การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560
ข้อสอบกระบวนวิชา PCL 1101 การเมืองและการปกครองไทย
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว
1 ข้อใดเป็นลักษณะพิเศษของการปาครองไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา
(1) ระบบไพร่ ทาส
(2) ประชาธิปไตย
(3) มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ
(4) มีการประกาศใช้ราชกิจจานุเบกษา
(5) เป็นการปกครองในระบบรัฐสภา
ตอบ 1 หน้า 32, (คําบรรยาย) ลักษณะพิเศษของการปกครองไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา ก็คือระบบไพร่และทาส โดยการแบ่งแยกชนชั้นมีลักษณะที่เห็นเด่นชัด ซึ่งอยุธยามี 3 ชนชั้น ได้แก่
1 กษัตริย์ พระราชวงศ์ และขุนนางระดับสูง
2 ผู้ดี ผู้มีฐานะ และขุนนาง ที่มีศักดินา 400 ไร่ขึ้นไป
3 ไพร่ ผู้ถือศักดินาต่ํากว่า 400 ไร่ รวมทั้งทาส
2 สมัยสุโขทัยมีความสัมพันธ์อันดีกับรัฐไทยอิสระทางเหนือ ทางด้านการค้านั้นยังมีการค้าขายติดต่อกับ “ต่างประเทศ ประเทศใด
(1) มลายู
(2) ฝรั่งเศส
(3) อังกฤษ
(4) สเปน
(5) โปรตุเกส
ตอบ 1 หน้า 28 ในสมัยกรุงสุโขทัยนอกจากจะมีความสัมพันธ์อันดีกับรัฐไทยอิสระทางเหนือแล้วก็ยังมีการค้าขายติดต่อกับต่างประเทศ เช่น จีน มลายู ลังกา และมอญ โดยมีการสนับสนุนการค้าโดยไม่เก็บภาษี “จกอบ” หรือภาษีศุลกากร เพื่อต้องการให้พ่อค้ามีความสนใจในการทําการค้า
3 “การปกครองระบบกินเมือง” ถูกยกเลิกและเปลี่ยนชื่อมาเป็น “ระบบว่าราชการเมือง” ในสมัยใด
(1) รัชกาลที่ 1
(2) รัชกาลที่ 2
(3) รัชกาลที่ 3
(4) รัชกาลที่ 4
(5) รัชกาลที่ 5
ตอบ 5 หน้า 34, (คําบรรยาย) รัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาค/การปกครองหัวเมืองด้วยการออก พ.ร.บ. ปกครองท้องที่ ร.ศ. 116 (พ.ศ. 2440) ซึ่งเป็นผลทําให้มีการจัดตั้งมณฑล เมือง (จังหวัด) อําเภอ และหมู่บ้าน จึงทําให้ “การปกครองระบบกินเมือง” ที่มีเจ้าเมืองเป็น ผู้ปกครองถูกยกเลิก และเปลี่ยนชื่อมาเป็น “ระบบว่าราชการเมือง” โดยการแต่งตั้งข้าราชการจากกระทรวงมหาดไทยที่กรุงเทพฯ มาเป็นผู้ปกครอง
4 “ราชวงศ์พระร่วง” มีความสําคัญตรงกับสมัยใด
(1) อาณาจักรทวาราวดี
(2) อาณาจักรสุโขทัย
(3) อาณาจักรศรีอยุธยา
(4) อาณาจักรธนบุรี
(5) อาณาจักรรัตนโกสินทร์
ตอบ 2 หน้า 25 อาณาจักรสุโขทัยเป็นอาณาจักรแรกของชาติไทย ซึ่งสถาปนาขึ้นในปี พ.ศ. 1781 โดยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ต้นราชวงศ์พระร่วง ได้ประกาศตนเป็นอิสระจากขอมที่ยึดครองดินแดนแถบนั้นอยู่ในสมัยนั้น (กษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงปกครองสุโขทัยติดต่อกัน 6 พระองค์)
5 การปกครองหัวเมืองในสมัยสุโขทัย ศูนย์กลางของอํานาจในการวินิจฉัยสั่งการอยู่ที่ใด
(1) เมืองเอก
(2) เมืองหลวง
(3) เมืองชั้นใน
(4) เมืองชั้นนอก
(5) เมืองประเทศราช
ตอบ 2 หน้า 26 การปกครองแบบหัวเมืองหรือการปกครองส่วนภูมิภาคในสมัยสุโขทัยนั้น ศูนย์กลางของอํานาจในการวินิจฉัยสั่งการจะอยู่ที่เมืองหลวง และแบ่งหัวเมืองออกเป็น 3 ประเภท คือ
1 หัวเมืองชั้นใน
2 หัวเมืองชั้นนอก
3 หัวเมืองประเทศราช
6 การถวายฎีกาหรือร้องทุกข์ของราษฎรโดยตรงกับพระมหากษัตริย์เกี่ยวข้องกับการปกครองประเทศ ของไทยในสมัยใด
(1) สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
(2) สมัยกรุงธนบุรี
(3) สมัยกรุงศรีอยุธยา
(4) สมัยสุโขทัย
(5) ก่อนสุโขทัย
ตอบ 4 หน้า 27 ราษฎรในสมัยสุโขทัยมีสิทธิถวายฎีกาหรือร้องทุกข์โดยตรงต่อพระมหากษัตริย์หรือพ่อขุน โดยในสมัยพ่อขุนรามคําแหงได้มีกระดิ่งแขวนไว้ที่ประตูวัง ถ้าใครต้องการถวายฎีกาก็ไปสั่นกระดิ่ง แล้วพระองค์ก็จะออกมาไต่สวนและชําระความให้
7 กษัตริย์ที่ทรงกอบกู้เอกราชในสมัยกรุงศรีอยุธยาเสียกรุงให้กับพม่าครั้งที่ 1 ตรงกับพระมหากษัตริย์พระองค์ใด
(1) พระมหินทราธิราชย์
(2) พระนารายณ์มหาราช
(3) พระนเรศวรมหาราช
(4) พระมหาธรรมราชา
(5) พระเจ้าตากสิน
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้น ไทยเสียกรุงให้กับพม่า 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2112 โดยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกอบกู้เอกราชได้ในปี พ.ศ. 2127 และครั้งที่ 2 พ.ศ. 2310 โดยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้เอกราชได้ในปีเดียวกัน
8 สมัยรัชกาลที่ 5 ได้ทรงให้มีการยกเลิกตําแหน่งอัครเสนาบดี 2 ตําแหน่งคือ
(1) สมุหกลาโหมและสมุหทัย
(2) สมุหทัยและสมุหกระทรวงกลาโหม
(3) สมุห์บัญชีและสมุหมาตรา
(4) สมุหนายกและสมุหกลาโหม
(5) สมุหเสนาบดีและสมุหนายก
ตอบ 4 หน้า 32 – 33 ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ไทยยังคงใช้รูปการปกครองแบบกรุงศรีอยุธยาอยู่เพิ่งจะมีการปฏิรูประบบราชการในทุก ๆ ด้านเป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยได้ทรงยกเลิก จตุสดมภ์และตําแหน่งอัครเสนาบดี 2 ตําแหน่ง คือ สมุหนายกและสมุหกลาโหม โดยแบ่งการ บริหารราชการออกเป็นกระทรวงตามแบบอารยประเทศ และให้มีเสนาบดีเป็นผู้ว่าการแต่ละ กระทรวง ซึ่งกระทรวงที่ตั้งขึ้นมีทั้งหมด 12 กระทรวง เช่น เมืองหรือนครบาล จัดการเกี่ยวกับเรื่องตํารวจและราชทัณฑ์, ยุติธรรม จัดการเรื่องชําระคดีและการศาล ฯลฯ
9 เมืองทดลองประชาธิปไตยที่มีการเรียกว่า “ดุสิตธานี” เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์ใด
(1) รัชกาลที่ 2
(2) รัชกาลที่ 4
(3) รัชกาลที่ 6
(4) รัชกาลที่ 8
(5) ทุกรัชกาล
ตอบ 3 หน้า 43, 49 – 50 (S) รัชกาลที่ 6 ได้ทรงตั้งเมืองสมมุติ “ดุสิตธานี” ขึ้นในบริเวณวังพญาไทเพื่อจําลองรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยขึ้นใช้ในเมืองสมมุตินั้น โดยโปรดให้มี “ธรรมนูญการปกครองแบบนคราภิบาล” ซึ่งเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญของเมือง กําหนดให้มี พรรคการเมือง 2 พรรค มีการเลือกตั้งนคราภิบาลหรือนายกเทศมนตรี และมีสภาการเมืองแบบประเทศประชาธิปไตย
10 การปกครองแบบทศพิธราชธรรมเริ่มเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยใด
(1) สมัยสุโขทัย
(2) สมัยอยุธยา
(3) สมัยกรุงธนบุรี
(4) สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
(5) สมัยรัชกาลที่ 5
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การปกครองแบบทศพิธราชธรรมเริ่มเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยสุโขทัย ทั้งนี้ทศพิธราชธรรม คือ จริยาวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรมประจําพระองค์ (คุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมือง) มี 10 ประการ ได้แก่ ทาน (การให้), ศีล (การรักษากาย วาจาให้เรียบร้อย), บริจาค (การเสียสละ), อาชชวะ (ความซื่อตรง), มัททวะ (ความอ่อนโยน), ตบะ (การข่มกิเลส), อักโกธะ (ความไม่โกรธ), อวิหิงสา (ความไม่เบียดเบียน), ขันติ (ความอดทน)และอวีโรธนะ (ความไม่คลาดจากธรรม)