสิทธิทำสิ่งใด
(1) เป็นเสนาบดี
(2) เป็นเจ้าเมือง (3) ไปมาหาสู่กันอย่างเสรี (4) เข้าเฝ้าพระเจ้าแผ่นดิน
ตอบ 3 หน้า 329 – 332 พระมหากษัตริย์อยุธยาทรงคานอำนาจขุนนาง ดังนี้
1. กำหนดให้ความเป็นขุนนางอยู่ในพระราชอำนาจของกษัตริย์
2. กำหนดโครงสร้างของระบบราชการให้มีลักษณะลิดรอนอำนาจขุนนางมิให้รวมตัวกันได้
3. ตรากฎหมายควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของขุนนางไว้อย่างเข้มงวด 4. ควบคุมการเคลื่อนไหว ของขุนนาง มิให้ขุนนางไปมาหาสู่กันเอง หรือไปติดต่อกับเจ้านายอย่างเสรี ฯลฯ
47. เจ้าพระยาโกษาธิบดี เป็นยศและราชทินนามของขุนนางกรมใด
(1) มหาดไทย (2) กลาโหม (3) คลัง (4) นา
ตอบ 3 หน้า 150 – 152, 319 – 320, (คำบรรยาย) หน้าที่ในตำแหน่งของกรมกองต่างๆ จะมียศ และราชทินนามกำกับไว้โดยเฉพาะ ดังนี้ 1. เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ฯ เป็นยศและราชทินนามของขุนนางกรมมหาดไทย 2. เจ้าพระยามหาเสนาบดีวิริยภักดีฯ เป็นยศและราชทินนามของขุนนางกรมกลาโหม 3. เจ้าพระยาพระคลัง หรือเจ้าพระยาโกษาธิบดีเป็นยศและราชทินนามของขุนนางกรมพระคลังหรือโกษาธิบดี
4. พระยาพลเทพราชเสนาบดีฯ เป็นยศและราชทินนามของขุนนางกรมนาหรือเกษตราธิการ ฯลฯ
48. “เข้า 10 วัน ออก 10 วัน’’ เป็นการเกณฑ์แรงงานไพร่ในสมัยใด
(1) สุโขทัย (2) ล้านนา (3) อยุธยา (4) ธนบุรี
ตอบ 2 หน้า 284 เอกสารของล้านนาได้ระบุถึงการเกณฑ์แรงงานไพร่ในสมัยล้านนาว่า รัฐบาลจะเกณฑ์ แรงงานไพร่ 10 วัน และปล่อยไปทำไร่นาของตนได้ 10 วัน สลับกันไป เรียกว่า “เข้า 10 วัน ออก 10วัน” รวมแล้วจะเท่ากับถูกเกณฑ์แรงงาน6 เดือนใน 1 ปีซึ่งเท่ากับเวลาที่ไพร่ของ อาณาจักรอยุธยาถูกเกณฑ์เช่นกัน
49. กษัตริย์อยุธยามีนโยบายเกี่ยวกับเจ้านายอย่างไร
(1) ให้เจ้านายทุกพระองค์มีความสูงศักดิ์กว่าขุนนาง (2) ให้เจ้านายได้ควบคุมอำนาจบริหารมากกว่าขุนนาง
(3) ให้เจ้านายได้เป็นเสนาบดี (4) พยายามควบคุมจำนวนของเจ้านายไว้ด้วย
ตอบ 4 หน้า 305, 313, 322 – 323 พระมหากษัตริย์อยุธยามีนโยบายคานอำนาจเจ้านาย ดังนี้
1. ควบคุมจำนวนเจ้านาย โดยกำหนดผู้มีสิทธิเป็นเจ้านายมีได้เพียง 3 ชั่วอายุคน คือ ในชั่วลูกหลาน และเหลนเท่านั้น 2. ลดความสูงศักดิ์ของเจ้านายลงทุกชั่วคน จึงไม่อาจกล่าวได้ว่าเจ้านายมีความสูงศักดิ์กว่าขุนนาง 3. ไม่ให้เจ้านายได้เป็นเสนาบดีควบคุมการบริหารกรมกองสำคัญในส่วนกลาง และไม่ให้เป็นเจ้าเมืองในส่วนภูมิภาค แต่ให้ขุนนางมีอำนาจหน้าที่นี้แทน 4.ควบคุมจำนวนไพร่สมของเจ้านาย ฯลฯ
50. การกำหนดศักดินามีประโยชน์อย่างไร
(1) ใช้กำหนดความสูงศักดิ์ของบุคคล (2) ใช้กำหนดบทลงโทษบุคคลที่มีความผิด
(3) ใช้กำหนดอภิสิทธิ์และสิทธิพิเศษบางอย่าง (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 309, 359 – 360 ระบบศักดินามีประโยชน์ในการกำหนดฐานะบุคคลในทางสังคมและกำหนดระเบียบในการปกครองด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1. เป็นเครื่องมือกำหนดความสูงศักดิ์ ของบุคคล อำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบของบุคคลต่าง ๆ เพื่อจัดระเบียบของสังคม
2. เป็นเครื่องกำหนดบทลงโทษของบุคคลที่มีความผิด 3. เป็นเครื่องวัดและกำหนดไพร่พล ในสังกัดของบุคคลที่เป็นมูลนาย 4. เป็นเครื่องกำหนดอภิสิทธิ์และสิทธิพิเศษบางอย่าง
51. คุณสมบัติประการหนึ่งของการถวายตัวเป็นขุนนางสมัยอยุธยา ผู้ถวายตัวต้องมีอายุตั้งแต่กี่ปีขึ้นไป
(1) 20 ปี
(2) 24 ปี
(3) 30 ปี
(4) 31 ปี
ตอบ 4 หน้า 316 คุณสมบัติของผู้ที่จะถวายตัวเป็นขุนนางในสมัยอยุธยาประการหนึ่ง คือ ต้องประกอบ ด้วยวุฒิ 4 ประการ ได้แก่ 1. ชาติวุฒิ คือ เป็นผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากอัครมหาเสนาบดี
2. วัยวุฒิ คือ มีอายุตั้งแต่ 31 ปีขึ้นไป 3. คุณวุฒิ คือ เป็นผู้มีความรู้ฝ่ายทหารและพลเรือน ชำนิชำนาญ 4. ปัญญาวุฒิ คือ มีสติบีญญาดี รอบรู้ในกิจการบ้านเมือง และเรื่องนานาประเทศ
52. การสักข้อมือไพร่เกิดผลอย่างไร
(1) เกิดกบฏไพร่
(2) ไพร่สมเพิ่มมากขึ้น (3) ไพร่หนีไปอยู่ป่าได้มากขึ้น (4) ไพร่หลวงไม่สูญหายอย่างแต่ก่อน
ตอบ 4 หน้า 392, 417, (คำบรรยาย) การสักข้อมือไพร่เป็นตัวอักษรเริ่มขึ้นครั้งแรกตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินแห่งกรุงธนบุรี และใช้ต่อมาจนถึงสมัยต้นรัตนโกสินทร์ โดยได้กำหนดให้ สักข้อมือไพร่ไว้ที่ด้านใน ระบุชื่อมูลนายและชื่อเมืองอันเป็นภูมิลำเนาเพื่อป้องกันไพร่หลบหนี สับเปลี่ยนมูลนาย หรือหนีไปหลบซ่อนอยู่ต่างเมืองและตามป่าเขาอีก จึงเป็นทางป้องกันไม่ให้ ไพร่หลวงสูญหาย หรือไม่ให้ไพรหลวงหนีไปเป็นไพร่สมของมูลนายได้ง่ายอย่างแต่ก่อน
53. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับทาสในสมัยอยุธยา
(1) นายเงินขึ้นค่าตัวทาสไม่ได้ (2) นายเงินมีสิทธิไม่รับค่าตัวทาส
(3)นายเงินไม่มีสิทธิลงโทษทาส (4) นายเงินไม่มีสิทธิส่งทาสไปรบแทนตน
ตอบ 1 หน้า 352 – 354, 356 ระบบทาสในสมัยอยุธยา นายเงินมีสิทธิเหนือทาสดังนี้
1. ใช้งานทาสได้ทุกอย่าง 2. ใช้ทาสไปรับโทษหรือเข้าคุกแทนตนได้
3. ใช้ทาสไปรบแทนตนได้ 4. ลงโทษทาสได้แต่ต้องไม่ทำให้ทาสนั้นพิการหรือตายไป
5. ขายทาสต่อไปได้ แต่ขึ้นค่าตัวทาสตามใจชอบไม่ได้ และถ้าทาสมีเงินมาไถ่ตัว นายเงินจะไม่ยอมรับคำตัวทาสไม่ได้ 6. ในกรณีที่เป็นข้าพระอารามหรือทาสวัดให้อยู่ภายใต้
การดูแลของพระสงฆ๎ ซึ่งเป็นมูลนายที่แท้จริง ฯลฯ
54. สกุลยศ “หม่อมราชวงศ์” และ “หม่อมหลวง” เพิ่งมีขึ้นในรัชกาลใด
(1) สมเด็จพระนเรศวร (2) สมเด็จพระนารายณ์ (3) สมเด็จพระเจ้าตากสิน (4) สมเด็จพระจอมเกล้าฯ
ตอบ 4 หน้า 306 – 307, (คำบรรยาย) สกุลยศ หมายถึง ยศที่ได้จากการถือกำเนิด ซึ่งการกำหนด สกุลยศของเจ้านายในสมัยอยุธยาตอนปลายจะแบ่งเป็นยศเจ้าฟ้า พระองศ์เจ้า และหม่อมเจ้า ตามลำดับ ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ได้เพิ่มสกุลยศ ของเจ้านายขึ้นอีก 2 ชั้น คือ หม่อมราชวงศ์ (ม.ร.ว.) และหม่อมหลวง (ม.ล.) แต่ผู้ที่มียศทั้งสองนี้ ไม่ถือเป็นชนชั้นเจ้านาย เป็นแต่เพียงผู้สืบเชื้อสายเจ้านายเท่านั้น
55. ตำแหน่งวังหน้าที่มีสถานะเสมือนหนึ่งพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 2 ในสมัยรัตนโกสินทร์เกิดขึ้นในรัชกาลใด
(1) รัชกาลที่ 2 (2) รัชกาลที่ 3 (3) รัชกาลที่ 4 (4) รัชกาลที่ 5
ตอบ 3 หน้า 212, 395 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงแต่งตั้ง พระอนุชา คือ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ขึ้นเป็นสมเด็จกรมพระราชวังบวรฯ (วังหน้า) และขณะเดียวกันทรงยกฐานะของกรมพระราชวังบวรฯ ให้มีสถานะและพระยศเสมือนหนึ่งเป็น พระมหากษัตริย์องค์ที่ 2 โดยพระราชทานยศและพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
56. ขุนนางตระกูลใดมีอิทธิพลสูงสุดในต้นรัตนโกสินทร์
(1) อมาตยกุล (2) บุนนาค (3) บุญยรัตนพันธ์ (4) ติณสูลานนท์
ตอบ 2 หน้า 404 – 407 ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์จนถึงต้นรัชกาลที่ 5 ขุนนางตระกูลบุนนาค มีอิทธิพลสูงสุด และมีอำนาจโดดเด่นเหนือขุนนางตระกูลอื่น เนื่องมาจากสาเหตุดังนี้
1. ความเป็นญาติและความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับพระราชวงศ์จักรี
2. การได้ควบคุมกรมสำคัญที่ได้รับผลประโยชน์สูงในยุคที่การค้าขายขยายตัว
3. การได้รับผลประโยชน์อย่างมากจากระบบเจ้าภาษีนายอากร
4. ความสามารถเฉพาะตัวของขุนนางตระกูลบุนนาค
57. เหตุใดไพร่จึงถูกเกณฑ์แรงงานน้อยลงในสมัยรัตนโกสินทร์
(1) มีกรรมกรชาวจีนเข้ามาเป็นแรงงานไทยมากขึ้น
(2) การคุกคามและการเผยแพร่แนวคิดของมหาอำนาจตะวันตก
(3) กษัตริย์เน้นอุดมการณ์ปกครองแบบธรรมราชา
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 416 – 424, (คำบรรยาย) ปัจจัยที่ทำให้ไพร่ถูกเกณฑ์แรงงานน้อยลงในสมัยรัตนโกสินทร์ จนกระทั่งมีการยกเลิกระบบไพร่อย่างสิ้นเชิงในสมัยรัชกาลที่ 5 มีดังนี้
1. กษัตริย์เน้นอุดมการณ์ปกครองแบบธรรมราชา
2. การคุกคามและการเผยแพร่แนวคิดของมหาอำนาจตะวันตก
3. การเปลี่ยนแปลงลักษณะเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้รัฐต้องการให้ไพร่ใช้เวลาปลูกข้าวมากขึ้น
4. มีกรรมกรชาวจีนเข้ามาเป็นแรงงานในไทยมากขึ้น
5. ภาวะการทำสงครามและการถูกรุกรานโดยอาณาจักรใกล้เคียงกับไทยหมดไป
58. พระราชบัญญัติเกณฑ์ทหาร ร.ศ. 124 มีผลให้ระบบไพร่ถูกยกเลิกเด็ดขาด ทั้งนี้ชายฉกรรจ์ทุกคนเมื่ออายุ ครบ …ปี จะต้องมาเกณฑ์ทหารรับราชการในกองประจำการ มีกำหนด …ปี จากนั้นแล้วจะปลดปล่อย ให้อยู่ในกองหนุน
(1) 18, 2 (2) 20, 2 (3) 21, 2 (4) 25, 2
ตอบ 1 หน้า 427 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการออก พ.ร.บ. เกณฑ์ทหาร ร.ศ. 124 ขึ้นในปี พ.ศ. 2448 ซึ่งได้กำหนดให้ชายฉกรรจ์ทุกคนที่มีอายุครบ 18 ปี ยกเว้นคนจีนและคนป่าคนดอย ต้องเข้ามา เกณฑ์ทหารรับราชการในกองทัพมีกำหนด 2 ปี จากนั้นจึงจะได้รับการปลดปล่อยให้อยู่ในกองหนุน ขั้นที่ 1 อีก 5 ปี และกองหนุนขั้นที่ 2 อีก 10 ปี จึงจะปลดประจำการและไม่ต้องเสียค่าราชการ ไปอีกตลอดชีวิต ดังนั้น พ.ร.บ. ฉบับนี้จึงนับเป็นก้าวสุดท้ายที่จะยกเลิกระบบไพร่โดยสิ้นเชิง
59. เหตุเกิดในเมืองไทยภายหลังการทำสนธิสัญญาบาวริ่ง 10 ปี ชาวอาหรับจดทะเบียนเป็นคนในบังคับสเปนและทำผิดกฎหมายไทย ถามว่าศาลใดเป็นผู้พิจารณาคดี
(1) ศาลไทย (2) ศาลอิรัก (3) ศาลสเปน (4) ได้ทั้ง 3 ศาล
ตอบ 3 หน้า 439, 547 – 548, (คำบรรยาย) ภายหลังที่ไทยทำสนธิสัญญาบาวริ่งกับอังกฤษในปีพ.ศ. 2398 ประเทศไทยได้เสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต (เสียเอกราชด้านการศาล) คือ คนต่างชาติ และคนในบังคับของต่างชาติเมื่อมีเรื่องกับคนไทยก็ดี หรือมีเรื่องในหมู่พวกตัวเองก็ดี จะต้อง ขึ้นศาลกงสุลของชาติตนหรือชาติที่ตนได้ไปขึ้นทะเบียนไว้ ทำให้ศาลไทยไม่สามารถเอาผิดกับ คนต่างชาติที่อยู่ในเมืองไทยและทำผิดกฎหมายไทยได้ ซึ่งต่อมาตั้งแต่ พ.ศ. 2399 – 2442 ก็มีประเทศต่าง ๆ เช่น สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส โปรตุเกส สเปน ญี่ปุ่น ฯลฯ เข้ามาทำสัญญา ในลักษณะเดียวกันนี้อีกหลายประเทศ
60. การเลิกทาสโดยไม่เสียเลือดเนื้อเหมือนในประเทศสหรัฐอเมริกา ถามว่ารัชกาลที่ 5 ทรงใช้เวลากว่ากี่ปีจึงแล้วเสร็จ
(1)10ปี (2) 15ปี (3)20ปี (4) 30ปี
ตอบ 4 หน้า 433, 516, (คำบรรยาย) ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ทรงดำเนินการเลิกทาสจนสำเร็จ โดยพระองค์ ทรงใช้นโยบายทางสายกลาง คือ ดำเนินการเลิกทาสไปทีละขั้นตอน มิใช่รวบรัดเลิกทาสทั้งหมด ในคราวเดียวกัน รวมเวลาที่ใช้ทั้งหมดกว่า 30 ปี จึงทรงสามารถเลิกทาสได้อย่างเด็ดขาด โดยไม่มีการนองเลือดเหมือนการเลิกทาสในประเทศสหรัฐอเมริกา
61. การทำการเกษตรกรรมของสุโขทัยอาศัยแหล่งนํ้าจากแม่นํ้าใด
(1) แม่น้ำปิง
(2) แม่น้ำเจ้าพระยา
(3) แม่น้ำวัง
(4) แม่น้ำยม
ตอบ 4 หน้า 24, 474, (คำบรรยาย) อาณาจักรสุโขทัยจะมีแม่นํ้ายมไหลผ่าน ดังนั้นการทำการเกษตรกรรมของสุโขทัยจึงอาศัยแหล่งนํ้าจากแม่น้ำยมเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งสันนิษฐานกันว่า เขตที่ทำการเพาะปลูกได้ของสุโขทัย ได้แก่ ริมลำน้ำซึ่งเป็นสาขาไหลลงสู่แม่นํ้ายม คือ แถบพรานกระต่าย อีกแห่งหนึ่งคงจะเป็นรอบ ๆ เมืองสุโขทัย เฉพาะบริเวณสองข้างของลำน้ำสายเล็กๆ ที่ไหลมาจากภูเขาทางทิศตะวันตกลงไปสู่แม่นํ้ายม
62. เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากที่ดินสมัยสุโขทัยข้อใดถูกต้อง
(1) ผู้ปกครองให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินแก่ผู้ที่ขยันหมั่นเพียร
(2) ผู้จะเข้าไปใช้ประโยชน์จากที่ดินนั้น ๆ มีสถานะเป็นผู้เช่าที่ดินเท่านั้น
(3) ราษฎรสามารถจับจองที่ดินเป็นของตนเองได้ตามอัธยาศัย
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 475 ผู้ปกครองสุโขทัยได้ให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินแก่ผู้ที่ขยันหมั่นเพียร มีความวิริยะอุตสาหะ หักร้างถางพง เพื่อสร้างเป็นไร่เป็นนาเป็นสวน แม้บิดาตายไปบุตรก็ยังมีสิทธิได้รับต่อ หรือแม้พี่ชายตายน้องก็ได้รับต่อมา เท่ากับว่าราษฎรชาวสุโขทัยมีสิทธิในทรัพย์สินที่ปลูกสร้างนั้น อย่างสมบูรณ์ ใครปลูกสร้างสิ่งใดไว้ก็ได้สิทธิครอบครองเป็นเจ้าของสิ่งนั้น
63. การจับสัตว์นํ้าของสุโขทัยอาศัยแหล่งในการจับสัตว์น้ำบริเวณใดมากที่สุด
(1) อ่าวไทย (2) แม่นํ้ายม (3) แม่นํ้าเจ้าพระยา (4) ตระพัง
ตอบ 2 หน้า 475, (คำบรรยาย) แหล่งจับปลานํ้าจืดของสุโขทัยที่มีปลาอุดมสมบูรณ์ที่สุด ได้แก่ในแม่นํ้ายมตอนใกล้แก่งหลวง เพราะปรากฏว่ามีราษฎรจากเมืองต่าง ๆ พากับมาจับปลากัน มากมายจนถึงปัจจุบัน ส่วนการจับปลาทะเลนั้นคงจะจับกันแต่เพียงริมฝั่งทะเลในอ่าวไทยเท่านั้น เพราะในสมัยสุโขทัยไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีเรือใหญ่ที่ใช้เป็นพาหนะในการออกไปจับปลา ในทะเลลึก นอกจากนี้เครื่องมือจับปลาน้ำลึกในสมัยนั้นก็คงยังไม่มีใช้
64. แร่ดีบุกที่นำมาใช้ในสมัยสุโขทัยมาจากที่ใด
(1) พังงา (2) ภูเก็ต (3) ระนอง (4) เชียงใหม่
ตอบ 4 หน้า 476, (คำบรรยาย) แหล่งแร่ดีบุกที่นำมาใช้ในสมัยสุโขทัย คงจะได้มาจากอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ และแถวแคว้นอัสสัมทางตอนเหนือของพม่า หรือแถบเมืองท่าแขก ตรงกันข้ามกับจังหวัดนครพนมในปัจจุบัน
65. ข้อใดถูกเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจทางด้านตลาดสมัยสุโขทัย
(1) รายได้หลักมาจากการค้าข้าว (2) รายได้หลักมาจากการค้าภายใน
(3) รายได้หลักมาจากการค้าภายนอก (4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 479, 481 – 483 แหล่งที่มาของรายได้หลักที่สำคัญที่สุดของสุโขทัย คือ เครื่องปั้นดินเผา ที่เรียกว่า “เครื่องสังคโลก” ซึ่งเป็นสินค้าออกที่สำคัญ และเป็นกิจการที่ใหญ่โตรุ่งเรืองมาก คงจะทำรายได้ให้รัฐมากทีเดียว ส่วนแหล่งรายได้ที่สำคัญอีกอยางหนึ่งจะมาจากการเก็บภาษีข้าว โดยให้เก็บภาษีข้าว 1 ส่วน จากผลผลิตข้าว 10 ส่วน ซึ่งแม้จะไม่มากนักแต่ก็เป็นรายได้ส่วนหนึ่ง
66. ชาติใดไม่ใช่ลูกค้าของอาณาจักรสุโขทัย
(1) แอฟริกาตะวันออก (2) โปรตุเกส (3) หมู่เกาะอินโดนีเซีย (4) ฟิลิปปินส์
ตอบ 2 หน้า 479 ลูกค้าเครื่องปั้นดินเผาที่เรียกว่า “สังคโลก” ของอาณาจักรสุโขทัยมีอยู่ 2 พวก คือ อินโดนีเซียกับฟิลิปปินส์พวกหนึ่ง และชาวอินเดียกับตะวันออกใกล้อีกพวกหนึ่ง นอกจากนี้ ยังมีลูกค้ารายเล็ก ๆ เช่น ญี่ปุ่น และแอฟริกาตะวันออก เป็นต้น
67. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบพื้นฐานสำคัญทางด้านเศรษฐกิจสมัยอยุธยาที่มีความแตกต่างจากสมัยสุโขทัย
(1) กรรมสิทธิ์ที่ดิน (2) แรงงานไพร่ ทาส (3) การค้าผูกขาด (4) ประเภทของสินค้า
ตอบ 4 หน้า 487 – 488 องค์ประกอบพื้นฐานสำคัญทางด้านเศรษฐกิจสมัยอยุธยาที่มีความแตกต่างจากสมัยสุโขทัย คือ ระบบการปกครองได้เข้าไปมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตทางเศรษฐกิจของราษฎรไทย ในเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ 1. กรรมสิทธิ์ที่ดิน 2. การค้าแบบผูกขาด 3. แรงงานไพร่ ทาส
68. รัฐสมัยอยุธยาช่วยเหลือไพร่ในการปลูกข้าวอย่างไร
(1) การรับจำนำราคาข้าว (2) การรับประกันราคาข้าว
(3) การจัดหาตลาด (4) ออกกฎหมายคุ้มครองแก่ต้นข้าว
ตอบ 4 หน้า 489 – 491, (คำบรรยาย) ผู้ปกครองอยุธยามีนโยบายสนับสนุนการทำนาปลูกข้าว ดังนี้
1. ขยายพื้นที่ทำนาเพาะปลูก
2. คุ้มครองป้องกันภยันตรายที่จะเกิดกับต้นข้าว โดยการออกกฎหมายคุ้มครองแก่ต้นข้าว และลงโทษผู้ทำลายต้นข้าวอย่างรุนแรง
3. ให้กำลังใจแก่ชาวนา โดยอาศัยพิธีกรรมทางศาสนาเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ
4. ส่งเสริมแรงงานในการเพาะปลูก 5. ขจัดปัดเป่าการทะเลาะวิวาท
6. การชลประทาน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่รัฐบาลอยุธยาให้ความสำคัญน้อยที่สุด
69. ข้อใดไม่ไชพิธีที่สร้างขึ้นสำหรับการทำการเกษตรกรรม
(1) พิธีโล้ชิงช้า (2) พิธีไล่นํ้า (3) พิธีพืชมงคล (4) พิธีลอยพระประทีป
ตอบ 1 หน้า 491 – 492, 660 – 661 พิธีกรรมที่สร้างขึ้นสำหรับการทำการเกษตรกรรม มีดังนี้
1. พิธีเผาข้าวหรือพิธีธานยเทาะห์ เป็นพระราชพิธีเสี่ยงทายในเดือนสาม
2. พิธีพืชมงคลและพิธีจรดพระนังคัล เป็นพิธีที่นิยมกระทำด้วยกันในเดือนห้าและหก
3. พิธีพรุณศาสตร์ หรือพิธีขอฝน เป็นพิธีจรในเดือนเก้า
4. พิธีไล่น้ำหรือไล่เรือ เป็นพิธีจรในเดือนอ้ายเพื่อให้นํ้าลดลงเร็ว ๆ
5. พิธีลอยกระทง หรือลอยพระประทีป เป็นพิธีในเดือนสิบเอ็ดและสิบสองเพื่อขอบคุณ พระแม่คงคาที่ประทานนํ้ามาให้เพาะปลูกอย่างอุดมสมบูรณ์ ฯลฯ
(ส่วนพิธีโล้ชิงช้า ทำขึ้นเพื่อรับเสด็จพระอิศวรตามคติทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดู)
70. พืชไร่พืชสวนชนิดใดที่ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายสมัยอยุธยา
(1) ลองกอง (2) ทุเรียน (3) อ้อย (4) ลางสาด
ตอบ 1 หน้า 493 พืชที่กฎหมายสมัยอยุธยาให้ความคุ้มครอง หมายถึง พืชที่มีบทลงโทษไว้แก่ผู้ทำลาย ลักตัด ถอน ไม่ว่าจะเป็นต้นเล็ก ต้นใหญ่ หรือโกร๋น ในอัตราค่าปรับที่แตกต่างกันไป ซึ่งพืชที่มีกฎหมายคุ้มครองที่พบในสมัยอยุธยา ได้แก่ ทุเรียน มังคุด ลางสาด มะพร้าว กล้วย อ้อย พริกไทย หมากและพลู
71. ข้อใดไม่ใช่แร่ที่ขุดพบในสมัยอยุธยา
(1) ทองคำ
(2) ยูเรเนียม
(3) ดีบุก
(4) เหล็ก
ตอบ 2 หน้า 496 อาณาจักรอยุธยามีแร่ธาตุนานาชนิด ซึ่งแร่ธาตุที่ขุดพบและปรากฏหลักฐานว่า ชาวไทยรู้จักนำมาทำประโยชน์ ได้แก่ ดีบุก เหล็ก ทองคำ ทองแดง อำพัน ไข่มุก และพลอย
72. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของกำนันตลาดในสมัยอยุธยา
(1) ห้ามการขายสินค้าเกินราคา
(2) เก็บหัวเบี้ย (3) ตรวจการใช้เงินปลอมในตลาด (4) เป็นเจ้าของตลาด
ตอบ 4 หน้า 498 – 499 กำนันตลาดและนายตลาดหรือเจ้าตลาดในสมัยอยุธยามีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการค้าขายดังนี้ 1. ควบคุมไม่ให้ลูกตลาดขายสินค้าเกินราคาควบคุมที่เรียกว่า “ถนนตระหลาด” 2. สอดส่องดูแลไม่ให้ลูกตลาดเอาสินค้าต้องห้ามไปซื้อขายต่างเมือง 3.เก็บหัวเบี้ยในตลาดตามพิกัดที่ระบุไว้ในกฎหมาย 4. ในกรณีที่ชาวตลาดทะเลาะวิวาท และมีการฟ้องร้องกัน กฎหมายระบุว่าต้องไปสืบพยานจากกำนันตลาด 5. นายตลาดหรือ เจ้าตลาดจะทำหน้าที่ฝนตราเงิน เพื่อตรวจการใช้เงินทองแดงซึ่งเป็นเงินปลอมที่เอามาซื้อขาย
73. สินค้าที่อยุธยาไม่ได้นำไปจำหน่ายที่จีนคือ
(1) นกแก้วห้าสี (2) นอแรด (3) ผ้าไหม (4) พริกไทย
ตอบ 3 หน้า 500 สินค้าที่ไทยนำไปจำหน่ายยังเมืองจีนในสมัยอยุธยา ได้แก่ 1. พวกของป่า เช่น ไม้ฝาง ไม้หอมต่าง ๆ 2. เครื่องเทศ เช่น กระวาน กานพลู พริกไทย 3. สัตว์ที่หายาก เช่น นกยูง นกแก้วห้าสี 4. ผลิตผลจากสัตว์ป่า เช่น งาช้าง นอระมาด (นฤมาตหรือนอแรด) หนังสัตว์ ฯลฯ
74. ข้อใดถูก
(1) การส่งเสริมการปลูกข้าว รัฐไทยสมัยรัชกาลที่ 5 มีนโยบายให้ใช้แต่ข้าวพันธุ์ไทยเท่านั้น
(2) ข้าวพันธุ์คาโรไลนา คือ ข้าวพันธุ์ดีที่รัฐส่งเสริมให้ชาวนาเอาไปปลูก
(3) รัฐสยามสมัยรัตนโกสินทร์ไม่ส่งเสริมการส่งออกข้าว
(4) ภายหลังการทำสนธิสัญญาบาวริ่งทำให้ข้าวถูกผูกขาดโดยผู้ปกครองสยาม
ตอบ 2 หน้า.519, 521 รัชกาลที่ 5 ทรงตระหนักถึงความสำคัญของข้าวที่กลายเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของประเทศ จึงทรงส่งเสริมการทำนาปลูกข้าวประการหนึ่ง คือ คัดหาพันธุ์ข้าวที่ดีมีคุณภาพ และคัดให้มีการประกวดพันธุ์ข้าว นอกจากนี้รัฐบาลยังได้คัดซื้อพันธุ์ข้าวคาโรไลนาเข้ามาแจกจ่าย ให้ราษฎรไปเพาะปลูก เพราะข้าวพันธุ์นี้ปลูกที่อเมริกา มีจำหน่ายอยู่ในยุโรป จัดเป็นข้าวลำดับที่ 1 ที่เกรดดีที่สุด.
75. การแก้ไขปัญหาการทำนาในสมัยรัชกาลที่ 6 ข้อใดผิด
(1) การแก้ไขปัญหาเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดิน (2) การผ่อนผันให้เว้นการเกณฑ์ทหารที่มีอายุระหว่าง 25 – 30 ปี
(3) การแก้ไขปัญหาพ่อค้าคนกลาง (4) การกีดกันคนจีนออกจากระบบเศรษฐกิจของสยาม
ตอบ 4 หน้า 521 – 522 นโยบายการส่งเสริมการทำนาในสมัยรัชกาลที่ 6 มีดังนี้
1. แก้ปัญหาการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยเฉพาะที่มณฑลทางใต้
2. แก้ปัญหาแรงงาน โดยการผ่อนผันหรือยกเว้นภารเกณฑ์ชายฉกรรจ์ ซึ่งมีอายุระหว่าง 25 – 30 ปี ไม่ต้องไปรับราชการทหาร แตให้ไปทำนาแทน
3. แก้ปัญหาการถูกเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลาง ในเรื่องความไม่เที่ยงตรงของเครื่องชั่งตวงวัด
76. การเดินสวนทุกปีเกิดขึ้นเมื่อใด
(1) รัชกาลที่ 1 (2) รัชกาลที่ 2 (3) รัชกาลที่ 3 (4) รัชกาลที่ 4
ตอบ 4 หน้า 522 ในสมัยรัชกาลที่ 4 โปรดฯ ให้มีการเดินสวนทุกปีทุกคราวที่เก็บอากรสวน ซึ่งเป็นการเปลี่ยนไปจากธรรมเนียมเดิมที่เมื่อเปลี่ยนแผ่นดินใหม่ 3 ปี จึงให้เดินสวน (รวมทั้งเดินนาด้วย) ทั้งนี้เพราะรัชกาลที่ 4 ทรงต้องการทราบข้อมูลให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริง หากทิ้งไว้นาน จะทำให้เกิดความเสียหายแก่ชาวสวนได้
77. ตลาดค้าโคที่สำคัญของสยามสมัยรัตนโกสินทร์คือที่ใด
(1) อินเดีย (2) อังกฤษ (3) สิงคโปร์ (4) ญี่ปุ่น
ตอบ 3 หน้า 526 ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการส่งโคกระบือไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ซึ่งตลาดสินค้าโค ที่สำคัญของสยามในสมัยรัตนโกสินทร์ คือ สิงคโปร์ โดยมีการส่งโคกระบือเป็นสินค้าออกใน ร.ศ. 116 เป็นจำนวน 4,891 ตัว และใน ร.ศ. 117 ส่งไปขายมากกว่าคือ 14,310 ตัว
78. สมัยรัชกาลที่ 5 ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาด้านการเลี้ยงไหม ถามว่าเป็นคนชาติใด
(1) ญี่ปุ่น (2) จีน (3) อินเดีย (4) เขมร
ตอบ 1 หน้า 526 ในสมัยรัชกาลที่ 5 รัฐบาลได้ว่าจ้างที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญชาวญี่ปุ่น ได้แก่ นายโตยามะ (Mr. Toyama) ซึ่งเข้ามาเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2444 เพื่อให้มาช่วยดูแล การเลี้ยงไหมให้มีคุณภาพดีทัดเทียมกับต่างประเทศ เนื่องจากขณะนั้นประเทศญี่ปุ่น กำลังประสบความสำเร็จในการผลิตไหมออกขายตลาดโลก
79. กองบำรุงรักษาสัตว์นํ้าสังกัดหน่วยงานใด
(1) กรมประมง (2) กระทรวงเกษตราธิการ
(3) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (4) กรมปศฺสัตว์
ตอบ 2 หน้า 527 – 528 ในสมัยรัชกาลที่ 6 กระทรวงเกษตราธิการได้ตั้งกองบำรุงรักษาสัตว์น้ำขึ้น และได้จ้างผู้ชำนาญพิเศษเรื่องสัตว์นํ้า คือ ดร.ฮิว แมคคอร์มิค สมิธ (Dr.Hugh McCormic Smith) ชาวอเมริกันมาช่วยงาน หลังจากนั้นจึงได้จัดตั้งกรมรักษาสัตว์นํ้าขึ้นในกระทรวงเกษตราธิการ มีหน้าที่บำรุงรักษาและเพาะพันธุ์สัตว์นํ้า โดยมี ดร.ฮิว เป็นเจ้ากรมตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2469
80. มิสเตอร์ เอช. สเลด เข้ามาทำหน้าที่อะไรในสยาม
(1) ประมง (2) ป่าไม้ (3) วิศวกรรมชลประทาน (4) การเลี้ยงไหม
ตอบ 2 หน้า 531 ในสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดฯ ให้จัดตั้งกรมป่าไม้ขึ้นโดยให้อยู่ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย และโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งมิสเตอร์ เอช. สเลด (Mr. H. Slade) เป็นเจ้ากรมป่าไม้คนแรก ตั้งแต่ วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2439 จนกระทั่งถึง พ.ศ. 2447 ท่านผู้นี้จึงกราบบังคมทูลลาออก
81. ก่อนที่มนุษย์นับถือผีสางเทวดานั้น มีพื้นฐานความเชื่อในเรื่องใดมาก่อน
(1) นับถือวิญญาณ
(2) นับถือเทพเจ้า
(3) นับถือธรรมชาติ
(4) นับถือศาสนา
ตอบ 3 หน้า 570 – 571 วิวัฒนาการด้านความเชื่อของมนุษย์มีลำดับขั้นตอนดังนี้ 1.การบูชานับถือธรรมชาติ 2. การนับถือผีสางเทวดาหรือลัทธิวิญญาณนิยม 3. การบูชาบรรพบุรุษ4. การนับถือเทพเจ้าหลายองค์ 5. การนับถือเทพเจ้าหลายองค์ แต่แบ่งแยกหน้าที่ของเทพเจ้า แต่ละองค์ให้ต่างกัน 6. การนับถือพระเจ้าองค์เดียว 7. การละจากความงมงายไปสู่ความคิดที่มีเหตุมีผล ซึ่งทำให้เกิดพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ยิ่งใหญ่ศาสนาหนึ่งของโลก
82. ในสุโขทัยมีการจารึกถึงการนับถือ “พระขะพุงผี” หมายถึงความเชื่อในเรื่องใด
(1) นับถือบรรพบุรุษ (2) นับถือไสยศาสตร์ (3) นับถือผี (4) นับถือศาสนา
ตอบ 3 หน้า 583 – 584 ในศิลาจารึกหลักที่ 1 มีการจารึกถึงพระขะพุงผิ ซึ่งถือว่ามีความสำคัญที่สุด ในเมืองสุโขทัย เพราะเป็นผู้ที่สามารถทำให้บ้านเมืองล่มจมและเจริญได้ แสดงให้เห็นชัดถึง อิทธิพลความเชื่อถือเดิมในคติการนับถือผีสางเทวดาว่าฝังรากอย่างลึกซึ้ง แม้ว่าจะนับถือ พระพุทธศาสนาแล้วก็ตาม
83. ในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทยมีศาสนาใดที่เข้ามาผสมผสานกับพระพุทธศาสนา จนก่อให้เกิดพิธีกรรม ในศาสนา
(1) ศาสนาฮินดู (2) ศาสนาคริสต์ (3) ศาสนาเชน (4) ศาสนาอิสลาม
ตอบ 1 หน้า 584, (คำบรรยาย) ในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทย แม้ว่าพระพุทธศาสนาจะเจริญรุ่งเรือง มาก แต่กษัตริย์ก็มิได้ทรงกีดกันศาสนาอื่น ตรงกันข้ามกลับทรงอุปถัมภ์ศาสนาต่าง ๆ ที่ประชาชน นับถือร่วมกับศาสนาพุทธ เช่น ศาสนาฮินดู ซึ่งจะเห็นได้จากพิธีกรรมต่าง ๆ มักจะเอาศาสนาฮินดู เข้ามาผสมผสานกับพระพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดี
84. หลักฐานในข้อใดที่ทำให้รู้ถึงความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในสุโขทัย
(1) ไตรภูมิพระร่วง (2) พงศาวดาร (3) พระไตรปิฎก (4) ศิลาจารึก
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 34. ประกอบ
85. ข้อความในข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับพระสงฆ์คณะใต้สมัยสุโขทัย
(1) มักอยู่วัดในเมือง (2) มักถือสันโดษอยู่ตามป่าเขา
(3) ผู้คนเลื่อมใสในจริยวัตรมากกว่า (4) เรียกอีกชื่อหนึ่งว่ามหานิกาย
ตอบ 1 หน้า 582 – 583 ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง พระพุทธศาสนาในสุโขทัยแบ่งออกเป็น 2 คณะ ได้แก่
1. คณะเหนือ คือ พุทธศาสนาลัทธิเถรวาท ซึ่งเป็นคณะเดิมที่นับถือกันอยู่ โดยจะใช้ภาษาสันสกฤต และพระสงฆ์มักอยู่วัดในเมือง
2. คณะใต้ คือ พุทธศาสนาลัทธิเถรวาทอย่างลังกาวงศ์ ซึ่งเป็นรากฐานของมหานิกายในปัจจุบัน โดยพระสงฆ์จะใช้ภาษาบาลี และมักถือสันโดษอยู่ตามป่าเขา จึงทำให้ผู้คนเลื่อมใสใน พระจริยวัตรมากกว่า
86. ข้อความในข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับพระสงฆ์ในคณะเหนือสมัยสุโขทัย
(1) มักอยู่วัดในเมือง (2) มักถือสันโดษอยู่ตามป่าเขา
(3) ผู้คนเลื่อมใสในจริยวัตรมากกว่า (4) เรียกอีกชื่อหนึ่งว่ามหานิกาย
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 85. ประกอบ
87. การแบ่งพระสงฆ์เป็นสามคณะ คือ คณะคามวาสี คณะอรัญวาสี และคณะป่าแก้ว เกิดขึ้นในสมัยใด
(1) สมัยสุโขทัย (2) สมัยอยุธยา (3) สมัยธนบุรี (4) สมัยรัตนโกสินทร์
ตอบ 2 หน้า 592 – 593, (คำบรรยาย) ในสมัยสมเด็จพระนครินทราธิราช (สมเด็จพระอินทรราชา)ได้มีพระสงฆ์ไทยกลุ่มหนึ่งเดินทางไปป่ระเทศลังกาเพื่ออุปสมบทบวชแปลงเป็นนิกายวันรัตนวงศ์ ในสำนักพระวันรัตน์มหาเถระ และเมื่อกลับมายังกรุงศรีอยุธยาก็ได้จัดตั้งนิกายลังกาวงศ์ขึ้นอีก นิกายหนึ่ง เรียกว่า วันรัตนวงศ์ (คณะป่าแก้ว) ทำให้พระสงฆ์ในสมัยอยุธยาแบ่งออกเป็น 3 คณะ ได้แก่ 1. คณะคามวาสี 2. คณะอรัญวาสี 3. คณะป่าแก้ว (วันรัตนวงศ์)
88. วรรณกรรมเรื่องใดแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของพุทธศาสนาในสมัยอยุธยา
(1) ไตรภูมิพระร่วง (2) มหาชาติคำหลวง (3) ไตรภูมิโลกวินิจฉัย (4) ปฐมสมโพธิ์
ตอบ 2 หน้า 594, (คำบรรยาย) สิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของพุทธศาสนาในสมัยอยุธยา ประการหนึ่ง คือ เกิดวรรณคดีทางพุทธศาสนาขึ้นหลายเรือง เช่น เรื่องมหาชาติคำหลวง กาพย์มหาชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ นันโทปนันทสูตรคำหลวง พระมาลัยคำหลวง และปุณโณวาทคำฉันท์ เป็นต้น
89. ข้อความใดแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างวัดในพระพุทธศาสนากับคนไทยสมัยอยุธยา
(1) วัดเป็นที่ที่ผู้คนมีโอกาสพบปะกันในวันทำบุญและเทศกาลต่าง ๆ
(2) เป็นธรรมเนียมที่ลูกผู้ชายต้องบวชเรียน 1 พรรษา
(3) วัดเปรียบเสมือนโรงเรียนให้การศึกษา
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 590, (คำบรรยาย) ความสัมพันธ์ระหว่างวัดในพระพุทธศาสนากับคนไทยสมัยอยุธยา มีดังนี้
1. วัดเป็นที่ที่ผู้คนมีโอกาสพบปะกันในวันทำบุญและเทศกาลต่าง ๆ
2. วัดเป็นที่ระงับคดีวิวาทของชาวบ้าน
3. วัดเป็นสถานที่ประกอบพิธีทางสงฆ์ โดยเฉพาะประเพณีการบวชเรียน ซึ่งในสมัยอยุธยา ถือเป็นธรรมเนียมว่าลูกผู้ชายต้องบวชเรียน 1 พรรษา
4. วัดเปรียบเสมือนโรงเรียนให้การศึกษาด้านอักษรศาสตร์และวิชาอาชีพอื่น ๆ แก่กุลบุตร
90. ข้อความใดแสดงถึงความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาของคนไทยในสมัยอยุธยา
(1) การสร้างวัดและปฏิสังขรณ์วัด (2) พิธีกรรมต่างๆ มีพิธีสงฆ์เป็นองค์ประกอบ
(3) การทำบุญในโอกาสต่าง ๆ (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 589 – 592, (คำบรรยาย) สิ่งที่แสดงถึงความเจริญและความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาของคนไทยในสมัยอยุธยา จะสังเกตได้จากการที่พระมหากษัตริย์และประชาชนทำนุบำรุง พระพุทธศาสนาด้วยการสร้างวัดและปฏิสังขรณ์วัด รวมทั้งรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีทางพระพุทธศาสนา เช่น การทำบุญทำทาน การตักบาตร การบำเพ็ญกุศลในโอกาสต่าง ๆ ตลอดจนพิธีกรรมต่าง ๆ ที่ต้องมีพิธีสงฆ์เป็นองค์ประกอบ เป็นต้น
91. การทำสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 9 พ.ศ. 2331 สะท้อนสิ่งใด
(1) ความเสื่อมโทรมของพระพุทธศาสนาสมัยอยุธยาตอนปลาย
(2) ความสนใจบำรุงพระพุทธศาสนาของรัชกาลที่ 2
(3) ความคิดริเริ่มของคณะสงฆ์ไทยในการชำระพระไตรปิฎก
(4) ประชาชนเห็นความสำคัญของพระไตรปิฎก
ตอบ 1 หน้า 597 – 598 สาเหตุที่รัชกาลที่ 1โปรดฯให้สังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 9 ในพ.ศ. 2331 เป็นเพราะนับตั้งแต่อยุธยาเสียกรุงให้แก่พม่าครั้งสุดท้ายใน พ.ศ. 2310 บ้านเมืองกระส่ำระสาย และพระพุทธศาสนาในสมัยอยุธยาตอนปลายเสื่อมโทรมมาก จึงทรงมีพระราชประสงค์ที่จะทำการ สังคายนารวบรวมพระไตรปิฎกขึ้นไว้ให้สมบูรณ์อีกครั้งหนึ่ง เรียกว่า “พระไตรปิฎกฉบับทอง”
92. บุคคลในข้อใดเป็นผู้ก่อตั้งคณะสงฆ์นิกายใหมที่เรียกว่า “ธรรมยุตินิกาย”
(1) เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ (2) กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์
(3) เจ้าฟ้ามงกุฎ (4) กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ตอบ 3 หน้า 602 ในสมัยรัชกาลที่ 3 เจ้าฟ้ามงกุฎ (รัชกาลที่ 4 ในเวลาต่อมา) ทรงเป็นผู้นำในการ ปฏิรูปการพระพุทธศาสนา ซึ่งการปฏิรูปที่สำคัญ คือ การจัดตั้งคณะสงฆ์นิกายใหม่ที่เรียกว่า “ธรรมยุตินิกาย” ซึ่งเป็นคณะที่ปฏิบัติตามพระวินัยเคร่งครัดมาก ดังนั้นจึงนับเป็นการเปลี่ยนแปลง ที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์การพระพุทธศาสนาในประเทศไทย
93. เหตุใดจึงมีการปรับปรุงและสร้างความมั่นคงให้กับสถาบันสงฆ์ในรัชกาลที่ 5
(1) เป็นระยะเวลาที่บ้านเมืองกำลังถูกคุกคามจากประเทศตะวันตก
(2) เป็นระยะที่เกิดความเชื่อใหม่ ๆ ที่ท้าทายความมั่นคงของพระพุทธศาสนา
(3) เพื่อต่อต้านอิทธิพลตะวันตก เพราะสถาบันสงฆ์กับสถาบันการเมืองเกือบเป็นสถาบันเดียวกัน
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 616-618 รัชกาลที่ 5 ทรงปรับปรุงและสร้างความมั่นคงให้กับสถาบันสงฆ์ โดยโปรดฯ ให้ตรา พ.ร.บ. ปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 ขึ้น เนื่องมาจากสาเหตุดังนี้
1. เป็นระยะเวลาที่บ้านเมืองกำลังถูกคุกคามจากประเทศตะวันตก (โดยเฉพาะฝรั่งเศส)
2. เป็นระยะที่เกิดความเชื่อใหม่ ๆ ที่ท้าทายความมั่นคงของพระพุทธศาสนา
3. เพื่อต่อต้านอิทธิพลตะวันตก เพราะสถาบันสงฆ์กับสถาบันการเมืองเกือบเป็นสถาบันเดียวกัน
94. ข้อใดไม่ถูก
(1) ความเชื่อเรื่องกรรมช่วยลดปัญหาสังคมได้
(2) เมตตา คือ ควานหวังดีต่อผู้อื่น
(3) หลักพรหมวิหารสี่เป็นบ่อเกิดของความช่วยเหลือกัน
(4) หลักสำคัญของพระพุทธศาสนา คือ ให้คนไปนิพพาน
ตอบ 4 หน้า 628 พระพุทธศาสนาไม่ได้มีหลักการอย่างเดียว คือ จะให้คนไปนิพพาน ปล่อยให้สังคมมนุษย์รกร้าง แต่พระพุทธศาสนาได้วางหลักช่วยสังคมอย่างสมบูรณ์ เช่น ถ้าอยู่ในโลก ก็จะช่วยให้อยู่ในโลกอย่างสงบสุข แต่ถ้าจะบรรลุโลกุตตระก็ทรงช่วยแบบโลกุตตระ
95. จุดมุ่งหมายในการแก้ปัญหาสังคมของพระพุทธศาสนาคืออะไร
(1) การแก้ใจของแต่ละคนให้เกิดความสงบ (2) การให้ทุกคนบรรลุถึงโลกุตตระ
(3) การให้ทุกคนปลีกตัวออกจากสังคม (4) การตัดจากกิเลสทั้งปวงซึ่งนำไปสู่นิพพาน
ตอบ 1 หน้า 629 จุดมุ่งหมายสำคัญในการแก้ป้ญหาสังคมของพระพุทธศาสนา คือ การแก้ใจ ของแต่ละคนให้เกิดความสงบ โดยมีหลักวิธีง่าย ๆ ในการแก้ใจตนเองอยู่ 2 วิธี ได้แก่
1. การสอนให้เชื่อเรื่องกรรมช่วยแก้ปัญหาสังคมได้
2. การสอนให้พึ่งตนเอง เป็นการวางรากฐานจิตใจไม่ให้อ่อนแอคอยคิดแต่จะพึ่งผู้อื่น
96. ข้อใดชี้ให้เห็นว่าหลักธรรมของพระพุทธศาสนาเกี่ยวข้องกับความสุขของฆราวาส
(1) พระพุทธศาสนาแบ่งความสุขเป็นโลกียสุขและโลกุตตระสุข
(2) พระพุทธศาสนาสอนเรื่องสามิสสุขและอามิสสุข
(3) พระพุทธศาสนาเน้นเรื่องนิพพานเท่านั้น (4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
ตอบ 1 หน้า 619 พระพุทธศาสนาแบ่งความสุขออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. โลกียสุข เป็นความสุข ของปุถุชนหรือฆราวาสผู้ครองเรือน ซึ่งเป็นสุขที่พัวพันกับทรัพย์สมบัติและวัตถุต่าง ๆ ตลอดจน อารมณ์ 2. โลกุตตระสุข เป็นความสุขของผู้สิ้นกิเลสและสำเร็จอรหัตผลแล้ว จึงเป็นสุข ที่เที่ยงแท้ยั่งยืน ไม่พัวพันกับวัตถุหรืออารมณ์ใด ๆ
97. พิธีจรดพระนังคัลเป็นพิธีพราหมณ์ ต่อมารัชกาลที่ 4 ได้ทรงเพิ่มพิธีสงฆ์ขึ้นต่างหากเรียกว่าอะไร
(1) แรกนาขวัญ (2) พิรุณศาสตร์ (3) พืชมงคล (4) ทำขวัญเมล็ดพืช
ตอบ 3 หน้า 640, 668 พิธีพืชมงคลและจรดพระนังคัล แต่เดิมมีเพียงพิธีพราหมณ์อย่างเดียว เรียกว่า “พิธีจรดพระนังคัล” เป็นพิธีเวลาเช้า คือ ลงมือไถ แต่ก่อนทำที่ทุ่งส้มป่อยนอกพระนคร ต่อมารัชกาลที่ 4 โปรดฯ ให้เพิ่มพิธีสงฆ์ตามคติพระพุทธศาสนาขึ้นอีก เรียกว่า “พิธีพืชมงคล” คือ การทำขวัญพืช ซึ่งทำที่ท้องสนามหลวงในพระนคร โดยพิธีทั้งสองนี้จะทำพร้อมกัน ในคืนเดียววันเดียวกัน จึงได้เรียกชื่อติดกันว่า พิธีพืชมงคลและจรดพระนังคัล
98. ข้อใดจัดเป็นประเพณีส่วนรวม
(1) โกนจุก (2) วันมาฆบูชา (3) การเผาศพ (4) ทำบุญเลี้ยงพระขึ้นบ้านใหม่
ตอบ 2 หน้า 655, 658 ประเพณีส่วนรวม คือ ประเพณีที่ประชาชนทั่วไปนิยมปฏิบัติร่วมกัน ซึ่งมักจะ มีงานรื่นเริงเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ได้แก่ ประเพณีทำบุญวันขึ้นปีใหม่, ประเพณีเกี่ยวกับเทศกาล ต่าง ๆ เช่น เทศกาลเข้าพรรษา เทศกาลสารท, ประเพณีในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น วันวิสาฃบูซา วันมาฆบูชา วับอาสาฬหบูซา เป็นต้น (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นประเพณีส่วนบุคคล หรือประเพณีเกี่ยวกับชีวิต)
99. ประเพณีใดที่มีความสำคัญต่อสวัสดิภาพของสังคม
(1) จารีตประเพณี (2) ขนบประเพณี (3) ธรรมเนียมประเพณี (4) วิถีประชาชน
ตอบ 1 หน้า 653 – 654, (คำบรรยาย) จารีตประเพณีหรือกฎศีลธรรม (Mores) คือ ประเพณีที่เกี่ยวข้อง กับศีลธรรม จึงเป็นกฎที่มีความสำคัญต่อสวัสดิภาพของสังคม มีการบังคับให้ปฏิบัติตามและ มีความรู้สึกรุนแรงถ้าใครฝ่าฝืน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องของความผิดถูก หรือความนิยมที่ยึดถือและ ถ่ายทอดสืบต่อกันมาโดยการเลียนแบบหรือสั่งสอน เช่น การสมรสแบบผัวเดียวเมียเดียว หรือ เมื่อพ่อแม่แก่เฒ่าลงไปลูกหลานต้องเลี้ยงดู พี่น้องต้องรักกัน เป็นต้น
100. ข้อใดไม่ใช่ความหมายของธรรมเนียมประเพณี
(1) เป็นประเพณีที่ไม่ถือผิดทางศีลธรรม (2) เป็นประเพณีที่มีระเบียบแบบแผนวางไว้
(3) เป็นประเพณีเกี่ยวกับเรื่องธรรมดา ๆ ทั่วไป (4) เป็นแนวทางของการปฏิบัติที่ทุกคนเคยชิน
ตอบ 2 หน้า 654, (คำบรรยาย) ธรรมเนียมประเพณี (Convention) คือ ประเพณีที่ไม่ถือผิดทาง ศีลธรรมแต่ประพฤติกันมาตามธรรมเนียมอย่างนั้น ดังนั้นจึงเป็นประเพณีเกี่ยวกับเรื่องธรรมดาๆ ทั่วไปที่ไม่มีระเบียบแบบแผนวางไว้เหมือนกับขนบประเพณี และไม่มีความผิดถูกเหมือนกับ จารีตบระเพณีหรือกฎศีลธรรม แต่เป็นเพียงแนวทางในการปฏิบัติที่ทุกคนเคยชินและไม่รู้สึกว่าเป็นภาระหน้าที่
101. ศิลปะในประเทศไทยส่วนใหญ่สร้างขึ้นด้วยแรงบันดาลใจจากข้อใด
(1) ธรรมชาติ
(2) วิถีชีวิต
(3) ความเชื่อและศรัทธาในศาสนา
(4) คัมภีร์
ตอบ 3 หน้า 683 ศิลปกรรมในประเทศไทยในยุคประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่เป็นงานช่างในศาสนา ซึ่งมักจะสร้างขึ้นด้วยแรงบันดาลใจจากความเชื่อและความศรัทธาที่มนุษย์มีต่อศาสนาและ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้นงานช่างในศาสนาจึงเป็นการแสดงออกของงานศิลปะที่มีคุณค่า มีความหมาย ต่อวิถีชีวิต และแนวความคิดของคนในอดีตมาสู่คนรุ่นปัจจุบัน
102. ศิลปกรรมกลุ่มใดสร้างขึ้นจากความเชื่อและความศรัทธาที่มนุษย์มีต่อศาสนาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์
(1) เทวรูป (2) พระพุทธรูป
(3) จิตรกรรมฝาผนัง (4) ศาสนสถานและประติมากรรมรูปเคารพ
ตอบ 4 (คำบรรยาย) งาบศิลปกรรมที่สร้างขึ้นจากความเชื่อและความศรัทธาที่มนุษย์มีต่อศาสนาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. ศาสนสถาน คือ งานสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นเนื่องในศาสนา เช่น พุทธสถาน (สร้างขึ้น เนื่องในศาสนาพุทธ), เทวสถาน (สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู) ฯลฯ
2. ประติมากรรมรูปเคารพ คือ งานประติมากรรมที่สร้างขึ้นจากความศรัทธาในศาสนา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ เช่น พระพุทธรูป พระโพธสัตว์ เทวรูป ฯลฯ
103. ข้อความใดถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับงานศิลปะที่พบในประเทศไทย
(1) กษัตริย์มีอิทธิพลต่องานศิลปะ
(2) ศาสนาทำให้เกิดศิลปะอันเนื่องด้วยศาสนา
(3) ลักษณะรูปแบบศิลปะอินเดียเป็นพื้นฐานให้แก่ศิลปะในประเทศไทย
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 585, 683, 685, (คำบรรยาย) ลักษณะของงานศิลปะที่พบในประเทศไทย มีดังนี้
1. กษัตริย์มีอิทธิพลต่องานศิลปะ เนื่องจากทรงเป็นผู้นำในการก่อสร้างและบำรุงศาสนสถาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างวัด
2. ศาสนาพุทธทำให้เกิดศิลปกรรมที่เป็นงานช่างอันเนื่องด้วยศาสนา เช่น เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ภาพเขียนที่ผนังโบสถ์ พระพุทธรูปสลักจากศิลา ฯลฯ
3. ลักษณะรูปแบบศิลปะอินเดียเป็นพื้นฐานสำคัญให้แก่ศิลปะในประเทศไทย เช่น ศิลปะทวารวดี ส่วนใหญ่รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดียแบบคุปตะ หลังคุปตะ และปาละ เป็นต้น
104. ศิลปกรรมในข้อใดเป็นงานช่างอันเนื่องด้วยศาสนา
(1) เจดีย์ (2) ภาพเขียนที่ผนังโบสถ์
(3) พระพุทธรูปสลักจากศิลา (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 103. ประกอบ
105. พระประธานที่ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถ จัดเป็นประติมากรรมประเภทใด
(1) นูนตํ่า (2) นูนสูง (3) ลอยตัว (4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 682 งานประติมากรรมแบบลอยตัว (Round Relief) เป็นการปั้น สลัก หรือหล่อ ที่สามารถมองเห็นและสัมผัส ชื่นชมความงามได้ทุกด้านหรือรอบด้าน เช่น พระพุทธรูป และ พระประธานที่ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถ เป็นต้น
106. ศิลปะทวารวดีมีอายุสมัยอยู่ในช่วงใด
(1) พุทธศตวรรษที่ 8-10 (2) พุทธศตวรรษที่ 12 – 16
(3) พุทธศตวรรษที่ 16 – 18 (4) พุทธศตวรรษที่ 17 – 19
ตอบ 2 หน้า 683 ศิลปะในประเทศไทยยุคก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 มีดังนี้
1. ศิลปะทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 12 – 16)
2. ศิลปะแบบเทวรูปรุนเก่า (พุทธศตวรรษที่ 12 – 14)
3. ศิลปะศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 13 – 18)
4. ศิลปะขอมในประเทศไทย หรือศิลปะลพบุรี (พุทธศตวรรษที่ 16 – 18)
5. ศิลปะหริภุญไชย (พุทธศตวรรษที่ 17 – 19)
107. ข้อใดเป็นศิลปวัตถุสมัยทวารวดีที่หมายถึง การแสดงปฐมเทศนาที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
(1) ธรรมจักร และกวางหมอบ (2) พระพุทธรูปปางแสดงธรรม
(3) พระพุทธรูปที่มีพระสาวกกำลังพนมมือ (4) พระพุทธรูปประทับนั่งใต้ต้นโพธิ์
ตอบ 1 หน้า 689 ศิลาสลักรูปธรรมจักรในศิลปะทวารวดีคงมีความหมายถึง พระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนา เนื่องจากมักพบพร้อมกับกวางหมอบ อันหมายถึง ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ซึ่งเป็นสถานที่ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนา ทั้งนี้การที่แสดงภาพเป็นธรรมจักรก็เนื่องด้วยพระสูตรที่ทรงแสดงปฐมเทศนา คือ ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร หรือพระสูตรแห่งการหมุนธรรมจักรนั่นเอง
108. เทพผู้เป็นใหญ่ในศาสนาฮินดูที่เรียกว่า “ตรีมูรติ” ได้แก่เทพในข้อใด
(1) พระศิวะ พระอุมา พระนารายณ์ (2) พระศิวะ พระพรหม พระวิษณุ
(3) พระอินทร์ พระพรหม พระอิศวร (4) พระอิศวร พระวิษณุ พระพิฆเณศวร์
ตอบ 2 หน้า 691 ศาสนาฮินดูจะนับถือตรีมูรติ ซึ่งเป็นเทพเจ้าสูงสุดหรือเทพผู้เป็นใหญ่ 3 องค์ได้แก่ 1. พระศิวะหรือพระอิศวร เป็นผู้ทำลายโลก 2. พระวิษณุหรือพระนารายณ์ เป็นผู้รักษาโลก 3.พระพรหม เป็นผู้สร้างโลก
109. ศิลปะแบบศรีวิชัย เป็นศิลปกรรมที่สืบเนื่องมาจากความเชื่อในศาสนาใด
(1) พุทธมหายาน (2) พุทธเถรวาท (3) ฮินดู (4) พราหมณ์
ตอบ 1 หน้า 694 ศิลปะศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 13 – 18) เกิดขึ้นทางภาคใต้ของประเทศไทยซึ่งศิลปกรรมศรีวิชัยที่ทำขึ้นส่วนใหญ่จะเนื่องมาแต่พุทธศาสนามหายานทั้งสิ้น โดยโบราณวัตถุ ไม่ว่าจะสลักด้วยศิลาหรือหล่อด้วยสำริดจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับของที่พบในเกาะชวาภาคกลาง เป็นอย่างมาก
110. ศิลปะขอมในประเทศไทย สร้างขึ้นตามคติความเชื่อในข้อใด
(1) ศาสนาพุทธมหายาน (2) ศาสนาพุทธเถรวาท
(3) ศาสนาพุทธมหายาน + ศาสนาฮินดู (4) ศาสนาพุทธเถรวาท + ศาลนาฮินดู
ตอบ 3 หน้า 698 – 699 ศิลปะลพบุรี หรือศิลปะขอมในประเทศไทย (พุทธศตวรรษที่ 16 – 18)มักพบในท้องที่ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยโบราณวัตถุในศิลปะขอมในประเทศไทยนิยมสลักจากศิลาหรือหล่อด้วยสำริด และมักสร้างขึ้นตามคติความเชื่อทางศาสนาพุทธมหายานมากที่สุด รองลงมาคือ ศาสนาฮินดู
111. สถาปัตยกรรมในข้อใดเป็นศิลปะขอมในประเทศไทย
(1) พระปรางค์สามยอด ลพบุรี
(2) ปราสาทหินพิมาย นครราชสีมา
(3) ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ ที่ปราสาทพนมรุ้ง
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 699 – 700, (คำบรรยาย) สถาปัตยกรรมสมัยศิลปะลพบุรี หรือศิลปะขอมในประเทศไทย ไม่ได้พบแต่ในเขตเมืองละโว้ (ลพบุรี) เท่านั้น แต่กลับพบใบบริเวณเมืองต่าง ๆ ในลุ่มแม่นํ้า เจ้าพระยาด้วย เช่น ปราสาทเมืองต่ำ จ.บุรีรัมย์, ปราสาทหินพมาย จ.นครราชสีมา,ปราสาทหินพนมรุ้ง และทับหลังสลักรูปนารายณ์บรรทมสินธุ์ จ.บุรีรัมย์, ปราสาทเมืองสิงห์ จ.กาญจนบุรี, พระปรางค์สามยอดและพระปรางค์แขก จ.ลพบุรี, ปราสาทบ้านระแงงที่ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์ ฯลฯ
112. ศิลปกรรมหริภุญไชยแท้จริง ได้รับอิทธิพลจากศิลปะใดเป็นพื้นฐาน
(1) ศิลปะทวารวดี (2) ศิลปะขอมในประเทศไทย
(3) ศิลปะพุกาม (4) ศิลปะในข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 703 ศิลปกรรมหริภุญไชยแท้จริงจะมีความเกี่ยวข้องและได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะทวารวดีทางภาคกลาง ศิลปะขอมในประเทศไทยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ศิลปะของพุกามเป็นพื้นฐาน
113. ศิลปะล้านนาในช่วงแรก มีพื้นฐานจากศิลปะในข้อใด
(1) ศิลปะหริภุญไฃย (2) ศิลปะเชียงแสน (3) ศิลปะพุกาม (4) ศิลปะลพบุรี
ตอบ 1 หน้า 715 ศิลปะล้านนาหรือเชียงแสนในช่วงแรกนั้น ได้รับอิทธิพลหรือมีพื้นฐานมาจาก ศิลปะหริภุญไชย และมีการพัฒนาลักษณะรูปแบบโดยมีอิทธิพลของศิลปะพม่าสมัยพุกาม เข้ามาเกี่ยวข้อง
114. อาคารห้องสี่เหลี่ยมที่ภายในประดิษฐานพระพุทธรูป มีหลังคาทรงกรวยสี่เหลี่ยมซ้อนชั้น มีพื้นที่ภายใน เข้าไปสักการะพระพุทธรูปได้ เรียกอาคารที่มีลักษณะเช่นนี้ว่าอะไร
(1) ทรงปราสาทยอด (2) ปราสาทขอม (3) พุ่มข้าวบิณฑ์ (4) มณฑป
ตอบ 4 หน้า 711 มณฑป หมายถึง อาคารที่มีพื้นที่สี่เหลี่ยมจัตุรัสก่อเป็นห้องเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูป ส่วนหลังคาเป็นทรงกรวยสี่เหลี่ยมซ้อนชั้นลดหลั่นขึ้นไป ส่วนความหมายดั้งเดิมของมณฑป คือ การแสดงความเป็นปราสาท พื้นที่ภายในมีเพียงเล็กน้อยเพื่อให้เข้าไปสักการบูชาพระพุทธรูป หรือสำหรับให้พระภิกษุสงฆ์ประกอบพิธีกรรมได้
115. ข้อใดไม่ใช่กลุ่มพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย
(1) พระพุทธรูปสกุลช่างเชลียง (2) พระพุทธรูปหมวดเบ็ดเตล็ดหรือวัดตะกวน
(3) พระพุทธรูปสกุลช่างพิษณุโลก (4) พระพุทธรูปสกุลช่างกำแพงเพชร
ตอบ 1 หน้า 711 – 713 นักวิชาการได้แบ่งลักษณะของพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยเป็น 4 หมวด ดังนี้ 1. พระพุทธรูปหมวดเบ็ดเตล็ดหรือหมวดวัดตะกวน 2. พระพุทธรูปหมวดใหญ่
3. พระพุทธรูปหมวดพระพุทธชินราช หรือพระพุทธรูปสกุลช่างพิษณุโลก
4. พระพุทธรูปหมวดกำแพงเพชร หรือพระพุทธรูปสกุลช่างกำแพงเพชร
116. วัดไชยวัฒนาราม เป็นวัดที่พระเจ้าปราสาททองถ่ายแบบอย่างสถาปัตยกรรมในข้อใดมาสร้างในกรุงศรีอยุธยา
(1) สถาปัตยกรรมแบบสุโขทัย (2) สถาปัตยกรรมแบบล้านนา
(3) สถาปัตยกรรมแบบศรีวิชัย (4) สถาปัตยกรรมแบบขอม
ตอบ 4 หน้า 724, (คำบรรยาย) ในสมัยอยุธยาตอนปลาย สมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงปราบปราม กัมพูขาที่แข็งเมืองได้ จึงมีการถ่ายแบบอย่างปรางค์และสถาปัตยกรรมแบบขอมมาสร้างใน กรุงศรีอยุธยาเป็นการเฉลิมพระเกียรติ คือ วัดไชยวัฒนาราม ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก นอกเกาะเมืองอยุธยา และสร้างขึ้นตามคติจักรวาลตามแบบปราสาทหินที่นครวัด แต่มีการ ดัดแปลงบางส่วนทางด้านทรวดทรงให้เป็นลักษณะนิยมแบบไทย
117. ในสมัยรัชกาลใดที่มีการแก้ไขพุทธลักษณะของพระพุทธรูปให้สมจริงคล้ายคนสามัญ ไม่มีพระเกตุมาลา และมีจีบริ้วของจีวรเป็นไปตามธรรมชาติของผ้า
(1) รัชกาลที่ 2 (2) รัชกาลที่ 3 (3) รัชกาลที่ 4 (4) รัชกาลที่ 5
ตอบ 3 หน้า 732 ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงคิดแก้ไขพุทธลักษณะของพระพุทธรูปให้สมจริงคล้ายมนุษย์- สามัญ คือ ไม่มีอุษณีษะหรือเกตุมาลา พระวรกายเป็นไปตามสรีระของมนุษย์ปกติ จีบริ้วของจีวร เป็นไปตามธรรมชาติของผ้า และประทับนั่งขัดสมาธิเพชร ซึ่งจัดว่าเป็นพระพุทธรูปแบบสมจริง เช่น พระพุทธนิรันตราย ซึ่งรัชกาลที่ 4 โปรดฯ ให้สร้างขึ้นแต่ไม่เป็นที่นิยมกันมากนัก เป็นต้น
118. เจดีย์ภูเขาทอง วัดสระเกศ เป็นตัวอย่างเจดีย์ในสมัยรัชกาลที่ 4 เจดีย์นี้เป็นรูปแบบใด (1) เจดีย์ทรงระฆังแบบลังกา (2) เจดีย์แบบเพิ่มมุม
(3) เจดีย์ทรงปราสาทยอด (4) เจดีย์ทรงเครื่อง
ตอบ 1 หน้า 605, 724, 730 – 731 เจดีย์พระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นเจดีย์ทรงระฆังแบบลังกา ที่มักเรียกกันวา “ทรงกลมแบบลังกา” ดังจะเห็นได้จากพระรัตนเจดีย์ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม, พระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม และเจดีย์ภูเขาทองที่วัดสระเกศเป็นตัวอย่างเจดีย์ทรงระฆังฐานสี่เหลี่ยม เพิ่มมุม ซึ่งทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ เป็นต้น
119. โบสถ์และวิหารที่ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา และหางหงส์ เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลใด
(1) รัชกาลที่ 2 (2) รัชกาลที่ 3 (3) รัชกาลที่ 4 (4) รัชกาลที่ 5
ตอบ 2 หน้า 601, 729, (คำบรรยาย) รัชกาลที่ 3 (หรือกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์เมื่อยังไม่ได้ขึ้นครองราชย์) ทรงนิยมศิลปะจีน ทำให้วัดที่พระองค์ทรงสร้างและปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของ ศิลปะจีน คือ โบสถ์และวิหารไม่มีช่อฟ้า ใบระกา และหางหงส์ ส่วนหน้าบันหรือหน้าจั่วไม่ใช้ไม้ แต่ก่อด้วยอิฐถือปูน และใช้ลวดลายดินเผาเคลือบประดับ เช่น พระอุโบสถที่วัดราชโอรส วัดเทพธิดาราม และวัดราชนัดดาราม ฯลฯ
120. พระอุโบสถวัดราชโอรสที่กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ทรงปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ เป็นตัวอย่างของงานสถาปัตยกรรม ที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะในข้อใด
(1) ศิลปะตะวันตก (2) ศิลปะอยุธยาตอนปลาย
(3) ศิลปะจีน (4) ศิลปะสุโขทัย
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 119. ประกอบ