การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2301 องค์การและการจัดการในภาครัฐ
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1.แนวความคิดในการดําเนินชีวิตแบบใดที่เป็นผลให้เกิดการบริหารที่มีลักษณะของการรวมอํานาจ
ในการจัดสรรทรัพยากรของชาติ
(1) เสรีนิยม
(2) สังคมนิยม
(3) ประชานิยม
(4) ประจักษนิยม
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 (PS 252 เลขพิมพ์ 39270 หน้า 14 – 15) แนวความคิดในการดําเนินชีวิต มี 2 แบบ คือ

Advertisement

1. เสรีนิยม เป็นแนวคิดที่ยกย่องในสิทธิและเสรีภาพของบุคคล และเห็นว่ามนุษย์ทุกคน สามารถครอบครองถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและที่ดินได้ จึงยึดหลักการกระจายอํานาจในการจัดสรรทรัพยากรของชาติ

2. สังคมนิยม เป็นแนวคิดที่ยกย่องในความเสมอภาคของปวงชน และเห็นว่ารัฐควรจะเป็น ผู้จัดสรรทรัพย์สินและที่ดินเพื่อความเสมอภาคเท่าเทียมกัน จึงยึดหลักการรวมอํานาจในการจัดสรรทรัพยากรของชาติ

2.การตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ อยู่ที่ผู้บริหารระดับสูงเป็นส่วนใหญ่ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) Authority
(2) Complexity
(3) Organization Design
(4) Formalization
(5) Centralization
ตอบ 5 หน้า 168 การรวมอํานาจ (Centralization) หมายถึง สภาวะขององค์การ ซึ่งในระดับสูง ๆ ของสายการบังคับบัญชาได้รวมอํานาจหน้าที่ไว้ ทั้งนี้เพื่อการตัดสินใจส่วนใหญ่จะได้กระทําจาก ระดับสูงนั้น ดังนั้นตามหลักการรวมอํานาจ การตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ในองค์การส่วนมากแล้ว จะมิได้มอบให้ผู้ปฏิบัติงานตัดสินใจเอง หากแต่ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง เป็นผู้ตัดสินใจให้เป็นส่วนใหญ่

3. ทุกข้อเป็นความแตกต่างระหว่างการบริหารรัฐกิจและการบริหารธุรกิจ ยกเว้น
(1) การเป็นเจ้าของกิจการ
(2) ทฤษฎีองค์การ
(3) วัตถุประสงค์
(4) ผลผลิต
(5) ขนาดของกิจการ
ตอบ 2(PS 252 เลขพิมพ์ 39270 หน้า 12 – 14) ความแตกต่างระหว่างการบริหารรัฐกิจ (Public Administration) และการบริหารธุรกิจ (Business Administration) อาจแยกพิจารณาได้จาก 4 ด้านใหญ่ ๆ คือ
1. วัตถุประสงค์
2. การเป็นเจ้าของกิจการ
3. ขนาดของกิจการ
4. ผลผลิต

4.ข้อใดจัดเป็น Internal Information Base
(1) ความต้องการของลูกค้า
(2) ระบบการเจ้าหน้าที่ขององค์การ
(3) สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19
(4) นโยบายของรัฐบาล
(5) สภาพสังคม
ตอบ 2 หน้า 251 – 252 พื้นฐานและที่มาของข้อมูลข่าวสาร มีดังนี้
1. ข้อมูลข่าวสารจากภายในองค์การ (Internal Information Base) ได้มาจากหน่วยงานต่าง ๆ และปัจจัยภายในองค์การเอง เช่น ระบบการเจ้าหน้าที่ขององค์การ ระบบการขายสินค้า และบริการ ระบบของคําสั่งและการควบคุม ระบบการผลิต ระบบการควบคุมสินค้า ระบบการจัดซื้อ ระบบการเงิน เป็นต้น

2. ข้อมูลข่าวสารจากภายนอกองค์การ (External Information Base) ได้มาจากระบบ สภาพแวดล้อมขององค์การ ได้แก่ สภาพสังคม สภาพเศรษฐกิจ และสภาพการเมือง

5. บุคคลในข้อใดมีพฤติกรรมผู้นําแบบ Laissez-Faire Leadership Style
(1) นายสรยุทธ์บริหารงานโดยเน้นความเป็นครอบครัว
(2) นายพุทธบริหารงานโดยยึดหลักธรรมาภิบาล
(3) นางจิตที่บริหารงานโดยปล่อยให้ลูกน้องปฏิบัติงานด้วยวิถีทางของเขาเอง
(4) นายกรรชัยบริหารงานโดยเน้นการควบคุมดูแลลูกน้องอย่างใกล้ชิด
(5) นางหมวยบริหารงานแบบไม่เปิดโอกาสให้ลูกน้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
ตอบ 3 หน้า 289 ผู้นําแบบปล่อยเสรี (Laissez-Faire Leadership Style) คือ ผู้นําที่ปล่อยให้ลูกน้อง ปฏิบัติงานตามสบายด้วยวิถีทางของเขาเอง ผู้นําจะดูแลห่าง ๆ ไม่ค่อยมีบทบาทควบคุมชี้แนะ ตัดสินใจให้ ซึ่งผู้นําในลักษณะนี้บางทีอาจเรียกว่า ผู้นําแบบจอมปลอม (Pseudo-Leaders)

6.Hedonism อธิบายว่ามนุษย์ต้องการแสวงหาสิ่งใดเป็นสําคัญ
(1) ความรู้
(2) ความรัก
(3) ความสะดวกสบาย
(4) สังคมกลุ่มเพื่อน
(5) ความเป็นผู้นํา
ตอบ 3 หน้า 271 Hedonism อธิบายว่า “มนุษย์ต้องการจะแสวงหาความสะดวกสบายและ ความรื่นรมย์เป็นสําคัญ ขณะเดียวกันก็จะเลี่ยงความเจ็บปวด และความไม่สะดวกสบาย ทั้งหลาย”

7.ลักษณะที่องค์การแต่ละองค์การแบ่งแยกงานซึ่งมีจํานวนมากออกเป็นกลุ่ม ๆ หลายกลุ่มงาน มีการแบ่งแยก ตามความถนัดหรือความเชี่ยวชาญ รวมทั้งแบ่งเป็นระดับต่าง ๆ จากสูงลงมาสู่ต่ํา รวมทั้งแบ่งไปยังพื้นที่อื่น แต่ละสาขา เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) Formalization
(2) Complexity
(3) Centralization
(4) Organization Design
(5) Authority
ตอบ 2 หน้า 121 ความซับซ้อนขององค์การ (Complexity) คือ ลักษณะที่องค์การแต่ละองค์การ จะมีการแบ่งแยกงาน (กิจกรรม) ซึ่งมีเป็นจํานวนมากออกเป็นกลุ่ม ๆ หลายกลุ่มงาน มีการ แบ่งแยกตามความถนัดหรือความเชี่ยวชาญแต่ละด้านของบุคลากร และมีการแบ่งเป็นระดับ ต่าง ๆ จากสูงลงมาสู่ต่ํา รวมทั้งอาจมีการแบ่งไปยังพื้นที่อื่น ๆ แต่ละสาขาด้วย

8.สิ่งที่ดร.ชุบ กาญจนประกร เสนอเพิ่มจากที่กูลิคเสนอไว้ในเรื่องหน้าที่ของผู้บริหาร ได้แก่
(1) การควบคุมงาน
(2) การประเมินผลงาน
(3) การจัดทําแผนกลยุทธ์
(4) การประสานงาน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 60 – 62 ดร.ชุบ กาญจนประกร ได้เสนอหน้าที่ของผู้บริหารเพิ่มเติมจากแนวคิด POSDCORB ของ Luther Gulick เป็น PA-POSDCORB โดย PA ที่เพิ่มขึ้นมา ได้แก่ P = Policy (การกําหนดนโยบาย) และ A = Authority (การกําหนดอํานาจหน้าที่)

9. ข้อใดเป็นตําแหน่งผู้บริหารระดับกลาง
(1) รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
(2) ผู้จัดการทั่วไป
(3) รองประธานบริหาร
(4) ผู้อํานวยการกอง
(5) หัวหน้าทีม
ตอบ 4 หน้า 283 ผู้บริหารระดับกลาง (Middle Managers) เป็นผู้ที่อยู่ระหว่างผู้บริหารระดับสูง และผู้บริหารระดับต้น ทั้งนี้ผู้บริหารระดับกลางจะรับผิดชอบหน่วยงานหรือแผนกงานสําคัญ ในองค์การ ถ้าเป็นธุรกิจก็จะเป็นผู้จัดการฝ่ายขายหรือหัวหน้าแผนก ถ้าเป็นในองค์การราชการ ก็คือ อธิบดี ผู้อํานวยการกอง หัวหน้ากอง

10. ในการวิเคราะห์ SWOT Analysis นั้น การที่องค์การได้รับผลกระทบเชิงลบจากการแพร่ระบาดของ โรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส (COVID-19) ถือเป็นข้อใด
(1) Threats
(3) Strengths
(2) Opportunities
(4) Problems
(5) Weaknesses
ตอบ 1 หน้า 220, (คําบรรยาย) ในการวิเคราะห์ SWOT Analysis นั้น Threats คือ ภัยคุกคามที่ มีผลต่อการดําเนินงานของ องค์การ ซึ่งเป็นปัจจัยที่อยู่ภายนอกองค์การ เช่น การแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส (COVID-19) เป็นต้น

11. ข้อใดเป็นปัจจัยที่จะช่วยให้การจัดช่วงการบังคับบัญชากว้างยิ่งขึ้นได้
(1) เทคนิคในการติดต่อสื่อสาร
(2) ลักษณะของผู้ใต้บังคับบัญชา
(3) ลักษณะงานในองค์การ
(4) ระดับขององค์การ
(5) ความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชา
ตอบ 1. 3 หน้า 184 – 185 ปัจจัยที่จะช่วยให้การจัดช่วงการบังคับบัญชากว้างยิ่งขึ้นได้ มีดังนี้
1. การฝึกอบรมผู้ใต้บังคับบัญชา
2. เทคนิคในการมอบหมายอํานาจหน้าที่
3. การวางแผนการปฏิบัติงานไว้ให้พร้อม
4. ลักษณะของงานในองค์การ
5. เทคนิคในการควบคุม
6. เทคนิคในการติดต่อสื่อสาร
7. ความจําเป็นในการติดต่อส่วนตัว

12. ข้อใดเป็นองค์ประกอบที่สําคัญของการวางแผน
(1) ต้องเกี่ยวข้องกับอนาคต
(2) ต้องปลอดค่านิยม
(3) ต้องใช้เทคโนโลยี
(4) ต้องมาจากผู้บริหาร
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 219 การวางแผนมีองค์ประกอบที่สําคัญ 3 ประการ คือ
1. ต้องเกี่ยวข้องกับอนาคต (Involve The Future)
2. ต้องเกี่ยวข้องกับการที่จะมีการดําเนินการเฉพาะใด ๆ (Involve The Action)
3. ต้องมีผลต่อบุคคลหรือต่อองค์การหรือต่อสังคม (Personal or Organizational Causation)

13. ข้อใดเป็นการกระตุ้นให้คนปฏิบัติงานโดยวิธีการใช้ความดี
(1) การให้ปัจจัยค้ําจุน
(2) การใช้การต่อรองที่เด่นชัด
(3) วิธีการแข่งขัน
(4) การทําให้ผู้ปฏิบัติงานเห็นความสําคัญของงาน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1หน้า 277 – 278 การจูงใจหรือกระตุ้นให้คนปฏิบัติงานโดยวิธีการใช้ความดี แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ
1. วิธีการใช้ความดีแบบพ่อกับลูก (Paternalism)
2. วิธีการใช้ความดีแบบ การให้ปัจจัยค้ําจุน (Hygienic Management)

14. ถ้าสมมุติฐานมีว่า “มนุษย์มีความดีมาโดยกําเนิด” วิธีการแก้ไขพฤติกรรมที่บกพร่องของผู้บริหาร ที่ยึดสมมุติฐานนี้ ได้แก่
(1) ใช้ระเบียบวินัยและบทลงโทษที่เข้มงวด
(2) ใช้คู่มือกํากับการทํางาน
(3) ใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วม
(4) ใช้ระเบียบวินัยและบทลงโทษที่เข้มงวด และใช้คู่มือกํากับการทํางาน
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 (PS 252 เลขพิมพ์ 39270 หน้า 91) Knowles and Saxberg เสนอว่า ถ้าเรามีสมมุติฐาน ว่า “มนุษย์มีความดีมาโดยกําเนิด” เราสามารถทํานายได้เลยว่าพฤติกรรมที่บกพร่องที่เขาแสดงออกมาย่อมเป็นผลมาจากกระบวนการอบรมเลี้ยงดูและประสบการณ์ในอดีตของเขา เช่น ความต้องการภายในไม่ได้รับการบําบัด ขาดเสรีภาพ ขาดโอกาสในการเรียนรู้ เป็นต้น ซึ่งเราอาจแก้ไขโดยใช้การอบรมและพัฒนา ใช้กลุ่มช่วยแก้ปัญหา หรือใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วมก็ได้

15. ในการบริหารงาน คําว่า Red Tape หมายถึง
(1) การที่งานไปค้างที่จุดใดจุดหนึ่ง
(2) ปัญหาด้านแรงจูงใจ
(3) เส้นทางลัดในโครงสร้าง
(4) ความล่าช้าในการสื่อสาร
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 49 Red Tape หมายถึง ความล่าช้าในการปฏิบัติงาน ซึ่งเกิดจากความล่าช้าของการ ติดต่อสื่อสารเรื่องราวต่าง ๆ ในโครงสร้างขององค์การที่จะต้องเป็นไปตามสายการบังคับบัญชา ที่ยาวและระบบความสัมพันธ์ที่เป็นทางการ

16. “ตําแหน่งและอํานาจหน้าที่” จัดอยู่ในระบบย่อยใดของระบบขององค์การ
(1) Goals and Values
(2) Managerial
(3) Technical
(4) Structurat
(5) Psychosocial
ตอบ 4 หน้า 96 – 97, (คําบรรยาย) ระบบย่อยต่าง ๆ ภายในระบบขององค์การ มีดังนี้
1. ระบบเทคโนโลยีขององค์การ (Technical) หมายถึง ความรู้ที่จําเป็นในการปฏิบัติงาน รวมถึงเทคนิคและวิธีการทํางาน

2. ระบบสังคมจิตวิทยา (Psychosocial) เป็นระบบที่รวมความต้องการของบุคคลและ กลุ่มในองค์การ เช่น ความผูกพันกับเพื่อนร่วมงาน เป็นต้น

3. ระบบโครงสร้างขององค์การ (Structural) เป็นระบบที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ส่วนประกอบต่าง ๆ ขององค์การ เช่น กฎระเบียบและข้อบังคับ ตําแหน่งและอํานาจหน้าที่ แผนกงาน เป็นต้น

4. ระบบของศิลปะและทักษะในการบริหารองค์การ (Managerial) หมายถึง ความสามารถ ในการบริหารจัดการของผู้บริหาร ผู้ควบคุมงาน หรือผู้ประสานงาน ฯลฯ

17. นักวิชาการเหล่านี้จัดเป็นนักทฤษฎีองค์การกลุ่มใด Gantt, Gilbreths, Emerson
(1) Neo-Classical Organization Theory
(2) Contingency Theory
(3) Action Theory
(4) Systems Theory
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 42 – 43 นักทฤษฎีองค์การกลุ่มการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) มีดังนี้ 1. Frederick W. Taylor
2. Henry L. Gantt
3. Frank a Lillian Gilbreths
4. Harrington Emerson
5. Morris t. Cooke ฯลฯ

18. การตัดสินใจในระดับใดที่มีทั้งลักษณะทันทีทันใดและการพิจารณาในระยะยาว
(1) Strategic Level
(2) Operational Level
(3) International Level
(4) National Level
(5) Coordinative Level
ตอบ 5 หน้า 229 การตัดสินใจในระดับการประสานงาน (Coordinative Level) เป็นการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับความพยายามในอันที่จะประสานความสัมพันธ์ระหว่างการตัดสินใจระดับสูงกับการดําเนินงานในระดับการปฏิบัติการ การตัดสินใจในระดับนี้มีทั้งในลักษณะ “ทันทีทันใด” และ “การพิจารณาในระยะยาว” ผู้บริหารในระดับนี้จะต้องทําหน้าที่ตัดสินใจเพื่อให้เกิดการประสานกันระหว่างการปฏิบัติงานในองค์การกับการนําเอาปัจจัยภายนอกองค์การ(สภาพแวดล้อม) เข้ามาในองค์การ

19. ข้อใดเกี่ยวข้องกับ Authority มากที่สุด
(1) Specialization
(2) Unity of Command
(3) Responsibility
(4) Hierarchy
(5) Span of Control
ตอบ 3 หน้า 146 อํานาจหน้าที่ (Authority) หมายถึง อํานาจในการสั่งการ (Power to Command) เพื่อให้บุคคลอื่นกระทําหรือไม่กระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ผู้มีอํานาจจะเห็นสมควร ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์การที่ได้ตั้งไว้ อํานาจหน้าที่นี้จะเป็นอํานาจหน้าที่ของ ผู้บังคับบัญชาซึ่งได้มาโดยตําแหน่งที่เป็นทางการ ทําให้ผู้บังคับบัญชาสามารถสั่งการได้ แต่ทั้งนี้ จะเป็นผลใช้บังคับได้ก็ต่อเมื่อใช้ภายในขอบเขตของตําแหน่งหน้าที่ด้วย นอกจากนี้อํานาจหน้าที่ ยังมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับความรับผิดชอบ (Responsibility) หรืออาจกล่าวได้ว่า อํานาจหน้าที่มีฐานะเป็นตัวกําหนดความรับผิดชอบ เช่น ผู้บริหารระดับสูงมีตําแหน่งสูงและ มีอํานาจหน้าที่มาก จึงต้องมีความรับผิดชอบมากไปด้วย เป็นต้น

20. การกําหนดลําดับขั้นในการบังคับบัญชาเพื่อจะบ่งชี้ว่าตําแหน่งใดหรือหน่วยงานใดอยู่ในลําดับอํานาจหน้าที่ขั้นใดหรือสูงกว่าหรือต่ํากว่าตําแหน่งใดหรือหน่วยงานใดบ้าง เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) Specialization
(2) Unity of Command
(3) Responsibility
(4) Hierarchy
(5) Span of Control
ตอบ 4 หน้า 139 สายการบังคับบัญชา (Chain of Command, Line of Authority หรือ Hierarchy) หมายถึง การกําหนดลําดับชั้นในการบังคับบัญชาเพื่อจะบ่งชี้ว่าตําแหน่งใดหรือหน่วยงานใด อยู่ในลําดับอํานาจหน้าที่ชั้นใดหรือสูงกว่าหรือต่ํากว่าตําแหน่งใดหรือหน่วยงานใดบ้าง

21. ปัจจัยสถานการณ์ใดที่ Fred E. Fiedtar นําไปใช้ในการพิจารณาความเหมาะสมของพฤติกรรมผู้นํา
(1) สภาพแวดล้อมขององค์การ
(2) อํานาจในตําแหน่งของผู้นํา
(3) ศักยภาพขององค์การ
(4) ความพร้อมของผู้ตาม
(5) เทคโนโลยีขององค์การ
ตอบ 2 หน้า 295 Fred E. Fiedler เห็นว่า การเป็นผู้นําที่มีประสิทธิภาพต้องมีพฤติกรรมที่สอดคล้อง กับสถานการณ์ โดยสถานการณ์ที่เอื้อต่อภาวะผู้นําเป็นผลมาจากตัวแปร 3 ด้าน คือ
1. ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นําและสมาชิก (Leader-Member Relationship)
2. โครงสร้างของงาน (Task Structure)
3. อํานาจในตําแหน่งของผู้นํา (Position Power)

22. นักวิชาการคนใดเสนอ The Managerial Grid
(1) Rensis Likert
(2) Lippitt and White
(3) T. Carlyle
(4) Blake and Mouton
(5) Maslow
ตอบ 4 หน้า 292 Robert R. Blake และ Jane S. Mouton จากมหาวิทยาลัยเท็กซัส ได้พิจารณา
การศึกษาลักษณะผู้นําจากการศึกษาของมหาวิทยาลัยโอไฮโอและมิชิแกน และนํามาพัฒนา ประยุกต์เป็นตารางการบริหารที่เรียกว่า “The Managerial Grid” หรือบางครั้งเรียกว่า“ตารางผู้นํา” และนําไปจดทะเบียนการค้าด้วย

23. หน่วยงานที่มิได้ดําเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การโดยตรง แต่เป็นหน่วยงานช่วยเหลือสนับสนุน
การปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานหลัก เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) Division of Work
(2) Staff Agency
(3) Auxiliary Agency
(4) Line Agency
(5) Departmentation
ตอบ 2 หน้า 197 – 201, (คําบรรยาย) ประเภทของหน่วยงานซึ่งแบ่งตามลักษณะของการปฏิบัติงาน ภายในองค์การ มี 3 ประเภท คือ

1. หน่วยงานหลัก (Line Agency) หมายถึง หน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่ตรงกับวัตถุประสงค์หลัก ขององค์การ หรือเป็นหน่วยงานที่ปฏิบัติงานหลักขององค์การ เช่น กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศของกระทรวงกลาโหม คณะต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย หน่วยโยธาและ หน่วยสาธารณสุขของเทศบาล เป็นต้น

2. หน่วยงานที่ปรึกษาหรือหน่วยงานสนับสนุน (Staff Agency) หมายถึง หน่วยงานที่มิได้ ดําเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การโดยตรง แต่เป็นหน่วยงานช่วยเหลือสนับสนุน การปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานหลัก เช่น กองวิชาการ หน่วยนโยบายและแผน หน่วยการเงิน/ งบประมาณ หน่วยการเจ้าหน้าที่ หน่วยโฆษณาและประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

3. หน่วยงานอนุกร (Auxiliary Agency) หรือหน่วยงานแม่บ้าน (House-Keeping Agency) หมายถึง หน่วยงานที่ช่วยบริการหน่วยงานหลักและหน่วยงานที่ปรึกษาในกิจรรมลักษณะ ของแม่บ้าน เช่น หน่วยพัสดุ หน่วยอาคารสถานที่ หน่วยสารบรรณ หน่วยสวัสดิการ หน่วยงานด้านความสะอาดหรืองานเทศกิจ เป็นต้น

24. ข้อใดไม่ใช่กลไกที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมองค์การ
(1) Cybernetics
(2) กลไกการควบคุมโดยอัตโนมัติ
(3) State of Mind
(4) กลไกการตอบสนอง
(5) Homeostasis
ตอบ 3 หน้า 259 กลไกที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมองค์การ มีดังนี้
1. กลไกการควบคุมโดยอัตโนมัติ (Homeostasis)
2. กลไกการควบคุมโดยพิจารณาจากทิศทางและความพอเพียงของข้อมูลข่าวสาร (Cybernetics)
3. กลไกการตอบสนองต่อข้อมูลข่าวสาร (Feedback)

25. ทฤษฎีภาวะผู้นํากลุ่มทฤษฎีใดที่เชื่อว่า Born-Leader
(1) ผู้นําเชิงปฏิรูป
(2) ผู้นําตามสถานการณ์
(3) พฤติกรรมผู้นํา
(4) คุณลักษณะผู้นํา
(5) ผู้นําการเปลี่ยนแปลง
ตอบ 4 หน้า 287 T. Carlyle เป็นนักทฤษฎีภาวะผู้นํา “กลุ่มทฤษฎีคุณลักษณะผู้นํา” (Traits of Leaders) ได้สร้างทฤษฎี Great Man Theory ขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 18 โดยมีความเชื่อว่า ผู้นําที่ประสบความสําเร็จยิ่งใหญ่ เป็นเพราะมีลักษณะและคุณสมบัติที่ผสมผสานกันกับคุณสมบัติ ส่วนตัว ซึ่งทําให้เขาเหมาะสมเป็นผู้นํา หรือเรียกว่า Born-Leader คือเกิดมาเป็นผู้นํา

26. ถ้าเชื่อในธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี Y จะต้องใช้การบริหารแบบใด
(1) Management by Book
(2) Management by Objectives
(3) Management by Leadership
(4) Management by Rules
(5) Management by Procedure
ตอบ 2 หน้า 78, (คําบรรยาย) ถ้าเชื่อในธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี Y (มองคนในแง่ดี) จะต้องใช้รูปแบบการบริหารดังนี้
1. การบริหารแบบประชาธิปไตย
2. การบริหารแบบเน้นการมีส่วนร่วม (Participative Management)
3. การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (Management by Objectives) หรือการบริหาร ที่เหมาะกับวัตถุประสงค์หนึ่ง ๆ (Adhocracy)
4. การทํางานเป็นทีม (Teamwork)
5. การบริหารแบบโครงการ (Project Management)
6. การบริหารแบบ Organic Organization
7. การกระจายอํานาจ (Decentralization)
8. การใช้ความรู้มากกว่าอํานาจหน้าที่ (Knowledge than Authority) ฯลฯ

27. การศึกษาภาวะผู้นําที่มหาวิทยาลัยไอโอวา ซึ่งควบคุมโดย Kert Lewin ในปี ค.ศ. 1940 จัดอยู่ใน
กลุ่มทฤษฎีภาวะผู้นํากลุ่มใด
(1) กลุ่มทฤษฎีคุณลักษณะผู้นํา
(2) กลุ่มทฤษฎีทางด้านสถานการณ์
(3) กลุ่มทฤษฎีพฤติกรรมของผู้นํา
(4) กลุ่มทฤษฎีภาวะผู้นําแบบแลกเปลี่ยน
(5) กลุ่มทฤษฎีภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลง
ตอบ 3 หน้า 287, 289 การศึกษาค้นคว้าเรื่องภาวะผู้นําที่มหาวิทยาลัยไอโอวา (University of Iowa Studies) โดย Ronald Lippitt และ Ralph White ที่ใช้วิธีการแบบ Experimental Approach และควบคุมโดย Kert Lewin ในปี ค.ศ. 1940 เป็นการศึกษาของกลุ่มทฤษฎีพฤติกรรมของผู้นํา (Leadership Behavior) ซึ่งผลจากการศึกษาได้ค้นพบความแตกต่างของผู้นํา 3 แบบ คือ
1. แบบเผด็จการ (Autocratic Leadership)
2. แบบประชาธิปไตย (Democratic Leadership)
3. แบบปล่อยเสรี (Laisse -Faire Leadership)

28. วิชาที่เน้นการทดลองประยุกต์ เพื่อคาดทํานายพฤติกรรมอันเนื่องมาจากการทํางานในองค์การ ได้แก่
(1) Scientific Management
(2) Management Science
(3) Operation Research
(4) Action Theory
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 83 – 84 การบริหารเชิงปริมาณ (Quantitative Science) แบ่งออกเป็น 2 สาขา คือ
1. วิทยาการบริหาร (Management Science : MS) เป็นวิชาที่มุ่งค้นคว้าและเผยแพร่ วิชาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อนําไปใช้ในการบริหารงาน
2. การวิจัยดําเนินงาน (Operation Research : OR) เป็นวิชาที่เน้นการทดลองและประยุกต์เพื่อให้เราสามารถสังเกต เข้าใจ และคาดทํานายพฤติกรรมอันเนื่องมาจากการทํางานในองค์การ

29. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะสําคัญของภาวะผู้นําที่เสนอโดย Keith Davis
(1) Human Relation Attitudes
(2) Social Maturity
(3) Achievement Drives
(4) Intelligence
(5) Honestly
ตอบ 5 หน้า 289. Keith Davis เสนอว่า ลักษณะสําคัญของภาวะผู้นํามี 4 ประการ คือ
1. Intelligence คือ ฉลาด
2. Social Maturity คือ วุฒิภาวะด้านสังคม เช่น มั่นคงในอารมณ์
3. Inner Motivation and Achievement Drives คือ แรงจูงใจไปสู่ความสําเร็จ
4. Human Relation Attitudes คือ มีทัศนคติและคุณสมบัติด้านมนุษยสัมพันธ์

30. เทคโนโลยีขององค์การ หมายถึง
(1) วัตถุประสงค์ขององค์การ
(2) กฎระเบียบและข้อบังคับ
(3) วิธีการทํางาน
(4) ตําแหน่งและอํานาจหน้าที่
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 16. ประกอบ

31. ข้อใดเป็นตัวอย่างของการควบคุมองค์การแบบ Direct Control
(1) การควบคุมล่วงหน้า
(2) การสั่งการจากผู้บังคับบัญชาไปยังผู้ใต้บังคับบัญชา
(3) การจัดทําระบบงบประมาณ
(4) การควบคุมสภาพในการปฏิบัติงานจริง
(5) การตระหนักรู้ของผู้ใต้บังคับบัญชาในการทํางาน
ตอบ 2 หน้า 266 – 267 วิธีการควบคุมองค์การซึ่งแบ่งตามความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชากับ ผู้ใต้บังคับบัญชา มี 2 วิธี คือ
1. การควบคุมโดยตรง (Direct Control) คือ การควบคุมที่มีการสั่งการจากผู้บังคับบัญชา ไปยังผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้ปฏิบัติงานโดยตรง
2. การควบคุมโดยทางอ้อม (Indirect Control) คือ ผู้บังคับบัญชามิได้สั่งการผู้ใต้บังคับบัญชา หรือผู้ปฏิบัติงานโดยตรง

32.Barton และ Chappell เรียกสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจว่าเป็น
(1) Political Environment
(2) Primary Environment
(3) Inner Environment
(4) Global Environment
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 14 – 17 Barton และ Chappell ได้แบ่งสภาพแวดล้อมขององค์การสาธารณะออกเป็น 2 ระดับ คือ
1. สภาพแวดล้อมภายนอก (Outer/Secondary/External Environment) ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี
2. สภาพแวดล้อมทางการเมือง (Political/Primary/Inner Environment) ได้แก่ สาธารณชนโดยทั่วไป ผู้รับบริการและกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ สื่อมวลชน ฝ่ายนิติบัญญัติ ผู้บริหารระดับสูง และกระบวนการยุติธรรม

33. Complexity เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) การที่องค์การได้กําหนดกฎเกณฑ์เพื่อวางระเบียบแบบแผนต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานเพื่อให้เป็นมาตรฐาน อันเป็นพื้นฐานที่นําไปสู่เป้าหมายของแต่ละองค์การ
(2) ความพยายามในการจัดโครงสร้างและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การ เพื่อให้มีความเหมาะสมและ เอื้ออํานวยต่อการปฏิบัติงานต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ
(3) ลักษณะที่องค์การแต่ละองค์การแบ่งแยกงานซึ่งมีจํานวนมากออกเป็นกลุ่ม ๆ หลายกลุ่มงาน มีการแบ่งแยกตามความถนัดหรือความเชี่ยวชาญ รวมทั้งแบ่งเป็นระดับต่าง ๆ จากสูงลงมาสู่ต่ํา รวมทั้งแบ่งไปยังพื้นที่อื่นแต่ละสาขา
(4) การตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ อยู่ที่ผู้บริหารระดับสูงเป็นส่วนใหญ่
(5) Power to Command
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 7. ประกอบ

34. “เป็นทฤษฎีองค์การที่ให้ความสําคัญต่ออิทธิพลของสภาพแวดล้อม และพิจารณารูปแบบที่เหมาะสม ขององค์การภายใต้สภาพแวดล้อมหนึ่ง ๆ ๆ * เรียกว่าเป็นการศึกษาตามแนวใด
(1) Action Theory
(2) Administrative Theorists
(3) Human Relation Theory
(4) Management Science
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 110 – 111, (คําบรรยาย) การศึกษาองค์การและการบริหารตามสถานการณ์ (Contingency Theory หรือ Situational Approach) เป็นการศึกษาที่ปฏิเสธหลัก One Best Way โดยแนวคิดนี้มีแนวคิดพื้นฐานมาจากแนวคิดเชิงระบบ ซึ่งจะให้ความสําคัญต่อ อิทธิพลของสภาพแวดล้อม (เช่น ระบบเทคโนโลยี) และพิจารณารูปแบบที่เหมาะสมของ องค์การภายใต้เงื่อนไขของสภาพแวดล้อมหนึ่ง ๆ นักวิชาการในกลุ่มนี้จะมองการบริหารว่า เป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน สามารถเปลี่ยนแปลงตามเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ ตัวแปรที่สนใจศึกษาจะ แตกต่างกันไปตามแนวคิดของนักทฤษฎีแต่ละคน นอกจากนี้ยังมีความเชื่อว่า ไม่มีรูปแบบ ที่เหมาะสมสําหรับองค์การทุก ๆ ประเภท วิธีการจัดสรรทรัพยากรที่แตกต่างกันจะทําให้ การจัดรูปโครงสร้างมีความแตกต่างกันด้วย

35. ผู้เสนอ “POSDCORB” ได้แก่
(1) Fayol
(2) Taylor
(3) Urwick
(4) Weber
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 29, 55 – 56, 60 – 62 Luther Gulick ได้เขียนบทความ “Note on the Theory of Organization” โดยเขาได้เสนอหน้าที่หรือภารกิจหลักในการบริหารงาน (Administrative Functions) ของนักบริหารไว้ 7 ขั้นตอน ซึ่งเรียกว่า POSDCORB Model ประกอบด้วย
1. P = Planning (การวางแผน)
2. O = Organizing (การจัดรูปงาน)
3. S = Staffing (การบรรจุบุคคลเข้าทํางาน)
4. D = Directing (การสั่งการ)
5. Co = Coordinating (การประสานงาน)
6. R = Reporting (การจัดทํารายงาน)
7. B = Budgeting (การจัดทํางบประมาณ)

36. “….พยายามที่จะจํากัดขอบเขตของการศึกษาเพื่อให้อยู่ในขอบเขตที่จะสามารถใช้หลักเหตุผลและระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือ……” ที่กล่าวมาเป็นวิธีการของนักทฤษฎีองค์การกลุ่มใด
(1) A System Approach
(2) Contingency Theory
(3) Quantitative Science
(4) Action Theory
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 26 – 27, 33 – 34, 83 – 85 วิธีการดังกล่าวเป็นวิธีการของนักทฤษฎีที่ศึกษา องค์การและการจัดการตามแนวของ “ระบบปิด” ซึ่งประกอบด้วย

1. นักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิก (Classical Organization Theory หรือ Classical Theory of Organization) ได้แก่ นักทฤษฎีกลุ่มการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management), นักทฤษฎีระบบราชการ (Bureaucratic Model) และนักทฤษฎีการบริหาร (Administrative Theorists)

2. นักทฤษฎีที่ศึกษาองค์การและการบริหารในเชิงปริมาณ (Quantitative Science) ได้แก่ นักทฤษฎีกลุ่มวิทยาการบริหาร (Management Science) และนักทฤษฎี กลุ่มการวิจัยดําเนินงาน (Operation Research)

37. ใครพิจารณาว่าการเป็นผู้นําที่มีประสิทธิภาพต้องมีพฤติกรรมที่สอดคล้องกับสถานการณ์
(1) Herzberg
(2) Frederick W. Taylor
(3) Maslow
(4) Fred Fiedler
(5) Mintzberg
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ

38. Formal Position เกี่ยวข้องกับทฤษฎีใด
(1) Formal Authority Theory
(2) Acceptance Theory
(3) Competence Theory
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1หน้า 147 กลุ่มทฤษฎีว่าด้วย “อํานาจอย่างเป็นทางการ” (Formal Authority Theory) มีความเชื่อว่า การที่ผู้บังคับบัญชาจะสั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตามคําสั่งของตนได้เป็นเพราะ ผู้บังคับบัญชามีอํานาจหน้าที่อย่างเป็นทางการ (Formal Authority หรือ Legal Authority) หรือเรียกว่า อํานาจที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้องในลักษณะสถาบัน (Institutionalized Authority) ซึ่งเป็นอํานาจที่ผู้บังคับบัญชาได้รับมาควบคู่กับตําแหน่งหน้าที่การงานที่เป็นทางการ (Format Position) แต่อํานาจหน้าทีนี้ก็ยังมิใช่อํานาจที่จะใช้บังคับได้โดยเด็ดขาดอย่างไม่มีข้อแม้ใด ๆ เพราะการใช้อํานาจยังขึ้นอยู่กับลักษณะของความถูกต้องของความเป็นมาของอํานาจนั้น ๆ ด้วย ทั้งนี้อํานาจหน้าที่อย่างเป็นทางการสามารถนําไปใช้ได้ในองค์การบริหารทุกประเภท เพราะเป็นหลักเกณฑ์ทางการบริหารโดยทั่ว ๆ ไป

39. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับการจัดสายการบังคับบัญชาที่ดี
(1) ระดับชั้นไม่ควรมากหรือน้อยเกินไป
(2) แต่ละสายต้องชัดเจน
(3) การดําเนินการต่าง ๆ ต้องให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก
ตอบ 3 หน้า 143 หลักเกณฑ์ในการจัดสายการบังคับบัญชาที่ดี มีดังนี้
1. จํานวนระดับชั้นของสายการบังคับบัญชาควรจัดให้มีพอสมควรไม่มากหรือน้อยจนเกินไป
2. สายการบังคับบัญชาแต่ละสายควรจะต้องชัดเจนว่าใครเป็นผู้ที่มีอํานาจในการสั่งงาน ผ่านไปยังผู้ใด และใครเป็นผู้รับผิดชอบ
3. สายการบังคับบัญชาแต่ละสายจะต้องไม่สับสนก้าวก่ายหรือซ้อนกัน

40.ตามทัศนะของ Max Weber “การกําหนดคนให้เหมาะกับงาน” ให้พิจารณาที่
(1) ความรู้ในงาน
(2) แรงจูงใจ
(3) บุคลิกภาพ
(4) ความต้องการ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 (คําบรรยาย) นักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิก เช่น Max Weber, Henri Fayol ได้เสนอ หลักการบริหารองค์การในการคัดเลือกคนเข้าสู่ตําแหน่งต่าง ๆ หรือการกําหนดคนให้เหมาะสม กับงานตามหลัก “Put the Right Man on the Right Job” ในระบบคุณธรรม (Merit System) โดยให้พิจารณาที่คุณวุฒิหรือความรู้ความสามารถของบุคคลเป็นหลัก

41. ตามทัศนะของนักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิก “การกําหนดคนให้เหมาะกับงาน” ต้องให้ความสําคัญที่
(1) ความรู้ในงาน
(2) แรงจูงใจ
(3) บุคลิกภาพ
(4) ความต้องการ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 40. ประกอบ

42. ข้อใดเป็นแบบพฤติกรรมผู้นําที่แบ่งโดยมหาวิทยาลัยโอไฮโอ
(1) Laissez-Faire Leadership
(2) Autocratic Leadership
(3) Democratic Leadership
(4) Initiating Structure
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 289 — 290 การศึกษาค้นคว้าที่มหาวิทยาลัยโอไฮโอ (Ohio State Studies) ได้แบ่ง พฤติกรรมของผู้นําออกเป็น 2 มิติ คือ

1. การมุ่งคน เป็นพฤติกรรมของผู้นําที่มุ่งสร้างความไว้วางใจร่วมกัน การติดต่อสื่อสารแบบ สองทาง เคารพต่อความคิดเห็นของผู้อื่น ให้ความสําคัญกับความรู้สึกผู้อื่น

2. การมุ่งงาน เป็นพฤติกรรมของผู้นําที่มุ่งทํางานในความรับผิดชอบให้ลุล่วงไป มีการส่งงาน วางแผน กําหนดมาตรฐานในการปฏิบัติงานอย่างเป็นทางการ สนใจเรื่องรูปแบบในการ ทํางาน วิธีการทํางาน ตารางการทํางานเท่านั้น

43.ความสามารถของผู้ควบคุมงาน” จัดอยู่ในระบบย่อยใดของระบบขององค์การ
(1) Psychosocial
(2) Managerial
(3) Technical
(4) Goals and Values
(5) Structural
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 16. ประกอบ

44. การที่องค์การได้กําหนดกฎเกณฑ์เพื่อวางระเบียบแบบแผนต่าง ๆ ในการปฏิบัติงาน เพื่อให้เป็นมาตรฐาน อันเป็นพื้นฐานที่นําไปสู่เป้าหมายของแต่ละองค์การ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) Authority
(2) Formalization
(3) Complexity
(4) Centralization
(5) Organization Design
ตอบ 2 หน้า 122 ความเป็นทางการขององค์การ (Formalization) คือ การที่องค์การได้กําหนด กฎเกณฑ์เพื่อวางระเบียบแบบแผนต่าง ๆ ในการปฏิบัติงาน เพื่อให้เป็นมาตรฐานอันเป็น พื้นฐานที่นําไปสู่เป้าหมายของแต่ละองค์การ

45.Chester I. Barnard เกี่ยวข้องกับทฤษฎีใดมากที่สุด
(1) Formal Authority
(2) Acceptance Theory
(3) Competence Theory
(4) Formal Position
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 148 ทฤษฎีว่าด้วยการยอมรับ (Acceptance Theory) อธิบายว่า อํานาจหน้าที่ที่แท้จริง มาจากการยอมรับจากผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งจะเกิดขึ้นได้จากการที่ผู้บังคับบัญชาสามารถชักจูง แนะนําให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีพฤติกรรมที่ผู้บังคับบัญชาต้องการ โดยนักทฤษฎีที่กล่าวถึงอํานาจ หน้าที่ในลักษณะนี้ ได้แก่ (Chester I. Barnard และ Herbert A. Simon

46.การพยายามลดการใช้ทรัพยากรการบริหารให้น้อย เป็นหลักในเรื่องใด
(1) Ethic
(2) Ecology
(3) Effectiveness
(4) Efficiency
(5) Equity
ตอบ 4หน้า 22 – 23, (คําบรรยาย) ประสิทธิภาพ (Efficiency) ของการบริหารในช่วงเวลาใด ๆ จะมีค่าเท่ากับการเปรียบเทียบผลผลิตหรือผลงานที่ได้จากการบริหารกับทรัพยากร (เช่น งบประมาณ ระยะเวลา) หรือความพยายามที่ใช้ในการบริหาร ส่วนประสิทธิผล (Effectiveness) ของการบริหารในช่วงเวลาใด ๆ จะมีค่าเท่ากับการเปรียบเทียบผลผลิตหรือผลงานที่ได้จาก การบริหารกับมาตรฐาน เป้าหมายหรือจุดประสงค์ที่กําหนด หรือกับแผนงานหรือประมาณการ ที่ได้วางเอาไว้ ดังนั้นหากองค์การใดสามารถลดการใช้ทรัพยากรการบริหารให้น้อยลงได้ก็แสดงว่า องค์การนั้นมีประสิทธิภาพ แต่ถ้าหากองค์การใดสามารถดําเนินงานให้บรรลุจุดประสงค์ที่กําหนดไว้ได้ก็แสดงว่าองค์การนั้นมีประสิทธิผล

47. นักจิตวิทยาอธิบายพฤติกรรมการตัดสินใจโดยพิจารณาจากระบบของความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งใด
(1) Learning and Response
(2) Perception and Learning
(3) Response and Learning
(4) Stimulus and Response
(5) Stimulus and Learning
ตอบ 4 หน้า 232 นักจิตวิทยาได้อธิบายพฤติกรรมของการตัดสินใจโดยพิจารณาจากระบบของ ความสัมพันธ์ระหว่างการกระตุ้นและการตอบสนอง (Stimulus and Response) ไว้ว่า พฤติกรรมในการตัดสินใจเป็นผลมาจากการเรียนรู้ในเงื่อนไขใหม่ ๆ และความต้องการที่จะ ตอบสนองต่อเงื่อนไขใหม่ ๆ นั้นตามประสบการณ์ของแต่ละบุคคล เราอาจเรียกลักษณะ การกระตุ้นและการตอบสนองได้ว่าเป็นลักษณะของ Reflex Arc หรือการสะท้อนกลับ

48. ข้อใดเป็นปัจจัยที่กําหนดขนาดของการกระจายอํานาจ
(1) ความสําคัญของเรื่องที่ตัดสินใจ
(2) ขนาดขององค์การ
(3) ความเป็นเอกภาพในการบริหาร
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4หน้า 170 — 174, (คําบรรยาย) ปัจจัยที่มีผลต่อการกําหนดขนาดของการกระจายอํานาจ และการรวมอํานาจในองค์การ มีดังนี้
1. ความสําคัญของเรื่องที่ตัดสินใจ
2. ความต้องการเป็นแบบเดียวกันทางด้านนโยบาย
3. ขนาดขององค์การ
4. ประวัติความเป็นมาของกิจการ
5. ปรัชญาของการบริหาร
6. ความต้องการความเป็นอิสระในการดําเนินงาน
7. จํานวนของผู้บริหารที่มีอยู่ในองค์การ
8. เทคนิคในการควบคุม
9. การกระจายของการปฏิบัติงานที่มีการแบ่งแยกงานไปตามสถานการณ์ที่ต่างออกไป
10. การเปลี่ยนแปลงขององค์การ
11. อิทธิพลของสภาพแวดล้อมองค์การ

49. ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่กําหนดขนาดของการกระจายอํานาจ
(1) ความสําคัญของเรื่องที่ตัดสินใจ
(2) ขนาดขององค์การ
(3) ความเป็นเอกภาพในการบริหาร
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 48. ประกอบ

50. อํานาจหน้าที่ไม่ได้มาจากตําแหน่งเป็นทางการแต่สามารถทําให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเชื่อฟังยอมรับนับถือ จนเป็นเสมือนหนึ่งได้อํานาจมาโดยปริยาย เกี่ยวข้องกับทฤษฎีใด
(1) Formal Authority
(2) Acceptance Theory
(3) Competence Theory
(4) Formal Position
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 149 กลุ่มทฤษฎีว่าด้วย “ความสามารถ” (Competence Theory) มีความเชื่อว่า อํานาจหน้าที่นั้นจะเกิดขึ้นได้โดยความสามารถพิเศษของผู้บังคับบัญชาในด้านความรู้และ ความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ ที่จะทําให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเชื่อฟังยอมรับนับถือได้ ดังนั้น อํานาจหน้าที่นี้จึงเป็นอํานาจหน้าที่ที่ได้มาจากความสามารถพิเศษของผู้บังคับบัญชา ไม่ได้มาจากตําแหน่งเป็นทางการแต่สามารถทําให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเชื่อฟังยอมรับนับถือจนเป็นเสมือนหนึ่งได้อํานาจมาโดยปริยาย

51. แนวคิดใดที่เชื่อว่า “การควบคุมองค์การเป็นเป้าหมาย ไม่ใช่วิธีการที่นําไปสู่เป้าหมาย”
(1) Scientific Management
(2) Contingency Theory
(3) Industrial Humanism
(4) Action Theory
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 112 – 113. Jeffrey Pfeffer เป็นนักทฤษฎีที่ศึกษาองค์การตามแนวทางของ The Action Theory หรือ The Action Approach เสนอว่า “องค์การเป็นที่ซึ่งประกอบด้วยผู้มีอํานาจ ที่ต่างเข้ามาทํางานร่วมกัน อาจมีความขัดแย้งในเป้าหมายขององค์การ การจัดรูปขององค์การ จะถูกออกแบบให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้มีอํานาจเหล่านี้” และ “การควบคุมองค์การ เป็นเป้าหมาย ไม่ใช่เป็นวิธีการที่จะนําไปสู่เป้าหมาย การจะเข้าใจองค์การต้องศึกษาความต้องการ และความสนใจของผู้มีอํานาจในการตัดสินใจขององค์การในขณะนั้น ๆ โดยให้ความสําคัญไปที่บรรยากาศทางการเมืองในองค์การ

52. อํานาจหน้าที่ที่แท้จริงมาจากการยอมรับจากผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งจะเกิดขึ้นได้จากการที่ผู้บังคับบัญชา สามารถชักจูง แนะนําให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีพฤติกรรมที่ผู้บังคับบัญชาต้องการ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) Formal Authority
(2) Acceptance Theory
(3) Competence Theory
(4) Formal Position
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 45. ประกอบ

53. ข้อใดเข้าคู่กันไม่ถูกต้อง
(1) กิลเบิร์ต – จิตวิทยาในองค์การ
(2) เทย์เลอร์ – สิ่งจูงใจจากปัจจัยภายนอก
(3) กูลิค – หน้าที่ของผู้บริหาร
(4) ฟาโย – องค์การที่เป็นทางการ
(5) มัสโล – ทฤษฎีความต้องการ
ตอบ 1 หน้า 42, (คําบรรยาย) Frank และ Lillian Gilbreths เป็นนักทฤษฎีองค์การที่ไม่ได้ ให้ความสําคัญกับจิตวิทยาในองค์การเช่นเดียวกับนักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิกคนอื่น ๆ โดยผลงานที่สําคัญของ Gilbreths คือ การศึกษาเรื่องการวิเคราะห์หามาตรฐานของงาน โดยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเวลาและการเคลื่อนไหวในการปฏิบัติงาน (Time and Motion Study) เพื่อนําไปใช้ในการจัดกระบวนการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

54. ผู้บริหารระดับใดต้องใช้ทักษะด้านเทคนิคมากที่สุด
(1) ผู้บริหารระดับต้น
(2) ผู้บริหารระดับอธิบดี
(3) ผู้บริหารระดับสูง
(4) ผู้บริหารระดับกลาง
(5) ผู้บริหารระดับผู้จัดการฝ่าย
ตอบ 1 หน้า 284 – 285 ทักษะของผู้บริหารมี 3 ประการ คือ ทักษะทางด้านความคิด ทักษะในการ ทํางานร่วมกับมนุษย์ และทักษะทางด้านเทคนิค โดยผู้บริหารแต่ละระดับจะต้องมีทักษะหรือใช้ทักษะดังกล่าวแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของหน้าที่และบทบาทของผู้บริหารแต่ละคน เช่น ผู้บริหารระดับสูงจะต้องใช้ทักษะทางด้านความคิดมากที่สุด ผู้บริหารระดับต้นจะต้องใช้ ทักษะด้านเทคนิคมากที่สุด เป็นต้น

55. ทฤษฎีแรงจูงใจของนักวิชาการท่านใดจัดอยู่ในกลุ่ม Process Theory
(1) Clayton Alderfer
(2) Douglas McGregor
(3) Abraham Maslow
(4) Stacy Adams
(5) Frederick Herzberg
ตอบ 4 หน้า 272, (คําบรรยาย) ทฤษฎีหลักการจูงใจ (Theory of Motivation) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

1. กลุ่มทฤษฎีของกระบวนการ (Process Theory) จะพยายามอธิบายว่าพฤติกรรมของ มนุษย์จะถูกกระตุ้นได้อย่างไร จะถูกชี้นําไปยังทิศทางใด และจะทําให้หยุดลงได้อย่างไร ซึ่งนักวิชาการในกลุ่มนี้ ได้แก่ Victor H. Vroom, Stacy Adams เป็นต้น

2. กลุ่มทฤษฎีว่าด้วยเนื้อหา (Content Theory) จะเน้นถึงความต้องการภายใน โดยจะศึกษาว่า “อะไร” เป็นตัวทําให้พฤติกรรมของมนุษย์เกิดขึ้นในลักษณะนั้นๆ ซึ่งนักวิชาการในกลุ่มนี้ ได้แก่ Abraham Maslow, Clayton Alderfer, Frederick Herzberg, Douglas McGregor luйu

56. หน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่ตรงกับวัตถุประสงค์หลักขององค์การ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) Division of Work
(2) Staff Agency
(3) Auxiliary Agency
(4) Line Agency
(5) Departmentation
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 23. ประกอบ

57. การตัดสินใจในระดับใดที่มักไม่สามารถจัดทําไว้ล่วงหน้าได้
(1) ระดับของผู้บริหารระดับกลาง
(2) ระดับของฝ่ายสนับสนุน
(3) ระดับของการกําหนดกลยุทธ์
(4) ระดับของการปฏิบัติการ
(5) ระดับของการปฏิบัติการและระดับของฝ่ายสนับสนุน
ตอบ 3 หน้า 229, 236 การตัดสินใจในระดับการกําหนดนโยบายและเป้าหมายขององค์การ หรือระดับ ของการกําหนดกลยุทธ์ (Strategic Level) จะมีลักษณะที่เกี่ยวข้องกับการกําหนดลักษณะของ ขอบเขตขององค์การกับสภาพแวดล้อมว่าจะยอมให้มีความสัมพันธ์กันในระดับใด มีการรับเอา อิทธิพลและทรัพยากรจากสภาพแวดล้อมเข้ามาในองค์การมากน้อยเพียงใด จะเลือกรับเอาสิ่งใด และต้องการให้องค์การตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมในลักษณะใด การตัดสินใจระดับนี้มักเป็น การตัดสินใจในระยะยาวและมีลักษณะที่ไม่แน่นอน จําเป็นต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ มีเหตุผล และต้องมีความรับผิดชอบต่อการกระทําอย่างมาก ดังนั้นการตัดสินใจจึงไม่สามารถ จัดทําไว้ล่วงหน้าได้ (Non-Programmable)

58. Secondary Environment หรือ External Environment ที่ Barton และ Chappell แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ประกอบด้วย สังคม……หายไปคือ
(1) เทคโนโลยีและการศึกษา
(2) เศรษฐกิจและการเมือง
(3) การเมืองและเทคโนโลยี
(4) สื่อมวลชนและเทคโนโลยี
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 32. ประกอบ

59. แผนปรับปรุงระบบค่าตอบแทนถือเป็นแผนลักษณะใด
(1) Master Plan
(2) Strategic Plan
(3) Program Structure
(4) Standing Plan
(5) Single-Use Plan
ตอบ 5 หน้า 220 Single-Use Plan เป็นแผนที่เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะขององค์การ เมื่อบรรลุ เป้าหมายก็เลิกใช้ เช่น แผนการรื้อปรับระบบขององค์การ แผนปรับปรุงสํานักงาน แผนปรับปรุง ระบบค่าตอบแทนเป็นต้น

60. สิ่งใดหมายถึงกิจที่องค์การจะต้องกระทํา
(1) Organization
(2) Goals
(3) Vision
(4) Mission
(5) Program Structure
ตอบ 4 หน้า 220 วิสัยทัศน์ (Vision) หมายถึง สิ่งที่องค์การต้องการจะเป็น เป็นการให้ภาพของ องค์การในอนาคต ส่วนพันธกิจ (Mission) หมายถึง กิจที่องค์การจะต้องกระทํา

61. นักทฤษฎีการรับรู้ (Cognitive Theorists) อธิบายถึง Image ว่ามีความสัมพันธ์อย่างไรระหว่าง“การกระตุ้น” กับ “การตอบสนอง
(1) เป็นภาพอนาคต
(2) เป็นสิ่งท้าทาย
(3) เป็นจุดหมายปลายทาง
(4) เป็นจุดเริ่มต้น
(5) เป็นตัวกลาง
ตอบ 5 หน้า 233 นักทฤษฎีการรับรู้ (Cognitive Theorists) อธิบายว่า Image หรือมโนภาพหรือ จินตนาการ ซึ่งเกิดจากผลรวมของประสบการณ์ที่ผ่านมา เป็นตัวกลางระหว่าง “การกระตุ้น”กับ “การตอบสนอง” และตัวกลางดังกล่าวนี้ก็เป็นเรื่องที่ซับซ้อนกว่าการสะท้อนกลับตามลักษณะ Reflex Arc

62. ตัวอย่างของระบบข้อมูล “งานหลัก” ในองค์การต่าง ๆ ได้แก่
(1) ข้อมูลบุคลากร
(2) ข้อมูลทรัพย์สิน
(3) ข้อมูลการให้บริการ
(4) ข้อมูลบุคลากร และข้อมูลทรัพย์สิน
(5) ข้อมูลทรัพย์สิน และข้อมูลการให้บริการ
ตอบ 5(คําบรรยาย) ระบบข้อมูลงานหลัก เป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับวัตถุประสงค์หรือ ภารกิจหลักขององค์การ เช่น ข้อมูลทรัพย์สิน ข้อมูลการให้บริการ ข้อมูลของลูกค้า ข้อมูลของผลการดําเนินงาน เป็นต้น

63. “ความต้องการที่สามารถบรรลุได้ด้วยเวลาอันสั้น และความต้องการในแต่ละด้านต้องเป็นอิสระต่อกัน ไม่มีความสัมพันธ์โดยตรงซึ่งกันและกัน” ที่กล่าวมาเป็นลักษณะความต้องการแบบใดของ Maslow
(1) Social Needs
(2) Ego Needs
(3) Safety Needs
(4) Physiological Needs
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4หน้า 75 ความต้องการทางกายภาพ (Physiological Needs) ตามแนวคิดของ Abraham Maslow เป็นความต้องการขั้นต่ําสุดของมนุษย์ ซึ่งเป็นความต้องการพื้นฐานในการดําเนินชีวิต ของมนุษย์ที่สามารถบรรลุได้ด้วยเวลาอันสั้น และความต้องการในแต่ละด้านต้องเป็นอิสระ ต่อกัน ไม่มีความสัมพันธ์โดยตรงซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ยังถือเป็นความต้องการที่ขาดไม่ได้ ตราบใดที่มนุษย์ยังมีชีวิตอยู่ เช่น ความต้องการที่จะได้รับอาหาร การพักผ่อน อากาศ การออกกําลังกาย เป็นต้น

64. “ความผูกพันกับเพื่อนร่วมงาน” จัดอยู่ในระบบย่อยใดของระบบขององค์การ
(1) Technical
(2) Goals and Values
(3) Psychosocial
(4) Structural
(5) Managerial
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 16. ประกอบ

65. “Activity, Interaction และ Sentimient” ทั้งสามประการข้างต้นเป็นหลักที่ Homans เสนอให้ใช้ในการพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องใด
(1) พฤติกรรมขององค์การที่มีผลต่อประสิทธิภาพ
(2) การควบคุมองค์การ
(3) การวางแผนองค์การ
(4) พฤติกรรมของปัจเจกบุคคลในกลุ่มสังคม
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 79 – 80 Homans เสนอว่า การศึกษาพฤติกรรมของปัจเจกบุคคลในกลุ่มสังคม (Social Groups) จะต้องพิจารณาคุณลักษณะของปัจเจกบุคคลในการดําเนินชีวิต 3 ประการด้วยกัน คือ
1. การกระทําของเขาในสังคม (Activity)
2. ความสัมพันธ์อันเกิดจากการกระทําของเขา (Interaction)
3. ความคิดเห็นส่วนตัวหรือสภาพทางอารมณ์และจิตใจของตัวเอง (Sentiment)

66.Herbert Simon เห็นว่า “การตัดสินใจมีความหมายเช่นเดียวกันกับ…”
(1) การวินิจฉัยสั่งการ
(2) จินตนาการ
(3) จิตสํานึก
(4) ความสําเร็จ
(5) การบริหาร
ตอบ 5 หน้า 231 Herbert Simon กล่าวว่า “การตัดสินใจมีความหมายเช่นเดียวกันกับการบริหาร ถ้าพฤติกรรมทั้งหลายในองค์การเป็นผลเนื่องมาจากการตัดสินใจ และถ้าการบริหารเป็นพฤติกรรมองค์การแบบหนึ่ง เราก็อาจกล่าวได้ว่าการบริหารเป็นการตัดสินใจนั่นเอง”

67. ใครที่เชื่อว่า อํานาจหน้าที่ควรกําหนดตายตัวจากบนลงมาล่าง
(1) Fayol
(2) Weber
(3) Barnard
(4) ทั้ง Fayol และ Weber
(5) ทั้ง Fayol, Weber และ Barnard
ตอบ 4 หน้า 37 – 39, 44 – 45, 57 – 60, (คําบรรยาย) นักวิชาการในกลุ่มคลาสสิก เช่น Frederick W. Taylor, Henri Fayol และ Max Weber มีความเชื่อที่คล้ายคลึงกันอยู่หลายประการ เช่น มีวิธีที่ดีที่สุดในการปฏิบัติงานเพียงวิธีเดียว (One Best Way) ที่จะทําให้การบริหาร เกิดประสิทธิภาพสูงสุด อํานาจหน้าที่ควรกําหนดตายตัวจากบนลงมาล่าง ประสิทธิภาพสูงสุดในการทํางานเกิดจากการแบ่งงานกันทําตามความชํานาญเฉพาะด้าน เป็นต้น

68. ข้อใดไม่ใช่ระดับของบทบาทการตัดสินใจในองค์การ
(1) ระดับชาติ
(2) ระดับการกําหนดนโยบาย
(3) ระดับการประสานงาน
(4) ระดับการปฏิบัติการ
(5) ระดับการกําหนดเป้าหมาย
ตอบ 1หน้า 229, 232 การตัดสินใจในองค์การ มี 3 ระดับ คือ
1. ระดับการปฏิบัติการ หรือการบริหารระดับต้น มักใช้การตัดสินใจแบบไร้สํานึกหรือ ไม่ต้องใช้ความคิดตรึกตรอง (Unconscious Decision)
2. ระดับการกําหนดนโยบายและเป้าหมายขององค์การ หรือการบริหารระดับสูง มักใช้ การตัดสินใจแบบใช้สํานึกหรือใช้ความคิดตรึกตรอง (Conscious Decision)
3. ระดับการประสานงาน หรือการบริหารระดับกลาง มักใช้การตัดสินใจทั้งแบบใช้สํานึก และแบบไร้สํานึกผสมผสานกัน

69. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบที่สําคัญในการควบคุมองค์การ
(1) การแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญ
(2) การกําหนดเป้าหมาย
(3) การกําหนดวิธีการวัดมาตรฐานในการดําเนินงาน
(4) การเปรียบเทียบผลงานกับมาตรฐานที่ตั้งไว้
(5) การปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ตั้งไว้
ตอบ 1 หน้า 262 การควบคุมองค์การจะต้องมีองค์ประกอบในการควบคุมที่สําคัญ 4 ขั้นตอน คือ
1. การกําหนดเป้าหมาย รายละเอียด และมาตรฐานของการดําเนินงาน
2. การกําหนดวิธีการวัดมาตรฐานในการดําเนินงาน รวมทั้งวิธีการที่จะวัดความสําเร็จของงาน
3. การพิจารณาเปรียบเทียบผลงานกับมาตรฐานที่ได้ตั้งเอาไว้
4. การดําเนินการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ได้ตั้งเอาไว้

70. หน่วยงานที่ช่วยบริการแก่หน่วยงานหลักและหน่วยงานที่ปรึกษาในกิจกรรมลักษณะของแม่บ้าน
เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) Division of Work
(2) Line Agency
(3) Auxiliary Agency
(4) Staff Agency
(5) Departmentation
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 23. ประกอบ

71. Authority เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) การที่องค์การได้กําหนดกฎเกณฑ์เพื่อวางระเบียบแบบแผนต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานเพื่อให้เป็นมาตรฐาน อันเป็นพื้นฐานที่นําไปสู่เป้าหมายของแต่ละองค์การ
(2) ความพยายามในการจัดโครงสร้างและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การ เพื่อให้มีความเหมาะสมและ เอื้ออํานวยต่อการปฏิบัติงานต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ
(3) ลักษณะที่องค์การแต่ละองค์การแบ่งแยกงานซึ่งมีจํานวนมากออกเป็นกลุ่ม ๆ หลายกลุ่มงาน มีการแบ่งแยกตามความถนัดหรือความเชี่ยวชาญ รวมทั้งแบ่งเป็นระดับต่าง ๆ จากสูงลงมาสู่ต่ํา รวมทั้งแบ่งไปยังพื้นที่อื่นแต่ละสาขา
(4) การตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ อยู่ที่ผู้บริหารระดับสูงเป็นส่วนใหญ่
(5) Power to Command
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 19. ประกอบ

72. การพิจารณารวมกลุ่มกิจกรรมต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เป็นไปตามหลักเกณฑ์การแบ่งหน้าที่การงาน
เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) Auxiliary Agency
(2) Staff Agency
(3) Division of Work
(4) Line Agency
(5) Departmentation
ตอบ 5 หน้า 191 การจัดแผนกงาน (Departmentation) หมายถึง การพิจารณารวมกลุ่มกิจกรรม ต่าง ๆ เข้าด้วยกันซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์การแบ่งหน้าที่การงาน เพื่อแบ่งแยกกิจกรรมอันมีอยู่ มากมายในองค์การ มอบหมายให้แก่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลได้แยกกันปฏิบัติตามความสามารถของตนตามหลักเกณฑ์ของความสามารถเฉพาะด้าน

73. Centralization เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) การที่องค์การได้กําหนดกฎเกณฑ์เพื่อวางระเบียบแบบแผนต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานเพื่อให้เป็นมาตรฐาน อันเป็นพื้นฐานที่นําไปสู่เป้าหมายของแต่ละองค์การ
(2) ความพยายามในการจัดโครงสร้าง และเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การ เพื่อให้มีความเหมาะสมและ เอื้ออํานวยต่อการปฏิบัติงานต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ
(3) ลักษณะที่องค์การแต่ละองค์การแบ่งแยกงานซึ่งมีจํานวนมากออกเป็นกลุ่ม ๆ หลายกลุ่มงาน มีการแบ่งแยกตามความถนัดหรือความเชี่ยวชาญ รวมทั้งแบ่งเป็นระดับต่าง ๆ จากสูงลงมาสู่ต่ํา รวมทั้งแบ่งไปยังพื้นที่อื่นแต่ละสาขา
(4) การตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ อยู่ที่ผู้บริหารระดับสูงเป็นส่วนใหญ่
(5) Power to Command
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

74. การตัดสินใจที่ต้องใช้ความคิดตรึกตรอง ใช้สํานึก (Conscious Decision) ได้แก่การตัดสินใจในระดับใด
(1) ระดับปฏิบัติการ
(2) ระดับการกําหนดนโยบาย
(3) ระดับปฏิบัติการ และระดับปฏิบัติงาน
(4) ระดับการประสานงาน
(5) ระดับปฏิบัติงาน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 68. ประกอบ

75. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับการกําหนดขอบเขตการมอบหมายอํานาจหน้าที่
(1) บรรยากาศองค์การ
(2) การเมืองในองค์การ
(3) ลักษณะของงานที่จะมอบหมาย
(4) ตัวผู้บริหาร
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 157 – 159 การกําหนดขอบเขตของการมอบหมายอํานาจหน้าที่ พิจารณาจากปัจจัย ต่าง ๆ ดังนี้ 1. บรรยากาศขององค์การ
3. ตัวผู้บริหารที่จะมอบหมายอํานาจหน้าที่ ให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา
2. ลักษณะของงานที่จะมอบหมาย
4. ความเต็มใจที่จะมอบหมายความไว้วางใจ
5. ความเต็มใจในการที่จะกําหนดให้มีการควบคุมอย่างกว้าง

76. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของแผนโดยแบ่งตามลักษณะของแผน
(1) แผนพัฒนาและแผนปฏิบัติการ
(2) แผนหลักขององค์การ
(3) แผนพัฒนา
(4) แผนปฏิบัติการ
(5) แผนกลยุทธ์
ตอบ 2 หน้า 219 แผนในองค์การอาจแบ่งได้เป็นหลายลักษณะ เช่น แบ่งตามระยะเวลาของแผน เป็นแผนระยะสั้น แผนระยะปานกลาง และแผนระยะยาว หรือแบ่งตามลักษณะของแผน เป็นแผนกลยุทธ์ แผนพัฒนา และแผนปฏิบัติการ เป็นต้น

77. ข้อใดเป็น Negative Feedback ขององค์การ
(1) ปัญหาของการดําเนินการ
(2) ประสิทธิภาพที่ได้รับ
(3) ความสามัคคีของบุคลากร
(4) คําชมของลูกค้า
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 261, (คําบรรยาย) Feedback ในการดําเนินงานขององค์การ หมายถึง ข้อมูลข่าวสาร ต่าง ๆ ที่เป็นผลมาจากการดําเนินงานขององค์การ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. ข้อมูลข่าวสารที่แสดงถึงความพึงพอใจ (Positive Feedback) เช่น คําชมเชยหรือคํายกย่อง ประสิทธิภาพที่ได้รับ ความสําเร็จของงาน เป็นต้น

2. ข้อมูลข่าวสารที่แสดงถึงความไม่พึงพอใจ (Negative Feedback) เช่น คําตําหนิ บัตรสนเท่ห์ ความล้มเหลวของงาน ปัญหาของการดําเนินการ เป็นต้น

78. Organization Design เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) การที่องค์การได้กําหนดกฎเกณฑ์เพื่อวางระเบียบแบบแผนต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานเพื่อให้เป็นมาตรฐาน อันเป็นพื้นฐานที่นําไปสู่เป้าหมายของแต่ละองค์การ
(2) ความพยายามในการจัดโครงสร้างและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การ เพื่อให้มีความเหมาะสมและ เอื้ออํานวยต่อการปฏิบัติงานต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ
(3) ลักษณะที่องค์การแต่ละองค์การแบ่งแยกงานซึ่งมีจํานวนมากออกเป็นกลุ่ม ๆ หลายกลุ่มงาน มีการแบ่งแยกตามความถนัดหรือความเชี่ยวชาญ รวมทั้งแบ่งเป็นระดับต่าง ๆ จากสูงลงมาสู่ต่ํา รวมทั้งแบ่งไปยังพื้นที่อื่นแต่ละสาขา
(4) การตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ อยู่ที่ผู้บริหารระดับสูงเป็นส่วนใหญ่
(5) Power to Command

ตอบ 2 หน้า 122 – 123 การออกแบบองค์การ (Organization Design) คือ การมุ่งหรือพยายาม ในการจัดโครงสร้างและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การ เพื่อให้มีความเหมาะสมและเอื้ออํานวยต่อ การปฏิบัติงานต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ

79. การจัดการที่ไม่ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องรับผิดชอบต่อผู้บริหารมากกว่า 1 คน เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) Span of Control
(2) Responsibility
(3) Hierarchy
(4) Unity of Command
(5) Specialization
ตอบ 4 หน้า 186 เอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command) หมายถึง การจัดการที่ไม่ให้ ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องรับผิดชอบต่อผู้บังคับบัญชาหรือผู้บริหารมากกว่า 1 คน

80. ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่กําหนดขนาดของช่วงการบังคับบัญชา
(1) ความสามารถของผู้บังคับบัญชา
(2) ลักษณะของผู้ใต้บังคับบัญชา
(3) เทคนิคในการติดต่อสื่อสาร
(4) ระดับขององค์การ
(5) ประเภทของกิจกรรม
ตอบ 3 หน้า 181 – 182 ปัจจัยที่กําหนดขนาดของช่วงการบังคับบัญชา มีดังนี้
1. ระดับขององค์การ
2. ประเภทของกิจกรรม
3. ลักษณะของผู้ใต้บังคับบัญชา
4. ลักษณะขององค์การ
5. ความสามารถของผู้บังคับบัญชา

81. กิจกรรมใดที่เกี่ยวข้องกับการทําให้เกิด “การทํางานเป็นกิจวัตร”
(1) Piece Rate System
(2) Gantt Chart
(3) Staffing
(4) Reporting
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 42, (คําบรรยาย) Henry L. Gantt เป็นนักทฤษฎีองค์การกลุ่มการจัดการแบบ วิทยาศาสตร์ (Scientific Management) ที่เสนอแนวคิดในการสร้างวินัยในการทํางานและ การทํางานเป็นกิจวัตร โดยการใช้ Gantt Chart เป็นแผนภูมิควบคุมเวลาในการทํางาน หรือ แผนกํากับหรือติดตามความก้าวหน้าของงาน รวมทั้งการกําหนดเวลาเข้าทํางาน เลิกงาน โดยต้องประกาศให้ทราบเป็นการทั่วไป และจะเปลี่ยนแปลงตามอําเภอใจของผู้บริหารไม่ได้

82. ตามทฤษฎีของ Herzberg ปัจจัยใดต่อไปนี้ที่เป็น Hygiene Factors สูงที่สุด
(1) นโยบายและการบริหาร
(2) ความก้าวหน้าในงาน
(3) ลักษณะของงาน
(4) ความรับผิดชอบ
(5) ความสําเร็จในหน้าที่การงาน
ตอบ 1 หน้า 81 – 82, (คําบรรยาย) ตามทฤษฎีการจูงใจ (Hygiene Theory) ของ Frederick Herzberg นั้น สามารถแบ่งปัจจัยที่มีส่วนช่วยสร้างความพึงพอใจหรือความไม่พึงพอใจให้กับ พนักงานได้ 2 ประการ คือ

1. ปัจจัยจูงใจ หรือปัจจัยที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจ หรือปัจจัยกระตุ้นให้คนขยันทํางาน (Motivator Factors) เป็นปัจจัยที่เมื่อพนักงานในองค์การได้รับการตอบสนองแล้วจะสร้างความพึงพอใจ ให้กับพนักงาน ซึ่งเรียงลําดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ความสําเร็จในหน้าที่การงาน การยอมรับ นับถือจากผู้ร่วมงาน ลักษณะของงาน ความรับผิดชอบ และความก้าวหน้าในการงาน

2. ปัจจัยอนามัย หรือปัจจัยที่ก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจ หรือปัจจัยค้ำจุนให้คนยินยอมทํางาน (Hygiene Factors) เป็นปัจจัยที่เมื่อพนักงานในองค์การไม่ได้รับการตอบสนองแล้วจะ สร้างให้เกิดความไม่พึงพอใจกับพนักงาน หรือทําให้พนักงานไม่ยอมทํางาน ซึ่งเรียงลําดับ จากมากไปน้อย ได้แก่ นโยบายและการบริหารงาน เทคนิคและการควบคุมงาน เงินเดือน ความสัมพันธ์ภายในต่อผู้บังคับบัญชา และสภาพการทํางาน

83. การที่ผู้ปฏิบัติงานทํางานเพียงเท่าเกณฑ์ขั้นต่ําในการทํางาน ทั้ง ๆ ที่มีความสามารถมากกว่าเกณฑ์นั้น Taylor เรียกพฤติกรรมนี้ว่า
(1) การหลีกเลี่ยงงานโดยธรรมชาติ
(2) การค้นหามาตรฐานของงาน
(3) ความล้มเหลวในการบังคับบัญชา
(4) การหลีกเลี่ยงงานโดยอาศัยระบบ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 41, (คําบรรยาย) พฤติกรรมการหลีกเลี่ยงงานหรือหนีงานโดยอาศัยระบบตามแนวคิด ของ Frederick W. Taylor นั้น เป็นพฤติกรรมที่อาศัยระบบของงานในองค์การเป็นเครื่องมือ เพื่อปิดบังไม่ให้ผู้บังคับบัญชาล่วงรู้ถึงปริมาณงานที่แท้จริงของตน โดยพยายามทําให้เห็นว่าตนเองมีงานล้นมืออยู่แล้ว หรือพยายามทํางานเพียงให้ได้ตามเกณฑ์หรือมาตรฐานขั้นต่ําของงาน โดยไม่ใช้ศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ทั้ง ๆ ที่มีความสามารถมากกว่าเกณฑ์ หรือพยายามทํางาน เท่าที่ระเบียบกําหนด หรือทํางานให้น้อยที่สุดเท่าที่ไม่ผิดระเบียบ ไม่ตกมาตรฐานขององค์การ เช่น การส่งใบลากิจในวันที่องค์การมีภารกิจมาก การใช้สิทธิลาหยุดงานให้ครบวันลาตามสิทธิ เป็นต้น

84. ความพยายามในการจัดโครงสร้างและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การ เพื่อให้มีความเหมาะสมและ เอื้ออํานวยต่อการปฏิบัติงานต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) Authority
(2) Formalization
(3) Centralization
(4) Complexity
(5) Organization Design
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 78. ประกอบ

85. นักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิก เสนอให้พิจารณาปัจจัยด้านใดในการบริหารองค์การ
(1) บุคลิกภาพ
(2) คุณวุฒิ
(3) ประสบการณ์
(4) บุคลิกภาพ และคุณวุฒิ
(5) บุคลิกภาพ คุณวุฒิ และประสบการณ์
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 40. ประกอบ

86.Power to Command เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด
(1) Formalization
(2) Centralization
(3) Organization Design
(4) Authority
(5) Complexity
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 19. ประกอบ

87. นักคิดสมัยโบราณเชื่อว่าหากจะจูงใจมนุษย์ต้องศึกษาเกี่ยวกับสิ่งใด
(1) อารมณ์
(2) ความคาดหวัง
(3) ความพึงพอใจ
(4) ความต้องการ
(5) ความรัก
ตอบ 4 หน้า 271 นักคิดสมัยโบราณ เชื่อว่า หากจะจูงใจมนุษย์ต้องศึกษาเกี่ยวกับความต้องการ ของมนุษย์ เพื่อหาสิ่งล่อใจให้ตรงกับความต้องการของเขา

88. การเรียนรู้อย่างลึกซึ้ง (Erudition) ถือเป็นการเรียนรู้โดยการประมวลความรู้ทั้งหลายจากประชาคม ที่อาศัยอยู่ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวเป็นผลให้ผู้ตัดสินใจเกิดสิ่งใด
(1) ข่าวสาร
(2) การรับรู้
(3) ข้อมูล
(4) ปัญญา
(5) อคติ
ตอบ 4 หน้า 243 การเรียนรู้อย่างลึกซึ้ง (Erudition) ถือเป็นการเรียนรู้โดยการประมวลความรู้ ทั้งหลายจากประชาคมที่อาศัยอยู่ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวเป็นผลให้ผู้ตัดสินใจเกิด “ปัญญา” (Wisdom)

89. จํานวนผู้ใต้บังคับบัญชาที่ผู้บังคับบัญชาคนหนึ่ง ๆ จะสามารถควบคุมได้ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) Responsibility
(2) Unity of Command
(3) Span of Control
(4) Specialization
(5) Hierarchy
ตอบ 3 หน้า 179 ช่วงของการบังคับบัญชา หรือช่วงของการควบคุม (Span of Control, Span of Management หรือ Span of Supervision) หมายถึง จํานวนผู้ใต้บังคับบัญชา (ลูกน้อง) ที่ผู้บังคับบัญชา (หัวหน้า) คนหนึ่ง ๆ จะสามารถควบคุมได้ ซึ่งช่วงการควบคุมนี้เป็นสิ่งที่จะ แสดงให้รู้ว่า ผู้บังคับบัญชาคนหนึ่ง ๆ จะมีขอบเขตของการกํากับดูแลหรือการบังคับบัญชา เพียงใด ทั้งนี้คือการพิจารณาว่าควรจะมีผู้ใต้บังคับบัญชากี่คน หรือมีหน่วยงานภายในความ รับผิดชอบที่หน่วยงาน จึงเป็นการเหมาะสมที่จะทําให้การกํากับดูแลการปฏิบัติงานเป็นไปได้ โดยเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ

90. “นําเอาหลักการบริหารงานแบบวิทยาศาสตร์เข้าไปใช้ในองค์การด้านการศึกษาและหน่วยงานรัฐบาล…….” ผู้ริเริ่มได้แก่
(1) Gilbreths
(2) Emerson
(3) Cooke
(4) Taylor
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 43 Morris L. Cooke ได้นําเอาหลักการและความรู้จากการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ เข้าไปศึกษาการบริหารงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐบาล เช่น องค์การทางด้านการศึกษาโดยพบว่าหลักการทางวิทยาศาสตร์สามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้กับองค์การดังกล่าวได้ และ ในเรื่องการสร้างประสิทธิภาพให้กับงานนั้น เขาเห็นว่าทุกคนควรช่วยกันค้นหา One Best Way ไม่ควรจํากัดว่าเป็นเรื่องเฉพาะแต่ผู้ชํานาญหรือผู้บริหารเท่านั้น

91.Formalization เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) การที่องค์การได้กําหนดกฎเกณฑ์เพื่อวางระเบียบแบบแผนต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานเพื่อให้เป็นมาตรฐาน อันเป็นพื้นฐานที่นําไปสู่เป้าหมายของแต่ละองค์การ
(2) ความพยายามในการจัดโครงสร้างและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การ เพื่อให้มีความเหมาะสมและ เอื้ออํานวยต่อการปฏิบัติงานต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ
(3) ลักษณะที่องค์การแต่ละองค์การแบ่งแยกงานซึ่งมีจํานวนมากออกเป็นกลุ่ม ๆ หลายกลุ่มงาน มีการแบ่งแยกตามความถนัดหรือความเชี่ยวชาญ รวมทั้งแบ่งเป็นระดับต่าง ๆ จากสูงลงมาสู่ต่ํา รวมทั้งแบ่งไปยังพื้นที่อื่นแต่ละสาขา
(4) การตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ อยู่ที่ผู้บริหารระดับสูงเป็นส่วนใหญ่
(5) Power to Command
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 44. ประกอบ

92. “สภาพแวดล้อมที่สงบราบเรียบ……การติดต่อเป็นไปโดยบังเอิญ ทําให้การเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้นน้อยมาก” ตัวอย่างได้แก่
(1) สังคมเด็กวัยประถมศึกษา
(2) สังคมคนชรา
(3) สังคมเด็กวัยรุ่น
(4) สังคมชาวเขาเร่ร่อน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 18, (คําบรรยาย) Emery และ Trist ได้แบ่งระดับของความสัมพันธ์ระหว่างองค์การ กับสภาพแวดล้อมออกเป็น 4 ระดับ คือ
1. Placid Randomized Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่สงบราบเรียบ การติดต่อกับ สังคมภายนอกเป็นไปโดยบังเอิญ ทําให้การเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้นน้อยมาก เช่น สภาพแวดล้อมของชาวเขาโบราณ ชาวเขาเร่ร่อน ทารกในครรภ์ เป็นต้น
2. Placid Clustered Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่ราบเรียบแต่เริ่มมีการติดต่อกับ สังคมภายนอกมากขึ้น เช่น สภาพแวดล้อมของเด็กวัยประถมศึกษา เป็นต้น
3. Disturbed-Reactive linvironment เป็นสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อน ยุ่งยาก ผลของ การติดต่อเป็นผลทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงคุณภาพขึ้นได้ เช่น สภาพแวดล้อมของกลุ่มวัยรุ่น เป็นต้น
4. Turbulent Field เป็นสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อน ยุ่งเหยิง มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เช่น สภาพของระบบสังคมและเศรษฐกิจของไทย เป็นต้น

93. ข้อใดไม่ใช่อุปสรรคของสายการบังคับบัญชา
(1) เกิดความล่าช้าในการทํางาน
(2) มีการติดต่อสื่อสารที่ไม่พึงประสงค์
(3) ทําให้เกิดพันธะผูกพันในผลงาน
(4) ถูกทั้งข้อ 1, 2, และ 3
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 141, (คําบรรยาย) การจัดให้มีสายการบังคับบัญชาในหน่วยงานแม้ว่าจะเป็นหัวใจของ
องค์การขนาดใหญ่ที่ทําให้การดําเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพก็ตาม แต่อุปสรรคในการมีสายการบังคับบัญชาก็เกิดขึ้นได้ในหลายลักษณะ เช่น ทําให้เกิดความล่าช้าในการทํางาน มีการติดต่อสื่อสารที่ไม่พึงประสงค์ เป็นต้น

94. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับลักษณะขององค์การ
(1) มีความผูกพันที่ต่อเนื่อง
(2) มีเป้าหมายที่สูงกว่าที่แต่ละบุคคลจะกระทําได้
(3) มีฐานะเป็นหน่วยทางสังคม
(4) มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ตลอดเวลา
(5) ลักษณะการมุ่งเน้นให้เกิดการประสานกัน
ตอบ 4หน้า 119 – 120 ลักษณะขององค์การ อาจแบ่งออกได้เป็น 5 ลักษณะ ดังนี้
1. มีลักษณะการมุ่งเน้นให้เกิดการประสานกัน
2. มีฐานะเป็นหน่วยทางสังคม
3. มีการแบ่งแยกขอบเขตของการเป็นองค์การแต่ละองค์การอย่างชัดแจ้ง
4. มีความผูกพันที่ต่อเนื่อง
5. มีเป้าหมายที่สูงกว่าที่แต่ละบุคคลจะสามารถกระทําได้โดยลําพัง

95. ข้อใดเป็นปัจจัยที่จะช่วยให้การจัดช่วงการบังคับบัญชากว้างยิ่งขึ้นได้
(1) ระดับขององค์การ
(2) เทคนิคในการติดต่อสื่อสาร
(3) ลักษณะของผู้ใต้บังคับบัญชา
(4) ความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชา
(5) ประเภทของกิจการ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

96. แนวคิดที่ต้องการให้ผู้บริหารศึกษาความหมายของปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในองค์การ และ ทําความเข้าใจให้คุณค่ากับสิ่งเหล่านั้น … แนวคิดดังกล่าวเรียกว่า
(1) Adhocracies
(2) Contingency Theory
(3) Action Theory
(4) Systems Theory
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 112 – 113, (คําบรรยาย) ทฤษฎีการกระทํา (The Action Theory หรือ The Action Approach) เป็นแนวคิดที่เน้นการอธิบายเหตุผลและข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นตามสภาพที่เป็นจริง หรือตามสภาวะทางการเมืองในองค์การ (Political Nature of Organization) โดยแนวคิดนี้ จะเน้นให้ผู้บริหารศึกษาความหมายของปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในองค์การ ทําความเข้าใจให้คุณค่ากับสิ่งเหล่านั้น และหามาตรการปรับปรุงแก้ไข

97. ทุกข้อเป็นลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การในลักษณะของระบบ ยกเว้น
(1) มีความเจริญเติบโตภายใน
(2) มุ่งประสิทธิภาพสูงสุด
(3) มีเสถียรภาพแบบพลวัต
(4) มีกลไกให้ข้อมูลข่าวสาร
(5) มีการวางแผน
ตอบ 2 หน้า 98 – 106, (คําบรรยาย)
ลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวทางของ “ระบบ (ระบบเปิด)” ได้แก่
1. การวางแผนและจัดการ (Contrived)
2. ความยืดหยุ่นของขอบเขต (Flexible Boundaries)
3. การอยู่รอด (Negative Entropy)
4. การรักษาเสถียรภาพของระบบให้มีความสมดุลแบบพลวัตหรือมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา
(Dynamic Equilibrium)
5. กลไกการให้ข้อมูลข่าวสาร (Feedback Mechanism)
6. กลไกในการปรับตัวและรักษาสถานภาพของระบบ (Adaptive and Maintenance Mechanism)
7. การเจริญเติบโตภายในองค์การ (Growth Through Internal Elaboration)
8. การแบ่งงานในลักษณะยืดหยุ่น ฯลฯ (ส่วนการมุ่งประสิทธิภาพสูงสุด เป็นลักษณะเฉพาะ ที่เกิดจากการศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวทางของ “ระบบปิด”)

98.งานสารบรรณ เกี่ยวข้องกับข้อใดมากที่สุด
(1) Auxiliary Agency
(2) Division of Work
(3) Staff Agency
(4) Line Agency
(5) Departmentation
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 23. ประกอบ

99. แผนที่เป็นรายละเอียดและลงลึกไปถึงวิธีการในการดําเนินงาน เรียกว่าอะไร
(1) แผนแม่บท
(2) แผนพัฒนา
(3) แผนกลยุทธ์
(4) แผนปฏิบัติการ
(5) แผนหลักขององค์การ
ตอบ 4 หน้า 220, (คําบรรยาย) แผนปฏิบัติการ (Operational Plan) คือ แผนที่เป็นรายละเอียด และลงลึกไปถึงวิธีการในการดําเนินงาน ซึ่งแผนปฏิบัติการนี้มักจะกําหนดระยะเวลาไว้ไม่เกิน 1 – 2 ปี ดังนั้นจึงจัดเป็นแผนระยะสั้น

100. ผู้บังคับบัญชาจะสั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ปฏิบัติตามคําสั่งของตนได้ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) Formal Authority
(2) Acceptance Theory
(3) Competence Theory
(4) Formal Position
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 38. ประกอบ

 

Advertisement