การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2553

ข้อสอบกระบวนวิชา BIO1001 ชีววิทยาเบื้องต้น

Advertisement

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเลียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1. ถ้าเอาระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์มาปรับใช้กับการแก้ปัญหา ควรจะเริ่มต้นที่ใด

(1)       พิจารณาว่าปัญหานั้นคืออะไร 

(2) ประมวลว่าอะไรเป็นเหตุให้เกิดปัญหานั้น

(3) หาแนวทางแก้ปัญหา         

(4) คิดหาวิธีเหมาะสมที่สุดในการแก้ปัญหา

ตอบ 1 หน้า 2, (คำบรรยาย) กระบวนการหรือระเบียบทางวิทยาศาสตร์มี 5 ขั้นตอน คือ การเก็บ รวบรวมข้อมูล การตั้งสมมุติฐาน การสังเกต ตรวจสอบ หรือทดลอง การประมวลเป็นข้อสรุป และการสร้างทฤษฎี ซึ่งระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์นี้สามารถนำมาปรับใช้ในการแก้ปัญหา ต่าง ๆ ได้ โดยเริ่มต้นจากการพิจารณาว่าปัญหานั้นคืออะไร จากนั้นก็ประมวลว่าอะไรเป็นเหตุ ให้เกิดปัญหา แล้วต่อมาก็หาแนวทางแก้ปัญหา และคิดหาวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการแก้ปัญหา

2.         ในความเป็นวิทยาศาสตร์นั้น ข้อใดมีน้ำหนักความสำคัญน้อยที่สุด

(1) สังเกตได้โดยมิติแห่งการรับรู้         (2) พิสูจน์กี่ครั้งก็ได้ผลเหมือนกัน

(3) อาศัยความเชื่อและศรัทธาเป็นปฐม          (4) คำนึงถึงเหตุและผลเป็นหลัก

ตอบ 3 หน้า 2, (คำบรรยาย) ขอบเขตของความเป็นวิทยาศาสตร์ มีดังนี้

1.         ต้องสามารถสังเกตได้โดยมิติแห่งการรับรู้ 2. ต้องสามารถพิสูจน์ทราบได้อย่างเป็นเอกภาพในทุกเมื่อ หรือพิสูจน์กี่ครั้งก็ได้ผลเหมือนเดิม 3. วิทยาศาสตร์ยังไม่ใช่ความจริงที่สมบูรณ์แท้ แต่เป็นข้อเท็จจริงที่ประกอบด้วยเหตุและผลที่มีโอกาสเป็นไปได้มากที่สุด

3.         สภาพของสังคมไทยที่ปรากฏตามสื่อต่าง ๆ ทั้งสื่อธรรมดาและสื่อออนไลน์ อาจกล่าวได้ว่าเป็น

(1) สังคมอุดมปัญญา (2) สังคมแห่งความเชื่อและศรัทธา

(3) สังคมที่ไร้วิจารณญาณ      (4) สังคมโลกาภิวัตน์

ตอบ2  (คำบรรยาย) สังคมแห่งความเชื่อและศรัทธา เป็นสังคมมที่ทำให้มนุษย์สมารถมีวัตถุประสงค์อุดมคติ หรือมีความเชื่อร่วมกันในบางเรื่อง มีการติดต่อสื่อสาร หรือมีการรวมกลุ่มกัน มีการเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติบางสิ่งบางอย่าง และมีการจัดการระดับกลุ่ม ที่จะอาจนำไปสู่ ดวามก้าวหน้าหรือความยุ่งเหยิงในสังคมตามมาก็ได้ ซึ่งลักษณะสังคมแบบนี้จะเห็นได้จาก สภาพของสังคมไทยที่ปรากฏตามสื่อต่าง ๆ ทั้งสื่อธรรมดาและสื่อออนไลน์ในปัจจุบัน

4.         การแลกเปลี่ยนอากาศภายนอก หมายถึง

(1) การหายใจทางจมูก           (2) การหายใจทางปาก

(3) การหายใจโดยใช้เครื่องช่วยหายใจ           (4) วิธีใดก็ได้ที่จะนำอากาศเข้าสู่ปอด

บ 1 หน้า 157 – 158, (คำบรรยาย) การหายใจหรือการแลกเปลี่ยนอากาศ แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ

1.         การแลกเปลี่ยนอากาศภายนอก (External Respiration) เป็นการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ระหว่างอากาศภายนอกกับถุงลมในปอด โดยอาศัยกลไกของ การสูดลมหายใจเข้าออกทางจมูก 2. การแลกเปลี่ยนอากาศภายใน (Internal Respiration) เป็นการแลกเปลี่ยนก๊าชระหว่างเม็ดเลือดแดงในหลอดเลือดฝอยกับเซลล์ในร่างกาย ซึ่งการหายใจทั้ง 2 ตอนนี้จะเกิดขึ้นโดยกระบวนการแพร่กระจาย (Diffusion)

5.         ผู้ที่สามารถผลิตอาหารได้ด้วยตัวเอง มีการดำรงชีพแบบใด

(1) Heterotrophic Nutrition      (2) Autotrophic Nutrition

(3) Saprophytism       (4) Macrobiotic Nutrition

ตอบ 2 (คำบรรยาย) วิธีการสร้างอาหารของสิ่งมีชีวิต แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

1.         Autotrophic Nutrition เป็นแบบการสร้างอาหารขึ้นได้เองจากอนินทรียสารของสิ่งมีชีวิต พวกออโตทรอฟ โดยมีอยู่ 2 วิธี ได้แก่ Photosynthesis และ Chemosynthesis

2.         Heterotrophic Nutrition เป็นแบบการสร้างอาหารขึ้นมาใช้เองไม่ได้ของสิ่งมีชีวิต พวกเฮเทอโรทรอฟ จึงต้องได้รับอาหารจากสิ่งมีชีวิตอื่น โดยมีอยู่ 3 วิธี ได้แก่ Saprophytism, Parasitism และ Eating (เช่น คน และสัตว์ทั่วไป)

6.         ปกติการย่อยจะสิ้นสุดที่ใด

(1) สำไส้ใหญ่ตอนต้น  (2)ลำส้ใหญตอนกลาง           (3)สำไส้เล็กตอนกลาง            (4)ลำไส้เล็กตอนปลาย

ตอบ 4 หน้า 149152 การย่ออาหารจะเริ่มต้นที่ปาก และสิ้นสุดสมบูรณ์ที่ลำไส้เล็กตอนปลาย โดยโมเลกุลของสารอาหารที่ได้จากการย่อยสกัดประเภทกรดอะมิโนและน้ำตาลกลูโคสจะ ถูกดูดซึมเข้าสู่หลอดเลือดฝอย (Capillary Vein) ที่แทรกอยู่ในวิลลัสของผนังลำไส้เล็ก ส่วนสารอาหารประเภทกรดไขมันและกลีเซอรอลก็จะถูกดูดซึมเข้าสู่หลอดน้ำเหลือง (Lacteal) ที่อยู่ในวิลลัสเช่นกัน ซึ่งการดูดซึมสารอาหารเข้าไปในหลอดเลือดและหลอดนํ้าเหลืองนี้จะเป็น ไปโดยกระบวนการออสโมชิส (Osmosis)

7.         หน้าที่หลักของน้ำดี (Bile) คือ

(1) ย่อยไขมัน  (2)       แยกไลปิด        (3)       ย้อมกากอาหาร           (4)       มีรสขม

ตอบ 2 หน้า 149, (คำบรรยาย) น้ำดี (Bile) ที่ถูกสร้างจากถุงน้ำดีที่ตับนั้นไม่จัดว่าเป็นเอนไซม์ เพราะไมใช่โปรตีนและไม่มีน้ำย่อยเป็นองค์ประกอบ จึงไม่มีหน้าที่ย่อยไลปิดหรือไขมัน แต่จะมีบทบาทหน้าที่หลักในการช่วยทำให้ไขมันแยกและคลายตัวออกจากกัน เพื่อสะดวก แกการย่อยของเอนไซม์ไลเปส

8.         อาหารที่เคี้ยวแล้วกลืนเข้าไป จะเคลื่อนตัวต่อไปโดยอาการที่เรียกว่า

(1) Peristalsis     (2)       Epistasis  (3)       Homeostasis    (4)Ecostasis

ตอบ1 หน้า 149, (คำบรรยาย). เพอริสตาลซิส (Peristalsis) คือ การหดตัวและคลายตัวเป็นจังหวะ แบบลูกคลื่นติดต่อกันเป็นระลอกของกล้ามเนื้อเรียบที่ผนังท่อทางเดินอาหาร ทำให้อาหารที่เคี้ยวแล้วกลืนเข้าไปเกิดการเคลื่อนไหลไปตามอวัยวะต่าง ๆ ตั้งแต่จากปากจนถึงทวารหนัก

9.         เอนไซม์ที่เป็นองค์ประกอบอยู่ในนํ้าลาย คือ

(1)ไลเปส         (2)อะไมเลส     (3)โปรตีนเนส  (4)       Saliva

ตอบ2  หน้า 149 น้ำลาย (Saliva) ประกอบด้วย 1. นํ้า ประมาณ 95%     2. น้ำเมือก 3. เกลือแร่ 4. เอนไซม์อะไมเลส (Amylase) หรือเอนไซม์ไทยาลิน (Ptyalin) ทำหน้าที่ ย่อยคาร์โบไฮเดรตประเภทแป้งให้เป็นน้ำตาลมอลโตสได้บางส่วนเป็นอันดับแรกในช่องปาก

10.       สารอาหารที่ถูกดูดซึมเข้าทางหลอดเลือดฝอยในสำไส้เล็ก คือ

(1) กรดอะมิโน (2)       กรดไขมัน         (3)กลูโคส        (4)ข้อ 1 และ 3

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 6. ประกอบ

11. พืชหรือสัตว์ที่เกิดจากการตัดต่อยีนส์ เรียกว่า

(1) สิงดัดแปรทางพันธุกรรม    

(2) พันธุวิศวกรรม

(3) Genetically Modification Organisms 

(4) ข้อ 1 หรือ 3

ตอบ 1 (คำบรรยาย) สิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม (Genetically Modified Organisms : GMOs)หมายถึง พืช สัตว์ และจุลินทรีย์ ที่ถูกดัดแปลงหน่วยพันธุกรรม (DNA หรือ Gene) โดยใช้ เทคนิคทางพันธุวิศวกรรม เพื่อให์ได้ลักษณะใหม่ที่ต้องการ เช่น ต้านทานยาปราบวัชพืซ ทนต่อแมลงและไวรัส สุกงอมช้า เพิ่มคุณค่าทางอาหาร เป็นต้น

12.       ในกระบวนการเมแทบอลิชีม ธาตุที่ทำให้ก่อเกิดพลังงาน คือ

(1) ไฮโดรเจน   (2) ออกซิเจน   (3) คาร์บอน     (4) ไนโตรเจน

ตอบ 2 หน้า 147154 ในกระบวนการเมแทบอสิซึมหรือเมตาบอสิสม์ (Metabolism) ของมนุษย์นั้น จะมีธาตุที่ทำใท้ก่อเกิดพลังงานก็คือ ก๊าซออกซิเจน ซึ่งจะถูกนำไปสู่เชลล์ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยสารเคมีที่อยู่ในเม็ดเลือดแดงที่เรียกว่าฮีโมโกลบิน(Haemoglobin)

13.       ข้อใดมิใช่องค์ประกอบของกระบวนการเมแทบอลิซึม

(1) Nutrition      (2) Reproduction      (3) Synthesis (4)Respiration

ตอบ2 หน้า 147 กระบวนการเมแทบอลิซึม มีองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วน คือ 1. อาหาร (Nutrition)2.กระบวนการสังเคราะห์ (Synthesis) 3. กระบวนการหายใจ (Respiration)

14.       ความมีชีวิต” วินิจฉัยได้จากกระบวนการใด

(1) Anabolism   (2)Catabolism  (3)Metabolism (4)ข้อ 1 และ 3

ตอบ 3 หน้า 147, (คำบรรยาย) กระบวนการเมแทบอลิซึม เป็นกระบวนการทางเคมีทั้งหมด ที่เกิดขึ้นภายในตัวของสิ่งมีชีวิต ซึ่งผลลัพธ์โดยรวมหรือผลลัพธ์สุดท้ายที่จะได้รับจาก กระบวนการเมแทบอลิซึม ก็ดือ การเจริญเติบโต (Growth) หรือความมีชีวิต นั่นเอง

15.       อวัยวะภายในที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกายมนุษย์ คือ

(1) ปอด           (2)       ตับ       (3)ลำไล้           (4)มดลูก

ตอบ 2 หน้า 153, (คำบรรยาย) ตับ (Liver) เป็นอวัยวะภายในที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกายมนุษย์ โดยตับจะทำหน้าที่เปลี่ยนสภาพน้ำตาลกลูโคสที่เหลือใช้ในร่างกายให้รวมตัวกันเป็นแป้งไกลโคเจน (Glycogen) และเก็บสะสมไว้ในตับ ดังนั้นเมื่อร่างกายขาดนํ้าตาลกลูโคสจึงสามารถดึงเอา นำตาลกลูโคสจากตับมาใช้งานได้ (โดยเปลี่ยนไกลโคเจนกลับไปเป็นกลูโคส)

16.       เลือดดีที่เตรียมส่งไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย จะออกจากหัวใจส่วนใด

(1) สองห้องซีกบน       (2)สองห้องฟากซ้าย    (3) สองห้องซีกล่าง      (4)สองห้องฟากขวา

ตอบ 2 (คำบรรยาย) หัวใจของคนมี 4 ห้อง แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

1.         ห้องฟากขวา 2 ห้อง ทำหน้าที่รับและส่งเลือดที่ผ่านการใช้งานจากร่างกายมาแล้วโดยห้องบนขวาจะรับเลือดใช้แล้วจากร่างกาย ส่วนห้องล่างขวาจะส่งเลือดเสียไปฟอกที่ปอด

2.         ห้องฟากซ้าย 2 ห้อง ทำหน้าที่รับและส่งเลือดดีออกไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยห้องบนซ้ายจะรับเลือดดีที่ปอดฟอกแล้ว ส่วนห้องล่างซ้ายจะส่งเลือดดีไปเลี้ยง ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

17.       หัวใจของคน สองห้องซีกบน เป็นบริเวณที่

(1) รับเลือดดี   (2)รับเลือดใช้งานแล้ว (3) ส่งเลือดออก          (4)รับเลือดเข้าหัวใจ

ตอบ 4 หน้า 152, (คำบรรยาย) หัวใจของคนแบ่งออกเป็น 4 ห้อง คือ

1. ห้องซีกบน 2 ห้อง เรียกว่า เอเตรียม” (Atrium) ซึ่งทำหน้าที่รับเลือดที่มาจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเข้าสู่หัวใจ โดยไมคำนึงถึงคุณภาพของเลือด

2.         ห้องซีกล่าง 2 ห้อง เรียกว่า เวนทริเคิล” (Ventricle) ซึ่งทำหน้าที่ส่งเลือดออกจากหัวใจ ไปยังอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย โดยไมคำนึงถึงคุณภาพของเลือดเช่นกัน

18. ประกาศคาดการณ์ลักษณะอากาศหรือการพยากรณ์อากาศ เป็นความรู้ในสาขาวิชาใด

(1)อุทกวิทยา   (2) อุตุนิยมวิทยา         (3) ธรณีวิทยา  (4) ปฐพีวิทยา

ตอบ 2 (คำบรรยาย) วิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical Science) เป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ หรือวิทยาศาสตร์ธรรมชาติที่ศึกษาเกี่ยวกับสิ่งไมมีชีวิต เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลง หรือความเป็นไปของธรรมชาติ เช่น การสังเกตและศึกษาเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนธรณีวิทยา (แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด)อุทกวิทยา (น้ำท่วม)อุตุนิยมวิทยา (ประกาศคาดการณ์ ลักษณะอากาศ การพยากรณ์อากาศ)ดาราศาสตร์ (ท้องฟ้า ดวงดาว) เป็นต้น

19. แพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ เป็นวิทยาศาสตร์สาขาใด

(1)       วิทยาศาสตร์ชีวภาพ    (2) วิทยาศาสตร์กายภาพ

(3) วิทยาศาสตร์ประยุกต์        (4) ข้อ 1 แสะ 3

ตอบ 3 (คำบรรยาย) วิทยาศาสตร์ประยุกต์หรือวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี (Applied Science/Technology Science) เป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยเรื่องราวของธรรมชาติ แล้วนำผลของความรู้นั้นไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อกิจกรรมเพื่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ เช่น แพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ วิศวกรรมสาสตร์ ศาสตร์คอมพิวเตอร์ การนำเอาพลังนั้า พลังลม พลังแสงแดด ไปแปรเป็นพลังงานไฟฟ้า เป็นต้น

20. การสังเกตและศึกษาเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน นับเป็นวิทยาศาสตร์สาขาใด        

(1) วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ   (2)วิทยาสาสตร์กายภาพ

(3) วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์          (4) วิทยาศาสตร์ประยุกต์

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 18. ประกอบ

21.       ความเปลี่ยนแปลงตั้งแต่เด็กอ่อนจนถึงวัยรุ่น จัดเป็น

(1) Differentiation 

(2) Development 

(3) Mutation     

(4) Evolution

ตอบ2  (คำบรรยาย) พัฒนาการ (Development) เป็นความเปลี่ยนแปลงที่ต้องใช้ระยะเวลายาวนานแต่เราสามารถรู้ขั้นตอนหรือเห็นผลของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ เช่น การเจริญเติบโต หรือพัฒนาการตามขั้นตอนของเด็กอ่อนจนถึงวัยรุ่นหรือเด็กวัยแรกเกิดจนถึงสองขวบ โดยเริ่มตั้งแต่การควํ่า คีบ นั่ง คลาน ยืน เดิน จนกระทั่งวิ่งได้ เป็นต้น

22.       ระหว่างสสาร (Matter) กับพลังงาน (Energy) มีความจริงในข้อใดบ้าง

(1) มีปริมาณมากหรือน้อยก็ได้            (2) สสารอาจแปรรูปเป็นพลังงานได้

(3)       รับรู้ได้โดยปร ะสาทรับรู้          (4) เป็นจริงได้ทั้งสามข้อ

ตอบ 2 (คำบรรยาย) สสาร (Matter) คือ สรรพสิ่งต่าง ๆ ในโลกที่มีรูปทรงหรือตัวตน สัมผัสจับต้อง รับรู้ได้โดยประสาทรับรู้ มีน้ำหนัก และต้องการที่อยู่ เช่น ดิน น้ำ ลม อากาศ ฯลฯ ส่วนพลังงาน (Energy) คือ สรรพสิ่งต่าง ๆ ในโลกที่รับรู้ได้ แต่ไม่มีรูปทรงหรือตัวตน ไม่มีนํ้าหนัก และ ไม่ต้องการที่อยู่ เช่น แสงสว่าง อุณหภูมิ กระแสลม แม่เหล็กไฟฟ้า ฯลฯ โดยสสารและ พลังงานนั้นสามารถแปรรูปไปมาหากันได้ในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมและจำกัด

23.       การนำเอาพลังนํ้า พลังลม พลังแสงแดด ไปแปรเป็นพลังงานไฟฟ้าต้องใช้ความรู้วิทยาศาสตร์สาขาใด

(1) วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ       (2) วิทยาศาสตร์กายภาพ

(3) วิทยาศาสตร์ประยุกต์        (4) ทุกข้อที่กล่าวมา

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 19. ประกอบ

24.       ข้อใดไม่เป็นพลังงาน

(1) แสงสว่าง   (2)อากาศ        (3)อุณหภูมิ      (4)แม่เหล็กไฟฟ้า

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 22. ประกอบ

25.       การจัดการให้สภาวะภายในร่างกายมีความคงที่สมํ่าเสมออย่างต่อเนื่องเรียกว่า เป็น

(1) ภาวะปกติสุข         (2)ภาวะธำรงดุล         (3)Homeostasis          (4)       ถูกทุกข้อ

ตอบ.4 หน้า 2 – 38   เมื่อปี ค.ศ. 1851 โกลด์ แบร์นาร์ด (Claude Bernard) ได้เสนอทฤษฎีภาวะปกติสุข หรีอภาวะธำรงดุล (Homeostasis) ซึ่งเป็นการจัดการให้สภาวะภายในร่างกาย มีความคงที่สม่ำเสมออย่างต่อเนื่อง

26.       Internal Respiration เกิดขึ้นโดยกระบวนการ

(1) Dialysis         (2)       Osmosis   (3)       Diffusion (4)Homeostasis

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 4. ประกอบ

27.       การนำความรู้วิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ มาผสมผสานกันจนเกิดองค์ความรู้ใหม่ เรียกการศึกษาลักษณะนี้ว่า

(1) Scientific Interdependency (2) Scientific Interdisciplinary

(3) Scientific Methods       (4) Scientific International

ตอบ 1 หน้า 2, (คำบรรยาย) Scientific Interdependency เป็นลักษณะการศึกษาวิทยาการทาง วิทยาศาสตร์ในยุคปัจจุบัน ที่มีการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ มาผสมผสานกันจนเกิดองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นสากลมากยิ่งขึ้น เช่น วิชาชีวเคมี ชีวฟิสิกส์ เป็นต้น

28.       ในการเจาะเลือดเพือนำไปหาข้อมูลทางการแพทย์ ผู้ทำการจะเจาะเลือดออกจาก

(1) หลอดเลือดอาร์เทอรี (2) หลอดเลือดเวน (3) หลอดเลือดแคพิลลารี          (4) ได้ทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 152, (คำบรรยาย) หลอดเลือดที่มาติดต่อกับหัวใจมี 2 ประเภท คือ

1. หลอดเลือดเวน (Vein) ทำหน้าที่นำเลือดที่ผ่านการใช้งานแล้วจากอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย กลับเข้าสู่หัวใจ โดยจะมีลักษณะเป็นสีเขียวอมนํ้าเงิน ซึ่งแพทย์มักจะทำการเจาะเลือดจากหลอดเลือดเวนนี้เพือนำไปหาข้อมูลทางการแพทย์ ทั้งนี้เพราะมองเห็นได้ง่าย 2. หลอดเลือดอาร์เทอรี (Artery) ทำหน้าที่นำเลือดลอกจากหัวใจไปส่งตามอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย

29.       สารอาหารที่ได้จากการย่อยสกัดจะถูกดูดซึมเข้าสู่หลอดเลือดและหลอดน้ำเหลือง โดยกระบวนการใด

(1) Osmosis        (2) Diffusion      (3) Dialysis         (4) ทั้งสามวิธี

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 6. ประกอบ

30.       หลอดนํ้าเหลืองที่อยู่ภายในวิลลัส เรียกว่า

(1) Lacteal (2) Lymph (3) Node   (4) Gland

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 6. ประกอบ

31.       วิชานิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ สังคมวิทยา จัดเป็นศาสตร์สาขาใด

(1)       วิทยาศาสตร์กายภาพ 

(2) วิทยาศาสตร์ชีวภาพ 

(3) พฤติกรรมศาสตร์

(4) วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ

ตอบ 3 (คำบรรยาย) พฤติกรรมศาสตร์ (Behavior Science) เป็นสาสตร์สาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์- ชีวภาพที่เน้นศึกษาพฤติกรรมการแสดงออกของสิ่งมีชีวิต โดยแบ่งออกเป็น 2 สาขาวิชา คีอ

1.         สังคมศาสตร์ (Social Science) เป็นความรู้ทางพฤติกรรมศาสตร์ที่พิจารณาถึงความสัมพันธ์ ระหว่างสมาชิกในกลุ่มสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ได้แก่ วิชานิติศาสตร์ สังคมวิทยา เป็นต้น

2.         รัฐศาสตร์ (Political Science) เป็นความรู้ทงพฤติกรรมศาสตร์ที่พิจารณาถึงฐานะ บทบาท หน้าที่ของสมาชิกในสังคมสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ

32.       ปีนี้เป็นปีเถาะ สัตว์ชนิดนี้จัดอยู่ในไฟลัม (Phylum) ใด

(1) Phylum Porifera  

(2) Phylum Coelenterata

(3) Phylum Chordata         

(4) Phylum Arthropoaa

ตอบ 3 หน้า 136 – 138, (คำบรรยาย) กลุ่มสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง (Phylum Chordata)สามารถจำแนกออกตามความเจริญก้าวหน้าได้ดังนี้           1. กลุ่มปลาต่าง ๆ

2.         กลุ่มสัตว์ครึ่งบทครึ่งนํ้า เช่น กบ เขียด คางคก ฯลฯ

3.         กลุ่มสัตว์เลื้อยคลาน เช่น จิ้งจก เต่า งู จระเข้ ฯลฯ

4.         กลุ่มสัตว์ปีก เช่น นก เป็ด ไก่ ห่าน ฯลฯ           5. กลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น

ค้างคาว ตุ่นบากเป็ด สิงโต จิงโจ้ หนู กระต่าย (ปีเถาะ) วาฬ คน ฯลฯ

33.       สัตว์ชนิดใดที่สร้างสารประเภทหินปูนเกาะรวมติดกันเป็นก้อนแข็งมีลักษณะสวยงาม

(1)กะพรุน        (2) ดอกไม้ทะเล           (3) ปะการัง     (4) ไฮดรา

ตอบ 3 หน้า 131 ปะการัง (Phylum Coelenterate) เป็นสัตว์ที่มีขนาดเล็กมาก อาศัยอยู่ในทะเล และมักอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม โดยต่างก็จะสร้างสารประเภทหินปูนเกาะรวมติดกันเป็นก้อนแข็ง มีลักษณะสวยงาม ซึ่งในบริเวณที่มีสิ่งแวดล้อมเหมาะสมหมู่ของปะการังนี้จะขึ้นรวมอยู่อย่าง หนาแน่นจนอาจกลายเป็นหมู่เกาะปะการังได้

34.       สัตว์ในกลุ่มใดเริ่มมีผิวตัวประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 3 ชั้น (Triploblastica) เป็นกลุ่มแรก

(1) หนอนตัวแบน         (2) แมลง         (3) ปลาดาว     (4) กบ

ตอบ 1 หน้า 131 – 133, (คำบรรยาย) สัตว์ในกลุ่มหนอนตัวแบน (Phylum Platyhelminthes)มีลักษณะสำคัญ คือ เป็นสัตว์กลุ่มแรกที่เริ่มมีผนังสำตัวหรือผิวตัวประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 3 ชั้น (Triploblastica) มีระบบประสาท ตำแหน่งของร่างกาย ระบบการสืบพันธุ์ และ ระบบขับถ่าย ซึ่งสัตว์ในกลุ่มนี้ได้แก่ พยาธิตัวตืด และพยาธิใบไม้

35.       สัตว์ใน Phylum Chordata มีร่องที่เรียกว่า Gill อยู่ทางด้านหัว ในระยะที่เป็นตัวอ่อนทำหน้าที่สำคัญคือ

(1) เป็นทางผ่านของอาหาร     (2) การแลกเปลี่ยนก๊าซ

(3) เป็นจุดรวมของระบบประสาท       (4) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 136 – 137 กลุ่มสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง (Phylum Chordata) มีลักษณะพิเศษเฉพาะ คือ

1.         ในระยะที่เป็นตัวอ่อน (Embryo) จะมีกลุ่มเชลล์ประกอบกันขึ้นเป็นแท่งทอดตามแนวสันหลัง เรียกแท่งนี้ว่า Notochord

2.         มีร่อง Gill อยู่ทางด้านหัว ในระยะที่ยังเป็นตัวอ่อนทำหน้าที่สำคัญเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนก๊าช

3.         มีระบบประสาทเจริญดีมาก เส้นไขประสาททอดอยู่ตามแนวสันหลังเหนือ Notochord

36.       สัตว์ในข้อใดจัดอยู่ในไฟลัมอาร์โทรโพดา (Arthropoda)

(1)       หมึกกระดองกับหอยลาย        (2) หมึกกล้วยกับหอยแครง

(3) ตะขาบกับปลิงทะเล          (4) ปูกับเห็บ

ตอบ 4 หน้า 136 สัตว์ใน Phylum Arthropoda จะมีโครงร่างของร่างกายหรือผิวเปลือกที่หุ้มลำตัว เป็นสารอินทรีย์ประเภทไคติน (Chitin) และรยางค์ที่ยื่นออกจากลำตัวเป็นคู่ ๆ นั้นก็จะมีลักษณะเป็นข้อปล้องติดต่อกัน อีกทั้งยังมีการลอกคราบด้วย ซึ่งสัตว์ในกลุ่มนี้ ได้แก่ กุ้ง ปู แมลงทุกชนิด ตะขาบ เห็บ บึ้ง เป็นต้น

37.       ลักษณะใดที่จัดเป็นลักษณะของสัตว์ที่เรียกว่า ฟองนํ้า

(1) มักยึดเกาะติดอยู่กับที่เดียวตลอดเวลา     (2) ลำตัวเป็นรูพรุน

(3) ผนังลำตัวประกอบด้วยชั้นเชลล์เรียงตัวกัน 2 ชั้น (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 129 – 130, (คำบรรยาย) สัตว์ในกลุ่มฟองนํ้า (Phylum Porifeia) มีลักษณะสำคัญ คือ

1.         เป็นสัตว์ที่เกือบตลอดชีวิตมักจะยึดเกาะติดอยู่กับที่ตลอดเวลา         2. ผิวลำตัวจะเป็นรูพรุน    3.ผนังลำตัวประกอบด้วยชั้นเซลล์เรียงตัวกัน 2 ชั้น คือ เซลล์ชั้นนอกและเซลล์ชั้นใน

4.         การสืบพันธุ์มีทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ

5.         การสืบพันธุแบบไมอาศัยเพศ โดยวิธีสร้างส่วนอื่น ๆ ของร่างกายเพิ่มเติมขึ้นได้เอง

เรียกว่า            Power of Regeneration

38.       สิงโตจัดเป็นสัตว์อยู่ใน            Class เดียวกับสัตว์ชนิดใด

(1)       ตุ่นปากเป็ด     (2) วาฬ            (3)คน  (4)ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 32. ประกอบ

39.       สิ่งมีชีวิตในข้อใดที่มีสมมาตรของร่างกายเป็นแบบ Radial Symmetry

(1) ปลาดาว     (2) คน (3)อะมีบา        (4)แมลงวัน

ตอบ 1 หน้า 132 Radial Symmetry คือ ลักษณะสมมาตรของร่างกายซึ่งเมื่อตัดตามแนวแกนความยาวของลำตัว (Longitudinal) ไม่ว่าระนาบใด ส่วนที่ตัดออกมาจะมีลักษณะคล้ายคลึงกัน เช่น ปลาดาว กะพรุน ฯลฯ

40.       ข้อใดคือสิ่งมีชีวิตที่จัดว่าเล็กที่สุด

(1) Mycoplasma         (2) Spirochete   (3)       Bacteria   (4)Euglena

ตอบ 1 หน้า 96 – 97 Mycoplasma (Phylum Schizophyta) เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กที่สุดเท่าที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบ คือ มีขนาดประมาณ 0.1 ไมครอน ดำรงชีวิตอยู่ได้ทั้งแบบอิสระ และแบบปรสิต

41.       อะมีบา (Amoeba) พิจารณาจากการเจริญเติบโตและการดำรงชีวิตจัดอยู่ในกลุ่มใดของโปรติสต์

(1) Prokaryotic protist       

(2) Animal-like protist

(3) Plant-like protist 

(4) Sime mold

ตอบ 2 หน้า 94106 โปรติสต์ที่มีลักษณะคล้ายสัตว์ (Animal-like protist) เป็นโปรติสต์เซลล์เดียว เคลื่อนไหวได้ ภายในเซลล์ไม่มีสารที่ทำให้เกิดสีจึงทำการสร้างอาหารไม่ได้ โปรติสต์พวกนี้ เรียกว่า โปรโตซัว (Protozoa) ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ไฟลัม คือ

1.         Phylum Sarcodina ได้แก่ อะมีบา (Amoeba)   

2. Phylum Sporozoa  

3. Phylum Mastigophora 

4. Phylum Ciliophora

42.       เชื้อแบคทีเรียชนิดใดทำให้เกิดโรคปอดบวม  

(1) Scarlatina angmosa   (2)Salmonella typhosa(3) Clostridium tetani (4) Diplococcus pneumoniae

ตอบ 4 หน้า 94 – 95 โรคภัยของมนุษย์ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียหรือบักเตรี (Bacteria) ได้แก่

1.         โรคปอดบวม เกิดจากชนิด Diplococcus pneumoniae และเชื้ออื่น ๆ

2.         ไข้ดำแดง เกิดจากชนิด Scarlatina anginosa        3. ไทฟอยด์ เกิดจากชนิด Salmonella typhosa 4. บาดทะยัก เกิดจากชนิด Clostridium tetani ฯลฯ

43.       เห็ดนางฟ้าจัดอยู่ในไฟลัม (Phylum) ใด

(1) Eumycophyta (2) Rhodophyta (3)Chlorophyta(4)Cyanophyta

ตอบ 1 หน้า 102 – 103 Phylum Eumycophyta เป็นโปรติสต์ที่อาจมีเพียงเซลล์เดียวหรืออยู่รวมกันเป็นเส้นใยเรียกว่า ไฮฟา (Hypha) ภายในเซลล์ไม่มีสารคลอโรฟิลล์ จึงไม่อาจสร้างอาหาร โดยวิธีสังเคราะห์แสงได้จึงต้องใช้อาหารจากแหล่งอื่น โดยการดำรงชีวิตมีทั้งแบบที่หากิน อย่างอิสระและแบบที่เป็นปรสิตอาศัยอยู่ได้ทั่วไป เช่น ราดำที่ขึ้นบนขนมปัง เห็ดชนิดต่าง ๆ (เช่น เห็ดนางฟ้า เห็ดฟาง) เป็นต้น

44.       ปรากฏการณ์นํ้าเปลี่ยนสีเรียกว่า “Red Tide” เกิดจากอะไร ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในนํ้า

(1)       โรงงานย้อมผ้าปล่อยสีออกมา

(2)       การขยายพันธุ์ของโปรโตชัว (Protozoa) อย่างรวดเร็ว

(3)       การขยายพันธุ์ของแอลจีไดโนแฟลกเจลเลท (Dmoflagellate) อย่างรวดเร็ว

(4)       การขยายพันธุ์ของแอลจีสีแดง (Red Algae)

ตอบ 3 หน้า 100 แอลจีไดโนแฟลกเจลเลท (Dinoflagellate Algae) เป็นแอลจีที่ภายในเซลล์ มีสารสีส้มแดงปนอยู่ อาศัยอยู่ทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม โดยบางชนิดสามารถขยายพันธุ์ด้วย การแบ่งเซลล์อย่างรวดเร็วและปล่อยสารพิษจากตัวออกสู่นํ้า ทำให้นํ้าเปลี่ยนเป็นสีแดงและ มีพิษ อันเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำอื่น ๆ อย่างยิ่ง ซึ่งปรากฏการณ์เช่นนี้เรียกว่า Red Tide

45.       สัตว์ในกล่มใดที่มี Power of Regeneration

(1) ปะการัง     (2) ปู    (3) ฟองนํ้า       (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 37. ประกอบ

46.       สัตว์ชนิดใดมีโครงร่างเป็นสารอินทรีย์ประเภทไคติน (Chitin)

(1)ฟองนํ้า        (2) เต่า (3) กุ้ง  (4) หอย

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 36. ประกอบ

47.       สิ่งมีชีวิตชนิดใดจัดเป็นเนคตอน (Nekton)

(1) หอยเม่น     (2) ปลาดาว     (3) ไรนํ้าตาล    (4) ปลาฉลาม

ตอบ 4 หน้า 80, (คำบรรยาย) สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในนํ้า แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ ๆ คือ

1.         แพลงก์ตอน (Plankton) เป็นสิ่งมีชีวิตที่เป็นทั้งพืชและสัตว์ มีขนาดเล็ก อาศัยและหากิน อยู่ในบริเวณใกล้ผิวหน้าน้ำ ไม่สามารถว่ายนํ้าได้ เช่น สาหร่าย สวะ ผักตบ ไรน้ำตาล ฯลฯ

2.         เนคตอน (Nekton) เป็นสัตว์ที่ดำรงชีวิตอยู่ในเนื้อน้ำตํ่าลึกลงไปกว่าผิวน้ำ และสามารถ ว่ายน้ำได้เองโดยอิสระ เช่น วาฬ โลมา ปลาฉลาม ฯลฯ

3.         เบนธอส (Benthos) เป็นสิ่งมีชีวิตที่เป็นทั้งพืชและสัตว์ที่อาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม โดยการเกาะยึดกับวัตถุที่อยู่ในเนื้อน้ำหรืออยู่บริเวณดินใต้ท้องน้ำ เช่น กุ้ง หอย ปู ฯลฯ

48.       ข้อใดบอกถึงข้อแตกต่างของน้ำจืดและน้ำเค็มไมถูกต้อง

(1)       นํ้าเค็มมีการเปลี่ยนแบ่ลงตามภาวะอากาศได้ง่ายกว่านํ้าจืด

(2)       ปริมาณของเกลือในนํ้าจืดมีน้อยกว่าน้ำเค็ม

(3)       น้ำจืดมักมีกระแสนํ้าเชี่ยว

(4)       อุณหภูมิน้ำจืดมีการเปลี่ยนแปลงตามภาวะอากาศได้ตลอดเวลา

ตอบ 1 หน้า 81 – 82 ข้อแตกต่างของนํ้าจืดและน้ำเค็ม มีดังนี้

1.         ปริมาณของเกลือในนํ้าจืดมีน้อยกว่านํ้าเค็ม 2. น้ำจืดมักมีกระแสนํ้าเชี่ยวกว่าน้ำเค็ม

3.         น้ำจืดมีการเปลี่ยนแปลงตามภาวะอากาศได้ง่ายกว่านํ้าเค็ม โดยอุณหภูมิของนํ้าจืด จะมีการเปลี่ยนแปลงตามภาวะอากาศตลอดเวลา

49.       สิ่งแวดล้อมที่จัดเป็นด้านกายภาพ ได้แก่

(1) อุณหภูมิ     (2) แสงสว่าง   (3) น้ำเค็ม        (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 79 สิ่งแวดล้อม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1.         สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Physical Environment) หรือสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต เช่น ดิน หิน น้ำ อากาศ แสงสว่าง อุณหภูมิ ก๊าซ ฯลฯ

2.         สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ (Biological Environment) หรือสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต เช่น พืช สัตว์ แบคทีเรีย จุลินทรีย์ ฯลฯ

50.       บริเวณไหล่ทวีปของประเทศคือบริเวณใด

(1) อ่าวไทย      (2) อ่าวฉลาม   (3) ทะเลสาบสงขลา   (4) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 79, (คำบรรยาย) ไหล่ทวีป (Continental Shelf) เป็นแหล่งอาศัยน้ำเค็มที่มีรูปร่าง คล้ายอ่างหรือกระทะที่ลาดลงจากชายฝั่งทีละน้อย ๆ และเป็นบริเวณที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ อย่างอุดมสมบูรณ์มาก จึงนับว่าเป็นแหล่งอาศัยนํ้าเค็มที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจด้าน การประมง เช่น บริเวณอ่าวไทย เป็นต้น

51.       สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงระดับความเค็มของน้ำบริเวณปากแม่น้ำเนื่องจากเหตุใด
(1) กิจกรรมชุมชนริมแม่น้ำ   

(2) ปริมาณน้ำจืดในช่วงฤดูฝน
(3)       การปล่อยนํ้าเสียจากโรงงาน

(4) มีคลองซอยลงสู่ทะเลตอบ 2 (คำบรรยาย) การที่บริเวณปากแม่นํ้ามีระดับความเค็มของนี้าไมคงที่นั้น ก็เป็นเพราะว่าปริมาณน้ำจืด ในชวงฤดูฝนจากต้นน้ำที่ไหลมาสมทบมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น จึงทำให้สัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ต้องมีการปรับตัวให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของ สภาพน้ำตามไปด้วย

52.       ประเทศไทยจัดอยู่ในภูมิประเทศแบบใด

(1) เขตปาร้อนชื้น        (2) เขตปาผลัดใบ        (3) เขตป่าสน   (4) เขตทุ่งหญ้า

ตอบ1 หน้า 82 – 83, (คำบรรยาย) เขตป่าดงดิบ ป่าดิบชื้น ป่าร้อนชื้น หรือป่าฝนเขตร้อน (Tropical Ram Forest) เป็นบริเวณที่อยูใกล้เส้นศูนย์สูตรของโลก มีความชื้นสูง มีปริมาณน้ำฝนมากที่สุดโดยเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 80 – 90 นิ้ว มีต้นไม้ขนาดใหญ่จำนวนมกก และเป็นบริเวณที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างหนาแน่น ซึ่งเขตภูมิประเทศแบบนี้จะพบมาก ในภูมิภาคเอเชียตะรันออกเฉียงใต้ (เช่น ประเทศไทย) เอเชียใต้ แอฟริกากลาง อเมริกากลาง และอเมริกาใต้

53. Atmosphere คือสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับ

(1) ก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์     (2) หมอก         (3) ควัน           (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 8588, (คำบรรยาย) Atmosphere คือ สภาพแวดล้อมทางกายภาพของโลกในส่วนที่เป็นลมฟ้าอากาศ ซึ่งอากาศที่ห่อหุ้มโลกอยู่นี้เป็นสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปตามอิทธิพล ของดวงอาทิตย์และการหมุนของโลก โดยอากาศประกอบด้วยก๊าซออกซิเจนประมาณ 20% คาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ 0.03% และก๊าชไนโตรเจนประมาณ 79% นอกจากนี้ยังมีไอน้ำ หมอก ควัน และก๊าชอื่น ๆ ปะปนอยู่ด้วย

54.       ไลเคน คือสิ่งมีชีวิตที่อยู่แบบ “Symbiosis” ในทางชีววิทยา ควรมีความหมายตรงกับคำพังเพยใด

(1) มือใครยาวสาวได้สาวเอา   (2) เข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตาม

(3) น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งปา            (4) เอาหูไปนาเอาตา ไปไร่

ตอบ 3 หน้า 103 – 104 ไลเคน (Lichen) เป็นสิ่งมีชีวิตที่ประกอบด้วยเซลล์ของแอลจีชนิดBlue-Green Algae หรือ Green Algae ฝังตัวอยู่ร่วมกับกลุ่มไมซีเลียมของฟังไจ (เชื้อรา) ซึ่งการอยู่ร่วมกันของแอลจีกับฟังไจนี้จัดเป็นการอยู่ร่วมกันแบบต่างฝ่ายให้ประโยชน์แก่กัน (Mutualistic Symbiosis) ดังคำพังเพยที่ว่า น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า

55.       ข้อใดกลาวถึงความหมายของคำว่า ประชากร” (Population) ได้ถูกต้อง

(1)       กลาวถึงประชากรของมนุษย์เท่านั้น

(2)       กลุ่มของสิ่งมีชีวิตซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม

(3)       จำนวนของสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในสังคม

(4)       สิ่งมีชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่งมีความสัมพันธ์ต่อกันในสังคมหนึ่ง

ตอบ4 หน้า 5-671, (คำบรรยาย) ประชากร (Population) ทางชีววิทยา หมายถึง กลุ่มของ สิ่งมีชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่งซึ่งมีความสัมพันธ์ต่อกันในสังคมหนึ่ง ๆ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน ที่อยู่ในแหล่งเดียวกัน และในช่วงเวลาที่กำหนด

56.       คำว่า ความหลากหลายทางชีวภาพ” คือ การปรากชนิดต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตในพื้นที่บริเวณหนึ่ง ดังนั้นจึงมีความหมายตรงกับข้อใด

(1) Society (2) Population  (3) Community (4) Species

ตอบ3 หน้า 672, (คำบรรยาย) ชุมชนหรือชุมชีพ (Community) หมายถึง พื้นที่บริเวณหนึ่งที่มี ความหลากหลายทางชีวภาพ” หรือมีการปรากชนิดต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต นั้นคือ เป็นพื้นที่ที่ มีสิ่งมีชีวิตหลายชนิดมาอาศัยอยู่รวมกันในสภาพแวดล้อมที่เทมือนกัน เช่น สวนสัตว์ ตลาดสด สวนสาธารณะ เป็นต้น

ข้อ 57. – 60. ให้ตอบคำถามจากตัวเลือกต่อไปนี้

(1) วิตามิน A  (2) วิตามิน D (3) วิตามิน E  (4) วิตามิน K

57.       วิตามินในข้อใดช่วยป้องกันการเป็นหมัน

ตอบ3  หน้า 46, (คำบรรยาย) วิตามิน เป็นวิตามินที่ช่วยป้องกันการเป็นหมัน และช่วยทำให้

ตัวอ่อนเกาะติดผนังมดลูกไได้เหนียวแน่นขึ้น ไม่ไห้แท้งง่าย นอกจากนี้ยังมีบทบาทหน้าที่ เกี่ยวกับการยืดอายุเซลล์ สร้างความชุ่มชื้นให้ผิวหนัง และเสริมประสิทธิภาพการทำงาน ของอวัยวะผลิตเซลล์เชื้อเพศ

58.       วิตามินในข้อใดช่วยควบคุมการดูดซึมของธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัสในร่างกาย

ตอบ 2 หน้า 46, (คำบรรยาย) วิตามิน เป็นวิตามินที่ทำหน้าที่ช่วยควบคุมการดูดซึมของธาตุแคลเซียม และฟอสฟอรัสในร่างกายสำหรับสร้างเนื้อเยื่อกระดูก ถ้าร่างกายขาดวิตามินนี้จะทำให้กระดูก อ่อนโค้งงอ กระดูพรุน ฟันผุ กล้ามเนื้ออ่อนเปลี้ยและชักกระตุก แต่ถ้าร่างกายได้รับมากเกินไปจะทำให้กระดูกแกร่งและหักง่าย

59.       ถ้าขาดวิตามินในข้อใดจะทำให้โลหิตแข็งตัวช้า

ตอบ 4 หน้า 46, (คำบรรยาย) วิตามิน เป็นวิตามินที่มีบทบาทหน้าที่สำคัญเกี่ยวข้องกับคุณภาพ ของเลือด (โลหิต) ก็คีอ ทำให้นํ้าเลือดข้นเหนียวจนเกิดการไหลของเลือดช้าลง และทำให้เลือด แข็งตัวปิดปากแผลเพื่อป้องกันเลือดไหลออกมาภายนอกร่างกาย ซึ่งถ้าร่างกายขาดวิตามินนื้ จะทำให้เลือดแข็งตัวช้า เสียเลือดมาก หรือเลือดไหลหยดช้าเมื่อเกิดบาดแผล

60.       วิตามินในข้อใด ถ้าได้รับไม่เพียงพอจะเกิดอาการตามัว มองไม่เห็นในที่แสงสลัว

ตอบ 1 หน้า 45 – 46, (คำบรรยาย) วิตามิน เป็นวิตามินที่มีบทบาทหน้าที่สำคัญเกี่ยวข้องกับ สุขภาพของดวงตา และคุณภาพของการมองเห็น ซึ่งถ้าร่างกายได้รับวิตามินนื้ไม่เพียงพอ จะทำให้ ตามัวและมองไม่เห็นในที่แสงสลัว (Night Blindness)

61.       Isotonic Solution หมายถึงอะไร

(1) สารละลายที่มีความเข้มข้นน้อยกว่า          

(2) สารละลายที่มีความเข้มข้นสูงกว่า

(3) สารละลายที่มิความเข้มข้นเท่ากัน 

(4) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 33 ศัพท์วิชาการที่เกี่ยวข้องกับความเข้มข้นของสารละลาย ได้แก่

1.         Hypertonic Solution หมายถึง สารละลายที่มีความเข้มข้นสูงกว่า หรือมีปริมาณของสาร มากกว่าปริมาณของนํ้า

2.         Hypotonic Solution หมายถึง สารละลายที่มีความมเข้มข้นน้อยกว่า หรือมีปริมาณของสารน้อยทว่าปริมาณของนํ้า

3.         Isotonic Solution หมายถึง สารละลายที่มีความเข้มข้นเท่ากัน

62.       เยื่อชนิดใดที่ยอมให้สารทุกชนิดผ่านได้

(1) Impermeable Membrane    

(2) Differentially Permeable Membrane

(3) Permeable Membrane         

(4) Semipeimeable Membrane

ตอบ 3 หน้า 33 เยื่อบาง (Membrane) แบ่งตามคุณสมบัติการยอมให้ซึมผ่านออกเป็น 3 แบบ คือ 1. Impermeable Membrane เป็นเยื่อที่ไม่ยอมให้สารใด ๆ ผ่านได้เลย 2.Semipermeable Membrane/Differentially Permeable Membrane/Selectively Permeable Membrane เป็นเยื่อที่ยอมให้สารเพียงบางชนิดผ่านได้

3.Permeable Membrane เป็นเยื่อที่ยอมให้สารทุกชนิดผ่านได้

63.       ข้อใดจัดเป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลเล็กมาก

(1) น้าตาลมอลโตส     (2) เด็กซทริน   (3) น้าตาลกาแลคโตส (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 37 – 39, (คำบรรยาย) สารประกอบคาร์โบไฮเดรต แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1. Monosaccharide หรือ Simple Sugar เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลเล็กมาก หรือ ที่เรียกว่านํ้าตาลเชิงเดี่ยว ได้แก่ นํ้าตาลกลูโคส นํ้าตาลฟรุคโตส นํ้าตาลกาแลคโตส เป็นต้น

2.         Disacchande หรือ Double Sugar เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลคู่ หรือที่เรียกว่า นํ้าตาลเชิงประกอบ ได้แก่ นํ้าตาลทราย นํ้าตาลมอลโตส นํ้าตาลแลคโตส เป็นต้น

3.         Polysaccharide เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลใหญ่มาก ได้แก่ แป้งไกลโคเจนในสัตว์ เซลลูโลส (เช่น เด็กซทริน) ไคติน เป็นต้น

64.       ข้อใดจัดเป็น Monosaccharide

(1) นํ้าตาลมอลโตส     (2) นํ้าตาลฟรุคโตส     (3) นํ้าตาลแลคโตล     (4) นํ้าตาลทราย

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 63. ประกอบ

65.       คารโบฮเดรต 1 กรัม เมื่อเผาไหม้โดยสมบูรณ์ให้พลังงานความร้อนกี่กิโลแคลอรี

(1) 4.1 (2) 5.1 (3) 6.2 (4) 7.3

ตอบ 1 หน้า 39, (คำบรรยาย) ไลปิดหรือไขมัน เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานมากที่สุดในปริมาณนํ้าหนัก ที่เท่ากันของสาร โดยไขมันจะให้พลังงานมากกว่าคาร์โบไฮเดรต กล่าวคือ ไขมัน 1 กรัม เมื่อเผาไหม้โดยสมบูรณ์แล้วจะให้พลังงานความร้อน 9.1 กิโลแคลอรี ในขณะที่คาร์โบไฮเดรต 1 กรัม ให้พลังงานความร้อนเพียง 4.1 กิโลแคลอรี่เท่านั้น

66.       Desoxyribose Nucleic Acid มีหน้าที่อะไร

(1) ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากบรรพบุรุษไปยังลูกหลาน      (2) สร้างโปรตีน

(3) ส่งเสริมและควบคุมการเจริญเติบโต         (4) สร้างน้ำย่อยหรือเอนไซม์

ตอบ 1 หน้า 43, (คำบรรยาย) DNA (Desoxyribose Nucleic Acid) หรือ Gene เป็นสารพันธุกรรม ซึ่งมีหน้าที่สำคัญ 2 ประการ คือ 1. ก่าหนดลักษณะเฉพาะต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด หรือแต่ละหน่วยให้เป็นไปตามเผ่าพันธุ์ของตน และสามารถถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมนั้น จากบรรพบุรุษไบ่สู่ลูกหลานได้ ซึ่งเหมือนกับ การหว่านหรือปลูกเมล็ดพืชชนิดใด ย่อมได้ผล เป็นพืชชนิดนั้น”  2. ควบคุมกิจกรรมทุกประเภทที่เกิดขึ้นภายในเซลล์

67.       ออร์แกเนลล์ข้อใด มีหน้าที่เป็นที่เกิดกระบวนการหายใจระดับเซลล์

(1) ไลโซโซม (Lysosome)          (2) แวคิวโอล (Vacuoles)

(3) ไมโตดอนเดรีย (Mitochondria)    (4) พลาสติด (Plastids)

ตอบ2  หน้า 52, (คำบรรยาย) ไมโตคอนเดรีย (Mitochondria) เป็นออร์แกเนลล์ที่ได้ชื่อว่าเป็นโรงงานผลิตไฟฟ้าของเซลล์” หรือเป็น แหล่งผลิตพลังงานให้แกเชลล์” (House of Power of the Cell) โดยจะทำหน้าที่สร้างเอนไซม์ที่ใช้ในกระบวนการหายใจระดับเซลล์หรือเผาผลาญ อาหารเพื่อให้เกิดพลังงานแก่เซลล์ โดยเฉพาะเชลล์ที่มีกระบวนการทำงานสูง เช่น เซลล์ของตับ ไต และประสาท

68.       ออร์แกเนลล์ข้อใด ที่มีบทบาทในการสังเคราะห์แสง

(1) ไลโซโซม (Lysosome)          (2) แวคิวโอล (Vacuoles)

(3) ไมโตคอนเดรีย (Mitochondria)    (4) พลาสติด (Plastids)

อบ 4 หน้า 53, (คำบรรยาย) พลาสติด (Plastids) เป็นออร์แกนเลล์ที่มีลักษณะเป็นเม็ดสารและภายในมีสารที่ทำให้เกิดสีบรรจุอยู่ โดยเม็ดสารสีเขียวที่บรรจุอยู่ในคลอโรพลาสติด หรือคลอโรพลาสต์นั้นจะเรียกว่า คลอโรฟิลล์” (Chlorophyll) ซึ่งเป็นสารที่มีบทบาทสำคัญ ในการสังเคราะห์แสงของพืช

69.       พืชชนิดใดมีรากสังเคราะห์แสง

(1) กระบองเพชร         (2) กุหลาบ      (3) กล้วยไม้     (4) จอก

ตอบ 3 หน้า 117 รากของพืชทุกชนิดมักจะเป็นทรงกระบอก โคนใหญ่ปลายเรียวเล็กลงทีละน้อย ไม่มีข้อ ปล้อง ตา หรือใบ และไม่มีสีเขียว ยกเว้นรากสังเคราะห์แสง (Photosynthetic Root) เช่น รากกล้วยไม้ เป็นต้น

70.       พืชชนิดใดจัดเป็นพวก Hydrophyte

(1) กุหลาบหิน (2) มะขาม       (3) บัว  (4) เสมา

ตอบ 3 หน้า 122 พืชแบ่งตามลักษณะของแหล่งกำเนิดและที่อยูอาศัยได้เป็น 5 ประเภท คือ

1.         Epiphyte หมายถึง พืชที่ขึ้นอยู่บนต้นไม้อื่นแต่ไม่ได้เบียดเบียนต้นไม้นั้น เช่น กล้วยไม้และเฟิร์นบางชนิด

2.         Parasite หมายถึง พืชที่ขึ้นอยู่บนต้นไม้อื่นแล้วเบียดเบียนต้นไม้นั้น เช่น กาฝาก ฝอยทอง ขนุนดิน ฤาษี

3.         Xerophyte หมายถึง พืชที่เกิดอยู่ในที่แห้งแล้งและมีน้ำน้อย เช่น กุหลาบหิน กระบองเพชร เสมา โบตั๋น

4.         Mesophyte หมายถึง พืชที่เกิดอยู่ในที่ที่มีน้ำพอสมควร เช่น มะม่วง มะขาม ทุเรียน มังคุด

5.         Hydrophyte หมายถึง พืชที่อาศัยอยู่ในน้ำ เช่น บัว ผักบุ้ง ผักตบชวา ผักกระเฉด

71.       ใบของพืชชนิดใดที่ช่วยทำหน้าที่ขยายพันธุ

(1) กาบหอยแครง       

(2) มันเทศ       

(3) ต้นลายใบเป็น       

(4) กล้วยไม้

ตอบ3 หน้า 122 – 123 ใบของพืชมีหน้าที่หลัก 3 ประการ คือ การสร้างอาหาร การหายใจ และ การคายนำ นอกจากนี้แล้วใบของพืชบางชนิดยังอาจเปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่อย่างอื่น ซึ่งอาจเรียกว่าเป็นหน้าที่รอง หรือพืชบางชนิดอาจทำหน้าที่หลักและหน้าที่รองไปพร้อมๆ กัน หรือทำหน้าที่เดียวอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ทำหน้าที่แพร่และขยายพันธุ์ ได้แก่ ต้นตายใบเป็น  โคมญี่ปุ่น และเฟิร์นบางชนิดเปลี่ยนแปลงไปเป็นอวัยวะจับสัตว์พวกแมลงตัวเล็ก ๆ ได้แก่ น้ำเต้าฤาษี กาบหอยแครง เป็นต้น

72.       พืชชนิดใดที่ฐานรองดอกเจริญไปเป็นเนื้อของผล

(1) แอปเปิล     (2) ทุเรียน        (3) มะม่วง       (4) ส้ม

ตอบ 1 หน้า 125 ฐานรองดอก (Receptacle) จะอยู่ที่ปลายสุดของก้านดอกเป็นส่วนสุดท้ายที่จะติดกับดอกเป็นแหล่งจ่ายอาหารไปยังอวัยวะส่วนอื่นของดอก เป็นฐานที่รองรับส่วนสร้างเซลล์เพศ ของดอกและในพืชบางชนิดอวัยวะส่วนนื้จะเจริญไปเป็นเนื้อของผล เช่น แอปเปิล

73.       พืชชนิดใดมีลำต้นแบบ Stolon

(1) บัวบก        (2) ผักบุ้ง         (3) พลู (4) ตำลึง

ตอบ1 หน้า 120 พืชที่มีลำต้นอยู่เหนือดินสามารถแบ่งตามลักษณะที่ปรากฎได้เป็น 4 ชนิด คือ

1.         ชนิดที่ทอดแตะพืนเป็นระยะ ๆ (Stolon) เช่น บัวบก ผักแว่น ผักตบชวา จอก

2.         ชนิดที่ทอดราบไปตามพื้น (Prostrate) เช่น ผักบุ้ง ผักกระเฉด

3.         ชนิดที่เกาะเกี่ยวป่ายปีนหรือเลื้อยพัน (Climber/Twinning) เช่น ตำลึง พลู พวงชมพู เถาวัลย์

4.         ชนิดที่มีลำต้นตั้งตรง (Erect Stem) เช่น สนทะเล ก้ามปู ราชพฤกษ์ มะพร้าว ตาล มะละกอ

74.       Dioecious Plant หมายถึงอะไร

(1) มีดอกสมบูรณ์เพศในต้นเดียวกัน  (2) มีดอกแยกเพศอยู่ต้นเดียวทัน

(3) มีดอกแยกเพศอยู่ต่างต้นกัน          (4) มีดอกครบสองเพศในต้นเดียวกัน

ตอบ     3 หน้า 127172 การปรากฏเพศในสิ่งมีชีวิต แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

1.         Dioecious คือ สัตว์หรือพืชที่มีเพศแยกกันเป็นเพศผู้กับเพเมีย หรือปรากฏการมีเพศ เพียงอย่างเดียวในตัวหรือในต้น

2.         Monoecious คือ สัตว์หรือพืชที่มีการปรากฏเพศครบทั้ง 2 เพศในตัวหรือในต้นเดียวกัน

75.       Pollination หมายถึงอะไร

(1) การถ่ายละอองเกสร (2) การติดเมล็ด       (3)       การปฏิสนธิ     (4)       ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 127 การถ่ายละอองเกสร (Pollination) หมายถึง ปรากฏการณ์ที่ละอองเกสรตัวผู้ ปลิวไปตกบนยอดเกสรตัวเมีย ถ้าเกิดในดอกเดียวกันเรียกว่า Self-Pollination หรือ Close-Pollination แต่ถ้าเกิดต่างดอกกันเรียกว่า Cross Pollination โดยการถ่าย ละอองเกสรนี้จะส่งผลท่าให้เกิดการผสมเกสร (Fertilization) ขึ้นในที่สุด

76.       พืชชนิดใดจัดเป็นพวก Xerophyte

(1) ผักตบชวา  (2)       ทุเรียน  (3)       กุหลาบหิน       (4)       มะขาม

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 70. ประกอบ

77.       พืชชนิดใดจัดเป็นพวก Mesophyte

(1) กระบองเพชร         (2)       มะม่วง (3)       บัว       (4)       เสมา

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 70. ประกอบ

78.       พืชชนิดใดที่ใบมีลักษณะเป็นแผ่นเล็ก ๆ เกิดขึ้นเป็นวงรอบข้อ

(1) หวายทะนอย         (2)       หญ้าถอดปล้อง           (3)       มอสส์  (4)       เฟิร์น

ตอบ 2 หน้า 113 พืชใน Subdivision Sphenopsida จะมีลักษณะคล้ายต้นหญ้า มีข้อและปล้อง ชัดเจน ผิวลำต้นหยาบเป็นร่องยาวคล้ายลูกฟูก และใบมีลักษณะเป็นแผ่นเล็ก ๆ เกิดขึ้นเป็น วงรอบข้อ ได้แก่ หญ้าถอดปล้องหรือสนหางม้า (Horsetail)

79.       พืชชนิดใดที่ใบอ่อนจะม้วนงอขดคล้ายลานนาฟิกา

(1) เฟิร์น          (2) มอสส์         (3) หญ้าถอดปล้อง     (4) หวายทะนอย

ตอบ 1 หน้า 113 เฟิร์น จัดเป็นพืชใน Class Filicinae ซึ่งมีลักษณะสำคัญ คือ

1.         อาศัยนํ้าเป็นสื่อในการนำสเปิร์มว่ายเข้าไปผสมกับไข่

2.         มีอับสปอร์รวมอยู่เป็นกลุ่มจำนวนมากติดอยู่ใต้ใบ

3.         เป็นพืชที่ยังไมมีเมล็ด

4.         ช่วงชีวิตระยะ Gametophyte เป็นช่วงชีวิตอิสระที่มีอายุไม่นานนัก

5.         ใบออนจะม้วนงอขดคล้ายลานนาฟิกา

80.       พืชชนิดใดมีเมล็ดแต่ไมมีผนังห่อหุ้ม

(1) ปรง            (2) เฟิร์นก้านดำ           (3) จอกหูหนู    (4) สามร้อยยอด

ตอบ 1 หน้า 111115 – 116, (คำบรรยาย) พืชมีเมล็ดใน Division Tracheophyta นั้น แบงออกเป็น 2 พวก คือ

1.         พืชมีเมล็ดแต่เมล็ดไม่มีผนังห่อหุ้ม หรือพืชไม่มีดอก (Class Gymnospermae)ได้แก่ ปรง สนแท้ แปะก๊วย และเครือมะเมื่อย

2.         พืชมีเมล็ดและเมล็ดมีผนังห่อหุ้ม หรือพืชดอก (Class Angiospermae) ได้แก่ข้าว กุหลาบ พริก มะเขือ เป็นต้น ซึ่งพืชใน Class นี้นับว่าเป็นพีชที่มีวิวัฒนาการสูงสุด และมีจำนวนมากที่สุดในยุคปัจจุบัน

81.       พืชใน Class ใด มีวิวัฒนาการสูงสุด

(1) คลาสแองจิโอสเปอร์มี (Class Angiospermae) 

(2) คลาสฟิลิซินี (Class Filicinae)

(3) คลาสเฮพาทิชี (Class Hepaticae) 

(4) คลาสจิมโนสเปอร์มี (Class Gymnospermae)

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 80. ประกอบ

82.       พืชชนิดใดมีลำต้นแบบ Prostrate

(1) ผักกระเฉด 

(2) ผักแว่น       

(3) บัวบก        

(4) พลู

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 73. ประกอบ

83.       พืชชนิดใดมีวงจรชีวิตในเวลา 2 ปี (ไม้ข้ามปี)

(1) อ้อย           (2) ดาวเรือง     (3) หอม           (4) มันสำปะหลัง

ตอบ 3 หน้า 121 พืชสามารถแบ่งตามลักษณะของการมีอายุได้เป็น 4 ชนิด คือ

1.         ชนิดที่มีช่วงอายุสั้นมาก และปีหนึ่งอาจเกิดได้หลายรุ่น (Ephemeral) เช่น ดาวเรือง บานชื่น แพงพวยฝรั่ง

2.         ชนิดที่มีวงจรชีวิตในเวลา 1 ปี หรือไม้ปีเดียว (Annual) เช่น อ้อย มันสำปะหลัง

3.         ชนิดที่มีวงจรชีวิตในเวลา 2 ปี หรือไม้ข้ามปี (Biennial) เช่น หอม กระเทียม ว่านต่าง ๆ

4.         ชนิดที่มีอายุนานกว่า 2 ปี หรือไม้หลายปี (Perennial) เช่น มะม่วง ทุเรียน

84.       เหตุผลในข้อใดที่ทำให้มนุษย์มีความเชื่อเกี่ยวกับการกำเนิดของชีวิตบนโลกแตกต่างกันไป

(1) เชื่อตามคัมภีร์ทางศาสนาที่ได้กล่าวไว้แล้ว            (2) มีความเจริญก้าวหน้าด้านวิทยาการที่เปลี่ยนไป

(3) เชื่อตามคำกล่าวของนักปราชญ์ในอดีต     (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 11 เหตุผลที่ทำให้มนุษย์มีความเชื่อเกี่ยวกับการกำเนิดของชีวิตบนโลกแตกต่างกันไป คือ

1.         เชื่อตามคัมภีร์ทางศาสนาที่ได้กล่าวไว้แล้ว

2.         มีความเจริญก้าวหน้าด้านวิทยาการที่เปลี่ยนไป

3.         เชื่อตามคำกล่าวของนักปราชญ์ในอดีต

85.       ใครคือผู้ที่กล่าวถึงการกำเนิดของชีวิตบนโลกโดยอาศัยการทดลองทางวิทยาศาสตร์

(1) อริสใตเติล (Aristotle)          (2) เซ็นต์ ออกัสติน (Saint Augustine)

(3) อูเรและมิลเลอร์ (Urey and Miller)         (4) ทาเลส (Thales)

ตอบ 3 หน้า 14 อูเรและมิลเลอร์ (Urey and Miller) เป็นผู้ที่กล่าวถึงการกำเนิดของชีวิตบนโลก โดยอาศัยการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เพื่อพิสูจน์ว่าสารอินทรีย์เกิดจากสารอนินทรีย์ โดยเอา ไอน้ำ แอมโมเนีย มีเทน แล ะไฮโ ดรเจนมารวมกัน ด้วยการใช้กระแสไฟฟ้าเข้าช่วย ทำให้ใด้ สารอินทรีย์ประเภทโปรตีนขึ้นมา

86.       การทดลองในอดีตของ Francesco Redi (ค.ศ. 1626 – 1697) โดยการใส่เนื้อลงในขวด 3 ใบที่เปิดและ ปิดฝาต่างกัน ผลปรากฏว่าขวดที่เปิดฝามีแมลงวันและหนอนบนก้อนเนื้อ เขาควรสรุปว่าอย่างไร

(1) หนอนเกิดจากเนื้อเน่า        (2) สิ่งมีชีวิตไม่ได้เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต

(3) หนอนที่พบในขวดถูกสร้างขึ้นโดยพระเจ้า (4) ธาตุดิน นํ้า ลม ไฟ เกิดเป็นหนอนและแมลงวัน

ตอบ 2 หน้า 12 Francesco Redi (ค.ศ. 1626 – 1697) เป็นผู้พิสูจน์ว่าสิ่งมีชีวิตไม่ได้เกิดมาจาก สิ่งไมมีชีวิต ซึ่งเขาได้ทำการทดลองโดยการใส่เนื้อลงในขวด 3 ใบที่เปิดและปิดฝาต่างกัน ผลปรากฏว่าขวดที่เปิดฝามีแมลงวันลงไปตอมเนื้อแล้วต่อมาเกิดตัวหนอนไต่บนก้อนเนื้อ เขาจึงสรุปว่าตัวหนอนเกิดมาจากไข่ของแมลงวัน เนื้อเน่าเป็นเพียงแหล่งที่ช่วยให้แมลงวัน มาวางไข่เท่านั้น แต่ผลการทดลองนี้ไม่มีผู้ใดยอมรับว่าถูกต้อง

87.       ในขั้นตอนการเกิดโลก เมื่อ 4,500 ล้านปีมาแล้ว กลุ่มก๊าซที่มีนํ้าหนักเบา เช่น ไฮโดรเจน และออกซิเจน ประกอบอยู่ที่ใด

(1) เป็นชั้นบาง ๆ ที่แกนโลก    (2) อัดตัวกันแน่นในแกนโลก

(3) เกิดปฏิกิริยากันเป็นชั้นผิวโลก       (4) ล่องลอยในชั้นบรรยากาศของโลก

ตอบ 3 หน้า 15-16 โลกมีอายุประมาณ 4,500 – 5,000 ล้านปีมาแล้ว โดยลักษณะของโลก ในระยะก่อนเกิดนั้น จะเป็นกลุ่มก๊าซที่มีนํ้าหนักเบา อันประกอบขึ้นด้วยละอองรังสี และ อนุภาคของธาตุต่าง ๆ ในสภาพของอะตอม ซึ่งอะตอมที่พบมากที่สุด ได้แก่ อะตอมของ ธาตุไฮโดรเจน (H) ออกซิเจน (0) ไนโตรเจน (N) และคาร์บอน (C) โดยเมื่ออุณหภูมิของ กลุ่มก๊าซนั้นเริ่มลดลง อนุภาคหรืออะตอมจะมารวมกันเข้าเป็นโมเลกุล ทำให้กลุ่มก๊าชเหล่านั้น จับตัวแน่นมากขึ้นและเกิดปฏิกิริยากันเป็นชั้นผิวโลก

88.       การเกิดปฏิกิริยาของธาตุใดต่อไปนื้ เกิดเป็นสารประกอบเคมีประเภทมีเทน (CH4) แล้วทำให้โลกอบอุ่นขึ้น

(1) คาร์บอนและออกซิเจน      (2) ไฮโดรเจนและออกซิเจน

(3) ไฮโดรเจนและคาร์บอน      (4) ไฮโดรเจนและไนโตรเจน

ตอบ 3 หน้า 16 วิวัฒนาการทางเคมีของโลกระยะที่ 1 เมื่ออุณหภูมิของโลกเย็นลงจนเกิดปฏิกิริยา ทางเคมีขึ้นแล้วนั้น อะตอมของธาตุเบา ๆ จะทำปฏิกิริยาต่อกันเกิดเป็นสารประกอบทางเคมีขึ้นมา โดยอะตอมของไฮโดรเจนจะเป็นอะตอมที่ว่องไวในการทำปฏิกิริยามากที่สุด ซึ่งเมื่อทำปฏิกิริยา กับอะตอมของออกซิเจนจะได้เป็นไอน้ำทำปฏิกิริยากับอะตอมของไนโตรเจนจะได้ เป็นก๊าชแอมโมเนีย ทำปฏิกิริยากับอะตอมของคาร์บอนจะได้เป็นก๊าชมีเทน

89.       สารอินทรีย์ที่เกิดจากธาตุคาร์บอน (C) ทำปฏิกิริยากับธาตุอื่น ๆ แล้วพบในสิ่งมีชีวิตยุคแรกบนโลก คือ

(1) พิวรีน         (2) ไพริมิดีน     (3) กรดอะมีโน (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 17 วิวัฒนาการทางเคมีของโลกระยะที่ 2 เป็นระยะที่เริ่มเกิดสารประกอบอินทรีย์เนื่ยงจากทะเลและมหาสมุทรในระยะเริ่มแรกนั้นมีสารประกอบคาร์บอน (C) หรือสารอินทรีย์ ประเภทมีเทนเป็นจำนวนมาก มีเทนจึงเป็นสารหลักในการทำปฏิกิริยาเคมีกับธาตุหรือ สารประกอบอื่น ๆ ได้ดีที่สุด ซึ่งทำให้เกิดสารอินทรีย์ 6 ประเภท คือ นํ้าตาล กลีเซอริน กรดไขมัน กรดอะมิโน ไพริมิดีน และพิวรีน ในสิ่งมีชีวิตยุคแรกเริ่มบนโลก

90.       คุณสมบัติข้อใดที่ไม่พบในสิ่งมีชีวิตยุคแรกเริ่มบนโลก

(1) มีกระบวนการหายใจ         (2) การปรุงอาหารจากกระบวนการสังเคราะห์ทางชีวะเคมี

(3) การเติบโตเพิ่มขนาดเลล์    (4) การทวีจำนวน

ตอบ 2 หน้า 24 คุณสมบัติของสิ่งมีชีวิตในยุคแรกเริ่มบนโลก มีดังนี้

1. มีกระบวนการหายใจหรือแลกเปลี่ยนก๊าซ หรือเริ่มรู้จักใช้โมเลกุลของสารต่าง ๆ เป็นแหล่งให้พลังงาน

2.         นิวคลีโอโปรตีนภายในเซลล์สามารถที่จะสร้างโมเลกุลใหม่ได้ ทำให้เซลล์มีขนาดเพิ่มขึ้น ซึ่งนับเป็นการเจริญเติบโต และมีการทวีจำนวนออกเป็นสองเซลล์เล็ก ๆ

3.         เกิดปฏิกิริยาเคมีในลักษณะใหม่ ๆ ทำให้ได้สารใหม่และคุณสมบัติผิดแปลกเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

91.       รูปแบบการกินอาหารของสิ่งมีชีวิตแรกเริ่ม ทำให้สิ่งมีชีวิตมีวิวัฒนาการที่ต่างกันออกไป รูปแบบ การกินอาหารดังกล่าวคือ

(1) การเกิดกระบวนการ Chemosynthesis    

(2) การเกิดกระบวนการ Photosynthesis

(3) การดำรงชีวิตเป็นปรสิต     

(4) เป็นได้ทุกกรณี

ตอบ 4 หน้า 25 – 26 รูปแบบการกินอาหารของสิ่งมีชีวิตแรกเริ่ม ที่ทำให้สิ่งมีชีวิตมีวิวัฒนาการ ที่ต่างกันออกไป คือ  

1. การดำรงชีวิตเป็นปรสิต (Parasite) 

2. การดำรงชีวิตแบบ Saprophytism 

3. การดำรงชีวิตแบบ Eating

4.         การเกิดกระบวนการ Chemosynthesis 5. การเกิดกระบวนการ Photosynthesis

92.       ลักษณะการกินอาหารแบบใดที่พบในสิ่งมีชีวิตที่เป็นบรรพบุรุษของสัตว์

(1) Saprophytism       (2) Photosynthesis    (3) Eating (4)Chemosynthesis

ตอบ 3 หน้า 26 การกิน (Eating) เป็นการปรับตัวเพื่อหลีกเลี่ยงสภาพการขาดแคลนอาหารของ สิ่งมีชีวิตเริ่มแรกที่เป็นบรรพบุรุษของสัตว์ โดยสิ่งมีชีวิตที่หาอาหารด้วยวิธีนี้จะเปลี่ยนแปลง รูปร่างหรือโครงสร้างเชลล์ เพื่อให้สะดวกแก่การกลืนกินเซลล์อื่น

93.       ปฏิกิริยาของกระบวนการทางชีวเคมีใดที่เกิดขึ้นจากสิ่งมีชีวิตยุคแรกเริ่มแล้วทำให้บรรยากาศมีก๊าซออกซิเจน

(1) Decomposition    (2) Photosynthesis    (3) Respiration (4) Chemosynthesis

ตอบ 2 หน้า 26 – 2738, (คำบรรยาย) การสังเคราะห์ด้วยแสง (Photosynthesis) เป็นกระบวนการทางชีวเคมีที่เซลล์พืชนำเอาพลังงานแสงมาใช้สร้างสารอาหารประเภทนํ้าตาลกลูโคส ด้วยปฏิกิริยาระหว่างก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์กับนํ้า และเกิดก๊าชออกซิเจน เป็นผลพลอยได้ ซึ่งจากปฏิกิริยาของกระบวนการนี้ จะช่วยทำให้ชั้นบรรยากาศของโลกได้รับ ก๊าชออกซิเจนมากขึ้นจนเหมาะสมต่อการดำรงชีวิต และยังช่วยลดปริมาณก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ ในบรรยากาศที่เป็นสาเหตุของการเกิดปัญหาสภาวะโลกร้อนในปัจจุบันอีกด้วย

94.       การตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เกิดในโปรโตพลาสม์ พบในสิ่งมีชีวิตพวกใด

(1) ในสัตว์ชั้นสูง          (2) ในพวกพืชทั่วไป

(3) สิ่งมีชีวิตชั้นตํ่าประเภทเซลล์เดียว (4) พบในสิ่งมีชีวิตทุกข้อที่กล่าวมา

ตอบ 3 หน้า 195 – 196, (คำบรรยาย) การตอบสนองต่อสิ่งเร้าในสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำประเภทเซลล์เดียว (เช่น พวกโปรติสตา) จะเกิดขึ้นพร้อมกันในก้อนโปรโตพลาสม์ ส่วนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าใน สัตว์ชั้นสูงและในพืชทั่วไปนั้น จะมีโครงสร้างหรืออวัยวะที่ทำหน้าที่เป็นสัดส่วนแยกออกจากกัน

95.       งูกะปะรับสัญญาณของเหยื่อโดยอาศัยหน่วยรับความรู้สึกที่เกี่ยวกับอุณหภูมิ เรียกหน่วยรับความรู้สึกนั้นว่า

(1) Chemoreceptor (2) Phonoreceptor (3) Thermoreceptor (4) Pressoreceptor

ตอบ 3 หน้า ใ96 ในกระบวนการรับความรู้สึก (Reception) นั้น มีอวัยวะที่เป็นหน่วยรับความรู้สึก ได้แก่

1.         Thermoreceptor เป็นอวัยวะที่รับความรู้สึกร้อนแหรือเย็น (อุณหภูมิ) ได้แก่ ผิวหนัง

2.         Photoreceptor เป็นอวัยวะที่รับความรู้สึกเกี่ยวกับแสงสว่าง ได้แก่ ตา

3.         Pressoreceptor เป็นอวัยวะที่รับความรู้สึกสัมผัสและความเจ็บปวด ได้แก่ ผิวหนัง

4.         Chemoreceptor เป็นอวัยวะที่รับความรู้สึกด้านรสและกลิ่น ได้แก่ ลิ้น และจมูก

5.         Phonoreceptor เป็นอวัยวะที่รับความรู้สึกด้านเสียง ได้แก่ หู

96.       นายดำเป็นนักโทษหนีคดี เมื่อพบเห็นเจ้าหน้าที่ตำรวจและรู้ว่าตนเองต้องโดนจับ แต่นายดำยืนนิ่ง เหมือนคนทำอะไรไม่ถูก นายดำน่าจะขาดกระบวนการใดในการตอบสนองต่อสิ่งเร้า

(1) กระบวนการรับความรู้สึก (Reception) (2)   กระบวนการตอบโต้ (Effect)

(3)กระบวนการนำความรู้สึก (Conduction) (4)กระบวนการแปลความหมายและสั่งการ (Modulation)

ตอบ 2 หน้า 197 – 198, (คำบรรยาย) กระบวนการตอบโต้ (Effect) เป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง ระบบกล้ามเนื้อเซลล์ประสาทสั่งการ (Motor Neuron) และระบบต่อมสร้างฮอร์โมน โดยการที่ Motor Neuron จะส่งกระแสคำสั่งจากระบบประสาทส่วนกลางมากระตุ้นให้หน่วยตอบสนอง หรือกล้ามเนื้อในบริเวณใกล้กับแหล่งรับความรู้สึกทำงานด้วยการหดตัวของเส้นใยกล้ามเนื้อ จึงทำให้เกิดการเคลื่อนไหวในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การวิ่งหลบหนีเจ้าหน้าที่ตำรวจของนักโทษหนีคดี เป็นต้น

97.       การพรางตัวของสิ่งมีชีวิตพวกผีเสื้อให้มีสีเหมือนวัตถุที่เกาะอาศัย เกิดประโยชน์กับผีเสื้อด้านใดมากที่สุด

(1) จับเหยื่อพวกแมลงเป็นอาหาร       (2) หลีกเลี่ยงจากการเป็นเหยื่อของผู้ล่า

(3) เพื่อความสวยงามดึงดูดเพศตรงข้าม         (4) ขับไล่ศัตรู

ตอบ2 หน้า 228 – 230 การปรับตัวทางด้านรูปร่างของสิ่งมีชีวิตนั้น มีจุดมุ่งหมายสำคัญ 2 ประการ คือ

1.         เพื่อเอื้อประโยชน์ในการหาอาหาร เช่น นกกระยางมีนิ้วเท้ายาวเหมาะแกการทรงตัว,

เหยี่ยวมีนิ้วเท้าและกรงเล็บงองุ้มเหมาะแกการจับยึดเหยื่อไก่มีเล็บเท้าใหญ่และแข็ง เหมาะแก่การคุ้ยเขี่ย เป็นต้น

2.         เพื่อการป้องกันหรือหลบหลีกอันตรายจากศัตรู เช่น การมีหูและขาหลังที่ยาวของกระต่ายการมีเปลือก กระดอง เกล็ด ขนแข็ง ของหอย ปู เต่า นิ่ม และเม่นการมีสีคล้ายเปลือกไม้ ของผีเสื้อกลางคืน เป็นต้น

98.       การเบนหาแสงของยอดพืชเป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าโดยมีฮอร์โมนใด

(1) ไคนิน (Kinin)    (2) ออกซิน (Auxin)

(3) จิบเบอเรลลิน (Gibberellin) (4) อินซูลิน (Insulin)

ตอบ 2 หน้า 199 ออกซิน (Auxin) เป็นฮอร์โมนพืชที่ช่วยส่งเสริมและควบคุมการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งฮอร์โมนนี้พืชจะสร้างจากปลายยอดแล้วลำเลียงลงสู่รากในลักษณะที่หนีแสงสว่าง ทำให้พืช เกิดการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงหรือมีพฤติกรรมการตอบสนองโดยการที่ยอดพืชจะโค้งหรือ เบนเข้าหาแสง ล่วนรากพืชจะเบนหนีแสง

99.       เดนไดรต์” คือส่วนหนึ่งของเซลล์ประสาท มีหน้าที่

(1) ส่งกระแสความรู้สึกออกจากเซลล์ประสาท           (2) รับกระแสความรู้สึกเข้าสู่เชลล์ประสาท

(3) ผลิตสารสื่อประสาท          (4) กระตุ้นการทำงานของเซลล์ประสาททุกส่วน

ตอบ 2 หน้า 64197 เซลล์ประสาท (Nerve Cell) แต่ละเซลล์ประกอบด้วย

1.         ตัวเซลล์ประสาท (Cell Body)

2.         แอ็กซอน (Axon) ทำหน้าที่ส่งกระแสความรู้สึกและคำสัง่ออกจากตัวเซลล์ประสาท

3.         เดนไดรต์ (Dendrite) ทำหน้าที่รับกระแสความรู้สึกเข้าสู่ตัวเซลล์ประสาท

4.         เอนด์ เพลต (End Plate) เป็นเส้นใยละเอียดจำนวนมากที่แผ่อยู่ที่ปลายกิ่งแขนงของ เซลล์ประสาท ทำหน้าที่เป็นตัวเกาะเกี่ยวประสานกับเอนด์ เพลต ของเซลล์ประสาทอื่น ๆ

100.    การยืนยันการเกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตบนโลกที่ศึกษาได้จากฟอสซิล ควรเป็นไปในลักษณะใด

(1)       เปรียบเทียบลักษณะการกำเนิดของอวัยวะรยางค์ชองสัตว์มีกระดูกสันหลัง

(2)       เปรียบเทียบจากองค์ประกอบของสารเคมีในเซลล์

(3)       ศึกษาจากการทดลองผสมสายพันธุ์ใหม่

(4)       ศึกษาจากซากสิ่งมีชีวิตที่กลายเป็นหิน

ตอบ 4 หน้า 213 หลักฐานเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตบนโลก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1.         หลักฐานโดยตรงจากการศึกษาซากของสิ่งมีชีวิตที่กลายเป็นหิน หรือที่เรียกว่า ฟอสชิล (Fossil)

2.         หลักฐานจากการศึกษาเปรียบเทียบลักษณะของสิ่งมีชีวิตในยุคบัจจุบัน ในแงรูปร่าง โครงสร้าง พัฒนาการ และลักษณะการทำงานของอวัยวะในสิ่งมีชีวิต

Advertisement