การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2558
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 2150 (MCS 2100) การประชาสัมพันธ์เบื้องต้น
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 คําใดต่อไปนี้พูดถึง “การประชาสัมพันธ์” ถูกต้อง
(1) ต้อนรับผู้คนอย่างสุภาพ ประทับใจ
(2) สร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดี
(3) พูดเก่ง ยิ้มหวาน ทํางานดี
(4) สร้างสรรค์สินค้าบริการ มีกําไร
ตอบ 2 หน้า 7, 10 การประชาสัมพันธ์ (Public Relations) หมายถึง วิธีการของสถาบันหรือองค์การ
ที่มีแผนการและกระทําต่อเนื่องกันไปในอันที่จะสร้างหรือรักษาไว้ซึ่งความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีระหว่างสถาบันกับกลุ่มประชาชนเพื่อให้สถาบันกับกลุ่มประชาชนที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ความเข้าใจ ให้ความสนับสนุนร่วมมือซึ่งกันและกัน และเพื่อให้งานของสถาบันดําเนิน ไปด้วยดี โดยมีประชามติเป็นแนวบรรทัดฐาน

Advertisement

2 ข้อใดเป็นความเข้าใจผิดว่าสิ่งนี้คือ “การประชาสัมพันธ์”
(1) ยาวิเศษแก้ไขได้ทุกปัญหาของหน่วยงาน
(2) มีการวางแผนอย่างดีต่อเนื่องยาวนาน
(3) สร้างความสัมพันธ์กับทุกกลุ่มอย่างต่อเนื่อง
(4) ต้องใช้ข้อมูลวิจัยเพื่อปรับปรุงแก้ไขปัญหาองค์การ
ตอบ 1 หน้า 7 การประชาสัมพันธ์ไม่ใช่ยาวิเศษที่จะแก้ไขได้ทุกปัญหาของหน่วยงานเหมือนสิ่งมหัศจรรย์
แต่เป็นเพียงงานบริหารที่จะแก้ไขปัญหาได้เพียงเฉพาะอย่างเท่านั้น ดังนั้นการวางแผน ประชาสัมพันธ์จึงต้องวางแผนระยะยาว มีการติดต่อสื่อสาร การค้นคว้าวิจัย และการประเมินผล จึงไม่อาจเห็นผลได้ในชั่วระยะเวลาอันสั้น แต่ต้องดําเนินการปฏิบัติงานติดต่อกันเป็นเวลายาวนาน

3 ในสังคมโลกาภิวัตน์สิ่งใดจะเป็นตัวช่วยกระจายข่าวสารให้ทั่วถึง
(1) บุคคลทั่วไป
(2) สื่อมวลชน
(3) รัฐบาล
(4) นักการเมือง
ตอบ 2(คําบรรยาย) ในปัจจุบันเป็นยุคสังคมโลกาภิวัตน์ได้มีการพัฒนาทําสารประชาสัมพันธ์ผ่าน สื่อมวลชน เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ฯลฯ อย่างแพร่หลาย เนื่องจากสื่อมวลชนมีคุณสมบัติเด่น คือ สามารถช่วยกระจายข่าวสารให้เข้าถึงคนจํานวนมาก ที่มีความแตกต่างกัน และอยู่ในที่ต่าง ๆ กันทั่วประเทศหรือทั่วโลกได้อย่างทั่วถึงและรวดเร็ว

4 ข้อใดกล่าวถึง “การโฆษณาชวนเชื่อ” (Propaganda) ได้ดีที่สุด
(1) เท็จก็ว่าจริง ควบคุม ปลุกปั่น เพื่อให้ได้ผลที่ต้องการ
(2) ชักจูงใจด้วยข้อมูลหลากหลายให้เชื่อ ยอมรับ สนับสนุน
(3) สร้างความล่อใจ เสนอแนะ ให้ตัดสินใจซื้อ
(4) แก้ไขความเข้าใจผิดให้ถูก ปลูกความนิยมอุดมการณ์ ศิลปวัฒนธรรม
ตอบ 1 หน้า 14 การโฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda) คือ การเผยแพร่ลัทธินิยมโดยเจตนาที่จะโน้มน้าว ชักจูงใจคนด้วยกลวิธีต่าง ๆ ให้หลงเชื่อ ให้เห็นดีเห็นงาม หรือให้เป็นปรปักษ์กับสิ่งหรือคนที่ ต้องการประณาม โดยจะพยายามควบคุม ปลุกปั่น และเป็นเครื่องมือทางการเมือง เพื่อที่จะ ให้ได้ผลตามที่ต้องการ ซึ่งมีลักษณะสําคัญคือ พูดเอาแต่ได้ เรื่องเท็จก็ว่าจริง อ้างว่าเป็นเรื่อง หรือข้อคิดของคนส่วนใหญ่ และพยายามปิดซ่อนที่มาของแหล่งข่าว

5 จากข้อ 4. ข้อใดกล่าวถึง “การโฆษณา” (Advertising)
ตอบ 3 หน้า 15 – 16 การโฆษณา (Advertising) ที่ดีจะต้องมีการวางแผนล่อใจแฝงไว้ด้วย “การเสนอแนะ” และ “ส่งเสริม” ดังนั้นจึงเป็นเรื่องของการกระทําหรือชักนําความเชื่อ และ สร้างศรัทธาด้วยการดึงดูดถึงเหตุผลของการโฆษณาหรืออารมณ์จากผู้พบเห็น จนกลายเป็น เรื่องของการสร้างความล่อใจ (Persuasion) เพื่อให้ผู้บริโภคต้องการและตัดสินใจซื้อสินค้า
หรือบริการของตน

6 จากข้อ 4. จุดมุ่งหมายของ “การสารนิเทศ” (Information Service) คือข้อใด
ตอบ 4 หน้า 17 – 18 การสารนิเทศ (Information Service) คือ การให้ข่าวสารข้อเท็จจริงต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่ให้ชาวต่างชาติได้รู้จักประเทศไทย เช่น ข่าวสารทั่วไปเกี่ยวกับเมืองไทย นโยบาย ของรัฐบาล ตลอดจนการให้ความสะดวก ช่วยเหลือ ปรับความเข้าใจ แก้ไขความเข้าใจผิด ให้ถูก และการแสดงอัธยาศัยไมตรีหรือผูกสัมพันธไมตรี ปลูกความนิยมในอุดมการณ์และ ศิลปวัฒนธรรมของชาติตน ฯลฯ ซึ่งประเทศไทยได้ทําการสารนิเทศมานานแล้ว โดยมี สํานักงานแถลงข่าวไทยในสังกัดของกรมประชาสัมพันธ์ อยู่ที่กรุงวอชิงตัน ลอนดอน ฯลฯ

7 การส่งเสริมการจําหน่าย (Sale Promotion) เป็นส่วนหนึ่งของงานอะไร
(1) การประชาสัมพันธ์
(2) การโฆษณา
(3) การตลาด
(4) การโน้มน้าวจิตใจ
ตอบ 3 หน้า 18 การส่งเสริมการจําหน่าย (Sale Promotion) เป็นกิจกรรมทางการตลาดที่น่าสนใจ ได้นํามาช่วยส่งเสริมให้ได้ผลเป็นการขายเกิดขึ้น ซึ่งการส่งเสริมการจําหน่ายจะไม่ใช่วิธีการขาย โดยพนักงานหรือการโฆษณา แต่เป็นวิธีการขายในโอกาสพิเศษต่าง ๆ เช่น การจัดแสดงสินค้า, การจัดแสดง ณ แหล่งขาย, การจัดแสดงภายในร้าน, การจัดตู้โชว์สินค้า ฯลฯ

8 องค์การใดต่อไปนี้ทํางานเกี่ยวกับกิจการสาธารณะ (Public Affairs)
(1) คลินิกรักษาผู้ป่วย
(2) ห้างสรรพสินค้ารอบริการลูกค้า
(3) องค์การตลาดขายสินค้าเกษตร
(4) กองทัพบกพบประชาชน
ตอบ 4 หน้า 18 (คําบรรยาย) กิจการสาธารณะ (Public Affairs) เป็นการให้ข่าวสารเฉพาะกิจ ซึ่งถือเป็นกิจกรรมส่วนย่อยของงานประชาสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องเป็นกรณีพิเศษในเรื่องของ
ความสัมพันธ์กับชุมชน รัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐ องค์การสาธารณกุศล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หน่วยงานทางทหารที่จัดตั้งกิจการสาธารณะเพื่อดําเนินการเผยแพร่ข่าวสาร นโยบาย คําสั่ง
ชี้แจง และแถลงผลงานของกองทัพ เช่น กองทัพบกพบประชาชน เป็นต้น

9 ข้อใดคือชื่อหน่วยงาน “การสารนิเทศ” ระดับชาติของไทย
(1) สํานักนายกรัฐมนตรี
(2) สํานักงานแถลงข่าวไทย
(3) สํานักข่าวไทย
(4) สถาบันสารนิเทศไทย
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ

10 ใครเป็นผู้กล่าว “การกระทําสําคัญกว่าคําพูด ดังนั้นประชาสัมพันธ์ คือ ปรัชญาแห่งการกระทํา”
(1) Abraham Lincoln
(3) Paul W. Garrett
(2) Lvy Lee
(4) Edward L. Bernays
ตอบ 3 หน้า 21 Paul W. Garrett นักประชาสัมพันธ์ผู้มีชื่อเสียงชาวอเมริกัน ได้กล่าวไว้ว่า “การกระทํานั้นสําคัญกว่าคําพูด ดังนั้นการประชาสัมพันธ์จึงหมายถึง ปรัชญาแห่งการกระทํา ในสิ่งที่ประชาชนส่วนใหญ่เห็นชอบและลงมือทําในแนวทางที่ประชาชนต้องการ

11 จากข้อ 10. ผู้ที่ถูกยกย่องให้เป็นบิดาแห่งการประชาสัมพันธ์ คือท่านใด
ตอบ 2 หน้า 66, 71 ผู้บุกเบิกแนวทางของการประชาสัมพันธ์สมัยใหม่ คือ ไอวี่ ลี (Ivy Lee) นักหนังสือพิมพ์หนุ่มชาวอเมริกัน ซึ่งถือเป็นบุคคลสําคัญผู้หนึ่งของสหรัฐอเมริกาในฐานะที่ ได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาของการประชาสัมพันธ์สมัยใหม่” (Father of Modern Public Relations) หรือผู้วางรากฐานของวิชาชีพประชาสัมพันธ์ในสหรัฐอเมริกา

12 จากข้อ 10. ใครคือผู้ให้ความสําคัญต่อการสื่อสารแบบสองทิศทาง
ตอบ 4 หน้า 71 Edward L. Bernays เป็นผู้ที่ให้ความสําคัญและได้ชี้แจงทฤษฎีการติดต่อสื่อสาร แบบสองทิศทางให้กระจ่างแจ้งยิ่งขึ้น โดยได้เผยแพร่อย่างกว้างขวางทั่วไปจนบังเกิดความเข้าใจ ถึงวิธีการติดต่อสองทิศทาง ซึ่งหลังจากเบอร์แนร์ได้ย้ําให้เห็นถึงการติดต่อสื่อสารแบบสองทิศทาง ว่าเป็นหลักสําคัญของการประชาสัมพันธ์ และได้นําไปดําเนินการอย่างได้ผลสําเร็จแล้ว ทําให้วงการประชาสัมพันธ์ตื่นตัวและเป็นที่รู้จักในวงการธุรกิจอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ

13 องค์การรัฐวิสาหกิจใดที่มีการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ที่ดี
(1) องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.)
(2) ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน (RBS)
(3) สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)
(4) มูลนิธิกระจกเงา
ตอบ 1หน้า 213 จินตภาพหรือภาพลักษณ์ (Image) หมายถึง ภาพที่เกิดขึ้นในจิตใจที่มีต่อหน่วยงาน หรือองค์การ ซึ่งไม่อาจสร้างขึ้นมาได้ด้วยการบังคับ กดดัน หรือการออกคําสั่งขู่เข็ญ แต่การ สร้างจินตภาพที่ดีงามขององค์การจะมาจากรากฐานของการให้ข่าวสารที่เป็นความจริง และ ที่เกิดขึ้นจากความประทับใจอย่างแท้จริงของบุคคลหรือมวลชนในสังคม ซึ่งตัวอย่าง องค์การรัฐวิสาหกิจที่มีการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ที่ดี ได้แก่ องค์การสื่อสารมวลชนแห่ง ประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) เป็นต้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจาก

14 งานประชาสัมพันธ์เป็นงานเน้นด้านใดเป็นหลัก
(1) ด้านความรู้
(2) ด้านสํารวจความคิด
(3) ด้านทักษะ
(4) ด้านบริการ
ตอบ 4 หน้า 27 งานประชาสัมพันธ์เป็นงานด้านขายบริการเป็นหลัก มิใช่ขายสินค้าหรือวัตถุดิบ แต่เป็นบริการในด้านการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสถาบันกับสังคมภายนอก เพื่อให้ประชาชนเกิดจินตภาพที่ดีต่อสถาบัน ดังนั้นจึงมีความจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยความร่วมมือจากหลาย ๆ ฝ่ายในสังคม

15 ใครเป็นผู้ระบุว่า “จงทําตัวให้ใกล้ชิดสนิทสนมกับประชาชนให้มากที่สุด”
(1) Ivy Ledbetter Lee
(2) Abraham Lincoln
(3) Voltaire
(4) Hollow Stephen
ตอบ 2 หน้า 113 Abraham Lincoln อดีตประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ถือเป็นผู้มีวิญญาณของ นักประชาสัมพันธ์สูง เนื่องจากท่านได้เคยเสนอแนะไว้ว่า “จงทําตัวให้ใกล้ชิดสนิทสนมกับ ประชาชนให้มากที่สุด” และตัวของท่านเองก็ได้ปฏิบัติตามข้อความดังกล่าวข้างต้นตลอด ชั่วชีวิตของท่าน

16 จากข้อ 15. ใครเป็นผู้กล่าวว่า “ถ้าอยากให้เขาพูดดี ๆ กับเราก็จงทําดีกับเขา ซึ่งใช้กับงานประชาสัมพันธ์”

ตอบ 3 หน้า 213 Voltaire นักปราชญ์ผู้มีชื่อเสียง ได้กล่าวไว้ว่า “ถ้าอยากให้เขาพูดดี ๆ กับเรา ก็จงทําดีกับเขา” ซึ่งนํามาใช้ได้ผลเป็นอย่างดีในการทํางานประชาสัมพันธ์

17 ความสําคัญของประชาสัมพันธ์ในการสร้างสรรค์สังคม คือข้อใด
(1) ช่วยให้วงการธุรกิจและอุตสาหกรรมขยายตัวเพิ่ม
(2) ช่วยให้ธุรกิจสื่อมวลชนเข้าตลาดหลักทรัพย์
(3) ทบทวนการลงทุนรถไฟฟ้าและขนส่งมวลชน
(4) ชาวบ้านมีทางเลือกในการซื้อขาย
ตอบ 1 หน้า 35 ความสําคัญในอาชีพการประชาสัมพันธ์ที่จําเป็นในการสร้างสรรค์สังคม ได้แก่
1 ช่วยให้วงการธุรกิจและอุตสาหกรรมขยายตัวเพิ่มมากขึ้น
2 ก่อให้เกิดการพัฒนาทางสื่อมวลชนอย่างกว้างขวาง
3 เกิดการลงทุนในวงการอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว
4 เกิดการกระตือรือร้นและแข่งขันกันในการดําเนินงานต่าง ๆ ซึ่งมีผลให้เกิดประชามติและการสนับสนุนของประชาชนในสังคม

18 หน่วยงานที่ไม่ได้จัดว่าเป็นหน่วยงานประชาสัมพันธ์ คือข้อใด
(1) สํานักงานเผยแพร่ข่าวสาร (Press Agent)
(2) บริษัทรับจ้างทําประชาสัมพันธ์ (Public Relations Agency)
(3) สํานักงานที่ปรึกษาด้านประชาสัมพันธ์ (Public Relations Counseling Firm)
(4) ฝ่ายประชาสัมพันธ์และโฆษณา (Public Relations & Advertising Department)
ตอบ 1 หน้า 35 – 36, (คําบรรยาย) หน่วยงานที่จัดเป็นหน่วยงานประชาสัมพันธ์ ได้แก่
1 บริษัทรับจ้างทําประชาสัมพันธ์ (Public Relations Agency)
2 สํานักงานที่ปรึกษาทางด้านการประชาสัมพันธ์ (Public Relations Counseling Firm)
3 ฝ่ายประชาสัมพันธ์และโฆษณา (Public Relations & Advertising Department) (ส่วนสํานักงานบริการเผยแพร่ข่าว (Press Agent) ไม่ใช่งานประชาสัมพันธ์ แต่เป็นการ เผยแพร่ข่าวสารหรือข่าวแจก)

19 ในปี 1969 บริษัทยักษ์ใหญ่อันดับแรกที่มีกิจการใหญ่โตด้านประชาสัมพันธ์ คือใคร
(1) Carl Byoir & Associates
(3) Ruder & Finn
(2) Hill and Knowlton
(4) Densu Agency
ตอบ 2 หน้า 37 – 38, 69 ในปี ค.ศ. 1969 บริษัทยักษ์ใหญ่อันดับแรกที่มีกิจการใหญ่โตด้าน ประชาสัมพันธ์ คือ บริษัท Hill and Knowlton หรือเรียกชื่อสั้น ๆ ว่า H & K โดยมี John W. Hill อดีตนักหนังสือพิมพ์อเมริกัน เป็นผู้ก่อตั้งสํานักงานที่ปรึกษาทางด้าน การประชาสัมพันธ์ที่ใหญ่โตเป็นอันดับ 1 ของโลกในยุคบุกเบิก

20 การจัดอันดับปี 2015 บริษัทยักษ์ใหญ่อันดับแรกด้านประชาสัมพันธ์ คือใคร
(1) Edelman
(2) Weber Shandwick
(3) Hill & Knowlton Strategies
(4) Ogilvy PR
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในปี ค.ศ. 2015 ได้มีการจัดอันดับบริษัทยักษ์ใหญ่อันดับแรกของโลกด้าน ประชาสัมพันธ์ คือ บริษัท Edelman ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีรายได้จากการรับจ้างทําประชาสัมพันธ์ ถึงปีละประมาณ 812,300,000 ดอลลาร์ โดยมีจํานวนเจ้าหน้าที่และพนักงานทั้งหมด 5,500 คน

21 ความรู้สึกอยากเข้าทํางานในองค์การชั้นนําหรือองค์การที่รู้จักชื่นชอบมาจากเหตุใด
(1) ภาพลักษณ์ขององค์การดี
(2) ชื่อเสียงของสถาบันดี
(3) เชื่อมั่นศรัทธาองค์การ
(4) ทุกข้อที่กล่าวมา
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ความรู้สึกอยากเข้าทํางานในองค์การชั้นนําหรือองค์การที่รู้จักชื่นชอบมาจาก
สาเหตุ ดังนี้
1 ภาพลักษณ์ขององค์การดี
2 ชื่อเสียงขององค์การหรือสถาบันดี
3 ความเชื่อมั่นเลื่อมใสศรัทธาในองค์การ
4 ความนิยมชมชอบในองค์การ ฯลฯ

22 ข้อใดระบุถึงจรรยาบรรณของวิชาชีพประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับค่าตอบแทน
(1) ไม่เปิดเผยความลับนายจ้างและลูกค้าทั้งอดีตและปัจจุบัน
(2) ระลึกว่าลูกค้าของเราเป็นฝ่ายถูกเสมอ เพราะเป็นผู้จ่ายค่าจ้าง
(3) ไม่เรียกร้องสิ่งมีค่า/ค่าธรรมเนียมมากกว่าที่ทําสัญญา
(4) อนุญาตให้รับค่าตอบแทนจากนายจ้างได้หลายคน
ตอบ 3 หน้า 43 – 44 จรรยาบรรณของวิชาชีพประชาสัมพันธ์ที่เกี่ยวกับค่าตอบแทน ได้แก่ ข้อ 12 ระบุว่า ไม่รับค่านายหน้าหรือค่าตอบแทนใด ๆ จากบุคคลใดบุคคลหนึ่งซึ่งไม่ใช่ลูกค้า หรือนายจ้างของตน โดยปราศจากความเห็นชอบจากนายจ้าง และข้อ 13. ระบุว่า เมื่องาน ประสบความสําเร็จ นักประชาสัมพันธ์ต้องไม่เรียกร้องสิ่งมีค่าหรือค่าธรรมเนียมใด ๆ มากไปกว่า ที่ได้ทําสัญญากันไว้กับลูกค้าและผู้ว่าจ้าง

23 เหตุใดนักประชาสัมพันธ์ต้องมีมาตรฐานจรรยาบรรณวิชาชีพ
(1) นักประชาสัมพันธ์ตกลงกัน
(2) มวลชนเกิดความเข้าใจอาชีพ
(3) เป็นมาตรฐานการบริการร่วมกัน
(4) เป็นอาชีพพิเศษ
ตอบ 3หน้า 42 – 43 สมาคมนักประชาสัมพันธ์ของประเทศสหรัฐอเมริกา (PRSA) ได้ริเริ่มก่อตั้ง หลักจรรยาบรรณของนักประชาสัมพันธ์ (The PRSA Code) ขึ้นมาเป็นประเทศแรกในปี ค.ศ. 1954 เพื่อเป็นหลักมาตรฐานของวิชาชีพการประชาสัมพันธ์ในการให้บริการร่วมกัน ในระดับที่ดีเด่นกับประชาชน และเป็นที่ยอมรับนับถือโดยทั่วไป

24 ประเทศแรกที่ประกาศหลักจรรยาบรรณวิชาชีพประชาสัมพันธ์ คือใคร
(1) อังกฤษ
(2) ฝรั่งเศส
(3) ซาอุดิอาระเบีย
(4) อเมริกา
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 23. ประกอบ

25 นักประชาสัมพันธ์ที่ทํางานประจําและให้คําปรึกษาผู้บริหารองค์การ มีชื่อเรียกว่า

(1) นักประชาสัมพันธ์ประจําองค์การ
(2) นักประชาสัมพันธ์อิสระ
(3) นักประชาสัมพันธ์รับจ้างประจํา
(4) นักประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข่าว
ตอบ 1หน้า 90, 94, (คําบรรยาย) นักประชาสัมพันธ์แบ่งออกได้ 2 ประเภท ดังนี้
1. นักประชาสัมพันธ์ประจําองค์การหรือหน่วยงาน คือ นักประชาสัมพันธ์ที่ทํางานประจําและ ให้คําปรึกษาแนะนําแก่ผู้บริหารองค์การ ซึ่งต้องดําเนินงานตามแต่ละขั้นตอนของการ วางแผนประชาสัมพันธ์ภายในองค์การนั้น ๆ
2. นักประชาสัมพันธ์อิสระ คือ นักประชาสัมพันธ์จากภายนอกองค์การ ซึ่งเป็นผู้ที่รับจ้าง ทํางานประชาสัมพันธ์ โดยมีการคิดค่าธรรมเนียมการให้คําปรึกษาประชาสัมพันธ์ ดังนั้น
จึงถือเป็นผู้ที่ทํารายได้สุทธิต่อปีสูงสุดในการจัดอันดับการทํางานประชาสัมพันธ์

26 จากข้อ 25. ใครคือผู้ที่ทํางานแล้วต้องคิดค่าธรรมเนียมการให้คําปรึกษาประชาสัมพันธ์
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ

27 จากข้อ 25. ผู้ที่ทํารายได้สุทธิต่อปีสูงสุดในการจัดอันดับการทํางานประชาสัมพันธ์
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 25 ประกอบ

28 ข้อใดแสดงถึงประโยค “งานจะไม่ชะงักโดยที่งบประมาณหมด
(1) วางแผน
(2) งบประมาณ
(3) วิจัยและรับฟัง
(4) ประเมินผล

ตอบ 1 หน้า 136 – 137 ปัจจัยสําคัญที่จะทําให้การดําเนินการประชาสัมพันธ์ไม่หยุดชะงักหรือ ขาดตอนไป คือ การวางแผนกําหนดค่าใช้จ่ายไว้อย่างรอบคอบและถูกต้อง โดยการวางแผน ตั้งงบประมาณก็ควรมีการยืดหยุ่นพอสมควรเผื่อไว้สําหรับค่าใช้จ่ายในส่วนที่มองไม่เห็น เพื่อประโยชน์ที่ว่า “งานจะไม่ชะงักโดยที่งบประมาณหมด

29 เหตุที่นักประชาสัมพันธ์ได้ชื่อว่าเป็น “นักบริหาร” คือข้อใด
(1) ทํางานควบคู่กับการบริหาร
(2) มีความคิดสร้างสรรค์แบบนักบริหาร
(3) กําหนดนโยบายและแผนร่วมกับผู้บริหาร
(4) ประสานงานทุกหน่วยในองค์การ
ตอบ 3 หน้า 3, 7, 12, (คําบรรยาย) งานประชาสัมพันธ์เป็นงานระดับบริหาร และเป็นเครื่องมือ ของการบริหารงาน ดังนั้นหน้าที่ของนักประชาสัมพันธ์จึงควรอยู่ในตําแหน่งผู้บริหาร หรือ ผู้ช่วยผู้บริหาร เนื่องจากนักประชาสัมพันธ์ต้องกําหนดนโยบายและวางแผนร่วมกับผู้บริหาร เพื่อให้ได้รับผลสําเร็จตามวัตถุประสงค์ ดังนั้นฝ่ายบริหาร (Executive) หรือฝ่ายจัดการจึงถือว่า การประชาสัมพันธ์เป็นส่วนหนึ่งของงานในภาระหน้าที่และความรับผิดชอบของตน

30 นักประชาสัมพันธ์ต้องเผชิญกับสิ่งใดตลอดเวลา
(1) รับฟังคําติชมข้อเสนอแนะของมวลชน
(2) ประสานงานกับสื่อมวลชน
(3) สร้างสรรค์กิจกรรมในองค์การ
(4) สร้างความมั่นใจให้ผู้ถือหุ้น
ตอบ 1 หน้า 54, 199, (คําบรรยาย) นักประชาสัมพันธ์จะต้องมีความรู้และความเข้าใจในมติมหาชน โดยการรับฟังคําติชมหรือข้อเสนอแนะของมวลชนอยู่ตลอดเวลา เพื่อนํามาพิจารณาปรับปรุง แผนงานให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความคิดเห็นของประชาชน ซึ่งเป็นหัวใจของการดําเนินงานต่าง ๆ ให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี

31 จากข้อ 30. ข้อใดคือ ประชาสัมพันธ์ภายในองค์การ
ตอบ 3 หน้า 50, (คําบรรยาย) กิจกรรมประชาสัมพันธ์ภายในองค์การ คือ กิจกรรมที่สร้าง ความสัมพันธ์อันดีระหว่างสถาบันกับกลุ่มมวลชนภายในองค์การ ได้แก่
1 กําหนดแผนงานประชาสัมพันธ์
2 ตั้งที่ติดต่อสอบถาม (Information)
3 ตั้งแผงปิดประกาศ
4 ออกวารสารข่าวภายใน เช่น แผ่นปลิวประชาสัมพันธ์ ฯลฯ
5 จัดงานพิเศษหรือสร้างสรรค์กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับมวลชนภายในองค์การ ฯลฯ

32 จากข้อ 30. สื่อมวลชนสัมพันธ์ คือข้อใด
ตอบ 2 หน้า 36, 323, (คําบรรยาย) สื่อมวลชนสัมพันธ์ หรือหนังสือพิมพ์สัมพันธ์ (Press Relations) หมายถึง วิธีการประชาสัมพันธ์ที่มุ่งสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจในวงการหนังสือพิมพ์และประสานงาน กับสื่อมวลชนต่าง ๆ เพื่อให้การเสนอข่าวหรือเนื้อหาของหนังสือพิมพ์และสื่อมวลชนนั้น เป็นประโยชน์แก่การสร้างความเข้าใจอันดีกับชุมชน

33 จินตภาพ หมายถึงอะไร
(1) สร้างภาพ
(2) มองเห็นเป็นภาพ
(3) ภาพในใจ
(4) ลีลาของภาพ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 13. ประกอบ

34 จากข้อ 33. ข้อใดที่ไม่ส่งเสริม “การประชาสัมพันธ์” ในระยะยาว
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในปัจจุบันยุคสมัยการประชาสัมพันธ์แบบ “จัดฉากตีปี๊บ” คือ การสร้างภาพ ในลักษณะโฆษณาชวนเชื่อแล้วเผยแพร่ผ่านทางสื่อมวลชนได้หมดลงไปแล้ว ดังนั้นหลักสําคัญ ของงานประชาสัมพันธ์ในปัจจุบันซึ่งเป็นยุคโลกาภิวัตน์จึงเป็นแบบ “มีดีต้องตีปี๊บ” คือ มีสิ่งดี เกิดขึ้นในองค์การต้องเผยแพร่ผ่านทางสื่อมวลชน โดยต้องให้ข้อเท็จจริงกับประชาชนเท่านั้น

35 บุคคลใดเป็นผู้กล่าวว่า “The Public be damned” (ประชาชนโง่!) ทําให้อเมริกันชนโกรธ
(1) Ivy Lee
(2) William Van Derbilt
(3) John W. Hill
(4) Paul W. Garrett
ตอบ 2 หน้า 65 ในปี ค.ศ. 1879 สมัยที่นายวิลเลี่ยม แวน เดอร์บิลท์ (Wittiam Van Derbilt) เป็น ผู้อํานวยการรถไฟในนิวยอร์ก เขาได้ถูกนักข่าวถามว่าทําไมถึงเลิกรถไฟด่วนสายนิวยอร์กกับชิคาโก แต่นายวิลเลี่ยมตอบว่ากิจการรถไฟขาดทุน ไม่คุ้มกับรายจ่ายของบริษัท (ทั้งที่ความจริงแล้ว กิจการรถไฟขาดคุณภาพ บริการไม่ดี แต่จะเอากําไรมาก ๆ) และเขาได้ตอบนักข่าวไปอีกว่า “The Public be darnned” (ประชาชนนั้นโง่ ไม่มีความจําเป็นจะต้องรู้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ การบริหารงานขององค์การ) ซึ่งเมื่อคําพูดนี้เผยแพร่ออกไปก็ได้สร้างความโกรธแค้นให้ ชาวอเมริกันเป็นอย่างมาก

36 จากข้อ 35. “The Public be informed” ในยุคแสงสว่างของประชาสัมพันธ์ ใครเป็นผู้พูด
ตอบ 1 หน้า 66 – 67 ไอวี่ ลี (Ivy Lee) เป็นนักหนังสือพิมพ์ชาวอเมริกันที่ทําให้ความเชื่อเก่า ๆ ที่ว่า ประชาชนโง่เขลา ไม่จําเป็นต้องรู้อะไรเลย (The Public be damned) เปลี่ยนไปเป็นประชาชน ควรรู้ข่าวสารต่าง ๆ (The Public be informed) ซึ่งถือเป็นยุคแสงสว่างของการประชาสัมพันธ์ อย่างแท้จริง กล่าวคือ การทํางานจะมีประสิทธิภาพได้จะต้องได้รับความสนับสนุนจากประชาชน โดยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารอย่างจริงใจ ตรงไปตรงมา เพราะการปกปิดข้อมูลต่อประชาชนนั้นเป็นความคิดที่ผิด

37 จากข้อ 35. เหตุการณ์ดังกล่าวที่ทําให้เขาพูดได้เช่นนั้น คือเหตุการณ์อะไร
(1) นายทุนทํางานให้ผู้ถือหุ้นไม่ใช่ผู้สื่อข่าว
(2) กิจการรถไฟขาดคุณภาพ ขาดทุน แต่อยากได้กําไรสูง
(3) ไกล่เกลี่ยการประท้วงหยุดงานคนงานเหมืองถ่านหิน
(4) เสนอบริการข่าวแจกให้บรรณาธิการหนังสือพิมพ์
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 35. ประกอบ

38 คํากล่าว “The Public be informned” แสดงถึงความคิดใดต่อไปนี้
(1) การทํางานต้องได้รับความสนับสนุนจากประชาชน
(2) เปิดเผยข้อมูลข่าวสารตรงไปตรงมา จริงใจ ประชาชนย่อมสนับสนุน
(3) ปกปิดข้อมูลต่อประชาชนเป็นความคิดที่ผิด
(4) ข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 36. ประกอบ

39 บุคคลแรกที่ประกาศหลักการ “Declaration of Principles
(1) Ivy Lee
(2) Edward L. Bernays
(3) John W. Hill
(4) Paul W. Garrett

ตอบ 1 หน้า 67 ไอวี่ ลี (Ivy Lee) ได้ประกาศหลักการ (Declaration of Principles) ไว้ในจดหมายที่มี ไปถึงหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ ว่า “สํานักงานของเราไม่ใช่สํานักงานสื่อข่าวที่มีกิจการลับ งานทุกอย่าง จะดําเนินการอย่างเปิดเผยและตรงไปตรงมา เรามีจุดประสงค์ที่จะเผยแพร่ข่าวสาร ไม่ใช่สํานักงาน รับจ้างทําการโฆษณา… รายละเอียดเพิ่มเติมเรายินดีส่งให้ทันทีและยินดีที่จะช่วยชี้แจงรายละเอียด ของเรื่องราวที่เป็นความจริงเสมอ กล่าวโดยย่อแผนงานของเราเปิดเผยทุกอย่าง…”

40 จากข้อ 39. ผู้ที่เรียกตัวเองว่า ที่ปรึกษาการโฆษณาเผยแพร่ (Publicity Man)
ตอบ 1 หน้า 69 ในระยะเวลาที่ไอวี่ ลี (Ivy Lee) ยังมีชีวิตอยู่ เขาไม่ได้ใช้คําว่า “การประชาสัมพันธ์” แต่เขาชอบเรียกตัวเองว่า “ที่ปรึกษาการโฆษณาเผยแพร่” (Publicity Man) ดังนั้นเขาจึงเป็น บุคคลแรกที่กําหนดใช้คําว่า “การโฆษณาเผยแพร่” (Publicity) กับคําว่า “การโฆษณาหรือ การแจ้งความ” (Advertising) เพื่อชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างกับคําว่า “การประชาสัมพันธ์” (Public Relations)

41 จากข้อ 39. ผู้ก่อตั้งสถาบันที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์อันดับ 1 ของโลกในยุคบุกเบิก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 19. ประกอบ

42 จากข้อ 39. นักประชาสัมพันธ์บุกเบิกประชาสัมพันธ์ในธุรกิจรถยนต์ เจนเนอรัล มอเตอร์
ตอบ 4 หน้า 70 ในระยะปี ค.ศ. 1920 เป็นยุคที่การประชาสัมพันธ์แพร่หลายอย่างสูงสุดและเป็นที่ รู้จักกันโดยทั่วไป ซึ่งนักประชาสัมพันธ์ที่ช่วยบุกเบิกงานประชาสัมพันธ์เพื่อธุรกิจให้กับบริษัท รถยนต์ เจนเนอรัล มอเตอร์ คือ Paul W. Garrett

43 จากข้อ 39. ผู้ค้นพบว่าประชาสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสถาบันการเมืองและประชามติ คือใคร
ตอบ 2 หน้า 70 Edward L. Bernays เป็นผู้ที่ได้ศึกษางานประชาสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งและพบว่า การประชาสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสถาบันทางการเมือง โดยมีสาเหตุมาจากประชามติ (Public Opinion) ดังนั้นเขาจึงจัดพิมพ์หนังสือเล่มแรกในชีวิตชื่อว่า “Crystallizing Public Opinion” ขึ้น ในปี ค.ศ. 1923 และในปีเดียวกันนี้เขาก็ได้เปิดหลักสูตรบรรยายวิชาการประชาสัมพันธ์ขึ้น ที่มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ซึ่งนับว่าเป็นการเปิดบรรยายวิชาการประชาสัมพันธ์ขึ้นเป็นครั้งแรก ในระดับมหาวิทยาลัยของสหรัฐอเมริกา

44 จากข้อ 39. อาจารย์เปิดหลักสูตรการประชาสัมพันธ์แห่งแรกในมหาวิทยาลัย คือใคร
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 43. ประกอบ

45 หลักสูตรการประชาสัมพันธ์แห่งแรกเกิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยใด
(1) นิวยอร์ก
(2) ฮาร์วาร์ด
(3) พรินส์ตัน
(4) รามคําแหง
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 43. ประกอบ

46 ข้อใดอธิบายถึง “1 แสนคนรู้ข่าวว่ารถไฟลอยฟ้าสายสีม่วงเปิดบริการให้ประชาชนขึ้นฟรี”
(1) Audience Coverage เข้าถึงประชาชน
(2) Audience Response ปฏิกิริยาของประชาชน
(3) Communication Impact ผลกระทบที่เกิดจากการสื่อสาร
(4) Process of Influence อิทธิพลของกระบวนการสื่อสาร

ตอบ 1 หน้า 184 Audience Coverage หมายถึง การเข้าถึงประชาชน หรือเข้ากับประชาชนได้ เป็นอย่างดี ถือเป็นความสําเร็จในการปฏิบัติการสื่อสาร ซึ่งผู้สํารวจจะต้องรู้ว่ากลุ่มประชาชน เป้าหมายมีจํานวนคนมากน้อยเท่าใด เขาเหล่านั้นมีลักษณะอย่างไร มีทัศนคติอะไรบ้าง และ อัตราส่วนของประชาชนที่ได้ดําเนินการสื่อสารนั้นเป็นอัตราส่วนเท่าใดของเป้าหมายที่ต้องการ

47 การประชาสัมพันธ์เปรียบเสมือนสะพาน หมายถึงข้อใด
(1) Two Way Communication
(2) Public Opinion
(3) Co-operate
(4) Voice of Population
ตอบ 1 หน้า 8, 11, (คําบรรยาย) ความหมายของการประชาสัมพันธ์ สรุปได้ดังนี้
1 การประชาสัมพันธ์เสมือนสะพานที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับประชาชน ที่เกี่ยวข้อง โดยใช้การสื่อสารสองทาง (Two Way Communication)
2 การประชาสัมพันธ์เสมือนแสงสว่างที่ส่องให้ประชาชนมองเห็นองค์การ และองค์การมองเห็น ประชาชน โดยใช้ประชามติ (Public Opinion)
3 การประชาสัมพันธ์เสมือนน้ําในร่างกายที่ทําให้ทุกส่วนเคลื่อนไหวราบรื่น โดยใช้การประสาน ทุกฝ่ายเข้าด้วยกัน (Co-operate)

48 จากข้อ 47. อะไรเสมือนน้ำในร่างกายให้ทุกส่วนเคลื่อนไหวราบรื่นเช่นเดียวกับประชาสัมพันธ์
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 47. ประกอบ

49 จากข้อ 47. แสงสว่างส่องให้ประชาชนมองเห็นองค์การ องค์การเห็นประชาชน คือข้อใด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 47. ประกอบ

50 ข้อใดเป็นเครื่องมือการสํารวจความคิดเห็นในการประชาสัมพันธ์
(1) แบบสอบถาม
(2) คูปองแลกสินค้า
(3) แบบรับสมาชิก
(4) อีเมลข่าวสารถึงลูกค้า
ตอบ 1 หน้า 203, (คําบรรยาย) แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือการสํารวจความคิดเห็นในการวิจัย ประชาสัมพันธ์ โดยเป็นแบบการสํารวจท่าทีของประชาชนกลุ่มเป้าหมายว่าชอบหรือไม่ชอบ เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยอย่างไร ทั้งนี้การนําแบบสอบถามมาทดลองใช้กับประชากรหลายกลุ่ม จะทําให้ได้ทราบถึงปัญหาข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น เพื่อหาทางแก้ไขได้อย่างสมบูรณ์

51 ข้อใดเป็นการทําชุมชนสัมพันธ์
(1) Big Cleaning Day ทําความสะอาดในเขตบ้านเรือนใกล้องค์การ
(2) Smart English สอนภาษาอังกฤษให้น้อง ๆ มัธยมศึกษา
(3) Warmly Blanket มอบผ้าห่มให้มูลนิธิเด็กอ่อน
(4) Thanks Press Meeting จัดเลี้ยงขอบคุณนักข่าวและบรรณาธิการทุกหน่วย
ตอบ 1 หน้า 346, (คําบรรยาย) ความสัมพันธ์ในชุมชน หรือชุมชนสัมพันธ์ หมายถึง การเสริมสร้าง ความเข้าใจ ความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างองค์การหรือสถาบันกับชุมชน เป็นการให้ความสนใจ เอาใจใส่ถึงความต้องการและทัศนคติของสมาชิกทุกคนในชุมชน โดยชุมชนในที่นี้ หมายถึง กลุ่มมวลชนที่ได้พักพิงอาศัยอยู่ในท้องถิ่นเดียวกันหรือใกล้เคียงกันกับองค์การ ซึ่งตัวอย่างของ การทําชุมชนสัมพันธ์ ได้แก่ กิจกรรม Big Cleaning Day ทําความสะอาดในเขตบ้านเรือน ใกล้องค์การ เป็นต้น

52 ข้อใดเป็นสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอก
(1) รายงานประจําปี
(2) อนุสาร
(3) วารสารข้าราชการ
(4) ทุกข้อที่กล่าว
ตอบ 4 หน้า 271 – 275, 279 – 280 ลักษณะที่สําคัญของเอกสารประชาสัมพันธ์ มีดังนี้
1 เอกสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ภายใน เช่น วารสารพนักงาน วารสารผู้ถือหุ้น ฯลฯ
2 เอกสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ภายนอก เช่น วารสารผู้บริโภค ฯลฯ
3 เอกสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอก เช่น วารสารของข้าราชการ วารสารของสมาคม มูลนิธิ รายงานประจําปี อนุสาร (Booklets) ฯลฯ

53 วารสารผู้ถือหุ้น จัดเป็นสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ประเภทใด
(1) สื่อภายใน
(2) สื่อภายนอก
(3) สื่อผสม
(4) สื่อภายในและภายนอก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 52. ประกอบ

54 สิ่งที่มี “พลัง” สูงสุดในการประชาสัมพันธ์และได้ผลเวลาใช้ คืออะไร
(1) การแสดงออก
(2) การพูด
(3) การคิด
(4) การฟัง
ตอบ 2 หน้า 244, (คําบรรยาย) คําพูด (Spoken Words) เป็นสื่อที่สําคัญยิ่งของมนุษย์ซึ่งมีมาแต่กําเนิด และใช้กันอย่างแพร่หลายมากกว่าสื่อในการประชาสัมพันธ์อื่น ๆ ดังนั้นสื่อคําพูดจึงนับเป็น เครื่องมือในการสื่อสารเพื่องานประชาสัมพันธ์ที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่ง จัดได้ว่าเป็นสื่อพื้นฐาน ของมนุษย์ที่ถูกนํามาใช้อย่างกว้างขวางและแพร่หลายมากที่สุด ทั้งนี้เพราะการพูดเป็นสิ่งที่มี พลังสูงสุดในการประชาสัมพันธ์และได้ผลเวลาใช้

ข้อ 55 – 63. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถามเกี่ยวกับสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์
(1) ประเภทวัสดุ (Audio Visual)
(2) ประเภทเครื่องมือ (Audio Visual Equipment)
(3) ประเภทกิจกรรม (Activity)
(4) ประเภทสื่อสารพบปะ (Meeting)

55 โปสเตอร์ “ขี่ตรง ไม่ขี่ย้อน” เป็นสื่อเพื่อประชาสัมพันธ์ประเภทใด
ตอบ 1 หน้า 242 – 245 สื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ที่น่าสนใจ มีดังนี้
1 ประเภทวัสดุ (Audio Visual) ได้แก่ กราฟ กระดานนิเทศ โปสเตอร์ ใบปลิว แผนที่ พิพิธภัณฑ์ ฟิล์มภาพยนตร์ ภาพถ่าย ฯลฯ
2 ประเภทเครื่องมือ (Audio Visual Equipment) ได้แก่ เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องเล่นแผ่นเสียง เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ ฯลฯ
3 ประเภทกิจกรรม (Activity) ได้แก่ นิทรรศการ การเล่นแบบละคร การสาธิต ฯลฯ
4 ประเภทสื่อสารพบปะ (Meeting) ได้แก่ การประชุม สัมมนา กล่าวสุนทรพจน์ ฯลฯ
56. ภาพยนตร์รณรงค์ “อ่านทวนก่อนสอบ” นับเป็นสื่อเพื่อประชาสัมพันธ์ประเภทใด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 55. ประกอบ

57 กระดานนิเทศ (Bulletin Board) รณรงค์ “เรียนรู้ภาษาอังกฤษ & อาเซียน”
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 55. ประกอบ

58 เครื่องเล่นแผ่นเสียง (Record Player) ในร้านน้ําชา
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 55. ประกอบ

59 พิพิธภัณฑ์ (Museum) แสดงการก่อตั้งมหาวิทยาลัยรามคําแหง
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 55. ประกอบ

60 ใบปลิว บอกวันรับสมัครนักศึกษา
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 55. ประกอบ

61 การเล่นแบบละคร (Dramatization) ในโครงการเดินทางปลอดภัยวันสงกรานต์
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 55. ประกอบ

62 นิทรรศการ (Exhibition) “ลดขยะพลาสติกลดโลกร้อน”
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 55. ประกอบ

63 กล่าวสุนทรพจน์ (Speech) ของนายกรัฐมนตรี
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 55. ประกอบ

64 หลักการที่ก้าวไปสู่การเป็นนักพูดชํานาญการ คือข้อใด
(1) หลักผู้ฟังและโอกาสที่พูด
(2) หลักการแสดงต่อที่สาธารณะ
(3) หลักโน้มน้าวใจ
(4) หลักปฏิบัติคู่กับทฤษฎี
ตอบ 1 หน้า 251 หลักการที่ก้าวไปสู่การเป็นนักพูดชํานาญการหรือนักแสดงปาฐกถา มีดังนี้
1 หลักที่ว่าด้วยตัวผู้ฟังและโอกาสที่พูด
2 หลักที่ว่าด้วยตัวผู้พูดและจุดมุ่งหมายในการพูด

65. ขั้นตอนแรกของ 7 ขั้นการพูดสู่ความสําเร็จ คืออะไร
(1) วางแนวเรื่องที่จะพูด
(2) หาตัวอย่างสนับสนุน
(3) ซักซ้อมการพูด
(4) ค้นคว้าหาข้อมูล
ตอบ 4หน้า 251 – 252 ขั้นตอนสําคัญที่จะก้าวไปสู่การเป็นนักพูดที่ประสบความสําเร็จนั้น แบ่งออก เป็น 7 ขั้นตอน ดังนี้
1 ค้นคว้าหารายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่จะพูดมาให้มากที่สุด
2 วางแนวเรื่องที่จะพูด
3 ค้นหาตัวอย่างมาเป็นข้อสนับสนุน
4 เตรียมข้อความเริ่มต้นหรือการแนะนําตัว
5 การสรุปความตอนจบ
6 การซักซ้อมพูดเพื่อให้เกิดความชํานาญ
7 ขึ้นเวทีแสดงปาฐกถาจริง ๆ

66 ข้อใดทําให้ท่าน/องค์การดูแย่ในโอกาสกล่าวสุนทรพจน์เพื่อประชาสัมพันธ์องค์การ
(1) พูดสุนทรพจน์สั้น ๆ
(2) หาโอกาสจัดประชุมกล่าวสุนทรพจน์
(3) ใช้วิธีการหลอกลวงผู้ฟัง
(4) แสดง/พูดตามบุคลิกของตัวเอง
ตอบ 3 หน้า 259, (คําบรรยาย) สิ่งที่ไม่ควรทําในการใช้การพูดเพื่อประชาสัมพันธ์องค์การ คือ
1 ให้การพูดผิดพลาดเกิดขึ้น โดยขาดการพิจารณาถึงความต้องการและทัศนคติของผู้ฟัง
2 พูดไปผิด ๆ โดยไม่มีการเตรียมตัวให้พร้อม
3 ลืมกล่าวสรุปความโดยย่อทุกตอนที่สําคัญ
4 ใช้วิธีการหลอกล่อหรือโกหกหลอกลวงผู้ฟัง ฯลฯ

67 ข่าวประชาสัมพันธ์มีลักษณะพิเศษดังนี้
(1) ข่าวภายใน ข่าวภายนอก
(2) ข่าวภาพ ข่าวเนื้อหา
(3) ข่าวไม่ได้คาดการณ์ไว้ก่อน ข่าวเตรียมการล่วงหน้า
(4) ข่าวเกี่ยวกับหน่วยงาน ข่าวเสริมภาพลักษณ์หน่วยงาน
ตอบ 3 หน้า 144, 267, 329 ลักษณะพิเศษของข่าวประชาสัมพันธ์ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1 ข่าวที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดการณ์ไว้ก่อน หรือไม่ได้คาดหวังว่าจะเกิดขึ้น มักเป็นข่าวในกรณี อุบัติเหตุและฉุกเฉิน ซึ่งจะปรากฏขึ้นอย่างฉับพลันหรือไม่คาดคิด เช่น เกิดระเบิด น้ําท่วม แผ่นดินไหว พายุรุนแรง ไฟไหม้ และภัยพิบัติต่าง ๆ ฯลฯ
2 ข่าวที่ได้เตรียมการดําเนินงานไว้ล่วงหน้า ซึ่งจะถูกนํามาเขียนเป็นข่าวประชาสัมพันธ์บ่อยมาก เช่น ข่าวการจัดประชุม ข่าวกิจกรรมพิเศษของสถาบัน ภาพข่าวแนะนําผลิตภัณฑ์ใหม่ ฯลฯ

68 “ภาพข่าวสมาร์ทโฟนรุ่นล่าสุดใช้งานง่าย ราคาไม่แพง” เกี่ยวกับคําตอบในข้อ 67. ข้อใด
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 67. ประกอบ

69 ความสําคัญของการเขียนข่าวประชาสัมพันธ์ ได้แก่ข้อใด
(1) ข้อมูลถูกต้องและน่าสนใจ
(2) เป็นเหตุการณ์ของหน่วยงาน
(3) อนุญาตให้มีความเห็นส่วนตัวในข่าว
(4) ทุกข้อข้างต้นที่กล่าวมา
ตอบ 4หน้า 268 – 269, (คําบรรยาย) ความสําคัญของการเขียนข่าวประชาสัมพันธ์ มีดังนี้
1 ข่าวนั้นต้องเป็นเหตุการณ์ของหน่วยงานหรือสถาบัน
2 ควรเป็นข่าวสดใหม่ และทันต่อเหตุการณ์
3 ข้อมูลข่าวควรมีความถูกต้องและน่าสนใจ
4 ข้อเขียนที่เป็นการแสดงความคิดเห็นที่ดีควรเป็นข้อคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะเพียงเรื่องเดียว
5 เขียนข่าวโดยปราศจากอคติ ฯลฯ

70 การใช้สื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ต้องคํานึงถึงเรื่องใด
(1) ตรงกลุ่มเป้าหมาย
(2) ผลสัมฤทธิ์ในการสื่อสาร
(3) งบประมาณ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 241, (คําบรรยาย) การเลือกใช้สื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ต้องพิจารณาถึงสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
1 จุดประสงค์ที่จะใช้สื่อ
2 ตรงกับผู้รับสารกลุ่มเป้าหมายหรือไม่ โดยคํานึงถึงความสามารถ รับรู้ของผู้รับสาร และความนิยมของสังคมนั้น
3 สถานการณ์ในช่วงเวลาที่ใช้สื่อ
4 งบประมาณ
5 ผลสัมฤทธิ์ในการสื่อสารที่ต้องการภายหลัง ฯลฯ

71 การเขียนโครงการเพื่อประชาสัมพันธ์ให้บรรลุเป้าหมายต้องมีสิ่งใด
(1) วัตถุประสงค์ชัดเจน
(2) งบประมาณเพียงพอ
(3) ใช้สื่อตรงกับกลุ่มเป้าหมาย
(4) ต้องใช้ทุกข้อดังกล่าว
ตอบ 4หน้า 129 – 130) (คําบรรยาย) หัวใจของการวางแผนในการเขียนโครงการเพื่องานประชาสัมพันธ์ ให้บรรลุเป้าหมาย มีดังนี้
1 กําหนดจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน
2 กําหนดกลุ่มเป้าหมายหลัก/กลุ่มเป้าหมายรอง (Themes/Big Idea)
3 กําหนดหัวข้อประชาสัมพันธ์
4 กําหนดจังหวะหรือช่วงเวลาที่เหมาะสม
5 กําหนดใช้สื่อให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย
6 กําหนดงบประมาณให้เพียงพอ

72 ประชามติ หมายถึงอะไร
(1) ความเห็นของคนจํานวนมาก
(2) ความรู้สึกทั้งบวกและลบเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
(3) ความรู้สึกนึกคิดที่แสดงออกของมวลชนต่อเหตุการณ์สําคัญ
(4) ความชอบและไม่ชอบของมวลชนต่อปัญหาต่าง ๆ
ตอบ 3 หน้า 197 ประชามติ (Public Opinion) หมายถึง ทัศนคติหรือความรู้สึกนึกคิดของมวลชนที่ได้ แสดงออกต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ปัญหาใดปัญหาหนึ่งที่มีความสําคัญต่อสังคมโดยรวม หรือเหตุการณ์ใด เหตุการณ์หนึ่งโดยเฉพาะ และตัวเองย่อมมีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีผลได้ผลเสียร่วมอยู่ด้วย

73 ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับเงื่อนไขการเกิดประชามติ
(1) ปัญหาเรียกความสนใจของมวลชน
(2) เวทีแสดงความคิด
(3) ผู้นําทางจิตวิญญาณ
(4) รัฐบาล
ตอบ 1หน้า 197 ประชามติจะก่อตัวขึ้นเมื่อมีเงื่อนไข ดังนี้
1 ต้องมีปัญหาที่เรียกร้องความสนใจ ของประชาชนทั่วไปเกิดขึ้น
2 ความรอบรู้และประสบการณ์ของผู้เสนอข้อคิดเห็น
3 ระเบียบกฎหมายและสังคมเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น
4 ความหนาแน่นของประชาชน
5 อุปกรณ์การสื่อสาร
6 มาตรการทางสังคมและตัวบทกฎหมาย

74 ใครเป็นผู้ชี้ให้เห็นว่า “ประชามติกับประชาสัมพันธ์” เกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิด
(1) รองศาสตราจารย์วิรัช สภิรัตนกุล
(2) รองศาสตราจารย์วัฒนา พุทธางกูรานนท์
(3) Ivy Lee
(4) Albert Sullivan
ตอบ 3 หน้า 199 ไอวี่ ลี (Ivy Lee) เป็นผู้ชี้ให้เห็นว่า “ประชามติกับงานประชาสัมพันธ์” มีความสัมพันธ์ เกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิด โดยนักประชาสัมพันธ์ต้องรับรู้ถึงปฏิกิริยา ความคิดเห็น ท่าที เจตนารมณ์ ตลอดจนความต้องการของประชาชนโดยส่วนรวม เพื่อหาทางตอบสนองประชามติ หรือความต้องการในสิ่งที่ถูกทีชอบของเขาเหล่านั้น ซึ่งถือเป็นหลักสําคัญยิ่งของการปฏิบัติการของงานประชาสัมพันธ์

75 “ประชามติ” เรียกอีกอย่างว่าอะไร
(1) เสียงของมวลชน
(2) มติมหาชน
(3) การลงคะแนนเสียง
(4) การสํารวจเสียงประชาชน
ตอบ 2 หน้า 198 ประชามติเป็นข้อคิดเห็นเพื่อแก้ปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งประชามติจะยังไม่เกิดขึ้น จนกว่าจะมีคนนําความรู้และข้อคิดเห็นนั้นเผยแพร่ต่อ ๆ ไปยังบุคคลอื่น โดยอาศัยวิธีการถ่ายทอด ซึ่งถ้าข้อคิดเห็นนั้น ๆ เป็นที่ยอมรับจึงเรียกว่า “ประชามติ” หรือเรียกอีกอย่างว่า “มติมหาชน”

76 เราจะยึดถือประชามติตลอดไปได้หรือไม่ เพราะอะไร
(1) ได้ เพราะนั่นคือเสียงของประชาชนส่วนรวม
(2) ได้ เพราะทุกคนมีมติเห็นชอบในปัญหาร่วมกัน
(3) ไม่ได้ เพราะเป็นความเห็นของกลุ่มคนส่วนหนึ่งเท่านั้น
(4) ไม่ได้ เพราะความรู้สึกนึกคิดของคนไม่ใช่สิ่งที่คงทนแน่นอน
ตอบ 4 หน้า 199, (คําบรรยาย) ประชามติไม่ใช่สิ่งที่จะยึดถือได้ตลอดไป เพราะไม่ใช่สิ่งที่มีอยู่อย่าง คงทนแน่นอน แต่เป็นเพียงความรู้สึกนึกคิด ความเชื่อถือ ซึ่งอาจจะมีเหตุผลหรืออาจเป็น ความเข้าใจผิดหรือหลงผิดไปบางขณะก็ได้ จึงอยู่ในดุลพินิจหรือความรับผิดชอบของนักประชาสัมพันธ์ที่จะชี้แนะหรือปรับปรุงแก้ไขประชามติไปในทางที่ถูกต้องและเหมาะสมกับสถานการณ์ด้วยจิตใจที่เป็นกลาง

77 วิธีการรวบรวมเสียงประชามติ ได้แก่วิธีใด
(1) ลงคะแนนเสียง
(2) สํารวจในชั้นเรียน
(3) โทรศัพท์เข้ามาในรายการวิทยุ
(4) ส่งไปรษณียบัตรถึงหน่วยงาน
ตอบ 1 หน้า 201 วิธีการรวบรวมเสียงประชามติหรือเสียงจากประชาชนมีอยู่ 4 วิธี คือ
1 การลงคะแนน (Votes)
2 วิเคราะห์เสียงแสดงความคิดเห็นจากสื่อมวลชนอื่น ๆ
3 ตั้งหน่วยรับฟังความคิดเห็น
4 ออกไปสอบถามและบันทึกความคิดเห็นของประชาชนแต่ละคน

78 ข้อใดเป็นการสํารวจทางอ้อมเพื่อประชามติ
(1) สัมภาษณ์แบบเผชิญหน้า
(2) สํารวจทัศนคติ
(3) หน่วยรับความคิดเห็นถามปัญหา
(4) เข้าถึงผู้นําทางความคิด
ตอบ 4 หน้า 201 – 203, (คําบรรยาย) การสํารวจประชามติ แบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้
1 การสํารวจทางตรง คือ การตรวจสอบประชามติไปยังกลุ่มประชาชนโดยตรง เช่น การลงคะแนน (Votes), การตั้งหน่วยรับฟังความคิดเห็น, การสัมภาษณ์แบบเผชิญหน้า การสํารวจทัศนคติทางโทรศัพท์, การที่แฟนบอลส่งไปรษณียบัตรทายผลฟุตบอลโลก ฯลฯ
2 การสํารวจทางอ้อม คือ การตรวจสอบประชามติจากข้อมูลที่มีผู้ทําไว้ก่อนแล้ว เช่น การตรวจสอบจากข่าว บทวิจารณ์ ตําราวิชาการต่าง ๆ, การวิเคราะห์เสียงแสดง ความคิดเห็นจากสื่อมวลชน, การเข้าถึงผู้นําทางความคิด ฯลฯ

79 การลงคะแนนเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ เป็นการรวบรวมประชามติแบบใด
(1) สํารวจทางตรง
(2) สํารวจทางอ้อม
(3) สํารวจใกล้ชิด
(4) สํารวจผ่านเครื่องมือ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 78. ประกอบ

80 จากข้อ 79. แฟนบอลส่งไปรษณียบัตรทายผลทีมฟุตบอลโลกชิงชนะเลิศ จัดเป็นประชามติในรูปแบบใด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 78. ประกอบ

81 ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับประชามติมีความสําคัญต่อองค์การ
(1) ประชามติเป็นกระจกส่ององค์การ
(2) ข้อมูลจากประชามติครั้งเดียวใช้กับการตัดสินใจได้ตลอด
(3) ใช้ประชามติเป็นเครื่องมือสื่อสารกับคนในองค์การ
(4) ประชามติสามารถประยุกต์ใช้กับการตลาดเท่านั้น
ตอบ 1 หน้า 107, (คําบรรยาย) ประชามติเปรียบเหมือนกระจกส่ององค์การ เพราะประชามติจะ สะท้อนภาพความรู้สึกนึกคิดของประชาชนที่มีต่อองค์การให้เห็นอย่างเด่นชัด ในทํานองเดียวกัน กระจกอันนั้นย่อมสะท้อนกลับถึงพฤติกรรมขององค์การว่ามีผลกระทบต่อมวลชนอย่างไรบ้าง

ข้อ 82 – 85. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถามเกี่ยวกับการทําประชาสัมพันธ์
(1) วิจัยและรับฟัง
(2) วางแผนการสื่อสาร
(3) ติดต่อสื่อสาร
(4) ประเมินผล

82 ขั้นแรกของการทําประชาสัมพันธ์ คือข้อใด
ตอบ 1 หน้า 99 – 101, 106 -107, (คําบรรยาย) ขั้นการวิจัยและรับฟัง (Research Listening) ถือเป็นขั้นแรกของการทําประชาสัมพันธ์ โดยเป็นขั้นตอนของการสํารวจดูตัวเองเพื่อแก้ไข ข้อผิดพลาดที่เราไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตนเอง และรับฟังข้อมูลย้อนกลับตามแนวทางของ การติดต่อสื่อสารแบบยุคลวิถี จึงเป็นขั้นของการค้นหาว่า “ปัญหาของเราคืออะไร” เช่น บริษัทผลิตนม Opinion Research Corporation สํารวจความคิดเห็นของประชาชนว่า มีทัศนคติอย่างไรต่อบริษัท หลังจากบริษัทถูกฟ้องข้อหาผูกขาดการผลิตนม เป็นต้น

83 การเลือกใช้สื่อป้ายไวนิลเพื่อให้ข้อมูลประชาชน อยู่ในขั้นตอนใด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 71. ประกอบ

84 บริษัท Opinion Research Corporation สํารวจความคิดเห็นของประชาชน หลังบริษัทถูกฟ้องข้อหา ผูกขาดการผลิตนม เหตุการณ์นี้อยู่ในขั้นตอนใด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 82. ประกอบ

85 การรับฟังข้อมูลย้อนกลับ เกี่ยวข้องกับกระบวนการข้อใด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 82. ประกอบ

ข้อ 86. – 90. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถามเกี่ยวกับกระบวนการประชาสัมพันธ์
(1) ขั้นการวิจัย
(2) ขั้นวางแผน
(3) ขั้นปฏิบัติการ
(4) ขั้นประเมินผล

86 “สํารวจตัวเองเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาด” ควรอยู่ในขั้นตอนใดของการทําประชาสัมพันธ์
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 82. ประกอบ

87 การบริหารภาวะวิกฤติของสายการบิน Nok จะแก้ไขได้ดี เมื่อทําเช่นไร
ตอบ 2 หน้า 133, 144, (คําบรรยาย) แนวความคิดในการวางแผนประชาสัมพันธ์มีอยู่ 2 ระยะ คือ
1 การวางแผนระยะสั้น เหมาะสําหรับแผนงานที่ใช้เวลาไม่นาน (3 – 6 เดือน หรือ 1 ปี) อาจเป็นโครงการพิเศษ หรือโครงการที่ต้องการคําตอบโดยรีบด่วน ได้แก่ การวางแผนงาน ในกรณีเกิดภาวะวิกฤติหรือเกิดอุบัติเหตุและฉุกเฉิน การจัดงานพิธี งานประกวด การแข่งขันกีฬา การชักชวนให้มาสมัครเรียนตามระยะเวลาที่กําหนด ฯลฯ
2 การวางแผนระยะยาว เหมาะสําหรับโครงการที่มีรายละเอียดมากมายหลายขั้นตอน ถือเป็น งานสําคัญยิ่งของสถาบัน เป็นงานที่กว้างขวางและไม่มีที่สิ้นสุด (5 – 10 ปีขึ้นไป) ซึ่งข้อมูล ที่ได้รับจะเป็นแนวทางค้นคว้าและวิเคราะห์สภาพปัญหาของการวางแผนในครั้งต่อ ๆ ไป

88 Boomerang Effect เกิดขึ้นเมื่อวิเคราะห์ปฏิกิริยาผู้ชมภาพยนตร์ อยู่ในขั้นตอนใด
ตอบ 4 หน้า 176, 178 – 179 ขั้นการประเมินผล (Evaluation) มีอยู่ 2 วิธีการ คือ
1. Pre-testing เป็นการวัดผลล่วงหน้าก่อนที่จะดําเนินการตามแผนประชาสัมพันธ์เพื่อป้องกัน การเกิด “Boomerang Effect” หมายถึง ผลกระทบย้อนกลับที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติการ สื่อสารที่ผิดพลาดหรือล้มเหลว และยังส่งผลต่อเนื่องกลับมาหาผู้ส่งสารในทางที่มีผลเสียหาย หรือมีผลร้ายมากกว่าผลดี
2 Post-testing เป็นการวัดผลภายหลังปฏิบัติการประชาสัมพันธ์ตามแผนไปแล้ว เพื่อปรับปรุง แผนงานให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

89 การวัดผลหลังปฏิบัติการประชาสัมพันธ์แล้ว อยู่ในขั้นตอนใด
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 88. ประกอบ

90 George Creet ใช้ทฤษฎีรูปตัว T เพื่อขอความสนับสนุนจากพันธมิตรช่วงสงคราม เกี่ยวข้องกับข้อใด ตอบ 3 หน้า 149, 156 – 158 ขั้นปฏิบัติการ (Action) จะต้องอาศัยกระบวนการติดต่อสื่อสาร (Communication) เป็นหลักสําคัญที่จะนําไปสู่การปฏิบัติการที่ได้รับผลสมบูรณ์ โดยได้ กล่าวถึงทฤษฎีการติดต่อสื่อสารที่สําคัญ ได้แก่

1. ทฤษฎีการติดต่อแบบสองทิศทาง (The Two-step Flow Theory) ซึ่งได้รับความสนใจ มาตั้งแต่สมัยที่ไอวี่ ลี (Ivy Lee) ได้ทําการบุกเบิกวิชาการประชาสัมพันธ์
2. ทฤษฎีรูปตัว T ซึ่งผู้อํานวยการประชาสัมพันธ์ของรัฐบาลสหรัฐฯ คือ George Creet ได้นํามาใช้ เพื่อขอความร่วมมือสนับสนุนจากประเทศในเครือสัมพันธมิตรในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 ฯลฯ

91 เดล คาร์เนกี เสนอขายความคิดด้วยวิธีการชนะมิตรและจูงใจคนไว้อย่างไร
(1) ให้โอกาสคนรักษาหน้า
(2) ทําเท่ากับพูด
(3) พูดดีกว่าทํา
(4) ให้แนวทางเป็นมิตร
ตอบ 1 หน้า 140 – 141 เดล คาร์เนกี ได้เสนอการขายความคิดโดยวิธีชนะมิตรและจูงใจคนไว้ ดังนี้
1 ให้โอกาสเขารักษาหน้า โดยพยายามพูดตะล่อมความคิดให้เข้าจุดที่เราต้องการ เพื่อให้เขารู้สึกว่า ความคิดนั้นเป็นของเขา แต่ถ้าความคิดในการแก้ปัญหานั้นตรงกับสิ่งที่เราคิดเอาไว้ก็ให้รีบยอมรับทันที
2 อ้างความรู้ทางเทคนิคหรือวิชาการ
3 สร้างเครดิตและความเป็นผู้นําให้น่าเชื่อถือ
4 ในกรณีที่ไม่มีเวลาพอและเป็นเรื่องรีบด่วน ให้ใช้วิธีออกคําสั่งเพื่อให้ปฏิบัติตาม

92 ข้อใดเป็น Fact Finding
(1) เข้าห้องสมุดมหาวิทยาลัยรามคําแหงค้นหาข้อมูล
(2) ชุมชนยื่นข้อเสนอให้องค์การ
(3) รายการทีวีสัมภาษณ์ผู้บริหาร
(4) ประชุมผู้ถือหุ้น
ตอบ 1หน้า 110 Fact Finding คือ การรวบรวมข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับสถาบัน โดยจะมีหน่วยงาน ของตนเองที่เรียกว่า Fact File เป็นแหล่งของข้อมูลและหลักฐานต่าง ๆ ที่ได้รวบรวมไว้เป็น หมวดหมู่ อาจอยู่ในรูปของห้องสมุดขนาดย่อมที่เรียกว่า “ห้องสมุดเฉพาะ หรือห้องสมุดของ องค์การ” ซึ่งมีลักษณะเป็นที่สะสมตํารา เอกสารวิชาการ เอกสารข่าว และข้อมูลอ้างอิงอื่น ๆ ดังนั้นหน่วยงานนี้จึงเป็นเหมือนกับศูนย์กลางของข่าวสารสถาบันที่หน่วยงานอื่น ๆ ในสถาบันสามารถพึ่งพาอาศัยสอบถามได้ตลอดเวลา

93 การเลือกกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย โดยที่ทุกคนมีโอกาสเท่ากันที่จะเป็นตัวอย่างในการสอบถามข้อมูล
เรียกอีกอย่างว่าอะไร
(1) Quota Sample
(2) Probability Sample
(3) Non–probability Sample
(4) Area Sample
ตอบ 2 หน้า 120, (คําบรรยาย) Probability Sample หมายถึง การเลือกกลุ่มบุคคลที่จะมาเป็น กลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ซึ่งจะใช้วิธี Random คือ ไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอน โดยทุกคนมีโอกาส เท่ากันที่จะเป็นตัวอย่างในการสอบถามข้อมูล

94 นักประชาสัมพันธ์ทําหน้าที่อะไรบ้าง
(1) ให้คําปรึกษาผู้บริหาร
(2) วางแผนการสื่อสาร
(3) สร้างความเชื่อถือศรัทธา
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 83, 97 – 98, (คําบรรยาย) หน้าที่ของนักประชาสัมพันธ์โดยตรง คือ เป็นผู้ที่ให้คําปรึกษา แนะนําแก่ผู้บริหาร ผู้ร่วมงาน ตลอดจนสร้างความเข้าใจอันดีและความเชื่อถือศรัทธากับประชาชน ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันทั้งทางตรงและทางอ้อม นอกจากนี้ยังทําหน้าที่วางแผนประชาสัมพันธ์ สํารวจวิจัย ปฏิบัติการสื่อสาร และประเมินผลงานประชาสัมพันธ์

95 ทําไมต้องวิจัยเพื่อทําประชาสัมพันธ์
(1) เน้นคุณค่าการรับฟังและสื่อสารแบบยุคลวิถี
(2) ส่องกระจกดูตัวเองรู้ปัญหา
(3) ช่วยรายงานข่าวกรองต่อผู้บริหาร
(4) ทุกข้อที่กล่าวข้างต้น
ตอบ 4 หน้า 102 – 109, (คําบรรยาย) สาเหตุที่ต้องมีการวิจัยเพื่อทําประชาสัมพันธ์ มีดังนี้
1 การวิจัยโดยวิธีทางสังคมศาสตร์จะให้คําตอบที่สังเกตได้ชัดเจน ผู้คนยอมรับ และเป็น
หลักฐานมั่นคงเชิงประจักษ์
2 การวิจัยทําให้สามารถนําความรู้จากข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรงและถูกต้อง
3 การวิจัยเน้นคุณค่าของการรับฟังและการสื่อสารแบบยุคลวิถี
4 การวิจัยทําให้สถาบันมีโอกาสส่องกระจกดูตัวเองเพื่อให้รู้ปัญหา
5 การวิจัยช่วยรายงานข่าวกรองเสนอต่อผู้บริหารระดับสูง ฯลฯ

96 ข้อใดเป็นวิจัยไม่เป็นทางการเพื่อทํางานประชาสัมพันธ์
(1) วิจัยทางวิทยาศาสตร์
(2) พูดคุยติดต่อขอคําปรึกษากับบุคคลต่างๆ
(3) วิจัยผู้บริโภคติดต่อกันหลายครั้ง
(4) วิเคราะห์เนื้อหาสาระข่าวสารจากสื่อ

ตอบ 2 หน้า 114 – 116, (คําบรรยาย) วิธีการวิจัยอย่างไม่เป็นทางการ มีดังนี้
1 การติดต่อส่วนตัว (Personal Contacts) หรือพูดคุยติดต่อขอคําปรึกษากับบุคคลต่าง ๆ
2 การรวบรวมความคิดเห็นและการแลกเปลี่ยนสนทนากัน (Idea Juries Panels)
3 การวิเคราะห์ทางไปรษณีย์ (Mail Analysis)
4 การเสนอข่าวสารผ่านสื่อมวลชน (Media Reports)
5.การใช้บันทึกการขาย (Sale Record) ฯลฯ

97 ข้อใดเป็นการวางแผนประชาสัมพันธ์ระยะสั้น
(1) รณรงค์ไม่มีคอร์รัปชั่น
(2) ชวนให้แม่บ้านเลิกใช้ถุงพลาสติก
(3) รณรงค์แก้ปัญหาจราจรไม่ขี่ย้อนศร
(4) ชวนให้นักเรียนมาสมัครเรียนรามคําแหง
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 87. ประกอบ

98 ข้อใดเป็นจุดมุ่งหมายของการวางแผนประชาสัมพันธ์เพื่อ “ก่อ” หรือสร้าง
(1) บริษัทปากกามาร์คเกอร์จัดโครงการ Penfriend Prograrn เขียนจดหมายหากัน
(2) ธนาคารโคลัมเบียรับคนผิวดําทํางาน แก้ปัญหาผิวสี
(3) บริษัท G.C. Reitinger รับผิดชอบผู้บาดเจ็บเสียชีวิตจากการระเบิด
(4) บริษัท V.K. แก้ไขรายงานการผลิตรถยนต์ปล่อยควันพิษลดลง
ตอบ 1 หน้า 55, 134, (คําบรรยาย) ความมุ่งหมายของงานประชาสัมพันธ์มีอยู่ 2 ประเภท คือ
1 เพื่อสร้างความนิยม (Goodwill) คือ การประชาสัมพันธ์เชิงรุกที่แสดงออกให้ประชาชน เห็นถึงการดําเนินกิจการของสถาบัน เพื่อก่อหรือสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชน กับสถาบัน เช่น บริษัทปากกามาร์คเกอร์จัดโครงการ Penfriend Program เขียนจดหมาย หากัน, การจัดกิจกรรมช่วยเหลือสังคม หรือกิจกรรมพิเศษต่าง ๆ ฯลฯ
2 เพื่อป้องกันชื่อเสียง (Reputation) คือ การประชาสัมพันธ์เชิงรับที่พยายามขจัดความขัดแย้ง ต่าง ๆ อันจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดแก่ประชาชน ดังที่ Sam Black ได้กล่าวว่า “การประชาสัมพันธ์ คือ การกระทําเพื่อค้นหาและทําลายเสียซึ่งที่มาของความเข้าใจผิด” เช่น การแถลงข่าวแสดงความเสียใจเมื่อเกิดวิกฤติการณ์ร้ายแรงในองค์การ ฯลฯ

99 การบอกว่าคุ้มค่าเงินหรือไม่ในการประชาสัมพันธ์ คือการยอมรับอะไร
(1) การวางแผน
(2) การติดต่อสื่อสาร
(3) การวิจัย
(4) การประเมิน
ตอบ 4 หน้า 173 – 174 การประเมินผลการวิจัย เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการทําประชาสัมพันธ์ โดยเป็นขั้นของการประเมินค่าหรือสรุปผลการดําเนินงานการใช้เครื่องมือต่าง ๆ ตามแผน การประชาสัมพันธ์ว่าเป็นอย่างไรบ้าง ได้ผลดีหรือมีผลเสียต่อสถาบันอย่างไร และสถาบันได้รับผลตอบแทนคุ้มค่าเงินที่ได้อนุมัติเพื่อโครงการประชาสัมพันธ์หรือไม่

100 Goodwill หมายถึงความมุ่งหมายประชาสัมพันธ์ในข้อใด
(1) ป้องกันชื่อเสียง
(2) สร้างภาพลักษณ์
(3) สร้างความนิยม
(4) เสริมความแข็งแกร่งให้องค์การ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 98. ประกอบ

Advertisement