การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2565
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2301 องค์การและการจัดการในภาครัฐ
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1.ลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาตามแนวทางของ “ระบบปิด” ได้แก่
(1) ความพึงพอใจ
(2) เสถียรภาพคงที่ของระบบ
(3) การมีส่วนร่วมของพนักงาน
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 2 หน้า 25 – 29, 37, ( บรรยาย) ลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การและการจัดการ ตามแนวทางของ “ระบบปิด” ได้แก่
1. เสถียรภาพคงที่ของระบบหรือสมดุลแบบสถิต
2. การแบ่งงานโดยเน้นความชํานาญเฉพาะด้าน
3. การคํานึงถึงสายการบังคับบัญชา กฎ และระเบียบ
4. การมุ่งประสิทธิภาพสูงสุด
5. การกําหนดมาตรฐานของงาน
6. การกําหนดแผนงานและเป้าหมายที่แน่นอน
7 ความเชื่อในหลัก One Best Way
8. เป็นรูปแบบที่อิงอยู่กับหลักของเหตุและผล (Rational Model)
9. การใช้หลักเหตุผล และวิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา ฯลฯ

Advertisement

2.แนวคิดของ Max Weber ให้ความสําคัญที่ระบบใดขององค์การน้อยที่สุด
(1) โครงสร้าง
(2) เป้าหมายและวัตถุประสงค์
(3) เทคโนโลยี
(4) สังคมจิตวิทยา
(5) ทักษะการบริหาร
ตอบ 4 หน้า 64 – 65, (คําบรรยาย) นักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิก (Classical Organization Theory) เช่น Max ieber, Henri Fayol ศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวของระบบปิด โดยให้ความสําคัญกับระบบโครงสร้างขององค์การ แต่ละเลยระบบสังคมภายในองค์การหรือ ระบบสังคมจิตวิทยา เช่น ระบบของพฤติกรรมและความต้องการของบุคคลภายในองค์การจึงทําให้แนวคิดของนักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิกประสบปัญหาในทางปฏิบัติและไม่สามารถสร้างองค์การให้มีประสิทธิภาพในระยะยาวได้

3.ถ้าเชื่อในธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี Y จะต้องใช้การบริหารแบบใด
(1) Management by Rules
(2) Management by Objectives
(3) Adhocracy
(4) ทั้งข้อ 1 และ 3
(5) ทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 5 หน้า 78, (คําบรรยาย) ถ้าเชื่อในธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี Y (มองคนในแง่ดี)
จะต้องใช้รูปแบบการบริหารดังนี้
1. การบริหารแบบประชาธิปไตย
2. การบริหารแบบเน้นการมีส่วนร่วม (Participative Management)
3. การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (Management by Objectives) หรือการบริหาร ที่เหมาะกับวัตถุประสงค์หนึ่ง ๆ (Adhocracy)
4. การทํางานเป็นทีม (Teamwork)
5. การบริหารแบบโครงการ (Project Management)
6. การบริหารแบบ Organic Organization
7. การกระจายอํานาจ (Decentralization)
8. การใช้ความรู้มากกว่าอํานาจหน้าที่ (Knowledge than Authority) ฯลฯ

4. ข้อใดเป็นผลการศึกษาที่สําคัญที่สุดจาก “Hawthorne Experiments
(1) พบความสัมพันธ์ระหว่างผลิตภาพในการทํางานกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ
(2) พบความสัมพันธ์ระหว่างผลิตภาพในการทํางานกับทรัพยากรนําเข้า
(3) พบผลทางลบที่เกิดเนื่องมาจากความไม่เอาใจใส่ของผู้บังคับบัญชา
(4) พบอิทธิพลของภาวะผู้นําที่มีต่อผลิตภาพการทํางาน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 68 — 71 การศึกษาทดลองของ Elton Mayo ที่เมือง Hawthorne หรือเรียกว่า “Hawthorne Experiments” พบผลการศึกษาที่สําคัญดังนี้
1. สภาพแวดล้อมทางกายภาพ เช่น ความเข้มของแสงสว่าง ไม่ได้มีอิทธิพลหรือมีความสัมพันธ์ โดยตรงกับผลิตภาพในการทํางาน
2. ระบบการจูงใจโดยให้ผลตอบแทนต่อชิ้นมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงผลิตภาพในการทํางาน ของกลุ่มน้อยกว่าความกดดัน การยอมรับ และสวัสดิการที่กลุ่มจะพึงได้รับ
3. ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มกับสมาชิกในกลุ่ม โดยกลุ่มจะมีอิทธิพลอย่างมากต่อผลิตภาพ ในการทํางานของสมาชิกในกลุ่ม

5. ข้อใดเป็นองค์ประกอบที่บ่งชี้ถึง “ประสิทธิภาพ” ในการทํางาน
(1) ผลผลิต
(2) ทรัพยากรที่ใช้
(3) แผนที่วางไว้
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1 และ 3
ตอบ 4 หน้า 22 – 23, (คําบรรยาย) ประสิทธิภาพ (Efficiency) ของการบริหารในช่วงเวลาใด ๆ จะมีค่าเท่ากับการเปรียบเทียบผลผลิตหรือผลงานที่ได้จากการบริหารกับทรัพยากร (เช่น งบประมาณ ระยะเวลา) หรือความพยายามที่ใช้ในการบริหาร ส่วนประสิทธิผล (Effectiveness) ของการบริหารในช่วงเวลาใด ๆ จะมีค่าเท่ากับการเปรียบเทียบผลผลิตหรือผลงานที่ได้จาก การบริหารกับมาตรฐาน เป้าหมายหรือจุดประสงค์ที่กําหนด หรือกับแผนงานหรือประมาณการ ที่ได้วางเอาไว้ ดังนั้นหากองค์การใดสามารถลดการใช้ทรัพยากรการบริหารให้น้อยลงได้ก็แสดงว่า องค์การนั้นมีประสิทธิภาพ แต่ถ้าหากองค์การใดสามารถดําเนินงานให้บรรลุจุดประสงค์ที่กําหนดไว้ได้ก็แสดงว่าองค์การนั้นมีประสิทธิผล

6. ข้อใดเข้าคู่กันไม่ถูกต้อง
(1) Organic Structure – หน่วยผลิตขนาดเล็กที่มีการผลิตเป็นกระบวนการ
(2) Mechanistic Organization – Formal Organization
(3) Organic Structure – องค์การที่มีการเปลี่ยนแปลงสูง
(4) Fluid Structure – Mechanistic Organization
(5) Mechanistic Structure – หน่วยผลิตขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพ
ตอบ 4 หน้า 45 – 47, 111 – 112, (คําบรรยาย) จากแนวคิดของ Contingency Theory นั่น Burn และ Statke สรุปว่า
1. Mechanistic Organization เป็นองค์การแบบเก่าหรือองค์การที่เป็นทางการ (Format Organization) หรือองค์การตามรูปแบบระบบราชการ (Bureaucratic Model) ที่เน้น โครงสร้างและความสัมพันธ์ตามแนวดิ่ง เช่น เน้นตําแหน่งและอํานาจหน้าที่ (Positions and Authority) รวมทั้งมีความเป็นทางการสูง และเน้นการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ ดังนั้นจึงเหมาะกับองค์การที่มีสภาพแวดล้อมคงที่ (Static) เช่น หน่วยราชการทุกรูปแบบ

2. Organic Organization หรือที่ Warren Bennis เรียกว่า Adhocracy เป็นโครงสร้าง แบบหลวม (Fluid Structure) ที่เน้นการกระจายอํานาจ ความสัมพันธ์ตามแนวราบ/แนวนอน และการใช้ความรู้มากกว่าอํานาจหน้าที่ ดังนั้นจึงเหมาะกับองค์การที่มีการเปลี่ยนแปลงสูง นอกจากนี้ Woodward ยังได้สรุปอีกว่า หน่วยผลิตขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพและ ใช้เครื่องจักร เช่น โรงงานอุตสาหกรรม จะต้องมีโครงสร้างแบบ Mechanistic Structure ส่วนหน่วยผลิตขนาดเล็ก เช่น องค์การผลิตสินค้าหัตถกรรม และที่ผลิตเป็นกระบวนการ หรือมีระบบการผลิตหลายขั้นตอน จะต้องมีโครงสร้างแบบ Organic Structure

7.Barton และ Chappell เรียกสภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยีว่าเป็น
(1) Political Environment
(2) Primary Environment
(3) Outer Environment
(4) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 14 – 17 Barton และ Chappell ได้แบ่งสภาพแวดล้อมขององค์การสาธารณะออกเป็น 2 ระดับ คือ 1. สภาพแวดล้อมภายนอก (Outer/Secondary/External Environment) ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี 2. สภาพแวดล้อมทางการเมือง (Political/Primary/Inner Environment) ได้แก่ สาธารณชนโดยทั่วไป ผู้รับบริการและ กลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ สื่อมวลชน ฝ่ายนิติบัญญัติ ผู้บริหารระดับสูง และกระบวนการยุติธรรม

8. ใครที่เสนอเรื่อง “Time and Motion Study
(1) Taylor
(2) Cooke
(3) Munsterberg
(4) Gantt
(5) Gilbreths
ตอบ 5 หน้า 42, (คําบรรยาย) Frank และ Lillian Gilbreths เป็นผู้ศึกษาเรื่องการวิเคราะห์หามาตรฐาน ของงานโดยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเวลาและการเคลื่อนไหวในการปฏิบัติงาน (Time and Motion Study) เพื่อนําไปใช้ในการจัดกระบวนการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

9.แนวคิดใดที่เชื่อว่า “การควบคุมองค์การเป็นเป้าหมาย ไม่ใช่วิธีการที่นําไปสู่เป้าหมาย”
(1) Scientific Management
(2) Contingency Theory
(3) Industrial Humanism
(4) The Action Theory
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 112 – 113 : Jeffrey Pfeffer เป็นนักทฤษฎีที่ศึกษาองค์การตามแนวทางของ The Action Theory หรือ The Action Approach เสนอว่า “องค์การเป็นที่ซึ่งประกอบด้วยผู้มีอํานาจ ที่ต่างเข้ามาทํางานร่วมกัน อาจมีความขัดแย้งในเป้าหมายขององค์การ การจัดรูปขององค์การ จะถูกออกแบบให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้มีอํานาจเหล่านี้” และ “การควบคุมองค์การ เป็นเป้าหมาย ไม่ใช่เป็นวิธีการที่จะนําไปสู่เป้าหมาย การจะเข้าใจองค์การต้องศึกษาความต้องการ และความสนใจของผู้มีอํานาจในการตัดสินใจขององค์การในขณะนั้น ๆ โดยให้ความสําคัญไปที่บรรยากาศทางการเมืองในองค์การ”

10. ข้อใดที่มีความสัมพันธ์กันโดยตรง
(1) Division of Work – ขยายความสามารถของมนุษย์
(2) Gantt Chart – สร้างวินัยในการทํางาน
(3) Hygiene Factors – ถ้าได้รับจะไม่ยอมทํางาน
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 42, 81 – 82, (FS 252 เลขพิมพ์ 39270 หน้า 19 – 20), (คําบรรยาย) Henry L. Gantt ได้เสนอแนวคิดในการสร้างวินัยในการทํางานและการทํางานเป็นกิจวัตร โดยการใช้ Gantt Chart เป็นแผนภูมิควบคุมเวลาในการทํางาน หรือแผนกํากับหรือติดตามความก้าวหน้าของงาน ส่วนการแบ่งงานกันทําตามความชํานาญเฉพาะด้าน (Division of Work, Division of Labor
หรือ Specializaticin) เป็นปัจจัยที่มีผลโดยตรงในการช่วยขยายความสามารถของมนุษย์ หรือ ช่วยเพิ่มความสามารถในการทํางานขององค์การ และปัจจัยอนามัย (Hygiene Factors) ของ Frederick Herzberg เป็นปัจจัยที่เมื่อพนักงานในองค์การไม่ได้รับการตอบสนองแล้วจะสร้าง ให้เกิดความไม่พึงพอใจกับพนักงาน หรือทําให้พนักงานไม่ยอมทํางาน

11. “สิ่งจูงใจจากปัจจัยภายใน” เป็นสิ่งจูงใจที่ริเริ่มนําาเสนอโดยนักวิชาการกลุ่มใด
(1) นักบริหารเชิงปริมาณ
(2) นักทฤษฎีการบริหาร
(3) นักทฤษฎีระบบราชการ
(4) กลุ่มนีโอคลาสสิก
(5) กลุ่มการจัดการแบบวิทยาศาสตร์
ตอบ 4 หน้า 26 – 27, 29 – 30, 67 – 82 นักทฤษฎีองค์การกลุ่มพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Science) หรือกลุ่มมนุษยนิยม (Humanism หรือ Industrial Humanism) หรือกลุ่ม มนุษยสัมพันธ์ (Human Relations Approach) หรือกลุ่มนีโอคลาสสิก (Neo-Classical Organization Thecry) หรือนักทฤษฎีการบริหารงานสมัยใหม่ (Neo-Classical Theory of Management) มีแนวคิดและวิธีศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวของ “ระบบเปิด” ดังนี้
1. ศึกษาองค์การที่ไม่เป็นทางการหรือองค์การอรูปนัย (Informal Organization)โดยให้ความสําคัญกับระบบสังคมภายในองค์การหรือระบบสังคมจิตวิทยามากที่สุด
2. ริเริ่มนําเสนอสิ่งจูงใจจากปัจจัยภายใน
3. เน้นการบริหารงานที่คํานึงถึงความสุขและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานหรือสมาชิกในองค์การ
4. เน้นศึกษากลุ่มทางสังคม คุณลักษณะของปัจเจกบุคคล (ได้แก่ บุคลิกภาพ จิตภาพ ทัศนคติ และความต้องการของบุคคล) คุณลักษณะทางธรรมชาติของมนุษย์
5. พยายามนําระบบการบริหารแบบเครือญาติ (Paternalism) เข้ามาใช้ในองค์การ
6. นักทฤษฎี (นักวิชาการ) ในกลุ่มนี้ ได้แก่ Hugo Munsterberg, George Elton Mayo,
Warren Benni:, Chester I. Barnard, A.H. Maslow, Douglas McGregor และ Frederick Herz:berg ฯลฯ

12. เขียนตํารา “หลักสิบสองประการในการสร้างประสิทธิภาพ”
(1) Gilbreths
(2) Emerson
(3. Cooke
(4) Taylor
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 43 Harrington Emerson ได้เขียนตํารา “หลักสิบสองประการในการสร้างประสิทธิภาพ” (The Twelve Principles of Efficiency) ซึ่งประกอบด้วยหลักการสําคัญ เช่น
1. การสร้างวัตถุประสงค์
2. การใช้สามัญสํานึก
3. การปรึกษาหารือ
4. การมีระเบียบวินัย
5. การจัดการที่เป็นธรรม
6. การปฏิบัติงานตลอดเวลาและเชื่อถือได้
7. การกําหนดสายทางเดินของงาน
8. การกําหนดมาตรฐานและระยะเวลาการทํางาน ฯลฯ

13. ทุกข้อเป็นหลักเกณฑ์ที่ Max Weber นําเสนอ ยกเว้น
(1) ความชํานาญเฉพาะด้าน
(2) แยกการเมืองออกจากการบริหาร
(3) หลักความสามารถ
(4) สายการบังคับบัญชา
(5) การกระจายอํานาจ
ตอบ 5 หน้า 44 – 47, 139, 189, (คําบรรยาย) รูปแบบของระบบราชการ (Bureaucratic Model) หรือองค์ประกอบของโครงสร้างองค์การที่เป็นทางการตามทฤษฎีระบบราชการ (Bureaucracy Theory) หรือทฤษฎีองค์การที่เป็นทางการ (Formal Organization Theory) หรือทฤษฎี องค์การรูปสามเหลี่ยมพีระมิดของ Max Weber นั้น จะประกอบด้วย
1. การกําหนดสายการบังคับบัญชา (Hierarchy, Chain of Command หรือ Line of Authority)
2. การกําหนดตําแหน่งและอํานาจหน้าที่ (Positions and Authority)
3. การกําหนดกฎระเบียบและข้อบังคับที่แน่นอน (Rules and Regulations)
4. การแบ่งงานกันทําตามความชํานาญเฉพาะด้าน (Division of Work, Division of Labor
หรือ Specialization) เช่น การแบ่งงานออกเป็นแผนกงานต่าง ๆ
5. การจัดทําคู่มือการทํางาน และคําบรรยายลักษณะงาน (Job Description)
6. การกําหนดเอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command)
7. การคัดเลือกและเลื่อนขั้นโดยอาศัยหลักความสามารถตามระบบคุณธรรม (Merit on
Selection and Promotion)
8. การมีระบบความสัมพันธ์ภายในองค์การอย่างเป็นทางการ (Formal Relationship) ตามสายการบังคับบัญชาและอํานาจหน้าที่ หรือตามแนวดิ่ง ฯลฯ

ซึ่งรูปแบบดังกล่าวทําให้เกิดการแยกการเมืองออกจากการบริหาร และระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคล

14. ในการบริหารงาน คําว่า Red Tape หมายถึง
(1) การคั่งค้างของงาน
(2) ประสิทธิภาพของงาน
(3) หัวหน้างาน
(4) โครงสร้างหน่วยงาน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 49 Red Tape หมายถึง ความล่าช้าในการปฏิบัติงาน ซึ่งเกิดจากความล่าช้าของการ ติดต่อสื่อสารเรื่องราวต่าง ๆ ในโครงสร้างขององค์การที่จะต้องเป็นไปตามสายการบังคับบัญชา ที่ยาวและระบบความสัมพันธ์ที่เป็นทางการ

15. ตามทฤษฎีลําดับขั้นความต้องการ “ความต้องการที่จะได้รับชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับของผู้ร่วมงาน” เรียกว่า
(1) Self-Realization Needs
(2) Safety Needs
(3) Social Needs
(4) ทั้งข้อ 2 และ 3
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 75 – 76 A.H. Maslow ได้เสนอทฤษฎีลําดับขั้นความต้องการของมนุษย์ (Hierarchy of Needs Theory) ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ลําดับ จากต่ําสุดไปถึงสูงสุด ดังนี้
1. ความต้องการทางกายภาพ (Physiological Needs) เช่น อาหาร อากาศ การพักผ่อน
2. ความต้องการความปลอดภัยในชีวิต (Safety Needs)
3. ความต้องการที่จะเข้าร่วมในสังคม (Social Needs)
4. ความต้องการที่จะได้รับความสําเร็จในหน้าที่การงาน ได้รับเกียรติ ชื่อเสียง และเป็นที่ ยอมรับนับถือของผู้ร่วมงาน (Esteem Needs, Ego Needs หรือ Status Needs)
5. ความต้องการที่จะได้รับความสําเร็จในชีวิตตามอุดมการณ์ที่ตัวเองได้ตั้งเอาไว้ (Self-
Realization Needs)

16. ทุกข้อเป็น “Motivator Factors” ตามทฤษฎีของ Herzberg ยกเว้น
(1) เงินเดือน
(2) ความสําเร็จในหน้าที่การงาน
(3) การยอมรับนับถือจากผู้ร่วมงาน
(4) ลักษณะของงาน
(5) ความรับผิดชอบ
ตอบ 1 หน้า 81 – 82, (คําบรรยาย) ตามทฤษฎีการจูงใจ (Hygiene Theory) ของ Frederick Herzberg นั้น สามารถแบ่งปัจจัยที่มีส่วนช่วยสร้างความพึงพอใจหรือความไม่พึงพอใจให้กับ พนักงานได้ 2 ประการ คือ

1. ปัจจัยจูงใจ หรือปัจจัยที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจ หรือปัจจัยกระตุ้นให้คนขยันทํางาน (Motivator Factors) เป็นปัจจัยที่เมื่อพนักงานในองค์การได้รับการตอบสนองแล้วจะสร้างความพึงพอใจ ให้กับพนักงาน ซึ่งเรียงลําดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ความสําเร็จในหน้าที่การงาน การยอมรับ นับถือจากผู้ร่วมงาน ลักษณะของงาน ความรับผิดชอบ และความก้าวหน้าในการงาน

2. ปัจจัยอนามัย หรือปัจจัยที่ก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจ หรือปัจจัยค้ําจุนให้คนยินยอมทํางาน (Hygiene Factors) เป็นปัจจัยที่เมื่อพนักงานในองค์การไม่ได้รับการตอบสนองแล้วจะ สร้างให้เกิดความไม่พึงพอใจกับพนักงาน หรือทําให้พนักงานไม่ยอมทํางาน ซึ่งเรียงลําดับ จากมากไปน้อย ได้แก่ นโยบายและการบริหารงาน เทคนิคและการควบคุมงาน เงินเดือน ความสัมพันธ์ภายในต่อผู้บังคับบัญชา และสภาพการทํางาน

17. ข้อใดเป็น “ปัจจัยจูงใจ” ตามทฤษฎีของ Herzberg
(1) เทคนิคและการควบคุมงาน
(2) สภาพการทํางาน
(3) ความก้าวหน้าในการงาน
(4) นโยบายและการบริหาร
(5) ความสัมพันธ์ภายในต่อผู้บังคับบัญชา
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 16. ประกอบ

18.Natural System Model เป็นวิธีการศึกษาของ………….
(1) Scientific Management
(2) Bureaucratic Model
(3) A Systems Approach
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 26 – 27, (คําบรรยาย) ตัวแบบระบบตามธรรมชาติ (Natural System Model) เป็น วิธีการศึกษาของกลุ่มนักทฤษฎีหรือนักวิชาการที่ศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวของ“ระบบเปิด” ซึ่งได้แก่
1. กลุ่ม Behavioral Science
2. กลุ่ม A Systems Approach
3. กลุ่ม Contingency Theory หรือ Situational Approach
4. กลุ่ม The Action Theory หรือ The Action Approach

19. “เป็นทฤษฎีองค์การที่ให้ความสําคัญต่ออิทธิพลของสภาพแวดล้อม และพิจารณารูปแบบที่เหมาะสม ขององค์การภายใต้สภาพแวดล้อมหนึ่ง ๆ …” เรียกว่าเป็นการศึกษาตามแนวใด
(1) Industrial Humanism
(2) Contingency Theory
(3) Action Theory
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 110 – 111, (คําบรรยาย) การศึกษาองค์การและการบริหารตามสถานการณ์ (Contingency Theory หรือ Situational Approach) เป็นการศึกษาที่ปฏิเสธหลัก One Best Way โดยแนวคิดนี้มีแนวคิดพื้นฐานมาจากแนวคิดเชิงระบบ ซึ่งจะให้ความสําคัญต่อ อิทธิพลของสภาพแวดล้อม (เช่น ระบบเทคโนโลยี) และพิจารณารูปแบบที่เหมาะสมของ องค์การภายใต้เงื่อนไขของสภาพแวดล้อมหนึ่ง ๆ นักวิชาการในกลุ่มนี้จะมองการบริหารว่า เป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน สามารถเปลี่ยนแปลงตามเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ ตัวแปรที่สนใจศึกษาจะ แตกต่างกันไปตามแนวคิดของนักทฤษฎีแต่ละคน นอกจากนี้ยังมีความเชื่อว่า ไม่มีรูปแบบ ที่เหมาะสมสําหรับองค์การทุก ๆ ประเภท วิธีการจัดสรรทรัพยากรที่แตกต่างกันจะทําให้ การจัดรูปโครงสร้างมีความแตกต่างกันด้วย

20. สิ่งที่ ดร.ชุบ กาญจนประกร เสนอเพิ่มจากที่กูลิคเสนอไว้ในเรื่องหน้าที่ของผู้บริหาร ได้แก่
(1) การควบคุมงาน
(2) การประเมินผลงาน
(3) การกําหนดอํานาจหน้าที่
(4) การประสานงาน
(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 60 – 62 ดร. ชุบ กาญจนประกร ได้เสนอหน้าที่ของผู้บริหารเพิ่มเติมจากแนวคิด POSDCORB ของ Luther Gulick เป็น PA-POSDCORB โดย PA ที่เพิ่มขึ้นมา ได้แก่
P = Policy (การกําหนดนโยบาย) และ A = Authority (การกําหนดอํานาจหน้าที่)

21. นักวิชาการกลุ่มใดที่มองการบริหารว่า “เป็นสิ่งไม่แน่นอน สามารถเปลี่ยนแปลงตามเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้
ตัวแปรที่สนใจศึกษาจะแตกต่างกันไปตามแนวคิดของนักทฤษฎีแต่ละคน”
(1) A Systems Approach
(2) Industrial Humanism
(3) Action Theory
(4) Quantitative Science
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 19. ประกอบ

22. การบริหารงานที่ให้ความสําคัญเรื่อง “ความสุขของสมาชิกในองค์การ” เป็นการบริหารตามแนวคิด
ของนักวิชาการกลุ่มใด
(1) Scientific Management
(2) Administrative Theorists
(3) Neo-Classical Organization Theory
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

23. ทุกข้อเป็นประโยชน์ของระบบคณะกรรมการ ยกเว้น
(1) เกิดความรวดเร็วในการตัดสินใจ
(2) แก้ปัญหาข้อขัดแย้ง
(3) ช่วยสร้างความร่วมมือ
(4) ทําให้เกิดการประสานงานที่ดี
(5) ช่วยปกป้องความรับผิดชอบของบุคคลเพียงคนเดียว
ตอบ 1 หน้า 63 ประโยชน์ของระบบคณะกรรมการ (Committees) ได้แก่
1. ช่วยแก้ปัญหาข้อขัดแย้งต่าง ๆ
2. ช่วยสร้างความร่วมมือ หรือเพิ่มการมีส่วนร่วม
3. ทําให้เกิดการประสานงานที่ดี
4. ช่วยปกป้องความรับผิดชอบของบุคคลเพียงคนเดียว

24. ในการทดลองของ Mayo กลุ่มทดลองได้รับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ขณะที่กลุ่มควบคุมได้รับ สภาพแวดล้อมที่คงที่ ผลการตรวจสอบผลงานของกลุ่มทั้งสองเป็นดังนี้
(1) ผลงานลดลงทั้งสองกลุ่ม
(2) ผลงานเพิ่มขึ้นทั้งสองกลุ่ม
(3) กลุ่มทดลองมีผลงานเพิ่มขึ้นมากกว่า
(4) กลุ่มควบคุมมีผลงานเพิ่มขึ้นมากกว่า
(5) ผลงานของทั้งสองกลุ่มเปลี่ยนแปลงอย่างไม่มีทิศทาง
ตอบ 2 หน้า 68 – 70, (คําบรรยาย) George Elton Mayo ได้ทําการวิจัยแบบทดลองที่เรียกว่า Hawthorne Study หรือ Hawthorne Experiments โดยการให้กลุ่มทดลองได้รับสภาพแวดล้อม ที่เปลี่ยนแปลงไป และกลุ่มควบคุมได้รับสภาพแวดล้อมที่คงที่ ซึ่งพบผลการทดลองที่สําคัญ คือ การเกิดปรากฏการณ์ทางจิตวิทยาอันเป็นผลกระทบจากการทดลอง ซึ่งส่งผลให้กลุ่มที่ถูกเฝ้าดูทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมต่างไม่ยอมแพ้กันและกันขยันทํางานจนมีผลงานเพิ่มขึ้นทั้งสองกลุ่มโดยปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้เป็นที่รู้จักและเรียกกันต่อมาว่า “Hawthorne Effect” หมายถึงผลทางบวกที่เกิดกับผู้ปฏิบัติงานอันเนื่องมาจากผู้ปฏิบัติงานได้รับความสนใจและเอาใจใส่ดูแลที่มากขึ้นจากผู้บังคับบัญชานั่นเอง

25.”……ระบบของสังคมที่ทําหน้าที่สร้างความเป็นธรรมให้กับประชาชนทั้งในระหว่างประชาชนต่อประชาชน ด้วยกันเองและระหว่างรัฐกับประชาชน” จัดเป็นสภาพแวดล้อมประเภทใดตามทัศนะ Barton และ Chappell
(1) Political Environment.
(2) Primary Environment
(3) External Environment
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 14 – 17 กระบวนการยุติธรรม (Judiciary) เป็นระบบของสังคมที่ทําหน้าที่สร้าง ความเป็นธรรมให้กับประชาชนทั้งในระหว่างประชาชนต่อประชาชนด้วยกันเอง และระหว่างรัฐ กับประชาชน ซึ่งจัดเป็นสภาพแวดล้อมทางการเมือง (Political/Primary/Inner Environment) ประเภทหนึ่งตามทัศนะของ Barton และ Chappell (ดูคําอธิบายข้อ 7. ประกอบ)

26. “สภาพแวดล้อมขององค์การที่เปรียบได้กับสภาพแวดล้อมของกลุ่มวัยรุ่น…….” เรียกว่า
(1) Turbulent Field
(2) Placid Clustered Environment
(3) Placid Randomized Environment
(4) Disturbed-Reactive Environment
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 18 (คําบรรยาย) Emery และ Trist ได้แบ่งระดับของความสัมพันธ์ระหว่างองค์การ กับสภาพแวดล้อมออกเป็น 4 ระดับ คือ
1. Placid Randorized Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่สงบราบเรียบ การติดต่อกับ สังคมภายนอกเป็นไปโดยบังเอิญ ทําให้การเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้นน้อยมาก เช่น สภาพแวดล้อมของชาวเขาโบราณ ชาวเขาเร่ร่อน ทารกในครรภ์ เป็นต้น
2. Placid Clustered Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่ราบเรียบแต่เริ่มมีการติดต่อกับ สังคมภายนอกมากขึ้น เช่น สภาพแวดล้อมของเด็กวัยประถมศึกษา เป็นต้น
3. Disturbed-Rez.ctive Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อน ยุ่งยาก ผลของ การติดต่อเป็นผลทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงคุณภาพขึ้นได้ เช่น สภาพแวดล้อมของกลุ่มวัยรุ่น เป็นต้น
4. Turbulent Fielc เป็นสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อน ยุ่งเหยิง มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เช่น สภาพของระบบสังคมและเศรษฐกิจของไทย เป็นต้น

27. ทฤษฎีองค์การในช่วง 1960 – 1975 เป็นยุคของทฤษฎีองค์การกลุ่มใด
(1) Situational Approach
(2) Contingency Theory
(3) The Action Approach
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 4

28. จากหน้าที่ของนักบริหารที่ Henri Fayol เสนอไว้ 5 ประการเป็น POCCC C ทั้งสาม ได้แก่
(1) Commanding Controlling Correcting
(2) Controlling Correcting Coordinating
(3) Coordinating Concepting Correcting
(4) Commanding Coordinating Controlling
(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 28 – 29, 55, (คําบรรยาย) Henri Fayol ได้เสนอกิจกรรมการบริหารหรือหน้าที่ ของนักบริหารไว้ 5 ประการ ซึ่งเรียกว่า POCCC Model ประกอบด้วย
1. P = Planning (การวางแผน)
3. C = Commanding (การสั่งการ)
2. O = Organizing (การจัดรูปงาน)
4. C = Coordinating (การประสานงาน)
5. C = Controlling (การควบคุมบังคับบัญชา)

29. ข้อใดต่อไปนี้ที่ Kaufman ถือเป็น Pure Internal Management
(1) การตัดสินใจ
(2) การหาข่าวสาร
(3) การจูงใจ
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1 และ 3
ตอบ 5 หน้า 14, (คําบรรยาย) Herbert Kaufman เห็นว่า ผู้บริหารจะใช้เวลาของตนให้กับ
ภารกิจ 2 ลักษณะ คือ
1. Pure Internal Management เป็นภารกิจที่ผู้บริหารใช้เวลาน้อยเพียงร้อยละ 10 – 20 ของเวลาทั้งหมด ได้แก่ ภารกิจด้านการวินิจฉัยสั่งการหรือการตัดสินใจ และภารกิจในด้านการจูงใจให้ผู้ปฏิบัติงานในองค์การเกิดการดําเนินงานตามภาระหน้าที่
2. External Management เป็นภารกิจที่ผู้บริหารต้องใช้เวลามากถึงร้อยละ 85 – 90 ของเวลา ทั้งหมด โดยแบ่งเป็นภารกิจด้านการเป็นตัวแทนขององค์การในการติดต่อกับหน่วยงานอื่น ๆ ประมาณร้อยละ 25 – 30 ของเวลาทั้งหมด และภารกิจด้านการรับและกรองข้อมูลข่าวสาร หรือการแสวงหาข้อมูลข่าวสารจากสังคมประมาณร้อยละ 50 – 60 ของเวลาทั้งหมด

30. การจําแนกประเภทของระบบในทัศนะของ Kenneth Boulding ระดับที่เริ่มจัดเป็นระดับของ ระบบทางกายภาพ ได้แก่ระดับใด
(1) ระดับที่ 4
(2) ระดับที่ 5
(3) ระดับที่ 6
(4) ระดับที่ 7
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 88 – 89 Kerneth Boulding จําแนกประเภทของระบบออกเป็น 9 ระดับ โดยระดับที่ 1 – 3 เป็นระบบทางกายภาพ ระดับที่ 4 – 6 เป็นระบบทางชีวภาพหรือ ระบบของพฤติกรรมศาสตร์ และระดับที่ 7 – 9 เป็นระบบทางสังคม

31. Warren Bennis เสนอให้เปลี่ยน “ตัวแบบระบบราชการ” เป็น
(1) ระบบบริหารที่มีโครงสร้างยืดหยุ่น
(2) เน้นการใช้ความสัมพันธ์ในแนวนอน
(3) เน้นการรวมอํานาจ
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 72, (คําบรรยาย) Warren Bennis ได้เสนอให้เปลี่ยน “Ideal Bureaucracy (ตัวแบบระบบราชการ) ของ Max Weber เป็น “Flexible Adhocracies” ซึ่งเป็นองค์การ ที่มีลักษณะดังนี้
1. มีการจัดโครงสร้างให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์หนึ่ง ๆ หรือเป็นองค์การ ที่เน้นการทํางานแบบเฉพาะกิจ
2. เน้นการกระจายอํานาจและเป็นแบบประชาธิปไตย
3. มีโครงสร้างที่ยืดหยุ่น
4. เน้นการใช้ความรู้ (Knowledge) หรือระบบผู้เชี่ยวชาญมากกว่าการใช้อํานาจหน้าที่ (Authority)
5. เน้นการใช้ความสัมพันธ์ในแนวนอนและไม่เป็นทางการ ฯลฯ

32.Management Science หมายถึง
(1) วิชาที่เน้นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับคุณลักษณะของสังคม
(2) วิชาที่มุ่งค้นคว้าเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อนําไปใช้ในการบริหารงาน
(3) วิชาที่เน้นการทดลองประยุกต์ เพื่อคาดทํานายพฤติกรรมการทํางานในองค์การ
(4) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
(5) ทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 2 หน้า 83 – 84 การบริหารเชิงปริมาณ (Quantitative Science) แบ่งออกเป็น 2 สาขา คือ
1. วิทยาการบริหาร (Management Science : MS) เป็นวิชาที่มุ่งค้นคว้าและเผยแพร่วิชาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อนําไปใช้ในการบริหารงาน
2. การวิจัยดําเนินงาน (Operation Research : OR) เป็นวิชาที่เน้นการทดลองและประ เพื่อให้เราสามารถสังเกต เข้าใจ และคาดทํานายพฤติกรรมอันเนื่องมาจากการทํางานในองค์การ

33. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การในลักษณะของ “ระบบ”
(1) Maximized Efficiency
(2) Negative Entropy
(3) Flexible Boundaries
(4) Dynamic Equilibrium
(5) Growth Through Interral Elaboration
ตอบ 1 หน้า 98 – 106, (คําบรรยาย) ลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การและการจัดการ ตามแนวทางของ “ระบบ (ระบบเปิด)” ได้แก่
1. การวางแผนและจัดการ (Contrived)
2. ความยืดหยุ่นของขอบเขต (Flexible Boundaries)
3. การอยู่รอด (Negative Entropy)
4. การรักษาเสถียรภาพของระบบให้มีความสมดุลแบบพลวัตหรือมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา (Dynamic Equilibrium)
5. กลไกการให้ข้อมูลข่าวสาร (Feedback Mechanism)
6. กลไกในการปรับตัวและรักษาสถานภาพของระบบ (Adaptive and Maintenance Mechanism)
7. การเจริญเติบโตกายในองค์การ (Growth Through Internal Elaboration)
8. การแบ่งงานในลักษณะยืดหยุ่น ฯลฯ (ส่วนการมุ่งประสิทธิภาพสูงสุด (Maximized Efficiency) เป็นลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวทางของ “ระบบปิด”)

34. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับส่วนประกอบขององค์การ
(1) เป็นหน่วยของสังคม
(2) มีการแบ่งขอบเขตอย่างชัดแจ้ง
(3) เป็นอิสระจากสภาพแวดล้อม
(4) มีความผูกพันที่ต่อเนื่อง
(5) มีเป้าหมาย
ตอบ 3 หน้า 119 – 120 ส่วนประกอบขององค์การ แบ่งออกได้เป็น 5 ลักษณะ ดังนี้
1. มีลักษณะการมุ่งเน้นให้เกิดการประสานกัน
2. มีฐานะเป็นหน่วยทางสังคม
3. มีการแบ่งแยกขอบเขตของการเป็นองค์การแต่ละองค์การอย่างชัดแจ้ง
4. มีความผูกพันที่ต่อเนื่อง 5. มีเป้าหมายที่สูงกว่าที่แต่ละบุคคลจะสามารถกระทําได้โดยลําพัง

35. ข้อใดเป็นปัจจัยที่จะช่วยให้การจัดช่วงการบังคับบัญชากว้างยิ่งขึ้นได้
(1) ระดับขององค์การ
(2) ประเภทของกิจการ
(3) ลักษณะของผู้ใต้บังคับบัญชา
(4) ความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชา
(5) เทคนิคในการติดต่อสื่อสาร
ตอบ 5หน้า 184 – 185 ปัจจัยที่จะช่วยให้การจัดช่วงการบังคับบัญชากว้างยิ่งขึ้นได้ มีดังนี้
1. การฝึกอบรมผู้ใต้บังคับบัญชา
2. เทคนิคในการมอบหมายอํานาจหน้าที่
3. การวางแผนการปฏิบัติงานไว้ให้พร้อม
4. ลักษณะของงานในองค์การ
5. เทคนิคในการควบคุม
6. เทคนิคในการติดต่อสื่อสาร
7. ความจําเป็นในการติดต่อส่วนตัว

36. ข้อใดปัจจัยที่กําหนดขนาดของช่วงการบังคับบัญชา
(1) ระดับขององค์การ
(2) ลักษณะของงานในองค์การ
(3) ลักษณะของผู้ใต้บังคับบัญชา
(4) ความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชา
(5) เทคนิคในการติดต่อสื่อสาร
ตอบ 1, 3 หน้า 181 – 182 ปัจจัยที่กําหนดขนาดของช่วงการบังคับบัญชา มีดังนี้
1. ระดับขององค์การ
2. ประเภทของกิจกรรม
3. ลักษณะของผู้ใต้บังคับบัญชา
4. ลักษณะขององค์การ
5. ความสามารถของผู้บังคับบัญชา

37. ข้อใดเป็นปัจจัยที่กําหนดขนาดของการกระจายอํานาจ
(1) ความสําคัญของเรื่องที่ตัดสินใจ
(2) ขนาดขององค์การ
(3) ความเป็นเอกภาพในการบริหาร
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 170 – 174, (ค่าบรรยาย) ปัจจัยที่มีผลต่อการกําหนดขนาดของการกระจายอํานาจ และการรวมอํานาจในองค์การ มีดังนี้
1. ความสําคัญของเรื่องที่ตัดสินใจ
2. ความต้องการเป็นแบบเดียวกันทางด้านนโยบาย
3. ขนาดขององค์การ
4. ประวัติความเป็นมาของกิจการ
5. ปรัชญาของการบริหาร
6. ความต้องการความเป็นอิสระในการดําเนินงาน
7. จํานวนของผู้บริหารที่มีอยู่ในองค์การ
8. เทคนิคในการควบคุม
9. การกระจายของการปฏิบัติงานที่มีการแบ่งแยกงานไปตามสถานการณ์ที่ต่างออกไป
10. การเปลี่ยนแปลงขององค์การ
11. อิทธิพลของสภาพแวดล้อมองค์การ

ตั้งแต่ข้อ 38 – 42. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Division of Work
(2) Departmentation
(3) Line Agency
(4) Staff Agency
(5) Auxiliary Agency

38. หน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่ตรงกับวัตถุประสงค์หลักขององค์การ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
ตอบ 3 หน้า 197 – 201, (คําบรรยาย) ประเภทของหน่วยงานซึ่งแบ่งตามลักษณะของการปฏิบัติงาน
ภายในองค์การ มี 3 ประเภท คือ
1. หน่วยงานหลัก (Line Agency) หมายถึง หน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่ตรงกับวัตถุประสงค์หลัก ขององค์การ หรือเป็นหน่วยงานที่ปฏิบัติงานหลักขององค์การ เช่น กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศของกระทรวงกลาโหม คณะต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย หน่วยโยธาและ หน่วยสาธารณสุขของเทศบาล เป็นต้น
2. หน่วยงานที่ปรึกษาหรือหน่วยงานสนับสนุน (Staff Agency) หมายถึง หน่วยงานที่มิได้ ดําเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การโดยตรง แต่เป็นหน่วยงานช่วยเหลือสนับสนุน การปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานหลัก เช่น กองวิชาการ หน่วยนโยบายและแผน หน่วยการเงิน/ งบประมาณ หน่วยการเจ้าหน้าที่ หน่วยโฆษณาและประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
3. หน่วยงานอนุกร (Auxiliary Agency) หรือหน่วยงานแม่บ้าน (House-Keeping Agency) หมายถึง หน่วยงานที่ช่วยบริการหน่วยงานหลักและหน่วยงานที่ปรึกษาในกิจรรมลักษณะ ของแม่บ้าน เช่น หน่วยพัสดุ หน่วยอาคารสถานที่ หน่วยสารบรรณ หน่วยสวัสดิการหน่วยงานด้านความสะอาดหรืองานเทศกิจ เป็นต้น

39. หน่วยงานที่มิได้ดําเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การโดยตรง แต่เป็นหน่วยงานช่วยเหลือสนับสนุนให้การปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานหลัก เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 38. ประกอบ

40. การพิจารณารวมกลุ่มกิจกรรมต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เป็นไปตามหลักเกณฑ์การแบ่งหน้าที่การงาน เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
ตอบ 2 หน้า 191 การจัดแผนกงาน (Departmentation) หมายถึง การพิจารณารวมกลุ่มกิจกรรม ต่าง ๆ เข้าด้วยกันซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์การแบ่งหน้าที่การงาน เพื่อแบ่งแยกกิจกรรมอันมีอยู่ มากมายในองค์การ มอบหมายให้แก่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลได้แยกกันปฏิบัติตามความสามารถของตนตามหลักเกณฑ์ของความสามารถเฉพาะด้าน

41. หน่วยงานที่ช่วยบริการแก่หน่วยงานหลักและหน่วยงานที่ปรึกษาในกิจกรรมลักษณะของแม่บ้าน
เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 38. ประกอบ

42. การแบ่งแยกภารกิจต่าง ๆ ขององค์การออกเป็นส่วน ๆ และมอบหมายให้สมาชิกรับไปปฏิบัติตามเป้าหมาย ที่องค์การได้วางไว้ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
ตอบ 1 หน้า 189 การแบ่งงานกันทําหรือการแบ่งหน้าที่ (Division of Work) หรือการแบ่งแยกแรงงาน
(Division of Labor) หรือการแบ่งงานกันทําโดยยึดถือหลักความถนัดและความสามารถหรือ ความชํานาญเฉพาะด้าน (Specialization) หมายถึง การแบ่งแยกภารกิจต่าง ๆ ขององค์การ ออกเป็นส่วน ๆ และมอบหมายให้สมาชิกรับไปปฏิบัติ เพื่อให้สําเร็จตามเป้าหมายที่องค์การ ได้วางไว้ ซึ่งการแบ่งงานกันทํานี้จะช่วยแก้ปัญหาในเรื่องการทํางานซ้ําซ้อนหรือการเหลื่อมล้ํา ในการทํางานในหน้าที่

43. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์ในการแบ่งหน้าที่
(1) การยึดถือความถนัด ความสามารถ
(2) การแบ่งงานตามความชํานาญเฉพาะด้าน
(3) การควบคุมการปฏิบัติงาน
(4) การแก้ปัญหาความซ้ำซ้อนในการทํางาน
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 42. ประกอบ

44. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะขององค์การสูง
(1) มีช่วงการบังคับบัญชากว้าง
(2) องค์การมีความซับซ้อนมาก
(3) มีสายการบังคับบัญชาที่ยาว
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 121 – 122, 182 – 184 องค์การสูง (Tallness) เป็นองค์การที่มีความซับซ้อนมากมีช่วงการบังคับบัญชาแคบและสายการบังคับบัญชาที่ยาว ซึ่งมีลักษณะตรงกันข้ามกับ องค์การราบ (Flatriess) ซึ่งเป็นองค์การที่มีความซับซ้อนน้อย มีช่วงการบังคับบัญชากว้าง และสายการบังคับบัญชาที่สั้น

45. ข้อใดไม่ถูกต้อง
(1) การที่องค์การได้กําหนดกฎเกณฑ์เพื่อวางระเบียบแบบแผนต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานเพื่อให้เป็นมาตรฐาน อันเป็นพื้นฐานที่นําไปสู่เป้าหมายของแต่ละองค์การ ได้แก่ Formalization
(2) ความพยายามในการจัดโครงสร้างและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การ เพื่อให้มีความเหมาะสมและ เอื้ออํานวยต่อการปฏิบัติงานต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ ได้แก่ Formalization
(3) การตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ อยู่ที่ผู้บริหารระดับสูงเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ Centralization
(4) Hierarchy หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Chain of Command
(5) ไม่ถูกต้องทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 122 – 123, (คําบรรยาย) การออกแบบองค์การ (Organization Design) หรือการจัด องค์การ (Organizing) คือ การมุ่งหรือพยายามในการจัดโครงสร้างและเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง องค์การ เพื่อให้มีความเหมาะสมและเอื้ออํานวยต่อการปฏิบัติงานต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ขององค์การ การออกแบบองค์การนี้จะทําให้เกิดแผนภูมิขององค์การ (Organization Charts)

46. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับการจัดสายการบังคับบัญชาที่ดี
(1) ระดับชั้นไม่ควรมากหรือน้อยเกินไป
(2) แต่ละสายต้องชัดเจน
(3) การดําเนินการต่าง ๆ ต้องให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก
ตอบ 3 หน้า 143 หลักเกณฑ์ในการจัดสายการบังคับบัญชาที่ดี มีดังนี้
1. จํานวนระดับชั้นของสายการบังคับบัญชาควรจัดให้มีพอสมควรไม่มากหรือน้อยจนเกินไป
2. สายการบังคับบัญชาแต่ละสายควรจะต้องชัดเจนว่าใครเป็นผู้ที่มีอํานาจในการสั่งงาน ผ่านไปยังผู้ใด และใครเป็นผู้รับผิดชอบ
3. สายการบังคับบัญชาแต่ละสายจะต้องไม่สับสนก้าวก่ายหรือซ้อนกัน

47. ใครที่คิดว่าการแบ่งงานกันทําจะช่วยให้ผลผลิตดีขึ้นและช่วยให้ประสิทธิภาพในการทํางานดีขึ้น
(1) Koontz and O’Donnell
(2) Henri Fayol
(3) Elton Mayo
(4) Adam Smith
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 190 Henri Fayol ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับการแบ่งงานกันทําไว้ในหนังสือชื่อ General and Industrial Administration ว่า “การแบ่งงานกันทําตามความชํานาญ เฉพาะด้านจะช่วยให้ผลผลิตดีขึ้น รวมทั้งช่วยให้ประสิทธิภาพในการทํางานดีขึ้นด้วย”

ตั้งแต่ข้อ 48 – 52. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Complexity
(2) Formalization
(3) Centralization
(4) Organization Design
(5) Authority

48. การที่องค์การได้กําหนดกฎเกณฑ์เพื่อวางระเบียบแบบแผนต่าง ๆ ในการปฏิบัติงาน เพื่อให้เป็นมาตรฐาน อันเป็นพื้นฐานที่นําไปสู่เป้าหมายของแต่ละองค์การ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
ตอบ 2 หน้า 122 ความเป็นทางการขององค์การ (Formalization) คือ การที่องค์การได้กําหนด กฎเกณฑ์เพื่อวางระเบียบแบบแผนต่าง ๆ ในการปฏิบัติงาน เพื่อให้เป็นมาตรฐานอันเป็น พื้นฐานที่นําไปสู่เป้าหมายของแต่ละองค์การ

49.Power to Command เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด
ตอบ 5 หน้า 146 อํานาจหน้าที่ (Authority) หมายถึง อํานาจในการสั่งการ (Power to Command)
เพื่อให้บุคคลอื่นกระทําหรือไม่กระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ผู้มีอํานาจจะเห็นสมควร ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์การที่ได้ตั้งไว้ อํานาจหน้าที่นี้จะเป็นอํานาจหน้าที่ของ ผู้บังคับบัญชาซึ่งได้มาโดยตําแหน่งที่เป็นทางการ ทําให้ผู้บังคับบัญชาสามารถสั่งการได้ แต่ทั้งนี้ จะเป็นผลใช้บังคับได้ก็ต่อเมื่อใช้ภายในขอบเขตของตําแหน่งหน้าที่ด้วย นอกจากนี้อํานาจหน้าที่ ยังมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับความรับผิดชอบ (Responsibility) หรืออาจกล่าวได้ว่า อํานาจหน้าที่มีฐานะเป็นตัวกําหนดความรับผิดชอบ เช่น ผู้บริหารระดับสูงมีตําแหน่งสูงและ มีอํานาจหน้าที่มาก จึงต้องมีความรับผิดชอบมากไปด้วย เป็นต้น

50. ลักษณะที่องค์การแต่ละองค์การแบ่งแยกงานซึ่งมีจํานวนมากออกเป็นกลุ่ม ๆ หลายกลุ่มงาน มีการแบ่งแยกตามความถนัดหรือความเชี่ยวชาญ รวมทั้งแบ่งเป็นระดับต่าง ๆ จากสูงลงมาสู่ต่ํา รวมทั้งแบ่งไปยังพื้นที่อื่นแต่ละสาขา เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
ตอบ 1 หน้า 121 ความซับซ้อนขององค์การ (Complexity) คือ ลักษณะที่องค์การแต่ละองค์การ จะมีการแบ่งแยกงาน (กิจกรรม) ซึ่งมีเป็นจํานวนมากออกเป็นกลุ่ม ๆ หลายกลุ่มงาน มีการ แบ่งแยกตามความถนัดหรือความเชี่ยวชาญแต่ละด้านของบุคลากร และมีการแบ่งเป็นระดับ ต่าง ๆ จากสูงลงมาต่ํา รวมทั้งอาจมีการแบ่งไปยังพื้นที่อื่น ๆ แต่ละสาขาด้วย

51. การตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ อยู่ที่ผู้บริหารระดับสูงเป็นส่วนใหญ่ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
ตอบ 3 หน้า 168, (คําบรรยาย) การรวมอํานาจ (Centralization) หมายถึง การสงวนหรือรักษา อํานาจไว้ที่ส่วนกลางขององค์การ หรือหมายถึง สภาวะขององค์การ ซึ่งในระดับสูง ๆ ของ สายการบังคับบัญชาได้รวมอํานาจหน้าที่ไว้ ทั้งนี้เพื่อการตัดสินใจส่วนใหญ่จะได้กระทําจาก ระดับสูงนั้น ดังนั้นตามหลักการรวมอํานาจ การตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ในองค์การส่วนมากแล้ว จะมิได้มอบให้ผู้ปฏิบัติงานตัดสินใจเอง หากแต่ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง เป็นผู้ตัดสินใจให้เป็นส่วนใหญ่ ตัวอย่างของการรวมอํานาจ เช่น การที่สํานักอธิการบดี รับสมัครอาจารย์เอง แทนที่จะให้ภาควิชาเป็นคนตัดสินใจรับสมัคร เป็นต้น

52. ความพยายามในการจัดโครงสร้างและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การ เพื่อให้มีความเหมาะสมและ เอื้ออํานวยต่อการปฏิบัติงานต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 45. ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 53 – 57. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Span of Control
(2) Unity of Command
(3) Responsibility
(4) Hierarchy
(5) Specialization

53. การกําหนดลําดับชั้นในการบังคับบัญชาเพื่อจะบ่งชี้ว่าตําแหน่งใดหรือหน่วยงานใดอยู่ในลําดับอํานาจหน้าที่ชั้นใดหรือสูงกว่าหรือต่ํากว่าตําแหน่งใดหรือหน่วยงานใดบ้าง เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
ตอบ 4 หน้า 139 สายการบังคับบัญชา (Chain of Command, Line of Authority หรือ Hierarchy) หมายถึง การกําหนดลําดับขั้นในการบังคับบัญชาเพื่อจะบ่งชี้ว่าตําแหน่งใดหรือหน่วยงานใด อยู่ในลําดับอํานาจหน้าที่ชั้นใดหรือสูงกว่าหรือต่ํากว่าตําแหน่งใดหรือหน่วยงานใดบ้าง

54. ข้อใดเกี่ยวข้องกับ Authority มากที่สุด
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 49. ประกอบ

55. จํานวนผู้ใต้บังคับบัญชาที่ผู้บังคับบัญชาคนหนึ่ง ๆ จะสามารถควบคุมได้ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
ตอบ 1 หน้า 179 ช่วงของการบังคับบัญชา หรือช่วงของการควบคุม (Span of Control, Span of Management หรือ Span of Supervision) หมายถึง จํานวนผู้ใต้บังคับบัญชา (ลูกน้อง) ที่ผู้บังคับบัญชา (หัวหน้า) คนหนึ่ง ๆ จะสามารถควบคุมได้ ซึ่งช่วงการควบคุมนี้เป็นสิ่งที่จะ แสดงให้รู้ว่า ผู้บังคับบัญชาคนหนึ่ง ๆ จะมีขอบเขตของการกํากับดูแลหรือการบังคับบัญชา เพียงใด ทั้งนี้คือการพิจารณาว่าควรจะมีผู้ใต้บังคับบัญชากี่คน หรือมีหน่วยงานภายในความ รับผิดชอบหน่วยงาน จึงเป็นการเหมาะสมที่จะทําให้การกํากับดูแลการปฏิบัติงานเป็นไปได้โดยเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ

56. การจัดการที่ไม่ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องรับผิดชอบต่อผู้บริหารมากกว่า 1 คน เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
ตอบ 2 หน้า 186 เอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command) หมายถึง การจัดการที่ไม่ให้ ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องรับผิดชอบต่อผู้บังคับบัญชาหรือผู้บริหารมากกว่า 1 คน

57. การแบ่งงานกันทําโดยยึดถือหลักความถนัดและความสามารถ เรียกว่าอะไร
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 42. ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 58 – 67. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Decentralization
(2) Chain of Command
(3) Centralization
(4) Organization Design
(5) Delegation of Authority

58. ความสัมพันธ์ตามลําดับขั้นระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
ตอบ 2 หน้า 139, (คําบรรยาย) สายการบังคับบัญชา (Chain of Command, Line of Authority หรือ Hierarchy) หมายถึง ความสัมพันธ์ตามลําดับขั้นระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา ในแต่ละองค์การ เพื่อแสดงให้ทราบว่าสัมพันธภาพของการติดต่อสื่อข้อความจากผู้บังคับบัญชา ไปยังผู้ใต้บังคับบัญชาในแต่ละองค์การแต่ละหน่วยงานนั้นมีลักษณะและทางเดินเป็นอย่างไรมีการควบคุมและการรับผิดชอบอย่างไร

59. การจัดกลุ่มหน้าที่มอบให้ผู้ใต้บังคับบัญชาไปปฏิบัติงาน เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
ตอบ 5 หน้า 153, 160 การมอบหมายอํานาจหน้าที่ (Delegation of Authority) หมายถึง การจัด กลุ่มหน้าที่มอบให้ผู้ใต้บังคับบัญชาไปปฏิบัติงาน หรือหมายถึง การที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย อํานาจหน้าที่ความรับผิดชอบบางประการให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา การมอบหมายอํานาจหน้าที่นี้แม้ว่าผู้บังคับบัญชาได้มอบให้ผู้ใต้บังคับบัญชาไปปฏิบัติงานแล้วก็ตามแต่ความรับผิดชอบก็ยังคงตกอยู่กับผู้บังคับบัญชา

60. ผู้บังคับบัญชาได้มอบทั้งอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาไปปฏิบัติงาน
เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด
ตอบ 1 หน้า 169, (คําบรรยาย) การกระจายอํานาจ (Decentralization) หมายถึง ความพยายามที่ จะมอบหมายหน้าที่ทั้งหมดไปยังผู้บริหารในระดับต่าง ๆ ที่อยู่รองลงมาให้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้ ยกเว้นอํานาจหน้าที่บางอย่างซึ่งจําเป็นจะต้องสงวนไว้ที่ส่วนกลาง การกระจายอํานาจนี้ ผู้บังคับบัญชาจะต้องมอบทั้งอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาไปปฏิบัติงาน

61. การสงวนอํานาจหน้าที่ไว้ที่ส่วนกลาง ให้ผู้บังคับบัญชาระดับสูงเป็นผู้ตัดสินใจ เรียกว่าอะไร
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ

62. การปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น เทคนิคใดเกี่ยวข้องที่สุด
ตอบ 1 หน้า 175 การกระจายอํานาจ (Decentralization) มีประโยชน์ดังนี้
1. ช่วยแบ่งเบาภาระของผู้บริหารระดับสูง ทําให้ได้มีเวลาทํางานสําคัญจําเป็นได้มากขึ้น
2. เป็นการสนองการบริหารหรือความต้องการของแต่ละภูมิภาคได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และรวดเร็ว
3. ปฏิบัติงานได้ถูกต้องเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น
4. มีโอกาสในการฝึกฝนผู้บังคับบัญชาระดับรองลงมาให้มีความสามารถ ทักษะ และฝึกฝน การตัดสินใจด้วย 5. โอกาสของการเติบโตหรือขยายองค์การมีทางเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

63. แม้ว่าผู้บังคับบัญชาได้มอบให้ผู้ใต้บังคับบัญชาไปปฏิบัติงานแล้วก็ตามแต่ความรับผิดชอบยังคงตกอยู่กับผู้บังคับบัญชาอยู่ เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 59. ประกอบ

64.Line of Responsibility เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด
ตอบ 2 หน้า 140 สายการบังคับบัญชา (Chain of Command) เป็นการแสดงให้เห็นถึงลักษณะของ สายความรับผิดชอบ (Line of Responsibility) หมายความว่า ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจะต้องมี พันธะผูกพันในผลงานของตนต่อผู้บังคับบัญชา ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจะต้องตระหนักอยู่เสมอว่าเขาจะต้องมีข้อผูกพันที่จะต้องรับผิดชอบต่องานที่ผู้บังคับบัญชาสั่งไปนั่นเอง

65. การที่สํานักอธิการบดีรับสมัครอาจารย์เองแทนที่จะให้ภาควิชาเป็นคนตัดสินใจรับสมัคร เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ

66. การจัดองค์การให้มีลักษณะความเป็นวิชาชีพ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
ตอบ 4 หน้า 123, 210 – 14 การออกแบบองค์การ (Organization Design) หรือการจัดองค์การ(Organizing) เป็นการสร้างแบบ ออกแบบ หรือจัดแบบของโครงสร้างองค์การให้มีความเหมาะสม ซึ่งการจัดองค์การนี้จะทําให้เกิดองค์การในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 รูปแบบ คือ
1. องค์การแบบเรียบง่าย
2. องค์การระบบราชการแบบเครื่องจักรกล
3. องค์การระบบราชการแบบวิชาชีพ
4. องค์การแบบสาขา
5. องค์การแบบโครงการ

67. ข้อใดที่ทําให้เกิดแผนภูมิขององค์การ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 45. ประกอบ

68. “มหาวิทยาลัยรามคําแหงเป็นสถาบันหลักที่มุ่งขยายโอกาสทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคนให้พัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน” สิ่งนี้ถือเป็น
(1) วิสัยทัศน์
(2) พันธกิจ
(3) เป้าหมายปลายประสงค์
(4) ตัวชี้วัด
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 220, (คําบรรยาย) วิสัยทัศน์ (Vision) คือ สิ่งที่องค์การต้องการจะเป็น ตัวอย่างเช่น
-วิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ เป็นสถาบันหลักที่มุ่งขยายโอกาสทางการศึกษา เพื่อพัฒนาคนให้พัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
-วิสัยทัศน์ของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ สร้างความเสมอภาคทางการศึกษา ด้านรัฐศาสตร์ ส่งเสริมการเรียนการสอนและบริการวิชาการสู่ความเป็นเลิศ

ตั้งแต่ข้อ 69. – 73. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Strengths
(2) Weaknesses
(3) Opportunities
(4) Threats
(5) Problems

69. ในการวิเคราะห์ SWOT Analyss นั้น การที่ “คู่แข่งเริ่มนําเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาสร้างความได้เปรียบ
ในการแข่งขัน” ถือเป็นสิ่งใด
ตอบ 4 หน้า 220, (คําบรรยาย) การวิเคราะห์องค์การโดยใช้เทคนิค SWOT Analysis นั้น จะประกอบด้วย
1. การวิเคราะห์ปัจจัยภายในองค์การ (Internal Factor) ได้แก่

S = Strengths คือ จุดแข็ง ศักยภาพ หรือความสามารถขององค์การที่มีอยู่จริง เช่น การมีงบประมาณจํานวนมาก การมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย การมีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ มีความสามัคคีในการปฏิบัติงาน การมีการวางแผนในการรับบุคลากรใหม่ เพื่อทดแทนกับอัตราว่าง เป็นต้น

W = Weaknesses คือ จุดอ่อนหรือข้อบกพร่องต่าง ๆ ขององค์การ เช่น บุคลากร ขาดความรู้ความสามารถ งบประมาณมีไม่เพียงพอ ขาดการสนับสนุนให้มีการทํางานเป็นทีม เป็นต้น

2. การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกองค์การ (External Factor) ได้แก่
O = Opportunities คือ โอกาสขององค์การ เช่น สถานการณ์การแพร่ระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ดีขึ้น ทําให้จํานวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น เป็นต้น
– T = Threats คือ ภัยคุกคามที่มีผลต่อการดําเนินงานขององค์การ เช่น การที่คู่แข่ง เริ่มนําเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน เป็นต้น

70. จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมองค์การพบว่า “องค์การมีบุคลากรที่มีความสามัคคีในการปฏิบัติงาน” ข้อความดังกล่าวเป็นการวิเคราะห์ใด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 69. ประกอบ

71. จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมองค์การพบว่า “สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ดีขึ้น ทําให้จํานวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น” ข้อความดังกล่าวเป็นการวิเคราะห์ใดสําหรับกระทรวง การท่องเที่ยวและกีฬา
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 69. ประกอบ

72. จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมองค์การพบว่า “องค์การมีการวางแผนในการรับบุคลากรใหม่เพื่อทดแทน กับอัตราว่าง” ข้อความดังกล่าวเป็นการวิเคราะห์ใด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 69. ประกอบ

73. จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมองค์การพบว่า “ขาดการสนับสนุนให้มีการทํางานเป็นทีม” ข้อความ
ดังกล่าวเป็นการวิเคราะห์ใด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 69. ประกอบ

74. ข้อใดเป็นนิยามของ “การตกลงใจที่จะยุติข้อขัดแย้ง ข้อถกเถียงโดยให้มีการกระทําไปในทางหนึ่งทางใดที่ได้มีการพิจารณาและตรวจสอบอย่างรอบคอบแล้ว”
(1) ความขัดแย้ง
(2) การจัดองค์การ
(3) การตัดสินใจ
(4) การวางแผน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 228 การตัดสินใจ (Decision Making) หมายถึง การพิจารณาตกลงใจชี้ขาดจากทางเลือก ที่มีอยู่มากกว่าหนึ่งทางเลือกขึ้นไปในอันที่จะให้มีการกระทําในลักษณะเฉพาะใด ๆ หรือหมายถึงการตกลงใจที่จะยุติข้อขัดแย้ง ข้อถกเถียงโดยให้มีการกระทําไปในทางหนึ่งทางใดที่ได้มีการ พิจารณาและตรวจสอบอย่างรอบคอบแล้ว

75. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ
(1) บัวไม่ไปทํางานเพราะฝนตก
(2) กมลเนตรห่อข้าวไปรับประทานที่ทํางานเพราะต้องการประหยัด
(3) อําพลไม่ดื่มน้ำอัดลมเพราะไม่ดีต่อสุขภาพ
(5) ราชันย์ขากระตุกเพราะลูกชายนําไม้มาเคาะหัวเข่า
(4) นานาไม่ลางานเพราะกลัวไม่ได้โบนัสปลายปี
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 74. ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 76 – 80. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) International Level
(2) Operational Level
(3) Coordinative Level
(4) Strategic Level
(5) ไม่มีข้อใดถูก

76. เป็นการตัดสินใจในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานโดยตรง
ตอบ 2 หน้า 229 – 230, (คําบรรยาย) การตัดสินใจในระดับปฏิบัติการ (Operational Level) เป็นการตัดสินใจในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานโดยตรง ซึ่งเป็นการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรและวัตถุดิบทั้งหลายให้เกิดเป็นสินค้าและบริการตามเป้าหมาย ขององค์การ การตัดสินใจในระดับนี้จะเป็นไปชั่วระยะเวลาอันสั้น มีการใช้เทคนิคประกอบ การตัดสินใจ เช่น อาจใช้ระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการควบคุมการดําเนินงานโดยจัด ให้มีการตัดสินใจไว้ล่วงหน้า (Programmed Decision) และเป็นการตัดสินใจที่เหมาะกับ สภาพแวดล้อมแบบปิด ผู้บริหารที่ใช้การตัดสินใจระดับนี้ เช่น หัวหน้างาน (Supervisor),
หัวหน้าคนงาน (Foreman) เป็นต้น

77. การตัดสินใจระดับนี้มักเป็นการตัดสินใจในระยะยาวและมีลักษณะที่ไม่แน่นอน
ตอบ 4 หน้า 229, 236 การตัดสินใจในระดับการกําหนดนโยบายและเป้าหมายขององค์การ หรือระดับของการกําหนดกลยุทธ์ (Strategic Level) จะมีลักษณะที่เกี่ยวข้องกับการกําหนด ลักษณะของขอบเขตขององค์การกับสภาพแวดล้อมว่าจะยอมให้มีความสัมพันธ์กันในระดับใด มีการรับเอาอิทธิพล และทรัพยากรจากสภาพแวดล้อมเข้ามาในองค์การมากน้อยเพียงใด จะเลือก รับเอาสิ่งใด และต้องการให้องค์การตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมในลักษณะใด การตัดสินใจ ระดับนี้มักเป็นการตัดสินใจในระยะยาวและมีลักษณะที่ไม่แน่นอน จําเป็นต้องมีการพิจารณา อย่างรอบคอบ มีเหตุผล และต้องมีความรับผิดชอบต่อการกระทําอย่างมาก ดังนั้นการตัดสินใจ จึงไม่สามารถจัดทําไว้ล่วงหน้าได้ (Non-Programmable) ต้องใช้วิจารณญาณและความคิดเห็น ของผู้ทําการตัดสินใจ (Judgmental)

78. การตัดสินใจในระดับนี้มีทั้งในลักษณะ “ทันทีทันใด” และ “การพิจารณาในระยะยาว”
ตอบ 3 หน้า 229 การตัดสินใจในระดับการประสานงาน (Coordinative Level) เป็นการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับความพยายามในอันที่จะประสานความสัมพันธ์ระหว่างการตัดสินใจระดับสูงกับ การดําเนินงานในระดับการปฏิบัติการ การตัดสินใจในระดับนี้มีทั้งในลักษณะ “ทันทีทันใด” และ “การพิจารณาในระยะยาว” ผู้บริหารในระดับนี้จะต้องทําหน้าที่ตัดสินใจเพื่อให้เกิดการประสานกันระหว่างการปฏิบัติงานในองค์การกับการนําเอาปัจจัยภายนอกองค์การ(สภาพแวดล้อม) เข้ามาในองค์การ

79. การตัดสินใจในระดับนี้จะเป็นไปชั่วระยะเวลาอันสั้นมีการใช้เทคนิคประกอบการตัดสินใจ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 76. ประกอบ

80. มีลักษณะเกี่ยวข้องกับการกําหนดขอบเขตขององค์การกับสภาพแวดล้อมว่าจะยอมให้มีความสัมพันธ์กันในระดับใด
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 77. ประกอบ

81. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับการตัดสินใจ
(1) อาจกล่าวได้ว่าการบริหารเป็นการตัดสินใจ
(2) ระบบของสิ่งมีชีวิตทั้งหลายจะต้องประกอบไปด้วยระบบของการตัดสินใจ
(3) หากปราศจากระบบของการตัดสินใจแล้วระบบของสิ่งมีชีวิตจะดํารงอยู่ไม่ได้
(4) การควบคุมองค์การเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในระดับของการประสานงาน
(5) การตัดสินใจมีบทบาทในทุกส่วนของกระบวนการบริหารยกเว้นการวางแผน
ตอบ 5 หน้า 231 – 232 การตัดสินใจมีบทบาทอยู่ในทุก ๆ ส่วนของกระบวนการบริหารไม่ว่าจะเป็น การวางแผน การจัดรูปองค์การ และการควบคุมองค์การ โดยการวางแผนและการจัดรูปองค์การ จะเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในระดับของการกําหนดยุทธวิธี (Strategic Level) ส่วนการควบคุม องค์การจะเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในระดับของการประสานงาน (Coordinative Level) และการปฏิบัติการ (Operational Level)

82. ข้อใดเป็นรูปแบบการตัดสินใจในลักษณะ Non-Programmable
(1) ระบบสัญญาณไฟจราจร
(2) ระบบทางเดินของงานในโรงงานอุตสาหกรรม
(3) ระเบียบปฏิบัติของบุคลากร
(4) ขั้นตอนการให้บริการ
(5) การพัฒนาชนบท
ตอบ 5 หน้า 236 รูปแบบการตัดสินใจ แบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ คือ
1. การตัดสินใจที่สามารถจัดทําไว้ล่วงหน้าได้ (Programmable) เช่น ระบบสัญญาไฟจราจร ระบบทางเดินของงานในโรงงานอุตสาหกรรม ระบบการขายสินค้าโดยเครื่องอัตโนมัติ ระเบียบปฏิบัติของบุคลากร เป็นต้น
2. การตัดสินใจที่ไม่สามารถจัดทําไว้ล่วงหน้าได้ (Non-Programmable) เช่น การเสนอขาย สินค้าราคาแพง หรือการทํางานที่ต้องเผชิญสถานการณ์ไม่แน่นอน เช่น การพัฒนาชนบท เป็นต้น

83. สําหรับการสนทนาทางโทรศัพท์ “กระบอกฟัง” เป็นสิ่งใดในกระบวนการสื่อความเข้าใจ
(1) Information Source
(2) Transmitter
(3) Channel
(4) Receiver
(5) Noise Source
ตอบ 4 หน้า 245, (คําบรรยาย) ในกระบวนการสื่อความเข้าใจนั้น Receiver คือ เครื่องรับสัญญาณ ซึ่งจะทําหน้าที่รับข้อมูลข่าวสารจากผู้ส่งสารมายังผู้รับสาร ตัวอย่างของ Receiver เช่น “กระบอกฟัง” ในการสนทนากันทางโทรศัพท์ เป็นต้น

84. ข้อใดเป็น External Information Base ขององค์การ
(1) ระบบการผลิต
(2) ระบบการจัดซื้อ
(3) ระบบการควบคุม
(4) ระบบการเงิน
(5) การเมือง
ตอบ 5 หน้า 251 – 252 พื้นฐานและที่มาของข้อมูลข่าวสาร มีดังนี้
1. ข้อมูลข่าวสารจากภายในองค์การ (Internal Information Base) ได้มาจากหน่วยงานต่าง ๆ และปัจจัยภายในองค์การเอง เช่น ระบบการเจ้าหน้าที่ ระบบการขายสินค้าและบริการ ระบบของคําสั่งและการควบคุม ระบบการผลิต ระบบการควบคุมสินค้า ระบบการจัดซื้อ ระบบการเงิน เป็นต้น
2. ข้อมูลข่าวสารจากภายนอกองค์การ (External Information Base) ได้มาจากระบบ สภาพแวดล้อมขององค์การ ได้แก่ สภาพสังคม สภาพเศรษฐกิจ และสภาพการเมือง

85. การตัดสินใจทางการบริหารที่ดี ต้องอาศัยเงื่อนไขประกอบการตัดสินใจข้อใด
(1) Transmitter
(2) Information
(4) Commanding
(5) Organizing
(3) Channel
ตอบ 2 หน้า 255, (คําบรรยาย) การตัดสินใจทางการบริหารที่ดีนั้นจะต้องอาศัยเงื่อนไขประกอบ การตัดสินใจที่สมบูรณ์ นั่นคือ จะต้องมีการรวบรวมข้อมูลข่าวสาร (Information) ที่เพียงพอ และเหมาะสม โดยข้อมูลข่าวสารนั้นอาจได้มาจากปัจจัยภายในองค์การเอง หรือได้มาจาก ปัจจัยภายนอกองค์การ ทั้งนี้การสร้างระบบทางเดินของข้อมูลข่าวสารที่ดีจะช่วยให้เงื่อนไข ของการตัดสินใจสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

86. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับการควบคุมองค์การ
(1) เป็นวิธีการที่สําคัญในการที่จะได้มาซึ่งการประสานงานที่ดีภายในองค์การ
(2) คือการสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นภายในองค์การ
(3) หมายถึงการตรวจสอบผลการดําเนินงานว่ามีประสิทธิภาพเพียงใด
(4) หมายถึงการตรวจสอบเปรียบเทียบผลงานกับแผนงาน หรือมาตรฐานที่ได้ตั้งเอาไว้
(5) การปฏิบัติการตามแผนงานต้องเกิดขึ้นก่อนการควบคุมองค์การเสมอ
ตอบ 5 หน้า 266, (คําบรรยาย) การควบคุมองค์การไม่จําเป็นต้องเกิดขึ้นหลังการปฏิบัติการตาม แผนงานเสมอไป การควบคุมองค์การนั้นอาจเกิดขึ้นก่อนการปฏิบัติการตามแผนงาน ซึ่งเรียกว่า การควบคุมล่วงหน้า (Pre Control) หรืออาจเกิดขึ้นขณะปฏิบัติการตามแผนงาน ซึ่งเรียกว่า การควบคุมในสภาพการปฏิบัติงานจริง (Real Time Control) หรือเกิดขึ้นหลังการปฏิบัติการ ตามแผนงาน ซึ่งเรียกว่า การควบคุมทีหลัง (Post Cor-trol) ก็ได้

87. การตรวจสอบผลกําไรเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติงาน ถือเป็นการควบคุมในลักษณะใด
(1) Pre Control
(2) Real Time Control
(3) Post Control
(4) Before Control
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 266, (คําบรรยาย) การควบคุมที่หลัง (Post Control) เป็นการสร้างเป้าหมายไว้ เพื่อที่จะใช้เป็นเครื่องมือตรวจสอบเมื่อเสร็จสิ้นงวดการปฏิบัติงาน เช่น การประเมินผลลัพธ์ ในการดําเนินงาน การตรวจสอบผลกําไรเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติงาน การประเมินผลสรุปของ โครงการ การตรวจงานหรือการประเมินผลการดําเนินงานต่าง ๆ เป็นต้น

88. บุคคลในข้อใดจัดอยู่ในกลุ่มทฤษฎีแรงจูงใจกลุ่มเดียวกับ Mastow
(1) Victor H. Vroorn
(2) J. Stacy Adams
(3) Edward Thorndike
(4) B. F. Skinner
(5) Clayton Alderfer
ตอบ 5 หน้า 272 (คําบรรยาย) ทฤษฎีหลักการจูงใจ (Theory of Motivation) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มทฤษฎีของกระบวนการ (Process Theory) จะพยายามอธิบายว่าพฤติกรรมของมนุษย์จะถูกกระตุ้นได้อย่างไร จะถูกชี้นําไปยังทิศทางใด และจะทําให้หยุดลงได้อย่างไร ซึ่งนักวิชาการในกลุ่มนี้ ได้แก่ Victor H. Vroom, J. Stacy Adams เป็นต้น
2. กลุ่มทฤษฎีว่าด้วยเนื้อหา (Content Theory) จะเน้นถึงความต้องการภายใน โดยจะศึกษา ว่า “อะไร” เป็นตัวทําให้พฤติกรรมของมนุษย์เกิดขึ้นในลักษณะนั้น ๆ ซึ่งนักวิชาการในกลุ่มนี้ Tun Abraham Maslow, Clayton Alderfer, Frederick Herzberg, Douglas McGregor David C. McClelland เป็นต้น

89. ข้อใดเป็น Positive Feedback ขององค์การ
(1) ปัญหาของการดําเนินการ
(2) คําตําหนิ
(3) ประสิทธิภาพที่ได้รับ
(4) ข้อร้องเรียนจากบุคลากรในองค์การ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 261, (คําบรรยาย) Feedback ในการดําเนินงานขององค์การ หมายถึง ข้อมูลข่าวสาร ต่าง ๆ ที่เป็นผลมาจากการดําเนินงานขององค์การ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ข้อมูลข่าวสารที่แสดงถึงความพึงพอใจ (Positive Feedback) เช่น คําชมเชยหรือคํายกย่องประสิทธิภาพที่ได้รับ ความสําเร็จของงาน เป็นต้น
2. ข้อมูลข่าวสารที่แสดงถึงความไม่พึงพอใจ (Negative Feedback) เช่น คําตําหนิ บัตรสนเท่ห์ ความล้มเหลวของงาน ปัญหาของการดําเนินการ เป็นต้น

90. ข้อใดเป็นตัวอย่างของการควบคุมองค์การแบบ Direct Control
(1) การควบคุมล่วงหน้า
(2) การสั่งการจากผู้บังคับบัญชาไปยังผู้ใต้บังคับบัญชา
(3) การควบคุมสภาพในการปฏิบัติงานจริง
(4) การตระหนักรู้ของผู้ใต้บังคับบัญชาในการทํางาน
(5) การจัดทําระบบงบประมาณ
ตอบ 2 หน้า 266 – 267 วิธีการควบคุมองค์การซึ่งแบ่งตามความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชากับ ผู้ใต้บังคับบัญชา มี 2 วิธี คือ
1. การควบคุมโดยตรง (Direct Control) คือ การควบคุมที่มีการสั่งการจากผู้บังคับบัญชา ไปยังผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้ปฏิบัติงานโดยตรง
2. การควบคุมโดยทางอ้อม (Indirect Control) คือ ผู้บังคับบัญชามิได้สั่งการผู้ใต้บังคับบัญชา หรือผู้ปฏิบัติงานโดยตรง

91. ข้อใดเป็นเงื่อนไขที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจ
(1) Motivation
(2) Output
(3) Stress
(4) Needs
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 271 เงื่อนไขที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจ มี 3 ประการ คือ
1. ความต้องการ (Needs) เกิดจากความขาดแคลนในบางสิ่งบางอย่างของมนุษย์
2. แรงขับ (Drives) หมายถึง ภาวะความเครียดซึ่งเป็นผลมาจากความต้องการต่าง ๆ ของมนุษย์
3. สิ่งล่อใจ (Incentives) หมายถึง สิ่งของหรือเงื่อนไขภายนอกที่กระตุ้นให้มนุษย์กระทําการ เพื่อให้เป็นไปตามเป้าประสงค์

92. แนวคิดที่ว่า “มนุษย์ต้องการจะแสวงหาความสะดวกสบายและความรื่นรมย์เป็นสําคัญ ขณะเดียวกัน
ก็จะเลี่ยงจากความเจ็บปวดและความไม่สะดวกสบายทั้งหลาย” มีรากฐานมาจากตัวเลือกใด
(1) J. Stacy Adams
(2) Victor H. Vroom
(3) Hedonism
(4) Max Weber
(5) Abraham Maslow
ตอบ 3 หน้า 271 Hedon sm อธิบายว่า “มนุษย์ต้องการจะแสวงหาความสะดวกสบายและความ รื่นรมย์เป็นสําคัญ ขณะเดียวกันก็จะเลี่ยงจากความเจ็บปวดและความไม่สะดวกสบายทั้งหลาย”

93. การสร้างแรงจูงใจลักษณะใดที่ถูกวิจารณ์ว่า “มีลักษณะเป็นอุดมคติมากไป”
(1) การทําให้ผู้ปฏิบัติงานเห็นความสําคัญของงาน
(2) การใช้การต่อรองที่เด่นชัด
(3) วิธีการใช้ความดี
(4) วิธีการแบบเด็ดขาด
(5) วิธีการแข่งขัน
ตอบ 1 หน้า 280 การทําให้ผู้ปฏิบัติงานเห็นความสําคัญของงาน เป็นการสร้างแรงจูงใจภายในให้เกิด แก่พนักงานโดยให้เขาเห็นความสําคัญของตัวงานที่เขาปฏิบัติอยู่ว่ามีค่ามีความสําคัญมาก เพียงไร ซึ่งจะส่งผลให้เขายินดีพอใจจะปฏิบัติงานสําคัญนั้นอย่างเต็มความสามารถ การสร้าง แรงจูงใจจากภายในนี้นับว่าทําให้เกิดการกระตือรือร้นในการทํางานได้ดีที่สุด แต่ก็ไม่สามารถ นํามาใช้ได้ในทุกสถานการณ์ และอาจทําได้ยากกับงานบางประเภท จนนักวิชาการบางท่าน ได้วิจารณ์ว่า การคิดสร้างแรงจูงใจภายในมีลักษณะเป็นอุดมคติมากไป

94. ทฤษฎีแรงจูงใจของนักวิชาการท่านใดจัดอยู่ในกลุ่มทฤษฎีของกระบวนการ (Process Theory)
(1) Douglas McGregor
(2) Frederick Herzberg
(3) David C. McClelland
(4) J. Stacy Adams
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 88. ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 95 – 98. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ในการพิจารณาว่าบุคคลในแต่ละข้อนั้นมีแนวความคิด ที่สอดคล้องกับกลุ่มทฤษฎีภาวะผู้นํากลุ่มใด
(1) Trait Theories
(2) Behavioral Theories
(3) Contingency Theories
(4) Transformational Leader
(5) Reinforcement Theories

95. มิลลิเห็นว่าผู้นําที่มีประสิทธิผลต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์
ตอบ 3 หน้า 287, 294, (คําบรรยาย) แนวความคิดของมิลลี่นั้นสอดคล้องกับกลุ่มทฤษฎีภาวะผู้นํา ทางด้านสถานการณ์ (Contingency Theories หรือ Situational Theories) ซึ่งเป็นทฤษฎี ที่มีความเชื่อพื้นฐานว่าประสิทธิภาพหรือประสิทธิผลของผู้นําจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับความสอดคล้องระหว่างพฤติกรรมของผู้นําและสถานการณ์เป็นหลัก

96. เจเจเห็นว่าผู้นําที่ประสบความสําเร็จได้นั้นจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างไปจากคนที่มิได้เป็นผู้นํา
ตอบ 1 หน้า 287 – 289, (บรรยาย) แนวความคิดของเจเจนั้นสอดคล้องกับกลุ่มทฤษฎีคุณลักษณะ ผู้นํา (Trait Theories) ซึ่งเป็นทฤษฎีที่มีความเชื่อว่าผู้นําที่ประสบความสําเร็จหรือมีประสิทธิภาพ ได้นั้นจะต้องมีคุณสมบัติที่แตกต่างไปจากคนที่มิได้เป็นผู้นํา เช่น ความเฉลียวฉลาด วุฒิภาวะ ทางสังคม แรงจูงใจสู่ความสําเร็จ เป็นต้น

97. แจ็คสันเห็นว่าผู้นําที่ประสบความสําเร็จควรบริหารงานโดยมุ่งทั้งงานและคน
ตอบ 2 หน้า 287 – 289, 293 – 294, (คําบรรยาย) แนวความคิดของแจ็คสันนั้นสอดคล้องกับ กลุ่มทฤษฎีพฤติกรรมของผู้นํา (Leadership Behavior) หรือทฤษฎีเชิงพฤติกรรม (Behavioral Theories) โดยเฉพาะจากการศึกษาของ Robert R. Blake และ Jane S. Mouton ซึ่งพบว่า ผู้นําที่ประสบความสําเร็จหรือมีประสิทธิภาพมากที่สุดควรบริหารงานโดยมุ่งทั้งงานและคน

98. ใบเฟิร์นเชื่อว่าผู้นําที่ประสบความสําเร็จต้องปรับรูปแบบของพฤติกรรมการบริหารของตนได้สอดคล้องกับความพร้อมของผู้ตาม
ตอบ 3 หน้า 287, (คําบรรยาย) แนวความคิดของใบเฟิร์นนั้นสอดคล้องกับทฤษฎีภาวะผู้นําทางด้านสถานการณ์ (Contingency Theories หรือ Situatiorial Theories) โดยเฉพาะแนวความคิด
ของ Hersey & Blanchard ซึ่งมองว่า ไม่มีแบบของพฤติกรรมผู้นําแบบใดที่ดีที่สุด การเป็น ผู้นําที่ประสบความสําเร็จหรือมีประสิทธิภาพนั้นต้องมีแบบของพฤติกรรมผู้นําที่สอดคล้องกับ ความพร้อมของผู้ตาม (ลูกน้อง) ใน 2 ด้าน คือ ความสามารถและความเต็มใจ ซึ่งสามารถ พิจารณาได้ดังนี้
1. ผู้ตามไม่มีความสามารถ และไม่มีความเต็มใจในการทํางาน ต้องเป็นผู้นําแบบสั่งการ (Telling)
2. ผู้ตามไม่มีความสามารถ แต่มีความเต็มใจในการทํางาน ต้องเป็นผู้นําแบบขายความคิด (Selling)
3. ผู้ตามมีความสามารถ แต่ไม่มีความเต็มใจในการทํางาน ต้องเป็นผู้นําแบบมีส่วนร่วม (Participating)
4. ผู้ตามมีความสามารถ และมีความเต็มใจในการทํางาน ต้องเป็นผู้นําแบบมอบหมายงาน
(Delegating).

99. ข้อใดมีความเกี่ยวข้องกับทฤษฎีที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้นํามากที่สุด
(1) The Managerial Grid
(2) Great Man Theory
(3) ทฤษฎีของ Keith Davis
(4) ทฤษฎีของ Fred E. Fiedter
(5) ทฤษฎีของ Frederick W. Taylor
ตอบ 1 หน้า 292 Robert R. Blake และ Jane S. Mouton นักวิชาการในกลุ่มทฤษฎีพฤติกรรม ของผู้นํา (Leadership Behavior) ได้พิจารณาการศึกษาลักษณะผู้นําจากการศึกษาของ มหาวิทยาลัยโอไฮโอและมิชิแกน และนํามาพัฒนาประยุกต์เป็นตารางการบริหารที่เรียกว่า “The Managerial Grid” หรือเรียกว่า “ตารางผู้นํา” และนําไปจดทะเบียนการค้าด้วย

100. นายชัชพลมีลูกน้องที่ขาดความสามารถและขาดความเต็มใจในการทํางาน หากนายชัชพลเชื่อในแนวคิด ของ Hersey & Blanchard จะต้องเป็นผู้นําแบบใด
(1) Selling
(2) Consideration
(3) Participating
(4) Delegating
(5) Telling
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 98. ประกอบ

Advertisement