การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2559
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 1101 การเมืองและการปกครองไทย
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว
1 การปกครองในสมัยอยุธยามีการปกครองในลักษณะเดียวกับในสมัยสุโขทัย ยกเว้นเรื่องใด
(1) ระบบขุนนางเจ้าขุนมูลนาย
(2) การค้าระหว่างประเทศ
(3) การกระจายอํานาจ
(4) การสืบทอดราชสมบัติ
(5) การปกครองแบบพ่อปกครองลูก
ตอบ 5 หน้า 25, 28 – 29 ระบบการปกครองในสมัยอยุธยามีลักษณะเช่นเดียวกับในสมัยสุโขทัยคือ เป็นระบบราชาธิปไตยแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่อํานาจอธิปไตยอยู่ที่กษัตริย์เพียง พระองค์เดียว แต่ที่ต่างกันคือ กษัตริย์สุโขทัยปกครองประชาชนในลักษณะพ่อปกครองลูก ส่วนกษัตริย์อยุธยามีลักษณะการปกครองแบบนายปกครองบ่าวหรือเจ้าปกครองข้า
2 สมัยสุโขทัยมีความสัมพันธ์อันดีกับรัฐไทยอิสระทางเหนือ ทางด้านการค้านอกจากนั้นยังมีการค้าขาย ติดต่อกับ “ต่างประเทศ ประเทศใด
(1) มลายู
(2) อินเดีย
3 ศรีลังกา
(4) เปอร์เซีย
(5) อิสราเอล
ตอบ 1 หน้า 28 ในสมัยกรุงสุโขทัยนอกจากจะมีความสัมพันธ์อันดีกับรัฐไทยอิสระทางเหนือแล้วก็ยังมีการค้าขายติดต่อกับต่างประเทศ เช่น จีน มลายู ลังกา และมอญ โดยมีการสนับสนุนการค้าโดยไม่เก็บภาษี “จกอบ” หรือภาษีศุลกากร เพื่อต้องการให้พ่อค้ามีความสนใจในการทําการค้า
3 “การปกครองแบบหัวเมือง” ในสมัยสุโขทัยมีความหมายตรงกับชื่อใด
(1) การปกครองส่วนกลาง
(2) การปกครองส่วนภูมิภาค
(3) การปกครองส่วนท้องถิ่น
(4) การปกครองแบบอิสระ
(5) การปกครองแบบกระจายอํานาจ
ตอบ 2 หน้า 26 การปกครองแบบหัวเมืองหรือการปกครองส่วนภูมิภาคในสมัยสุโขทัยนั้น ศูนย์กลางของอํานาจในการวินิจฉัยสั่งการจะอยู่ที่เมืองหลวง และแบ่งหัวเมืองออกเป็น 3 ประเภท คือ
1 หัวเมืองชั้นใน
2 หัวเมืองชั้นนอก
3 หัวเมืองประเทศราช
4 “ราชวงศ์อู่ทอง” มีความสําคัญในฐานะผู้ปกครองของไทยในสมัยใด
(1) อาณาจักรทวาราวดี
(2) อาณาจักรสุโขทัย
(3) อาณาจักรศรีอยุธยา
(4) อาณาจักรธนบุรี
(5) อาณาจักรรัตนโกสินทร์
ตอบ 3 (คําบรรยาย) อาณาจักรศรีอยุธยามราชวงศ์ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันปกครอง 5 ราชวงศ์
1ราชวงศ์อู่ทอง
2 ราชวงศ์สุพรรณภูมิ
3 ราชวงศ์สุโขทัย
4 ราชวงศ์ปราสาททอง
5 ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
5 การปกครองหัวเมืองในสมัยสุโขทัย ศูนย์กลางของอํานาจในการวินิจฉัยสั่งการอยู่ที่ใด
(1) เมืองเอก
(2) เมืองหลวง
(3) เมืองชั้นใน
(4) เมืองชั้นนอก
(5) เมืองประเทศราช
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 3 ประกอบ
6 การถวายฎีกาหรือร้องทุกข์ของราษฎรโดยตรงกับพระมหากษัตริย์เกี่ยวข้องกับการปกครองประเทศ ของไทยในสมัยใด
(1) สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
(2) สมัยกรุงธนบุรี
(3) สมัยกรุงศรีอยุธยา
(4) สมัยสุโขทัย
(5) ก่อนสุโขทัย
ตอบ 4 หน้า 27 ราษฎรในสมัยสุโขทัยมีสิทธิถวายฎีกาหรือร้องทุกข์โดยตรงต่อพระมหากษัตริย์หรือพ่อขุน โดยในสมัยพ่อขุนรามคําแหงได้มีกระดิ่งแขวนไว้ที่ประตูวัง ถ้าใครต้องการถวายฎีกาก็ไปสั่นกระดิ่ง แล้วพระองค์ก็จะออกมาไต่สวนและชําระความให้
7 กษัตริย์ที่ทรงกอบกู้เอกราชในสมัยกรุงศรีอยุธยาเสียกรุงให้กับพม่าครั้งที่ 1 ตรงกับพระมหากษัตริย์พระองค์ใด
(1) พระมหินทราธิราชย์
(2) พระนารายณ์มหาราช
(3) พระนเรศวรมหาราช
(4) พระมหาธรรมราชา
(5) พระเจ้าตากสิน
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้น ไทยเสียกรุงให้กับพม่า 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2112โดยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกอบกู้เอกราชได้ในปี พ.ศ. 2127 และครั้งที่ 2 พ.ศ. 2310โดยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้เอกราชได้ในปีเดียวกัน
8 สมัยรัชกาลที่ 5 ได้ทรงให้มีการยกเลิกตําแหน่งอัครเสนาบดี 2 ตําแหน่งคือ
(1) สมุหกลาโหมและสมุหทัย
(2) สมุหทัยและสมุหกระทรวงกลาโหม
(3) สมุห์บัญชีและสมุหมาตรา
(4) สมุหนายกและสมุหกลาโหม
(5) สมุหเสนาบดีและสมุหนายก
ตอบ 4 หน้า 33 รัชกาลที่ 5 ได้ทรงปฏิรูประบบการปกครองด้วยการยกเลิกตําแหน่งอัครเสนาบดี 2 ตําแหน่ง คือ สมุหกลาโหม และสมุหนายก รวมทั้งจตุสดมภ์ โดยแบ่งการบริหารราชการ ออกเป็น 12 กระทรวง เช่น เมืองหรือนครบาล จัดการเกี่ยวกับเรื่องตํารวจและราชทัณฑ์,ยุติธรรม จัดการเรื่องชําระคดีและการศาล, ยุทธนาธิการ จัดการเกี่ยวกับเรื่องการทหาร ฯลฯ
9 เมืองทดลองประชาธิปไตยที่มีการเรียกว่า “ดุสิตธานี” เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์ใด
(1) รัชกาลที่ 2
(2) รัชกาลที่ 4
(3) รัชกาลที่ 6
(4) รัชกาลที่ 8
(5) ทุกรัชกาล
ตอบ 3 หน้า 43, 49 – 50 (S) รัชกาลที่ 6 ได้ทรงตั้งเมืองสมมติ “ดุสิตธานี” ขึ้นในบริเวณวังพญาไทเพื่อจําลองรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยขึ้นใช้ในเมืองสมมุตินั้น โดยโปรดให้มี “ธรรมนูญการปกครองแบบนคราภิบาล” ซึ่งเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญของเมือง กําหนดให้มี พรรคการเมือง 2 พรรค มีการเลือกตั้งนคราภิบาลหรือนายกเทศมนตรี และมีสภาการเมืองแบบประเทศประชาธิปไตย
10 สงครามระหว่างไทยกับพม่าที่เกิดขึ้นตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาและได้ยุติลงตรงกับสมัยรัชกาลที่เท่าใด ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
(1) สมัยรัชกาลที่ 1
(2) สมัยรัชกาลที่ 2
(3) สมัยรัชกาลที่ 3
(4) สมัยรัชกาลที่ 4
(5) สมัยรัชกาลที่ 5
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ความสัมพันธ์ระหว่างไทย (สยาม) กับพม่าในอดีตนั้นส่วนใหญ่จะเป็นไปในด้านสงคราม โดยไทยกับพม่าทําสงครามกันมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงต้นรัตนโกสินทร์ แต่สงครามได้ยุติหรือสิ้นสุดลงในสมัยรัชกาลที่ 4 เนื่องจากพม่าแพ้สงครามและตกเป็น อาณานิคมของอังกฤษ