การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2555

ข้อสอบกระบวนวิชา BIO 1001 ชีววิทยาเบื้องต้น

Advertisement

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1.         ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ เริ่มต้นที่

(1)       การตั้งสมมุติฐาน         (2) สร้างทฤษฎี

(3) การสังเกต ตรวจสอบ        (4) การเก็บรวบรวมข้อมูล

ตอบ 4 หน้า 2 กระบวนการหรือระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์เรียงตามทลำดับได้ดังนี้

1.         การเก็บรวบรวมข้อมูล 

2. การตั้งสมมุติฐาน    

3. การสังเกต ตรวจสอบ หรือทดลอง

4. การประมวลเป็นข้อสรุป      

5. การสร้างทฤษฎี

2.         ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาวะโลกร้อน หรือการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมของโลก เป็นความรู้ด้านใด

(1)       วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ 

(2) วิทยาศาสตร์กายภาพ

(3) วิทยาศาสตร์ชีวภาพ          

(4) วิวัฒนาการ

ตอบ 2 (คำบรรยาย) วิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical Science) เป็นสาขาหนึงของวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ หรือวิทยาศาสตร์ธรรมชาติที่ศึกษาเกี่ยวกับสิ่งไม่มีชีวิต เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลง ของสิ่งแวดล้อมของโลก หรือความเป็นไปของธรรมชาติ เช่น การสังเกตและศึกษาเกี่ยวกับ ภาวะโลกร้อนธรณีวิทยา (แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด)อุทกวิยา (นํ้าท่วม)อุตุนิยมวิทยา (ประกาศคาดการณ์ลักษณะอากาศ การพยากรณ์อากาศ)ดาราศาสตร์ (ท้องฟ้า ดวงดาว) เป็นต้น

3.         ความรู้เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นวิทยาศาสตร์สาขาใด

(1)       วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์    (2) วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ

(3) วิทยาศาสตร์ชีวภาพ          (4) วิทยาศาสตร์ประยุกต์

ตอบ 4 (คำบรรยาย) วิทยาศาสตร์ประยุกต์หรือวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี (Applied Science/Technology Science) เป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยเรื่องราวของธรรมชาติ แล้วนำผลของความรู้นั้นไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อกิจกรรมเพื่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ เช่น แพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ การนำเอาพลังน้ำ พลังม พลังแสงแดด ไปแปรเป็นพลังงานไฟฟ้า เป็นต้น

4.         ข้อใดจัดเป็นสสาร

(1) พลังไฟฟ้า  (2) นํ้า  (3) พลังจิต      (4) พลังแม่เหล็ก

ตอบ 2 (คำบรรยาย) สสาร (Matter) คือ สรรพสิ่งต่าง ๆ ในโลกที่มีรูปทรงหรือตัวตน สัมผัสจับต้อง รับรู้ได้โดยประสาทรับรู้ มีนํ้าหนัก และต้องการที่อยู่อาศัย โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1.         สสารที่ไม่มีชีวิต เช่น ดิน น้ำ ลม อากาศ เครื่องจักร เป็นต้น

2.         สสารที่มีชีวิต เช่น ต้นไม้ สัตว์ เป็นต้น

5.         ความคิดแบบเป็นวิทยาศาสตร์นั้น ข้อใดมิน้ำหนักความสำคัญน้อยที่สุด

(1) สังเกตได้โดยมิติแห่งการรับรู้         (2) พิสูจน์กี่ครั้งก็ได้ผลเหมือนกัน

(3) อาศัยความเชื่อและศรัทธาเป็นปฐม          (4) คำนึงถึงเหตุและผลเป็นหลัก

ตอบ 3 หน้า 2, (คำบรรยาย) ขอบเขตของความเป็นวิทยาศาสตร์ มีดังนี้

1.         ต้องสามารถสังเกตได้โดยมิติแห่งการรับรู้ 2. ต้องสามารถพิสูจน์ทราบได้อย่างเป็นเอกภาพ ในทุกเมื่อ หรือพิสูจน์กี่ครั้งก็ได้ผลเหมือนเดิม 3. วิทยาศาสตร์ยังไมใช่ความจริงที่สมบูรณ์แท้ แต่เป็นข้อเท็จจริงที่ประกอบด้วยเหตุและผลที่มีโอกาสเป็นไปได้มากที่สุด

6.         ข้อใดมิได้จำกัดว่าเป็นเฉพาะสิ่งมีชีวิต

(1) Matter (2) Biota    (3) Organism     (4) Living Thing

ตอบ 1 (คำบรรยาย) ศัพท์คำว่า Living Thing, Biota และ Organism หมายถึง สิ่งมีชีวิต (ดูคำอธิบายข้อ 4. ประกอบ)

7.         ข้อใดจัดเป็นพลังงาน

(1) ความร้อน/เย็น        (2) อากาศ       (3) โทรทัศน์     (4) อาหาร

ตอบ 1 (คำบรรยาย) พลังงาน (Energy) คือ สรรพสิ่งต่าง ๆ ในโลกที่รับรู้ได้ แต่ไม่มีรูปทรงหรือตัวตน ไม่มีนํ้าหนัก และไม่ต้องการที่อยู่อาศัย เช่น แสงสว่าง อุณหภูมิ (ความร้อน/เย็น) กระแสลมหรือพลังลม แม่เหล็กไฟฟ้า พลังแม่เหล็ก พลังไฟฟ้า เป็นต้น

8.         การนำเอาพลังนํ้า พลังลม พลังแสงแดด ไปแปรเป็นพลังงานไฟฟ้า ต้องใช้ความรู้วิทยาศาสตร์สาขาใด

(1) วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ       (2) วิทยาศาสตร์กายภาพ

(3) วิทยาศาสตร์ประยุกต์        (4) วิทยาศาสตร์ชีวภาพ

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 3. ประกอบ

9.         หมู่หรือจำนวนของสิ่งมีชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่ง เรียกว่า

(1) ประชากร (Population)      (2) ชนิดพันธุ์ (Species)

(3)       สังคม (Society)    (4) ชุมชน (Community)

ตอบ 2 หน้า 570, (คำบรรยาย) ชนิดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต (Species) หมายถึง หมู่หรือจำนวนของ สิ่งมีชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือเป็นกลุ่มของสิ่งมีชีวิตพวกเดียวกัน โดยมีลักษณะสำคัญดังนี้

1.         มีรูปร่างลักษณะและการจัดระเบียบโครงร่างแบบเดียวกัน 2. มีวิถีการดำรงชีวิตเป็นไป ในรูปแบบเดียวกับ 3. มีการเพิ่มทวิจำนวน        4. สามารถสืบต่อเผ่าพันธุ์ของตนได้

5. ได้รับอิทธิพลจาก DNA หรือ Gene แต่ไม่ได้รับผลกระทบจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม

10.       หน่วยที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิตคือข้อใด

(1)       นิวเคลียส       (2) ไมโทคอนเดรีย       (3) คลอโรพลาสต์        (4) เซลล์

ตอบ 4 หน้า 4648 เซลล์ (Cell) คือ ก้อนโปรโตพลาสม์ที่มีเยื่อบางห่อหุ้มอยู่ และถือว่าเป็น หน่วยโครงสร้างมูลฐานที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิต ซึ่งกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อการดำรงชีวิต จะเกิดขึ้นจากการทำงานภายในเซลล์นั้น

11.       คำว่า ประชากร’’ ทางชีววิทยา คือ 

(1) สิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลก   

(2)สิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่อาศัยในที่เดียวกัน          

(3) สิ่งมีชีวิตทุกชนิดในสิ่งแวดล้อมเดียวกัน

(4)สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน ที่อยู่ในที่เดียวกันในช่วงเวลาที่กำหนด

ตอบ 4 หน้า 5-671, (คำบรรยาย) ประชากร (Population) ทางชีววิทยา หมายถึง กลุ่มของสิ่งมีชีวิต ชนิดใดชนิดหนึ่งซึ่งมีความสัมพันธ์ต่อกันในสังคมหนึ่ง ๆ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า เป็นจำนวน รวมทั้งหมดของสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน ที่อยู่ในพื้นที่เดียวกัน และในช่วงเวลาที่กำหนด

12.       เสือ ผู้บริโภคที่กินสัตว์อื่น ๆ เป็นอาหาร นิสัยการกินของเสือจัดเป็น

(1)Omnivore     (2) Carnivore     (3) Insectivore  (4) Herbivore

ตอบ 2 หน้า 234, (คำบรรยาย) กลุ่มผู้บริโภค (Consumer) สามารถจำแนกออกตามลักษณะนิสัย การกินได้เป็น 3 พวก คือ

1.         Herbivore เป็นพวกที่กินพืชเป็นอาหาร เช่น หนอน แพะ วัว ควาย กระต่าย ฯลฯ

2.         Carnivore เป็นพวกที่กินเนื้อสัตว์เป็นอาหาร เช่น เสือ สิงโต จระเข้ ฯลฯ

3.         Omnivore เป็นพวกที่กินทั้งพืชและเนื้อสัตว์เป็นอาหาร เช่น มนุษย์ สุนัข ฯลฯ

13.       บทบาทใดในสิ่งมีชีวิตที่ถือได้ว่าเป็นผู้ผลิตของระบบนิเวศ

(1)       เห็ดฟาง ถูกนำมาประกอบอาหารได้ จึงถือว่าเป็นผู้ผลิตที่สำคัญ

(2)       สาหร่ายพวกไดอะตอม สร้างอาหารจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงได้

(3)       ปลาเป็นผลผลิตอาหารประเภทโปรตีนที่สำคัญให้กับผู้บริโภค

(4)       แมลงหลายชนิด เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญสำหรับนกกินแมลง

ตอบ 2 หน้า 100233, (คำบรรยาย) ผู้ผลิต (Producer) เป็นสิ่งมิชีวิตที่สามารถสร้างอาหารขึ้นมาได้ด้วยตัวเอง โดยการสังเคราะห์ด้วยแสง (Photosynthesis) หรือการสังเคราะห์เคมี (Chemosynthesis) ก็ได้ เช่น สาหร่ายพวกไดอะตอม พืฃผักสีเขียว หญ้า เป็นต้น

14.       Symbiosis เป็นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตในรูปแบบใด

(1) ไม่มีฝ่ายใดได้เปรียบหรือเสียเปรียบกัน     (2) ถ้าขาดฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้

(3)       อยู่ร่วมกับแบบฝ่ายหนึ่งได้รับประโยชน์          (4) อยู่แบบแก่งแย่งแข่งขัน

ตอบ 2 หน้า 76103 – 104, (คำบรรยาย) การอยู่ร่วมกับแบบต่างฝ่ายให้ประโยชน์แก่กัน (Mutualistic Symbiosis) หรือต้องอาศัยเกื้อกูลกัน ถ้าขาดฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดแล้ว ฝ่ายที่เหลือก็ไม่สามารถ จะดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยตัวเอง เช่น การอยู่ร่วมกันของแอลจีกับฟังไจในไลเคน หรือแบคทีเรีย ที่ทำให้เกิดการย่อยของกากอาหารในลำไส้ของคน เป็นต้น

15.       แบคทีเรียพวก อี โคไล (E. coli) ในสำไส้ของคน ทำให้เกิดการยอยของกากอาหาร คนและแบคทีเรีย ถือว่าเป็นการอยู่ร่วมกันแบบใด

(1) Competition (2) Parasitism  (3) Neutralism  (4) Symbiosis

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 14. ประกอบ

16.       หน้าที่ของ Denitrifying bacteria ที่พบในวัฎจักรไนโตรเจน คือ

(1)       เปลี่ยนแปลงสารประกอบไนเตรท สลายเป็นก๊าซไนโตรเจน

(2)       เปลี่ยนแปลงก๊าซไนโตรเจนเป็นสารไนเตรท

(3)       เปลี่ยนก๊าซแอมโมเนียเป็นสารไนเตรท          

(4) เปลี่ยนก๊าซไนโตรจนเป็นสารในไตรท์

ตอบ 1 หน้า 7489 วัฏจักรไนโตรเจน เป็นการหมุนเวียนของก๊าซไนโตรเจนในอากาศ โดยอาศัยการทำงานของแบคทีเรียอยู่ 4 ชนิด ได้แก่      

1. Decomposing bacteria มีหน้าที่ทำให้ซากพืชซากสัตว์เกิดการเน่าเปื่อยกลายเป็นก๊าซแอมโมเนีย     

2. Nitrifying bacteria

มีหน้าที่เปลี่ยนก๊าซแอมโมเนียให้เป็นสารประกอบไนเตรท    

3. Denitrifying bacteria มีหน้าที่เปลี่ยนสารประกอบไนเตรทให้สลายตัวเป็นก๊าซไนโตรเจนกลับคืนสู่อากาค

4.         Nitrogen-fixing bacteria มีหน้าที่เปลี่ยนก๊าซไนโตรเจนในอากาศให้เป็นสารประกอบไนเตรท ซึ่งเป็นรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้

17. การทำปุ๋ยหมักจากพืชสด จำเป็นต้องอาศัยการทำงานของสิ่งมีชีวิตกลุ่มใด

(1) Carnivore     (2) Decomposer        

(3) Producer      (4) Herbivore

ตอบ 2 หน้า 26234, (คำบรรยาย) กลุ่มผู้ย่อยสลายทำลาย (Decomposer) มีการดำรงชีพแบบ Saprophytism นั่นคือ การกินซากของเสียหรือซากสิ่งมีชีวิตอนพี่ตายแล้ว โดยการผลิตเอนไซม์ ออกมาทำการย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิต ของเสีย ขยะมูลฝอย และกากอาหาร ให้ยุบย่อยสลายตัว กลายเป็นปุ๋ยหมัก อันมีธาตุพื้นฐานที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งสิ่งมีชีวิตในกลุ่มนี้ ได้แก่ เห็ด เชื้อรา และแบคทีเรีย

18.       สัตว์ในกลุ่มใดที่มีชีวิตอยู่เฉพาะในนํ้าเค็ม

(1) หนอนตัวแบน         (2) ฟองนํ้า       (3) หอย           (4) ปลาดาว

ตอบ 4 หน้า 136, (คำบรรยาย) สัตว์กลุ่มหอยเม่น ปลาดาว ปลิงทะเล ทากทะเล (Phylum Echinodermata) มีลักษณะสำคัญ คือ 1. ทุกชนิดเป็นสัตว์ที่มีชีวิตอยู่เฉพาะในนํ้าเค็ม ตลอดชีวิต    2. ผิวเปลือกหุ้มร่างกายเป็นสารประเภทหินปูน       3. ไม่มีแกนลำตัว รวมทั้งไม่มีระบบหมุบเวียนโลหิตและระบบขับถ่ายที่ชัดเจน แต่มีระบบพิเศษทดแทนคือ ระบบท่อนํ้า

19.       ข้อใดจัดเป็นสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ

(1) ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยจากควันรถ          (2) แร่ธาตุในพื้นดิน

(3) อุณหภูมิรอบ ๆ ตัวเรา        (4) พารามีเซียมในน้ำสีย

ตอบ 3 หน้า 79, (คำบรรยาย) สิ่งแวดล้อม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ        1. สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ(Physical Environment) หรือสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต เช่น ดิน นํ้า อากาศ แสงสว่าง อุณหภูมิ ฯลฯ

2.         สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ (Biological Environment) หรือสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต เช่น พืช สัตว์ แบคทีเรีย จุลินทรีย์ ฯลฯ

20.       กระบวนการใดต่อไปนี้ช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศลงได้

(1) การหายใจของพืช  (2) การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืซ

(3) กระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์            (4) กระบวบการเผาไหม้ในเครื่องยนต์

ตอบ 2 หน้า 26 – 2738, (คำบรรยาย) กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช (Photosynthesis) ถือเป็นการปรับตัวเพื่อหลีกเลี่ยงสภาพการขาดแคลนอาหารของสิ่งมีชีวิตแรกเริมที่เป็นบรรพบุรุษของพืช โดยพืชนำเอาพลังงานแสงมาใช้สร้างสารอาหารประเภทนํ้าตาลกลูโคส ด้วยปฏิกิริยาระหว่างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กับนํ้าและเกิดก๊าซออกซิเจนเป็นผลพลอยได้ ซึ่งจากปฏิกิริยาของกระบวนการนี้ จะช่วยทำให้ชั้นบรรยากาศของโลกได้รับก๊าซออกซิเจนมากขึ้นจนเหมาะสมต่อการดำรงชีวิต และยังช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในบรรยากาศที่เป็นสาเหตุของการเกิดปัญหาสภาวะโลกร้อนในปัจจุบันอีกด้วย

21.       แหล่งที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตในนํ้า คือข้อใด

(1) Atmosphere 

(2) Lithosphere        

(3) Terrestrial Habitat 

(4) Marine Habitat

ตอบ 4 หน้า 79, (คำบรรยาย) แหล่งที่อยู่อาศัย (Habitat) ที่ประกอบขึ้นมาเป็นโลก มีอยู่ 2 ส่วน คือ

1.         Hydrosphere คือ แหล่งอาศัยที่เป็นนํ้า ซึ่งแบ่งออกเป็นแหล่งอาศัยที่เป็นนํ้าจืด (Freshwater Habitat), แหล่งอาศัยที่เป็นนํ้าเค็ม (Marine / Oceanic / Maritime Habitat) และแหล่งอาศัย ที่เป็นนํ้ากร่อย (Estuarine Water Habitat) 2. Lithosphere คือ แหล่งอาศัยที่เป็นพื้นผิวดิน หรือแหล่งอาศัยที่เป็นบก (Terrestrial / Land Habitat)

22.       สัตว์น้ำชนิดใดมักอยู่อาศัยตามหาดโคลน

(1)       หอยนางรม      (2) หอยแครง   (3) หอยลาย    (4) ปลาหมึก

ตอบ 2 (คำบรรยาย) หาดโคลน (Mud Flat) มักพบอยู่ใกล้กับบริเวณแม่นํ้าสายใหญ่ เมื่อตะกอนดิน จากแผ่นดินถูกน้ำกัดเซาะละลายไปตามลำคลองหรือแม่นํ้าไหลลงสู่ทะเลแล้วตกตะกอนลง ณ บริเวณปากแม่นํ้าเกิดเป็นลานโคลนหรือเลนขึ้น เวลานํ้าทะเลขึ้นจะถูกท่วมจนมิดลาน เมื่อนํ้าลงจะปรากฏขึ้นเป็นลานกว้าง แต่อาจมีแอ่งนํ้าขังอยู่บ้างเล็กน้อย และด้วยความอุดมสมบูรณ์ ของธาตุอาหารในตะกอนดินที่มีการทับถมกันและระดับน้ำทะเลหรือนํ้ากร่อยที่พอเหมาะ หาดโคลนจะมีพรรณไม้ราบลุ่มป่าชายเลนขึ้นตามธรรมชาติ และพบสัตว์นํ้าที่มักอยู่อาศัย ตามหาดโคลน เช่น หอยแครง เป็นต้น

23.       คุณสมบัติของสิ่งมีชีวิตในลักษณะใดที่ไม่พบในระบบนิเวศแบบทะเลทราย

(1) พืชมีใบเป็นหนามเพื่อลดการคายนํ้า         (2) สัตว์มักออกหากินในเวลากลางคืน

(3) พืชเปิดปากใบตลอดเวลาเพื่อลดอุณหภูมิในใบ    (4) สัตว์มักไม่กินนํ้า

ตอบ 3 หน้า 83 – 84 คุณสมบัติของสิ่งมิชีวิตที่พบในระบบนิเวศแบบทะเลทราย (Desert) มีดังนี้

1.         พืชจะเปลี่ยนแปลงจากใบเป็นหนาม เพื่อทำหน้าที่ป้องกันตัวและลดการสูญเสียน้ำออกจากลำต้น

2.         การเจริญเติบโตเพื่อการขยายพันธุ์ของพืชเป็นไปอย่างรวดเร็ว

3.         สัตว์มักจะไม่กินนํ้า รวมทั้งร่างกายยังปรับตัวในด้านต่าง ๆ เพื่อสงวนนํ้าในตัวไว้

4.         สัตว์มักจะอาศัยอยู่ในโพรงหรือในรู และมักจะออกหากินในเวลากลางคืน ซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่า และมีความชื้นนมากกว่าเวลากลางวัน

24.       Ecology เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับอะไร

(1) ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิต       (2) ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งไม่มีชีวิต

(3) ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับไม่มีชีวิต            (4) ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมทางนํ้ากับทางดิน

ตอบ 3 หน้า 179, (คำบรรยาย) นิเวศวิทยา (Ecology) เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งในทางชีววิทยาแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็น 2 ประเภท คือ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพหรือสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต และสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพหรือ สิ่งแวดล้อมทีมีชีวิต (ดูคำอธิบายข้อ 19. ประกอบ)

25.       บริเวณใดเป็นแหล่งที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดของมหาสมุทร

(1) ก้นมหาสมุทร         (2) ที่ราบชั้นบาดาล     (3) ลาดทวีป    (4) ไหล่ทวีป

ตอบ 4 หน้า 79, (คำบรรยาย) ไหล่ทวีป (Continental Shelf) เป็นแหล่งอาศัยนํ้าเค็มที่มีรูปร่าง คล้ายอ่างหรือกระทะที่ลาดลงจากชายฝั่งทีละน้อย ๆ และเป็นบริเวณที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ อย่างอุดมสมบูรณ์มาก จึงนับว่าเป็นแหล่งอาศัยนํ้าเค็มที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจด้าน การประมง เช่น บริเวณอ่าวไทย เป็นต้น

26.       สิ่งมีชีวิตในข้อดมีการดำรงชีวิตเป็น Benthos

(1) สาหร่ายสีแดง        (2) ปลาหมึก    (3) กุ้ง  (4) ปลาวาฬ

ตอบ 3 หน้า 80, (คำบรรยาย) สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในน้ำ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

1.         แพลงก์ตอน (Plankton) เป็นสิ่งมีชีวิตที่เป็นทั้งพืซและสัตว์ มีขนาดเล็ก อาศัยและหากิน อยู่ในบริเวณใกล้ผิวหน้านํ้า ไม่สามารถว่ายน้ำได้ เช่น สาหร่าย สวะ ผักตบ ไรนํ้าตาล ฯลฯ

2.         เนคตอน (Nekton) เป็นสัตว์ที่ดำรงชีวิตอยู่ในเนื้อนํ้าตํ่าลึกลงไปกว่าผิวนํ้า และสามารถ ว่ายนํ้าได้เองโดยอิสระ เช่น ปลาวาฬ ปลาโลมา ปลาฉลาม ฯลฯ

3.         เบนธอส (Benthos) เป็นสิ่งมีชีวิตที่เป็นทั้งพืซและสัตว์ที่อาศัยอยู่ได้ทั้งในนํ้าจืดและนํ้าเค็ม โดยการเกาะยึดกับวัตถุที่อยู่ในเนื้อนํ้าหรืออยู่บริเวณดินใต้ท้องนํ้า เช่น กุ้ง หอย ปู ฯลฯ

27.       องค์ประกอบหลักของนํ้าทะเลคือธาตุใด

(1)       S         (2) Cl  (3) Na         (4) P

ตอบ 2 (คำบรรยาย) องค์ประกอบหลักของนํ้าเค็ม (นํ้าทะเล) คือ ธาตุคลอริน (Cl ซึ่งเป็นแร่ธาตุ ที่มีลักษณะเป็นเกลือแร่ เรียกว่า หมู่ธาตุคลอไรด์” เช่น เกลือโซเดียมคลอไรด์ โพแทสเซียมคลอไรด์ และแคลเซียมคลอไรด์ เป็นต้น

28.       ประเทศไทยและหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีสภาพป่าที่จัดอยู่ในเขตใด

(1)       เขตทุ่งหญ้า     (2) เขตดิบชื้น  (3) เขตทุนดรา (4) เขตป่าสน

ตอบ 2 หน้า 82 – 83. (คำบรรยาย) เขตป่าดงดิบ ป่าดิบชื้น ป่าร้อนชื้น หรือป่าฝนเขตร้อน(Tropical Rain Forest) เป็นบริเวณที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรของโลก มีความชื้นสูง มีปริมาณ นํ้าฝนมากที่สุดโดยเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 80 – 90 นิ้ว มีต้นไม้ขนาดสูงใหญ่จำนวนมาก และเป็นบริเวณที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างหนาแน่น ซึ่งเขตภูมิประเทศแบบนี้จะพบมาก ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (เช่น ประเทศไทย) เอเชียใต้ แอฟริกากลาง อเมริกากลาง และอเมริกาใต้

29.       นักวิทยาคาสตร์ผู้เสนอให้มีการตั้งชื่อสิ่งมีชีวิตเป็นแบบ Binomial Nomenclature คือ

(1) Aristotle       (2) Linnaeus      (3) Pasteur         (4) Miller

ตอบ 2 หน้า 92 Carolus Linnaeus เป็นผู้เสนอให้มีระบบการตั้งชื่อสกุลและชื่อชนิดของสิ่งมีชีวิต แบบ Binomial Nomenclature ซึ่งเรียกว่า ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific Name) โดยกำหนดว่า สิ่งมีชีวิตใดที่มีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกับมากก็ให้ใช้ชื่อเดียวกัน และต้องมีชื่อขนิดของสิ่งมีชีวิต กำกับไว้ด้วย จึงทำให้ชื่อของสิ่งมีชีวิตประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ชื่อสกุล และชื่อขนิด

30.       ข้อใดเขียนชื่อของพืช จำปา ตามหลักการเขียนชื่อวิทยาศาสตร์ ได้ถูกต้อง

(1) Michelia champaca     (2) Michelia chompoco

(3) Michelia Champaca    (4) michelia champaca

ตอบ 2 หน้า 92 – 93 ในการเขียนชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific Name) ให้ขึ้นต้นชื่อสกุลด้วยตัวพิมพใหญ่ หรือตัวเขียนใหญ่ นอกจากนั้นใช้อักษรตัวเล็กทั้งหมด และมักจะถูกพิมพ์ด้วยตัวเอน เช่น ชื่อวิทยาศาสตร์ของจำปา คือ Michelia champaca, ชื่อวิทยาศาสตร์ของคน คือ Homo sapiens เป็นต้น

31.       ตามหลักการจัดหมวดหมู่สิ่งมีชีวิต อะมีบา (Amoeba) จัดเป็นสิ่งมีชีวิตพวกใด

(1) สัตว์ชั้นตํ่าขนาดเล็ก           

(2) โปรโตซัว

(3) ไลเคน        

(4) ฟังไจ

ตอบ 2 หน้า 106 อะมีบา (Amoeba) จัดเป็นสิ่งมีชีวิตพวกโปรโตซัว (Phylum Sarcodina)ที่มีการเคลื่อนที่แบบ Amoeboid Movement ซึ่งเป็นการเคลื่อนที่โดยการไหลของ โปรโตพลาสด์ซึ่งจะยื่นเป็นกิ่งหรือขาเทียมออกไปใบทิศทางที่ต้องการ

32.       แบคทีเรียที่มีรูปร่างกลม ควรมีชื่อเรียกว่า

(1) Coccus (2)Bacillus          (3)Spirillum       (4)Rod shape

ตอบ 1 หน้า 94 – 95 แบคทีเรีย (Bacteria) มีเซลล์ที่มีขนาดเล็กมากและมีรูปร่างหลายแบบ โดยแบบที่สำคัญ คือ            1. Coccus เป็นแบคทีเรียที่มีรูปร่างกลม

2.         Bacillus เป็นแบคทีเรียที่มีรูปร่างเป็นท่อนทรงกระบอก

3.         Spirillum เป็นแบคทีเรียที่มีรูปร่างเป็นแท่งยาวโค้ง

33.       ข้อใดคือลักษณะของสิ่งมีชีวิต กลุ่มแอลจี (Algae)

(1) ไม่สร้างนิวเคลียส  (2)       เซลล์เป็นเส้นใย           (3) มีสารคลอโรฟิลล์   (4)       มีท่อลำเลียงนํ้า

ตอบ 3 หน้า 98 แอลจึ (Algae) เป็นโปรติสต์ที่มีลักษณะคล้ายพืซ (Plant-like protist) ทั้งนี้เพราะ ภายในเซลล์มีสารคลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) รวมกันอยู่เป็นก้อนเรียกว่า คลอโรพลาสต์ (Chloroplas) ซึ่งมีความสามารถสร้างอาหารได้โดยวิธีการสังเคราะห์ด้วยแสง โดยโปรติสต์ พวกแอลจีนี้พบทั้งในน้ำทะเล นํ้าจืด และในที่ที่มีความชื้นสูงทั่วไป

34.       ข้อใดคือลักษณะของสิ่งมีชีวิตพวกฟังไจ (Fungi)

(1) อยู่รวมกันเป็นเส้นใย         (2)       เซลล์ไม่มีนิวเคลียส     (3) มีสารคลอโรฟิลล์   (4)       ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 102 – 103, (คำบรรยาย) ฟังไจ (Fungi) เป็นโปรติสต์ใน Phylum Eumycophytaอาจมีเพียงเซลล์เดียวหรืออยู่รวมกันเป็นเส้นใยเรียกว่า ไฮฟา (Hypha) ภายในเซลล์จะมีนิวเคลียส แต่จะไม่มีสารคลอโรฟิลล์ จึงไม่อาจสร้างอาหารโดยวิธีการสังเคราะห์ด้วยแสงได้ต้องใช้อาหาร จากแหล่งอื่น โดยการดำรงชีวิตมีทั้งแบบที่หากินอย่างอิสระและแบบที่เป็นปรสิตอาศัยอยู่ได้ทั่วไป เช่น ราดำที่ขึ้นบนขนมปัง เห็ดชนิดต่าง ๆ (เช่น เห็ดนางฟ้า เห็ดฟาง) เป็นต้น

35.       ปรากฏการณ์ ‘‘Red Tide” ทำให้ระบบนิเวศทางนํ้าเสียสมดุล เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในนํ้า เกิดจากสาเหตุใด

(1)       โรงงานย้อมผ้าปล่อยสีออกมา

(2)       การขยายพันธุของโปรโตซัว (Protozoa) อย่างรวดเร็ว

(3)       การขยายพันธุ์ของแอลจีสีแดง (Red Algae) อย่างรวดเร็ว

(4)       การขยายพันธุของแอลจีไดโนแฟลกเจลเลท (Dinoflagellate) อย่างรวเร็ว

ตอบ 4 หน้า 100 แอลจีไดโนแฟลกเจลเลท (Dinoflagellate Algae) เป็นแอลจีที่ภายในเซลล์มีสารสีส้มแดงปนอยู่ อาศัยอยู่ทั้งในนํ้าจืดและนํ้าเค็ม โดยบางชนิดสามารถขยายพันธุ์ด้วยการ แบ่งเซลล์อย่างรวดเร็วและปล่อยสารพิษจากตัวออกสู่นํ้า ทำให้น้ำเปลี่ยนเป็นสีแดงและมิพีษ ทำให้ระบบนิเวศทางนํ้าเสียสมดุล เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในนํ้าเป็นอย่างมาก ซึ่งปรากฏการณ์ เช่นนี้เรียกว่า “Red Tide”

36.       สัตว์ในข้อใดที่มีวิวัฒนาการล้าหลังที่สุด

(1) ปลาดาว     (2) ฟองนํ้า       (3) พยาธิไส้เดือน        (4) พยาธิใบไม้

ตอบ 2 หน้า 129 – 131, (คำบรรยาย) สัตว์ทีมีวิวัฒนาการล้าหลังที่สุด คือ ฟองนํ้า (Phylum Porifera) รองลงมาได้แก่ ไฮดรา กะพรุน และปะการัง (Phylum Coelenterata)

37.       สัตว์ต่อไปนี้ แบ่งออกได้เป็นกี่ไฟลัม (Phylum) ปะการังพยาธิไส้เดือนปลาหมึกยักษ์ปลานิล,ปูทะเลปลาฉลาม

(1) 1ไฟลัม       (2) 3ไฟลัม       (3) 5ไฟลัม       (4) 6ไฟลัม

ตอบ 3 หน้า 130 – 131133 – 134136 – 138, (คำบรรยาย) จากตัวอย่างสัตว์ตามโจทย์นั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ไฟลัม (Phylum) คือ

1.         Phylum Coelenterata ได้แก่ ไฮดรา กะพรุน และปะการัง

2.         Phylum Nematoda ได้แก่ หนอนตัวกลม เช่น พยาธิไส้เดือน เป็นต้น

3.         Phylum Mollusca ได้แก่ หอยฝาเดียว หอยสองฝา ปลาหมึก ปลาหมึกยักษ์ เป็นต้น

4.         Phylum Arthropoda ได้แก่ กุ้ง ปูทะเล ปู ตะขาบ แมงมุม แมงดาทะเล เป็นต้น

5.         Phylum Chordata ได้แก่ ปลานิล ปลาฉลาม ปลาวาฬ งูดิน สัตว์ปีก (เช่น นก) มนุษย์ เป็นต้น

38.       สัตว์ในข้อใดอยู่ในไฟลัม อาร์โทรโปดา (Arthropoda)

(1)       แมงมุมกับหอยแครง   (2) ปลาดาวกับหอยเม่น (3) ตะขาบกับปู       (4) กุ้งกับปลาฉลาม

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 37. ประกอบ

39.       ข้อใดเป็นลักษณะพิเศษของไฟลัม คอร์ดาตา (Chordata)

(1) มีสารไคติน (Chitin) เป็นโครงร่าง         (2) มีโครงร่างแข็งแรงป็นสารหินปูน

(3) มีระบบประสาทเจริญดีมาก          (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 136 – 137 กลุ่มสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง (Phylum Chordata) มีลักษณะพิเศษเฉพาะ คือ

1.         ในระยะที่เป็นตัวอ่อน (Embryo) จะมีกลุ่มเซลล์ประกอบกับขึ้นเป็นแท่งทอดตามแนวสันหลัง เรียกแท่งนี้ว่า Notochord

2.         มีร่อง Gill อยู่ทางด้านหัว ในระยะที่ยังเป็นตัวอ่อนทำหน้าที่สำคัญเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนก๊าซ

3.         มีระบบประสาทเจริญดีมาก เส้นไขประสาททอดอยู่ตามแนวส้นหลังเหนือ Notochord

40.       มนุษย์จัดเป็นสัตว์ที่อยู่ใน Phylum เดียวกับสัตว์ชนิดใด

(1) ปลาฉลาม  (2) ปลาวาฬ    (3) นก (4) ทุกข้อที่กล่าวมา

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 37. ประกอบ

41.       พืชขนิดใดจัดอยู่ใน Division Bryophyta

(1) หวายทะนอย         

(2) หญ้าถอดปล้อง     

(3)       มอสส?            

(4)       เฟิร์น

ตอบ 3 หน้า 108 – 110, (คำบรรยาย) พืชในดิวิชันไบรโอไฟตา (Division Bryophyta) เป็นพืชที่มีขนาดเล็ก แต่ยังไม่มีเนื้อเยื่อลำเลียงนํ้าและอาหาร รวมทั้งไม่มีราก ลำต้น และใบที่แท้จริง และมักจะขึ้นอยู่ในบริเวณที่มีความชื้นสูงและอากาศเย็น จึงนับว่าเป็นพืช ที่มีวิวัฒนาการล้าหลังที่สุด ซึ่งพืชในดิวิชั่นนี้แบ่งออกเป็น 2 คลาส ได้แก่

1.         คลาสเฮพาทิชี (Class Hepaticae) เรียกว่า ลิเวอร์เวิร์ต (Live;rwort) เป็นพืชที่มีลักษณะ เป็นแผ่นแบบบางสีเขียว

2.         คลาสมอสไซ (Class Musci) เรียกว่า มอสส์ (Moss) เป็นพืชที่มีลักษณะเล็ก ขึ้นรวมกัน อยู่อย่างหนาแน่นจนมีลักษณะคล้ายพรมกำมะหยี่

42.       พืชชนิดใดจัดอยู่ใน Subdivision Psilopsida

(1) หวายทะนอย         (2) หญ้าถอดปล้อง     (3)       มอสส์  (4)       เพิร์น

ตอบ 1 หน้า 111 – 112 พืชในดิวิชั่นย่อยไซลอพซิดา (Subdivision Fsilopsida) จะมีระบบท่อ ลำเลียงอยู่เฉพาะในสวนของลำต้นเท่านั้น มีอวัยวะที่ใช้ยึดเกาะและดูดน้ำเรียกว่า Rhizoid รวมทั้งพืชเหล่านี้ยังไม่มีใบแผ่เป็นแผ่นกว้าง แต่มีลักษณะเป็นแผ่นเกล็ดเล็กและบางติดอยู่ตามลำต้นเป็นระยะ ๆ มีการแตกกิ่งของลำต้นเป็นแบบ Dichotomous Branching และมี เซลล์สืบพันธุ์เป็นเม็ดกลมเรียกว่า สปอร์ (Spore) ซึ่งพืชที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ หวายทะนอย (Psilotum) และ Tmesipteris

43.       พืชชนิดใดจัดอยู่ใน Subdivision Sphenopsida

(1) หวายทะนอย         (2) หญ้าถอดปล้อง     (3) มอสส์         (4) เฟิร์น

ตอบ 2 หน้า 113 พืชในดิวิชั่นย่อยสฟินอพซิดา (Subdivision Sphencpsida) จะมีลักษณะคล้าย ต้นหญ้า มีข้อและปล้องชัดเจน ลำต้นมีทั้งส่วนที่อยู่บนดินและใต้ดิน ส่วนที่อยู่บนดินนั้นมีสีเขียว และภายในกลวง ผิวของลำต้นเป็นร่องยาวคล้ายลูกฟูก ผิวลำต้นหยาบเพราะมีสารพวกซิลิกา ประกอบอยู่ และใบมีลักษณะเป็นแผ่นเล็ก ๆ เกิดขึ้นเป็นวงรอบข้อ ซึ่งพืซที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ หญ้าถอดปล้องหรือสนหางม้า (Horsetail)

44.       ต้นสามร้อยยอด จัดอยู่ใน Subdivision ใด

(1)       ดิวิชั่นย่อยไซลอพซิดา (Subdivision Psilopsida)

(2)       ดิวิชั่นย่อยสฟินอพซิดา (Subdivision Sphenopsida)

(3)       ดิวิชั่นย่อยเทอรอพซิดา (Subdivision Pteropsida)

(4)       ดิวิชั่นย่อยไลคอพซิดา (Subdivision Lycopsida)

ตอบ 4 หน้า 112 – 113 พืชในดิวิขันย่อยไลคอพซิดา (Subdivision Lycopsida) มีชื่อสามัญว่า Club Moss เป็นพืซที่ขึ้นรวมอยู่ด้วยกันเป็นกลุ่ม มีใบเป็นแผ่นเล็ก ๆ ขึ้นรอบลำต้น ลำต้นมี ทั้งส่วนที่อยู่ใต้ดินและส่วนเหนือระดับดิน ตอนปลายสุดของกิ่งที่อยู่พ้นระดับดินจะมีลักษณะ เป็นข้ออัดแน่นเป็นรูปกรวยเรียกว่า Cone หรือ Strobilus เป็นแหล่งร้างสปอร์เพื่อการขยายพันธุ์ และมีท่อลำเลียงทั้งในราก ลำต้น และใบ ซึ่งพืชที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ต้นสามร้อยยอด (Lycopodium) หญ้ารังไก่ ช้องนางคลี่ สร้อยนางกรอง และสร้อยสุกรม

45.       พืชชนิดใดใบมีลักษณะเป็นแผ่นเล็ก ๆ เกิดขึ้นเป็นวงรอบข้อ

(1) หวายทะนอย         (2) หญ้าถอดปล้อง     (3) มอสส์         (4) เฟิร์น

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 43. ประกอบ

46.       พืชชนิดใดมีเมล็ดแต่ไม่มีผนังห่อหุ้ม

(1) ปรง            (2) เฟิร์นก้านดำ           (3) จอกหูหนู    (4) สามร้อยยอด

ตอบ 1 หน้า 111115 – 116, (คำบรรยาย) พืชมีเมล็ดใน Division Tracheophyta

แบ่งออกเป็น 2 พวก คือ          1. พืชมีเมล็ดแต่เมล็ดไม่มีผนังห่อหุ้ม หรือพืชไม่มีดอก(Class Gymnospermae) ได้แก่ ปรง สนแท้ แปะก๊วย และเครือมะเมื่อย 2. พืชมีเมล็ดและเมล็ดมีผนังห่อหุ้ม หรือพืชดอก (Class Angiospermae) ได้แก่ ข้าว กุหลาบ พริก มะเขือ เป็นต้น ซึ่งพืชใน Class นี้นับว่าเป็นพืชที่มีวิวัฒนาการสูงสุด และมีจำนวนมากที่สุดในยุคปัจจุบัน

47.       พืชใน Class ใด มีวิวัฒนาการสูงสุด

(1) คลาสแองจิโอสเปอร์มี (Class Angiospermae) (2) คลาสฟิลิซินี (Class Filicinae)

(3) คลาสเฮพาทิชี (Class Hepaticae) (4) คลาสจิมโนสเปอร์มี (Class Gymnospermae)

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 46. ประกอบ

48.       เป็นพืชที่มีขนาดเล็ก ขึ้นรวมกันหนาแน่นจนลักษณะคล้ายพรมกำมะหยี่จัดอยู่ใน Class ใด

(1) คลาสเฮพาทิชี (Class Hepaticae) (2) คลาสแองจิโอสเปอร์มี (Class Angiospermae)

(3) คลาสมอสไซ (Class Musci) (4) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 41. ประกอบ

49.       Liverwort จัดอยู่ใน Class ใด

(1) คลาสเฮพาทีชี (Class Hepaticae) (2) คลาสฟิลิซินี (Class Filicinae)

(3) คลาสมอสไซ (Class Musci) (4) คลาสแองจิโอสเปอร์มี (Class Angiospermae)

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 41. ประกอบ

50.       พืชชนิดใดจัดอยู่ใน Subclass Dicotyledoneae

(1) ปาล์ม         (2) ข้าว            (3) อ้อย           (4) มะลิ

ตอบ 4 หน้า 116 – 117, (คำบรรยาย) คลาสแองจิโอสเปอร์มี (Class Angiospermae) แบ่งออก เป็น 2 Subclass คือ 1. Subclass Monocotyledoneae คือ พืชใบเลี้ยงเดี่ยว เช่น ข้าว หญ้า ตะไคร้ไผ่ กล้วย ปาล์ม อ้อย มะพร้าว ฯลฯ 2. Subclass Dicotyledoneae คือ พืชใบเลี้ยงคู่ เช่น กุหลาบ มะลิ ทานตะวัน ถั่ว พริก มะเขือ เงาะ ทุเรียน ฯลฯ

51.       Complete Flower หมายถึง

(1) ดอกที่มีแต่เกสรตัวผู้          

(2) ดอกที่มีแต่เกสรตัวเมีย

(3) ดอกที่มีอวัยวะไม่ครบ        

(4) ดอกที่มีอวัยวะครบ

ตอบ 4 หน้า 125 – 126 Complete Flower หมายถึง ดอกที่มีอวัยวะครบทุกวงชั้น คือชั้นของกลีบดอกวงนอกสุด (Calyx), วงชั้นของกลีบดอก (Corolla), วงชั้นของเกสรตัวผู้ (Androecium) และวงชั้นของเกสรตัวเมีย (Gynaecium) ทั้งนี้ในดอกบางชนิดยังมีอีกวงหนึ่งนอกCalyx ออกมา เรียกว่า Epicalyx เช่น ดอกชบา

52.       Pollination หมายถึง

(1) การถ่ายละอองเกสร (2) การติดเมล็ด       (3) การปฏิสนธิ           (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 127 การถ่ายละอองเกสร (Pollination) หมายถึง ปรากฏการณ์ที่ละอองเกสรตัวผู้ ปลิวไปตกบนยอดเกสรตัวเมีย ถ้าเกิดในดอกเดียวกับเรียกว่า Self-Pollination หรือ Close-Pollination แต่ถ้าเกิดต่างดอกกันเรียกว่า Cross Pollination ซึ่งการถ่าย ละอองเกสรนี้จะส่งผลทำให้เกิดการผสมเกสร (Fertilization) ขึ้นในที่สุด

53.       ใบพืชชนิดใดที่มีการเปลี่ยนรูปร่างไปเพื่อทำหน้าที่ในการดักจับแมลง

(1) หยาดน้ำค้าง          (2) ว่านหางจรเข้          (3) กระบองเพขร         (4) ถั่วลันเตา

ตอบ 1 หน้า 122 – 123 ใบของพืชมีหน้าที่หลัก 3 ประการ คือ การสร้างอาหาร การหายใจ และ การคายน้ำ นอกจากนี้แล้วใบของพืชบางชนิดยังอาจเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปทำหน้าที่อย่างอื่น ซึ่งอาจเรียกว่าเป็นหน้าที่รอง หรือพืชบางชนิดอาจทำหน้าที่หลักและหน้าที่รองไปพร้อมๆ กัน หรือทำหน้าที่เดียวอยางใดอย่างหนึ่ง เช่น ทำหน้าที่แพร่และขยยพันธุ์ ได้แก่ ต้นตายใบเป็น โคมญี่ปุ่น หรือเปลี่ยนแปลงไปเป็นอวัยวะจับสัตว์พวกแมลงตัวเล็ก ๆ ได้แก่ นํ้าเต้าฤาษี กาบหอยแครง หยาดนํ้าค้าง เป็นต้น

54.       สถานะของสารชนิดใดที่มีการแพร่กระจายสูงสุด

(1) ของแข็ง     (2) ของเหลว    (3) ก๊าซ            (4) สารแขวนลอย

ตอบ 3 หน้า 32 อัตราเร็วของการแพร่กระจายมีมากน้อยแตกต่างกันตามสถานะของสาร กล่าวคือ สารที่มีสถานะเป็นก๊าซจะมีอัตราเร็วของการแพร่กระจายสูงสุด สารที่มีสถานะเป็นของเหลว จะมีอัตราเร็วรองลงมา และสารที่มีสถานะเป็นของแข็งจะมีอัตราเร็วตํ่าสุด

55.       เยื่อชนิดใดที่ยอมให้สารทุกชนิดผ่านได้

(1) Permeable Membrane         (2) Impermeable Membrane

(3)       Semipermeable Membrane    (4) Differentially Permeable Membrane

ตอบ 1 หน้า 33 เยื่อบาง (Membrane) แบ่งตามคุณสมบัติการยอมให้ซึมผ่านออกเป็น 3 แบบ คือ

1.         impermeable Membrane เป็นเยื่อที่ไม่ยอมให้สารใด ๆ ผ่นได้เลย

2.         Semipermeable Membrane/Differentially Permeable Membrane/Selectively Permeable Membrane เป็นเยื่อที่ยอมให้สารเพียงบางชนิดผ่านได้

3.         Permeable Membrane เป็นเยื่อที่ยอมให้สารทุกชนิดผ่านได้

56.       Isotonic Solution หมายถึงอะไร

(1) สารละลายที่มีความเข้มข้นน้อยกว่า          (2) สารละลายที่มีความเข้มข้นสูงกว่า

(3) สารละลายที่มีความเข้มข้นเท่ากัน (4) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 33 ศัพท์วิชาการที่เกี่ยวข้องกับความเข้มข้นของสารละลาย ได้แก่ 1. Hypertonic Solution หมายถึง สารละลายที่มีความเข้มข้นสูงกว่า หรือมีปริมาณของสารมากกว่าปริมาณของนํ้า

2.         Hypotonic Solution หมายถึง สารละลายที่มีความเข้มข้นน้อยกว่า หรือมีปริมาณของสาร น้อยกว่าปริมาณของนํ้า 3. Isotonic Solution หมายถึง สารละลายที่มีความเข้มข้นเท่ากัน

57.       ข้อใดจัดเป็นคาร์ใบไฮเดรตที่มีโมเลกุลใหญ่มาก

(1) นํ้าตาลมอลโทส     (2) เด็กซทริน   (3) นํ้าตาลกาแล็กโทส (4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 3

ตอบ 2 หน้า 37 – 39, (คำบรรยาย) สารประกอบคาร์โบไฮเดรต แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1.         Monosaccharide หรือ Simple Sugar เป็นคาร์โบไฮเดรตท์มีโมเลกุลเล็กมาก หรือ ที่เรียกว่านํ้าตาลเชิงเดี่ยว ได้แก่ นํ้าตาลกลูโคส น้ำตาล,ฟรุคโตส นํ้าตาลกาแล็กโทส

2.         Disaccharide หรือ Double Sugar เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลคู่ หรือที่เรืยกว่า นํ้าตาลเชิงประกอบ ได้แก่ นํ้าตาลทราย นํ้าตาลมอลโทส นํ้าตาลแล็กโทส

3.         Polysaccharide เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลใหญ่มาก ได้แก่ แป้งไกลโคเจนในสัตว์ เซลลูโลส เด็กซทริน ไคติน

58.       ข้อใดจัดเป็นไลปิดเชิงเดี่ยว

(1) ไกลโคไลปิด           (2) สเตอรอยด์ (3) นํ้ามัน         (4) ฟอสโฟไลปิดในไข่แดง

ตอบ 3 หน้า 39 – 40 ไลปิดแบ่งตามลักษณะสารที่มาประกอบได้เป็น 3 ประเภท คือ

1. ไลปิดเชิงเดี่ยว (Simple Lipid /True Fats) ได้แก่ ไขหรือมัน (Fats), นํ้ามัน (Oil)และสารพวกขี้ผึ้ง (Wax) 2. ไลปิดเชิงประกอบ (Compound Lipid) ได้แก่ ฟอสโพไลปิด ในไข่แดงและในสมอง ไกลโคไลปิด และไลโปโปรตีน 3. อนุพันธ์ของไลปิด (Lipid Derivative) ได้แก่ กรดไขมัน (Fatty Acid), สเตอรอล (Sterol) และ สเตอรอยด์ (Steroid) เป็นต้น

59.       Desoxyribose Nucleic Acid มีหน้าที่อะไร

(1)       สร้างโปรตีน

(2)       สร้างนํ้าย่อยหรือเอนไซม์

(3)       ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากบรรพบุรุษไปยังลูกหลาน

(4)       ส่งเสริมและควบคุมการเจริญเติบโต

ตอบ 3 หน้า 43, (คำบรรยาย) DNA (Desoxyribose Nucleic Acid) หรือ Gene เป็นสารพันธุกรรม ซึ่งมีหน้าที่สำคัญ 2 ประการ คือ

1.         กำหนดลักษณะเฉพาะต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดหรือแต่ละหน่วยให้เป็นไปตามเผ่าพันธุของตน และสามารถถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมนั้นจากบรรพบุรุษไปสู่ลูกหลานได้

2.         ควบคุมกิจกรรมทุกประเภทที่เกิดขึ้นภายในเซลล์

60.       วิตามินชนิดใดละลายได้ในนํ้า

(1) A  (2) D  (3) C  (4) K

ตอบ 3 หน้า 44 วิตามินแบ่งตามคุณสมบัติการละลายได้เป็น 2 ประเภท คือ

1.         วิตามินที่ละลายในน้ำ ได้แก่ วิตามิน และ วิตามิน C

2.         วิตามินที่ละลายในนํ้ามัน ได้แก่ วิตามิน A, D, E และ K

61.       วิตามินในข้อใดที่ช่วยทำให้โลหิตแข็งตัว

(1) A  

(2) E  

(3) K  

(4) C

ตอบ 3 หน้า 46, (คำบรรยาย) วิตามิน เป็นวิตามินที่มีบทบาทหน้าที่สำคัญเกี่ยวข้องกับคุณภาพ ของเลือด (โลหิต) ก็คือ ทำให้นํ้าเลือดข้นเหนียวจนเกิดการไหลของเลือดช้าลง และทำให้เลือด แข็งตัวปิดปากแผลเพื่อป้องกันเลือดไหลออกมาภายนอกร่างกาย ซึ่งถ้าร่างกายขาดวิตามินนี้ จะทำให้เลือดแข็งตัวช้า เสียเลือดมาก หรือเลือดไหลหยุดช้าเมื่อเกิดบาดแผล

62.       ออร์แกเนลล์ในข้อใด ได้ชื่อว่าเป็นโรงผลิตไฟฟ้าของเซลล์

(1) ไลโซโซม (Lysosome)          (2) แวคิวโอล (Vacuoles)

(3) ไมโทคอนเดรีย (Mitochondria)    (4) พลาสติด (Plasticis)

ตอบ 3 หน้า 52, (คำบรรยาย) ไมโทคอนเดรีย (Mitochondria) เป็นออร์แกเนลล์ที่มีหน้าที่เป็น ที่เกิดกระบวนการหายใจระดับเซลล์ จึงเป็นแหล่งสร้างพลังงานในรูป ATP จนได้ชื่อว่าเป็น โรงผลิตไฟฟ้าของเซลล์” (Powerhouse of Cell) โดยเซลล์ที่มีกระบวนการทำงานสูง และต้องการพลังงานจะมีไมโทคอนเดรียมาก เช่น เซลล์ตับ เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ เซลล์ไข่หอยเม่นทะเล เป็นต้น

63.       ออร์แกเนลล์ในข้อใด ที่มีบทบาทในการสังเคราะห์แสง

(1) ไลโซโซม (Lysosome)          (2) แวคิวโอล (Vacuoles)

(3) ไมโทคอนเดรีย (Mitochondria)    (4) พลาสติด (Plasticis)

ตอบ 4 หน้า 53, (คำบรรยาย) พลาสติด (Plastids) เป็นออร์แกเนลล์ที่มีลักษณะเป็นเม็ดสาร และภายในมีสารที่ทำให้เกิดสีบรรจุอยู่ โดยเม็ดสารสีเขียวที่บรรจุอยู่ในคลอโรพลาสติด หรือคลอโรพลาสต์นั้นจะเรียกว่า คลอโรฟิลล์” ซึ่งเป็นสารที่มีบทบาทสำคัญ ในการสังเคราะห์แสงของพืช

64.       การหายใจภายใน (Internal Respiration) เป็นการแลกเปลี่ยนก๊าซระหว่าง

(1)       เม็ดเลือดแดงกับถุงลมในปอด            (2) เม็ดเลือดแดงกับเซลล์

(3) เม็ดเลือดแดงกับเม็ดเลือดขาว       (4) การถ่ายเทก๊าซในตัวเซลล์

ตอบ 2 หน้า 157 – 158, (คำบรรยาย) การหายใจหรือการแลกเปลี่ยนอาาศ แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ

1.         การแลกเปลี่ยนอากาศภายนอก (External Respiration) เป็นการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ระหว่างอากาศภายนอกกับถุงลมในปอด โดยอาศัยกลไกของการสูดลมหายใจเข้าออกทางจมูก

2.         การแลกเปลี่ยนอากาศภายใน (Internal Respiration) เป็นกรแลกเปลี่ยนก๊าซระหว่าง เม็ดเลือดแดงในหลอดเลือดฝอยกับเซลล์ในร่างกาย ซึ่งการหายใจทั้ง 2 ตอนนี้จะเกิดขึ้น โดยกระบวนการแพร่กระจาย (Diffusion)

65.       เมื่อรับประทานอาหาร อาหารชนิดใดจะถูกย่อยเป็นอันดับแรก

(1) ไก่ทอด       (2) ไข่ดาว        (3) ขนมปัง      (4) เนย

ตอบ3 หน้า 149 เมื่อคนรับประทานอาหารโดยการเคี้ยว อาหารพวกคาร์โบไฮเดรตประเภทแป้ง (เช่น ขนมปัง มันเทศ ข้าว ฯลฯ) บางส่วนจะถูกย่อยเป็นอันดับแรกในช่องปาก โดยเอนไซม์ อะไมเลส (Amylase) หรือไทยาลิน (Ptyalin) ที่อยู่ในนํ้าลาย

66.       หลอดเลือดที่นำเลือดไปสู่หัวใจ เรียกว่า

(1) หลอดเลือดฝอย     (2) หลอดเลือดดำ        (3) Capillary       (4) Vein

ตอบ 4 หน้า 152, (คำบรรยาย) หลอดเลือดที่มาติดต่อกับหัวใจมี 2 ประเภท คือ

1.         หลอดเลือดเวน (Vein) ทำหน้าที่นำเลือดที่ผ่านการใช้งานแล้วจากอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย กลับเข้าสู่หัวใจ โดยจะมีลักษณะเป็นสีเขียวอมนํ้าเงิน ซึ่งแพทย์จะทำการดูดเลือดจาก หลอดเลือดเวนนี้เพื่อนำไปตรวจหรือหาข้อมูลทางการแพทย์ ทั้งนี้เพราะมองเห็นได้ง่าย

2.         หลอดเลือดอาร์เทอรี (Artery) ทำหน้าที่นำเลือดออกจากหัวใจไปส่งตามอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย

67.       การบีบหดตัวของกล้ามเนื้อท่อทางเดินอาหาร เป็นไปโดยวิธี

(1) Homeostasis         (2) Peristalsis    (3) Epistasis       (4) Plasmolysis

ตอน 2 หน้า 149, (คำบรรยาย) เพอริลตาลซิส (Peristalsis) คือ การบีบหดตัวและคลายตัวเป็นจังหวะ แบบลูกคลื่นติดต่อกันเป็นระลอกของกล้ามเนื้อเรียบที่ผนังท่อทางเดินอาหาร ทำให้อาหารที่ เคี้ยวแล้วกลืนเข้าไปเกิดการเคลื่อนไหลไปตามอวัยวะต่าง ๆ ตั้งแต่จากปากจนถึงทวารหนัก

68.       เลือดที่ผ่านการฟอกจากปอดแล้ว จะกลับเข้าสู่หัวใจส่วนใด

(1) ซีกบนซ้าย ขวา      (2) ซีกลางขวา ซ้าย     (3) ฟากซ้ายบน ล่าง    (4) ฟากขวาบน ล่าง

ตอบ 3 (คำบรรยาย) หัวใจของคนมี 4 ห้อง แบ่งเป็น 2 ฟาก คือ          1. ห้องฟากขวา 2 ห้อง(ฟากขวาบนและล่าง) ทำหน้าที่รับและส่งเลือดที่ผ่านการใช้งานจากร่างกายมาแล้ว โดย ห้องขวาบนจะรับเลือดใช้แล้วจากร่างกาย ส่วนห้องขวาล่างจะส่งเลือดเสียไปฟอกที่ปอด 2. ห้องฟากซ้าย 2 ห้อง (ฟากซ้ายบนและล่าง) ทำหน้าที่รับและส่งเลือดดีออกไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยห้องซ้ายบนจะรับเลือดดีที่ผ่านการฟอกจากปอดแล้ว ส่วนห้องซ้ายล่าง จะส่งเลือดดีไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

69.       น้ำตาลเปลี่ยนเป็นแป้งแล้วเก็บสะสมไว้ในตับ แป้งนั้น เรียกว่า

(1) Starch  (2) Glycogen      (3) Collagen       (4) Histogen

ตอบ 2 หน้า 153, (ตำบรรยาย) คาร์โบไฮเดรตทุกชนิดจะถูกเปลี่ยนรูปไปเป็นนํ้าตาลกลูโคส โดย ในภาวะปกติตับจะทำหน้าที่เปลี่ยนสภาพนํ้าตาลกลูโคสให้เป็นแป้งไกลโคเจน (Glycogen) และเก็บสะสมไว้ในตับ เมื่อร่างกายขาดนํ้าตาลกลูโคสก็สามารถดึงเอาน้ำตาลกลูโคสจากตับ มาใช้งานได้ โดยเปลี่ยนไกลโคเจนกลับไปเป็นกลูโคส แต่ถ้าร่างกายมีปริมาณของนั้าตาลกลูโคส อยู่มากจนเกินความจำเป็นที่ต้องใช้ กลูโคสเหล่านี้จะถูกเปลี่ยนโครงสร้างให้ไปเป็นไขมัน เก็บสะสมไว้ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

70.       นํ้าดี (Bile) จากถุงนํ้าดี มีบทบาท

(1) ย่อยไขมัน  (2) แยกไขมันออกจากน้ำดี

(3) ทำให้ไขมันแยกตัวจากกัน (4) ช่วยการดูดซึมไขมัน

ตอบ 3 หน้า 149, (ตำบรรยาย) นํ้าดี (Bile) ที่ถูกสร้างจากถุงนํ้าดีที่ตับมีคุณสมบัติ ดังนี้

1.         นํ้าดีไม่ถือว่าเป็นเอนไซม์ แต่จะมีหน้าที่หลักในการช่วยทำให้ไลปิดหรือไขมันแยกตัว ออกจากกัน เพื่อสะดวกแก่การย่อยของเอนไซม์ไลเปส

2. เป็นสาารสีเหลืองเข้ม มักมีรสขม

3.         ย้อมกากอาหารที่อยู่ในลำไส้ใหญ่ให้มีสีเหลือง

71.       การดำรงชีพแบบใดที่เซลล์ผลิตอาหารได้เอง

(1) Chemosynthesis 

(2) Parasitism 

(3) Saprophytism 

(4) Eating

ตอบ 1 (คำบรรยาย) วิธีการสร้างอาหารของสิ่งมีชีวิต แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

1.         Autotrophic Nutrition เป็นแบบการสร้างอาหารขึ้นได้เองจากอนินทรียสารของสิ่งมีชีวิต พวกออโตทรอฟ โดยมีอยู่ 2 วิธี ได้แก่ Photosynthesis และ Chemosynthesis

2.         Heterotrophic Nutrition เป็นแบบการสร้างอาหารขึ้นมาใช้เองไม่ได้ของสิ่งมีชีวิต พวกเฮเทอโรทรอฟ จึงต้องได้รับอาหารจากสิ่งมีชีวิตอื่น โดยมีอยู่ 3 วิธี ได้แก่ Saprophytism, Parasitism และ Eating (เช่น คน และสัตว์ทั่วไป)

72.       สิ่งมีชีวิตต่างจากสิ่งไม่มีชีวิต คือ

(1) การสืบพันธุ์ต่อเชื้อสาย      (2) มีสถานภาพเป็นสสาร

(3)       โครงสร้างรูปร่างและแบบแผนการประกอบเป็นรูปร่างไม่แน่นอน

(4)       สิ่งมิชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตไม่มีความแตกต่างกันในทุกด้าน

ตอบ 1 หน้า 58 – 9, (คำบรรยาย) สิ่งมีชีวิตต่างจากสิ่งไม่มีชีวิต คือ

1.         มีโครงสร้างรูปร่างและแบบแผนการประกอบเป็นรูปร่างที่แน่นอน

2.         มีกระบวนการเมแทบอลิซึม (Metabolism) หรือกระบวนการเพื่อการดำรงชีพ

3.         มีพฤติกรรมการตอบสนอง     4. มีการสืบพันธุ์ต่อเชื้อสายและการพัฒนา 5. มีการปรับตัวให้สอดคล้องกับสภาวะแวดล้อม

73.       ลักษณะที่บ่งชี้ความเป็นสิ่งมีชีวิต คือ

(1) มีแบบแผนของโครงสร้าง  (2) มีกระบวนการเมแทบอลิซึม

(3) มีกระบวบการสืบพันธุ์       (4) มีทุกข้อที่กล่าวม

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 72. ประกอบ

74.       ผลลัพธ์โดยรวมของกระบวนการเมแทบอลิซึม (Metabolism) คือ

(1)       การเจริญเติบโต          (2) การขยายขนาด      (3) การสืบพันธุ์           (4) การชดเชยทดแทน

ตอบ 1 หน้า 147, (คำบรรยาย) กระบวนการเมแทบอลิซึม (Metabolism) เป็นกระบวนการทางเคมี ทั้งหมดที่เกิดขึ้นภายในตัวของสิ่งมีชีวิต ซึ่งผลลัพธ์โดยรวมหรือผลลัพธ์สุดท้ายที่จะได้รับจาก กระบวนการเมแทบอลิซึม ก็คือ การเจริญเติบโต (Growth) หรือความมีชีวิตนั่นเอง

75.       ข้อใดคือคำจำกัดความของ การสืบพันธุ์” ในสิ่งมีชีวิต

(1) การสืบทอดลักษณะจากบรรพบุรุษ           (2) การให้ลูกที่มีลักษณะคล้ายผู้ให้กำเนิด

(3) การทวีจำนวนของสิ่งมีชีวิต            (4) ทุกข้อประกอบกัน

ตอบ 4 หน้า 167 การสืบพันธุ์ (Reproduction) หมายถึง การเพิ่มจำนวนของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ๆ ได้มากขึ้นโดยหน่วยที่เกิดขึ้นมาใหม่จะมีรูปร่างลักษณะและการดำเนินชีวีตเหมือนกับบรรพบุรุษ ซึ่งการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตมักมี 2 แบบใหญ่ ๆ คือ           1. การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ(Asexual Reproduction) เกิดจากการที่สิ่งมีชีวิตเพียงหน่วยเดียวทำการทวีจำนวนโดยวิธีใด วิธีหนึ่งแล้วหน่วยใหม่ที่ได้จะมีลักษณะเหมือนเดิมทุกประการ 2. การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (Sexual Reproduction) เกิดจากการที่เซลล์สืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตเพศผู้มาผสมหรือปฏิสนธิ กับเซลล์สืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตเพศเมียได้เป็นไซโกต ซึ่งหน่วยใหม่ที่เกิดขึ้นจะรวมเอาลักษณะ ของพ่อและแม่มาไว้ด้วยกัน

76.       การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ มักเกิดจากการแบ่งเซลล์แบบ

(1) ไมโทซิส (Mitosis)      (2) ไมโอซิส (Meiosis)

(3) พาร์ทีโนจีเบซิส (Parthenogenesis)        (4) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 167 – 168172, (คำบรรยาย) การแบ่งเซลล์จำแนกเป็น 2 ประเภท คือ

1.         การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส (Mitosis) เป็นการแบ่งเซลล์เพื่อสร้างเซลล์ทั่วไปให้เพิ่มทวีจำนวน เพื่อการเจริญเติบโตของร่างกายของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ ซึ่งการแบ่งเซลล์แบบบี้พบใน การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ

2.         การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส (Meiosis) เป็นการแบ่งเซลล์เพื่อให้เซลล์นั้นไปทำหน้าที่เป็น เซลล์สืบพันธุ์หรือเซลล์เชื้อเพศของสิ่งมีชีวิตขั้นสูงในวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งการแบ่งเซลล์แบบนี้พบในการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ

77.       กระบวนการสร้างหรือผลิตเซลล์เชื้อเพศ เรียกว่า

(1) ไมโทซิส (Mitosis)      (2) แกมีโทจีเนซิส (Gametogenesis)

(3) โอโอจีเนซิส (Oogenesis)     (4) สปอร์มาโทจีเนซิส (Sporematogenesis)

ตอบ 2 หน้า 172, (คำบรรยาย) กระบวนการสร้างเซลล์เชื้อเพศหรือเซลล์สืบพันธุ์ในสิ่งมีชีวิต หากกล่าว โดยรวมไม่ระบุชนิดของเพศ เรียกว่า แกมีโทจีเนซิส” (Gametogenesis) ซึ่งแบ่งออกเป็น

1.         กระบวนการสร้างเซลล์ไข่หรือเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย เรียกว่า โอโอจีเนซิล” (Oogenesis)

2.         กระบวนการสร้างสเปิร์มหรือเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ เรียกว่า สเปอร์มาโทจีเนซิส” (Spermatogenesis)

78.       ข้อใดคือหน่วยกำหนดพันธุ์กรรมของสิ่งมีชีวิต

(1) RNA      (2) DNA     (3) FTA       (4) MRA

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 59. ประกอบ

79.       ผลของกล้วยเกิดจากการที่ไข่ไม่ได้รับการผสมจากเกสรเพศผู้ เรียกการสืบพันธุ์แบบนี้ว่า

(1)       Parthenogenesis      (2) Fertilization          (3)       Differentiation         (4)            Gametogenesis

ตอบ 1 หน้า 175 พาร์ทีโนจิเนซิส (Parthenogenesis) เป็นการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศที่ไข่ หรือเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย สามารถจะเจริญเติบโตเป็นสิ่งมีชีวิตหรือเป็นผลไม้ขึ้นมาได้เอง โดยไม่ต้องได้รับการผสมพันธุ์จากเซลล์เพศผู้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า เป็นการได้ลูกหรือ ผลจากไข่ที่ไม่ได้รับการผสมเชื้อเพศผู้ ซึ่งตัวอย่างที่พบเห็นเป็นประจำ เช่น มด ผึ้ง ปลวก องุ่น กล้วย เป็นต้น

80.       ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิกับสเปิร์มแล้ว เรียกว่า

(1) Enfant  (2)       Fetus         (3)       Zygote      (4)       Embryo

ตอบ 3 หน้า 184 – 185 ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิกับสเปิร์มแล้ว เรียกว่า ไซโกต (Zygote) และ จากนั้นไซโกตก็จะเจริญเป็นตัวอ่อนหรือคัพภะ (Embryo) ภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์

81.       สิ่งมีชีวิตประเภทใดที่มีการขยายพันธุ์โดยวิธีการสร้างสปอร์

(1) อะมีบา       

(2)       พืชพวกสน       

(3)       เฟิร์น    

(4)      ปะการัง

ตอบ 3 หน้า 9167, (คำบรรยาย) การสร้างสปอร์ (Spoliation) เป็นการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยการสร้างสปอร์เล็ก ๆ จำนวนมากให้ปลิวไปตกในสถานที่ที่มีอากาศอับ ร้อน ชื้น และอุณหภูมิ พอเหมาะเพื่องอกเจริญเป็นหน่วยชีวิตใหม่ที่เหมือนหน่วยชีวิตเดิม การสืบพันธุ์แบบนี้จะทำให้ ได้รุ่นลูกจำนวนมากในเวลาเดียวกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะพบในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว เช่น เห็ด รา เฟิร์น เป็นต้น

82.       พืช GMOs คือพืชประเภทใด

(1)       พืชที่ปรับตัวให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่โหดร้ายตามธรรมชาติ

(2)       พืชที่มีการผสมข้ามดอก ให้ได้สายพันธุ์ใหม่ ๆ

(3)       กล้วยไม้ที่นำมาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อให้มีปริมาณมาก ๆ

(4)       มะละกอถูกตัดต่อยีนส์เพื่อให้ต่อต้านโรคใบด่างได้

ตอบ 4 (คำบรรยาย) สิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม (Genetically Modifed Organisms : GMOs) หมายถึง พืช สัตว์ และจุลินทรีย์ ที่ถูกดัดแปลงหน่วยพันธุกรรม (DMA หรือ Gene)โดยใช้เทคนิค ทางพันธุวิศวกรรม เพื่อให้ได้ลักษณะใหม่ที่ต้องการ เช่น ต้านทานโรค ทนต่อแมลงและไวรัส สุกงอมช้า เพิ่มคุณค่าทางอาหาร เป็นต้น

83.       การปรับตัวเพื่อหลีกเลี่ยงการขาดแคลนอาหารในลักษณะใด พบในสิ่งมีชีวิตที่เป็นบรรพบุรุษของพืช

(1) Parasitism    (2) Saprophytism (3) Eating       (4) Photosynthesis

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 20. ประกอบ

84.       การรวมกันของสารเคมีหลายชนิดเมื่อ 4-5 พันล้านปีมาแล้ว ทำให้เกิดชั้นบรรยากาศโลก อุณหภูมิที่ผิวโลก จึงเหมาะสมต่อการเกิดของสิ่งมีชีวิต สารเคมีนั้นคือ

(1) ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ (NO)     (2) ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)

(3) ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (C02)     (4) ก๊าซมีเทน (CH4)

ตอบ 4 หน้า 15 – 16 โลกมีอายุประมาณ 4,500 – 5,000 ล้านปีมาแล้ว โดยระยะวิวัฒนาการ ทางเคมีของโลกนั้น เริ่มเกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิของโลกเย็นลง จนเอื้อให้อะตอมของธาตุเบา ๆ (เช่น ไฮโดรเจน ออกซิเจน ไนโตรเจน และคาร์บอน) ซึ่งปกคลุมผิวโลกอยู่ เกิดการรวมตัวกัน เป็นสารประกอบทางเคมีขึ้น อันได้แก่ ไอนํ้า ก๊าซแอมโมเนีย และก๊าซมีเทน ซึ่งสารเคมีกลุ่มนี้ได้รวมตัวกันเกิดเป็นชั้นบรรยากาศห่อหุ้มโลก และมีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อม ของโลกในยุคแรกเริ่มกำเนิดชีวิต

85.       สารประกอบอินทรีย์โมเลกุลใหญ่ที่เกิดจากการรวมกันของกรดอะมิโนคืออะไร

(1) ไขมัน (Fats)      (2) นิวคลีโอไทด์ (Nucleotide)

(3) โปรตีน (Protein)       (4) โพลีแซกคาไรด์ (Polysaccharide)

ตอบ 3 หน้า 2040 โปรตีน (Protein) เป็นสารประกอบอินทรีย์โมเลกุลใหญ่ที่เกิดจากการรวมตัวกัน ของกรดอะมิโน (Amino Acid) ซึ่งประกอบขึ้นด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน และไนโตรเจน

86.       กระบวบการหายใจ (Respiration) เป็นลักษณะเริ่มต้นของการเป็นสิ่งมีชีวิต ส่งผลอย่างไรกับโลก

(1)       มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สะสมในชั้นบรรยากาศโลกจึงอุ่นขึ้น

(2)       ทำให้โลกมีก๊าซออกซิเจนสะสมมากขึ้นทำให้อากาศบริสุทธิ์

(3)       เกิดเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญบนโลก          (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 24, (คำบรรยาย) กระบวนการหายใจ (Respiration) เป็นลักษณะเริ่มต้นของการเป็น สิ่งมีชีวิต ซึ่งส่งผลกับโลก ดังนี้       1. มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สะสมในชั้นบรรยากาศจึงอุ่นขึ้น

2. ทำให้โลกมีก๊าซออกซิเจนสะสมมากขึ้นทำให้อากาศบริสุทธิ์           3. เกิดเป็นแหล่งพลังงาน

ที่สำคัญบนโลก           4. เกิดการย่อยสลายสารโมเลกุลใหญ่ให้เป็นโมเลกุลเล็ก

87.       ลักษณะแรกสุดที่แสดงถึงการเป็นสิ่งมีชีวิต คือ

(1) การรวมตัว (2)       การกินอาหาร  (3)       การเพิ่มขนาด  (4)       การทวีจำนวน

ตอบ 4 หน้า 21, (คำบรรยาย) ทฤษฎีกำเนิดชีวิต อธิบายว่า นิวคลีโอโปรตีน (Nucleoprotein)ที่เกิดจากการรวมตัวกันระหว่างโปรตีนกับกรดนิวคลีอิกนั้น ถือเป็นสารอินทรีย์ที่เริ่มแสดงถึง คุณสมบัติหรือลักษณะแรกสุดของการเป็นสิ่งมีชีวิต คือ มีความสามารถในการเพิ่มจำนวน โมเลกุลใหม่ให้มีลักษณะเหมือนโมเลกุลเดิมได้โดยไม่ต้องเกิดปฏิกิริยาเคมี หรือที่เรียกว่า การสืบพันธุ์หรือการทวีจำนวน

88.       การตอบสนองต่อสิ่งเร้าในสัตว์จะต้องมีเนื้อเยื่อหรือกลุ่มเซลล์ที่ทำหน้าที่รับส่งกระแความรู้สึกจากการรบเร้านั้น เรียกเนื้อเยื่อหรือกลุ่มเซลล์นั้นว่าอะไร

(1) เนื้อเยื่อลำเลียง      (2)เนื้อเยื่อส่งผ่าน        (3)       เนื้อเยื่อประสาท          (4)       เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ

ตอบ 3 หน้า 196 เนื้อเยื่อหรือกลุ่มเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองต่อสิ่งเร้าในสัตว์ชั้นสูง ได้แก่

1.         เนื้อเยื่อประสาท ทำหน้าที่รับส่งกระแสความรู้สึกจากสิ่งเร้า

2.         เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ ทำหน้าที่แสดงการโต้ตอบสิ่งเร้านั้น

89.       หน่วยรับความรู้สึกเกี่ยวกับสารเคมีของผีเสื้อกลางคืน เรียกว่า

(1) Thermoreceptor  (2)       Pressoreceptor         (3)       Chemoreceptor        (4)            Photoreceptor

ตอบ 3 หน้า 196, (คำบรรยาย) ในกระบวนการรับความรู้สึก (Reception) มีอวัยวะที่เป็น หน่วยรับความรู้สึก ได้แก่

1.         Thermoreceptor เป็นอวัยวะที่รับความรู้สึกร้อนหรือเย็น (อุณหภูมิ) ได้แก่ ผิวหนัง

2.         Photoreceptor เป็นอวัยวะที่รับความรู้สึกเกี่ยวกับแสงสว่าง ได้แก่ ตา

3.         Pressoreceptor เป็นอวัยวะที่รับความรู้สึกสัมผัสและความเจ็บปวด ได้แก่ ผิวหนัง

4.         Chemoreceptor เป็นอวัยวะที่รับความรู้สึกด้านรสและกลิ่น ได้แก่ ลิ้น จมูก และ หนวดแมลงบางชนิด เช่น ผีเสื้อกลางคืน เป็นต้น

5.         Phonoreceptor เป็นอวัยวะที่รับความรู้สึกด้านเสียง ได้แก่ หู

90.       กระแสความรู้สึกถูกส่งผ่านเซลล์ประสาทไปยังสมอง (Brain) จากนั้นมีการหดตัวของกล้ามเนื้อขาเพื่อให้เดินถอยหลัง การแสดงออกดังกล่าวจัดอยู่ในกระบวนการใดของการตอบสนองต่อสิ่งเร้า

(1) กระบวนการรับความรู้สึก  (2) กระบวนการนำความรู้สึก

(3) กระบวนการแปลความหมายและสั่งการ   (4) กระบวนการตอบโต้

ตอบ 4 หน้า 197 – 198, (คำบรรยาย) กระบวนการตอบโต้ (Effect) เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างระบบกล้ามเนื้อ เซลล์ประสาทสั่งการ (Motor Neuron) และระบบต่อมสร้างฮอร์โมน ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากที่กระแสความรู้สึกถูกส่งผ่านเซลล์ประสาทรับความรู้สึก (Sensory Neuron) ไปยังระบบประสาทส่วนกลาง (สมองและไขสันหลัง) แล้ว โดยที่ Motor Neuron จะส่งกระแสคำสั่ง จากระบบประสาทส่วนกลางมากระตุ้นให้หน่วยตอบสนองหรือกล้ามเนื้อในบริเวณใกล้กับแหล่งรับความรู้สึกทำงานด้วยการหดตัวของเส้นใยกล้ามเนื้อ จึงทำให้เกิดการเคลื่อนไหว ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การหดตัวของกล้ามเนื้อขาเพื่อให้เดินถอยหลัง การเดินหนีห่างจาก อันตรายที่เรามองเห็น เป็นต้น

91.       การตอบสนองต่อสิ่งเร้าในพืชถูกแสดงออกมาในลักษณะใด

(1) การเคลื่อนไหว       

(2) การเคลื่อนที่

(3) การตอบโต้ 

(4) พืชไม่แสดงอาการออกมาให้เห็น

ตอบ 1 หน้า 198 การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืชนั้น จัดว่าเป็นพฤติกรรมของพืชซึ่งแสดงออกมา ในรูปของการเคลื่อนไหว (Movement)โดยสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดพฤติกรรมการตอบสนองในพืช มี 2 ประเภทคือ 

1. สิ่งเร้าภายใน ได้แก่ ฮอร์โมนและสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวโดยอัตโนมัติ           

2. สิ่งเร้าภายนอก ได้แก่ แสงสว่าง แรงดึงดูดของโลกอุณหภูมิ น้ำ ฯลฯ ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวในลักษณะต่างๆ กัน

92.       เซลล์ประสาทในสัตว์ส่งกระแสความรู้สึกออกจากเซลล์ทางใด

(1) เดนไดรต์    (2) แอ็กซอน    (3) เอนด์ เพลต            (4) ไซแนปส์

ตอบ 2 หน้า 64197 เซลล์ประสาท (Nerve Cell) แต่ละเซลล์ประกอบด้วย

1.         ตัวเซลล์ประสาท (Cell Body)

2.         แอ็กซอน (Axon) ทำหน้าที่ส่งกระแสความรู้สึกและคำสั่งออกจากตัวเซลล์ประสาท

3.         เดนไดรต์ (Dendrite) ทำหน้าที่รับกระแสความรู้สึกเข้าสู่ตัวเซลล์ประสาท

4.         เอนด์ เพลต (End Plate) เป็นเส้นใยละเอียดจำนวนมากที่แผ่อยู่ที่ปลายกิ่งแขนงของเซลล์ประสาท ทำหน้าที่เป็นตัวเกาะเกี่ยวประสานกับเอนด์ เพลต ของเซลล์ประสาทอื่น ๆ

93.       ออกซิน (Auxin) เป็นฮอร์โมนที่พืชสร้างจากยอดแล้วลำเลียงลงสู่รากของพืช ทำให้พืชตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร

(1) การขยายขนาดของลำต้นพืช         (2) การเบนหนีแสงของยอดพืช

(3) การเบนเข้าหาแสงของยอดพืช      (4) การเจริญสูงขึ้นเพื่อรับแสงของยอดพืช

ตอบ 3 หน้า 199 ออกซิน (Auxin) เป็นฮอร์โมนพืชที่ช่วยส่งเสริมและควบคุมการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งฮอร์โมนนี้พืชจะสร้างจากปลายยอดแล้วลำเลียงลงสู่รากในลักษณะที่หนีแสงสว่าง ทำให้พืช เกิดการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงหรือมีพฤติกรรมการตอบสนองโดยการที่ยอดพืชจะโค้งหรือ เบนเข้าหาแสง ส่วนรากพืชจะเบนหนีแสง

94.       การตอบสนองต่อสิ่งเร้าในสิ่งมีชีวิตชั้นตํ่าประเภทเซลล์เดียวเกิดที่ใด

(1) โปรโตพลาสม์        (2) เนื้อเยื่อประสาท     (3) เส้นใยประสาท      (4) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 98106195 – 196, (คำบรรยาย) การตอบสนองต่อสิ่งเร้าในสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำประเภทเซลล์เดียวซึ่งได้แก่ พวกโปรติสตา (Protista) เช่น ยูกลีน่า อะมีบา พารามีเซียม จะเกิดขึ้นพร้อมกันในก้อนโปรโตพลาสม์ ส่วนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าในสัตว์ชั้นสูงและ ในพืชทั่วไปนั้น จะมีโครงสร้างหรืออวัยวะที่ทำหน้าที่เป็นสัดส่วนแยกออกจากกัน

95.       การเจริญของรากต้นไทรหยั่งมาถึงพื้นดิน เป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เรียกว่า

(1) Phototropism       (2) Geotropism (3) Thermonastic      (4) Photonastic

ตอบ 2 หน้า 200 Geotropism เป็นการเคลื่อนไหวตอบสนองภายนอกต้นพืชเนื่องจากการเจริญเติบโต โดยมีแรงดึงดูดของโลกเป็นสิ่งเร้า เช่น การเจริญของรากต้นไทรหยั่งมาถึงพื้นดิน เป็นต้น

96.       ทฤษฎีการเกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตที่กล่าวว่า สิ่งมีชีวิตเกิดการเลือกสรไโดยธรรมชาติสอดคล้องกับข้อใด

(1) ลามาร์ค (Lamarck)    (2) ดาร์วิน (Darwin)

(3) เดอ ฟริล์ (De Vries)   (4) อริสโตเติล (Aristotle)

ตอบ 2 หน้า212-213 ตามทฤษฎีวิวัฒนาการการเลือกสรรโดยธรรมชาติ” (Natural Selection) ของชาร์ลล์ ดาร์วิน (Charles Darwin) กล่าวว่า ผู้ที่อ่อนแอไม่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมนั้น จะตายไป เหลืออยู่แต่ผู้ที่เหมาะสมที่สุดเท่านั้นจึงจะอยู่รอด มีอหาร และมีลูกหลานได้โดย ผู้ที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมนี้มักจะมีคุณลักษณะพิเศษที่ดีเด่นแปลกไปจากผู้อื่น เมื่อมีลูกหลาน ก็จะถ่ายทอดหรือสอยลักษณะนั้น ๆ สืบต่อกันไป เกิดเป็นพันธุ์ใหม่ที่ดีขึ้นมา

97. การยืนยันการเกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตบนโลกที่ศึกษาได้จากฟอสซิล ควรเป็นไปในลักษณะใด

(1)       เปรียบเทียบลักษณะการกำเนิดของอวัยวะรยางค์ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง

(2)       เปรียบเทียบจากองค์ประกอบของสารเคมีในเซลล์

(3)       ศึกษาจากการทดลองผสมสายพันธุ์ใหม่

(4)       ศึกษาจากซากสิ่งมีชีวิตที่กลายเป็นหิน

ตอบ 4 หน้า 213 หลักฐานเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตบนโลก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1.         หลักฐานโดยตรงจากการศึกษาซากสิ่งมีชีวิตที่กลายเป็นหิน หรือที่เรียกว่า ฟอสซิล (Fossil)

2.         หลักฐานจากการศึกษาเปรียบเทียบลักษณะของสิ่งมีชีวิตในยุคปัจจุบัน ในแง่รูปร่าง โครงสร้าง พัฒนาการ และลักษณะการทำงานของอวัยวะในสิ่งมีชีวิต

98.       การปรับตัวของสิ่งมีชีวิต เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงจากศัตรู เกิดขึ้นได้อย่างไร

(1) การมีนิ้วเท้ายาวของนกปากห่าง    (2) การมีสีเขียวสดของงูเชียว

(3) การมีรูปทรงและสีสันคล้ายใบไม้ของผีเสื้อกลางคืน (4) การมีพฤติกรรมเดินย่องของเสือดำ

ตอบ 3 หน้า 228 – 230 การปรับตัวทางด้านรูปร่างของสิ่งมีชีวิตนั้น มีจุดมุ่งหมายสำคัญ 2 ประการ คือ

1.         เพื่อเอื้อประโยชน์ในการหาอาหาร เช่น นกกระยางมีนิ้วเท้าเรียวยาวเหมาะแก่การทรงตัวนกกานํ้ามีนิ้วเท้าแบนมีพังผืดนกฮูกมีนิ้วเท้างองุ้มเล็บแหลมคมไก่มีเล็บเท้าใหญ่และแข็ง เหมาะแก่การคุ้ยเขี่ย เป็นต้น

2.         เพื่อการป้องกันหรือหลบหลีกอันตรายจากศัตรู เช่น การมีหูและขาหลังที่ยาวของกระต่ายการมีเปลือก กระดอง เกล็ด ขนแข็ง ของหอย ปู เต่า นิ่ม และเม่นการมีรูปทรงและสีสัน คล้ายใบไม้หรือสีเปลือกไม้ของผีเสื้อกลางคืน เป็นต้น

99.       พืชในที่แห้งแล้งแบบทะเลทรายปรับตัวให้อยู่รอดได้อย่างไรในสภาพที่ขาดนํ้า

(1) มีปากใบที่ผิวใบด้านบน    (2) เปลี่ยนรูปทรงใบให้มีก้านยาว

(3) ใบลดรูปเป็นหนาม ลำต้นสังเคราะห์แสงได้          (4) ระบบรากไม่พัฒนาดีนัก

ตอบ3 หน้า 231 Xerophyto ได้แก่ พืชที่อาศัยในพื้นที่ที่แห้งแล้ง มีน้ำน้อย พืชพวกนี้มักมีใบเล็กมาก หรือเปลี่ยนใบไปเป็นหนาม ไม่มีปากใบ ลำต้นทำหน้าที่สังเคราะห์แสงสร้างอาหารแทนใบได้ รากยาวหยั่งลึกและแผ่ไปไกลเพื่อดูดหานํ้า นอกจากนี้ยังมีสาร Cutin ฉาบเคลือบลำต้นไว้ ค่อนข้างหนาเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำระเหย

100.    ข้อใดสอดคล้องกัน

(1)       ไก่มีนิ้วเท้าแข็งแรงทำให้การหาอาหารในแหล่งนํ้ามีความเป็นไปโดยง่าย

(2)       เม่นมีขนแหลมและแข็ง ทำให้สะดวกในการหาอาหาร

(3)       นกยูงตัวผู้มีขนสวยงามช่วยดึงดูดเพศตรงข้ามให้เข้ามาผสมพันธุ์

(4)       งูสามเหลี่ยมมีสีคล้ายงูปล้องทอง ทำให้หลบหลีกศัตรูได้เป็นอย่างดี

ตอบ 3 หน้า 231 การปรับตัวทางด้านพฤติกรรม เป็นการปรับตัวเพื่อเสริมและสอดคล้องกับการปรับตัว ทางด้านรูปร่างและสรีระ เช่น นกยูงตัวผู้มีขนสวยงามช่วยดึงดูดเพศตรงข้ามให้เข้ามาผสมพันธุ เสือดาวมีพฤติกรรมในการเดินย่อง จดจ้อง และกระโดดได้อย่างว่องไวกระต่ายและกบมีขาหลัง ยาวและแข็งแรง มักมีนิสัยระแวงตกใจง่าย กระโดดหนีไปได้อย่างรวดเร็วปลาที่อยู่ในน้ำลึก มักปราดเปรียว ว่องไว เพื่อการโจมตีหรือหลบหนี เป็นต้น

Advertisement