การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2557
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 2160 (MCS 2106) ภาษาเพื่อการสื่อสารมวลชน
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1.อะไรเป็นเครื่องกําหนดแบบแผนวิธีการใช้สัญญาณหรือสัญลักษณ์ในภาษา
(1) คําพูด ถ้อยคําที่ใช้พูดกัน
(2) ปทัสถานทางสังคม
(3) เสียงกับความหมาย
(4) สัญญาณ สัญลักษณ์
ตอบ 2 หน้า 1 ภาษา ประกอบด้วย สัญญาณ (Signs) สัญลักษณ์ (Symbols) และ กฎหรือปทัสถานทาง สังคมที่กําหนดแบบแผนวิธีการใช้สัญญาณหรือสัญลักษณ์ในภาษา เพื่อการสื่อความหมาย ดังนั้น ภาษาจึงเป็นสิ่งที่ใช้แทนความหมาย (Meaning) และเป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสารระหว่างกัน

Advertisement

2. ข้อใดกล่าวถึงการสื่อสารได้ถูกต้องที่สุด
(1) การสื่อสารเป็นการส่งผ่านและแลกเปลี่ยนความหมายระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร
(2) การสื่อสารเป็นการส่งผ่านความหมายระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร
(3) การสื่อสารเป็นการแลกเปลี่ยนความหมายระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร
(4) การสื่อสารเป็นการส่งสาร
ตอบ 1หน้า 1 การสื่อสารเป็นการส่งผ่านและแลกเปลี่ยนความหมายระหว่างคน 2 ฝ่ายขึ้นไป โดยฝ่ายหนึ่ง คือผู้ส่งสาร อีกฝ่ายหนึ่งคือผู้รับสาร ซึ่งการส่งและรับความหมายระหว่างกันจําเป็นต้องใช้เครื่องมือ
ส่งความหมายออกไปให้อีกฝ่ายรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสและสามารถเข้าใจความหมายร่วมกันได้

3.“ภาษา คือ สิ่งที่วิวัฒนาการสืบต่อกันมา ภาษาพูดและภาษาเขียนต่างมีโครงสร้างที่แน่นอน ปรากฏเป็น หน่วยย่อยซึ่งสามารถนํามาวิเคราะห์ได้” เป็นการมองภาษาตามแนวคิดใด
(1) ภาษากับโครงสร้าง
(2) โครงสร้างนิยม
(3) หลังโครงสร้างนิยม
(4) วัฒนธรรมนิยม
ตอบ 2 หน้า 2 แนวคิดในเชิงโครงสร้างนิยม (Structuralism) มองว่า ภาษาเป็นสิ่งที่วิวัฒนาการสืบต่อ กันมา ภาษาพูดและภาษาเขียนต่างมีโครงสร้างที่แน่นอน ปรากฏเป็นหน่วยย่อยซึ่งสามารถ นํามาวิเคราะห์ได้ตามโครงสร้างของภาษา ได้แก่ พยัญชนะ คํา พยางค์ ฯลฯ เช่น การวิเคราะห์ วรรณกรรมต่าง ๆ หรือแม้แต่ภาษาร่วมสมัยที่ปรากฏในสื่อมวลชน จะทําให้สามารถสรุปโครงสร้าง ของภาษาและทําความเข้าใจความคิดของคนในสังคมนั้น ๆ ได้ว่าให้ความสําคัญกับเรื่องอะไรบ้าง
และเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น

4.“การวิเคราะห์วรรณกรรมต่าง ๆ หรือแม้แต่ภาษาร่วมสมัยที่ปรากฏในสื่อมวลชน จะทําให้สามารถสรุป โครงสร้างของภาษาและทําความเข้าใจความคิดของคนในสังคมนั้น ๆ ได้” เป็นการมองภาษาตามแนวคิดใด

(1) ภาษากับโครงสร้าง
(2) โครงสร้างนิยม
(3) หลังโครงสร้างนิยม
(4) วัฒนธรรมนิยม
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ

5. การปรับเปลี่ยนไวยากรณ์ในเรื่องเวลาที่ปรากฏอยู่ในสื่อสมัยใหม่ เช่น โฆษณา ละคร เพลง ฯลฯ
เป็นเครื่องแสดงให้เห็นถึงอะไร
(1) มีการเปลี่ยนไปสู่สถานที่แปลกใหม่
(2) มีการเปลี่ยนไปสู่จังหวะที่เร็วขึ้น
(3) มีการเปลี่ยนไปสู่วัฒนธรรมย่อยมากขึ้น
(4) มีการใช้เวลามากขึ้น
ตอบ 2 หน้า 2 นักทฤษฎีแนวโครงสร้างนิยม มองว่า การปรับเปลี่ยนไวยากรณ์ในเรื่องเวลาที่ปรากฏอยู่ ในสื่อสมัยใหม่ เช่น โฆษณา ละคร เพลง ฯลฯ เป็นเครื่องแสดงให้เห็นถึงความคิดเกี่ยวกับ การเคลื่อนไหวของเวลาในสังคมไทยว่า มีการเปลี่ยนไปสู่จังหวะใหม่ที่เร็วขึ้น และแบ่งซอย ออกเป็นหน่วยย่อย ๆ อย่างเห็นได้ชัด

6. “ภาษาเป็นสิ่งที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของมนุษย์เพื่อก่อให้เกิดความคิดและนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ รวมถึงการสร้างความจริงทางสังคม” เป็นการมองภาษาตามแนวคิดใด
(1) วัตถุนิยม
(2) โครงสร้างนิยม
(3) บริโภคนิยม
(4) วัฒนธรรมนิยม
ตอบ 4หน้า 3 แนวคิดในเชิงวัฒนธรรมนิยม (Culturalism) มองว่า ภาษาไม่ใช่สิ่งที่หยุดนิ่งตายตัว แต่มีความสัมพันธ์กับบริบททางสังคมและวัฒนธรรม ดังนั้นภาษาจึงไม่ได้เป็นเพียงการกําหนด คุณค่าหรือความหมายของสิ่งต่าง ๆ หรือความจริงที่อยู่รอบตัวเท่านั้น แต่ภาษาเป็นสิ่งที่เกิดจาก การสร้างสรรค์ของมนุษย์เพื่อก่อให้เกิดความคิดและนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ รวมถึง ภาษามีส่วนสร้างความหมาย สร้างความเข้าใจต่อสิ่งต่าง ๆ และสร้างสรรค์ความจริงทางสังคม (Sociat Reality) หรือโลกทางสังคม (Social World)

7. มนุษย์สร้างคําขึ้นเพื่อเรียกสิ่งต่าง ๆ เพราะเหตุใด
(1) เพราะเรารู้จักสิ่งนั้น
(2) เพราะเราให้ความสําคัญกับสิ่งนั้น
(3) เพราะเราชอบสิ่งนั้น
(4) เพราะเรายังไม่มีชื่อเรียกสิ่งนั้น
ตอบ 2 หน้า 3 โซซูร์ (Saussure) กล่าวว่า ภาษาเป็นตัวจัดแบ่งความเป็นจริง (Reality) ในโลกนี้ และภาษาถูกสร้างขึ้นเพื่อให้ความหมายกับสิ่งต่าง ๆ ในโลก ซึ่งมนุษย์ได้สร้างคําขึ้นเพื่อเรียก สิ่งต่าง ๆ ก็เพราะเราให้ความสําคัญกับสิ่งนั้น

8. แบบจําลองที่มองว่าการสื่อสารเป็นการส่งผ่านข้อมูล ได้แก่ข้อใด
(1) แบบจําลองการสื่อสารโน้มน้าวใจ
(2) แบบจําลองการสื่อสารเป็นการแบ่งปันความหมาย
(3) แบบจําลองการสื่อสารชุมชน
(4) แบบจําลองการสื่อสารเชิงเส้นตรง
ตอบ 4หน้า 5 ทฤษฎีการสื่อสารในยุคแรก ๆ มองว่า การสื่อสารเป็นการส่งผ่านข้อมูล โดยแบบจําลอง ที่อธิบายกระบวนการสื่อสารว่ามีลักษณะเป็นเส้นตรงตามทฤษฎียุคแรกนี้ เรียกว่า แบบจําลอง การสื่อสารเชิงเส้นตรง (Linear Model of Communication) ซึ่งมองว่า แหล่งสาร (Source) ส่งสาร (Message) ผ่านช่องทางการสื่อสาร (Channel) ไปถึงผู้รับสาร (Receiver)

9.ข้อใดเป็นองค์ประกอบของการสื่อสารแบบ Two-way Communication
(1) Field of Experience
(2) Context
(3) Feedback
(4) Noise
ตอบ 3 หน้า 6, 8 เมื่อกระบวนการสื่อสารเกิดขึ้น และสารผ่านกระบวนการถอดรหัสของผู้รับสารแล้ว จะเกิดปฏิกิริยาตอบสนอง (Response) ขึ้นที่ผู้รับสาร ซึ่งหากผู้รับสารต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูล กับผู้ส่งสารก็จะสื่อสารกลับ (Feedback) ไปยังผู้ส่งสาร ทําให้มีการสื่อสารแลกเปลี่ยนกันไปมา ระหว่าง 2 ฝ่าย หรือที่เรียกว่า การสื่อสารแบบสองทาง (Two-way Communication)

10. “สภาวะแวดล้อมที่มองเห็นได้ในขณะที่การสื่อสารเกิดขึ้น” เป็นบริบทของการสื่อสารในมิติใด
(1) กายภาพ
(2) วัฒนธรรม
(3) เวลา
(4) จิตวิทยาสังคม
ตอบ 1 หน้า 10, (คําบรรยาย) บริบทของการสื่อสารในมิติทางกายภาพ (The Physical Context) เป็นสภาวะแวดล้อมที่มองเห็นได้ในขณะที่การสื่อสารเกิดขึ้น ซึ่งจะมีอิทธิพลบางอย่างต่อเนื้อหา และรูปแบบของเรื่องที่สื่อสาร เช่น สภาพแวดล้อมในห้องเรียน หอประชุม, การจัดแสดงแสง สี เสียง ในงานมอเตอร์โชว์, การจัดวางสินค้าหน้าร้านให้สวยงามชวนซื้อ เป็นต้น

11. “ปทัสถานทางสังคมของทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร” เป็นบริบทของการสื่อสารในมิติใด
(1) กายภาพ
(2) วัฒนธรรม
(3) เวลา
(4) จิตวิทยาสังคม
ตอบ 2 หน้า 10, (คําบรรยาย) บริบทของการสื่อสารในมิติทางวัฒนธรรม (The Cultural Context) หมายถึง กฎหรือปทัสถานทางสังคมของทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร อันประกอบด้วย ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ อุดมการณ์ อัตลักษณ์ และแบบแผนวิถีการดําเนินชีวิตที่ถูกส่งผ่านจากคนรุ่นหนึ่ง มาสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง เช่น ในบางวัฒนธรรมอาจมองว่าเป็นการสุภาพที่จะต้องพูดกับคนแปลกหน้าแต่อีกวัฒนธรรมหนึ่งอาจเห็นว่าการพูดกับคนแปลกหน้าเป็นสิ่งที่พึงหลีกเลี่ยง ฯลฯ

12. “ความสัมพันธ์ทางสถานภาพหรือฐานะชนชั้นของผู้ร่วมสื่อสาร” เป็นบริบทของการสื่อสารในมิติใด
(1) กายภาพ
(2) วัฒนธรรม
(3) เวลา
(4) จิตวิทยาสังคม
ตอบ 4 หน้า 10, (คําบรรยาย) บริบทของการสื่อสารในมิติทางจิตวิทยาสังคม (The Social- psychological Context) หมายถึง ความสัมพันธ์ทางสถานภาพหรือฐานะชนชั้นของผู้ร่วม สื่อสาร บทบาท ตําแหน่งหน้าที่ ความรับผิดชอบ กฎกติกา ระเบียบวินัย และเกมที่ทั้ง 2 ฝ่ายเล่น เช่น การที่นักการเมืองอภิปรายในสภา ซึ่งบางครั้งก็เป็นไปตามสถานภาพของแต่ละฝ่ายและ เกมทางการเมือง เป็นต้น

13. ข้อใดกล่าวถึงการรับรู้ได้ถูกต้องที่สุด
(1) รูปแบบของการจัดการกับสิ่งเร้าสําหรับมนุษย์แต่ละคนจะเหมือนกัน
(2) การจัดการต่อสิ่งเร้าจําเป็นต้องเป็นไปตามความจริง
(3) การจัดการสิ่งเร้าต้องเป็นสิ่งที่สมเหตุสมผลหรือเป็นวัตถุวิสัย
(4) บางครั้งมนุษย์ก็จัดการกับสิ่งเร้าด้วยอารมณ์ ความไร้เหตุผล หรือความไร้สํานึก
ตอบ 4 หน้า 11 เดอวิโต (Devito) ได้อธิบายกระบวนการของการรับรู้ในขั้นตอนที่ 2 ว่า สิ่งเร้าที่ ผ่านประสาทสัมผัสถูกจัดหมวดหมู่ (Sensory Stimulation is Organized) โดยใช้หลักการ ต่าง ๆ ให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมายขึ้นมา ซึ่งรูปแบบของการจัดการกับสิ่งเร้าสําหรับมนุษย์ แต่ละคนจะแตกต่างกันไป ไม่จําเป็นว่าการจัดการต่อสิ่งเร้านั้นจะเป็นไปตามความจริง หรือต้องเป็นสิ่งที่สมเหตุสมผลหรือเป็นวัตถุวิสัยเสมอไป บางครั้งมนุษย์ก็จัดการกับสิ่งเร้าด้วยอารมณ์ ความรู้สึก ความไร้เหตุผล หรือแม้แต่ความไร้สํานึก

14. การแสดงคอนเสิร์ต เป็นการสื่อสารประเภทใด
(1) การสื่อสารองค์การ
(2) การสื่อสารกลุ่มใหญ่
(3) การสื่อสารสาธารณะ
(4) การสื่อสารมวลชน
ตอบ 3 หน้า 12, (คําบรรยาย) การสื่อสารสาธารณะ (Public Communication) หมายถึง การสื่อสาร ไปยังกลุ่มผู้รับฟังจํานวนมากเพื่อให้ข่าวสาร โน้มน้าวใจ และให้ความบันเทิง โดยผู้ส่งสารและ ผู้รับสารสามารถเห็นหน้าซึ่งกันและกันได้ แต่ไม่สามารถแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบกันได้โดยตรง ในทันทีทันใด เช่น การพูดในที่ประชุมขนาดใหญ่, การจัดแสดงคอนเสิร์ต, การปราศรัยหาเสียง ทางการเมือง, การจัดอภิปรายหรือสัมมนา ฯลฯ

15. การสื่อสารระหว่างเยาวชนจากประเทศต่าง ๆ ที่เข้าร่วมโครงการเรือเยาวชนเอเชีย เป็นการสื่อสารประเภทใด
(1) การสื่อสารระหว่างประเทศ
(2) การสื่อสารองค์การ
(3) การสื่อสารระหว่างบุคคล
(4) การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
ตอบ 4หน้า 12, (คําบรรยาย) การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม (Intercultural Communication) หมายถึง การสื่อสารระหว่างคนที่มาจากวัฒนธรรมที่แตกต่างกันเพื่อการเรียนรู้ สร้างสรรค์ ความสัมพันธ์ การสร้างอิทธิพลเหนืออีกฝ่ายหนึ่ง การเล่นหรือการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ฯลฯ เช่น การสื่อสารระหว่างเยาวชนจากประเทศต่าง ๆ ที่เข้าร่วมโครงการเรือเยาวชนเอเชีย

16. การประชุมโต๊ะกลม ใช้ภาษาระดับลีลาใด
(1) ทางการ
(2) ปรึกษาหารือ
(3) ลําลอง
(4) คุ้นเคย
ตอบ 2 หน้า 15, (คําบรรยาย) ลีลาปรึกษาหารือ (Consultative Style) เป็นลีลาของวัจนภาษาใน ระดับกึ่งทางการ (ไม่ถึงกับเป็นทางการ) มักใช้กับการสื่อสารในองค์การ เช่น การปรึกษาหารือ ระหว่างผู้บริหารกับพนักงาน การพูดคุยในการประชุมโต๊ะกลม และการสื่อสารกลุ่มเล็ก เป็นต้น

17. การพูดของนักจัดรายการคุยข่าวทางวิทยุ เป็นการใช้ภาษาระดับลีลาใด
(1) ทางการ
(2) ปรึกษาหารือ
(3) ลําลอง
(4) คุ้นเคย
ตอบ 3 หน้า 15, (คําบรรยาย) ลีลาลําลอง (Casual Style) เป็นลีลาของวัจนภาษาที่ไม่เป็นทางการ มักใช้พูดกันโดยทั่วไปในชีวิตประจําวัน การทํางาน หรือภาษาที่ใช้ในการสื่อสารมวลชน เช่น การจัดรายการสนทนา รายการเกมโชว์ รายการเพลง และรายการคุยข่าวทางวิทยุกระจายเสียงเป็นต้น

18.Cultivation Theory พัฒนามาจากงานวิจัยของใคร
(1) ลาสเวลล์
(2) จอร์จ เกิร์บเนอร์
(3) ธีโอดอร์ อดอร์โน
(4) ซูซาน ลางเกอร์
ตอบ 2 หน้า 32, (คําบรรยาย) ทฤษฎีการอบรมบ่มเพาะ (Cultivation Theory) เป็นทฤษฎีที่พัฒนา มาจากงานวิจัยของจอร์จ เกิร์บเนอร์ (George Gerbner) ซึ่งได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการทําหน้าที่ อบรมบ่มเพาะ (Cultivation) ของโทรทัศน์ โดยใช้เวลาในการวิจัยนานถึง 10 ปี เพื่อศึกษาถึง บทบาทด้านวัฒนธรรมในการปลูกฝังสมาชิกในสังคมอเมริกัน

19.Gesture หมายถึงอะไร
(1) กายภาษา
(2) ภาษาท่าทาง
(3) การเปล่งเสียง
(4) ภาษาสัญลักษณ์
ตอบ 2 หน้า 18 – 19, 21 ประวัติศาสตร์การสื่อสารของมนุษย์เริ่มจากการที่มนุษย์พยายามสื่อสารกัน โดยมีวิวัฒนาการของภาษาเรียงตามลําดับได้ดังนี้
1. การใช้ภาษาท่าทาง (Gesture Language) และการเคลื่อนไหวร่างกาย (Body Movement)
2. การใช้ภาษาพูด
3. การใช้ภาษาเขียน
4. การพิมพ์

20. ภาษาช่วยให้มนุษย์พัฒนาการคิดลักษณะใด
(1) การคิดเชิงกายภาพ
(2) การคิดเป็นรูปธรรม
(3) การคิดเชิงมโนทัศน์
(4) การคิดเป็นตัวอักษร
ตอบ 3 หน้า 18 ภาษาเป็นปัจจัยหนึ่งที่แสดงถึงความเจริญทางอารยธรรมของมนุษย์ในยุคแรก
เพราะภาษาช่วยให้มนุษย์ได้พัฒนาการคิดเชิงมโนทัศน์ (Conceptual Thinking) และทําให้ มนุษย์สามารถมีอิทธิพลต่อความคิดของผู้อื่นได้ นอกจากนี้ยังทําให้สามารถถ่ายทอดวัฒนธรรม และเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เป็นนามธรรมได้

21. หากจะเขียนข่าว ผู้เขียนต้องมีความรู้ระดับใดเป็นอย่างน้อย
(1) ระดับที่ 1
(2) ระดับที่ 2
(3) ระดับที่ 3
(4) ระดับที 4
ตอบ 2 หน้า 30 นักสื่อสารมวลชนต้องสามารถวิเคราะห์ได้ว่าความรู้ที่ตนมีอยู่นั้นเพียงพอสําหรับ
เรื่องราวที่จะสื่อสารหรือไม่ ซึ่งสามารถพิจารณาได้ดังนี้
1. หากต้องการเขียนข่าวรายงานเหตุการณ์ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ควรมีความรู้ (อย่างน้อย) ในระดับที่ 2 ก็เพียงพอ เนื่องจากการรายงานข่าวต้องรายงานตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น โดยไม่มีการเพิ่มเติมข้อคิดเห็นของผู้เขียน
2. หากจะเขียนสารคดีเชิงข่าวเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับภูมิหลังหรือข้อมูลเจาะลึกของเรื่องนั้น ผู้เขียนต้องมีความรู้อย่างน้อยในระดับที่ 3
3. หากจะเขียนบทวิเคราะห์เกี่ยวกับความเป็นมา สาเหตุ และพยากรณ์ถึงเหตุการณ์ ที่จะตามมาเกี่ยวกับเรื่องนั้น ผู้เขียนควรมีความรู้อย่างน้อยในระดับที่ 4
4. หากจะเขียนบทวิจารณ์ว่าการกระทําเกี่ยวกับฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นถูกต้อง หรือไม่ถูกต้อง ดีหรือไม่ดี ผู้เขียนควรมีความรู้ในระดับที่ 5

22. เหตุใดนักสื่อสารมวลชนจึงต้องวิเคราะห์ผู้รับสาร
(1) เพื่อทําความเข้าใจลักษณะที่เป็นสิ่งกําหนดความสามารถและความพร้อมของผู้รับสาร
(2) เพื่อสามารถประเมินผลระดับความรู้ความเข้าใจของผู้รับสาร
(3) เพื่อสามารถสรุปความคิดเห็นของมวลชนทั้งหมดเกี่ยวกับการสื่อสารมวลชน
(4) เพื่อทําความเข้าใจลักษณะของมวลชนทั้งหมด
ตอบ 1 หน้า 30 นักสื่อสารมวลชนจะต้องวิเคราะห์ผู้รับสารเพื่อทําความเข้าใจลักษณะร่วมบางประการ
ที่เป็นสิ่งกําหนดความสามารถและความพร้อมของผู้รับสาร เพื่อที่จะสามารถออกแบบสาร ได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับผู้รับสารมากที่สุดเท่าที่จะทําได้ ซึ่งแนวทางวิเคราะห์ผู้รับสาร ที่นิยมใช้กันมากในการสื่อสารมวลชน ได้แก่ การวิเคราะห์ผู้รับสารตามลักษณะทางทะเบียน ภูมิหลัง และลักษณะทางจิตวิทยา

23. แนวคิดเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยในยุโรปแผ่ขยายมาจากที่ใด
(1) จีน
(2) เปอร์เซีย
(3) สุวรรณภูมิ
(4) อินเดีย
ตอบ 4 หน้า 21 ในช่วงยุคกลางของยุโรป เมื่อการค้าเจริญเติบโตและความต้องการข้อมูลข่าวสารมีมากขึ้น
ทําให้แนวคิดเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยจากอินเดียและแอฟริกาตอนเหนือแผ่ขยายเข้ามาสู่ยุโรป จนส่งผลให้เกิดมหาวิทยาลัยขึ้น เช่น มหาวิทยาลัยแห่งกรุงปารีสในฝรั่งเศส มหาวิทยาลัย อ็อกซ์ฟอร์ดในอังกฤษ เป็นต้น

24. ข้อใดเป็นลักษณะของการสื่อสารมวลชน
(1) ผู้ส่งสารเป็นใครก็ได้
(2) ช่องทางการสื่อสารอะไรก็ได้
(3) ผู้รับสารเป็นใครก็ได้
(4) ข่าวสารเป็นเรื่องอะไรก็ได้
ตอบ 3 หน้า 25 – 26 ลักษณะของการสื่อสารมวลชน มีดังนี้
1. แหล่งสารหรือผู้ส่งสารมีลักษณะเป็นสถาบัน
2. เนื้อหาของสารที่ปรากฏทางสื่อมวลชนมีลักษณะเป็นสาธารณะ (Public)
3. ผู้รับสารเป็นมวลชน หรือผู้รับชมรับฟังจํานวนมากที่เป็นใครก็ได้
4. กระบวนการสื่อสารมวลชนมีลักษณะเป็นการสื่อสารทางเดียว
5. ได้รับอิทธิพลจากบริบททางสังคม
6. ใช้สื่อมวลชนเป็นช่องทางการสื่อสาร

25. Mass Culture หมายถึงอะไร
(1) รูปแบบการดํารงชีวิตและสิ่งอันเป็นที่นิยมชมชอบของคนในสังคมเดียวกันที่มีลักษณะเป็นแบบเดียวกัน
หรือเหมือนกัน
(2) รูปแบบการดํารงชีวิตและสิ่งอันเป็นที่นิยมชมชอบของคนต่างสังคมที่มีลักษณะเป็นแบบเดียวกันหรือ
เหมือนกัน
(3) รูปแบบการดํารงชีวิตและสิ่งอันเป็นที่นิยมชมชอบของคนต่างสังคมที่มีลักษณะเป็นแบบต่างกันหรือ
ไม่เหมือนกัน
(4) รูปแบบการดํารงชีวิตและสิ่งอันเป็นที่นิยมชมชอบของคนในสังคมเดียวกันที่มีลักษณะเป็นแบบต่างกัน
หรือไม่เหมือนกัน
ตอบ 2 หน้า 32 เมื่อมีการสื่อสารมวลชนเกิดขึ้นได้ทําให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า วัฒนธรรมมวลชน (Mass Culture) และวัฒนธรรมประชานิยม (Popular Culture) ซึ่งหมายถึง รูปแบบ การดํารงชีวิตและสิ่งอันเป็นที่นิยมชมชอบของคนต่างสังคม ต่างถิ่น ต่างฐานะ ที่มีลักษณะเป็นแบบเดียวกันหรือเหมือนกัน

26. หน้าที่ในการส่งผ่านค่านิยม เรียกอีกอย่างว่าอะไร
(1) Transformation
(2) Globalization
(3) Socialization
(4) Transmission
ตอบ 3 หน้า 28, (คําบรรยาย) บทบาทหน้าที่ในการส่งผ่านค่านิยม (Transmission of Values) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กระบวนการสังคมประกิต (Socialization) หมายถึง วิถีทางที่นํา ปัจเจกชนมาสู่การยอมรับพฤติกรรมและค่านิยมของกลุ่ม โดยสื่อมวลชนจะนําเสนอค่านิยม ต่าง ๆ ของคนบางกลุ่ม และจากการที่ประชาชนได้ดู ฟัง และอ่านก็ทําให้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ การปฏิบัติตนและสิ่งที่สังคมให้ความสําคัญจากการซึมซับเนื้อหาทางสื่อมวลชน

27. การนําเสนอข่าวสภากาชาดไทยรับบริจาคโลหิตเนื่องจากขาดแคลนเลือด เป็นการทําหน้าที่ของสื่อมวลชนข้อใด
(1) การทําให้สังคมแตกแยก
(3) การประสานส่วนต่าง ๆ ของสังคม
(2) การตีความ
(4) การส่งสัญญาณเตือนภัย
ตอบ 3 หน้า 28 บทบาทหน้าที่ในการเชื่อมประสานส่วนต่าง ๆ ของสังคม คือ การเชื่อมส่วนต่าง ๆ ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกันโดยตรงให้เข้ามาเกี่ยวข้องกันได้โดยผ่านเวทีสาธารณะ (สื่อมวลชน) ได้แก่ เชื่อมระหว่างประชาชนผู้ยากไร้ที่ขาดคนเหลียวแลกับผู้ใจบุญที่ประสงค์จะช่วยเหลือผู้อื่น เช่น การนําเสนอข่าวสภากาชาดไทยรับบริจาคโลหิตเนื่องจากขาดแคลนเลือด เป็นต้น นอกจากนี้ สื่อมวลชนยังทําหน้าที่เชื่อมประสานกลุ่มคนที่มีความสนใจอย่างเดียวกัน ซึ่งนักวิชาการบางท่าน ได้เรียกบทบาทหน้าที่ด้านนี้ว่า เป็นบทบาทหน้าที่ของการสร้างกลุ่มสาธารณชน เช่น กลุ่มสมาชิกรายการร่วมด้วยช่วยกัน เป็นต้น

28. ใครเป็นผู้กล่าวว่า “ยุคปัจจุบันเป็นยุคที่วัฒนธรรมถูกทําให้เป็นสินค้า
(1) เดอวิโต
(2) ธีโอดอร์ อดอร์โน
(3) โซซูร์
(4) เลวี สโตรสส์
ตอบ 2 หน้า 25 – 26 ธีโอดอร์ อดอร์โน (Theodor Adorno) กล่าวไว้ว่า ยุคปัจจุบันเป็นยุคที่วัฒนธรรม ถูกทําให้เป็นสินค้า ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นเพลงหรืองานวรรณกรรมก็เริ่มถูกนําเสนอด้วยกระบวนการ ทางการตลาดมากขึ้น ทําให้แนวโน้มที่รายการต่าง ๆ จะเจาะจงกลุ่มเป้าหมายให้แคบลงกว่ามวลชน คนรับสารทั่วไปก็มีมากขึ้น เพราะผู้ผลิตหรือเจ้าของรายการทางสื่อมวลชนมองผู้รับสาร ในฐานะตลาด (Market)

29. “สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” อ่านว่าอย่างไร
(1) สม เด็ด พระ เทบ จะ รัก ราด สุดา สะ หยาม บะ รม มะ ราด กุ มา รี
(2) สม เด็จ พระ เทบ พะ รัด ราด สุดา สะ หยาม บอ รม มะ ราด กุ มา รี
(3) สม เด็จ พระ เทบ พะ รัด ราด สุดา สะ หยาม บอ รม มะ ราด ชะ กุ มา รี
(4) สม เด็จ พระ เทบ พะ รัด ราด ชะ สุ ดา สะ หยาม บอ รม มะ ราด กุ มา รี
ตอบ 3 หน้า 100, (คําบรรยาย) ในการอ่านหรือพูดทางวิทยุกระจายเสียงนั้น ผู้พูดต้องออกเสียง ภาษาไทยให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์การออกเสียงภาษาไทย โดยต้องพยายามศึกษาค้นคว้า หลักภาษา และการออกเสียงให้ถูกอักขรวิธี เช่น สํานักราชเลขาธิการกําหนดให้พระนามของ “สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” อ่านว่า สม-เด็ด-พระ-เทบ-พะ-รัด- ราด-สุ-ดา-สะ-หยาม-บอ-รม-มะ-ราด-ชะ-กุมารี เป็นต้น นอกจากนี้คําในภาษาเขียนที่ เป็นคําย่อ เวลาอ่านต้องอ่านเป็นคําเต็มให้ครบและถูกต้อง เช่น อําเภอเมืองฯ จังหวัดอุทัยธานี อ่านว่า อําเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี เป็นต้น

30. “อําเภอเมืองฯ จังหวัดอุทัยธานี” อ่านว่าอย่างไร
(1) อําเภอเมือง อุทัยธานี
(2) อําเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี
(3) อําเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี
(4) อําเภอเมืองไปยาลน้อย จังหวัดอุทัยธานี
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 29. ประกอบ

31. หนังสือพิมพ์ทําหน้าที่ “ตีความ” ผ่านเนื้อหาประเภทใด
(1) ข่าว
(2) โฆษณา
(3) สารคดี
(4) บทความ
ตอบ 4 หน้า 27 (คําบรรยาย) บทบาทหน้าที่ในการตีความหมาย (Interpretation) คือ การนําเสนอ เรื่องราวที่ผ่านการตีความหมายโดยผู้สื่อข่าว ผู้เขียนข่าว และกองบรรณาธิการของสื่อมวลชน ซึ่งไม่ได้นําเสนอเฉพาะข้อเท็จจริงและข้อมูลเท่านั้น แต่เป็นการรายงานข่าวในลักษณะของ การเล่าเรื่องที่ผ่านการกลั่นกรองจากมุมมองของสื่อมวลชน เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูล จากมุมมองที่หลากหลายและสามารถประเมินข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นได้ เช่น รายการเล่าข่าว ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ช่องต่าง ๆ, การนําเสนอบทบรรณาธิการหรือบทนํา บทความ และ บทวิเคราะห์ของหนังสือพิมพ์ ฯลฯ

32. ข้อใดถูกที่สุด
(1) ผลของการสื่อสารจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับผู้ส่งสารจะกําหนด
(2) ผลของการสื่อสารจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับผู้รับสารเป็นผู้กําหนด
(3) ผลของการสื่อสารจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับผู้ส่งสารและผู้รับสาร
(4) ผลของการสื่อสารจะเป็นอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับภาษาและเนื้อหา
ตอบ 3 หน้า 31 ความสําคัญของการใช้ภาษา คือ จะใช้ภาษาอย่างไรให้สื่อความหมายได้ตรงกับ เจตนาของผู้ส่งสาร ซึ่งผลของการสื่อสารจะเป็นอย่างไรนั้นมิใช่สิ่งที่ผู้ส่งสารจะกําหนดได้ฝ่ายเดียว แต่ขึ้นอยู่กับผู้รับสารด้วย ดังนั้นจึงถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งสารที่ต้องเลือกใช้ภาษา ให้เหมาะสมกับจุดมุ่งหมาย เรื่องราวที่จะสื่อสาร และสิ่งที่สําคัญที่สุดก็คือ ต้องให้เหมาะกับ ความสามารถและความพร้อมของผู้รับสารด้วย เพื่อให้สารที่ส่งไปนั้นเกิดความหมายได้ตรงกับสิ่งที่ผู้ส่งสารต้องการ

33. โลกทางสังคม (Social World) เกิดจากอะไร
(1) ธรรมชาติ
(3) สิ่งแวดล้อมที่เป็นสัญลักษณ์
(2) สัญชาตญาณ
(4) ลักษณะเฉพาะของแต่ละคน
ตอบ 3 หน้า 33 โลกทางสังคม (Social World) หรือความเป็นจริงทางสังคม (Social Reality) เป็นโลกที่เกิดจากการกล่อมเกลาของสถาบันทางสังคม เช่น ครอบครัว โรงเรียน ที่ทํางาน ศาสนา สื่อมวลชน ฯลฯ ดังนั้นโลกทางสังคมของมนุษย์แต่ละคนจึงเป็นโลกที่เกิดขึ้นจาก สิ่งแวดล้อมเชิงสัญลักษณ์ที่แวดล้อมบุคคลเหล่านั้น หรือเป็นโลกที่เกิดจากการรับรู้ ทั้งนี้
เพราะการที่แต่ละคนมีโลกทางสังคมแตกต่างกันก็เนื่องจากมีระบบการรับรู้ที่ต่างกัน

34. การใช้ภาษาในการโฆษณา ต้องคํานึงถึงอะไรเป็นหลัก
(1) ค่าคะแนนความนิยมรายการ
(2) ผู้รับสารที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย
(3) นโยบายของบริษัท
(4) งบประมาณการโฆษณา
ตอบ 2หน้า 41 การใช้ภาษาในการโฆษณาจะต้องคํานึงถึงผู้รับสารที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย โดยผู้เขียน ข้อความโฆษณาไม่ควรยึดติดกับตัวตน รสนิยม และความชอบของตน แต่ต้องเลือกใช้ภาษา ที่สอดคล้องกับความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย หรือใช้ภาษาที่เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายเป็นหลัก เช่น ถ้ากลุ่มเป้าหมายเป็นวัยรุ่น ภาษาที่ใช้ต้องสะท้อนถึงภูมิปัญญาและรสนิยมของวัยรุ่น ฯลฯ

35. การโฆษณามีจุดมุ่งหมายเพื่ออะไร
(1) การโน้มน้าวใจ
(2) แจ้งข่าวสาร
(3) การสร้างความเข้าใจ
(4) ให้ความบันเทิง
ตอบ 1 หน้า 38 การโฆษณาเป็นการสื่อสารที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการโน้มน้าวใจ โดยมุ่งสร้างผลกระทบ ในด้านความรู้ความเข้าใจ (Cognition) ทัศนคติ (Attitude) และพฤติกรรม (Behavior) ที่ผู้รับสารมีต่อสินค้า บริการ หรือความคิด อันจะเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจของบริษัทที่โฆษณา

36. กระบวนการสร้างภาพลักษณ์ตราสินค้า มีลําดับขั้นตอนอย่างไร
(1) การเขียนข้อความโฆษณา การกําหนดสื่อ การลงโฆษณา การวัดปฏิกิริยาตอบสนอง
(2) การกําหนดตัวผู้โฆษณา การเขียนข้อความ การส่งสารผ่านสื่อ การประเมินผล
(3) การกําหนดกลุ่มเป้าหมาย กําหนดแนวคิดหลัก การสร้างสรรค์โฆษณา
(4) การวิเคราะห์จุดเด่นของสินค้า การให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสินค้า
ตอบ 3 หน้า 40 กระบวนการสร้างภาพลักษณ์ตราสินค้าต้องอาศัยการสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ
ซึ่งมีลําดับขั้นตอนเริ่มจากการกําหนดกลุ่มเป้าหมาย การวิเคราะห์ลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย
การกําหนดแนวคิดหลัก การสร้างสารโฆษณาหรือสร้างสรรค์ข้อความโฆษณา และนําเสนอ
แนวคิดดังกล่าวไปยังผู้บริโภคอย่างได้ผล

37. ผู้ใช้ภาษาโฆษณาควรมีสิ่งใดต่อไปนี้
(1) Personality
(2) Empathy
(3) Public Relations
(4) Positioning
ตอบ 2 หน้า 41 คุณสมบัติประการหนึ่งที่ผู้ใช้ภาษาโฆษณาควรจะมี คือ การรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา (Empathy) เพราะการที่นักโฆษณาสามารถเข้าถึงจิตใจของกลุ่มเป้าหมายได้ ก็จะทําให้เข้าใจว่า กลุ่มเป้าหมายมีความต้องการอะไร อะไรเป็นแรงจูงใจสําคัญในการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ของกลุ่มเป้าหมาย และควรสื่อสารอย่างไรที่จะเข้าถึงจิตใจของคนเหล่านั้นได้

38. “Advertising Concept” หมายถึงอะไร
(1) ข้อความสําคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ
(2) ข้อความสั้น ๆ ง่ายแก่การจดจําที่มักนําเสนอในชิ้นงานโฆษณาคู่กับชื่อสินค้า
(3) ข้อความพาดหัวที่ใช้ดึงดูดใจผู้อ่านให้สนใจชิ้นงานโฆษณา
(4) เพลงโฆษณาที่มีเนื้อร้อง
ตอบ 1 หน้า 41, 50, (คําบรรยาย) แนวคิดหลักที่ใช้ในการโฆษณา (Advertising Concept) หมายถึง ข้อความสําคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่ผู้โฆษณานําเสนออย่างสร้างสรรค์เพื่อตรึงความสนใจ
ของผู้บริโภค โดยจะช่วยให้การสื่อสารมีความคมชัด ตรงประเด็น และสร้างมโนทัศน์เกี่ยวกับ สินค้าให้เกิดขึ้นในจิตใต้สํานึกของผู้บริโภค ซึ่งแนวคิดหลักของการโฆษณาจะปรากฏอยู่ที่ คําขวัญโฆษณา ข้อความพาดหัว และเนื้อหา

39. เรื่องราวที่นําเสนอผ่านรายการโทรทัศน์ มีส่วนสร้างความเป็นจริงลักษณะใด
(1) ตรงตามสภาพความจริง
(2) เป็นเรื่องทั่ว ๆ ไป
(3) มีลักษณะเป็นแบบฉบับตายตัว
(4) ไม่มีสไตล์เฉพาะตัว
ตอบ 3หน้า 32 ผลจากการวิจัยของเกิร์บเนอร์ได้ให้ข้อสรุปว่า ลักษณะทางวัฒนธรรมที่ปรากฏใน เนื้อหาข่าวสารของโทรทัศน์ทําหน้าที่เป็นตัวสร้างวัฒนธรรมร่วม (Common Culture) ของสมาชิก
ในสังคม โดยเรื่องราวที่นําเสนอผ่านรายการโทรทัศน์ได้ผ่านการเลือกสรรมาเพียงบางส่วนเสี้ยว ของโลก มีลักษณะเป็นภาพแบบฉบับตายตัว (Stereotyped) และเป็นภาพที่บิดเบี้ยวไปจาก โลกที่เป็นจริง โดยเฉพาะเนื้อหาที่มีอิทธิพลต่อผู้คนอย่างมากในรายการประเภทละครโทรทัศน์

40. ผู้ส่งสารที่ดี ควรมีลักษณะอย่างไร
(1) มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่สื่อสาร รู้เรื่องเทคโนโลยี น่าเชื่อถือ
(2) มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน รู้เรื่องที่จะสื่อสาร เข้าใจผู้รับสาร
(3) มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน มีวิสัยทัศน์ มุ่งไปสู่เป้าหมาย
(4) มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน รู้เรื่องที่จะสื่อสาร รู้เรื่องสื่อใหม่ ๆ
ตอบ 2 หน้า 29 – 30 ลักษณะของผู้ส่งสารที่ดี มีดังนี้
1. ต้องมีจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในการสื่อสาร
2. ต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่จะสื่อสาร
3. ต้องเข้าใจความสามารถ ความพร้อม และความต้องการของผู้รับสาร

41. ข้อใดเป็นการจัดระดับความรู้ได้ถูกต้อง
(1) บอกเล่าได้เท่าที่เห็น ใช้คําพูดของตนเอง เพิ่มเติมเรื่องราว วิเคราะห์เป็น ประเมินค่า
(2) เพิ่มเติมเรื่องราว บอกเล่าได้ ใช้คําพูดของตนเอง ประเมินค่าได้ วิเคราะห์เป็น
(3) ตระหนักรู้ บอกเล่าได้ ประเมินค่า วิเคราะห์ เพิ่มเติมเรื่องราวได้
(4) บอกเล่าได้เท่าที่เห็น วิเคราะห์เป็น เพิ่มเติมเรื่องราวได้ ประเมินค่า ใช้คําพูดตนเอง
ตอบ 1 หน้า 30 นักวิชาการด้านการศึกษาได้แบ่งระดับความรู้ของมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับ ดังนี้
1. บอกเล่าเรื่องราวได้ตามที่ได้เห็นหรือได้ยินมา (จัดเป็นความรู้พื้นฐาน)
2. บอกเล่าเรื่องราวตามที่ได้เห็นได้ยินมาโดยใช้คําพูดของตนได้
3. สามารถเพิ่มเติมเรื่องราวจากความรู้ที่มีอยู่จริงได้
4. สามารถวิเคราะห์ได้
5. สามารถประเมินผลในสิ่งที่สื่อสารกันได้

42. การโฆษณาโดยให้ผู้ที่เคยใช้สินค้ามากล่าวยืนยันเกี่ยวกับคุณภาพของสินค้า ได้แก่ข้อใด
(1) Vignette
(2) Presenter
(3) Personality Symbol
(4) Testimonial
ตอบ 4 หน้า 44 ลีลาการอ้างพยาน (Testimonial) เป็นลีลาการนําเสนอโฆษณาโดยใช้บุคคลที่มี ประสบการณ์เกี่ยวกับสินค้า หรือผู้ที่เคยใช้สินค้ามากล่าวยืนยันเกี่ยวกับคุณภาพของสินค้า เช่น
การโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่นําเอาผู้ที่เคยใช้สินค้ามากล่าวยืนยันถึงประสบการณ์ที่ได้รับ
หลังจากการใช้สินค้า เป็นต้น

43. ข้อความโฆษณาที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร
(1) ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ
(2) แปลก ตลก ใช้ภาษาเฉพาะกลุ่ม
(3) สั้น เรียบง่าย ไม่ต้องคิดมาก
(4) การใช้เหตุผล
ตอบ 1 หน้า 48 ข้อความโฆษณาที่ดีควรชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับจากการใช้สินค้า และ
เขียนขึ้นจากความเข้าใจถึงความต้องการและแรงจูงใจของผู้บริโภค โดยคํานึงถึงปัจจัยทางด้าน
จิตวิทยาสังคมที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ

44. แนวทางการโฆษณาข้อใดที่เป็นการมุ่งขายสินค้าโดยตรง
(1) Soft Sell
(2) Hard Sell
(3) Slice of Life
(4) Lifestyle
ตอบ 2หน้า 45 น้ำเสียง (Tone) ที่ใช้ในการนําเสนอสารโฆษณาแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
1. น้ำเสียงที่มุ่งขายสินค้าอย่างชัดเจน (Hard Sell) คือ การนําเสนอสารโฆษณาแบบ ตรงไปตรงมา มุ่งสู่การขายสินค้าโดยตรง ไม่อ้อมค้อม
2. น้ำเสียงที่มุ่งขายสินค้าทางอ้อม (Soft Sell) คือ การนําเสนอสารโฆษณาที่เน้นการสร้าง อารมณ์ความรู้สึกและทัศนคติในเชิงบวกต่อสินค้า โดยไม่ได้กล่าวถึงตัวสินค้าโดยตรง แต่เน้นการโน้มน้าวใจโดยใช้อารมณ์มากกว่าการกล่าวถึงเหตุผลเกี่ยวกับคุณสมบัติของสินค้า

45. “ผสาน 4 ขั้นตอนแห่งการบําบัดผิวใน 1 เดียว” เป็นตัวอย่างข้อความโฆษณาที่ใช้อะไรเป็นสิ่งดึงดูดใจ (1) เหตุผล
(2) คุณลักษณะของสินค้า
(3) อารมณ์
(4) ผลประโยชน์
ตอบ 1 หน้า 45 – 46 สิ่งดึงดูดใจ (Appeal) ที่ปรากฏในสารโฆษณาแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
1. ด้านเหตุผล เป็นการใช้คุณสมบัติทางกายภาพของสินค้ามาเป็นสิ่งดึงดูดใจ โดยจะกล่าวถึง การใช้ประโยชน์ ลักษณะเด่น คุณสมบัติ คุณภาพของสินค้า ราคาสินค้า ฯลฯ
2. ด้านอารมณ์หรือลักษณะทางจิตวิทยา เป็นการใช้ความต้องการหรือแรงจูงใจของผู้บริโภค มาดึงดูดใจให้ซื้อสินค้า โดยจะกล่าวถึงอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการใช้สินค้านั้น ๆ
เช่น ความพึงพอใจ ความเท่ ฯลฯ

46.ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของคําขวัญโฆษณาที่ดี
(1) สั้น กะทัดรัด ชัดเจน
(2) มีใจความสําคัญประเด็นเดียว
(3) มีสัมผัสคล้องจอง
(4) มีความสัมพันธ์กับภาพโฆษณา
ตอบ 4 หน้า 51 ลักษณะของคําขวัญโฆษณาที่ดี มีดังนี้
1. เป็นวลีหรือประโยคที่สั้น กะทัดรัด ชัดเจน
2. มีใจความสําคัญเพียงประเด็นเดียว
3. มีสัมผัสคล้องจอง ซึ่งอาจสัมผัสสระ หรือสัมผัสพยัญชนะ
4. มีจังหวะสม่ําเสมอ ง่ายแก่การจดจํา 5. ควรมีชื่อสินค้าอยู่ในคําขวัญ

47. ข้อพิจารณาในการเลือกผู้พูดที่จะเป็นตัวแทนขององค์การ/สถาบันในการใช้การพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์พิจารณาจากอะไร
(1) เป็นผู้รอบรู้ในทุกเรื่อง
(2) เป็นผู้ที่รับผิดชอบโดยตรง
(3) เป็นคนสนุกสนานร่าเริงไม่น่าเบื่อ
(4) บุคลิกดี มั่นใจในตนเอง
ตอบ 2 หน้า 62 – 63 การเลือกผู้พูดที่จะเป็นตัวแทนขององค์การ/สถาบันในการใช้การพูด เพื่อการประชาสัมพันธ์ พิจารณาได้จาก
1. เป็นบุคคลสําคัญในองค์การ
2. เป็นผู้ที่รับผิดชอบโดยตรงเกี่ยวกับเรื่องที่พูด
3. เป็นผู้มีอํานาจตัดสินใจในการตัดสิน ระดับความลับของเรื่องที่พูด
4. เป็นผู้มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่พูด
5. เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการสื่อสาร
6. เป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพน่าเชื่อถือ มีกิริยาท่าทางเป็นธรรมชาติ

48. การพิจารณาเนื้อหาก่อนส่งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ต้องใช้หลักอะไรเป็นเกณฑ์การพิจารณา
(1) Source, Message, Channel, Receiver
(2) Cognitive, Affective, Behavior
(3) Credibility, Context, Content, Clarity, Channel, Capability of Audience
(4) Attention, Interest, Desire, Action
ตอบ 3 หน้า 74 – 75, (คําบรรยาย) เกณฑ์การพิจารณาเนื้อหาและตรวจสอบการใช้ภาษา ก่อนส่งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ต้องใช้หลัก 7 C ของการสื่อสาร ซึ่งประกอบด้วย
1. ความน่าเชื่อถือ (Credibility)
2. บริบท (Context)
3. เนื้อหาสาระ (Content)
4. ความชัดเจน (Clarity)
5. ความต่อเนื่องและความแน่นอน (Continuity & Consistency)
6. ช่องทางการสื่อสาร (Channel)
7. ความสามารถของผู้รับสาร (Capability of Audience)

49. โครงสร้างของการเขียนบทบรรณาธิการ ประกอบด้วยอะไรบ้าง
(1) ชื่อเรื่อง คํานํา เนื้อเรื่อง สรุป
(2) ข้อมูล ข่าวสาร และความคิดเห็น
(3) ตัวผู้เขียน เรื่องที่เขียน ความน่าสนใจ
(4) มีเอกภาพ สัมพันธภาพ สารัตถภาพ
ตอบ 1 หน้า 92 – 93, (คําบรรยาย) โครงสร้างของการเขียนบทความ บทวิเคราะห์ และบทบรรณาธิการ จะมีลักษณะคล้ายคลึงกัน ดังนี้
1. ชื่อเรื่อง คือ ชื่อที่เขียนขึ้นเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน
2. ความนํา คือ ส่วนแรกของเนื้อหา ซึ่งทําหน้าที่เป็นคํานําหรืออารัมภบท
3. เนื้อเรื่อง คือ ส่วนที่ดําเนินเรื่องราว
4. สรุป คือ ส่วนสุดท้ายหรือย่อหน้าสุดท้าย อาจเป็น ข้อเสนอแนะ หรือข้อความที่ย้ําถึงจุดยืนเกี่ยวกับประเด็นปัญหาที่กล่าวถึง

50. ข้อใดเป็นอวัจนภาษาที่สําคัญที่สุดในโทรทัศน์
(1) สี
(2) การจัดหน้า
(3) ภาพ
(4) พื้นที่ว่าง
ตอบ 3 หน้า 106, 108, 117 ในการผลิตรายการทางสื่อวิทยุโทรทัศน์นั้น เราจะถือว่าภาพ (Image) เป็นอวัจนภาษาที่เป็นภาษาหลักและมีความสําคัญที่สุดในโทรทัศน์ ส่วนคําบรรยาย (Narrative or Commentary) เป็นวัจนภาษาที่เป็นภาษารอง ซึ่งจะช่วยเสริมความเข้าใจให้ผู้ชมเมื่อดูภาพ อย่างเดียวแล้วไม่สามารถเข้าใจได้ นอกจากนี้อวัจนภาษาประเภทอื่น เช่น ดนตรี แสง สี เสียง ขนาด และมุมกล้องจะเป็นตัวช่วยเสริมเพื่อสื่อเรื่องราวในภาพให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

51.“เสนอพระเถระสอบอธิกรณ์ ญาติโยมฮือไล่สมภารดัง” พาดหัวข่าวนี้มีลักษณะการใช้ภาษาอย่างไร
(1) ใช้ภาษาต่างประเทศในการพาดหัวข่าว
(2) ใช้คํา Vivid เพิ่มสีสัน
(3) ใช้ภาษาทางการ
(4) ใช้สมญานาม

ตอบ 2 หน้า 22 การใช้คํากริยาที่มีชีวิตชีวา ใช้คําที่มีพลังและสร้างสีสัน (Vivid) หรือใช้คําที่ทําให้เกิด ภาพพจน์ในการพาดหัวข่าว ซึ่งบางครั้งคํากริยาที่มีชีวิตชีวานั้นก็เป็นการสร้างสีสันเกินจริง เช่น การใช้คําว่า โวย, ว๊าก, โต้, ปู, ป่วน, เด้ง, ผวา, อุ้ม, เช่น, ฮือ เป็นต้น

ข้อ 52 – 54. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Straight News
(2) Human Interest
(3) Feature Story
(4) Article

52. “เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และสภาวิชาชีพข่าวและวิทยุโทรทัศน์ไทย ออกแถลงการณ์เรื่อง ข้อกล่าวหาสื่อรับเงินบริษัทเอกชนเพื่อปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่ตามวิชาชีพ” เป็นการเขียนข่าวประเภทใด
ตอบ 1 หน้า 84 การเขียนข่าวแบบตรงไปตรงมา (Straight News) เป็นการเขียนเนื้อข่าวที่บอก ข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมาตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยไม่มีการเพิ่มเติมสีสันลงไปในเนื้อข่าว ดังนั้นลักษณะการเขียนจึงเป็นการบอกกล่าวกับผู้อ่านว่าใคร ทําอะไร ที่ไหน เมื่อไร ทําไม
และอย่างไร

53.“คนร้ายลอบยิงเจ้าของสวนยางพาราเสียชีวิต ตรวจสอบประวัติผู้ตายพบว่าเป็นเจ้าของสวนยางมีฐานะดี
เป็นคนดีในหมู่บ้าน คาดสาเหตุมาจากเรื่องจุดประทัดไล่วัยรุ่นที่มาขโมยใบกระท่อม โดยผู้ตายจับได้
จุดประทัดยักษ์แล้วโยนไปนอกบ้านเสียงดังสนั่น” เป็นการเขียนข่าวประเภทใด
ตอบ 2 หน้า 84, (คําบรรยาย) การเขียนข่าวแบบสนองปุถุชนวิสัย (Human Interest) เป็นการเขียน เนื้อข่าวที่ใช้การบรรยายหรือพรรณนาให้ผู้อ่านเกิดภาพพจน์เสมือนอยู่ในเหตุการณ์ โดยภาษา ที่ใช้มักเขียนเพื่อสร้างภาพพจน์เชิงวารสารศาสตร์ด้วยการอธิบายความ ให้รายละเอียด และบรรยายภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จึงมักใช้เขียนข่าวหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ประชานิยม (เชิงปริมาณ) ข่าวอาชญากรรม ข่าวอุบัติเหตุ ข่าวบุคคลที่คนทั่วไปสนใจ ฯลฯ

54.“รางวัลศิลปาธร จัดขึ้นเพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินรุ่นกลางที่มีผลงานการสร้างสรรค์ศิลปะอย่างต่อเนื่อง เป็นที่โดดเด่น มีการริเริ่มสิ่งใหม่ทางศิลปะร่วมสมัยและเกิดผลกระทบเชิงบวกแก่สังคม เพื่อเป็นขวัญและ กําลังใจแก่ผู้สร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณค่าออกสู่สังคมทั้งในระดับประเทศและในระดับสากล”
เป็นการเขียนข่าวประเภทใด
ตอบ 3 หน้า 84 การเขียนสารคดีเชิงข่าว (Feature Story) เป็นการเขียนเนื้อข่าวโดยให้ข้อมูล ภูมิหลังและรายละเอียดนอกเหนือจากที่ปรากฏเป็นข่าว ทั้งนี้เพื่อเป็นการให้ความรู้กับผู้อ่าน เกี่ยวกับเรื่องราวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

55. ข้อใดเป็นแนวทางปฏิบัติในการอ่านทางโทรทัศน์
(1) อธิบายสิ่งที่ผู้ชมเห็นและเข้าใจได้จากภาพ
(2) อ่านให้เหมือนการบรรยายหรือการสอบ
(3) อ่านให้เหมือนการแสดงละคร
(4) อ่านให้เหมือนการพูดเล่า
ตอบ 4 หน้า 107, (คําบรรยาย) ผู้อ่านหรือผู้ประกาศ (Announcer) ทางโทรทัศน์ควรยึดหลักปฏิบัติ ดังนี้
1. หากเกิดความไม่แน่ใจต่อคําอ่านว่าออกเสียงอย่างไรก็ควรเปิดพจนานุกรมดู
2. ระลึกอยู่เสมอว่าผู้อ่านกําลัง “พูด” มิใช่ “อ่าน” โดยควรอ่านด้วยลีลาการพูด ซึ่งจะช่วยให้ คําอ่านเป็นธรรมชาติ
3. ทําใจให้เป็นกลาง ไม่อคติกับบุคคลในข่าว
4. ทําตนให้เป็นกันเอง กับผู้ชม คือ ถ่ายทอดเรื่องราวข่าวสารให้ฟังในลักษณะเล่าเรื่อง รวมทั้งพยายามสบตาผู้ชม ทางบ้าน (ผ่านทางกล้อง) ด้วย ไม่ใช่เพ่งความสนใจไปที่คําอ่านตามบทเท่านั้น

56. “ดักถล่มลูกซองเจ้าของสวนยาง” พาดหัวข่าวนี้มีลักษณะการใช้ภาษาอย่างไร
(1) เขียนประโยคเต็มใจความสมบูรณ์
(2) ใช้คําชวนสงสัย
(3) ละประธานของประโยค
(4) ใช้ฉายาพาดหัว
ตอบ 3 หน้า 81 – 82 การละประธานของประโยค บางครั้งการเขียนพาดหัวข่าวอาจจะขึ้นต้นด้วย คํากริยาเพื่อชี้ให้เห็นความสําคัญของเหตุการณ์ว่าเกิดอะไรขึ้น เช่น ตักถล่มลูกของเจ้าของสวนยาง ปฏิรูปก่อนกาบัตร ปลัด ยธ.แนะรัฐบาลยุติรักษาการ, พลิกคดีโกงภาษี ศาลอุทธรณ์ชี้อ้อไม่มี เจตนาปกปิดซื้อขายหุ้น
ฯลฯ

57. หากต้องการนําเสนอภาพเคลื่อนไหวรอบตัวผู้แสดง โดยการเคลื่อนกล้องเป็นแนวครึ่งวงกลม เป็นการใช้ เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องข้อใด
(1) แพน
(2) ดอลลี่
(3) อาร์ค
(4) ทรัค
ตอบ 3 หน้า 113, (คําบรรยาย) อาร์ค (Arc) คือ เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องอย่างช้าในลักษณะเดียวกับ ดอลลี่ (Dolly) แต่เป็นการเคลื่อนกล้องเป็นแนวโค้งในลักษณะครึ่งวงกลม ทั้งนี้เพื่อนําเสนอ
ภาพเคลื่อนไหวรอบตัวผู้แสดง

58. ข้อใดเป็นเทคนิคการหยุดภาพไว้ให้ผู้ชมได้เห็นเป็นภาพนิ่ง
(1) Cut
(2) Wipe
(3) Freeze Frame
(4) Split Screen
ตอบ 3 หน้า 114, (คําบรรยาย) ฟรีซเฟรม (Freeze Frame) คือ เทคนิคการหยุดภาพหรือแช่ภาพไว้ ให้ผู้ชมได้เห็นภาพนั้นนิ่ง ๆ อยู่ชั่วขณะหนึ่ง ส่วนมากจะใช้ในฉากจบของละครโทรทัศน์แต่ละตอน ก่อนที่ไตเติ้ลตอนจบจะขึ้น

59. ข้อใดเป็นวิธีการลําดับภาพโดยใช้ภาพจางซ้อน
(1) Cut
(2) Wipe
(3) Dissolve
(4) Split Screen
ตอบ 3 หน้า 114 ดิสซอลว์ (Dissolve) คือ เทคนิคการตัดต่อลําดับภาพเพื่อทําภาพผสมให้จางซ้อนกัน โดยที่ภาพ ๆ หนึ่งค่อย ๆ จางหายไป ในขณะที่ภาพอีกภาพหนึ่งขึ้นมาแทนที่

60. ความเข้มของแสง ทําให้เกิดสิ่งใด
(1) ความร้อน/เย็น
(2) ความนุ่มนวล/แข็งกระด้าง
(3) ความสดใส/ความสลัว
(4) ความทึบ โปร่งแสง
ตอบ 2 หน้า 115 ความเข้มของแสง คือ การจัดแสงในฉากนั้น ๆ ให้มีความมืดหรือความสว่าง มากน้อยเพียงใดในฉากเดียวกัน ซึ่งอาจจะมีส่วนที่สว่างมากและสว่างน้อยแตกต่างกันออกไปทั้งนี้ความเข้มของแสงสามารถบอกเรื่องราวและอารมณ์ของเรื่องได้ และยังมีผลต่อการเกิด ความนุ่มนวลหรือความแข็งกระด้างของภาพที่ปรากฏอีกด้วย

61. ส่วนที่เป็นเนื้อหาของบทวิทยุกระจายเสียง จะอยู่ที่ส่วนใด
(1) ส่วนที่ 1
(2) ส่วนที่ 2
(3) ส่วนที่ 3
(4) ส่วนที่ 4
ตอบ 3หน้า 102 – 103 ส่วนประกอบของบทวิทยุกระจายเสียงมี 4 ส่วน ดังนี้
1. ส่วนหัว
2. ส่วนที่บอกหน้าที่ของผู้ร่วมงาน และสิ่งจําเป็นที่ใช้ในรายการ
3. ส่วนเนื้อหาหรือส่วนที่เป็นตัวบทวิทยุกระจายเสียง เป็นส่วนที่บอกผู้เกี่ยวข้องและสิ่งที่ กําหนดให้ทํา ได้แก่ ใครพูด พูดอะไร ฯลฯ
4. ส่วนปิดท้าย เป็นส่วนสรุปและประกาศขอบคุณผู้ร่วมรายการทุกคน

62. ข้อใดหมายถึงเนื้อหาโฆษณาที่ให้ความรู้
(1) Documentary
(2) Editorial
(3) Advertorial
(4) Drama
ตอบ 3 (คําบรรยาย) Advertorial มาจากคําว่า Advertising + Editorial หมายถึง เนื้อหาโฆษณา ที่ให้ความรู้ควบคู่ไปกับการโน้มน้าวใจ โดยมีลักษณะเป็นโฆษณาแฝงสอดแทรกอยู่ในบทความ ที่เป็นเนื้อหาเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการ หรือเป็นโฆษณาในสื่อสิ่งพิมพ์รูปแบบหนึ่งที่ตั้งใจ ให้ดูเหมือนเป็นบทความมากกว่าโฆษณา

63. การเขียนบทวิทยุกระจายเสียงสําหรับรายการข่าว ควรเขียนแบบใด
(1) วางโครงร่างคร่าว ๆ
(2) ประเภทกึ่งสมบูรณ์
(3) ประเภทสมบูรณ์
(4) ประเภทแสดงเค้าโครง
ตอบ 3 หน้า 105, (คําบรรยาย) การเขียนบทวิทยุกระจายเสียงมีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่
1. บทที่วางโครงร่างคร่าว ๆ (Run-down Sheet) คือ บทที่ร่างลําดับเนื้อหาหรือ ลําดับการทํางานไว้สําหรับผู้ร่วมงาน ซึ่งมักใช้กับรายการเพลง
2. บทกึ่งสมบูรณ์ (Semi Script) คือ บทที่มีรายละเอียดสมบูรณ์ในบางส่วนและละไว้บางส่วน มักใช้กับรายการสัมภาษณ์ สนทนา ฯลฯ
3. บทสมบูรณ์ (Complete Script) คือ บทที่มีรายละเอียดทุกอย่างกําหนดไว้ชัดเจน มักใช้ กับรายการละครวิทยุ ข่าว บทความ สปอตโฆษณา ฯลฯ

64. ดนตรีประกอบในรายการโทรทัศน์ มีหน้าที่อะไร
(1) บอกเล่าเรื่องราว
(2) ถ่ายทอดเนื้อหา
(3) เน้นอารมณ์ของผู้แสดง
(4) เชื่อมระหว่างฉากต่อฉาก
ตอบ 3 หน้า 116, (คําบรรยาย) เสียงดนตรีประกอบในรายการโทรทัศน์ ถือเป็นสิ่งสําคัญรองจาก ภาพและคําพูด ซึ่งมีบทบาทหน้าที่สําคัญ ดังนี้
1. ใช้เพื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหาหลักของเรื่องหรือรายการ
2. ใช้เพื่อสร้างหรือเสริมจังหวะการเคลื่อนไหวของภาพ
3. ใช้เพื่อเน้นอารมณ์ และความรู้สึกของผู้แสดง
4. ช่วยสร้างความรู้สึกแก่สถานการณ์ของเรื่องราว 5. ใช้เป็นดนตรีประจํารายการเมื่อเริ่มและจบรายการ

ข้อ 65 – 67. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Host
(2) Disc Jockey
(3) Announcer
(4) Producer

65. ข้อใดหมายถึงผู้จัดรายการ
ตอบ 1 หน้า 96, (คําบรรยาย) Host หมายถึง ผู้จัดรายการหรือผู้ดําเนินรายการสนทนา มีหน้าที่ กล่าวเปิดรายการ นําเข้าสู่ประเด็นที่จะสนทนา แนะนําผู้ร่วมสนทนาหรือแขกรับเชิญ (Guest) โดยอาจคอยพูดเชื่อมโยงให้การสนทนาอยู่ในประเด็น และสรุปใจความสําคัญของการสนทนาอีกครั้งหนึ่ง

66. ข้อใดหมายถึงผู้ประกาศ
ตอบ 3 หน้า 107, (คําบรรยาย) Announcer หมายถึง ผู้ประกาศ ผู้อ่าน หรือโฆษก มีหน้าที่อ่าน หรือประกาศข่าวสารเพื่อถ่ายทอดไปยังผู้ชมผู้ฟัง ซึ่งผู้อ่านหรือผู้ประกาศจะต้องมีพื้นฐาน การศึกษา ประสบการณ์ และการฝึกฝนมาอย่างดี (ดูคําอธิบายข้อ 55. ประกอบ)

67. ข้อใดหมายถึงผู้ผลิตรายการ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) Producer หมายถึง ผู้ผลิตรายการ มีหน้าที่รับผิดชอบในการผลิตรายการ อํานวยการ และประสานงานกับบุคลากรในการผลิตรายการทุกส่วนตามแผนการผลิตรายการ ที่ได้กําหนดไว้

68. หากต้องการถ่ายภาพทิวทัศน์ ควรใช้ภาพขนาดใด
(1) MLS
(2) LS
(3) ELS
(4) SLS
ตอบ 3 หน้า 109, (คําบรรยาย) ภาพระยะไกลมาก (Extreme Long Shot : ELS) เป็นการถ่ายภาพ ในระยะไกลมาก ได้แก่ ภาพวิว หรือภาพทิวทัศน์ที่แสดงทัศนียภาพขององค์ประกอบทั้งหมด เช่น การถ่ายทํารายการสารคดีท่องเที่ยว เป็นต้น

69. คําสนทนาในบทละครโทรทัศน์ เรียกว่าอะไร
(1) Narration
(2) Announcement
(3) Monologue
(4) Dialogue
ตอบ 4 หน้า 106, (คําบรรยาย) คําสนทนาแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้ 1. Monologue คือ คําสนทนาที่เป็นบทพูดของผู้พูดเพียงคนเดียว ในลักษณะที่เป็นการสื่อสารกับผู้ชมรายการโดยตรง 2. Dialogue คือ คําสนทนาที่เป็นบทพูดโต้ตอบกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ซึ่งมักพบในรายการ สัมภาษณ์ ละครโทรทัศน์ ฯลฯ

70. ภาพแต่ละภาพที่ปรากฏในรายการโทรทัศน์ เรียกว่าอะไร
(1) Frame
(2) Image
(3) Shot
(4) Photo
ตอบ 3 หน้า 108 ในภาษาโทรทัศน์นั้น คําว่า “Image” หมายถึง ภาพ ซึ่งภาพที่ปรากฏทางจอโทรทัศน์ จะเกิดจากภาพนิ่งหลาย ๆ ภาพเรียงลําดับต่อเนื่องกันจนกลายเป็นภาพเคลื่อนไหว โดยภาพ แต่ละภาพที่ปรากฏในรายการโทรทัศน์จะเรียกว่า ชอต (Shot) และเมื่อเรานําภาพแต่ละชอตมาลําดับให้ถูกช่วงถูกตอนตามที่ควรจะเป็นก็จะได้ลําดับเรื่องราวตามต้องการ

71. ข้อใดหมายถึงการเปลี่ยนแปลงระยะของภาพโดยการเปลี่ยนความยาวโฟกัสของเลนส์
(1) Zoom
(2) Dolly
(3) Boom
(4) Pan
ตอบ 1 หน้า 113, (คําบรรยาย) ซูม (Zoom) คือ เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องโดยการเปลี่ยนความยาว โฟกัสของเลนส์ซูมให้ยาวขึ้น เพื่อเปลี่ยนแปลงระยะของภาพให้วัตถุที่ถ่ายดูใกล้เข้ามา ทําให้ได้ ภาพโตขึ้นตามลําดับ (Zoom In) หรือเปลี่ยนความยาวโฟกัสของเลนส์ซูมให้สั้นเข้า เพื่อเปลี่ยนแปลง ระยะของภาพให้วัตถุที่ถ่ายดูไกลออกไป ทําให้ได้ภาพเล็กลงตามลําดับ (Zoom Out)

72. ข้อเขียนที่ใช้ในการผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง ได้แก่ข้อใด
(1) ผังรายการ
(2) เอกสารคู่มือรายการ
(3) บทวิทยุกระจายเสียง
(4) รายการกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องทํา
ตอบ 3 หน้า 102, (คําบรรยาย) บทวิทยุกระจายเสียง หมายถึง ข้อเขียนที่ใช้ในการผลิตรายการ วิทยุกระจายเสียง โดยจะมีหน้าที่บอกลําดับความเป็นไปของรายการนับตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่ง จบรายการ เพื่อให้รายการดําเนินไปได้อย่างมีทิศทางตามขอบเขตเนื้อหาและรูปแบบของรายการ ที่วางไว้

73. ควรใช้เทคนิคใดหากต้องการใส่ชื่อและตําแหน่งบุคคลผู้ให้สัมภาษณ์ซ้อนในภาพ
(1) Title
(2) Superimpose
(3) Split Screen
(4) Sub-title
ตอบ 2 หน้า 106 — 107, 114, (คําบรรยาย) ซูเปอร์อิมโพส (Superimpose) คือ เทคนิคการใช้ ตัวหนังสือหรือภาพ ๆ หนึ่งซ้อนทับลงบนอีกภาพหนึ่ง ซึ่งมักใช้ในการทําคําบรรยายที่เป็น ตัวอักษรซ้อนลงบนภาพที่อยู่นิ่งหรือเคลื่อนไหว ได้แก่
1. การทําไตเติ้ลรายการ คือ คําบรรยายที่บอกชื่อรายการ ชื่อผู้แสดงหรือผู้ที่ร่วมรายการ ผู้กํากับรายการ ช่างกล้อง ช่างแสง ฯลฯ โดยมักใช้ในตอนเริ่มรายการและตอนจบรายการ
2. Sub-title คือ คําบรรยายสั้น ๆ ที่บอกชื่อและตําแหน่งบุคคลในรายการโทรทัศน์ โดยจะใช้ ตัวอักษรวิ่งสีขาวที่ด้านล่างของจอ หรือใช้ตัวอักษรซ้อนลงบนภาพ มักใช้ในรายการข่าว สนทนา สัมภาษณ์ อภิปราย หรือภาพยนตร์ต่างประเทศที่มีคําบรรยายภาษาไทย

74. หากต้องการสร้างบรรยากาศที่วังเวง น่ากลัว ควรใช้แสงสีอะไร
(1) เหลือง
(2) ฟ้า
(3) ดํา
(4) น้ําเงิน
ตอบ 4 หน้า 115 – 116, (คําบรรยาย) การใช้สีเพื่อประกอบการให้แสงจะมีอิทธิพลต่อจิตใจและ ความรู้สึกนึกคิดของผู้ชม เช่น สีเหลืองจะให้บรรยากาศที่อบอุ่น เป็นแสงยามเช้า จึงมักใช้ ในรายการประเภทครอบครัว หรือรายการแม่บ้าน, สีน้ําเงินจะให้บรรยากาศลึกลับ วังเวง น่ากลัว จึงมักใช้ในรายการประเภทละครผี เป็นต้น

75. หากต้องการนําเสนอภาพทิวทัศน์โดยให้ผู้ชมได้ชื่นชมทิวทัศน์ในมุมกว้าง โดยการหันกล้องซึ่งติดตั้งอยู่บน เครนจากซ้ายไปขวา หรือขวามาซ้าย เป็นการใช้เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องข้อใด
(1) แพน
(2) ดอลลี่
(3) ทังค์
(4) บูม
ตอบ 3 หน้า 112 ทั้งค์ (Tongue) คือ เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องโดยการหันกล้องซึ่งติดตั้งอยู่บนเครน หรือปั้นจั่นจากซ้ายไปขวา หรือขวามาซ้าย ในขณะที่ระดับสูงต่ําของกล้องยังอยู่ในระดับเดิม เพื่อให้ผู้ชมเห็นภาพในมุมกว้างได้มากขึ้น

ข้อ 76. – 78.
จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Cut
(2) Wipe
(3) Freeze Frame
(4) Split Screen

76. หากต้องการหยุดภาพโทรทัศน์ให้ผู้ชมเห็นเป็นภาพนิ่ง ต้องใช้เทคนิคใด
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 58. ประกอบ

77. ปกติการเปลี่ยนภาพโทรทัศน์จากภาพหนึ่งเป็นอีกภาพหนึ่ง ใช้เทคนิคใด
ตอบ 2 หน้า 114 ไวน์ (Wipe) คือ เทคนิคการเปลี่ยนภาพโทรทัศน์จากภาพหนึ่งเป็นอีกภาพหนึ่ง โดยการกวาดภาพเพื่อเปลี่ยนจากฉากหนึ่งไปยังอีกฉากหนึ่ง ซึ่งลักษณะของภาพจะดูคล้ายกับการนําภาพใหม่เข้ามาแทนภาพเดิม หรือนําภาพใหม่มากวาดภาพเดิมให้ตกจากขอบจอโทรทัศน์ไป

78. ข้อใดเป็นเทคนิคที่นํามาใช้เมื่อต้องการเสนอภาพหลาย ๆ ภาพในหน้าจอเดียวกัน
ตอบ 4 หน้า 114 สปลิตสกรีน (Split Screen) คือ เทคนิคการแบ่งกรอบภาพ (Frame) ออกเป็นส่วน ๆ เพื่อนำเสนอภาพหลาย ๆ ภาพลงในหน้าจอเดียวกัน เช่น การเสนอภาพการถ่ายทอดสดฟุตบอล และโฆษณาไปพร้อม ๆ กัน เป็นต้น

ข้อ 79. – 81. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Pan
(2) Tilt
(3) Pedestal
(4) Boom

79. หากต้องการถ่ายภาพทิวทัศน์แบบพาโนรามา ต้องเคลื่อนกล้องแบบใด
ตอบ 1 หน้า 112, (คําบรรยาย) แพน (Pan) คือ เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องในลักษณะแนวนอน จากขวามาซ้าย หรือซ้ายมาขวา เพื่อให้ผู้ชมเห็นภาพทางกว้างได้มากขึ้น เช่น การถ่ายภาพ ทิวทัศน์แบบพาโนรามา (Panorama) โดยการหมุนกล้อง เพื่อให้เห็นภาพวิวทิวทัศน์ในมุมกว้าง ได้สมบูรณ์เต็มตา

80. หากต้องการถ่ายภาพเพื่อแสดงความสูงของตึกในแนวตั้ง ต้องเคลื่อนกล้องแบบใด
ตอบ 2 หน้า 112, (คําบรรยาย) ทิลท์ (Tilt) คือ เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องโดยการเงยหรือก้มกล้อง ในลักษณะแนวตั้ง ตั้ง เพื่อให้ผู้ชมเห็นภาพมุมสูงและภาพมุมต่ําได้มากขึ้น เช่น การนําเสนอภาพ ตึกสูงโดยให้ผู้ชมได้เห็นภาพตั้งแต่ด้านล่างของตึกและไล่ขึ้นไปจนถึงยอดตึก เพื่อแสดงความสูง
ของตึกในแนวตั้ง

81. ใช้เครนยกกล้องขึ้น-ลงในแนวตั้ง ต้องใช้เทคนิคการเคลื่อนกล้องแบบใด
ตอบ 4 หน้า 112, (คําบรรยาย) บูม (Boom) คือ เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องขึ้น-ลงในแนวตั้งบน ฐานกล้องแบบปั้นจั่น หรือกล้องอยู่บนเครน ซึ่งจะใช้เมื่อต้องการเปลี่ยนมุมกล้องให้สูงหรือต่ํา

82.Commentator หมายถึงอะไร
(1) ผู้ประกาศข่าวโทรทัศน์
(2) ผู้อ่านบทโฆษณา
(3) ผู้บรรยาย
(4) ผู้กํากับรายการโทรทัศน์
ตอบ 3 หน้า 97, (คําบรรยาย) Commentator หมายถึง ผู้บรรยาย ผู้วิเคราะห์หรือผู้วิจารณ์ ในรายการวิจารณ์ข่าว (News Commentary) มีหน้าที่หยิบยกประเด็นที่อยู่ในความสนใจ ของสังคมขึ้นมาอธิบาย วิพากษ์วิจารณ์ หรือแสดงความคิดเห็น บางรายการอาจเปิดโอกาส ให้ผู้ฟังร่วมแสดงความคิดเห็นด้วย

83.Run-down Sheet ควรใช้สําหรับรายการประเภทใด
(1) ข่าว
(2) บทความ
(3) สารคดี
(4) เพลง
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 63. ประกอบ

84. ข้อใดเป็นหลักการเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์
(1) ใช้สํานวนโวหาร
(2) ใช้วลีที่ดึงดูดใจ
(3) ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ให้ความรู้สึกจริงใจ
(4) ใช้คําหรูหราฟังไพเราะ
ตอบ 3 หน้า 72 – 73 หลักการพื้นฐานสําหรับการเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ มีดังนี้
1. ใช้ภาษาให้ถูกต้อง
2. ใช้รูปแบบการเขียนที่เหมาะสม
3. เรียงคําในประโยคอย่างเหมาะสม
4. ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย เป็นธรรมชาติ ให้ความรู้สึกจริงใจ
5. เขียนด้วยประโยคสั้น ๆ เพื่อให้ผู้รับสารเข้าใจง่าย
6. ใช้ภาษาที่สื่อความหมาย
7. เขียนด้วยความจริงใจและซื่อสัตย์
8. ใช้ภาษาที่ปราศจากอคติ

85. หนังสือพิมพ์เชิงคุณภาพเสนอข่าวประเภทใด
(1) ข่าวที่ประชาชนสนใจ
(2) ข่าวหนัก
(3) ข่าวเบา
(4) ข่าวที่มีคุณภาพ
ตอบ 2 หน้า 76 – 77, 79 หนังสือพิมพ์เชิงคุณภาพ (Quality Newspaper) หมายถึง หนังสือพิมพ์ ที่นําเสนอข่าวสารข้อมูลที่มีสาระ ซึ่งผู้อ่านต้องใช้ความรู้ความคิดติดตามเรื่องราวต่าง ๆ เหล่านั้น จึงจะเข้าใจ โดยข่าวที่นําเสนอจะมีลักษณะการใช้ภาษาเป็นภาษาระดับทางการและกึ่งทางการ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นข่าวหนัก (Hard News) เช่น ข่าวการเมือง ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวการศึกษา ข่าวสิ่งแวดล้อม ข่าวศิลปวัฒนธรรม เป็นต้น

86. บทบรรณาธิการเป็นความเรียงประเภทใด
(1) ร้อยแก้ว
(2) ร้อยกรอง
(3) ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง
(4) สารคดี
ตอบ 1 หน้า 77 – 78, 89 บทบรรณาธิการหรือบทนํา (Editorial) คือ ความเรียงประเภทร้อยแก้ว
โดยมีจุดมุ่งหมายหลักของการเขียนเพื่อแสดงถึงทัศนะหรือความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์ฉบับนั้น ซึ่งมีต่อสถานการณ์ที่กําลังอยู่ในความสนใจของสาธารณชน ดังนั้น บทบรรณาธิการจึงมีความสําคัญในการเป็นข้อเขียนที่แสดงถึงจุดยืนหรือทิศทางของหนังสือพิมพ์ทั้งฉบับต่อสถานการณ์ที่กําลังอยู่ในกระแสสังคม

87. บทบรรณาธิการมีความสําคัญอย่างไร
(1) เป็นข้อเขียนประเภทแสดงความคิดเห็น
(2) เป็นการนําเสนอข้อมูลใหม่ ๆ
(3) แสดงถึงจุดยืนของหนังสือพิมพ์ต่อสถานการณ์ที่อยู่ในกระแสสังคม
(4) แสดงความคิดเห็นของบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ที่มีต่อเรื่องทั่วไป
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 86. ประกอบ

88. หนังสือพิมพ์เชิงคุณภาพมีลักษณะการใช้ภาษาอย่างไร
(1) ใช้ภาษาทางการและภาษาปาก
(2) ใช้ภาษาทางการและกึ่งทางการ
(3) ใช้ภาษาปาก
(4) ใช้ภาษากึ่งทางการและภาษาปาก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 85. ประกอบ

89. การเขียนบทความ บทบรรณาธิการ ใช้รูปแบบการเขียนแบบใด
(1) Inverted Pyramid
(2) Upright Pyramid
(3) Combination
(4) Straight News
ตอบ 2 หน้า 80, (คําบรรยาย) รูปแบบการเขียนข่าวหนังสือพิมพ์ มีดังนี้
1. แบบพีระมิดหัวกลับ (Inverted Pyramid) คือ การเสนอประเด็นสําคัญของข่าวก่อน รายละเอียด ถือเป็นรูปแบบที่นิยมใช้มากกว่าร้อยละ 85 – 90 ในการเขียนข่าวหนังสือพิมพ์
2. แบบพีระมิดหัวตั้ง (Upright Pyramid) คือ การเสนอรายละเอียดของข่าวก่อน ประเด็นสําคัญ นิยมใช้ในการเขียนบทความ บทบรรณาธิการ สารคดีเชิงข่าว ฯลฯ
3. แบบผสม (Combination) คือ การเสนอประเด็นสําคัญทั้งในตอนต้นและตอนท้าย มักใช้ในการเขียนข่าวประชาสัมพันธ์

ข้อ 90. – 92. จงใช้บทความต่อไปนี้ตอบคําถาม

“ประเด็นจึงอยู่ที่ว่าตลอดระยะเวลากว่า 360 วันที่ผ่านมานี้ หน่วยงานของรัฐได้เอาใจใส่ ติดตามการดําเนินงานในเชิงรุก หรือมาตรการป้องกันระยะยาวที่ได้วางไว้หรือไม่เท่านั้น เพราะจะว่าไปแล้วเรื่องใหญ่ขนาดนี้จะต้องบูรณาการแล้วทํางานติดต่อกันไปตลอดทั้งปี”

90. บทความนี้แสดงความคิดเห็นในระดับใด
(1) เสนอแนะ
(2) อธิบายความ
(3) วิพากษ์วิจารณ์
(4) เสนอแนวทางการแก้ปัญหา
ตอบ 4หน้า 88 – 89, (คําบรรยาย) การแสดงความคิดเห็นในบทความ บทวิเคราะห์ และ บทบรรณาธิการ อาจแบ่งตามระดับจากง่ายไปยากที่สุดได้ดังนี้
1 ระดับอธิบายความ คือ ผู้เขียนตีความเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบ ที่เกิดขึ้น และคาดการณ์ถึงสิ่งที่จะตามมา
2. ระดับวิพากษ์วิจารณ์ คือ ผู้เขียนประเมินค่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าดีหรือไม่ดี เห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย ใครถูกใครผิด ฯลฯ โดยแจกแจงให้เห็นข้อดีข้อด้อยในเรื่องนั้น ๆ
3. ระดับเสนอทางแก้ปัญหา คือ ผู้เขียนให้คําแนะนําหรือให้ข้อเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาแก่ ผู้รับผิดชอบ จึงจัดเป็นการเขียนในเชิงวิเคราะห์ที่กล่าวถึงสาเหตุและเสนอทางออกไปพร้อมกัน

91. บทความนี้ใช้ภาษาระดับลีลาใด
(1) ลีลาเยือกเย็น
(2) ลีลาทางการ
(3) ลีลาปรึกษาหารือ
(4) ลีลากันเอง
ตอบ 2 หน้า 15, 90, 92, (คําบรรยาย) ลีลาทางการ (Formal Style) เป็นลีลาของวัจนภาษาที่เป็น พิธีการน้อยกว่าลีลาเยือกเย็น แต่ก็ยังมีลักษณะเป็นแบบแผน และมุ่งสื่อสารไปยังกลุ่มคนที่ ไม่เฉพาะเจาะจงว่าเป็นบุคคลใด เช่น ภาษาที่ใช้เขียนหนังสือราชการ หนังสือเรียน การเขียน บทบรรณาธิการในหนังสือพิมพ์ บทความทางวิชาการ บทวิเคราะห์ การปาฐกถา การบรรยาย ฯลฯ

92. บทความข้างต้นเป็นบทบรรณาธิการประเภทใด
(1) อธิบายความ
(2) วิพากษ์วิจารณ์
(3) แนะนํา
(4) เรียกร้องให้เกิดการกระทํา
ตอบ 3 หน้า 91 – 92 บทบรรณาธิการประเภทเสนอแนะ (Suggest) เป็นบทบรรณาธิการที่ผู้เขียน
ได้ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่กําลังเป็นข่าวและต้องการให้มีการแก้ปัญหาในทางที่ถูกต้อง ซึ่งการเสนอแนะหรือแนะนําจะเป็นเพียงการชี้แนวทางที่เป็นไปได้ให้แก่ผู้อ่านและผู้เกี่ยวข้อง ได้พิจารณาเลือกปฏิบัติ โดยอาจให้กระทํา ไม่กระทํา หรือเลือกกระทําตามแต่กรณี แต่จะ ไม่รุนแรงถึงกับเรียกร้องให้มีการตอบสนองข้อเสนอแนะนั้น

ข้อ 93 – 94. จงใช้บทความต่อไปนี้ตอบคําถาม
“จึงเป็นเรื่องที่ กมธ. ยกร่างรัฐธรรมนูญ ควรจะทบทวนหรือมีเงื่อนไขหรือข้อกําหนดพิเศษมา รองรับในกรณีที่ต้องหานายกรัฐมนตรีคนนอก คงเป็นหน้าที่ของทุกฝ่ายที่ต้องร่วมกันสร้างรัฐธรรมนูญที่เป็น
ของทุกคน ซึ่งอาจต้องฝากความหวังไว้กับแม่น้ําที่เหลืออีก 4 สาย”

93. ข้อความนี้เป็นส่วนหนึ่งของบทบรรณาธิการประเภทใด
(1) ให้ข่าวสาร
(2) อธิบายความ
(3) แนะนํา
(4) วิจารณ์
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 92. ประกอบ

94. บทความข้างต้นแสดงความคิดเห็นในระดับใด
(1) อธิบายความ
(2) วิพากษ์วิจารณ์
(3) วิเคราะห์
(4) ให้คําแนะนํา
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 90. ประกอบ

95. “เลียนแบบเกม โจฟิลิปปินส์วัย 19 ฆ่าปาดคอแม่เฒ่าในหมู่บ้านเชียงใหม่” เป็นความนําประเภทใด
(1) The Who Lead
(2) The What Lead
(3) The Where Lead
(4) The Why Lead
ตอบ 4 หน้า 83 ความนําแบบสรุป (Summary Lead) แบ่งออกเป็น 6 ประเภท ดังนี้
1. The Who Lead ได้แก่ ความนําที่ขึ้นต้นด้วยบุคคล องค์การหรือสถาบันที่เป็นข่าว
2. The What Lead ได้แก่ ความนําที่ขึ้นต้นด้วยเหตุการณ์หรือสิ่งที่เกิดขึ้น
3. The Where Lead ได้แก่ ความนําที่ขึ้นต้นด้วยสถานที่ที่เกิดเหตุ
4. The When Lead ได้แก่ ความนําที่ขึ้นต้นด้วยวันเวลาที่เกิดเหตุ
5. The Why Lead ได้แก่ ความนําที่ขึ้นต้นด้วยสาเหตุหรือเหตุผลของเรื่องนั้น ๆ
6. The How Lead ได้แก่ ความนําที่ขึ้นต้นด้วยการอธิบายความถึงวิธีการแห่งเหตุการณ์ที่เป็นข่าว

96. “3 ขั้นตอนสําคัญสู่ผิวสวย” เป็นข้อความพาดหัวประเภทใด
(1) พาดหัวข่าว
(2) บอกประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ
(3) ให้คําแนะนํา
(4) ชวนให้สนใจใคร่รู้
ตอบ 4 หน้า 47 – 48 การชวนให้สนใจใคร่รู้ (Curiosity) คือ การเขียนข้อความพาดหัวโฆษณาด้วยการ ทําให้ผู้รับสารเกิดความรู้สึกอยากรู้อยากเห็น เพื่อดึงดูดใจให้ติดตามหาคําตอบหรือแก้ข้อสงสัยนั้น ด้วยการอ่านข้อความโฆษณาในส่วนที่เหลือ จึงเหมาะกับสินค้าที่มีคุณสมบัติหรือข้อมูลใหม่ ๆ ที่น่าสนใจจริง ๆ เพราะหากข้อความที่ตามมาไม่ได้เสนอข้อมูลที่มีคุณค่าหรือเสนอคุณประโยชน์ ของสินค้าที่สมกับความสนใจใคร่รู้ของผู้อ่านแล้ว อาจทําให้โฆษณานั้นขาดความน่าเชื่อถือได้

97. “เพื่อผิวชุ่มชื้น ดูอิ่มเอิบตลอด 24 ชั่วโมง” เป็นการเขียนพาดหัวโฆษณาแบบใด
(1) พาดหัวข่าว
(2) บอกประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ
(3) เจาะจงกลุ่มเป้าหมาย
(4) เป็นคําสั่ง
ตอบ 2 หน้า 47 การกล่าวถึงประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ (Product Claim) คือ การเขียนข้อความ พาดหัวโฆษณาที่แสดงถึงข้อยืนยันเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้บริโภคจะได้รับจากการใช้สินค้า ซึ่งสามารถดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคได้ดี เพราะเป็นการกล่าวถึงสิ่งที่อยู่ในความสนใจของผู้บริโภค และสิ่งสําคัญที่ควรคํานึงถึงคือ ข้อเสนอนั้นควรเป็นข้อเสนอที่เด่นชัดจริง ๆ และเชื่อถือได้ โดยข้อความโฆษณาส่วนอื่น ๆ ต้องให้ข้อมูลหลักฐานเพื่อพิสูจน์หรือสนับสนุนข้อเสนอนั้น ๆ

98. “เดี๋ยวอึด เดี๋ยวเฟ้อ บรรเทาด้วย ยาแคปซูลขมิ้นชันอ้วยอัน” เป็นการเขียนพาดหัวโฆษณาแบบใด
(1) พาดหัวข่าว
(2) บอกประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ
(3) เจาะจงกลุ่มเป้าหมาย
(4) เป็นคําแนะนํา
ตอบ 4หน้า 47 การให้คําแนะนํา (Advice) คือ การเขียนข้อความพาดหัวโฆษณาด้วยการแนะนํา ให้ผู้อ่านกระทําอย่างใดอย่างหนึ่ง และตามด้วยคํามั่นสัญญาเกี่ยวกับผลที่ได้รับจากการทําตาม คําแนะนํานั้น จึงเป็นวิธีที่ดึงดูดความสนใจได้ดี เพราะเป็นการเจาะจงลงไปที่การป้องกันหรือ แก้ไขปัญหาที่ผู้บริโภคอาจจะประสบหรือกําลังประสบอยู่

99. หากบทเขียนว่า “กลั้วกล้ํากลืน” แล้วผู้อ่านอ่านว่า “กลัวกล้ํากลืน” แสดงว่ามีปัญหาการอ่านข้อใด
(1) ตู่คํา
(2) ตกคํา
(3) เพี้ยนวรรณยุกต์
(4) เพี้ยนพยัญชนะ
ตอบ 3 หน้า 100 ตัวอย่างการอ่านออกเสียงเพี้ยนแปร่ง มีดังนี้
1. เพี้ยนพยัญชนะ เช่น ความ อ่านเป็น ฟาม, ศาสตราจารย์ อ่านเป็น ศาสดาจารย์ ฯลฯ
2. เพียนสระ เช่น แจ้ง อ่านเป็น เจ้ง, ไป อ่านเป็น ปาย, ค่ะ อ่านเป็น ค่า ฯลฯ
3. เพี้ยนวรรณยุกต์ เช่น กลั้ว อ่านเป็น กลัว, กล้ํา อ่านเป็น กล่ํา ฯลฯ

100. “รัสเซียคลั่งคว้าเหล็กแป๊บทุบกระจกรถที่จอดในวัด รปภ. เข้าห้ามเจอที่น่วมดับคาที่” เป็นความนําประเภทใด
(1) The Who Lead
(2) The What Lead
(3) The Where Lead
(4) The Why Lead
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 95. ประกอบ

 

Advertisement