การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 2390 (MCS 2108) เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารมวลชน
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

ข้อ 1. – 10. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) สื่อวิทยุกระจายเสียง
(2) www.youtube.com
(3) ภาษาดิจิทัล
(4) เทคโนโลยี

Advertisement

1 กลไกในการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือข้อใด
ตอบ 3 หน้า 35 – 50, 109, (คําบรรยาย) สื่อใหม่ (New Media) ได้แก่ อินเทอร์เน็ต, สื่อออนไลน์, เว็บไซต์ (เช่น www.youtube.com), อีเมล (E-mail) ฯลฯ ซึ่งมีลักษณะสําคัญดังนี้
1 มีการใช้ภาษาระบบตัวเลขหรือภาษาดิจิทัล (Digital Language) เป็นกลไกในการสื่อสาร ข้อมูลและกระบวนการทํางานผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
2 ผู้รับสารมีลักษณะ Active Seeker คือ ผู้รับสารกระตือรือร้นเสาะแสวงหาข้อมูลข่าวสาร ด้วยตัวเองตามความสนใจและความอยากรู้อยากเห็นของตัวเองอย่างอิสรเสรี
3 มีช่องทางการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารในลักษณะของการสื่อสารแบบ สองทาง (Two-way Communication) ฯลฯ

2 ข้อใดเป็นสื่อที่นําเสนอเนื้อหาสารในรูปภาษาพูด
ตอบ 1 หน้า 30, (คําบรรยาย) คุณลักษณะของสื่อวิทยุกระจายเสียง (Radio) มีดังนี้
1 ครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างขวาง เข้าถึงผู้รับสารได้อย่างครอบคลุม
2 มีความรวดเร็ว ทําให้ผู้ฟังได้รับข่าวสารทันต่อเวลาที่เกิดขึ้นจริง (Real Time)
3 เป็นสื่อที่นําเสนอเนื้อหาสารในรูปภาษาพูด จึงสามารถทําลายข้อจํากัดในการอ่านออก
เขียนได้ของผู้รับสาร
4 เป็นสื่อที่มีความคงทนต่ํา คือ ผู้รับสารไม่สามารถย้อนกลับไปเปิดรับเนื้อหาสารได้ซ้ําครั้ง ตามที่ตนต้องการ ฯลฯ

3 สื่อข้อใดมีช่องทางในการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

4สื่อข้อใดที่ทําลายข้อจํากัดในการอ่านออกเขียนได้ของผู้รับสาร
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

5 ข้อใดคือกลไกการทํางานของสื่อใหม่
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

6 ข้อใดช่วยให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความประหยัดต่อกระบวนการผลิตหรือระบบการทํางาน ตอบ 4 หน้า 3 โดยทั่วไปแล้วเทคโนโลยีจะช่วยให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อกระบวนการผลิตหรือระบบการ
ทํางานใด ๆ ก็ตามอยู่ 3 ประการ ได้แก่
1 ประสิทธิภาพ (Efficiency)
2 ประสิทธิผล (Productivity)
3 ประหยัด (Economy)

7 ข้อใดจัดเป็นสื่อสารมวลชนในกลุ่ม New Media
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

8 การนําความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อกระบวนการผลิต หมายถึงข้อใด
ตอบ 4 หน้า 1 – 2, (ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ) บราวน์ (Brown) ให้ความหมายของ “เทคโนโลยี” (Technology) ว่า การนําวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้บังเกิดผลประโยชน์ ส่วนพจนานุกรม เว็บสเตอร์ (Webster) ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้ประการหนึ่ง คือ การใช้ทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม

9 ผู้รับสารของสื่อข้อใดที่มีลักษณะเป็น Active Seeker
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

10 ผู้รับสารของสื่อข้อใดที่มีลักษณะเป็น Passive Audience
ตอบ 1 หน้า 17, 27, 32 – 33 สื่อดั้งเดิม (Traditional Media) ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ (เช่น หนังสือพิมพ์ จดหมายข่าว (News Letter), นิตยสาร, วารสาร ฯลฯ) สื่อวิทยุโทรทัศน์ สื่อวิทยุกระจายเสียง สื่อภาพยนตร์ ฯลฯ มีลักษณะของผู้รับสารดังนี้
1 ผู้รับสารในสังคมคุ้นเคยและมีทัศนคติเชิงบวกต่อการเปิดรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อดั้งเดิม
2 ผู้รับสารมีลักษณะ Passive Audience คือ มีหน้าที่เปิดรับข้อมูลข่าวสาร และจะได้รับ ข้อมูลข่าวสารก็ต่อเมื่อผู้ส่งสารนําเสนอหรือส่งสารผ่านสื่อหรือช่องทางในการสื่อสารมาสู่ ผู้รับสารเท่านั้น เช่น ผู้อ่านจะได้อ่านสิ่งพิมพ์ก็ต่อเมื่อตีพิมพ์เสร็จและวางแผง เป็นต้น
3 มีลักษณะการสื่อสารไปยังผู้รับสารแบบทางเดียว (One-way Communication) ดังนั้น จึงแทบไม่มีช่องทางในการรับรู้ปฏิกิริยาตอบกลับ (Feedback) ของผู้รับสาร ฯลฯ

11 การใช้สัญญาณควันไฟเพื่อสื่อสารไปยังคนหมู่มากในชุมชน เป็นรูปแบบการสื่อสารในยุคใด
(1) ยุคการใช้ตัวอักษร
(2) ยุคก่อนการใช้ตัวอักษร
(3) ยุคการพิมพ์
(4) ยุคสื่อไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
(5) ยุคการสื่อสารผ่านเครือข่ายและสื่อดิจิทัล
ตอบ 2 หน้า 11 – 12 รูปแบบและวิธีการสื่อสารมวลชนของมนุษย์ยุคแรก ๆ ก่อนที่จะมีการใช้ ตัวอักษรนั้น จะเป็นวิธีการสื่อสารอย่างง่าย เช่น การใช้สัญญาณควันไฟเพื่อสื่อสารไปยังคน หมู่มากในชุมชน การใช้เสียงกลอง การขีดเขียนสัญลักษณ์ หรือภาพเขียนตามผนังถ้ํา ฯลฯ

12 มนุษย์เรียนรู้การสื่อสารมวลชน (Mass Communication) ตั้งแต่เมื่อใด
(1) ตั้งแต่ยุคที่มนุษย์คิดค้นการใช้ตัวอักษรในการสื่อสาร
(2) ตั้งแต่ยุคที่มีการประดิษฐ์แท่นพิมพ์
(3) ตั้งแต่ยุคที่มนุษย์มีที่อยู่อาศัยรวมกันเป็นหลักแหล่ง
(4) ตั้งแต่ยุคที่มีการค้นพบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
(5) ตั้งแต่ยุคที่มีการสื่อสารด้วยภาษาระบบตัวเลข
ตอบ 3 หน้า 11 การสื่อสารไปสู่กลุ่มคนจํานวนมากในลักษณะของการสื่อสารมวลชนได้เกิดขึ้นมา นานแล้ว นับตั้งแต่ยุคที่มนุษย์มีที่อยู่อาศัยรวมกันเป็นหลักแหล่ง โดยมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่ม สังคมและชุมชน จนกระทั่งมีความจําเป็นต้องแจ้งข่าวสารจากผู้นํากลุ่มสังคมไปยังคนในกลุ่ม จึงได้หาวิธีการส่งข้อมูลข่าวสารไปยังคนจํานวนมากเพื่อให้ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารได้พร้อมกัน

13 นักวิทยาศาสตร์ผู้ประดิษฐ์แท่นพิมพ์และนําตัวอักษรมาเรียงบนแท่นพิมพ์เพื่อจัดพิมพ์บนกระดาษ คือผู้ใด
(1) กูกลิเอลโม มาร์โคนี
(2) ลี เดอ ฟอเรสต์
(3) โจฮัน กูเตนเบิร์ก
(4) เฮนริช รูดอล์ฟ เฮิรตซ์
(5) เจมส์ คลาร์ค แม็กซ์เวล
ตอบ 3 หน้า 13 – 15 เมื่อประมาณ ค.ศ. 1450 ได้เกิดการพิมพ์แบบอุตสาหกรรมขึ้นในทวีปยุโรป
กล่าวคือ โจฮัน กูเตนเบิร์ก (Johann Gutenberg) ชาวเยอรมัน เป็นผู้คิดประดิษฐ์แท่นพิมพ์ ที่สามารถพิมพ์ได้ครั้งละมาก ๆ อันเป็นแบบอย่างของระบบการพิมพ์ในปัจจุบัน และสามารถ นําตัวอักษรมาเรียงบนแท่นพิมพ์เพื่อจัดพิมพ์บนกระดาษได้สําเร็จ

14 ข้อใดคือลักษณะของสื่อสิ่งพิมพ์ (Printed Media)
(1) เป็นสื่อที่มีความคงทนต่ำ
(2) เป็นสื่อที่ทําลายข้อจํากัดในการอ่านออกเขียนได้ของผู้รับสาร
(3) เป็นสื่อที่มีความคงทนสูง
(4) เป็นสื่อที่มีช่องทางปฏิสัมพันธ์
(5) เป็นสื่อที่นําเสนอเนื้อหาสารในลักษณะ Real Time
ตอบ 3 หน้า 17, 27 – 28, 33 คุณลักษณะของสื่อสิ่งพิมพ์ (Printed Media) เช่น วารสาร นิตยสาร หนังสือพิมพ์ จุลสาร จดหมายข่าว (News Letter) ฯลฯ ซึ่งจัดเป็นสื่อแบบดั้งเดิม มีดังนี้
1 เป็นสื่อที่เข้าถึงกลุ่มผู้รับสารได้อย่างกว้างขวาง
2 นําเสนอเนื้อหาสารในรูปภาษาเขียน (ตัวอักษร) และภาพ
3 ผู้จัดทําเนื้อหาสารในฐานะผู้ส่งสารสามารถจัดทําเนื้อหาที่เหมาะสม สอดคล้องกับผู้รับสาร
เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4 เป็นสื่อที่มีความน่าเชื่อถือสูง จึงมักถูกใช้เป็นสื่อเพื่อการอ้างอิง (Referenced Media)
5 เป็นสื่อที่มีความคงทนสูง คือ ผู้รับสารสามารถย้อนกลับไปเปิดรับเนื้อหาสารจากสื่อได้ซ้ําครั้ง ตามที่ผู้รับสารต้องการ
6 จัดเป็นสื่อสารมวลชนสื่อแรกที่มีความเก่าแก่ที่สุด ฯลฯ

15 Nipcow Disc เป็นการทดลองแพร่ภาพเคลื่อนไหวโดยใช้เทคโนโลยีในข้อใด
(1) เทคโนโลยีจักรกล
(2) เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์
(3) เทคโนโลยีดิจิทัล
(4) เทคโนโลยีสื่อประสม
(5) เทคโนโลยีแรงคน
ตอบ 1 หน้า 22 ใน ค.ศ. 1884 พอล นิปโคว์ (Paul Nipkow) เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ที่ประสบความสําเร็จในการทดลองแพร่ภาพเคลื่อนไหวด้วยเทคโนโลยีจักรกลเป็นครั้งแรกเพราะเขาได้ค้นพบการสแกนภาพจากจานหมุนที่ถูกตั้งชื่อว่า “Nipcow Disc” ซึ่งนําไปสู่ การประดิษฐ์สื่อวิทยุโทรทัศน์จักรกลในยุคแรก แต่ก็มีข้อจํากัดหลายประการ เช่น เสียงดังมีขนาดใหญ่ และยังมีระบบการทํางานที่ไม่สัมพันธ์กันระหว่างจานรับกับจานส่ง

16 “กระบวนการแปลงข้อมูลข่าวสารลักษณะต่าง ๆ ให้อยู่ในรูปภาษาดิจิทัล” ตรงกับคําใด
(1) Digital Evolution
(2) Digitization
(3) Digital Revolution
(4) Digital Innovation
(5) Digitalization
ตอบ 2 หน้า 36 การปฏิวัติแห่งระบบดิจิทัล หรือการปฏิวัติแห่งระบบตัวเลข (Digital Revolution) หมายถึง ข้อมูลข่าวสารไม่ว่าจะอยู่ในรูปของข้อความ เสียง รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว ถูกแปลง ให้เป็นภาษารูปแบบเดียวกัน คือ ภาษาดิจิทัล (Digital Language) ซึ่งรูปแบบของกระบวนการ แปลงข้อมูลข่าวสารลักษณะต่าง ๆ ให้อยู่ในรูปภาษาดิจิทัล ตรงกับคําว่า “การทําให้เป็นภาษา ระบบตัวเลข” (Digitization)

17 “ผู้อ่านจะได้อ่านสิ่งพิมพ์ก็ต่อเมื่อตีพิมพ์เสร็จและวางแผง” คือลักษณะของผู้รับสารจากสื่อประเภทใด
(1) Local Media
(2) New Media
(3) Traditional Media
(4) Alternative Media
(5) Social Media
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 10. ประกอบ

18 ลักษณะของผู้รับสารในข้อ 17. ตรงกับคําใด
(1) Active Seeker
(2) Active Receiver
(3) Passive Audience
(4) Passive Seeker
(5) Negative Audience
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 10. ประกอบ

19 สื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อที่เปิดโอกาสให้ผู้รับสารเปิดรับสารได้ซ้ําครั้ง ตรงกับคําใด
(1) มีความเสถียรสูง
(2) มีความน่าเชื่อถือสูง
(3) มีความคงทนสูง
(4) มีความยั่งยืนสูง
(5) ความเป็นมิตรต่อผู้รับสารสูง
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 14. ประกอบ

20 ข้อใดคือความหมายของคําว่า “การปฏิวัติแห่งระบบดิจิทัล” (Digital Revolution)
(1) ข้อมูลข่าวสารในรูปข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหว ถูกแปลงให้เป็นภาษาดิจิทัล
(2) ข้อมูลข่าวสารในรูปภาษาดิจิทัล ถูกแปลงให้อยู่ในรูปข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหว
(3) ข้อมูลข่าวสารในรูปข้อความ ถูกแปลงให้เป็นสัญญาณเสียง
(4) ข้อมูลข่าวสารในรูปสัญญาณเสียง ถูกแปลงให้อยู่ในรูปข้อความ
(5) ข้อมูลข่าวสารในรูปข้อความ ถูกแปลงให้อยู่ในรูปสัญญาณภาพเคลื่อนไหว
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 16. ประกอบ

21 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของ New Media
(1) เป็นสื่อที่เอื้อให้ผู้ส่งสารและผู้รับสารทําหน้าที่ส่งสารและรับสารได้พร้อมกัน
(2) มีรูปแบบการสื่อสารแบบทางเดียว
(3) มีรูปแบบการสื่อสารแบบสองทาง
(4) ส่งสารผ่านช่องทางสื่อสารได้หลายอย่างพร้อมกัน
(5) มีความรวดเร็วในการนําเสนอเนื้อหาสารไปสู่ผู้รับปลายทาง
ตอบ 2 หน้า 38 Burnett, R. and Marshall (2003) ได้นิยามสื่อใหม่ (New Media) ว่า เป็นสื่อที่ เอื้อให้ผู้ส่งสารและผู้รับสารทําหน้าที่ส่งสารและรับสารได้พร้อมกัน และสื่อยังทําหน้าที่ส่งสาร ผ่านช่องทางการสื่อสารได้หลาย ๆ อย่างพร้อมกัน คือ ภาพ เสียง และข้อความ โดยการรวม เทคโนโลยีของสื่อดั้งเดิมเข้ากับความก้าวหน้าของระบบเทคโนโลยีสัมพันธ์ ทําให้มีรูปแบบการ สื่อสารแบบสองทางผ่านทางระบบเครือข่ายและมีศักยภาพเป็นสื่อแบบประสม (Multimedia)

22 Freedom from geological boundaries หมายถึง ความเป็นอิสระด้านใดของสื่อใหม่
(1) ความเป็นอิสระจากข้อจํากัดด้านรูปแบบ
(2) ความเป็นอิสระจากข้อจํากัดด้านขนาด
(3) ความเป็นอิสระจากข้อจํากัดด้านเวลา
(4) ความเป็นอิสระจากข้อจํากัดด้านพรมแดน
(5) ความเป็นอิสระจากข้อจํากัดด้านพื้นที่
ตอบ 4 หน้า 38 – 39 Kent Wertime and Lan Fenwick กล่าวว่า ลักษณะสําคัญของเนื้อหา ในรูปแบบดิจิทัล ประกอบด้วย ความเป็นอิสระ 5 ประการ ได้แก่
1 ความเป็นอิสระจากข้อจํากัดด้านเวลา (Freedom from scheduling)

2 ความเป็นอิสระจากข้อจํากัดด้านพรมแดน (Freedom from geological boundaries)
3 ความเป็นอิสระจากข้อจํากัดด้านขนาด (Freedom to scale)
4 ความเป็นอิสระจากข้อจํากัดด้านรูปแบบ (Freedom from formats)
5 ความเป็นอิสระจากยุคนักการตลาดสร้างเนื้อหา มาสู่ยุคนักบริโภคริเริ่มสร้างและควบคุม เนื้อหาเอง (Freedom from marketer-driven to consumer-initiated, created and controlled)

23 ด้วยคุณลักษณะข้อใดที่ส่งผลให้อินเทอร์เน็ต (Internet) ถูกนับเป็นสื่อสารมวลชน (Mass Media)
(1) สามารถส่งข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็วไปสู่ผู้รับสารในวงกว้าง
(2) มีช่องทางให้ผู้รับสารสามารถสื่อสารตอบกลับแบบสองทาง
(3) นําเสนอเนื้อหาสารได้ทุกลักษณะของสื่อแบบดั้งเดิม
(4) ใช้ภาษาดิจิทัลเป็นกลไกในกระบวนการทํางาน
(5) ส่งเนื้อหาสารผ่านสื่อคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อแบบเครือข่าย
ตอบ 3 หน้า 40, 55, (คําบรรยาย) สื่ออินเทอร์เน็ตถูกจัดเป็นสื่อสารมวลชนหรือสื่อมวลชน (Mass Communication/Mass Media) ด้วยศักยภาพทางเทคโนโลยีที่สามารถนําเสนอเนื้อ เอหาสาร ได้ในลักษณะเดียวกันกับสื่อมวลชนแบบดั้งเดิมทุกประเภททั้งสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และภาพยนตร์

24 IOS จัดเป็นข้อใด
(1) Mobile Telephone
(2) Mobile Platform
(3) Mobile Game
(4) Mobile Computing
(5) Mobile Network
ตอบ 2 หน้า 41 เทคโนโลยีสําหรับอุปกรณ์พกพาหรือแพลตฟอร์มเคลื่อนที่ (Mobile Platform) หมายถึง ระบบปฏิบัติการสําหรับอุปกรณ์พกพา ซึ่งประกอบไปด้วย ระบบปฏิบัติการของ โทรศัพท์เคลื่อนที่หรืออุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่อื่น ๆ โดยมีผู้ให้บริการเทคโนโลยีในระบบ ปฏิบัติการหลากหลายเครือข่ายการสื่อสาร เช่น ระบบปฏิบัติการ IOS, ระบบปฏิบัติการ Android, ระบบปฏิบัติการ Windows Phone 7 ฯลฯ

25 การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จัดเป็น New Media ตรงกับคําในข้อใด
(1) E-mail
(2) E-banking
(3) E-commerce
(4) E-book
(5) E-document
ตอบ 3 หน้า 66 สื่ออินเทอร์เน็ตมักถูกใช้เป็นช่องทางประกอบธุรกรรมทางธุรกิจทั้งการซื้อขายสินค้า ออนไลน์ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ออนไลน์ การโอนเงินออนไลน์ การจองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ และยังเป็นช่องทางสําคัญที่ผู้ประกอบการใช้ส่งเสริมการตลาดออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงเป็นที่มาของคําว่า “E-Commerce” (Electronic Commerce) หรือที่เราเรียกกันใน ภาษาไทยว่า “การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์” เช่น www.lazada.com, www.alibaba.com, www.shopee.co.th, www.tarad.com ฯลฯ

26 ส่วนที่ใช้ในการเชื่อมต่อเว็บเพจเข้าหากัน และเป็นส่วนที่ให้ผู้ใช้สามารถเปิดเว็บเพจหน้าถัดไป หมายถึง
ข้อใด
(1) Upload
(2) Download
(3) Streaming
(4) Browser
(5) Link

ตอบ 5 หน้า 40, (คําบรรยาย) การเชื่อมโยงหลายมิติ (Hyperlink) ซึ่งมักเรียกกันย่อ ๆ ว่า “Link” หมายถึง ส่วนที่ใช้ในการเชื่อมต่อเว็บเพจเข้าหากัน และเป็นส่วนที่ให้ผู้ใช้สามารถเปิดเว็บเพจ หน้าถัดไป ซึ่งอาจมีลักษณะเป็นข้อความ ปุ่มกด หรือรูปภาพที่ผู้ใช้สามารถคลิกเพื่อให้เกิดการ เชื่อมโยงไปสู่เว็บเพจหน้าอื่นที่กําหนดไว้ แทนที่จะพิมพ์ในแถบที่อยู่ของเว็บบราวเซอร์โดยตรง

ข้อ 27. – 29. จงจับคู่ตัวเลือกต่อไปนี้กับข้อความ
(1) Teletext
(2) Videotext
(3) Podcast

27 เนื้อหาในรูปของข้อมูลเสียง (Content Audio) ที่จัดทําขึ้นและเผยแพร่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ตอบ 3 หน้า 44 พอดแคสต์ (Podcast) หมายถึง เนื้อหาที่อยู่ในรูปของข้อมูลที่เป็นเสียง
(Content Audio) ซึ่งจัดทําขึ้นและเผยแพร่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

28 การนําเสนอข่าวสารของสื่อสิ่งพิมพ์โดยส่งข้อมูลไปพร้อมกับการส่งสัญญาณคลื่นโทรทัศน์
ตอบ 1 หน้า 67 ในปี ค.ศ. 1970 (พ.ศ. 2513) ประเทศอังกฤษได้คิดค้นวิธีการนําเสนอข่าวสารของ สื่อสิ่งพิมพ์โดยส่งข้อมูลไปพร้อมกับการส่งคลื่นสัญญาณโทรทัศน์ และได้เรียกสื่อดังกล่าวนี้ว่า“โทรภาพสาร” (Teletext)

29 การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารโดยเชื่อมโยงระบบโทรศัพท์สาธารณะเข้ากับศูนย์ข้อมูลและเชื่อมต่อเข้ากับ อุปกรณ์ปลายทางของผู้ใช้ ปรากฏเนื้อหาในรูปข้อความและภาพบนเครื่องรับปลายทาง
ตอบ 2 หน้า 67 – 68 บริษัท British Telecom ประเทศอังกฤษ ได้พัฒนาเทคโนโลยีการเผยแพร่ ข้อมูลข่าวสารในรูปวิดีสาร (Videotext) ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงระบบโทรศัพท์สาธารณะเข้ากับ ศูนย์ข้อมูลและเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ปลายทางของผู้ใช้ โดยที่เครื่องรับจะมีเครื่องแปลงรหัสที่สามารถแปลงรหัสให้ปรากฏบนจอรับปลายทางได้ทั้งในลักษณะข้อความและภาพ ต่อมาใน พ.ศ. 2523 องค์กรหนังสือพิมพ์ได้นําเนื้อหาข่าวเผยแพร่สู่ประชาชนผ่านสื่อวิดีสารเป็นครั้งแรก

ข้อ 30 – 34. จงจับคู่ตัวเลือกต่อไปนี้กับข้อความ
(1) Virtual Space
(2) Metaverse
(3) System Software
(4) Application Software
(5) Connectivity

30 ซอฟต์แวร์ระบบ
ตอบ 3 หน้า 42 ซอฟต์แวร์ (Software) เป็นชุดคําสั่งหรือโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์
ทํางานซึ่งจะทําหน้าที่เสมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ให้สามารถเข้าใจกันได้
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1 ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software, Operating Software : OS)
2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)

31 จักรวาลนฤมิต
ตอบ 2 (คําบรรยาย) จักรวาลนฤมิต (Metaverse) มาจากคําว่า “Meta + Verse” ซึ่งรวมแล้วจะได้ ความหมายว่า “จักรวาลที่อยู่เหนือจินตนาการ” ปรากฏครั้งแรกในนวนิยาย Sci-Fi ที่มีชื่อว่า “Snow Crash” โดยจักรวาลนฤมิตหรือ Metaverse นี้จะกลายมาเป็นโลกอีกใบที่ให้ผู้คนได้ เข้ามามีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันผ่านการจําลองเป็นตัวละครต่าง ๆ (Avatar) ด้วยการใช้เทคโนโลยี คือ Augmented Reality (AR) และ Virtual Reality (VR)

32 ซอฟต์แวร์ประยุกต์
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 30 ประกอบ

33 สามารถเชื่อมต่อกันได้โดยง่าย
ตอบ 5 หน้า 47 กาญจนา แก้วเทพ (2555) นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน ได้กล่าวถึงคุณลักษณะ สําคัญของสื่อใหม่ (New Media) ว่ามีคุณสมบัติในเชิงเทคนิค เชิงสังคม และอื่น ๆ ดังนี้
1 การมีปฏิสัมพันธ์ได้ง่าย (Interactivity) เพราะเป็นสื่อที่มีรูปแบบการสื่อสารแบบสองทาง
2 มีความสามารถเคลื่อนที่ได้สูง (Mobility) (Two-way Communication)
3 สามารถดัดแปลงเปลี่ยนรูปได้ (Convertibility)
4 สามารถเชื่อมต่อกันได้โดยง่าย (Connectivity)
5 สามารถหาได้หรือใช้ประโยชน์ในทุกที่ (Ubiquity)
6 มีความรวดเร็วในการสื่อสาร (Speed of Communication)
7 มีลักษณะที่ไร้พรมแดน (Absence of Boundaries)
8 มีความเป็นดิจิทัล (Digitization)

34 พื้นที่เสมือน
ตอบ 1 หน้า 42, (คําบรรยาย) Cyber Space หมายถึง พื้นที่เสมือน (Virtual Space) ซึ่งเป็นพื้นที่ อิเล็กทรอนิกส์หรือภูมิประเทศเสมือนที่อยู่บนการสื่อสารแบบออนไลน์

35 ข้อใดไม่ใช่คําอธิบายของคําว่า Media Convergence
(1) การบรรจบกันของเทคโนโลยีสื่อแบบดั้งเดิมกับสื่อใหม่
(2) การหลอมรวมเนื้อหาของสื่อแบบดั้งเดิมให้ปรากฏบนสื่ออินเทอร์เน็ต
(3) การหลอมรวมระหว่างสื่อ
(4) การรวมเทคโนโลยีสื่อที่แตกต่างกันเข้าไว้ด้วยกันในศูนย์เดียว
(5) การหลอมรวมเนื้อหาดิจิทัลผ่านสื่อแบบดั้งเดิม
ตอบ 5 หน้า 50 – 51 Media Convergence หมายถึง การบรรจบกันของเทคโนโลยีสื่อแบบดั้งเดิม กับสื่อใหม่ หรือเป็นการรวมเทคโนโลยีสื่อที่แตกต่างกันเข้าไว้ด้วยกันในศูนย์เดียว จนต่อมาได้มี ผู้นิยามศัพท์ว่า “การหลอมรวมระหว่างสื่อ หรือการหลอมรวมสื่อ” อันเป็นผลมาจากศักยภาพ ในการแปลงเนื้อหาจากแหล่งสารต่าง ๆ ให้อยู่ในรูปข้อมูลดิจิทัลหรือภาษาดิจิทัล พร้อมกับการ แปลงข้อมูลดิจิทัลให้ปรากฏในลักษณะเดียวกันกับรูปแบบเนื้อหาสารจากแหล่งสารที่นําเสนอผ่านสื่อแบบดั้งเดิม

36 พนม ยีรัมย์ ถูกทาบทามให้ร่วมแสดงในภาพยนตร์ฮอลลีวู้ด เป็นปรากฏการณ์ข้อใด
(1) Global Convergence
(2) Corporate Convergence
(3) Technological Convergence
(4) Functional Convergence
(5) Cultural Convergence
ตอบ 1 หน้า 54 Global Convergence หมายถึง ปรากฏการณ์การหลอมรวมระดับโลกจนส่งผล ให้เกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรม อันเป็นผลมาจากการเผยแพร่เนื้อหาสื่อระหว่างกันของ ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น การนําดาราชาวเอเชียมาร่วมแสดงในภาพยนตร์ของฮอลลีวู้ด ซึ่งเป็นผลมาจากการเผยแพร่ผลงานภาพยนตร์เอเชียไปทั่วโลก เป็นต้น

37 การนําเนื้อหาของนวนิยายเรื่อง Jungle Book ไปสร้างเป็นภาพยนตร์ หนังสือการ์ตูน และเกมออนไลน์ เพื่อขยายฐานลูกค้าให้กว้างกว่าเดิม เป็นปรากฏการณ์ที่ตรงกับข้อใด

(1) Operational Convergence
(2) Corporate Convergence
(3) Technological Convergence
(4) Economic Convergence
(5) Cultural Convergence

ตอบ 4 หน้า 53 Economic Convergence หมายถึง ปรากฏการณ์การหลอมรวมธุรกิจสื่อเพื่อขยาย พื้นที่หรือฐานทางการตลาดให้กว้างขวางขึ้น เช่น การนํานวนิยายเรื่อง Jungle Book ไปสร้าง เป็นภาพยนตร์ หนังสือการ์ตูน และเกมออนไลน์ เพื่อขยายฐานลูกค้าให้กว้างกว่าเดิม เป็นต้น

38 บริษัท A ผู้ประกอบการสื่อใหม่ ควบรวมกิจการกับบริษัท B ผู้ประกอบการสื่อแบบดั้งเดิม โดยมุ่งให้บริการ เนื้อหาผ่านสื่อใหม่และสื่อแบบดั้งเดิมอย่างครอบคลุม ลักษณะนี้ตรงกับคําใด
(1) Operational Convergence
(2) Corporate Convergence
(3) Technological Convergence
(4) Economic Convergence
(5) Cultural Convergence
ตอบ 2 หน้า 52 Corporate Convergence หมายถึง การหลอมรวมองค์กร ซึ่งปรากฏการณ์นี้ เกิดขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1980 – 1989 เมื่อเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในธุรกิจทางการ สื่อสาร จึงส่งผลให้ผู้ประกอบการธุรกิจทางการสื่อสารหันมาควบรวมกิจการในลักษณะการหลอมรวมองค์กรด้วยวิสัยทัศน์ที่ว่า “หนึ่งองค์กรสามารถให้บริการได้ทุกอย่างพร้อมสรรพ เช่น บริษัท A ผู้ประกอบการสื่อใหม่ ได้ควบรวมกิจการกับบริษัท B ผู้ประกอบการสื่อแบบ ดั้งเดิม โดยมุ่งให้บริการเนื้อหาผ่านสื่อใหม่และสื่อแบบดั้งเดิมอย่างครอบคลุม เป็นต้น

39 ไทยรัฐรวมศูนย์ข่าวไว้ที่เดียวเพื่อให้บริการข้อมูลข่าวผ่านทุกสื่อในเครือไทยรัฐ ลักษณะนี้ตรงกับคําว่า
(1) Operational Convergence
(2) Corporate Convergence
(3) Technological Convergence
(4) Economic Convergence
(5) Cultural Convergence
ตอบ 1 หน้า 52 Operational Convergence หมายถึง การรวมศูนย์การปฏิบัติงานไว้ในที่เดียว หรือศูนย์เดียว โดยผู้ประกอบการเจ้าของธุรกิจสื่อหลากหลายประเภทพยายามรวมศูนย์การ ปฏิบัติงานไว้ที่เดียวกัน เช่น ไทยรัฐและเนชั่นรวมศูนย์ข่าวไว้ที่เดียวเพื่อให้บริการข้อมูลข่าว ผ่านทุกสื่อในเครือ เป็นต้น

40 สมาร์ทโฟนเครื่องเดียวรวมรูปแบบการใช้งานของสื่อต่าง ๆ ทั้งกล้องถ่ายภาพ โปรแกรมอัดวิดีโอ โปรแกรมเล่นเกม โปรแกรมการใช้งานอินเทอร์เน็ต สิ่งนี้ตรงกับคําว่า
(1) Operational Convergence
(2) Corporate Convergence
(3) Technological Convergence
(4) Economic Convergence
(5) Cultural Convergence
ตอบ 3 หน้า 51 Technological or Device Convergence หมายถึง การแปลงเนื้อหาของสื่อ ทุกประเภททั้งตัวอักษร ภาพ เสียง ให้อยู่ในรูปภาษาดิจิทัล และนําเทคโนโลยีของสื่อแต่ละ ประเภทมารวมเอาไว้ในสื่อหรืออุปกรณ์เดียว เช่น สมาร์ทโฟนเครื่องเดียวหลอมรวมรูปแบบ การใช้งานของสื่อต่าง ๆ ทั้งกล้องถ่ายภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว โปรแกรมอัดวิดีโอ โปรแกรม เล่นเกม โปรแกรมการใช้งานอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

41 รูปนี้มีหน้าที่ทําข่าวเพื่อเผยแพร่ทางสื่อสิ่งพิมพ์ ถ่ายภาพข่าว ตัดต่อภาพและเสียงเพื่อเผยแพร่ข่าวผ่าน สื่อวิทยุกระจายเสียงและสื่อออนไลน์ในองค์กรที่เธอสังกัด การทํางานของรูปนี้ตรงกับข้อใด
(1) Operational Convergence
(2) Corporate Convergence
(3) Technological Convergence
(4) Functional Convergence
(5) Cultural Convergence
ตอบ 4 หน้า 53 Functional Convergence หมายถึง การหลอมรวมหลากหลายหน้าที่เอาไว้ ในบุคคลเดียว เช่น ผู้สื่อข่าวคนเดียวจัดทําเนื้อหาข่าวสารเพื่อเผยแพร่ทั้งบนสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง สื่อออนไลน์ เป็นต้น

42 เครือข่ายที่ศึกษาวิจัยการสื่อสารผ่านสื่อคอมพิวเตอร์ในลักษณะเชื่อมต่อกันแบบเครือข่ายกระทั่งประสบ ผลสําเร็จและแพร่หลายไปทั่วโลก คือเครือข่ายในข้อใด
(1) เครือข่ายโซเชียลเน็ต
(2) เครือข่ายอุลตราเน็ต
(3) เครือข่ายอาร์พาเน็ต
(4) เครือข่ายสปาร์ตาเน็ต
(5) เครือข่ายยูยูเน็ต
ตอบ 3 หน้า 55 – 56 (คําบรรยาย) สื่ออินเทอร์เน็ตเริ่มใช้งานครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2511 โดยองค์กร ที่มีชื่อว่า “ARPANET” (Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งอยู่ในสังกัด กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา ได้พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขึ้นมาเพื่อใช้ทางการทหาร เรียกว่า “เครือข่ายอาร์พาเน็ต” เพื่อให้ทําหน้าที่ศึกษาวิจัยการสื่อสารผ่านทางสื่อคอมพิวเตอร์ ในลักษณะเชื่อมต่อกันแบบเครือข่าย จนกระทั่งประสบผลสําเร็จและแพร่หลายไปทั่วโลก

43 อินเทอร์เน็ตเป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อครอบคลุมระหว่างกันทั่วโลก ด้วยโปรโตคอล TCP/IP คําว่า “โปรโตคอล” หมายถึงข้อใด
(1) ข้อกําหนดรูปแบบทางการสื่อสารผ่านสื่อดิจิทัล
(2) ข้อกําหนดด้านรูปแบบการสื่อสารเฉพาะเพื่อให้การสื่อสารในระบบเครือข่ายทํางานด้วยกันทั้งระบบ
(3) ข้อกําหนดรูปแบบทางการสื่อสารผ่านสื่อสารสนเทศ
(4) ข้อกําหนดรูปแบบทางการสื่อสารผ่านระบบเครือข่าย
(5) ข้อกําหนดรูปแบบทางการสื่อสารผ่านระบบการสื่อสารสากล
ตอบ 2 หน้า 40, 55, (คําบรรยาย) โปรโตคอล (Protocol) หมายถึง ข้อกําหนดด้านรูปแบบการ สื่อสารเฉพาะระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ทั้งวิธีการส่งและรับข้อมูล วิธีการตรวจสอบ ข้อผิดพลาดของการส่งและรับข้อมูล การแสดงผลข้อมูลเมื่อส่งและรับกันระหว่างเครื่องทั้ง 2 เครื่อง ทั้งนี้เพื่อให้การสื่อสารในระบบเครือข่ายทํางานได้ด้วยกันทั้งระบบ และมีมาตรฐาน ในการรับส่งข้อมูลระหว่างกันที่เป็นสากลหนึ่งเดียวทั่วโลก ซึ่งนั่นก็คือ โปรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)

44 อินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในประเทศไทย โดยเริ่มจากสถาบันอุดมศึกษา 2 แห่ง เป็นผู้นําร่องใช้รูปแบบการสื่อสารใด
(1) การสื่อสารผ่านเว็บบล็อก
(2) การจัดทําเว็บไซต์
(3) การส่งและรับไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
(4) การสนทนาออนไลน์
(5) เว็บบอร์ด
ตอบ 3 หน้า 57 อินเทอร์เน็ตเริ่มเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยมหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (PSU) กับสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือสถาบันเอไอที (AIT) ได้ใช้บริการส่งและรับจดหมายหรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-mail) เป็นครั้งแรก โดยได้รับความร่วมมือจากประเทศออสเตรเลีย

45 รูปแบบการสื่อสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่สถาบันอุดมศึกษาทั้ง 2 แห่ง เป็นผู้เริ่มนํามาใช้งาน ในประเทศไทย (ตามข้อ 44.) ได้รับความร่วมมือจากประเทศใด
(1) สหรัฐอเมริกา
(2) ญี่ปุ่น
(3) ออสเตรเลีย
(4) เยอรมนี
(5) แคนาดา
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 44. ประกอบ

46 เครือข่ายการสื่อสารใดที่มีประตูสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Gateway) เป็นแห่งแรกของประเทศไทย
(1) เครือข่ายยูยูเน็ต
(2) เครือข่ายไทยสาร
(3) เครือข่ายไทยเน็ต
(4) เครือข่ายจุฬาเน็ต
(5) เครือข่ายอาร์พาเน็ต
ตอบ 3 หน้า 58 ในปี พ.ศ. 2535 เครือข่ายไทยเน็ตถือเป็นเครือข่ายที่มีเกตเวย์ (Gateway) หรือ ประตูสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นแห่งแรกของประเทศไทย โดยมีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นศูนย์กลาง ต่อมาในปีเดียวกัน NECTEC ได้จัดตั้งเครือข่ายไทยสารเป็นเกตเวย์สู่เครือข่าย อินเทอร์เน็ตแห่งที่ 2 ของประเทศไทย

47 www.ru.ac.th เป็นลักษณะการกําหนดชื่ออ้างอิงของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานบนอินเทอร์เน็ตในข้อใด
(1) IP System
(2) TCP/IP System
(3) Domain Name System
(4) Protocol System
(5) E-mail System
ตอบ 3 หน้า 60 ระบบโดเมนเนม (Domain Name System : DNS) คือ ระบบการตั้งชื่อหรือใช้ ตัวอักษรแทนหมายเลข IP Address เนื่องจากตัวเลข IP Address เป็นสิ่งที่ค่อนข้างยาก และ อาจจําสับสนหรือจําผิดได้ ดังนั้นจึงมีการหาทางออกโดยการตั้งชื่อหรือตัวอักษรขึ้นมาแทนที่ เพื่อให้สะดวกในการจดจํา เช่น ระบบ DNS ของมหาวิทยาลัยรามคําแหงชื่อ ru.ac.th

48 ข้อใดคือระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตส่วนบุคคล
(1) LAN
(2) MAN
(3) CAN
(4) WAN
(5) PAN
ตอบ 5 หน้า 61 เครือข่ายส่วนบุคคล หรือแพน (Personal Area Network : PAN) เป็นระบบ เครือข่ายระหว่างอุปกรณ์เคลื่อนที่ส่วนบุคคล เช่น โน้ตบุ๊ก โทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งอาจอยู่ใน ลักษณะใช้สายหรือไร้สายก็ได้

49 “การใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างภาพและจัดการเกี่ยวกับรูปภาพ เพื่อสื่อความหมายของข้อมูลต่าง ๆ
ให้น่าสนใจยิ่งขึ้น” หมายถึงข้อใด
(1) ดาต้ากราฟิก
(2) อินโฟกราฟิก
(3) โมชั่นกราฟิก
(4) กราฟิกดีไซน์
(5) คอมพิวเตอร์กราฟิก
ตอบ 5 (คําบรรยาย) คอมพิวเตอร์กราฟิก คือ การใช้คอมพิวเตอร์ในสร้างภาพและจัดการเกี่ยวกับ รูปภาพ เพื่อใช้สื่อความหมายของข้อมูลต่าง ๆ ให้น่าสนใจยิ่งขึ้น เช่น การใช้กราฟนําเสนอ ข้อมูลยอดขายสินค้าในแต่ละปี, การสร้างสื่อการสอน (CAI), การใช้ภาพกราฟิกประกอบ การโฆษณาสินค้าต่าง ๆ, การสร้างเว็บเพจ, การสร้างการ์ตูน เป็นต้น

50 “การสนทนาบนอินเทอร์เน็ต โดยผู้สนทนาส่งข้อมูลถึงกันโดยทันใดและสามารถส่งสัญลักษณ์ต่าง ๆ อาทิ รูปภาพ ไฟล์ข้อมูลได้ด้วย” หมายถึงข้อใด
(1) Webboard
(2) Web Chat
(3) Tetnet
(4) Instant Messaging
(5) Bulletin Board

ตอบ 4 หน้า 63, (คําบรรยาย) การสนทนาออนไลน์โดยตรงระหว่างผู้ใช้อินเทอร์เน็ต เป็นรูปแบบ การสนทนาออนไลน์ที่ไม่ต้องผ่านเครื่องเซิร์ฟเวอร์กลาง เรียกว่า “การรับส่งสารแบบทันทีทันใด” (Instant Messaging) ซึ่งนอกจากผู้สนทนาจะสามารถส่งข้อมูลถึงกันโดยทันใดแล้ว ยังสามารถส่งสัญลักษณ์ต่าง ๆ เช่น รูปภาพ ไฟล์ข้อมูลได้ด้วย เช่น โปรแกรม ICQ, MSN Messenger, Yahoo Messenger, Windows Messenger เป็นต้น

51 File Transfer Protocol หรือ FTP เป็นการให้บริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในลักษณะใด
(1) การให้บริการในรูปกระดานสนทนา
(2) การให้บริการสนทนาออนไลน์โดยตรง
(3) การให้บริการสืบค้นข้อมูลบนระบบเครือข่าย
(4) การให้บริการคัดลอกข้อมูลข้ามเครือข่าย
(5) การให้บริการแลกเปลี่ยนข้อความแบบดิจิทัล
ตอบ 4 หน้า 65 การขนถ่ายหรือการโอนถ่ายไฟล์ (File Transfer Protocol : FTP) เป็นบริการ คัดลอกข้อมูลข้ามเครือข่าย โดยใช้ส่งข้อมูลจากเครื่องลูกข่าย (Client) ไปยังเครื่องแม่ข่าย (Server) และใช้ดาวน์โหลด (Download) ข้อมูลจากเครื่องแม่ข่ายมาไว้ที่เครื่องลูกข่าย ซึ่งบริการดังกล่าวสามารถกระทําได้ทั้งผู้ที่เป็นสมาชิก FTP Server และบุคคลภายนอกที่ไม่ได้เป็นสมาชิก

52 ข้อใดต่อไปนี้ไม่นับเป็นรูปแบบการใช้งานในลักษณะ E-Commerce บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
(1) การซื้อขายสินค้าออนไลน์
(2) การโอนเงินออนไลน์
(3) พนันบอลออนไลน์
(4) การโฆษณาออนไลน์
(5) การส่งเสริมการตลาดออนไลน์
ตอบ 3 หน้า 66 สื่ออินเทอร์เน็ตมักถูกใช้เป็นช่องทางประกอบธุรกรรมทางธุรกิจทั้งการซื้อขายสินค้า ออนไลน์ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ออนไลน์ การโอนเงินออนไลน์ การจองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ และยังเป็นช่องทางสําคัญที่ผู้ประกอบการใช้ส่งเสริมการตลาดออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงเป็นที่มาของคําว่า “E-commerce” (Electronic Commerce) หรือที่เราเรียกกันใน ภาษาไทยว่า “การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์” เช่น www.lazada.com, www.alibaba.com, www.shopee.co.th, www.tarad.com ฯลฯ

53 ผู้ให้บริการข้อมูลข่าวสารในรูปหนังสือพิมพ์ออนไลน์แห่งแรกในประเทศไทย คือ
(1) หนังสือพิมพ์มติชน
(2) หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
(3) หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
(4) หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์
(5) หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น
ตอบ 4 หน้า 69 หนังสือพิมพ์ออนไลน์ในประเทศไทยเกิดขึ้นจากกระแสความนิยมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจากต่างประเทศ ประกอบกับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ําทั่วโลก ส่งผลให้ ผู้ประกอบการไทยสนใจจัดทําเนื้อหาหนังสือพิมพ์เผยแพร่ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยหนังสือพิมพ์ บางกอกโพสต์เป็นองค์กรแรกที่ให้บริการหนังสือพิมพ์ออนไลน์ เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2539

54 ผู้ให้บริการในข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ผู้ให้บริการข้อมูลข่าวสารที่มีฐานมาจากการเป็นผู้ประกอบการสิ่งพิมพ์
แบบดั้งเดิมมาก่อน
(1) www.thairath.co.th
(2) www.dailynews.co.th
(3) www.matichon.co.th
(4) www.prachathai.com
(5) www.bangsaenpost.com
ตอบ 4 หน้า 71 – 72 ผู้ให้บริการหนังสือพิมพ์ออนไลน์ที่มีฐานมาจากผู้ประกอบการหนังสือพิมพ์
แบบกระดาษ (แบบดั้งเดิม) มีดังนี้

1 เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ส่วนกลาง เช่น www.thairath.co.th, www.dailynews.co.th,
www.matichon.co.th ฯลฯ
2 เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาค เช่น www.bangsaenpost.com, www.koratdaily.corn ฯลฯ
3 เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ไทยในต่างประเทศ เช่น www.sereechai.com ฯลฯ(ส่วน wwww.prachathai.com, www.andamannews.com เป็นเว็บไซต์ของผู้ให้บริการหนังสือพิมพ์ออนไลน์ที่ให้บริการเฉพาะบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต)

55 ข้อใดไม่ใช่เหตุผลในการให้บริการข้อมูลข่าวสารในรูปสิ่งพิมพ์ออนไลน์
(1) เพื่อเพิ่มช่องทางในการสื่อสารกับผู้รับสาร
(2) เพื่อเพิ่มช่องทางในการแสวงหารายได้จากค่าโฆษณา
(3) เพื่อเป็นช่องทางนําเสนอนโยบายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารประเทศ
(4) เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ความทันสมัยทางเทคโนโลยีแก่องค์กร
(5) เพื่อเพิ่มกลุ่มเป้าหมายให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
ตอบ 3 หน้า 69 – 70 เหตุผลในการให้บริการข้อมูลข่าวสารในรูปของหนังสือพิมพ์ออนไลน์ (Online Newspaper) มีดังนี้
1 เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ความทันสมัยทางเทคโนโลยีแก่องค์กร
2 เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการเสนอข่าว
3 เพื่อเพิ่มกลุ่มเป้าหมายให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
4 เพื่อเพิ่มช่องทางติดต่อสื่อสารกับผู้รับสาร
5 เพื่อเพิ่มช่องทางด้านการตลาด เช่น การขายพื้นที่โฆษณาบนเว็บไซต์, การหารายได้เสริมจากค่าสมาชิก ค่าธรรมเนียม ฯลฯ

56 ข้อใดต่อไปนี้กล่าวไว้ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการทํางานของ Streaming Server
(1) ต้องคัดลอกแฟ้มข้อมูลมายังผู้ใช้งานให้ครบก่อนจึงเริ่มแสดงผล
(2) ข้อมูลถูกส่งมายังเครื่องลูกข่ายต่อเนื่อง โดยไม่ต้องรอให้ดาวน์โหลดไฟล์จากเซิร์ฟเวอร์จนครบ
(3) มีการส่งสัญญาณในลักษณะ Real Time จากเครื่องเซิร์ฟเวอร์มายังเครื่องลูกข่าย
(4) เป็นเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการข้อมูลในลักษณะประสานสื่อ
(5) เปิดโอกาสให้ผู้ใช้งาน (User) ทําหน้าที่ผู้ผลิตรายการวิทยุหรือโทรทัศน์ออนไลน์ได้
ตอบ 1 หน้า 76 – 77 Streaming Server คือ เครื่องให้บริการกระจายสัญญาณแบบสายธาร ซึ่งเป็น เครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่บริการข้อมูลในลักษณะสื่อประสมหรือประสานสื่อ (Multimedia) โดยข้อมูล จะถูกส่งมายังเครื่องลูกข่ายอย่างต่อเนื่อง และไม่ต้องรอให้ดาวน์โหลด (Download) ไฟล์จาก เซิร์ฟเวอร์จนครบแล้วจึงเริ่มแสดงผล ดังนั้นจึงเป็นการส่งสัญญาณเสียงและภาพเคลื่อนไหวใน ลักษณะทันต่อเวลา (Real Time) จากเครื่องเซิร์ฟเวอร์มายังเครื่องลูกข่ายที่ได้รับความนิยมอยู่ ในปัจจุบัน นอกจากนี้ Streaming Server ยังเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งาน (User) สามารถทําหน้าที่ เป็นผู้ผลิตรายการวิทยุหรือโทรทัศน์ออนไลน์ได้อีกด้วย

57 ข้อใดคือความหมายของสื่อออนไลน์
(1) ช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลรูปแบบต่าง ๆ ผ่านสื่อดิจิทัล
(2) ช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลรูปแบบต่าง ๆ ผ่านสื่อประสม
(3) ช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลรูปแบบต่าง ๆ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
(4) ช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลและเปิดรับข้อมูลแบบสองทาง
(5) ช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลรูปแบบต่าง ๆ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

ตอบ 3 หน้า 81 สื่อออนไลน์ หมายถึง ช่องทางของการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในรูปแบบต่าง ๆ โดยผู้ส่งสารใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลและผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตข่าวสาร ส่วนผู้รับสารก็จะใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลและข่าวสารเช่นกัน

58 ข้อใดคือสํานักข่าวที่จัดทําขึ้นเพื่อให้บริการเฉพาะบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
(1) เว็บไซต์สํานักข่าวไอเอ็นเอ็น
(2) เว็บไซต์สํานักข่าวไทย
(3) เว็บไซต์สํานักข่าวซีเอ็นเอ็น
(4) เว็บไซต์สํานักข่าวพีเพิลยูนิตี้
(5) เว็บไซต์สํานักข่าวอิศรา
ตอบ 4 หน้า 83 สํานักข่าวออนไลน์ที่จัดทําขึ้นเพื่อให้บริการเฉพาะบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้แก่
1 เว็บไซต์สํานักข่าวพีเพิลยูนิตี้ (People Unity News Agency)
2 เว็บไซต์สํานักข่าวทีนิวส์
3 เว็บไซต์เฟซบุ๊ก นิวส์ไวร์ (FB Newswire)
4 เว็บไซต์สํานักข่าวอาร์วายทีไนน์ ฯลฯ
(ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นสํานักข่าวออนไลน์ที่มีฐานจากสํานักข่าวแบบดั้งเดิม)

59 รูปแบบของเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นพื้นที่สนทนา พูดคุยอภิปรายในสังคมออนไลน์ ซึ่งเปิดโอกาสให้ ผู้ใช้งานเลือกเข้าสังกัดกลุ่มคนที่มีพื้นฐานความสนใจร่วมกัน คือข้อใด
(1) News Group
(2) Webboard
(3) Online News Clipping
(4) Social Network
(5) Online News Agency
ตอบ 2 หน้า 63, 83 – 85 กระดานข่าว (Webboard) เป็นรูปแบบของเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนบทสนทนา พูดคุย อภิปรายในสังคมออนไลน์ ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งาน (User) เลือกเข้าสังกัดกลุ่มคนที่มีพื้นฐานความสนใจร่วมกันเกี่ยวกับเรื่องราวหรือประเด็น ทางสังคม อันนําไปสู่การรวมกลุ่มกันในลักษณะชุมชนออนไลน์ (Online Communities) เช่น www.pantip.com, www.MThai.com (MThai Talk) ฯลฯ

60 รูปแบบของเว็บไซต์ที่จัดทําในรูปกลุ่มสนทนา แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารในหัวข้อต่าง ๆ โดยแบ่งหมวดหมู่ และกําหนดชื่อของกลุ่มตามประเภทของกลุ่มข่าว คือข้อใด
(1) News Group
(2) Webboard
(4) Social Network
(3) Online News Clipping
(5) Online News Agency
ตอบ 1 หน้า 85 – 86 กลุ่มข่าวสาร (News Group) เป็นรูปแบบของเว็บไซต์ที่จัดทําขึ้นในรูปของ กลุ่มสนทนา เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารในหัวข้อต่าง ๆ และเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานทุกคน มีส่วนร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้อย่างอิสระ โดยมีการแบ่งหมวดหมู่ และกําหนดชื่อของกลุ่มตามประเภทของกลุ่มข่าว ทั้งนี้กลุ่มข่าวต่าง ๆ จะถูกแบ่งหมวดหมู่ และเก็บไว้ในบอร์ดข่าวสารขนาดใหญ่ เรียกว่า “User’s Network” (Usenet) และข่าวใน กลุ่มข่าวทั้งหมดจะถูกเก็บไว้บน Usenet Server

61 กฤตภาคข่าวออนไลน์ เป็นการให้บริการข้อมูลข่าวสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ตรงกับคําใด
(1) News Group
(2) Webboard
(3) Online News Clipping
(4) Social Network
(5) Online News Agency

ตอบ 3 หน้า 86 – 87 กฤตภาคข่าวออนไลน์ (Online News Clipping) คือ บริการข่าวตัดออนไลน์ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยตัดข่าวจากหน้าหนังสือพิมพ์ฉบับต่าง ๆ พร้อมกับระบุแหล่งที่มา ของหนังสือพิมพ์ ซึ่งตัวอย่างของเว็บไซต์กฤตภาคข่าวออนไลน์ในประเทศไทยที่เปิดให้บริการ อยู่ในปัจจุบัน เช่น ห้องสมุดข่าวมติชน (Matichon E-library), iQNewsClip, นิวส์เซ็นเตอร์ (Newscenter) เป็นต้น

ข้อ 62 – 64. จงจับคู่ตัวเลือกต่อไปนี้กับข้อความ
(1) Passion Network
(2) Creative Network
(3) Collaboration Network

62 www.youtube.com
ตอบ 2 หน้า 88 – 90 ประเภทของเครือข่ายสังคมออนไลน์ มีดังนี้
1 สร้างและประกาศตัวตน (Identity Network) เช่น Web Blog, Twitter, Instagram ฯลฯ
2 สร้างและประกาศผลงาน (Creative Network) เช่น www.youtube.com, Multiply, Flickr, Photobucket, Slideshare ฯลฯ
3 ความชอบในสิ่งเดียวกัน (Passion Network) เช่น Digg, Zickr, Catch, Reddit ฯลฯ
4 เวทีทํางานร่วมกัน (Collaboration Network) เช่น Wikipedia, Google Maps ฯลฯ
5 ประสบการณ์เสมือนจริง (Virtual Reality) มีลักษณะเป็นเกมออนไลน์ (Online Game) เช่น Audition, Second Life, Ragnarok, Pangya, World of Warcraft ฯลฯ
6 เว็บท่า (Portal Website) ที่รวบรวมลิงค์ของสื่อออนไลน์ประเภทต่าง ๆ เช่น www.sanook.com, www.kapook.com ฯลฯ

63 www.wikipedia.com
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 62. ประกอบ

64 www.reddit.com
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 62. ประกอบ

ข้อ 65 – 74. ข้อใดที่กล่าวไว้ถูกต้องให้ระบายตัวเลือก 1 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องให้ระบายตัวเลือก 2

65 YouTube ถูกออกแบบให้ผู้ใช้งานสร้างสรรค์เนื้อหาในลักษณะ User-Generated Content
ตอบ 1 หน้า 88, 90 – 91 พื้นที่ของเครือข่ายสังคมออนไลน์ส่วนใหญ่มุ่งนําเสนอเนื้อหาในลักษณะ ที่เรียกว่า “User-Generated Content” (UGC) กล่าวคือ ผู้ใช้งานสื่อเป็นผู้ผลิตเนื้อหาเอง สืบเนื่องมาจากเทคโนโลยีการผลิตเนื้อหาสารค่อนข้างสะดวกในการใช้งาน ประกอบกับกล้อง ดิจิทัลมีราคาถูกลง อีกทั้งเว็บไซต์ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้แบ่งปันภาพและวิดีโอ เช่น YouTube, Flickr, Blog ฯลฯ ต่างก็ถูกออกแบบเพื่อให้ผู้ใช้สามารถ Upload เนื้อหาได้อย่างง่ายดาย

66 การสื่อสารบนเครือข่ายสังคมออนไลน์มุ่งนําเสนอเนื้อหาในลักษณะ Web 1.0
ตอบ 2 หน้า 88 การสื่อสารบนเครือข่ายสังคมออนไลน์จะมุ่งนําเสนอเนื้อหาในลักษณะ Web 2.0 คือ เว็บไซต์เชิงสังคมที่มุ่งให้ผู้ใช้งานสร้างเนื้อหาได้เอง แบ่งปันเนื้อหาให้กัน และมีส่วนร่วม ระหว่างกัน โดยจุดเด่นของ Web 2.0 ก็คือ การที่ผู้ใช้งานสามารถสร้างเนื้อหาได้เอง เรียกว่า User-Generated Content (UGC) ซึ่งมีข้อดี คือ ทําให้มีการผลิตเนื้อหาเผยแพร่บนพื้นที่ เครือข่ายสังคมออนไลน์เป็นจํานวนมาก และมีความหลากหลายของมุมมองทางความคิด

67 Web 2.0 เป็นเว็บเชิงสังคม มุ่งให้ผู้ใช้งานสร้างเนื้อหา แบ่งปันเนื้อหา และมีส่วนร่วมระหว่างกัน
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 66. ประกอบ

68 www.sanook.com จัดเป็นเว็บไซต์ประเภทเว็บท่า (Portal Website)
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 62. ประกอบ

69 www.pantip.com จัดเป็นการให้บริการข้อมูลข่าวสารออนไลน์ในลักษณะ Online News Clipping
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 59. และ 61. ประกอบ

70 ข่าวสารออนไลน์ที่จัดทําโดยสํานักข่าวออนไลน์ เรียกชื่อว่า กฤตภาคข่าวออนไลน์
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 61. ประกอบ

71 www.instagram.com เป็นเว็บไซต์ประเภทเครือข่ายทางสังคม
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 62. ประกอบ

72 ปัจจุบันสถานีวิทยุกระจายเสียงคลื่นต่าง ๆ ในประเทศไทยกระจายสัญญาณในระบบดิจิทัลเต็มรูปแบบ ตอบ 2หน้า 21, (คําบรรยาย) ในปัจจุบันสถานีวิทยุกระจายเสียงคลื่นต่าง ๆ ในประเทศไทยยังคง เป็นวิทยุแบบแอนะล็อก (มีระบบ AM และ FM) แต่ได้เริ่มทดสอบกระจายสัญญาณในระบบ ดิจิทัลบ้างแล้ว โดย กสทช. เป็นผู้รับผิดชอบโครงการตามแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (พ.ศ. 2559 – 2563)

73 คุณลักษณะของข้อมูลข่าวสารที่นําเสนอผ่านสื่อออนไลน์ คือ สามารถนําเสนอเนื้อหาข้อมูลข่าวสารได้อย่าง รวดเร็วตามเวลาที่เกิดขึ้นจริง (Real Time)
ตอบ 1 หน้า 91 คุณลักษณะของข้อมูลข่าวสารที่นําเสนอผ่านสื่อออนไลน์ประการหนึ่ง ได้แก่ ทันกาล (Real Time) คือ สามารถนําเสนอเนื้อหาข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็วตามเวลาที่เกิดขึ้นจริง เช่น การนําเสนอข่าวที่เพิ่งเกิดขึ้นสด ๆ ร้อน ๆ บนเว็บไซต์ขององค์กรสื่อสารมวลชนหรือบนเว็บไซต์สํานักข่าว เป็นต้น

74 คาดว่าแนวโน้มของรูปแบบการให้บริการข้อมูลข่าวสารออนไลน์ในอนาคต จะมุ่งจัดทําเนื้อหาตามนโยบายของนายกรัฐมนตรีมากขึ้น
ตอบ 2 หน้า 92 แนวโน้มการให้บริการข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อออนไลน์ในอนาคต มีดังนี้
1 จัดทําเนื้อหาหลากประเภทมากขึ้น เพื่อมุ่งสนองตอบต่อความต้องการใช้งานของ ผู้ใช้งานอย่างเฉพาะเจาะจงมากขึ้น
2 เชื่อมต่อข้อมูลข่าวสารผ่านเว็บไซต์เครือข่ายทางสังคมอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น
3 ใช้คุณสมบัติด้านการประสานสื่อ (Multimedia) และใช้ภาพกราฟิกในการนําเสนอ ข้อมูลข่าวสารออนไลน์มากขึ้น

75 E-banking เป็นตัวย่อที่มาจากคําใด
(1) Elective Banking
(2) Electronic Banking
(4) External Banking
(3) Evaluated Banking
(5) Excessive Bankin
ตอบ 2 (คําบรรยาย) E-banking มาจากคําว่า “Electronic Banking” ซึ่งศัพท์บัญญัติภาษาไทย
ได้แก่ การธนาคารอิเล็กทรอนิกส์

76 ข้อใดกล่าวไว้ถูกต้อง
(1) สื่อออนไลน์เป็นสื่อใหม่ และเป็นสื่อที่มีความคงทนต่ํา
(2) สื่อวิทยุกระจายเสียงเป็นสื่อแบบดั้งเดิม และเป็นสื่อที่มีความคงทนสูง
(3) สื่อภาพยนตร์เป็นสื่อใหม่ และเป็นสื่อที่มีความคงทนต่ํา
(4) สื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อแบบดั้งเดิม และเป็นสื่อที่มีความคงทนสูง
(5) สื่อวิทยุโทรทัศน์เป็นสื่อใหม่ และเป็นสื่อที่มีความคงทนสูง
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 14. ประกอบ

77 สัมพันธภาพของผู้ใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ ตรงกับคําว่า
(1) องค์กรออนไลน์
(2) บรรษัทออนไลน์
(3) ชุมชนออนไลน์
(4) หุ้นส่วนออนไลน์
(5) สายสัมพันธ์ออนไลน์
ตอบ 3 หน้า 85 การรวมกลุ่มกันในลักษณะของ “ชุมชนออนไลน์” (Online Communities) เช่น Webboard, Facebook, Instagram, YouTube ฯลฯ จัดเป็นรูปแบบของสัมพันธภาพของ ผู้ใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยที่สมาชิกของชุมชนออนไลน์มีคุณลักษณะสําคัญ ดังนี้
1 มีความสัมพันธ์ทางสังคม (Social Relationship)
2 มีการติดต่อสื่อสารระหว่างกันผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

78 ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะของ “ข้อมูลข่าวสารออนไลน์”
(1) ทันกาล
(2) ไร้กาล
(3) อนาคตกาล
(4) ประสานสื่อ
(5) มีช่องทางปฏิสัมพันธ์
ตอบ 3หน้า 91 คุณลักษณะของข้อมูลข่าวสารที่นําเสนอผ่านสื่อออนไลน์ มีดังนี้
1 ทันกาล (Reat Time)
2 ไร้กาล (Shifted Time)
3 ประสานสื่อ (Multimedia)
4 มีช่องทางปฏิสัมพันธ์ (Interactive)

79 แนวคิด Medium is the Message มีสาระสําคัญว่าอย่างไร
(1) สภาพแวดล้อมทางสังคมปั้นแต่งวิถีการสื่อสารของผู้คน
(2) วิถีการสื่อสารของผู้คนปั้นแต่งสภาพแวดล้อมทางสังคม
(3) เทคโนโลยีการสื่อสารปั้นแต่งวิถีการสื่อสารของคนในสังคม
(4) วิถีสื่อสารของคนในสังคมปั้นแต่งเทคโนโลยีการสื่อสาร
(5) คนในสังคมปั้นแต่งวิถีของเทคโนโลยีการสื่อสาร
ตอบ 3 หน้า 109 Marshall McLuhan นักวิชาการสื่อสารมวลชนชาวอเมริกัน เป็นผู้ที่คิดแนวคิด “สื่อ คือ สาร” (Medium is the Message) และมีความเชื่อว่า สื่อเป็นสิ่งกําหนดหรือปั้นแต่ง วัฒนธรรมทางการสื่อสารของมนุษย์ หรือรูปแบบทางเทคโนโลยีปั้นแต่งและกําหนดวิถีทางการ สื่อสารของคนในสังคม ตลอดจนเปลี่ยนธรรมชาติในการสื่อสารของมนุษย์ทั้งสิ่งที่สื่อ วิธีที่สื่อและการรับรู้เกี่ยวกับรูปแบบการสื่อสารของคนในสังคม

80 ผู้ใดเป็นเจ้าของแนวคิด Medium is the Message
(1) มาร์แชล แมคเกรเกอร์
(2) มาร์แชล แมคลูฮาน
(3) มาร์แชล แมคโดนัลด์
(4) มาร์แชล แมคมาร์เกอร์
(5) มาร์แชล โอโดแนลด์
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 79 ประกอบ

81 สื่อใหม่ในข้อใดต่อไปนี้ที่จัดอยู่ในประเภท Virtual Reality
(1) E-mail
(2) Crowd Source
(3) Website
(4) Online Game
(5) E-book
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 62. ประกอบ

82 อินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้ทุกคนทําหน้าที่ผู้ส่งสารบนพื้นที่ของตนเองสู่สาธารณะ ก่อให้เกิดผลกระทบ
ด้านต่าง ๆ ยกเว้นข้อใด
(1) เปิดโอกาสให้ผู้รับสารมีทางเลือกในการเปิดรับข่าวสารในประเด็นที่สื่อแบบดั้งเดิมไม่ได้นําเสนอ
(2) เป็นแหล่งสารของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อแบบดั้งเดิม
(3)ผู้ใช้งานตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลข่าวสารอย่างเข้มงวดก่อนเผยแพร่
(4) ผู้ใช้งานสามารถส่งผ่านข้อมูลจากระดับบุคคลไปสู่กลุ่มคนต่างเครือข่าย
(5) ทุกคนทําหน้าที่นําาเสนอข้อมูลข่าวสารไปสู่สาธารณะอย่างเสรี
ตอบ 3 หน้า 95, 99 – 100 ผลกระทบด้านลบจากการที่อินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้ทุกคนทําหน้าที่ ผู้ส่งสารบนพื้นที่ของตนเองสู่สาธารณะ คือ ผู้ใช้งานนําเสนอข้อมูลข่าวสารได้โดยไม่ต้องผ่าน กระบวนการตรวจสอบ คัดเลือก คัดกรอง จากบรรณาธิการ จึงทําให้ข้อมูลข่าวสารผิดพลาด ได้ง่าย จนอาจจะส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่สู่สาธารณชน(ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นผลกระทบด้านบวก)

83 แนวโน้มในอนาคตของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชน คือ ประกาศความเป็นมืออาชีพให้เป็นที่ประจักษ์
โดย…
(1) นําเสนอข้อมูลข่าวสารที่มีคุณภาพแตกต่างจากผู้ใช้งานทั่วไป
(2) นําเสนอข้อมูลข่าวสารภายใต้กรอบจริยธรรมและจรรยาบรรณ
(3) ส่งเสริมบุคลิกภาพความเป็นนักวิชาชีพสื่อสารมวลชนให้แตกต่างจากผู้ใช้งานทั่วไป
(4) นําเสนออัตลักษณ์ของตนให้แตกต่างจากผู้ใช้งานทั่วไป
(5) นําเสนอข้อมูลข่าวสารที่ฉับไว เพื่อสนองความต้องการของผู้รับสารอย่างทันท่วงที
ตอบ 2 หน้า 100 – 101 แนวโน้มที่เกี่ยวกับบทบาทของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนในอนาคต จะมีลักษณะอยู่ประการหนึ่ง ได้แก่ การประกาศความเป็นนักวิชาชีพสื่อสารมวลชนมืออาชีพ (Professional) ให้เป็นที่ประจักษ์ชัด กล่าวคือ ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนต้องทําหน้าที่ นําเสนอข้อมูลข่าวสารภายใต้กรอบปฏิบัติด้านวิชาชีพ กรอบจริยธรรม และจรรยาบรรณทาง วิชาชีพสื่อสารมวลชน อันจะนําไปสู่การยอมรับ เชื่อถือ และเชื่อมั่นจากผู้เปิดรับข้อมูลข่าวสารในสังคมต่อไป

84 ปัญหาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ (Cyber Crime) เป็นประเด็นปัญหาจริยธรรมทางการสื่อสารผ่าน สื่ออินเทอร์เน็ตข้อใด
(1) Information Privacy
(2) Information Accuracy
(3) Information Property
(4) Data Accessibility
(5) Information Literacy
ตอบ 4 หน้า 118 – 119 ประเด็นปัญหาที่ขัดกับจริยธรรมการเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility) คือ การก่อปัญหาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ หรืออาชญากรรมไซเบอร์ (Computer Crime or Cyber Crime) เช่น การพยายามเจาะเข้าสู่ฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ การเจาะเข้าสู่ระบบรักษาความปลอดภัยส่วนบุคคล ฯลฯ

85 การคัดเลือก คัดกรอง และตรวจสอบความถูกต้องก่อนเผยแพร่เนื้อหาผ่านสื่อ คือ การทําหน้าที่ใดของ
ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชน
(1) Goalkeeper
(2) Housekeeper

(3) Gatekeeper
(4) Scorekeeper
(5) Groundskeeper
ตอบ 3 หน้า 100, 110 ด้วยเหตุที่อินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้ทุกคนทําหน้าที่ผู้ส่งสารบนพื้นที่ของ ตนเองสู่สาธารณะ โดยไม่มีผู้ทําหน้าที่เฝ้าประตูข้อมูลข่าวสาร (Gatekeeper) ส่งผลให้เกิด ผลกระทบต่อวิชาชีพวารสารศาสตร์ของสื่อแบบดั้งเดิมที่ให้ความสําคัญกับผู้เฝ้าประตูข้อมูลข่าวสาร (Gatekeeper) ซึ่งก็คือ บรรณาธิการผู้ทําหน้าที่คัดเลือก คัดกรอง และตรวจสอบ ความถูกต้องของเนื้อหาสารก่อนนําเสนอสู่ผู้รับสารในสังคม

86 การรวบรวมข้อมูลของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อนําไปสร้างฐานข้อมูลประวัติลูกค้าขึ้นใหม่ แล้วนําไปขายให้แก่ ผู้ประกอบการธุรกิจบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สิ่งนี้ขัดกับจริยธรรมการสื่อสารข้อใด
(1) Information Accuracy
(2) Information Privacy
(3) Information Property
(4) Data Accessibility
(5) จริยธรรมของผู้จัดทําสื่อ
ตอบ 2 หน้า 115 – 116 ประเด็นปัญหาที่ขัดกับจริยธรรมความเป็นส่วนตัว (Information Privacy) เช่น การลักลอบเข้าไปเปิดอ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ของผู้อื่น, การใช้ข้อมูลของ ลูกค้าจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อผลประโยชน์ในการขยายตลาด, การรวบรวมหมายเลขบัตรเครดิต หมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่ของอีเมล และข้อมูลส่วนตัว เพื่อนําไปใช้สร้างฐานข้อมูลประวัติลูกค้า ขึ้นใหม่ แล้วนําไปขายให้แก่บริษัทอื่น ฯลฯ

87 ผู้ใช้งานเฟซบุ๊กโพสเนื้อหาที่เข้าข่ายหมิ่นประมาทบุคคลอื่น สิ่งนี้ขัดกับจริยธรรมข้อใด
(1) Information Privacy
(2) Information Accuracy
(3) Information Property
(4) จริยธรรมของผู้ใช้สื่อ
(5) จริยธรรมของผู้จัดทําสื่อ
ตอบ 4 หน้า 119 – 120 ประเด็นปัญหาที่ขัดกับจริยธรรมของผู้ใช้สื่อ เช่น ผู้ใช้งาน (User) หรือ ผู้เปิดรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อ ได้นําเสนอเนื้อหาหรือข้อความในลักษณะหมิ่นประมาทบน พื้นที่การใช้งานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต, การใช้โปรแกรม Camfrog ซึ่งผู้ใช้งานสามารถ เห็นหน้าค่าตากันในระหว่างพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อมุ่งสร้างความรู้สึกเสมือนอยู่ใกล้ชิดกัน แต่ผู้ใช้งานบางคนกลับใช้เป็นช่องทางในการจัดทําและให้บริการเนื้อหาหรือ ภาพลามกอนาจารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ฯลฯ

88 คําว่า Citizen Reporter ในภาษาไทยใช้คําใด
(1) พลเมืองนักข่าว
(2) นักข่าวพลเมือง
(3) ประชากรนักข่าว
(4) พลเมืองนักวารสารศาสตร์
(5) นักวารสารศาสตร์พลเมือง
ตอบ 1 หน้า 95, 104 นักข่าวพลเมือง ผู้สื่อข่าวภาคพลเมือง หรือผู้สื่อข่าวภาคประชาชน (Citizen Reporter) หมายถึง ผู้ใช้งานสื่ออินเทอร์เน็ตทุกคน ซึ่งมีบทบาทเป็นผู้ส่งสารผ่านพื้นที่ของ ตนเองไปสู่สาธารณะได้อย่างเท่าเทียมกัน โดยจะมีบทบาทเป็นผู้รายงานข่าวสารคล้ายกับ บทบาทของผู้สื่อข่าว (News Reporter) ในองค์กรสื่อสารมวลชนแบบดั้งเดิม เช่น อาณิก มีอาชีพเป็นแม่ค้าออนไลน์ และได้นําเสนอข่าวสารด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมผ่านทาง เว็บบล็อก (Web Blog) เป็นต้น

89 บุคคลในข้อใดต่อไปนี้จัดเป็น Citizen Reporter
(1) อาจินต์เป็นผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ที่เผยแพร่ข่าวผ่านสื่อออนไลน์อีกทางหนึ่ง
(2) อารมณ์เป็นผู้สื่อข่าวที่มุ่งเข้าถึงแหล่งข่าวประชาชนทั่วไป
(3) อาณิกมีอาชีพแม่ค้าออนไลน์ และนําเสนอข่าวสารด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมผ่านเว็บบล็อก
(4) อานนท์เป็นผู้สื่อข่าวที่รายงานข่าวสารด้านสํามะโนประชากร
(5) อากรเป็นผู้สื่อข่าวผ่านสื่อออนไลน์ และรายงานข่าวผ่านสิ่งพิมพ์แบบกระดาษด้วย
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 88. ประกอบ

90 อินเทอร์เน็ตก่อให้เกิดผลกระทบต่อวิชาชีพวารสารศาสตร์ของสื่อแบบดั้งเดิมที่ให้ความสําคัญกับผู้เฝ้า ประตูข้อมูลข่าวสาร (Gatekeeper) ด้วยเหตุที่
(1) เปิดโอกาสให้ทุกคนทําหน้าที่ผู้ส่งสาร – ผู้รับสารโดยเท่าเทียม
(2) เปิดโอกาสให้ทุกคนมีโอกาสสื่อสารตอบกลับผ่านรูปแบบการสื่อสารสองทาง
(3) เปิดโอกาสให้ทุกคนทําหน้าที่ผู้ส่งสารบนพื้นที่ของตนเองสู่สาธารณะ
(4) เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้โดยไม่จํากัด
(5) เปิดโอกาสให้ทุกคนสื่อสารผ่านเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วโลก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 85. ประกอบ

91 การกํากับดูแลเกี่ยวกับการสื่อสารผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตในประเทศไทย อยู่ในอํานาจหน้าที่ของหน่วยงานใด
(1) สภาวิชาชีพกิจการแพร่ภาพการกระจายเสียง (ประเทศไทย)
(2) สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ
(3) กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม
(4) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
(5) กระทรวงมหาดไทย
ตอบ 4 หน้า 124, (คําบรรยาย) การกํากับดูแลเกี่ยวกับการสื่อสารผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต อยู่ในอํานาจ หน้าที่ของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที (ปัจจุบัน คือ กระทรวง ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม) โดยอาศัยอํานาจตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ซึ่งมุ่งเน้นในการกํากับดูแลเกี่ยวกับการกระทําความผิดต่อกฎหมายเป็นสําคัญ

92 ดูแลเกี่ยวกับการสื่อสารผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต อยู่ในอํานาจหน้าที่ของหน่วยงานในข้อ 91 โดยอาศัยอํานาจตามความในกฎหมายฉบับใด
(1) พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
(2) พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2538
(3) พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2551
(4) พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
(5) พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2552
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 91. ประกอบ

93 ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ข้อใดถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์
(1) ข่าวประจําวัน
(2) คําพิพากษา คําวินิจฉัยของทางราชการ
(3) งานดนตรีกรรม
(4) รัฐธรรมนูญ
(5) ระเบียบ ข้อบังคับของกระทรวง

ตอบ 3 หน้า 127, 129 พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 7 ระบุว่า สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงาน อันมีลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ. นี้
1 ข่าวประจําวันและข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนก วรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
2 รัฐธรรมนูญและกฎหมาย
3 ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง คําชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
4 คําพิพากษา คําสั่ง คําวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
5 คําแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม 1. – 4. ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงาน อื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่นจัดทําขึ้น

94 ตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ระบุว่า งานที่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ขึ้น โดยการรับจ้างบุคคลอื่น ให้ลิขสิทธิ์ในงานนั้นเป็นของใคร
(1) ผู้รับจ้าง
(2) องค์กร
(3) ผู้ว่าจ้าง
(4) ทั้งผู้รับจ้างและผู้ว่าจ้าง
(5) ทั้งองค์กรและผู้ว่าจ้าง
ตอบ 3 หน้า 130 พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 10 ระบุว่า งานที่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ขึ้น โดยการรับจ้างบุคคลอื่น ให้ผู้ว่าจ้างเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานนั้น เว้นแต่ผู้สร้างสรรค์และผู้ว่าจ้าง จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น

95 ลายน้ำที่ประทับบนภาพถ่ายดิจิทัล ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 จัดเป็นข้อใด
(1) ข้อมูลการบริหารสิทธิ
(2) มาตรการทางเทคโนโลยี
(3) มาตรการการบริหารสิทธิ
(4) ข้อมูลทางเทคโนโลยี
(5) มาตรการทางข้อมูลการบริหารสิทธิ
ตอบ 1 หน้า 136 พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 มาตรา 3 (2) ระบุไว้ว่า “ข้อมูลการบริหาร สิทธิ” หมายความว่า ข้อมูลที่บ่งชี้ถึงผู้สร้างสรรค์ งานสร้างสรรค์ นักแสดง การแสดง เจ้าของ ลิขสิทธิ์ หรือระยะเวลาและเงื่อนไขในการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ ตลอดจนตัวเลขหรือรหัสแทน ข้อมูลดังกล่าว โดยข้อมูลเช่นว่านี้ติดอยู่หรือปรากฏเกี่ยวข้องกับงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิ่งบันทึก การแสดง (เช่น การจัดทําเครื่องหมายลายน้ําบนรูปภาพ ธนบัตร, เลขมาตรฐานสากลประจํา หนังสือ หรือ International Standard Book Number : ISBN เป็นต้น)

96 “การตั้งรหัสในการเข้ารับฟังเพลงต่าง ๆ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยกําหนดให้ผู้ที่ต้องการฟังเพลงหรือ ดาวน์โหลดเพลงต้องจ่ายเงิน เพื่อให้ได้รหัสในการฟังหรือดาวน์โหลดเพลงนั้น ๆ” ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 การตั้งรหัสในการเข้ารับฟังเพลงดังกล่าว จัดเป็นข้อใด
(1) ข้อมูลการบริหารสิทธิ
(2) มาตรการทางเทคโนโลยี
(3) มาตรการการบริหารสิทธิ
(4) ข้อมูลทางเทคโนโลยี
(5) ข้อมูลบ่งชี้กรรมสิทธิ์
ตอบ 2 หน้า 136 พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 มาตรา 3 (3) ระบุไว้ว่า “มาตรการทาง เทคโนโลยี” หมายความว่า เทคโนโลยีที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันการทําซ้ําหรือควบคุมการ เข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิ่งบันทึกการแสดง โดยเทคโนโลยีเช่นที่ว่านี้ได้นํามาใช้กับงาน อันมีลิขสิทธิ์หรือสิ่งบันทึกการแสดงนั้นอย่างมีประสิทธิภาพ

97 จากข้อ 96. หากนายเก่งกาจหาวิธีการเข้าไปฟังเพลงหรือดาวน์โหลดเพลงฟรี (ไม่จ่ายเงินตามเงื่อนไข)
กล่าวได้ว่าการกระทําของนายเก่งกาจเข้าข่ายข้อใด
(1) ละเมิดข้อมูลการบริหารสิทธิ
(2) หลบเลี่ยงมาตรการทางเทคโนโลยี
(3) หลบเลี่ยงมาตรการการบริหารสิทธิ
(4) ละเมิดข้อมูลทางเทคโนโลยี
(5) ละเมิดข้อมูลบ่งชี้กรรมสิทธิ์
ตอบ 2 หน้า 136 พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 มาตรา 3 (4) ระบุว่า “การหลบเลี่ยง มาตรการทางเทคโนโลยี” หมายความว่า การกระทําด้วยประการใด ๆ ที่ทําให้มาตรการ ทางเทคโนโลยีไม่เกิดผล (ดูคําอธิบายข้อ 96. ประกอบ)

98 International Standard Book Number : ISBN หรือเลขมาตรฐานสากลประจําหนังสือ ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 จัดเป็นข้อใด
(1) ข้อมูลการบริหารสิทธิ
(2) มาตรการทางเทคโนโลยี
(3) มาตรการการบริหารสิทธิ
(4) ข้อมูลทางเทคโนโลยี
(5) มาตรการทางข้อมูลการบริหารสิทธิ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 95. ประกอบ

99 ตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 “ข้อมูล ข้อความ คําสั่ง ชุดคําสั่งหรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย”
หมายถึงข้อใด
(1) ระบบคอมพิวเตอร์
(2) ข้อมูลคอมพิวเตอร์
(3) ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์
(4) ระบบข้อมูลคอมพิวเตอร์
(5) ระบบจราจรทางคอมพิวเตอร์
ตอบ 2 หน้า 159 พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 3 (2)
ระบุไว้ว่า “ข้อมูลคอมพิวเตอร์” หมายถึง ข้อมูล ข้อความ คําสั่ง ชุดคําสั่งหรือสิ่งอื่นใดบรรดา ที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความ รวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย

100 ตามมาตรา 11 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ระบุว่า “ผู้ใดส่ง ข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการ
ส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข” กําหนดโทษเช่นไร

(1) ปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
(2) ปรับไม่เกินเจ็ดหมื่นบาท
(3) ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
(4) ปรับไม่เกินสองแสนบาท
(5) ปรับไม่เกินสามแสนบาท
ตอบ 3 หน้า 160 พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 11 ได้ระบุว่า ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

Advertisement