การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2563

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2300 การบริหารรัฐกิจเบื้องต้น

Advertisement

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

ตั้งแต่ข้อ 1 – 3 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) องค์การแบบแบ่งแยกหน้าที่

(2) องค์การแบบแบ่งตามผลผลิต

(3) องค์การแบบแบ่งตามพื้นที่

(4) องค์การแบบแบ่งตามประเภทลูกค้า

(5) องค์การแบบแบ่งตามกระบวนการ

 

1 หน่วยงานที่มีผู้จัดการฝ่ายบุคคล ผู้จัดการฝ่ายขาย ผู้จัดการฝ่ายสินเชื่อ ผู้จัดการฝ่ายผลิต เป็นการจัด องค์การแบบใด

ตอบ 1 หน้า 117 องค์การแบบแบ่งแยกหน้าที่ (Functional Departmentalization) เป็นการจัดองค์การโดยพิจารณาจากประเภทของงานหรือหน้าที่ในการปฏิบัติงานเป็นหลัก โดยกลุ่มของ กิจกรรมที่เหมือนกันและเกี่ยวข้องกันจะถูกจัดให้อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของผู้บังคับบัญชา คนเดียวกัน การจัดองค์การแบบนี้เหมาะกับองค์การที่อยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมคงที่และมีลักษณะ เป็นงานประจํา เช่น การจัดองค์การโดยแบ่งออกเป็นผู้จัดการฝ่ายบุคคล ผู้จัดการฝ่ายขายผู้จัดการฝ่ายสินเชื่อ และผู้จัดการฝ่ายผลิต เป็นต้น

2 ฝ่ายขายต่างประเทศ เป็นการจัดองค์การแบบใด

ตอบ 3 หน้า 118 119 องค์การแบบแบ่งตามเขตภูมิศาสตร์หรือตามพื้นที่ (Geographical Departmentalization หรือ Territorial Departmentalization) เป็นการจัดองค์การที่ เหมาะกับองค์การขนาดใหญ่หรือองค์การที่มีภารกิจที่ต้องรับผิดชอบกว้างขวาง เพื่อทําให้เกิด ความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน เป็นการกระจายอํานาจในการปฏิบัติงานให้ครอบคลุมพื้นที่ ที่ต้องรับผิดชอบ และมีความเป็นอิสระในการปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่ ทั้งยังสามารถตอบสนอง ความต้องการหรือแก้ปัญหาได้ตรงตามความต้องการของแต่ละพื้นที่ด้วย เช่น การจัดองค์การโดยแบ่งฝ่ายขายออกเป็นฝ่ายขายในประเทศ และฝ่ายขายต่างประเทศ เป็นต้น

3 ฝ่ายผลิตอาหาร เป็นการจัดองค์การแบบใด

ตอบ 2 หน้า 117 – 118 องค์การแบบแบ่งตามผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ (Product Departmentalization) เป็นการจัดองค์การที่ทําให้ผลผลิตแต่ละประเภทอยู่ภายใต้อํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบ ของผู้บริหารที่มีความชํานาญเฉพาะด้านนั้น ๆ ซึ่งจะทําให้สามารถควบคุมกระบวนการผลิตได้ดี และเกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน แต่อาจทําให้เกิดความซ้ําซ้อนของงานและสิ้นเปลือง ค่าใช้จ่ายโดยส่วนรวมได้ เช่น การจัดองค์การโดยแบ่งฝ่ายการผลิตออกเป็นฝ่ายผลิตอาหารและฝ่ายผลิตเสื้อผ้า เป็นต้น

4 ผู้ใดกล่าวว่า “วัฒนธรรมเป็นส่วนทั้งหมดที่ซับซ้อน ประกอบด้วยความรู้ ความเชื่อ ศิลปะ ศีลธรรม ประเพณี และความสามารถอื่น ๆ ที่มนุษย์ได้มาในฐานะเป็นสมาชิกของสังคม”

(1) Dwight Waldo

(2) Richard L. Daft

(3) Stephen P. Robbins

(4) Taylor

(5) Max Weber

ตอบ 4 หน้า 266, 282 Taylor กล่าวว่า วัฒนธรรมเป็นส่วนทั้งหมดที่ซับซ้อน ประกอบด้วยความรู้ความเชื่อ ศิลปะ ศีลธรรม กฎหมาย ประเพณี และความสามารถอื่น ๆ ที่มนุษย์ได้มาในฐานะเป็นสมาชิกของสังคม

5 ประเทศอะไรสังคมมีการแบ่งชนชั้นวรรณะ

(1) ประเทศไทย

(2) อินเดีย

(3) สหรัฐอเมริกา

(4) อังกฤษ

(5) เยอรมนี

ตอบ 2 หน้า 265, 282 283 สังคมของประเทศอินเดียมีการแบ่งชนชั้นวรรณะออกเป็น 4 วรรณะ คือ

1 พราหมณ์ ได้แก่ นักบวชที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้มีความรู้

2 กษัตริย์ ได้แก่ นักรบ

3 แพศย์ ได้แก่ พ่อค้า ฃ

4 ศูทร ได้แก่ กรรมกร

6 ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับปัจจัยสิ่งแวดล้อมจากต่างประเทศ

(1) ระบบศุลกากร

(2) อัตราการแลกเปลี่ยน

(3) การกีดกันทางการค้า

(4) เครื่องมือหรืออุปกรณ์

(5) ระบบตลาด

ตอบ 4 หน้า 255 – 257, 282 – 283 Richard L. Daft ได้พิจารณาสภาพแวดล้อมขององค์การว่าประกอบด้วยปัจจัยหรือส่วนต่าง ๆ 10 ส่วน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ถือเป็นสภาพแวดล้อมของงาน ที่มีผลกระทบต่อการบรรลุเป้าหมายขององค์การโดยตรง เช่น

1 ปัจจัยด้านการผลิตหรือวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต เช่น ผู้ป้อนวัตถุดิบให้แก่องค์การ โรงงานผลิต

2 ปัจจัยด้านทรัพยากรมนุษย์ เช่น สถานฝึกอบรม สหภาพแรงงาน

3 ปัจจัยด้านเทคโนโลยี เช่น เทคนิคการผลิต เครื่องมือหรืออุปกรณ์อัตโนมัติ ปัจจัยการผลิตใหม่ ๆ

4 ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ เช่น อัตราการว่างงาน อัตราเงินฝืด-เงินเฟ้อ อัตราการลงทุน อัตราการออม

5 ปัจจัยจากต่างประเทศ เช่น การกีดกันทางการค้า ระบบตลาดต่างประเทศ ระบบศุลกากรอัตราการแลกเปลี่ยน ฯลฯ

7 ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ

(1) อัตราการว่างงาน

(2) อัตราเงินฝืด-อัตราเงินเฟ้อ

(3) การลงทุน

(4) อัตราการออม

(5) การปฏิบัติงาน

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

8 การศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายถึง

(1) การศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

(2) การศึกษาในระดับ ปวส.

(3) การศึกษาในสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

(4) การศึกษาชั้นอนุบาล

(5) การศึกษาในระดับปริญญาตรีเท่านั้น

ตอบ 1. 4 หน้า 262 – 263, 282 – 283 การศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายถึง การศึกษาซึ่งจัดไม่น้อยกว่า 12 ปีก่อนระดับอุดมศึกษา ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ

1 การศึกษาก่อนระดับประถมศึกษา ได้แก่ การศึกษาชั้นเด็กเล็ก และการศึกษาชั้นอนุบาล

2 การศึกษาระดับประถมศึกษา

3 การศึกษาระดับมัธยมศึกษา ได้แก่ การศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

9 ข้อใดไม่ใช่สาเหตุที่ทําให้ทรัพยากรธรรมชาติถูกทําลาย

(1) การลดของประชากร

(2) ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์

(3) การสร้างสิ่งก่อสร้างเขื่อน

(4) การกีฬา

(5) ความไม่รู้หรือความรู้เท่าไม่ถึงการณ์

ตอบ 1 หน้า 275 276, 282 283 สาเหตุที่ทําให้ทรัพยากรธรรมชาติถูกทําลาย มีดังนี้

1 การเพิ่มของประชากร

2 การขยายตัวทางเศรษฐกิจ

3 ความเจริญก้าวหน้า ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

4 การสร้างสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เช่น การสร้างเขื่อน อ่างเก็บน้ำ ถนน

5 การกีฬา เช่น การยิงนก ตกปลา ล่าสัตว์

6 สงคราม

7 ความไม่รู้หรือความรู้เท่าไม่ถึงการณ์

10 Turbulent Field เป็นสภาพแวดล้อมที่

(1) สงบราบเรียบไม่ค่อยมีโอกาสติดต่อกับภายนอก

(2) เป็นสภาพแวดล้อมของเด็กกําลังเจริญเติบโต เริ่มเรียนรู้และสัมผัสกับระบบของครอบครัว

(3) สภาพแวดล้อมของเด็กวัยรุ่นเริ่มเผชิญกับสังคมภายนอก

(4) สภาพแวดล้อมของชาวเขา

(5) สภาพแวดล้อมใน 3 จังหวัดภาคใต้ และ 4 อําเภอในจังหวัดสงขลา

ตอบ 5 หน้า 257 258, 283 Fred Emery และ Eric Trist ได้แบ่งสภาพแวดล้อมขององค์การออกเป็น 4 ประเภท คือ

1 Placid Randomized Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่สงบราบเรียบ ไม่ค่อยมีโอกาสติดต่อกับสังคมภายนอก เช่น สภาพแวดล้อมของชาวเขาที่เร่ร่อน ทารกในครรภ์ เป็นต้น

2 Placid Clustered Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่ราบเรียบแต่เริ่มมีการติดต่อกับสังคมภายนอกมากขึ้น เช่น สภาพแวดล้อมของเด็กที่กําลังเจริญเติบโตเริ่มเรียนรู้และสัมผัสกับระบบของครอบครัว โรงเรียน เป็นต้น

3 Disturbed-Reactive Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่เริ่มมีความยุ่งยาก ซับซ้อน ยุ่งเหยิง เช่น สภาพแวดล้อมของเด็กวัยรุ่นที่เริ่มเผชิญกับสังคมภายนอก เป็นต้น

4 Turbulent Field เป็นสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อน ยุ่งเหยิง มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เช่น สภาพแวดล้อมใน 3 จังหวัดภาคใต้ และ 4 อําเภอในจังหวัดสงขลา เป็นต้น

11 ในการบริหารภาครัฐของไทยเป็นอย่างไร

(1) รัฐบาลส่วนกลางเป็นหน่วยที่ใหญ่ที่สุดและเป็นผู้วางนโยบาย

(2) รัฐบาลท้องถิ่นมีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ

(3) องค์การอิสระเป็นหน่วยที่ใหญ่ที่สุด

(4) รัฐบาลกลางเป็นผู้นํานโยบายไปปฏิบัติ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 259, 283 ในการบริหารภาครัฐของไทยนั้น รัฐบาลส่วนกลางถือเป็นหน่วยการบริหารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ ซึ่งจะทําหน้าที่ในการวางนโยบายหลักของประเทศ เช่น การป้องกันประเทศ การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การส่งเสริมและควบคุมเศรษฐกิจของประเทศ เป็นต้น โดยจะมีกระทรวงและกรมทําหน้าที่ปฏิบัติงานให้เป็นไปตามนโยบาย

12 สภาพแวดล้อมเฉพาะสําหรับองค์การต่าง ๆ ของรัฐ คือ

(1) ค่านิยมทางสังคม

(2) ภาวะดอกเบี้ย

(3) การศึกษาของประชาชน

(4) เทคโนโลยี

(5) วัตถุดิบ

ตอบ 5 หน้า 260 – 280, (คําบรรยาย) สภาพแวดล้อมขององค์การบริหารภาครัฐเป็นสิ่งที่ควบคุมได้น้อยมากและมีการเปลี่ยนแปลงได้เสมอ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 สภาพแวดล้อมทั่วไปหรือสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ เป็นสภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการบริหารขององค์การของรัฐทุก ๆ องค์การ ได้แก่ การศึกษา ชนชั้นทางสังคม วัฒนธรรม ประเพณี ค่านิยมของประชาชน เศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี กฎหมาย และทรัพยากรธรรมชาติ

2 สภาพแวดล้อมเฉพาะหรือสภาพแวดล้อมภายในองค์การ เป็นสภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบโดยตรงต่อระบบการบริหารขององค์การ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะที่จําเป็นในการดําเนินงาน สําหรับองค์การหนึ่ง ๆ แต่อาจจะไม่มีความจําเป็นสําหรับองค์การอื่น ๆ เลยก็ได้ เช่น ลูกค้า ผู้รับบริการ คู่แข่งขัน แรงงาน/บุคลากร วัตถุดิบ กฎระเบียบขององค์การ เทคโนโลยีการบริหารความรู้และข้อมูล ทรัพยากรที่หน่วยงานต้องใช้

13 ข้อใดคู่กันแล้วไม่ถูกต้อง

(1) ระบบราชการ – วางแผน

(2) ระบบราชการ – ปฏิบัติงานถูกต้อง

(3) การเมืองดี – ระบบราชการดี

(4) การเมือง – นํานโยบายไปปฏิบัติ

(5) ระบบราชการ – ปฏิบัติงานตามนโยบายการเมือง

ตอบ 4 หน้า 271 – 273, (คําบรรยาย) การเมืองจะทําหน้าที่ในการกําหนดนโยบาย ส่วนระบบราชการจะทําหน้าที่นํานโยบายของฝ่ายการเมืองไปปฏิบัติ ดังนั้นการเมืองและระบบราชการ จึงมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันและส่งผลถึงกันและกันเสมอ กล่าวคือ หากการเมืองดีจะส่งผลให้ระบบราชการดีด้วย แต่หากการเมืองล้มเหลวก็จะส่งผลให้ระบบราชการล้มเหลวไปด้วย

14 ใครเสนอให้จําแนกประเภทของนโยบายตามเนื้อหาสาระของนโยบาย

(1) Theodore Lowi

(2) Ira Sharkansky

(3) Cart J. Friedrich

(4) William Greenwood

(5) David Easton

ตอบ 1 หน้า 76, (คําบรรยาย) Theodore Lowi ได้เสนอให้จําแนกประเภทของนโยบายตามเนื้อหาสาระและวัตถุประสงค์ของนโยบายนั้น ๆ ออกเป็น 3 ประเภท คือ

1 นโยบายที่เป็นกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับ (Regulative Policy)

2 นโยบายการกระจายบริการของรัฐ (Distributive Policy)

3 นโยบายเพื่อการจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสมหรือการจัดสรรทรัพยากรเสียใหม่(Re-Distributive Policy)

15 ใครที่ให้ความหมายของนโยบายโดยเน้นการจัดสรรและแจกแจงคุณค่าต่าง ๆ ของสังคมโดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นไปเพื่อสังคมส่วนรวม

(1) Theodore Lowi

(2) Ira Sharkansky

(3) Carl J. Friedrich

(4) William Greenwood

(5) David Easton

ตอบ 5 หน้า 74 David Easton กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง การจัดสรรและแจกแจงคุณค่าต่าง ๆ ของสังคมโดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นไปเพื่อประโยชน์ของสังคมส่วนรวม

16 การพิจารณาปัญหาหรือความต้องการของประชาชนอยู่ในขั้นตอนใด

(1) การก่อตัวของนโยบาย

(2) การนํานโยบายไปปฏิบัติ

(3) การเตรียมและเสนอนโยบาย

(4) การอนุมัติและประกาศนโยบาย

(5) การปรับปรุงแก้ไขนโยบาย

ตอบ 1 หน้า 87 , 107 108 ขั้นตอนการก่อตัวของนโยบาย (Policy Formation) ประกอบด้วย

1 การพิจารณาปัญหาหรือความต้องการของประชาชน

2 การพิจารณาเวลาที่เกิดปัญหา

3 ปัญหาที่รัฐบาลสนใจ

4 การจัดลําดับความสําคัญของปัญหา

17 การจัดทําร่างนโยบายอยู่ในขั้นตอนใด

(1) การก่อตัวของนโยบาย

(2) การนํานโยบายไปปฏิบัติ

(3) การเตรียมและเสนอนโยบาย

(4) การอนุมัติและประกาศนโยบาย

(5) การปรับปรุงแก้ไขนโยบาย

ตอบ 3 หน้า 88, 108 ขั้นตอนการเตรียมและเสนอนโยบาย (Policy Formulation) ประกอบด้วย

1 การกําหนดวัตถุประสงค์

2 การกําหนดทางเลือก

3 การจัดทําร่างนโยบาย

18 นโยบายพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด

(1) Regulative Policy

(2) Distributive Policy

(3) Re-Distributive Policy

(4) Capitalization Policy

(5) Ethical Policy

ตอบ 4 หน้า 76, (คําบรรยาย) นโยบายเพื่อการลงทุน (Capitalization Policy) เป็นนโยบายที่รัฐบาลกําหนดขึ้นเพื่อใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ หรือเพื่อแสวงหาทรัพยากรใหม่ ๆ ในการริเริ่มสร้างสรรค์ คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมาอันเป็นประโยชน์ต่อประชาชนโดยส่วนรวม เช่น นโยบายพัฒนาชายฝั่งทะเล ภาคตะวันออกและภาคใต้ การสร้างสนามบิน การสร้างนิคมอุตสาหกรรม การสร้างท่าเรือน้ำลึกการวางท่อก๊าซ เป็นต้น

19 โครงการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกร เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด

(1) Regulative Policy

(2) Distributive Policy

(3) Re-Distributive Policy

(4) Capitalization Policy

(5) Ethical Policy

ตอบ 3 หน้า 76 นโยบายเพื่อการจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสม (Re-Distributive Policy) เป็นนโยบายที่กําหนดขึ้นเพื่อประชาชนบางอาชีพ ผู้ประกอบการบางสาขาการผลิต พื้นที่บางพื้นที่ ตามความจําเป็น หรือเป็นนโยบายเพื่อดึงทรัพยากรจากประชาชนกลุ่มหนึ่งไปเป็นประโยชน์

ให้ประชาชนอีกกลุ่มหนึ่งที่ด้อยโอกาส เช่น นโยบายภาษี นโยบายปฏิรูปที่ดิน เป็นต้น

20 การส่งเสริมการมีงานทําของผู้สูงอายุและคนพิการ เป็นนโยบายด้านใด (1) นโยบายด้านสวัสดิการสังคม

(2) นโยบายด้านการศึกษา

(3) นโยบายด้านสาธารณสุข

(4) นโยบายด้านแรงงาน

(5) นโยบายด้านศาสนาและศิลปะ

ตอบ 4 หน้า 92 – 93 นโยบายด้านแรงงาน มีดังนี้

1 ดําเนินการให้แรงงานทั้งในและนอกระบบได้รับการคุ้มครองตามมาตรฐานแรงงานไทย

2 ปฏิรูประบบประกันสังคมให้มีความเข้มแข็งมั่นคง

3 พัฒนาและฝึกอบรมแรงงานทุกระดับให้มีความรู้และทักษะฝีมือที่มีมาตรฐาน

4 ส่งเสริมให้แรงงานไทยไปทํางานต่างประเทศอย่างมีศักดิ์ศรีและมีคุณภาพชีวิตที่ดี

5 ส่งเสริมการมีงานทําของผู้สูงอายุและคนพิการ ฯลฯ

21 การส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และประชาชนใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศเชิงสร้างสรรค์อย่างชาญฉลาด เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ เป็นนโยบายด้านใด

(1) นโยบายด้านสวัสดิการสังคม

(2) นโยบายด้านการศึกษา

(3) นโยบายด้านสาธารณสุข

(4) นโยบายด้านกีฬาและนันทนาการ

(5) นโยบายด้านศาสนาและศิลปะ

ตอบ 2 หน้า 91 – 92 นโยบายด้านการศึกษา มีดังนี้

1 ปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ โดยปฏิรูปโครงสร้างและการบริหารจัดการ ปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ

2 ส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาทั้งระบบ

3 จัดให้ทุกคนมีโอกาส ได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี

4 ส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และประชาชนใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศเชิงสร้างสรรค์อย่างชาญฉลาด เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ ฯลฯ

22 ข้อใดไม่ถูกต้อง

(1) การนํานโยบายไปปฏิบัติที่มีประสิทธิผลต้องการความสามารถทางการบริหารสูง

(2) การนํานโยบายไปปฏิบัติจะง่ายในประเทศที่มีขนาดใหญ่

(3) การนํานโยบายไปปฏิบัติจะเหมาะกับประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตย

(4) การนํานโยบายไปปฏิบัติจะง่ายขึ้นในประเทศที่ปกครองแบบรวมศูนย์อํานาจ

(5) การนํานโยบายไปปฏิบัติจะมีประสิทธิผลมากในประเทศที่รัฐบาลมีเสถียรภาพสูง

ตอบ 2 หน้า 99 – 100 การนํานโยบายไปปฏิบัติในประเทศต่าง ๆ อาจจะให้ผลแตกต่างกัน ดังนี้

1 การนํานโยบายไปปฏิบัติที่มีประสิทธิผลต้องการความสามารถทางการบริหารสูงจะกลายเป็นข้อจํากัดที่สําคัญของประเทศในโลกที่ 3 และในยุโรปบางประเทศ

2 การนํานโยบายไปปฏิบัติจะง่ายขึ้นในประเทศที่มีขนาดกลางหรือขนาดเล็ก

3 การนํานโยบายไปปฏิบัติจะเหมาะสมกับประเทศที่ยึดถือการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

4 การนํานโยบายไปปฏิบัติจะง่ายขึ้นในประเทศที่มีการปกครองแบบรวมศูนย์อํานาจ

5 การนํานโยบายไปปฏิบัติจะมีประสิทธิผลมากในประเทศที่รัฐบาลมีเสถียรภาพสูง

  1. ข้อใดไม่ถูกต้อง

(1) Harold Lasswell นโยบายเกี่ยวข้องกับแผนหรือโครงการที่กําหนดขึ้น

(2) Thomas R, Dye นโยบายสาธารณะเป็นสิ่งที่รัฐบาลตัดสินใจว่าจะทําหรือไม่ทํา

(3) Theodore Lowi เป็นบิดาแห่งนโยบายศาสตร์

(4) David Easton เกี่ยวข้องกับการจัดสรรและแจกแจงคุณค่าต่าง ๆ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 74, (คําบรรยาย) Harold Lasswell ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งนโยบายศาสตร์”ได้ให้ความหมายนโยบายสาธารณะร่วมกับ Abraham Kaplan ว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึงแผนหรือโครงการที่กําหนดขึ้น อันประกอบด้วยเป้าหมาย คุณค่า และแนวการปฏิบัติงานต่าง ๆ

24 กลไกการควบคุมเพื่ออํานวยความยุติธรรมตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ได้แก่

(1) บทบาทของสํานักงบประมาณ

(2) บทบาทของสํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน

(3) บทบาทของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

(4) ข้อ 2 และ 3 ถูก

(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก

ตอบ 4 หน้า 176, 185 – 190 กลไกการควบคุมเพื่ออํานวยความยุติธรรมตามกฎหมายรัฐธรรมนูญมีดังนี้

1 แนวนโยบายแห่งรัฐในกฎหมายรัฐธรรมนูญ

2 บทบาทของคณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

3 การตรวจสอบโดยสภาผู้แทนราษฎร

4 บทบาทของผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา

5 บทบาทของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน หรือสํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน 6 บทบาทของศาลในกระบวนการยุติธรรม ฯลฯ

25 ที่กล่าวว่า งบประมาณเป็นเครื่องมือในการควบคุม เพราะ

(1) งบประมาณเป็นแผนการบริหารชนิดหนึ่ง

(2) งบประมาณเป็นทรัพยากรในการบริหาร

(3) ผู้บริหารหน่วยงานสามารถกําหนดรายจ่ายตามที่เห็นควร

(4) ข้อ 2 และ 3 ถูก

(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก

ตอบ 5 หน้า 184, 205 – 206, (คําบรรยาย) งบประมาณเป็นเครื่องมือในการควบคุม เนื่องจาก

1 งบประมาณเป็นกฎหมาย และการใช้จ่ายเงินของรัฐหรือหน่วยราชการต้องมีกฎหมายรองรับและเป็นไปตามกฎหมายงบประมาณ

2 งบประมาณเป็นแผนการบริหารที่แสดงโครงการในการดําเนินงาน แสดงเป้าหมายและ วัตถุประสงค์ แสดงจํานวนเงินที่ต้องการใช้ ตลอดจนแสดงจํานวนบุคลากรและทรัพยากรในการสนับสนุนการดําเนินงานในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆ

3 งบประมาณเป็นทรัพยากรในการบริหาร ซึ่งจะต้องมีการใช้จ่ายให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้

26 ข้อใดเป็นแนวนโยบายตามรัฐธรรมนูญปี 2550 การมีส่วนร่วมของประชาชน

(1) ส่งเสริมการตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐ

(2) จัดตั้งกองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง

(3) ส่งเสริมให้ประชาชนมีความเข้มแข็งทางการเมือง

(4) ข้อ 2 และ 3 ถูก

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 193 – 200 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 มีดังนี้

1 แนวนโยบายด้านศาสนา สังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม เช่น ส่งเสริมความเสมอภาคของหญิงและชาย จัดให้มีแผนการศึกษาของชาติ

2 แนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ เช่น ส่งเสริมให้ประชากรวัยทํางานมีงานทํา คุ้มครองระบบสหกรณ์ให้เป็นอิสระ

3 แนวนโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน เช่น ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วม ของประชาชนในการตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐ ส่งเสริมให้ประชาชนมีความเข้มแข็งทางการเมือง จัดตั้งกองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง ฯลฯ

27 ข้อใดเป็นกลไกภายในที่เกี่ยวกับการควบคุม

(1) คําสั่ง

(2) วินัย

(3) กฎหมายปกครอง

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก

ตอบ 4 หน้า 175, 200 – 203 กลไกการควบคุมภายในหน่วยงานราชการ ประกอบด้วย นโยบายแผนงาน โครงการ วิธีปฏิบัติงาน คําสั่งและรายงาน ระบบการติดต่อสื่อสารและการประสานงาน คู่มือ กฎ ระเบียบ วินัยและบทลงโทษ ระบบการติดตามประเมินผล ความสามารถของผู้บริหาร/

ผู้บังคับบัญชาและผู้ปฏิบัติงาน ระบบการประกันคุณภาพ เทคโนโลยีขององค์กร เป็นต้น

28 ผู้ได้รับผลกระทบจากการดําเนินงานของรัฐ จะร้องเรียนไปที่หน่วยงานใดได้บ้าง

(1) ผู้ตรวจการแผ่นดิน

(2) สํานักงานคุ้มครองผู้บริโภค

(3) สํานักงานสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

(4) ข้อ 2 และ 3 ถูก

(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก

ตอบ 5 หน้า 179, 203 ผู้ได้รับผลกระทบจากการดําเนินการของหน่วยงานของรัฐ สามารถร้องเรียนต่อหน่วยงานที่ทําให้เกิดผลกระทบหรือกระทําผิดได้โดยตรง หรือร้องเรียนไปที่หน่วยงานที่มีบัญญัติไว้ ตามรัฐธรรมนูญ เช่น ผู้ตรวจการแผ่นดิน สํานักงานคุ้มครองผู้บริโภค สํานักงานสิทธิมนุษยชน แห่งชาติ สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สภาผู้แทนราษฎร รวมถึงการนําเรื่องเข้าสู่หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม เช่น ศาลปกครอง ศาลยุติธรรม เป็นต้น

29 นโยบายการบริหารจัดการที่มีผลต่อการควบคุมตรวจสอบ ได้แก่

(1) ระบบติดตามประเมินผล

(2) การพัฒนาบุคลากร

(3) การจัดสวัสดิการ

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 4 หน้า 184 185, (คําบรรยาย) นโยบายการบริหารจัดการภาครัฐที่มีผลต่อการควบคุมตรวจสอบมีดังนี้

1 การพัฒนาระบบงบประมาณ

2 การพัฒนาบุคลากร

3 การจัดวางระบบการติดตามประเมินผล

4 ระบบประกันคุณภาพขององค์การ

30 ข้อใดเป็น “สิทธิเสรีภาพโดยทั่วไปของชนชาวไทย”

(1) การชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ

(2) การเข้าถึงข่าวสารสาธารณะในครอบครองของราชการ

(3) การฟื้นฟูจารีตประเพณี

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก

ตอบ 5 หน้า 191 192 สิทธิเสรีภาพโดยทั่วไปของชนชาวไทย มีดังนี้

1 การชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ

2 การรวมตัวกันเป็นสมาคม สหภาพ สหพันธ์ สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร องค์การเอกชน องค์การพัฒนาเอกชน หรือหมู่คณะอื่น

3 การอนุรักษ์และฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติ

4 การได้รับบริการสาธารณสุขและสวัสดิการจากรัฐ

5 การได้รับการศึกษาไม่น้อยกว่า 12 ปี ซึ่งรัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ฯลฯ

31 ในการควบคุมตรวจสอบ มาตรการใดที่เกี่ยวข้องกับ “การกําหนดเป้าหมาย”

(1) ความร่วมมือ

(2) ระบบงาน

(3) กฎหมาย

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 181 – 182 มาตรการที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการควบคุมตรวจสอบ มีดังนี้

1 กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คู่มือ วินัย นโยบาย แผน เทคโนโลยีการดําเนินงาน เป็นมาตรการที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการกําหนดเป้าหมายและมาตรฐานของการดําเนินงาน (ขั้นตอนที่ 1)และขั้นตอนการกําหนดวิธีการในการวัดมาตรฐานในการดําเนินงาน (ขั้นตอนที่ 2)

2 ความสามารถ ความร่วมมือของทั้งผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน รวมถึงระบบงานในองค์การเป็นมาตรการที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการพิจารณาเปรียบเทียบผลงานกับมาตรฐานหรือ เกณฑ์ที่ได้ตั้งไว้ (ขั้นตอนที่ 3) และขั้นตอนการดําเนินการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ได้วางเอาไว้ (ขั้นตอนที่ 4)

32 ข้อใดจัดเป็นขั้นตอนสุดท้ายในกระบวนการ “ควบคุมตรวจสอบ”

(1) การลงโทษ

(2) การพัฒนาปรับปรุง

(3) การกําหนดมาตรฐาน

(4) การกําหนดวิธีการในการวัดผล

(5) การเปรียบเทียบผลงาน

ตอบ 2 หน้า 181 กระบวนการในการควบคุมตรวจสอบ มี 4 ขั้นตอน คือ

1 การกําหนดเป้าหมาย รายละเอียด และมาตรฐานของการดําเนินงาน

2 การกําหนดวิธีการในการวัดมาตรฐานในการดําเนินงาน รวมทั้งวิธีการที่จะวัดความสําเร็จของงาน

3 การพิจารณาเปรียบเทียบผลงานกับมาตรฐานหรือเกณฑ์ที่ได้ตั้งเอาไว้

4 การดําเนินการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ได้วางเอาไว้

33 หากเจ้าพนักงานของรัฐละเลยหรือไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ บุคคลผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิใดตามรัฐธรรมนูญเรื่องหน้าที่ของชนชาวไทย

(1) ให้เจ้าพนักงานหรือผู้บังคับบัญชาชี้แจงแสดงเหตุผล

(2) ให้เจ้าพนักงานดําเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย

(3) ฟ้องร้องศาลยุติธรรม

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 4 หน้า 193 รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 มาตรา 74 กําหนดว่า หากเจ้าพนักงานของรัฐ ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เป็นข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ละเลยหรือไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ บุคคลผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิให้เจ้าพนักงาน ของรัฐหรือผู้บังคับบัญชาชี้แจงแสดงเหตุผล และขอให้เจ้าพนักงานดําเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย

 

ตั้งแต่ข้อ 34 – 40 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) หลักธรรมาภิบาล

(2) หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน

(3) หลักการประชาธิปไตย

(4) หลักความโปร่งใส เป็นธรรม

(5) หลักการกลไกการเมืองที่ขอบธรรม

 

34 กลไกประชารัฐ หมายถึงข้อใด

ตอบ 2 (คําบรรยาย) กลไกประชารัฐ หมายถึง การบริหารจัดการและพัฒนาประเทศที่ใช้หลักการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคมทั้งฝ่ายการเมือง หน่วยงานรัฐ ภาคเอกชน และประชาชน มาร่วมกันดําเนินการวางแผน ลงมือปฏิบัติ และติดตามประเมินผลเพื่อปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

35 การทําประชาพิจารณ์ สะท้อนถึงหลักการในข้อใด

ตอบ 2 (คําบรรยาย) หลักการมีส่วนร่วม คือ การทําให้สังคมเป็นสังคมที่ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้และร่วมแสดงความเห็นในการตัดสินใจที่สําคัญของสังคม โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนมีช่องทาง ในการเข้ามามีส่วนร่วม ได้แก่ การทําประชาพิจารณ์ การแสดงประชามติ การทําประชาคมหมู่บ้าน เป็นต้น

36 กระบวนการเลือกตั้งที่ยุติธรรมมีส่วนช่วยให้เกิดหลักการในข้อใด

ตอบ 5 (คําบรรยาย) หลักการกลไกการเมืองที่ชอบธรรม หมายถึง ความชอบธรรมที่เกี่ยวพันกับความสามารถของระบบที่จะก่อให้เกิดและรักษาไว้ซึ่งความเชื่อที่ว่าการคงอยู่ของระบบเป็น ความพึงพอใจสูงสุดของสังคม ไม่ว่าจะเป็นการจัดให้มีการเลือกตั้งที่ยุติธรรม หรือการให้ ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมืองอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน

37 การทําประชาคมหมู่บ้านส่งผลให้เกิดหลักการในข้อใด

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 35 ประกอบ

38 การบริหารรัฐกิจแบบธรรมาภิบาลควรมีลักษณะตามข้อใดมากที่สุด

ตอบ 4 (คําบรรยาย) หลักธรรมาภิบาล หรือหลักธรรมรัฐ หรือหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมีองค์ประกอบที่สําคัญ 6 ประการ ดังนี้

1 หลักนิติธรรม

2 หลักคุณธรรม

3 หลักความโปร่งใส ซึ่งเป็นองค์ประกอบสําคัญที่การบริหารราชการควรต้องดําเนินการปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

4 หลักการมีส่วนร่วม

5 หลักความรับผิดชอบ

6 หลักความคุ้มค่า

39 การยอมรับฟังเสียงส่วนใหญ่ แต่ไม่ละเลยเสียงส่วนน้อย เป็นไปตามหลักการข้อใด

ตอบ 3 (คําบรรยาย) หลักการประชาธิปไตยที่ดีจะต้องยอมรับฟังเสียงข้างมากแต่ไม่ละเลยเสียงข้างน้อยและเปิดโอกาสให้ประชาชนเจ้าของอํานาจอธิปไตยสามารถแสดงความคิดเห็น มีสิทธิเสรีภาพอย่างเท่าเทียมกัน สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการกําหนดทิศทางของประเทศได้

40 หลักการบริหารบ้านเมืองที่ดี 6 ประการ คือข้อใด

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 38 ประกอบ

41 คุณค่าหลัก 2 ประการที่แย้งกันในทัศนะของนักรัฐศาสตร์ คือ

(1) ประสิทธิภาพ VS. ประสิทธิผล

(2) ประสิทธิภาพ VS. ประหยัด

(3) ประสิทธิภาพ VS. ประชาธิปไตย

(4) ประสิทธิผล VS. ประชาธิปไตย

(5) ประหยัด VS. ประชาธิปไตย

ตอบ 3 หน้า 323, 326 – 329, 355 คุณค่าหลัก 2 ประการที่แย้งกันในทัศนะของนักรัฐศาสตร์ในการบริหารประเทศ มีดังนี้

1 คุณค่าที่เน้นประสิทธิภาพของภาครัฐ vs. คุณค่าที่เน้นความเป็นประชาธิปไตยซึ่งคุณค่าอย่างแรกตรงกับแนวคิดของอเล็กซานเดอร์ แฮมิลตัน (Alexander Hamilton) ส่วนคุณค่าอย่างหลังตรงกับแนวคิดของโทมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jeferson)

2 คุณค่าที่เน้นการขยายบทบาทของภาครัฐ VS. คุณค่าที่เน้นการลดบทบาทของภาครัฐ ซึ่งคุณค่าอย่างแรกตรงกับแนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์สํานักเคนส์เซียนหรือเศรษฐศาสตร์ แบบเคนส์ (Keynesian School) ส่วนคุณค่าอย่างหลังตรงกับแนวคิดของเศรษฐศาสตร์ แบบนี้โอลิเบอรัลลิสม์ (Neo-Liberalism) และเศรษฐศาสตร์แบบนีโอคลาสสิก (Neo-Classical School)

42 แนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์สํานักเคนส์เซียน สนับสนุนแนวทางแบบใด

(1) การขยายบทบาทของภาครัฐ

(2) การลดบทบาทและขนาดของภาครัฐ

(3) การรวมอํานาจเข้าสู่ส่วนกลาง

(4) การประหยัดทรัพยากรการบริหาร

(5) การจัดการแบบภาคเอกชน

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 41 ประกอบ

43 การจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management) มีชื่อเรียกได้หลายอย่าง คือ

(1) การจัดการโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง

(2) การจัดการแบบมีส่วนร่วม

(3) การจัดการบนพื้นฐานของการแข่งขันในตลาด

(4) การบริการภาครัฐแนวใหม่

(5) การบริหารจัดการบ้านเมืองอย่างเป็นประชาธิปไตย

ตอบ 3 หน้า 340, (คําบรรยาย) การจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management) มีชื่อเรียกหลายอย่าง ดังนี้

1 การจัดการนิยมใหม่ (Neo-Managerialism)

2 การจัดการบนพื้นฐานของการแข่งขันในตลาด (Market-Based Management)

3 การบริหารรัฐกิจบนพื้นฐานของการแข่งขันในระบบตลาด (Market-Based Public Administration)

4 รัฐบาลแบบเถ้าแก่หรือรัฐบาลแบบวิสาหกิจ (Entrepreneurial Government)

44 การจัดการภาครัฐแนวใหม่ เน้นคุณค่าหลัก 4 ประการ คือ

(1) ประสิทธิผล ประสิทธิภาพ ประหยัด ประชาธิปไตย

(2) ประสิทธิผล ประสิทธิภาพ ประหยัด ประชาชน

(3) ประสิทธิผล ประสิทธิภาพ ประหยัด คุณภาพ

(4) ประสิทธิผล ประสิทธิภาพ ประชาธิปไตย คุณภาพ

(5) ประสิทธิผล ประหยัด ประชาธิปไตย คุณภาพ

ตอบ 3 หน้า 330 การจัดการภาครัฐแนวใหม่เน้นคุณค่าหลัก 4 ประการ คือ

1 ประสิทธิผล (Effectiveness หรือ Result)

2 ประสิทธิภาพหรือความคุ้มค่า (Efficiency)

3 ประหยัด (Economy)

4 ความเป็นเลิศหรือคุณภาพ (Excellence หรือ Quality)

45 แนวคิดเชิงอุดมการณ์มีอิทธิพลต่อการจัดการภาครัฐแนวใหม่ คือ

(1) แนวคิดของโทมัส เจฟเฟอร์สัน

(2) แนวคิดแบบเคนส์เซียน

(3) แนวคิดแบบอนุรักษนิยม

(4) แนวคิดแบบสังคมนิยม

(5) แนวคิดแบบเสรีนิยมใหม่

ตอบ 5 หน้า 330 – 331, 356, 360 361 การจัดการภาครัฐแนวใหม่ได้รับอิทธิพลแนวคิดเชิงอุดมการณ์มาจากแนวคิดแบบเสรีนิยมใหม่ (Neo-Liberalism) โดยแนวคิดการจัดการภาครัฐ แนวใหมถือเป็นแนวคิดหลักที่ใช้ในการปฏิรูปการบริหารภาครัฐของประเทศต่าง ๆ ซึ่งประเทศแรก ที่ริเริ่มนําแนวคิดนี้มาใช้ คือ ประเทศอังกฤษ (England) ในสมัยนางมาร์กาเร็ต แทชเชอร์ (Margaret Thatcher) เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาแนวคิดนี้ก็ได้ถูกนําไปใช้ในการปฏิรูปการบริหารภาครัฐในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย

 

ตั้งแต่ข้อ 46 – 50 จงเลือกคําตอบที่มีความสัมพันธ์กับเนื้อหาวิธีระงับข้อพิพาททางเลือก

(1) การประเมินความขัดแย้ง

(2) การประสานความขัดแย้ง

(3) การประนอมข้อพิพาท

(4) การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท

(5) อนุญาโตตุลาการ

 

46 เป็นกระบวนการที่มีบุคคลที่สามเข้ามาช่วยเหลือให้คู่ความเจรจาต่อรองกันได้สําเร็จ

ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 27) การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท คือ กระบวนการระงับข้อพิพาทที่มีบุคคลที่สามเข้ามาช่วยเหลือให้คู่ความเจรจาต่อรองกันได้สําเร็จ ซึ่งกระบวนการนี้ผู้ไกล่เกลี่ย จะเป็นคนกระตุ้นให้คู่ความตกลงกันง่ายขึ้น แต่ไม่มีอํานาจในการกําหนดข้อตกลงให้แก่คู่ความ

47 เป็นเทคนิคที่ต้องอาศัยความสมัครใจของคู่ความทั้งสองฝ่ายเป็นสําคัญ ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 22 – 23) การประนอมข้อพิพาท คือ กระบวนการที่ผู้ประนอมข้อพิพาทจะพยายามช่วยคู่พิพาทในการแก้ไขความเข้าใจผิดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างกัน พยายาม – ลดทอนความรู้สึกหวาดระแวงและความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจ ซึ่งเทคนิคนี้จะต้องอาศัยความสมัครใจของคู่ความทั้งสองฝ่ายเป็นสําคัญ

48 มีการตั้งคนกลางขึ้นมาทําหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้น และผลแห่งข้อวินิจฉัยนี้เรียกว่าเป็นคําชี้ขาดมีผลผูกพันคู่พิพาทให้ต้องปฏิบัติตาม

ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 26) อนุญาโตตุลาการ เป็นกระบวนการที่มีการตั้งคนกลางมาทําหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้น และผลแห่งข้อวินิจฉัยนี้ปรากฏในสิ่งที่เรียกว่าเป็นคําชี้ขาดที่มีผลตามกฎหมายผูกพันคู่พิพาทให้ต้องปฏิบัติตาม

49 แนวทางเริ่มต้นจะเริ่มต้นด้วยการประชุมหารือเบื้องต้นระหว่างผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวข้องกับปัญหาที่เกิดขึ้น

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 22) การประสานความขัดแย้ง เป็นกระบวนการระงับข้อพิพาทแบบมีส่วนร่วมลักษณะหนึ่ง ซึ่งจะมีผู้ประสานความขัดแย้งเข้ามาทําหน้าที่ช่วยเหลือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการพูดคุยเจรจาประเด็นปัญหาต่าง ๆ โดยเริ่มต้นจากการประชุมหารือเบื้องต้นเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อหาข้อยุติข้อพิพาทต่อไป

50 เป็นกระบวนการที่ไม่ใช่กระบวนการสําหรับการระงับข้อพิพาทโดยตรง แต่จะเป็นวิธีการเบื้องต้นในการบริหารจัดการความขัดแย้ง

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 20 – 21) การประเมินความขัดแย้ง เป็นกระบวนการที่ไม่ใช่กระบวนการสําหรับการระงับข้อพิพาทโดยตรงแต่จะเป็นวิธีการเบื้องต้นในการบริหารจัดการความขัดแย้ง เพื่อช่วยให้สามารถวางแผนและกําหนดแนวทางการดําเนินการที่เหมาะสมต่อไป

 

ตั้งแต่ข้อ 51- 55 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) “การบริหารนั้นคือการทํางานให้ลุล่วงสําเร็จ”

(2) “คนสองคนช่วยกันเป็นก้อนหิน”

(3) “การบริหารรัฐกิจประกอบไปด้วยการปฏิบัติทั้งปวง”

(4) “กิจกรรมทั้งปวงของฝ่ายบริหาร”

(5) “เป็นการดําเนินงานที่ครอบคลุมการใช้อํานาจอธิปไตยทั้ง 3 สาขา”

 

51 คํานิยามในข้อใดเป็นข้อเสนอของ Herbert A. Simon

ตอบ 4 หน้า 6: Herbert A. Simon ได้ให้คํานิยามว่า “การบริหารรัฐกิจ หมายถึง กิจกรรมทั้งปวงของฝ่ายบริหารไม่ว่าจะเป็นการปกครองส่วนกลาง การปกครองมลรัฐ หรือการปกครองส่วนท้องถิ่น

ที่สําคัญคือไม่รวมเอางานของฝ่ายนิติบัญญัติและตุลาการเข้าไว้ด้วย”

52 คํานิยามในข้อใดมาจากคํากล่าวของ Felix A. Nigro

ตอบ 5 หน้า 5 Felix A. Nigro ได้ให้คํานิยามของคําว่า “การบริหารรัฐกิจ” ไว้ดังนี้

1 เป็นพลังของกลุ่มที่ร่วมมือร่วมแรงร่วมใจกันในหน่วยงานราชการ

2 เป็นการดําเนินงานที่ครอบคลุมการใช้อํานาจอธิปไตยทั้ง 3 สาขา คือ อํานาจบริหาร อํานาจ นิติบัญญัติ และอํานาจตุลาการ ตลอดจนความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ระหว่างอํานาจทั้งสามนั้น

3 มีบทบาทสําคัญในการกําหนดนโยบายของรัฐ จึงเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางการเมือง

4 มีความแตกต่างในลักษณะที่สําคัญหลายประการจากการบริหารงานธุรกิจของเอกชน

5 มีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับกลุ่มธุรกิจเอกชนและบุคคลต่าง ๆ ในการจัดทําบริการในด้านต่าง ๆ ให้แก่ชุมชน

53 คํานิยามในข้อใดมาจากข้อสังเกตของ Leonard D. White

ตอบ 3 หน้า 6 Leonard Co. White ได้ให้คํานิยามว่า “การบริหารรัฐกิจประกอบไปด้วยการปฏิบัติทั้งปวง ซึ่งกระทําโดยมีจุดมุ่งหมายให้นโยบายแห่งรัฐบรรลุผลสําเร็จหรือนํามาบังคับใช้ได้ผล”

54 คํานิยามในข้อใดมาจากข้อเสนอของ Ernest Date

ตอบ 1 หน้า 4 Ernest Date ได้ให้คํานิยามว่า “การบริหารนั้นคือการทํางานให้ลุล่วงสําเร็จไป โดยใช้ให้ผู้อื่นเป็นผู้กระทํา” (Management is getting things done through other people)

55 ข้อใดเป็นข้อสังเกตของ Simon ต่อการบริหาร

ตอบ 2 หน้า 4 Herbert A. Simon ได้ให้คํานิยามว่า “การบริหาร หมายถึง กิจกรรมของกลุ่มบุคคลที่ร่วมมือร่วมแรงร่วมใจกันปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ร่วมกัน” โดยได้ตั้งข้อสังเกต ไว้ว่า “การบริหารเปรียบเสมือนคนสองคนช่วยกันเป็นก้อนหินขึ้นภูเขา ซึ่งคนเพียงคนเดียวทําให้ขยับเขยื้อนไม่ได้”

56 ลักษณะของการศึกษาบริหารรัฐกิจมีลักษณะสอดคล้องกับข้อใด

(1) มีความเป็นศาสตร์

(2) มีความเป็นศิลป์

(3) มีความเป็นศาสตร์และศิลป์

(4) ไม่มีความเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 6 – 7, 36, 38 – 39 การศึกษาการบริหารรัฐกิจ (การบริหารราชการ) มีลักษณะที่เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ กล่าวคือ

1 ในฐานะที่มีความเป็นศาสตร์ (Science) คือ การมองในด้านของการเป็นสาขาวิชาการหรือองค์ความรู้ ซึ่งหมายถึงเฉพาะวิชารัฐประศาสนศาสตร์ (Public Administration) อันเป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาแนวความคิดและทฤษฎีการบริหารงานในภาครัฐ เป็นวิชาการที่มีการรวบรวมเป็นระบบ มีหลักการ มีกฎเกณฑ์ที่สามารถศึกษาได้และนํามาถ่ายทอดให้ความรู้กันได้

2 ในฐานะที่มีความเป็นศิลป์ (At) คือ การมองในด้านการปฏิบัติงาน เรียกว่า การบริหารรัฐกิจ (public administration) ซึ่งเป็นการศึกษากิจกรรมของการบริหารงานในภาครัฐ ได้แก่ การใช้ศิลปะในการอํานวยการ การร่วมมือประสานงานกัน การควบคุมคนจํานวนมาก การมีความคิดสร้างสรรค์ การนําทรัพยากรมาใช้ในการบริหาร ตลอดจนการแก้ไขปัญหา และอุปสรรคต่าง ๆ โดยอาศัยความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ และทักษะของนักบริหารแต่ละคนเข้ามาเป็นเครื่องช่วย

57 ข้อใดแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนของความเป็นศาสตร์ในการบริหารราชการแผ่นดินของนายกรัฐมนตรี

(1) มีการรวบรวมเป็นระบบ

(2) มีหลักการภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ

(3) มีกฎเกณฑ์ที่สามารถศึกษาได้

(4) นํามาถ่ายทอดต่อสาธารณะ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 56 ประกอบ

58 ข้อใดแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนของความเป็นศิลป์ในการบริหารราชการแผ่นดินของนายกรัฐมนตรี

(1) เป็นเรื่องของการอํานวยการ

(2) มีการร่วมมือประสานงานกัน

(3) นําเอาทรัพยากรมาใช้ในการบริหาร

(4) มีความคิดสร้างสรรค์

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 56 ประกอบ

59 ข้อใดต่อไปนี้แสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องกันระหว่างการบริหารงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยกับการบริหารงานของบริษัทการบินไทย

(1) เป็นกระบวนการปฏิบัติงาน

(2) มีวัตถุประสงค์ที่คล้ายคลึงกัน

(3) ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจ

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2

(5) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3

ตอบ 5 หน้า 11 – 12, (คําบรรยาย) การบริหารรัฐกิจ (เช่น การบริหารงานของการรถไฟแห่งประเทศไทย) และการบริหารธุรกิจ (เช่น การบริหารงานของบริษัทการบินไทย) มีสิ่งที่เหมือนหรือสอดคล้องกัน ดังนี้

1 เป็นกระบวนการบริหารหรือการปฏิบัติงานที่ต้องนําเอาทรัพยากรมนุษย์และสิ่งต่าง ๆมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

2 ต้องอาศัยพลังความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจของกลุ่มในการปฏิบัติงาน

3 มีลักษณะการปฏิบัติงานตามสภาพแวดล้อมขององค์การ เช่น มีความเสี่ยงในการดําเนินงาน

4 ลักษณะการบริหารในแต่ละองค์การจะแตกต่างกันออกไปตามประเภทของงานที่ทํา

60 ข้อใดต่อไปนี้แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างกันระหว่างการบริหารงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยกับการบริหารงานของบริษัทการบินไทย

(1) ขนาดความรับผิดชอบต่างกัน

(2) มีวัตถุประสงค์ต่างกัน

(3) มีกระบวนการทํางานต่างกัน

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2

(5) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3

ตอบ 4 หน้า 12 – 13, 37, 38, (คําบรรยาย) การบริหารรัฐกิจ (เช่น การบริหารงานของการรถไฟแห่งประเทศไทย) และการบริหารธุรกิจ (เช่น การบริหารงานของบริษัทการบินไทย) มีสิ่งที่แตกต่างกัน ดังนี้

1 วัตถุประสงค์ในการดําเนินงาน

2 ขนาดความรับผิดชอบ

3 แหล่งที่มาของทุนในการดําเนินงาน

4 การกําหนดราคาสินค้าและบริการ

5 คู่แข่งขันในการดําเนินงาน

6 การคงอยู่

7 การเป็นไปตามกฎหมาย

8 บทบาทของประชาชนในการกํากับดูแล และความพร้อมในการตรวจสอบจากสาธารณะ(ดูคําอธิบายข้อ 59 ประกอบ)

61 วิชารัฐศาสตร์มีความสัมพันธ์กับวิชาบริหารรัฐกิจอย่างไร

(1) มุ่งศึกษาวิจัยเพื่อส่งเสริมให้มีการบริหารงานเป็นไปตามนโยบายของฝ่ายการเมือง

(2) มุ่งศึกษาวิจัยเพื่อให้ได้องค์ความรู้ในการบริหารงานของภาครัฐ

(3) มุ่งศึกษาวิจัยเพื่อให้ทราบถึงปัญหาและอุปสรรคของการทํางาน

(4) ถูกทุกข้อ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 20 วิชาบริหารรัฐกิจหรือวิชารัฐประศาสนศาสตร์มีส่วนสัมพันธ์แนบแน่นกับวิชารัฐศาสตร์ กล่าวคือ วิชารัฐประศาสนศาสตร์เป็นสาขาหนึ่งของวิชารัฐศาสตร์ เนื่องจากวิชารัฐประศาสนศาสตร์ เป็นวิชาที่มุ่งศึกษาวิจัยเพื่อส่งเสริมให้มีการบริหารงานเป็นไปตามนโยบายของฝ่ายการเมืองหรือกล่าวอย่างง่ายก็คือ ต้องมีการใช้หลักวิชาในทางรัฐศาสตร์ในส่วนที่เกี่ยวกับการเมืองเสียก่อน รัฐประศาสนศาสตร์จึงจะสานต่อ ๆ ไปได้

 

ตั้งแต่ข้อ 62 – 66 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) Frank J. Goodnow

(2) Leonard D. White

(3) W.F. Willoughby

(4) Nicholas Henry

(5) John M. Gaus

 

62 ใครเป็นผู้เสนอความเห็นว่าทฤษฎีการบริหารรัฐกิจคือทฤษฎีการเมือง ตอบ 5 หน้า 52, 65 John M. Gaus ได้เสนอความเห็นไว้ในหนังสือชื่อ “Reflections on Public Administration” (1947) ว่า “ในยุคของเรานี้ทฤษฎีการบริหารรัฐกิจก็คือทฤษฎีการเมืองนั้นเอง”

63 ใครเป็นผู้เขียนหนังสือชื่อ Politics and Administration (1900)

ตอบ 1 หน้า 47 Frank J. Goodnow ได้เขียนหนังสือชื่อ “Politics and Administration” (1900) โดยแสดงความเห็นว่า รัฐบาลมีหน้าที่ที่แตกต่างกันอยู่ 2 ประการ คือ

1 หน้าที่ทางการเมือง ได้แก่ การกําหนดนโยบายหรือการแสดงออกซึ่งเจตนารมณ์ของรัฐ

2 หน้าที่ทางการบริหาร ได้แก่ การนํานโยบายหรือเจตนารมณ์ของรัฐไปปฏิบัติ

64 หนังสือของใครที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นตําราเรียนที่สมบูรณ์เล่มแรกของสาขาวิชาการบริหารรัฐกิจ

ตอบ 2 หน้า 47, 65 Leonard D. White ได้เขียนหนังสือชื่อ “Introduction to the Study of Public Administration” (1926) ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นตําราเรียนที่สมบูรณ์เล่มแรกของ สาขาวิชาการบริหารรัฐกิจ โดยเขาเสนอความเห็นว่า การเมืองไม่ควรจะเข้ามาแทรกแซงการบริหาร เพราะการบริหารได้นําตัวเองไปสู่การศึกษาแบบวิทยาศาสตร์ และวิชาการบริหารรัฐกิจสามารถจะก้าวไปสู่ความเป็นศาสตร์ที่ปลอดจากค่านิยมได้ด้วยความถูกต้องชอบธรรมของตนเอง

65 ใครเป็นผู้วิเคราะห์ว่าพาราไดม์ของสาขาวิชาการบริหารรัฐกิจมี 5 พาราไดส์

ตอบ 4 หน้า 46 – 48, 56 – 58, (คําบรรยาย) Nicholas Henry เป็นผู้ที่นําแนวคิดเกี่ยวกับพาราไดม์ (Paradigm) มาใช้ในการศึกษาพัฒนาการของวิชาการบริหารรัฐกิจ โดยให้ข้อสรุปเกี่ยวกับ เรื่องดังกล่าวไว้ว่า พัฒนาการของวิชาการบริหารรัฐกิจนับตั้งแต่ทศวรรษ 1900 จนกระทั่งถึง ปัจจุบัน (1970 – ?) นั้น อาจจําแนกพาราไดม์ของสาขาวิชาการบริหารรัฐกิจออกได้เป็น 5 พาราไดม์ที่คาบเกี่ยวกัน ดังนี้

พาราไดม์ที่ 1  การบริหารรัฐกิจคือการแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกันเป็นสองส่วน

พาราไดม์ที่ 2 : การบริหารรัฐกิจคือหลักของการบริหาร

พาราไดม์ที่ 3 : การบริหารรัฐกิจคือรัฐศาสตร์

พาราไดม์ที่ 4 : การบริหารรัฐกิจคือวิทยาการบริหาร

พาราไดม์ที่ 5 : การบริหารรัฐกิจคือการบริหารรัฐกิจ

66 หนังสือของใครที่มีส่วนอย่างสําคัญในการนําเสนอพาราไดม์หลักของการบริหาร

ตอบ 3 หน้า 48, 65, (คําบรรยาย) W.F. Willoughby เป็นนักวิชาการที่มีส่วนสําคัญในการบุกเบิกหรือนําเสนอพาราไดม์หลักของการบริหาร เขาได้เขียนตําราการบริหารรัฐกิจที่สมบูรณ์ที่สุดชื่อ “Principles of Public Administration” (1927) ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นตําราเรียนที่สมบูรณ์ เล่มที่สองของสาขาวิชาการบริหารรัฐกิจ และได้แสดงความเห็นว่า หลักต่าง ๆ ของการบริหาร ที่มีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์ที่แน่นอนนั้นเป็นสิ่งที่สามารถค้นพบได้ ซึ่งทําให้แนวความคิดนี้ได้รับการยอมรับเป็นพาราไดม์ที่ 2 (พาราไดม์หลักของการบริหาร) ของวิชาการบริหารรัฐกิจ

 

ตั้งแต่ข้อ 67 – 72 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) Robert T. Golembiewski

(2) Woodrow Wilson

(3) Herbert A. Simon

(4) Robert A. Dani

(5) Luther H. Gulick

 

67 ใครเป็นผู้เสนอความเห็นว่าพาราไดส์เบ็ดเสร็จไม่ใช่สิ่งจําเป็นสําหรับสาขาวิชาการบริหารรัฐกิจ

ตอบ 1 (หนังสือ POL 2300 เลขพิมพ์ 52135 หน้า 75 – 76) Robert T. Gotembiewski ได้เสนอความเห็นว่า พาราไดส์เบ็ดเสร็จไม่ใช่สิ่งจําเป็นสําหรับสาขาวิชาการบริหารรัฐกิจ และวิชาการบริหารรัฐกิจก็ไม่จําเป็นที่จะต้องกําหนดขึ้นมาในรูปของพาราไดส์เบ็ดเสร็จแต่ควรจะกําหนดขึ้นมาในรูปของมินิพาราไดม์หลาย ๆ มินิพาราไดม์จะดีกว่า

68 ใครเป็นผู้วิจารณ์ว่าหลักการบริหารรัฐกิจเป็นเพียงแค่ภาษิตทางการบริหาร

ตอบ 3 หน้า 52 Herbert A. Simon ได้เสนอความเห็นไว้ในบทความเรื่อง “The Proverbs of Administration” (1946) ว่า หลักเกณฑ์ต่าง ๆ ของการบริหารรัฐกิจที่ได้กําหนดขึ้นมานั้นใช้ไม่ได้ในทางปฏิบัติ จะเป็นได้ก็เพียงแค่ภาษิตทางการบริหาร

69 ใครเป็นผู้เขียนบทความเสนอว่าการบริหารรัฐธรรมนูญยากยิ่งกว่าการบัญญัติรัฐธรรมนูญ

ตอบ 2 หน้า 31, 46, 64 – 65, (คําบรรยาย) Woodrow Wilson บิดาของวิชาการบริหารรัฐกิจเป็นผู้ให้กําเนิดคําว่า “Public Administration” และเป็น “ต้นกําเนิดของแนวความคิด เกี่ยวกับเรื่องการแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกันเป็นสองส่วน” ได้เขียนบทความเรื่อง “The Study of Administration” (1887) และเสนอความเห็นว่า การบริหารรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องยากยิ่งกว่าการบัญญัติรัฐธรรมนูญ ซึ่งบทความดังกล่าวยังได้รับการยอมรับจาก

นักวิชาการว่าเป็น “สูติบัตร” ของวิชาการบริหารรัฐกิจอีกด้วย

70 ใครเป็นผู้เสนอว่าหัวหน้าฝ่ายบริหารมีหน้าที่สําคัญ 7 ประการ โดยสรุปเป็นคําย่อว่า POSDCORB

ตอบ 5 หน้า 49 – 50, 64 – 65, (คําบรรยาย) Luther H. Gulick และ Lyndall Urwick ได้เสนอว่า หน้าที่สําคัญของหัวหน้าฝ่ายบริหารมี 7 ประการ โดยสรุปเป็นคําย่อว่า POSDCORE ซึ่งประกอบด้วย

1 P = Planning (การวางแผน)

2 O = Organizing (การจัดองค์การ)

3 S = Staffing (การจัดบุคคลเข้าทํางาน)

4 D = Directing (การอํานวยการ)

5 Co – Coordinating (การประสานงาน)

6 R = Reporting (การรายงานผลการปฏิบัติงาน)

7 B = Budgeting (การจัดทํางบประมาณ)

 

71 ใครเป็นต้นกําเนิดแนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องการแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกันเป็นสองส่วน

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 69 ประกอบ

72 ใครเป็นผู้วิเคราะห์ว่าหลักการบริหารรัฐกิจไม่สามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นวิทยาศาสตร์ที่แน่นอนได้

ตอบ 4 หน้า 53, (คําบรรยาย) Robert A. Dahl ได้เสนอความเห็นไว้ในบทความเรื่อง “The Science of Public Administration : Three Problems” (1947) ว่า การพัฒนา หลักเกณฑ์ที่เป็นสากลของการบริหารรัฐกิจนั้นมีอุปสรรคขัดขวางที่สําคัญ 3 ประการ คือ ค่านิยมที่แตกต่างกัน ความแตกต่างกันในบุคลิกภาพของแต่ละบุคคล และกรอบทางสังคม ที่แตกต่างกันในแต่ละวัฒนธรรม นอกจากนี้ยังได้วิเคราะห์อีกว่า หลักการบริหารรัฐกิจจะไม่สามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นวิทยาศาสตร์ที่แน่นอนได้

73 Personnel Administration หมายถึงข้อใด

(1) การบริหารรัฐกิจ

(2) การบริหารธุรกิจ

(3) การบริหารงานบุคคล

(4) การบริหารทรัพยากรมนุษย์

(5) การบริหารคน

ตอบ 3 หน้า 148 – 150, 171 – 172 การบริหารงานบุคคล ในภาษาอังกฤษจะใช้คําว่า “Personnel Administration” หรือ “Personnel Management” ซึ่งหากจะให้มีความหมายว่าเป็น การบริหารงานบุคคลในระบบราชการหรือภาครัฐโดยเฉพาะก็จะใช้คําว่า “Public Personnel Administration” และหากจะให้มีความหมายเฉพาะถึงการบริหารงานบุคคลในภาคธุรกิจเอกชน ก็จะใช้คําว่า “Business Personnel Management” โดยการบริหารงานบุคคลทั้งในระบบ ราชการและภาคธุรกิจเอกชน มีความหมายดังนี้

1 เป็นเรื่องทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรบุคคลในองค์การ

2 เป็นเรื่องทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกําหนดนโยบายเกี่ยวกับบุคคล นับตั้งแต่การสรรหาและคัดเลือกบุคคลเข้ามาปฏิบัติงาน การดูแลและบํารุงรักษา จนกระทั่งพ้นไปจากการปฏิบัติงาน

3 เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารระบบราชการ (Public Administration) ฯลฯ

74 ข้อใดเป็นคําอธิบายความหมายของ Personnel Administration

(1) เป็นเรื่องทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรบุคคล

(2) เป็นเรื่องทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการบริหารระบบราชการ

(3) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการสรรหา และคัดเลือกบุคคล

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3

(5) ถูกเฉพาะข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 73 ประกอบ

 

ตั้งแต่ข้อ 75 – 80 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) หลักการจ่ายค่าตอบแทนแบบรายชิ้น

(2) หลักการจ้างงานตลอดชีพ

(3) หลักการตอบสนองความต้องการ 5 ขั้น

(4) หลักการบริหารภายใต้ปทัสถานกลุ่ม

(5) หลักการบริหารของผู้บริหาร 14 ประการ

 

75 ข้อใดจัดเป็นข้อเสนอในการบริหารงานบุคคลของ Max Weber

ตอบ 2 (หนังสือ POL 2300 เลขพิมพ์ 52135 หน้า 226), (คําบรรยาย) Max Weber ได้เสนอแนวทางการบริหารงานบุคคล ดังนี้

1 การแต่งตั้ง พิจารณาเลื่อนขั้น เลื่อนตําแหน่งบุคคลในการปฏิบัติงานต้องมีการจัดไว้อย่างเป็นระเบียบและอยู่บนพื้นฐานแห่งการตกลงกัน

2 การเลือกสรรบุคคลเข้าทํางานจะต้องพิจารณาในด้านความสามารถและหลักการแบ่งงานตามความชํานาญเฉพาะอย่าง

3 มีการจ้างงานตลอดชีพ

4 มีการกําหนดค่าตอบแทนในรูปเงินประจําสําหรับผู้ปฏิบัติงาน ฯลฯ

76 ข้อใดจัดเป็นข้อเสนอในการบริหารงานบุคคลของ Frederick Winslow Taylor

ตอบ 1 (หนังสือ POL 2300 เลขพิมพ์ 52135 หน้า 227 – 228) Frederick Winslow Taylor ได้เสนอแนวทางการบริหารงานบุคคล ดังนี้

1 ต้องมีวิธีการคัดเลือกและพัฒนาคนงานโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์

2 ต้องมีความประสานสัมพันธ์กันเป็นอย่างดีในการใช้เครื่องมือและวิธีการที่ดีที่สุดในการบริหารกับการคัดเลือกและฝึกฝนพนักงาน

3 ต้องมีการนําระบบการจ่ายค่าตอบแทนหรือค่าจ้างแบบรายชิ้น (Piece Rate System) มาใช้ในการจูงใจคนงาน ฯลฯ

77 ข้อใดจัดเป็นข้อเสนอในการบริหารงานบุคคลของ Henri Fayol

ตอบ 5 (หนังสือ POL 2300 เลขพิมพ์ 52135 หน้า 182 – 183, 230) Henri Fayol ได้เสนอแนวทางการบริหารงานบุคคลว่า ผู้บริหารควรจะยึดถือหลักเกณฑ์ในการบริหาร 14 ประการ (14 Principles of Management) เช่น การแบ่งงานกันทํา การมีเอกภาพในการบังคับบัญชา การยึดมั่นในความยุติธรรมและเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม เป็นต้น รวมทั้งจะต้องมีคุณลักษณะ พร้อมด้วยความสามารถทางร่างกาย จิตใจ ไหวพริบ การศึกษาหาความรู้ เทคนิคในการทํางานและประสบการณ์ต่าง ๆ ด้วย

78 ข้อใดจัดเป็นข้อเสนอในการบริหารงานบุคคลของ George Elton Mayo

ตอบ 4 (หนังสือ POL 2300 เลขพิมพ์ 52135 หน้า 189 – 190, 230 – 231), (คําบรรยาย) George Elton Mayo เป็นผู้นําแนวคิดหรือทฤษฎีแบบมนุษยสัมพันธ์ (Human Relations Approach) มาเผยแพร่ในการบริหารองค์การ โดยได้ทําการทดลองที่เรียกว่า “Hawthorne Experiments” และพบว่า

1 ขวัญของคนงานเป็นสิ่งสําคัญและจะส่งผลต่อการปฏิบัติงาน

2 รางวัลทางจิตใจ เช่น รางวัลข้าราชการหรือเกษตรกรดีเด่น การได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์รวมถึงกําลังใจและการได้รับการยอมรับ จะให้ความสุขในการปฏิบัติงานและมีผลกระตุ้นในการทํางานมากกว่ารางวัลทางเศรษฐกิจ

3 ปทสถานทางสังคมของกลุ่มมีผลต่อประสิทธิภาพและปริมาณของงาน

4 ภาวะผู้นํา (Leadership) จะมีบทบาทสําคัญในการกําหนดบรรทัดฐานของกลุ่มภายในองค์การ ฯลฯ

79 ข้อใดจัดเป็นข้อเสนอในการบริหารงานบุคคลของ A.H. Maslow ตอบ 3 (หนังสือ POL 2300 เลขพิมพ์ 52135 หน้า 340 – 341), (คําบรรยาย) A.H. Maslow ได้เสนอแนวทางการบริหารงานบุคคลว่า ผู้บริหารจะต้องรู้และเข้าใจถึงความต้องการของคน ในองค์การ ซึ่งมีลักษณะเป็นลําดับขั้นจากต่ําสุดไปสูงสุดตามทฤษฎีลําดับขั้นความต้องการ (Hierarchy’s Needs Theory) ทั้งนี้เมื่อความต้องการในลําดับต้นได้รับการตอบสนองแล้ว มนุษย์ก็จะมีความต้องการในลําดับขั้นที่สูงขึ้นต่อไป ซึ่งความต้องการทั้ง 5 ลําดับขั้น ประกอบด้วย

1 ความต้องการทางกายภาพหรือชีววิทยา (Physiological Needs หรือ Biological Needs)

2 ความต้องการความปลอดภัยในชีวิต (Security Needs หรือ Safety Needs)

3 ความต้องการที่จะเข้าร่วมในสังคม (Social Needs หรือ Love feeds)

4 ความต้องการที่จะได้รับความสําเร็จในหน้าที่การงาน (Esteem Needs หรือ Ego Needs Status Needs)

5 ความต้องการที่จะได้รับความสําเร็จในชีวิตตามอุดมการณ์ที่ตัวเองตั้งไว้ (Self-Actualization  Needs หรือ Self-Realization Needs)

80 ข้อใดคือหลักการในการจูงใจคนงานของ Frederick Winslow Taylor

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 76 ประกอบ

81 การจัดเรื่องแรงงานสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) การประเมินผลการปฏิบัติงานของคนในองค์การ

(2) การวางแผนกําลังคน

(3) การจัดการเรื่องสหภาพแรงงาน

(4) การฝึกอบรมและพัฒนาพนักงาน

(5) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2

ตอบ 3 หน้า 172, (หนังสือ POL 2300 เลขพิมพ์ 52135 หน้า 249), (คําบรรยาย) แรงงานสัมพันธ์ (Labor Relation) หรืออาจจะเรียกได้ว่า พนักงานสัมพันธ์ (Employee Relation) หรือ อุตสาหกรรมสัมพันธ์ (Industrial Relation) หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายจัดการกับคนงานหรือสหภาพแรงงานที่เกี่ยวกับสิทธิและผลประโยชน์ในการทํางาน เช่น การเจรจาต่อรองร่วมกัน การบริหารแรงงานให้เป็นไปตามสัญญาการว่าจ้างแรงงาน เป็นต้น

82 ข้อใดไม่จัดว่าเป็นบทบาทและหน้าที่ของนักบริหารงานบุคคล

(1) คิดค้นวิธีการในการระบุตําแหน่ง

(2) กําหนดวิธีการในการดึงดูดความสนใจในการสมัครงาน

(3) ระบุความต้องการของตลาดเกี่ยวกับสินค้า

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2

(5) ถูกเฉพาะข้อ 2 และ 3

ตอบ 3 หน้า 172, (หนังสือ POL 2300 เลขพิมพ์ 52135 หน้า 246) บทบาทและหน้าที่ของนักบริหารงานบุคคล มีดังนี้

1 คิดค้นวิธีการในการกําหนดหรือระบุตําแหน่งในองค์การ

2 เป็นผู้กําหนดวิธีการในการดึงดูดความสนใจในการสมัครงาน การคัดเลือก และการบรรจุ พนักงาน

3 เป็นผู้นําในการพัฒนาวิธีการต่าง ๆ เพื่อสร้างและเพิ่มสัมพันธภาพอันดีระหว่าง พนักงานและองค์การ

4 ให้คําปรึกษา เสนอแนะ และช่วยเหลือฝ่ายบริหารในด้านของการวิเคราะห์ความต้องการ ความเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม และด้านวิชาการต่าง ๆ ในองค์การ

83 ข้อใดไม่จัดว่าเป็นภาระหน้าที่ของการจัดการบุคคล

(1) การกําหนดนโยบาย

(2) การวางแผนกําลังคน

(3) การวัดประเมิน

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ ไม่มีข้อใดถูก (หนังสือ POL 2300 เลขพิมพ์ 52135 หน้า 247 – 248) ภาระหน้าที่ของการจัดการบุคคล แบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ

1 การกําหนดนโยบาย วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และกลยุทธ์

2 การวางแผนกําลังคนหรือทรัพยากรมนุษย์

3 โครงสร้างและกระบวนการบริหารงานบุคคล

4 การวัดและประเมินระบบการจัดการบุคคล

84 ข้อใดเป็นสาระสําคัญของนโยบายรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ที่แถลงต่อรัฐสภาเมื่อ 12 กันยายน 2557

(1) จัดระเบียบสังคม สร้างมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม

(2) เตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมที่มีความหลากหลาย

(3) การจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการศึกษา

(4) ปรับปรุงและบูรณาการระบบการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ

(5) ถูกต้องทั้งหมด

ตอบ 5 (คําบรรยาย) สาระสําคัญของนโยบายรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2557 มีดังนี้

1 การรักษาความมั่นคงของรัฐและการต่างประเทศ เช่น การเร่งแก้ไขปัญหาการใช้ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้

2 การลดความเหลื่อมล้ําของสังคมและการสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐ เช่น การจัดระเบียบสังคม สร้างมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ และประชาชนทั่วไป โดยใช้ค่านิยมหลัก 12 ประการ การเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมที่มีความหลากหลายเนื่องจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

3 การศึกษาและเรียนรู้ การทํานุบํารุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม เช่น การจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการศึกษาให้สอดคล้องกับความจําเป็นของผู้เรียนและลักษณะพื้นที่ของสถานศึกษา การปรับปรุงและบูรณาการระบบการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาให้มีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มโอกาสแก่ผู้ยากจนหรือด้อยโอกาส ฯลฯ

85 กิจกรรมในการบริหารงานคลังสาธารณะ ครอบคลุมด้านใด

(1) การหารายได้ของรัฐ

(2) การบริหารการใช้จ่ายเงินงบประมาณ

(3) การบริหารหนี้สาธารณะ

(4) การบริหารนโยบายการเงิน

(5) ถูกหมดทุกข้อ

ตอบ 5 (หนังสือ POL 2300 เลขพิมพ์ 52135 หน้า 260 – 263), (คําบรรยาย) การศึกษาวิชาการบริหารงานคลังสาธารณะ (Public Finance Administration) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับ ขอบเขตหน้าที่และกิจกรรมในการบริหารงานคลังสาธารณะของรัฐบาล ดังนี้

1 ศึกษาเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่และการบริหารการใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดินของรัฐบาล

2 ศึกษาการตัดสินใจด้านการคลังและการใช้จ่ายของรัฐบาล

3 ศึกษาอํานาจหน้าที่ในการหารายได้หรือการจัดหาทรัพยากรเพื่อรองรับบทบาทหน้าที่ของรัฐบาล เช่น การจัดเก็บภาษีอากร การบริหารหรือก่อหนี้สาธารณะ เป็นต้น

4 ศึกษาการบริหารหรือการดําเนินนโยบายทางเศรษฐกิจ การเงิน และการคลังของรัฐบาลให้มีความเหมาะสมตามสถานการณ์

86 ขอบเขตหน้าที่ของการบริหารงานคลังสาธารณะครอบคลุมประเด็นอะไรบ้าง

(1) บทบาทหน้าที่ของรัฐบาล

(2) การจัดหาทรัพยากรเพื่อรองรับบทบาทหน้าที่ของรัฐ

(3) การดําเนินนโยบายทางเศรษฐกิจการคลังให้เหมาะสม

(4) การตัดสินใจในด้านการคลังและการใช้จ่าย

(5) ถูกต้องทั้งหมด

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 85 ประกอบ

87 ข้อใดไม่ใช่หลักการและแนวคิดของเศรษฐศาสตร์กระแสหลักหรือทฤษฎี Classical Economics

(1) ทรัพยากรมีล้นเหลือ

(2) ประสิทธิภาพในการผลิตเป็นเป้าหมายหลัก

(3) ข้อมูลข่าวสารมีจํากัดและเป็นต้นทุนที่สําคัญ

(4) ความต้องการของมนุษย์มีไม่จํากัด

(5) การสร้างอรรถประโยชน์สูงสุดทางเศรษฐกิจ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) หลักการและแนวคิดของเศรษฐศาสตร์กระแสหลักหรือทฤษฎี Classical Economics มีดังนี้

1 ความต้องการของมนุษย์มีไม่จํากัดและไม่สิ้นสุด ขณะที่ทรัพยากร เช่น ข้อมูลข่าวสารนั้นมีจํากัดและถือเป็นต้นทุนที่สําคัญ

2 การมุ่งสร้างอรรถประโยชน์สูงสุด ในทางเศรษฐกิจ

3 เน้นประสิทธิภาพในการผลิตเป็นเป้าหมายหลักในการจัดการเศรษฐกิจ

4 ความเชื่อในเรื่องการแข่งขันโดยกลไกตลาด ฯลฯ

88 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง

(1) จังกอบ คือ ภาษีชนิดหนึ่ง เช่น ภาษีปากเรือ

(2) อากร คือ ค่าธรรมเนียมจากสิงธรรมชาติหรือที่สร้างขึ้น

(3) ส่วย คือ เงินที่ข้าราชการเรียกเก็บจากชาวบ้านอย่างถูกต้อง

(4) ฤชา คือ เงินทดแทนการเกณฑ์แรงงานไพร่

(5) ไม่มีข้อใดที่ไม่ถูกต้อง

ตอบ 3 หน้า 214, (คําบรรยาย) การจัดเก็บภาษีอากรในสมัยกรุงศรีอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้นหรือที่เรียกกันในสมัยนั้นว่า “ส่วยสาอากร” แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่

1 จังกอบ คือ ภาษีชนิดหนึ่ง เช่น ภาษีปากเรือ

2 อากร คือ ค่าธรรมเนียมที่รัฐเก็บจากสิ่งที่เกิดจากธรรมชาติหรือสิ่งที่สร้างขึ้น เช่น อากรรังนกนางแอ่น อากรมหรสพ

3 ส่วย คือ ของที่เรียกเก็บจากท้องถิ่นพื้นเมืองเพื่อเป็นค่าภาคหลวง เช่น เงินช่วยเหลือราชการ

4 ฤชา คือ เงินทดแทนการเกณฑ์แรงงานไพรที่ผู้ครอบครองไพร่ทดแทนให้หลวง

89 ข้อใดไม่ใช่เหตุผลที่รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดให้ตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์

(1) เจ้าภาษีนายอากรมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม

(2) อํานาจในการจัดเก็บภาษีอากรอยู่ในอัตวิสัยของเจ้านายบางคน

(3) ระบบบัญชีของกรมพระยาคลังไม่เป็นระบบระเบียบ

(4) เกิดวิกฤติเงินแผ่นดิน

(5) การค้าขายเจริญรุ่งเรือง

ตอบ 5 (คําบรรยาย) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงโปรดให้ตั้งหอรัษฎากรพิพัฒนในปี พ.ศ. 2416 ด้วยเหตุผล 4 ประการ คือ 1 เจ้าภาษีนายอากรมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม

2 อํานาจในการจัดเก็บภาษีอากรอยู่ในอัตวิสัยของเจ้านายบางคน

3 ระบบบัญชีของกรมพระยาคลังไม่เป็นระบบระเบียบ

4 เกิดวิกฤติเงินแผ่นดินไม่พอใช้ในราชการ

90 ข้อใดที่มิใช่เงื่อนไขสําคัญของภาษีอากร

(1) เป็นการบังคับจัดเก็บจากรัฐ

(2) การที่รัฐต้องตอบแทนโดยตรงแก่ผู้ชําระภาษี

(3) เป็นเครื่องมือหลักในการหารายได้ของรัฐ

(4) เพื่อนําเงินไปใช้เพื่อกิจการสาธารณะ

(5) ยังสรุปไม่ได้

ตอบ 2 หน้า 216 ภาษีอากร เป็นเครื่องมือหลักในการหารายได้ของรัฐ ซึ่งรัฐบังคับจัดเก็บจากบุคคลผู้มีรายได้เพื่อใช้ในการบริหารประเทศและกิจการสาธารณะ โดยผู้ชําระภาษีจะได้รับ ผลประโยชน์ตอบแทนทางอ้อม เพราะว่ารัฐนําเงินภาษีไปใช้จ่ายในการทํานุบํารุงประเทศอันเป็นสาธารณประโยชน์ต่อคนทั่วไปที่อาศัยอยู่ในประเทศ

91 การบริหารงานคลังมีสาระครอบคลุมเรื่องใดบ้าง

(1) นโยบายการเงิน

(2) นโยบายการคลัง

(3) นโยบายเศรษฐกิจมหภาค

(4) นโยบายหนี้สาธารณะ

(5) ถูกหมดทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 85 ประกอบ

92 หน่วยงานหลักที่มีอํานาจหน้าที่การบริหารงานคลังด้านนโยบาย

(1) กระทรวงการคลัง

(2) ธนาคารแห่งประเทศไทย

(3) สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

(4) สํานักงบประมาณ

(5) สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง

ตอบ 1 (คําบรรยาย) หน่วยงานที่มีอํานาจหน้าที่และดูแลรับผิดชอบการบริหารงานคลัง มีดังนี้

1 กระทรวงการคลัง ดูแลรับผิดชอบการบริหารงานคลังด้าน “นโยบายการคลัง” และการบริหารงานคลัง “ภาครายรับ” เช่น การบริหารการจัดเก็บภาษีอากร การกํากับดูแลรายได้จากการนําเข้าและส่งออก การบริหารหนี้สาธารณะ

2 ธนาคารแห่งประเทศไทย ดูแลรับผิดชอบการบริหารงานคลังด้าน “นโยบายการเงิน”

3 สํานักงบประมาณ ดูแลรับผิดชอบการบริหารงานคลัง “ภาครายจ่าย” คือ การใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดิน

93 หน่วยงานที่กํากับดูแลรายได้จากการนําเข้าและส่งออก

(1) กระทรวงการคลัง

(2) ธนาคารแห่งประเทศไทย

(3) สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

(4) สํานักงบประมาณ

(5) สํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 92 ประกอบ

94 ข้อใดเป็นลักษณะสําคัญขององค์การ

(1) วัตถุประสงค์ที่ชัดเจน

(2) มีลักษณะคงที่

(3) มีลักษณะชั่วคราว

(4) มีผู้บริหารสูงสุดเป็นผู้ตัดสินใจ

(5) ลักษณะงานมีความแตกต่างกัน

ตอบ 1 หน้า 114 ลักษณะสําคัญขององค์การ มี 3 ประการ คือ

1 มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน

2 มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เข้ามาปฏิบัติงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้

3 มีการพัฒนาโครงสร้างให้เหมาะสม เพื่อให้ผู้ปฏิบัติสามารถปฏิบัติงานได้สําเร็จ

95 ข้อใดเป็นความแตกต่างระหว่างองค์การแบบเดิมและองค์การแบบใหม่ (1) แผนภูมิแสดงโครงสร้างองค์การ

(2) ความยืดหยุ่นในการทํางาน

(3) การจัดแผนกงาน

(4) ระบบย่อยในองค์การ

(5) จํานวนคนในองค์การ

ตอบ 2

96 องค์การแบบมีชีวิตมีลักษณะอย่างไร

(1) ช่วงการควบคุมแคบ

(2) รวมอํานาจในการบริหาร

(3) มีระเบียบกฎเกณฑ์น้อย

(4) ระดับชั้นการบังคับบัญชามาก

(5) ความเป็นทางการสูง

ตอบ 3 หน้า 133, 140 – 141 องค์การแบบมีชีวิต (Organic Organization) มีลักษณะดังนี้

1 มีความยืดหยุ่น เน้นความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน

2 ช่วงการควบคุมกว้าง

3 มีระเบียบกฎเกณฑ์น้อย

4 ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงานเป็นแบบแนวนอน แนวทแยง และแบบเครือข่าย

5 มีรายละเอียดของหน้าที่ ความรับผิดชอบ และวิธีปฏิบัติงานน้อย

6 มีความเป็นทางการน้อย

7 กระจายอํานาจในการบริหารและตัดสินใจ

97 องค์การแบบผสมมีลักษณะอย่างไร .

(1) เป็นองค์การแบบอาสาสมัคร

(2) มีการจ้างเหมาบุคคลภายนอกเข้ามาปฏิบัติงาน

(3) มีความคล่องตัวในการตัดสินใจและการปฏิบัติงาน

(4) มีโครงสร้างหลายรูปแบบผสมกัน

(5) เน้นความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงานตามแนวดิ่ง

ตอบ 4 หน้า 125, 141 องค์การแบบผสม (Hybrid Organization) เป็นองค์การที่มีการใช้โครงสร้างองค์การหลาย ๆ รูปแบบผสมกัน เพื่อตอบสนองการปฏิบัติงานที่มีความสลับซับซ้อน โดยใช้ประโยชน์จากลักษณะเด่นของรูปแบบโครงสร้างองค์การแต่ละแบบ

98 องค์การแห่งการเรียนรู้ควรมีวินัยอะไรบ้าง

(1) การคิดอย่างเป็นระบบ

(2) การมีภาวะผู้นําที่โดดเด่น

(3) การปฏิบัติงานที่ไม่มีขอบเขต

(4) วัฒนธรรมการทํางานแบบแข่งขัน

(5) ไม่เน้นการทํางานเป็นทีม

ตอบ 1 หน้า 130, 138 Peter Senge เสนอว่า องค์การแห่งการเรียนรู้ (The Learning Organization) จะต้องประกอบด้วย วินัย 5 ประการ คือ

1 ความรอบรู้แห่งตน (Personal Mastery)

2 แบบแผนของความคิด (Mental Model)

  1. การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning)

4 การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน (Shared Vision)

5 การคิดอย่างเป็นระบบ (Systems Thinking)

99 สายการบังคับบัญชา คืออะไร

(1) การกําหนดจํานวนผู้ใต้บังคับบัญชา

(2) การกําหนดอํานาจการตัดสินใจในองค์การ

(3) การกําหนดอํานาจหน้าที่ลดหลั่นจากระดับสูงมายังระดับล่าง

(4) การจัดแบ่งงานในองค์การ

(5) ความมีมาตรฐานของงาน

ตอบ 3 หน้า 120 สายการบังคับบัญชา (Chain of Command) หมายถึง สายการกําหนดอํานาจหน้าที่ที่ลดหลั่นกันลงมาจากระดับสูงลงมายังระดับล่าง และกําหนดการรายงานผลการปฏิบัติงาน โดยสายการบังคับบัญชาจะชี้ให้เห็นว่าผู้ปฏิบัติงานแต่ละคนจะขึ้นตรงต่อใคร หรือจะต้องรายงาน ต่อใคร การจัดสายการบังคับบัญชาจึงมีความเกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงานแต่ละคนในองค์การ รวมถึงเอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command)

100 ข้อใดเป็นประเภทขององค์การแบบเครือข่าย

(1) เครือข่ายแบบวัฒนธรรม

(2) เครือข่ายแบบห่วงโซ่อุปทาน

(3) เครือข่ายแบบแมทริกซ์

(4) เครือข่ายแบบโครงการ

(5) เครือข่ายแบบเรียบง่าย

ตอบ 2 หน้า 126 127 ประเภทขององค์การแบบเครือข่าย มี 6 ประเภท คือ

1 เครือข่ายแบบการทําสัญญาในการให้บริการ

2 เครือข่ายแบบห่วงโซ่อุปทาน

3 เครือข่ายแบบเฉพาะกิจ

4 เครือข่ายแบบตัวแทนการให้บริการ

5 เครือข่ายแบบศูนย์เผยแพร่ข้อมูลสาธารณะ

6 เครือข่ายแบบศูนย์ประสานงานประชาชน

Advertisement