การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา POL2300 การบริหารรัฐกิจเบื้องต้น

Advertisement

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

ตั้งแต่ข้อ 1 – 5 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) “การบริหารนั้นคือการทํางานให้ลุล่วงสําเร็จ”

(2) “คนสองคนช่วยกันเป็นก้อนหิน”

(3) “การบริหารรัฐกิจประกอบไปด้วยการปฏิบัติทั้งปวง”

(4) “กิจกรรมทั้งปวงของฝ่ายบริหาร”

(5) “เป็นการดําเนินงานที่ครอบคลุมการใช้อํานาจอธิปไตยทั้ง 3 สาขา”

 

1 คํานิยามในข้อใดเป็นข้อเสนอของ Herbert A. Simon

ตอบ 4 หน้า 6 Herbert A. Simon ได้ให้คํานิยามว่า “การบริหารรัฐกิจ หมายถึง กิจกรรมทั้งปวงของฝ่ายบริหารไม่ว่าจะเป็นการปกครองส่วนกลาง การปกครองมลรัฐ หรือการปกครองส่วนท้องถิ่นที่สําคัญคือไม่รวมเอางานของฝ่ายนิติบัญญัติและตุลาการเข้าไว้ด้วย”

2 คํานิยามในข้อใดมาจากคํากล่าวของ Felix A. Nigro

ตอบ 5 หน้า 5 Felix A. Nigro ได้ให้คํานิยามของคําว่า “การบริหารรัฐกิจ” ไว้ดังนี้

1 เป็นพลังของกลุ่มที่ร่วมมือร่วมแรงร่วมใจกันในหน่วยงานราชการ

2 เป็นการดําเนินงานที่ครอบคลุมการใช้อํานาจอธิปไตยทั้ง 3 สาขา คือ อํานาจบริหาร อํานาจ นิติบัญญัติ และอํานาจตุลาการ ตลอดจนความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ระหว่างอํานาจทั้งสามนั้น

3 มีบทบาทสําคัญในการกําหนดนโยบายของรัฐ จึงเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางการเมือง

4 มีความแตกต่างในลักษณะที่สําคัญหลายประการจากการบริหารงานธุรกิจของเอกชน

5 มีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับกลุ่มธุรกิจเอกชนและบุคคลต่าง ๆ ในการจัดทําบริการในด้านต่าง ๆ ให้แก่ชุมชน

3 คํานิยามในข้อใดมาจากข้อสังเกตของ Leonard D. White

ตอบ 3 หน้า 6 Leonard D. White ได้ให้คํานิยามว่า “การบริหารรัฐกิจประกอบไปด้วยการปฏิบัติทั้งปวง ซึ่งกระทําโดยมีจุดมุ่งหมายให้นโยบายแห่งรัฐบรรลุผลสําเร็จหรือนํามาบังคับใช้ได้ผล

4 คํานิยามในข้อใดมาจากข้อเสนอของ Ernest Date

ตอบ 1 หน้า 4 Ernest Dals ได้ให้คํานิยามว่า “การบริหารนั้นคือการทํางานให้ลุล่วงสําเร็จไป โดยใช้ให้ผู้อื่นเป็นผู้กระทํา” (Management is getting things done through other people)

5 ข้อใดเป็นข้อสังเกตของ Simon ต่อการบริหาร

ตอบ 2 หน้า 4 Herbert A. Simon ได้ให้คํานิยามว่า “การบริหาร หมายถึง กิจกรรมของกลุ่มบุคคลที่ร่วมมือร่วมแรงร่วมใจกันปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ร่วมกัน” โดยได้ตั้งข้อสังเกต ไว้ว่า “การบริหารเปรียบเสมือนคนสองคนช่วยกันเป็นก้อนหินขึ้นภูเขา ซึ่งคนเพียงคนเดียว ทําให้ขยับเขยื่อนไม่ได้”

6 ลักษณะของการศึกษาบริหารรัฐกิจมีลักษณะสอดคล้องกับข้อใด

(1) มีความเป็นศาสตร์

(2) มีความเป็นศิลป์

(3) มีความเป็นศาสตร์และศิลป์

(4) ไม่มีความเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 6 – 7, 36, 38 39 การศึกษาการบริหารรัฐกิจ (การบริหารราชการ) มีลักษณะที่เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ กล่าวคือ

1 ในฐานะที่มีความเป็นศาสตร์ (Science) คือ การมองในด้านของการเป็นสาขาวิชาการหรือองค์ความรู้ ซึ่งหมายถึงเฉพาะวิชารัฐประศาสนศาสตร์ (Public Administration) อันเป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาแนวความคิดและทฤษฎีการบริหารงานในภาครัฐ เป็น วิชาการที่มีการรวบรวมเป็นระบบ มีหลักการ มีกฎเกณฑ์ที่สามารถศึกษาได้ และนํามาถ่ายทอดให้ความรู้กันได้

2 ในฐานะที่มีความเป็นศิลป์ (Art) คือ การมองในด้านการปฏิบัติงาน เรียกว่า การบริหารรัฐกิจ (public administration) ซึ่งเป็นการศึกษากิจกรรมของการบริหารงานในภาครัฐ ได้แก่ การใช้ศิลปะในการอํานวยการ การร่วมมือประสานงานกัน การควบคุมคนจํานวนมาก การมีความคิดสร้างสรรค์ การนําทรัพยากรมาใช้ในการบริหาร ตลอดจนการแก้ไขปัญหา และอุปสรรคต่าง ๆ โดยอาศัยความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ และทักษะของนักบริหารแต่ละคนเข้ามาเป็นเครื่องช่วย

7 ข้อใดแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนของความเป็นศาสตร์ในการบริหารราชการแผ่นดินของนายกรัฐมนตรี

(1) มีการรวบรวมเป็นระบบ

(2) มีหลักการภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ

(3) มีกฎเกณฑ์ที่สามารถศึกษาได้

(4) นํามาถ่ายทอดต่อสาธารณะ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

8 ข้อใดแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนของความเป็นศิลป์ในการบริหารราชการแผ่นดินของนายกรัฐมนตรี

(1) เป็นเรื่องของการอํานวยการ

(2) มีการร่วมมือประสานงานกัน

(3) นําเอาทรัพยากรมาใช้ในการบริหาร

(4) มีความคิดสร้างสรรค์

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

9 ข้อใดต่อไปนี้แสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องกันระหว่างการบริหารงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยกับ บริษัท การบินไทย

(1) เป็นกระบวนการปฏิบัติงาน

(2) มีวัตถุประสงค์ที่คล้ายคลึงกัน

(3) ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจ

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2

(5) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3

ตอบ 5 หน้า 11 – 12, (คําบรรยาย) การบริหารรัฐกิจ (เช่น การบริหารงานของการรถไฟแห่งประเทศไทย) และการบริหารธุรกิจ (เช่น การบริหารงานของบริษัท การบินไทย) มีสิ่งที่เหมือน หรือสอดคล้องกัน ดังนี้

1 เป็นกระบวนการบริหารหรือการปฏิบัติงานที่ต้องนําเอา ทรัพยากรมนุษย์และสิ่งต่าง ๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

2 ต้องอาศัยพลังความร่วมมือ ร่วมแรงร่วมใจของกลุ่มในการปฏิบัติงาน

3 มีลักษณะการปฏิบัติงานตามสภาพแวดล้อม ขององค์การ เช่น มีความเสี่ยงในการดําเนินงาน

4 ลักษณะการบริหารในแต่ละองค์การ จะแตกต่างกันออกไปตามประเภทของงานที่ทํา

10 ข้อใดแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างกันระหว่างการบริหารงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยกับการบริหารงานของบริษัท การบินไทย

(1) ขนาดความรับผิดชอบต่างกัน

(2) มีวัตถุประสงค์ต่างกัน

(3) มีกระบวนการทํางานต่างกัน

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2

(5) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3

ตอบ 4 หน้า 12 – 13 37 – 38, (คําบรรยาย) การบริหารรัฐกิจ (เช่น การบริหารงานของการรถไฟแห่งประเทศไทย) และการบริหารธุรกิจ (เช่น การบริหารงานของบริษัท การบินไทย) มีสิ่งที่แตกต่างกัน ดังนี้

1 วัตถุประสงค์ในการดําเนินงาน

2 ขนาดความรับผิดชอบ

3 แหล่งที่มาของทุนในการดําเนินงาน

4 การกําหนดราคาสินค้าและบริการ

5 คู่แข่งขันในการดําเนินงาน

6 การคงอยู่

7การเป็นไปตามกฎหมาย

8 บทบาทของประชาชนในการกํากับดูแล และความพร้อมในการตรวจสอบจากสาธารณะ(ดูคําอธิบายข้อ 9 ประกอบ)

11 วิชารัฐประศาสนศาสตร์มีความสัมพันธ์กับวิชาบริหารรัฐกิจอย่างไร

(1) มุ่งศึกษาวิจัยเพื่อส่งเสริมให้มีการบริหารงานเป็นไปตามนโยบายของฝ่ายการเมือง

(2) มุ่งศึกษาวิจัยเพื่อให้ได้องค์ความรู้ในการบริหารงานของภาครัฐ

(3) มุ่งศึกษาวิจัยเพื่อให้ทราบถึงปัญหาและอุปสรรคของการทํางาน

(4) ถูกทุกข้อ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 20 วิชาบริหารรัฐก็จหรือวิชารัฐประศาสนศาสตร์มีส่วนสัมพันธ์แนบแน่นกับวิชารัฐศาสตร์กล่าวคือ วิชารัฐประศาสนศาสตร์เป็นสาขาหนึ่งของวิชารัฐศาสตร์ เนื่องจากวิชารัฐประศาสนศาสตร์ เป็นวิชาที่มุ่งศึกษาวิจัยเพื่อส่งเสริมให้มีการบริหารงานเป็นไปตามนโยบายของฝ่ายการเมือง

หรือกล่าวอย่างง่ายก็คือ ต้องมีการใช้หลักวิชาในทางรัฐศาสตร์ในส่วนที่เกี่ยวกับการเมืองเสียก่อน รัฐประศาสนศาสตร์จึงจะสานต่อ ๆ ไปได้

ตั้งแต่ข้อ 12 – 16 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) Frank J. Goodnow

(2) Leonard D. White

(3) W.F. Willoughby

(4) Nicholas Henry

(5) John M. Gaus

 

12 ใครเป็นผู้เสนอความเห็นว่าทฤษร การบริหารรัฐกิจคือทฤษฎีการเมือง ตอบ 5 หน้า 52, 65. John M. Gaus ได้เสนอความเห็นไว้ในหนังสือชื่อ “Reflections on Public Administration” (1947) ว่า “ในยุคของเรานี้ทฤษฎีการบริหารรัฐกิจก็คือทฤษฎีการเมืองนั่นเอง”

13 ใครเป็นผู้เขียนหนังสือชื่อ Politics and Administration (1900)

ตอบ 1 หน้า 47, 65 Frank J. Goodnow ได้เขียนหนังสือชื่อ “Politics and Administration” (1900)

โดยแสดงความเห็นว่า รัฐบาลมีหน้าที่ที่แตกต่างกันอยู่ 2 ประการ คือ

1 หน้าที่ทางการเมือง ได้แก่ การกําหนดนโยบายหรือการแสดงออกซึ่งเจตนารมณ์ของรัฐ

2 หน้าที่ทางการบริหาร ได้แก่ การนํานโยบายหรือเจตนารมณ์ของรัฐไปปฏิบัติ

14 หนังสือของใครที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นตําราเรียนที่สมบูรณ์เล่มแรกของสาขาวิชาการบริหารรัฐกิจ

ตอบ 2 หน้า 47, 65 Leonard D. White ได้เขียนหนังสือชื่อ “Introduction to the Study of Public Administration” (1926) ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นตําราเรียนที่สมบูรณ์เล่มแรกของ สาขาวิชาการบริหารรัฐกิจ โดยเขาเสนอความเห็นว่า การเมืองไม่ควรจะเข้ามาแทรกแซงการบริหารจะก้าวไปสู่ความเป็นศาสตร์ที่ปลอดจากค่านิยมได้ด้วยความถูกต้องขอบธรรมของตนเอง

15 ใครเป็นผู้วิเคราะห์ว่าพาราไดส์ของสาขาวิชาการบริหารรัฐกิจมี 5 พาราไดส์

ตอบ 4 หน้า 46 – 48, 56 – 48, (คําบรรยาย) Nicholas Henry เป็นผู้ที่นําแนวคิดเกี่ยวกับพาราไดม์ (Paradigm) มาใช้ในการศึกษาพัฒนาการของวิชาการบริหารรัฐกิจ โดยให้ข้อสรุปเกี่ยวกับ เรื่องดังกล่าวไว้ว่า พัฒนาการของวิชาการบริหารรัฐกิจนับตั้งแต่ทศวรรษ 190) จนกระทั่งถึง ปัจจุบัน (1970 – ?) นั้น อาจจําแนกพาราไดม์ของสาขาวิชาการบริหารรัฐกิจออกได้เป็น 5 พาราไดส์ที่คาบเกี่ยวกัน ดังนี้

พาราไดม์ที่ 1 : การบริหารรัฐกิจคือการแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกันเป็นสองส่วน

พาราไดม์ที่ 2 : การบริหารรัฐกิจคือหลักของการบริหาร

พาราไดม์ที่ 3 : การบริหารรัฐกิจคือรัฐศาสตร์

พาราไดม์ที่ 4 : การบริหารรัฐกิจคือวิทยาการบริหาร

พาราไดม์ที่ 5 : การบริหารรัฐกิจคือการบริหารรัฐกิจ

16 หนังสือของใครที่มีส่วนอย่างสําคัญในการนําเสนอพาราไดม์หลักของการบริหาร

ตอบ 3 หน้า 48, 65, (คําบรรยาย) W.F. Willoughby เป็นนักวิชาการที่มีส่วนสําคัญในการบุกเบิกหรือนําเสนอพาราไดร หลักของการบริหาร เขาได้เขียนตําราการบริหารรัฐกิจที่สมบูรณ์ที่สุดชื่อ “Principles of Public Administration” (1927) ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นตําราเรียนที่สมบูรณ์ เล่มที่สองของสาขาวิชาการบริหารรัฐกิจ และได้แสดงความเห็นว่า หลักต่าง ของการบริหาร ที่มีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์ที่แน่นอนนั้นเป็นสิ่งที่สามารถค้นพบได้ ซึ่งทําให้แนวความคิดนี้ ได้รับการยอมรับเป็นพาราไดม์ที่ 2 (พาราไดม์หลักของการบริหาร) ของวิชาการบริหารรัฐกิจ

 

ตั้งแต่ข้อ 17. – 22. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) Robert T. Golembiewski

(2) Woodrow Wilson

(3) Herbert A. Simon

(4) Robert A. Dahl

(5) Luther H. Gulick

 

17 ใครเป็นผู้เสนอความเห็นว่าพาราไดส์เบ็ดเสร็จไม่ใช่สิ่งจําเป็นสําหรับสาขาวิชาการบริหารรัฐกิจ

ตอบ 1 (หนังสือ POL 2300 ลขพิมพ์ 52135 หน้า 75 – 76) Robert T. Golemtiewski ได้เสนอความเห็นว่า พาราไดส์เบ็ดเสร็จไม่ใช่สิ่งจําเป็นสําหรับสาขาวิชาการบริหารรัฐกิจ และวิชาการ บริหารรัฐกิจก็ไม่จําเป็นที่จะต้องกําหนดขึ้นมาในรูปของพาราไดส์เบ็ดเสร็จ แต่ควรจะกําหนดขึ้นมาในรูปของมินิพาราไดม์หลาย ๆ มินิพาราไดม์จะดีกว่า

18 ใครเป็นผู้วิจารณ์ว่าหลักการบริหารรัฐกิจเป็นเพียงแค่ภาษิตทางการบริหาร

ตอบ 3 หน้า 52 Herbert  Simon ได้เสนอความเห็นไว้ในบทความเรื่อง “The Proverbs of Administration” (1946) ว่า หลักเกณฑ์ต่าง ๆ ของการบริหารรัฐกิจที่ได้กําหนดขึ้นมานั้น ใช้ไม่ได้ในทางปฏิบัติ จะเป็นได้ก็เพียงแค่ภาษิตทางการบริหาร

19 ใครเป็นผู้เขียนบทความเสนอว่าการบริหารรัฐธรรมนูญยากยิ่งกว่าการบัญญัติรัฐธรรมนูญ

ตอบ 2 หน้า 31, 46, 64 65, (คําบรรยาย) Woodrow Wilson บิดาของวิชาการบริหารรัฐกิจเป็นผู้ให้กําเนิดคําว่า “Public Administration” และเป็น “ต้นกําเนิดของแนวความคิด เกี่ยวกับเรื่องการแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกันเป็นสองส่วน” ได้เขียนบทความเรื่อง “The Study of Administration” (1887) และเสนอความเห็นว่า การบริหารรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องยากยิ่งกว่าการบัญญัติรัฐธรรมนูญ ซึ่งบทความดังกล่าวยังได้รับการยอมรับจากนักวิชาการว่าเป็น “สูติบัตร” ของวิชาการบริหารรัฐกิจอีกด้วย

20 ใครเป็นผู้เสนอว่าหัวหน้าฝ่ายบริหารมีหน้าที่สําคัญ 7 ประการ โดยสรุปเป็นคําย่อว่า POSDCORB

ตอบ 5 หน้า 49 – 50, 64 – 6.5, (คําบรรยาย) Luther H. Gulick และ Lyndall Urwick ได้เสนอว่า หน้าที่สําคัญของหัวหน้าฝ่ายบริหารมี 7 ประการ โดยสรุปเป็นคําย่อว่า POSDCORE ซึ่งประกอบด้วย

  1. P = Planning (การวางแผน)

2 O = Organizing (การจัดองค์การ)

3 S = Staffing (การจัดบุคคลเข้าทํางาน)

4 D = Directing (การอํานวยการ)

5 Co = Coordinating (การประสานงาน)

6 R = Reporting (การรายงานผลการปฏิบัติงาน)

7 E = Budgeting (การจัดทํางบประมาณ)

  1. ใครเป็นผู้วิเคราะห์ว่าหลักการบริหารรัฐกิจไม่สามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นวิทยาศาสตร์ที่เน่นอนได้ ตอบ 4 หน้า 53, (คําบรรยาย) Robert A. Dahl ได้เสนอความเห็นไว้ในบทความเรื่อง “The Science of Public Administration : Three Froblems” (1947) ว่า การพัฒนาหลักเกณฑ์ที่เป็นสากลของการบริหารรัฐกิจนั้นมีอุปสรรคขัดขวางที่สําคัญ 3 ประการ คือ ค่านิยมที่แตกต่างกัน ความแตกต่างกันในบคลิกภาพของแต่ละบุคคล และกรอบทางสังคมที่แตกต่างกันในแต่ละ วัฒนธรรม นอกจากนี้ยังได้วิเคราะห์อีกว่า หลักการบริหารรัฐกิจจะไม่สามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นวิทยาศาสตร์ที่แน่นอนได้

22 ใครเป็นต้นกําเนิดแนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องการแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกันเป็นสองส่วน

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 19 ประกอบ

23 Personnel Administration หมายถึงข้อใด

(1) การบริหารรัฐกิจ

(2) การบริหารธุรกิจ

(3) การบริหารงานบุคคล

(4) การบริหารทรัพยากรมนุษย์

(5) การบริหารคน

ตอบ 3 หน้า 148 – 150, 171 172 การบริหารงานบุคคล ในภาษาอังกฤษจะใช้คําว่า “Personnel Administration” หรือ “Personnel Management” ซึ่งหากจะให้มีความหมายว่าเป็น การบริหารงานบุคคลในระบบราชการหรือภาครัฐโดยเฉพาะก็จะใช้คําว่า “Public Personnel Administration” และหากจะให้มีความหมายเฉพาะถึงการบริหารงานบุคคลในภาคธุรกิจเอกชน ก็จะใช้คําว่า “Business Personnel Management” โดยการบริหารงานบุคคลทั้งใน ระบบราชการและภาคธุรกิจเอกชน มีความหมายดังนี้

1 เป็นเรื่องทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรบุคคลในองค์การ

2 เป็นเรื่องทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกําหนดนโยบายเกี่ยวกับบุคคล นับตั้งแต่การสรรหาและคัดเลือกบุคคลเข้ามาปฏิบัติงาน การดูแลและบํารุงรักษา จนกระทั่งพ้นไปจากการปฏิบัติงาน

3 เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารระบบราชการ (Public Administration) ฯลฯ

24 ข้อใดเป็นคําอธิบายความหมายของ Personnel Administration

(1) เป็นเรื่องทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรบุคคล

(2) เป็นเรื่องทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการบริหารระบบราชการ

(3) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการสรรหา และคัดเลือกบุคคล

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3

(5) ถูกเฉพาะข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 23. ประกอบ

 

ตั้งแต่ข้อ 25- 30 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) หลักการจ่ายค่าตอบแทนแบบรายชิ้น

(2) หลักการจ้างงานตลอดชีพ

(3) หลักการตอบสนองความต้องการ 5 ขั้น

(4) หลักการบริหารภายใต้ปทัสถานกลุ่ม

(5) หลักการบริหารของผู้บริหาร 14 ประการ

 

25 ข้อใดจัดเป็นข้อเสนอในการบริหารงานบุคคลของ Max Weber

ตอบ 2 (หนังสือ POL 2300 เลขพิมพ์ 52135 หน้า 226), (คําบรรยาย) Max Weber ได้เสนอแนวทางการบริหารงานบุคคล ดังนี้

1 การแต่งตั้ง พิจารณาเลื่อนขั้น เลื่อนตําแหน่งบุคคล ในการปฏิบัติงานต้องมีการจัดไว้อย่างเป็นระเบียบและอยู่บนพื้นฐานแห่งการยกลงกัน

2 การเลือกสรรบุคคลเข้าทํางานจะต้องพิจารณาในด้านความสามารถและหลักการแบ่งงาน ตามความชํานาญเฉพาะอย่าง

3 มีการจ้างงานตลอดชีพ

4 มีการกําหนดค่าตอบแทนในรูปเงินประจําสําหรับผู้ปฏิบัติงาน ฯลฯ

26 ข้อใดจัดเป็นข้อเสนอในการบริหารงานบุคคลของ Frederick Winslow Taylor

ตอบ 1 (หนังสือ POL 2300 ลขพิมพ์ 52135 หน้า 227 228) Frederick Winslow Taylor ได้เสนอแนวทางการบริหารงานบุคคล ดังนี้

1 ต้องมีวิธีการคัดเลือกและพัฒนาคนงาน โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์

2 ต้องมีความประสานสัมพันธ์กันเป็นอย่างดีในการใช้เครื่องมือ และวิธีการที่ดีที่สุดในการบริหารกับการคัดเลือกและฝึกฝนพนักงาน

3 ต้องมีการนําระบบการจ่ายค่าตอบแทนหรือค่าจ้างแบบรายชิ้น (Piece Rate System) มาใช้ในการจูงใจคนงาน ฯลฯ

27 ข้อใดจัดเป็นข้อเสนอในการบริหารงานบุคคลของ Henri Fayol

ตอบ 5 (หนังสือ POL 2300 ลขพิมพ์ 52135 หน้า 182 – 183, 230) Henri Fayol ได้เสนอแนวทางการบริหารงานบุคคลว่า ผู้บริหารควรจะยึดถือหลักเกณฑ์ในการบริหาร 14 ประการ (14 Principles of Management) เช่น การแบ่งงานกันทํา การมีเอกภาพในการบังคับบัญชา การยึดมั่นในความยุติธรรมและเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม เป็นต้น รวมทั้งจะต้องมีคุณลักษณะ พร้อมด้วยความสามารถทางร่างกาย จิตใจ ไหวพริบ การศึกษาหาความรู้ เทคนิคในการทํางานและประสบการณ์ต่าง ๆ ด้วย

28 ข้อใดจัดเป็นข้อเสนอในการบริหารงานบุคคลของ George Elton Mayo

ตอบ 4 (หนังสือ POL 2300 เลขพิมพ์ 52135 หน้า 189 – 190, 230 231), (คําบรรยาย) George Elton May) เป็นผู้นําแนวคิดหรือทฤษฎีแบบมนุษยสัมพันธ์ (Human Relations Approach) มาเผยแพร่ในการบริหารองค์การ โดยได้ทําการทดลองที่เรียกว่า “Hawthorne Experiments” และพบว่า

1 ขวัญของคนงานเป็นสิ่งสําคัญและจะส่งผลต่อการปฏิบัติงาน

2 รางวัลทางจิตใจ เช่น รางวัลข้าราชการหรือเกษตรกรดีเด่น การได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ รวมถึงกําลังใจและการได้รับการยอมรับ จะให้ความสุขในการปฏิบัติงานและมีผลกระตุ้น ในการทํางานมากกว่ารางวัลทางเศรษฐกิจ

3 ปทัสถานทางสังคมของกลุ่มมีผลต่อ ประสิทธิภาพและปริมาณของงาน

4 ภาวะผู้นํา (Leadership) จะมีบทบาทสําคัญในการกําหนดบรรทัดฐานของกลุ่มภายในองค์การ ฯลฯ

29 ข้อใดจัดเป็นข้อเสนอในการบริหารงานบุคคลของ A.H. Maslow

ตอบ 3 (หนังสือ POL 2300 เลขพิมพ์ 52135 หน้า 340 341), (คําบรรยาย) A.H. Maslow ได้เสนอแนวทางการบริหารงานบุคคลว่า ผู้บริหารจะต้องรู้และเข้าใจถึงความต้องการของคน ในองค์การ ซึ่งมีลักษณะเป็นลําดับขั้นจากต่ําสุดไปสูงสุดตามทฤษฎีลําดับขั้นความต้องการ (Hierarchy’s Need: Theory) ทั้งนี้เมื่อความต้องการในลําดับต้นได้รับการตอบสนองแล้ว มนุษย์ก็จะมีความต้องการในลําดับขั้นที่สูงขึ้นต่อไป ซึ่งความต้องการทั้ง 5 ลําดับขั้น ประกอบด้วย

1 ความต้องการทางกายภาพหรือชีววิทยา (Physiological Needs หรือ Biological Needs)

2 ความต้องการความปลอดภัยในชีวิต (Security Needs หรือ Safety Needs)

3 ความต้องการที่จะเข้าร่วมในสังคม (Social Needs หรือ Love Needs)

4 ความต้องการที่จะได้รับความสําเร็จในหน้าที่การงาน (Esteem Needs หรือ Ego Needs หรือ Status Needs)

5 ความต้องการที่จะได้รับความสําเร็จในชีวิตตามอุดมการณ์ที่ตัวเองตั้งไว้ (Self-Actualization Needs หรือ Self-Realization Needs)

30 ข้อใดคือหลักการในการจูงใจคนงานของ Frederick Winslow Taylor

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 26 ประกอบ

31 การจัดเรื่องแรงงานสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) การประเมินผลการปฏิบัติงานของคนในองค์การ

(2) การวางแผนกําลังคน

(3) การจัดการเรื่องสหภาพแรงงาน

(4) การฝึกอบรมและพัฒนาพนักงาน

(5) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2

ตอบ 3 หน้า 172, (หนังสือ POL 2300 เลขพิมพ์ 52135 หน้า 249), (คําบรรยาย) แรงงานสัมพันธ์(Labor Relation) หรืออาจจะเรียกได้ว่า พนักงานสัมพันธ์ (Employee Relation) หรือ อุตสาหกรรมสัมพันธ์ Industrial Relation) หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายจัดการกับ คนงานหรือสหภาพแรงงานที่เกี่ยวกับสิทธิและผลประโยชน์ในการทํางาน เช่น การเจรจาต่อรองร่วมกัน การบริหารแรงงานให้เป็นไปตามสัญญาการว่าจ้างแรงงาน เป็นต้น

32 ข้อใดไม่จัดว่าเป็นบทบาทและหน้าที่ของนักบริหารงานบุคคล

(1) กําหนดวิธีการในการดึงดูดความสนใจในการสมัครงาน

(2) คิดค้นวิธีการในการระบุตําแหน่ง

(3) ระบุความต้องการของตลาดเกี่ยวกับสินค้า

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2

(5) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3

ตอบ 3 หน้า 172, (หนังสือ PO 2300 เลขพิมพ์ 52135 หน้า 246) บทบาทและหน้าที่ของนักบริหารงานบุคคล มีดังนี้

1 คิดค้นวิธีการในการกําหนดหรือระบุตําแหน่งในองค์การ

2 เป็นผู้กําหนดวิธีการในการดึงดูดความสนใจในการสมัครงาน การคัดเลือก และการบรรจุ พนักงาน

3 เป็นผู้นําในการพัฒนาวิธีการต่าง ๆ เพื่อสร้างและเพิ่มสัมพันธภาพอันดีระหว่าง พนักงานและองค์การ

4 ให้คําปรึกษา เสนอแนะ และช่วยเหลือฝ่ายบริหารในด้านของการ วิเคราะห์ความต้องการ ความเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม และด้านวิชาการต่าง ๆ ในองค์การ

33 ข้อใดไม่จัดเป็นภาระหน้าที่ของการจัดการบุคคล

(1) การกําหนดนโยบาย

(2) การวางแผนกําลังคน

(3) การวัดประเมิน

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ ไม่มีข้อใดถูก (หนังสือ POL 2300 เลขพิมพ์ 52135 หน้า 247 – 248) ภาระหน้าที่ของการจัดการบุคคล แบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ

1 การกําหนดนโยบาย วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และกลยุทธ์

2 การวางแผนกําลังคนหรือทรัพยากรมนุษย์

3 โครงสร้างและกระบวนการบริหารงานบุคคล

4 การวัดและประเมินระบบการจัดการบุคคล

34 ข้อใดเป็นสาระสําคัญของนโยบายรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ที่แถลงต่อรัฐสภาเมื่อ 12 ก.ย. 57

(1) จัดระเบียบสังคม สร้างมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม

(2) เตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมที่มีความหลากหลาย

(3) การจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการศึกษา

(4) ปรับปรุงและบูรณาการระบบการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ

(5) ถูกต้องทั้งหมด

ตอบ 5 (คําบรรยาย) สาระสําคัญของนโยบายรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2557 มีดังนี้

1 การรักษาความมั่นคงของรัฐและการต่างประเทศ เช่น การเร่งแก้ไขปัญหาการใช้ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้

2 การลดความเหลื่อมล้ําของสังคมและการสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐ เช่น การจัดระเบียบสังคม สร้างมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ และประชาชนทั่วไป โดยใช้ค่านิยมหลัก 12 ประการ การเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมที่มีความหลากหลายเนื่องจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

3 การศึกษาและเรียนรู้ การทํานุบํารุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม เช่น การจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการศึกษา ให้สอดคล้องกับความจําเป็นของผู้เรียนและลักษณะพื้นที่ของสถานศึกษา การปรับปรุงและบูรณาการระบบการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาให้มีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มโอกาสแก่ผู้ยากจนหรือด้อยโอกาส ฯลฯ

35 กิจกรรมในการบริหารงานคลังสารารณะ ครอบคลุมด้านใด

(1) การหารายได้ของรัฐ

(2) การบริหารการใช้จ่ายเงินงบประมาณ

(3) การบริหารหนี้สาธารณะ

(4) การบริหารนโยบายการเงิน

(5) ถูกหมดทุกข้อ

ตอบ 5 (หนังสือ POL 2300 เลขพิมพ์ 52135 หน้า 260 263), (คําบรรยาย) การศึกษาวิชาการบริหารงานคลังสารารณะ (Public Finance Administration) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับ ขอบเขตหน้าที่และกิจกรรมในการบริหารงานคลั่งสาธารณะของรัฐบาล ดังนี้

1 ศึกษาเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่และการบริหารการใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดินของรัฐบาล

2 ศึกษาการตัดสินใจด้านการคลังและการใช้จ่ายของรัฐบาล

3 ศึกษาอํานาจหน้าที่ในการหารายได้หรือการจัดหาทรัพยากรเพื่อรองรับบทบาทหน้าที่ของรัฐบาล เช่น การจัดเก็บภาษีอากร การบริหารหรือก่อหนี้สาธารณะ เป็นต้น

4 ศึกษาการบริหารหรือการดําเนินนโยบายทางเศรษฐกิจ การเงิน และการคลังของรัฐบาลให้มีความเหมาะสมตามสถานการณ์

36 ขอบเขตหน้าที่ของการบริหารงานคลังสาธารณะครอบคลุมประเด็นอะไรบ้าง

(1) บทบาทหน้าที่ของรัฐบาล

(2) การจัดหาทรัพยากรเพื่อรองรับบทบาทหน้าที่ของรัฐ

(3) การดําเนินนโยบายทางเศรษฐกิจการคลังให้เหมาะสม

(4) การตัดสินใจในด้านการคลังและการใช้จ่าย

(5) ถูกต้องทั้งหมด

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 35 ประกอบ

37 ข้อใดไม่ใช่หลักการและแนวคิดของเศรษฐศาสตร์กระแสหลักหรือทฤษฎี Classical Economics

(1) ทรัพยากรมีล้นเหลือ

(2) ประสิทธิภาพในการผลิตเป็นเป้าหมายหลัก

(3) ข้อมูลข่าวสารที่จํากัดและเป็นต้นทุนที่สําคัญ

(4) ความต้องการของมนุษย์มีไม่จํากัด

(5) การสร้างอรรถประโยชน์สูงสุดทางเศรษฐกิจ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) หลักการและแนวคิดของเศรษฐศาสตร์กระแสหลักหรือทฤษฎีClassical Economics มีดังนี้

1 ความต้องการของมนุษย์มีไม่จํากัดและไม่สิ้นสุด ขณะที่ทรัพยากร เช่นข้อมูลข่าวสารนั้นมีจํากัดและถือเป็นต้นทุนที่สําคัญ

2 การมุ่งสร้างอรรถประโยชน์สูงสุดในทางเศรษฐกิจ

3 เน้นประสิทธิภาพในการผลิตเป็นเป้าหมายหลักในการจัดการเศรษฐกิจ

4 ความเชื่อในเรื่องการแข่งขันโดยกลไกตลาด ฯลฯ

38 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง

(1) จังกอบ คือ ภาษีชนิดหนึ่ง เช่น ภาษีปากเรือ

(2) อากร คือ ค่าธรรมเนียมจากสิ่งธรรมชาติหรือที่สร้างขึ้น

(3) ส่วย คือ เงินที่ข้าราชการเรียกเก็บจากชาวบ้านอย่างถูกต้อง

(4) ฤชา คือ เงินทดแทนการเกณฑ์แรงงานไพร่

(5) ไม่มีข้อใดที่ไม่ถูกต้อง

ตอบ 3 หน้า 214, (คําบรรยาย) การจัดเก็บภาษีอากรในสมัยกรุงศรีอยุธยาและรัตนเกสินทร์ตอนต้นหรือที่เรียกกันในสมัยนั้นว่า “ส่วยสาอากร” แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่

1 จังกอบ คือ ภาษชนิดหนึ่ง เช่น ภาษีปากเรือ

2 อากร คือ ค่าธรรมเนียมที่รัฐเก็บจากสิ่งที่เกิดจากธรรมชาติหรือสิ่งที่สร้างขึ้น เช่น อากรรังนกนางแอ่น อากรมหรสพ

3 ส่วย คือ ของที่เรียกเก็บจากท้องถิ่นพื้นเมืองเพื่อเป็นค่าภาคหลวง เช่น เงินช่วยเหลือราชการ

4 ฤชา คือ เงินทดแทนการเกณฑ์แรงงานไพรที่ผู้ครอบครองไพร่ทดแทนให้หลวง

39 ข้อใดไม่ใช่เหตุผลที่รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดให้ตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์

(1) เจ้าภาษีนายอากรมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม

(2) อํานาจในการจัดเก็บภาษีอากรอยู่ในอัตวิสัยของเจ้านายบางคน

(3) ระบบบัญชีของกรมพระยาคลังไม่เป็นระบบระเบียบ

(4) เกิดวิกฤติเงินแผ่นดิน

(5) การค้าขายเจริญรุ่งเรือง

ตอบ 5 (คําบรรยาย) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงโปรดให้ตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ในปี พ.ศ. 2416 ด้วยเหตุผล 4 ประการ คือ 1 เจ้าภาษีนายอารมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม

2 อํานาจในการจัดเก็บภาษีอากรอยู่ในอัตวิสัยของเจ้านายบางคน

3 ระบบบัญชีของกรมพระยาคลังไม่เป็นระบบระเบียบ

4 เกิดวิกฤติเงินแผ่นดินไม่พอใช้ในราชการ

40 ข้อใดที่มิใช่เงื่อนไขสําคัญของภาษีอากร

(1) เป็นการบังคับจัดเก็บจากรัฐ

(2) การที่รัฐต้องตอบแทนโดยตรงแก่ผู้ชําระภาษี

(3) เป็นเครื่องมือหลักในการหารายได้ของรัฐ

(4) เพื่อนําเงินไปใช้เพื่อกิจการสาธารณะ

(5) ยังสรุปไม่ได้

ตอบ 2 หน้า 216 ภาษีอากร เป็นเครื่องมือหลักในการหารายได้ของรัฐ ซึ่งรัฐบังคับจัดเก็บจากบุคคลผู้มีรายได้เพื่อใช้ในการบริหารประเทศและกิจการสาธารณะ โดยผู้ชําระภาษีจะได้รับ ผลประโยชน์ตอบแทนทางอ้อม เพราะว่ารัฐนําเงินภาษีไปใช้จ่ายในการทํานุบํารุงประเทศอันเป็นสาธารณประโยชน์ต่อคนทั่วไปที่อาศัยอยู่ในประเทศ

41 การบริหารงานคลังมีสาระครอบคลุมเรื่องใดบ้าง

(1) นโยบายการเงิน

(2) นโยบายการคลัง

(3) นโยบายเศรษฐกิจมหภาค

(4) นโยบายหนี้สาธารณะ

(5) ถูกหมดทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 35 ประกอบ

42 หน่วยงานหลักที่มีอํานาจหน้าที่บริหารงานคลังด้านนโยบายการคลัง

(1) กระทรวงการคลัง

(2) ธนาคารแห่งประเทศไทย

(3) สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

(4) สํานักงบประมาณ

(5) สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง

ตอบ 1 (คําบรรยาย) หน่วยงานที่มีอํานาจหน้าที่และดูแลรับผิดชอบการบริหารงานคลัง มีดังนี้

1 กระทรวงการคลัง ดูแลรับผิดชอบการบริหารงานคลังด้าน “นโยบายการคลัง” และการบริหารงานคลัง “ภาครายรับ” เช่น การบริหารการจัดเก็บภาษีอากร การกํากับดูแลรายได้จากการนําเข้าและส่งออก การบริหารหนี้สาธารณะ

2 ธนาคารแห่งประเทศไทย ดูแลรับผิดชอบการบริหารงานคลังด้าน “นโยบายการเงิน”

3 สํานักงบประมาณ ดูแลรับผิดชอบการบริหารงานคลัง “ภาครายจ่าย” คือ การใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดิน

43 หน่วยงานที่กํากับดูแลรายได้จากการนําเข้าและส่งออก

(1) กระทรวงการคลัง

(2) ธนาคารแห่งประเทศไทย

(3) สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

(4) สํานักงบประมาณ

(5) สํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 42 ประกอบ

44 ข้อใดเป็นลักษณะสําคัญขององค์การ

(1) วัตถุประสงค์ที่ชัดเจน

(2) มีลักษณะคงที่

(3) มีลักษณะชั่วคราว

(4) มีผู้บริหารสูงสุดเป็นผู้ตัดสินใจ

(5) ลักษณะงานมีความแตกต่างกัน

ตอบ 1 หน้า 114 ลักษณะสําคัญขององค์การ มี 3 ประการ คือ

1 มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน

2 มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เข้ามาปฏิบัติงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้

3 มีการพัฒนาโครงสร้างให้เหมาะสม เพื่อให้ผู้ปฏิบัติสามารถปฏิบัติงานได้สําเร็จ

45 ข้อใดเป็นความแตกต่างระหว่างองค์การแบบเดิมและองค์การแบบใหม่

(1) แผนภูมิแสดงโครงสร้างองค์การ

(2) ความยืดหยุ่นในการทํางาน

(3) การจัดแผนกงาน

(4) ระบบย่อยในองค์การ

(5) จํานวนคนในองค์การ

ตอบ 2 หน้า 114 115 องค์การแบบเดิมและองค์การแบบใหม่ มีลักษณะที่แตกต่างกันดังนี้

องค์การแบบเดิม

– มีลักษณะคงที่

– ไม่มีความยืดหยุ่นในการทํางาน

– ให้ความสําคัญต่องาน

– งานถูกกําหนดจากตําแหน่ง

– เน้นบุคคล

– ความมั่นคงของงาน

– เน้นการออกคําสั่ง

– ผู้บริหารสูงสุดเป็นผู้ตัดสินใจ

– เน้นกฎระเบียบ

– ปฏิบัติงานในองค์การตลอดชั่วโมงการทํางาน

 

องค์การแบบใหม่

– มีลักษณะเปลี่ยนแปลง

– มีความยืดหยุ่นในการทํางาน

– ให้ความสําคัญต่อทักษะในการปฏิบัติงาน

– งานกําหนดจากสิ่งที่ต้องปฏิบัติ

– เน้นทีมงาน

– งานมีลักษณะชั่วคราว

– เน้นการมีส่วนร่วม

– ผู้ปฏิบัติงานมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

– ให้ความสําคัญต่อลูกค้า/ผู้รับบริการ

– ไม่มีการกําหนดชั่วโมงการทํางานต่อวัน

 

46 องค์การแบบมีชีวิตมีลักษณะอย่างไร

(1) ช่วงการควบคุมแคบ

(2) รวมอํานาจในการบริหาร

(3) มีระเบียบกฎเกณฑ์น้อย

(4) ระดับชั้นการบังคับบัญชามาก

(5) ความเป็นทางการสูง

ตอบ 3 หน้า 133, 140 141 องค์การแบบมีชีวิต (Organic Organization) มีลักษณะดังนี้

1 มีความยืดหยุ่น เน้นความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน

2 ช่วงการควบคุมกว้าง

3 มีระเบียบกฎเกณฑ์น้อย

4 ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงานเป็นแบบแนวนอน แนวทแยง และแบบเครือข่าย

5 มีรายละเอียดของหน้าที่ ความรับผิดชอบ และวิธีปฏิบัติงานน้อย

6 มีความเป็นทางการน้อย

7 กระจายอํานาจในการบริหารและตัดสินใจ

47 องค์การแบบผสมมีลักษณะอย่างไร

(1) เป็นองค์การแบบอาสาสมัคร

(2) มีการจ้างเหมาบุคคลภายนอกเข้ามาปฏิบัติงาน

(3) มีความคล่องตัวในการตัดสินใจและการปฏิบัติงาน

(4) มีโครงสร้างหลายรูปแบบผสมกัน

(5) เน้นความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงานตามแนวดิ่ง

ตอบ 4 หน้า 125, 141 องค์การแบบผสม (Hybrid Organization) เป็นองค์การที่มีการใช้โครงสร้างองค์การหลาย ๆ รูปเเบบผสมกัน เพื่อตอบสนองการปฏิบัติงานที่มีความสลับซับซ้อน โดยใช้ ประโยชน์จากลักษณะเด่นของรูปแบบโครงสร้างองค์การแต่ละแบบ

48 องค์การแห่งการเรียนรู้ควรมีวินัยอะไรบ้าง

(1) การคิดอย่างเป็นระบบ

(2) การมีภาวะผู้นําที่โดดเดิน

(3) การปฏิบัติงานที่ไม่มีขอบเขต

(4) วัฒนธรรมการทํางานแบบแข่งขัน

(5) ไม่เน้นการทํางานเป็นทีม

ตอบ 1 หน้า 130, 138 Peter Senge เสนอว่า องค์การแห่งการเรียนรู้ (The Learning Organization) จะต้องประกอบด้วย วินัย 5 ประการ คือ

1 ความรอบรู้แห่งตน (Personal Mastery)

2 แบบแผนของความเจิด (Mental Model)

3 การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning)

4 การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน (Shared Vision)

5 การคิดอย่างเป็นระบบ (Systems Thinking)

49 สายการบังคับบัญชา คืออะไร

(1) การกําหนดจํานวนผู้ใต้บังคับบัญชา

(2) การกําหนดอํานาจการตัดสินใจในองค์การ

(3) การกําหนดอํานาจหน้าที่ลดหลั่นจากระดับสูงมายังระดับล่าง

(4) การจัดแบ่งงานในองค์การ

(5) ความมีมาตรฐานของงาน

ตอบ 3 หน้า 120 สายการบังคับบัญชา (Chain of Command) หมายถึง สายการกําหนดอํานาจหน้าที่ที่ลดหลั่นกันลงมาจากระดับสูงลงมายังระดับล่าง และกําหนดการรายงานผล การปฏิบัติงาน โดยสายการบังคับบัญชาจะชี้ให้เห็นว่าผู้ปฏิบัติงานแต่ละคนจะขึ้นตรงต่อใคร หรือจะต้องรายงานต่อใคร การจัดสายการบังคับบัญชาจึงมีความเกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงานแต่ละคนในองค์การ รวมถึงเอกภาพในการบังคับบัญชา(Unity of Command)

50 ข้อใดเป็นประเภทขององค์การแบบเครือข่าย

(1) เครือข่ายแบบวัฒนธรรม

(2) เครือข่ายแบบห่วงโซ่อุปทาน

(3) เครือข่ายแบบแมทริกซ์

(4) เครือข่ายแบบโครงการ

(5) เครือข่ายแบบเรียบง่าย

ตอบ 2 หน้า 126 – 127 ประเภทขององค์การแบบเครือข่าย มี 6 ประเภท คือ

1 เครือข่ายแบบการจ่าสัญญาในการให้บริการ

2 เครือข่ายแบบห่วงโซ่อุปทาน

3 เครือข่ายแบบเฉพาะกิจ

4 เครือข่ายแบบตัวแทนการให้บริการ

5 เครือข่ายแบบศูนย์เผยแพร่ข้อมูลสาธารณะ

6 เครือข่ายแบบศูนย์ประสานงานประชาชน

 

ตั้งแต่ข้อ 51 – 53 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) องค์การแบบแบ่งแยกหน้าที่

(2) องค์การแบบแบ่งตามผลผลิต

(3) องค์การแบบแบ่งตามพื้นที่

(4) องค์การแบบแบ่งตามประเภทลูกค้า

(5) องค์การแบบแบ่งตามกระบวนการ

 

51 หน่วยงานที่มีผู้จัดการฝ่ายบุคคล ผู้จัดการฝ่ายขาย ผู้จัดการฝ่ายสินเชื่อ ผู้จัดการฝ่ายผลิต เป็นการจัดองค์การแบบใด

ตอบ 1 หน้า 117 องค์การแบบแบ่งแยกหน้าที่ (Functional Departmentalization) เป็นการจัดองค์การโดยพิจารณาจากประเภทของงานหรือหน้าที่ในการปฏิบัติงานเป็นหลัก โดยกลุ่มของกิจกรรมที่เหมือนกันและเกี่ยวข้องกันจะถูกจัดให้อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของผู้บังคับบัญชา คนเดียวกัน การจัดองค์การแบบนี้เหมาะกับองค์การที่อยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมคงที่และมีลักษณะ เป็นงานประจํา เช่น การจัดองค์การโดยแบ่งออกเป็นผู้จัดการฝ่ายบุคคล ผู้จัดการฝ่ายขาย ผู้จัดการฝ่ายสินเชื่อ เละผู้จัดการฝ่ายผลิต เป็นต้น

52 ฝ่ายขายต่างประเทศ เป็นการจัดองค์การแบบใด

ตอบ 3 หน้า 118 119 องค์การแบบแบ่งตามเขตภูมิศาสตร์หรือตามพื้นที่ (Geographical Departmentalization หรือ Territorial Departmentalization) เป็นการจัดองค์การที่ เหมาะกับองค์การขนาดใหญ่หรือองค์การที่มีภารกิจที่ต้องรับผิดชอบกว้างขวาง เพื่อทําให้เกิด ความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน เป็นการกระจายอํานาจในการปฏิบัติงานให้ครอบคลุมพื้นที่ ที่ต้องรับผิดชอบ และมีความเป็นอิสระในการปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่ ทั้งยังสามารถตอบสนอง ความต้องการหรือแก้ปัญหาได้ตรงตามความต้องการของแต่ละพื้นที่ด้วย เช่น การจัดองค์การโดยแบ่งฝ่ายขายออกเป็นฝ่ายขายในประเทศ และฝ่ายขายต่างประเทศ เป็นต้น

53 ฝ่ายผลิตอาหาร เป็นการจัดองค์การแบบใด

ตอบ 2 หน้า 117 118 องค์การแบบแบ่งตามผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ (Product Departmentalization)เป็นการจัดองค์การที่ทําให้ผลผลิตแต่ละประเภทอยู่ภายใต้อํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบ ของผู้บริหารที่มีความชํานาญเฉพาะด้านนั้น ๆ ซึ่งจะทําให้สามารถควบคุมกระบวนการผลิตได้ดี และเกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน แต่อาจทําให้เกิดความซ้ําซ้อนของงานและสิ้นเปลือง ค่าใช้จ่ายโดยส่วนรวมได้ เช่น การจัดองค์การโดยแบ่งฝ่ายการผลิตออกเป็นฝ่ายผลิตอาหารและฝ่ายผลิตเสื้อผ้า เป็นต้น

54 ผู้ใดกล่าวว่า “วัฒนธรรมเป็นส่วนทั้งหมดที่ซับซ้อน ประกอบด้วยความรู้ ความเชื่อ ศิลปะ ศีลธรรม ประเพณีและความสามารถอื่น ๆ ที่มนุษย์ได้มาในฐานะเป็นสมาชิกของสังคม”

(1) Dwight Waldo

(2) Richard L. Daft

(3) Stephen P. Robbins

(4) Taylor

(5) Max Weber

ตอบ 4 หน้า 266, 282 Taylor กล่าวว่า วัฒนธรรมเป็นส่วนทั้งหมดที่ซับซ้อน ประกอบด้วยความรู้ความเชื่อ ศิลปะ ศีลธรรม กฎหมาย ประเพณี และความสามารถอื่น ๆ ที่มนุษย์ได้มาในฐานะเป็นสมาชิกของสังคม

55 ประเทศอะไรสังคมมีการแบ่งชนชั้นวรรณะ

(1) ประเทศไทย

(2) อินเดีย

(3) สหรัฐอเมริกา

(4) อังกฤษ

(5) เยอรมนี

ตอบ 2 หน้า 265, 282 283 สังคมของประเทศอินเดียมีการแบ่งชนชั้นวรรณะ ออกเป็น 4 วรรณะ คือ

1 พราหมณ์ ได้แก่ นักบวชที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้มีความรู้

2 กษัตริย์ ได้แก่ นักรบ

3 แพศย์ ได้แก่ พ่อค้า

4 ศูทร ได้แก่ กรรมกร

56 ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับปัจจัยสิ่งแวดล้อมจากต่างประเทศ

(1) ระบบศุลกากร

(2) อัตราการแลกเปลี่ยน

(3) การกีดกันทางการค้า

(4) เครื่องมือหรืออุปกรณ์

(5) ระบบตลาด

ตอบ 4 หน้า 255 – 257, 282 283 Richard L. Daft ได้พิจารณาสภาพแวดล้อมขององค์การว่าประกอบด้วยปัจจัยหรือส่วนต่าง ๆ 10 ส่วน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ถือเป็นสภาพแวดล้อมของงาน ที่มีผลกระทบต่อการบรรลุเป้าหมายขององค์การโดยตรง เช่น

1 ปัจจัยด้านการผลิตหรือวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต เช่น ผู้ป้อนวัตถุดิบให้แก่องค์การ โรงงานผลิต

2 ปัจจัยด้านทรัพยากรมนุษย์ เช่น สถานฝึกอบรม สหภาพแรงงาน

3 ปัจจัยด้านเทคโนโลยี เช่น เทคนิคการผลิต เครื่องมือหรืออุปกรณ์อัตโนมัติ ปัจจัยการผลิตใหม่ ๆ

4 ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ เช่น อัตราการว่างงาน อัตราเงินฝืด-เงินเฟ้อ อัตราการลงทุน อัตราการออม

5 ปัจจัยจากต่างประเทศ เช่น การกีดกันทางการค้า ระบบตลาดต่างประเทศระบบศุลกากร อัตราการแลกเปลี่ยน ฯลฯ

57 ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ

(1) อัตราการว่างงาน

(2) อัตราเงินฝืด-อัตราเงินเฟ้อ

(3) การลงทุน

(4) อัตราการออม

(5) การปฏิบัติงาน

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 56 ประกอบ

58 การศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายถึง

(1) การศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

(2) การศึกษาในระดับ ปวส.

(3) การศึกษาในสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

(4) การศึกษาชั้นอนุบาล

(5) การศึกษาในระดับปริญญาตรีเท่านั้น

ตอบ 1, 4 หน้า 262 263, 282 283 การศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายถึง การศึกษาซึ่งจัดไม่น้อยกว่า12 ปีก่อนระดับอุดมศึกษา ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ

1 การศึกษาก่อนระดับประถมศึกษา ได้แก่ การศึกษาชั้นเด็กเล็ก และการศึกษาชั้นอนุบาล

2 การศึกษาระดับประถมศึกษา

3 การศึกษาระดับมัธยมศึกษา ได้แก่ การศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

59 ข้อใดไม่ใช่สาเหตุที่ทําให้ทรัพยากรธรรมชาติถูกทําลาย

(1) การลดของประชากร

(2) ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์

(3) การสร้างสิ่งก่อสร้างเขื่อน

(4) การกีฬา

(5) ความไม่รู้หรือความรู้เท่าไม่ถึงการณ์

ตอบ 1 หน้า 275 276, 282 283 สาเหตุที่ทําให้ทรัพยากรธรรมชาติถูกทําลาย มีดังนี้

1 การเพิ่มของประชากร

2 การขยายตัวทางเศรษฐกิจ

3 ความเจริญก้าวหน้า ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

4 การสร้างสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เช่น การสร้างเขื่อน อ่างเก็บน้ำ ถนน

5 การกีฬา เช่น การยิงนก ตกปลา ล่าสัตว์

6 สงคราม

7 ความไม่รู้หรือความรู้เท่าไม่ถึงการณ์

60 Turbulent Field เป็นสภาพแวดล้อมที่

(1) สงบราบเรียบไม่ค่อยมีโอกาสติดต่อกับภายนอก

(2) เป็นสภาพแวดล้อมของเด็กกําลังเจริญเติบโตเริ่มเรียนรู้และสัมผัสกับระบบของครอบครัว

(3) สภาพแวดล้อมของเด็กวัยรุ่นเริ่มเผชิญกับสังคมภายนอก

(4) สภาพแวดล้อมของชาวเขา

(5) สภาพแวดล้อมใน 3 จังหวัดภาคใต้ และ 4 อําเภอในจังหวัดสงขลา

ตอบ 5 หน้า 257 258, 283 Fred Emery และ Eric Trist ได้แบ่งสภาพแวดล้อมขององค์การออกเป็น 4 ประเภท คือ

1 Placid Randomized Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่สงบราบเรียบ ไม่ค่อยมีโอกาสติดต่อกับสังคมภายนอก เช่น สภาพแวดล้อมของชาวเขาที่เร่ร่อน ทารกในครรภ์

2 Placid Clustered Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่ราบเรียบแต่เริ่มมีการติดต่อกับสังคมภายนอกมากขึ้น เช่น สภาพแวดล้อมของเด็กที่กําลังเจริญเติบโตเริ่มเรียนรู้และสัมผัสกับระบบของครอบครัว โรงเรียน

3 Disturbed-Reactive Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่เริ่มมีความยุ่งยากซับซ้อนยุ่งเหยิง เช่น สภาพแวดล้อมของเด็กวัยรุ่นที่เริ่มเผชิญกับสังคมภายนอก

4 Turbulent Field เป็นสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อน ยุ่งเหยิง มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เช่น สภาพแวดล้อมใน 3 จังหวัดภาคใต้ และ 4 อําเภอในจังหวัดสงขลา

61 ในการบริหารภาครัฐของไทยเป็นอย่างไร

(1) รัฐบาลท้องถิ่นมีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ

(2) รัฐบาลส่วนกลางเป็นหน่วยที่ใหญ่ที่สุดและเป็นผู้วางนโยบาย

(3) องค์การอิสระเป็นหน่วยที่ใหญ่ที่สุด

(4) รัฐบาลกลางเป็นผู้นํานโยบายไปปฏิบัติ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 259, 283 ในการบริหารภาครัฐของไทยนั้น รัฐบาลส่วนกลาง ถือเป็นหน่วยการบริหารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ ซึ่งจะทําหน้าที่ในการวางนโยบายหลักของประเทศ เช่น การป้องกันประเทศ การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การส่งเสริมและควบคุมเศรษฐกิจของประเทศ เป็นต้น เดยจะมีกระทรวงและกรมทําหน้าที่ปฏิบัติงานให้เป็นไปตามนโยบาย

62 สภาพแวดล้อมเฉพาะสําหรับองค์การต่าง ๆ ของรัฐ คือ

(1) ค่านิยมทางสังคม

(2) ภาวะดอกเบี้ย

(3) การศึกษาของประชาชน

(4) เทคโนโลยี

(5) วัตถุดิบ

ตอบ 5 หน้า 260 – 280, (คําบรรยาย) สภาพแวดล้อมขององค์การบริหารภาครัฐเป็นสิ่งที่ควบคุมได้น้อยมากและมีการเปลี่ยนแปลงได้เสมอ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 สภาพแวดล้อมทั่วไปหรือสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ เป็นสภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการบริหารขององค์การของรัฐทุก ๆ องค์การ ได้แก่ การศึกษา ชนชั้นทางสังคม วัฒนธรรมประเพณี ค่านิยมของประชาชน เศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี กฎหมาย และทรัพยากรธรรมชาติ

2 สภาพแวดล้อมเฉพาะหรือสภาพแวดล้อมภายในองค์การ เป็นสภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบโดยตรงต่อระบบการบริหารขององค์การ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะที่จําเป็นในการดําเนินงาน สําหรับองค์การหนึ่ง ๆ แต่อาจจะไม่มีความจําเป็นสําหรับองค์การอื่น ๆ เลยก็ได้ เช่น ลูกค้า/ ผู้รับบริการ คู่แข่งขัน แรงงาน/บุคลากร วัตถุดิบ กฎระเบียบขององค์การ เทคโนโลยีการบริหารความรู้และข้อมูล ทรัพยากรที่หน่วยงานต้องใช้

63 ข้อใดคู่กันแล้วไม่ถูกต้อง

(1) ระบบราชการ – วางแผน

(2) ระบบราชการ ปฏิบัติงานถูกต้องตามระเบียบ

(3) การเมืองดี – ระบบราชการดี

(4) การเมือง – นํานโยบายไปปฏิบัติ

(5) ระบบราชการ – ปฏิบัติงานตามนโยบายการเมือง

ตอบ 4 หน้า 271 – 273, (คําบรรยาย) การเมืองจะทําหน้าที่ในการกําหนดนโยบาย ส่วนระบบราชการจะทําหน้าที่นํานโยบายของฝ่ายการเมืองไปปฏิบัติ ดังนั้นการเมืองและระบบราชการ จึงมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันและส่งผลถึงกันและกันเสมอ กล่าวคือ หากการเมืองดีจะส่งผลให้ ระบบราชการดีด้วย แต่หากการเมืองล้มเหลวก็จะส่งผลให้ระบบราชการล้มเหลวไปด้วย

64 ใครเสนอให้จําแนกประเภทของนโยบายตามเนื้อหาสาระของนโยบาย

(1) Theodore Lowi

(2) Ira Sharkansky

(3) Carl J. Friedrich

(4) William Greenwood

(5) David Easton

ตอบ 1 หน้า 76, (คําบรรยาย) Theodore Lowi ได้เสนอให้จําแนกประเภทของนโยบายตามเนื้อหาสาระและวัตถุประสงค์ของนโยบายนั้น ๆ ออกเป็น 3 ประเภท คือ

1 นโยบายที่เป็นกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับ (Regulative Policy)

2 นโยบายการกระจายบริการของรัฐ (Distributive Policy)

3 นโยบายเพื่อการจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสมหรือการจัดสรรทรัพยากรเสียใหม่(Re-Distributive Policy)

65 ใครที่ให้ความหมายของนโยบายโดยเน้นการจัดสรรและแจกแจงคุณค่าต่าง ๆ ของสังคมโดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นเปเพื่อสังคมส่วนรวม

(1) Theodore Lowi

(2) Ira Sharkansky

(3) Carl J. Friedrich

(4) William Greenwood

(5) David Easton

ตอบ 5 หน้า 74 David Easton กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง การจัดสรรและแจกแจงคุณค่าต่าง ๆ ของสังคมโดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นไปเพื่อประโยชน์ของสังคมส่วนรวม

66 การพิจารณาปัญหาหรือความต้องการของประชาชนอยู่ในขั้นตอนใด

(1) การก่อตัวของนโยบาย

(2) การนํานโยบายไปปฏิบัติ

(3) การเตรียมและเสนอนโยบาย

(4) การอนุมัติและประกาศนโยบาย

(5) การปรับปรุงแก้ไขนโยบาย

ตอบ 1 หน้า 87, 107 108 ขั้นตอนการก่อตัวของนโยบาย (Policy Formation) ประกอบด้วย

1 การพิจารณาปัญหาหรือความต้องการของประชาชน

2 การพิจารณาเวลาที่เกิดปัญหา

3 ปัญหาที่รัฐบาลสนใจ

4 การจัดลําดับความสําคัญของปัญหา

67 การจัดทําร่างนโยบายอยู่ในขั้นตอนใด

(1) การก่อตัวของนโยบาย

(2) การนํานโยบายไปปฏิบัติ

(3) การเตรียมและเสนอนโยบาย

(4) การอนุมัติและประกาศนโยบาย

(5) การปรับปรุงแก้ไขนโยบาย

ตอบ 3 หน้า 88, 108 ขั้นตอนการเตรียมและเสนอนโยบาย (Policy Formulation) ประกอบด้วย

1 การกําหนดวัตถุประสงค์

2 การกําหนดทางเลือก

3 การจัดทําร่างนโยบาย

68 นโยบายพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด

(1) Regulative Policy

(2) Distributive Policy

(3) Re-Distributive Policy

(4) Capitalization Policy

(5) Ethical Policy

ตอบ 4 หน้า 76, (คําบรรยาย) นโยบายเพื่อการลงทุน (Capitalization Policy) เป็นนโยบายที่รัฐบาลกําหนดขึ้นเพื่อใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ หรือเพื่อแสวงหาทรัพยากรใหม่ ๆ ในการริเริ่มสร้างสรรค์ คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมาวันเป็นประโยชน์ต่อประชาชนโดยส่วนรวม เช่น นโยบายพัฒนาชายฝั่งทะเล ภาคตะวันออกและภาคใต้ การสร้างสนามบิน การสร้างนิคมอุตสาหกรรม การสร้างท่าเรือน้ำลึก การวางท่อก๊าซ เป็นต้น

69 โครงการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกร เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด

(1) Regulative Policy

(2) Distributive Policy

(3) Re-Distributive Policy

(4) Capitalization Policy

(5) Ethical Policy

ตอบ 3 หน้า 76 นโยบายเพื่อการจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสม (Re-Distributive Policy) เป็นนโยบายที่กําหนดขึ้นเพื่อประชาชนบางอาชีพ ผู้ประกอบการบางสาขาการผลิต พื้นที่บางพื้นที่ตามความจําเป็น หรือนโยบายเพื่อดึงทรัพยากรจากประชาชนกลุ่มหนึ่ง ไปเป็นประโยชน์ให้ประชาชนอีกกลุ่มหนึ่งที่ด้อยโอกาส เช่น นโยบายภาษี นโยบายปฏิรูปที่ดิน เป็นต้น

70 การส่งเสริมการมีงานทําของผู้สูงอายุและคนพิการ เป็นนโยบายด้านใด (1) นโยบายด้านสวัสดิการสังคม

(2) นโยบายด้านการศึกษา

(3) นโยบายด้านสาธารณสุข

(4) นโยบายด้านแรงงาน

(5) นโยบายด้านศาสนาและศิลปะ

ตอบ 4 หน้า 92 – 93 แนวทางการดําเนินนโยบายแรงงาน มีดังนี้

1 ดําเนินการให้แรงงานทั้งในและนอกระบบได้รับการคุ้มครองตามมาตรฐานแรงงานไทย

2 ปฏิรูประบบประกันสังคมให้มีความเข้มแข็งมั่นคง

3 พัฒนาและฝึกอบรมแรงงานทุกระดับให้มีความรู้และทักษะฝีมือที่มีมาตรฐาน

4 ส่งเสริมให้แรงงานเทยไปทํางานต่างประเทศอย่างมีศักดิ์ศรีและมีคุณภาพชีวิตที่ดี

5 ส่งเสริมการมีงานท่าของผู้สูงอายุและคนพิการ ฯลฯ

71 การส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และประชาชนใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศเชิงสร้างสรรค์อย่างชาญฉลาด เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ เป็นนโยบายด้านใด

(1) นโยบายด้านสวัสดิการสังคม

(2) นโยบายด้านการศึกษา

(3) นโยบายด้านสาธารณสุข

(4) นโยบายด้านแรงงาน

(5) นโยบายด้านศาสนาและศิลปะ

ตอบ 2 หน้า 91 – 92 แนวทางการดําเนินนโยบายการศึกษา มีดังนี้

1 ปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบโดยปฏิรูปโครงสร้างและการบริหารจัดการ ปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ

2 ส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาทั้งระบบ

3 จัดให้ทุกคนมีโอกาส ได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี

4 ส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และประชาชนใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศเชิงสร้างสรรค์อย่างชาญฉลาด เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้

72 ข้อใดไม่ถูกต้อง

(1) การนํานโยบายไปปฏิบัติที่มีประสิทธิผลต้องการความสามารถทางการบริหารสูง

(2) การนํานโยบายไปปฏิบัติจะง่ายในประเทศที่มีขนาดใหญ่

(3) การนํานโยบายไปปฏิบัติจะเหมาะกับประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตย

(4) การนํานโยบายไปปฏิบัติจะง่ายขึ้นในประเทศที่ปกครองแบบรวมศูนย์อํานาจ

(5) การนํานโยบายไปปฏิบัติจะมีประสิทธิผลมากในประเทศที่รัฐบาลมีเสถียรภาพสูง

ตอบ 2 หน้า 99 – 100 การนํานโยบายไปปฏิบัติในประเทศต่าง ๆ อาจจะให้ผลแตกต่างกัน ดังนี้

1 การนํานโยบายไปปฏิบัติที่มีประสิทธิผลต้องการความสามารถทางการบริหารสูงจะกลายเป็นข้อจํากัดที่สําคัญของประเทศในโลกที่ 3 และในยุโรปบางประเทศ

2 การนํานโยบายไปปฏิบัติจะง่ายขึ้นในประเทศที่มีขนาดกลางหรือขนาดเล็ก 3 การนํานโยบายไปปฏิบัติจะเหมาะสมกับประเทศที่ยึดถือการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

4 การนํานโยบายไปปฏิบัติจะง่ายขึ้นในประเทศที่มีการปกครองแบบรวมศูนย์อํานาจ

5 การนํานโยบายไปปฏิบัติจะมีประสิทธิผลมากในประเทศที่รัฐบาลมีเสถียรภาพสูง

73 ข้อใดไม่ถูกต้อง

(1) Harold Lasswell นโยบายเกี่ยวกับแผนหรือโครงการที่กําหนดขึ้น (2) Thomas R. Dye นโยบายสาธารณะเป็นสิ่งที่รัฐบาลตัดสินใจว่าจะทําหรือไม่ทํา

(3) Theodore Lowi เป็นบิดาแห่งนโยบายศาสตร์

(4) David Easton เกี่ยวข้องกับการจัดสรรและแจกแจงคุณค่าต่าง ๆ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 74, (คําบรรยาย) Harold Lasswell ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งนโยบายศาสตร์”ได้ให้ความหมายนโยบายสาธารณะร่วมกับ Abraham Kaplan ว่า นโยบายสาธเรณะ หมายถึง แผนหรือโครงการที่กําหนดขึ้น อันประกอบด้วยเป้าหมาย คุณค่า และแนวการปฏิบัติงานต่าง ๆ

74 กลไกการควบคุมเพื่ออํานวยความยุติธรรมตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ได้แก่

(1) บทบาทของสํานักงบประมาณ

(2) บทบาทของสํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน

(3) บทบาทของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

(4) ข้อ 2 และ 3 ถูก

(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก

ตอบ 4 หน้า 176, 185 – 190 กลไกการควบคุมเพื่ออํานวยความยุติธรรมตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ มีดังนี้

1 แนวนโยบายแห่งรัฐในกฎหมายรัฐธรรมนูญ

2 บทบาทของคณะกรรมการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

3 การตรวจสอบโดยสภาผู้แทนราษฎร

4 บทบาทของผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา 5. บทบาทของศาลในกระบวนการยุติธรรม

6 บทบาทของสํานักงาน/คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ฯลฯ

75 ที่กล่าวว่า งบประมาณเป็นเครื่องมือในการควบคุม เพราะ

(1) งบประมาณเป็นแผนการบริหารชนิดหนึ่ง

(2) งบประมาณเป็นทรัพยากรในการบริหาร

(3) ผู้บริหารหน่วยงานสามารถกําหนดรายจ่ายตามที่เห็นควร

(4) ข้อ 2 และ 3 ก

(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก

ตอบ 5 หน้า 184, 205 206, (คําบรรยาย) งบประมาณเป็นเครื่องมือในการควบคุม เนื่องจาก

1 งบประมาณเป็นกฎหมาย และการใช้จ่ายเงินของรัฐหรือหน่วยราชการต้องมีกฎหมายรองรับและเป็นไปตามกฎหมายงบประมาณ

2 งบประมาณเป็นแผนการบริหารที่แสดงโครงการในการดําเนินงาน แสดงเป้าหมาย และวัตถุประสงค์เสดงจํานวนเงินที่ต้องการใช้ ตลอดจนแสดงจํานวนบุคลากรและทรัพยากรในการสนับสนุนการดําเนินงานในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆ

3 งบประมาณเป็นทรัพยากรในการบริหาร ซึ่งจะต้องมีการใช้จ่ายให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้

4 งบประมาณเป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพของการจัดสรรทรัพยากร

76 ข้อใดเป็นแนวนโยบายตามรัฐธรรมนูญปี 2550 การมีส่วนร่วมของประชาชน

(1) ส่งเสริมการตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐ

(2) จัดตั้งกองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง

(3) ส่งเสริมให้ประชาชนมีความเข้มแข็งทางการเมือง

(4) ข้อ 2 และ 3 ถูก

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 193 – 200 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 มีดังนี้

1 แนวนโยบายด้านศาสนา สังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม เช่น ส่งเสริมความเสมอภาคของหญิงและชาย จัดให้มีแผนการศึกษาของชาติ 2 แนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ เช่น ส่งเสริมให้ประชากรวัยทํางานมีงานทํา คุ้มครองระบบ สหกรณ์ให้เป็นอิสระ

3 แนวนโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน เช่น ส่งเสริมและ สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐ ส่งเสริมให้ประชาชนมีความเข้มแข็งทางการเมือง จัดตั้งกองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง ฯลฯ

77 ข้อใดเป็นกลไกภายในที่เกี่ยวกับการควบคุม

(1) คําสั่ง

(2) วินัย

(3) กฎหมายปกครอง

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก

ตอบ 4 หน้า 181 – 182 กลไกการควบคุมภายในหน่วยงานราชการ ประกอบด้วย นายบาย แผนงาน โครงการ วิธีปฏิบัติงาน คําสั่งและรายงาน ระบบการติดต่อสื่อสารและการประสานงาน คู่มือ กฎ ระเบียบ วินัยและบทลงโทษ ระบบการติดตามประเมินผล ความสามารถของผู้บริหาร/ผู้บังคับบัญชาและผู้ปฏิบัติงาน ระบบการประกันคุณภาพ เทคโนโลยีขององค์กร เป็นต้น

78 ผู้ได้รับผลกระทบจากการดําเนินงานของรัฐ จะร้องเรียนไปที่หน่วยงานใดได้บ้าง

(1) ผู้ตรวจการแผ่นดิน

(2) สํานักงานคุ้มครองผู้บริโภค

(3) สํานักงานสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

(4) ข้อ 2 และ 3 ถูก

(5) ข้อ 1 , 2 และ 3 ถูก ตอบ 5 หน้า 179, 203 ผู้ได้รับผลกระทบจากการดําเนินงานของหน่วยงานของรัฐ สามารถร้องเรียนต่อหน่วยงานที่ทําให้เกิดผลกระทบหรือกระทําผิดได้โดยตรง หรือร้องเรียนไปที่หน่วยงาน ที่มีบัญญัติไว้ตามรัฐธรรมนูญ เช่น ผู้ตรวจการแผ่นดิน สํานักงานคุ้มครองผู้บริ ภค สํานักงาน สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สภาผู้แทนราษฎร รวมไปถึงการนําเรื่องเข้าสู่หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม เช่นศาลปกครอง ศาลยุติธรรม เป็นต้น

79 นโยบายการบริหารจัดการที่มีผลต่อการควบคุมตรวจสอบ ได้แก่

(1) ระบบติดตามประเมินผล

(2) การพัฒนาบุคลากร

(3) การจัดสวัสดิการ

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก 2 ลูก

(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 4 หน้า 184 185, (คําบรรยาย) นโยบายการบริหารจัดการภาครัฐที่มีผลต่อการควบคุมตรวจสอบมีดังนี้

1 การพัฒนาระบบงบประมาณ

2 การพัฒนาบุคลากร

3 การจัดวางระบบการติดตามประเมินผล

4 ระบบประกันคุณภาพขององค์การ

80 ข้อใดเป็น “สิทธิเสรีภาพโดยทั่วไปของชนชาวไทย”

(1) การเข้าถึงข่าวสารสาธารณะในครอบครองของราชการ

(2) การชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ

(3) การฟื้นฟูจารีตประเพณี

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 191 192 สิทธิเสรีภาพโดยทั่วไปของชนชาวไทย มีดังนี้

1 การชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ

2 การอนุรักษ์และฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรม อันดีของท้องถิ่นและของชาติ

3 การได้รับบริการสาธารณสุขและสวัสดิการจากรัฐ

4 การได้รับการศึกษาไม่น้อยกว่า 12 ปี ซึ่งรัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย

5 การเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของราชการ ฯลฯ

81 ในการควบคุมตรวจสอบ มาตรการใดที่เกี่ยวข้องกับ “การกําหนดเป้าหมาย”

(1) ความร่วมมือ

(2) ระบบงาน

(3) กฎหมาย

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 181 182 มาตรการที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการควบคุมตรวจสอบ มีดังนี้

1 กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คู่มือ วินัย นโยบาย แผน เทคโนโลยีการดําเนินงาน เป็นมาตรการที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการกําหนดเป้าหมายและมาตรฐานของการดําเนินงาน (ขั้นตอนที่ 1) และขั้นตอนการกําหนดวิธีการในการวัดมาตรฐานในการดําเนินงาน (ขั้นตอนที่ 2)

2 ความสามารถ ความร่วมมือของทั้งผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน รวมถึงระบบงานในองค์การ เป็นมาตรการที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการพิจารณาเปรียบเทียบผลงานกับมาตรฐานหรือ เกณฑ์ที่ได้ตั้งไว้ (ขั้นตอนที่ 3) และขั้นตอนการดําเนินการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ได้วางเอาไว้ (ขั้นตอนที่ 4)

82 ข้อใดจัดเป็นขั้นตอนสุดท้ายในกระบวนการ “ควบคุมตรวจสอบ”

(1) การลงโทษ

(2) การพัฒนาปรับปรุง

(3) การกําหนดมาตรฐาน

(4) การกําหนดวิธีการในการวัดผง

(5) การเปรียบเทียบผลงาน

ตอบ 2 หน้า 181 กระบวนการในการควบคุมตรวจสอบ มี 4 ขั้นตอน คือ

1 การกําหนดเป้าหมาย รายละเอียด และมาตรฐานของการดําเนินงาน

2 การกําหนดวิธีการในการวัดมาตรฐานในการดําเนินงาน รวมทั้งวิธีการที่จะวัดความสําเร็จของงาน

3 การพิจารณาเปรียบเทียบผลงานกับมาตรฐานหรือเกณฑ์ที่ได้ตั้งเอาไว้

4 การดําเนินการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ได้วางเอาไว้

83 หากเจ้าพนักงานของรัฐละเลยหรือไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ บุคคลผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิใดตามรัฐธรรมนูญเรื่องหน้าที่ของชนชาวไทย

(1) ให้เจ้าพนักงานหรือผู้บังคับบัญชาชี้แจงแสดงเหตุผล

(2) ให้เจ้าพนักงานดําเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย

(3) ฟ้องร้องศาลยุติธรรม

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 4 หน้า 193, 206 รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 มาตรา 74 กําหนดว่า หากเจ้าพนักงานของรัฐซึ่งได้แก่ บุคคลที่เป็นข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ละเลยหรือไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ บุคคลผู้มีส่วนได้เสีย มีสิทธิให้เจ้าพนักงานของรัฐหรือผู้บังคับบัญชาชี้แจงแสดงเหตุผล และขอให้เจ้าพนักงานดําเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย

84 เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer) หมายถึง

(1) Desktop

(2) Personal Computer

(3) Digital Computer

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 318 319, (คําบรรยาย) ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer) หมายถึง คอมพิวเตอร์ประเภทตัวเลข (Digital Computer) ที่มีขนาดเล็ก ราคาถูก สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย และ สามารถวางบนโต๊ะทํางานได้ จึงเรียกเครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทนี้ว่า คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ(Desktop Computer) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า คอมพิวเตอร์ส่วนตัว (Personal Computer)

85 ข้อมูล (Data) หมายถึง

(1) ข่าวกีฬา

(2) แบบสอบถาม

(3) ตําราที่เรียน

(4) ข้อ 1 และ 3 ถูก

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 296, 318 319, (คําบรรยาย) ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อจริงหรือความจริงต่าง ๆที่เกี่ยวกับบุคคล วัตถุ สสาร สิ่งของ สถาบัน องค์การ การดําเนินงาน การปฏิบัติการ การจัดการ และอื่น ๆ ที่อาจอยู่ในลักษณะของสัญลักษณ์ ข้อความ ตัวเลข รูปภาพ และอื่น ๆ ทั้งนี้ข้อมูล จะอยู่ในรูปแบบที่ยังไม่มีการประเมินหรือตีความหมาย ซึ่งนับเป็นข้อมูลดิบ (Raw Data) เช่น แบบสอบถาม เป็นต้น ส่วนข่าวสาร (Information) หมายถึง ข้อมูลดิบที่ผ่านการประมวลผลแล้ว โดยผ่านวิธีการต่าง ๆ หรือเป็นข้อมูลบั้นปลายที่มีการเปลี่ยนรูปแล้วให้อยู่ในรูปที่มีความหมาย เข้าใจได้ง่าย และสามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น ตําราที่เรียน ภาพยนตร์ ข่าวกีฬา รายงานข่าวรายงานการประชุมประจําปี หนังสือพิมพ์ วารสารข่าวรามคําแหง เป็นต้น

86 ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System) หมายถึง

(1) เครื่องจักรและอุปกรณ์

(2) โปรแกรม

(3) บุคลากร

(4) ถูกทุกข้อ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 297 – 301, 318 319, (คําบรรยาย) ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System) หมายถึง กลุ่มเครื่องจักรและอุปกรณ์หรือเทคนิคต่าง ๆ ที่ใช้ร่วมกันในการทํางานของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้อง รวดเร็ว และเชื่อถือได้ ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย ฝ่ายต่าง ๆ หรือส่วนประกอบที่สําคัญ 3 ส่วน คือ

1 เครื่องจักรและอุปกรณ์ (Hardware)

2 โปรแกรมหรือคําสั่งงาน (Software)

3 บุคลากร (Peopleware/Brainware/Personel)

87 คอมพิวเตอร์ประเภทตัวเลข (Digital) คือ คอมพิวเตอร์ที่

(1) ทํางานได้ทุกประเภท

(2) ทํางานโดยใช้หลักการวัดและราคาถูก

(3) แสดงข้อมูลในรูปเสียง แสง และภาพ

(4) ข้อ 1 และ 3 ถูก

(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก ตอบ 4 หน้า 318 319, (คําบรรยาย) คอมพิวเตอร์ประเภทตัวเลข (Digital Computer) คือ คอมพิวเตอร์ที่ทํางานโดยใช้หลักการนับ ซึ่งจะรับข้อมูลในลักษณะของตัวเลขที่ต้องอาศัยสื่อ ในการรับหรือบันทึกข้อมูล มีความคล่องตัวในการทํางานสูง และสามารถปรับให้ทํางานได้ทุกประเภท เช่น การคํานวณ การบัญชี การดนตรี รวมทั้งการแสดงข้อมูลในรูปเสียง แสง สี และภาพ โดยตัวอย่างของคอมพิวเตอร์ประเภทนี้ ได้แก่ ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer)

88 คอมพิวเตอร์ประเภทปริมาณ คือ คอมพิวเตอร์ที่

(1) ทํางานได้ทุกประเภท

(2) ทํางานโดยใช้หลักการวัด

(3) แสดงข้อมูลในรูปเสียง แสง และภาพ

(4) ข้อ 1 และ 3 ถูก

(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก

ตอบ 2 หน้า 318 319, (คําบรรยาย) คอมพิวเตอร์ประเภทปริมาณ (Analog Computer) คือ คอมพิวเตอร์ที่ทํางานโดยใช้หลักการวัด ซึ่งจะรับข้อมูลในลักษณะของปริมาณที่มีค่าต่อเนื่อง จากแหล่งกําเนิดข้อมูล โดยตรง ไม่สามารถทํางานได้ทุกอย่างเหมือนคอมพิวเตอร์ประเภทตัวเลข แต่มีความเร็วสูงกว่าและมีราคาถูกกว่าคอมพิวเตอร์ประเภทตัวเลข

 

ตั้งแต่ข้อ 89 – 90 จะมีข้อความให้นักศึกษาพิจารณา 2 ข้อความ ให้นักศึกษาพิจารณาและระบายลงในกระดาษคําตอบ ดังนี้

(1) หากข้อความที่ 1 ถูก และข้อความที่ 2 ผิด ให้ระบายในข้อ 1

(2) หากข้อความที่ 1 ผิด และข้อความที่ 2 ถูก ให้ระบายในข้อ 2

(3) หากข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ถูกทั้ง 2 ข้อ ให้ระบายในข้อ 3

(4) หากข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ผิดทั้ง 2 ข้อ ให้ระบายในข้อ 4

 

89 (1) เทคโนโลยี หมายถึง ความประณีต

(2) เทคโนโลยี หมายถึง กระบวนการ

ตอบ 2 หน้า 290, 319 เทคโนโลยี หมายถึง

1 ความรู้ทั้งหลาย (At Knowledge) คือ ความรู้ที่มาจากทฤษฎีและนํามาปฏิบัติให้เกิดผล

2 ผลผลิตหรือผลิตภันฑ์ (Products) คือ ผลที่ได้จากการนําเทคโนโลยีมาใช้

3 กระบวนการ (Processes) คือ ขั้นตอนของการนําเทคโนโลยีมาใช้

4 เครื่องมือ (Tools) คือ อุปกรณ์ วัสดุ เครื่องจักรในการใช้หรือที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยี

5 วิธีการ (Methods คือ กรรมวิธีหรือเทคนิคที่ใช้สําหรับเทคโนโลยี

6 ระบบ (Systems) คือ กลุ่มกิจกรรมต่าง ๆ ที่ใช้เพื่อการคิดค้นในการสร้างสินค้าหรือการบริการ

90 (1) บุคลากรระดับวิชาการ หมายถึง พนักงานควบคุมเครื่อง

(2) บุคลากรระดับวิชาการ หมายถึง พนักงานบันทึกข้อมูล

ตอบ 4 หน้า 301, 319 บุคลากร (Peopleware/Brainware/Personnel) คือ บุคคลหรือกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ

1 บุคงากรระดับบริหาร

2 บุคลากรระดับวิชาการ ได้แก่ นักวิเคราะห์ระบบ เจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์ และนักบรรณารักษ์กลาง

3 บุคลากรระดับปฏิบัติงาน ได้แก่ พนักงานควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ และพนักงานบันทึกข้อมูล

91 คุณค่าหลัก 2 ประการที่แย้งกันในทัศนะของนักรัฐศาสตร์ คือ

(1) ประสิทธิภาพ VS. ประสิทธิผล

(2) ประสิทธิภาพ VS. ประหยัด

(3) ประสิทธิภาพ VS. ประชาธิปไตย

(4) ประสิทธิผล VS. ประชาธิปไตย

(5) ประหยัด VS. ประชาธิปไตย

ตอบ 3 หน้า 323, 326 329, 355 คุณค่าหลัก 2 ประการที่แย้งกันในทัศนะของนักรัฐศาสตร์ในการบริหารประเทศ มีดังนี้

1 คุณค่าที่เน้นประสิทธิภาพของภาครัฐ VS. คุณค่าที่เน้นความเป็นประชาธิปไตยซึ่งคุณค่าอย่างแรกตรงกับแนวคิดของอเล็กซานเดอร์ แฮมิลตัน (Alexander Hamilton) ส่วนคุณค่าอย่างหลังตรงกับแนวคิดของโทมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson)

2 คุณค่าที่เน้นการขยายบทบาทของภาครัฐ VS. คุณค่าที่เน้นการลดบทบาทของภาครัฐ ซึ่งคุณค่าอย่างแรกตรงกับแนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์สํานักเคนส์เขียนหรือเศรษฐศาสตร์ แบบเคนส์ (Keynesian School) ส่วนคุณค่าอย่างหลังตรงกับแนวคิดของเศรษฐศาสตร์ แบบนี้โอลิเบอรัลลิสม์ (Neo-Liberalism) และเศรษฐศาสตร์แบบนีโอคลาสสิก (Neo-Classical School)

92 แนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์สํานักเคนส์เซียน สนับสนุนแนวทางแบบใด (1) การขยายบทบาทของภาครัฐ

(2) การลดบทบาทและขนาดของภาครัฐ

(3) การรวมอํานาจเข้าสู่ส่วนกลาง

(4) การประหยัดทรัพยากรการบริหาร

(5) การจัดการแบบภาคเอกชน

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 91 ประกอบ

93 การจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management) มีชื่อเรียกได้หลายอย่าง คือ

(1) การจัดการโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง

(2) การบริหารจัดการบ้านเมืองอย่างเป็นประชาธิปไตย

(3) การจัดการบนพื้นฐานของการแข่งขันในตลาด

(4) การบริการภาครัฐแนวใหม่

(5) การจัดการแบบมีส่วนร่วม

ตอบ 3 หน้า 340, (คําบรรยาย) การจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management) มีชื่อเรียกหลายอย่าง ดังนี้ 1. การจัดการนิยมใหม่ (Neo-Managerialism)

2 การจัดการบนพื้นฐานของการแข่งขันในตลาด (Market-Based Management)

3 การบริหารรัฐกิจบนพื้นฐานของการแข่งขันในระบบตลาด (Market-Based Public Administration)

4 รัฐบาลเถ้าแก่หรือรัฐบาลแบบวิสาหกิจ (Entrepreneurial Government)

94 การจัดการภาครัฐแนวใหม่ เน้นคุณค่าหลัก 4 ประการ คือ

(1) ประสิทธิผล ประสิทธิภาพ ประหยัด ประชาธิปไตย

(2) ประสิทธิผล ประสิทธิภาพ ประหยัด ประชาชน

(3) ประสิทธิผล ประสิทธิภาพ ประหยัด คุณภาพ

(4) ประสิทธิผล ประสิทธิภาพ ประชาธิปไตย คุณภาพ

(5) ประสิทธิผล ประหยัด ประชาธิปไตย คุณภาพ

ตอบ 3 หน้า 330 การจัดการภาครัฐแนวใหม่เน้นคุณค่าหลัก 4 ประการ คือ

1 ประสิทธิผล (Efectiveness หรือ Result)

2 ประสิทธิภาพหรือความคุ้มค่า (Efficiency)

3 ประหยัด (Economy)

4 ความเป็นเลิศหรือคุณภาพ (Excellence หรือ Quality)

95 แนวคิดเชิงอุดมการณ์มีอิทธิพลต่อการจัดการภาครัฐแนวใหม่

(1) แนวคิดของโทมัส เจฟเฟอร์สัน

(2) แนวคิดแบบเคนส์เซียน

(3) แนวคิดอนุรักษนิยม

(4) แนวคิดแบบสังคมนิยม

(5) แนวคิดแบบเสรีนิยมใหม่

ตอบ 5 หน้า 330 – 331, 356, 350 – 361 การจัดการภาครัฐแนวใหม่ได้รับอิทธิพลแนวคิดเชิงอุดมการณ์มาจากแน.คิดแบบเสรีนิยมใหม่ (Neo-Liberalism) โดยแนวคิดการจัดการภาครัฐ แนวใหม่ถือเป็นแนวคิดหลักที่ใช้ในการปฏิรูปการบริหารภาครัฐของประเทศต่าง ซึ่งประเทศแรก ที่ริเริ่มนําแนวคิดนี้มา ใช้ คือ ประเทศอังกฤษ (England) ในสมัยนางมาร์กาเร็ต แทชเชอร์ (Margaret Thatcher) เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาแนวคิดนี้ก็ได้ถูกนําไปใช้ในการปฏิรูปการบริหาร ภาครัฐในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย

 

ตั้งแต่ข้อ 96 – 109 จงเลือกคําตอบที่มีความสัมพันธ์กับเนื้อหาวิธีระงับข้อพิพาททางเลือก

(1) การประเมินความขัดแย้ง

(2) การประสานความขัดแย้ง

(3) การประนอมข้อพิพาท

(4) การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท

(5) อนุญาโตตุลาการ

 

96 เป็นกระบวนการที่มีบุคคลที่สามเข้ามาช่วยเหลือให้คความเจรจาต่อรองกันได้สําเร็จ

ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอนวิชา POL 2300 เพิ่มเติมบทที่ 11 หน้า 27) การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท คือ กระบวนการระงับข้อพิพาทที่มีบุคคลที่สามเข้ามาช่วยเหลือให้คู่ความเจรจา ต่อรองกันได้สําเร็จ ซึ่งกระบวนการนี้ผู้ไกล่เกลี่ยจะเป็นคนกระตุ้นให้คู่ความตกลงกันง่ายขึ้นแต่ไม่มีอํานาจในการกําหนดข้อตกลงให้แก่คู่ความ

97 เป็นเทคนิคที่ต้องอาศัยความสมัครใจของคู่ความทั้งสองฝ่ายเป็นสําคัญ ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอนวิชา POL 2300 เพิ่มเติมบทที่ 11 หน้า 22 – 23) การประนอมข้อพิพาท คือ กระบวนการที่ผู้ประนอมข้อพิพาทจะพยายามช่วยคู่พิพาท ในการแก้ไขความเข้าใจผิดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างกัน พยายามลดทอนความรู้สึก หวาดระแวงและความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจ ซึ่งเทคนิคนี้จะต้องอาศัยความสมัครใจของคู่ความทั้งสองฝ่ายเป็นสําคัญ

98 มีการตั้งคนกลางขึ้นมาทําหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้น และผลแห่งข้อวินิจฉัยนี้เรียกว่าเป็นคําชี้ขาด มีผลผูกพันคู่พิพาทให้ต้องปฏิบัติตาม ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอนวิชา POL 2300 เพิ่มเติมบทที่ 11 หน้า 26) อนุญาโตตุลาการเป็นกระบวนการที่มีการตั้งคนกลางมาทําหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้น และผลแห่ง ข้อวินิจฉัยนี้ปรากฏในสิ่งที่เรียกว่าเป็นคําชี้ขาดที่มีผลตามกฎหมายผูกพันคู่พิพาทให้ต้องปฏิบัติตาม

99 แนวทางเริ่มต้นจะเริ่มต้นด้วยการประชุมหารือเบื้องต้นระหว่างผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวข้องกับปัญหาที่เกิดขึ้น

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอนวิชา POL 2300 เพิ่มเติมบทที่ 11 หน้า 22) การประสานความขัดแย้ง เป็นกระบวนการระงับข้อพิพาทแบบมีส่วนร่วมลักษณะหนึ่ง ซึ่งจะมีผู้ประสาน – ความขัดแย้งเข้ามาทําหน้าที่ช่วยเหลือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการพูดคุยเจรจาประเด็นปัญหาต่าง ๆโดยเริ่มต้นจากการประชุมหารือเบื้องต้นเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อหาข้อยุติข้อพิพาทต่อไป

100 เป็นกระบวนการที่ไม่ใช่กระบวนการสําหรับการระงับข้อพิพาทโดยตรงแต่จะเป็นวิธีการเบื้องต้นในการบริหารจัดการความขัดแย้ง

ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอนวิชา POL 2300 เพิ่มเติมบทที่ 11 หน้า 20 – 21) การประเมินความขัดแย้ง เป็นกระบวนการที่ไม่ใช่กระบวนการสําหรับการระงับข้อพิพาทโดยตรงแต่จะเป็น วิธีการเบื้องต้นในการบริหารจัดการความขัดแย้ง เพื่อช่วยให้สามารถวางแผนและกําหนด แนวทางการดําเนินการที่เหมาะสมต่อไป

Advertisement