การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2554

ข้อสอบกระบวนวิชา BIO1001  ชีววิทยาเบื้องต้น

Advertisement

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1.         การเปลี่ยนแปลงในลักษณะใดที่ทำให้ความเชื่อเกี่ยวกับการกำเนิดของชีวิตของผู้คนในอดีตถึงปัจจุบันมีความแตกต่างกันมากที่สุด   

(1) สิทธิพลความเชื่อด้านศาสนาที่เปลี่ยน

(2)ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์          

(3) เกิดสงครามระหว่างประเทศ         

(4) การเมืองเปลี่ยนขั้ว

บ 2 หน้า 11 ในสมัยที่มนุษย์ยังมีความเชื่อในอิทธิปาฏิหาริย์ และในสมัยที่ศาสนามีอิทธิพลต่อ อารยธรรมและสังคมมาก นักศาสนามักอ้างคัมภีร์ในศาสนาว่า การกำเนิดของชีวิตต่าง ๆ นั้น เกิดมาจากการเสกสรรค์ของพระผู้เป็นเจ้า ต่อมาเมื่อมีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น มนุษย์ได้พิจารณาธรรมชาติอย่างพินิจพิเคราะห์และมีเหตุผลมากขึ้นกว่าเดิม จึงทำให้ความเชื่อ เกี่ยวกับเรื่องการกำเนิดของชีวิตของผู้คนในอดีตถึงปัจจุบันมีความแตกต่างกันมากที่สุด

2.         ท่านคิดว่า วิวัฒนาการทางเคมีของการกำเนิดโลกที่ถูกต้องที่สุดควรเป็นข้อใด

(1)       อะตอมของธาตุไฮโดรเจน ออกซิเจน ไนโตรเจน และคาร์บอน รวมตัวเป็นกลุ่มก๊าชห่อหุ้มโลก

(2)       เกิดกระบวนการทางชีวเคมี โดยสารประกอบ C02 ทำปฏิกิริยากับ H20 ได้ 02 สู่บรรยากาศ

(3)       เกิดการรวมตัวของสารประกอบพวกโปรตีนเป็นหน่วยของสิ่งมีชีวิต เรียกว่า เซลล์

(4)       เกิดการสลายสารอินทรีย์โดยปฏิกิริยาเคมีที่เรียกว่า Chemosynthesis

ตอบ 1 หน้า 15 – 16 วิวัฒนาการทางเคมีของการกำเนิดโลกเมื่อประมาณ 4,500 – 5,000 ล้านปี มาแล้วนั้น ลักษณะของโลกในระยะก่อนเกิดจะเป็นกลุ่มก๊าซที่มีนํ้าหนักเบาอันประกอบขึ้นด้วย ละอองรังสี และอนุภาคของธาตุต่าง ๆ ในสภาพของอะตอม ซึ่งอะตอมที่พบมากที่สุด ได้แก่ อะตอมของธาตุไฮโดรเจน (H) ออกซิเจน (0) ไนโตรเจน (N) และคาร์บอน (C) โดยเมื่อ อุณหภูมิของกลุ่มก๊าซนั้นเริ่มลดลง อนุภาคหรืออะตอมจะมารวมกันเข้าเป็นโมเลกุล ทำให้กลุ่มก๊าซเหล่านั้นจับตัวแน่นมากขึ้นและเกิดปฏิกิริยากันเป็นชั้นผิวห่อหุ้มโลก

3.         ข้อใดไมใช่สารเคมีที่เกิดจากการรวมตัวกันของธาตุต่าง ๆ ในยุคแรกเริ่มของการกำเนิดโลก

(1)       ก๊าซมีเทน (CH4)        (2) ไอน้ำ (H20)          (3) ก๊าซแอมโมเนีย (NH3) (4) ก๊าซไข่เน่า (H2S)

ตอบ 4 หน้า 16 วิวัฒนาการทางเคมีของการกำเนิดโลกระยะที่ 1 เมื่ออุณหภูมิของโลกเย็นลงจนเกิด ปฏิกิริยาทางเคมีขึ้นแล้วนั้น อะตอมของธาตุเบา ๆ จะทำปฏิกิริยาต่อกันเกิดเป็นสารประกอบ ทางเคมีขึ้นมา โดยอะตอมของไฮโดรเจนจะเป็นอะตอมที่ว่องไวในการทำปฏิกิริยามากที่สุด ซึ่งเมื่อทำปฏิกิริยากับอะตอมของออกซิเจนจะได้เป็นไอนํ้า (H20)ทำปฏิกิริยากับอะตอมของ ไนโตรเจนจะได้เป็นก๊าซแอมโมเนีย (NH3)ทำปฏิกิริยากับอะตอมของคาร์บอนจะได้เป็น ก๊าชมีเทน (CH4)

4.         ธาตุใดเป็นองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตในยุคแรก ตามข้อเสนอของ A.I. Oparin (ค.ศ. 1936)

(1)       คาร์บอน (C), ไนโตรเจน (N), ไฮโดรเจน (H) และออกซิเจน (0)

(2)       คาร์บอน (C), ไนโตรเจน (N), ซิลิคอน (Si) และออกซิเจน (0)

(3)       ไฮโดรเจน (H), ซัลเฟอร์ (S)คาร์บอน (C) และไนโตรเจน (N)

(4)       ไฮโดรเจน (H), ออกซิเจน (0). คาร์บอน (C) และไนโตรเจน (N)

ตอบ 1 หน้า 14 นักวิทยาศาสตร์ J.B.S. Haldane (ค.ศ. 1924), R. Beutncr (ค.ศ.1929) และ A.I. Oparin (ค.ศ. 1936) ได้กล่าวไว้ทำนองเดียวกันว่า สิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นด้วย สารอินทรีย์ ซึ่งต้องมีธาตุคาร์บอน (C) ไนโตรเจน (N) ไฮโดรเจน (H) และออกซิเจน (0) ประกอบอยู่ ทำให้เชื่อว่าโลกในสมัยแรกในขณะหนึ่งนั้นจะมีภาวะเหมาะสมที่จะทำให้ธาตุทั้ง 4 นี้ มาประกอบรวมกันได้ แล้วกลายเป็นสารอินทรีย์ที่เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งมีชีวิต

5.         นิวคลีโอโปรตีนมีคุณสมบัติของการเป็นสิ่งมีชีวิต เพราะเหตุผลใด

(1)       มีการอยู่รอดในสภาพแวดล้อมที่ขาดอาหาร    (2) มีการเติบโตเพื่อเพิ่มขนาดของเซลล์

(3)       มีการสืบพันธุ์หรือทวีจำนวน    (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 21, (ค่าบรรยาย) ทฤษฎีกำเนิดชีวิต อธิบายว่า นิวคลีโอโปรตีน (Nucleoprotein)ที่เกิดจากการรวมตัวกันระหว่างโปรตีนกับกรดนิวคลีอิกนั้น ถือเป็นสารอินทรีย์ที่เริ่มแสดงถึง คุณสมบัติแรกสุดของการเป็นสิ่งมีชีวิต คือ มีความสามารถในการเพิ่มจำนวนโมเลกุลใหม่ ให้มีลักษณะเหมือนโมเลกุลเดิมได้โดยไม่ต้องเกิดปฏิกิริยาเคมี หรือที่เรียกว่า การสืบพันธุ์ หรือการทวีจำนวน

6.         การย่อยอาหารของมนุษย์เริ่มต้นที่

(1)ปาก            (2) กระเพาะอาหาร (3) ลำไส้เล็ก        (4) ลำไส้ใหญ่

ตอบ 1 หน้า 149152 การย่อยอาหารของมนุษย์จะเริ่มต้นที่ปาก และสิ้นสุดสมบูรณ์ที่ลำไส้เล็กตอนปลาย โดยโมเลกุลของสารอาหารที่ได้จากการย่อยสกัดประเภทกรดอะมิโนและนํ้าตาลกลูโคส จะถูกดูดซึมเข้าสูหลอดเลือดฝอย (Capillary Vein) ที่แทรกอยู่ในวิลลัสของผนังลำไส้เล็ก ส่วนสารอาหารประเภทกรดไขมันและกลีเซอรอลก็จะถูกดูดซึมเข้าสู่หลอดน้ำเหลีอง (Lacteal) ที่อยู่ในวิลลัสเช่นกัน ซึ่งการดูดซึมสารอาหารเข้าไปในหลอดเลือดและหลอดนํ้าเหลืองนี้ จะเป็นไปโดยกระบวนการออสโมซิส (Osmosis)

7.         เรื่องเกี่ยวกับน้ำดี (Bile) คือ

(1) ทำให้ไลปิดคลายตัวออกจากกัน    (2) มักมีรสขม

(3) ย้อมกากอาหารให้มีสีเหลือง          (4) ถูกทุข้อ

ตอบ 4 หน้า 149, (ค่าบรรยาย) น้ำดิ (Bile) ที่ถูกสร้างจากถุงน้ำดีที่ตับมีคุณสมบัติ ดังนี้

1.         น้ำดีไม่ถือว่าเป็นเอนไซม์ แต่จะมีหน้าที่หลักในการช่วยทำให้ไลปิดหรือไขมันคลายตัว ออกจากกัน เพื่อสะดวกแกการย่อยของเอนไซม์ไลเปส

2.         เป็นสารสีเหลืองเข้ม มักมีรสขม 3. ย้อมกากอาหารที่อยู่ในลำไส้ใหญ่ให้มีสีเหลือง

8.         เยื่อบุทรงสูงที่บุผนังลำไส้เล็กด้านใน เรียกว่า

(1) วิลไล          (2) แล็กทีล      (3) หลอดเลือดฝอย     (4) อาร์เทอรี

ตอบ 1 หน้า 152, (ค่าบรรยาย) วิลลัส (Villus) เป็นส่วนของเยื่อบุทรงสูงที่บุผนังลำไส้เล็กด้านใน มีลักษณะคล้ายนิ้วมือยื่นออกมาเป็นเส้นเล็ก ๆ ซึ่งเมื่ออยู่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นจำนวนมาก จะเรียกว่า วิลไล (Villi)

9.         อวัยวะภายในที่มีฃนาดใหญ่ที่สุดในร่างกายของมนุษย์ คือ

(1) ปอด           (2) กระเพาะอาหาร (3) ตับ     (4) มดลูก

ตอบ 3 หน้า 153, (คำบรรยาย) ตับ (Liver) เป็นอวัยวะภายในที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกายมนุษย์ โดยในภาวะปกติตับจะทำหน้าที่เปลี่ยนสภาพนํ้าตาลกลูโคสให้เป็นแป้งไกลโคเจน (Glycogen) และเก็บสะสมไวัในตับ เมื่อร่างกายขาดนํ้าตาลกลูโคสก็สามารถดึงเอานํ้าตาลกลูโคสจากตับ มาใช้งานได้ (โดยเปลี่ยนไกลโคเจนกลับไปเป็นกลูโคส) แต่ถ้าร่างกายมีปริมาณของนํ้าตาลกลูโคส อยู่มากจนเกินความจำเป็นที่ต้องใช้ กลูโคสเหล่านี้จะถูกเปลี่ยนโครงสร้างให้ไปเป็นไขมัน เก็บสะสมไวัในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

10.       การออกหาอาหารเลี้ยงชีพ เป็นการดำรงชีวิตแบบ     

(1) Autotrophic Nutrition(2)        Heterotrophic Nutrition

(3) Parasitism    (4) Saprophytism

ตอบ 2 (คำบรรยาย) วิธีการสร้างอาหารเพื่อการดำรงชีพของสิ่งมีชีวิต แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ1.     Autotrophic Nutrition เป็นแบบการสร้างอาหารขึ้นได้เองจากอนินทรียสารของสิ่งมีชีวิต พวกออโตทรอฟ โดยมีอยู่ 2 วิธี ไดแก่ Photosynthesis และ Chemosynthesis

2.         Heterotrophic Nutrition เป็นแบบการสร้างอาหารขึ้นมาใช้เองไม่ได้ของสิ่งมีชีวิตพวกเฮเทอโรทรอฟ จึงต้องออกหาอาหารเลี้ยงชีพหรือได้รับอาหารจากสิ่งมีชีวิตอื่น โดยมีอยู่ 3 วิธี ได้แก่ Saprophytism, Parasitism และ Eating (เช่น คน และสัตว์ทั่วไป)

11.       ปกติการย่อยจะสิ้นสุดที่ใด

(1)       ลำไส้เหญตอนต้น       

(2) ลำไส้ใหญ่ตอนกลาง 

(3) ลำไส้เล็กตอนกลาง

(4) ลำไส้เล็กตอนปลาย

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 6. ประกอบ

12.       กลุ่มอวัยวะที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับอาหาร เรียกว่า          

(1) Digestive Tract

(2) Alimentary Tract     

(3) Alimentary System      

(4) Digestive System

อบ 2 (คำบรรยาย) ในกระบวนการกินอาหาร (Nutrition) จะประกอบด้วยอวัยวะต่าง ๆ ที่มาร่วมกันทำหน้าที่เกี่ยวกับอาหาร ซึ่งรวมเรียกร่า ท่อทางเดินอาหาร” (Alimentary Tract) โดยเริ่มต้น จากปาก หลอดคอ หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ จนถึงทวารหนัก และหากอวัยวะเหล่านี้มีการทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบก็จะเรียกว่า ระบบท่อทางเดินอาหาร” (Alimentary System)

13.       อาหารที่เคี้ยวแล้วกลืนเข้าไป จะเคลื่อนตัวต่อไป โดยอาการที่เรียกร่า

(1)       Peristalsis         (2)       Epistasis  (3)       Homeostasis    (4)       Ecostasis

ตอบ 1 หน้า 149, (คำบรรยาย) เพอริสตาลซิส (Peristalsis) คือ การหดตัวและคลายตัวเป็นจังหวะ แบบลูกคลื่นติดต่อกันเป็นระลอกของกล้ามเนื้อเรียบที่ผนังท่อทางเดินอาหาร ทำให้อาหารที่เคี้ยวแล้วกลืนเข้าไปเกิดการเคลื่อนไหลไปตามอวัยวะต่าง ๆ ตั้งแต่จากปากจนถึงทวารหนัก

14.       เอนไซม์ที่เป็นองค์ประกอบในน้ำลาย คือ

(1)       ไลเปส  (2)       อะไมเลส         (3)       โปรตีนเนส       (4)       Saliva

ตอบ 2 หน้า 149 น้ำลาย (Saliva) ประกอบด้วย    1. นํ้า ประมาณ 95%  2. นํ้าเมือก 3.เกลือแร่ 4. เอนไซม์อะไมเลส (Amylase) หรือเอนไซม์ไทยาลิน (Ptyalin) ทำหน้าที่ ย่อยคาร์โบไฮเดรตประเภทแป้งให้เป็นนํ้าตาลมอลโตสได้บางส่วนเป็นอันดับแรกในช่องปาก

15.       การย่อยอาหารจนได้เป็นโมเลกุลพื้นฐาน เป็นกระบวนการ

(1)       Anabolism        (2)       Catabolism       (3)       Analysis   (4)       Synthesis

ตอบ 2 หน้า 147153, (คำบรรยาย) กระบวนการเมตาบอลิซึมหรือกระบวนการเมตาบอลิสม์(Metabolism) เป็นกระบวนการทำงานเพื่อให้มีการดำรงชีวิต หรือเป็นกระบวนการทางเคมี ทั้งหมดที่เกิดขึ้นภายในตัวของสิ่งมีชีวิต ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

1.         Anabolism เป็นกระบวนการสังเคระห์ (Synthesis) ที่นำเอาสารโมเลกุลขนาดเล็กมา ประกอบรวมกันให้เกิดเป็นสารใหม่ที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ขึ้น เช่น การแปรรูปโมเลกุลของกลูโคสให้เป็นแป้งไกลโคเจน ฯลฯ

2.         Catabolism เป็นกระบวนการที่ทำให้สารต่าง ๆ ที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่แยกสลายได้เป็น สารโมเลกุลขนาดเล็กพื้นฐาน เช่น การย่อยโปรตีนจนได้เป็นกรดอะมิโน ฯลฯ

16.       การแปรรูปโมเลกุลของกลูโคสให้เป็นแป้งไกลโคเจน เป็นกระบวนการ

(1)       Anabolism        (2) Synthesis     (3) Analysis        (4) ข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 15. ประกอบ

17.       เลือดคุณภาพดีที่ผ่านการฟอกจากปอด จะเข้ามาที่ห้องหัวใจส่วนใด

(1) ห้องบนขวา            (2) ห้องล่างขวา           (3) สองห้องฟากขวา   (4) สองห้องฟากซ้าย

ตอบ 4 (คำบรรยาย) หัวใจของคนมี 4 ห้อง แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

1.         ห้องฟากขวา 2 ห้อง ทำหน้าที่รับและส่งเลือดที่ผ่านการใช้งานจากร่างกายมาแล้วโดยห้องบนขวาจะรับเลือดใช้แล้วจากร่างกาย ส่วนห้องล่างขวาจะส่งเลือดเสียไปฟอกที่ปอด

2.         ห้องฟากซ้าย 2 ห้อง ทำหน้าที่รับและส่งเลือดดีออกไปส่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายโดยห้องบนซ้ายจะรับเลือดดีที่ผ่านการฟอกจากปอดแล้ว ส่วนห้องล่างซ้ายจะส่งเลือดดี ไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

18.       การเจาะเลือดเพื่อนำไปตรวจทางการแพทย์ จะดูดเลือดจากหลอดเลือดใด

(1) อาร์เทอรี     (2) เวน (3) หลอดเลือดฝอย     (4) เอออร์ตา

ตอบ 2 หน้า 152, (คำบรรยาย) หลอดเลือดที่มาติดต่อกับหัวใจมี 2 ประเภท คือ

1.         หลอดเลือดเวน (Vein) ทำหน้าที่นำเลือดที่ผ่านการใช้งานแล้วจากอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย กลับเข้าสู่หัวใจ โดยจะมีลักษณะเป็นสีเขียวอมนํ้าเงิน ซึ่งแพทย์จะทำการดูดเลือดจา หลอดเลือดเวนนี้เพื่อนำไปตรวจหรือหาข้อมูลทางการแพทย์ ทั้งนี้เพราะมองเห็นได้ง่าย

2.         หลอดเลือดอาร์เทอรี (Artery) ทำหน้าที่นำเลือดออกจากหัวใจไปส่งตามอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย

19.       ส่วนใดของหัวใจที่ทำหน้าที่รับเลือดจากอวัยวะอื่น

(1)       สองห้องซีกบน            (2) สองห้องซีกล่าง      (3) สองห้องฟากขวา   (4) สองห้องฟากซ้าย

ตอบ 1 หน้า 152, (คำบรรยาย) หัวใจของคนแบ่งออกเป็น 4 ห้อง คือ

1.         ห้องซีกบน 2 ห้อง เรียกว่า เอเตรียม” (Atrium) ซึ่งทำหน้าที่รับเลือดจากอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายเข้าสู่หัวใจ โดยไมคำนึงถึงคุณภาพของเลือด

2.         ห้องซีกลาง 2 ห้อง เรียกว่า เวนทริเคิล” (Ventricle) ซึ่งทำหน้าที่ส่งเลือดออกจากหัวใจ ไปยังอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย โดยไม่คำนึงถึงคุณภาพของเลือดเช่นกัน

20.       การหายใจเกิดจากการทำงานของ    

(1) ปอด(2)      กะบังลม         (3) กล้ามเนื้อยึดกระดูกซี่โครง            (4) ข้อ 2 และ 3 ร่วมกัน

ตอบ 4 หน้า 157, (คำบรรยาย) การหายใจเข้า-ออก หรือการพอง-แฟบของปอดในมนุษย์นั้นเกิดจากการทำงานร่วมกันของกะบังลมกับกล้ามเนื้อยึดกระดูกซี่โครง โดยร่างกายจะมีลักษณะ อาการดังนี้

1.         ขณะที่หายใจเข้า กะบังลมจะหดตัวแบนราบลง และกล้ามเนื้อยึดกระดูกซี่โครงหดตัว ทำให้ช่องอกขยายขนาดและปอดพองตัวขึ้น

2.         ขณะที่หายใจออก กะบังลมจะหย่อนโค้งขึ้น และกล้ามเนื้อยึดกระดูกซี่โครงผ่อนคลายตัวลง ทำให้ช่องอกลดขนาดและปอดยุบแฟบลง

21.       การสร้างเนื้อเยื่อขึ้นมาปิดบาดแผลในสัตว์ชั้นสูง เกิดจากการแบ่งเชลล์แบบ

(1) ไมโทซิส      

(2) ไมโอชิส      

(3) การแยกชิ้นส่วนย่อย 

(4) พาทีโนจีนีซิส

ตอบ 1 หน้า 167, (คำบรรยาย) การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส (Mitosis) เป็นการแบ่งเชลล์เพื่อสร้างเซลล์ทั่วไปให้เพิ่มทวีจำนวนเพื่อการเจริญเติบโตและซ่อมแชมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย เช่น การสร้างเนื้อเยื่อขึ้นมาปิดปากแผล เป็นต้น ซี่งการแบ่งเซลล์แบบนี้จะพบในสิ่งมีชีวิตชั้นสูง ที่ประกอบด้วยเซลล์หลายเซลล์

22.       การตัดเอากิ่งตอนพันธุ์อ้อย มันสำปะหลัง ไปปักชำในไร่ เป็นการขยายพันธุ์แบบใด

(1) Regeneration       (2) Budding       (3) Parthenogenesis (4) Fragmentation

ตอบ    หน้า 9167, (คำบรรยาย) การแยกชิ้นส่วนย่อย (Fragmentation) เป็นการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศที่ส่วนของร่างกาย ตัวตน หรือต้นของสิ่งมีชีวิตนั้นจะถูกแบ่งออกเป็นหลายส่วนย่อย หรือเป็นท่อน ๆ โดยแต่ละชิ้นส่วนย่อยจะมีความสามารถเจริญเป็นสิ่งมีชีวิตหน่วยหรือต้นใหม่ของตนที่สมบูรณ์เหมือนเดิม ซึ่งจะพบในสิ่งมีชีวิตหลายเชลล์เทานั้น เช่น การตัดเอากิ่งท่อนพนธุ์อ้อยและมันสำปะหลั งไปปักชำในไร่ การตอนกิ่ง การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การโคลนนิ่ง เป็นต้น

23.       การเติบโตเป็นผลไม้โดยไม่มีการผสมพันธุ เช่น กล้วยหอม องุ่นไร้เมล็ด เป็น

(1) Parthenogenesis (2) Fragmentation    (3) Regeneration       (4) Sporulation

ตอบ1 หน้า 175 Parthenogenesis เป็นการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศที่ไข (เซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย) สามารถจะเจริญเติบโตเป็นสิ่งมีชีวิตหรือเป็นผลไม้ขึ้นมาได้เอง โดยไม่ต้องได้รับการผสมพันธุ์ จากเซลล์เพศผู้ หรือกส่าวอีกนัยหนึ่งว่า เป็นการได้ลูกหรือผลจากไข่ที่ไม่ได้รับการผสมเชื้อเพศผู้ ซึ่งตัวอย่างที่พบเห็นเป็นประจำ เช่น มด ผึ้ง ปลวก องุ่น กล้วย เป็นต้น

24.       การสืบพันธุ์ที่ได้รุ่นลูกจำนวนมากในเวลาเดียวกัน คือ การสืบพันธ์แบบ

(1) Cloning         (2) Sporulation (3) Regeneration       (4) Fragmentation

ตอบ 2 หน้า 9167, (คำบรรยาย) การสร้างสปอร์ (Sporulation) เป็นการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยการสร้างสปอร์เล็ก ๆ จำนวนมากให้ปลิวไปตกในสถานที่ที่มีอากาศอับ ร้อน ชื้น และอุณหภูมิ พอเหมาะเพื่องอกเจริญเป็นหน่วยชีวิตใหม่ที่เหมือนหน่วยชีวิตเดิม การสืบพันธุแบบนื้จะทำให้ ได้รุ่นลูกจำนวนมากในเวลาเดียวกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะพบในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว เช่น เห็ด รา เป็นต้น

25.       ช่วงอายุของมนุษย์ที่ยังสามารถมีลูกได้ เรียกว่า

(1) วัยฉกรรจ์   (2) วัยเจริญพันธุ์         (3) วัยหนุ่มสาว            (4) วัยมีบุตร

ตอบ 2 (คำบรรยาย) วัยเจริญพันธุ์ คือ ช่วงอายุของมนุษย์ที่ยังสามารถมีลูกได้ โดยผู้ชายจะมี วัยเจริญพันธุ์นานกว่าผู้หญิง กล่าวคือ วัยเจริญพันธุ์ของผู้ชายจะเริ่มตั้งแต่มีการสร้าง เซลล์เชื้อเพศเป็นครั้งแรกจนกระทั่งตาย ส่วนวัยเจริญพันธุ์ของผู้หญิงนั้นจะเริ่มตั้งแต่มีการ สร้างเลือดประจำเดือนออกมาเป็นครั้งแรก และสิ้นสุดลงเมื่อมีเลือดประจำเดือนครั้งสุดท้าย

26.       หลักการของการแลกเปลี่ยนอากาศ คือ

(1) การนำเอาออกซิเจนเข้าไปสู่เซลล์  (2) ถ่ายคาร์บอนไคออกไซด์ออกจากเซลล์

(3)       ส่งอาหารและแร่ธาตุให้แก่เซลล์          (4) ข้อ 1 และ 2 ร่วมกัน

ตอบ 4 หน้า 31 – 32157, (คำบรรยาย) การแลกเปลี่ยนอากาศหรือการหายใจ (Respiration) เป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนก๊าชระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม โดยมีหลักการก็คือ การนำเอาก๊าชออกซิเจนเข้าไปสู่เซลล์ และถ่ายก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากเซลล์โดย อวัยวะต่าง ๆ ของระบบหายใจ ซึ่งจะเกิดขึ้นโดยกระบวนการแพร่กระจาย (Diffusion)

27.       ความรู้ทางพฤติกรรมศาสตร์ที่พิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในกลุ่มสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ เรียกว่า

(1) รัฐศาสตร์   (2) รัฐประศาสนศาสตร์ (3) สังคมศาสตร์       (4) พัฒนบริหารศาสตร์

ตอบ 3 (คำบรรยาย) พฤติกรรมศาสตร์ (Behavior Science) เป็นศาสตร์สาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์ชีวภาพที่เน้นศึกษาพฤติกรรมการแสดงออกของสิ่งมีชีวิต โดยแบ่งออกเป็น 2 สาขาวิชา คือ

1.         สังคมศาสตร์ (Social Science) เป็นความรู้ทางพฤติกรรมศาสตร์ที่พิจารณาถึงความสัมพันธ์ ระหว่างสมาชิกในกลุ่มสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ได้แก่ วิชานิติศาสตร์ สังคมวิทยา เป็นต้น

2.         รัฐศาสตร์ (Political Science) เป็นความรู้ทางพฤติกรรมศาสตร์ที่พิจารณาถึงฐานะ บทบาท หน้าที่ของสมาชิกในสังคมสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ

28.       ข้อใดเป็น พลังงานสะอาด

(1) พลังงานจากแสงอาทิตย์   (2) พลังงานจากลม

(3)       พลังงานจากความร้อนใต้พิภพ            (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คำบรรยาย) พลังงานสะอาด (Green Energy) คือ พลังงานที่ไม่มีวันหมดและเป็นแหล่งพลังงานทีไม่เป็นมลพิษ พลังงานสะอาดประกอบด้วยกระบวนการที่ใช้พลังงานจากธรรมชาติ และเป็นกระบวนการที่สามารถควบคุมให้มีมลพิษเพียงเล็กน้อย ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานความร้อนใต้พิภพ พลังงานนํ้า เป็นต้น

29.       ข้อใดเป็น พลังงานทดแทน

(1) ไบโอดีเซล  (2) เอทานอล   (3) แก๊สชีวภาพ           (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คำบรรยาย) พลังงานทดแทน (Alternative Energy) คือ พลังงานที่นำมาใช้แทนน้ำมันเชื้อเพลิง โดยเป็นพลังที่สะอาด ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นแหล่งพลังงาน ที่มีอยูในท้องถิ่น ได้แก่ พลังงานไบโอดีเชล พลังงานเอทานอล พลังงานชีวภาพ แก๊สโซฮอล์ เป็นต้น

30.       ข้อใดเป็น กระบวนการ” (Process)

(1) ปลูกบ้าน   (2) ซักผ้า         (3) หุงข้าว        (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ4  (คำบรรยาย) กระบวนการ (Process) หมายถึง การกระทำที่เป็นไปตามลำดับขั้นตอน และมีระเบียบแบบแผนที่แน่นอน เช่น การเรียนรู้ การปลูกบ้าน การซักผ้า การหุงข้าว การขับรถ ฯลฯ

31.       การมีอวัยวะเพศครบสองเพศในต้นหรือตัวเดียวกัน เรียกว่า 

(1) Monoecious       

(2)Protandrous Hermaphodite  

(3) Dioecious    

(4) Polygamous

ตอบ1 หน้า 127172 การปรากฏเพศในสิ่งมีชีวิต แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

1.         Dioecious คือ สัตว์หรือพัชที่มีเพศแยกกันเป็นเพศผู้กับเพศเมีย หรือปรากฏการมีเพศเพียงอย่างเดียวในตัวหรือในต้น

2.         Monoecious คือ สัตว์หรือพืชที่มีการปรากฎเพศครบทั้งสองพศในตัวหรือในต้นเดียวกัน

32.       กระบวนการสร้างเซลล์เชื้อเพศ เรียกว่า

(1) Gametogenesis 

(2) Oogenesis      

(3) Spermatogenesis 

(4) เป็นหมดทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 172, (คำบรรยาย) กระบวนการสร้างเซลล์เชื้อเพศหรือเซลล์สืบพันธุ์ในสิ่งมีชีวิต หากกล่าว โดยรวมไม่ระบุชนิดของเพศ เรียกว่า แกมีโตจีเนซิส” (Gametogenesis) ซึ่งแบ่งออกเป็น

1.         กระบวนการสร้างเซลล์ไข่หรือเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย เรียกว่า โอโอจีเนซิส” (Oogenesis)

2.         กระบวนการสร้างสเปิร์มหรือเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ เรียกว่า สเปอร์มาโตจีเนซิส” (Spermatogenesis)

33.       การปฏิสนธิที่เกิดขึ้นในตัวเองโดยไมต้องมีคู่ผสมพันธุ์ เรียกว่า

(1) External Fertilization  (2) Self-fertilization

(3)       Cross Fertilization  (4) Internal Fertilization

ตอบ2  (คำบรรยาย) Self-fertilization เป็นการปฏิสนธิที่เกิดขึ้นในตัวเองโดยไม่ต้องมีคู่ผสมพันธุซึ่งเกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิตประเภทที่มีสองเพศในตัวหรือต้นเดียวกัน (Monoecious) โดยที่เชื้อเพศจะแกตัวพร้อมก้น และเชื้อเพศผู้ก็จะผสมกับเชื้อเพศเมียในตัวหรือต้นเดียวก้น เช่น การปฏิสนธิในพยาธิตัวตืด การปฏิสนธิที่เกิดในฝักข้าวโพด ฯลฯ

34.       Cross Fertilization เกิดในการจับคู่ผสมพันธุ์แบบใด

(1) Copulation  (2) Amplexus     (3) Conjugation         (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ3(คำบรรยาย) แบบแผนของการจับคู่ผสมพันธุ์ (Pattern of Mating) แบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ

1.         การทาบ (Conjugation) คือ การนำเอาท่อนลำตัวมาทาบตัวเคียงขนานกันแล้วมีการสร้างอวัยวะที่จะแลกเชื้อเพศระหว่างกัน ซึ่งจะเกิดขึ้นในการปฏิสนธิในลักษณะ Cross Fertilization ได้แก่ ไส้เดือน

2.         การทับ (Amplexus) คือ การที่เพศผู้ขึ้นไปเกาะทับบนด้านหลังของเพศเมีย หันหน้าไปในทิศทางเดียวกัน เช่น แมลง สุนัข เก้ง กวาง ช้าง ฯลฯ

3.         ประกบ (Copulation ) คือ การหันหน้าเข้าหากัน เช่น กุ้ง ปู ลิง มนุษย์ ฯลฯ

35.       สัตว์ที่ตัวเมียออกไข่ มีลูกแบบ

(1) Viviparous   (2) Ovoviviparous     (3) Oviparous    (4) Omnivorous

ตอบ 3 หน้า 91138, (คำบรรยาย) Enaima เป็นสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง และเลือดมีสีแดง ซึ่งประกอบด้วยสัตว์ 2 พวก ได้แก่

1.         Oviparous คือ สัตว์ที่ตัวเมียออกลูกเป็นไข่ เช่น เต่า จระเข้ กบ ยุง เป็ด ไก่ ตุ่นปากเป็ด ห่าน ไดโนเสาร์ เป็นต้น

2.         Viviparous คือ สัตว์ที่ตัวเมียออกลูกเป็นตัว เช่น มนุษย์ ปลาฉลาม ปลาวาฬ ปลาโลมา พะยูน ค้างคาว วัว สุนัข แมว หนู จิงโจ้ หมีแพนค้า เป็นต้น

36.       ปัจจัยข้อใดที่มีผลต่อการหมุนเวียนในวัฎจักรคาร์บอน

(1)       การหายใจของพืช       (2) การย่อยสลายของซากสัตว์

(3)       การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง         (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 7389 วัฎจักรของธาตุคาร์บอน เป็นการหมุนเวียนของก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งอยู่ ในอากาศและละลายปนอยู่ในนํ้า โดยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นี้นับว่าเป็นแหล่งของธาตุคาร์บอน ที่สำคัญของพืชที่จะนำไปใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสงเพื่อแปรสภาพเป็นอาหาร และจะกลับคืนสู่อากาศอีกครั้งหนึ่งในฐานะเป็นผลของการหายใจของพืชและสัตว์ นอกจากนี้ ยังอาจเกิดขึ้นได้จากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง และการย่อยสลายของซากสัตว์

37.       ข้อใดจัดเป็นสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ

(1)       อุณหภูมิ          (2) ดิน ทราย    (3) แสงสีน้ำเงินในแหล่งน้ำ     (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 79 สิ่งแวดล้อม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1.         สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Physical Environment) หรือสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต เช่น ดิน ทราย หิน น้ำ อากาศ แสงสว่าง อุณหภูมิ ก๊าช ฯลฯ

2.         สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ (Biological Environment) หรือสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต เช่น พืช สัตว์ แบคทีเรีย จุลินทรีย์ ฯลฯ

38.       ข้อใดบอกปริมาณนํ้าดื่มบนโลกนี้ได้ใกล้เคียงมากที่สุด

(1) 10 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตร (2) 20 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตร

(3) 250 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตร          (4) 360 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตร

ตอบ1 หน้า 79 พื้นผิวของโลกประมาณสามในสี่ส่วน คือ ประมาณ 370 ล้านตารางกิโลเมตรเป็นนํ้าในจำนวนนี้จะเป็นนำเค็มประมาณ 360 ล้านตารางกิโลเมตร ส่วนปริมาณของนํ้าบนโลก มีอยู่ประมาณ 500 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตร ในจำนวนนี้เป็นน้ำจืด (นํ้าดื่ม) เพียงประมาณ 10 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตร

39.       บริเวณที่มีความชันมากขึ้นต่อจากไหล่ทวีปจนถึงระดับหน้าดินก้นมหาสมุทร คือ บริเวณ

(1)       ลาดทวีป         (2) ที่ราบชั้นบาดาล     (3) แอ่งลึกก้นมหาสมุทร (4) ผิดทุกข้อ

ตอม 1 หน้า 79 ลาดทวีป (Continental Slope) คือ บริเวณที่มีความชันมากขึ้นต่อจากไหล่ทวีป (Continental Shelf) ซึ่งจะมีไปจนถึงระดับหน้าดินก้นมหาสมุทร

40.       ข้อความใดที่ไมได้เป็นลักษณะของแนวเขตชายฝั่ง (Littoral Zone)    

(1) เขตแสงส่องถึง(2) มีความลึกไมเกิน 600 ฟุต      (3) ไม่มีสัตว์จำพวก Benthos      (4) มีสัตว์จำพวก Nekton

ตอบ 3 หน้า 80 แนวเขตชายฝั่ง (Littoral Zone) เป็นบริเวณที่มีความลึกไมเกิน 100 ฟาธอมหรือ600 ฟุต แสงแดดยังส่องลงไปได้ถึง จึงพบว่ามีพืชที่สังเคราะห์แสงได้ซึ่งส่วนใหญ่เป็น พวกแอลจีหรือสาหร่ายชนิดต่าง ๆ อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้แล้วยังมีสัตว์และพืชที่!มีขนาดเล็กมากมารวมกันอยู่ที่ผิวน้ำ ซึ่งได้แก่

1. แพลงก์ตอน (Plankton) เป็นพวกที่ลอย ไปมาตามแรงคลื่นลมและไมแข็งแรงพอที่จะว่ายนํ้าเองได้

2. เนคตอน (Nekton) เป็นพวกที่ สามารถว่ายน้ำได้เองโดยอิสระ

3. เบนธอส (Benthos) เป็นพวกที่อาศัยอยู่ที่หน้าดินหรือในดิน

41.       สิ่งมีชีวิตจะต้องปรับตัวอย่างไรในเขต Intertidal Zone

(1) ปรับตัวให้รอดพ้นจากความร้อนของแสงอาทิตย์ 

(2) ทนต่อแรงอัดกระแทกของคลื่น

(3)       สามารถเคลื่อนไหวได้รวดเร็ว  

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 80 Intertidal Zone หรือ Strand เป็นบริเวณที่มีการขึ้นลงของนํ้าอยู่เป็นประจำทุกวัน จึงทำให้สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ต้องปรับตัวให้รอดพ้นจากความร้อนของแสงอาทิตย์ และแรงอัดกระแทกของคลื่นที่ซัดเข้าสู่ฝั่งตลอดเวลา เช่น สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างรวดเร็ว หรือมีสิ่งยึดเกาะกับก้อนหินอยู่อย่างเหนียวแน่น และทนต่อสภาพการขาดนํ้าได้ในช่วงระยะเวลา ที่น้ำลด

42.       สัตว์ที่อาศัยอยู่ที่ลึกของมหาสมุทรจะได้รับอาหารประเภทใดเป็นหลัก

(1) พืชขนาดเล็ก          (2) สัตว์หน้าดินขนาดเล็ก (3) ซากอินทรียสาร (4) กลุ่มของ Nekton

ตอบ 3 หน้า 80 – 81 ส่วนที่ลึกที่สุดของมหาสมุทรนั้น จะมีความกดดันของนํ้ามากกว่าความกดดัน ที่ผิวนํ้าเป็นพันเท่า สัตว์ที่อาศัยในบริเวณนี้จึงมีน้อยมาก ทำให้ บริเวณใต้ทะเลลึกนั้นเงียบสงัด โดยอาหารที่สัตว์ในบริเวณนี้ได้รับ คือ ซากอินทรียสาร ซึ่งตกลงมาจากนํ้าที่อยู่ในระดับสูงกว่า ตลอดเวลา ส่วนพืซที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้มีเพียงแบคทีเรียเท่านั้น

43.       Lithosphere หมายถึงสภาพแวดล้อมที่ประกอบด้วยอะไร

(1) สินแร่ต่าง ๆ            (2)นํ้าใต้ดิน      (3) ก๊าชไนโตรเจน        (4) ข้อ 1 และ   2

ตอบ 1 หน้า 85, (คำบรรยาย) สภาพแวดล้อมทางกายภาพของโลกที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต เรียกว่า ‘‘ชีวมณฑล” (Biosphere) โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1. Hydrosphere คือ สภาพแวดล้อมส่วนที่เป็นนํ้า เช่น นํ้าตามแหล่งต่าง ๆ และนํ้าต้ดิน

2.         Lithosphere คือ สภาพแวดล้อมส่วนที่เป็นของแข็ง เช่น ดิน หิน และสินแร่ต่าง ๆ

3.         Atmosphere คือ สภาพแวดล้อมส่วนที่เป็นลม ฟ้า อากาศ เช่น ไอน้ำ และก๊าชต่าง ๆ

44.       แหล่งที่อยู่อาศัยในเขตใดชึ่งมีปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยตลอดปีไม่เกิน 10 นิ้ว มีภูมิอากาศแห้งแล้งตลอดเวลา

(1) เขตทุ่งหญ้า            (2)เขตทะเลทราย        (.3) เขตป่าผลัดใบ       (4) เขตป่าสน

ตอบ 2 หน้า 83 – 84 เขตทะเลทราย (Desert) เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยซึ่งมีปริมาณนํ้าฝนโดยเฉลี่ย ตลอดปีไมเกิน 10 นิ้ว จึงทำให้ภูมิภาคนี้มีอากาศแห้งแล้งตลอดเวลา ปกติแล้วทะเลทราย มักจะมีอากาศร้อนและแห้งแล้ง แต่อาจมีบางบริเวณที่ระดับนํ้าใต้ดินขึ้นมาใกล้ผิวดินมาก ทำ ให้พื้นที่บริเวณนั้นมีพืชและสัตว์อาศัยอยู่อย่างชุกชุม ซึ่งเรียกบริเวณที่มีความชุ่มชื้น ในทะเลทรายว่า ‘‘โอเอซิส” (Oasis)

45.       การเกิดการเปลี่ยนแปลงระดับความเค็มของน้ำบริเวณปากแม่นํ้ามีสาเหตุจาก

(1) การปล่อยน้ำเสียจากชุมชน           (2) เป็นบริเวณที่มีการทำประมงมาก

(3) ปริมาณนํ้าจืดในช่วงฤดูฝน            (4) ผิดทุกข้อ

ตอบ3  (คำบรรยาย) การที่บริเวณปากแม่น้ำมีระดับความเค็มของนํ้าไมคงที่นั้น ก็เป็นเพราะว่าปริมาณน้ำจืดในช่วงฤดูฝนจากต้นน้ำที่ไหลมาสมทบมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น จึงทำให้ สัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ต้องมีการปรับตัวให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของ สภาพนํ้าตามไปด้วย

46.       การหมุนเวียนของก็าซไนโตรเจนในอากาศมีความเกี่ยวข้องกับการทำงานของสิ่งมีชีวิตประเภทใด

(1) Protozoa      (2) Acid-forming bacteria

(3) Virus     (4) Nitrogen-fixing bacteria

ตอบ 4 หน้า 7489 วัฏจักรของไนโตรเจน เป็นการหมุนเวียนของก๊าชไนโตรเจนในอากาศ โดยอาศัยการทำงานของแบคทีเรียอยู่ 4 ชนิด ได้แก่

1. Decomposing bacteria มีหน้าที่ทำให้ซากพืชซากสัตว์เกิดการเน่าเปื่อยกลายเป็น ก๊าซแอมโมเนีย

2.Nitrifying bacteria มีหน้าที่เปลี่ยนก๊าชแอมโมเนียให้เป็นสารประกอบไนเตรท

3.Denitrifying bacteria มีหน้าที่เปลี่ยนสารประกอบไนเตรทให้สลายตัวเป็นก๊าซไนโตรเจน กลับคืนสู่อากาศ

4.Nitrogen-fixing bacteria มีหน้าที่เปลี่ยนก๊าซไนโตรเจนในอากาศให้เป็นสารประกอบ ไนเตรทซึ่งเป็นรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้

47.       สัตว์ชนิดใดเลือดไมมีสีแดง

(1) แมลงปอ    (2) กะพรุน       (3)ปูและปลาหมึก       (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 91 Anaima เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง และเลือดไม่มีสีแดง ประกอบด้วย สัตว์พวกต่างๆ 5 พวก ได้แก่   1.ปลาหมึก      2. กุ้ง กั้ง ปู  3.แมลง (เช่น แมลงปอ) และแมงมุม4. หอยและหอยเม่น           5. ฟองนํ้าและกะพรุน

48.       การจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิตโดยศึกษาความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการเป็นหลักเกณฑ์ใหญ่ เป็นความคิด ของนักวิทยาศาสตร์ท่านใด

(1) Carolus Linnaeus (2) Karl von Linne     (3) Aristotle       (4) ข้อ 1 และ 2

ตอบ4  หน้า 91 – 92 Carolus Linnaeus หรือ Karl von Linne นักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ได้คิดระบบการจัดหมวดหมูของสิ่งมีชีวิตโดยศึกษาความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการเป็นหลักเกณฑ์ใหญ่ ซึ่งเรียกระบบการแบบนี้ว่า Natural System นอกจากนี้ยังได้เสนอให้ตั้งชื่อสิ่งมีชีวิตโดยอาศัย หลักของวิวัฒนาการและความสัมพันธ์ในสิ่งมีชีวิต กล่าวคือ สิ่งมีชีวิตใดที่มีความสัมพันธ์ ใกล้เคียงกันมากก็ใช้ชื่อเดียวกัน และให้มีชื่อของชนิดของสิ่งมีชีวิตกำกับลงไปด้วย จึงทำให้ ชื่อของสิ่งมีชีวิตประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ชื่อสกุล และชื่อชนิด ซึ่งเรียกระบบการตั้งชื่อสกุล และชื่อชนิดแบบนี้ว่า Binomial Nomenclature

49.       สิ่งมีชีวิตที่เซลล์ไม่มีนิวเคลียส คือประเภทใด

(1) สาหร่ายสีเขียวแกมนํ้าเงิน (2) สาหร่ายสีเขียว

(3) โปรโตชัว    (4) สาหร่ายสีน้ำตาล

ตอบ 1 หน้า 94 โปรติสต์ (Protist) เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีเซลล์เพียงเซลล์เดียว โดยเมื่อพิจารณาตาม ลักษณะความเจริญของเซลล์และวิธีการดำรงชีวิตแล้ว อาจแยกออกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ 1. โปรติสตที่ยังไม่มีนิวเคลียส (Prokaryotic protist) ได้แก่ แบคทีเรีย (Bacteria)และแอลจี (สาหร่าย) สีเขียวแกมนํ้าเงิน (Blue-green Algae)

2.         โปรติสต์ที่มีลักษณะคล้ายพืช (Plant-like protist) ได้แก่ แอลจี (Algae)

ราเมือก (Slime mold) และฟังไจ (Fungi)

3.         โปรติสตที่มีลักษณะคล้ายสัตว์ (Animal-like protist) ได้แก่ โปรโตซัว (Protozoa)

50.       Bacillus subtilis เป็นบัคเตรีช่วยในการบ่มใบยาสูบมีรูปร่างแบบใด

(1) รูปร่างกลม (2) รูปร่างเป็นท่อนทรงกระบอก

(3) รูปร่างเป็นแท่งโค้ง (4) รูปร่างเป็นเส้นใย

ตอบ 2 หน้า 94. 96 แบคทีเรียหรือบัคเตรี (Bacteria) เป็นโปรติสต์ใน Phylum Schizophyta มีเชลล์ที่มีขนาดเล็กมากและมีรูปร่างหลายแบบ โดยแบบที่สำคัญ คือ

1. Coccus เป็นบัคเตรีที่มีรูปร่างกลม

2.         Bacillus เป็นบัคเตรีที่มีรูปร่างเป็นท่อนทรงกระบอก ซึ่งเป็นบัคเตรีที่ช่วยในการบ่ม ใบยาสูบ ได้แก่ Bacillus subtilis, Bacillus mycoides และ Bacillus polymyxa

3.         Spirillum เป็นบัคเตรีที่มีรูปร่างเป็นท่อนยาว

51.       ความยาวที่ใช้วัดขนาดของบัคเตรีใช้หน่วยไมครอน (Micron) 1 ไมครอน เท่ากับหน่วยวัดในข้อใด

(1) 1/25,000 มิลลิเมตร 

(2) 1/1,000 มิลลิเมตร         

(3) 1/100 มิลลิเมตร 

(4) 1/10 มิลลิเมตร 

ตอบ 2 หน้า 95 หน่วยความยาวที่ใช้วัดขนาดของบัคเตรีใช้หน่วย ไมครอน (Micron) โดยความยาว 1 ไมครอน มีขนาด 1/1,000 มิลลิเมตร หรือ 1/25,000 นิ้ว

52.       ข้อใดบ่งบอกถึงการดํ ารงชีวิตของบัคเตรีได้ถูกต้อง

(1) อาศัยในพื้นที่ทุกแห่ง         (2) บัคเตรีบางชนิดไมต้องอาศัยออกซิเจนอิสระในการดำรงชีวิต

(3) มีทั้งประโยชน์และโทษตอมนุษย์   (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 95 บัคเตรีนั้นดำรงชีวิตอยู่ได้ในพื้นที่ทุกแห่ง ซึ่งบัคเตรีบางชนิดต้องอาศัยออกซิเจน ในอากาศเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต เรียกว่า Aerobe แต่บางชนิดไม่ต้องอาศัยออกซิเจนอิสระ ในการดำรงชีวิต เรียกว่า Anaerobe ส่วนชนิดที่อยู่ได้โดยทั้งที่อาศัยออกซิเจนและ ไม่อาศัยออกซิเจนในการดำรงชีวิตนั้น เรียกว่า Facultative Anaerobe โดยบัคเตรีมีทั้งพวกที่ทำให้เกิดโทษ โรคภัย และพวกที่ทำประโยชน์ให้แกมนุษย์

53.       สารละลายของสี (Pigment) ที่เรียกว่า Phycocyanin จะอยู่ภายในเซลล์ของสาหร่ายชนิดใด

(1) สาหร่ายสีเขียว       (2) สาหร่ายสีแดง        (3) สาหร่ายสีเขียวแกมนํ้าเงิน (4) สาหร่ายสีทอง

ตอบ 3 หน้า 97 สาหร่ายสีเขียวแกมนํ้าเงิน (Blue-green Algae) เป็นโปรติสต์ใน Phylum Cyanophyta ภายในเซลล์มีสารละลายของสี (Pigment) ชนิดที่เรียกว่า Phycocyanin ซึ่งมีสีน้ำเงินปนอยู่กับสารคลอโรฟิลด์ (Chlorophyll) กระจายอยูทั่วเซลล์ ไม่ได้อยู่รวมกัน เป็นกลุ่มก้อนเหมือนสาหร่ายชนิดอื่น ๆ

54.       เซลล์ของสิ่งมีชีวิตในข้อใดที่ไมมีสารคลอโรฟิลล์ (Chlorophyll)

(1) สาหร่ายสีนํ้าตาล   (2) เห็ด            (3) สาหร่ายสีทอง        (4) ข้อ 1 และ 2

ตอบ 2 หน้า 102 – 103 ฟังไจ (Fungi) เป็นโปรติสต์ใน Phylum Eumycophyta อาจมีเพียงเซลล์เดียวหรืออยู่รวมกันเป็นเส้นใยเรียกว่า ไฮฟา (Hypha) ภายในเซลล์ไม่มีสารคลอโรฟิลด์ จึงไม่อาจสร้างอาหารโดยวิธีสังเคราะห์แสงได้ต้องใช้อาหารจากแหล่งอื่น โดยการดำรงชีวิต มีทั้งแบบที่หากินอย่างอิสระและแบบที่เป็นปรสิตอาศัยอยู่ได้ทั่วไป เช่น ราดำที่ขึ้นบนขนมปัง เห็ดชนิดต่าง ๆ (เช่น เห็ดนางฟ้า เห็ดฟาง) เป็นต้น

55.       สาหร่ายชนิดใดที่มีผนังเซลล์เป็นสารซิลิกา (Silica)

(1) Brown Algae         (2) Diatom         (3) Greer Algae (4) Dinoflagellate

ตอบ2 หน้า 100 ไดอะตอม (Diatom) เป็นสิ่งมีชีวิตในกลุ่มสาหร่ายสีทอง (Golden Algae)ที่เปลือกหรือผนังเซลล์ประกอบด้วยสารซิลิกา (Silica) โดยผนังเซลล์จะมีลักษณะเป็นฝาตลับ สวมประกบกันและมีลวดลายสวยงาม ซึ่งสามารถที่จะพบได้ทั้งในนํ้าจืดและนํ้าเค็ม

56.       สัตว์ในกลุ่มใดเริ่มมีผิวตัวประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 3 ชั้น (Triploblaslica) เป็นกลุ่มแรก

(1)       พยาธิตัวแบน   (2) ปลาดาว     (3) ฟองนํ้า       (4) หอย

ตอบ 1 หน้า 131 – 133, (คำบรรยาย) สัตว์ในกลุ่มหนอนตัวแบน (Phylum Platyhelminthes)มีลักษณะสำคัญ คือ เป็นสัตว์กลุ่มแรกที่เริ่มมีผนังลำตัวหรือผิวตัวประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 3 ชั้น (Triploblastica) มีระบบประสาท ตำแหน่งของร่างกาย ระบบการสืบพันธุ์ และ ระบบขับถ่าย ซึ่งสัตว์ในกลุ่มนี้ได้แก่ พยาธิตัวตืด และพยาธิใบไม้

57.       ฟองนํ้ามีหนาม (Spicule) ประกอบด้วยสารจำพวกใด

(1) หินปูน        (2) ซิลิกา         (3) โปรตีน       (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 129 ฟองนํ้ามีหนาม (Spicule) เกิดจากเซลล์ที่อยู่ในชั้นวุ้นของฟองนํ้า (Sponge) ซึ่งเคลื่อนที่ได้คล้ายอะมีบาเรียกว่า Amoebocyte หรือ Mesenchyme เปลี่ยนรูปทำหน้าที่ สร้างโครงร่างเล็ก ๆ มีลักษณะคล้ายขวากหนามเล็ก ๆ สอดประสานกันอยู่ภายในตัวของฟองนํ้า โดยองค์ประกอบของ Spicule ประกอบด้วยสารจำพวกหินปูน ซิลิกา และโปรตีนแบบที่แข็ง คล้ายเขาสัตว์

58.       ลักษณะของสัตว์ในข้อใดมีรยางค์เป็นข้อปล้องติดต่อกันเด่นชัด

(1)หมัด            (2) ปลิง           (3) หอยเม่น     (4) ทาก

ตอบ 1 หน้า 136 สัตว์ใน Phylum Arthropoda จะมีโครงร่างของร่างกายหรือผิวเปลือกที่หุ้มลำตัว เป็นสารอินทรีย์ประเภทไคติน (Chitin) และรยางค์ที่ยื่นออกจากลำตัวเป็นคูๆ นั้นก็จะมี ลักษณะเป็นข้อปล้องติดต่อกันเด่นชัด อีกทั้งยังมีการลอกคราบด้วย ซึ่งสัตว์ที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ กุ้ง ปู แมลงทุกชนิด หมัด ตะขาบ เห็บ บึ้ง เป็นต้น

59.       ปลาวาฬจัดเป็นสัตว์อยู่ใน Class เดียวกับสัตว์ชนิดใด      

(1) จิงโจ้กับพะยูน    (2)ปลาตะเพียนกับปลากระเบน

(3) ปลาโลมากับค้างคาว        (4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 3

ตอบ4 หน้า 138 สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (Class Mammalia) เรียกโดยทั่วไปว่า Mammalมีลักษณะสำคัญ คือ เป็นสัตว์ที่ต้องอาศัยนํ้านมจากแม่ในขณะที่ยังมีอายุน้อยอยู่ โดยตัวที่ เป็นแม่จะมีต่อมสร้างน้ำนม รวมทั้งมีขนปกคลุมตัว ส่วนใหญ่มีลูกโดยออกเป็นตัว ระบบต่าง ๆ ของร่างกายมีความเจริญมาก โดยเฉพาะระบบประสาทซึ่งจะเจริญมากจนกลายเป็นสมอง สัตว์ที่จัดอยู่ใน Class นี้ ได้แก่ ปลาวาฬ จิงโจ้ พะยูน ปลาโลมา ค้างคาว หนู ลิง คน เป็นต้น

60.       ข้อความใดคือลักษณะของสัตว์ใน Class Amphibia เช่น กบ งูดิน    

(1) อยู่ได้ทั้งในน้ำและบนบก   (2)หายใจด้วยปอด      (3) หัวใจมี 3 ห้อง        (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 137 สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (Class Amphibia) มีลักษณะสำคัญ คือ เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ได้ ทั้งในน้ำและบนบก แต่ออกไขไว้ในแหล่งน้ำ หายใจด้วยปอด มีหัวใจ 3 ห้อง เช่น กบ งูดิน เขียด ปาด คางคก เป็นต้น

61.       การอยู่ร่วมกันของพยาธิตัวตืดในหมู ถือว่าเป็นการอยู่แบบใด

(1) Predation     

(2) Parasitism   

(3) Neutralism  

(4)Commensalism

ตอบ 2 หน้า 77, (คำบรรยาย) Parasitism (+/-) เป็นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตแบบที่ฝ่ายหนึ่ง ได้ประโยชน์ในฐานะ ปรสิต” (Parasite) คอยเกาะทำลายและอาศัยอีกฝ่ายหนึ่งที่เสียประโยชน์ เช่น พยาธิตัวตืดในหมู พยาธิใบไม้ในตับคน เชื้อโรคกับคน พยาธิในลำไส้ กาฝากกับต้นไม้ เชื้อไวรัสในสัตว์ต่าง ๆ เป็นต้น

62.       ข้อความใดอธิบายเกี่ยวกับ Species ไม่ถูกต้อง

(1)       สิ่งมีชีวิตไม่ได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม        (2) สิ่งมีชีวิตมีการเพิ่มจำนวน

(3)       สิ่งมีชีวิตสามารถสืบต่อเผ่าพันธุ์ได้      (4) สิ่งมีชีวิตมีการลดจำนวน

ตอบ 4 หน้า 570, (คำบรรยาย) ชนิดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต (Species) หมายถึง หมู่หรือจำนวนของสิ่งมีชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือเป็นกลุ่มของสิ่งมีชีวิตพวกเดียวกัน โดยมีลักษณะสำคัญดังนี้

1.         มีรูปร่างลักษณะและการจัดระเบียบโครงร่างแบบเดียวกัน    2. มีวิถีการดำรงชีวิตเป็นไปในรูปแบบเดียวกัน 3. มีการเพิ่มทวิจำนวน 4. สามารถสืบต่อเผ่าพันธุ์ของตนได้

5.         ไต้รับอิทธิพลจาก DNA หรือ Gene แต่ไม่ไต้รับผลกระทบจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม

63.       องค์ประกอบหลักของสารอินทรีย์ คือธาตุใด

(1)       คาร์บอน          (2) แคลเซียม   (3) ไนโตรเจน   (4) ฟอสฟอรัส

ตอบ 1 หน้า 1735 สารประกอบอินทรีย์ (Organic Compound) เป็นสารประกอบทางเคมีที่มีอะตอมชองธาตุคาร์บอนเป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญที่สุด เพราะคาร์บอนจะเข้าทำปฏิกิริยา ทางเคมีกับอะตอมของธาตุอื่น ๆ ได้ง่าย และสารประกอบของคาร์บอนยังสามารถเชื่อมต่อกัน ได้อย่างไม่มีขีดจำกัด

64.       การอยู่ร่วมกันของปลาฉลามกับเหาฉลาม เป็นการอยู่รวมกันแบบใด

(1) Commensalism    (2) Mutualism  (3) Amensalism          (4) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 76, (คำบรรยาย) Commensalism (+/0) เป็นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตแบบที่ฝ่ายหนึ่ง ได้รับประโยชน์ แต่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้และไม่เสียประโยชน์อันใด เช่น ปลาฉลามกับเหาฉลาม กล้วยไม้ที่ขึ้นอยู่บนต้นไม้ใหญ่การบริจาคทรัพย์สิ่งของให้ผู้ประสบอุทกภัยโดยไม่ทำให้ ตัวเองเดือดร้อน เป็นต้น

65.       พืชชนิดใดมีลำต้นแบบ Prostrate

(1) ผักกระเฉด (2) ผักแว่น       (3) บัวบก        (4) พลู

ตอบ1 หน้า 120 พืชที่มีลำต้นอยู่เหนือดินสามารถแบ่งตามลักษณะที่ปรากฏได้เป็น 4 ชนิด คือ

1.         ชนิดที่ทอดแตะพื้นเป็นระยะ ๆ (Stolon) เช่น บัวบก ผักแว่น ผักตบชวา จอก

2.         ชนิดที่ทอดราบไปตามพื้น (Prostrate) เช่น ผักบุ้ง ผักกระเฉด

3.         ชนิดที่เกาะเกี่ยวป่ายปีนหรือเลื้อยพัน (Climber/Twinning) เช่น ตำลึง พลู พวงชมพู เถาวัลย์

4.         ชนิดทีมีลำต้นตั้งตรง (Erect Stem) เช่น สนทะเล ก้ามปู ราชพฤกษ์ มะพร้าว ตาล มะละกอ

66.       พืชชนิดใดมีวงจรชีวิตในเวลา 2 ปี (ไม้ข้ามปี)

(1) อ้อย           (2) ดาวเรือง     (3) หอม           (4) มันสำปะหลัง

ตอบ 3 หน้า 121 พืชแบ่งตามลักษณะของการมีอายุได้เป็น 4 ชนิด คือ

1.         พืชที่มีช่วงอายุสั้นมาก และปีหนึ่งอาจเกิดได้หลายรุ่น (Ephemeral) เช่น ดาวเรือง บานชื่น แพงพวยฝรั่ง

2.         พืชทีมีวงจรชีวิตในเวลา 1 ปี หรือไม้ปีเดียว (Annual) เช่น อ้อย มันสำปะหลัง

3.         พืชที่มีวงจรชีวิตในเวลา 2 ปี หรือไม้ข้ามปี (Biennial) เช่น หอม กระเทียม ว่านต่าง ๆ

4.         พืชที่มีอายุนานกว่า 2 ปี หรือไม้หลายปี (Perennial) เช่น มะม่วง ทุเรียน

67.       พืชชนิดใดมีรากสังเคราะห์แสง

(1) มันสำปะหลัง         (2) กล้วยไม้     (3) ลิ้นจี่           (4) โกงกาง

ตอบ 2 หน้า 117 รากของพืชทุกชนิดมักจะเป็นทรงกระบอก โคนใหญ่ปลายเรียวเล็กลงทีละน้อย ไมมีข้อ ปล้อง ตา หรือบ และไมมีสีเขียว ยกเว้นรากสังเคราะห์แสง (Photosynthetic Root) เช่น รากกล้วยไม้ เป็นต้น

68.       พืชชนิดใดจัดเป็นพวก Hydrophyte

(1) กุหลาบหิน (2) มะขาม       (3) บัว  (4) เสมา

ตอบ 3 หน้า 122 พืชแบ่งตามลักษณะของแหลงกำเนิดและทื่อยูอาศัยได้เป็น 5 ประเภท คือ

1. Epiphyte หมายถึง พืชที่ขึ้นอยู่บนต้นไม้อื่นแต่ไมได้เบียดเบียนต้นไม้นั้น เช่น กล้วยไม้ และเฟิร์นบางชนิด

2. Parasite หมายถึง พืชที่ขึ้นอยู่บนต้นไม้อื่นแล้วเบียดเบียนต้นไม้นั้น เช่น กาฝาก ฝอยทอง ขนุนดิน ฤาษี        

3. Xerophyte หมายถึง พืชที่เกิดอยู่ในที่แห้งแล้งและมีนั้าน้อย เช่น กุหลาบหิน กระบองเพชร เสมา โบตั๋น

4.         Mesophyte หมายถึง พืชที่เกิดอยู่ในที่ที่มีนํ้าพอสมควร เช่น มะม่วง มะขาม ทุเรียน มังคุด

5.         Hydrophyte หมายถึง พืชที่อาศัยอยู่ในนั้า เช่น บัว ผักบุ้ง ผักตบชวา ผักกระเฉด

69.       ใบของพืชชนิดใดที่ช่วยทำหน้าที่ขยายพันธุ์

(1) กาบหอยแครง       (2) มันเทศ       (3) ต้นตายใบเป็น       (4) กล้วยไม้

ตอบ 3 หน้า 122 – 123231 ใบของพืชมีหน้าที่หลัก 3 ประการ คือ การสร้างอาหาร การหายใจ และการคายน้ำ นอกจากนี้แล้วใบของพืชบางชนิดยังอาจเปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่อย่างอื่น ซึ่งอาจเรียกว่าเป็นหน้าที่รอง หรือพืชบางชนิดอาจทำหน้าที่หลักและหน้าที่รองไปพร้อม ๆ กัน หรือทำหน้าที่เดียวอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ทำหน้าที่แพร่และขยายพันธุ์ ได้แก่ ต้นตายใบเป็น โคมญี่ปุน และเฟิร์นบางชนิด ช่วยป้องกันลำต้นและลดการคายนํ้า โดยการลดขนาดใบให้เล็กลง มีลักษณะเป็นหนาม และไม่มีปากใบ ได้แก่ พืชพวก Xerophyte เช่น เสมา กระบองเพชร กุหลาบหิน ฯลฯ

70.       พืชชนิดใดที่ฐานรองดอกเจริญไปเป็นเนื้อของผล

(1) แอปเปิล     (2) ทุเรียน        (3) มะม่วง       (4) ส้ม

ตอบ     1 หน้า 125 ฐานรองดอก (Receptacle) จะอยู่ที่ปลายสุดของก้านดอกเป็นส่วนสุดท้ายที่จะติดกับดอกเป็นแหล่งจ่ายอาหารไปยังอวัยวะส่วนอื่นของดอก เป็นฐานที่รองรับส่วนสร้างเซลล์เพศ ของดอกและในพืชบางชนิดอวัยวะส่วนนี้จะเจริญไปเป็นเนื้อของผล เช่น แอปเปิ้ล

71.       พืชชนิดใดมีลำต้นแบบ Stolon

(1) บัวบก        

(2) ผักบุ้ง         

(3) พลู 

(4) ตำลึง

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 65. ประกอบ

72.       Isotonic Solution หมายถึงอะไร

(1) สารละลายที่มีควมเข้มข้นน้อยกว่า          

(2) สารละลายที่มีความเข้มข้นสูงกว่า

(3)       สารละลายทีมีความเข้มข้นเท่ากัน       

(4) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 33 ศัพท์วิชาการที่เกียวข้องกับความเข้มข้นของสารละลาย ได้แก่

1. Hypertonic Solution หมายถึง สารละลายที่มีความเข้มข้นสูงกว่า หรือมีปริมาณของสาร มากกว่าปริมาณของนำ

2. Hypotonic Solution หมายถึง สารละลายที่มีความเข้มข้นน้อยกว่า หรือมีปริมาณของสารน้อยกว่าปริมาณของนํ้า

3.         Isotonic Solution หมายถึง สารละลายที่มีความเข้มข้นเท่ากัน

73.       สถานะของสารชนิดใดที่มีการแพรกระจายตํ่าสุด

(1)       ของเหลว         (2) ของแข็ง     (3) สารแขวนลอย        (4) ก๊าช

ตอบ 2 หน้า 32อัตราเร็วของการแพร่กระจายมีมากน้อยแตกต่างกันตามสถานะของสาร กล่าวคือสารที่มีสถานะเป็นก๊าชจะมีอัตราเร็วของการแพร่กระจายสูงสุด สารที่มีสถานะเป็นของเหลว จะมีอัตราเร็วรองลงมา และสารที่มีสถานะเป็นรองแข็งจะมีอัตราเร็วตํ่าสุด

74.       ข้อดจัดเป็นคารโบใฮเดรตที่มีโมเลกุลเล็กมาก

 (1) น้ำตาลกาแลคโตส            (2) น้ำตาลมอลโตส     (3) เด็กซทริน   (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 37 – 39, (คำบรรยาย) สารประกอบคาร์โบไฮเดรต แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1. Monosaccharide หรือ Simple Sugar เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลเล็กมาก หรือ ที่เรียกว่านํ้าตาลเชิงเดี่ยว ได้แก่ นํ้าตาลกลูโคส นํ้าตาลฟรุคโตส นํ้าตาลกาแลคโตส

2.         Disaccharide หรือ Double Sugar เป็นคาร์โบไอเดรตที่มีโมเลกุลคู หรือที่เรียกว่า น้ำตาลเชิงประกอบ ได้แก่ น้ำตาลทราย นํ้าตาลมอลโตส นํ้าตาลแลคโตส

3.         Polysaccharide เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลใหญ่มาก ได้แก่ แป้งไกลโคเจนในสัตว์ เซลลูโลส เด็กซทริน ไคติน

ข้อ 75. – 78. ให้ตอบคำถามจากตัวเลือกต่อไปนี้

(1)       วิตามิน A      (2) วิตามิน D (3) วิตามิน E  (4) วิตามิน K

75.       วิตามินในข้อใดช่วยป้องกันภารเป็นหมัน

ตอบ 3 หน้า 46, (คำบรรยาย) วิตามิน เป็นวิตามินที่ช่วยป้องกันการเป็นหมัน และช่วยทำให้ ตัวอ่อนเกาะติดผนังมดลูกได้เหนียวแน่นขึ้น ไม่ให้แท้งง่าย นอกจากนี้ยังมีบทบาทหน้าที่ เกี่ยวกับการยืดอายุเซลล์ สร้างความชุ่มชื้นให้ผิวหนัง และเสริมประสิทธิภาพการทำงาน ของอวัยวะผลิตเซลล์เชื้อเพศ

76.       วิตามินในข้อใดช่วยควบคุมการดูดซึมของธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัสในร่างกาย

ตอบ 2 หน้า 46, (คำบรรยาย) วิตามิน เป็นวิตามินที่ทำหน้าที่ช่วยควบคุมการดูดซึมของธาตุแคลเซียม และฟอสฟอรัสในร่างกายสำหรับสร้างเนื้อเยื่อกระดูก ถ้าร่างกายขาดวิตามินนี้จะทำให้กระดูก อ่อนโค้งงอ กระดูกพรุน ฟันผุ กล้ามเนื้ออ่อนเปลี้ยและชักกระตุก แต่ถ้าร่างกายได้รับมากเกินไป จะทำให้กระดูกแกร่งและหักง่าย

77.       ถ้าขาดวิตามินในข้อใดจะทำให้โลหิตแข็งตัวช้า

ตอบ4 หน้า 46, (คำบรรยาย) วิตามิน เป็นวิตามินที่มีบทบาทหน้าที่สำคัญเกี่ยวข้องกับคุณภาพ ของเลือด (โลหิต) ก็คือ ทำให้นํ้าเลือดข้นเหนียวจนเกิดการไหลของเลือดช้าลง และทำให้เลือด แข็งตัวปิดปากแผลเพื่อป้องกันเลือดไหลออกมาภายนอกร่างกาย ซึ่งถ้าร่างกายขาดวิตามินนี้ จะทำให้เลือดแข็งตัวช้า เสียเลือดมาก หรือเลือดไหลหยุดช้าเมื่อเกิดบาดแผล

78.       วิตามินในข้อใด ถ้าได้รับไม่เพียงพอจะเกิดอาการตามัว มองไม่เห็นในที่แสงสลัว

ตอบ 1 หน้า 45 – 46, (คำบรรยาย) วิตามิน, A เป็นวิตามินที่มีบทบาทหน้าที่สำคัญเกี่ยวข้องกับสุขภาพของดวงตา และคุณภาพของการมองเหิน ซึ่งถ้าร่างกายได้รับวิตามินนี้ไม่เพียงพอ จะทำให้ตามัวและมองไม่เห็นในที่แสงสลัว (Night Blindness)

79.       ข้อใดจัดเป็น Disaccharide หรือ Double Sugar

(1)       น้ำตาลกลูโคส (2) นั้าตาลฟรุคโตส     (3) เซลลูโลส   (4) น้ำตาลทราย

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 74. ประกอบ

80.       คาร์โบไฮเดรต 1 กรัม เมื่อเผาไหม้โดยสมบูรณ์ให้พลังงานความร้อนกี่กิโลแคลอรี

(1)       4.1 กิโลแคลอรี            (2) 5.1 กิโลแคลอรี      (3) 6.2 กิโลแคลอรี      (4) 7.3 กิโลแคลอรี

ตอบ 1 หน้า 39, (คำบรรยาย) ไลปิดหรือไขมัน เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานมากที่สุดในปริมาณนํ้าหนัก ที่เท่ากันของสาร โดยไขมันจะให้พลังงานมากกว่าคาร์โบไฮเดรต กล่าวคือ ไขมัน 1 กรัม เมื่อเผาไหม้โดยสมบูรณ์แล้วจะให้พลังงานความร้อน 9.1 กิโลแคลอรี ในขณะที่คาร์โบไฮเดรต 1 กรัม ให้พลังงานความร้อนเพียง 4.1 กิโลแคลอรีเท่านั้น

81.       Desoxyribose Nucleic Acid มีหน้าที่อะไร

(1)ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากบรรพบุรุษไปยังลูกหลาน       

(2) สร้างโปรตีน

(3) ส่งเสริมและควบคุมการเจริญเติบโต         

(4) สร้างน้ำย่อยหรือเอนไซม์

ตอบ1 หน้า 43, (คำบรรยาย) DNA (Desoxyribose Nucleic Acid) หรือ Gene เป็นสารพันธุกรรมซึ่งมีหน้าที่สำคัญ 2 ประการ คือ 1. กำหนดลักษณะเฉพาะต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด หรือแต่ละหน่วยให้เป็นไปตามเผ่าพันธุ์ของตน และสามารถถ่ายทอดลักษณะทางพันธุ์กรรมนั้น จากบรรพบุรุษไปสู่ลูกหลานได้     2. ควบคุมกิจกรรมทุกประเภทที่เกิดขึ้นภายในเซลล์

82.       ออร์แกเนลล์ข้อใด มีหน้าที่เป็นที่เกิดกระบวนการหายใจระดับเซลล์

(1) ไลโซโซม (Lysosome)          

(2) แวคิวโอล (Vacuoles)

(3) ไมโตคอนเดรีย (Mitochondria)    

(4) พลาสติด (Plastids)

ตอบ 3 หน้า 52, (คำบรรยาย) ไมโตคอนเดรีย (Mitochondria) เป็นออร์แกเนลล์ที่ได้ชื่อว่าเป็นโรงงานผลิตไฟฟ้าของเชลล์” หรือเป็น แหล่งผลิตพลังงานให้แกเซลล์” (House of Power of the Cell) โดยจะทำหน้าที่สร้างเอนไซม์ที่ใช้ในกระบวนการหายใจระดับเซลล์หรือเผาผลาญ อาหารเพื่อให้เกิดพลังงานแกเซลล์ โดยเฉพาะเซลล์ที่มีกระบวนการทำงานสูง เช่น เซลล์ของตับ ไต และประสาท

83.       ออร์แกเนลล์ข้อใด ที่มีบทบาทในการสังเคราะห์แสง

(1)ไลโชโซม (Lysosome) (2) แวคิวโอล (Vacuoles)

(3) ไมโตคอนเดรีย (Mitochondria)    (4) พลาสติด (Plastids)

ตอบ 4 หน้า 53, (คำบรรยาย) พลาสติด (Plastids) เป็นออร์แกเนลล์ที่มีลักษณะเป็นเม็ดสาร และภายในมีสารที่ทำให้เกิดสีบรรจุอยู่ โดยเม็ดสารสีเขียวที่บรรจุอยู่ในคลอโรพลาสติด หรือคลอโรพลาสต์นั้นจะเรียกว่า คลอโรพิลล์” (Chlorophyll) ซึ่งเป็นสารที่มีบทบาทสำคัญ ในการสังเคราะห์แสงของพืช

84.       พืชใน Subdivision ใดที่มีผิวของลำต้นเป็นร่องยาวคล้ายลูกฟูก ผิวลำต้นหยาบเพราะมีสารพวกซิลิกา

(1)       ดิวิชันย่อยไลคอพซิดา (Subdivision Lycopsida)

(2)       ดิวิชันย่อยเทอรอพซิดา (Subdivision Pteropsida)

(3)       ดิวิชันย่อยไซลอพซิดา (Subdivision Psilopsida)

(4)       ดิวิชันย่อยสฟีนอพซิดา (Subdivision Sphenopsida)

ตอบ 4 หน้า 113 พืชในดิวิชันย่อยสฟีเนอพซิดา (Subdivision Sphenopsida) จะมีลักษณะคล้าย ต้นหญ้า มีข้อและปล้องชัดเจน ลำต้นมีทั้งส่วนที่อยู่บนดินและใต้ดิน ส่วนที่อยู่บนดินนั้น มีสีเขียวและภายในกลวง ผิวของลำต้นเป็นร่องยาวคล้ายลูกฟูก ผิวลำต้นหยาบเพราะ มีสารพวกซิลิกาประกอบอยู่ และใบมีลักษณะเป็นแผ่นเล็ก ๆ เกิดขึ้นเป็นวงรอบข้อ ได้แก่ หญ้าถอดปล้องหรือสนหางน้า (Horsetail)

85.       พืชชนิดใดมีรากสังเคราะห์แสง

(1) กระบองเพชร         (2) กุหลาบ      (3) กล้วยไม้     (4) จอก

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข่อ 67. ประกอบ

86.       พืชชนิดใดใบมีลักษณะเป็นแผ่นเล็ก ๆ เกิดขึ้นเป็นวงรอบข้อ

(1) หวายทะนอย         (2) หญ้าถอดปล้อง     (3) มอสส์         (4) เพิร์น

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 84. ประกอบ

87.       คลาสแองจิโอสเปอร์มี (Class Angiospermae) จัดอยู่ใน  Subdivision ใด

(1)       ดิวิชันย่อยไลคอพซิดา (Subdivision Lycopsida)

(2)       ดิวิชันย่อยเทอรอพซิดา (Subdivision Pteropsida)

(3)       ดิวิชันย่อยไซลอพซิดา (Subdivision Psilopsida)

(4)       ดิวิชันย่อยสฟีเนอพซิดา (Subdivision Sphenopsida)

ตอบ 2 หน้า 113 – 116 ดิวิชันย่อยเทอรอพซิดา (Subdivision Pteropsida) แบ่งออกเป็น 3 Class คือ

1.         คลาสฟิลิซินี (Class Filicinae)

2.         คลาสจิมโนสเปอร์มี (Class Gymnospermae)

3.         คลาสแองจิโอสเปอร์มี (Class Angiospermae) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 Subclass คือ Subclass Monocotyledoneae และ Subclass Dicotyledoneae

88.       พืชชนิดใดมีใบอ่อนจะม้วนงอขดคล้ายลานนาฟิกา

(1) เฟิร์น          (2) มอสส์         (3) หญ้าถอดปล้อง     (4) หวายทะนอย

ตอบ 1 หน้า 113 เฟิร์น (Fern) จัดเป็นพืชในคลาสฟิลิซินี (Class Filicinae) ซึ่งมีลักษณะสำคัญ คือ

1.         อาคัยน้ำเป็นสื่อในการนำสเปิร์มว่ายเขาไปผสมกับไข่

2.         มีอับสปอร์รวมอยู่เป็นกลุ่มจำนวนมากติดอยู่ใตใบ

3.         เป็นพืชที่ยังไม่มีเมล็ด

4.         ช่วงชีวิตระยะ Gametophyte เป็นช่วงชีวิตอิสระที่มีอายุไม่นานนัก

5.         ใบอ่อนจะม้วนงอขดคล้ายลานนาฟิกา

89.       กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (Photosynthesis) เป็นวิวัฒนาการของเซลล์ในสมัยแรกเริ่มที่ปรับตัว ให้เหมาะสมกับสภาพแวดต้อมที่ขาดแคลนอาหาร เกิดขึ้นในลักษณะใด

(1)       บรรพบุรุษของพืชใช้แสงแดดเป็นแหล่งพลังงานอาหารได้โดยตรง โดยไม่ต้องมีกระบวนการใด ๆ

(2)       บรรพบุรุษของลัตว์อยู่ในที่แสงจ้าเพื่อรับแสงแดดเมื่อต้องการพลังงาน

(3)       สิ่งมีชีวิตบางชนิดใช้แสงกระตุ้นการสังเคราะห์กลูโคสจากน้ำและคาร์บอนไดออกไซด์

(4)       อาหารที่ได้จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเกิดในบรรพบุรุษของพืชที่อยู่บนบกเท่านั้น

ตอบ 3 หน้า 26, (คำบรรยาย) กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (Photosynthesis) เป็นวิวัฒนาการ ของเซลล์ในสมัยแรกเริ่มที่ปรับตัวให้เหมาะสมกับสภาพแวดด้อมที่ขาดแคลนอาหาร ซึ่งเกิดขึ้น จากการที่สิ่งมีชีวิตบางชนิดที่เซลล์มีสารคลอโรฟิลล์ในการกักเก็บพลังงานจากแสงแดดเอาไว้ ได้ใช้พลังงานแสงกระตุ้นการสังเคราะห์อาหาร โดยนำเอาโมเลกุลของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไปรวมกับโมเลกุลของน้ำ  ซึ่งจะได้สารอาหารประเภทน้ำตาลกลูโคส (และเกิดก๊าซออกซิเจน เป็นผลพลอยได้

90.       คำกล่าวใดถูกต้องที่สุด

(1)       พารามีเซียม ตอบสนองต่อสิ่งเร้าโดยการพรางตัว

(2)       ยูกลีนา มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เกิดขึ้นพร้อมกันในโปรโตพลาสม์

(3)       อะมีบา ตอบสนองต่อสิ่งเร้าโดยใช้โครงสร้างคล้ายขนที่เรียกว่า ซิเลีย” ช่วยในการเคลื่อนที่

(4)       การตอบสนองต่อสิ่งเร้าไม่พบในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวดังที่กล่าวมา

ตอบ 2 หน้า 98106195 – 196, (คำบรรยาย) การตอบสนองต่อสิ่งเร้าในสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำประเภทเซลล์เดียวซึ่งได้แก่ พวกโปรติสตา (Protista) เช่น ยูกลีนา อะมีบา พารามีเซียม จะเกิดขึ้นพร้อมกันในก้อนโปรโตพลาสม์ ส่วนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าในสัตว์ชั้นสูงและ ในพืชทั่วไปนั้น จะมีโครงสร้างหรืออวัยวะที่ทำหน้าที่เป็นสัดส่วนแยกออกจากกัน

91.       เซลล์ประสาทส่งกระแสความรู้สึกออกจากเซลล์ทางใด

(1) เอนด์ เพลต            

(2) ไซแนปล์     

(3) เดนไดรต์    

(4) แอ็กซอน

ตอบ4 หน้า 64197 เซลล์ประสาท (Nerve Cell) แต่ละเซลล์ประกอบด้วย

1.         ตัวเซลล์ประสาท (Cell Body)

2.         แอ็กซอน (Axon) ทำหน้าที่ส่งกระแสความรู้สึกและคำสั่งออกจากตัวเซลล์ประสาท

3.         เดนไดรต์ (Dendrite) ทำหน้าที่รับกระแสความรู้สึกเข้าสู่ตัวเซลล์ประสาท

4.         เอนต์ เพลต (End Plate) เป็นเส้นใยละเอียดจำนวนมากที่แผ่อยู่ที่ปลายกิ่งแขนงของเซลล์ประสาท ทำหน้าที่เป็นตัวเกาะเกี่ยวประสานกับเอนด์ เพลต ของเซลล์ประสาทอื่น ๆ

92.       งูเขียวหางไหม้รับสัญญาณของเหยื่อโดยอาศัยหน่วยรับความรู้สึกที่เกี่ยวกับอุณหภูมิ เรียกหน่วยรับ ความรู้สึกนั้นว่า

(1) Chemoreceptor   

(2) Pressoreceptor    

(3) Thermoreceptor 

(4) Phonoreceptor

ตอบ 3 หน้า 196 ในกระบวนการรับความรู้สึก (Reception) มีอวัยวะที่เป็นหน่วยรับความรู้สึก ได้แก่

1.         Thermoreceptor เป็นอวัยวะที่รับความรู้สึกร้อนหรือเย็น (อุณหภูมิ) ได้แก่ ผิวหนัง

2.         Photoreceptor เป็นอวัยวะที่รับความรู้สึกเกี่ยวกับแสงสว่าง ได้แก่ ตา

3.         Pressoreceptor เป็นอวัยวะที่รับความรู้สึกสัมผัสและความเจ็บปวด ได้แก่ ผิวหนัง

4.         Chemoreceptor เป็นอวัยวะที่รับความรู้สึกด้านรสและกลิ่น ได้แก่ ลิ้น และจมูก

5.         Phonoreceptor เป็นอวัยวะที่รับความรู้สึกด้านเสียง ได้แก่ หู

93.       สัตว์บางชนิดสร้างสารเคมีที่เรียกว่า ฟีโรโมน (Pheromone) ช่วยให้มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าอย่างไร

(1)       สุนัขเห่าหอนเมื่อได้ยินเสียงเพลงชาติจากเครื่องกระจายเสียง

(2)       นกเค้าแมวมองเห็นเหยื่อชัดเจนในเวลากลางคืน

(3)       การรวมฝูงของสัตว์ป่าเพื่อลงกินดินโป่ง

(4)       ปลวกเดินทางเป็นแถวเพื่อย้ายถิ่น

ตอบ 4 หน้า 209, (คำบรรยาย) ฟีโรโมน (Pheromone) เป็นสารอินทรีย์เคมีที่เซลล์ต่อมมีท่อ ในร่างกายสร้างขึ้นมาเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ภายนอกร่างกาย เพื่อการสื่อสารหรือส่งสาร ตัวอย่างของสารฟีโรโมนที่มีผลทางกลิ่นในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ได้แก่ กลิ่นตัวและกลิ่นเหงื่อ ของคน กลิ่นสาบของสัตว์ต่าง ๆ เช่น สุนัข ช้าง แมว แพะ แกะ วัว ควายการเดินตามกัน เป็นแถวของปลวกหรือมด เป็นต้น

94.       ต้นไทร เจริญบนต้นไม้อื่นและหยั่งรากลงสู่พื้นดิน การเจริญของรากไทรเป็นการเคลื่อนไหวเนื่องจากมีแรงโน้มถ่วงของโลกมากระตุ้น เรียกว่า

(1) Themotropism (2) Phototropism (3) Chemotropism (4) Geotropism

ตอบ 4 หน้า 200 Geotropism เป็นการเคลื่อนไหวตอบสนองภายนอกต้นพืชเนื่องจากการเจริญเติบโต โดยมีแรงดึงดูดของโลกเป็นสิ่งเร้า เช่น การเจริญของรากไทรจากยอดต้นไม้อื่นลงสู่พื้นดิน เป็นต้น

95.       ในกระบวนการแปลความหมายและสั่งการ ระบบประสาทส่วนกลางที่ทำหน้าที่ในกระบวนการนี้คือ

(1) เซลล์ประสาทส่งสัญญาณ            (2) ไขสันหลัง

(3) กล้ามเนื้อลาย        (4) ไมมีข้อใดถูก

ตอบ2  หน้า 197 กระบวนการแปลความหมายและสั่งการ (Modulation) เกิดขึ้นในขณะที่กระแสความรู้สึกจากเซลล์ประสาทวิ่งผ่านระบบประสาทส่วนกลางซึ่งประกอบด้วยไขสันหลัง (Spinal Cord) และสมอง (Brain) ทั้งไขสันหลังและสมองนี้จะประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ประสาท ซึ่งมาอยู่รวมกันหนาแน่นเพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมกิจกรรมต่าง ๆ ของร่างกาย ทั้งด้าน นิสัย สัญชาตญาณ และเชาวน์ปฏิภาณ

96.       เมื่อเรามองเห็นอันตรายในเบื้องหน้าแล้วเดินหนีห่าง การตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เกิดขึ้นในกระบวนการตอบโต้ (Effect) เกิดจากการทำงานขององค์ประกอบใด

(1)       กลามเนื้อ + Motor Neuron + ฮอร์โมน

(2)       ตา + ระบบประสาทส่วนกลาง + กล้ามเนื้อ

(3)       หน่วยรับความรูสึก + Motor Neuron + กล้ามเนื้อ

(4)       ตา + เซลล์ประสาท + ระบบประสาทส่วนกลาง + กล้ามเนื้อ

ตอบ 1 หน้า 197 – 198, (คำบรรยาย) กระบวนการตอบโต้ (Effect) เป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง ระบบกล้ามเนื้อ เซลล์ประสาทสั่งการ (Motor Neuron) และระบบต่อมสร้างฮอร์โมน โดยการที่ Motor Neuron จะส่งกระแสคำสั่งจากระบบประสาทส่วนกลางมากระตุ้นให้หน่วยตอบสนอง หรือกล้ามเนื้อในบริเวณใกล้กับแหล่งรับความรู้สึกทำงานด้วยการหดตัวของเส้นใยกล้ามเนื้อ จึงทำให้เกิดการเคลื่อนไหวในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การเดินหนีห่างจากอันตรายที่เรามองเห็น การวิ่งหลบหนีเจ้าหน้าที่ตำรวจของนักโทษหนีคดี เป็นต้น

97.       ข้อใดกล่าวถึงทฤษฎีวิวัฒนาการ การคัดสรรโดยธรรมชาติ” ของชาร์ลส์ ดาร์วิน ได้ถูกต้องที่สุด

(1)       ในการอยู่ร่วมกันเป็นสังคม ต้องมีทั้งผู้นำและผู้ตมซึ่งเกิดจากการคัดเลือกกันเองในหมู่สมาชิก

(2)       การคัดเลือกพันธุ์พืชที่ดีที่สุดมาปลูก ช่วยให้พืชมีอายุยืนยาวถึงลูกถึงหลาน

(3)       สัตว์ป่าตัวที่แข็งแรงจึงจะอยู่รอด มีอาหารและมีลูกหลานได้

(4)       ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ. 3 หน้า 212 – 213 ตามทฤษฎีวิวัฒนาการ การคัดสรรโดยธรรมชาติ” (Natural Selection;ของชาร์ลส์ ตาร์วิน กล่าวว่า ผู้ที่อ่อนแอไม่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมนั้นจะตายไป เหลืออยู่แต่ผู้ที่เหมาะสมที่สุดเท่านั้นจึงจะอยูรอด มีอาหาร และมีลูกหลานได้ โดยผู้ที่เหมาะสมกับ สภาพแวดล้อมนี้มักจะมีคุณลักษณะพิเศษที่ดีเดนแปลกไปจากผู้อี่น เมื่อมีลูกหลานก็จถ่ายทอดหรือสอนลักษณะนั้น ๆ สืบต่อกันไป เกิดเป็นพันธุ์ใหม่ที่ดีขึ้นมา

98.       ข้อใดคือหลักฐานทางบรรพชีวิน (Paleontology Evidence) ที่ใช้ศึกษาทางวิวัฒนาการ

(1)       ซากใบไม้ที่ทับถมกันในป่าพรุและยังไม่เกิดการย่อยสลาย

(2)       ซากนกทะเลที่ถูกคราบน้ำมันจากเรือสินค้า  

(3) ซากปลาทะเลที่กลายเป็นหิน

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 214 หลักฐานทางบรรพชีวิน (Paleontology Evidence) เป็นการศึกษาที่เกี่ยวกับซากเหลือของพืชและสัตว์ซึ่งเคยมีชีวิตอยู่ในสมัยดึกดำบรรพ์ เมื่อตายไปจะถูกกระทำโดย กระบวนการทางธรรมชาติจนซากนั้นกลายสภาพเป็นหิน เช่น ซากปลาทะเลที่กลายเป็นหิน เป็นต้น

99.       นกกระยางมีนิ้วเท้าเรียวยาว นกกานํ้ามีนิ้วเท้าแบนมีพังผืด และนกฮูกมีนิ้วเท้างองุ้มเล็บแหลมคม ความแตกต่างนี้เป็นการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตเพื่อเหตุผลใด

(1) การหาอาหาร         (2) การต่อสู้     (3) การผสมพันธุ์         (4) ทุกข้อที่กล่าวมา

ตอบ. 1 หน้า 228 – 230 การปรับตัวทางด้านรูปร่างของสิ่งมีชีวิตนั้น มีจุดมุ่งหมายสำคัญ 2 ประการ คือ

1.         เพื่อเอื้อประโยชน์ในการหาอาหาร เช่น นกกระยางมีนิ้วเท้าเรียวยาวเหมาะแก่การทรงตัวนกกาน้ำมีนิ้วเท้าแบนมีพังผืดนกฮูกมีนิ้วเท้างองุ้มเล็บแหลมคมไกมีเล็บเท้าใหญ่และแข็ง เหมาะแกการคุ้ยเขี่ย เป็นต้น

2.         เพื่อการป้องกันหรือหลบหลีกอันตรายจากศัตรู เช่น การมีหูและขาหลังที่ยาวของกระต่ายการมีเปลือก กระดอง เกล็ด ขนแข็ง ของหอย ปู เต่า นิ่ม และเม่นการมีสีคล้ายเปลือกไม้ ของผีเสื้อกลางคืน เป็นต้น

100.    พืชพวก Xerophyte มีการปรับตัวอย่างไรเพื่อช่วยลดการคายน้ำ ทำให้พืชสามารถอาคัยอยู่ในที่แห้งแล้งได้

(1) การลดขนาดใบให้เล็กลงมีลักษณะเป็นหนาม      

(2) มีปากใบจำนวนมากป้องกันการระเหยของนํ้า

(3)       มีระบบท่อลำเลียงน้ำที่ไม่พัฒนาดีนัก            

(4) ทุกข้อที่กล่าวมา

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 69. ประกอบ

Advertisement