การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2557
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS2150 (MCS2100) การประชาสัมพันธ์เบื้องต้น
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 นักประชาสัมพันธ์ต้องใช้ทักษะด้านใดในการสื่อสารที่ดี
(1) การใช้ใบหน้าที่ขาวสะอาด
(2) ใช้ภาษาที่ถูกต้อง
(3) การใช้การเขียน
(4) การใช้การพูด
(5) การใช้ความคิด
ตอบ 2 หน้า 234 – 235, (คําบรรยาย) คุณสมบัติอันจําเป็นของนักประชาสัมพันธ์ด้านความรู้ มีดังนี้
1 มีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสื่อมวลชน
2 มีทักษะในการติดต่อสื่อสารที่ดี คือ การใช้ภาษาที่ถูกต้อง เช่น การเขียน การพูด การสนทนา ฯลฯ
3 มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องประชามติ การตลาด เศรษฐกิจ สังคม ฯลฯ
4 มีทัศนคติที่ดีต่อองค์กร เชื่อมั่นและเข้าใจงานประชาสัมพันธ์ ฯลฯ

Advertisement

2 หน้าที่หลักสําคัญของนักประชาสัมพันธ์ คือ
(1) ทักษะการเขียนถูกต้อง
(2) การเขียนข่าวแจก
(3) การเขียนรายงานข่าว
(4) การเผยแพร่บทความวิชาการ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 85 ภาระหน้าที่หลักของนักประชาสัมพันธ์ประการหนึ่ง ได้แก่ การเขียน (Writing) คือ มีทักษะในการเขียนที่ถูกต้อง เช่น การเขียนรายงานข่าว การเขียนข่าวแจก (News Release) เอกสารเผยแพร่บทความทางวิทยุและโทรทัศน์ การปาฐกถา บทภาพยนตร์ของสถาบัน วารสาร หนังสือ การเผยแพร่บทความทางวิชาการและทางเทคนิคอื่น ๆ ฯลฯ

3 การติดต่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันกับผู้สื่อข่าว จัดเป็น…….ของนักประชาสัมพันธ์
(1) ภาพลักษณ์
(2) ภาระหน้าที่
(3) ขอบเขตสถาบัน
(4) การสื่อสาร
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 2หน้า 85 ภาระหน้าที่หลักของนักประชาสัมพันธ์ประการหนึ่ง ได้แก่ การติดต่อสื่อสาร (Placement) คือ การติดต่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันกับผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ตลอดจนวารสาร อนุสาร หนังสือพิมพ์ฉบับพิเศษ บรรณาธิการข่าวพาณิชย์ และอื่น ๆ เพื่อ ศึกษาถึงนโยบาย ลักษณะการดําเนินงาน จํานวนจําหน่าย ความสนใจ และมวลชนเป้าหมาย ของสื่อมวลชนดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจกันในการดําเนินงานประชาสัมพันธ์ ให้ได้รับผลอย่างสมบูรณ์

4 การจัดงานเลี้ยงขอบคุณสื่อมวลชน สัมพันธ์กับข้อใด
(1) การติดต่อสื่อมวลชน
(2) การจัดทําข่าว
(3) การส่งเสริมเผยแพร่ในโอกาสพิเศษ
(4) เปิดตัวสื่อมวลชน
(5) การสร้างความสัมพันธ์กับผู้สื่อข่าว
ตอบ 3หน้า 85, 303 – 308 การส่งเสริมเผยแพร่ (Promotion) หมายถึง การจัดงานในกรณีพิเศษ หรือในโอกาสพิเศษเพื่อผลงานประชาสัมพันธ์ หรือเพื่อช่วยส่งเสริมเผยแพร่ชื่อเสียงเกียรติคุณของสถาบัน เช่น การจัดเฉลิมฉลองวันครบรอบปี วันสัปดาห์หรือเดือนพิเศษ การเปิดให้ชมกิจการ การจัดแสดงต่าง ๆ นิทรรศการ ปีใหม่ เทศกาล การจัดงานเลี้ยงขอบคุณสื่อมวลชน งานแนะนํา ผลิตภัณฑ์ใหม่ งานประกวดและให้รางวัลผู้มีเกียรติ ตลอดจนงานออกร้านและอื่น

5 Placement ตรงกับความหมายในข้อใด
(1) การติดต่อกับสื่อ
(2) การติดต่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันกับผู้สื่อข่าว
(3) การจัดกิจกรรมพิเศษ
(4) ส่งเสริมเผยแพร่กิจกรรม
(5) นโยบายสื่อมวลชน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ

6 การโฆษณาสถาบัน มีความหมายตรงกับข้อใด
(1) การสร้างชื่อเสียงให้องค์กร
(2) การสร้างความเชื่อถือศรัทธาให้กับสถาบัน
(3) การเผยแพร่องค์กร
(4) การเผยแพร่ผลงาน
(5) การโฆษณาสถาบัน
ตอบ 2 หน้า 86 การโฆษณาสถาบัน (Institutional Advertising) คือ การสร้างความเชื่อถือศรัทธา และเผยแพร่ชื่อเสียงเกียรติคุณให้กับสถาบัน เช่น การซื้อเวลาของการโฆษณาทางวิทยุและ โทรทัศน์ การซื้อหน้าหนังสือพิมพ์และวารสารเพื่อเผยแพร่ผลงาน ฯลฯ ซึ่งวิธีการโฆษณา สถาบันและวิธีการโฆษณาเพื่องานประชาสัมพันธ์จะสําเร็จได้นั้น ต้องร่วมมือร่วมใจกันระหว่างแผนกโฆษณาและฝ่ายประชาสัมพันธ์

7 Speaking ตรงกับความหมายข้อใด
(1) การสร้างชื่อเสียงให้องค์กร
(2) การสร้างความเชื่อถือศรัทธาให้กับสถาบัน
(3) การเผยแพร่องค์กร
(4) การเผยแพร่ผลงาน
(5) การโฆษณาสถาบัน
ตอบ 2 หน้า 86, 248 – 250, (คําบรรยาย) ปาฐกถา (Speaking) เป็นการพูดโน้มน้าวใจหรือดึงดูดใจ มวลชนเพื่อสร้างความเชื่อถือศรัทธาให้กับสถาบัน โดยจะอยู่ในความรับผิดชอบของแผนกการพูด ของสถาบันในการปรากฏตัวและกล่าวสุนทรพจน์ในที่ประชุมชน รวมทั้งการจัดเตรียมสุนทรพจน์ ให้ผู้บริหารและการเผยแพร่สุนทรพจน์ที่สําคัญไปยังสื่อมวลชนและประชาชนทั่วไป

8 องค์ประกอบของการประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพ ตรงกับข้อใด
(1) การจัดทําแผนงานประชาสัมพันธ์อย่างมีระบบ
(2) การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายและกําหนดนโยบาย
(3) การดําเนินการสร้างแรงจูงใจในการประชาสัมพันธ์
(4) การพัฒนาปรับปรุงองค์กรอย่างต่อเนื่อง
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 205, (คําบรรยาย) องค์ประกอบของการประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพ มีดังนี้
1 การจัดทําแผนงานประชาสัมพันธ์อย่างมีระบบ
2 การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายและกําหนดนโยบาย
3 การดําเนินการสื่อสารและสร้างแรงจูงใจในการประชาสัมพันธ์
4 การพัฒนาปรับปรุงองค์กรอย่างต่อเนื่อง

9 ผู้ใดเชื่อมั่นว่าชื่อเสียงของสถาบันจะอยู่เคียงข้างกับมวลชนได้ ขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบของประชาสัมพันธ์โดยตรง
(1) General
(2) Motors
(3) Anthony
(4) Anthony De
(5) Anthony De Lorenzo
ตอบ 5 หน้า 206 Anthony De Lorenzo รองประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์บริษัท General Motors
เชื่อมั่นว่าชื่อเสียงของสถาบันจะอยู่เคียงข้างกับมวลชนได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบ โดยตรงของฝ่ายประชาสัมพันธ์ของสถาบันนั้น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานประชาสัมพันธ์ จะเป็นฝ่ายที่สร้างรากฐานของความเชื่อถือและไว้วางใจให้กับสถาบัน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อชื่อเสียงและเกียรติคุณของสถาบันในสังคม

10 ข้อใดต่อไปนี้ตรงกับคุณสมบัติของนักประชาสัมพันธ์
(1) มีทักษะในการสื่อสาร เช่น การเขียน การพูด การสนทนา
(2) มีความรู้เรื่องการตลาด เศรษฐกิจ สังคม
(3) มีทัศนคติที่ดีต่อองค์กร
(4) มีความเชื่อมั่นและเข้าใจงานประชาสัมพันธ์
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

11 Spoken Words หมายถึง
(1) สื่อที่สําคัญของมนุษย์มีมาแต่กําเนิด
(2) คําพูดเป็นสื่อที่สําคัญในการประชาสัมพันธ์
(3) เครื่องมือสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์
(4) การประชาสัมพันธ์ที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่ง
(5) ถูกทุกข้อ
ตอน 5 หน้า 244 คําพูด (Spoken Words) เป็นสื่อที่สําคัญยิ่งของมนุษย์ซึ่งมีมาแต่กําเนิด และใช้กัน อย่างแพร่หลายมากกว่าสื่อในการประชาสัมพันธ์อื่น ๆ ดังนั้นสื่อคําพูดจึงนับเป็นเครื่องมือ ในการสื่อสารเพื่องานประชาสัมพันธ์ที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่ง จัดได้ว่าเป็นสื่อพื้นฐานของมนุษย์ ที่ถูกนํามาใช้อย่างกว้างขวางและแพร่หลายมากที่สุด

12 การสื่อสารที่ทําให้คนมาร่วมกันเพื่อแลกเปลี่ยนทัศนคติต่อกัน คือ
(1) การจัดกิจกรรมสาธารณะ
(2) การสร้างความนิยม
(3) การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
(4) การเสนอความเห็น
(5) การประชุมพบปะกัน
ตอบ 5 หน้า 245 การประชุมพบปะกัน (Meetings) หรือสังสรรค์กัน เป็นวิธีการสื่อสารที่ได้นําผู้คน ให้มาอยู่ร่วมกันเพื่อได้พูดคุยแลกเปลี่ยนทัศนคติต่อกัน ดังนั้นจึงเป็นการสื่อสารในลักษณะ สองทิศทางที่ทําให้ผู้พูดและผู้ฟังได้มีโอกาสเรียนรู้ประสบการณ์ที่แปลกใหม่ ทําให้ได้รับความรู้อย่างกว้างขวางกว่าเดิม

13 Public Relations Men หรือที่เรียกว่า
(1) นักหนังสือพิมพ์
(2) นักโฆษณา
(3) นักประชาสัมพันธ์
(4) นักข่าว
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 71, 323, (คําบรรยาย) คําว่า “Public Relations Men” หมายถึง นักประชาสัมพันธ์ ซึ่งอาจมีชื่อเรียกได้อีกหลายอย่าง ได้แก่
1 เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ (Public Relations Officer : PR Officer)
2 ที่ปรึกษาการประชาสัมพันธ์ (Public Relations Counselor : PR Counselor)

14 การสร้างความเข้าใจอันดีกับชุมชน ตรงกับการใช้สื่อใด
(1) Radio
(2) Television
(3) Press Relations
(4) Press Agent
(5) Publicity Man
ตอบ 3 หน้า 323 การหนังสือพิมพ์สัมพันธ์ (Press Relations) หรือการสร้างความสัมพันธ์อันดีงาม กับหนังสือพิมพ์ หมายถึง วิธีการประชาสัมพันธ์ที่มุ่งสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจในวงการหนังสือพิมพ์ และสื่อสารมวลชน เพื่อให้การเสนอข่าวและเนื้อหาของหนังสือพิมพ์และสื่อสารมวลชนนั้นเป็นประโยชน์แก่การสร้างความเข้าใจอันดีกับชุมชน

15 การเข้าถึงสื่อสิ่งพิมพ์ต้องศึกษาอะไรในข้อต่อไปนี้
(1) นโยบายและความต้องการของหนังสือพิมพ์แต่ละชนิด
(2) การดําเนินงานของหนังสือพิมพ์
(3) รวบรวมข้อมูล
(4) ผลกระทบของสื่อ
(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 327 – 328 ในการเข้าถึงสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือพิมพ์ นักประชาสัมพันธ์จะต้องศึกษาถึง นโยบายและความต้องการของหนังสือพิมพ์แต่ละชนิดว่าเน้นหนักไปในแนวทางใด เพราะ หนังสือพิมพ์แต่ละชนิดจะมีจุดมุ่งหมายในการดําเนินงานและฐานะทางเศรษฐกิจแตกต่างกันนักประชาสัมพันธ์จึงต้องศึกษาข้อมูลดังกล่าวอย่างละเอียด เพื่อเป็นแนวทางในการเข้าถึง ประชาชนเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อ 16. – 28. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) เทพีแห่งสันติภาพ
(2) การย้ำข่าวสารข้อมูล
(3) การประชาสัมพันธ์
(4) Two-way Street Concept
(5) ข่าวประชาสัมพันธ์/ประชาสัมพันธ์กรณีฉุกเฉิน ใบแทรกเอกสารข่าว/บรรณาธิการเอกสารประชาสัมพันธ์

16 …….การนําเสนอข่าวโดยไม่มีการปิดกั้นข้อมูล
ตอบ 5 หน้า 54, 67, 329 – 331 ข่าวประชาสัมพันธ์หรือเอกสารข่าวแจก (News Releases or Press Releases) เป็นการนําเสนอข่าวที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินงานของสถาบันโดยยึดหลักความจริง ไม่ปิดกั้นข้อมูลข่าวสาร และต้องคํานึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนเป็นจุดมุ่งหมายที่สําคัญไม่ควรคิดแต่ผลกําไรของสถาบันแต่เพียงอย่างเดียว เพราะถ้าหากขาดความเชื่อถือศรัทธาจากประชาชนแล้ว สถาบันก็ไม่สามารถยืนหยัดอยู่ในสังคมได้

17…….. บทบาทภาระหน้าที่ในการตัดสินใจเสนอข้อมูล
ตอบ 5 หน้า 276 – 277, (คําบรรยาย) กองบรรณาธิการของเอกสารประชาสัมพันธ์ ถือเป็นหัวใจสําคัญ ที่ช่วยเป็นหลักในการดําเนินงานประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข่าวสารขององค์กรให้เป็นไปด้วยดี ดังนั้นหน้าที่และตําแหน่งบรรณาธิการจึงเปรียบเสมือนนักประชาสัมพันธ์ระดับสูง ซึ่งมีบทบาทภาระหน้าที่หลายฝ่ายตั้งแต่วางแผนประชาสัมพันธ์ เป็นผู้ตัดสินใจเสนอข้อมูลและจัดทําเอกสารประชาสัมพันธ์ ไปจนถึงการให้คําปรึกษาแนะนํากับฝ่ายบริหาร

18 ……..การย้ำเตือนผู้รับสารในการยอมรับข่าวสาร
ตอบ 2 หน้า 154 การย้ําข่าวสารข้อมูล (Repetition of Message) คือ การติดต่อสื่อสารในกรณีที่ ผู้รับฟังได้ยินไม่ชัดเจนหรือขาดการติดต่อกันไป หรือต้องการย้ําเพื่อความแน่ใจว่าข่าวสารนั้น ถึงเป้าหมายแน่นอนหรือไม่ โดยในบางครั้งจะใช้ในกรณีเตือนความจําผู้รับสารให้มั่นใจ เชื่อถือ และยอมรับในข่าวสารจนนําไปปฏิบัติการในที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่มักจะนําไปใช้ในการโฆษณาสินค้า

19……. การโฆษณาสินค้ามีความจําเป็นต้องใช้
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 18. ประกอบ

20……. การพูดคุยโดยตรงกับประชาชนชาวอเมริกันของประธานาธิบดีแฟรงกินส์ รูสเวลส์
ตอบ 4 หน้า 106 ผลสําเร็จอันยิ่งใหญ่ของประธานาธิบดีแฟรงกินส์ รูสเวลส์ ในการวิจัยทัศนคติของ ชาวอเมริกัน คือ การเปิดรับฟังความคิดเห็นโดยการติดต่อสื่อสารกับประชาชนผ่านสื่อมวลชน เช่น การแสดงประชามติ และการได้พูดคุยโดยตรงกับประชาชนชาวอเมริกัน ดังนั้นวิธีการวิจัย ที่มีประสิทธิภาพก็คือ การสื่อสารแบบสองทิศทาง (The Two-way Street Concept) หรือ การรับฟังข้อมูลย้อนกลับตามแนวทางการติดต่อสื่อสารแบบยุคลวิถี

21 ……..มีเอกลักษณ์ในการประชาสัมพันธ์
ตอบ 1 หน้า 168 – 169 สัญลักษณ์ของสถาบันเป็นสิ่งสําคัญที่ใช้แทนภาษาได้อย่างดียิ่ง เมื่อผู้ใดเห็น ย่อมเข้าใจอย่างลึกซึ้ง โดยควรมีลักษณะที่สําคัญ คือ ควรอยู่ในความทรงจําของคนทั่วไปให้นานที่สุด เป็นสัญลักษณ์ที่ง่ายแก่การจดจํา เหมาะสมกับสถานการณ์ และมีเอกลักษณ์ในการประชาสัมพันธ์ ให้เห็นเด่นชัด เช่น อนุสาวรีย์เทพีแห่งสันติภาพที่นิวยอร์ก เป็นต้น

22 ……..การรับฟังข้อมูลในแนวทางแบบยุคลวิถี
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 20 ประกอบ

23 ……..สัญลักษณ์ที่ง่ายต่อการจดจํา
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 21 ประกอบ

24 ………Repetition of Message
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 18 ประกอบ

25 …….แข่งขันกันด้วยความคิดและการวางแผน
ตอบ 3หน้า 12, 54 – 55, (คําบรรยาย) การประชาสัมพันธ์ (Public Relations) เป็นงานที่ต้องแข่งขันกัน ด้วยความคิด มีการวางแผนงานและการกระทําที่ต่อเนื่องกันไป รวมทั้งมีการประเมินผล เช่นเดียวกับงานระดับบริหารอื่น ๆ โดยเป้าหมายของการวางแผนงานประชาสัมพันธ์ คือ ต้องการ สร้างและรักษาความเข้าใจอันดีระหว่างสถาบันกับประชาชน ซึ่งการที่จะบรรลุเป้าหมายได้นั้น ต้องอาศัยเวลาดําเนินงานเป็นขั้น ๆ ไปให้ต่อเนื่องกัน

26 ………การจัดแถลงข่าวสื่อมวลชน
ตอบ 5 หน้า 144 – 146 การวางแผนประชาสัมพันธ์ในกรณีอุบัติเหตุและฉุกเฉินของบริษัท G.C. Reitinger มีดังนี้
1 ส่งเจ้าหน้าที่มายังที่เกิดเหตุภายใน 7 ชม. หลังจากเกิดอุบัติเหตุ
2 จัดแถลงข่าวผ่านสื่อมวลชน
3 ส่งคณะกรรมการของบริษัทไปเยี่ยมครอบครัว
4 ให้เงินช่วยเหลือตามความจําเป็นของผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บ
5 จดหมายฉบับพิเศษเขียนด้วยลายมือประธานบริษัท ส่งไปถึงครอบครัวของผู้เสียชีวิต ฯลฯ

27………นักประชาสัมพันธ์นําไปใช้ในการรณรงค์ทางการเมือง
ตอบ 5 หน้า 284 ใบแทรกและเอกสารข่าว มักถูกสอดมาในหนังสือพิมพ์หรือใบเสร็จต่าง ๆ และจะใช้
เมื่อบริษัทต้องการเผยแพร่นโยบายหรือเกิดปัญหาสําคัญที่จะมีผลกระทบกระเทือนต่อการ ดําเนินงานขององค์กร หรือในบางครั้งก็อาจจะเป็นการโฆษณาสถาบัน เช่น แจกรูปบุคคลสําคัญ รูปภาพฉลองวันพิเศษขององค์กร ฯลฯ ซึ่งมีข้อดีคือ ราคาถูก น้ําหนักเบา ประหยัดค่าไปรษณีย์ และมักถูกนํามาใช้ในกิจกรรมขององค์กรสาธารณประโยชน์ การรณรงค์ทางการเมืองและสังคม

28 ………ดําเนินงานการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข่าวสาร
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 17 ประกอบ

29 ข้อใดตรงกับคุณสมบัติที่ดีของนักประชาสัมพันธ์
(1) กระตือรือร้น
(2) ซื่อสัตย์
(3) ยิ้มเสมอเมื่อให้บริการ
(4) มั่นใจในตนเอง
(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 228 – 230 Cutlip and Center ได้กล่าวถึงคุณสมบัติที่ดีของนักประชาสัมพันธ์ไว้ดังนี้
1 ควรมีบุคลิกที่ดี ซึ่งสิ่งสําคัญก็คือควรมีความเชื่อมั่นหรือมั่นใจในตนเอง ยิ้มแย้มแจ่มใสเสมอ เมื่อให้บริการ 2 อุปนิสัยดี ควรมีจริยธรรมในใจ เป็นคนดี ซื่อสัตย์ ยุติธรรม อดทน
3 มีความเฉลียวฉลาด กระตือรือร้น
4 มีการศึกษาและประสบการณ์
5 มีความสามารถในการบริหารงานยินดีบริการและช่วยเหลือด้วยความเต็มใจ

30 ข้อใดคือข่าวประชาสัมพันธ์ที่เกิดฉุกเฉิน
(1) รัฐบาลมาเลเซียให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากแผ่นดินไหว
(2) นักเขียนจีรนันท์ พิตรปรีชา บริจาคหนังสือ
(3) น้ำดื่มสิงห์จัดการแสดงศิลปวัฒนธรรมไทย
(4) นิสสันจัดแข่งรถการกุศล
(5) โตโยต้าบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือคนพิการ
ตอบ 1 หน้า 144, 267 ลักษณะพิเศษของข่าวประชาสัมพันธ์แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1 ข่าวที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดการณ์ไว้ก่อน หรือไม่ได้คาดหวังว่าจะเกิดขึ้น มักเป็นข่าวในกรณี อุบัติเหตุและฉุกเฉิน ซึ่งจะปรากฏขึ้นอย่างฉับพลันหรือไม่คาดคิด เช่น เกิดระเบิด น้ําท่วม แผ่นดินไหว พายุรุนแรง ไฟไหม้ และภัยพิบัติต่าง ๆ ฯลฯ
2 ข่าวที่ได้เตรียมการดําเนินงานไว้ล่วงหน้า ซึ่งจะถูกนํามาเขียนเป็นข่าวประชาสัมพันธ์บ่อยมาก เช่น ข่าวการจัดประชุม ข่าวการบริจาคเงินหรือแจกทุน ข่าวกิจกรรมพิเศษของสถาบัน ฯลฯ

ข้อ 31. – 42. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) กิจกรรมประชาสัมพันธ์ภายนอกองค์กร
(2) กิจกรรมประชาสัมพันธ์ภายใน
(3) ภาพข่าวประชาสัมพันธ์
(4) Press Kits
(5) Press Party/Two-way Process/Two Step Flow of Communication/ข่าวรามคําแหง

31 ……นักประชาสัมพันธ์มืออาชีพ กล่าวไว้ว่า
“จงออกไปฟังเสียงประชาชน มิใช่คอยจนมีเสียงจากประชาชนเข้ามาต่อว่าเรา”
ตอบ 5 หน้า 8, 53, 68, 71, (คําบรรยาย) การประชาสัมพันธ์เป็นกระบวนการแบบสองทิศทางหรือ ระบบยุคลวิถี (Two-way Process) คือ วิธีการสื่อสารจากองค์กรไปสู่กลุ่มประชาชน และ ในขณะเดียวกันก็ฟังเสียงสะท้อนกลับของประชาชนมาสู่องค์กรด้วย ดังนั้นวิธีการประชาสัมพันธ์แบบ Two-way Process จึงมุ่งหวังที่จะสร้างประโยชน์ให้เกิดแก่องค์กรและประชาชนทั้งสองฝ่าย โดยวิธีติดตามผลหรือตรวจสอบกระแสประชามติ ดังที่นักประชาสัมพันธ์มืออาชีพ กล่าวไว้ว่า “จงออกไปฟังเสียงประชาชน มิใช่คอยจนมีเสียงจากประชาชนเข้ามาต่อว่าเรา”

32 ……..ผู้นํากลุ่มเป็นผู้ส่งสารและผู้รับสารในขณะเดียวกัน
ตอบ 5 หน้า 158 – 159 ทฤษฎีการติดต่อสองทิศทางในรูปของ Two Step Flow of Communication ที่นํามาใช้ได้ผลดี คือ
1 ผู้นํากลุ่มหรือผู้นําทางความคิด (Opinion Leaders) เช่น ผู้นําความคิด ทางการเมือง เศรษฐกิจ ผู้นําทางศาสนา ฯลฯ มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของประชาชน
2 ผู้นํากลุ่มปฏิบัติการอย่างแข็งขัน เป็นทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารในขณะเดียวกัน
3 การสื่อสารในรูปของปากต่อปาก เป็นข่าวสารที่สมาชิกในกลุ่มได้แลกเปลี่ยนทัศนคติและ ได้ตัดสินใจร่วมกันที่จะปฏิบัติตามมติของมวลสมาชิก

33 ……..การสื่อสารจากองค์กรไปสู่กลุ่มประชาชนโดยฟังเสียงสะท้อนกลับ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 31 ประกอบ

34 ……..มุ่งหวังที่จะสร้างประโยชน์ให้เกิดแก่องค์กรและประชาชนทั้งสองฝ่ายโดยวิธีติดตามผล
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 31. ประกอบ

35 ………หลวงพ่อคูณที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของประชาชน
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 32. ประกอบ

36 ……….งานแสดงสินค้า OTOP ทุกภาคของประเทศไทย ผู้เข้าชมต่างยกนิ้วให้ว่ามีคุณภาพมาก ๆ
ตอบ 1หน้า 52, (คําบรรยาย) กิจกรรมประชาสัมพันธ์ภายนอกองค์กร คือ กิจกรรมที่สร้าง ความสัมพันธ์อันดีระหว่างสถาบันกับกลุ่มมวลชนภายนอกองค์กร ได้แก่
1 ออกหนังสือพิมพ์ วารสาร ฯลฯ เพื่อเผยแพร่ภายนอก
2 จัดประชุมผู้สื่อข่าว
3 จัดงานพิเศษ งานแข่งขันกีฬา นิทรรศการ ฯลฯ ที่เกี่ยวข้องกับมวลชนภายนอกองค์กร
4 บริการให้ประชาชนเข้าชมหน่วยงาน
5 ถ่ายภาพ สไลด์ ทําภาพโปสเตอร์ และจัดทําภาพยนตร์ออกเผยแพร่ ฯลฯ

37 ……….การเผยแพร่ข่าวที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงอาหารกลางวัน และเดินรับประทานอาหารเพื่อสร้าง
ความคุ้นเคยในโอกาสต่อ ๆ ไป
ตอบ 5 หน้า 337 การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลในวงการหนังสือพิมพ์ ถือเป็นหัวใจสําคัญของ การหนังสือพิมพ์สัมพันธ์ โดยนักประชาสัมพันธ์จะมีหน้าที่คอยประสานงาน ได้แก่ จัด Press Party หรือเข้าสังคมพบปะผู้คนอยู่เสมอ เช่น จัดงานเลี้ยงอาหารกลางวัน จัดงานเลี้ยงอาหารค่ําหรือ น้ำชาในบางโอกาส ฯลฯ เพื่อสร้างความสนิทสนมคุ้นเคยกันในโอกาสต่อ ๆ ไป และทําให้ได้ รู้จักบุคคลในวงการสื่อมวลชนมากยิ่งขึ้น

38 ………วิธีนี้ไม่ใช่การส่งข่าวหรือการแจกข่าว แต่เป็นการกําหนดมุมของข่าวให้สื่อ
ตอบ 4 หน้า 332, (คําบรรยาย) การจัดทําสมุดคู่มือหรือเอกสารแจกผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ (Press Kits) เป็นสําเนารายละเอียดของข่าว ข้อมูลเพิ่มเติมประกอบข่าวแจกที่นักหนังสือพิมพ์ได้รับ เช่น รูปภาพประกอบข่าว สําเนาข่าวแจกที่นักข่าวอาจจะจดรายละเอียดไม่ทัน แผนภูมิ สถิติ ประวัติบุคคล ฯลฯ ดังนั้นสมุดคู่มือจึงไม่ใช่การส่งข่าวหรือการแจกข่าว แต่เป็นการกําหนดมุม ของข่าวให้สื่อ เพื่อช่วยให้นักข่าวเขียนข่าวได้รวดเร็วและง่ายขึ้น ข่าวของสถาบันจึงมีความสมบูรณ์ แม่นยํา ไม่ผิดพลาด

39 ……….ภาพข่าวประชาสัมพันธ์ไม่ควรมีขนาดเล็กกว่าขนาดโปสเตอร์
ตอบ 3 หน้า 332 ภาพข่าวประชาสัมพันธ์ไม่ควรมีขนาดเล็กกว่าขนาดโปสเตอร์และควรเป็นแบบขัดมัน โดยต้องมีลักษณะจูงใจให้ผู้อ่านสนใจ มีสีสันสะดุดตา ชัดเจน มีเนื้อหาแสดงให้ผู้ชม-ผู้อ่านเกิด ความเข้าใจและรู้เรื่องได้ดี นอกจากนี้ควรมีคําอธิบายภาพให้ถูกต้องตามหลักวิชาการหนังสือพิมพ์ คือ รูปของใคร ทําอะไร ที่ไหน เมื่อไร และอย่างไร

40 ……….ถ้าสิ่งที่เราส่งไปเป็นสิ่งใหม่ไม่เคยมีมาก่อน เราก็มีโอกาสได้รับการตีพิมพ์
ตอบ 5 หน้า 268, 274 – 275, (คําบรรยาย) ข่าวรามคําแหง เป็นเอกสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ ทั้งภายในและภายนอกสถาบัน เพื่อใช้เผยแพร่ข่าวสารของมหาวิทยาลัยให้ผู้สนใจทั้งภายใน และภายนอกสถาบันได้รับรู้ โดยข่าวของสถาบันที่เผยแพร่นั้นควรเป็นข่าวใหม่ทันต่อเหตุการณ์ เป็นข่าวสด และถ้าหากข่าวนั้นเป็นสิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน ก็ยิ่งมีโอกาสได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่

41 ……..ประกาศของมหาวิทยาลัยรามคําแหงให้อาจารย์ ข้าราชการทุกคณะ ร่วมมือกันออกกําลังกาย
ช่วงเวลาเย็น อาทิตย์ละครั้ง
ตอบ 2 หน้า 50, (คําบรรยาย) กิจกรรมประชาสัมพันธ์ภายในองค์กร คือ กิจกรรมที่สร้าง ความสัมพันธ์อันดีระหว่างสถาบันกับกลุ่มมวลชนภายในองค์กร ได้แก่
1. กําหนดแผนงานประชาสัมพันธ์
3. ตั้งแผงปิดประกาศ
2. ตั้งที่ติดต่อสอบถาม (Information)
4. ออกวารสารข่าวภายใน เช่น แผ่นปลิวประชาสัมพันธ์ ฯลฯ
5. จัดงานพิเศษที่เกี่ยวข้องกับมวลชนภายในองค์กร
6. ให้หยุดพักผ่อน ให้ประกันสุขภาพ หรือให้ทุนการศึกษาแก่บุตรของพนักงาน

42 ………เอกสารแจกผู้สื่อข่าว
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 38. ประกอบ

43 การรับฟังข้อมูลย้อนกลับตามแนวทางการสื่อสารแบบแฟรงกินส์ รูสเวลส์
(1) จดหมายข่าว
(2) ยุคลวิถี
(3) พื้นที่โฆษณา
(4) พูดโน้มน้าวใจ
(5) สื่อสารตรงไปตรงมา
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 20. ประกอบ

44 การวางแผนชนิดใดที่เหมาะสมที่สุดกับการเผยแพร่งานศิลปวัฒนธรรม
(1) การกําหนดภาพลักษณ์ประชาสัมพันธ์
(2) การทําแผนงานประชาสัมพันธ์
(3) การกําหนดสื่อ
(4) การเผยแพร่รูปภาพ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 129 – 130, (คําบรรยาย) หัวใจของการวางแผนงานประชาสัมพันธ์ มีดังนี้
1 กําหนดจุดมุ่งหมายในการทําแผนงานประชาสัมพันธ์
2 กําหนดกลุ่มประชาชนเป้าหมาย
3 กําหนดหัวข้อประชาสัมพันธ์เป็นคําพูดที่กินใจ หรือกําหนดเป็นภาพลักษณ์ประชาสัมพันธ์
4 กําหนดจังหวะ หรือช่วงเวลาให้เหมาะสม
5 กําหนดสื่อ เช่น การเผยแพร่รูปภาพในสื่อสิ่งพิมพ์ หรือการใช้สื่อวิทยุ โทรทัศน์ ฯลฯ
6 กําหนดงบประมาณ

45 สื่อการประชาสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมในสมัยสุโขทัย ตรงกับข้อใด
(1) วรรณคดีสรรเสริญพระมหากษัตริย์
(2) เพลงกล่อมเด็ก
(3) ผูกใบลาน
(4) จารลงบนดินเหนียว
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 77 สื่อการประชาสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมในสมัยสุโขทัย ได้แก่ งานก่อสร้างสถานที่สําคัญ
ทางศาสนา ปราสาทราชวัง การจัดระเบียบการปกครอง การสร้างวรรณคดีทางศาสนา การประชุมราษฎร การสร้างนิยายปรัมปราเพื่อสรรเสริญคุณความดีและความสามารถของ ผู้เป็นประมุข ซึ่งตัวอย่างที่สําคัญก็คือ หลักฐานที่ปรากฏในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคําแหง

46 การประชาสัมพันธ์ในประเทศไทยเกิดขึ้นเมื่อใด
(1) ชุมชนบริเวณลุ่มแม่น้ําเจ้าพระยา
(2) อาณาจักรล้านนา
(3) ภาพเขียนในถ้ำ
(4) กําเนิดชนชาติไทย
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 58, 76 – 77 ประวัติความเป็นมาของงานประชาสัมพันธ์มีมาพร้อมกับมนุษย์ ดังนั้น การประชาสัมพันธ์ในประเทศไทยจึงเกิดขึ้นมาพร้อมกับการกําเนิดของชนชาติไทย โดยสื่อ ประชาสัมพันธ์ของไทยในสมัยดั้งเดิม ได้แก่ การใช้คําพูดปลุกใจ การประชุมป่าวร้อง การใช้ เพลงปลุกใจและสรรเสริญวีรกรรมของบรรพบุรุษ และการสร้างนิยายที่แสดงถึงชาติกําเนิด ของชนชาติไทย ฯลฯ

47 งานเฉลิมฉลองสินค้า OTOP มหากุศลแด่มหาราชินี เป็นกิจกรรมประชาสัมพันธ์ในข้อใด
(1) Promotion
(2) Press Relations
(3) Press
(4) Advertising
(5) Production
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 4 ประกอบ

48 การส่งเสริมเผยแพร่ (Promotion) หมายถึงอะไร
(1) การจัดงานในกรณีพิเศษ
(2) การส่งเสริมเผยแพร่ชื่อเสียงของสถาบัน
(3) การจัดเฉลิมฉลองวันครบรอบปี
(4) การจัดนิทรรศการวันแห่งบิดากฎหมาย
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

49 ข้อใดคือเครื่องมือในการค้นหาคําตอบของแผนกติดต่อสอบถามคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง
(1) โทรทัศน์ ภาพ
(2) ข่าวแจก
(3) การจัดงานพิเศษ
(4) แฟ้มระเบียบ คําสั่ง
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 96 เครื่องมือในการค้นหาคําตอบของแผนกติดต่อสอบถามที่เป็นหน่วยงานใหญ่
ควรมีการจัดทําบัตรค้นหรือแฟ้มคู่มือค้นหาคําตอบของเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ แฟ้มรายชื่อราชการ เรียงตามตัวอักษร พร้อมหน่วยงาน บ้านที่อยู่ เลขหมายโทรศัพท์ติดต่อภายในและภายนอก, แฟ้มหน้าที่ส่วนราชการภายใน, แฟ้มระเบียบ คําสั่ง ประกาศ นอกจากนี้ควรมีเครื่องมือ ติดต่อสื่อสาร เช่น โทรศัพท์ เพื่อใช้ติดต่อทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน

50 ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่กรรมวิธีการวางแผนการประชาสัมพันธ์
(1) ผู้วิจัยค้นคว้าและรับฟัง
(2) ผู้วางแผนและตัดสินใจ
(3) ผู้นําเสนอประชามติ
(4) ผู้ประเมินผล
(5) เป็นผู้ติดต่อสื่อสาร
ตอบ 3 หน้า 99 กรรมวิธีของการวางแผนงานประชาสัมพันธ์ เพื่อดําเนินโครงการให้ได้รับผลสําเร็จ มีหลักพื้นฐานอยู่ 4 ขั้นตอน คือ
1 เป็นผู้วิจัยค้นคว้าและรับฟัง (Research Listening)
2 เป็นผู้วางแผนและตัดสินใจ (Planning Decision Making) หรือผู้ให้คําปรึกษาแนะนํา (Counselor)
3 เป็นผู้ติดต่อสื่อสาร (Communication)
4 เป็นผู้ประเมินผล (Evaluation)

51 นิยามของ “การประชาสัมพันธ์” ข้อใดถูกที่สุด
(1) การสร้างความเข้าใจอันดีกับสาธารณะ
(2) การสร้างค่านิยมที่ดีแก่สาธารณะ
(3) การสร้างภาพพจน์ที่ดีแก่มวลชน
(4) สิ่งที่องค์กรจะต้องดําเนินการตามข้อ 1, 2 และ 3
(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง
ตอบ 4(เอกสารบทที่ 1) นิยามหรือคําจํากัดความของ “การประชาสัมพันธ์” เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้อง ระหว่างองค์กรกับสาธารณะ ซึ่งอาจเป็นองค์กร คนหรือกลุ่มคน หน่วยงานทั้งภายในหรือภายนอก องค์กร เพื่อสร้างภาพพจน์ที่ดี (Good Image) ค่านิยมที่ดี (Good Will) และความเข้าใจอันดี (Good Understand) กับสาธารณะหรือมวลชน

52 การประชาสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับข้อใด
(1) คน
(2) กลุ่มคน
(3) องค์กร
(4) หน่วยงานภายใน
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ

53 วลีในข้อใดเกี่ยวข้องกับคําจํากัดความของการประชาสัมพันธ์
(1) Good Image
(2) Good Will
(3) Good Understand
(4) Good Job
(5) ถูกเฉพาะข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ

54 “การประชาสัมพันธ์” ตามภาษาชาวบ้าน ตรงกับข้อใด
(1) พูดไม่หมด
(2) พูดแต่สิ่งดี ๆ
(3) พูดแต่ความถูกต้อง
(4) พูดทุกอย่าง
(5) ถูกเฉพาะข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (คําบรรยาย) คําว่า “การประชาสัมพันธ์” ตามภาษาชาวบ้าน หมายถึง การพูดไม่หมด โดยให้พูดแต่สิ่งดี ๆ และพูดแต่ความถูกต้อง ส่วนการประชาสัมพันธ์ตามจิตวิทยาความมั่นคง หมายถึง การพูดตามสถานการณ์ เพื่อให้สังคมหรือประเทศสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข

55 “การประชาสัมพันธ์” ตามแนวความมั่นคง ตรงกับข้อใด
(1) พูดไม่หมด
(2) พูดแต่สิ่งดี ๆ
(3) พูดตามสถานการณ์
(4) พูดทุกอย่าง
(5) ถูกเฉพาะข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 54. ประกอบ

56 ความรับผิดชอบงาน “การประชาสัมพันธ์” ตรงกับข้อใด
(1) วิเคราะห์แนวโน้ม
(2) พยากรณ์ผลกระทบ
(3) ให้บริการสาธารณะ
(4) แนะนําผู้บริหาร
(5) ถูกทั้งหมดข้างต้น
ตอบ 5 (เอกสารบทที่ 1), (คําบรรยาย) ความรับผิดชอบและหน้าที่ของการประชาสัมพันธ์นั้น เป็นการวิเคราะห์แนวโน้ม การพยากรณ์ผลกระทบ การแนะนําให้คําปรึกษาผู้บริหารหรือ ฝ่ายบริหาร การปฏิบัติตามแผนหรือนําแผนกลยุทธ์มาดําเนินการ การบริการผลประโยชน์และ ให้บริการสาธารณะ ดังนั้นหน้าที่งานการประชาสัมพันธ์จึงเกี่ยวข้องกับการควบคุมมวลประชา หรือชี้นําประชาชนไปในทางที่ต้องการ เพื่อให้ได้รับผลสัมฤทธิ์ทั้งองค์กรและสาธารณะ

57 หน้าที่งาน “การประชาสัมพันธ์” ตรงกับข้อใด
(1) การควบคุมมวลประชา
(2) การชี้นําประชาชนไปในทางที่ต้องการ
(3) ทําให้ได้รับผลสัมฤทธิ์ทั้งองค์กรและสาธารณะ
(4) ถูกทั้ง 3 ข้อข้างต้น
(5) ไม่มีข้อใดถูกต้องชัดเจน
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 56. ประกอบ

58 “การประชาสัมพันธ์” ต้องการสิ่งใด
(1) ภาพพจน์องค์กรที่ดี
(2) ความรู้สึกที่ดีต่อองค์กร
(3) สื่อกล่าวถึงองค์กรในทางที่ดี
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 รวมกันถูกที่สุด
ตอบ 5 (เอกสารบทที่ 1), (คําบรรยาย) การประชาสัมพันธ์มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างภาพพจน์ที่ดี (Good Image) ความรู้สึกที่ดี (Good Will) ความเข้าใจอันดี (Good Understanding) และ ให้สื่อกล่าวถึงองค์กรในทางที่ดีหรือทางบวก (Good Mentioned by Media)

59 วัตถุประสงค์ของ “การประชาสัมพันธ์” สอดคล้องกับข้อใด
(1) Good Will
(2) Good Image
(3) Good Mentioned by Media
(4) Good Understanding
(5) ถูกทั้งหมดข้างต้นรวมกัน
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 58. ประกอบ

60 องค์ประกอบของ “การประชาสัมพันธ์” ตรงกับข้อใด
(1) Understanding News
(2) PR Writing
(3) Media Relation
(4) External Relation
(5) ถูกทั้งหมดข้างต้นรวมกัน
(เอกสารบทที่ 1) องค์ประกอบของการประชาสัมพันธ์ ประกอบด้วย
1 ความเข้าใจในข่าวหรือกระบวนการข่าว (Understanding News)
2 การเขียนเพื่องานการประชาสัมพันธ์ (PR Writing)
3 สื่อมวลชนสัมพันธ์ (Media Relation)
4 ความสัมพันธ์ภายนอก (External Relation)
5 สื่อใหม่ (New Media) หรือไม่ใช่สื่อดั้งเดิม

61 หน้าที่ของ “การประชาสัมพันธ์” ข้อใดถูกที่สุด
(1) พยากรณ์ผลกระทบ
(2) ให้คําปรึกษาผู้บริหาร
(3) นําแผนกลยุทธ์มาปฏิบัติ
(4) บริการผลประโยชน์แก่สาธารณะ
(5) ถูกทั้งหมดข้างต้นรวมกัน
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 56. ประกอบ

62 นักประชาสัมพันธ์ควรมีคุณสมบัติตามข้อใด
(1) มีความสามารถในการสื่อสาร
(2) มีความสามารถในการจัดระเบียบ
(3) มีความสามารถเข้ากับผู้คนได้
(4) มีภาพลักษณ์ที่ดี
(5) ถูกทั้งหมดข้างต้นรวมกัน
ตอบ 5 (เอกสารบทที่ 1) คุณสมบัติของนักประชาสัมพันธ์ มีดังนี้
1. มีความสามารถในการสื่อสาร
2. มีความสามารถในการจัดระเบียบ
3. มีความสามารถในการเข้ากับคนหรือกลุ่มคน
4. เป็นผู้มีความเพียบพร้อมหรือสมบูรณ์ในตน
5. เป็นผู้ที่มีภาพพจน์หรือภาพลักษณ์ที่ดี
6. มีความตั้งใจที่จะเรียนรู้ตลอดเวลา หรือใส่ใจศึกษาเรียนรู้อยู่เป็นนิตย์

63 ความพร้อมความสมบูรณ์ มีความตั้งใจเรียนรู้ตลอดเวลา หรือใส่ใจเรียนรู้อยู่เป็นนิตย์ สอดคล้องกับข้อใด
(1) ผู้อํานวยการ
(2) ผู้จัดการ
(3) นักประชาสัมพันธ์
(4) เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ
(5) ถูกทั้งหมดข้างต้นรวมกัน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 62. ประกอบ

64 ทําไมต้องให้ความรู้ (Knowledge) กับประชาชนเป้าหมาย
(1) การต่อต้าน
(2) ความอคติ
(3) ความเฉยเมย
(4) ความไม่รู้
(5) ถูกทั้งหมดข้างต้นรวมกัน
ตอบ 5 (เอกสารบทที่ 1) เหตุผลที่การประชาสัมพันธ์ต้องให้ความรู้ (Knowledge) คือ ความอคติ ความเฉยเมยหรือไม่แยแส ความไม่รู้หรือความเขลา และการต่อต้านของประชาชนเป้าหมาย ส่วนการสร้างความเข้าใจ (Understanding) ในการประชาสัมพันธ์ เพื่อให้เกิดความสนใจ การยอมรับ ความเป็นพวกหรือเห็นอกเห็นใจ และการใส่ใจของสาธารณชนหรือกลุ่มเป้าหมาย

65 ทําไมต้องสร้างความเข้าใจ (Understanding)
(1) ความสนใจ
(2) การยอมรับ
(3) ความเป็นพวก
(4) การใส่ใจ
(5) ถูกทั้งหมดข้างต้นรวมกัน

66 บทบาท “นักประชาสัมพันธ์” สอดคล้องกับข้อใด
(1) เป็นเจ้าหน้าที่
(2) เป็นนักแก้ไขปัญหา
(3) เป็นผู้ผลิตและเผยแพร่จดหมายข่าว
(4) ถูกทั้ง 3 ข้อข้างต้น
(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 64. ประกอบ
ตอบ 4 (เอกสารบทที่ 1), (คําบรรยาย) บทบาทการประชาสัมพันธ์ คือ สามารถสร้างภาพพจน์ สร้างความตระหนัก ให้ความรู้ความเข้าใจ สร้างความศรัทธาและความน่าเชื่อถือ ยกระดับ ความเข้าใจ เปลี่ยนพฤติกรรม และจัดการผู้นําความคิดให้เป็นพวกเดียวกัน ดังนั้นบทบาทของ นักประชาสัมพันธ์จึงอยู่ในตําแหน่งเจ้าหน้าที่ผู้ให้คําปรึกษาแนะนํา ควบคุมการปฏิบัติการตามแผน เป็นนักแก้ไขปัญหา ตลอดจนเป็นผู้ผลิตและเผยแพร่จดหมายข่าว

67 ทฤษฎีการประชาสัมพันธ์ที่น่าสนใจ คือ
(1) ทฤษฎีเชิงการโน้มน้าว
(2) ทฤษฎีเชิงการจูงใจ
(3) ทฤษฎีเชิงพฤติกรรม
(4) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
(5) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ทฤษฎีการประชาสัมพันธ์ (PR Theory) เป็นทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ กับมวลชน (The Management of Population) โดยทฤษฎีการประชาสัมพันธ์ที่น่าสนใจ และเกี่ยวข้องโดยตรง ได้แก่
1 ทฤษฎีเชิงการโน้มน้าว (Persuade)
2 ทฤษฎีเชิงการจูงใจ (Motivation)
3 ทฤษฎีเชิงพฤติกรรม (Behaviour)

68 ทฤษฎีเชิงการโน้มน้าวจูงใจและพฤติกรรม มีสาระสําคัญสอดคล้องกับข้อใด
(1) การเรียนรู้สังคม
(2) การแลกเปลี่ยน
(3) ความคิดเห็น
(4) ทัศนคติและความเชื่อ
(5) ถูกทั้งหมดที่กล่าวข้างต้นรวมกัน
ตอบ 5 (เอกสารบทที่ 2) ทฤษฎีเชิงการโน้มน้าวจูงใจและพฤติกรรม มีทฤษฎีสําคัญที่ควรศึกษา ได้แก่
1. ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม
2. ทฤษฎีการแลกเปลี่ยน
3. ทฤษฎีความคิดเห็น ทัศนคติ และความเชื่อศรัทธา
4. ทฤษฎีการเผยแพร่

69 ทฤษฎีการประชาสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องโดยตรงมากที่สุด คือข้อใด
(1) การสื่อสาร
(2) การโน้มน้าว
(3) การชี้ชวน
(4) แลกเปลี่ยน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 67. ประกอบ

70 แบบจําลองเชิงการเผยแพร่ข่าวสาร มีสาระสําคัญสอดคล้องกับข้อใด
(1) มุ่งเน้นเผยแพร่ข้อมูลองค์กร
(2) เผยแพร่ข้อมูลด้านผลิตภัณฑ์
(3) เผยแพร่ข้อมูลด้านบริการ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 2 และ 3
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 1 (เอกสารบทที่ 2), (คําบรรยาย) แบบจําลองเชิงการเผยแพร่ข่าวสาร มีสาระสําคัญคือ เป็นลักษณะเชิงโฆษณาชวนเชื่อ โดยมุ่งเน้นเผยแพร่ข้อมูลองค์กรในลักษณะการสื่อสารทางเดียว จากแหล่งสารไปยังผู้รับสาร

71 แบบจําลองเชิงการประชาสนเทศ มีสาระสําคัญสอดคล้องกับข้อใด
(1) เผยแพร่ข้อมูลที่เป็นความจริง
(2) เผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วน
(3) เผยแพร่ข้อมูลเท่าที่จําเป็น
(4) เผยแพร่ข้อมูลที่สร้างภาพพจน์
(5) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
ตอบ 1 (เอกสารบทที่ 2) แบบจําลองเชิงการประชาสนเทศ มีสาระสําคัญคือ เน้นการเผยแพร่ข้อสนเทศ ที่เป็นความจริง (Fact) ในลักษณะการสื่อสารทางเดียวจากแหล่งสารไปยังผู้รับสาร

72 แบบจําลองเชิงการสื่อสารสองทางแบบสมดุล มีสาระสําคัญสอดคล้องกับข้อใด
(1) พัฒนาความเข้าใจระหว่างองค์กรกับสาธารณะ
(2) มุ่งสร้างทัศนคติที่ดีต่อองค์กร
(3) มุ่งสร้างความศรัทธาต่อองค์กร
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 1 (เอกสารบทที่ 2) แบบจําลองเชิงการสื่อสารสองทางแบบสมดุล มีสาระสําคัญคือ มุ่งเน้น
พัฒนาความเข้าใจระหว่างองค์กรกับสาธารณะในลักษณะการสื่อสารสองทางแบบสมดุล จากกลุ่มผู้ส่งไปยังกลุ่มผู้รับ และมีการตอบกลับ

73 แบบจําลองเชิงการสื่อสารสองทางแบบอสมดุล มีสาระสําคัญสอดคล้องกับข้อใด
(1) มุ่งโน้มน้าวสาธารณะให้ยอมรับแนวคิดองค์กร
(2) มุ่งสร้างทัศนคติที่ดีต่อองค์กร
(3) มุ่งสร้างความศรัทธาต่อองค์กร
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 1 (เอกสารบทที่ 2) แบบจําลองเชิงการสื่อสารสองทางแบบอสมดุล มีสาระสําคัญคือ มุ่งเน้น การโน้มน้าวสาธารณะให้ยอมรับแนวคิดองค์กรในลักษณะการสื่อสารแบบสองทางที่ไม่เท่าเทียมกัน จากแหล่งสารไปยังผู้รับสาร และมีการตอบกลับ

74 ทฤษฎีเชิงการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning Theory) มีสาระสอดคล้องกับข้อใด
(1) ศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมมวลชน
(2) การเปลี่ยนและสร้างทัศนคติ
(3) การให้และการรับ
(4) การให้ความตระหนักและสนใจ
(5) ถูกทุกข้อข้างต้น
ตอบ 1 (เอกสารบทที่ 2) สาระสําคัญของทฤษฎีเชิงการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning Theory) คือ เป็นการศึกษาด้านทัศนคติและพฤติกรรมมวลชน

75 ผู้ใดเป็นผู้บุกเบิกแนวทางของการประชาสัมพันธ์สมัยใหม่
(1) Ivy Lee
(2) Thomas J. Lipton
(3) Boston
(4) H & K
(5) Napoleon
ตอบ 1 หน้า 66, 71 ผู้บุกเบิกแนวทางของการประชาสัมพันธ์สมัยใหม่ คือ ไอวี่ ลี (Ivy Lee) นักหนังสือพิมพ์หนุ่มชาวอเมริกัน ซึ่งถือเป็นบุคคลสําคัญผู้หนึ่งของสหรัฐอเมริกาในฐานะที่ ได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาของการประชาสัมพันธ์สมัยใหม่” (Father of Modern Public Relations) หรือผู้วางรากฐานของวิชาชีพประชาสัมพันธ์ในสหรัฐอเมริกา

76 ทฤษฎีเชิงการแลกเปลี่ยน (Exchange Theory) มีสาระสอดคล้องกับข้อใด
(1) ศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมมวลชน
(2) การเปลี่ยนและสร้างทัศนคติ
(3) การให้และการรับ
(4) การให้ความตระหนักและสนใจ
(5) ถูกทุกข้อข้างต้น
ตอบ 3 (เอกสารบทที่ 2) สาระสําคัญของทฤษฎีเชิงการแลกเปลี่ยน (Exchange Theory) คือ การให้ ความสนใจทางด้านการให้และการรับในประเด็นเรื่องการให้ความรักความใยดี ให้การเคารพนับถือ ซึ่งกันและกัน ให้การช่วยเหลือด้านแรงงาน ให้การแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ

77 ทฤษฎีเชิงความคิดเห็น ทัศนคติ และความเชื่อศรัทธา (Opinion, Attitude, Belief) มีสาระสอดคล้อง
กับข้อใด
(1) ศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมมวลชน
(2) การเปลี่ยนและสร้างทัศนคติ
(3) การให้และการรับ
(4) การให้ความตระหนักและสนใจ
(5) ถูกทุกข้อข้างต้น
ตอบ 2 (เอกสารบทที่ 2) สาระสําคัญของทฤษฎีเชิงความคิดเห็น ทัศนคติ และความเชื่อศรัทธา (Opinion, Attitude, Belief) คือ การให้ความสนใจเกี่ยวกับการรณรงค์ เพื่อการเปลี่ยนแปลง และสร้างความคิดเห็น ทัศนคติ และความเชื่อ นําไปสู่ความต้องการที่ประสงค์

78 ทฤษฎีเชิงการเผยแพร่ (Diffusion Theory) มีสาระสอดคล้องกับข้อใด
(1) ศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมมวลชน
(2) การเปลี่ยนและสร้างทัศนคติ
(3) การให้และการรับ
(4) การให้ความตระหนักและสนใจ
(5) ถูกทุกข้อข้างต้น
ตอบ 4 (เอกสารบทที่ 2) สาระสําคัญของทฤษฎีเชิงการเผยแพร่ (Diffusion Theory) คือ การเน้นเรื่อง
การให้ความตระหนักและสนใจ

79 ทฤษฎีเชิงการใช้และความพอใจ (Use and Gratification Theory) มีสาระสอดคล้องกับข้อใด
(1) มวลชนใช้สื่อมุ่งเน้นต่างกัน
(2) มวลชนใช้สื่อต่างวัตถุประสงค์
(3) มวลชนใช้สื่อเฉพาะกรณี
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 5 (เอกสารบทที่ 2) สาระสําคัญของทฤษฎีเชิงการใช้และความพอใจ (Use and Gratification Theory) คือ การให้ความสนใจมวลชนในการใช้สื่อที่มุ่งเน้นต่างกันและใช้ต่างวัตถุประสงค์ หรือเป็นการใช้สื่อเฉพาะกรณีไป

80 ทฤษฎีเชิงการกรุประเด็น (Agenda Setting Theory) มีสาระสอดคล้องกับข้อใด
(1) สื่อมีอิทธิพลต่อมวลชน
(2) สื่อสามารถสร้าง/กรุประเด็น
(3) สื่อกรุประเด็นแบบมีคุณธรรม
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (เอกสารบทที่ 2) สาระสําคัญของทฤษฎีเชิงการกรุประเด็น (Agenda Setting Theory) คือ การเน้นในเรื่องสื่อมีอิทธิพลต่อมวลชน จึงสามารถสร้าง/กรุประเด็นแบบมีคุณธรรมได้

81 ทฤษฎีเชิงผู้ส่งสาร/ผู้รับสาร (Sender/Receiver Theory) มีสาระสอดคล้องกับข้อใด
(1) Source
(2) Message & Message Transmitted
(3) Message Received
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (เอกสารบทที่ 2) สาระสําคัญของทฤษฎีเชิงผู้ส่งสารและผู้รับสาร (Sender and Receiver Theory) คือ การให้ความสนใจในแหล่งสาร (Source) สาร (Message) การถ่ายทอดสาร (Message Transmitted) และสารที่ได้รับ (Message Received)

82 คําพยางค์สําคัญ “นิยาม” การวิจัยประชาสัมพันธ์ สอดคล้องกับข้อใด
(1) รวบรวมข้อมูล
(2) เข้าใจสถานการณ์
(3) ตรวจสอบข้อมูลที่มีอยู่หรือขาดหาย
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5(เอกสารบทที่ 5) นิยามของการวิจัยประชาสัมพันธ์ หมายถึง การรวบรวมข้อมูลเพื่อให้เข้าใจ สถานการณ์ การตรวจสอบสมมุติฐานที่เกี่ยวข้องกับสาธารณะ รวมทั้งผลกระทบที่เกี่ยวกับ การประชาสัมพันธ์ และตรวจสอบข้อมูลที่มีอยู่หรือที่ขาดหายให้มีความมั่นใจและมีความเชื่อถือได้

83 ความสําคัญของการวิจัยประชาสัมพันธ์ สอดคล้องกับข้อใด
(1) ส่วนหนึ่งของการวางแผนงานประชาสัมพันธ์
(2) พัฒนาปรับปรุงโครงการงานประชาสัมพันธ์
(3) เป็นกระบวนการประเมินงานประชาสัมพันธ์
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (เอกสารบทที่ 5) ความสําคัญของการวิจัยประชาสัมพันธ์ คือ เป็นการให้ข้อมูลนําหน้าหรือ ล่วงหน้า (Feedforward) เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนงานประชาสัมพันธ์ และพัฒนา ปรับปรุงโครงการงานประชาสัมพันธ์ รวมทั้งยังเป็นการให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) เพื่อ เป็นกระบวนการประเมินและวัดประเมินผลงานประชาสัมพันธ์ ได้แก่ ผลรับ ผลกระทบ และประสิทธิผลทั้งหมดเพื่อการวางแผนการประชาสัมพันธ์ทั้งโครงการใหม่และกิจกรรมทั้งหลาย

84 วัตถุประสงค์ของการวิจัยประชาสัมพันธ์ สอดคล้องกับข้อใด
(1) การวางแผน/พัฒนา/ปรับปรุงงานประชาสัมพันธ์
(2) ติดตามงานประชาสัมพันธ์
(3) ผลกระทบ/ประสิทธิผลของแผนงานการประชาสัมพันธ์
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (เอกสารบทที่ 5) วัตถุประสงค์ของการวิจัยประชาสัมพันธ์ ได้แก่
1 เพื่อการวางแผน การพัฒนา และการปรับปรุงงานประชาสัมพันธ์สําหรับโครงการใหม่ แผนกลยุทธ์ และแผนกิจกรรม
2 เพื่อการติดตามงานประชาสัมพันธ์และกิจกรรมทั่วไป

3 เพื่อการวัดการประเมินผลลัพธ์ ผลกระทบ และประสิทธิผลของแผนโครงการประชาสัมพันธ์ รวมทั้งการเผยแพร่และส่งเสริมกิจกรรม

85 ประโยชน์ของการวิจัยประชาสัมพันธ์ สอดคล้องกับข้อใด
(1) การบริหารจัดการการสื่อสาร
(2) การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร
(4) ชุมชนสัมพันธ์
(5) ถูกทุกข้อที่กล่าวข้างต้น
(3) สร้างภาพลักษณ์องค์กร
ตอบ 5 (เอกสารบทที่ 5) ประโยชน์ของการวิจัยประชาสัมพันธ์ คือ เพื่อการบริหารจัดการการสื่อสาร ชิ้นงานประชาสัมพันธ์ การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร การสร้างภาพลักษณ์หรืออัตลักษณ์องค์กร การวิเคราะห์เนื้อหา ชุมชนสัมพันธ์ โฆษณาสถาบัน รวมทั้งการเงินสัมพันธ์

86 เทคนิคสําคัญของการวิจัยประชาสัมพันธ์ สอดคล้องกับข้อใด
(1) การใช้สื่อเผยแพร่
(2) การเฝ้าติดตาม
(3) การสํารวจทางโทรศัพท์
(4) การสัมภาษณ์เจาะลึก
(5) ถูกทุกข้อที่กล่าวข้างต้น
ตอบ 5 (เอกสารบทที่ 5) เทคนิคสําคัญของการวิจัยประชาสัมพันธ์ มีดังนี้
1 การใช้สื่อเผยแพร่
2. การติดตามหรือเฝ้าดู
3. การสํารวจทางโทรศัพท์
4. การตรวจสอบการสื่อสาร
5. การสัมภาษณ์เจาะลึก
6. การสํารวจ
7. การสังเกต
8. การศึกษาเฉพาะกรณี

87 วิธีการวิจัยประชาสัมพันธ์มีอะไรบ้าง
(1) Formal Research for Public Relations
(2) Informal Research for Public Relations
(3) Survey Research for Public Relations
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 (เอกสารบทที่ 5) วิธีการวิจัยประชาสัมพันธ์ แบ่งออกได้ดังนี้
1 การวิจัยประชาสัมพันธ์ที่เป็นทางการ (Format Research for Public Relations)
2 การวิจัยประชาสัมพันธ์ที่ไม่เป็นทางการ (Informal Research for Public Relations)

88 การวิจัยประชาสัมพันธ์แบบทางการมีอะไรบ้าง
(1) วิจัยเชิงปริมาณ
(2) วิจัยเชิงคุณภาพ
(3) วิจัยสํารวจ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (เอกสารบทที่ 5) การวิจัยประชาสัมพันธ์แบบทางการ ประกอบด้วย
1 การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)
2. การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research)
3. การวิจัยเชิงสํารวจ (Survey Research)

89 การวิจัยประชาสัมพันธ์เชิงปริมาณมีอะไรบ้าง
(1) Survey Research
(2) Content Analysis
(3) Delphi Technique
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 1 (เอกสารบทที่ 5), (คําบรรยาย) เทคนิคการวิจัยประชาสัมพันธ์เชิงปริมาณ ได้แก่ การวิจัยสํารวจ (Survey Research) และการทดลอง (Experiment)

90 การวิจัยประชาสัมพันธ์เชิงคุณภาพมีอะไรบ้าง
(1) Focus Group
(2) In-depth Interview
(3) Case Studies
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (เอกสารบทที่ 5), (คําบรรยาย) เทคนิคการวิจัยประชาสัมพันธ์เชิงคุณภาพ ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) การสนทนากลุ่ม (Focus Group) การศึกษาเผ่าพันธุกรรม (Ethnography Studies) การศึกษาเฉพาะกรณี (Case Studies) การวิจัยอนาคต (Futures Research) การสังเกตโดยตรง (Direct Observation) การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และประวัติศาสตร์ความเป็นมา (Historical)

91 การวิจัยประชาสัมพันธ์เชิงสํารวจ มีสาระสอดคล้องกับข้อใด
(1) การสังเกตการณ์ทางสังคมศาสตร์
(2) การใช้สถิติวิเคราะห์
(3) ใช้แบบสอบถาม
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (เอกสารบทที่ 5), (คําบรรยาย) เทคนิคการวิจัยประชาสัมพันธ์เชิงสํารวจ ได้แก่ การสังเกตการณ์ ทางสังคมศาสตร์ การใช้สถิติวิเคราะห์ การใช้แบบสอบถาม การสํารวจทางจดหมาย จดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมล โทรศัพท์ แฟกซ์ แฟกซ์ตามอุปสงค์ จดหมายข่าว และสื่อสังคม

92 การวิจัยประชาสัมพันธ์เชิงสํารวจ มีแนวทางดําเนินการตามข้อใด
(1) สํารวจทางจดหมาย/อีเมล
(2) สํารวจทางโทรศัพท์
(3) สํารวจกลุ่มเป้าหมายโดยตรง
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 91. ประกอบ

93 การวิจัยประชาสัมพันธ์เชิงคุณภาพ มีแนวทางดําเนินการตามข้อใด
(1) การสังเกตโดยตรง
(2) การวิเคราะห์เนื้อหา
(3) ประวัติศาสตร์
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 90. ประกอบ

94 การวิจัยประชาสัมพันธ์เชิงอนาคตมีอะไรบ้าง
(1) Delphi Technique
(2) Ethnographic Futures Research
(3) Ethnographic-Delphi Futures Research
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (เอกสารบทที่ 5), (คําบรรยาย) เทคนิคการวิจัยประชาสัมพันธ์เชิงอนาคต มีดังนี้
1. การวิจัยอนาคตแบบเดลฟาย (Delphi Technique)
2. การวิจัยอนาคตแบบ Ethnographic Futures Research (EFR)
3. การวิจัยอนาคตแบบ Ethnographic-Delphi Futures Research (EDFR)

95 การวิจัยประชาสัมพันธ์แบบเดลฟาย มีสาระสอดคล้องกับข้อใด
(1) รอบแรก ส่งคําถามปลายเปิด
(2) รอบที่สอง คําถามปลายปิดสรุปจากรอบแรก
(3) รอบที่สาม คําถามปลายปิดยืนยัน/เปลี่ยนใจ
(4) รอบที่สี่ คําถามปลายปิดสรุปจากรอบ 3
(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในการวิจัยประชาสัมพันธ์แบบเดลฟาย ผู้วิจัยจะส่งแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญ
1 ส่งเป็นคําถามปลายเปิด (อัตนัย) ให้ผู้เชี่ยวชาญที่เลือกสรรแล้วเพื่อตอบคําถาม
2 ส่งเป็นคําถามปลายปิด (ปรนัย) สรุปจากรอบแรก
3 ส่งเป็นคําถามปลายปิดเพื่อยืนยัน/เปลี่ยนใจ
4 ส่งเป็นคําถามปลายปิดสรุปจากรอบสาม
ตอบ 4 รอบ ดังนี้

96 การวิจัยประชาสัมพันธ์เชิงติดตามผล มีสาระสําคัญตามข้อใด
(1) พิจารณาปัจจัยนําเข้าและส่งออก
(2) กําหนดผลลัพธ์
(3) ได้ข้อมูลกําหนดแผนกลยุทธ์และแผนงาน
(4) นักประชาสัมพันธ์ได้จัดทําแผนนําทาง
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 (เอกสารบทที่ 5) สาระสําคัญของการวิจัยประชาสัมพันธ์เชิงติดตามผล คือ การให้ ความสําคัญในเรื่องการพิจารณาปัจจัยนําเข้าและส่งออก การกําหนดผลลัพธ์ การจัดการ เส้นทางดําเนินการหรือแผนนําทางที่เหมาะสมในประเด็นตัวบ่งชี้ ปัญหา/โอกาสที่เป็นจริง การรับรู้ ความเชื่อในสาธารณะ และกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งเครื่องมือหรือวิธีการสื่อสารที่ช่วย ให้องค์กรมีผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมาย เพื่อให้ได้ข้อมูลกําหนดแผนกลยุทธ์และแผนโครงการ

97 การวิจัยประชาสัมพันธ์เชิงประเมินสรุป มีสาระสําคัญตามข้อใด
(1) ติดตามความก้าวหน้า
(2) กําหนดวัตถุประสงค์/เป้าหมาย
(3) วัดผลสําเร็จและดูความผิดพลาด
(4) พิจารณาปรับปรุงงบประมาณ/ค่าใช้จ่าย
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 (เอกสารบทที่ 5) สาระสําคัญของการวิจัยประชาสัมพันธ์เชิงประเมินสรุป คือ การให้ความสําคัญ เรื่องการติดตามความก้าวหน้าตามที่ได้กําหนดวัตถุประสงค์/เป้าหมายไว้ การเรียนรู้เรื่องการ วัดผลสําเร็จและดูความผิดพลาดของแผนประชาสัมพันธ์เพื่อแก้ไขปัญหาในคราวต่อไป รวมทั้ง การพิจารณาปรับปรุงงบประมาณและค่าใช้จ่ายในงานประชาสัมพันธ์

98 การวิจัยประชาสัมพันธ์เชิงติดตามผลมีอะไรบ้าง
(1) Exploratory Research
(2) Development Research
(3) Benchmarking Research
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (เอกสารบทที่ 5) วิธีการวิจัยประชาสัมพันธ์เชิงติดตามผล มีดังนี้
1 การสํารวจตรวจสอบ (Exploratory Research)
2 การวิจัยเชิงพัฒนา (Development Research)
3 การวิจัยหามาตรฐาน (Benchmarking Research)

99 การวิจัยประชาสัมพันธ์เชิงประเมินสรุปมีอะไรบ้าง
(1) Analysis of Existing Data
(2) Benchmarking Research
(3) Focus Group Discuss
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (เอกสารบทที่ 5) วิธีการวิจัยประชาสัมพันธ์เชิงประเมินสรุป มีดังนี้
1 การวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่จริง (Analysis of Existing Data)
2 การวิจัยหามาตรฐาน (Benchmarking Research)
3 การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discuss)

100 แผนงานการประชาสัมพันธ์มีอะไรบ้าง
(1) Strategic Planning
(2) Program Planning
(3) Project Planning
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (เอกสารบทที่ 7) แผนงานการประชาสัมพันธ์แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
1 แผนการประชาสัมพันธ์เชิงกลยุทธ์ (Strategic Planning)
2 แผนการประชาสัมพันธ์เชิงโครงการ (Program Planning or Project Planning)

Advertisement