PSY1001 จิตวิทยาทั่วไป 1/2559

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา PSY1001 จิตวิทยาทั่วไป

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

ข้อ 1. – 3. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) ความจําระยะสั้น

(2) ความจําระยะยาว

(3) ความจําจากการรับสัมผัส

(4) ความจําขณะปฏิบัติงาน

(5) ความจําคู่

 

1 เก็บข้อมูลได้มากและไม่สูญหาย

ตอบ 2 หน้า 196 – 197, 199 ความจําระยะยาว (Long term, Memory) จะทําหน้าที่เสมือนคลังข้อมูลถาวรซึ่งบรรจุทุกอย่างที่เรารู้เกี่ยวกับโลกเอาไว้ โดยมีความสามารถไม่จํากัด ในการเก็บข้อมูล จึงไม่มีข้อมูลสูญหายไปจากความจําระยะยาวนี้ และจะเก็บข้อมูลไว้บน พื้นฐานของความหมายและความสําคัญของข้อมูล ซึ่งความจําระยะยาวนี้มี 2 ประเภท คือ

1 การจําความหมาย เป็นการจําความรู้พื้นฐานที่เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโลก เช่น ชื่อวัน เดือน ชื่อสิ่งของ ภาษา และทักษะการคํานวณง่าย ๆ รวมทั้งข้อเท็จจริงอื่น ๆ ฯลฯ 2 การจําเหตุการณ์ เป็นการจําเรื่องเกี่ยวกับชีวิตของตนเอง เป็นการบันทึกเหตุการณ์ในชีวิต เช่น จําวันแรกที่เข้ามาในมหาวิทยาลัย จําอุบัติเหตุที่ประสบเมื่อปีที่แล้ว ฯลฯ

2 เก็บภาพติดตาไว้ได้

ตอบ 3 หน้า 196 ความจําจากการรับสัมผัส (Sensory Memory) คือ ระบบการจําชั้นแรกที่จะเก็บข้อมูลในลักษณะถอดแบบสิ่งที่ได้เห็นหรือสิ่งที่ได้ยินทุกอย่างเอาไว้ในช่วงสั้น ๆ เพื่อถ่ายทอด ข้อมูลต่อไปยังระบบการจําอื่น ๆ เช่น ถ้าได้เห็นข้อมูล ภาพติดตาหรือจินตภาพ (Icon) จะคง อยู่ได้ครึ่งวินาที (1/2 วินาที) แต่ถ้าเกิดจากการได้ยิน เสียงก้องในหู (Echo) ของสิ่งที่ได้ยินจะคงอยู่ประมาณ 2 วินาที ฯลฯ ทั้งนี้หากไม่มีการส่งต่อข้อมูลสิ่งที่จําไว้จะหายไปอย่างรวดเร็วที่สุด

3 เป็นคลังข้อมูลชั่วคราว

ตอบ 1 หน้า 196 ความจําระยะสั้น (Short-term Memory) ทําหน้าที่คล้ายคลังข้อมูลชั่วคราวที่เก็บข้อมูลได้ในจํานวนจํากัด โดยจะเก็บข้อมูลในลักษณะจินตภาพ ทั้งนี้ความจําระยะสั้น จะถูกรบกวนหรือถูกแทรกแซงได้ง่าย เป็นความจําที่ช่วยป้องกันไม่ให้เราสับสนในการสนทนา เกี่ยวกับชื่อ วันที่ หมายเลขโทรศัพท์ และเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ นอกจากนี้ยังเป็นความจําในส่วนที่ปฏิบัติงาน (Working Memory) การคิดเลขในใจ การจํารายการสั่งของที่จะซื้อ ฯลฯ

4 การที่เราจดจําเรื่องราวที่เกิดขึ้นในวันแรกที่เข้ามาในมหาวิทยาลัยได้ เป็นเพราะเราจัดเก็บข้อมูลไว้ในส่วนใด

(1) ความจําคู่

(2) ความจําขณะปฏิบัติงาน

(3) การจําเหตุการณ์ในความจําระยะยาว

(4) การจําความหมายในความจําระยะยาว

(5) ความจําจากการรับสัมผัส

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 1 ประกอบ

5 การที่เราพยายามนึกชื่อดาราคนหนึ่ง ที่จําชื่อไม่ได้แต่จําหน้าได้ จนกระทั่งมีเพื่อนนํารูปถ่ายมาให้ดู จึงสามารถเรียกชื่อดาราได้อย่างถูกต้อง ลักษณะนี้จัดว่าตรงกับข้อใด

(1) การบูรณาการใหม่

(2) การระลึกได้

(3) การพิจารณาได้

(4) การเรียน

(4) การเรียนซ้ำ

(5) การจําได้

ตอบ 5 หน้า 202 การจําได้ (Recognition) เป็นการวัดความจําโดยมีสื่อกระตุ้นหรือชี้แนะให้จําได้ เช่น ข้อสอบแบบเลือกตอบ หรือการเห็นร่มก็จําได้ว่าเป็นร่มที่หายไปเมื่อสองเดือนที่แล้ว ฯลฯ การจําได้จะได้ผลดีถ้ามีรูปถ่ายหรือการได้เห็นสิ่งอื่น ๆ มาช่วย เช่น การที่ตํารวจนิยมให้พยานชี้ตัวผู้ต้องสงสัยจากภาพถ่ายหรือสเก็ตภาพให้พยานดู เป็นต้น

6 ข้อใดไม่ใช่สาเหตุของการลืม

(1) การไม่ได้ลงรหัส

(2) ลงรหัสข้อมูลไว้แต่ไม่ครบถ้วน

(3) ถูกรบกวนด้วยข้อมูลใหม่

(4) เกิดการเก็บกด

(5) ข้อมูลเสื่อมสลายตามกาลเวลา

ตอบ 2 หน้า 204 205 สาเหตุของการลืม มีหลายประการ ได้แก่

1 การไม่ได้ลงรหัส

2 การเสื่อมสลายตามกาลเวลาเพราะการไม่ได้ใช้

3 การลืมเพราะขึ้นอยู่กับสิ่งชี้แนะ

4 การถูกรบกวนด้วยข้อมูลใหม่

5 การเก็บกด

7 เมื่อคิดเกี่ยวกับทะเล ก็ได้กลิ่นไอเค็มและได้ยินเสียงคลื่นกระทบฝั่ง ตรงกับหน่วยพื้นฐานความคิดข้อใด

(1) การตอบสนองทางกล้ามเนื้อ

(2) การหยั่งเห็นคําตอบทันที

(3) จินตภาพ

(4) มโนทัศน์

(5) ภาษา

ตอบ 3 หน้า 206 จินตภาพ (Images) หมายถึง ภาพในใจ รวมถึงความรู้สึกสัมผัสอื่น ๆ ด้วย เช่น เมื่อคิดเกี่ยวกับทะเลก็จะเห็นสีฟ้าครามสดใส ได้กลิ่นไอเค็ม และได้ยินเสียงคลื่นกระทบฝั่ง ฯลฯ

8 ข้อใดไม่จําเป็นต้องเกิดขึ้นในขณะที่บุคคลกําลังคิด

(1) มีภาพตรงหน้า

(2) มีการใช้ภาษา

(3) มีการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ

(4) มีภาพในใจ

(5) มีมโนทัศน์

ตอบ 1 หน้า 206 207 ในขณะที่บุคคลกําลังคิดจะต้องเกิดหน่วยพื้นฐานของความคิด ประกอบด้วย จินตภาพ (มีภาพในใจ) มีการตอบสนอง การเคลื่อนไหว) ของกล้ามเนื้อ มีมโนทัศน์ และมีการใช้ภาษาหรือสัญลักษณ์

9 การที่เราสามารถแก้ปัญหาโจทย์สถิติ เพราะเราจํากฎการคํานวณและสูตรสถิตินั้นได้ เป็นการแก้ปัญหาลักษณะใด

(1) แก้ปัญหาโดยทําความเข้าใจ

(2) แก้ปัญหาโดยการหยั่งเห็นคําตอบในทันที

(3) แก้ปัญหาโดยใช้เครื่องจักร

(4) แก้ปัญหาจากการคิดคําตอบที่เป็นไปได้หลาย ๆ คําตอบ

(5) แก้ปัญหาจากการคิดคุณสมบัติทั่วไปของคําตอบที่ถูก

ตอบ 3 หน้า 209 การแก้ปัญหาโดยใช้เครื่องจักร (Mechanical Solution) อาจทําโดยการลองผิดลองถูก หรือการท่องจํา และมีการนําคอมพิวเตอร์มาใช้ในการแก้ปัญหา ซึ่งการแก้ปัญหาโดยการท่องจํา หมายถึง การแก้ปัญหาได้เนื่องจากกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เราได้เรียนรู้และท่องจําไว้แล้ว เช่น เราสามารถแก้ปัญหาโจทย์คณิตศาสตร์หรือสถิติได้ เพราะเราจํากฏการคํานวณและสูตรต่าง ๆ ได้มาก ฯลฯ

10 ตาลสามารถเปลี่ยนวิธีคิดจากเรื่องหนึ่งไปสู่อีกเรื่องหนึ่งได้โดยไม่ยึดติดกับความคิดเดิม ๆ จัดว่าเป็น คุณสมบัติใดของความคิดสร้างสรรค์

(1) ความริเริ่ม

(2) ความมีตรรกะ

(3) การแสวงหาใคร่รู้

(4) ความคล่อง

(5) ความยืดหยุ่น

ตอบ 5 หน้า 211 ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวข้องกับวิธีการคิดเชิงกลไก การมองเห็นคําตอบได้ทันทีหรือขึ้นอยู่กับความเข้าใจ อาจอยู่ในรูปการอุปนัยหรือการนิรนัย อาจเป็นเชิงตรรกะหรือปราศจากเหตุผล รวมทั้งความคล่อง ความยืดหยุ่น และความคิดริเริ่ม ความคิดยืดหยุ่นอาจดูได้จากจํานวนครั้งที่เปลี่ยนวิธีคิดจากเรื่องหนึ่งไปสู่อีกเรื่องหนึ่งได้โดยไม่ยึดติดกับความคิดเดิม ๆ

11 ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของการเรียนรู้

(1) สัญชาตญาณ

(2) สิ่งเสริมแรง

(3) การลงโทษ

(4) ประสาทสัมผัส

(5) ประสบการณ์ในอดีต

ตอบ 1 หน้า 167 168, (คําบรรยาย) องค์ประกอบของการเรียนรู้ ได้แก่ ประสบการณ์ในอดีตสภาพจิตใจในปัจจุบัน ประสาทสัมผัส การรับรู้ สิ่งเร้า สิ่งเสริมแรง การให้รางวัล การลงโทษและความคิดความเข้าใจ ฯลฯ

12 บุคคลใดค้นพบการเรียนรู้ตามหลักการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก

(1) อีวาน พาฟลอฟ

(2) บี.เอฟ. สกินเนอร์

(3) แบนดูรา

(4) วัตสัน

(5) โรเจอร์

ตอบ 1 หน้า 170 อีวาน พาฟลอฟ (Ivan Pavlov) นักสรีรวิทยาชาวรัสเซีย ได้ค้นพบการเรียนรู้ตามหลักการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก โดยเขาได้ทําการทดลองวางผงเนื้อลงบนสิ้นสุนัข สุนัขก็จะหลั่งน้ำลายออกมา ซึ่งเป็นการตอบสนองแบบปฏิกิริยาสะท้อน (เป็นไปโดยอัตโนมัติ) ต่อมาเขาสั่นกระดิ่งและให้ผงเนื้อทันที สุนัขก็จะน้ำลายไหลออกมา สุดท้ายเขาสั่นกระดิ่งเพียงอย่างเดียวก็ทําให้สุนัขน้ำลายไหลได้

13 ตามหลักการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก ภาวะการหยุดยั้ง (Extinction) เกิดขึ้นเมื่อไร

(1) การให้ US ก่อนการให้ CS หลาย ๆ ครั้ง

(2) การไม่ให้ UR หลังการให้ US หลาย ๆ ครั้ง

(3) การไม่ให้ US หลังการให้ CS หลาย ๆ ครั้ง

(4) การให้ US หลังการให้ CS หลาย ๆ ครั้ง

(5) การให้ CS ก่อนการให้ US หลาย ๆ ครั้ง

ตอบ 3 หน้า 171 172 ตามหลักการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก ภาวะการหยุดยั้ง (Extinction) จะเกิดขึ้นเมื่อไม่ให้ US หลังการให้ CS หลาย ๆ ครั้ง (US : Unconditioned Stimulus คือ สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข เช่น ผงเนื้อ น้ำมะนาว ฯลฯ, CS : Conditioned Stimulus คือ สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขหรือสิ่งเร้าที่เรียนรู้ เช่น เสียงกระดิ่ง ฯลฯ)

14 ข้อใดเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้

(1) การหายใจของมนุษย์

(2) การว่ายน้ำของปลา

(3) การร้องไห้ของเด็กแรกเกิด

(4) การปรบมือของเด็กเมื่อดีใจ

(5) การชักใยของแมงมุม

ตอบ 4 หน้า 169, (คําบรรยาย) การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างถาวรของพฤติกรรมอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากประสบการณ์ในอดีต แต่พฤติกรรมบางอย่างไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้ หากเกิดจากปฏิกิริยาสะท้อนซึ่งเป็นพฤติกรรมการตอบสนองตามธรรมชาติที่มีมาแต่กําเนิด เช่น การกะพริบตาเมื่อแสงจ้า การไอหรือจาม ฯลฯ และเกิดจากสัญชาตญาณอันเป็นลักษณะเฉพาะ ของเผ่าพันธุ์ เช่น การหายใจของมนุษย์ เด็กทารกดูดนมจากเต้ามารดา การก้าวเดินได้ครั้งแรกการยืนและเดินสีขาของสุนัข การว่ายน้ำของปลา การชักใยของแมงมุม ฯลฯ

15 การโฆษณายาสีฟันโดยใช้ทันตแพทย์เป็นผู้แนะนําผลิตภัณฑ์ (Presenter) เพื่อโน้มน้าวใจผู้บริโภค อาศัยการเรียนรู้แบบใด

(1) การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก

(2) การวางเงื่อนไขแบบการกระทํา

(3) การเรียนรู้จากความคิดความเข้าใจ

(4) สรุปความเหมือน

(5) การปรับพฤติกรรม

ตอบ 3 หน้า 183, 189 การเรียนรู้จากความคิดความเข้าใจ หมายถึง การเข้าใจ การรู้ การคาดหมาย การคาดหวัง และการใช้กระบวนการทางจิตระดับสูงอื่น ๆ นอกจากนี้ยังครอบคลุมไปถึงความจํา ความคิด การแก้ปัญหา รวมทั้งการใช้มโนทัศน์และภาษาในการเรียนรู้ โดยในสถานการณ์การ เรียนรู้ทั้งมนุษย์และสัตว์จะสร้างแผนที่เกี่ยวกับความคิดความเข้าใจซึ่งเป็นการแสดงความสัมพันธ์ แทนตัวขึ้นภายในความคิด

16 การฝึกสุนัขให้ยกขาเมื่อต้องการอาหาร แสดงถึงลักษณะการเรียนรู้แบบใด

(1) การเรียนรู้แบบหยั่งเห็น

(2) การวางเงื่อนไขแบบการกระทํา

(3) การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก

(4) การเรียนรู้โดยบังเอิญ

(5) การเรียนรู้แบบจดจํา

ตอบ 2 หน้า 174 การวางเงื่อนไขแบบการกระทําพัฒนาขึ้นโดย บี.เอฟ. สกินเนอร์ (B.F. Skinner) ซึ่งเชื่อว่า การตอบสนองของอินทรีย์นั้น จะขึ้นอยู่กับความพร้อมที่ต้องการจะทําพฤติกรรม เป็นการตอบสนองที่ควบคุมได้ และมีหลักการเรียนรู้อยู่ว่าพฤติกรรมใดที่ทําแล้วได้รับรางวัล ก็มีแนวโน้มว่าจะกระทําพฤติกรรมนั้นซ้ำอีก เช่น การฝึกสุนัขให้ดมกลิ่นหายาเสพติดหรือฝึกให้ยกขาเมื่อต้องการอาหาร หรือฝึกให้กระโดดลอดห่วง โดยมีการให้รางวัลแก่สุนัข ฯลฯ

17 มนุษย์สามารถควบคุมการทํางานของร่างกายที่เคยเชื่อว่าเป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนืออํานาจจิตใจได้ ลักษณะเช่นนี้ ใช้หลักการเรียนรู้แบบใด

(1) การเรียนรู้แฝง

(2) การเรียนรู้เพื่อจะเรียน

(3) การเรียนรู้ทักษะ

(4) การวางเงื่อนไขแบบการกระทํา

(5) การป้อนกลับทางชีวะ

ตอบ 5 หน้า 185 นักจิตวิทยาพบว่ามนุษย์สามารถควบคุมการทํางานของร่างกายในส่วนที่เคยเชื่อว่าเป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนืออํานาจจิตใจได้ โดยใช้หลักการเรียนรู้แบบการป้อนกลับทางชีวะ ซึ่งใช้หลักคล้าย ๆ กับโยคะและพุทธศาสนา ทั้งนี้การทํางานของร่างกายเกือบทุกอย่าง สามารถอยู่ในอํานาจของจิตใจได้ถ้าให้การป้อนกลับหรือรางวัลตามหลักการเปลี่ยนแปลงการทํางานของส่วนนั้น

18 ข้อใดเป็น “สิ่งเสริมแรงปฐมภูมิ”

(1) คะแนนสอบ

(2) ความรัก

(3) อาหาร

(4) การยอมรับ

(5) ความสนใจ

ตอบ 3 หน้า 180 สิ่งเสริมแรงปฐมภูมิ (Primary Reinforcers) เป็นสิ่งเสริมแรงที่เป็นธรรมชาติไม่ต้องเรียนรู้ มักเป็นลักษณะทางชีววิทยาที่เพิ่มความพึงพอใจและลดความไม่พึงพอใจลงหรือสนองความต้องการทางกายภาพได้ เช่น น้ำ อาหาร ความต้องการทางเพศ เป็นต้น

19 การเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) คือสิ่งใด

(1) ให้รางวัล

(2) ลงโทษ

(3) เพิกเฉย

(4) ยับยั้ง

(5) หยุด

ตอบ 1 หน้า 179 การเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) หมายถึง การที่ความพอใจหรือรางวัลเกิดขึ้นเมื่อกระทําสิ่งหนึ่งสิ่งใดลงไป เช่น การให้ขนมแก่เด็กเมื่อเด็กทําความดี ฯลฯ ส่วนการเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcement) หมายถึง การทําให้ความไม่สุขสบายหมดไป เช่น การกินยาแก้ปวดเพื่อให้หายจากอาการปวดศีรษะ ฯลฯ

20 ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของการนําการลงโทษมาใช้ในการเรียนรู้

(1) การเสริมแรง เพื่อเพิ่มกําลังในการตอบสนอง

(2) การไม่เสริมแรง เพื่อระงับการตอบสนอง

(3) การลงโทษ เพื่อการเลิกตอบสนอง

(4) การสร้างให้เกิดความเข้าใจ

(5) การเพิกเฉยต่อพฤติกรรมที่ไม่ต้องการ

ตอบ 4 หน้า 182 องค์ประกอบของการนำการลงโทษมาใช้ในการเรียนรู้ มี 3 ประการ คือ

1 การเสริมแรง เพื่อเพิ่มกําลังในการตอบสนอง

2 การไม่เสริมแรง เพื่อระงับการตอบสนอง (เช่น การเพิกเฉยต่อพฤติกรรมที่ไม่ต้องการ)

3 การลงโทษ เพื่อการเลิกตอบสนอง

21 ข้อใดไม่สอดคล้องกับกฎของเมนเดล

(1) ยีนส์ถูกส่งข้ามจากคนช่วงอายุหนึ่งไปยังคนอีกช่วงอายุหนึ่ง

(2) ร่างกายของคนเรามียีนส์ 400,000 ชนิด

(3) ยีนส์ที่มีลักษณะเด่น และยีนส์ที่มีลักษณะด้อย

(4) คนเป็นโรคเบาหวาน

(5) ถ่ายทอดจากบรรพบุรุษไปสู่รุ่นลูก รุ่นหลาน

ตอบ 2 หน้า 122 – 124, 128 “กฎของเมนเดล” สามารถอธิบายการถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ดังนี้

1 ยีนส์จะถูกส่งข้ามจากคนช่วงอายุหนึ่งไปยังคนอีกช่วงอายุหนึ่ง

2 ร่างกายของคนเราจะมียีนส์อยู่ประมาณ 40,000 ชนิด แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ยีนส์ที่มีลักษณะเด่น และยีนส์ที่มีลักษณะด้อย

3 ยีนส์จะถ่ายทอดคุณลักษณะจากบรรพบุรุษไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน เช่น รูปร่าง หน้าตา สีผม สีผิว รวมทั้งกลุ่มเลือด และโรคบางอย่าง (เบาหวาน ตาบอดสี) ฯลฯ

22 ข้อใดไม่ใช่ฝาแฝดเหมือน

(1) สเปิร์ม 1 ไข่ 1

(2) สเปิร์ม 1 ไข่ 2

(3) ฝาแฝดเพศเดียวกัน

(4) มียีนส์และโครโมโซมเหมือนกัน

(5) หน้าตาเหมือนกัน

ตอบ 2 หน้า 125 ฝาแฝดเหมือนหรือแฝดแท้ (Identical Twins) เกิดจากไข่ 1 ใบ ผสมกับสเปิร์มหรืออสุจิ 1 ตัว แล้วเซลล์เกิดการแบ่งตัวเป็นตัวอ่อน 2 ตัว (เกิดการแบ่งตัวของเซลล์ปฏิสนธิผิดพลาด)ฝาแฝดเหมือนจึงเป็นเพศเดียวกัน มีหน้าตาเหมือนกัน มียีนส์และโครโมโซมเหมือนกัน

23 ยีนส์มีกี่โครโมโซม

(1) 45

(2) 46

(3) 47

(4) 48

(5) 49

ตอบ 2 หน้า 125 ยีนส์อันเป็นลักษณะของบรรพบุรุษจะถูกถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานโดยผ่านทางโครโมโซมซึ่งบุคคลคนหนึ่งจะมีโครโมโซมอยู่ในตัว 46 โครโมโซม หรือ 23 คู่ โดยโครโมโซมเหล่านี้บุคคลจะได้รับมาจากพ่อ 23 โครโมโซม และจากแม่ 23 โครโมโซม

24 ข้อใดไม่สอดคล้องกับบุคคลที่มีโครโมโซมเป็น XXY

(1) เพศชายมีหน้าอก

(2) อวัยวะเพศไม่ทํางาน

(3) เป็นโรคปัญญาอ่อน

(4) เพศหญิงมีลักษณะเป็นชาย

(5) มีโครโมโซม 46 ตัว

ตอบ 4 หน้า 128 บุคคลที่มีโครโมโซมเพศเป็น XXY จะเกิดในเพศชาย ซึ่งจะทําให้กลายเป็นชายที่มีลักษณะของเพศหญิง มีหน้าอกใหญ่ และอวัยวะเพศชายไม่ทํางาน เนื่องจากต่อมฮอร์โมนผลิตฮอร์โมนไม่เพียงพอ และอาจกลายเป็นโรคปัญญาอ่อนชนิด Mongolism ได้

25 คนที่มีลักษณะ Endomorphy จะมีลักษณะอารมณ์เป็นอย่างไร

(1) อารมณ์ดี

(2) โมโหยาก

(3) มีน้ำใจเป็นนักกีฬา

(4) มีอารมณ์มั่นคง

(5) ดื้อดึง

ตอบ 1 หน้า 129, 295 เชลดอน (Sheldon) แบ่งรูปร่างของบุคคลออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้

1 รูปร่างอ้วนกลม (Endomorphy) มักจะมีนิสัยร่าเริง อารมณ์ดี สนุกสนาน รักความสบาย โกรธง่ายหายเร็ว ขึ้น้อยใจ พูดมาก ขี้บ่น คุยโอ่ และกินจุ ฯลฯ

2 รูปร่างผอมเกร็ง (Ectomorphy) มักจะมีนิสัยขี้อาย เฉย ๆ รักสันโดษ เก็บอารมณ์เก่ง โมโหยากแต่หายช้า ไม่กล้าแสดงออก พูดน้อย ดื้อดึง และเอาแต่ใจตัวเอง ฯลฯ

3 รูปร่างสมส่วน (Mesomorphy) มักจะมีนิสัยกล้าแสดงออก รักกิจกรรมกลางแจ้งเป็นผู้ที่มีอารมณ์มั่นคง มีน้ำใจเป็นนักกีฬา ฯลฯ

26 สิ่งที่คุณแม่ไม่ควรรับประทานในระหว่างตั้งครรภ์

(1) ทานอาหารที่มีไขมัน

(2) ทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต

(3) ทานอาหารหมักดอง

(4) ทานอาหารที่มีโปรตีน

(5) รับประทานวิตามินซี

ตอบ 3 หน้า 132 สิ่งที่มารดาควรบริโภคในระยะตั้งครรภ์ ได้แก่ อาหารที่มีโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรตวิตามินบี 6 ปี 12 ซี ดี อี และเค ส่วนสิ่งที่ต้องห้ามสําหรับผู้มีครรภ์ ได้แก่ บุหรี่ แอลกอฮอล์และเครื่องหมักดอง

27 จากการศึกษาของโลวิงเจอร์ (Loevinger) พบว่า อิทธิพลของสติปัญญากับสิ่งแวดล้อมมีกี่เปอร์เซ็นต์

(1) สติปัญญา 50% สิ่งแวดล้อม 50%

(2) สติปัญญา 25% สิ่งแวดล้อม 75%

(3) สติปัญญา 75% สิ่งแวดล้อม 25%

(4) สติปัญญา 60% สิ่งแวดล้อม 40%

(5) สติปัญญา 40% สิ่งแวดล้อม 50%

ตอบ 3 หน้า 137 จากการศึกษาของโลวิงเจอร์ (Loewinger) พบว่า พันธุกรรมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางสติปัญญา 759% และสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพล 25% นอกจากนี้ในด้านเกี่ยวกับพัฒนาการด้านร่างกาย โดยเฉพาะรูปร่างและหน้าตามีผลมาจากพันธุกรรมมากกว่าสิ่งแวดล้อม

28 ถ้าทารกมีการติดเชื้อหรือขาดออกซิเจนจะเกิดอะไรขึ้น

(1) ปากแหว่ง

(2) แขนขาไม่มี

(3) เป็นมะเร็งในเม็ดเลือด

(4) มีความพิการในระบบอวัยวะสัมผัส

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 132 หากมีการติดเชื้อหรือขาดออกซิเจน อาจจะทําให้เด็กเกิดมาจมูกโหว่ ปากแหว่ง ตาบอด แขนขาไม่มี มีความพิการในระบบอวัยวะรับสัมผัส เป็นมะเร็งในเม็ดเลือด และอาจทําให้สติปัญญาต่ำ

29 สิ่งใดที่ทําให้ยืนส์ที่อยู่ในร่างกายของมนุษย์ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง

(1) การใช้รังสี X-Ray

(2) การใช้ยา

(3) การเกิดอุบัติเหตุ

(4) การเกิดโรคไทรอยด์

(5) โลหิต

ตอบ 3 หน้า 124, 132 ในสภาพการณ์ที่เป็นปกติโดยทั่วไป ยีนส์ที่อยู่ในร่างกายของมนุษย์เรานั้นจะไม่เปลี่ยนแปลง แต่อาจจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้จากการใช้รังสีเอกซเรย์ (X-Ray) หรือการใช้ยาบางชนิด รวมทั้งการเกิดโรคจากต่อมไทรอยด์และระบบเลือดของมารดา

30 ข้อใดอธิบายสภาวะของ Rh Factor ผิด

(1) ระบบเลือดของมารดาเข้าไปทําลายเม็ดเลือดแดงของตัวอ่อน

(2) มีอาการแท้ง

(3) เกิดการต่อต้านระหว่างเลือดของมารดา

(4) เลือดของมารดาจะทําลายเลือดของลูก

(5) ระบบการทํางานจากแม่สู่ลูก

ตอบ 5 สภาวะของ Rh Factor หมายถึง การที่ระบบเลือดของมารดามีสารบางอย่างที่เข้าไปทําลายเม็ดเลือดแดงของตัวอ่อนในครรภ์ ทําให้เกิดอาการแท้งหรือตายหลังคลอดได้ สภาวะนี้ จะมี 2 ประเภท คือ ประเภทบวกและประเภทลบ ซึ่งถ้าลูกมีสภาวะของเลือดตรงข้ามกับมารดา (เลือดบิดาเป็น Rh บวก ซึ่งเป็นลักษณะเด่น แต่เลือดมารดาเป็น Rh ลบ ซึ่งเป็นลักษณะด้อย ลูกจะมี Rh บวก ตามลักษณะเด่นซึ่งตรงข้ามกับมารดา) จะทําให้เกิดการต่อต้านขึ้น โดยเลือด ของมารดาจะก่อปฏิกิริยาทําลายเลือดของลูก

31 สรีรจิตวิทยา เป็นการศึกษาในเรื่องใด

(1) การศึกษาถึงแบบแผนพฤติกรรมที่ค่อนข้างคงที่ของบุคคลที่แสดงออกให้เห็นในสถานการณ์ต่าง ๆ

(2) การศึกษาถึงการทํางานของสมองและระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมพฤติกรรม

(3) การศึกษาถึงกระบวนการที่ประสาทสัมผัสรับสิ่งเร้าจากภายนอก

(4) การศึกษาถึงกระบวนการแปลความหมายสิ่งเร้าที่มากระทบประสาทสัมผัสต่าง ๆ (5) การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวรอันเนื่องมาจากประสบการณ์ในอดีต

ตอบ 2 หน้า 25 สรีรจิตวิทยา เป็นการศึกษาถึงการทํางานของสมองและระบบประสาทที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการควบคุมพฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์ที่มีต่อสภาวะแวดล้อม

32 กลไกของระบบประสาทใด ที่ทําหน้าที่รับสัมผัสทั้งหลาย แปลงข้อมูลเป็นพลังงานไฟฟ้าหรือสารเคมีและส่งต่อไปยังระบบประสาท

(1) กลไกแสดงปฏิกิริยาตอบสนอง

(2) กลไกการรับรู้

(3) กลไกการเชื่อมโยงทางระบบประสาท

(4) กลไกการรับสิ่งเร้า

(5) วงจรปฏิกิริยาสะท้อน

ตอบ 4 หน้า 31 กลไกการรับสิ่งเร้า (Receptors) คือ อวัยวะรับสัมผัสทั้งหลาย ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น และผิวหนัง ซึ่งกลไกนี้จะทําหน้าที่รับข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมแล้วแปรรูปเป็นพลังงานไฟฟ้าหรือสารเคมี และส่งต่อไปยังระบบประสาท

33 กรณีใดไม่ได้เกิดจากวงจรปฏิกิริยาสะท้อน (Reflex Action)

(1) เปิดพัดลมเมื่อร้อน

(2) ชักมือออกเมื่อโดนแก้วที่ร้อน

(3) ถอยเท้าหนีเมื่อเหยียบก้นบุหรี่

(4) กะพริบตาเมื่อลมพัด

(5) ดึงมือออกเมื่อถูกประตูหนีบ

ตอบ 1 หน้า 31 วงจรปฏิกิริยาสะท้อน (Simple Reflex Action) ถือว่าเป็นวงจรที่เล็กที่สุดของกลไกการตอบสนอง ซึ่งเป็นการแสดงออกทางร่างกายโดยอัตโนมัติโดยที่สมองไม่ต้องสั่งงาน แต่วงจรของกระแสประสาทจะผ่านเฉพาะไขสันหลังเท่านั้น คือ ทํางานภายใต้การสั่งการของ ไขสันหลัง เช่น การกะพริบตาเมื่อถูกลมพัด การถอยเท้าหนีเมื่อเหยียบก้นบุหรี่ การชักมือออกเมื่อโดนแก้วที่ร้อน การดึงมือออกเมื่อถูกประตูหนีบ ฯลฯ

34 ระบบประสาทใด ทําหน้าที่เป็นศูนย์บัญชาการและศูนย์ควบคุมการทํางานของร่างกาย

(1) ระบบประสาทส่วนปลาย

(2) ระบบประสาทส่วนกลาง

(3) ระบบประสาทนําคําสั่งทั่วไป

(4) ระบบประสาทซิมพาเธติก

(5) ระบบประสาทพาราซิมพาเธติก

ตอบ 2 หน้า 27, 34, 41 – 43, 52 – 53 ระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System) ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง ซึ่งถือว่าเป็นส่วนที่สําคัญที่สุดของระบบประสาท โดยทําหน้าที่เป็นศูนย์บัญชาการและศูนย์ควนคุมการทํางานของร่างกายและจิตใจ กล่าวคือ ทําให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้ ควบคุมการหายใจและการเต้นของหัวใจ การไหลเวียนของโลหิต การทํางานของต่อมไร้ท่อ การปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม การควบคุมอารมณ์ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางของความรู้สึกนึกคิด สติปัญญา ความคิดและความรัก ตลอดจนพฤติกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์

35 ระบบประสาทซิมพาเธติก (Sympathetic Nervous System) ทําหน้าที่อะไร

(1) ควบคุมสมดุลระบบพลังงานของร่างกาย

(2) ผลิตฮอร์โมน

(3) ผลิตของเหลวส่งตามท่อไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

(4) ทําให้ร่างกายกลับคืนสู่ภาวะสงบและพักผ่อนหลังอาการตกใจ

(5) สั่งการให้ร่างกายตื่นตัว เพื่อรองรับกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น

ตอบ 5 หน้า 34, 261 ระบบประสาทซิมพาเธติก เป็นระบบที่ไปกระตุ้นการทํางานของร่างกายในกรณีฉุกเฉิน ทําให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อเตรียมพร้อมรับกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น เช่น เมื่อบุคคลเผชิญหน้ากับสิ่งเร้าที่ทําให้ตกใจกลัวและช็อก ทําให้ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย มีการทํางานมากขึ้น เกิดการตื่นตัว มีการเตรียมพร้อมของชีพจร หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ผนังของลําไส้หดตัวน้อยลง ม่านตาขยายกว้าง เหงื่อออกมาก และขนลุก ฯลฯ

36 ไฮโปธาลามัสไม่ได้ทําหน้าที่ในเรื่องใด

(1) ควบคุมการหลับการตื่น

(2) ควบคุมความหิว ความกระหาย

(3) ควบคุมกล้ามเนื้อลาย

(4) ควบคุมการทํางานของระบบประสาทอัตโนมัติ

(5) ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย

ตอบ 3 หน้า 42, 53, (คําบรรยาย) ไฮโปธาลามัส (Hypothalamus) เป็นส่วนของสมองที่มีขนาดเล็ก แต่ทํางานมีอิทธิพลมาก โดยจะทําหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมเพื่อให้เกิดความสมดุลภายในร่างกาย ควบคุมการหลับ การตื่น ความหิว ความกระหาย ความดันโลหิต การสืบพันธุ์ อุณหภูมิในร่างกาย การทํางานของระบบต่อมไร้ท่อและระบบประสาทอัตโนมัติ

37 ส่วนใดเกี่ยวข้องกับการทํางานของระบบประสาทน้อยที่สุด

(1) เซลล์ประสาท

(2) สารสื่อประสาท

(3) หัวใจ

(4) ไขสันหลัง

(5) สมอง ตอบ 3 หน้า 32, 34, 38, 52 ระบบประสาท เป็นระบบการทํางานที่สําคัญที่สุดของร่างกายประกอบด้วย สมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาทจํานวนมาก โดยภายในเส้นประสาท ประกอบด้วย เซลล์ประสาท กระแสประสาท และสารสื่อประสาท (หัวใจเป็นกล้ามเนื้อที่ทํางานอยู่นอกอํานาจจิตใจและเป็นไปโดยอัตโนมัติ)

38 เดนไดรท์ ในเซลล์ประสาทนิวโรน ทําหน้าที่ในข้อใด

(1) ทําหน้าที่รับและส่งกระแสประสาทได้ในเวลาเดียวกัน

(2) การนํากระแสประสาทเข้ามาสู่ตัวเซลล์

(3) การนํากระแสประสาทออกจากตัวเซลล์ไปสู่เซลล์ประสาทอีกตัวหนึ่ง

(4) ทําหน้าที่กระตุ้นการทํางานของเซลล์ประสาทตัวถัดไป

(5) ทําหน้าที่ยับยั้งการทํางานของเซลล์ประสาทตัวถัดไป

ตอบ 2 หน้า 37 เดนไดรท์ (Dendrite) ในเซลล์ประสาทนิวโรน จะทําหน้าที่เกี่ยวกับการนํากระแสประสาทเข้ามาสู่ตัวเซลล์ประสาท

39 กล้ามเนื้อส่วนใดที่ทํางานนอกอํานาจจิตใจ

(1) กล้ามเนื้อเรียบ

(2) กล้ามเนื้อลาย

(3) กล้ามเนื้อหัวใจ

(4) กล้ามเนื้อเรียบ และกล้ามเนื้อลาย

(5) กล้ามเนื้อเรียบ และกล้ามเนื้อหัวใจ

ตอบ 5 หน้า 30, 32, 52 ระบบกล้ามเนื้อ (Muscular System) จะทําหน้าที่ในการทําให้ร่างกายเคลื่อนไหว ประกอบด้วย กล้ามเนื้อลาย (ทํางานภายใต้อํานาจจิตใจ), กล้ามเนื้อเรียบและกล้ามเนื้อหัวใจ (ทํางานนอกอํานาจจิตใจ)

40 ข้อใดไม่ใช่การทําหน้าที่ของต่อมไร้ท่อ

(1) ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย

(2) ควบคุมปริมาณน้ำและเกลือแร่

(3) ควบคุมระบบสืบพันธุ์

(4) ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย

(5) ควบคุมระบบพลังงานของร่างกาย

ตอบ 4 หน้า 45 ต่อมไร้ท่อ เป็นต่อมที่ไม่มีท่อสําหรับให้สารเคมีที่ต่อมผลิตได้ผ่านไปสู่อวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย ซึ่งสารเคมีที่ผลิตโดยต่อมนี้เรียกว่า “ฮอร์โมน” ซึ่งมีความสําคัญต่อร่างกายและ มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมนุษย์เป็นอย่างมาก โดยหน้าที่สําคัญของฮอร์โมน ได้แก่ ควบคุม ระบบพลังงานของร่างกาย ควบคุมปริมาณน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย รวมทั้งควบคุมระบบสืบพันธุ์และต่อมน้ำนม

41 สิ่งใดไม่ใช่องค์ประกอบของการรับรู้โดยตา

(1) Lens

(2) Cornea

(3) Eye Lid

(4) Papillae

(5) Fovea

ตอบ 4 หน้า 61, (คําบรรยาย) องค์ประกอบของการรับรู้โดยตา การมองเห็น) ได้แก่ เปลือกตาหรือหนังตา (Eye Lid), กระจกตาหรือคอร์เนีย (Cornea), แก้วตาหรือเลนส์ (Lens) ม่านตา (Iris), รูม่านตาหรือรูแสงหรือช่องตาดํา (Pupil), จอตาหรือเรตินา (Retina), โฟเวีย (Fovea), รอดส์ (Rods) และโคนส์ (Cones) ฯลฯ

42 ข้อใดคือความแตกต่างระหว่างการสัมผัสและการรับรู้

(1) การรับรู้ไม่จําเป็นต้องอาศัยการรับสัมผัส

(2) การสัมผัสเป็นกระบวนการแปลความหมายของการรับรู้

(3) การรับรู้เป็นกระบวนการแปลความหมายของการสัมผัส

(4) การรับรู้ต้องอาศัยกระบวนการเรียนรู้ แต่การรับสัมผัสไม่ต้อง

(5) การรับสัมผัสต้องอาศัยกระบวนการเรียนรู้ แต่การรับรู้ไม่ต้อง

ตอบ 3 หน้า 57, 60 ความแตกต่างระหว่างการสัมผัสและการรับรู้ คือ การสัมผัสเป็นกระบวนการที่ประสาทสัมผัสรับสิ่งเร้าจากภายนอกมาสู่ระบบประสาทและเปลี่ยนเป็นการรับรู้ ส่วนการรับรู้ เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องจากการสัมผัส เป็นกระบวนการแปลความหมายของสิ่งเร้าที่มากระทบประสาทสัมผัสต่าง ๆ

43 ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับรอดส์และโคนส์

(1) รอดส์ทําหน้าที่รับแสงขาวดํา ส่วนโคนส์ทําหน้าที่รับแสงที่เป็นสี

(2) รอดส์ทําหน้าที่รับแสงที่เป็นสี ส่วนโคนส์ทําหน้าที่รับแสงขาวดํา

(3) รอดส์เป็นส่วนประกอบของหูชั้นนอก ส่วนโคนส์เป็นส่วนประกอบของหูชั้นใน

(4) รอดส์และโคนส์ สามารถทําให้การรับรู้รสชาติและกลิ่นเปลี่ยนไปได้

(5) รอดส์และโคนส์ ทําหน้าที่รักษาความสมดุลภายในร่างกาย

ตอบ 1 หน้า 61 ที่ผนังของเรตินา (Retina) จะมีเซลล์ประสาทอยู่ 2 ชนิด คือ

1 รอดส์ (Rods) มีลักษณะเป็นแท่งยาว และไวต่อแสงขาวดํา จึงเป็นเซลล์ที่รับแสงสลัวในเวลากลางคืน

2 โคนส์ (Cones) มีลักษณะสั้น เป็นรูปกรวย และไวต่อแสงที่เป็นสี ช่วยทําให้รับภาพสีได้ดีจึงเป็นเซลล์ที่รับแสงจ้าในเวลากลางวัน ดังนั้นคนตาบอดสีจึงไม่มีโคนส์อยู่ที่บริเวณเรตินา

44 ข้อใดไม่ใช่ปรากฎการณ์คงที่

(1) ความคงที่ของสี

(2) ความคงที่ของขนาด

(3) ความคงที่ของรูปร่าง

(4) ความคงที่ของแสง

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 71 – 72 ปรากฏการณ์คงที่ เป็นการรับรู้เกี่ยวกับการเห็น กล่าวคือ การที่ตาเราเห็นเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งของวัตถุ แต่ความเข้าใจในการรับรู้ยังอยู่ในสภาพเดิม ซึ่งมี 3 ชนิด ได้แก่ การคงที่ของสี ความคงที่ของขนาด และความคงที่ของรูปร่าง

45 แนวโน้มที่จะรับรู้วัตถุที่มีความคล้ายคลึงกันเป็นกลุ่มเดียวกัน

(1) Closure

(2) Commonfate

(3) Similarity

(4) Continuity

(5) Proximity

ตอบ 3 หน้า 75 ความคล้ายคลึงกัน (Similarity) คือ แนวโน้มที่คนเรามักจะรับรู้วัตถุหรือสิ่งต่าง ๆที่มีความคล้ายคลึงกันเป็นกลุ่มเป็นพวกหรือเป็นหมวดหมู่เดียวกันตามลักษณะที่ปรากฏ เช่น รูปร่าง สัณฐาน หรือสี ฯลฯ

46 การรับรู้แบบอภิธรรมดาที่เรียกว่า โทรจิต (Telepathy) เป็นการรับรู้อย่างไร

(1) การเห็นโดยไม่ต้องอาศัยประสาทสัมผัสทางตา

(2) การเดินทางไปปรากฏกายในที่อื่นโดยไม่ต้องใช้พาหนะใด ๆ

(3) การล่วงรู้เหตุการณ์ในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง

(4) การทําให้วัตถุหักงอโดยไม่ต้องใช้กายสัมผัส

(5) การล่วงรู้ความนึกคิดของผู้อื่นโดยไม่ต้องพูดคุยกับผู้นั้น

ตอบ 5 หน้า 79 ปรากฏการณ์อภิธรรมดา (Extrasensory Perception : ESP) แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

1 โทรจิต (Telepathy) เป็นการล่วงรู้ความนึกคิดของผู้อื่นได้โดยไม่ต้องพูดคุยกับผู้นั้น

2 ประสาททิพย์ (Clairvoyance) เป็นการล่วงรู้โดยไม่ต้องพึ่งประสาทสัมผัส

3 การรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า (Precognition) เป็นการล่วงรู้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง

47 ระดับอุณหภูมิเท่าไรที่จะทําให้มนุษย์รับรู้ถึงความรู้สึกร้อนหรือความรู้สึกเย็น

(1) สูงหรือต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส

(2) สูงหรือต่ำกว่า 30 องศาเซลเซียส

(3) สูงหรือต่ำกว่า 35 องศาเซลเซียส

(4) สูงหรือต่ำกว่า 40 องศาเซลเซียส

(5) สูงหรือต่ำกว่า 45 องศาเซลเซียส

ตอบ 2 หน้า 67 ความรู้สึกร้อนหรือความรู้สึกเย็นเกิดจากการที่ประสาทผิวหนังอบอุ่นและเย็นได้รับการกระตุ้นอย่างต่อเนื่องกันไปตลอดเวลา ซึ่งถ้าสิ่งที่มากระตุ้นมีอุณหภูมิสูงกว่า 30 องศาเซลเซียส จะทําให้เรารู้สึกร้อน แต่ถ้ามีอุณหภูมิต่ำกว่านี้จะทําให้เรารู้สึกเย็น

48 มนุษย์มีความไวต่อคลื่นเสียงในช่วงความถี่ระดับใด

(1) 1 – 200 Hz

(2) 2 – 500 Hz

(3) 10 – 1,000 Hz

(4) 16 – 20,000 Hz

(5) 1,000 – 1,000,000 Hz

ตอบ 4 หน้า 65 ปกติหูของมนุษย์จะมีความไวต่อเสียงที่มีความถี่ระหว่าง 16 – 20,000 Hz แต่สัตว์บางชนิด เช่น ค้างคาว หรือปลาโลมา จะรับเสียงที่มีความถี่สูงกว่านี้ได้

49 ตามที่เฮนนิ่ง (Henning) ได้ศึกษาเกี่ยวกับการรับกลิ่นของมนุษย์ ได้แบ่งกลิ่นเป็นกี่ชนิด

(1) 2 ชนิด คือ กลิ่นหอมและกลิ่นเหม็น

(2) 3 ชนิด คือ กลิ่นที่พึงพอใจ กลิ่นที่ไม่พึงพอใจ และกลิ่นที่ผ่อนคลาย

(3) 4 ชนิด คือ กลิ่นดอกไม้ กลิ่นไหม้ กลิ่นเครื่องเทศ และกลิ่นผลไม้

(4) 5 ชนิด คือ กลิ่นหอม กลิ่นเหม็น กลิ่นที่พึงพอใจ กลิ่นที่ไม่พึงพอใจ และกลิ่นที่ผ่อนคลาย

(5) 6 ชนิด คือ กลิ่นเครื่องเทศ กลิ่นดอกไม้ กลิ่นผลไม้ กลิ่นยาง กลิ่นเหม็น กลิ่นไหม้ ตอบ 5 หน้า 68 เฮนนิ่ง (Hanning) นักจิตวิทยาชาวเยอรมัน ได้ทําการศึกษาและแบ่งกลิ่นออกเป็น 6 ชนิด คือ กลิ่นเครื่องเทศ กลิ่นดอกไม้ กลิ่นผลไม้ กลิ่นยาง กลิ่นเหม็น และกลิ่นไหม้

50 ข้อใดคือความหมายของสัมปชัญญะ

(1) การมีสติแน่วแน่

(2) การมีสมาธิแน่วแน่

(3) การที่จิตสํานึกไม่ทํางาน

(4) การรู้ตัวทั่วพร้อมว่ากําลังทํา พูด คิด หรือมีพฤติกรรมใดอยู่

(5) การรู้ตัวทั่วพร้อมว่าตนเองและผู้อื่นกําลังทํา พูด คิด หรือมีพฤติกรรมใดอยู่

ตอบ 4 หน้า 89 สัมปชัญญะ หมายถึง การรู้ตัวทั่วพร้อมว่าตนเองกําลังทํา พูด คิด หรือมีพฤติกรรมใดอยู่ โดยสภาวะที่ร่างกายของบุคคล (อินทรีย์) ออกจากสัมปชัญญะหรือขาดสัมปชัญญะ ได้แก่ การนอนหลับ การหมดสติ การสะกดจิต การใช้สารเสพติด การดื่มสุรา ฯลฯ

51 คลื่นใดที่เครื่อง EEG ไม่สามารถตรวจพบในขณะที่เราหลับได้

(1) บีตา

(2) แอลฟา

(3) แกมมา

(4) เดลตา

(5) ธีตา

ตอบ 1 หน้า 93 เครื่องมือตรวจวัดคลื่นสมอง (Electroencephalograph : EEG) จะสามารถตรวจวัดคลื่นสมองได้ 3 ชนิด ซึ่งเกิดขึ้นใน 2 ช่วง ดังนี้

1 ในขณะที่เราหลับจะสามารถตรวจพบ คลื่นแอลฟา (Alpha) และคลื่นเดลตา (Delta)

2 ในช่วงตื่นจะตรวจพบคลื่นบีตา (Beta)

52 ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของการสะกดจิต

(1) ช่วยให้ความจําของบุคคลดีขึ้น

(2) ช่วยให้เกิดการผ่อนคลายทางจิตใจ

(3) ทําให้คนธรรมดามีพลังพิเศษได้

(4) ช่วยลดความเจ็บปวดทางจิตใจ

(5) ช่วยให้เกิดความมุ่งมั่น

ตอบ 1, 3 หน้า 105, 116 ประโยชน์ของการสะกดจิต มีดังนี้

1 ช่วยให้บุคคลเกิดความมุ่งมั่นและชักจูงให้มีความเชื่อมั่นในตัวเองมากขึ้น แต่ไม่สามารถเปลี่ยนคนธรรมดาให้มีพลังพิเศษได้

2 ช่วยโน้มน้าวจิตใจของบุคคลให้สนใจที่จะจดจํา แต่ไม่สามารถช่วยให้ความจําของบุคคลดีขึ้น

3 ในทางการแพทย์ สามารถช่วยลดความเจ็บปวดของคนไข้ได้

4 ช่วยให้บุคคลเกิดการผ่อนคลายทางจิตใจ

53 ข้อใดเป็นสภาพร่างกายในช่วงเวลาที่เกิด REM

(1) ความดันโลหิตเปลี่ยน

(2) หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ

(3) อารมณ์ไม่ปกติ

(4) กระแสไฟฟ้าบริเวณผิวหนังเพิ่ม

(5) กระแสไฟฟ้าบริเวณผิวหนังลด

ตอบ 2.3 หน้า 96 สภาพร่างกายในช่วงเวลาที่เกิด REM (ช่วงของการนอนหลับฝัน) คือ อารมณ์จะไม่ปกติ หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ ความดันโลหิตและการหายใจจะยังไม่เข้าที่ดีนัก และร่างกายจะมีการเคลื่อนไหวน้อยมากหรือแทบจะไม่มีเลย

54 อาการ Jet Lag คือภาวะใดของร่างกาย

(1) ร่างกายนอนพักผ่อนไม่เพียงพอ

(2) สภาวะร่างกายขาดน้ำอย่างเพียงพอ

(3) สภาวะที่แบบแผนการนอนถูกรบกวน

(4) สภาวะที่บุคคลนอนดึกมากเกินไป

(5) สภาวะที่บุคคลนอนเร็วจนเกินไป

ตอบ 3 หน้า 92 นักเดินทางที่ต้องขึ้นเครื่องบินเดินทางข้ามทวีปจากซีกโลกหนึ่งไปยังอีกซีกโลกหนึ่งมักจะเกิดสภาวะที่เรียกว่า Jet Lag คือ ต้องปรับตัวกับเวลาของประเทศที่เดินทางไปถึงใหม่เนื่องจากแบบแผนการนอนตามธรรมชาติถูกรบกวน

55 ยาเสพติดประเภทใดออกฤทธิ์ผสมผสาน

(1) ฝิ่น

(2) เฮโรอีน

(3) กัญชา

(4) ยาบ้า

(5) กระท่อม

ตอบ 3 หน้า 110 กัญชาจัดเป็นยาเสพติดประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน กล่าวคือ อาจจะกดหรือกระตุ้นหรือหลอนประสาทร่วมกัน

56 ผู้ใดเชื่อว่าความฝันเกิดจากการแสดงออกของความต้องการในระดับจิตใต้สํานึก (1) Freud

(2) Adler

(3) Jung

(4) Hopson & McCarley

(5) Roger

ตอบ 1 หน้า 97 ฟรอยด์ (Freud) เป็นนักทฤษฎีความฝันในยุคแรก โดยเขาได้อธิบายความหมายของความฝันไว้ว่า ความฝันก็คือการแสดงออกของความต้องการของบุคคลในระดับจิตใต้สํานึก

57 ระยะใดของการนอนหลับที่คลื่นสมองเริ่มปรากฏคลื่นเดลตา

(1) ระยะที่ 1

(2) ระยะที่ 2

(3) ระยะที่ 3

(4) ระยะที่ 4

(5) ระยะที่ 5

ตอบ 3 หน้า 93 จากการศึกษาพบว่าการนอนหลับในระยะที่ 3 และ 4 คลื่นสมองที่พบเรียกว่า เดลตา โดยในระยะที่ 3 จะเริ่มปรากฏคลื่นเดลตา ส่วนในระยะที่ 4 จะมีลักษณะเป็นคลื่นเดลตาล้วน ๆ

58 ข้อความใดถูกต้องที่สุดในเรื่องการนอนหลับ

(1) ระยะที่หลับลึกที่สุดมีคลื่นสมองเรียกว่า แอสฟา (Alpha)

(2) ศูนย์ของการนอนหลับจะอยู่ที่ไขสันหลัง

(3) การเคลื่อนไหวของลูกตาเกิดขึ้นในช่วงมีคลื่นสมองเรียกว่า เดลตา (Delta)

(4) การนอนไม่หลับมาเป็นเวลาหลายวันอาจทําให้เป็นโรคจิตได้

(5) ความฝันจะเกิดในช่วงของการนอนหลับที่มี REM

ตอบ 5 หน้า 91, 93, 95 ศูนย์ของการนอนหลับจะอยู่ที่ก้านสมอง โดยการนอนหลับในระยะที่ 1 จะมีคลื่นสมองที่เรียกว่า แอลฟา (Alpha) เกิดขึ้นประปราย จะเป็นช่วงที่ลูกตาของผู้นอน มีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว (Rapid Eye Movements : REM) และความฝันจะเกิดขึ้น ในช่วงนี้ด้วย ระยะที่หลับลึกที่สุดจะมีคลื่นสมองที่เรียกว่า เดลตา (Delta) การนอนไม่หลับหรืออดนอนติดต่อกันเป็นเวลานานหลายวันอาจทําให้มีอาการทางประสาทหลอนได้

59 ข้อพิสูจน์อย่างหนึ่งที่พบว่า การฝึกสมาธิทําให้บุคคลมีการผ่อนคลายทางจิตใจ คือ

(1) ผู้ที่ฝึกสมาธินาน ๆ จะมีคลื่นสมองบีตา

(2) ผู้ที่ฝึกสมาธินาน ๆ จะมีคลื่นสมองแอลฟา

(3) ผู้ที่ฝึกสมาธินาน ๆ จะมีคลื่นสมองเดลตา

(4) ผู้ที่ฝึกสมาธิ ผิวหนังจะมีความต้านทานต่อกระแสไฟฟ้าสูง

(5) ผู้ที่ฝึกสมาธิ ผิวหนังจะมีความต้านทานต่อกระแสไฟฟ้าต่ำ

ตอบ 2. 4 หน้า 111 – 113 สมาธิ คือ ความแน่วแน่ของจิตใจ ซึ่งจะช่วยรักษาโรคที่เกิดจากจิตใจไม่สงบกังวล และเร่าร้อนได้ โดยผู้ที่ฝึกสมาธินาน ๆ มักจะมีคลื่นสมองที่เรียกว่า คลื่นแอลฟา ทั้งนี้ วอลเลสและเบนสันได้ศึกษาแล้วพบว่า การนั่งสมาธิมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาทําให้การหมุนเวียนโลหิตดีขึ้น ผิวหนังจะมีความต้านทานต่อกระแสไฟฟ้าสูงกว่าปกติถึง 4 เท่า

60 อารมณ์มีความสําคัญต่อเราในด้านใด

(1) ร่างกาย

(2) จิตใจ

(3) การแสดงออกทางสีหน้า

(4) การเคลื่อนไหวทางร่างกาย

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 255 อารมณ์มีความสําคัญต่อชีวิตของเราทั้งในด้านร่างกายและจิตใจเช่นเดียวกับอาหารที่มีความสําคัญต่อร่างกาย สุขภาพจิตของคนเราจะดีหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับการปรุงแต่งของอารมณ์ ชนิดต่าง ๆ แม้ว่าอารมณ์จะเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถสัมผัสและสังเกตให้เห็นได้อย่างชัดเจน แต่ก็อาจสังเกตได้จากพฤติกรรมที่มิได้แสดงออกเป็นคําพูด เช่น การแสดงออกทางสีหน้าท่าทาง และการเคลื่อนไหวทางร่างกาย ฯลฯ

61 เมื่อเกิดอารมณ์เครียด ทําให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงในด้านใด

(1) การไหลเวียนโลหิต

(2) ระบบการย่อยอาหาร

(3) ระบบหายใจ

(4) ระบบการทํางานประสาทอัตโนมัติ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 260 261, (คําบรรยาย) เมื่อเกิดอารมณ์เครียดจะทําให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ เช่น การทํางานของระบบประสาทอัตโนมัติ ระบบการหายใจ ระบบการไหลเวียนโลหิต ระบบการย่อยอาหาร และระดับฮอร์โมนในสมองลดต่ำลง ซึ่งจะเป็นผลทําให้การเคลื่อนไหวของร่างกายเชื่องช้าลง ฯลฯ

62 สมองส่วนใดของร่างกายที่ควบคุมอารมณ์

(1) ซิมพาเธติก

(2) พาราซิมพาเธติก

(3) ธาลามัส

(4) ระบบประสาทลิมบิก

(5) ระบบประสาทอัตโนมัติ

ตอบ 3 หน้า 41 ธาลามัส (Thalamus) เป็นสมองส่วนหน้าของร่างกายที่ทําหน้าที่เป็นศูนย์กลางการส่งกระแสประสาทมอเตอร์จากซีรีบรัมไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เป็นศูนย์กลางรับ กระแสประสาทสัมผัส (ยกเว้นสัมผัสกลิ่น) จากส่วนต่าง ๆ ไปยังซีรีบรัม และเป็นศูนย์ควบคุมอารมณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น รวมทั้งการตื่นและหลับ

63 หลังจากเกิดการเร้าทางกายและพฤติกรรม จะรู้สึกถึงการเต้นของหัวใจ หายใจหอบ หน้าแดง และเหงื่อออกนําไปสู่ประสบการณ์ทางอารมณ์ ตรงกับทฤษฎีของใคร (1) ทฤษฎีเจมส์-แสง

(2) ทฤษฎีแคนนอน-บาร์ด

(3) ทฤษฎีแทคเตอร์-ซิงเกอร์

(4) แนวคิดร่วมสมัย

(5) ทฤษฎีวิวัฒนาการ

ตอบ 1 หน้า 269 ข้อสรุปของทฤษฎีอารมณ์ต่าง ๆ มีดังนี้ คือ

1 ทฤษฎีเจมส์-แลง สรุปว่า หลังจากที่เกิดการเร้าทางกายและพฤติกรรม จะรู้สึกถึงการเต้นของหัวใจ หายใจหอบ หน้าแดง และเหงื่อออก นําไปสู่ประสบการณ์ทางอารมณ์

2 ทฤษฎีแคนนอน-บาร์ด สรุปว่า การเร้าทางอารมณ์ พฤติกรรม และประสบการณ์จะส่งผ่านทางธาลามัสพร้อม ๆ กัน

3 ทฤษฎีแชคเตอร์-ซิงเกอร์ สรุปว่า การเร้าอย่างเดียวไม่ทําให้เกิดอารมณ์ จะต้องมีการแปลความควบคู่ไปด้วย ฯลฯ

64 การเร้าทางอารมณ์ พฤติกรรม และประสบการณ์ จะส่งผ่านทางธาลามัสพร้อม ๆ กัน ตรงกับทฤษฎีของใคร

(1) ทฤษฎีเจมส์-แสง

(2) ทฤษฎีแคนนอน-บาร์ด

(3) ทฤษฎีแชคเตอร์-ซิงเกอร์

(4) แนวคิดร่วมสมัย

(5) ทฤษฎีวิวัฒนาการ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 63 ประกอบ

65 การเร้าอย่างเดียวไม่ทําให้เกิดอารมณ์ จะต้องมีการแปลความควบคู่ไปด้วย ตรงกับทฤษฎีของใคร

(1) ทฤษฎีเจมส์-แสง

(2) ทฤษฎีแคนนอน-บาร์ด

(3) ทฤษฎีแทคเตอร์ ซิงเกอร์

(4) แนวคิดร่วมสมัย

(5) ทฤษฎีวิวัฒนาการ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 63 ประกอบ

66 อารมณ์ใดเป็นอารมณ์แรกของมนุษย์

(1) อารมณ์โกรธ

(2) อารมณ์ตื่นเต้น

(3) อารมณ์เศร้า

(4) อารมณ์ตกใจ

(5) อารมณ์รื่นเริง

ตอบ 2 หน้า 271 เค. บริดเจส (K. Bridges) พบว่า พัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กทารกมีลักษณะดังนี้คือ อารมณ์แรกเกิดของมนุษย์คืออารมณ์ตื่นเต้น แล้วจึงพัฒนาไปสู่อารมณ์ที่มีลักษณะเฉพาะ มากขึ้น เมื่ออายุครบ 3 เดือน ก็จะแยกออกระหว่างอารมณ์ดีใจและเดือดร้อนใจ ต่อจากนั้น อารมณ์โกรธ เกลียด และกลัวก็จะปรากฏขึ้นภายหลังตามระดับวุฒิภาวะและการรับรู้ของเด็ก และเมื่ออายุ 2 ปี (24 เดือน) อารมณ์พื้นฐานก็จะพัฒนาจนครบสมบูรณ์ทั้ง 8 ชนิด

67 อารมณ์พื้นฐานใดเกิดขึ้นเมื่อมีปฏิกิริยาโต้ตอบกับเหตุการณ์ใหม่ ๆ ที่ไม่คุ้ยเคย (1) อารมณ์ประหลาดใจ

(2) อารมณ์ยอมรับ

(3) อารมณ์โกรธ

(4) อารมณ์กลัว

(5) อารมณ์รื่นเริง

ตอบ 1 หน้า 272 อารมณ์ประหลาดใจเป็นอารมณ์พื้นฐานที่เกิดขึ้นเมื่อมีปฏิกิริยาโต้ตอบกับเหตุการณ์หรือสิ่งใหม่ ๆ ที่ไม่คุ้นเคย จึงมีหน้าที่ปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่

68 ข้อใดไม่ได้กล่าวถึงลักษณะของอารมณ์

(1) อารมณ์เป็นประสบการณ์ความรู้สึกส่วนบุคคล

(2) อารมณ์เป็นความรู้สึกที่สงบนิ่ง

(3) อารมณ์เป็นความรู้สึกรุนแรงและมีการแสดงออกที่แตกต่างกัน

(4) อารมณ์สามารถประเมินและแปลความหมายของสถานการณ์

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 255 256 อารมณ์ มีลักษณะสําคัญ 4 ประการ คือ

1 อารมณ์เป็นประสบการณ์ความรู้สึกส่วนบุคคล

2 อารมณ์เป็นความรู้สึกที่รุนแรงและมีการแสดงออกที่แตกต่างกันไป

3 อารมณ์มีความซับซ้อนกว่าความรู้สึกทางร่างกายอื่น ๆ โดยบุคคลจะมีการประเมินหรือแปล ความหมายของสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องแล้วจึงเกิดอารมณ์นั้น ๆ

4 อารมณ์จะเกิดร่วมกับการเปลี่ยนแปลงทางสรีระ

69 ข้อใดบอกวิธีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในภาวะปกติ

(1) ให้เข้าใจอารมณ์ต่าง ๆ หาความรู้และความจริงที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์

(2) ยอมรับอารมณ์ที่เกิดขึ้น

(3) ปล่อยอารมณ์สลายออกไปกับสถานการณ์ต่าง ๆ

(4) อย่ากังวลกับสิ่งที่ทําผิดพลาดมาแล้ว

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 276 มุกดา สุขสมาน ได้ให้แนวทางในการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในภาวะปกติ ดังนี้

1 พยายามเข้าใจอารมณ์ต่าง ๆ หาความรู้และความจริงที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ และหาสาเหตุของอารมณ์นั้น ๆ เพื่อจะได้หาทางขจัดอารมณ์เหล่านั้นออกไป

2 ต้องยอมรับอารมณ์ที่เกิดขึ้นและพยายามควบคุมอารมณ์ไม่ให้มีอิทธิพลเหนือตัวเรา

3 ทําให้อารมณ์นั้นสลายออกไปกับสถานการณ์ต่าง ๆ อย่าปล่อยให้เป็นปัญหาใหญ่

4 อย่ากังวลกับสิ่งที่ทําผิดพลาดมาแล้ว พยายามปรับอารมณ์โดยอยู่กับปัจจุบัน ฯลฯ

70 อะไรไม่ใช่องค์ประกอบของกระบวนการเกิดแรงจูงใจ

(1) ความต้องการ

(2) เป้าหมาย

(3) แรงขับ

(4) การตอบสนอง

(5) ความหิว

ตอบ 5 หน้า 227 กระบวนการเกิดแรงจูงใจ มีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ

1 ความต้องการ (Needs)

2 แรงขับ (Drive)

3 การตอบสนอง (Response)

4 เป้าหมาย (Goal)

71 สภาวะใดที่เป็นแรงกระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรมออกมา

(1) ความต้องการ

(2) แรงขับ

(3) แรงจูงใจ

(4) สิ่งเร้า

(5) การตอบสนอง

ตอบ 3 หน้า 225 แรงจูงใจ (Motive) หมายถึง สภาวะที่เป็นแรงกระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรมออกมา เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่แรงจูงใจนั้นต้องการ

72 ข้อใดไม่ใช่แรงจูงใจพื้นฐานของมนุษย์

(1) ความกระหาย

(2) ความหิว

(3) ความต้องการสืบพันธุ์

(4) ความผาผลาญในร่างกาย

(5) ความต้องการหลีกหนีอันตราย

ตอบ 4 หน้า 233, 239 แรงจูงใจพื้นฐานของมนุษย์ เป็นแรงจูงใจที่เกิดขึ้นเพื่อความอยู่รอดของชีวิตแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ

1 แรงจูงใจทางชีวภาพ ได้แก่ ความหิว ความกระหาย

2 แรงจูงใจเพื่อการสืบเผ่าพันธุ์

3 แรงจูงใจเพื่อหลีกหนีอันตราย

73 ข้อใดที่ทําให้คนเราแสดงพฤติกรรมการทํางานให้ดีสมบูรณ์และประสบความสําเร็จ

(1) แรงจูงใจพื้นฐาน

(2) แรงจูงใจภายใน

(3) แรงจูงใจภายนอก

(4) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์

(5) แรงขับ

ตอบ 4 หน้า 233 แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (Achievement Motive) เป็นความปรารถนาของบุคคลที่จะทําให้คนเราแสดงพฤติกรรมการทํางานให้ดีสมบูรณ์และประสบความสําเร็จ เมื่อบุคคลได้รับความสําเร็จและได้รางวัลจากสังคม บุคคลก็จะมีแรงจูงใจนี้ติดตัวไปตลอดได้

74 ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของแรงจูงใจ

(1) ทําให้เข้าใจพฤติกรรมและควบคุมให้สามารถเลือกพฤติกรรมที่เหมาะสม

(2) เข้าใจพฤติกรรมและควบคุมพฤติกรรมของบุคคลอื่นได้

(3) เข้าใจพฤติกรรมของกลุ่มสังคมให้มีพฤติกรรมไปในแนวทางที่ต้องการได้

(4) ทําให้บังคับมิให้แสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้

(5) เป็นแรงผลักดันทําให้มนุษย์แสวงหาอาหาร น้ำ อากาศ

ตอบ 5 หน้า 226 แรงจูงใจจะช่วยให้บุคคลได้รับประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1 ทําให้เข้าใจพฤติกรรมตนเองและควบคุมตนเองให้สามารถเลือกแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมและบังคับมิให้ตนเองแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้

2 เข้าใจพฤติกรรมของผู้อื่นและช่วยให้ควบคุมพฤติกรรมของบุคคลอื่นได้

3 เข้าใจพฤติกรรมของกลุ่มสังคมและจูงใจให้มีพฤติกรรมไปในแนวทางที่ต้องการได้

75 ข้อใดไม่ใช่ความต้องการทางด้านร่างกาย

(1) อาหาร

(2) เครื่องนุ่งห่ม

(3) บ้าน

(4) ยา

(5) การแต่งกาย

ตอบ 4 หน้า 231 ความต้องการทางด้านร่างกาย ได้แก่ อาหาร น้ำ เครื่องนุ่งห่ม บ้าน/ที่อยู่อาศัย การตกแต่งสถานที่ เพศตรงข้าม (การแต่งกายและพฤติกรรมการแสดงออกต่าง ๆ)

76 ข้อใดไม่ใช่ความต้องการความมั่นคงและปลอดภัย

(1) อุบัติเหตุ

(2) อุปกรณ์บริหารร่างกาย

(3) โรคภัยไข้เจ็บ

(4) อาหารเสริม

(5) ความหิว

ตอบ 5 หน้า 231 ความต้องการความมั่นคงและปลอดภัย ได้แก่ ยา อุปกรณ์และเวชภัณฑ์ เครื่องป้องกันอันตราย อาหารเสริม ยาบํารุงร่างกาย ยาชูกําลัง อุปกรณ์บริหารร่างกาย อุบัติเหตุ โรคภัยไข้เจ็บ การเกิดภัยธรรมชาติ

77 แรงจูงใจประเภทใดที่ทําให้มนุษย์ต้องหาวิธีอยู่รอดของชีวิต

(1) แรงจูงใจพื้นฐาน

(2) แรงจูงใจภายใน

(3) แรงจูงใจภายนอก

(4) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์

(5) แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 72 ประกอบ

78 แรงจูงใจประเภทใดที่ทําให้บุคคลปฏิบัติตนและแสดงพฤติกรรมให้เป็นที่ยอมรับของผู้อื่น

(1) แรงจูงใจภายใน

(2) แรงจูงใจภายนอก

(3) แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์

(4) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์

(5) แรงจูงใจพื้นฐาน

ตอบ 3 หน้า 234 แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ (Affiliative Motive) เป็นแรงจูงใจที่ทําให้บุคคลปฏิบัติตนและแสดงพฤติกรรมให้ตนเป็นที่ยอมรับของบุคคลอื่น อันเป็นแรงจูงใจที่สังคมสร้างเงื่อนไข กระตุ้นให้บุคคลเกิดความต้องการที่จะติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ทั้งนี้เพราะคนเราต้องการ ที่จะได้รับความรัก การยอมรับ และเอาใจใส่จากบุคคลที่ตนเกี่ยวข้องด้วย

79 ข้อใดถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับลักษณะสําคัญของกลุ่ม

(1) มีการคล้อยตามกลุ่ม

(2) มีโครงสร้างและความสามัคคี

(3) นั่งรอรถประจําทาง

(4) มีค่านิยมเหมือนกัน

(5) มีบทบาทเหมือนกัน

ตอบ 2 หน้า 377 – 378 กลุ่มประกอบด้วยคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปที่มาปฏิสัมพันธ์กัน โดยกลุ่มทุกกลุ่มจะมีลักษณะสําคัญ 2 ประการ คือ โครงสร้างของกลุ่มและความสามัคคีในกลุ่ม

80 ข้อใดตรงกับการแบ่งระยะห่างระหว่างบุคคลในระยะสาธารณะ

(1) การฟังสุนทรพจน์

(2) การพูดระหว่างกลุ่มเพื่อน

(3) การพูดคุยของคู่รัก

(4) การสอนในชั้นเรียน

(5) การตกลงกันเพื่อทําการค้าร่วมกัน

ตอบ 1 หน้า 379, (คําบรรยาย) ระยะห่างระหว่างบุคคลในระยะสาธารณะ คือ ระยะห่างตั้งแต่ 12 ฟุตขึ้นไป เป็นระยะที่เป็นทางการมากขึ้น ต้องใช้เสียงพูดดังขึ้นอีก (หรือใช้เครื่องขยายเสียง) เช่น การกล่าวสุนทรพจน์ การบรรยาย การหาเสียงเลือกตั้ง การแสดงคอนเสิร์ต ฯลฯ

81 ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่ดึงดูดให้คนเป็นมิตรกัน

(1) ความใกล้ชิดทางกาย

(2) ความคล้ายคลึงกัน

(3) ความอาย

(4) ความมีเสน่ห์

(5) ความสามารถ

ตอบ 3 หน้า 380 381 ปัจจัยที่ดึงดูดให้คนเป็นมิตรกัน ได้แก่ ความใกล้ชิดทางกาย ความมีเสน่ห์ ดึงดูดทางกาย ความสามารถ ความคล้ายคลึงกัน และการเปิดเผยตนเอง

82 ข้อใดไม่ใช่วิธีการล้างสมองหรือการยัดเยียดความคิดให้ผู้อื่น

(1) การอภิปรายกลุ่ม

(2) สถานการณ์การเสนอแนะ

(3) เสริมให้การคล้อยตาม

(4) การใช้สารจูงใจ

(5) บังคับโดยการใช้กฎหมาย

ตอบ 5 หน้า 383 วิธีการล้างสมองหรือการยัดเยียดความคิดให้ผู้อื่น เป็นสถานการณ์ที่ใช้องค์ประกอบ 4 ลักษณะพร้อม ๆ กัน คือ สถานการณ์การเสนอแนะ สถานการณ์การคล้อยตาม การอภิปรายกลุ่มและการใช้สารชักจูงใจ

83 “เมื่อทําผิดต้องถูกลงโทษโดยการติดคุกตามความผิดของตน” ตรงกับอํานาจทางสังคมแบบใด

(1) อํานาจการให้รางวัล

(2) อํานาจตามความเชี่ยวชาญ

(3) อํานาจตามกฎหมาย

(4) อํานาจการบังคับ

(5) อํานาจตามการอ้างอิง

ตอบ 4 หน้า 386 อํานาจในการบังคับเป็นอํานาจที่ขึ้นอยู่กับความสามารถในการลงโทษผู้ที่ไม่ยอมทําตามได้ ซึ่งอํานาจนี้มักเป็นพื้นฐานของกฎหมายและระเบียบต่าง ๆ โดยใช้การจําคุกและการปรับสินไหมเป็นเครื่องควบคุมพฤติกรรม

84 ข้อใดตรงกับลักษณะพฤติกรรมที่เกิดจาก “ความเชื่อ อารมณ์ และการกระทํา”

(1) เจตคติ

(2) การคล้อยตามกลุ่ม

(3) ความก้าวร้าว

(4) อิทธิพลทางสังคม

(5) พฤติกรรมการแสดงออกเหมาะสม

ตอบ 1 หน้า 374, 388 389 เจตคติเป็นความพร้อมที่จะตอบสนองต่อสิ่งต่าง ๆ ทั้งทางบวกและทางลบ เป็นลักษณะของพฤติกรรมที่เกิดจากความเชื่อ อารมณ์ และการกระทํา

85 ข้อใดตรงกับลักษณะ “การตัดสินใจล่วงหน้า สงสัย กลัว เกลียดอย่างไม่มีเหตุผล” (1) ความไม่ใส่ใจ

(2) อคติ

(3) เจตคติ

(4) พฤติกรรมก้าวร้าว

(5) การแสดงออกที่เหมาะสม

ตอบ 2 หน้า 392 อคติ เป็นเจตคติทางลบหรือการตัดสินล่วงหน้า เกิดจากความสงสัย ความกลัว และความเกลียดอย่างไม่สมเหตุสมผล บ่อยครั้งที่เจตคติเกิดจากโครงสร้างของอํานาจทางสังคมซึ่งมักเป็นอคติเกี่ยวกับเชื้อชาติ เพศ หรืออายุ และนํามาสู่การแบ่งแยก

86 เด็กแสดงความก้าวร้าวตามการแสดงออกของผู้ใหญ่ ตรงกับลักษณะใด

(1) สัญชาตญาณ

(2) ลักษณะทางชีววิทยา

(3) ต้องการได้รับการยอมรับ

(4) การเรียนรู้ทางสังคม

(5) ความคับข้องใจ

ตอบ 4 หน้า 395 แนวคิดที่อธิบายสาเหตุของความก้าวร้าวซึ่งได้รับการยอมรับมากที่สุด คือ ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม โดยทฤษฎีนี้อธิบายว่าคนเราเรียนรู้ความก้าวร้าวจากผู้อื่น นั่นคือ ความก้าวร้าวเป็นการเรียนรู้ไม่ใช่สัญชาตญาณ

87 เพราะเหตุใด “เห็นคนถูกรถชน และนอนเลือดไหลอยู่กลางถนน แต่ไม่เข้าไปช่วย” (1) ไร้น้ำใจ

(2) ถูกห้ามไม่ให้เข้าไปช่วยเหลือ

(3) มีความรู้สึกแปลกแยก

(4) ไม่มีเวลาพอเพียง

(5) ไม่ไว้ใจในสถานการณ์

ตอบ 3 หน้า 395 เหตุผลที่ทําให้คนหลายคนไม่ให้ความช่วยเหลือคนที่ถูกรถชน ได้แก่ ความรู้สึกแปลกแยกของคนในเมือง มีคนอยู่ในเหตุการณ์หลายคนจึงเกิดการกระจายความรับผิดชอบ

88 ข้อใดเป็นพฤติกรรม “สามารถปฏิเสธการซื้อสินค้าจากผู้ขายได้อย่างมีเหตุผล”

(1) ความก้าวร้าว

(2) การกระจายความรับผิดชอบ

(3) การเรียนรู้ทางสังคม

(4) พฤติกรรมไม่เหมาะสม

(5) พฤติกรรมการแสดงออกที่เหมาะสม

ตอบ 5 หน้า 396, 401 พฤติกรรมการแสดงออกที่เหมาะสม เป็นพฤติกรรมที่แสดงความคิดเห็น ความรู้สึก ความปรารถนาและความเชื่อของตนอย่างตรงไปตรงมา ซื่อสัตย์ต่อกัน เหมาะสมกับ กาลเทศะ ก่อประโยชน์แก่ตนเองและคู่สนทนาโดยคํานึงถึงสิทธิของทั้ง 2 ฝ่าย เน้นความเชื่อมั่น การเก็บอารมณ์ และการแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อ 89 – 93 จากแนวคิดเรื่องการปรับตัว จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) กลุ่มจิตวิเคราะห์

(2) กลุ่มลูกศิษย์ฟรอยด์

(3) กลุ่มพฤติกรรมนิยม

(4) กลุ่มมนุษยนิยม

(5) กลุ่มเพื่อการอยู่รอด

 

89 คนที่จะปรับตัวได้ดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ของเขา ถ้าเขามีการเรียนรู้ที่ดี เขาก็จะมีพฤติกรรมโต้ตอบออกไปได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่ออยู่ในสถานการณ์คับขัน ตอบ 3 หน้า 344 กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorist) เชื่อในเรื่องของพฤติกรรมว่าเป็นสิ่งเรียนรู้ ดังนั้นคนที่จะปรับตัวได้ดีหรือไม่นั้นจะขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ของเขา ถ้าเขามีการเรียนรู้ที่ดี เขาก็จะสามารถมีพฤติกรรมที่โต้ตอบออกไปได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่ออยู่ในสถานการณ์คับขัน

90 มนุษย์ควรมีการพัฒนาไปถึงที่สุดเท่าที่ศักยภาพจะอํานวย เรียกกระบวนการพัฒนานี้ว่าการประจักษ์ในตน

ตอบ 4 หน้า 344 กลุ่มมนุษยนิยม (Humanist) เชื่อว่า มนุษย์ควรมีการพัฒนาไปถึงที่สุดเท่าที่ศักยภาพจะอํานวย เรียกกระบวนการพัฒนาเข้าไปถึงที่สุดของศักยภาพนี้ว่า “การประจักษ์ในตน” ซึ่งควรจะเป็นเป้าหมายของการงอกงามเติบโตที่แท้จริงของมนุษย์

91 มนุษย์มีเสรีภาพอย่างเต็มที่ จึงต้องรับผิดชอบในการกระทําทุกอย่างของตนเอง ตอบ 5 หน้า 344 กลุ่มของนักทฤษฎีเพื่อการอยู่รอด (Existentialist) มองว่า มนุษย์มีเสรีภาพอย่างเต็มที่ ดังนั้นมนุษย์จึงต้องรับผิดชอบในการกระทําทุกอย่างของตนเอง โดยมนุษย์จะไม่สามารถ โทษผู้อื่นหรือสิ่งแวดล้อมว่าทําให้เขาเป็นอย่างโน้นอย่างนี้ได้เลย ใครก็ตามที่ก้าวพ้นออกมาจากความกลัว สามารถเอาชนะความรู้สึกของตัวเอง และเชื่อในเรื่องของเสรีภาพ จะเป็นผู้ที่ปรับตัวได้ดี

92 ผู้ที่ปรับตัวดีคือผู้ที่มีพัฒนาการที่สมดุลของ อิด อีโก้ ซูเปอร์อีโก้

ตอบ 1 หน้า 343 กลุ่มจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) เห็นว่า คนที่ปรับตัวไม่ได้ มีสาเหตุมาจากพลังอีโก้ (Ego) มีการพัฒนาที่อ่อนแอเกินไป ทําให้ไม่แกร่งพอที่จะสร้างความสมดุลระหว่าง พลังอิด (Id) และซูเปอร์อีโก้ (Superego) ได้ โดยเชื่อว่า ผู้ที่ปรับตัวดีคือผู้ที่มีการพัฒนาการที่สมดุลของอิด อีโก้ เเละซูเปอร์อีโก้

93 การปรับตัวจะดีได้นั้น บุคคลจะต้องสามารถพัฒนาตนเอง เสริมสร้างเอกลักษณ์ที่มั่นคง และสร้างความสัมพันธ์ที่มีความหมายกับบุคคลรอบข้างได้

ตอบ 2 หน้า 344 กลุ่มลูกศิษย์ของฟรอยด์ (Neo-freudian) มีความเห็นว่า การปรับตัวจะดีได้นั้นบุคคลจะต้องสามารถพัฒนาตนเอง สร้างเสริมเอกลักษณ์ที่มั่นคง ในขณะเดียวกันก็สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่มีความหมายกับบุคคลรอบข้างหรือคนอื่น ๆ ได้

94 ตามทฤษฎีปฏิกิริยาต่อความเครียดของเซลเย พฤติกรรมในตัวเลือกใดต่อไปนี้ อยู่ในขั้นตอนปฏิกิริยาตื่นตระหนก

(1) นายธรรมะอยู่ทํางานจนดึกเป็นเวลาติดต่อกันหลายสัปดาห์ทําให้เป็นลมขณะทํางานตอนเช้า

(2) หลังจากถูกคู่รักบอกเลิก นายมนัสก็เสียใจ กินไม่ได้นอนไม่หลับ

(3) นายรุ่งโรจน์เป็นโรคความดันโลหิตสูง เนื่องจากตรากตรํากับการทํางานหนักมา 10 ปี

(4) นายกิตติดื่มสุราจนติด ภายหลังจากถูกไล่ออกจากงาน

(5) หลังทนายความอ่านพินัยกรรม นายรัตนพลทราบว่าตนเองไม่ได้สมบัติเลย จึงมีอาการคลื่นไส้ วิงเวียนและปวดศีรษะ

ตอบ 5 หน้า 351 ตามทฤษฎีปฏิกิริยาต่อความเครียดของเซลเย (Selye) ปฏิกิริยาตื่นตระหนก คือ เมื่อร่างกายเผชิญกับสิ่งรุกเร้าที่ทําให้เกิดความเครียด ต่อมไร้ท่อก็จะหลั่งฮอร์โมนเข้าสู่กระแสโลหิต เพื่อรับสภาพการจู่โจม และทําให้ร่างกายมีความพร้อมเต็มที่ นอกจากนี้สภาวะทางกายอื่น ๆที่เกิดขึ้น คือ อาจทําให้บุคคลปวดศีรษะ วิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน และท้องปันป่วน ฯลฯ

95 ความรู้สึกที่บุคคลประสบเมื่อพยายามไปสู่จุดมุ่งหมายแต่ถูกขัดขวาง คือ

(1) ความเครียด

(2) ความกดดัน

(3) ความคับข้องใจ

(4) ความโกรธ

(5) ความเสียใจ

ตอบ 3 หน้า 355 ความคับข้องใจ (Frustration) คือ ความรู้สึกที่บุคคลประสบเมื่อพยายามจะไปให้ถึงจุดหมายปลายทาง แต่ถูกขัดขวางด้วยอุปสรรคบางประการ

96 การปรับตัวโดยหันหายาเสพติดเป็นการปรับตัวแบบใด

(1) ความก้าวร้าว

(2) การฝันกลางวัน

(3) ความคับข้องใจ

(4) การถดถอย

(5) ความกดดัน

ตอบ 4 หน้า 356 การถดถอย สําหรับบุคคลบางคนนั้นเมื่อมีความคับข้องใจเกิดขึ้น เขาจะกลัวและไม่กล้าแสดงความก้าวร้าวออกมา แต่เขาจะใช้วิธีการถดถอยหรือหนีออกไปให้พ้น โดยอาจหมายถึงการหนีออกจากบ้าน หรือเป็นการหนีทางด้านจิตวิทยาซึ่งมี 2 ลักษณะ คือ การแสดงความเฉยเมย การปรับโดยหันไปพึ่งสิ่งมึนเมาและการใช้สารเสพติดชนิดต่าง ๆ

97 นักศึกษาสอบตก แต่กล่าวหาว่าข้อสอบยากเกินไป เป็นการใช้กลไกป้องกันทางจิตแบบใด

(1) การหาสิ่งทดแทน

(2) การเข้าข้างตนเอง

(3) การชดเชยสิ่งที่ขาด

(4) การไม่นําอารมณ์เข้ามามีส่วนร่วม

(5) ปฏิกิริยากลบเกลื่อน

ตอบ 2 หน้า 357 358 การเข้าข้างตัวเอง (Rationalization) เป็นกลไกป้องกันทางจิต (Defense Mechanism) ที่บุคคลพยายามหาเหตุผลมาเข้าข้างตัวเอง ทั้งนี้ก็เพื่อรักษาหน้าหรือภาพพจน์ ของตัวเองเอาไว้ ซึ่งมีลักษณะที่เรียกว่า “องุ่นเปรี้ยว มะนาวหวาน” เช่น บ้านเล็กและคับแคบแต่ใกล้ที่ทํางาน นักศึกษาสอบตกแต่กล่าวหาว่าข้อสอบยากเกินไป ฯลฯ

98 ไม่อยากเป็นทหาร แต่ไม่อยากหนีการเกณฑ์ทหาร ถือเป็นความขัดแย้งแบบใด

(1) Approach-Approach Conflict

(2) Approach-Avoidance Conflict

(3) Avoidance-Avoidance Conflict

(4) Double Approach Avoidance Conflict

(5) Double Avoidance Conflict

ตอบ 3 หน้า 361 ความขัดแย้งใจแบบอยากหนีทั้งคู่หรือแบบชั่ง-ชัง (Avoidance-Avoidance Conflict) เป็นความกดดันที่จะต้องเลือกสิ่งที่ไม่พึงพอใจทั้งคู่ เปรียบได้กับการหนีเสือปะจระเข้ เช่น ไม่อยากเป็นทหารแต่ก็ไม่อยากหนีการเกณฑ์ทหาร ต้องเลือกเรียนระหว่างฟิสิกส์หรือเคมีซึ่งไม่ถนัดทั้ง 2 วิชา ฯลฯ

99 ทฤษฎีตัวประกอบสองปัจจัยของสเปียร์แมน อธิบายว่าสติปัญญาแบ่งเป็นสององค์ประกอบได้แก่อะไรบ้าง

(1) G-factor และ L-factor

(2) G-factor และ S-factor

(3) S-factor และ L-factor

(4) G-factor และ C-factor

(5) C-factor และ L-factor

ตอบ 2 หน้า 325 ชาร์ล สเปียร์แมน (Charles Spearman) เป็นผู้ที่คิดทฤษฎีตัวประกอบสองปัจจัยโดยอธิบายว่า สติปัญญาของคนเรานั้นจะมีองค์ประกอบ 2 ประการ คือ

1 ตัวประกอบทั่วไป (General factor : G-factor) เป็นตัวประกอบที่เกี่ยวกับการใช้เหตุผลทั่ว ๆ ไปของบุคคล และทุกคนมีเหมือนกันหมด

2 ตัวประกอบเฉพาะ (Specific factor : S-factor) เป็นตัวประกอบที่เกี่ยวกับความสามารถ เฉพาะตัวของบุคคล เช่น ความสามารถพิเศษด้านศิลปะและดนตรี ความสามารถในการจําความเข้าใจภาษา การคํานวณ การใช้มือ การสังเกต การออกแบบ (Design) ฯลฯ

100 ข้อใดคือสมการที่ใช้ในการคํานวณคะแนนสติปัญญา (IQ)

(1) MA/CA X 100

(2) CANA x 100

(3) CAN100 x MA

(4) MAN100 x CA

(5) 100/MA XCA

ตอบ 1 หน้า 326 สมการที่ใช้ในการคํานวณคะแนนสติปัญญา (I.O.) คือ 1.Q. = 1.4 x 100 C.A. โดย M.A. = อายุสมองที่ได้จากการทําแบบทดสอบ

C.A. = อายุจริงตามปฏิทิน

101 คะแนน IQ ในข้อใดถือว่าเป็นบุคคลปัญญาอ่อน

(1) ต่ำกว่า 110

(2) ต่ำกว่า 100

(3) ต่ำกว่า 90

(4) ต่ำกว่า 80

(5) ต่ำกว่า 70

ตอบ 5 หน้า 327 บิเนต์ (Binet) ได้จําแนกระดับสติปัญญา (I.O.) ของบุคคลออกเป็น 7 ระดับ ดังนี้

1 ปัญญาอ่อน (Retarded) มีระดับ I.Q. ต่ำกว่า 70

2 คาบเส้น (Borderline) มีระดับ IQ. 71 – 80

3 ปัญญาทึบ (Dull) มีระดับ IQ. 81 – 90

4 เกณฑ์ปกติ (Normal) มีระดับ I.O. 91 – 110 ซึ่งถือเป็นระดับปานกลาง

5 ค่อนข้างฉลาด (Suoerior) มีระดับ I.Q. 111 – 120

6 ฉลาดมาก (Very Superior) มีระดับ I.Q. 121 – 140

7 อัจฉริยะ (Genius) มีระดับ I.O. 140 ขึ้นไป

102 แบบทดสอบที่มีความเที่ยงตรง (Validity) มีลักษณะเช่นใด

(1) ให้ผลเหมือนเดิมไม่ว่าใครเป็นผู้วัด

(2) มีความคงที่ของคะแนน

(3) วัดในสิ่งที่ต้องการจะวัด

(4) มีแบบแผนในการทดสอบ

(5) มีกําหนดเวลาในการทดสอบ

ตอบ 3 หน้า 327 – 328 แบบทดสอบที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติที่สําคัญ 4 ประการ ดังนี้

1 ความเป็นปรนัย (Objectivity) จะต้องให้ผลเหมือนเดิมไม่ว่าใครจะเป็นผู้วัด

2 ความเชื่อถือได้ (Reliability) มีความคงที่ของคะแนนในการวัดแต่ละครั้ง

3 ความเที่ยงตรง (Validity) วัดในสิ่งที่ต้องการจะวัด (เป็นคุณสมบัติที่สําคัญที่สุด)

4 ความเป็นมาตรฐาน (Standardization) มีแบบแผนในการดําเนินการทดสอบ

103 หากวัดความสามารถทางสติปัญญาในครั้งนี้ IQ = 90 และวัดซ้ำในอีก 6 เดือนต่อมาปรากฏว่าได้ IQ = 90 เช่นเดิม ถือว่าการทดสอบทางสติปัญญานี้

(1) มีความเป็นปรนัย

(2) มีความเชื่อถือได้

(3) มีความเที่ยงตรง

(4) มีความเป็นมาตรฐาน

(5) มีการให้คะแนนที่แน่นอน

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 102. ประกอบ

104 แบบทดสอบวัดความสามารถทางสติปัญญาฉบับใดที่สามารถใช้กับเด็กที่มีอายุ 2 ปีได้

(1) SPM

(2) WAIS

(3) WISC

(4) WPPSI

(5) Stanford-Binet

ตอบ 5 หน้า 329 ลักษณะของแบบทดสอบ Stanford-Binet คือ เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดระดับสติปัญญาของเด็กตั้งแต่อายุ 2 ขวบ จนถึงผู้ใหญ่ที่ฉลาด

105 ข้อใดกล่าวผิด

(1) การใช้แบบทดสอบ IQ จะกระทําได้แต่เฉพาะผู้ที่มีคุณสมบัติเพียงพอเท่านั้น

(2) ยังไม่มีหลักฐานชี้ชัดว่าเพศหญิงและชายมีความแตกต่างทางสติปัญญา

(3) ฐานะทางสังคมไม่ใช่ปัจจัยที่ทําให้สติปัญญามีความแตกต่างกัน

(4) ความแตกต่างทางเชื้อชาติไม่ทําให้ความสามารถทางสติปัญญาแตกต่างกัน

(5) ระดับสติปัญญาอาจเพิ่มหรือลดได้เมื่ออายุล่วงวัย 60 ปีไปแล้ว

ตอบ 3 หน้า 332 – 334 การใช้แบบทดสอบ IQ จะกระทําได้แต่เฉพาะบุคคลที่มีคุณสมบัติเพียงพอเท่านั้น โดยตัวแปรเกี่ยวกับระดับความสามารถทางสติปัญญา ได้แก่ ยากที่จะชี้ชัดลงไปว่าเพศหญิง และชายใครมีสติปัญญาดีกว่ากัน ระดับสติปัญญาอาจเพิ่มหรือลดได้เมื่ออายุล่วงวัย 60 ปีไปแล้ว ฐานะทางสังคมเป็นปัจจัยที่ทําให้สติปัญญามีความแตกต่างกัน และความแตกต่างทางเชื้อชาติไม่ทําให้ความสามารถทางสติปัญญาแตกต่างกัน

106 ข้อใดไม่ใช่ความหมายของบุคลิกภาพตามแนวคิดของอัลพอร์ท (Alport)

(1) เน้นความเป็นเอกลักษณ์ของบุคคล

(2) เน้นการมองบุคลิกภาพในลักษณะของการเป็นหมวดหมู่

(3) ให้ความสําคัญของบุคลิกภาพในแง่ของสรีรชีวภาพ

(4) มองบุคลิกภาพในแง่ของการปรับตัว

(5) มองบุคลิกภาพว่าเกิดจากการวางเงื่อนไข

ตอบ 5 หน้า 283 ความหมายของบุคลิกภาพตามแนวคิดของอัดพอร์ท (Allport) แบ่งเป็น 6 กลุ่ม คือ

1 เน้นความเป็นเอกลักษณ์ของบุคคล

2 เน้นการมองบุคลิกภาพในลักษณะของการเป็นหมวดหมู่

3 มองบุคลิกภาพในแง่ของการปรับตัว

4 เน้นการจัดบุคลิกภาพออกตามพัฒนาการเป็นลําดับขั้น

5 ให้ความสําคัญของบุคลิกภาพในแง่สรีรชีวภาพ

6 ประเภทจิปาถะ

107 นักทฤษฎีท่านใดที่เน้นบุคลิกภาพในด้านการพัฒนาตนไปสู่บุคลิกภาพที่สมบูรณ์

(1) ฟรอยด์

(2) แอดเลอร์

(3) อัลพอร์ท

(4) มาสโลว์

(5) เอริกสัน

ตอบ 2. 4 หน้า 285 นักทฤษฎีบุคลิกภาพกลุ่มที่เน้นทางด้านการพัฒนาตนไปสู่บุคลิกภาพที่สมบูรณ์ได้แก่ แอดเลอร์ โรเจอร์ และมาสโลว์ โดยพวกเขามีความเห็นใกล้เคียงกันว่า มนุษย์มีธรรมชาติ ที่จะแสวงหาความงอกงามเติบโตและพัฒนาตนไปสู่สภาวะที่สมบูรณ์ และความปรารถนานี้คือ สิ่งจูงใจให้เขามีพฤติกรรมและบุคลิกภาพต่าง ๆ

108 ข้อใดเป็นกระบวนการทํางานของ Superego

(1) สมถวิลหิวจึงเดินไปหาข้าวรับประทาน

(2) กฤษดาไม่พอใจที่สมชายเอาคลิปลับของเขาไปอัพลง Youtube จึงต่อยสมชาย

(3) พจมานรู้สึกผิดที่ไม่ได้ดูแลแม่ให้ดี

(4) สุพินรู้สึกร้อนจึงเปิดแอร์

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 288 ซูเปอร์อีโก้ (Superego) เป็นกระบวนการทํางานของจิตใจที่ทําหน้าที่คล้ายมโนธรรมคอยตักเตือนให้บุคคลรู้จักละอายต่อบาป เกิดจากการอบรมสั่งสอน/ตักเตือนจากผู้เลี้ยงดูทําให้เรารู้จักบาปบุญคุณโทษ/ผิดชอบชั่วดี

109 วัตสัน (watson) มีความเชื่อว่า

(1) บุคลิกภาพเกิดจากการทํางานของ Id, Ego และ Superego

(2) พฤติกรรมของมนุษย์จะถูกควบคุมได้โดยจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม

(3) โครงสร้างพลังงานของระบบจิตสรีระทําให้บุคคลมีเอกลักษณ์ในการปรับตัว

(4) มนุษย์มีธรรมชาติที่จะแสวงหาความงอกงามเติบโต และพัฒนาไปสู่สภาวะที่สมบูรณ์

(5) ระบบจิตสรีระของมนุษย์จะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

ตอบ 2 หน้า 289 290 ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม มีนักทฤษฏิหลายคน เช่น

1 ธอร์นไดค์ (Thorndike) เชื่อในเรื่อง “กฎแห่งผล” กล่าวคือ ถ้าทําพฤติกรรมใดแล้วมีผลดีพฤติกรรมนั้นจะเกิดขึ้นอีก แต่ถ้าพฤติกรรมใดถูกลงโทษ พฤติกรรมนั้นจะหมดไป

2 วัตสัน (Watson) เชื่อว่า พฤติกรรมของมนุษย์จะถูกควบคุมได้โดยจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม

110 ใครเป็นผู้กล่าวถึง การประจักษ์ในตนเอง (Self Actualization)

(1) มาสโลว์ (Maslow)

(2) ฟรอยด์ (Freud)

(3) สกินเนอร์ (Skinner)

(4) อัลพอร์ท (Allport)

(5) จุง (Jung)

ตอบ 1 หน้า 293 มาสโลว์ (Maslow) เป็นนักจิตวิทยาที่มีความเชื่อในเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ที่จะพัฒนาตัวเองให้ไปถึงจุดสูงสุดแห่งศักยภาพของเขา ซึ่งก็คือ “การประจักษ์ในตน”(Self Actualization)

111 พัฒนาการทางบุคลิกภาพในช่วง Oral Stage มีลักษณะเช่นใด

(1) เป็นช่วงวัย 2 – 3 ปี

(2) เป็นช่วงวัยที่จะได้รับความพึงพอใจจากการดูดดื่มหรือกิน

(3) เป็นช่วงวัยที่ชอบโต้เถียงผู้อื่น

(4) เป็นช่วงวัยที่เลียนแบบบทบาททางเพศจากพ่อหรือแม่

(5) เป็นช่วงวัยที่ชอบพูดเลียนเสียงผู้ใหญ่

ตอบ 2 หน้า 299 ขั้นพัฒนาการตามความเชื่อของฟรอยด์นั้น ขั้นความสุขอยู่ที่ปาก (Oral Stage) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 18 เดือน เป็นช่วงที่เด็กได้รับความสุขจากการดูดกลืน หรือได้รับความพึงพอใจจากการกระตุ้นทางปาก 112 ข้อใดกล่าวถึงลักษณะสามัญ (Common Trait)

(1) คนไทยเป็นคนยิ้มง่าย

(2) สุพินเป็นคนขี้โมโห

(3) อัษฎาเป็นคนที่มีเสน่ห์

(4) มุจิราเป็นคนซื่อสัตย์สุจริต

(5) อนิรุตเป็นคนเจ้าชู้

ตอบ 1 หน้า 294 – 296 อัลพอร์ท (Alport) นักทฤษฎีประเภทและโครงสร้าง เชื่อว่า การศึกษาลักษณะนิสัยใจคอของคนที่อยู่ในสังคมเดียวกัน จะสามารถหาลักษณะร่วมที่คนในสังคมเดียวกัน มีความคล้ายคลึงกันได้ เรียกว่า ลักษณะสามัญ (Common Trait) เช่น คนเหนือสุภาพ คนใต้รักพวกพ้อง คนไทยยิ้มง่าย/ใจดี คนญี่ปุ่นมีระเบียบวินัย ฯลฯ

113 ข้อใดเป็นพฤติกรรมภายใน

(1) เอื้อมมือไปหยิบสิ่งของ

(2) ยกแก้วน้ำขึ้นดื่ม

(3) คิดถึงแฟนด้วยความรัก

(4) วิ่งไล่ตีแมว

(5) กอดลูกด้วยความนุ่มนวล

ตอบ 3 หน้า 3, (คําบรรยาย) นักจิตวิทยามักจะสนใจศึกษาพฤติกรรมทั้งของมนุษย์และสัตว์โดยพฤติกรรมของมนุษย์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

1 พฤติกรรมภายนอก เป็นพฤติกรรมที่สามารถสังเกตเห็นได้ เช่น การกิน การนอน การนั่ง การเดิน การวิ่ง การพูด การเล่นกีฬา การดูหนัง การฟังเพลง ฯลฯ

2 พฤติกรรมภายใน เป็นสิ่งที่ไม่สามารถวัดหรือสังเกตได้โดยตรง ต้องอาศัยวิธีการทางอ้อม โดยการสอบถามหรือสร้างเครื่องมือวัดและการพิสูจน์ทดลองจากหลักฐานข้อเท็จจริงที่สังเกตได้ เช่น การคิด การจํา การฝัน ทัศนคติ เจตคติ ความเชื่อ ความรู้สึก ความพอใจ ฯลฯ

114 ข้อใดไม่ใช่จุดมุ่งหมายของการศึกษาทางจิตวิทยา

(1) บรรยายพฤติกรรม

(2) ทําความเข้าใจ

(3) ควบคุมพฤติกรรม

(4) นําความรู้ไปประยุกต์ใช้

(5) กําหนดตัวแปรอิสระทุกตัว

ตอบ 5 หน้า 3, 5 – 7 จิตวิทยา คือ การศึกษาเชิงจิตวิทยาศาสตร์ว่าด้วยเรื่องพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะมนุษย์ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่ออธิบาย (บรรยาย) ทําความเข้าใจ ทํานาย (พยากรณ์)และควบคุมพฤติกรรม (โดยการนําความรู้ไปประยุกต์ใช้)

115 กลุ่มใดเน้นว่า “ส่วนรวมมีความสําคัญมากกว่าผลรวมของส่วนย่อย”

(1) กลุ่มจิตวิเคราะห์

(2) กลุ่มมนุษยนิยม

(3) กลุ่มพฤติกรรมนิยม

(4) กลุ่มจิตวิทยาเกสตัลท์

(5) กลุ่มหน้าที่ทางจิต

ตอบ 4 หน้า 11, 74 แม็ก เวิร์ธไทเมอร์ (Max Wertheimer) เป็นนักจิตวิทยาชาวเยอรมันกลุ่มจิตวิทยาเกสตัลท์ (Gestalt Psychology) ที่ได้ให้ความสนใจมากเป็นพิเศษในเรื่องของ การจัดหมวดหมู่ของการรับรู้ โดยเชื่อว่า มนุษย์มีการรับรู้ในลักษณะของส่วนรวม และการรับรู้ส่วนรวมมีความสําคัญมากกว่าผลรวมของส่วนย่อย

116 กลุ่มใดเน้นว่า “อินทรีย์ต้องปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม สิ่งที่ดีที่สุดเท่านั้นจึงจะรอดได้”

(1) กลุ่มหน้าที่ของจิต

(2) กลุ่มจิตวิเคราะห์

(3) กลุ่มจิตวิทยาการรู้คิด

(4) กลุ่มจิตวิทยาเกสตัลท์

(5) กลุ่มโครงสร้างทางจิต

ตอบ 1 หน้า 9 – 10, (คําบรรยาย) กลุ่มหน้าที่ของจิต (Functionalism) เน้นว่าการปรับตัวของอินทรีย์เข้ากับสิ่งแวดล้อม สิ่งที่ดีที่สุดเท่านั้นจึงจะอยู่รอดได้ โดยกลุ่มนี้ได้รับอิทธิพลจากทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วิน (Darwin) ที่เชื่อว่าอินทรีย์จะมีวิวัฒนาการเพื่อการอยู่รอดสัตว์ทั้งหลายจะมีการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม

117 ข้อใดเกี่ยวข้องกับลักษณะ “การสังเกต ทดลอง รายงานประสบการณ์ทางจิตด้วยตนเอง”

(1) กลุ่มพฤติกรรมนิยม

(2) กลุ่มโครงสร้างทางจิต

(3) กลุ่มมนุษยนิยม

(4) กลุ่มจิตวิทยาการรู้คิด

(5) กลุ่มจิตวิทยาเกสตัลท์

ตอบ 2 หน้า 9 กลุ่มโครงสร้างของจิต (Structuralism) ให้ความสนใจศึกษาองค์ประกอบของจิตสํานึก 3 ลักษณะ คือ การรับสัมผัส ความรู้สึก และมโนภาพ ซึ่งระเบียบวิธีวิจัยศึกษาที่ใช้ กันอยู่ในกลุ่มนี้ ก็คือ วิธีการสังเกต-ทดลอง และการรายงานประสบการณ์ทางจิตด้วยตนเองหรือเรียกว่า Introspection คือ การมองภายในนั้นเอง

118 “การศึกษาที่กําหนดให้มีตัวแปรต้นและตัวแปรตาม” จัดเป็นวิธีการศึกษาแบบใด (1) การทดลอง

(2) การสังเกต

(3) การสํารวจ

(4) การทํา Case Study

(5) การทดสอบทางจิตวิทยา

ตอบ 1 หน้า 14 การทดลอง (Experimentation) เป็นวิธีการศึกษาที่ทําให้วิชาจิตวิทยาได้รับการยอมรับว่าเป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง เพราะเป็นการศึกษาถึงเหตุและผล โดยผู้ทดลองจะสร้างเหตุการณ์ บางอย่างขึ้นมาหรือเปลี่ยนแปลงสิ่งเเวดล้อมตามที่ต้องการศึกษาซึ่งเรียกว่า “ตัวแปรอิสระ” หรือ “ตัวแปรต้น” (เหตุของพฤติกรรม) แล้วคอยสังเกตพฤติกรรมหรือศึกษาผลของการเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ ซึ่งเรียกว่า “ตัวแปรตาม” (ผลของพฤติกรรม)

119 “ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับ Prompt Pay” จัดเป็นการศึกษาแบบใด

(1) การสังเกต

(2) การทดลอง

(3) การทํา Case Study

(4) การสํารวจ

(5) การทดสอบทางจิตวิทยา

ตอบ 4 หน้า 14 การสํารวจ (Survey) เป็นวิธีการศึกษาทางจิตวิทยาที่เน้นการศึกษาลักษณะบางลักษณะของบุคคลบางกลุ่มที่ถูกเลือกให้เป็นตัวแทนของประชากรที่ต้องการศึกษา ด้วยการออกแบบ สอบถามให้ตอบหรือโดยการสัมภาษณ์ และนําคําตอบที่ได้ไปประมวลผลด้วยวิธีการทางสถิติ เช่น การสํารวจประชามติหรือความคิดเห็นเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ฯลฯ

120 ข้อใดเป็นนักจิตวิทยาประยุกต์

(1) นักจิตวิทยาการทดลอง

(2) นักจิตวิทยาสังคม

(2) นักจิตวิทยาสิ่งแวดล้อม

(4) นักจิตวิทยาพัฒนาการ

(5) นักจิตวิทยาประจําศาล

ตอบ 5 หน้า 16 – 18, 20 จิตวิทยาในปัจจุบันมีหลายสาขา ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้

1 จิตวิทยาบริสุทธิ์ ได้แก่ จิตวิทยาการทดลอง

2 จิตวิทยาประยุกต์ ได้แก่ จิตวิทยาคลินิกและบริการให้คําปรึกษา จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ จิตวิทยาการศึกษา จิตวิทยาผู้บริโภค จิตวิทยาโรงเรียน จิตวิทยาวิศวกรรม จิตวิทยาประจําศาล และจิตวิทยาทางการแพทย์

3 จิตวิทยาบริสุทธิ์และประยุกต์ ได้แก่ จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาสังคม และจิตวิทยาสิ่งแวดล้อม

THA1001 ลักษณะและการใช้ภาษาไทย 1/2561

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา THA 1001 ลักษณะและการใช้ภาษาไทย

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

1 “คนเสื้อลายเสือคนนั้นกําลังคนแกงอยู่หน้าบ้าน” จากข้อความไม่ปรากฏภาพสะท้อนลักษณะของภาษาไทยประเภทใด

(1) บอกพจน์

(2) มีคําลักษณนาม

(3) มีระบบเสียงสูงต่ำ

(4) คําคําเดียวมีหลายความหมาย

ตอบ 1 หน้า 2 (56256), 2 – 10 (H) ข้อความข้างต้นปรากฏลักษณะของภาษาไทยดังนี้

1 คําคําเดียวมีหลายความหมาย เช่น คน (น.) = มนุษย์, คน (ก.) = กวนสิ่งต่าง ๆ ให้เข้ากัน

2 มีคําลักษณนาม เช่น คนเสื้อลายเสือคนนั้น

3 มีระบบเสียงสูงต่ำ เช่น เสื้อ (เสียงโท), เสือ (เสียงจัตวา)

2 “พี่เห็นน้องสาวถ่ายภาพพลายชุมพลกําลังกินอ้อยหน้าร้านยายทอง” จากข้อความปรากฏคําบอกเพศกี่คํา

(1) 1 คํา

(2) 2 คํา

(3) 3 คํา

(4) 4 คํา

ตอบ 3 หน้า 2, 109 – 110, 112 (56256), 6 – 7, 97 98 (H) คํานามในภาษาไทยบางคําก็แสดงเพศได้ชัดเจนในตัวของมันเอง เช่น คําที่บอกเพศชาย ได้แก่ พ่อ พระ เณร ทิด เขย ชาย หนุ่ม บ่าว ปู่ ตา ผม นาย ลุง พลาย (ช้างตัวผู้) ฯลฯ และคําที่บอกเพศหญิง ได้แก่ แม่ชี สะใภ้ หญิง สาว นาง ป้า ย่า ยาย ดิฉัน พัง (ช้างตัวเมีย) ฯลฯ แต่คําบางคําที่เป็นคํารวมทั้งสองเพศ เช่น พี่ น้อง เด็ก น้า อา ลูก หลาน เพื่อน ฯลฯ เมื่อต้องการแสดงเพศให้ชัดเจนตามแบบภาษาคําโดด ก็จะต้องใช้คําบ่งเพศมาประกอบเข้าข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง หรือนํามาประสมกันตามแบบ คําประสมบ้าง เช่น พี่ชาย น้องสาว เด็กผู้หญิง น้าชาย อาหญิง ฯลฯ (ข้อความข้างต้นปรากฏคําบอกเพศ 3 คํา ได้แก่ พี่เห็นน้องสาวถ่ายภาพพลายชุมพลกําลังกินอ้อยหน้าร้านยายทอง)

3 ข้อใดไม่สะท้อนลักษณะของภาษาไทยที่เป็นคําโดดชัดเจนที่สุด

(1) เขาไปไหนกันบ้าง

(2) คนไหนไม่ชอบดื่มไวน์บ้าง

(3) คนดีมีที่ไหนบ้างนะ

(4) ข้อไหนที่หนูทําไม่ได้บ้างคะ

ตอบ 2 หน้า 2, 5 – 6 (56255), 2 – 3 (H), (คําบรรยาย) ลักษณะของภาษาไทยที่เป็นคําโดดมีดังนี้

1 คําแต่ละคําต้องออกเสียงพยางค์เดียว และอาจเป็นคําควบกล้ำก็ได้

2 ต้องเป็นภาษาไทยเท่านั้น ไม่ใช่คํายืมจากภาษาอื่น

3 มีตัวสะกดตรงตามมาตรา

4 มีระบบวรรณยุกต์ ฯลฯ

(คําว่า “ไวน์” เป็นคํายืมมาจากภาษาอังกฤษ = Wine)

4 “ฝูงนกกําลังบินตรงมายังลุงสมาน” จากข้อความไม่ปรากฏภาพสะท้อนลักษณะของภาษาไทยประเภทใด

(1) บอกพจน์

(2) บอกกาล

(3) บอกเพศ

(4) บอกมาลา

ตอบ 4 หน้า 2 (56256), 2 – 10 (H) ข้อความข้างต้นปรากฏลักษณะของภาษาไทยดังนี้

1 บอกเพศ เช่น ลุง (ดูคําอธิบายข้อ 2 ประกอบ)

2 บอกพจน์ (จํานวน เช่น ฝูง (มีจํานวนมากกว่า 2 ขึ้นไป) = พวก หมู่

3 บอกกาล (เวลา) เช่น กําลัง (บอกปัจจุบัน)

5 ข้อใดเป็นสระเดี่ยวเสียงยาวทุกคํา

(1) น้ำตาลสด

(2) ผ้าผืนนี้

(3) เงินปากผี

(4) ตุ่มสามโคก

ตอบ 2 หน้า 8, 13 – 14 (56256), 17, 29 – 30 (H) เสียงสระในภาษาไทย แบ่งออกได้ดังนี้

1 สระเดี่ยว 18 เสียง แบ่งเป็นเสียงสั้น 9 เสียง ได้แก่ อะ อิ อี อุ เอะ แอะ เออะ โอะ เอาะ และเสียงยาว 9 เสียง ได้แก่ อา อี อือ อู เอ แอ เออ โอ ออ

2 สระผสม 10 เสียง แบ่งเป็นเสียงสั้น 5 เสียง ได้แก่ เอียะ เอือะ อัวะ เอา ไอ และเสียงยาว 5 เสียง ได้แก่ เอีย เอื้อ อัว อาว อาย (ยกเว้นคําใดที่ลงท้ายด้วย ย/ว ซึ่งเป็นพยัญชนะถึงสระ อาจเป็นได้ทั้งตัวสะกด ย/ว หรือเป็นสระผสม 2 เสียง หรือ 3 เสียงก็ได้)

6 ข้อใดไม่ใช่สระหลัง

(1) แม่

(2) คุณ

(3) ถอน

(4) โหล

ตอบ 1 หน้า 9 – 10 (56256), 18 – 19 (H) สระเดี่ยวที่จําแนกตามส่วนต่าง ๆ ของลิ้นที่ทําหน้าที่ซึ่งจะต้องมีสภาพของริมฝีปากประกอบด้วย แบ่งออกได้ดังนี้

1 สระกลาง ได้แก่ อา คือ เออ อะ อี เออะ

2 สระหน้า ได้แก่ อี เอ แอ อิ เอะ แอะ

3 สระหลัง ได้แก่ อู โอ ออ อุ โอะ เอาะ

7 ข้อใดเป็นสระเดี่ยว

(1) ร้าย

(2) รั้ว

(3) กฤช

(4) ส่วน

ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 5 ประกอบ) คําว่า “กฤช” อ่านว่า กริด (สระอิ)

8 “นกบินผ่านหน้าบ้านยายผม” จากข้อความมีสระเดี่ยวเสียงยาวกี่เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ)

(1) 0 เสียง

(2) 1 เสียง

(3) 2 เสียง

(4) 3 เสียง

ตอบ 2 (ดูคําอธิบายข้อ 5 ประกอบ) ข้อความข้างต้นมีสระเดี่ยวเสียงยาว 1 เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ) ได้แก่ สระอา = ผ่าน/หน้า/บ้าน/ยาย

9 ข้อใดไม่เป็นสระผสม

(1) สิว

(2) พวง

(3) เขลา

(4) ผม

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 5 ประกอบ

10 ข้อใดเป็นสระผสม

(1) โชว์

(2) ศิลป์

(3) ไมล์

(4) เล่ห์

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 5 ประกอบ

11 ข้อใดประกอบด้วยเสียงสระอือ + อา + อี

(1) เปลือย

(2) ป้าย

(3) เอี่ยว

(4) เหมือน

ตอบ 1 หน้า 14 (562568), 28 (H) คําว่า “เปลือย” ประกอบด้วย เอื้อ + ย หรือเป็นสระผสม 3 เสียง คือ ฮือ + อา + อี = เอือย

12 ข้อใดเป็นสระผสม 2 เสียง

(1) เฉื่อย

(2) เห็น

(3) กล้วย

(4) หลุยส์

ตอบ 4 หน้า 14 (56256), 28 (H) คําว่า “หลุยส์” ประกอบด้วย อุ + ย หรือเป็นสระผสม 2 เสียงคือ อุ + อิ = อุย

13 “แค่จูบเบาเบา ใครว่าไม่น่าสนใจ” จากข้อความมีสระผสมที่เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ)

(1) 0 เสียง

(2) 1 เสียง

(3) 2 เสียง

(4) 3 เสียง

ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 5 ประกอบ) ข้อความข้างต้นมีสระผสม 2 เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ) ได้แก่

1 สระเอา = เบา

2 สระไอ (ไอ) = ใคร/ไม่/ใจ

14 รูปพยัญชนะในภาษาไทยลําดับที่ 7 ตรงกับข้อใด

(1) ฆ

(2) ง

(3) จ

(4) ช

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ง = รูปพยัญชนะตัวที่ 7 ในภาษาไทย นับเป็นพวกอักษรต่ำและใช้เป็นตัวสะกดในแม่กง

15 พยัญชนะต้นในข้อใดเป็นประเภทเสียงหนัก

(1) ร้อง

(2) ก่อน

(3) ฟ้า

(4) ห้าม

ตอบ 4 หน้า 19 – 21 (56255), 39 – 43 (H), (คําบรรยาย) พยัญชนะต้นที่จําแนกตามรูปลักษณะของเสียง แบ่งออกได้ดังนี้

1 พยัญชนะระเบิด หรือพยัญชนะกัก ได้แก่ ก ค (ข ฆ) จ ด (ฎ) ต (ฎ) ท (ถ ฐ ฑ ฒ ธ) บ ป พ (ผ ภ) อ

2 พยัญชนะนาสิก ได้แก่ ง น (ณ) ม

3 พยัญชนะเสียดแทรก ได้แก่ ส (ซ ศ ษ) ฟ (ฝ)

4 พยัญชนะถึงเสียดแทรก ได้แก่ ช (ฉ ณ)

5 พยัญชนะกึ่งสระ ได้แก่ ย ว

6 พยัญชนะเหลว ได้แก่ ร ล

7 พยัญชนะเสียงหนัก ได้แก่ ห (ฮ) รวมทั้ง พยัญชนะที่มีเสียง ห ผสมอยู่ด้วย ได้แก่ ค (ข) ช (ฉ) ท (ถ) พ (ผ)

16 พยัญชนะต้นในข้อใดเกิดที่ฐานเพดานอ่อน

(1) ปาก

(2) ซุง

(3) กอด

(4) (อ้วน)

ตอบ 3 หน้า 17 – 18 (56255), 37 38 (H) พยัญชนะต้นที่จําแนกตามฐานกรณ์(ที่เกิดหรือที่ตั้งของเสียง) สามารถแบ่งออกได้ดังต่อไปนี้

1 ฐานคอ (คอหอย) มี 2 เสียง คือ ห (ฮ) อ

2 ฐานเพดานอ่อน มี 3 เสียง คือ ก ค (ข ฆ) ง

3 ฐานเพดานแข็ง มี 5 เสียง คือ จ ช (ฉ ฌ) ส (ซ ศ ษ) ย (ญ) ร

4 ฐานฟัน มี 5 เสียง คือ ด (ฎ) ต (ฎ) ท (ถ ฐ ฑ ฒ ธ) น (ณ) ล (ฬ)

5 ฐานริมฝีปาก ได้แก่ ริมฝีปากบนกับล่างประกบกัน มี 5 เสียง คือ บ ป พ (ย ภ) มวและริมฝีปากล่างประกบกับฟันบน มี 1 เสียง คือ ฟ (ฝ)

17 ข้อใดไม่ใช่พยัญชนะเคียงกันมา

(1) ธรรมชาติ

(2) ศตวรรษ

(3) สงคราม

(4) มหาราช

ตอบ 3 หน้า 22 (56256), 44 (H), (คําบรรยาย) การออกเสียงแบบตามกันมา หรือเคียงกันมา(การออกเสียงแบบเรียงพยางค์) คือ พยัญชนะคู่ที่ออกเสียงแต่ละเสียงเต็มเสียง และเสียง ทั้งสองไม่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน นอกจากนี้หากคําใดที่มีเสียงสระอะ อา อิ อี อุ อู อยู่ตรงกลางคํา และพยางค์หน้าออกเสียงเต็มเสียงทุกคําก็ให้ถือว่า เป็นพยัญชนะคู่แบบเคียงกันมา เช่น ธรรมชาติ (ทํามะชาด), ศตวรรษ (สะตะวัด), มหาราช (มะหาราด) ฯลฯ

18 ข้อใดเป็นพยัญชนะนํากันมา

(1) ไกล

(2) สบาย

(3) ทะนาน

(4) อย่าง

ตอบ 4 หน้า 22 (56256), 40 (H) การออกเสียงแบบนํากันมา (อักษรนํา) คือ พยัญชนะคู่ที่พยัญชนะตัวหน้ามีอํานาจเหนือพยัญชนะตัวหลัง โดยที่พยัญชนะตัวหน้าจะออกเสียงเพียงครึ่งเสียง และพยัญชนะตัวหลังก็จะเปลี่ยนเสียงตาม ซึ่งจะออกเสียงเหมือนกับเสียงที่มี “ห” นํา เช่น หนาม อย่าง (หย่าง) ฯลฯ

19 ข้อใดเป็นพยัญชนะควบกันมา

(1) หลุม

(2) เสร็จ

(3) สว่าง

(4) พหูพจน์

ตอบ 2 หน้า 22 – 26 (56256), 44 – 49 (H) การออกเสียงแบบควบกันมา (อักษรควบ) คือพยัญชนะคู่ที่ออกเสียง 2 เสียงควบกล้ำไปพร้อมกัน แบ่งออกเป็น

1 อักษรควบกล้ำแท้ หรือเสียงกล้ำกันสนิท โดยเสียงทั้งสองร่วมเสียงสระและวรรณยุกต์เดียวกัน เช่น ไกล เพลง ใคร กลับ ฯลฯ

2 อักษรควบกล้ำไม่แท้ หรือเสียงกล้ำกันไม่สนิท เช่น สร้อย (ส้อย), เสร็จ (เส็ด) ฯลฯ

20 “ความจริงแล้วภาษาเริ่มต้นมาแต่สมัยกรีกเชียวนะ” จากข้อความไม่ปรากฏพยัญชนะคู่ประเภทใด

(1) เคียงกันมา

(2) ควบกันมา

(3) นํากันมา

(4) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 (ดูคําอธิบายข้อ 17 18 และ 19 ประกอบ) ข้อความข้างต้นปรากฎพยัญชนะคู่ดังนี้

1 ควบกันมา ได้แก่ ควบกล้ำแท้ = ความ/กรีก และควบกล้ำไม่แท้ = จริง (จิง)

2 นํากันมา ได้แก่ สมัย (สะไหม)

21 ข้อใดมีเสียงพยัญชนะสะกด 1 เสียง

(1) เพื่อเธอ

(2) กรุงเทพ

(3) ต้นกล้า

(4) เทครัว

ตอบ 3 หน้า 27 – 29 (56255), 50 – 53 (H) พยัญชนะสะกดของไทยจะมีเพียง 8 เสียงเท่านั้น คือ

1 แม่กก ได้แก่ ก ข ค ฆ

2 แม่กด ได้แก่ จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส

3 แม่กบ ได้แก่ บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ

4 แม่กน ได้แก่ น ณ ร ล ฬ ญ

5 แม่กง ได้แก่ ง

6 แม่กม ได้แก่ ม

7 แม่เกย ได้แก่ ย

8 แม่เกอว ได้แก่ ว นอกจากนี้สระอํา (อัม) = แม่กม, สระไอ/ไอ (อัย) = แม่เกย และสระเอา (อาว) = แม่เกอว (คําว่า “ต้นกล้า” มีเสียงพยัญชนะสะกดเพียง 1 เสียง คือ แม่กน = ต้น และมีคําที่ไม่มีเสียงพยัญชนะสะกด คือ กล้า)

22 ข้อใดไม่มีเสียงพยัญชนะสะกดทุกคํา

(1) เท้าแชร์

(2) ลําไย

(3) เสือหิว

(4) กิโล

ตอบ 4 (ดูคําอธิบายข้อ 21 ประกอบ) คําที่ไม่มีเสียงพยัญชนะสะกด ได้แก่ กิโล/แชร์/เสือ

23 ข้อใดมีเสียงพยัญชนะสะกดที่เป็นคําเป็นทุกคํา

(1) ไตรมาส

(2) บรรเทา

(3) กฎเกณฑ์

(4) ทวงสิทธิ์

ตอบ 2 หน้า 28 (56256), 51 (H), (ดูคําอธิบายข้อ 5 และ 21 ประกอบ)ลักษณะของคําเป็นกับคําตายมีดังนี้

1 คําเป็น คือ คําที่สะกดด้วยแม่ กง กน กม เกย เกอว และคําที่ไม่มีตัวสะกด แต่ใช้สระเสียงยาวรวมทั้งสระอํา ใอ ไอ เอา (เพราะออกเสียงเหมือนมีตัวสะกดเป็นแม่กม เกย เกอว)

2 คําตาย คือ คําที่สะกดด้วยแม่กก กด กบ และคําที่ไม่มีตัวสะกด แต่ใช้สระเสียงสั้น

24 “จะคอยเป็นกําลังใจให้เสมอนะคะ” จากข้อความปรากฎพยัญชนะสะกดกี่เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ)

(1) 2 เสียง

(2) 3 เสียง

(3) 4 เสียง

(4) 5 เสียง

ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 21 ประกอบ) ข้อความข้างต้นปรากฎพยัญชนะสะกด 4 เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ) ได้แก่

1 แม่เกย = คอย/ใจ/ให้

2 แม่กน = เป็น

3 แม่กม = กํา

4 แม่กง = ลัง (ส่วนคําอื่นไม่มีเสียงพยัญชนะสะกด)

25 ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์โท

(1) เล่น

(2) งก

(3) เป็น

(4) น้า

ตอบ 1 หน้า 33 – 37 (56255), 55 – 60 (H) เสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยจะมี 5 เสียง 4 รูป ได้แก่ เสียงสามัญ (ไม่มีรูปวรรณยุกต์กํากับ), เสียงเอก  เสียงโท  เสียงตรี และเสียง จัตวา ซึ่งในคําบางคํา รูปและเสียงวรรณยุกต์อาจไม่ตรงกัน จึงควรเขียนรูปวรรณยุกต์ ให้ถูกต้อง เช่น คําว่า “เล่น” มีเสียงวรรณยุกต์โท แต่ใช้ไม้เอก เป็นต้น (ส่วนคําว่า “งก/เป็น/น้า” = ตรี/สามัญ/ตรี)

26 ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ต่างจากข้ออื่น

(1) กว่า

(2) ถั่ว

(3) สุก

(4) ท่อ

ตอบ 4 (ดูคําอธิบายข้อ 25 ประกอบ) คําว่า “ท่อ” มีเสียงวรรณยุกต์โท แต่ใช้ไม้เอก(ส่วนตัวเลือกข้ออื่นมีเสียงวรรณยุกต์เอก)

27 ข้อใดมีวรรณยุกต์เสียงเดียวกัน

(1) แม่ครัว

(2) ทรงเกียรติ

(3) เข้าชื่อ

(4) เลิศล้ำ

ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 25 ประกอบ) คําว่า “เข้า/ชื่อ” มีเสียงวรรณยุกต์โททั้งคู่ (ส่วนคําว่า “แม่/ครัว” – โท/สามัญ, “ทรง/เกียรติ” = สามัญ/เอก, “เลิศ/ล้ำ” = โท/ตรี)

28 “คนไหนบ้างไม่เคยทําผิด” จากข้อความไม่ปรากฎวรรณยุกต์เสียงใด .

(1) ตรี

(2) จัตวา

(3) โท

(4) เอก

ตอบ 1 (ดูคําอธิบายข้อ 25 ประกอบ) ข้อความข้างต้นปรากฏเสียงวรรณยุกต์ดังนี้

1 เสียงสามัญ = คน/เคย/ทํา

2 เสียงเอก = ผิด

3 เสียงโท = บ้าง/ไม่

4 เสียงจัตวา = ไหน

29 ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ต่างเสียงกัน

(1) เชื่อม เหล็ก

(2) สระ ไผ่

(3) แย้ง โจ๊ก

(4) เลือก กล้วย

ตอบ 1 (ดูคําอธิบายข้อ 25 ประกอบ) คําว่า “เชื่อม/เหล็ก” มีเสียงวรรณยุกต์โท/เอก(ส่วนคําว่า “สระ/ไผ่” – เอก/เอก, “แย้ง/โจ๊ก” = ตรี/ตรี, “เลือก/กล้วย” = โท/โท)

30 “คนเก่งและดีเริ่มมีน้อยลงทุกวัน” จากข้อความมีวรรณยุกต์เสียงใดมากที่สุด (1) จัตวา

(2) โท

(3) เอก

(4) ตรี

ตอบ 4 (ดูคําอธิบายข้อ 25 ประกอบ) ข้อความข้างต้นปรากฏเสียงวรรณยุกต์ดังนี้

1 เสียงสามัญ = คน/ดี/มี/ลง/วัน

2 เสียงเอก = เก่ง

3 เสียงโท = เริ่ม

4 เสียงตรี = และ/น้อย/ทุก

31 “การมองโลกในแง่บวกช่วยทําให้สุขภาพจิตดี” จากข้อความมีเสียงวรรณยุกต์กี่เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ)

(1) 5 เสียง

(2) 4 เสียง

(3) 3 เสียง

(4) 2 เสียง

ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 25 ประกอบ) ข้อความข้างต้นปรากฏเสียงวรรณยุกต์ 3 เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ) ได้แก่

1 เสียงสามัญ = การ/มอง/ใน/ทํา/ดี

2 เสียงเอก = บวก/สุข/ขะ/จิต

3 เสียงโท = โลก/แง่/ช่วย/ให้/ภาพ

32 ข้อใดเป็นความหมายแฝงบอกทิศทาง

(1) เข้า

(2) กรู

(3) ไหว

(4) รุม

ตอบ 1 หน้า 44 – 46 (56255), 62 (H) ความหมายแฝงบอกทิศทาง ได้แก่

1 ขึ้นบน เช่น ขึ้น ฟู พอง เขย่ง

2 ลงล่าง เช่น ลง ตก ดิ่ง หล่น

3 เข้าใน เช่น เข้า ฉีด อัด ยัด

4 ออกนอก เช่น ออก ขย้อน บ้วน ถม

5 ถอยหลัง เช่น ถอย ร่น ดึง

6 ก้าวหน้า เช่น ก้าว รุน ดุน ผลัก

7 เข้าใกล้ เช่น กราย เฉียด ประชิด

8 แยกไปคนละทาง เช่น ปะทุ ระเบิด เตลิด

33 “ข้อสอบภาษาไทยนี่ ขนมหวานชัด ๆ” จากข้อความคําที่ขีดเส้นใต้ปรากฏความหมายลักษณะใด

(1) ความหมายแฝง

(2) ความหมายอุปมา

(3) ความหมายสัมพันธ์กับเสียง

(4) การแยกเสียงแยกความหมาย

ตอบ 2 หน้า 48 – 49 (56256), 64 (H) คําอุปมา คือ คําที่ใช้เปรียบเทียบเพื่อพรรณนาบอกลักษณะให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อให้มีความหมายใหม่เกิดขึ้นอีกความหมายหนึ่ง มีอยู่ 2 ประเภท คือ

1 คําอุปมาที่ได้มาจากคําที่มีใช้อยู่แล้ว เช่น ตุ๊กตา (นิ่ง ไม่กระดุกกระดิก), เทวดา/นางฟ้า(ดี สวย), ขนมหวาน (ที่ทําได้ง่าย ที่ทําได้สะดวก) ฯลฯ

2 คําอุปมาที่สร้างขึ้นใหม่ ส่วนมากเป็นคําประสม เช่น แมวนอนหวด (ซื่อจนเซ่อ), เพชรในตม (สิ่งมีค่าที่ซ่อนอยู่ แต่คนยังไม่เห็นความสําคัญ) ฯลฯ

34 “แผลจากมีดบาดยังมีขนาดไม่เท่ากับแผลของคนที่ถูกฆ่าปาดคอเลย” จากข้อความนี้ปรากฎการแยกเสียงแยกความหมายในลักษณะใด

(1) พยัญชนะสะกดต่างกัน

(2) เสียงสูงต่ำต่างกัน

(3) เสียงสั้นยาวต่างกัน

(4) พยัญชนะต้นบางเสียงต่างกัน

ตอบ 4 หน้า 51, 53 (56256), 65 (H) การแยกเสียงแยกความหมาย คือ การเปลี่ยนแปลงเสียงในคําบางคําที่มีความหมายหลายอย่างให้แตกต่างกันบ้าง เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนว่าคํานั้น มีความหมายว่าอย่างรในที่นั้น ๆ โดยความหมายย่อยและที่ใช้อาจจะแตกต่างกันบ้าง เช่น คําว่า “บาด – ปาด” (พยัญชนะต้นบางเสียงต่างกัน “เสียง บ กับ ป”) = ใช้ของมีคมทําให้ แตกแยกออก ซึ่ง “บาด” เป็นการทําให้เป็นแผลด้วยของมีคม แต่ “ปาด” อาจลึกกว่า

35 “ถึงคนเสื้อสีขาว ๆ คนนั้นจะดูดุ๊ดุ แต่ก็ยอมให้พวกเราเช่าห้องนานเป็นปี ๆ นะ” จากข้อความไม่ปรากฏคําซ้ำที่มีความหมายในลักษณะใด

(1) แบบไม่เจาะจง

(2) แบบแยกเป็นส่วน ๆ

(3) แบบเปลี่ยนความหมายไปจากเดิม

(4) แบบเน้นน้ําหนักความหมาย

ตอบ 3 หน้า 76 – 80 (56255), 76 – 78 (H) คําซ้ำ คือ คําคําเดียวกันที่นํามากล่าว 2 ครั้ง เพื่อให้มีความหมายเน้นหนักขึ้น หรือเพื่อให้มีความหมายแตกต่างจากคําเดียว ซึ่งวิธีการสร้างคําซ้ำ ก็เหมือนกับการสร้างคําซ้อน แต่ใช้คําคําเดียวมาซ้อนกันโดยมีเครื่องหมายไม้ยมก (ๆ) กํากับ เช่น เสื้อสีขาว ๆ (คําซ้ำที่ซ้ำคําขยายนาม เพื่อแสดงความไม่เจาะจง), ดูดุ๊ดุ คําซ้ำที่เปลี่ยน เสียงวรรณยุกต์ที่คําต้นเป็นเสียงตรี เพื่อเน้นน้ำหนักความหมาย), นานเป็นปี ๆ (คําซ้ําที่แยกความหมายออกเป็นส่วน ๆ เมื่อมีคําว่า “เป็น” มาข้างหน้า) ฯลฯ

36 ข้อใดเป็นคําซ้อน

(1) อดทน

(2) สิ่งของ

(3) มั่วนิ่ม

(4) รัดตัว

ตอบ 1 หน้า 62 – 73 (56255), 67 – 74 (H) คําซ้อน คือ คําเดี่ยว 2, 4 หรือ 6 คํา ที่มีความหมายหรือมีเสียงใกล้เคียงกัน หรือเป็นไปในทํานองเดียวกัน ซ้อนเข้าด้วยกันเพื่อทําให้เกิดคําใหม่ ที่มีความหมายใหม่ขึ้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้ 1 คําซ้อนเพื่อความหมาย (มุ่งที่ความหมายเป็นสําคัญ) ซึ่งอาจเป็นคําไทยซ้อนเข้าด้วยกัน เช่น อดทน กดดัน บาปบุญ ทอดทิ้ง ฯลฯ หรืออาจเป็นคําไทยซ้อนกับคําภาษาอื่น เช่น เงียบสงัด (ไทย + เขมร) ฯลฯ

2 คําซ้อนเพื่อเสียง (มุ่งที่เสียงเป็นสําคัญ) เช่น พับเพียบ (สระอะ + เอีย) ฯลฯ

37 ข้อใดไม่เป็นคําซ้อน

(1) กดดัน

(2) ทดลอง

(3) พับเพียบ

(4) บาปบุญ

ตอบ 2 (ดูคําอธิบายข้อ 36 ประกอบ) คําว่า “ทดลอง” = ลองทํา ลองให้ทํา ไม่ใช่คําซ้อนแต่เป็นคําประสม

38 ข้อใดไม่เป็นคําประสม

(1) ข้าวต้มกุ้ง

(2) แผงขายผัก

(3) แมวกินปลา

(4) หมวกกันน็อก

ตอบ 3 หน้า 80 – 89 (56256), 78 – 82 (H) คําประสม คือ คําตั้งแต่ 2 คําขึ้นไปมาประสมเข้าด้วยกันเพื่อให้ได้คําใหม่ที่มีความหมายใหม่มาใช้ในภาษา ซึ่งความหมายสําคัญจะอยู่ที่คําต้น (คําตัวตั้ง) ส่วนที่ตามมาเป็นคําขยาย ซึ่งไม่ใช่คําที่ขยายคําต้นจริง ๆ แต่จะช่วยให้คําทั้งคํามีความหมาย จํากัดเป็นนัยเดียว เช่น ข้าวต้มกุ้ง แผงขายผัก หมวกกันน็อก ทอดสะพาน ทอดน่อง ทอดผ้าป่า งานครัว งานช้าง งานบ้าน งานดี ฯลฯ (ส่วน “แมวกินปลา” ไม่ใช่คําประสม แต่เป็นประโยคที่ประกอบด้วย ประธาน + กริยา + กรรม)

39 ข้อใดไม่เป็นคําประสม

(1) ทอดทิ้ง

(2) ทอดสะพาน

(3) ทอดน่อง

(4) ทอดผ้าป่า

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 36 และ 38 ประกอบ

40 คําประสมในข้อใดมีโครงสร้างต่างจากข้ออื่น

(1) งานครัว

(2) งานช้าง

(3) งานบ้าน

(4) งานดี

ตอบ 4 (ดูคําอธิบายข้อ 38 ประกอบ) คําว่า “งานดี” เป็นคําประสมที่มีคําตัวตั้งเป็นคํานาม และคําขยายเป็นวิเศษณ์ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นมีคําตัวตั้งและคําขยายเป็นคํานามด้วยกันทั้งคู่)

41 ข้อใดมีคําอุปสรรคเทียมชนิดกร่อนเสียงทุกคํา

(1) มะม่วง ตะไคร้ ผักกระเฉด

(2) ตะปู ฉะฉาด ยะยิบยะยับ

(3) ตะเคียน กระดุม ระคาย

(4) ชะตา สมยอม ระคน

ตอบ 2 หน้า 93 – 95 (56255), 83 – 84 (H) อุปสรรคเทียมที่เกิดจากการกร่อนเสียง เป็นคําที่กร่อนเสียงพยางค์ต้นให้เป็นเสียง “อะ” ได้แก่

1 “มะ” ที่นําหน้าชื่อไม้ผล ไม่ใช่ไม้ผล และหน้าคําบอกกําหนดวัน เช่น หมากม่วง + มะม่วง, หมากนาว – มะนาว, หมากพร้าว มะพร้าว, เมื่อคืน – มะรืน

2 “ตะ” นําหน้าชื่อสัตว์ ต้นไม้ และคําที่มีลักษณะคล้ายตา เช่น ตัวขาบ – ตะขาบ,ตาปู – ตะปู, ต้นไคร้ – ตะไคร้, ต้นเคียน + ตะเคียน, ตัวปลิง – ตะปลิง

3 “สะ” เช่น สายคือ 9 สะดือ, สาวใภ้ – สะใภ้, สายดึง – สะดึง

4 “ฉะ” เช่น ฉันนั้น – ฉะนั้น, ฉันนี้ – ฉะนี้, เฉื่อย ๆ – ฉะเฉื่อย, ฉาด ๆ – ฉะฉาด

5 “ยะ/ระ/ละ” เช่น ยิบ ๆ ยับ ๆ – ยะยิบยะยับ, รื่น ๆ – ระรื่น, ลิบ ๆ – ละลิบ

6 “อะ” เช่น อันไร/อันใด > อะไร, อันหนึ่ง – อนึ่ง สําหรับคําอื่น ๆ ที่ไม่ได้เป็นไปตามนี้ ได้แก่ ผู้ญาณ – พยาน, ชาตา – ชะตา, ช้าพลู – ชะพลู, เฌอเอม – ชะเอม, ชีผ้าขาว – ชีปะขาว เป็นต้น

42 ข้อใดมีคําอุปสรรคเทียมชนิดแบ่งคําผิดและเทียบแนวเทียบผิด

(1) นกกระยาง ตุ๊กกะตา

(2) ลูกกระเดือก กระดุกกระดิก

(3) ตกกะใจ กระชดกระช้อย

(4) กระเสือกกระสน กระวนกระวาย

ตอบ 3 หน้า 94 – 96 (56255), 84 – 86 (H) คําอุปสรรคเทียมชนิดแบ่งคําผิดและคําอุปสรรคเทียมชนิดเทียบแนวเทียบผิด อธิบายได้ดังนี้

1 ชนิดแบ่งคําผิด เกิดจากการพูดเพื่อให้เสียงต่อเนื่องกัน โดยการเพิ่มเสียง “กะ” (ปัจจุบันใช้ “กระ”) เข้าไป 1 เสียงในคําที่พยางค์แรกสะกดด้วยเสียง “ก” เช่น ตกใจ > ตกกะใจ,นกยาง – นกกระยาง, ตุ๊กตา – ตุ๊กกะตา, ลูกเดือก – ลูกกระเดือก ฯลฯ

2 ชนิดเทียบแนวเทียบผิด คือ การเพิ่มเสียง “กะ” (ปัจจุบันใช้ “กระ”) เข้าไปในคําซ้อน เพื่อเสียงทั้งที่พยางค์ต้นและพยางค์ท้ายไม่ได้สะกดด้วย “ก” ซึ่งยึดการใช้อุปสรรคเทียม ที่เพิ่มเสียงเพื่อไม่ให้เสียงคอนกันมาเป็นแนวเทียบ แต่เป็นการเทียบแนวเทียบผิด เช่น ชดช้อย – กระชดกระช้อย, เสือกสน – กระเสือกกระสน, วนวาย -กระวนกระวาย, ฟัดเฟียด – กระฟัดกระเฟียด ฯลฯ

43 ข้อใดไม่ใช่คําอุปสรรคเทียมที่เลียนแบบภาษาเขมร

(1) มะรืน

(2) ระย่อ

(3) สะพรั่ง

(4) ชะดีชะร้าย

ตอบ 1 หน้า 96 – 98 (56255), 86 – 87 (H) อุปสรรคเทียมเลียนแบบภาษาเขมร เป็นวิธีการแผลงคําของเขมรที่ใช้นําหน้าคําเพื่อประโยชน์ทางไวยากรณ์ ได้แก่

1 “ชะ/ระ/ปะ/ประ/พะ/สม/สะ” เช่น ชะชะร้าย, ระคน, ระคาย, ระย่อ, ปะปน, ประเดี๋ยว ,ปะติดปะต่อ, ประท้วง, ประหวั่น, พะรุงพะรัง, พะเยิบ, สมรู้, สมยอม, สมสู่, สะสาง, สะพรั่ง, สะสวย, สะพรึบ ฯลฯ

  1. ใช้ “ข ค ป ผ พ” มานําหน้าคํานามและกริยาวิเศษณ์ เพื่อให้มีความหมายเป็นการีต แปลว่า“ทําให้” เช่น ขยุกขยิก, ขยิบ, ขยี้, ขยํา, ปลูก, ปลง, ปลด, ปละ, ปราบ, ผละ, พร่ำ ฯลฯ

(ส่วนคําว่า “มะรืน” เป็นคําอุปสรรคเทียมชนิดกร่อนเสียง) (ดูคําอธิบายข้อ 41 ประกอบ)

44 “หญิงสาวเดินกระฟัดกระเฟียดงอนชายหนุ่มไปนั่งอยู่คนเดียวใต้ต้นมะพร้าว” ประโยคที่ยกมานี้ปรากฏคําอุปสรรคเทียมชนิดใดบ้าง

(1) เทียบแนวเทียบผิดและกร่อนเสียง

(2) เทียบแนวเทียบผิดและแบ่งคําผิด

(3) เพิ่มเสียงไม่ให้คอนกันและกร่อนเสียง

(4) เพิ่มเสียงไม่ให้คอนกันและแบ่งคําผิด

ตอบ 1 (ดูคําอธิบายข้อ 41 และ 42 ประกอบ) ประโยคข้างต้นปรากฏคําอุปสรรคเทียมดังนี้

1 ชนิดเทียบแนวเทียบผิด ได้แก่ กระฟัดกระเฟียด

2 ชนิดกร่อนเสียง ได้แก่ มะพร้าว

45 “หลวงพระบางในกระแสการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน จึงต้องถูกท้าทายอย่างมากว่า จะยืนหยัดความเป็นเมืองมรดกโลกทางวัฒนธรรมที่คนลาวภาคภูมิใจไปได้อีกนานแค่ไหน” ข้อความที่ยกมาเป็นประโยคชนิดใด

(1) คําสั่ง

(2) บอกเล่า

(3) คําถาม

(4) ขอร้องหรือชักชวน

ตอบ 2 หน้า 103 – 104 (56256), 90 – 91, 93 – 94 (H) ประโยคบอกเล่า คือ ประโยคที่บอกเล่าเรื่องราวตามธรรมดา ซึ่งอาจใช้ในทางตอบรับหรือตอบปฏิเสธก็ได้ เช่น ไปแล้วจ้า, ไม่ได้ไปค่ะ ฯลฯ แต่บางครั้งประโยคที่มีคําแสดงคําถามว่า “ใคร/อะไร/ที่ไหน/เมื่อไหร่/อย่างไร” อาจใช้ ในประโยคบอกเล่าก็ได้ หากไม่ได้แสดงความสงสัยหรือไม่ได้ต้องการคําตอบ แต่จะเป็นการกล่าวถึงสิ่งต่าง ๆ โดยทั่วไป ไม่ชี้เฉพาะเจาะจง เช่น ไปไหนก็ไป ฯลฯ

46 “ความรักดูจะเป็นเรื่องสําคัญที่คงอยู่คู่มนุษยชาติ หากแต่อํานาจและพลังความรักนั้นเป็นแรงขับเคลื่อนชีวิตมนุษย์” ข้อความที่ยกมานี้เป็นประโยคชนิดใด

(1) คําสั่ง

(2) ขอร้องหรือชักชวน

(3) คําถาม

(4) บอกเล่า

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 45 ประกอบ

47 “ที่ควรสังวรก็คือ อย่ามัวแต่อ่านหรือฟังอย่างเดียว ควรมีการปฏิบัติควบคู่กันไปด้วยอย่างจริงจัง”ข้อความที่ยกมานี้เป็นประโยคชนิดใด

(1) คําสั่ง

(2) ขอร้องหรือชักชวน

(3) คําถาม

(4) บอกเล่า

ตอบ 1 หน้า 102 (56256), 91 – 92 (H) ประโยคคําสั่ง คือ ประโยคที่ต้องการให้ผู้ฟังทําตามคําสั่งมักละประธานและขึ้นต้นด้วยคํากริยา เช่น ไปได้แล้ว แต่ถ้าหากจะมีประธานก็จะระบุชื่อหรือ เน้นตัวบุคคลเพื่อให้คนที่ถูกสั่งรู้ตัว เช่น แดงออกไป นอกจากนี้ประโยคคําสั่งอาจมีกริยาช่วย “อย่า/ห้าม/จง/ต้อง” เพื่อสั่งให้ทําหรือไม่ให้ทําก็ได้ เช่น ห้ามรับประทาน เป็นต้น

48 ประโยคในข้อใดไม่มีกรรม

(1) เด็ก ๆ กําลังเล่นฟุตบอล

(2) คนเดินอย่างพร้อมเพรียง

(3) คนเข้าแถวซื้อของอย่างเป็นระเบียบ

(4) พนักงานเตือนผู้โดยสารให้นั่งประจําที่

ตอบ 2 (คําบรรยาย) โครงสร้างประโยคในภาษาไทย แบ่งออกเป็น

1 ประโยค 2 ส่วน คือ ประธาน + กริยา (อาจจะมีคําขยายหรือไม่มีก็ได้) เช่น คนเดินอย่างพร้อมเพรียง ฯลฯ

2 ประโยค 3 ส่วน คือ ประธาน + กริยา + กรรม (อาจจะมีคําขยายหรือไม่มีก็ได้) เช่น เด็ก ๆ กําลังเล่นฟุตบอล, คนเข้าแถวซื้อของอย่างเป็นระเบียบ, พนักงานเตือนผู้โดยสาร ให้นั่งประจําที่ ฯลฯ

49 ประโยคในข้อใดไม่มีส่วนขยายกริยา

(1) สุดากินอาหารอย่างอร่อย

(2) สายพิณอยากกินอาหารแปลก ๆ

(3) สมชายชอบกินอาหารเพื่อสุขภาพ

(4) อาหารจานเด็ดปรุงโดยพ่อครัวฝีมือดี

ตอบ 4 หน้า 105 – 106 (56256), 95 – 96 (H) ภาคขยายแบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ

1 ส่วนขยายประธานหรือผู้กระทํา และส่วนขยายกรรมหรือผู้ถูกกระทํา เรียกว่า คุณศัพท์ เช่น นักร้องหนุ่ม (ขยายประธาน) ร้องเพลงบุพเพสันนิวาส (ขยายกรรม) เป็นต้น

2 ส่วนขยายกริยา เรียกว่า กริยาวิเศษณ์ อาจมีตําแหน่งอยู่หน้าคํากริยาหรือหลังคํากริยาก็ได้ เช่น สุดากินอาหารอย่างอร่อยสายพิณอยากกินอาหารแปลก ๆ/สมชายชอบกินอาหารเพื่อสุขภาพ (ขยายกริยา “กิน” ทั้งหมด) เป็นต้น

50 คํากริยาใดทําหน้าที่เสมือนคํานาม

(1) ช้าเป็นเต่าคลาน

(2) ดีชั่วอยู่ที่ตัวทํา

(3) นอนหลับทับสิทธิ์

(4) หวานเป็นลมขมเป็นยา

ตอบ 3 หน้า 108 – 109 (56256), 98 (H) คํากริยาที่ทําหน้าที่เป็นคํานาม เช่น หาบดีกว่าคอน,นอนดีกว่านั่ง, นอนหลับทับสิทธิ์, รักแท้แพ้เงิน, ความรักสีดํา ฯลฯ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นคําวิเศษณ์ที่ทําหน้าที่อย่างนาม)

51 ประโยคในข้อใดมีส่วนขยายประธานและส่วนขยายกรรม

(1) นักร้องวัยรุ่นเต้นอย่างสนุก

(2) นักร้องเสียงทองร้องเพลงเพราะ

(3) นักร้องหนุ่มร้องเพลงบุพเพสันนิวาส

(4) นักร้องสาวเสียงใสกําลังร้องเพลง

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 49 ประกอบ

52 “นักเทนนิสชายเดี่ยวคว้าชัยได้แล้ว” คํานามในประโยคนี้บอกให้รู้อะไรบ้าง

(1) บอกคําลักษณนาม

(2) บอกคําแสดงเพศ

(3) บอกคําแสดงพจน์

(4) บอกคําแสดงเพศและคําแสดงพจน์

ตอบ 4 หน้า 108 – 110 (56256), 6 – 7 (H) คํานามในประโยคข้างต้นบอกลักษณะของภาษาไทยดังต่อไปนี้

1 บอกคําแสดงเพศ เช่น ชาย (ดูคําอธิบายข้อ 2 ประกอบ)

2 บอกคําแสดงพจน์ (จํานวน) เช่น เดี่ยว (จํานวนหนึ่ง หรือเอกพจน์)

53 “ผม” ในข้อใดแสดงความเป็นสรรพนามบุรุษที่ 1 ไม่ชัดเจน

(1) ผมอิ่มแล้ว

(2) ผมเปียกแล้ว

(3) ผมไปล่ะ

(4) ผมกลับก่อน

ตอบ 2 หน้า 112 (56256), 99 (H) สรรพนามบุรุษที่ : คือ คําที่ใช้แทนตัวผู้พูดเอง เช่น ฉัน ดิฉัน อิฉัน ผม กระผม ข้าพเจ้า เรา ฯลฯ นอกจากนี้ยังอาจใช้คํานามอื่น ๆ แทนตัวผู้พูดเพื่อแสดง ความสนิทสนมรักใคร่ ได้แก่ ใช้ตําแหน่งเครือญาติ เช่น พ่อ แม่ ฯลฯ ใช้ตําแหน่งในการงาน เช่น ครู หัวหน้า ฯลฯ หรือใช้ชื่อของผู้พูดเอง เช่น นิ้ว นุช ฯลฯ (ส่วนคําว่า “ผม” ในตัวเลือก ข้อ 2 เป็นคํานาม – ในที่ขึ้นอยู่บนศีรษะ)

54 คําสรรพนามในข้อใดแสดงความไม่เฉพาะเจาะจง

(1) อะไรที่ชอบ

(2) อยากทําอะไรบ้าง

(3) ทําอะไรอยู่

(4) อยากทําอะไรก็ตามใจ

ตอบ 4 หน้า 111, 116 – 113 (56256), 99 (H) สรรพนามที่บอกความไม่เฉพาะเจาะจง ได้แก่“ใคร/อะไร/ใด/ไหน” ซึ่งเป็นคํากลุ่มเดียวกันกับสรรพนามที่บอกคําถาม แต่สรรพนามที่บอกความไม่เฉพาะเจาะจงจะกล่าวถึงบุคคล สิ่งของ หรือสถานที่แบบลอย ๆ ไม่ชี้เฉพาะ เจาะจงว่าเป็นใคร อะไรหรือที่ไหน และไม่ได้เป็นการถาม เช่น อยากทําอะไรก็ตามใจ ฯลฯ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นสรรพนามที่บอกคําถาม)

55 ข้อใดมีคําสรรพนามแสดงความแบ่งแยกเป็นส่วน ๆ

(1) ใครก็ได้

(2) คนนี้ใช่เลย

(3) ต่างคนต่างมา

(4) คนที่พูดถึงมาแล้ว

ตอบ 3 หน้า 111, 118 119 (56256), 99 – 100 (H) สรรพนามที่บอกความแบ่งแยกเป็นส่วน ๆได้แก่ คําว่า “ต่าง” (ใช้แทนผู้ทําหลายคนทํากริยาเดียวกัน แต่ไม่ได้ทําพร้อมกัน เช่น ต่างคน ต่างมา), “บ้าง” (ใช้แทนผู้ทําหลายคนแยกกันทํากริยาคนละอย่าง เช่น บ้างยืนบ้างนั่ง), “กัน” (ใช้แทนนามที่ต่างก็ทํากริยาเดียวกัน เกี่ยวข้องกัน เช่น มาด้วยกันไปด้วยกัน)

56 กริยาในข้อใดมีกรรมมารับ

(1) ม้าวิ่งเร็ว

(2) นกร้องเพลง

(3) สุนัขเห่าเสียงดัง

(4) แมววิ่งซุกซน

ตอบ 2 หน้า 105 (56256), 95 (H) ภาคแสดงหรือกริยา เป็นส่วนที่แสดงกิริยาอาการหรือการกระทําของภาคประธาน ซึ่งตามธรรมดากริยาจะมีตําแหน่งอยู่หลังประธาน และอยู่หน้ากรรม เช่น นกร้องเพลง (กริยาที่มีกรรมมารับ) ฯลฯ แต่กริยานั้นจะไม่มีกรรมก็ได้ เช่น ม้าวิ่งเร็ว/สุนัขเห่าเสียงดัง/แมววิ่งซุกซน (ประธาน + กริยา + ส่วนขยายกริยา โดยไม่มีกรรม) ฯลฯ

57 ไม่ควรใช้คํากริยา “ถูก” ในความหมายว่าถูกกระทํากับข้อใด

(1) ผู้ตัดสินถูกคนดูโห่ไล่

(2) ทีมฟุตบอลถูกคนดูตําหนิ

(3) ทีมวอลเลย์บอลถูกชื่นชม

(4) คนดูถูกเจ้าหน้าที่ห้ามส่งเสียงดัง

ตอบ 3 หน้า 126 (56256) ในภาษาไทยไม่นิยมใช้คํากริยา “ถูก” แสดงกรรมวาจก นอกจากจะใช้ในเรื่องไม่ดีเท่านั้น เช่น ผู้ตัดสินถูกคนดูโห่ไล่, ทีมฟุตบอลถูกคนดูตําหนิ, คนดูถูกเจ้าหน้าที่ห้าม ส่งเสียงดัง ฯลฯ หากเป็นเรื่องที่จะละคํากริยา “ถูก” หรือไม่ก็ใช้คําอื่นหรือเปลี่ยนรูปประโยคเป็นอย่างอื่นไป เช่น ทีมวอลเลย์บอลถูกชื่นชม – ทีมวอลเลย์บอลได้รับการชื่นชม ฯลฯ

58 ข้อใดใช้คํากริยาการีต

(1) ฉันจะไปดูคอนเสิร์ต

(2) ฉันจะไปซอยผม

(3) ฉันจะไปเดินเล่น

(4) ฉันจะไปซื้อของ

ตอบ 2 หน้า 128 (56256), (คําบรรยาย) คํากริยาธรรมดาที่มีความหมายเป็นการีต (ทําให้) เป็นคําที่กําหนดขึ้นเป็นพิเศษ และมีความหมายเฉพาะเป็นที่รู้กัน ซึ่งดูเหมือนว่าประธานเป็นผู้กระทํากริยานั้นเอง แต่ที่จริงแล้วประธานเป็นผู้ถูกกระทํา เช่น ไปดูหมอ (ที่จริงคือ ให้หมอดูโชคชะตา ให้ตน), ไปตรวจโรค (ที่จริงคือ ให้หมอยาตรวจโรคให้ตน), ไปตัดเสื้อทําผม (ที่จริงคือ ให้ช่างตัดเสื้อและทําผมให้ตน), ไปทําฟัน (ที่จริงคือ ให้หมอฟันทําฟันให้ตน) ฯลฯ

59 ข้อใดไม่ใช้คําคุณศัพท์บอกจํานวนนับไม่ได้

(1) ดินดําน้ำชุ่ม

(2) ลักเล็กขโมยน้อย

(3) เหลือกินเหลือใช้

(4) มากหมอมากความ

ตอบ 1 หน้า 132 133 (56256), 102 (H) คําคุณศัพท์บอกจํานวนนับไม่ได้ (ประมาณคุณศัพท์)หรือคําคุณศัพท์บอกจํานวนประมาณ ได้แก่ มาก น้อย นิด หน่อย ครบ พอ เกิน เหลือ ขาด ถ้วน ครบถ้วน หมด หลาย ทั้งหลาย ทั้งหมด ทั้งสิ้น ทั้งนั้น ทั้ง ฯลฯ

60 ข้อใดใช้คําคุณศัพท์แสดงคําถาม

(1) เหตุใดจึงมาช้า

(2) บอกก่อนได้ไหม

(3) คนอะไรใจร้ายจัง

(4) ของใครใครก็รัก

ตอบ 1 หน้า 135 – 137 (56256), 102 (H) คุณศัพท์ที่เป็นคําถาม ได้แก่ ใด อะไร ไหน ไร ซึ่งเป็นคํากลุ่มเดียวกันกับคุณศัพท์ที่บอกความไม่ชี้เฉพาะเจาะจง แต่คุณศัพท์ที่เป็นคําถามจะใช้ถามคําถาม และต้องมีนามมาข้างหน้า เช่น เหตุใดจึงมาช้า ฯลฯ

61 ข้อใดใช้คํากริยาวิเศษณ์แสดงภาวะ

(1) เขาถามถึงเธอเสมอ

(2) เขานั่งห่างจากเธอ

(3) เขานอนตื่นสาย

(4) เขามาแน่นอน

ตอบ 4 หน้า 138 (56256), 103 (H) กริยาวิเศษณ์แสดงภาวะ ได้แก่ แน่นอน สะดวก ง่ายดาย ง่วงงุน เด็ดขาด ซึ่งจะต้องวางไว้หลังกริยาที่ไปขยาย เช่น เขามาแน่นอน ฯลฯ

62 “คนที่อ่อนแอย่อมแพ้อุปสรรคง่าย ๆ ส่วนคนที่เข้มแข็งย่อมไม่ยอมแพ้” ข้อความที่ยกมานี้ใช้คําสันธานชนิดใดเชื่อมประโยค

(1) เชื่อมความขัดแย้งกัน

(2) เชื่อมความเปรียบเทียบกัน

(3) เชื่อมความเป็นเหตุเป็นผล

(4) เชื่อมความตอนหนึ่งที่กล่าวยังไม่จบ

ตอบ 4 หน้า 157 – 158 (56256), 107 (H) คําสันธานเชื่อมความตอนหนึ่งที่กล่าวยังไม่จบกับอีกตอนหนึ่งที่เริ่มต้นกล่าว เป็นคําสันธานเชื่อมความที่เป็นคนละเรื่อง แยกกันคนละส่วนแต่มีความเกี่ยวข้องกัน ได้แก่ ส่วน, ฝ่าย, อนึ่ง, อีกประการหนึ่ง

63 “คนเรานอกจากมีปัญญาแล้ว ยังต้องมีความคิดอีกด้วย” ข้อความที่ยกมานี้ใช้คําสันธานชนิดใด เชื่อมประโยค

(1) แบ่งรับแบ่งสู้

(2) รวมเข้าด้วยกัน

(3) เป็นเหตุเป็นผลกัน

(4) ให้ได้เนื้อความสละสลวย

ตอบ 1 หน้า 156 157 (56256), 107 (H) คําสันธานที่เชื่อมความคาดคะเนหรือแบ่งรับแบ่งสู้ได้แก่ ถ้า, ถ้า…ก็, ถ้า…จึง, ถ้าหากว่า, แม้…แต่, แม้ว่า, เว้นแต่, นอกจาก

64 “ความเชื่อเรื่องกรรม ถ้าเชื่อให้ถูกทางก็จะเป็นการดี” ข้อความที่ยกมานี้เชื่อมด้วยคําสันธานชนิดใด

(1) แบ่งรับแบ่งสู้

(2) เปรียบเทียบ

(3) รวมเข้าด้วยกัน

(4) เป็นเหตุเป็นผล

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 63 ประกอบ

65 ข้อใดไม่สามารถใช้คําบุรพบทอื่นแทนได้

(1) พูดจากันด้วยดี

(2) เดินทางด้วยเครื่องบิน

(3) กินข้าวตามด้วยผลไม้

(4) ติดต่อด้วยโทรศัพท์

ตอบ 1 หน้า 144 145 (56256) คําบุรพบท “ด้วยดิ” กับ “โดยดี” ถึงแม้จะมีความหมายคล้ายกันแต่บางกรณีก็ใช้แทนกันไม่ได้ เช่น พูดจากันด้วยดี (พูดกันด้วยอัธยาศัยไมตรี), พูดจากันโดยดี (ยอมพูดจาปรึกษาหารือ หรือประนีประนอมกันเมื่อเกิดการขัดแย้ง) เป็นต้น (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นสามารถใช้คําบุรพบท “โดย” แทน “ด้วย” ได้)

66 ข้อความในข้อใดไม่สามารถละบุรพบทได้

(1) เราควรทําความดีด้วยตัวของเราเอง

(2) เราควรเปิดรับทุกอย่างชนิดที่ไม่มีอคติแต่ต้น

(3) เขาไม่ใส่ใจในการศึกษาเล่าเรียนเลยแม้แต่น้อย

(4) รากฐานทุกศาสนามักวางอยู่บนความเชื่อและความศรัทธา

ตอบ 3 หน้า 143 144, 147 (56256), 104 – 106 (H) คําบุรพบทจะไม่สําคัญมากเท่ากับคํานามคํากริยา และคําวิเศษณ์ ดังนั้นบางแห่งไม่ใช้บุรพบทเลยก็ยังฟังเข้าใจได้ ซึ่งบุรพบทที่อาจละได้ แต่ความหมายยังเหมือนเดิม ได้แก่ ของ แก่ ต่อ สู่ ยัง ที่ บน ฯลฯ แต่บุรพบทบางคําก็ละไม่ได้ เพราะละแล้วความจะเสีย ไม่รู้เรื่อง หากจะละบุรพบทได้ก็ต้องดูความในประโยคว่าความหมาย ต้องไม่เปลี่ยนไปจากเดิม (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นละบุรพบท “ของ, ที่, และ” ได้ดังนี้ เราควรทําความดีด้วยตัวเราเอง เราควรเปิดรับทุกอย่างชนิดไม่มีอคติแต่ต้น, รากฐานทุกศาสนามักวางอยู่บนความเชื่อ ความศรัทธา)

67 ข้อใดไม่ใช่คําอุทาน

(1) ตายแล้วทําไปได้ยังไง

(2) ตายกันไปข้างหนึ่งล่ะ

(3) ตายจริงจําแทบไม่ได้เลย

(4) ตายจริงฉันลืมกระเป๋าตังค์

ตอบ 2 หน้า 158 – 160 (56256), 109 (H) คําอุทาน คือ คําที่เปล่งออกมาเพื่อแสดงอารมณ์ต่าง ๆซึ่งคําอุทานบางคําก็กําหนดไม่ได้ว่าคําไหนใช้แสดงอารมณ์อะไรแน่นอน แล้วแต่การออกเสียง และสถานการณ์ เช่น คําว่า “บ๊ะ” แสดงอารมณ์ไม่พอใจหรือประหลาดใจ, “เฮ้ย/อุ้ย/อุ้ยตาย/ ตายแล้ว/ตายจริง/ต๊ายตาย” แสดงอารมณ์ตกใจหรือแปลกใจ, “โธ่ถัง/โธ่/โถ” แสดงอารมณ์เสียใจ, “เออนะ/เออน่า” แสดงคํารับอย่างรู้สึกรําคาญ เป็นต้น

68 ข้อใดคือคําลักษณนามของ “ไม้จิ้มฟัน”

(1) ซี่

(2) ซีก

(3) อัน

(4) ไม้

ตอบ 3 หน้า 160 – 165 (56256), 109 110 (H) คําลักษณนาม คือ คําที่ตามหลังคําบอกจํานวนนับเพื่อบอกรูปลักษณะและชนิดคํานามที่อยู่ข้างหน้า คําบอกจํานวนนับ มักจะเป็นคําพยางค์เดียว แต่เป็นคําที่สร้างขึ้นใหม่โดยอาศัยการอุปมาเปรียบเทียบ การเลียนเสียงธรรมชาติ การเทียบ แนวเทียบ และการใช้คําซ้ำกับคํานามนั้นเอง (กรณีที่ไม่มีลักษณนามโดยเฉพาะ) เช่น ไม้จิ้มฟัน/ชิงช้า (อัน), พระโกศ (องค์), แตร/ช่อฟ้า/ปั้นจั่น (ตัว) เป็นต้น

69 ข้อใดคือลักษณนามของ “พระโกศ”

(1) ใบ

(2) ลูก

(3) องค์

(4) พระโกศ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 68 ประกอบ

70 คําใดใช้ลักษณนามต่างจากคําอื่น ๆ

(1) แตร

(2) ชิงช้า

(3) ช่อฟ้า

(4) ปั้นจัน

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 68 ประกอบ

ข้อ 71 – 80. ให้นักศึกษาเลือกคําราชาศัพท์ที่ถูกต้องที่สุด เติมในช่องว่างที่เว้นไว้

“ประชาชนทุกสาขาอาชีพนําแจกันดอกไม้มา 71. พร้อมกับลงนามถวายพระพร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 ให้ทรงหายจาก 72. สมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 73. ต่อปวงชนชาวไทย พระองค์ 74. กับ 75. มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และ 76. ต่องานมรดกและวัฒนธรรมไทย มาโดยตลอด พระองค์ 77. ในงานศิลปาชีพ ทรงเป็นพุทธมามกะ และ 78. ศาสนาต่าง ๆ ในการนี้ประชาชนจึงพร้อมใจกันถวายพระพรให้ทรงมี 79. แข็งแรงสมบูรณ์พ้นจากโรคภัย มี 80. ยืนนาน”

71 (1) ถวาย

(2) ทรงถวาย

(3) ทูลเกล้าฯ ถวาย

(4) น้อมเกล้าฯ ถวาย

ตอบ 3 หน้า 176 (56256), 116 (H) ทูลเกล้าฯ ถวาย = ถวายสิ่งของขนาดเล็ก (ของที่ยกได้) หรือ ถวายสิ่งที่เป็นรูปธรรม เช่น ทูลเกล้าฯ ถวายแจกันดอกไม้, ทูลเกล้าฯ ถวายมาลัยข้อพระกรทูลเกล้าฯ ถวายเงิน ฯลฯ (ส่วนคําว่า “น้อมเกล้าฯ ถวาย” = ถวายสิ่งของขนาดใหญ่ (ของที่ยกขึ้นไม่ได้) หรือถวายสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น น้อมเกล้าฯ ถวายพระพร ฯลฯ)

72 (1) ประชวร

(2) พระประชวร

(3) พระอาการพระประชวร

(4) พระอาการประชวร

ตอบ 4 พระอาการประชวร = สภาพเจ็บป่วย อาการป่วย

73 (1) ทรงเมตตา

(2) ทรงมีพระเมตตา

(3) ทรงพระเมตตา

(4) เมตตา

ตอบ 3 หน้า 173 (56256), 113 (H), (คําบรรยาย) ตามหลักเกณฑ์การเติมคําว่า “ทรง” หน้ากริยาราชาศัพท์นั้น จะเติม “ทรง” หน้าคํานามหรือคํากริยาสามัญเพื่อทําให้คํานั้นเป็นราชาศัพท์ เช่น ทรงงาน (ทํางาน), ทรงทะนุบํารุง ซ่อมแซมรักษา อุดหนุนให้เจริญขึ้น) ฯลฯ และเติม “ทรง” หน้านามราชาศัพท์เพื่อทําให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงพระเมตตา (มีความเมตตา) ฯลฯ แต่ห้ามเติม “ทรง” ซ้อนคํากริยาที่เป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว เช่น สนพระราชหฤทัย รับสั่ง โปรดเสด็จฯ พระราชทาน ทอดพระเนตร ฯลฯ

74 (1) เสด็จฯ ไปทรงงาน

(2) เสด็จฯ ทรงงาน

(3) เสด็จไปทรงงาน

(4) เสด็จทรงงาน

ตอบ 1 เสด็จฯ (เสด็จพระราชดําเนิน) – เดินทางโดยยานพาหนะ ใช้กับพระมหากษัตริย์ พระราชินีและพระราชวงศ์ลําดับ 2 ดังนั้นในที่นี้จึงควรใช้ว่า เสด็จฯ ไปทรงงาน (ส่วนคําว่า “เสด็จ”ใช้กับพระบรมวงศ์ชั้นเจ้าฟ้าลงมา)

75 (1) พระบาทสมเด็จพระปรเมนทร

(2) พระบาทสมเด็จพระปรมินทร

(3) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรเมนทร

(4) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรมินทร

ตอบ 2 พระนามที่ถูกต้อง คือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร

76 (1) มีพระกรุณาธิคุณ

(2) มีพระมหากรุณาธิคุณ

(3) ทรงมีพระกรุณาธิคุณ

(4) ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ

ตอบ 2 หน้า 117 (H) คํากริยา มี/เป็น เมื่อใช้เป็นราชาศัพท์มีข้อสังเกตดังนี้

1 หากคําที่ตามหลัง มี/เป็น เป็นนามราชาศัพท์อยู่แล้ว ไม่ต้องเติม “ทรง” หน้าคํากริยา มี/เป็น อีก เช่น มีพระมหากรุณาธิคุณ = มีพระคุณที่ใหญ่หลวง ใช้กับพระมหากษัตริย์พระราชินี และพระราชวงศ์ลําดับ 2 ฯลฯ

2 หากคําที่ตามหลัง มีเป็น เป็นคําสามัญ ให้เติม “ทรง” หน้าคํากริยา มี/เป็น เพื่อทําให้เป็นราชาศัพท์ เช่น ทรงมีลูกสุนัข, ทรงเป็นประธาน ฯลฯ(ส่วนคําว่า “พระกรุณาธิคุณ” ใช้กับเจ้าฟ้า พระองค์เจ้า และสมเด็จพระสังฆราช)

77 (1) สนใจ

(2) สนพระทัย

(3) สนพระฤทัย

(4) สนพระราชหฤทัย

ตอบ 4 สนพระราชหฤทัย = สนใจ ใช้กับพระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระราชวงศ์ลําดับ 2 (ส่วนคําว่า “สนพระทัย” ใช้กับพระบรมวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าลงมา จนถึงพระอนุวงศ์ชั้น หม่อมเจ้า)

78 (1) บํารุง

(2) ทะนุบํารุง

(3) ทรงทะนุบํารุง

(4) ได้ทะนุบํารุง

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 73 ประกอบ

79 (1) พลานามัย

(2) พระอนามัย

(3) พระพลานามัย

(4) พระพลาอนามัย

ตอบ 3 พระพลานามัย = สุขภาพ

80 (1) ชนมายุ

(2) พระชนมายุ

(3) ชนมพรรษา

(4) พระชนมพรรษา

ตอบ 4 พระชนมพรรษา = อายุ ใช้กับพระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระราชวงศ์ลําดับ 2 (ส่วนคําว่า “พระชนมายุ” ใช้กับพระบรมวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าลงมา จนถึงพระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า)

ข้อ 81 – 90 อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคําถาม โดยให้สัมพันธ์กับข้อความที่ให้อ่าน

วิทยาศาสตร์ พบว่า พรหมลิขิตอาจไม่ได้ลิขิตชีวิตมนุษย์เสียแล้ว หากแต่น่าจะเป็นดินฟ้าอากาศ ต่างหากที่ลิขิตให้มนุษย์แต่ละคนมีบุคลิกภาพต่าง ๆ กัน ตลอดจนสุขภาพเมื่อตอนเติบโตขึ้นด้วย

หนังสือพิมพ์ “เดอะซันเดย์ เทเลกราฟ” ชื่อดังของอังกฤษรายงานว่า คณะนักวิจัยมหาวิทยาลัย เฮิร์ทฟอร์ดเชียร์ของอังกฤษศึกษา พบว่า ฤดูเกิดมีอิทธิพลลิขิตนิสัยสันดานคนต่าง ๆ กัน

อย่างเช่น ผู้หญิงทางซีกโลกเหนือที่เกิดในเดือนพฤษภาคมมักจะเป็นคนใจร้อน ในขณะที่ผู้ที่เกิดในฤดูใบไม้ร่วง เดือนพฤศจิกายน จะเป็นคนช่างพินิจพิจารณา ขณะที่ถ้าเป็นชายเกิดในฤดูใบไม้ผลิ จะเป็นคนที่มีความอดกลั้นต่างกับผู้ที่เกิดในฤดูหนาว

ผู้ที่เกิดตรงกับฤดูใบไม้ร่วงจะเป็นคนแข็งแรงว่องไว เหมาะกับจะเป็นนักฟุตบอล ส่วนผู้ที่เกิด ในฤดูใบไม้ผลิก็จะเป็นผู้มีสติปัญญาดี มีฝีไม้ลายมือดีในการเล่นหมากรุก

ในทํานองเดียวกัน ผู้ที่เกิดช่วงระหว่างเดือนกันยายนและธันวาคมมักจะเป็นคนที่อาจเกิด มีอาการหวาดกลัวหรือหวาดผวาสุดขีด พร้อมทั้งกําลังมีหลักฐานเพิ่มขึ้นว่า ผู้ที่เกิดปลายฤดูหนาวและ ต้นฤดูใบไม้ผลิมักจะเจ็บป่วยเป็นโรคจิตเภทกันสูง

ศาสตราจารย์ริชาร์ด ไวส์แมน หัวหน้าคณะ กล่าวว่า “ท่านอาจพอจะคาดได้ว่า ตัวการเป็น เพราะอุณหภูมินั่นเอง ดังนั้นผลหลายอย่างจะกลับกันอยู่ในซีกโลกทั้งสอง” พร้อมกันนั้นศาสตราจารย์จอห์น อีเกิล มหาวิทยาลัยอะเบอร์ดีน ยังให้ความเห็นว่า “ตัวการใหญ่มีอยู่ 2 ตัว คือ อาหารกับความแปรผัน ของโภชนาการ และโรคภัยไข้เจ็บที่ซุกอยู่ในฤดูหนาว นอกจากนั้นสาเหตุทางกรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อม

อย่างอื่นก็มีส่วนด้วย ดังนั้นฤดูกาลในการเกิดเป็นเพียงปัจจัยเสริมเท่านั้น”

81 ข้อความที่อ่านจัดเป็นวรรณกรรมประเภทใด

(1) บทความ

(2) บทรายงานข่าว

(3) สรุปผลงานวิจัย

(4) สรุปผลการค้นคว้า

ตอบ 1 (คําบรรยาย) บทความ คือ งานเขียนที่มีการนําเสนอข้อมูลที่ได้มาจากเอกสารทางวิชาการหรือผลงานการวิจัย ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงหรือข้อคิดเห็นเพื่อให้ข้อมูลหรือความรู้ และมีการสรุปให้เห็นความสําคัญของเรื่อง พร้อมทั้งเสนอข้อคิดให้ผู้อ่านนําไปพิจารณา

82 โวหารการเขียนเป็นแบบใด

(1) บรรยาย

(2) อภิปราย

(3) อธิบาย

(4) พรรณนา

ตอบ 3 หน้า 72 (54351), (คําบรรยาย) โวหารเชิงอธิบาย คือ โวหารที่ใช้ในการชี้แจงเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความรู้ความเข้าใจอย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง ซึ่งเป็นการให้ความรู้หรือข้อมูลแต่เพียงด้านเดียว อาจจะเป็นด้านบวกหรือด้านลบก็ได้ โดยมีการชี้แจงแสดงเหตุและผล การยกตัวอย่างประกอบ การเปรียบเทียบ และการจําแนกแจกแจง เช่น การอธิบายความหมายของคํา กฎเกณฑ์ ทฤษฎีและวิธีการต่าง ๆ

83 น้ำเสียงของคณะผู้วิจัยเป็นอย่างไร

(1) มั่นใจ

(2) ลังเล

(3) ภาคภูมิใจ

(4) คาดคะเน

ตอบ 4 น้ำเสียงของคณะผู้วิจัยจากข้อความที่อ่านเป็นแบบคาดคะเน หรือคาดหมายว่าน่าจะเป็นเช่นนั้นโดยส่วนใหญ่

84 ท่วงทํานองเขียนเป็นแบบใด

(1) เรียบง่าย

(2) สับสนวกวน

(3) สละสลวย

(4) กระชับรัดกุม

ตอบ 1 หน้า 58 (54351) ผู้เขียนใช้ท่วงทํานองเขียนแบบเรียบง่าย คือ ท่วงทํานองเขียนที่ใช้คําง่าย ๆชัดเจน การผูกประโยคไม่ซับซ้อน ทําให้อ่านง่ายและเข้าใจได้ทันที โดยไม่ต้องเสียเวลาในการขบคิดมากนัก

85 เหตุใดจึงจําแนกบุคลิกและสุขภาพของแต่ละคนตามฤดูใบไม้ร่วงใบไม้ผลิ ฯลฯ

(1) เพราะธรรมชาติมีอิทธิพลต่อชีวิต

(2) เพราะคณะวิจัยเป็นชาวอังกฤษ

(3) เพราะเป็นที่คุ้นเคยต่อชีวิตประจําวัน

(4) เพราะธรรมชาติส่งผลต่อความเป็นอยู่

ตอบ 1 จากข้อความ วิทยาศาสตร์ พบว่า พรหมลิขิตอาจไม่ได้ลิขิตชีวิตมนุษย์เสียแล้ว หากแต่น่าจะเป็นดินฟ้าอากาศต่างหากที่ลิขิตให้มนุษย์แต่ละคนมีบุคลิกภาพต่าง ๆ กัน ตลอดจนสุขภาพเมื่อตอนเติบโตขึ้นด้วย

86 ยังมีสิ่งใดอีกที่แสดงอิทธิพลของฤดูกาลนอกเหนือจากบุคลิกและสุขภาพ

(1) รสนิยม

(2) โรคภัยไข้เจ็บ

(3) อาหารการกิน

(4) การกีฬา

ตอบ 2 จากข้อความ… ในทํานองเดียวกัน ผู้ที่เกิดช่วงระหว่างเดือนกันยายนและธันวาคมมักจะเป็นคนที่อาจเกิดมีอาการหวาดกลัวหรือหวาดผวาสุดขีด พร้อมทั้งกําลังมีหลักฐานเพิ่มขึ้นว่า ผู้ที่เกิดปลายฤดูหนาวและต้นฤดูใบไม้ผลิมักจะเจ็บป่วยเป็นโรคจิตเภทกันสูง ศาสตราจารย์ริชาร์ด ไวส์แมน หัวหน้าคณะ กล่าวว่า “ท่านอาจพอจะคาดได้ว่า ตัวการเป็นเพราะอุณหภูมินั้นเอง ดังนั้นผลหลายอย่างจะกลับกันอยู่ในซีกโลกทั้งสอง”

87 ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยหลักในการกําหนดบุคลิกและสุขภาพ

(1) ฤดูกาลในการเกิด

(2) โรคภัยในบางฤดู

(3) ความเปลี่ยนแปลงทางโภชนาการ

(4) กรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อม

ตอบ 1 จากข้อความ…. ตัวการใหญ่มีอยู่ 2 ตัว คือ อาหารกับความแปรผันของโภชนาการ และโรคภัยไข้เจ็บที่ซุกอยู่ในฤดูหนาว นอกจากนั้นสาเหตุทางกรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อมอย่างอื่นก็มีส่วนด้วย ดังนั้นฤดูกาลในการเกิดเป็นเพียงปัจจัยเสริมเท่านั้น

88 ผู้วิจัยค้นพบว่าเกิดในฤดูกาลใดส่งผลดีต่อสุขภาพ

(1) ต้นฤดูหนาวและต้นฤดูใบไม้ร่วง

(2) ฤดูใบไม้ร่วงและฤดูใบไม้ผลิ

(3) ฤดูหนาวและฤดูใบไม้ผลิ

(4) ต้นฤดูใบไม้ร่วงและต้นฤดูใบไม้ผลิ

ตอบ 2 จากข้อความ ผู้ที่เกิดตรงกับฤดูใบไม้ร่วงจะเป็นคนแข็งแรงว่องไว เหมาะกับจะเป็นนักฟุตบอลส่วนผู้ที่เกิดในฤดูใบไม้ผลิก็จะเป็นผู้มีสติปัญญาดี มีฝีไม้ลายมือดีในการเล่นหมากรุก

89 “ผู้ที่เกิดปลายฤดูหนาวและต้นฤดูใบไม้ผลิมักจะเจ็บป่วยเป็นโรคจิตเภทกันสูง” ข้อความนี้ผลวิเคราะห์ เป็นเนื่องจากสาเหตุใด

(1) อุณหภูมิ

(2) อาหาร

(3) สิ่งแวดล้อม

(4) ความเครียด

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 86 ประกอบ

90 ข้อใดคือใจความสําคัญของเรื่องที่อ่าน

(1) สิ่งสําคัญที่ทําให้คนแตกต่างกัน คือ อาหารและโรคภัยไข้เจ็บ

(2) สาเหตุทางกรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อมมีส่วนทําให้คนแตกต่างกัน

(3) ดินฟ้าอากาศลิขิตมนุษย์ให้มีบุคลิกภาพและสุขภาพที่แตกต่างกัน

(4) พรหมลิขิตอาจไม่ได้ลิขิตชีวิตมนุษย์เสียแล้ว แต่มนุษย์นั้นลิขิตตัวเอง

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ประโยคใจความหรือประโยคสําคัญ คือ ข้อความที่เป็นตอนนํา ซึ่งเป็นส่วนที่มีความหมายครอบคลุมข้อความทั้งหมดในย่อหน้า หรือเป็นส่วนที่มีความหมายเด่นชัดและมีน้ำหนักมากที่สุด โดยจะกล่าวถึงสาระสําคัญของเนื้อความในย่อหน้านั้นทั้งหมด อาจจะมีตําแหน่งอยู่ในตอนต้น ตอนกลาง หรือตอนปลายของย่อหน้าก็ได้ (เรื่องที่อ่านมีประโยคใจความสําคัญอยู่ตอนต้นย่อหน้า) (ดูคําอธิบายข้อ 85 ประกอบ)

ข้อ 91 – 94 ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้แล้วตอบคําถาม

(1) เขม็ดแขม่ ประสีประสา ตาหลับขับตานอน

(2) แพแตก ทอดสะพาน งงเป็นไก่ตาแตก

(3) พุ่งหอกเข้ารก กินน้ำใต้ศอก ตําข้าวสารกรอกหม้อ

(4) เฒ่าหัวงู ปล้ำผีลุกปลุกผีนั่ง น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ

91 ข้อใดเป็นสํานวนทั้งหมด

ตอบ 2 หน้า 119 – 121 (H) ข้อแตกต่างของสํานวน คําพังเพย และสุภาษิตมีดังนี้

1 สํานวน หมายถึง ถ้อยคําที่เรียบเรียงขึ้นอย่างกะทัดรัด ใช้คําน้อยแต่กินความหมายมากและเป็นความหมายโดยนัยหรือโดยเปรียบเทียบ เช่น แพแตก (ครอบครัวที่แตกแยกย้าย กันไปเพราะหัวหน้าครอบครัวประสบความวิบัติหรือเสียชีวิต), ทอดสะพาน (แสดงกิริยา ท่าทางเป็นทํานองอยากติดต่อด้วย), งงเป็นไก่ตาแตก (งงมากจนทําอะไรไม่ถูก), เฒ่าหัวงู (คนแก่เจ้าเล่ห์) เป็นต้น

2 คําพังเพย หมายถึง ถ้อยคําที่เรียบเรียงขึ้นเพื่อตีความ สรุปเหตุการณ์ สภาวการณ์ บุคลิกและอารมณ์ให้เข้ากับเรื่อง มีความหมายกลาง ๆ ไม่เน้นการสั่งสอน แต่แฝงคติเตือนใจให้ นําไปปฏิบัติหรือไม่ให้นําไปปฏิบัติ เช่น พุ่งหอกเข้ารก (ทําพอให้เสร็จไปโดยไม่มีเป้าหมาย), กินน้ำใต้ศอก (จําต้องยอมเป็นรองเขา), ตําข้าวสารกรอกหม้อ (หาแค่ให้พอกินไปมื้อหนึ่ง ๆ),ปล้ำผีลุกปลุกผีนั่ง (พยายามทําให้มีเรื่องมีราวขึ้นมา) เป็นต้น

3 สุภาษิต หมายถึง ถ้อยคําที่เรียบเรียงขึ้นเพื่อสั่งสอนโดยตรง ซึ่งอาจเป็นคติ ข้อติติง คําจูงใจหรือคําห้าม และเนื้อความที่สั่งสอนก็เป็นความจริง เป็นความดีที่ยอมรับกันโดยทั่วไป เช่น น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ (อย่าขัดขวางผู้ที่มีอํานาจหรือผู้ที่กําลังโกรธจัด) เป็นต้น

92 ข้อใดเป็นคําพังเพยทั้งหมด

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 91 ประกอบ

93 ข้อใดไม่ปรากฏว่ามีสํานวน คําพังเพย หรือสุภาษิตเลย

ตอบ 1 หน้า 74 (56256) คําว่า “เขม็ดแขม่” (ก.) = รู้จักใช้จ่ายอย่างระมัดระวังเพราะเกรงว่าจะไม่พอใช้, “ประสีประสา” (น.) = วิสัย เรื่องราว ความเป็นไป, “อดตาหลับขับตานอน”(เป็นคําซ้อน 6 คํา ที่ทําหน้าที่เป็นกริยา) = สู้ทนอดนอน

94 ข้อใดเรียงลําดับถูกต้องตั้งแต่สํานวน คําพังเพย และสุภาษิต

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 91 ประกอบ

95 ข้อใดมีความหมายว่า “เมื่อหมดอํานาจความชั่วที่ทําไว้ก็ปรากฏ”

(1) เนื้อเต่ายําเต่า

(2) ฝนตกขี้หมูไหล

(3) น้ำลดตอผุด

(4) บนข้าวผี ตีข้าวพระ

ตอบ 3 น้ำลดตอผุด = เมื่อหมดอํานาจความชั่วที่ทําไว้ก็ปรากฏ (ส่วนเนื้อเต่ายำเต่า = นําเอาทรัพย์สิน ในส่วนที่เป็นกําไรหรือดอกเบี้ยกลับไปลงทุนต่อไปอีก โดยไม่ต้องใช้ทุนเดิม, ฝนตกขี้หมูไหล = พลอยเหลวไหลไปด้วยกัน, บนข้าวผี ตีข้าวพระ = ขอร้องให้มีสางเทวดาช่วยเหลือโดยจะแก้บนเมื่อประสบผลสําเร็จเล้ว)

96 “ลางเนื้อชอบลางยา” มีความหมายตรงกับข้อใด

(1) ยกเรื่องต่าง ๆ มาอ้างเพื่อป้องกันตัวเอง

(2) คนที่กันท่าคนอื่นในสิ่งที่ตนใช้ประโยชน์ไม่ได้

(3) คนที่อาละวาดพาลหาเรื่อง ทําให้วุ่นวายไปหมด

(4) ของสิ่งเดียวกัน ถูกกับคนหนึ่ง แต่ไม่ถูกกับอีกคนหนึ่ง

ตอบ 4 ลางเนื้อชอบลางยา = ของสิ่งเดียวกัน ถูกกับคนหนึ่ง แต่ไม่ถูกกับอีกคนหนึ่ง

97 ข้อใดมีคําที่สะกดไม่ถูกต้อง

(1) ต๊ายตาย ชีวิตดี๊ดี

(2) ไปบ๊อยบ่อย เขาจ๊นจน

(3) ฉันช๊อบชอบ กินอิ๊มอิ่ม

(4) ผ้าเก๊าเก่า ตัวโต๊โต

ตอบ 3 คําที่สะกดผิด ได้แก่ ฉันช๊อบชอบ ซึ่งที่ถูกต้องคือ ฉันช้อบชอบ

98 ข้อใดสะกดถูกทุกคํา

(1) สังเกต จตุรัส เซ็นต์ชื่อ

(2) ไอศกรีม จัดสรร กะทัดรัด

(3) แมลงสาบ ลําใย กระทันหัน

(4) ปิกนิก ผัดเวร โลกาภิวัฒน์

ตอบ 2 คําที่สะกดผิด ได้แก่ จตุรัส เซ็นต์ชื่อ ลําใย กระทันหัน ผัดเวร โลกาภิวัฒน์ซึ่งที่ถูกต้องคือ จัตุรัส เซ็นชื่อ ลําไย กะทันหัน ผลัดเวร โลกาภิวัตน์

99 ข้อใดมีคําที่สะกดถูกขนาบคําที่สะกดผิด

(1) ผาสุข คุ้กกี้ นัยตา

(2) พังทลาย เกล็ดปลา รื่นรมย์

(3) เบญจเพส บังสกุล กะเพรา

(4) อานิสงส์ รื่นรมย์ บิณฑบาต

ตอบ 3 คําที่สะกดผิด ได้แก่ ผาสุข คุ้กกี้ นัยตา บังสุกุล ซึ่งที่ถูกต้องคือ ผาสุก คุกกี้ นัยน์ตา บังสุกุล

100 ข้อใดสะกดผิดทุกคํา

(1) มุกตลก สัมมนา พะแนง

(2) ไม่ไยดี พรางตา มัธยัสถ์

(3) เบรค ถั่วพลู โน๊ตเพลง

(4) จลาจล ไท้เก๊ก บิดพลิ้ว

ตอบ 3 คําที่สะกดผิด ได้แก่ เบรค ถั่วพลู โน๊ตเพลง ซึ่งที่ถูกต้องคือ เบรก ถั่วพู โน้ตเพลง

101 ข้อใดมีคําที่สะกดผิดสลับกับคําที่สะกดถูก

(1) วิ่งผลัด ผัดเวร ใบไม้ผลัดใบ ผลัดแป้งแต่งหน้า

(2) ผลัดหนี้ ผัดผ่อน ผัดเปลี่ยน ผัดวันประกันพรุ่ง

(3) ผลัดผ้า ผลัดเวร ผัดหนี้ ผัดแป้งแต่งหน้า

(4) ผลัดเปลี่ยน ข้าวผัด ผลัดผ้า ทหารเกณฑ์ผลัดสอง

ตอบ 2 คําที่สะกดผิด ได้แก่ ผัดเวร ผลัดแป้งแต่งหน้า ผลัดหนี้ ผัดเปลี่ยน

ซึ่งที่ถูกต้องคือ ผลัดเวร ผัดแป้งแต่งหน้า ผัดหนี้ ผลัดเปลี่ยน

102 เด็กวัยรุ่น……………..เกเร ลั่น…………………ปืนใส่คู่อริ

(1) เกกมะเหรก ไก

(2) เกมะเรก ไกล่

(3) เกมะเหรก ไก

(4) เกกมะเรก ไกล่

ตอบ 1 คําว่า “เกกมะเหรก” = เกเร, “ไก” = ที่สําหรับเหนี่ยวให้ลูกกระสุนลั่นออกไป เช่น ไกหน้าไม้ ไกปืน (ส่วนคําว่า “ไกล่” = ทา ไล้, “เกมะเรก/เกมะเหรก/เกกมะเรก” เป็นคําที่เขียนผิด)

103 เจ้าหน้าที่กําลัง…………. เพื่อทํา………..

(1) ลาดยางถนน ถนนลาดยาง

(2) ราดยางถนน ถนนราดยาง

(3) ราดยางถนน ถนนลาดยาง

(4) ลาดยางถนน ถนนราดยาง

ตอบ 3 คําว่า “ราดยางถนน” = อาการที่เทยางมะตอยที่ผสมกับหินหรือทรายให้กระจายแผ่ไปหรือให้เรียรายไปทั่วเพื่อทําถนน, “ถนนลาดยาง” = ใช้เรียกถนนที่ปูผิวจราจรด้วยยางมะตอยผสมกับหินหรือทราย (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นคําที่เขียนผิด)

104 พ่อเหวี่ยงแหลงในแม่น้ำที่ไหลเชี่ยว………. พอจับปลาได้ก็รีบขอด……….

(1) กราก เกร็ดปลา

(2) กลาด เกล็ดปลา

(3) กราด เกร็ดปลา

(4) กราก เกล็ดปลา

ตอบ 4 คําว่า “กราก” = รวดเร็ว เช่น น้ำไหลเชี่ยวกราก, “เกล็ดปลา” = ส่วนที่เป็นแผ่น ๆ ซ้อนเหลี่ยมกันห่อหุ้มตัวปลา (ส่วนคําว่า “กลาด” = ดาษดื่น, “กราด” = กวดให้แน่น เช่น กราดลิ่ม, “เกร็ดปลา” เป็นคําที่เขียนผิด)

105 วันนี้ฝนตก……….ข้าว………. คงสดชื่นขึ้นมาได้

(1) ปอย ๆ นาปรัง

(2) ปรอย ๆ นาปรัง

(3) ปอย ๆ นานาปลัง

(4) ปรอย ๆ อานาปลัง

ตอบ 2 คําว่า “ปรอย ๆ” = ที่ตกเป็นระยะ ๆ ไม่หนาเม็ด (ใช้กับฝน) เช่น ฝนตกปรอย ๆ, “นาปรัง”= นาที่ทําในฤดูแล้งนอกฤดูทํานา (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นคําที่เขียนผิด)

106 ร่างเธอสูง…………………มีคุณสมบัติ………………..

(1) เพียว เพียบพร้อม

(2) เพรียว เพียบพร้อม

(3) เพียว เพรียบพร้อม

(4) เพรียว เพรียบพร้อม

ตอบ 2 คําว่า “เพรียว” = เปรียว ฉลวย เรียว เช่น รูปร่างสูงเพรียว, “เพียบพร้อม” = เต็มเปี่ยมครบทุกอย่าง (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นคําที่เขียนผิด)

107 การศึกษายุค………….ต้องสร้างคนให้มี……………กว้างไกล

(1) โลกาภิวัตน์ วิสัยทัศน์

(2) โลกาภิวัฒน์ วิสัยทัศน์

(3) โลกาภิวัฒน์ โลกทัศน์

(4) โลกาภิวัตน์ ทัศนวิสัย

ตอบ 1 คําว่า “โลกาภิวัตน์” = การแพร่กระจายไปทั่วโลก, “วิสัยทัศน์” = การมองการณ์ไกล(ส่วนคําว่า “โลกาภิวัฒน์” เป็นคําที่เขียนผิด, “โลกทัศน์” = การมองโลก การรู้จักโลก, “ทัศนวิสัย” = ระยะทางไกลที่สุด ซึ่งสามารถมองเห็นวัตถุด้วยตาเปล่าและบอกได้ว่าวัตถุนั้นเป็นอะไร)

108 ผู้ใหญ่บ้าน………….และชาวบ้าน…………..เงินสร้างอาคาร………….

(1) กํานัล เรียไร เอนกประสงค์

(2) กํานัล เรียราย อเนกประสงค์

(3) กํานัน เรี่ยไร อเนกประสงค์

(4) กํานัน เรี่ยราย เอนกประสงค์

ตอบ 3 คําว่า “กํานัน” = ตําแหน่งพนักงานฝ่ายปกครอง ซึ่งมีอํานาจหน้าที่ปกครองราษฎรที่อยู่ในเขตตําบล, “เรี่ยไร” = ขอร้องให้ช่วยออกเงินทําบุญตามสมัครใจ, “อเนกประสงค์” -ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างแล้วแต่ความต้องการ (ส่วนคําว่า “กํานัล” = การให้ของกันด้วยความนับถือ, “เรี่ยราย” = กระจายเกลื่อนไป, “เอนกประสงค์” เป็นคําที่เขียนผิด)

ข้อ 109. – 113. ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้แล้วตอบคําถาม

(1) ใช้คํากํากวม

(2) ใช้คําผิดความหมาย

(3) ใช้คําฟุ่มเฟือย

(4) ใช้สํานวนต่างประเทศ

109 “แม่ค้าขายไก่ตายในตลาดสด” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด

ตอบ 1 หน้า 11 (54351) การใช้คําที่มีความหมายหลายอย่างจะต้องคํานึงถึงถ้อยคําแวดล้อมด้วยทั้งนี้เพื่อให้เกิดความแจ่มชัด ไม่กํากวม เพราะคําชนิดนี้ต้องอาศัยถ้อยคําที่แวดล้อมอยู่เป็น เครื่องช่วยกําหนดความหมาย เช่น แม่ค้าขายไก่ตายในตลาดสด (ใช้คํากํากวม) จึงควรแก้ไข ให้มีความหมายที่แน่ชัดลงไป โดยใช้ถ้อยคําแวดล้อมเสียใหม่เป็น แม่ค้าขายไก่ถูกคนร้ายฆ่าตายในตลาดสด

110 “บ้านของผู้คนตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด

ตอบ 3 หน้า 18 – 19, 39 (54351) การใช้คําฟุ่มเฟือยหรือการใช้คําที่ไม่จําเป็นจะทําให้คําโดยรวมไม่มีน้ำหนักและข้อความขาดความหนักแน่น ไม่กระชับรัดกุม เพราะเป็นคําที่ไม่มีความหมาย แม้จะตัดออกไปก็ไม่ได้ทําให้ความหมายของข้อความนั้นเปลี่ยนแปลงไป แต่กลับทําให้ ดูรุงรังยิ่งขึ้น เช่น บ้านของผู้คนตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา (ใช้คําฟุ่มเฟือย) จึงควรแก้ไขเป็นบ้านตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา (คําว่า “บ้าน” = สิ่งที่คนปลูกสร้างเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย)

111 “มหาวิทยาลัยแห่งนี้เต็มไปด้วยสุนัขจรจัด” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด

ตอบ 4 หน้า 38 (54351) การใช้คําตามแบบภาษาไทย คือ การทําให้ข้อความที่ผูกขึ้นมีลักษณะเป็นภาษาไทย ไม่เลียนแบบภาษาต่างประเทศ ซึ่งจะทําให้ข้อความกะทัดรัด เข้าใจง่าย และ ไม่เคอะเขิน เช่น มหาวิทยาลัยแห่งนี้เต็มไปด้วยสุนัขจรจัด (ใช้สํานวนต่างประเทศ) จึงควรแก้ไขเป็น สุนัขจรจัดอยู่เต็มมหาวิทยาลัยแห่งนี้

112 “ในป่าแห่งนี้มีประชากรผึ้งอยู่เป็นจํานวนมาก” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด

ตอบ 2 หน้า 10 – 11 (54351) การใช้คําในการพูดและเขียนต้องรู้จักเลือกคํามาใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสม คือ จะต้องมีความรู้ว่าคําที่จะนํามาใช้นั้นมีความหมายว่าอย่างไร ใช้แล้วเหมาะสม ไม่ผิดความหมาย และจะเป็นที่เข้าใจชัดเจนแจ่มแจ้งเพียงไร เช่น ในป่าแห่งนี้มีประชากรผึ้ง อยู่เป็นจํานวนมาก (ใช้คําไม่ถูกต้อง หรือใช้คําผิดความหมาย) จึงควรแก้ไขเป็น ในป่าแห่งนี้ มีฝูงผึ้งอยู่เป็นจํานวนมาก (คําว่า “ฝูง” = พวก หมู่ ซึ่งสามารถใช้กับสัตว์ได้ (ยกเว้นช้าง) เช่น ฝูงมด ฝูงผึ้ง ฝูงควาย ฯลฯ ส่วนคําว่า “ประชากร” = หมู่คน หมู่พลเมือง)

113 “บัณฑิตผู้มีความรู้และความคิดต้องปฏิบัติตนเป็นคนดี” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด

ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 110 ประกอบ) ประโยคจากโจทย์ข้างต้นที่ว่า บัณฑิตผู้มีความรู้และความคิดต้องปฏิบัติตนเป็นคนดี (ใช้คําฟุ่มเฟือย) จึงควรแก้ไขเป็น บัณฑิตต้องปฏิบัติตนเป็นคนดี (คําว่า “บัณฑิต” = ผู้ทรงความรู้ ผู้มีปัญญา)

ข้อ 114 – 116 ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้แล้วตอบคําถาม

(1) ใช้คําไม่ชัดเจน

(2) ใช้คําขัดแย้งกัน

(3) ใช้สํานวนต่างประเทศ

(4) วางส่วนขยายผิดที่

 

114 “คุณยายค่อย ๆ เดินออกไปอย่างรวดเร็ว” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด

ตอบ 2 หน้า 41 (54351) การใช้คําขัดแย้งกัน คือ การใช้คําที่ทําให้เนื้อความขัดกัน หรือใช้คําที่มีความหมายตรงกันข้าม เช่น คุณยายค่อย ๆ เดินออกไปอย่างรวดเร็ว (ใช้คําขัดแย้งกัน) จึงควรแก้ไขเป็น คุณยายรีบเดินออกไปอย่างรวดเร็ว (คําว่า “ค่อย ๆ” – ช้า ๆ ส่วนคําว่า “รวดเร็ว” = เร็วไว)

115 “ขยะถูกกําจัดออกไปจากสวนสาธารณะ” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด

ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 57 เละ 111 ประกอบ) ประโยคจากโจทย์ข้างต้นที่ว่า ขยะถูกกําจัดออกไปจากสวนสาธารณะ (ใช้สํานวนต่างประเทศ) จึงควรแก้ไขเป็น สวนสาธารณะกําจัดขยะออกไป

116 “มีนักศึกษาลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาไทยจํานวนมาก” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด

ตอบ 4 หน้า 37 (54351) การเรียงลําดับประโยคให้ถูกที่ คือ การวางประธาน กริยา กรรม และส่วนขยายให้ตรงตามตําแหน่ง เพราะถ้าหากวางไม่ถูกที่จะทําให้ข้อความนั้นไม่ชัดเจน หรือ มีความหมายไม่ตรงกับที่เราต้องการ เช่น มีนักศึกษาลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาไทยจํานวนมาก (วางส่วนขยายผิดที่ หรือใช้คําขยายไม่ถูกต้อง) จึงควรแก้ไขเป็น มีนักศึกษาจํานวนมากลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาไทย

117 คําว่า “พัน พันธ์ พันธุ์ พรรณ” เป็นคําประเภทใด

(1) คําพ้องรูป

(2) คําพ้องเสียง

(3) คําพ้องรูปและคําพ้องเสียง

(4) คําพ้องความหมาย

ตอบ 2 หน้า 14 (54351) คําพ้องเสียง คือ คําที่ออกเสียงเหมือนกัน แต่ความหมายและการเขียน(รูป) ไม่เหมือนกัน ดังนั้นเวลาเขียนจึงต้องเขียนให้ถูกต้อง เพราะถ้าหากเขียนผิด ความหมาย ก็จะผิดไปด้วย เช่น คําว่า “พัน” = เรียกจํานวน 10 ร้อย, “พันธ์” = ผูก มัด ตรึง, “พันธุ์” = พวกพ้อง เชื้อสาย วงศ์วาน, “พรรณ” = สีของผิว ชนิด เช่น พรรณพืช เป็นต้น

118 คําว่า “คลินิก ออกซิเจน สปาเกตตี” เป็นคําประเภทใด

(1) คําทับศัพท์

(2) คําศัพท์แปลกใหม่

(3) คําศัพท์บัญญัติ

(4) คําไทยประเภทคําสร้างใหม่

ตอบ 1 หน้า 123 – 125 (H), (คําบรรยาย) คําทับศัพท์ คือ คําภาษาต่างประเทศที่นํามาใช้ในภาษาไทย โดยมีการถ่ายเสียงให้ใกล้เคียงภาษาเดิมมากที่สุด และถอดอักษรในภาษาเดิม พอควรแก่การแสดงที่มาของรูปศัพท์ แล้วเขียนให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่ประกาศใช้ของราชบัณฑิตยสถาน เช่น คลินิก (Clinic), ออกซิเจน (Oxygen), สปาเกตตี (Spaghetti) ฯลฯ

119 ข้อใดใช้ภาษาไม่เป็นทางการ

(1) เมื่อใด

(2) เท่าไหร่

(3) เหตุใด

(4) อย่างไร

ตอบ 2 หน้า 6 – 7 (54351) ระดับของคําในภาษาไทยมีศักดิ์ต่างกัน เวลานําไปใช้ก็ใช้ในที่ต่างกัน ดังนั้นจึงต้องพิจารณาใช้คําให้เหมาะสม กล่าวคือ

1 คําที่ใช้ในโอกาสที่เป็นทางการ ได้แก่ คําที่ใช้ในภาษาแบบแผน หรือภาษาเขียนของทางราชการ เช่น เมื่อใด เหตุใด อย่างไร เท่าไร ฯลฯ

2 คําที่ใช้ในโอกาสที่ไม่เป็นทางการ ได้แก่ คําที่ใช้ในภาษาพูด หรือการเขียนจดหมายส่วนตัวถึงบุคคลที่สนิทสนมกัน ซึ่งในบางครั้งก็มักจะตัดคําให้สั้นลง เช่น เมื่อไหร่เท่าไหร่ มหาลัย คณะวิศวะ นายก ฯลฯ

120 การศึกษาลักษณะภาษาไทย เพื่อประโยชน์อย่างไร

(1) สอบได้ตามที่มุ่งหมาย

(2) ความรู้เพิ่มพูนยิ่งขึ้น

(3) เพิ่มประสบการณ์ให้มากขึ้น

(4) ใช้ภาษาได้ถูกต้องและเหมาะสม

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ประโยชน์ในการศึกษาลักษณะภาษาไทย คือ เพื่อให้มีความสามารถในการใช้ภาษาไทยได้ถูกต้องและเหมาะสม เป็นประโยชน์ในการศึกษาและในชีวิตประจําวัน

THA1001 ลักษณะและการใช้ภาษาไทย S/60

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา THA 1001 ลักษณะและการใช้ภาษาไทย

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

ข้อ 1 – 2 ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้แล้วตอบคําถาม

(1) ป้าขนนมข้นหวานลงจากตึก

(2) สาวน้อยตกน้ำหลังจากถูกปาบอล

(3) เขาบอกผมว่า ข้อสอบยากมาก

(4) ต้นไม้ทับชายคาบ้านหนู

 

1 ข้อใดไม่มีคําบอกเพศ

ตอบ 4 หน้า 2, 109 – 110, 112 (56256), 6 – 7, 97 – 98 (H) คํานามในภาษาไทยบางคําก็แสดงเพศได้ชัดเจนในตัวของมันเอง เช่น คําที่บอกเพศชาย ได้แก่ พ่อ พระ เณร ทิด เขย ชาย หนุ่ม บ่าว ปู่ ตา ผม นาย ลุง ฯลฯ และคําที่บอกเพศหญิง ได้แก่ แม่ ชี สะใภ้ หญิง สาว นาง ป้า ย่า ยาย ดิฉัน ฯลฯ แต่คําบางคําที่เป็นคํารวมทั้งสองเพศ เช่น พี่ น้อง เด็ก น้า อา ลูก หลาน เพื่อน ฯลฯ หากเราต้องการแสดงเพศให้ชัดเจนตามแบบภาษาคําโดดจะต้องใช้คําที่บ่งเพศมาประกอบเข้าข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง หรือประสมกันตามแบบคําประสมบ้าง เช่น พี่สาว น้องชาย เด็กสาว น้าชาย อาหญิง ลูกชาย หลานสาว เพื่อนหญิง เพื่อนชาย ฯลฯ

2 ข้อใดสะท้อนลักษณะของภาษาไทยที่มีระบบเสียงสูงต่ำ

ตอบ 1 หน้า 2, 33 – 37 (56256), 10, 55 – 60 (H) ระบบเสียงสูงต่ำ (เสียงวรรณยุกต์) ในภาษาไทยคือ การกําหนดเสียงสูงต่ำไว้ตายตัวในคําแต่ละคํา เพื่อต้องการแยกความหมาย โดยให้เสียงหนึ่ง มีความหมายอย่างหนึ่ง หากเปลี่ยนเสียงความหมายก็ย่อมเปลี่ยนไปด้วย เช่น ขน (เสียงจัตวา) = เอาสิ่งของจํานวนมากจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง, ข้น (เสียงโท) = ลักษณะของเหลวที่มีการรวมตัวกันแน่นเข้า ไม่ใส เป็นต้น

3 ข้อใดสะท้อนลักษณะของภาษาไทยที่เป็นคําโดดทุกคํา

(1) โต๊ะจีนต้องมีหูฉลามนะ

(2) ของคาวหวานอยู่ในตู้กับข้าว

(3) แดงห้อยพระไว้ที่คอทุกครั้ง

(4) ปลาดุกฟูขายมากในร้านอาหาร

ตอบ 3 หน้า 2, 5 – 6 (56256), 2 – 3 (H), (คําบรรยาย) ลักษณะของภาษาไทยที่เป็นคําโดด มีดังนี้

1 คําแต่ละคําต้องออกเสียงพยางค์เดียว และอาจเป็นคําควบกล้ำก็ได้

2 ต้องเป็นภาษาไทยเท่านั้น ไม่ใช่คํายืมจากภาษาอื่น

3 มีตัวสะกดตรงตามมาตรา

4 มีระบบวรรณยุกต์ ฯลฯ

(ส่วนตัวเลือกข้ออื่นมีคําที่ไม่ได้ออกเสียงพยางค์เดียว = ฉลาม, ตู้กับข้าว และมีตัวสะกดที่ไม่ตรงตามมาตรา = อาหาร)

4 ข้อใดมีอัตราเสียงสั้นยาวที่เหมือนกับคําว่า “บางกะปิ”

(1) คนบ้านนอก

(2) วิทยุ

(3) ถมทะเล

(4) รูปธรรม

ตอบ 4 หน้า 15 – 16, 40 – 12, 90 91 (56256), 33 – 34, 60 – 61, 80 81 (H) อัตราในการออกเสียงสั้นยาวตามภาษาพูดมาตรฐานจะใช้มาตราวัดความยาวของเสียง คือ สระเสียงสั้นจะออกเสียง 1 มาตรา สระเสียงยาวออกเสียง 2 มาตรา นอกจากนี้ถ้าเป็นคําหลายพยางค์หรือ คําประสม มักจะลงเสียงเน้นที่พยางค์ท้าย (ออกเสียงยาว 2 มาตรา) ส่วนคําที่ไม่ได้ลงเสียงเน้น ก็มักจะสั้นลง (ออกเสียงสั้น 1 มาตรา) หากเป็นคําเดี่ยวที่มีจังหวะเว้นระหว่างคํา น้ำหนักเสียง จะเสมอกัน เช่น คําว่า “บางกะปิ” กับ “รูปธรรม” มีอัตราเสียงสั้นยาวที่เหมือนกัน คือ เป็นคํา หลายพยางค์จึงลงเสียงเน้นที่พยางค์ท้ายออกเสียง 2 มาตรา ส่วนพยางค์แรกเป็นสระเสียงยาวออกเสียง 2 มาตรา และพยางค์กลางเป็นสระเสียงสั้นออกเสียง 1 มาตรา

5 ข้อใดเป็นสระเดี่ยว

(1) ข้าว

(2) ใกล้

(3) แทรก

(4) เชื่อม

ตอบ 3 หน้า 8, 13 – 14 (56256), 17, 24 – 30 (H) เสียงสระในภาษาไทย แบ่งออกได้ดังนี้

1 สระเดี่ยว 18 เสียง แบ่งเป็นเสียงสั้น 9 เสียง ได้แก่ อะ อิ อึ อุ เอะ แอะ เออะ โอะ เอาะและเสียงยาว 9 เสียง ได้แก่ อา อี อือ อู เอ แอ เออ โอ ออ

2 สระผสม 10 เสียง แบ่งเป็นเสียงสั้น 5 เสียง ได้แก่ เอียะ เอือะ อัวะ เอา ไอและเสียงยาว 5 เสียง ได้แก่ เอีย เอือ อัว อาว อาย (ยกเว้นคําใดที่ลงท้ายด้วย ย/ว ซึ่งเป็นพยัญชนะกึ่งสระ อาจเป็นได้ทั้งตัวสะกด ย/ว หรือเป็นสระผสม 2 เสียง หรือ 3 เสียงก็ได้)

6 ข้อใดเป็นสระเดี่ยวเสียงสั้น

(1) พฤกษ์

(2) เปิด

(3) ฤกษ์

(4) น้า

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 5 ประกอบ

7 “เธอควรทําข้อสอบอย่างตั้งใจ” จากข้อความมีสระเดี่ยวกี่เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ) (1) 3 เสียง

(2) 4 เสียง

(3) 5 เสียง

(4) 6 เสียง

ตอบ 2 (ดูคําอธิบายข้อ 5 ประกอบ) ข้อความข้างต้นมีสระเดี่ยว 4 เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ) ได้แก่

1 สระเออ = เธอ

2 สระอะ = ทํา/ตั้ง

3 สระออ = ข้อ/สอบ

4 สระอา = อย่าง

8 ข้อใดไม่ใช่สระหลัง

(1) อบ

(2) ชุ่ม

(3) เพลิน

(4) คอย

ตอบ 3 หน้า 9 – 10 (56256), 18 – 19 (H) สระเดี่ยวที่จําแนกตามส่วนต่าง ๆ ของลิ้นที่ทําหน้าที่ซึ่งจะต้องมีสภาพของริมฝีปากประกอบด้วย แบ่งออกได้ดังนี้

1 สระกลาง ได้แก่ อา อือ เออ อะ อึ เออะ

2 สระหน้า ได้แก่ อี เอ แอ อิ เอะ แอะ

3 สระหลัง ได้แก่ อู โอ ออ อุ โอะ เอาะ

9 ข้อใดเป็นสระผสม 2 เสียงทุกคํา

(1) เช็ค เงิน

(2) เผย ตัว

(3) แก้ว เล็ก

(4) เที่ยว ด้วย

ตอบ 2 หน้า 12, 14 (56256), 23 – 24, 27 (H) คําว่า “เผย” และ “ตัว” ลงท้ายด้วย ย/ว ซึ่งเป็นพยัญชนะถึงสระ จึงอาจพิจารณาได้ดังนี้

1 เผย อาจเป็นตัวสะกด ย เช่น เออ + ย หรือเป็นสระผสม 2 เสียงก็ได้ เช่น เออ + อี = เอย

2 ตัว อาจเป็นตัวสะกด ว เช่น อัว +ว หรือเป็นสระผสม 2 เสียงก็ได้ เช่น อู + อา = อัว

10 ข้อใดมีเสียงสระอะ

(1) ไทย

(2) กลอน

(3) เลี้ยว

(4) เมือก

ตอบ 1 หน้า 14 (56256), 24, 27 (H) คําว่า “ไทย” ลงท้ายด้วย ย ซึ่งเป็นพยัญชนะกึ่งสระ จึงอาจพิจารณาได้ 2 ลักษณะ คือ อาจเป็นตัวสะกด ย เช่น อะ + ย หรือเป็นสระผสม 2 เสียงก็ได้ เช่น อะ + อิ = ไอ

11 ข้อใดเป็นสระผสม 3 เสียง

(1) โอ๊ย

(2) ร้าย

(3) จอย

(4) ป่วย

ตอบ 4 หน้า 14 (56256), 24, 30 (H) คําว่า “ป่วย” ลงท้ายด้วย ย ซึ่งเป็นพยัญชนะกึ่งสระ จึงอาจพิจารณาได้ 2 ลักษณะ คือ อาจเป็นตัวสะกด ย เช่น อัว + ย หรือเป็นสระผสม 3 เสียงก็ได้เช่น อู + อา + อี = อวย (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นสระผสม 2 เสียง)

12 “แสงชาวบ้านดอนเลือกเข้าเรียนคณะมนุษย์” จากข้อความไม่ปรากฏสระผสมเสียงใด

(1) อา + อู

(2) อือ + อา

(3) อิ + อะ

(4) อะ + อุ

ตอบ 3 หน้า 11 – 14 (56255), 21, 23 – 24 (H), (ดูคําอธิบายข้อ 5 ประกอบ) ข้อความข้างต้นปรากฏสระผสม 2 เสียง ดังต่อไปนี้

1 อา + ว (อา + อู) : อาว เช่น ชาว

2 อือ + อา = เอือ เช่น เลือก

3 อะ + ว (อะ + อุ) = เอา เช่น เข้า

4 อี + อา = เอีย เช่น เรียน

13 ข้อใดเป็นพยัญชนะเสียงหนัก

(1) เสียด

(2) แหก

(3) เปียก

(4) โอ่ง

ตอบ 2 หน้า 19 – 21 (56255), 39 – 43 (H), (คําบรรยาย) พยัญชนะต้นที่จําแนกตามรูปลักษณะ ของเสียง แบ่งออกได้ดังนี้

1 พยัญชนะระเบิด หรือพยัญชนะกัก ได้แก่ ก ค (ข ฆ) จ ด (ฎ) ต (ฏ) ท (ถ ฐ ฑ ฒ ธ) บ ป พ (ผ ภ) อ

2 พยัญชนะนาสิก ได้แก่ ง น (ณ) ม

3 พยัญชนะเสียดแทรก ได้แก่ ส (ซ ศ ษ) ฟ (ฝ)

4 พยัญชนะกึ่งเสียดแทรก ได้แก่ ช (ฉ ณ)

5 พยัญชนะกึ่งสระ ได้แก่ ย ว

6 พยัญชนะเหลว ได้แก่ รล

7 พยัญชนะเสียงหนัก ได้แก่ ห (ฮ) รวมทั้งพยัญชนะที่มีเสียง ห ผสมอยู่ด้วย ได้แก่ ค (ข) ช (ฉ) ท (ถ) พ (ผ)

14 ข้อใดไม่ใช่พยัญชนะเหลวทุกคํา

(1) ตอบรับ

(2) ลองมุข

(3) ไม่เรียบ

(4) ยากมาก

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 13 ประกอบ

15 ข้อใดเป็นพยัญชนะเกิดที่ฐานเพดานอ่อนทุกคํา

(1) เขาฆ่าคนโง่ก่อน

(2) ยายซื้อเสื้อเชิ้ต

(3) เต่านอนที่ท่าน้ำ

(4) แมวว่าฟ้าผอมไป

ตอบ 1 หน้า 17 – 18 (56256), 37 – 38 (H) พยัญชนะต้นที่จําแนกตามฐานกรณ์(ที่เกิดหรือที่ตั้งของเสียง) สามารถแบ่งออกได้ดังต่อไปนี้

1 ฐานคอ (คอหอย) มี 2 เสียง คือ ห (ฮ) อ

2 ฐานเพดานอ่อน มี 3 เสียง คือ ก ค (ข ฆ) ง

3 ฐานเพดานแข็ง มี 5 เสียง คือ จ ช (ฉ ฌ) ส (ซ ศ ษ) ย (ญ) ร

4 ฐานฟัน มี 5 เสียง คือ ด (ฎ) ต (ฏ) ท (ถ ฐ ฑ ฒ ธ) น (ณ) ล (ฬ)

5 ฐานริมฝีปาก ได้แก่ ริมฝีปากบนกับล่างประกบกัน มี 5 เสียง คือ บ ป พ (ผ ภ) ม  ว และริมฝีปากล่างประกบกับฟันบน มี 1 เสียง คือ ฟ (ฝ)

ข้อ 16 – 17 จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคําถาม

“ขนมโก๋ของสหกรณ์บ้านสร้างออกอากาศขายผ่านวิทยุชุมชนทุกวัน”

16 จากข้อความไม่ปรากฏพยัญชนะคู่ลักษณะใด

(1) นํากันมา

(2) เคียงกันมา

(3) ควบกันมา

(4) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 21 – 26 (56256), 44 – 49 (H) พยัญชนะคู่ คือ พยัญชนะต้นที่มาด้วยกัน 2 เสียงซึ่งจะมีอยู่ 3 ลักษณะดังนี้

1 เคียงกันมา (เรียงพยางค์) คือ แต่ละเสียงจะออกเสียงเต็มเสียง และไม่มีความสัมพันธ์ เกี่ยวข้องกัน เช่น สหกรณ์ (สะหะกอน), วิทยุ (วิดทะยุ), พรรณนา (พันนะนา), นพเก้า (นบพะเก้า), ซอมซ่อ (ซอมมะซ่อ), ฉบับพิมพ์ (ฉะบับพิม) เป็นต้น

2 นํากันมา (อักษรนํา) คือ พยัญชนะตัวหน้ามีอํานาจเหนือพยัญชนะตัวหลัง โดยพยัญชนะตัวหน้าออกเสียงเพียงครึ่งเสียง และพยัญชนะตัวหลังก็เปลี่ยนเสียงตาม ซึ่งจะออกเสียง เหมือนกับเสียงที่มี ห นํา เช่น ขนม (ขะหนม), ไถล (ถะไหล), ปลัด (ปะหลัด), ฉนวน (ฉะหนวน) เป็นต้น

3 ควบกันมา (อักษรควบ) แบ่งออกเป็น อักษรควบกล้ำแท้หรือเสียงกล้ำกันสนิท เช่นเกล้า ตรง, กล้อง, ขว้าง เป็นต้น และอักษรควบกล้ำไม่แท้หรือเสียงกล้ำกันไม่สนิท เช่น สร้าง (ส้าง), แสร้ง (แส้ง), ทรุด (ซุด) เป็นต้น

17 จากข้อความมีพยัญชนะนํากันมากี่คํา

(1) ไม่ปรากฏคํา

(2) 1 คํา

(3) 2 คํา

(4) คํา

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 16 ประกอบ

18 ข้อใดเป็นพยัญชนะเคียงกันมาทุกคํา

(1) สรรพสิ่ง สนอง

(2) นายบ้าน สนมเอก

(3) พรรณนา นพเก้า

(4) วันพุธ เขนย

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 16 ประกอบ

19 ข้อใดเป็นพยัญชนะควบกันมา นํากันมา และเคียงกันมา ตามลําดับ

(1) เกล้า ไถล ซอมซ่อ

(2) จริต สมาน กาฬโรค

(3) เปล่า ขโมย นิติศาสตร์

(4) แคล้ว สภาพ ปฏิทิน

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 16 ประกอบ

20 ข้อใดไม่มีคําที่เป็นอักษรนํา

(1) ปลัดขิก

(2) ขนมปัง

(3) ฉนวนไฟ

(4) ฉบับพิมพ์

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 16 ประกอบ

21 ข้อใดเป็นคําควบกล้ำไม่แท้ทุกคํา

(1) ตรง กล้อง

(2) อย่า ขว้าง

(3) แสร้ง ทรุด

(4) แสลง หลวง

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 16 ประกอบ

22 ข้อใดมีพยัญชนะสะกด 3 เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ)

(1) พระ คุณ เจ้า

(2) ชื่น ชั่ว กัลป์

(3) เด็ก ใจ แข็ง

(4) กา น้ำ เสีย

ตอบ 3 หน้า 27 – 29 (56256), 50 – 53 (H) พยัญชนะสะกดของไทยจะมีเพียง 8 เสียงเท่านั้น คือ

1 แม่กก ได้แก่ ก ข ค ฆ

2 แม่กด ได้แก่ จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส

3 แม่กบ ได้แก่ บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ

4 แม่กน ได้แก่ น ณ ร ล ฬ ญ

5 แม่กง ได้แก่ ง

6 แม่กม ได้แก่ ม

7 แม่เกย ได้แก่ ย

8 แม่เกอว ได้แก่ ว

นอกจากนี้สระอํา (อัม) = แม่กม, สระไอ/ใอ (อัย) = แม่เกย และสระเอา (อาว) = แม่เกอว (คําว่า “เด็ก ใจ แข็ง” มีพยัญชนะสะกด 3 เสียงที่ไม่ซ้ำกัน ได้แก่ แม่กก = เด็ก, แม่เกย = ใจ และแม่กง = แข็ง ส่วนตัวเลือกข้ออื่นมีพยัญชนะสะกดไม่ครบ 3 เสียง)

23 ข้อใดมีพยัญชนะสะกดประเภทนาสิกทุกคํา

(1) ดุจดั่ง

(2) คนช้ำ

(3) แคล้วคลาด

(4) ตอบโจทย์

ตอบ 2 (ดูคําอธิบายข้อ 13 และ 22 ประกอบ) พยัญชนะสะกดหรือพยัญชนะท้ายคําประเภทนาสิก (เสียงออกมาทางจมูก) คือ พยัญชนะสะกดแม่กง กน กม เช่น คําว่า “คนช้ำ” มีพยัญชนะสะกดประเภทนาสิกทุกคํา ได้แก่ แม่กน = คน และแม่กม = ช้ำ

24 “เพราะครูเสียงดังเกินไปจึงทําให้ทุกคนรู้สึกกลัว” จากข้อความมีคําเป็นกี่เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ)

(1) 2 เสียง

(2) 3 เสียง

(3) 4 เสียง

(4) 5 เสียง

ตอบ 4 หน้า 28 (56256), 51 (H), (ดูคําอธิบายข้อ 5 และ 22 ประกอบ)ลักษณะของคําเป็นกับคําตาย มีดังนี้

1 คําเป็น คือ คําที่สะกดด้วยแม่กง กน กม เกย เกอว และคําที่ไม่มีตัวสะกด แต่ใช้สระเสียงยาว รวมทั้งสระอํา ใอ ไอ เอา (เพราะออกเสียงเหมือนมีตัวสะกดเป็นแม่กม เกย เกอว)

2 คําตาย คือ คําที่สะกดด้วยแม่กก กด กบ และคําที่ไม่มีตัวสะกด แต่ใช้สระเสียงสั้น (ข้อความข้างต้นมีคําเป็น 5 เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ) คือ แม่กง = เสียง/ดัง/จึง, แม่กน = เกิน/คน,แม่กม = ทํา, แม่เกย = ไป/ให้ และแม่เกอว = กลัว)

25 “คนคดโกงควรได้รับการประณามจากสังคมเป็นอย่างยิ่ง”

จากข้อความปรากฏคําประเภทใดมากที่สุด (ไม่นับเสียงซ้ำ)

(1) คําตาย เสียงยาว

(2) คําเป็น เสียงยาว

(3) คําตาย เสียงสั้น

(4) คําเป็น เสียงสั้น

ตอบ 4 (ดูคําอธิบายข้อ 5 และ 24 ประกอบ) ข้อความข้างต้นปรากฏคําเป็น เสียงสั้นมากที่สุดจํานวน 4 เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ) ได้แก่

1 แม่กน = คน (สระ โอะ)/เป็น (สระเอะ)

2 แม่กง = สัง (สระอะ)/ยิ่ง (สระอิ)

3 แม่เกย = ได้ (สระไอ)

4 แม่กม – คม (สระโอะ)

26 ข้อใดมีคําเป็น 2 เสียง (ไม่นับเสียงซ้ำ)

(1) พ่อ นัก รบ

(2) ลวก หอย จุ๊บ

(3) ครรภ์ อ่อนเพลีย

(4) ความ ถูก ต้อง

ตอบ 4 (ดูคําอธิบายข้อ 5 และ 24 ประกอบ) คําว่า “ความ ถูก ต้อง” มีคําเป็นจํานวน 2 เสียง(ไม่นับเสียงซ้ำ) ได้แก่

1 แม่กม = ความ

2 แม่กง = ต้อง

27 ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์เอก

(1) ศักดิ์

(2) ภพ

(3) เฒ่า

(4) แท่ง

ตอบ 1 หน้า 33 – 37 (56256), 55 – 60 (H) เสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยมี 5 เสียง 4 รูป ได้แก่ เสียงสามัญ (ไม่มีรูปวรรณยุกต์กํากับ), เสียงเอก , เสียงโท , เสียงตรี  และเสียง จัตวา  ซึ่งในคําบางคํา รูปและเสียงวรรณยุกต์อาจไม่ตรงกัน จึงควรเขียนรูปวรรณยุกต์ให้ ถูกต้อง เช่น คําว่า “ศักดิ์” เป็นพยัญชนะเสียงสูง (ข ฉ ถ ผ ฝ ส ศ ห) ที่มีตัวสะกดเป็นคําตาย (แม่กก) และใช้สระเสียงสั้น (สระอะ) จึงผันได้ 2 เสียง คือ เสียงเอก (ไม่มีรูปวรรณยุกต์) และเสียงโท (ใช้ไม้โท) เป็นต้น ส่วนคําว่า “ภพ เฒ่า แท่ง” = ตรี โท โท)

28 ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์สามัญ เอก ตรี ตามลําดับ

(1) ดํา บอก เก็บ

(2) คง ซัด โป๊ะ

(3) เตรียม ฝัก ถั่ว

(4) นาย ดื่ม น้ำ

ตอบ 4 (ดูคําอธิบายข้อ 27 ประกอบ) คําว่า “นาย ดื่ม น้ำ” มีเสียงวรรณยุกต์สามัญ เอก และตรี ตามลําดับ (ส่วนคําว่า “ดํา บอก เก็บ” = สามัญ เอก เอก, “คง ซัด โป๊ะ” = สามัญ ตรี ตรี,“เตรียม ฝัก ถั่ว” = สามัญ เอก เอก)

29 “เธอต้องเข้าเรียนทุกครั้งเพื่อพัฒนาความเข้าใจ” จากข้อความปรากฎวรรณยุกต์เสียงใดมากที่สุด

(1) เอก

(2) โท

(3) ตรี

(4) สามัญ

ตอบ 4 (ดูคําอธิบายข้อ 27 ประกอบ) ข้อความข้างต้นปรากฏเสียงวรรณยุกต์ ดังนี้ 1 เสียงสามัญ = เธอ/เรียน/นา/ความ/ใจ

2 เสียงโท = ต้อง/เข้า/เพื่อ

3 เสียงตรี = ทุก/ครั้ง/พัฒ

4 เสียงเอก = ฒะ

30 ข้อใดมีวรรณยุกต์ครบ 5 เสียง

(1) ข้อสอบยากรึเปล่าคะ ทุกคน

(2) ทําได้กับได้ทําน่ะมันต่างกัน

(3) เห็นนะว่าแอบดูเพื่อนอยู่

(4) จงอย่าลืมฝนรหัสชัด ๆ

ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 27 ประกอบ) ข้อความ “เห็นนะว่าแอบดูเพื่อนอยู่” มีวรรณยุกต์ครบ 5 เสียง ดังนี้

1 เสียงสามัญ = ดู

2 เสียงเอก = แอบ/อยู่

3 เสียงโท = ว่า/เพื่อน

4 เสียงตรี = นะ

5 เสียงจัตวา = เห็น

31 ข้อใดเป็นความหมายแฝงที่บอกลักษณะต่างจากข้ออื่น

(1) ตะคอก

(2) ตะโกน

(3) ตะเบ็ง

(4) ตะบิดตะบอย

ตอบ 4 หน้า 44, 47 (56256), 62 – 63 (H) ความหมายแฝงบอกอาการที่กระทําอย่างช้า ๆ หรือชักช้า ได้แก่ คําว่า “ตะบิดตะบอย” = ทําให้ชักช้า, “โอ้เอ้” = ชักช้า, เนิบนาบ” = ช้า ฯลฯ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นความหมายแฝงของคํากริยาที่ใช้กับเสียงดัง ได้แก่ คําว่า “ตะคอก” = ขู่ตวาดเสียงดัง, “ตะโกน” = ออกเสียงดังกว่าปกติให้ได้ยิน, “ตะเบ็ง” = กลั้นใจเปล่งเสียงให้ดัง)

32 คําที่ขีดเส้นใต้ในข้อใดเป็นความหมายแฝงเพื่อบอกทิศทาง

(1) นักเลงกรูเข้าไปกระทืบเหยื่อ

(2) ธนเดชผลุนผลันออกไปจากบ้าน

(3) จันทราถอยหลังรับลูกบอล

(4) เข้มวิ่งหนีตํารวจหน้าตลาด

ตอบ 3 หน้า 44 – 46 (56256), 62 (H) ความหมายแฝงบอกทิศทาง ได้แก่

1 ขึ้นบน เช่น ขึ้น ฟู พอง เขย่ง

2 ลงล่าง เช่น ลง ตก ดิ่ง หล่น

3 เข้าใน เช่น เข้า ฉีด อัด ยัด

4 ออกนอก เช่น ออก ขย้อน บ้วน ถ่ม

5 ถอยหลัง เช่น ถอย รุ่น ดึง

6 ก้าวหน้า เช่น ก้าว รุน ดุน ผลัก

7 เข้าใกล้ เช่น กราย เฉียด ประชิด

8 แยกไปคนละทาง เช่น ปะทุ ระเบิด เตลิด

33 ข้อใดมีคําอุปมา

(1) หนุ่มใหญ่ตกเรือกลางทะเล

(2) เพชรในตมเกิดขึ้นในวิชาภาษาไทย

(3) เรือจ้างพบมากในคลองแสนแสบ

(4) แม่พิมพ์ลายกุหลาบสีขาวลงบนผ้า

ตอบ 2 หน้า 48 – 49 (56256), 64 (H) คําอุปมา คือ คําที่ใช้เปรียบเทียบเพื่อพรรณนาบอกลักษณะให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อให้มีความหมายใหม่เกิดขึ้นอีกความหมายหนึ่ง มีอยู่ 2 ประเภท คือ

1 คําอุปมาที่ได้มาจากคําที่มีใช้อยู่แล้ว เช่น ตุ๊กตา (นิ่ง ไม่กระดุกกระดิก), เทวดา/นางฟ้า(ดี สวย), เจว็ด (มีแต่ตําแหน่ง ไม่มีอํานาจ ไม่มีใครนับถือ) ฯลฯ

2 คําอุปมาที่สร้างขึ้นใหม่ ส่วนมากเป็นคําประสม เช่น แมวนอนหวด (ซื่อจนเซ่อ), เพชรในตม (สิ่งมีค่าที่ซ่อนอยู่ แต่คนยังไม่เห็นความสําคัญ) ฯลฯ

34 ข้อใดสะท้อนลักษณะการแยกเสียงแยกความหมายที่พยัญชนะต้นบางเสียงต่างกันชัดเจนที่สุด

(1) นักดําน้ำลึกระดับโลกกําลังสึกออกมา

(2) นายแดงลูกโทนของบ้านชอบโยนลูกบอลขึ้นฟ้า

(3) ชมพู่อยากพบทหารที่รบอยู่ชายแดนมากเหลือเกิน

(4) พอแง้มประตูออกมาก็เห็นมะลิเริ่มแย้มกลีบบาน

ตอบ 4 หน้า 51, 53 – 54 (56256), 65 – 66 (H) การแยกเสียงแยกความหมาย คือ การเปลี่ยนแปลงเสียงในคําบางคําที่มีความหมายหลายอย่างให้แตกต่างกันบ้าง เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนว่าคํานั้น มีความหมายว่าอย่างไรในที่นั้น ๆ โดยความหมายย่อยและที่ใช้อาจจะแตกต่างกัน ได้แก่ คําว่า “แย้ม – แง้ม” (พยัญชนะต้นบางเสียงต่างกัน “เสียง ย กับ ง”) = เปิดแต่น้อย แต่ใช้ต่างกัน คือ แง้มมักใช้กับประตูและหน้าต่าง ส่วนแย้มใช้กับดอกไม้ที่บานแต่น้อย ๆ

35 ข้อใดมีคําประสมน้อยที่สุด

(1) หนุ่มใหญ่ดึงผมหงอกกลางแม่น้ำ

(2) สะพานแขวนสร้างขึ้นมาหลายร้อยปีแล้ว

(3) คนรักของผมเป็นหลานสาวนายพลครับ

(4) การตั้งใจทําความดีมักสร้างความสุขให้แก่ตนเอง

ตอบ 2 หน้า 80 – 89 (56256), 78 – 82 (H) คําประสม คือ คําตั้งแต่ 2 คําขึ้นไปมาประสมเข้าด้วยกันเพื่อให้ได้คําใหม่ที่มีความหมายใหม่มาใช้ในภาษา ซึ่งความหมายสําคัญจะอยู่ที่คําต้น (คําตัวตั้ง) ส่วนที่ตามมาเป็นคําขยาย ซึ่งไม่ใช่คําที่ขยายคําต้นจริง ๆ แต่จะช่วยให้คําทั้งคํามีความหมาย จํากัดเป็นนัยเดียว เช่น หนุ่มใหญ่ ผมหงอก แม่น้ำ สะพานแขวน คนรัก นายพล ตั้งใจ ความดี ความสุข เป็นต้น

36 ข้อใดเป็นคําประสม

(1) บ้านนอก

(2) คอยท่า

(3) แปดเปื้อน

(4) สาปแช่ง

ตอบ 1 หน้า 82 83 (56256), (ดูคําอธิบายข้อ 35 ประกอบ) คําประสมที่ใช้เป็นคํานาม โดยมีคําตัวตั้งเป็นคํานาม และคําขยายเป็นบูรพบท เช่น คําว่า “บ้านนอก” = เขตแดนที่พ้นจากเมืองหลวงออกไป เขตที่อยู่นอกตัวเมืองห่างไกลความเจริญ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นคําซ้อน)

37 “ขนมจันอับซื้อขายกันมากในร้านยาจีนแถวเยาวราช” จากข้อความมีคําประสมกี่คํา

(1) ไม่ปรากฏคํา

(2) 1 คํา

(3) 2 คํา

(4) 3 คํา

ตอบ 3 หน้า 78 – 79 (H), (ดูคําอธิบายข้อ 35 ประกอบ) ข้อความข้างต้นมีคําประสม 2 คํา คือ คําประสมที่ใช้เป็นคํานาม ซึ่งจะใช้เป็นชื่อเรียกสิ่งต่าง ๆ ที่มีความหมายจํากัด โดยมีคําตัวตั้ง เป็นคํานาม และคําขยายเป็นอะไรก็ได้ไม่จํากัด ได้แก่

1 “ขนมจันอับ” = ชื่อขนมหวานอย่างแห้งของจีน

2 “ร้านยาจีน” – ร้านขายยาและสมุนไพรจีน

38 ข้อใดมีคําซ้อน 1 คํา

(1) คัดเลือก ทุบตี

(2) โดดเดี่ยว เร้นลับ

(3) โหดร้าย ผิดถูก

(4) เลวทราม ปรับทุกข์

ตอบ 4 หน้า 62 – 73 (56256), 67 – 74 (H) คําซ้อน คือ คําเดียว 2, 4 หรือ 6 คํา ที่มีความหมายหรือมีเสียงใกล้เคียงกัน หรือเป็นไปในทํานองเดียวกัน ซ้อนเข้าด้วยกันเพื่อทําให้เกิดคําใหม่ ที่มีความหมายใหม่ขึ้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้ 1 คําซ้อนเพื่อความหมาย (มุ่งที่ความหมายเป็นสําคัญ) ซึ่งอาจเป็นคําไทยซ้อนเข้าด้วยกัน เช่น คัดเลือก ทุบตี โดดเดี่ยว เร้นลับ โหดร้าย ผิดถูก เลวทราม ลูกหลาน เนื้อตัว อบรมฯลฯ หรืออาจเป็นคําไทยซ้อนกับคําภาษาอื่น เช่น เงียบสงัด (ไทย + เขมร) ฯลฯ

2 คําซ้อนเพื่อเสียง (มุ่งที่เสียงเป็นสําคัญ) เช่น มอมแมม (สระออ + แอ) ฯลฯ

39 ข้อใดไม่มีคําซ้อนเพื่อความหมาย

(1) ลูกค้าสั่งซื้อปลาร้าผ่านพ่อค้า

(2) ลูกหลานเยี่ยมญาติที่ต่างจังหวัด

(3) เนื้อตัวเขาดูสกปรกมอมแมม

(4) เขาเข้าอบรมเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 38 ประกอบ

40 “ของชําร่วยมีไว้แจกคนที่มาร่วมงานแต่งเท่านั้น” ข้อความนี้มีคําประสมคํา

(1) 0 คํา

(2) 1 คํา

(3) 2 คํา

(4) 3 คํา

ตอบ 3 (ดูคําอธิบายข้อ 35 ประกอบ) ข้อความข้างต้นมีคําประสม 2 คํา ได้แก่

1 “ของชําร่วย” = ของตอบแทนผู้มาช่วยงาน เช่น งานแต่งงาน งานศพ ฯลฯ

2 “งานแต่ง” = งานแต่งงาน ซึ่งเป็นการทําพิธีให้ชายหญิงอยู่กินเป็นผัวเมียตามประเพณี

41 คําในข้อใดเป็นคําอุปสรรคเทียมชนิดเพิ่มเสียงไม่ให้คอนกันทุกคํา

(1) กระโตกกระตาก กระโชกกระชาก กระชุ่มกระชวย

(2) กระดุกกระดิก กระยึกกระยัก กระเสือกกระสน

(3) กระอักกระอ่วน กระอ้อมกระแอ้ม กระชึกกระชัก

(4) กะหลุกกะหลิก กระอิดกระเอื้อน กระดักกระเดี้ย

ตอบ 2 หน้า 95 (56256), 85 (H) อุปสรรคเทียมที่เกิดจากการเพิ่มเสียงเพื่อไม่ให้เสียงคอนกัน คือ การเพิ่มเสียง “กะ” (ปัจจุบันใช้ “กระ”) เข้าไป 2 เสียงในคําซ้อนเพื่อเสียงที่หน้าพยางค์ต้น และหน้าพยางค์ท้าย ซึ่งมีเสียงเสมอกันและเป็นคําที่สะกดด้วย “ก” เหมือนกัน ได้แก่

1 ดุกดิก – กระดุกกระดิก

2 ยึกยัก – กระฝึกกระยัก

3 เสือกสน – กระเสือกกระสน

4 โตกตาก – กระโตกกระตาก

5 โชกชาก – กระโชกกระชาก

6 อักอ่วน – กระอักกระอ่วน

7 ชึกชัก – กระชึกกระชัก

8 หลุกหลิก – กะหลุกกะหลิก

9 ดักเดี้ย – กระดักกระเดี้ย

10 โดกเดก – กระโดกกระเดก ฯลฯ

42 คําในข้อใดเป็นคําอุปสรรคเทียมชนิดเลียนแบบภาษาเขมรทั้ง 2 คํา

(1) ระคาย ปราบ

(2) ระย่อ สะใภ้

(3) ละเลาะ ฉะเฉื่อย

(4) ชีปะขาว นกกระจอก

ตอบ 1 หน้า 96 – 98 (56255), 86 – 87 (H) อุปสรรคเทียมเลียนแบบภาษาเขมร เป็นวิธีการแผลงคําของเขมรที่ใช้นําหน้าคําเพื่อประโยชน์ทางไวยากรณ์ ได้แก่

1 “ชะ/ระ/ปะ/ประ/พะ/สม/สะ” เช่น ชะดีชะร้าย, ระคน, ระคาย, ระย่อ, ปะปน, ประเดี๋ยว,  ปะติดปะต่อ, ประท้วง, ประหวั่น, พะรุงพะรัง, พะเยิบ, สมรู้, สมยอม, สมสู่, สะสาง, สะพรั่ง,สะสวย, สะพรึบ ฯลฯ

2 ใช้ “ข ค ป ผ พ” มานําหน้าคํานามและกริยาวิเศษณ์ เพื่อให้มีความหมายเป็นการีต แปลว่า “ทําให้” เช่น ขยุกขยิก, ขยิบ, ขยี้, ขยํา, ปลุกปลง, ปลด, ปละ, ปราบ, ผละ, พร่ำ ฯลฯ

43 “น้องโบว์เดินกระต้วมกระเตี้ยมจนหกกะล้ม” ประโยคนี้มีคําอุปสรรคเทียมชนิดใด

(1) กร่อนเสียงและแบ่งคําผิด

(2) เทียบแนวเทียบผิดและแบ่งคําผิด

(3) เพิ่มเสียงไม่ให้คอนกันและกร่อนเสียง

(4) เทียบแนวเทียบผิดและเพิ่มเสียงไม่ให้คอนกัน

ตอบ 2 หน้า 94 – 96 (56255), 84 – 86 (H) ประโยคข้างต้นมีคําอุปสรรคเทียม ดังนี้

1 อุปสรรคเทียมที่เกิดจากการเทียบแนวเทียบผิด คือ การเพิ่มเสียง “กะ” (ปัจจุบันใช้ “กระ”) เข้าไปในคําซ้อนเพื่อเสียงทั้งที่พยางค์ต้นและพยางค์ท้ายไม่ได้สะกดด้วย “ก” ซึ่งยึดการใช้อุปสรรคเทียมที่เพิ่มเสียงไม่ให้เสียงคอนกันมาเป็นแนวเทียบ แต่เป็นการเทียบแนวเทียบผิด เช่น ต้วมเตี้ยม + กระต้วมกระเตี้ยม

2 อุปสรรคเทียมที่เกิดจากการแบ่งคําผิด จะเกิดจากการพูดเพื่อให้เสียงต่อเนื่องกัน โดยการเพิ่มเสียง “กะ” (ปัจจุบันใช้ “กระ”) เข้าไป 1 เสียงในคําที่พยางค์แรกสะกดด้วยเสียง “ก” เช่น หกล้ม + หกกะล้ม

44 คําในข้อใดเป็นอุปสรรคเทียมชนิดกร่อนเสียงทุกคํา

(1) ตะวัน ตะไคร้ ระย่อ

(2) ฉะฉาด ชะพลู สะพรั่ง

(3) ตะขาบ ละลิบ ฉะนี้

(4) มะรืน ระรื่น ระคาย

ตอบ 3 หน้า 93 – 95 (56256), 83 – 84 (H) อุปสรรคเทียมที่เกิดจากการกร่อนเสียง เป็นคําที่กร่อนเสียงพยางค์ต้นให้เป็นเสียง “อะ” ได้แก่

1 “มะ” ที่นําหน้าชื่อไม้ผล ไม่ใช่ไม้ผล และหน้าคําบอกกําหนดวัน เช่น หมากม่วง – มะม่วง, -หมากนาว – มะนาว, หมากพร้าว – มะพร้าว, เมื่อรืน – มะรืน

2 “ตะ” นําหน้าชื่อสัตว์ ต้นไม้ และคําที่มีลักษณะคล้ายตา เช่น ตัวขาบ + ตะขาบ,ตาวัน – ตะวัน, ต้นไคร้ – ตะไคร้, ตัวโขง – ตะโขง, ตัวปลิง – ตะปลิง

3 “สะ” เช่น สายดือ – สะดือ, สาวใภ้ – สะใภ้, สายดึง – สะดึง

4 “ฉะ” เช่น ฉันนั้น – ฉะนั้น, ฉันนี้ – ฉะนี้, เฉื่อย ๆ – ฉะเฉื่อย, ฉาด ๆ – ฉะฉาด

5 “ยะ/ระ/ละ” เช่น ยิบ ๆ ยับ ๆ + ยะยิบยะยับ, รื่น ๆ – ระรื่น, ลิบ ๆ – ละลิบ

6 “อะ” เช่น อันไร/อันใด – อะไร, อันหนึ่ง – อนึ่ง

สําหรับคําอื่น ๆ ที่ไม่ได้เป็นไปตามนี้ ได้แก่ ผู้ญาณ – พยาน, ชาตา – ชะตา, ช้าพลู -ชะพลู, เฌอเอม – ชะเอม, ชีผ้าขาว – ชีปะขาว เป็นต้น

ส่วนตัวเลือกข้ออื่นมีคําอุปสรรคเทียมที่ เลียนแบบภาษาเขมร ได้แก่ ระย่อ สะพรั่ง ระคาย) (ดูคําอธิบายข้อ 42 ประกอบ)

45 ข้อใดเป็นประโยคบอกเล่า

(1) ไปได้แล้ว

(2) ไปแล้วจ้า

(3) ไปไหนมาจ๊ะ

(4) ไปด้วยกันหน่อยนะ

ตอบ 2 หน้า 103 104 (56256), 90 – 91, 93 – 94 (H) ประโยคบอกเล่า คือ ประโยคที่บอกเล่าเรื่องราวตามธรรมดา อาจใช้ในทางตอบรับหรือตอบปฏิเสธก็ได้ เช่น ไปแล้วจ้า, ไม่ได้ไปค่ะ ฯลฯ แต่บางครั้งประโยคที่มีคําแสดงคําถามว่า “ใคร/อะไร/ที่ไหน/เมื่อไหร่/อย่างไร” อาจใช้ ในประโยคบอกเล่าได้ หากไม่ได้แสดงความสงสัยหรือไม่ต้องการคําตอบ แต่จะเป็นการกล่าวถึงสิ่งต่าง ๆ โดยทั่วไป ไม่เฉพาะเจาะจง เช่น ไปไหนก็ไป ฯลฯ

46 ข้อใดเป็นประโยคคําสั่ง

(1) ยารักษาแผลสด

(2) โปรดดูคําเตือนบนฉลากก่อนใช้ยา

(3) ยาใช้สําหรับภายนอก ห้ามรับประทาน

(4) ยานี้อาจทําให้ง่วงซึม ควรงดขับขี่ยวดยาน

ตอบ 3 หน้า 102 (56256), 91 – 92 (H) ประโยคคําสั่ง คือ ประโยคที่ต้องการให้ผู้ฟังทําตามคําสั่ง มักละประธานและขึ้นต้นด้วยคํากริยา เช่น ไปได้แล้ว แต่ถ้าหากจะมีประธานก็จะระบุชื่อหรือ เน้นตัวบุคคลเพื่อให้คนที่ถูกสั่งรู้ตัว เช่น แดงออกไป นอกจากนี้ประโยคคําสั่งอาจมีกริยาช่วย “อย่า/ห้าม/จง/ต้อง” เพื่อสั่งให้ทําหรือไม่ให้ทําก็ได้ เช่น ห้ามรับประทาน เป็นต้น

47 ข้อใดไม่ใช่ประโยคคําถาม

(1) ไปไหนดี

(2) ไปไหนมา

(3) ไปไหนก็ไป

(4) ไปไหนล่ะ

ตอบ 3 หน้า 102 103 (56256), 93 – 94 (H), (ดูคําอธิบายข้อ 45ประกอบ) ประโยคคําถามคือ ประโยคที่ต้องการคําตอบ อาจมีคําแสดงคําถาม ได้แก่ ใคร อะไร ที่ไหน ทําไม เมื่อไร อย่างไร หรือ หรือเปล่า หรือไม่ ไหม บ้าง ฯลฯ เช่น ไปไหนดี, ไปไหนมา, ไปไหนล่ะ เป็นต้น

48 ประโยคในข้อใดไม่มีกรรม

(1) ลูกค้าสอบถามวิธีการใช้สินค้า

(2) พนักงานต้อนรับลูกค้าอย่างสุภาพ

(3) เจ้าหน้าที่บริการประชาชนอย่างรวดเร็ว

(4) ประชาชนชื่นชอบเจ้าหน้าที่ในการให้บริการ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) โครงสร้างประโยคในภาษาไทย แบ่งออกเป็น

1 ประโยค 2 ส่วน คือ ประธาน + กริยา (จะมีคําขยายหรือไม่มีก็ได้) เช่น ลูกค้าสอบถามวิธีการใช้สินค้า, เด็ก ๆ เล่นซุกซน, ชายสูงอายุเดินอย่างเชื่องช้า, หญิงสาวยิ้มอย่างมีเลศนัย ฯลฯ

2 ประโยค 3 ส่วน คือ ประธาน + กริยา + กรรม (จะมีคําขยายหรือไม่มีก็ได้) เช่น พนักงานต้อนรับลูกค้าอย่างสุภาพ, เจ้าหน้าที่บริการประชาชนอย่างรวดเร็ว, ประชาชนชื่นชอบเจ้าหน้าที่ในการให้บริการ, ชายหนุ่มมองหญิงสาวอย่างมีไมตรี ฯลฯ

49 ประโยคในข้อใดไม่มีส่วนขยายกริยา

(1) สมศรีร้องเพลงเพราะ

(2) สมบัติชอบเล่นกีต้าร์

(3) สมชายสีไวโอลิน

(4) สมหวังยืนเดียวดาย

ตอบ 3 หน้า 105 106 (56.256), 96 (H) ส่วนขยายกริยา เรียกว่า กริยาวิเศษณ์ อาจมีตําแหน่งอยู่หน้าคํากริยาหรืออยู่หลังคํากริยาก็ได้ เช่น สมศรีร้องเพลงเพราะ (ขยายกริยา “ร้อง”), สมบัติชอบเล่นกีต้าร์ (ขยายกริยา “เล่น”), สมหวังยืนเดียวดาย (ขยายกริยา “ยืน”) ฯลฯ (ส่วนประโยค “สมชายสีไวโอลิน” ประกอบด้วย ประธาน + กริยา + กรรม)

50 ประโยคในข้อใดมีกรรมของประโยค

(1) เด็ก ๆ เล่นซุกซน

(2) ชายสูงอายุเดินอย่างเชื่องช้า

(3) หญิงสาวยิ้มอย่างมีเลศนัย

(4) ชายหนุ่มมองหญิงสาวอย่างมีไมตรี

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 48 ประกอบ

51 คํานามในข้อใดแสดงเพศเดียวกันชัดเจนทั้งสองคํา

(1) พ่อโทรศัพท์ไปหาผู้ใหญ่บ้าน

(2) ผู้จัดการบริษัทเดินทางไปพบ ร.อ.วิชัย

(3) เจ้าหน้าที่สอบถามข้อมูลจากป้า

(4) ร.ต.อ.วิทยาได้รับโทรศัพท์จากชายลึกลับ

ตอบ 4 (ดูคําอธิบายข้อ 1 ประกอบ) คํานามในตัวเลือกข้อ 4 แสดงเพศเดียวกัน (เพศชาย) ชัดเจนทั้ง 2 คํา ได้แก่

1 ร.ต.อ.วิทยา = ร้อยตํารวจเอก ซึ่งเป็นยศของตํารวจ

2 ชาย

52 ข้อใดมีคํานาม

(1) หวานอมขมกลืน

(2) หยิกแกมหยอก

(3) หยิกเล็บเจ็บเนื้อ

(4) หลงใหลได้ปลื้ม

ตอบ 3 หน้า 108 (56256), 97 (H) คํานาม คือ คําที่ใช้เรียกชื่อสิ่งต่าง ๆ ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตทั้งที่เป็นรูปธรรมและเป็นนามธรรม ทั้งชื่อเฉพาะเจาะจงและไม่เฉพาะเจาะจง เช่น คน หมู หมา โต๊ะ เก้าอี้ ฯลฯ บางทีคํานามนั้นก็ใช้เป็นสํานวนได้ เช่น หยิกเล็บเจ็บเนื้อ (มีคํานาม “เล็บ/เนื้อ”) เป็นต้น

53 ข้อใดเป็นคําสรรพนามไม่จําเพาะเจาะจง

(1) เขาเปลี่ยนไปเพราะอะไร

(2) อย่างไรก็ตามเราควรเชื่อใจกัน

(3) ไปเที่ยวไหนมา

(4) กลับมาเมื่อไหร่แน่

ตอบ 2 หน้า 111, 116 – 118 (56256), 99 (H) สรรพนามที่บอกความไม่เฉพาะเจาะจง ได้แก่“ใคร อะไร ใด ไหน” ซึ่งเป็นคํากลุ่มเดียวกันกับสรรพนามที่บอกคําถาม แต่สรรพนามที่บอก ความไม่เฉพาะเจาะจงจะกล่าวถึงบุคคล สิ่งของ หรือสถานที่แบบลอย ๆ ไม่ชี้เฉพาะเจาะจงว่า เป็นใคร อะไรหรือที่ไหน และไม่ได้เป็นการถาม เช่น อย่างไรก็ตามเราควรเชื่อใจกัน อย่างไร = อย่างใด อย่างไหน) ฯลฯ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นสรรพนามที่บอกคําถาม)

54 ข้อใดไม่ใช่สรรพนามบอกความแบ่งแยกเป็นส่วน ๆ

(1) มาด้วยกันไปด้วยกัน

(2) คนนี้ชอบร้อง คนนั้นชอบเต้น

(3) บ้างยืนบ้างนั่ง

(4) ต่างคนต่างก้มหน้าก้มตากิน

ตอบ 2 หน้า 111, 118 – 119 (56256), 99 – 100 (H) สรรพนามที่บอกความแบ่งแยกเป็นส่วน ๆได้แก่ คําว่า “ต่าง” (ใช้แทนผู้ทําหลายคนทํากริยาเดียวกัน แต่ไม่ได้ทําพร้อมกัน เช่น ต่างคน ต่างก้มหน้าก้มตากิน), “บ้าง” (ใช้แทนผู้ทําหลายคนแยกกันทํากริยาคนละอย่าง เช่น บ้างยืน บ้างนั่ง), “กัน” (ใช้แทนนามที่ต่างก็ทํากริยาเดียวกัน เกี่ยวข้องกัน เช่น มาด้วยกันไปด้วยกัน)

55 ข้อใดไม่ใช่คําสรรพนามบุรุษที่ 2

(1) คุณสมชายลาป่วยครับ

(2) คุณสมบัติจะรับประทานอะไรดี

(3) คุณสมศรีมีอะไรให้ผมช่วยบ้างครับ

(4) คุณสมรขับรถตรงไปอีก 100 เมตร ครับ

ตอบ 1 หน้า 112 – 113 (56256), 99 (H) สรรพนามบุรุษที่ 2 คือ คําที่ใช้แทนตัวผู้ที่พูดด้วย เช่น คุณ เธอ ท่าน เรา เจ้า แก เอ็ง ถึง ฯลฯ นอกจากนี้ยังอาจใช้คํานามอื่น ๆ แทนตัวผู้ที่พูดด้วย เพื่อแสดงความสนิทสนมรักใคร่ ได้แก่

1 ใช้ตําแหน่งเครือญาติแทน เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง ลูก ตา ยาย ฯลฯ

2 ใช้ตําแหน่งหน้าที่แทน เช่น ครู อาจารย์ หัวหน้า ฯลฯ

3 ใช้เรียกบรรดาศักดิ์แทน เช่น ท่านขุน คุณหลวง เจ้าคุณ คุณหญิง ฯลฯ

4 ใช้ชื่อผู้พูดทั้งชื่อเล่นชื่อจริงแทน เช่น คุณสมบัติ คุณสมศรี คุณสมร นุช แดง ฯลฯ

(ส่วนตัวเลือกข้อ 1 คําว่า “คุณสมชาย” เป็นสรรพนามบุรุษที่ 3 ใช้แทนผู้ที่พูดถึง)

56 ข้อใดเป็นคํากริยาที่มีกรรมมารับ

(1) คนเดินเร็ว

(2) คนพูดเสียงดัง

(3) คนวิ่งเป็นกลุ่ม ๆ

(4) คนขี่จักรยานแข่งกัน

ตอบ 4 หน้า 105 (56256), 95 (H) ภาคแสดงหรือกริยา เป็นส่วนที่แสดงกิริยาอาการหรือการกระทําของภาคประธาน ซึ่งตามธรรมดาจะมีตําแหน่งอยู่หลังประธาน และอยู่หน้ากรรม เช่น คนขี่ จักรยานแข่งกัน (กริยาที่มีกรรมมารับ) ฯลฯ แต่กริยานั้นจะไม่มีกรรมก็ได้ เช่น คนเดินเร็ว/คนพูดเสียงดัง/คนวิ่งเป็นกลุ่ม ๆ (มีเฉพาะกริยา + ส่วนขยายกริยา โดยไม่มีกรรม) ฯลฯ

57 คําว่า “ได้” ในข้อใดเป็นคํากริยาแท้

(1) เขาดีใจที่ได้พบเธอ

(2) เขาได้ซื้อหนังสือให้เธอ

(3) ไม่มีอะไรที่ได้มาง่าย

(4) เขาภูมิใจที่ได้ทําความดี

ตอบ 3 หน้า 121 – 123 (56256), 100 101 (H) คําว่า “ได้” เป็นทั้งคํากริยาแท้และคํากริยาช่วย ถ้าเป็นกริยาแท้จะออกเสียงชัดเต็มที่และหมายถึง ได้รับ ได้สิ่งใดสิ่งหนึ่งมา เช่น ไม่มีอะไรที่ได้ มาง่าย ฯลฯ แต่ถ้าเป็นกริยาช่วยจะบอกอดีต เสียงจะเบาและสั้นกว่า เช่น เขาดีใจที่ได้พบเธอเขาได้ซื้อหนังสือให้เธอ, เขาภูมิใจที่ได้ทําความดี ฯลฯ

58 คําข้อใดมีคํากริยาแสดงความเป็นการีต

(1) ฉันจะไปตลาด

(2) ฉันจะกินขนมหวาน

(3) ฉันจะอ่านหนังสือ

(4) ฉันจะไปทําผม

ตอบ 4 หน้า 128 (56256), (คําบรรยาย) คํากริยาธรรมดาที่มีความหมายเป็นการีต (ทําให้) เป็นคําที่กําหนดขึ้นเป็นพิเศษ และมีความหมายเฉพาะเป็นที่รู้กัน ซึ่งดูเหมือนว่าประธานเป็นผู้กระทํากริยานั้นเอง แต่ที่จริงแล้วประธานเป็นผู้ถูกกระทํา เช่น ไปดูหมอ (ที่จริงคือ ให้หมอดูโชคชะตา ให้ตน), ไปตรวจโรค (ที่จริงคือ ให้หมอยาตรวจโรคให้ตน), ไปตัดเสื้อทําผม (ที่จริงคือ ให้ช่างตัดเสื้อและทําผมให้ตน), ไปทําฟัน (ที่จริงคือ ให้หมอฟันทําฟันให้ตน) ฯลฯ

59 “ต้นเหตุแห่งความทุกข์ของคนเรา ล้วนมีที่มาจากตัวเองทั้งสิ้น” คําที่ขีดเส้นใต้เป็นคําคุณศัพท์ชนิดใด

(1) บอกจํานวนนับไม่ได้

(2) บอกความแบ่งแยก

(3) บอกจํานวนนับได้

(4) บอกความไม่ชี้เฉพาะเจาะจง

ตอบ 1 หน้า 132 133 (56256), 102 (H) คําคุณศัพท์บอกจํานวนนับไม่ได้ (ประมาณคุณศัพท์)หรือคําคุณศัพท์บอกจํานวนประมาณ ได้แก่ มาก น้อย นิด หน่อย ครบ พอ เกิน เหลือ ขาด ถ้วน ครบถ้วน หมด หลาย ทั้งหลาย ทั้งหมด ทั้งสิ้น ทั้งนั้น ทั้ง ฯลฯ

60 ข้อใดเป็นคํากริยาวิเศษณ์บอกประมาณ

(1) คิดถึงเหลือเกิน

(2) ต่างคนต่างอยู่

(3) จะไปหาอยู่ที่เดียว

(4) พูดจริงนะเธอ

ตอบ 1 หน้า 139 (56256), 103 (H) คํากริยาวิเศษณ์บอกประมาณ ได้แก่ มาก น้อย นิดหน่อย มากมาย เหลือเกิน พอ ครบ ขาด หมด สิ้น แทบ เกือบ จวน เสมอ บ่อย ฯลฯ ซึ่งคําเหล่านี้ ต้องวางอยู่หลังคํากริยา เช่น คิดถึงเหลือเกิน ฯลฯ

61 “เขามาแน่นอน” เป็นคํากริยาวิเศษณ์ชนิดใด

(1) บอกเวลา

(2) บอกภาวะ

(3) บอกอาการ

(4) บอกความชี้เฉพาะ

ตอบ 2 หน้า 138 (56256), 103 (H) คํากริยาวิเศษณ์บอกภาวะ ได้แก่ แน่นอน สะดวก ง่ายดาย ง่วงงุน เด็ดขาด เช่น เขามาแน่นอน ฯลฯ

62 ข้อใดสามารถละบุรพบทได้

(1) พี่อยู่บ้านกับน้อง

(2) เขามาจากต่างจังหวัด

(3) บ้านของฉันอยู่ไกล

(4) เหรียญทองดีกว่าเหรียญเงิน

ตอบ 3 หน้า 143 – 144, 147 148 (56256), 104 – 106 (H) คําบุรพบทไม่สําคัญมากเท่ากับคํานาม คํากริยา และคําวิเศษณ์ ดังนั้นบางแห่งไม่ใช้บุรพบทเลยก็ยังฟังเข้าใจได้ ซึ่งบุรพบท ที่อาจละได้แต่ความหมายยังเหมือนเดิม ได้แก่ ของ แก่ ต่อ สู่ ยัง ที่ บน ฯลฯ เช่น บ้านของฉันอยู่ไกล – บ้านฉันอยู่ไกล ฯลฯ แต่บุรพบทบางคําก็ละไม่ได้ เพราะละแล้วความจะเสีย ไม่รู้เรื่อง หากจะละบุรพบทได้ก็ต้องดูความในประโยคว่าความหมายต้องไม่เปลี่ยนไปจากเดิม(ส่วนตัวเลือกข้ออื่นไม่สามารถละบุรพบท “กับ, จาก, กว่า” ได้)

ข้อ 63 – 65 อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคําถาม

“ภายในห้องนอนที่บ้าน บนเตียงโลหะที่ใครก็อาจคุ้นตาเพราะผลิตขึ้นมาสําหรับผู้ป่วย แม่ได้ลุกขึ้นนั่งโดยไม่สนใจกับสายของเครื่องช่วยหายใจ”

63 ข้อความนี้มีคําบุรพบทกี่คํา

(1) 3 คํา

(2) 4 คํา

(3) 5 คํา

(4) 6 คํา

ตอบ 4 หน้า 142 – 152 (56256), 104 – 106 (H) ข้อความข้างต้นมีคําบุรพบททั้งหมด 6 คํา ได้แก่ ภายในห้องนอนที่บ้าน บนเตียงโลหะที่ใครก็อาจคุ้นตาเพราะผลิตขึ้นมาสําหรับผู้ป่วย แม่ได้ลุกขึ้นนั่งโดยไม่สนใจกับสายของเครื่องช่วยหายใจ

64 ข้อความนี้ไม่ปรากฏคําบุรพบทชนิดใด

(1) นําหน้าคําที่บอกสถานที่

(2) นําหน้าคําที่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้

(3) นําหน้าคําที่แสดงความเป็นเจ้าของ

(4) นําหน้าคําที่เกี่ยวกับการให้หรือการรับ

ตอบ 2 (ดูคําอธิบายข้อ 63 ประกอบ) ข้อความข้างต้นปรากฏคําบุรพบท 4 ชนิด ดังนี้

1 คําบุรพบทชนิดนําหน้าคําที่บอกสถานที่ ได้แก่ ภายใน, ที่, บน

2 คําบุรพบทชนิดนําหน้าคําที่เกี่ยวกับการให้หรือการรับ ได้แก่ สําหรับ

3 คําบุรพบทชนิดนําหน้าคําที่เป็นเครื่องประกอบหรือเครื่องเกี่ยวเนื่องกัน ได้แก่ กับ

4 คําบุรพบทชนิดนําหน้าคําที่แสดงความเป็นเจ้าของ ได้แก่ ของ

65 ข้อความนี้เชื่อมด้วยคําสันธานชนิดใด

(1) คล้อยตามกัน

(2) เชื่อมความที่ขัดแย้งกัน

(3) เชื่อมความที่เป็นเหตุเป็นผลกัน

(4) บอกความคาดคะเนหรือแบ่งรับแบ่งสู้

ตอบ 3 หน้า 156 (56256), 106 (H) คําสันธานที่เชื่อมความเป็นเหตุเป็นผลกัน ได้แก่ เพราะ เพราะว่า, ด้วย, ด้วยว่า, เหตุว่า, อาศัยที่, ค่าที่, เพราะฉะนั้น ดังนั้น จึง, เลย, เหตุฉะนี้

66 คําอุทานใดมาจากคําภาษาอังกฤษ

(1) วัย

(2) เว้ย

(3) ว้าว

(4) โว้ย

ตอบ 3 หน้า 158 – 160 (56.256), 109 (H) คําอุทาน หมายถึง คําที่เปล่งออกมาเพื่อแสดงอารมณ์ต่าง ๆ ซึ่งบางคําก็กําหนดไม่ได้ว่าคําไหนใช้แสดงอารมณ์อะไรแน่นอน แล้วแต่การออกเสียงและสถานการณ์ เช่น คําว่า “ว้าว” มาจากคําภาษาอังกฤษคือ “Wow” ซึ่งเป็นคําอุทานแสดงความยินดี หรือประหลาดใจ เป็นต้น

67 ข้อใดคือคําลักษณนามของพราหมณ์

(1) รูป

(2) คน

(3) องค์

(4) พราหมณ์

ตอบ 2 หน้า 160 – 165 (56256), 109 – 110 (H) คําลักษณนาม คือ คําที่ตามหลังคําบอกจํานวนนับเพื่อบอกรูปลักษณะและชนิดคํานามที่อยู่ข้างหน้าคําบอกจํานวนนับ มักจะเป็นคําพยางค์เดียว แต่เป็นคําที่สร้างขึ้นใหม่โดยอาศัยการอุปมาเปรียบเทียบการเลียนเสียงธรรมชาติ การเทียบ แนวเทียบ และการใช้คําซ้ำกับคํานามนั้นเอง (กรณีที่ไม่มีลักษณนามโดยเฉพาะ) เช่น พราหมณ์ (คน), อุโบสถ/โบสถ์ (หลัง), ตรายาง (อัน), พัด/ไม้พาย/กรรไกร (เล่ม), รุ้งกินน้ำ (ตัว) เป็นต้น

68 ข้อใดคือคําลักษณนามของอุโบสถ

(1) แห่ง

(2) สถานที่

(3) อุโบสถ

(4) หลัง

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 67 ประกอบ

69 คําใดไม่ได้ใช้ลักษณนามว่า “เล่ม”

(1) ตรายาง

(2) พัด

(3) ไม้พาย

(4) กรรไกร

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 67 ประกอบ

70 ข้อใดคือลักษณนามของรุ้งกินน้ำ

(1) สาย

(2) เส้น

(3) ตัว

(4) รุ้งกินน้ำ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 67 ประกอบ

ข้อ 71 – 80 ให้นักศึกษาเลือกคําราชาศัพท์ที่ถูกต้องเติมในช่องว่าง

เนื่องใน 71. 72. สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฒมหาเถร) ซึ่งเป็นโอกาสอันสําคัญอีกวาระหนึ่งที่ประชาชนชาวไทยทุกหมู่เหล่าจะได้ แสดงความกตัญญูกตเวทีรําลึกถึง 73. อันใหญ่หลวงของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฒมหาเถร) โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 74. สมเด็จพระ ญาณสังวร (เจริญ สุวฑฒมหาเถร) เป็นสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เมื่อวันศุกร์ เดือน 5 แรม 1 ค่ำ ปีมะเส็ง เอกศก จ.ศ. 1351 ตรงกับวันที่ 21 เมษายน 2532 ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม นับเป็นพระสังฆราช 75. ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นเจ้าคณะใหญ่ คณะธรรมยุต

พระองค์ได้ 76. 77. อันทรงคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาและประชาชนอย่าง ต่อเนื่องและยาวนานตลอด 78. ด้วยพระวิริยอุตสาหะ เพื่อเกื้อกูลประโยชน์แก่มหาชน เป็นผู้มีพระจริยวัตรอันงามพิสุทธิ์สมควรที่ชาวไทยจักได้เจริญรอยตาม 79. สืบสาน 80. นานาประการ และยึดถือพระจริยวัตรเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตนสืบไป

71 (1) งาน

(2) พิธี

(3) พระราชพิธี

(4) งานพระราชพิธี

ตอบ 3 พระราชพิธี = งานพิธีที่พระมหากษัตริย์ทรงจัดขึ้น ส่วนคําว่า “งาน” = สิ่งหรือกิจกรรมที่ทํา,“พิธี” = งานที่จัดขึ้นตามลัทธิความเชื่อถือตามขนบธรรมเนียมประเพณี, “งานพระราชพิธี”เป็นคําฟุ่มเฟือย)

72 (1) เพลิงศพ

(2) เพลิงพระศพ

(3) พระราชทานเพลิงศพ

(4) พระราชทานเพลิงพระศพ

ตอบ 4 หน้า 111, 113 (H) พระราชทานเพลิงพระศพ = ให้ไฟจุดพระศพ ซึ่งในที่นี้เป็นงานศพที่พระมหากษัตริย์ทรงจัดให้ จึงต้องใช้คําว่า “พระราชทานเพลิง” = ให้ไฟ นอกจากนี้สมเด็จพระสังฆราชเป็นบุคคลที่ต้องใช้ราชาศัพท์ในระดับพระองค์เจ้าจึงต้องใช้คําว่า “พระศพ” =ร่างคนที่ตายแล้ว

73 (1) พระคุณ

(2) พระกรุณาคุณ

(3) พระกรุณาธิคุณ

(4) พระมหากรุณาธิคุณ

ตอบ 3 พระกรุณาธิคุณ = พระคุณอันยิ่งที่มีความกรุณา ซึ่งจะใช้กับเจ้าฟ้า พระองค์เจ้า และสมเด็จพระสังฆราช (ส่วนคําว่า “พระคุณ” – บุญคุณ, “พระกรุณาคุณ” = พระคุณที่มีความกรุณา “พระมหากรุณาธิคุณ” = พระคุณที่ใหญ่หลวง มักจะใช้กับพระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระราชวงศ์ลําดับ 2)

74 (1) ทรงโปรดสถาปนา

(2) ทรงพระกรุณาโปรดสถาปนา

(3) ทรงโปรดฯ สถาปนา

(4) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนา

ตอบ 4 หน้า 113 (H) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนา = มีความกรุณาและพอพระราชหฤทัยยกย่องหรือแต่งตั้งให้สูงขึ้น ใช้กับพระมหากษัตริย์ ซึ่งในที่นี้คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นผู้ทรงแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช

75

(1) องค์

(2) พระองค์

(3) รูป

(4) พระรูป

ตอบ 2 หน้า 174 (56256) คําสรรพนามราชาศัพท์ที่ใช้แทนผู้ที่พูดถึง (บุรุษที่ 3) ได้แก่

1 พระองค์ ใช้แทนพระเจ้าแผ่นดิน พระราชินี พระราชวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้า เจ้าฟ้า และเหนือขึ้นไป รวมทั้งสมเด็จพระสังฆราช (จะไม่ใช้คําว่า “พระองค์ท่าน” ซึ่งเป็นภาษาปาก)

2 ทูลกระหม่อม ใช้แทนเจ้านายชั้นเจ้าฟ้าที่มีพระราชชนนีเป็นอัครมเหสี

3 เสด็จ ใช้แทนเจ้านายชั้นพระองค์เจ้าที่เป็นลูกเธอและหลานเธอ ซึ่งมีพระอัยกาเป็นพระเจ้าแผ่นดิน

4 ท่าน ใช้แทนเจ้านายทั่วไป ขุนนาง พระสงฆ์ ฯลฯ

76 (1) ทรงประกอบ

(2) ประกอบ

(3) ทรงสร้าง

(4) สร้าง

ตอบ 3 หน้า 173 (56256), 113 (H), (คําบรรยาย) ตามหลักเกณฑ์การเติมคําว่า “ทรง” หน้ากริยาราชาศัพท์นั้น จะเติม “ทรง” หน้าคํานามหรือคํากริยาสามัญเพื่อทําให้คํานั้นเป็นราชาศัพท์ เช่น ทรงสร้างคุณูปการ (สร้างคุณความดี) ฯลฯ และเติม “ทรง” หน้านามราชาศัพท์เพื่อทําให้เป็น กริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงพระกรุณา (มีความกรุณา) ฯลฯ แต่ห้ามเติม “ทรง” ซ้อนคํากริยาที่เป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว เช่น พระราชทาน เสด็จฯ รับสั่ง โปรด ฯลฯ

77 (1) คุณ

(2) พระคุณ

(3) คุณูปการ

(4) พระคุณูปการ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 76 ประกอบ

78 (1) ชนม์ชีพ

(2) พระชนม์ชีพ

(3) ชนมายุ

(4) พระชนมายุ

ตอบ 2 พระชนม์ชีพ = ชีวิต (ส่วนคําว่า “ชนม์ชีพ/ชนมายุ” จะต้องเติมคําว่า “พระ” นําหน้าเพื่อให้เป็นราชาศัพท์, “พระชนมายุ” = อายุ ใช้กับพระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระราชวงศ์ลําดับ 2)

79 (1) ยุคลบาท

(2) เบื้องยุคลบาท

(3) พระยุคลบาท

(4) เบื้องพระยุคลบาท

ตอบ 4 เบื้องพระยุคลบาท = ทางเท้าทั้งคู่ ซึ่งในที่นี้จะหมายถึง เดินตามรอยเท้า หรือประพฤติตามแบบอย่างพระจริยวัตรอันงดงามนั้น

80 (1) กรณียกิจ

(2) พระกรณียกิจ

(3) พระราชกรณียกิจ

(4) พระมหากรณียกิจ

ตอบ 2 พระกรณียกิจ = ภารกิจ ซึ่งจะใช้กับเจ้าฟ้า พระองค์เจ้า และสมเด็จพระสังฆราช (ส่วนคําว่า “กรณียกิจ” = กิจที่พึงทํา, “พระราชกรณียกิจ” = ภารกิจ ใช้กับพระมหากษัตริย์ พระราชินีและพระราชวงศ์ลําดับ 2 “พระมหากรณียกิจ” ไม่มีที่ใช้)

ข้อ 81 – 90 อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคําถาม

เราคงจะสังเกตได้นะครับว่า ทุกวันนี้คนไทยให้ความสําคัญกับประเด็นด้าน “ความเป็นไทย” มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม

ครั้งหนึ่งผมมีโอกาสไปบรรยายให้กับครูทั่วประเทศในประเด็นด้านเอกลักษณ์แห่งชาติ ซึ่งหลากหลายคนเมื่อถามไปว่า

ความเป็นไทยคืออะไร? หรือความเป็นไทยเป็นอย่างไร?

สิ่งที่ได้รับกลับคืนมา คือ เสียงเงียบสงัด หรือไม่ก็คําตอบประมาณว่า ธงชาติไทย หรือ ศิลปวัฒนธรรมไทย

ทั้งนี้ในมุมมองของผม ความเป็นไทยนั้นต้องศึกษาเชิงประวัติศาสตร์ กล่าวคือ เข้าใจที่มาและ ที่ไปของเชื้อชาติและความดิ้นรนของบรรพบุรุษหลายร้อยปีกว่าจะสามารถสร้างแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่น ดั่งทุกวันนี้

การที่เราจะเข้าใจประวัติศาสตร์ได้ผู้ศึกษามีความจําเป็นต้องมีทักษะในการเรียนรู้ และ ที่สําคัญก็คือ เข้าใจการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง

คือ อ่านออกเขียนได้ แต่เท่านี้ยังไม่พอ ผมขอเพิ่มเติมไว้ด้วยว่าต้องสามารถใช้ภาษาไทยได้ อย่างถูกต้องด้วยเช่นกัน

เราคงต้องยอมรับว่าภาษาไทยในวันนี้ผิดเพี้ยนและแตกต่างไปจากเดิมไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะมีคําศัพท์แปลก ๆ ออกมาแบบที่ตั้งตัวไม่ติด อาทิ เดี๋ยวนี้ได้รับเอสเอ็มเอสแปลก ๆ ประมาณว่า ใช้ภาษาไทยแบบวัยรุ่น อาทิ จิ่งดิ แปลว่า จริงเหรอ มาแว้ว แปลว่า มาแล้ว หรือ ชิมิ ชิมิ ซึ่งมีความหมาย ออกมาเป็น ใช่ไหมใช่ไหม

บางทีคุยกับเด็กรุ่นใหม่เวลาเห็นผู้หญิงสวยก็พูดออกมาว่า “โอ้โฮแหล่มจริง ๆ เธอคนนั้น ห่านมาก ๆ” แปลว่า เธอคนนั้นสุดยอด สวยจริง ๆ

แต่ที่ฮิตล่าสุดคือ พูดแบบเหวงเหวง ซึ่งไม่รู้ว่าอ้างอิงจากใคร แต่มีความหมายสะท้อนถึง ความไม่ชัดเจน ไม่ตรงประเด็น โหวงเหวง นั่นแหละครับ

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงแค่ตัวอย่างการใช้ภาษาไทยในสังคมยุคปัจจุบัน แต่จะว่าไปแล้วแทบจะทุกสังคมและทุกวัฒนธรรมย่อมมีความผิดเพี้ยนทางด้านภาษาอยู่แล้ว

เพียงแต่จะมากหรือน้อยก็เท่านั้นเอง

เพราะภาษามีความเป็นพลวัตของตัวเอง ต้องทันตามบริบทของสังคม และปรับเปลี่ยนตามพฤติกรรมและการแสดงออกของผู้คนในสังคม

ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่ภาษาไทยจะผิดเพี้ยนไปบ้าง แต่ประเด็นที่ผมต้องการนําเสนอ คือ แก่นของความเป็นภาษาไทยจะถูกทําลายและละเลยไปมากกว่านี้หรือไม่

สุดท้ายเราคงได้แต่หวังว่าภาษาไทยที่ถูกต้องอย่างเป็นทางการควรที่จะได้รับการดํารงรักษาให้ลูกหลานในอนาคตได้สืบทอดต่อไป มิใช่ค่อย ๆ ถูกกลืนด้วยแนวทางและการใช้ศัพท์ใหม่ ๆ

วันภาษาไทยแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 29 กรกฎาคม ของทุกปี เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ในวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดําเนินไปทรง อภิปรายเรื่อง “ปัญหาการใช้คําไทย” ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดํารัสตอนหนึ่งความว่า “เราโชคดีที่มีภาษาของ ตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษานี้ก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือ ให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน อีกอย่างหนึ่งต้องรักษา ให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ หมายความว่า วิธีใช้คํามาประกอบประโยคนับเป็นปัญหาที่สําคัญ

ปัญหาที่สาม คือ ความร่ำรวยในคําของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้ สําหรับคําใหม่ที่ตั้งขึ้นมีความจําเป็นในทางวิชาการไม่น้อย แต่บางคําที่ง่าย ๆ ก็ควรจะมี ควรจะใช้คําเก่า ๆ ที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก”

ดังนั้นวัตถุประสงค์ของวันภาษาไทยแห่งชาติได้แลเห็นว่าเป็นวันที่ถูกก่อตั้งขึ้นมาเพื่อกระตุ้น และปลุกจิตสํานึกของคนไทยทั้งชาติให้ตระหนักถึงความสําคัญและคุณค่าของภาษาไทย ตลอดจนร่วมมือ ร่วมใจทํานุบํารุงส่งเสริมและอนุรักษ์ภาษาไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และเป็นสมบัติวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป

สังคมไทยในปัจจุบันอยู่ท่ามกลางยุคโลกาภิวัตน์ที่เต็มไปด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรม และไม่ใช่วัฒนธรรมของประเทศไทยเราอย่างเดียว แต่เป็นวัฒนธรรมต่างแดน เราคงบอกไม่ได้ว่า ห้ามให้ คนรุ่นใหม่บริโภควัฒนธรรมของเขา

แต่คําถามสําคัญก็คือ เราจะสามารถทําให้คนรุ่นใหม่แลเห็นถึงความสําคัญของความเป็นไทย ได้อย่างไร เพราะบางที่มันเป็นเรื่องยากในการดํารงรักษาภาษาไทยให้ดี มันเป็นความขัดแย้งระหว่างสิ่งที่เราบริโภคทุกวัน กับสิ่งที่เราควรระลึกถึง ซึ่งเป็นเรื่องของการสร้างความสมดุลระหว่างโลกที่เปลี่ยนแปลง กับความสวยงามในอดีต เอาแค่นักร้องบางคนเมื่อก่อนร้องเพลงไทยชัดมากเสียเหลือเกิน

แต่เดี๋ยวนี้ต้องลากเสียงจะได้ฟังแล้วเนียน ซึ่งบางทีมันก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะขนาดบทความ ของผมชิ้นนี้ก็ยังมีการใช้ภาษาที่แตกต่างและอาจจะไม่มีในพจนานุกรมก็ได้ แต่อย่างน้อยสิ่งสําคัญอยู่ที่การเข้าใจความสําคัญของภาษาไทย การใช้ภาษาไทยอย่างถูกวิธี

81 โวหารการเขียนเป็นแบบใด

(1) บรรยาย

(2) อธิบาย

(3) อภิปราย

(4) พรรณนา

ตอบ 3 หน้า 74 (54351), (คําบรรยาย) โวหารเชิงอภิปราย คือ โวหารที่ใช้ในการแสดงความคิดเห็นซึ่งอาจจะถูกหรือผิดก็ได้ โดยผู้เขียนจะแสดงทัศนะรอบด้านทั้งในด้านบวกและลบ เพื่อโน้มน้าว จิตใจผู้อ่านให้คล้อยตามความคิดเห็นนั้น ๆ จนนําไปสู่ข้อสรุปอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทิ้งท้ายให้ผู้อ่านเก็บไปคิด

82 ท่วงทํานองเขียนเป็นแบบใด

(1) ภาษาเขียน

(2) ภาษาพูด

(3) ภาษาปาก

(4) ทั้งข้อ 2 และข้อ 3

ตอบ 4 หน้า 58 (54351) ผู้เขียนใช้ท่วงทํานองเขียนแบบเรียบง่าย คือ ท่วงทํานองเขียนที่ใช้คําง่าย ๆชัดเจน การผูกประโยคไม่ซับซ้อน ทําให้อ่านง่ายและเข้าใจได้ทันที โดยไม่ต้องเสียเวลาขบคิดมากนัก แต่จะมีการใช้ภาษาพูดและภาษาปากเป็นส่วนใหญ่

83 ข้อความที่ให้อ่านเป็นวรรณกรรมประเภทใด

(1) ข่าว

(2) บทความ

(3) เรียงความ

(4) ปาฐกถา

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ปาฐกถา หมายถึง งานเขียนที่แสดงความคิดเห็นโดยคนคนเดียว หรืออาจจะเป็นความรู้และความคิดที่ได้มาจากวิทยากรเพียงคนเดียว

84 จุดประสงค์ที่ผู้เขียนนําเสนอคืออะไร

(1) ให้ความรู้

(2) ให้ความรู้และความรู้สึก

(3) ให้ข้อมูลและความคิด

(4) วิเคราะห์และวิจารณ์

ตอบ 3 ผู้เขียนมีจุดประสงค์ในการนําเสนอ คือ ให้ข้อมูลและแสดงความคิดของตนเองเกี่ยวกับประเด็นเรื่องความเป็นไทยและการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง

85 คําใดใช้ผิดจากความหมายเดิมได้

(1) ซึ่งเป็นสิ่งดี

(2) ตระหนักถึง

(3) แลเห็นว่า

(4) ประมาณว่า

ตอบ 4 ประมาณ = กะหรือคะเนให้ใกล้เคียงจํานวนจริงหรือให้พอเหมาะพอควร เช่น ราคาประมาณ 800 บาท ฯลฯ แต่ในปัจจุบันได้นําไปใช้ผิดจากความหมายเดิม และกลายเป็นคําฟุ่มเฟือยไป ซึ่งหากตัดออกก็ไม่ทําให้ความหมายเปลี่ยนไปจากเดิม ดังข้อความ สิ่งที่ได้รับกลับคืนมา คือเสียงเงียบสงัด หรือไม่ก็คําตอบประมาณว่า ธงชาติไทย หรือศิลปวัฒนธรรมไทย

86 สารัตถะสําคัญของเรื่องคืออะไร

(1) ภาษาไทยสําคัญกว่าธงชาติไทย

(2) ภาษาไทยสําคัญกว่าศิลปวัฒนธรรมไทย

(3) การใช้ภาษาไทยให้ถูกตามหลักภาษาและกาลเทศะเป็นเรื่องควรคํานึง

(4) ความสําคัญของความเป็นไทยท่ามกลางอิทธิพลวัฒนธรรมต่างชาติเป็นเรื่องสําคัญ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) แนวคิดหลัก (Theme) คือ สารัตถะ แก่นเรื่อง หรือสาระสําคัญของเรื่องที่ผู้เขียนมุ่งจะสื่อถึงผู้อ่าน เพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับชื่อเรื่อง โดยจะมีใจความครอบคลุมรายละเอียด ทั้งหมดและมีลักษณะเป็นนามธรรม ซึ่งแนวคิดหลักหรือสารัตถะสําคัญของเรื่องนี้ ได้แก่ การใช้ภาษาไทยให้ถูกตามหลักภาษาและกาลเทศะเป็นเรื่องควรคํานึง

87 ข้อความที่ให้อ่านเป็นผลงานของผู้ใด

(1) เอกลักษณ์ ยิ้มวิไล

(2) บรรณาธิการหนังสือพิมพ์มติชน

(3) เอกลักษณ์ ยิ้มวิไล และอาจารย์ผู้บรรยาย

(4) ไม่มีข้อมูลของผู้เขียน

ตอบ 4 ข้อความที่ให้อ่านไม่มีข้อมูลของผู้เขียน ทําให้ไม่สามารถทราบได้ว่าเป็นผลงานของใคร

88 ข้อความใดไม่ถูกต้อง

(1) ทุกภาษาย่อมมีความผิดเพี้ยน

(2) ภาษาต้องเปลี่ยนตามบริบทของสังคม

(3) วันภาษาไทยแห่งชาติ คือ วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2505

(4) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยการใช้ภาษาไทย

ตอบ 3 จากข้อความ วันภาษาไทยแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 29 กรกฎาคม ของทุกปี เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ในวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช เสด็จพระราชดําเนินไปทรงอภิปรายเรื่อง “ปัญหาการใช้คําไทย” ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

89 คําตอบของผู้รับฟังคําบรรยาย เรื่องเอกลักษณ์ไทยเป็นอย่างไร

(1) ถูกต้อง 50%

(2) ถูกต้องเกินครึ่ง

(3) แตกต่างจากทัศนะของผู้บรรยาย

(4) แตกต่างจากความเชื่อที่สืบต่อกันมา

ตอบ 3 จากข้อความ…. ครั้งหนึ่งผมมีโอกาสไปบรรยายให้กับครูทั่วประเทศในประเด็นด้านเอกลักษณ์แห่งชาติ ซึ่งหลากหลายคนเมื่อถามไปว่า ความเป็นไทยคืออะไร? หรือความเป็นไทยเป็น อย่างไร? สิ่งที่ได้รับกลับคืนมา คือ เสียงเงียบสงัด หรือไม่ก็คําตอบประมาณว่า ธงชาติไทย หรือศิลปวัฒนธรรมไทย ทั้งนี้ในมุมมองของผม ความเป็นไทยนั้นต้องศึกษาเชิงประวัติศาสตร์ กล่าวคือ เข้าใจที่มาและที่ไปของเชื้อชาติและความดิ้นรนของบรรพบุรุษหลายร้อยปีกว่าจะสามารถสร้างแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่นดั่งทุกวันนี้

90 ภาษาไทยในปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงเรื่องใดบ้าง

(1) ความหมายและการออกเสียง

(2) โครงสร้างของประโยค

(3) การสะกดการันต์

(4) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 จากข้อความ… เราคงต้องยอมรับว่าภาษาไทยในวันนี้ผิดเพี้ยนและแตกต่างไปจากเดิมไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะมีคําศัพท์แปลก ๆ ออกมาแบบที่ตั้งตัวไม่ติด อาทิ ชิมิ ชิมิ ซึ่งมีความหมาย ออกมาเป็น ใช่ไหมใช่ไหม… ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษานี้ก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือ ให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน… เอาแค่นักร้องบางคนเมื่อก่อนร้องเพลงไทยชัดมากเสียเหลือเกิน แต่เดี๋ยวนี้ต้องลากเสียงจะได้ฟังแล้วเนียน

ข้อ 91 – 94 ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้แล้วตอบคําถาม

(1) นกสองหัว คงเส้นคงวา พูดเป็นต่อยหอย

(2) ได้ทีขี่แพะไล่ เชือดไก่ให้ลิงดู ได้คืบจะเอาศอก

(3) กินน้ำกินท่า ได้หน้าลืมหลัง ได้ฤกษ์ได้ยาม

(4) ได้หน้าได้ตา งมเข็มในมหาสมุทร เดินตามหลังผู้ใหญ่หมาไม่กัด

91 ข้อใดเป็นสํานวนทั้งหมด

ตอบ 1 หน้า 119 – 121 (H) ข้อแตกต่างของสํานวน คําพังเพย และสุภาษิต มีดังนี้

1 สํานวน หมายถึง ถ้อยคําที่เรียบเรียงขึ้นอย่างกะทัดรัด ใช้คําน้อยแต่กินความหมายมากและเป็นความหมายโดยนัยหรือโดยเปรียบเทียบ เช่น นกสองหัว (คนที่ทําตัวฝักใฝ่เข้าด้วย ทั้ง 2 ฝ่ายที่ไม่เป็นมิตรกัน โดยหวังเพื่อประโยชน์ตน), คงเส้นคงวา (เสมอต้นเสมอปลาย), พูดเป็นต่อยหอย (พูดฉอด ๆ ไม่หยุดปาก), ได้หน้าได้ตา (ได้เกียรติ ได้ชื่อเสียง) เป็นต้น

2 คําพังเพย หมายถึง ถ้อยคําที่เรียบเรียงขึ้นเพื่อตีความ สรุปเหตุการณ์ สภาวการณ์ บุคลิกและอารมณ์ให้เข้ากับเรื่อง มีความหมายกลาง ๆ ไม่เน้นการสั่งสอน แต่แฝงคติเตือนใจ ให้นําไปปฏิบัติหรือไม่ให้นําไปปฏิบัติ เช่น ได้ทีขี่แพะไล่ (ซ้ำเติมเมื่อผู้อื่นเพลี่ยงพล้ำลง), เชือดไก่ให้ลิงดู (ทําโทษเพื่อไม่ให้ผู้อื่นเอาเป็นเยี่ยงอย่าง), ได้คืบจะเอาศอก (ต้องการได้มากกว่าที่ได้มาแล้ว), งมเข็มในมหาสมุทร (ค้นหาสิ่งที่ยากจะค้นหาได้) เป็นต้น ไป

3 สุภาษิต หมายถึง ถ้อยคําที่เรียบเรียงขึ้นเพื่อสั่งสอนโดยตรง ซึ่งอาจเป็นคติ ข้อติติง คําจูงใจหรือคําห้าม และเนื้อความที่สั่งสอนก็เป็นความจริง เป็นความดีที่ยอมรับกันโดยทั่วไป เช่น เดินตามหลังผู้ใหญ่หมาไม่กัด (ประพฤติตามอย่างผู้ใหญ่ย่อมปลอดภัย) เป็นต้น

92 ข้อใดเป็นคําพังเพยทั้งหมด

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 91 ประกอบ

93 ข้อใดไม่ปรากฏว่ามีสํานวน คําพังเพย หรือสุภาษิตเลย

ตอบ 3 คําในตัวเลือกข้อ 3 ไม่ใช่สํานวน คําพังเพย และสุภาษิต แต่เป็นคํากิริยาที่มีสัมผัสคล้องจองกัน

94 ข้อใดเรียงลําดับถูกต้องตั้งแต่สํานวน คําพังเพย และสุภาษิต

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 91 ประกอบ

95 ข้อใดมีความหมายว่า “ไม่ถูกกัน”

(1) ศรศิลป์ไม่กินกัน

(2) ศิษย์นอกครู

(3) ศึกหน้านาง

(4) ศึกเสือเหนือใต้

ตอบ 1 ศรศิลป์ไม่กินกัน = ไม่ถูกกัน ไม่ลงรอยกัน ไม่ชอบหน้ากัน (ส่วนศิษย์นอกครู = ศิษย์ที่ประพฤติไม่ตรงตามคําสั่งสอนของครูบาอาจารย์, ศึกหน้านาง = การวิวาทหรือต่อสู้กันต่อหน้าหญิงที่ตนหมายปอง, ศึกเสือเหนือใต้ = สงคราม)

96 “หมาเห่าใบตองแห้ง” มีความหมายตรงกับข้อใด

(1) คนที่ลอบทําร้ายหรือกลั่นแกล้งผู้อื่นลับหลัง

(2) คนที่ชอบพูดเอะอะแสดงว่าเก่งแต่ไม่กล้าจริง

(3) คนที่กันท่าคนอื่นในสิ่งที่ตนใช้ประโยชน์ไม่ได้

(4) คนที่อาละวาดพาลหาเรื่องทําให้วุ่นวายไปหมด

ตอบ 2 หมาเห่าใบตองแห้ง = คนที่ชอบพูดเอะอะแสดงว่าเก่งแต่ไม่กล้าจริง

97 “หาผลประโยชน์ใส่ตนโดยขูดรีดผู้อื่น” ตรงกับข้อใด

(1) น้ำลดตอผุด

(2) เนื้อเต่ายําเต่า

(3) ทํานาบนหลังคน

(4) ดีดลูกคิดรางแก้ว

ตอบ 3 ทํานาบนหลังคน = หาผลประโยชน์ใส่ตนโดยขูดรีดผู้อื่น (ส่วนน้ำลดตอผุด = เมื่อหมดอํานาจความชั่วที่ทําไว้ก็ปรากฏ, เนื้อเต่ายําเต่า = นําเอาทรัพย์สินส่วนที่เป็นกําไรหรือดอกเบี้ยกลับไปลงทุนต่อไปอีกโดยไม่ต้องใช้ทุนเดิม, ดีดลูกคิดรางแก้ว = คิดถึงผลที่จะได้อยู่ทางเดียว)

98 ข้อใดมีคําที่สะกดผิดปรากฏอยู่ด้วย

(1) อเนก ผาสุก อาเพศ

(2) ตระเวน ถั่วพู โลกาภิวัตน์

(3) เกล็ดปลา โน้ตบุ๊ค อานิสงส์

(4) ผลัดผ้า อาเจียน ผุดลุกผุดนั่ง

ตอบ 3 คําที่สะกดผิด ได้แก่ โน้ตบุ๊ค ซึ่งที่ถูกต้องคือ โน้ตบุ๊ก

99 ข้อใดสะกดถูกทุกคํา

(1) บังสุกุล ปฏิสันถาร ปิกนิก

(2) อนุญาติ กระทันหัน ผัดผ่อน

(3) กระเพรา กร้าวร้าว เครื่องยนต์

(4) โครงการ เครื่องลาง เซ็นติเมตร

ตอบ 1 คําที่สะกดผิด ได้แก่ อนุญาติ กระทันหัน กระเพรา กร้าวร้าว เครื่องลาง เซ็นติเมตร ซึ่งที่ถูกต้องคือ อนุญาต กะทันหัน กะเพรา ก้าวร้าว เครื่องราง เซนติเมตร

100 ข้อใดมีคําที่สะกดถูกขนาบคําที่สะกดผิด

(1) เค้ก คุ้กกี้ กะเพรา

(2) งมงัม บังสุกุล โครงการณ์

(3) ไนต์คลับ กะเพรา เครื่องยนต์

(4) ถั่วพู กะโหลก ตกล่องปล่องชิ้น

ตอบ 1 คําที่สะกดผิด ได้แก่ คุ้กกี้ จึมงัม โครงการ ซึ่งที่ถูกต้องคือ คุกกี้ จึมงํา โครงการ

101 ข้อใดมีคําที่สะกดผิดสลับกับคําที่สะกดถูก

(1) รื่นรมย์ สีสัน โน๊ตดนตรี ปราณีต

(2) คลินิก จตุรัส เกล็ดปลา ภาพยนต์

(3) ลายเซ็นต์ ผาสุข เผอเรอ ละเอียดละออ

(4) อนุญาติ ปิกนิก กระเพรา มาตรฐาน

ตอบ 4 คําที่สะกดผิด ได้แก่ โน้ตดนตรี ปราณีต จตุรัส ภาพยนต์ ลายเซ็นต์

ผาสุข ละเอียดละออ อนุญาติ กระเพรา

ซึ่งที่ถูกต้องคือ โน้ตดนตรี ประณีต จัตุรัส ภาพยนตร์ ลายเซ็น

ผาสุก ละเอียดลออ อนุญาต กะเพรา

102 ข้อใดเขียนคําผิดทุกคํา

(1) เสื้อเชิ้ต ขนมคุกกี้ เครื่องสําอาง กระทะ

(2) พู่ระหง วิ่งผัด รสชาติ บ้านจัดสรร

(3) ผาสุก ดาดฟ้า จึมงัม เหลวไหล

(4) จตุรัส อนุญาติ โน้ตดนตรี รื่นรมณ์

ตอบ 4 คําที่สะกดผิด ได้แก่ เสื้อเชิ้ต วิ่งผัด จึมงัม จตุรัส อนุญาติ โน้ตดนตรี รื่นรมณ์

ซึ่งที่ถูกต้องคือ เสื้อเชิ้ต วิ่งผลัด จึมงํา จัตุรัส อนุญาต โน้ตดนตรี รื่นรมย์

103 ข้อใดใช้คําถูกต้อง

(1) นําไม้ลวกไปลวกน้ำร้อน

(2) คนงานกําลังขุดรอกคูคลอง ก็เห็นงูกําลังลอกคราบ

(3) เราไม่ควรร่วงล้ำเข้าไปเก็บของที่ร่วงหล่นในบ้านคนอื่น

(4) เขานําลวดมากั้น แล้วบอกว่าค่าผ่านประตู 10 บาทรวด

ตอบ 4 คําว่า “ลวด” = โลหะที่เอามารีดเป็นเส้น, “รวด” = เสมอเท่ากันหมด (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นใช้คําผิด จึงควรแก้ไขเป็น นําไม้รวกไปลวกน้ำร้อน, คนงานกําลังขุดลอกคูคลอง ก็เห็นงูกําลังลอกคราบ, เราไม่ควรล่วงล้ำเข้าไปเก็บของที่ร่วงหล่นในบ้านคนอื่น)

  1. พระธรรมทูต……………….พุทธศาสนาไปทั่วโลก

(1) แผ่

(2) แพร่

(3) เผยแผ่

(4) เผยแพร่

ตอบ 3 คําว่า “เผยแผ่” = ทําให้ขยายออกไป เช่น เผยแผ่พระศาสนา (ส่วนคําว่า “แผ่” = คลี่ขยายกระจายออกไปให้มีลักษณะแบนราบหรือกว้างกว่าเดิม เช่น แผ่อาณาเขต, “แพร่” = กระจายออกไป แผ่ออกไป เช่น แพร่ข่าว แพร่เชื้อโรค, “เผยแพร่” – โฆษณาให้แพร่หลาย)

105 ฉันยินดีจะ ………….. ค่าเสียหายให้คุณ

(1) ชดใช้

(2) ชดเชย

(3) ทดแทน

(4) ตอบแทน

ตอบ 1 คําว่า “ชดใช้” = ใช้ค่าใช้จ่ายที่ทดรองจ่ายไปก่อนแล้ว ให้ทดแทนสิ่งที่ใช้หรือเสียไป เช่น ชดใช้ค่าเสียหาย (ส่วนคําว่า “ชดเชย” = ใช้แทนสิ่งที่เสียไป เพิ่มเติม, “ทดแทน” = ตอบแทน ชดใช้หรือชดเชยสิ่งที่เสียไป, “ตอบแทน” = ทําทดแทนแก่ผู้ทําก่อน)

106 การเตรียมงานไม่ดี จะทําให้เกิดความ ………. ขึ้นมาได้

(1) ขุกขัก

(2) ขุกขลัก

(3) ขลุกขลัก

(4) ขรุกขรัก

ตอบ 3 คําว่า “ขลุกขลัก” = ติดกุกกักอยู่ในที่แคบ ติดขัด ไม่สะดวก เสียงดังอย่างก้อนดินกลิ้งอยู่ในหม้อหรือในไห (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นคําที่เขียนผิด)

107 คุณขอ…………….เงินมาหลายครั้งแล้ว ครั้งนี้ผมไม่ยอมให้ …………… อีกแล้ว

(1) ผัด ผัด

(2) ผัด ผลัด

(3) ผลัด ผัด

(4) ผลัด ผลัด

ตอบ 1 คําว่า “ผัด” = ขอเลื่อนเวลาไป เช่น ผัดวัน ผัดหนี้ ส่วนคําว่า “ผลัด” = เปลี่ยนแทนที่ เช่น ผลัดเสื้อผ้า ผลัดเวร ผลัดใบ ผลัดขน

108 คนป่วยอยู่ในอาการ…………………….เต็มที่

(1) ล่อแล่

(2) ร่อแร่

(3) ล่อยแล่

(4) ร่อยแร่

ตอบ 2 คําว่า “ร่อแร่” = อาการหนักจวนตาย เช่น อยู่ในอาการร่อแร่ (ส่วนคําว่า “ล่อแล่” = พูดไม่ชัดพูดไม่ได้ความ, “ล่อยแล่, ร่อยแร่” เป็นคําที่เขียนผิด)

109 ผู้ร้าย………. ไม่ยอมให้ตํารวจจับตัวไป

(1) ขัดเขิน

(2) ขัดข้อง

(3) ขัดขืน

(4) ขัดขวาง

ตอบ 3 คําว่า “ขัดขืน” = ไม่ประพฤติตาม ไม่ทําตาม (ส่วนคําว่า “ขัดเขิน” = กระดากอาย, “ขัดข้อง”= ไม่ยอมให้ทํา ไม่ตกลงด้วย ติดขัด, “ขัดขวาง” = ทําให้ไม่สะดวก ทําให้ติดขัด)

110 วัยรุ่นไทยมักจะ…………….และ …………… นักร้องจากประเทศเกาหลี

(1) คั่งไคล้ หลงไหล

(2) คั่งไคร้ หลงใหล

(3) คลั่งไคล้ หลงไหล

(4) คลั่งไคล้ หลงใหล

ตอบ 4 คําว่า “คลั่งไคล้” = หลงใหลในบุคคลหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หมกมุ่นอยู่กับงานหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง,“หลงใหล” = คลั่งไคล้ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น หลงใหลนักร้องหรือดาราดัง (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นคําที่เขียนผิด)

111 วันนี้ฝนตก ………… ข้าว ………… คงสดชื่นขึ้นมาได้

(1) ปอย ๆ นาปลัง

(2) ปอย ๆ นาปรัง

(3) ปรอย ๆ นาปรัง

(4) ปรอย ๆ นาปลัง

ตอบ 3 คําว่า “ปรอย ๆ” = ที่ตกเป็นระยะ ๆ ไม่หนาเม็ด (ใช้กับฝน) เช่น ฝนตกปรอย ๆ, “นาปรัง” = นาที่ทําในฤดูแล้งนอกฤดูทํานา (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นคําที่เขียนผิด)

112 ข้อใดมีคําผิดอยู่ในประโยค

(1) สมชายเรี่ยรายเงินไปสร้างศาลาการเปรียญ

(2) สมชาติมีบ้านจัดสรรอยู่ใกล้กับสถานกงสุล

(3) สมพรชอบกินขนมคุกกี้กับขนมเค้กจนตัวอ้วนตุ๊ต๊ะ

(4) สมศรีใส่เสื้อสีสันฉูดฉาดและแต่งหน้าด้วยเครื่องสําอางราคาแพง

ตอบ 1 ประโยคในตัวเลือกข้อ 1 ใช้คําผิด จึงควรแก้ไขเป็น สมชายเรี่ยไรเงินไปสร้างศาลาการเปรียญ(คําว่า “เรี่ยไร” = ขอร้องให้ช่วยออกเงินทําบุญตามสมัครใจ ส่วนคําว่า “เรี่ยราย” = กระจาย เกลื่อนไป)

 

ข้อ 113 – 116 ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้แล้วตอบคําถาม

(1) ใช้คําพุ่มเฟือย

(2) ใช้คําขยายผิดที่

(3) ใช้คํากํากวม

(4) ใช้คําผิดความหมาย

 

113 “เขาทําลายไทย” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด

ตอบ 3 หน้า 11 (54351) การใช้คําที่มีความหมายหลายอย่างจะต้องคํานึงถึงถ้อยคําแวดล้อมด้วยเพื่อให้เกิดความแจ่มชัด ไม่กํากวม เพราะคําชนิดนี้ต้องอาศัยถ้อยคําที่แวดล้อมอยู่เป็นเครื่องช่วย กําหนดความหมาย เช่น เขาทําลายไทย (ใช้คํากํากวม) จึงควรแก้ไขให้มีความหมายแน่ชัดลงไป โดยใช้ถ้อยคําแวดล้อมเสียใหม่เป็น เขาทําลายประเทศไทย/เขาทําศิลปะรูปลายไทย

114 “วันนี้ฉันมาคนเดียวไม่มีใครเป็นเพื่อน” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด

ตอบ 1 หน้า 18 – 19, 39 (54351) การใช้คําฟุ่มเฟือยหรือการใช้คําที่ไม่จําเป็นจะทําให้คําโดยรวมไม่มีน้ำหนักและข้อความขาดความหนักแน่น ไม่กระชับรัดกุม เพราะเป็นคําที่ไม่มีความหมาย แม้จะตัดออกไปก็ไม่ได้ทําให้ความหมายของข้อความนั้นเปลี่ยนแปลงไป แต่กลับทําให้ดูรุงรังยิ่งขึ้น เช่น วันนี้ฉันมาคนเดียวไม่มีใครเป็นเพื่อน (ใช้คําฟุ่มเฟือย) จึงควรแก้ไขเป็นวันนี้ฉันมาคนเดียว

115 “นางแบบลูกครึ่งคนนี้พูดภาษาไทยไม่แข็งแรง” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด

ตอบ 4 หน้า 10 – 11 (54351) การใช้คําในการพูดและเขียนต้องรู้จักเลือกคํามาใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสม คือ ต้องมีความรู้ว่าคําที่จะนํามาใช้นั้นมีความหมายว่าอย่างไร ใช้แล้วเหมาะสม ไม่ผิดความหมาย และจะเป็นที่เข้าใจชัดเจนแจ่มแจ้งเพียงไร เช่น นางแบบลูกครึ่งคนนี้พูดภาษาไทยไม่แข็งแรง ใช้คําไม่ถูกต้อง หรือใช้คําผิดความหมาย) จึงควรแก้ไขเป็น นางแบบลูกครึ่งคนนี้พูดภาษาไทยไม่คล่อง (คําว่า “แข็งแรง” = มีกําลังมาก ส่วนคําว่า “คล่อง” =สะดวก ไม่ติดขัด เช่น พูดคล่อง)

116 “ฉันทํารายงานส่งอาจารย์เรื่องละครไทยน้ำเน่าหรือน้ำดี” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด

ตอบ 2 หน้า 37 (54351) การเรียงลําดับประโยคให้ถูกที่ คือ การวางประธาน กริยา กรรม และส่วนขยายให้ตรงตามตําแหน่ง เพราะถ้าหากวางไม่ถูกที่จะทําให้ข้อความนั้นไม่ชัดเจน หรือมีความหมายไม่ตรงกับที่เราต้องการ เช่น ฉันทํารายงานส่งอาจารย์เรื่องละครไทยน้ำเน่าหรือน้ำดี (ใช้คําขยายผิดที่ หรือใช้คําขยายไม่ถูกต้อง) จึงควรแก้ไขเป็น ฉันทํารายงานเรื่องละครไทยน้ำเน่าหรือน้ำดีส่งอาจารย์

 

ข้อ 117 – 120 ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้แล้วตอบคําถาม

(1) วางส่วนขยายไม่ถูกต้อง

(2) ใช้คําขัดแย้งกัน

(3) ใช้คําไม่เป็นเหตุเป็นผล

(4) ใช้สํานวนต่างประเทศ

 

117 “ห้องสอบที่เต็มไปด้วยนักศึกษา” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด

ตอบ 4 หน้า 38 (54351) การใช้คําตามแบบภาษาไทย คือ การให้ข้อความที่ผูกขึ้นมีลักษณะเป็นภาษาไทย ไม่เลียนแบบภาษาต่างประเทศ ซึ่งจะทําให้ข้อความกะทัดรัด เข้าใจง่าย และ ไม่เคอะเขิน เช่น ห้องสอบที่เต็มไปด้วยนักศึกษา (ใช้สํานวนต่างประเทศ) จึงควรแก้ไขเป็น นักศึกษาอยู่เต็มห้องสอบ

118 “อาหารถูกทําให้เย็นด้วยการนําไปแช่ตู้เย็น” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด

ตอบ 4 หน้า 126 (56256), (ดูคําอธิบายข้อ 117 ประกอบ) ประโยคข้างต้นใช้สํานวนต่างประเทศเพราะในภาษาไทยไม่นิยมใช้คํากริยา “ถูก” แสดงกรรมวาจก นอกจากจะใช้ในเรื่องที่ไม่ดี เท่านั้น หากเป็นเรื่องดีมักจะละคํากริยา “ถูก” ไว้ หรือไม่ก็ใช้คําอื่นหรือเปลี่ยนรูปประโยคเป็นอย่างอื่นไป จึงควรแก้ไขเป็น อาหารเย็นเพราะนําไปแช่ตู้เย็น

119 “ฝนค่อย ๆ ตกลงมาอย่างหนัก” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด

ตอบ 2 หน้า 41 (54351) การใช้คําขัดแย้งกัน คือ การใช้คําที่ทําให้เนื้อความขัดกัน หรือใช้คําที่มีความหมายตรงข้าม เช่น ฝนค่อย ๆ ตกลงมาอย่างหนัก (ใช้คําขัดแย้งกัน) จึงควรแก้ไขเป็นฝนตกลงมาอย่างหนัก (คําว่า “ค่อย ๆ” – ช้า ๆ ส่วนคําว่า “หนัก” = แรง)

120 “มีตึกเรียนในมหาวิทยาลัยหลายหลังที่ไม่ได้ใช้งาน” ประโยคนี้ตรงกับข้อใด ตอบ 1 (ดูคําอธิบายข้อ 116 ประกอบ) ประโยคข้างต้นวางส่วนขยายไม่ถูกต้อง จึงควรแก้ไขเป็นในมหาวิทยาลัยมีตึกเรียนหลายหลังที่ไม่ได้ใช้งาน

POL3301 นโยบายสาธารณะ 1/2561

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3301 นโยบายสาธารณะ

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

(ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

ตั้งแต่ข้อ 1 – 5 ให้พิจารณาคําตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้

(1) Ira Sharkansky

(2) Theodore Lowi

(3) Harold Lasswell

(4) David Easton

(5) Thomas R. Dye

 

1 ใครได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งนโยบายศาสตร์

ตอบ 3 หน้า 3, 58 – 59 ฮาโรลด์ ลาสเวลล์ (Harold Lasswell) ซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มที่เน้น“การสร้างภาพรวมและได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งนโยบายศาสตร์” ได้ให้ความหมายนโยบายสาธารณะร่วมกับอับราแฮม แคปแพลน (Abraham Kaplan) ว่า “นโยบายสาธารณะ หมายถึง แผนหรือโครงการที่กําหนดขึ้น อันประกอบด้วยเป้าหมาย คุณค่า และแนวการปฏิบัติงานต่าง ๆ”

2 ใครกล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่รัฐบาลกระทํา เช่น การบริการสาธารณะ

ตอบ 1 หน้า 3 ไอรา ซาร์แคนสกี้ (Ira Sharkansky) กล่าวว่า “นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่รัฐบาลกระทํา เช่น การบริการสาธารณะ การควบคุมกิจกรรมของบุคคลหรือธุรกิจของเอกชน เป็นต้น”

3 ใครชี้ให้เห็นเหตุผลของการศึกษานโยบายไว้ 3 ประการ ได้แก่ เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ เหตุผลทางวิชาชีพและเหตุผลทางการเมือง

ตอบ 5 หน้า 57, (คําบรรยาย) โทมัส อาร์.ดาย (Thomas R. Dye) ได้ชี้ให้เห็นถึงเหตุผล ความสําคัญ)ของการศึกษาและการกําหนดนโยบายสาธารณะไว้ 3 ประการ คือ

1 เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Reasons) คือ การทําความเข้าใจเหตุและผลของการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบาย เพื่อให้ได้นโยบายที่มีเหตุผลมากที่สุด

2 เหตุผลทางวิชาชีพ (Professional Reasons) คือ การนําความรู้เชิงนโยบายไปใช้แก้ปัญหาทางด้านการปฏิบัติ โดยวิชาชีพที่แตกต่างกันจะทําให้การกําหนดนโยบายและการนํานโยบายไปปฏิบัติของแต่ละวิชาชีพมีความแตกต่างกัน กา3 เหตุผลทางการเมือง (Political Reasons) คือ การดัดแปลงนโยบายที่ถูกต้องเหมาะสมทางการเมืองมาใช้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการเมือง โดยการใช้เหตุผลทางการเมืองมักจะทําให้การกําหนดนโยบายเป็นไปอย่างไม่มีเหตุผลแต่เป็นที่ยอมรับของประชาชน เช่น นโยบายประชานิยมต่าง ๆ เป็นต้น

 

4 ใครกล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง การจัดสรรและแจกแจงคุณค่าโดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นไปเพื่อประโยชน์ของสังคม

ตอบ 4 หน้า 3 เดวิด อิสตัน (David Easton) กล่าวว่า “นโยบายสาธารณะ หมายถึง การจัดสรรและแจกแจงคุณค่า (Values) ต่าง ๆ ของสังคมโดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นไปเพื่อประโยชน์ ของสังคมส่วนรวม”

5 ใครเสนอให้จําแนกนโยบายตามเนื้อหาสาระของนโยบาย

ตอบ 2 หน้า 5 – 6, (คําบรรยาย) ธีโอดอร์ โลวาย (Theodore Lowi) ได้เสนอให้จําแนกประเภท ((ของนโยบายตามเนื้อหาสาระและวัตถุประสงค์ของนโยบายนั้น ๆ ออกเป็น 3 ประเภท คือ

1 นโยบายที่เป็นกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับ (Regulative Policy)

2 นโยบายการกระจายบริการของรัฐ (Distributive Policy)

3 นโยบายเพื่อการจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสมหรือการจัดสรรทรัพยากรเสียใหม่

(Re-Distributive Policy)

 

ตั้งแต่ข้อ 6. – 10. ให้พิจารณาคําตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้

(1) Gross, Giacquinta and Bernstein

(2) Dale E. Richards

(3) Thomas B. Smith

(4) William Dunn

(5) Emanuel Wald

 

6 ใครเสนอตัวแบบของกระบวนการนํานโยบายไปปฏิบัติในประเทศโลกที่สาม

ตอบ 3 หน้า 171 โทมัส บี. สมิท (Thomas B. Smith) ได้เขียนบทความเรื่อง “The Policy Implementation Process” เพื่อเสนอตัวแบบของกระบวนการนํานโยบายไปปฏิบัติ ในประเทศโลกที่สาม และได้ประยุกต์แนวความคิดเชิงระบบสําหรับใช้ในการศึกษาการนํานโยบายไปปฏิบัติในประเทศโลกที่สาม ซึ่งเรียกตัวแบบนี้ว่า “A Model of the Policy Implementation Process”

7 ใครศึกษานวัตกรรมทางการสอนเเบบใหม่โดยเน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่าสาระ

ตอบ 1 หน้า 62 กรอส, ไจแอคควินทา และเบิร์นสไตล์ (Gross, Giacquinta & Bernstein) ได้ศึกษาเรื่อง “Implementing Organizational Innovations : A Sociological Analysis of Planned Educational Change” ซึ่งเป็นการศึกษานวัตกรรมทางการสอนแบบใหม่สําหรับครู โดยให้ครูดําเนินการสอนตามความสนใจของนักเรียน และเน้นที่กระบวนการเรียนรู้มากกว่าเนื้อหาสาระของบทเรียน ซึ่งเรียกตัวแบบนี้ว่า “Catalytic Role Model”

8 ใครสนใจในการวิเคราะห์นโยบาย

ตอบ 4 หน้า 72, (คําบรรยาย) นักวิชาการที่ศึกษาเรื่องการวิเคราะห์นโยบาย (Policy Analysis) ได้แก่

1 เควด (E.S. Quade)

2 วิลเลียม เอ็น. ดันน์ (William N. Dunn)

3 สจ๊วตท์ เอส. นาเกล (Stuart S. Nagel)

4 โทมัส อาร์. ดาย (Thomas R. Dye) ฯลฯ

9 ใครศึกษาการพัฒนาวิทยาลัยครูให้มาเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์

ตอบ 2 หน้า 66 67 เดล อ. ริชาร์ด (Dale E. Richards) ได้ศึกษาเรื่อง “From Teachers College to Comprehensive University” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของ Kent State University ซึ่งพัฒนาจากวิทยาลัยครูจนกระทั่งเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์ สามารถเปิดสอนได้ถึงระดับปริญญาเอก

10 ใครศึกษาแนวโน้มของการศึกษาการบริหารรัฐกิจ พบว่า แบ่งเป็นแบบธรรมเนียมทั่วไป และแบบนโยบายศาสตร์

ตอบ 5 หน้า 56 Emanuel Wald ได้ศึกษาแนวโน้มของการศึกษาการบริหารรัฐกิจ พบว่าแนวคิดของการศึกษาการบริหารรัฐกิจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ แบบธรรมเนียมทั่วไป และแบบนโยบายศาสตร์

 

ตั้งแต่ข้อ 11. – 15. ให้พิจารณาคําตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้

(1) การก่อตัวของนโยบาย

(2) การนํานโยบายไปปฏิบัติ

(3) การเตรียมและเสนอนโยบาย

(4) การอนุมัติและประกาศนโยบาย

(5) การปรับปรุงแก้ไขนโยบาย

 

11 การที่หน่วยงานนํานโยบายมาแปลงเป็นแผนงานและโครงการเป็นขั้นตอนใด ตอบ 2 หน้า 50 – 51, (คําบรรยาย) ขั้นตอนการนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) เป็นขั้นตอนที่แสดงให้เห็นถึงการนําทรัพยากรต่าง ๆ ไปจัดสรรเพื่อก่อให้เกิดผลตามนโยบาย ซึ่งประกอบด้วย

1 การส่งต่อนโยบาย (Policy Delivery)

2 การตีความหรือแปลงนโยบาย ออกมาเป็นแผนงานและโครงการ

3 การชี้แจงเกี่ยวกับนโยบาย

4 การดําเนินงานของ หน่วยงานระดับปฏิบัติ (Street-Level Bureaucracy)

5 การจัดระบบสนับสนุน ได้แก่ ข้อมูลข่าวสาร การมอบหมายอํานาจหน้าที่ และการติดต่อสื่อสาร

6 การติดตามและควบคุมผลการปฏิบัติงาน

12 การพิจารณาปัญหาหรือความต้องการของประชาชนอยู่ในขั้นตอนใด

ตอบ 1 หน้า 23 – 25 ขั้นตอนการก่อตัวของนโยบาย (Policy Formation) ประกอบด้วย

1 การพิจารณาปัญหาหรือความต้องการของประชาชน

2 การพิจารณาเวลาที่เกิดปัญหา

3 ปัญหาที่รัฐบาลสนใจ

4 การจัดลําดับความสําคัญของปัญหา

13 การจัดทําร่างนโยบายอยู่ในขั้นตอนใด

ตอบ 3 หน้า 25 – 26, (คําบรรยาย) ขั้นตอนการเตรียมและเสนอนโยบาย (Policy Formulation) เป็นขั้นตอนที่ต้องมีการศึกษาค้นคว้าเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายเรื่องนั้น ๆ เพื่อช่วย ประกอบการตัดสินใจของผู้กําหนดนโยบาย ซึ่งประกอบด้วย

1 การกําหนดวัตถุประสงค์

2 การกําหนดทางเลือก

3 การจัดทําร่างนโยบาย ซึ่งประกอบด้วย หลักการและเหตุผล  วัตถุประสงค์ แนวทางและมาตรการ การจัดลําดับทางเลือก และการหาข้อมูลประกอบ การพิจารณา

14 การจัดวาระในการพิจารณานโยบายอยู่ในขั้นตอนใด

ตอบ 4 หน้า 49 – 50 ขั้นตอนการอนุมัติและประกาศนโยบาย (Policy Adoption) ประกอบด้วย

1 การจัดวาระในการพิจารณานโยบาย

2 การพิจารณาร่างนโยบาย

3 การอนุมัติหรือไม่อนุมัติ

4 การประกาศนโยบาย

15 การจัดลําดับความสําคัญของปัญหาอยู่ในขั้นตอนใด

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 12 ประกอบ

16 การเปรียบเทียบผลการดําเนินตามนโยบายกับสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับเรื่องใด ๆ

(1) การก่อตัวของนโยบาย

(2) การนํานโยบายไปปฏิบัติ

(3) การเตรียมและเสนอนโยบาย

(4) การประเมินผลนโยบาย

(5) การปรับปรุงแก้ไขนโยบาย

ตอบ 4 หน้า 229 เจมส์ อี. แอนเดอร์สัน (James E. Anderson) กล่าวว่า การประเมินผลนโยบายเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประมาณการ การเปรียบเทียบผลการดําเนินตามนโยบายกับสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่กระทําอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาในทุกขั้นตอนของนโยบาย

17 ปัจจัยสําคัญที่จะทําให้การนํานโยบายไปปฏิบัติประสบความสําเร็จ คือ

(1) วัตถุประสงค์ของนโยบายต้องชัดเจน

(2) มีส่วนร่วมของประชาชน

(3) มีทรัพยากรที่พอเพียง

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ปัจจัยสําคัญที่จะทําให้การนํานโยบายไปปฏิบัติประสบความสําเร็จ มีดังนี้

1 ลักษณะของนโยบายที่สามารถเห็นผลได้อย่างชัดเจน

2 วัตถุประสงค์ของนโยบายที่ชัดเจน สอดคล้องกัน และสามารถรับรู้ได้ง่าย

3 ความเป็นไปได้ทางการเมืองหรือการได้รับการสนับสนุนทางการเมือง

4 ความเป็นไปได้ทางเทคโนโลยีหรือภารมีเทคโนโลยีที่เหมาะสม

5 ทรัพยากรที่พอเพียง

6 ผู้นํานโยบายไปปฏิบัติมีทัศนคติที่ดีต่อตัวนโยบาย ฯลฯ

ซึ่งหากไม่เป็นไปตามลักษณะปัจจัยดังกล่าวก็จะทําให้การนํานโยบายไปปฏิบัติประสบความล้มเหลว

18 ปัจจัยที่จะทําให้การนํานโยบายไปปฏิบัติประสบความล้มเหลว คือ

(1) ลักษณะของนโยบายไม่ชัดเจน

(2) มีเทคโนโลยีที่เหมาะสม

(3) ผู้ปฏิบัติมีทัศนคติในการต่อต้านนโยบาย

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก

ตอบ 5 ดูคำอธิบายข้อ 17 ประกอบ

19 ข้อใดไม่ใช่กระบวนการที่ Stuart S. Nagel เสนอไว้ในแนวคิดในการประเมินนโยบายของเขา

(1) การกําหนดเป้าหมายเพื่อบรรลุผล

(2) การกําหนดแผนงาน

(3) การกําหนดคน สถานที่ อุปกรณ์

(4) การวิเคราะห์ผลตอบแทนสูงสุด

(5) การกําหนดความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายกับนโยบาย

ตอบ 2 หน้า 239 240 สจ๊วตท์ เอส. นาเกล (Stuart S. Nagel) ได้เสนอแนวคิดในการวิเคราะห์ข้อมูลแบบง่ายสําหรับการวิเคราะห์หรือการประเมินนโยบาย ซึ่งมีหลักการหรือกระบวนการ ที่สําคัญ 5 ขั้นตอน ดังนี้

1 กําหนดเป้าหมายเพื่อการบรรลุผล หรือการให้ผลประโยชน์ ตอบแทนสูงสุด

2 กําหนดเป้าหมายสัมพันธ์

3 กําหนดคน สถานที่ หรือวัสดุอุปกรณ์ ให้สอดคล้องกับนโยบายนั้น ๆ

4 กําหนดความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายกับนโยบาย

5 ปรับความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายกับนโยบาย

20 ข้อใดไม่ถูกต้อง

(1) Harold Lasswell อยู่ในกลุ่มที่เน้นการสร้างภาพรวม

(2) Woodrow Wilson คิดว่าการเมืองกับการบริหารควรแยกออกจากกัน (3) Emanuel Wald ศึกษาว่านโยบายศาสตร์เป็นแนวโน้มหนึ่งของการศึกษาบริหารรัฐกิจ

(4) Yehezket Dror เน้นเรื่องผลของนโยบายและการประเมินผลของนโยบาย (5) David Easton กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง แผนหรือโครงการที่กําหนดขึ้น

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 1 และ 4 ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 21 – 25 ให้พิจารณาคําตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้

(1) Policy Outputs

(2) Policy Formulation

(3) Policy Implementation

(4) Policy Process

(5) Policy Impacts

 

21 การแปลงนโยบายเป็นแผนงานเกี่ยวข้องกับเรื่องใด

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 11 ประกอบ

22 เรื่องใดเกี่ยวข้องกับการนําทรัพยากรต่าง ๆ ไปก่อให้เกิดผลตามนโยบาย

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 11 ประกอบ

23 การที่หมู่บ้านแต่ละหมู่บ้านได้รับเงิน 1 ล้านบาท เรียกว่าอะไร

ตอบ 1 หน้า 7, (คําบรรยาย) ผลผลิตของนโยบาย (Policy Outputs) คือ ขั้นตอนที่แสดงให้เห็นถึงระดับต่าง ๆ ของการบริหาร ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดมาจากการดําเนินงานในภาครัฐตามที่รัฐบาลต้องการให้เกิดขึ้น เช่น การที่หมู่บ้านแต่ละหมู่บ้านได้รับเงิน 1 ล้านบาท เป็นต้น

24 การมีนโยบายสร้างงานในชนบททําให้ประชาชนเรียนรู้วิธีการคอร์รัปชั่นเกี่ยวข้องกับเรื่องใด

ตอบ 5 หน้า 7 – 8, (คําบรรยาย) ผลกระทบของนโยบาย (Policy Impacts) คือ ผลสะท้อนของการบริการต่าง ๆ ของรัฐบาลที่จะเกิดขึ้นแก่ประชาชน ซึ่งอาจจะเป็นทั้งทางบวกและทางลบก็ได้ หรือเป็นผลในอนาคตที่จะเกิดขึ้น ซึ่งเป็นผลทางอ้อมทั้งที่ตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจให้เกิดขึ้น เช่น นโยบายสร้างงานในชนบทมีวัตถุประสงค์เพื่อก่อให้เกิดความเจริญในท้องถิ่น แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นก็คือ ทําให้ประชาชนเรียนรู้วิธีการคอร์รัปชั่น เป็นต้น

25 การศึกษาปัญหาของท้องถิ่นและนํามาเป็นข้อมูลในการกําหนดนโยบายเกี่ยวข้องกับเรื่องใด

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 13 ประกอบ

 

ตั้งแต่ข้อ 26 – 30 ให้พิจารณาคําตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้

(1) การวิเคราะห์เชิงสหวิทยาการ

(2) การประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง

(3) การประเมินผลด้วยวิธีกึ่งทดลอง

(4) การบระเมินผลด้วยวิธีเตรียมทดลอง

(5) การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลประโยชน์

 

26 รูปแบบใดเกี่ยวข้องกับหลักเศรษฐศาสตร์มากที่สุด

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลประโยชน์ (Cost – Benefit Analysis) เป็นเทคนิคที่ใช้วัดในกรณีที่ต้นทุนและผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นสามารถตีค่าออกมาในรูปของตัวเงินหรือเป็นเชิงปริมาณ (ตัวเลข) ได้ โดยพิจารณาที่ผลประโยชน์สุทธิสูงสุด นั่นคือ ต้องตีค่าผลประโยชน์ที่ได้เป็นตัวเงิน เท่านั้น เทคนิคนี้เป็นเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับหลักเศรษฐศาสตร์มากที่สุด และมักนิยมใช้วิเคราะห์นโยบายที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน เช่น นโยบายการสร้างเขื่อน เป็นต้น

27 รูปแบบใดเป็นการแสวงหาข้อมูลเชิงประจักษ์ที่เชื่อถือได้และแม่นตรงมากที่สุด ตอบ 2 หน้า 233 234 ประโยชน์ของการวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบทดลอง หรือการประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง (Experimental Design) มีดังนี้

1 เป็นเครื่องมือในการแสวงหาข้อมูลเชิงประจักษ์ที่เชื่อถือได้และแม่นตรงมากที่สุด

2 ช่วยทําให้เกิดการประหยัดทรัพยากรทางการบริหารในระยะยาว

 

28 การกระจายสุ่ม (Randomization) ของกลุ่มตัวอย่างในการจัดพื้นที่ทดลองและพื้นที่ควบคุมเป็นสิ่งสําคัญอยู่ในรูปแบบใด

ตอบ 2 หน้า 233, (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบทดลอง หรือการประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง เป็นวิธีการที่มีความเคร่งครัดในการดําเนินงานมากที่สุด โดยมีลักษณะสําคัญดังนี้

1 มีการจัดกลุ่มขึ้นเพื่อทําการทดลอง โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง (Experimental Group) และกลุ่มควบคุม (Control Group)

2 มีการกําหนดเป้าหมายและหลักเกณฑ์ในการวัดความสําเร็จ โดยการวัดนั้นจะวัดก่อนที่โครงการจะถูกนํามาใช้และวัดอีกครั้งหลังจากที่โครงการสิ้นสุดแล้ว

3 มีการเลือกกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง (Random Sampling)จากประชากรที่อยู่ในเป้าหมายของโครงการ และใช้วิธีการกระจายสุ่ม (Randomization) การของกลุ่มตัวอย่างในการจัดพื้นที่ทดลองและพื้นที่ควบคุม

29 การจับคู่ (Matching) ของกลุ่มตัวอย่างในการจัดพื้นที่ทดลองและพื้นที่ควบคุมเป็นสิ่งสําคัญอยู่ในรูปแบบใด

ตอบ 3 หน้า 233, 236 การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบกึ่งทดลอง หรือการประเมินผลด้วยวิธีกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Design) มีวิธีการที่สําคัญคือ การจับคู่ (Matching) ซึ่งเป็นการแสวงหาคู่ในระดับบุคคลในพื้นที่หรือหน่วยการทดลองที่เกี่ยวข้อง ที่มีความคล้ายคลึงกัน ตั้งแต่หนึ่งคุณลักษณะที่ศึกษา จากนั้นสมาชิกของคู่จะถูกกําหนดให้เป็นกลุ่มทดลอง ในขณะที่สมาชิกของคู่เดียวกันจะถูกกําหนดให้เป็นกลุ่มควบคุม ทั้งนี้เพื่อให้ 2 กลุ่มมีความเท่าเทียมกันพอควรก่อนเริ่มดําเนินการ

30 รูปแบบใดของการทดลองเป็นการแสวงหาข้อมูลเชิงประจักษ์ที่เชื่อถือได้และแม่นตรงน้อยที่สุด

ตอบ 4 หน้า 233, 236 237, (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงประเมินแบบเตรียมทดลอง หรือการประเมินผลด้วยวิธีเตรียมทดลอง (Pre-Experimental Design) เป็นทางเลือกสุดท้ายของการประเมิน นั่นคือ ถ้าผู้ประเมินไม่สามารถที่จะใช้การประเมินผลด้วยวิธีการทดลองและวิธีกึ่งทดลองได้ ก็จําเป็นต้องเลือกแบบหนึ่งแบบใดของการประเมินผลด้วยวิธีเตรียมทดลอง ซึ่งการประเมินผลด้วยวิธีนี้มีจุดอ่อน คือ ผู้ประเมินไม่สามารถควบคุมปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ที่ต้องมีคําอธิบายได้ จึงทําให้การประเมินผลมีความน่าเชื่อถือและแม่นตรงน้อยที่สุด เมื่อเทียบกับการวิจัยประเมินผลด้วยวิธีอื่น ๆ

31 ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับ “ความรู้ในการกําหนดนโยบายของรัฐ”

(1) ความรู้เกี่ยวกับการทําให้องค์การรัฐวิสาหกิจไม่ขาดทุน

(2) ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาบุคคลที่มาปฏิบัติหน้าที่

(3) ความรู้เกี่ยวกับการสร้างผลกําไรให้หน่วยงานโดยไม่สนใจประชาชน

(4) ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์การวางระบบของงาน

(5) ต้องใช้ความรู้ในการกําหนดนโยบายทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 60, ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการกําหนดนโยบายของรัฐ มีดังนี้

1 ความรู้เกี่ยวกับการทําให้องค์การรัฐวิสาหกิจไม่ขาดทุน

2 ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาบุคคลที่มาปฏิบัติหน้าที่

3 ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์การวางระบบของงานใหม่

4 ความรู้เกี่ยวกับการประสาน การส่งข่าวสารหรือข้อมูลที่ถูกต้อง

32 การนําศาสตร์ในหลาย ๆ สาขามาใช้ในการวิเคราะห์นโยบาย เป็นแนวโน้มในเรื่องใด

(1) แนวโน้มเกี่ยวกับเป้าหมายและคุณค่า

(2) แนวโน้มเกี่ยวกับวิธีการ

(3) แนวโน้มเกี่ยวกับแนวทางการดําเนินนโยบาย

(4) แนวโน้มเกี่ยวกับรูปแบบ

(5) แนวโน้มเกี่ยวกับการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายและผลตอบแทน

ตอบ 3 หน้า 74 แนวโน้มการวิเคราะห์นโยบายในอนาคต มี 3 แนวโน้มใหญ่ คือ

1 แนวโน้มเกี่ยวกับเป้าหมายและคุณค่า จะมุ่งเน้นการบรรลุเป้าหมายโดยหาทางเลือกที่ดีที่สุดที่ทําให้ประชาชนพอใจ และสนองต่อคุณค่าต่าง ๆ ของสังคม โดยการเน้นให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็น เพื่อให้นโยบายที่เกิดขึ้นสนองตอบต่อสังคมโดยส่วนรวมอย่างแท้จริง

2 แนวโน้มเกี่ยวกับแนวทางการดําเนินนโยบาย จะมุ่งเน้นการหาวิธีการที่ดีที่สุดที่เป็นไปได้ โดยการพิจารณามิติทางการเมืองและการบริหาร และมีการนําศาสตร์ในหลาย ๆ สาขาวิชามาใช้ในการวิเคราะห์นโยบายในลักษณะสหวิทยาการ

3 แนวโน้มเกี่ยวกับวิธีการ จะมุ่งเน้นการวิเคราะห์เชิงธุรกิจที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายและผลตอบแทน (Cost – Benefit) รวมทั้งการคํานึงถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่จะเกิดขึ้นด้วย

33 การเน้นให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็นเพื่อให้นโยบายที่เกิดขึ้นสนองตอบต่อสังคมโดยส่วนรวมอย่างแท้จริง เป็นแนวโน้มเกี่ยวกับเรื่องใด

(1) มาตรฐาน

(2) เป้าหมายและคุณค่า

(3) การดําเนินนโยบาย

(4) วิธีการ

(5) การสร้างตัวแบบหรือทฤษฎี

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 32 ประกอบ

34 ข้อใดเป็นนโยบายในด้านการบริการและการท่องเที่ยว

(1) เพิ่มมาตรการอํานวยความสะดวก สร้างความปลอดภัย

(2) ส่งเสริมการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร

(3) ผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตสินค้า

(4) ส่งเสริมการประมงชายฝั่งและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

(5) เป็นนโยบายในด้านการบริการและการท่องเที่ยวทุกข้อ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) นโยบายการส่งเสริมด้านการบริการและการท่องเที่ยว ได้แก่

1 เร่งฟื้นฟูระดับความสัมพันธ์และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้ประเทศไทยเป็นประตูทางผ่านหลักของการท่องเที่ยวในภูมิภาค

2 เพิ่มมาตรการอํานวยความสะดวก สร้างความปลอดภัย และป้องกันการเอาเปรียบนักท่องเที่ยว

3 ยกระดับประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการประชุม การสัมมนา และการแสดงสินค้าของภูมิภาค

4 เพิ่มความหลากหลายของการท่องเที่ยวรูปแบบต่าง ๆ ทั้งการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เชิงเกษตรกรรม และการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ ฯลฯ

35 รัฐบาลเร่งรัดดําเนินการเพื่อให้การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เป็นนโยบายของรัฐบาลอยู่ในด้านใด

(1) นโยบายเสริมสร้างสังคมเข้มแข็ง

(2) นโยบายการสร้างรายได้

(3) นโยบายการพัฒนาแรงงาน

(4) นโยบายด้านการศึกษา

(5) นโยบายเศรษฐกิจ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) นโยบายเสริมสร้างสังคมเข้มแข็ง แบ่งออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่

1 ด้านสาธารณสุขและสุขภาพ

2 ด้านกีฬา

3 ด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ซึ่งรัฐบาลจะเร่งรัดดําเนินการเพื่อให้การป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด

4 ด้านครอบครัว เด็ก เยาวชน สตรี และผู้สูงอายุ

5 ด้านการส่งเสริมผู้ด้อยโอกาส

36 นโยบายการสร้างรายได้ ครอบคลุมในเรื่องใดบ้าง

(1) ด้านการเกษตร

(2) ด้านอุตสาหกรรม

(3) ด้านการบริการ

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) นโยบายการสร้างรายได้ เป็นนโยบายที่รัฐบาลสนับสนุนและผลักดันให้มีกระบวนการสร้างรายได้ให้กับประชาชนทุกระดับ โดยจะส่งเสริมแนวทางเศรษฐกิจแบบพอเพียงตามศักยภาพของชุมชนในระดับฐานราก ซึ่งมีแนวนโยบายครอบคลุม 3 ด้าน คือ

1 ด้านการเกษตร

2 ด้านอุตสาหกรรม

3 ด้านการบริการและการท่องเที่ยว

37 ข้อใดถูกต้อง

(1) การนํานโยบายไปปฏิบัติที่มีประสิทธิผลต้องการความสามารถทางการบริหารสูง (2) การนํานโยบายไปปฏิบัติจะเหมาะกับประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

(3) การนํานโยบายไปปฏิบัติจะง่ายในประเทศที่มีขนาดไม่ใหญ่

(4) การนํานโยบายไปปฏิบัติจะง่ายขึ้นในประเทศที่ปกครองแบบรวมศูนย์อํานาจ ติดต่อได้

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 61 – 62 การนํานโยบายไปปฏิบัติในประเทศต่าง ๆ อาจจะให้ผลแตกต่างกัน ดังนี้

1 การนํานโยบายไปปฏิบัติที่มีประสิทธิผลต้องการความสามารถทางการบริหารสูงจะกลายเป็นข้อจํากัดที่สําคัญของประเทศในโลกที่ 3 และในยุโรปบางประเทศ

2 การนํานโยบายไปปฏิบัติจะง่ายในประเทศที่มีขนาดกลางหรือขนาดเล็ก

3 การนํานโยบายไปปฏิบัติจะเหมาะสมกับประเทศที่ยึดถือการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

4 การนํานโยบายไปปฏิบัติจะง่ายในประเทศที่มีการปกครองแบบรวมศูนย์อํานาจ

5 การนํานโยบายไปปฏิบัติจะมีประสิทธิผลมากในประเทศที่รัฐบาลมีเสถียรภาพสูง

 

38 ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกัน

(1) Elite Theory : การศึกษาในแง่ตัวแบบหรือทฤษฎี

(2) Group Theory : การหาสาเหตุและผลของนโยบาย

(3) Policy Process : ศึกษากระบวนการต่าง ๆ ในการกําหนดนโยบาย

(4) Policy Area Study : ศึกษาข้อปลีกย่อยในแต่ละแง่มุมของนโยบาย

(5) Descriptive Study : เป็นการพรรณนาสิ่งที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย

ตอบ 2 หน้า 8 แนวทางการศึกษานโยบายสาธารณะ แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ

1 การศึกษาในแง่ตัวแบบหรือทฤษฎี (Theory or Model of Study) เป็นการศึกษาตามแนวทางที่มุ่งคิดค้นและสร้างเป็นตัวแบบหรือทฤษฎีของวิธีการศึกษานโยบายของรัฐ แล้วนําเอาตัวแบบ หรือทฤษฎีนั้น ๆ ไปใช้ในการศึกษาต่อไป เช่น ทฤษฎีผู้นํา (Elite Theory), ทฤษฎีกลุ่ม (Group Theory), ทฤษฎีระบบ (System Theory) เป็นต้น

2 การศึกษาในแง่ขอบเขตของนโยบาย (Policy Area Study) เป็นการศึกษาข้อปลีกย่อยของนโยบายแต่ละอย่างแต่ละแง่มุม โดยหาสาเหตุและเหตุผลของแต่ละประเด็นนําเอามาศึกษาและเปรียบเทียบกันดูโดยละเอียด

3 การศึกษาในแง่กระบวนการของนโยบาย (Policy Process Study) เป็นการศึกษากระบวนการต่าง ๆ ของนโยบายไม่ว่าจะเป็นกระบวนการกําหนดนโยบาย กระบวนการพัฒนา กระบวนการจัดตั้งองค์การ หรืออื่นใดก็ตาม

39 ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของนโยบาย

(1) วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

(2) แนวทางในการบรรลุผล

(3) ขั้นตอนหรือแผนงาน

(4) ทุนที่ใช้ในการดําเนินการ

(5) เป็นองค์ประกอบของนโยบายทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 10 – 12 องค์ประกอบของนโยบายสาธารณะ มีดังนี้

1 วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่ชัดเจน

2 ลําดับขั้นตอนหรือแผนงานในการปฏิบัติ

3 แนวทางหรือหลักการในการบรรลุผลสําเร็จ

4 การกําหนดการกระทําต่าง ๆ และมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ฯลฯ

40 Policy Science หมายถึงอะไร

(1) ความรู้ในเรื่องของนโยบาย

(2) ความรู้ในการกําหนดนโยบาย

(3) ความรู้ในการนํานโยบายไปปฏิบัติ

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 59 – 60 นโยบายศาสตร์ (Policy Science) หมายถึง การให้ความรู้ในเรื่องของนโยบาย (Policy-Issue Knowledge) และความรู้ในการกําหนดนโยบายของรัฐ (Policy-Making Knowledge)

 

ตั้งแต่ข้อ 41 – 45 ให้พิจารณาคําตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้

(1) Regulative Policy

(2) Distributive Policy

(3) Re-Distributive Policy

(4) Capitalization Policy

(5) Ethical Policy

 

41 30 บาทรักษาทุกโรค เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด

ตอบ 2 หน้า 5, (คําบรรยาย) นโยบายการกระจายบริการของรัฐ (Distributive Policy) เป็นนโยบายที่รัฐบาลต้องจัดบริการพื้นฐานให้ประชาชนทุกคนได้ใช้ หรือเพื่อให้ประชาชนทั่วไปโดยส่วนรวม มีโอกาสได้รับบริการสาธารณะที่เป็นของรัฐบาลอย่างทั่วถึงและพอเพียง เช่น นโยบายการมีถนนแยกเลนไปสู่ทุกจังหวัด, นโยบายการลดราคาน้ำมันเบนซิน, โครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน, การขยายช่องทางจราจรหรือการสร้างถนน, นโยบายให้มีสถานพยาบาลให้ครบทุกอําเภอ,การจัดให้มีบัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรค, การจัดให้มีไฟฟ้าและน้ำประปาใช้ทุกหมู่บ้าน เป็นต้น

42 การรณรงค์ให้มีน้ำใจต่อนักท่องเที่ยว เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด

ตอบ 5 หน้า 6, (คําบรรยาย) นโยบายเพื่อจริยธรรม (Ethical Policy) เป็นนโยบายของรัฐบาลที่ไม่มีการบังคับให้ผู้ใดปฏิบัติตาม แต่ต้องการจูงใจและสนับสนุนหรือส่งเสริมให้ประชาชน มีความรู้สึกสํานึกที่ดี และมีจิตสํานึกในทางที่ถูกที่ควรที่จะปฏิบัติตาม เช่น โครงการพลังแผ่นดิน โครงการเมืองน่าอยู่, โครงการถนนสีขาว, โครงการหน้าบ้านน่ามอง, นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ, นโยบายส่งเสริมให้มีน้ำใจต่อนักท่องเที่ยว และการรณรงค์ต่าง ๆ เป็นต้น

43 โครงการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกร เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด

ตอบ 3 หน้า 6 (คําบรรยาย) นโยบายเพื่อการจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสมหรือการจัดสรรทรัพยากรเสียใหม่ (Re-Distributive Policy) เป็นนโยบายที่กําหนดขึ้นเพื่อประชาชนบางอาชีพ ผู้ประกอบการบางสาขาการผลิต พื้นที่บางพื้นที่ตามความจําเป็น เช่น การออกบัตรประกันสังคม, การออกบัตรสุขภาพ, นโยบายการแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้, นโยบายการจํานําข้าว, นโยบาย เพิ่มค่าแรง 300 บาทต่อวัน, โครงการช่วยเหลือชาวสลัม, โครงการสงเคราะห์คนชรา, โครงการ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ, โครงการอาหารกลางวันแก่เด็กยากจน, กองทุนพัฒนาสตรี เป็นต้น หรือเป็นนโยบายที่ดึงเอาทรัพยากรจากประชาชนกลุ่มหนึ่งมาจัดสรรใหม่ให้เกิดประโยชน์แก่ ประชาชนอีกกลุ่มหนึ่งที่ด้อยโอกาส เช่น นโยบายภาษี (เช่น นโยบายการเก็บภาษีอัตราก้าวหน้า), นโยบายการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกร เป็นต้น

44 โครงการ “เมาไม่ขับ” เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด

ตอบ 1 หน้า 5, (คําบรรยาย) นโยบายที่เป็นกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับ (Regulative Policy) เป็นนโยบายที่หน่วยงานของรัฐหรือรัฐบาลกําหนดขึ้นเพื่อให้ทุกคนต้องปฏิบัติตาม ถ้าใครไม่ปฏิบัติตามถือว่า ผิดกฎหมายต้องถูกลงโทษ หรือเป็นกติกาในการอยู่ร่วมกันของสมาชิกในสังคมอย่างเสมอภาค และเป็นธรรม เช่น กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายจราจร (เช่น โครงการเมาไม่ขับ การขับรถยนต์ต้องมีใบขับขี่) นโยบายจัดระเบียบสังคม เป็นต้น

45 การสร้างสนามบินหนองงูเห่า เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด

ตอบ 4 หน้า 6, (คําบรรยาย) นโยบายเพื่อการลงทุน (Capitalization Policy) เป็นนโยบายที่รัฐบาลกําหนดขึ้นเพื่อใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ หรือเพื่อแสวงหาทรัพยากรใหม่ ๆ คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมา แล้วก่อให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมและประเทศชาติ หรือการสร้างสิ่งก่อสร้างบางอย่างเพื่อเป็น พื้นฐานในการพัฒนาประเทศต่อไป เช่น นโยบายพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกและภาคใต้,การสร้างสนามบิน, การสร้างนิคมอุตสาหกรรม, การสร้างท่าเรือน้ำลึก, การวางท่อก๊าซ เป็นต้น

 

ข้อ 46 – 50 ให้พิจารณาคําตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้

(1) ตารางวิเคราะห์ปัญหา

(2) การทดลองทางสังคม

(3) การสร้างดัชนีสังคม

(4) การประเมินพัฒนาการ

(5) การวิเคราะห์อรรถประโยชน์แบบพหุลักษณ์

 

46 การทําประชามติเกี่ยวกับการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เกี่ยวข้องกับเทคนิคใดมากที่สุด

ตอบ 5 หน้า 257, (คําบรรยาย) การวิเคราะห์อรรถประโยชน์แบบพหุลักษณ์ เป็นวิธีการที่ออกแบบมาเพื่อพิจารณาความรู้สึกและทัศนะที่เป็นอัตวิสัยของประชาชนผู้เกี่ยวข้องกับนโยบายหรือมีส่วนได้ส่วนเสียในนโยบาย ซึ่งจุดเด่นของวิธีการนี้อยู่ที่การพยายามดึงคุณค่าและความเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่แอบแฝงอยู่อันไม่สามารถเห็นได้ชัดเจนออกมาให้เห็นชัดเจน เช่น การทําประชามติ เป็นต้น

47 การหาแนวทางในการแก้ปัญหาจราจร เกี่ยวข้องกับเทคนิคใดมากที่สุด

ตอบ 1 หน้า 112, (คําบรรยาย) ตารางวิเคราะห์ปัญหา (Problem Analysis Table) เป็นการวิเคราะห์ปัญหาโดยการจัดทําเป็นตารางที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างสภาพปัญหา (ลักษณะของปัญหา) สาเหตุ (กลุ่มของสาเหตุ) และแนวทางแก้ไขปัญหา เพื่อต้องการให้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับปัญหา ได้ชัดเจนในตารางเดียวกัน ซึ่งถือเป็นเทคนิคที่นิยมใช้กันมากที่สุด เช่น การหาแนวทางในการแก้ปัญหาจราจร เป็นต้น

48 การนํารูปแบบผู้ว่าบูรณาการ (CEOs) มาใช้ในการบริหารงาน เกี่ยวข้องกับเทคนิคใดมากที่สุด

ตอบ 2 หน้า 114, (คําบรรยาย) การทดลองทางสังคม (Social Experiment) เป็นการทดลองที่เน้นการนําเอานโยบายหนึ่งไปใช้ในกลุ่มเป้าหมายเล็ก ๆ และประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการดําเนินการตามนโยบายนั้นก่อนที่จะนํานโยบายไปใช้ในกลุ่มเป้าหมายจริงทั้งหมด เช่น การนํารูปแบบผู้ว่าบูรณาการ (CEOS) มาใช้ในการบริหารในจังหวัดนําร่องก่อนที่จะ นําไปใช้จริงในจังหวัดต่าง ๆ เป็นต้น

49 การศึกษาสภาพต่าง ๆ ทางด้านสังคม เศรษฐกิจ ให้เป็นรูปธรรม เกี่ยวข้องกับเทคนิคใดมากที่สุด

ตอบ 3 หน้า 114 การสร้างดัชนีสังคม (Social Indicator) คือ การสร้างค่าที่ใช้วัดสภาพต่าง ๆ อันเป็นเกณฑ์ในการประเมินผลของนโยบายทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง เพื่อบอกให้ทราบถึง สภาพปัจจุบันและการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ โดยดัชนีสังคมนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 ดัชนีแบบปรนัย มีลักษณะเป็นรูปธรรมและให้ค่าทางตัวเลขได้

2 ดัชนีแบบอัตนัย มีลักษณะเป็นนามธรรม สังเกตไม่ได้ จับต้องไม่ได้ และให้ค่าทางตัวเลขค่อนข้างลําบาก

50 การศึกษาปัญหาอุปสรรคในการดําเนินงานแต่ละวัน เกี่ยวข้องกับเทคนิคใดมากที่สุด

ตอบ 4 หน้า 253 การประเมินพัฒนาการ เป็นการประเมินผลที่ออกแบบมาเพื่อประเมินการทํางานประจําวันของผู้นํานโยบายไปปฏิบัติโดยเฉพาะ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการเตือนให้ผู้นํานโยบาย ไปปฏิบัติได้ทราบถึงปัญหาอุปสรรคและข้อบกพร่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันไม่ว่าจะโดยตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจก็ตาม

51 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 มีเป้าหมายในการพัฒนาประชากรกลุ่มผู้ด้อยโอกาส “กลุ่มผู้ด้อยโอกาส” ได้แก่

(1) เด็กที่อยู่ในภาวะยากลําบาก

(2) สตรีในธุรกิจบริการทางเพศ

(3) คนพิการ ผู้ถูกคุมประพฤติ และผู้ต้องขัง

(4) ผู้สูงอายุยากจนที่ไม่มีญาติหรือผู้เลี้ยงดู

(5) ถูกทุกข้อ 2

ตอบ 5 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 มีเป้าหมายในการพัฒนาประชากร “กลุ่มผู้ด้อยโอกาส” ซึ่งได้แก่

1 กลุ่มเด็กที่อยู่ในภาวะยากลําบาก

2 กลุ่มเด็กและสตรีในธุรกิจบริการทางเพศ และถูกประทุษร้าย

3 กลุ่มคนพิการ

4 กลุ่มผู้ถูกคุมประพฤติและผู้ต้องขัง

5 กลุ่มผู้สูงอายุยากจนที่ไม่มีญาติหรือผู้เลี้ยงดู

6 กลุ่มคนยากจนในเมืองและชนบท

7 กลุ่มคนไทยต่างวัฒนธรรม

52 สาเหตุสําคัญที่ทําให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจไทยในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 คือ

(1) ขาดปัจจัยพื้นฐานในการพัฒนาประเทศอย่างรุนแรง

(2) รายได้จากการท่องเที่ยวลดลงมากและคนไทยนิยมไปท่องเที่ยวต่างประเทศมากขึ้น

(3) ปัญหาคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์

(4) ปัญหาแรงงานฝีมือต่ำ

(5) ปัญหาด้านการส่งออก

ตอบ 2 (คําบรรยาย) สาเหตุสําคัญที่ทําให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจไทยในช่วงปี พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นปีแรกของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 มีดังนี้

1 ปัญหาเศรษฐกิจแบบฟองสบู่

2 ระบบเศรษฐกิจและ การเมืองในลักษณะรวมศูนย์

3 ความด้อยประสิทธิภาพในการบริหารจัดการของภาครัฐ

4 การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคของคนไทยที่มีค่านิยมทางวัตถุและสิ่งฟุ่มเฟือย รวมทั้งการนิยมเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศมากขึ้น จนส่งผลให้รายได้จากการท่องเที่ยวภายในประเทศลดลง

53 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายเพิ่มค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาของประเทศทั้งภาครัฐและเอกชนไม่น้อยกว่าร้อยละเท่าไหร่ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ

(1) ร้อยละ 0.6

(2) ร้อยละ 0.5

(3) ร้อยละ 0.4

(4) ร้อยละ 0.3

(5) ร้อยละ 0.2

ตอบ 3 หน้า 433 434, (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายดุลยภาพทางเศรษฐกิจ ดังนี้

1 มีอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี

2 การส่งออกสินค้ามีการขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 ต่อปี โดยเพิ่มส่วนแบ่งตลาดส่งออกของไทยให้อยู่ในระดับร้อยละ 1.1 ของตลาดโลกในปี พ.ศ. 2549

3 เพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวโดยมีรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 9 7-8 ต่อปี และให้คนไทยท่องเที่ยวภายในประเทศเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 3 ต่อปี

4 เพิ่มค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศทั้งภาครัฐและเอกชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ฯลฯ

54 แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 มีลักษณะที่แตกต่างจากแผ่นอื่น ๆ คือ

(1) มุ่งเน้นการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน

(2) มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจโดยไม่คํานึงถึงผลทางด้านสังคม

(3) สนใจเรื่องการกระจายรายได้

(4) เป็นแผนที่มีระยะเวลานาน 6 ปี

(5) เน้นเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งเเวดล้อม

ตอบ 4 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากแผนพัฒนาฯ ฉบับอื่น ๆ ดังนี้

1 เป็นแผนที่มีระยะเวลายาวนานถึง 6 ปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 ถึง พ.ศ. 2509 2 เป็นแผนที่กําหนดวัตถุประสงค์เดียว (Single Objective) คือ เร่งรัดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

55 ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายว่าในปี 2549 ประชาชนจะมีการศึกษา โดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่ากี่ปี

(1) 6 ปี

(2) 8 ปี

(3) 9 ปี

(4) 12 ปี

(5) 15 ปี

ตอบ 3 หน้า 434 แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายการยกระดับคุณภาพชีวิต ดังนี้

1 ให้ประชาชนอายุ 5 ปีขึ้นไปมีการศึกษาโดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 9 ปี ในปี พ.ศ. 2549 2 ยกระดับการศึกษาของแรงงานไทยให้ถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้นขึ้นไปไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ในปี พ.ศ. 2549

3 ขยายการประกันสุขภาพให้ครอบคลุมประชาชนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

4 ให้มีระบบการคุ้มครองทางสังคมที่สร้างหลักประกันแก่คนไทยทุกช่วงวัย ฯลฯ

56 การเน้นความสําคัญของ “เกษตรกร” มีแนวทางอย่างไร

(1) สนับสนุนให้เกษตรกรริเริ่มในการตัดสินใจเลือกการผลิตที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่

(2) ให้สินเชื่อทางการเกษตรแก่เกษตรกรมากขึ้น

(3) รัฐเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้สนับสนุนมาเป็นผู้ชี้นําในการพัฒนาการเกษตร

(4) ให้ภาคเอกชนลงทุนในด้านวิชาการ และการวิจัยทางการเกษตร

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การเน้นความสําคัญของ “เกษตรกร” ตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 มีแนวทาง ดังนี้

1 สนับสนุนให้เกษตรกรเป็นผู้ริเริ่มในการตัดสินใจเลือกการผลิตที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และความต้องการของตลาดในระยะยาว

2 ให้ความสําคัญกับกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทาง เศรษฐกิจ เช่น กลุ่มเกษตรกรผู้ยากจน แรงงานรับจ้างภาคเกษตร ผู้มีรายได้น้อยที่ไม่มีที่ดิน ของตนเอง ให้ได้รับบริการด้านปัจจัยการผลิตอย่างทั่วถึงและเพียงพอ

3 รัฐต้องเปลี่ยนบทบาทจากการเป็น “ผู้ชี้นํา” มาเป็น “ผู้สนับสนุน” ในการพัฒนาการเกษตร

4 ภาครัฐต้องเน้นการลงทุนในด้านวิชาการ และการวิจัยทางการเกษตร

57 หลักการสําคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 คือข้อใด (1) การพัฒนาอย่างยั่งยืน

(2) การพัฒนาฝีมือแรงงาน

(3) ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

(4) ความสุขมวลรวมประชาชาติ

(5) การลดอัตราการเกิดของประชากร

ตอบ 3 หน้า 428, (คําบรรยาย) หลักการสําคัญของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 คือ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นปรัชญานําทางในการพัฒนาและบริหารประเทศโดยยึดหลักทางสายกลาง เพื่อให้ประเทศ รอดพ้นจากวิกฤติ สามารถดํารงอยู่ได้อย่างมั่นคง และนําไปสู่การพัฒนาที่สมดุล มีคุณภาพและยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และสถานการณ์เปลี่ยนแปลงต่าง ๆ

58 “หน่วยงานกลาง” มีบทบาทสําคัญในการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ หน่วยงานกลางได้แก่

(1) สํานักงาน ก.พ.

(2) สํานักงบประมาณ

(3) กระทรวงการคลัง

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 มีนโยบายเพิ่มประสิทธิภาพของหน่วยงานกลางในการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ โดยกําหนดให้ปรับปรุงบทบาทของหน่วยงานกลาง 5 หน่วยงาน ดังนี้

1 สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

2 สํานักงบประมาณ

3 สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)

4 สํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน

5 สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

59 แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 นับว่าเป็นแผนที่ดําเนินการในช่วงเปลี่ยนผ่านที่สําคัญที่สุดช่วงหนึ่งของประเทศไทย เพราะเหตุใด

(1) ต้องเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจให้หลุดพ้นจากภาวะวิกฤติที่ต่อเนื่องมาจากแผนฯ 8

(2) ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากภายนอกมากขึ้น

(3) ต้องพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

(4) ต้องเร่งพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มรายได้จากเงินตราต่างประเทศ

(5) ต้องพัฒนาการศึกษาและคุณภาพชีวิตของคนชนบท

ตอบ 1 หน้า 431 แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 นับว่าเป็นแผนที่ดําเนินการในช่วงเปลี่ยนผ่านที่สําคัญที่สุดช่วงหนึ่งของประเทศไทย เพราะจําเป็นต้องเร่งรัดการปฏิรูประบบเศรษฐกิจและสังคมให้เกิดสัมฤทธิผล และเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจให้หลุดพ้นจากภาวะวิกฤติที่ต่อเนื่องมาจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 พร้อมทั้งวางรากฐานการพัฒนาระบบเศรษฐกิจภายในประเทศให้มีความเข้มแข็ง มีเสถียรภาพและมีภูมิคุ้มกันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงจากภายนอกและสามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น

60 การปรับปรุงระบบราชการแนวใหม่มุ่งให้ระบบราชการมีลักษณะอย่างไร

(1) ปรับปรุงโครงสร้างใหม่ให้เน้นสายการบังคับบัญชาที่ชัดเจน

(2) เพิ่มจํานวนบุคลากรให้มากขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับบทบาทภารกิจใหม่

(3) ระบบราชการทํางานแยกส่วนกับภาคเอกชนโดยมุ่งแข่งขันกับภาคเอกชน

(4) ปรับระบบงบประมาณเป็นแบบมุ่งผลลัพธ์

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีแนวทางการปรับปรุงระบบราชการแนวใหม่ ดังนี้

1 ปรับบทบาท ภารกิจ และวิธีการบริหารงานของระบบราชการจากการเป็นผู้ปฏิบัติไปเป็นผู้กํากับดูแลและอำนวยความสะดวก

2 ปรับระบบงบประมาณเป็นแบบมุ่งผลลัพธ์

3 ปรับระบบบริหารบุคคลและลดจํานวนบุคลากรให้สอดคล้องกับการปรับบทบาทภารกิจใหม่

4 ปรับระบบราชการให้สามารถทํางานร่วมกับภาคเอกชนได้ ฯลฯ

61 ผลของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 – 7 ก่อให้เกิด “ความไม่สมดุลของการพัฒนา” ซึ่งหมายความว่า

(1) มีการทําลายทรัพยากรธรรมชาติและมีการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน

(2) มีปัญหาความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้

(3) มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจแต่ขณะเดียวกันก็มีปัญหาทางสังคมเกิดขึ้นมากมาย

(4) มีปัญหายาเสพติดและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ผลการพัฒนาประเทศในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 – 7 นั้น ก่อให้เกิด“ความไม่สมดุลของการพัฒนา” หมายความว่า มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจดี แต่ปัญหาความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้และผลประโยชน์จากการพัฒนาระหว่างภาค ระหว่างชนบทกับเมือง และระหว่างกลุ่มคนในสังคม ก็ยังเป็นปัญหาสําคัญที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของคนไทย โดยทําให้มีปัญหาทางสังคมเกิดขึ้นมากมาย เช่น ปัญหายาเสพติดและความปลอดภัย ในชีวิตและทรัพย์สิน ขณะเดียวกันก็มีการทําลายทรัพยากรธรรมชาติและใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลือง ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและความเสื่อมโทรมทางสภาพแวดล้อมอย่างรุนแรง จึงนําไปสู่ข้อสรุปผลการพัฒนาที่ว่า แม้เศรษฐกิจขยายตัวในระดับดี แต่สังคมมีปัญหา และการพัฒนาไม่ยั่งยืน

62 ลักษณะสําคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 คือ

(1) มุ่งเน้นการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

(2) มุ่งเน้นการปฏิรูปทางการศึกษา

(3) มุ่งเน้นการเสริมสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

(4) เศรษฐกิจเป็นเป้าหมายหลักของการพัฒนา

(5) คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา

ตอบ 5 หน้า 525, (คําบรรยาย) ลักษณะสําคัญของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ที่แตกต่างจากแผนพัฒนาฯฉบับอื่น มีดังนี้

1 เป็นจุดเปลี่ยนสําคัญของการวางแผนพัฒนาประเทศไทยที่ให้ความสําคัญกับ การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม นั่นคือ เป็นแผนแรกที่มาจากการร่วมคิดของหลายฝ่าย จากทุกภาคส่วนของสังคม โดยเปิดโอกาสให้คนไทยทุกกลุ่มอาชีพในทุกภูมิภาคเข้ามามีบทบาทร่วม ในการแสดงความคิดเห็น และกําหนดทิศทางในการพัฒนาประเทศตั้งแต่เริ่มการจัดทําแผน

2 เป็นแผนแรกที่เน้นให้ “คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา” โดยถือว่าการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นเพียงเครื่องมือช่วยพัฒนาให้คนมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเท่านั้น

63 วิกฤติที่เกิดขึ้นในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 คือ

(1) ปัญหาในภาคการเงินและอสังหาริมทรัพย์

(2) ปัญหาหนี้สาธารณะและปัญหาการขาดดุลงบประมาณ

(3) ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจส่วนรวมอย่างรุนแรง ความพยายามในการแก้ไขปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะปานกลาง อย่างต่อเนื่อง ได้ส่งผลให้เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวอย่างช้า ๆ และมีเสถียรภาพในระดับหนึ่ง แต่ทั้งนี้ก็ยังมีปัญหาในภาคการเงินและอสังหาริมทรัพย์ ปัญหาหนี้สาธารณะ และปัญหาการขาดดุลงบประมาณอย่างเดิม

64 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับใดที่ประเทศไทยมีผลของการพัฒนาเศรษฐกิจสูงกว่าเป้าหมายถึงสองเท่าตัว

(1) ฉบับที่ 6

(2) ฉบับที่ 7

(3) ฉบับที่ 8

(4) ฉบับที่ 9

(5) ฉบับที่ 10

ตอบ 1 หน้า 399 ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 เศรษฐกิจของประเทศได้ฟื้นตัวและขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 10.5 ต่อปี ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 ถึง 2 เท่าตัว นับเป็นอัตราการขยายตัวเฉลี่ยสูงสุดของการพัฒนาเศรษฐกิจในช่วง 25 ปีของการพัฒนาที่ผ่านมา

65 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับใดที่ประเทศไทยสามารถลดอัตราการเพิ่มของประชากร ได้ผลตรงตามเป้าหมายที่กําหนดไว้ในแผน

(1) ฉบับที่ 2

(2) ฉบับที่ 3

(3) ฉบับที่ 4

(4) ฉบับที่ 5

(5) ฉบับที่ 6

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ผลการพัฒนาตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 มีดังนี้

1 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มสูงขึ้นกว่าเป้าหมายที่กําหนดไว้ คือ เพิ่มในอัตราร้อยละ 7.1 ต่อปี สูงกว่าเป้าหมายที่กําหนดไว้ร้อยละ 7.0

2 การผลิตสาขาเกษตรและอุตสาหกรรมขยายตัวต่ำกว่าเป้าหมายที่กําหนดไว้

3 การลดอัตราการเพิ่มของประชากรเป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการเป็นครั้งแรก โดยอยู่ที่ร้อยละ 2.1 ต่อปี

4 การกระจายรายได้ยังทําได้ไม่เพียงพอและทั่วถึง โดยเฉพาะประชาชนในเขตชนบท ฯลฯ

66 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 ประสบความสําเร็จอย่างสูงในเรื่องใด

(1) มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระดับสูงเกินความคาดหมาย

(2) การลดปัญหาสังคมเมืองและปัญหาอาชญากรรม

(3) การลดอัตราการเพิ่มของประชากร

(4) ความสมดุลของการพัฒนา

(5) การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 64 ประกอบ

67 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 แตกต่างจากแผนพัฒนาฯ ฉบับอื่น ๆ คือ

(1) มีการประเมินความเสี่ยง

(2) มีเป้าหมายให้ประเทศไทยพัฒนาเป็นแหล่งอุตสาหกรรมของโลก

(3) มีเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวในภูมิภาค

(4) มีเป้าหมายให้ประเทศไทยพัฒนาเป็นศูนย์กลางทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของโลก

(5) มีเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตอาหารสําคัญของโลก

ตอบ 1 หน้า 471 – 472, (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ได้ประเมินความเสี่ยงที่ประเทศไทยจะต้องเผชิญไว้ 6 ประการ ซึ่งถือเป็นรายละเอียดที่ทําให้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 มีความแตกต่าง จากแผนพัฒนาฯ ฉบับอื่น ๆ ดังนี้

1 การบริหารภาครัฐอ่อนแอ ไม่สามารถขับเคลื่อนการบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2 โครงสร้างทางเศรษฐกิจไม่สามารถรองรับการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน

3 โครงสร้างประชากรที่มีวัยสูงอายุเพิ่มขึ้น ขณะที่ประชากรวัยเด็กและวัยแรงงานลดลง

4 ค่านิยมที่ดีงามเสื่อมถอยและประเพณีดั้งเดิมถูกบิดเบือน

5 ฐานทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อมของประเทศมีแนวโน้มเสื่อมโทรมรุนแรง

6 มีความเสี่ยงด้านความมั่นคงเพราะเกิดปัญหาความไม่สงบภายในประเทศ

68 ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาค ได้แก่ข้อใด

(1) การสร้างความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

(2) การเสริมสร้างความร่วมมือที่ดีระหว่างประเทศในการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมีจริยธรรม

(3) การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับอนุภูมิภาค

(4) การป้องกันภัยจากภัยพิบัติ และการแพร่ระบาดของโรค

(5) ถูกทุกข้อ ตอบ 5 หน้า 485 487 ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคตามแผนพัฒนาฯฉบับที่ 11 มีดังนี้

1 การพัฒนาความเชื่อมโยงด้านการขนส่งและระบบโลจิสติกส์ภายใต้กรอบความร่วมมือในอนุภูมิภาคต่าง ๆ

2 การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับอนุภูมิภาค

3 การสร้างความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

4 การป้องกันภัย จากการก่อการร้ายและอาชญากรรม ยาเสพติด ภัยพิบัติ และการแพร่ระบาดของโรค

5 การเสริมสร้างความร่วมมือที่ดีระหว่างประเทศในการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมีจริยธรรม ฯลฯ

69 ภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นของประเทศไทยที่จัดทําโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติเป็นอย่างไร

(1) ได้คะแนน 3.8 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ในปี 2548

(2) อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ

(3) มีอันดับเพิ่มสูงขึ้น

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นของประเทศไทยที่จัดทําโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติมีอันดับเพิ่มสูงขึ้น โดยได้คะแนน 3.8 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ในปี พ.ศ. 2548 ซึ่งยังอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ

70 “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” มีลักษณะอย่างไร

(1) สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติมีความยั่งยืน

(2) คนไทยมีคุณธรรมนําความรอบรู้ รู้เท่าทันโลก

(3) ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมสันติสุข

(4) เศรษฐกิจมีเสถียรภาพและเป็นธรรม

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 452 453 วิสัยทัศน์ประเทศไทยตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 คือ การมุ่งพัฒนาสู่“สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” (Green and Happiness Society) โดยคนไทยมีคุณธรรม นําความรอบรู้ รู้เท่าทันโลก ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมสันติสุข เศรษฐกิจมีคุณภาพ เสถียรภาพ และเป็นธรรม สิ่งแวดล้อมมีคุณภาพและทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน อยู่ภายใต้ระบบ บริหารจัดการประเทศที่มีธรรมาภิบาล ดํารงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข และอยู่ในประชาคมโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี

71 การสร้างภูมิคุ้มกันของประเทศตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ที่สําคัญ ได้แก่

(1) ส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมเป็นฐานรายได้หลักของประเทศ

(2) ยึดมั่นในการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

(3) เร่งรัดให้มีการปฏิรูปการศึกษาทุกระดับ

(4) สนับสนุนให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวภายในประเทศ

(5) ยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชนบท

ตอบ 2 หน้า 472 – 473 การสร้างภูมิคุ้มกันของประเทศไทยตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 มี 5 ประการ ดังนี้

1 ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข

2 การพัฒนาประเทศให้อยู่บนฐานความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัย

3 สังคมไทยมีค่านิยมและวัฒนธรรมที่ดีงาม

4 ภาคการเกษตรเป็นฐานรายได้หลักและความมั่นคงด้านอาหารของประเทศ

5 ชุมชนท้องถิ่นเป็นกลไกที่มีความสามารถในการบริหารจัดการ มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเชื่อมโยงกันเป็นสังคมสวัสดิการ

72 ปัจจุบันประเทศไทยมุ่งเดินหน้าพัฒนาไปสู่ “ประเทศไทย 4.0” หมายความว่าอย่างไร

(1) การพัฒนาให้ครบทั้ง 4 ด้าน คือ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อม

(2) การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วภายในปี 2575

(3) การพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นผู้นําในกลุ่มประเทศอาเซียน

(4) การพัฒนาให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตอล

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) ประเทศไทย 4.0 คือ การพัฒนาให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตอล เป็นการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิตอลมาสร้างสรรค์หรือพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม ข้อมูล ทุนมนุษย์ ทรัพยากรอื่น ๆ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนอย่างแท้จริง

73 ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่สําคัญในอนาคต ได้แก่ข้อใด

(1) เทคโนโลยีการผลิตในอุตสาหกรรม

(2) เทคโนโลยีการเกษตร

(3) นาโนเทคโนโลยี

(4) เทคโนโลยีการศึกษา

(5) เทคโนโลยีสารสนเทศ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่สําคัญในอนาคต ได้แก่ นาโนเทคโนโลยี (Nanotechnology) เช่น นาโนเทคโนโลยีเชิงชีวภาพและนาโนเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Biological and Medical Nanotechnology) มีบทบาทเชื่อมโยงและสัมพันธ์กันอย่างมาก และยังเกี่ยวข้องโดยตรงกับความต้องการพื้นฐานของมนุษยชาติ เช่น การมีอายุยืนยาว ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บและรักษาโรค มีสิ่งแวดล้อมที่ดี รวมทั้งมีรูปร่างหน้าตาสวยงามตลอดเวลา

74 สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในประเทศที่สําคัญที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศไทยในกว่า 2 ทศวรรษที่ผ่านมา คือ

(1) การเสริมสร้างเอกลักษณ์ความเป็นไทย และภูมิปัญญาท้องถิ่น

(2) การประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540

(3) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสังคมไทย

(4) การแพร่ระบาดของยาเสพติด

(5) กระแสวัตถุนิยมและบริโภคนิยม

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในประเทศที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศไทยในช่วงกว่า 2 ทศวรรษที่ผ่านมาหลายประการ เช่น การกระจายอํานาจจากส่วนกลางไปสู่ท้องถิ่น การปฏิรูปการบริหารจัดการ ภาครัฐให้มีประสิทธิภาพ การจัดตั้งองค์กรอิสระเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กลไกตรวจสอบถ่วงดุล การปฏิรูปการศึกษาและการสาธารณสุขให้ประชาชนได้รับบริการที่ดีมีคุณภาพได้มาตรฐาน อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม การตื่นตัวของประชาสังคมในเรื่องประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมในการพัฒนา เป็นต้น

75 “วิสัยทัศน์ร่วมของการพัฒนาประเทศไทยในอนาคต 20 ปี” ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีจุดมุ่งหมายหลักคือ

(1) การแก้ปัญหาความยากจนและยกระดับชีวิตของคนส่วนใหญ่ของประเทศ

(2) การพัฒนาอย่างยั่งยืน

(3) การพัฒนาแบบองค์รวม

(4) การยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 431, (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ได้กําหนด “วิสัยทัศน์ร่วมของการพัฒนาประเทศไทยในอนาคต 20 ปี” โดยมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อการแก้ปัญหาความยากจนและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนส่วนใหญ่ของประเทศให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทย ด้วยการให้ความสําคัญกับการพัฒนาแบบองค์รวมที่ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาและการพัฒนาอย่างมีดุลยภาพทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้คนในสังคมมีความสุขถ้วนหน้า สามารถพึ่งตนเองและก้าวตามโลกได้อย่างรู้เท่าทันโดยยังคงรักษาเอกลักษณ์ของความเป็นไทย

76 ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่ดีตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายที่สําคัญคือ

(1) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัดบริการสาธารณะ และพัฒนารายได้ของตนเองเพิ่มขึ้น

(2) ภาครัฐมีขนาดและโครงสร้างที่เหมาะสม

(3) การมุ่งปราบปรามยาเสพติดทั่วประเทศ

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่ดีตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายที่สําคัญดังนี้

1 ภาครัฐมีขนาดและโครงสร้างที่เหมาะสม มีระบบและกลไกการทํางาน รวมทั้งระบบงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ

2 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีขีดความสามารถในการจัดบริการสาธารณะและการพัฒนารายได้ของตนเองเพิ่มขึ้น

3 ธุรกิจของไทยสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

4 ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องจากภาครัฐอย่างครบถ้วนในเวลาที่รวดเร็ว ฯลฯ

77 ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคน ให้ความสําคัญกับเรื่องใด

(1) ให้คนมีคุณภาพ สุขภาพแข็งเเรง คิดเป็น ทําเป็น

(2) ให้คนมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต

(3) เพิ่มระดับการศึกษาภาคบังคับ

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ได้ให้ความสําคัญกับการพัฒนาคนให้มีคุณภาพ สุขภาพแข็งแรง คิดเป็น ทําเป็น มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีวิธีคิด อย่างมีเหตุผล มีคุณธรรม จริยธรรม ระเบียบวินัย ซื่อสัตย์สุจริตและรับผิดชอบต่อส่วนรวม รวมทั้งสามารถนําเทคโนโลยีสารสนเทศและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาผสมผสานให้เกิดความสมดุล ในการยกระดับคุณภาพชีวิต

78 จุดเปลี่ยนสําคัญของการวางแผนพัฒนาประเทศไทยที่ให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ในสังคมคือ

(1) ฉบับที่ 7

(2) ฉบับที่ 8

(3) ฉบับที่ 9

(4) ฉบับที่ 10

(5) ฉบับที่ 11

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 62 ประกอบ

79 การเปลี่ยนแปลงของบริบทการพัฒนาในกระแสโลกาภิวัตน์ที่ประเทศไทยยังต้องเผชิญอยู่ คือ

(1) การรวมตัวของกลุ่มเศรษฐกิจต่าง ๆ

(2) การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด

(3) การเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

(4) การเคลื่อนย้ายคนอย่างเสรี

(5) ถูกทุกข้อ 1

ตอบ 5 หน้า 446 447 การเปลี่ยนแปลงของบริบทการพัฒนาในกระแสโลกาภิวัตน์ที่ประเทศไทยยังต้องเผชิญอยู่นั้น มี 5 บริบท ดังนี้

1 การรวมตัวของกลุ่มเศรษฐกิจต่าง ๆ และการเปลี่ยนแปลงในตลาดการเงินของโลก

2 การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด

3 การเปลี่ยนแปลงด้านสังคมที่ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น

4 การเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

5 การเคลื่อนย้ายของคนอย่างเสรี

80 สถานะด้านสังคมของประเทศไทยก่อนเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 คือ

(1) จํานวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเพิ่มขึ้นเป็น 8.5 ปี

(2) แรงงานไทยที่จบการศึกษาสูงกว่าระดับประถมศึกษาเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 39.8

(3) ประสิทธิภาพการผลิตของแรงงานไทยยังต่ำเมื่อเทียบกับมาเลเซีย และเกาหลี

(4) มีการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาเพียงร้อยละ 0.26

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 448 449 สถานะด้านสังคมของประเทศไทยก่อนเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 มีดังนี้

1 จํานวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็น 8.5 ปี ในปี พ.ศ. 2548

2 แรงงานไทยที่จบการศึกษาสูงกว่าระดับประถมศึกษาเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 39.8 ในปี พ.ศ. 2548

3 ประสิทธิภาพการผลิตของแรงงานไทยยังต่ำเมื่อเทียบกับมาเลเซีย เกาหลี สิงคโปร์ไต้หวัน และญี่ปุ่น

4 มีการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาเพียงร้อยละ 0.26 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ

5 คนไทยได้รับหลักประกันสุขภาพอย่างทั่วถึงร้อยละ 96.3 ในปี พ.ศ. 2548 ฯลฯ

81 สถานะด้านเศรษฐกิจของประเทศไทยก่อนเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 คือ

(1) เศรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยร้อยละ 5.7

(2) ขนาดทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นลําดับที่ 20 ของโลก

(3) โครงสร้างพื้นฐานด้านขนส่งและโลจิสติกส์มีประสิทธิภาพ

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 4 หน้า 450 – 451 สถานะด้านเศรษฐกิจของประเทศไทยก่อนเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 มีดังนี้

1 เศรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 5.7 ต่อปี

2 ขนาดทางเศรษฐกิจของประเทศใหญ่เป็นลําดับที่ 20 ของโลก

3 มีการพึ่งพิงการนําเข้าวัตถุดิบ ชิ้นส่วน พลังงาน เงินทุน และเทคโนโลยีในสัดส่วนที่สูง

4 อัตราการว่างงานลดลง โดยมีอัตราเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2

5 โครงสร้างพื้นฐานด้านขนส่งและโลจิสติกส์ยังขาดประสิทธิภาพ ฯลฯ

82 สถานะด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก่อนเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 คือ

(1) เหลือพื้นที่ป่าร้อยละ 33 ของพื้นที่ประเทศ

(2) ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งลดความอุดมสมบูรณ์ลง

(3) คุณภาพของสิ่งแวดล้อมมีความเสื่อมโทรมลง

(4) การนําเข้าสารอันตรายที่ใช้ในการผลิตมีมากขึ้น

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 451 สถานะด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยก่อนเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 มีดังนี้

1 เหลือพื้นที่ป่าเพียงร้อยละ 33 ของพื้นที่ประเทศ

2 ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งลดความอุดมสมบูรณ์ลง

3 คุณภาพของสิ่งแวดล้อมมีความเสื่อมโทรมลง เนื่องจากสาเหตุสําคัญประการหนึ่ง คือ การนําเข้าสารอันตรายที่ใช้ในการผลิตมีมากขึ้น ฯลฯ

83 วิสัยทัศน์ประเทศไทยที่กําหนดไว้ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 คือ

(1) คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา

(2) การพัฒนาอย่างยั่งยืน

(3) สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน

(4) เศรษฐกิจพอเพียง

(5) การปฏิรูประบบราชการ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 70 ประกอบ

84 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 มีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพคนอย่างไร

(1) เพิ่มจํานวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเป็น 10 ปี

(2) ลดปัญหาอาชญากรรมลงร้อยละ 10

(3) อายุคาดหมายเฉลี่ยของคนไทยสูงขึ้นเป็น 80 ปี

(4) เพิ่มสัดส่วนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนา

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 455, (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 มีเป้าหมายการพัฒนาคุณภาพคน ดังนี้

1 เพิ่มจํานวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเป็น 10 ปี

2 เพิ่มสัดส่วนบุคลากรด้านการวิจัย และพัฒนาเป็น 10 คน ต่อประชากร 10,000 คน

3 ลดปัญหาอาชญากรรมลงร้อยละ 10

4 กําหนดให้อายุคาดหมายเฉลี่ยของคนไทยสูงขึ้นเป็น 80 ปี ฯลฯ

85 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายในด้านการพัฒนาสมรรถนะและขีดความสามารถในการแข่งขันโดย

(1) ให้ประเทศไทยพัฒนาเป็นแหล่งอุตสาหกรรมของโลก

(2) ให้ประเทศไทยพัฒนาเป็นศูนย์กลางทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของโลก

(3) ให้ประเทศไทยคงความเป็นแหล่งผลิตอาหารสําคัญของโลก

(4) ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวในภูมิภาค

(5) ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการเกษตรของโลก

ตอบ 3 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายในการพัฒนาสมรรถนะและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศประการหนึ่ง คือ ให้ประเทศไทยคงความเป็นแหล่งผลิตอาหารสําคัญของโลก โดยเพิ่มส่วนแบ่งตลาดส่งออกสินค้าเกษตร รวมทั้งเป็นแหล่งแปรรูปสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพสูง

86 ผลของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 – 7 ประเทศไทยประสบผลสําเร็จในการพัฒนา เศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว เฉลี่ยประมาณเท่าใด

(1) ร้อยละ 7 ต่อปี

(2) ร้อยละ 8 ต่อปี

(3) ร้อยละ 9 ต่อปี

(4) ร้อยละ 10 ต่อปี

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 421, (คําบรรยาย) จากผลการพัฒนาประเทศในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 – 7 พบว่าประเทศไทยประสบผลสําเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว เฉลี่ยประมาณ ร้อยละ 7 ต่อปี ซึ่งส่งผลทําให้รายได้ต่อหัวของคนไทยเพิ่มขึ้นจาก 2,100 บาท ในปี พ.ศ. 2504 เป็น 68,000 บาท ในปี พ.ศ. 2538 หรือเพิ่มขึ้น 32 เท่าตัว และสัดส่วนคนยากจนลดลงเหลือเพียง ร้อยละ 13.7 ของประชากรทั้งประเทศ ในปี พ.ศ. 2535

87 ผลของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 – 7 ทําให้สัดส่วนของคนยากจนของประเทศไทย ลดลงเป็นอย่างมาก คือ

(1) สัดส่วนคนยากจนเหลือร้อยละ 10.4 ของประชากรทั้งประเทศ

(2) สัดส่วนคนยากจนเหลือร้อยละ 11.4 ของประชากรทั้งประเทศ

(3) สัดส่วนคนยากจนเหลือร้อยละ 12.4 ของประชากรทั้งประเทศ

(4) สัดส่วนคนยากจนเหลือร้อยละ 13.4 ของประชากรทั้งประเทศ

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 86 ประกอบ

88 ผลที่เกิดขึ้นจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 – 2 คือ

(1) มีความก้าวหน้าในการพัฒนาสังคม

(2) มีการกระจายรายได้อย่างทั่วถึง

(3) มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะถนน ไฟฟ้า ประปา

(4) คุณภาพชีวิตของคนในชนบทได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น

(5) มีเป้าหมายการลดอัตราการเพิ่มของประชากร

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ผลการพัฒนาที่เกิดขึ้นจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1-2 คือ เน้นการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยการลงทุนกระจายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะถนน ไฟฟ้า และประปา แต่เกิดปัญหาช่องว่างการกระจายรายได้และคุณภาพชีวิตของคนในชนบทไม่ได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น

89 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 ให้ความสําคัญกับเรื่องใด

(1) การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

(2) การส่งออกและการกระจายรายได้

(3) การพัฒนาสังคม

(4) การลดอัตราการเพิ่มของประชากร

(5) ข้อ 3 และ 4 ถูก

ตอบ 5 (คําบรรยาย) จุดเด่นที่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 3 ให้ความสําคัญก็คือ การพัฒนาสังคม กล่าวคือเริ่มมีการวางแผนทางด้านสังคมโดยมีการกําหนดนโยบายด้านประชากรเป็นครั้งแรก ซึ่งมีการกําหนดเป้าหมายลดอัตราการเพิ่มของประชากรให้เหลืออยู่ที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี ในปี พ.ศ. 2519 เพื่อลดภาระทางเศรษฐกิจแก่ครอบครัวที่มีฐานะยากจนและประเทศในระยะยาว รวมทั้งเพื่อให้การบริการในภาครัฐขยายตัวได้ทั่วถึงและรวดเร็วยิ่งขึ้น

90 วิกฤติที่เกิดขึ้นในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 คือ

(1) วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ

(2) วิกฤติการณ์ทางการเงินของโลก

(3) วิกฤติการณ์น้ำมัน

(4) วิกฤติการณ์ความผันผวนทางการเมืองภายในประเทศ

(5) ข้อ 3 และ 4 ถูก

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 นั้น ประเทศไทยต้องประสบกับวิกฤติการณ์ ความผันผวนทางการเมืองภายในประเทศและวิกฤติการณ์น้ำมันอย่างรุนแรง จนก่อให้เกิดปัญหาการขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างรุนแรง แต่สัมฤทธิผลของแผนพัฒนาฯฉบับนี้ที่เป็นไปตามเป้าหมาย ก็คือ การลดอัตราการเพิ่มของประชากร

91 สภาพของประเทศไทยก่อนมีการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ คือ

(1) ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว

(2) เศรษฐกิจขยายตัวประมาณร้อยละ 8 ต่อปี

(3) ประชากรเพิ่มในอัตราร้อยละ 2.5 ต่อปี

(4) เศรษฐกิจส่วนใหญ่อยู่ในภาคเกษตรและอุตสาหกรรม

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) สถานภาพของประเทศไทยก่อนมีการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 มีดังนี้

1 ทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ทั้งด้านป่าไม้ แหล่งน้ำ แร่ธาตุ ฯลฯ หรืออยู่ในสภาพ ที่เรียกว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว”

2 ประชาชนมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวไม่ถึง 2,000 บาทต่อปี

3 เศรษฐกิจขยายตัวประมาณร้อยละ 4 ต่อปี

4 มีแรงงานภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 8.5 ของแรงงานทั้งหมด

5 บริการพื้นฐานต่าง ๆ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมมีไม่เพียงพอ

6 ประชากรเพิ่มในอัตราร้อยละ 3.7 ต่อปี

7 เศรษฐกิจส่วนใหญ่อยู่ในภาคเกษตร ฯลฯ

92 ลักษณะของประเทศกําลังพัฒนา คือ

(1) ประชาชนมีรายได้เฉลี่ยต่อบุคคลในเกณฑ์ปานกลาง

(2) ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพอุตสาหกรรม

(3) อัตราการเพิ่มประชากรอยู่ในเกณฑ์ต่ำ

(4) ความเจริญด้านเทคโนโลยีอยู่ในระดับสูง

(5) ประชาชนส่วนใหญ่ยึดถือวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิม

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ลักษณะของประเทศกําลังพัฒนา มีดังนี้

1 ประชาชนมีรายได้เฉลี่ยต่อบุคคลในเกณฑ์ต่ำ

2 ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม

3 อัตราการเพิ่มประชากรอยู่ในเกณฑ์สูง

4 ความเจริญด้านเทคโนโลยีอยู่ในระดับต่ำ

5 อัตราความเป็นเมืองอยู่ในเกณฑ์ต่ำ

6 ประชาชนส่วนใหญ่ยึดถือวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิม ฯลฯ

93 การปฏิรูปการศึกษามีแนวทางอย่างไร

(1) ผลิตนักวิจัยในสาขาที่มีความจําเป็นต่อการพัฒนาประเทศ

(2) พัฒนาครูและปรับปรุงกระบวนการผลิตครู

(3) ปรับปรุงหลักสูตรให้มีความหลากหลาย

(4) เสริมสร้างความพร้อมของสถาบันการศึกษา

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีแนวทางการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ดังนี้

1 พัฒนาครูและปรับปรุงกระบวนการผลิตครูที่มีคุณภาพและคุณธรรม

2 ปรับปรุงหลักสูตรให้มีความหลากหลายและยืดหยุ่น

3 ผลิตนักวิจัยในสาขาที่มีศักยภาพสูงและมีความจําเป็นต่อการพัฒนาประเทศ

4 เสริมสร้างความพร้อมของสถาบันการศึกษา ฯลฯ

94 การเตรียมความพร้อมและยกระดับฝีมือของคนไทยให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน มุ่งเน้นการผลิตกําลังคนในระดับใด

(1) ระดับสูง

(2) ระดับกลาง

(3) ระดับตํานาน

(4) ระดับกลางและระดับต่ำ

(5) ทุกระดับ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 แนวทางการเตรียมความพร้อมและยกระดับทักษะฝีมือของคนไทยให้มีคุณภาพได้มาตรฐานและสอดคล้องกับโครงสร้างการผลิตและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปประการหนึ่ง คือ มุ่งเน้นการผลิตและพัฒนากําลังคนระดับกลาง โดยผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่น ทักษะชีวิต กับความรู้พื้นฐาน รวมทั้งให้มีบริการการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานที่หลากหลายและทั่วถึง

95 ต่อไปนี้ข้อใดเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาความยากจนในชนบท

(1) นําหลักการและแนวคิดกระบวนการสหกรณ์มาใช้

(2) การปฏิรูปกฎหมายและปรับปรุงระเบียบให้คนจนได้รับโอกาสมากขึ้น

(3) ปรับระบบการบริหารจัดการภาครัฐให้เอื้อต่อการสร้างโอกาสแก่คนยากจน

(4) ให้คนยากจนมีโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐได้อย่างทั่วถึง

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีแนวทางการแก้ปัญหาความยากจนในชนบท ดังนี้

1 นําหลักการและแนวคิดกระบวนการสหกรณ์มาใช้ โดยส่งเสริมการรวมกลุ่มของคนยากจน เป็นองค์กรชุมชน สหกรณ์ และเครือข่ายองค์กรชุมชนที่เข้มแข็ง

2 เสริมสร้างโอกาสให้คนยากจนสามารถเข้าถึงบริการของรัฐได้อย่างทั่วถึงและสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ

3 ปรับระบบการบริหารจัดการภาครัฐให้เอื้อต่อการสร้างโอกาสแก่คนยากจน

4 ปฏิรูปกฎหมายและปรับปรุงกฎระเบียบให้คนจนได้รับโอกาส สิทธิ ความเสมอภาค และความเป็นธรรมในด้านต่าง ๆ

96 การพัฒนาแบบยั่งยืน หมายถึง

(1) การให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมกับภาครัฐบาลมากขึ้น

(2) การพัฒนารัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

(3) การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กัน (4) การมุ่งเน้นการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

(5) การมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีสมัยใหม่

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การพัฒนาแบบยั่งยืน (Sustainable Development) หมายถึง การพัฒนาแบบองค์รวมที่ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา และการพัฒนาอย่างมีดุลยภาพทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กัน โดยยึด“ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญานําทางในการพัฒนา

97 ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีการค้าโลกในช่วงที่ผ่านมาลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นผลเนื่องมาจากสาเหตุสําคัญคือ

(1) มีการพึ่งพาวัตถุดิบจากต่างประเทศสูง

(2) แรงงานไทยส่วนใหญ่มีการศึกษาต่ำ

(3) ความสามารถในการบริหารจัดการธุรกิจไร้ประสิทธิภาพ

(4) ความล้าหลังในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในช่วงที่ผ่านมานั้น พบว่า สมรรถนะทางเศรษฐกิจและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีการค้าโลกได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ก็เนื่องมาจาก สาเหตุสําคัญ คือ

1 ความล้าหลังในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

2 มีการพึ่งพาวัตถุดิบ เงินทุน และเทคโนโลยีจากต่างประเทศสูง

3 แรงงานไทยส่วนใหญ่มีการศึกษาต่ำ และไม่ได้รับการพัฒนาความรู้และทักษะ ให้สอดคล้องกับโครงสร้างการผลิตที่เปลี่ยนแปลง

4 ความสามารถในการบริหารจัดการธุรกิจไร้ประสิทธิภาพ

98 ประเทศใดเป็นตัวแปรสําคัญต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของโลกในปัจจุบัน

(1) รัสเซีย

(2) ญี่ปุ่น

(3) จีน

(4) อินเดีย

(5) เกาหลี

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ปัจจุบันแนวโน้ม “ระบบภูมิภาคนิยม” มีอิทธิพลเพิ่มขึ้น ขณะที่ประเทศมหาอํานาจทางเศรษฐกิจคือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป ยังคงมีบทบาทต่อการจัดระเบียบเศรษฐกิจและสังคมโลกใหม่ และการเข้าเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลกนั้น จะทําให้จีนกลายเป็นตัวแปรสําคัญต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของโลกและภูมิภาคเอเชีย

99 เงื่อนไขและสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงภายนอกประเทศที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศไทย คือ

(1) กระแสประชาธิปไตยในสังคมโลก

(2) ระบบเศรษฐกิจของโลกมีความสลับซับซ้อนและเชื่อมโยงกันมากขึ้น

(3) กระแสโลกาภิวัตน์

(4) แนวโน้มของการพัฒนาสู่ “เศรษฐกิจยุคใหม่”

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) นอกจากตัวเลือกข้อ 1, 2, 3 และ 4 แล้ว เงื่อนไขและสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงภายนอกประเทศที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศไทย ยังได้แก่

1 การเปิดเสรีและการกีดกันทางการค้า

2 แนวโน้มระบบภูมิภาคนิยมมีอิทธิพลเพิ่มขึ้น

3 เสถียรภาพทางเศรษฐกิจโลกยังมีความเปราะบาง

100 การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ มีวัตถุประสงค์สําคัญคือ

(1) เพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกมากขึ้นที่จะได้รับบริการที่ดีมีคุณภาพ

(2) เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่ดี

(3) เพื่อสนับสนุนบทบาทการลงทุนของภาคเอกชน

(4) เพื่อลดภาระการลงทุนภาครัฐ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ประเทศไทยได้ดําเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจอย่างเป็นขั้นตอน โดยมีวัตถุประสงค์สําคัญคือ

1 เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่ดี

2 เพื่อสนับสนุนบทบาทการลงทุนของภาคเอกชนที่คํานึงถึงประสิทธิภาพการให้บริการ

3 เพื่อลดภาระการลงทุนภาครัฐ

4 เพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกที่จะได้รับบริการที่ดีมีคุณภาพ

POL3301 นโยบายสาธารณะ 1/2560

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3301 นโยบายสาธารณะ

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

ตั้งแต่ข้อ 1 – 20 ให้พิจารณาคําตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้

(1) ข้อ 1 และข้อ 2 ถูก

(2) ข้อ 1 ถูก ข้อ 2 ผิด

(3) ข้อ 1 ผิด ข้อ 2 ถูก

(4) ข้อ 1 และข้อ 2 ผิด

(5) ไม่สามารถตัดสินใจได้

 

1 (1) Montjoy & O’Toole สนใจคล้ายกับ Stuart S. Nagel

(2) William Dunn สนใจในการวิเคราะห์นโยบาย

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 24, 33 – 72, 89 – 111), (คําบรรยาย) นักวิชาการที่ศึกษาเรื่องการวิเคราะห์นโยบาย (Policy Analysis) ได้แก่

1 เควด (E.S. Quade)

2 วิลเลียม เอ็น. ดันน์ (William N. Dunn)

3 สจ๊วตท์ เอส. นาเกล (Stuart S. Nagel)

4 โทมัส อาร์, ดาย (Thomas R. Dye)

5 เจมส์ อี. แอนเดอร์สัน (James E. Anderson) ฯลฯ

ส่วนนักวิชาการที่ศึกษาเรื่องการนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) ได้แก่

1 กรอส (Gross)

2 ไจแอคควินทา (Giacquinta)

3 เบิร์นสไตล์ (Bernstein)

4 กรีนวูด (Greenwood)

5 แมน (Mann)

6 แมคลัฟลิน (McLaughlin)

7 เบอร์แมน (Berman)

8 เดล อี. ริชาร์ด (Dale E. Richards)

9 อีมิลี ไชมี โลวี ไบรเซนไดน์ (Emily Chi-Mei Lowe Brizendine)

10 เพรสแมน (Pressman)

11 วิลดัฟสกี (Wildavsky)

12 มองจอย (Montjoy)

13 โอทูเล (O’Toole)

14 โทมัส บี. สมิท (Thomas B. Smith) ฯลฯ

 

2 (1) ทัศนคติของผู้นํานโยบายไปปฏิบัติ มีส่วนต่อความสําเร็จของนโยบาย

(2) การประเมินนโยบายจําเป็นต้องใช้วิธีการหลายวิธีเพื่อให้ผลการประเมินถูกต้อง ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 48 – 58, 73), (คําบรรยาย) ปัจจัยสําคัญที่จะทําให้การนํานโยบายไปปฏิบัติประสบความสําเร็จ มีดังนี้

1 ลักษณะของนโยบายที่สามารถเห็นผลได้อย่างชัดเจน

2 วัตถุประสงค์ของนโยบายที่ชัดเจน สอดคล้องกัน และสามารถรับรู้ได้ง่าย

3 ความเป็นไปได้ทางการเมืองหรือการได้รับการสนับสนุนทางการเมือง

4 ความเป็นไปได้ทางเทคโนโลยีหรือการมีเทคโนโลยีที่เหมาะสม

5 ทรัพยากรที่พอเพียง

6 ผู้นํานโยบายไปปฏิบัติมีทัศนคติที่ดีต่อตัวนโยบาย ฯลฯ

ซึ่งหากไม่เป็นไปตามลักษณะ ปัจจัยดังกล่าวก็จะทําให้การนํานโยบายไปปฏิบัติประสบความล้มเหลว

ส่วนอีมิล เจ. โพซาวัค และเรย์มอนด์ จี. แครี (Emil J. Posavac & Raymond G. Carey) กล่าวว่า การประเมินผลนโยบายเป็นการใช้วิธีการหลายวิธีและทักษะหลาย ๆ ด้านเพื่อให้ผลการประเมิน ถูกต้อง และเพื่อตรวจสอบว่านโยบายนั้นจําเป็นและควรใช้หรือไม่ หรือจะดําเนินการต่อไป ตามที่วางไว้ได้หรือไม่ และช่วยแก้ปัญหาตามที่มุ่งหวังไว้หรือไม่

3 (1) การประเมินผลในรูปแบบทดลอง จะต้องมีกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม

(2) การประเมินผลในรูปแบบกึ่งทดลอง เป็นวิธีการที่เชื่อถือได้และแม่นตรงที่สุด  ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 76 – 78), (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบทดลอง หรือการประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง (Experimental Design) เป็นวิธีการที่มีความ เคร่งครัดในการดําเนินงานมากที่สุด และเป็นเครื่องมือในการแสวงหาข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ เชื่อถือได้และแม่นตรงมากที่สุดด้วย โดยมีลักษณะสําคัญดังนี้

1 มีการจัดกลุ่มขึ้นเพื่อทําการทดลอง โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง (Experimental Group) และกลุ่มควบคุม (Control Group)

2 มีการกําหนดเป้าหมายและหลักเกณฑ์ในการชี้วัดความสําเร็จ โดยการวัดนั้นจะวัดก่อนที่โครงการจะถูกนํามาใช้และวัดอีกครั้งหลังจากที่โครงการสิ้นสุดแล้ว

3 มีการเลือกกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง (Random Sampling) จากประชากรที่อยู่ในเป้าหมายของโครงการ และใช้วิธีการกระจายสุ่ม (Randomization) ของกลุ่มตัวอย่างในการจัดพื้นที่ทดลองและพื้นที่ควบคุม

 

4 (1) การจับคู่เป็นวิธีการสําคัญในการประเมินผลในรูปแบบทดลอง

(2) การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลประโยชน์เป็นรูปแบบหนึ่งของการประเมินผลในรูปแบบทดลอง

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 76, 79, 81) การประเมินผลด้วยวิธีกึ่งทดลองมีวิธีการที่สําคัญคือ การจับคู่ (Matching) ซึ่งเป็นการแสวงหาคู่ในระดับบุคคลในพื้นที่ที่มีลักษณะเหมือนกัน ส่วนการประเมินผลกระทบแบบไม่ใช้วิธีการวิจัยมี 4 รูปแบบ คือ

1 การเปรียบเทียบโครงการหลาย ๆ โครงการ

2 การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลประโยชน์

3 การวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผล

4 การวิเคราะห์เชิงสหวิทยาการ

 

5 (1) ทฤษฎีผู้นํา อธิบายว่า นโยบายสาธารณะไม่ได้สะท้อนความต้องการของมวลชน

(2) ทฤษฎีกลุ่มจะสะท้อนความต้องการของมวลชน

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 84 85), (คําบรรยาย) ตัวแบบ/ทฤษฎีผู้นําหรือชนชั้นนํา (Elite Model/Theory) อธิบายว่า

1 สังคมถูกแบ่งเป็นคนกลุ่มน้อยที่มีอํานาจกับคนกลุ่มใหญ่ที่ไม่มีอํานาจ โดยผู้นําซึ่งเป็นคนกลุ่มน้อยในสังคม แต่มีอํานาจเป็นผู้จัดสรรคุณค่าของสังคมและกําหนดนโยบาย สาธารณะให้เป็นไปตามความต้องการหรือค่านิยมของตน ขณะที่ประชาชนหรือคนส่วนใหญ่ไม่ได้มีส่วนตัดสินใจในนโยบายสาธารณะด้วย

2 ผู้นําจะแสดงความสมานฉันท์กับค่านิยมพื้นฐานของระบบสังคมและพยายามสงวนรักษาระบบไว้

3 นโยบายสาธารณะไม่ได้สะท้อนถึงความต้องการของมวลชน แต่เป็นการสะท้อนให้เห็นค่านิยมของผู้นํามากกว่า

4 ผู้นํามีอิทธิพลต่อมวลชนมากกว่ามวลชนมีอิทธิพลต่อผู้นํา ฯลฯ

 

6 (1) ทฤษฎีกลุ่ม อธิบายว่า สังคมแบ่งเป็นคนกลุ่มน้อยที่มีอํานาจและคนกลุ่มใหญ่ที่ไม่มีอํานาจคนกลุ่มน้อยจะจัดสรรคุณค่าของสังคม

(2) ทฤษฎีผู้นํา สะท้อนให้เห็นค่านิยมของผู้นํา

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 5 ประกอบ

7 (1) สังคมถูกแบ่งเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีอํานาจกับกลุ่มใหญ่ที่ไม่มีอํานาจ คนกลุ่มน้อยเป็นผู้กําหนดนโยบายตามความต้องการหรือค่านิยมของตน คือ ทฤษฎีผู้นํา

(2) สถาบันของรัฐเป็นผู้กําหนดนโยบายสาธารณะ คือ ทฤษฎีผู้นํา

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 85), (คําบรรยาย) ตัวแบบ/ทฤษฎีสถาบันนิยม(Institutional Mode/Theory) อธิบายว่า นโยบายสาธารณะอยู่ในฐานะเป็นผลผลิตของสถาบัน โดยที่สถาบันหรือหน่วยงานของรัฐจะเป็นผู้กําหนดนโยบายสาธารณะเนื่องจากมีความชอบธรรม มีความเป็นสากล และมีการผูกขาดอํานาจบังคับ นั่นคือ เป็นการพยายามเชื่อมโยงโครงสร้างหน้าที่ของสถาบันรัฐบาลกับการกําหนดนโยบายสาธารณะเข้าด้วยกัน โดยชี้ให้เห็นว่า สถาบันรัฐบาลเป็นผู้กําหนดนโยบายสาธารณะเพราะเป็นอํานาจหน้าที่อันชอบธรรม ซึ่งทฤษฎีนี้จะสะท้อน ให้เห็นว่านโยบายสาธารณะก็คือนโยบายของรัฐบาลนั่นเอง

8 (1) นโยบายสาธารณะเป็นผลผลิตที่ได้มาจากการเจรจาต่อรองเกี่ยวข้องกับทฤษฎีสถาบันนิยม

(2) สิ่งแวดล้อม เป็นตัวแปรที่สําคัญของทฤษฎีระบบ

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 85 – 86), (คําบรรยาย) ตัวแบบดุลยภาพระหว่างกลุ่มหรือทฤษฎีกลุ่ม (Group Equilibrium Model or Group Theory) อธิบายว่า นโยบายสาธารณะ เป็นผลผลิตของการต่อสู้ระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ระหว่างกลุ่มผลประโยชน์กับนโยบายสาธารณะ โดยชี้ให้เห็นว่านโยบายสาธารณะเป็นผลผลิต ที่ได้มาจากการเจรจาต่อรอง การประนีประนอม และการถ่วงดุลผลประโยชน์ระหว่างกลุ่มต่าง ๆ

ส่วนตัวแบบ/ทฤษฎีระบบ (System Mode/Theory) อธิบายว่า นโยบายสาธารณะเป็น ผลผลิตของระบบ โดยเน้นการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่สําคัญ 5 ตัวแปร คือ

1 ปัจจัยนําเข้า (Inputs)

2 กระบวนการ (Process)

3 ปัจจัยนําออก/ผลผลิต (Outputs)

4 ข้อมูลป้อนกลับ/ผลสะท้อนกลับ (Feedback)

5 สิ่งแวดล้อม (Environment)

 

9 (1) ตัวแบบเหตุผลนิยมอยู่ในทฤษฎีการตัดสินใจ

(2) แนวคิดเชิงเศรษฐศาสตร์การเมืองเกี่ยวข้องกับการวางแผนที่เน้นเนื้อหา

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 86, 88), (คําบรรยาย) ทฤษฎีการตัดสินใจ แบ่งออกเป็น 3 ตัวแบบ คือ

1 ตัวแบบเหตุผลนิยมหรือตัวแบบยึดหลักเหตุผล

2 ตัวแบบส่วนเพิ่ม

3 ตัวแบบผสมผสาน

ส่วนทฤษฎีการวางแผนที่เน้นการควบคุม อธิบายว่า การวางแผนจะต้องมีการตรวจสอบอํานาจที่เข้าไปแทรกแซง ซึ่งสามารถจําแนกได้ 3 แนว คือ แนวคิดเชิงเศรษฐศาสตร์การเมือง แนวคิดเชิงมนุษยนิยม และแนวคิดเชิงปฏิบัตินิยม

10 (1) ความสมเหตุสมผลทางด้านปทัสถานเกี่ยวข้องกับการวางแผนที่เน้นการตัดสินใจ

(2) แนวคิดเชิงมนุษยนิยมเกี่ยวข้องกับการวางแผนที่เน้นการควบคุม

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 87) ทฤษฎีการวางแผนที่เน้นการตัดสินใจ (Decision Centred Planning Theory) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 การตัดสินใจแบบสมเหตุสมผลด้านการทําหน้าที่ (Functional Rationalism) ได้พัฒนาไปเป็นทฤษฎีเชิงกรรมวิธีที่มุ่งอธิบายกระบวนการและการวางแผนอย่างเป็นขั้นตอน ซึ่งทฤษฎีนี้ต่อมาก็พัฒนาไปเป็นทฤษฎีการวางแผนที่เน้นการนํานโยบายไปปฏิบัติ

2 การตัดสินใจแบบสมเหตุสมผลด้านปทัสถาน (Normative Rationalism) ได้พัฒนาไปเป็นทฤษฎีการวางแผนสังคมและการวางแผนสนับสนุน (ดูคําอธิบายข้อ 9 ประกอบ)

11 (1) การวางแผนที่มุ่งอธิบายกระบวนการอย่างเป็นขั้นตอนเกี่ยวข้องกับการวางแผนที่เน้นการมีส่วนร่วม

(2) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเกี่ยวข้องกับการวางแผนที่เน้นผลลัพธ์

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 87) ทฤษฎีการวางแผนที่เน้นเนื้อหาหรือทฤษฎีเชิงสาระ เป็นทฤษฎีที่ให้ความสําคัญกับเนื้อหาสาระเฉพาะเรื่องที่จะนํามาวางแผนเป็นอย่างมาก โดยมุ่งอธิบายรายละเอียดของปัญหาและการแก้ปัญหาที่เจาะลึกในแต่ละเรื่อง แต่ไม่สนใจเรื่องวิธีการ เช่น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นต้น

12 (1) การนําศาสตร์ในหลาย ๆ สาขามาใช้ในการวิเคราะห์นโยบายเป็นแนวโน้มเกี่ยวกับเป้าหมายและคุณค่า

(2) การที่หน่วยงานนํานโยบายมาแปลงเป็นแผนงานและโครงการเป็นขั้นตอนการปรับปรุงแก้ไขนโยบาย

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 12 – 13, 25) แนวโน้มการวิเคราะห์นโยบายในอนาคต มี 3 แนวโน้มใหญ่ คือ

1 แนวโน้มเกี่ยวกับเป้าหมายและคุณค่า จะมุ่งเน้นการบรรลุเป้าหมายโดยหาทางเลือกที่ดีที่สุดที่ทําให้ประชาชนพอใจ และสนองต่อคุณค่าต่าง ๆ ของสังคม โดยการเน้นให้ประชาชน กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็น เพื่อให้นโยบายที่เกิดขึ้นสนองตอบต่อสังคมโดยส่วนรวมอย่างแท้จริง

2 แนวโน้มเกี่ยวกับแนวทางการดําเนินนโยบาย จะมุ่งเน้นการหาวิธีการที่ดีที่สุดที่เป็นไปได้ โดยการพิจารณามิติทางการเมืองและการบริหาร และมีการนําศาสตร์ในหลาย ๆ สาขาวิชามาใช้ในการวิเคราะห์นโยบายในลักษณะสหวิทยาการ

3 แนวโน้มเกี่ยวกับวิธีการ จะมุ่งเน้นการวิเคราะห์เชิงธุรกิจที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายและผลตอบแทน  (Cost-Benefit) รวมทั้งการคํานึงถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่จะเกิดขึ้นด้วย

ส่วนการที่หน่วยงานนํานโยบายมาแปลงเป็นแผนงานและโครงการ เป็นขั้นตอนการนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation

13 (1) การจัดลําดับความสําคัญของปัญหาอยู่ในขั้นตอนอนุมัตินโยบาย

(2) การพิจารณาปัญหาหรือความต้องการของประชาชนอยู่ในขั้นตอนการนํานโยบายไปปฏิบัติ

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 11) ขั้นตอนการก่อตัวของนโยบาย (Policy Formation) ประกอบด้วย

1 การพิจารณาปัญหาหรือความต้องการของประชาชน

2 การพิจารณาเวลาที่เกิดปัญหา

3 ปัญหาที่รัฐบาลสนใจ

4 การจัดลําดับความสําคัญของปัญหา

14 (1) แผนงาน เป็นตัวแปรที่ Cook & Scioli เสนอไว้ในตัวแบบของเขา

(2) การประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง เป็นรูปแบบที่แสวงหาข้อมูลเชิงประจักษ์ที่เชื่อถือได้และแม่นตรงมากที่สุด

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 81 82) คุกและซิโอลี (Cook & Scioli) สนใจศึกษาเรื่องผลกระทบของนโยบาย (Policy Impacts) โดยได้เสนอตัวแบบในการวิเคราะห์ผลกระทบ ของนโยบาย (A Policy Impacts Model) ซึ่งมีองค์ประกอบที่สําคัญ ดังนี้

1 นโยบาย 2 แผนงาน 3 วัตถุประสงค์ 4 กิจกรรม 5 ผลกระทบ (ดูคําอธิบายข้อ 3 ประกอบ)

15 (1) การนํานโยบายไปปฏิบัติที่มีประสิทธิผลต้องการความสามารถทางการบริหารสูง

(2) การนํานโยบายไปปฏิบัติจะเหมาะกับประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 18) การนํานโยบายไปปฏิบัติในประเทศต่าง ๆ อาจจะให้ผลแตกต่างกัน ดังนี้

1 การนํานโยบายไปปฏิบัติที่มีประสิทธิผลต้องการความสามารถทางการบริหารสูงจะกลายเป็นข้อจํากัดที่สําคัญของประเทศในโลกที่ 3 และในยุโรปบางประเทศ

2 การนํานโยบายไปปฏิบัติจะง่ายในประเทศที่มีขนาดกลางหรือขนาดเล็ก

3 การนํานโยบายไปปฏิบัติจะเหมาะสมกับประเทศที่ยึดถือการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

4 การนํานโยบายไปปฏิบัติจะง่ายในประเทศที่มีการปกครองแบบรวมศูนย์อํานาจ

5 การนํานโยบายไปปฏิบัติจะมีประสิทธิผลมากในประเทศที่รัฐบาลมีเสถียรภาพสูง

16 (1) Ira Sharkansky ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งนโยบายศาสตร์

(2) David Easton กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่รัฐบาลกระทํา

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 1 – 2, 15 – 16), (คําบรรยาย) ฮาโรลด์ ลาสเวลล์ (Harold Lasswell) ซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มที่เน้นการสร้างภาพรวมและได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งนโยบายศาสตร์” ได้ให้ความหมายนโยบายสาธารณะร่วมกับอับราแฮม แคปแพลน (Abraham Kaplan) ว่า “นโยบายสาธารณะ หมายถึง แผนหรือโครงการที่กําหนดขึ้น อันประกอบด้วยเป้าหมาย คุณค่า และแนวการปฏิบัติงานต่าง ๆ” ส่วนไอรา ซาร์แคนสกี้ (Ira Sharkansky) กล่าวว่า “นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่รัฐบาลกระทํา เช่น การบริการสาธารณะ การควบคุมกิจกรรมของบุคคลหรือธุรกิจของเอกชน เป็นต้น”

17 (1) Harold Lasswell ชี้ให้เห็นเหตุผลของการศึกษานโยบายไว้ 3 ประการ ได้แก่ เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ เหตุผลทางวิชาชีพ และเหตุผลทางการเมือง

(2) Theodore Lowi เสนอให้จําแนกนโยบายตามเนื้อหาสาระของนโยบาย

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 3, 14), (คําบรรยาย) โทมัส อาร์ ดาย (Thomas R. Dye) ได้ชี้ให้เห็นถึงเหตุผล ความสําคัญของการศึกษาและการกําหนดนโยบายสาธารณะไว้ 3 ประการ คือ

1 เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Reasons) คือ การทําความเข้าใจเหตุและผลของการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบาย เพื่อให้ได้นโยบายที่มีเหตุผลมากที่สุด

2 เหตุผลทางวิชาชีพ (Professional Reasons) คือ การนําความรู้เชิงนโยบายไปใช้แก้ปัญหาทางด้านการปฏิบัติ โดยวิชาชีพที่แตกต่างกันจะทําให้การกําหนดนโยบายและการนํานโยบาย ไปปฏิบัติของแต่ละวิชาชีพมีความแตกต่างกัน

3 เหตุผลทางการเมือง (Political Reasons) คือ การดัดแปลงนโยบายที่ถูกต้องเหมาะสมทางการเมืองมาใช้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการเมือง โดยการใช้เหตุผลทางการเมือง มักจะทําให้การกําหนดนโยบายเป็นไปอย่างไม่มีเหตุผลแต่เป็นที่ยอมรับของประชาชน เช่น นโยบายประชานิยมต่าง ๆ เป็นต้น

ส่วนธีโอดอร์ โลวาย (Theodore Lowi) ได้เสนอให้จําแนกประเภทของนโยบายตามเนื้อหา สาระและวัตถุประสงค์ของนโยบายนั้น ๆ

18 (1) Thomas R. Dye กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมที่รัฐบาลกระทําเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม

(2) David Easton กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง การจัดสรรและแจกแจงคุณค่า โดยชอบด้วยกฎหมาย และเป็นไปเพื่อประโยชน์ของสังคม

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 1) เจมส์ แอนเดอร์สัน (James Anderson) กล่าวว่า“นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมที่รัฐบาลกระทําเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเจตนา เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม เช่น ความยากจน การผูกขาด เป็นต้น”

ส่วนเดวิด อีสตัน (David Easton) กล่าวว่า “นโยบายสาธารณะ หมายถึง การจัดสรรและแจกแจงคุณค่า (Values) ต่าง ๆ ของสังคมโดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นไปเพื่อประโยชน์ของสังคมส่วนรวม”

19 (1) Harold Lasswell ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งนโยบายศาสตร์ ไ(2) กรอสและคณะ เสนอ Catalyptic Role Model

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 18 – 22, 36 – 41, 45 – 47) นักวิชาการต่างประเทศ รายการที่ศึกษาเกี่ยวกับการนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) มีดังนี้

1 กรอสและคณะ (Gross, Giacquinta & Bernstein) ศึกษานวัตกรรมทางการสอนแบบใหม่สําหรับครู โดยเน้นที่กระบวนการเรียนรู้มากกว่าเนื้อหาสาระของบทเรียน ซึ่งเรียกตัวแบบ นอกจเสมอ การศึกษานี้ว่า “Catalytic Role Model”

2 กรีนวูดและคณะ (Greenwood, Mann & McLaughlin) ศึกษาโครงการของรัฐบาลกลางในการให้การสนับสนุนเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา โดยเน้นศึกษาโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินของรัฐบาลในระดับท้องถิ่น

3 เบอร์แมนและแมคลัฟลิน (Berman & McLaughin) ศึกษาโครงการของรัฐบาลกลาง ในการให้การสนับสนุนเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา โดยเน้นศึกษาความต่อเนื่องของนโยบายนวัตกรรมหลังจากที่ความช่วยเหลือทางการเงินจากรัฐบาลกลางสิ้นสุดลง

4 อีมิลี ไชมี โลวี ไบรเซนไดน์ (Emily Chi-Mei Lowe Brizendine) ศึกษาการปฏิรูปโรงเรียนรัฐบาลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

5 เดล อ. ริชาร์ด (Dale E. Richards) ศึกษาการพัฒนาวิทยาลัยครูให้มาเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์

6 เพรสแมนและวิลดฟสกี (Pressman & Wildavsky) ศึกษานโยบายการจ้างงานของชนกลุ่มน้อยที่เมืองโอคแลนด์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ภายใต้ชื่อ “Implementation” ฯลฯ (ดูคําอธิบายข้อ 16 ประกอบ)

20 (1) Ira Sharkansky กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่รัฐบาลกระทํา เช่น การบริการสาธารณะ

(2) Thomas R. Dye กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่รัฐบาลเลือกที่จะทําหรือไม่ทํา

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 1) โทมัส อาร์. ดาย (Thomas R. Dye) กล่าวว่า“นโยบายสาธารณะ หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทําหรือไม่กระทํา” (ดูคําอธิบายข้อ 16 ประกอบ)

 

ตั้งแต่ข้อ 21 – 25 ให้พิจารณาคําตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้

(1) Regulative Policy

(2) Distributive Policy

(3) Re-Distributive Policy

(4) Capitalization Policy

(5) Ethical Policy

 

21 30 บาทรักษาทุกโรค เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 3), (คําบรรยาย) นโยบายการกระจายบริการของรัฐ (Distributive Policy) เป็นนโยบายที่รัฐบาลต้องจัดบริการพื้นฐานให้ประชาชนทุกคนได้ใช้ หรือเพื่อให้ประชาชนทั่วไปโดยส่วนรวมมีโอกาสได้รับบริการสาธารณะที่เป็นของรัฐบาล อย่างทั่วถึงและพอเพียง เช่น นโยบายการมีถนนแยกเลนไปสู่ทุกจังหวัด, นโยบายการลดราคาน้ำมันเบนซิน, โครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน, การขยายช่องทางจราจรหรือการสร้างถนน, การจัดให้มีบัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรค, นโยบายให้มีสถานพยาบาลให้ครบทุกอําเภอ, การจัดให้มีไฟฟ้าและน้ำประปาใช้ทุกหมู่บ้าน เป็นต้น

22 โครงการเมาไม่ขับ เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 3), (คําบรรยาย) นโยบายที่เป็นกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับ (Regulative Policy) เป็นนโยบายที่หน่วยงานของรัฐหรือรัฐบาลกําหนดขึ้นเพื่อให้ทุกคนต้องปฏิบัติตาม ถ้าใครไม่ปฏิบัติตามถือว่าผิดกฎหมายต้องถูกลงโทษ หรือเป็นกติกาในการอยู่ร่วมกัน ของสมาชิกในสังคมอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม เช่น กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายจราจร(เช่น โครงการเมาไม่ขับ การขับรถยนต์ต้องมีใบขับขี่) นโยบายจัดระเบียบสังคม เป็นต้น

23 โครงการหน้าบ้านน่ามอง เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 3), (คําบรรยาย) นโยบายเพื่อจริยธรรม (Ethical Policy) เป็นนโยบายของรัฐบาลที่ไม่มีการบังคับให้ผู้ใดปฏิบัติตาม แต่ต้องการจูงใจและสนับสนุนหรือ ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้สึกสํานึกที่ดี และมีจิตสํานึกในทางที่ถูกที่ควรที่จะปฏิบัติตาม เช่น โครงการพลังแผ่นดิน,โครงการเมืองน่าอยู่, โครงการถนนสีขาว, โครงการหน้าบ้านน่ามอง, นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ, นโยบายส่งเสริมให้มีน้ำใจต่อนักท่องเที่ยว และ การรณรงค์ต่าง ๆ เป็นต้น

24 นโยบายให้มีสถานพยาบาลให้ครบทุกอําเภอ เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 21 ประกอบ

25 นโยบายสร้างท่าเรือน้ำลึก เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข n-5301-1 หน้า 3), (คําบรรยาย) นโยบายเพื่อการลงทุน (Capitalization Policy) เป็นนโยบายที่รัฐบาลกําหนดขึ้นเพื่อใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ หรือเพื่อแสวงหาทรัพยากรใหม่ ๆ คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมา แล้วก่อให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมและประเทศชาติ หรือการสร้างสิ่งก่อสร้างบางอย่างเพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาประเทศต่อไป เช่น นโยบายพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกและภาคใต้, การสร้างสนามบิน, การสร้างนิคมอุตสาหกรรม, การสร้างท่าเรือน้ำลึก การวางท่อก๊าซ เป็นต้น

ตั้งแต่ข้อ 26 – 30 ให้พิจารณาคําตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้

(1) Economic Policy

(2) Education Policy

(3) Social Policy

(4) Administrative Policy

(5) Politic & Defence Policy

 

26 นโยบายการปฏิรูประบบราชการ เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายใด

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 4), (คําบรรยาย) นโยบายทางการบริหาร (Administrative Policy) เป็นนโยบายรองที่กําหนดขึ้นตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงานหรือองค์การนั้น ๆ เช่น นโยบายธรรมาภิบาล นโยบายการปฏิรูประบบราชการ นโยบายเร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง นโยบายการบริหารงานบุคคล นโยบายการบริหารงานคลังโครงการประเทศไทยใสสะอาด เป็นต้น

27 การช่วยชาวเขาให้มีอาชีพ เกี่ยวข้องกับนโยบายใด

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 4), (คําบรรยาย) นโยบายทางด้านสังคม (Social Policy) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความมั่นคงให้แก่สังคม เช่น การประชาสงเคราะห์ (เช่น การช่วยเหลือชาวเขา คนชรา หรือผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก) การประกันสังคม การรักษาโรคภัยไข้เจ็บ โดยกําหนดให้มีโรงพยาบาล สถานีอนามัย และสุขศาลาในทุกอําเภอ การพัฒนาขีดความสามารถของอาสาสมัครสาธารณสุขให้เป็นนักจัดการสุขภาพชุมชน โครงการตํารวจบ้าน เป็นต้น

28 โครงการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา เกี่ยวข้องกับนโยบายใด ๆ

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 4), (คําบรรยาย) นโยบายทางด้านการศึกษา(Education Policy) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการวางแนวทางและการจัดการศึกษาให้กับประชาชน ทั้งการศึกษาในและนอกระบบโรงเรียน เช่น การสร้างโรงเรียน โครงการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา นโยบายกําหนดให้ทุกคนต้องเรียนหนังสือ การแจกอุปกรณ์การเรียนแก่นักเรียน การจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้แก่โรงเรียน เป็นต้น

29 โครงการตํารวจบ้าน เกี่ยวข้องกับนโยบายใด

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 27 ประกอบ

30 โครงการหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เกี่ยวข้องกับนโยบายใด

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 3), (คําบรรยาย) นโยบายทางด้านเศรษฐกิจ (Economic Policy) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการสร้างรายได้และการกินดีอยู่ดีของประชาชน โดยให้ประชาชน ได้มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนอะไรที่ได้มาซึ่งรายได้หรือรายจ่าย และเมื่อจ่ายไปแล้วก็จะมีการแลกเปลี่ยนหมุนเวียนกันทําให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เช่น นโยบายกองทุนหมู่บ้าน นโยบายจ่ายเงินให้ชาวนาไร่ละ 1,000 บาท การส่งเสริมอาชีพให้ประชาชน โครงการธงฟ้าราคาประหยัด โครงการธนาคารประชาชน โครงการหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ การพักชําระหนี้ให้เกษตรกร การดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต เป็นต้น

31 นักวิชาการคนใดมีความสนใจที่แตกต่างจากผู้อื่น

(1) Dale E. Richards

(2) Berman

(3) Stuart S. Nagel

(4) McLaughlin

(5) Greenwood

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 1 ประกอบ

32 ข้อใดไม่ถูกต้อง

(1) เดล อี. ริชาร์ด ศึกษาการพัฒนาวิทยาลัยครูให้มาเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์ (2) Gross, Giacquinta & Bernstein ศึกษานวัตกรรมทางการสอนโดยเน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่าสาระ

(3) กรีนวูดและคณะ ศึกษาการพัฒนาวิทยาลัยครูให้มาเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์ (4) Pressman & Wildavsky ศึกษาการจ้างงานของชนกลุ่มน้อย

(5) Thomas R. Dye ชี้ให้เห็นเหตุผลของการศึกษานโยบายไว้ 3 ประการ ได้แก่ เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ เหตุผลทางวิชาชีพ และเหตุผลทางการเมือง

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 17 และ 19 ประกอบ

33 Policy Science หมายถึงอะไร

(1) ความรู้ในเรื่องของนโยบาย

(2) ความรู้ในการกําหนดนโยบาย

(3) ความรู้ในการนํานโยบายไปปฏิบัติ

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 16 – 17) นโยบายศาสตร์ (Policy Science) หมายถึงการให้ความรู้ในเรื่องของนโยบาย (Policy-Issue Knowledge) และความรู้ในการกําหนด นโยบายของรัฐ (Policy-Making Knowledge)

34 องค์ประกอบของนโยบายตามแนวคิดของเควด (Quade) มีอะไรบ้าง

(1) วัตถุประสงค์ ทางเลือก ผลกระทบ มาตรฐาน และค่านิยม

(2) วัตถุประสงค์ ทางเลือก กระบวนการ มาตรฐาน และค่านิยม

(3) วัตถุประสงค์ ทางเลือก ผลกระทบ มาตรฐาน และตัวแบบ

(4) วัตถุประสงค์ กระบวนการ ผลกระทบ มาตรฐาน และค่านิยม

(5) วัตถุประสงค์ กระบวนการ ผลกระทบ มาตรฐาน และตัวแบบ

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 25) องค์ประกอบของการวิเคราะห์นโยบายตามแนวคิด ของเควด (E.S. Quade) มีดังนี้

1 วัตถุประสงค์ (The Objective)

2 ทางเลือก (The Alternative)

3 ผลกระทบ (The Impact)

4 มาตรฐานหรือบรรทัดฐาน (The Criteria)

5 ตัวแบบ (The Models)

35 ข้อใดไม่ใช่กระบวนการที่ Stuart S. Nagel เสนอไว้ในแนวคิดในการประเมินนโยบายของเขา

(1) การกําหนดเป้าหมายเพื่อบรรลุผล

(2) การกําหนดแผนงาน

(3) การกําหนดคน สถานที่ อุปกรณ์

(4) การวิเคราะห์ผลตอบแทนสูงสุด

(5) การกําหนดความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายกับนโยบาย

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 82) สจ๊วตท์ เอส. นาเกล (Stuart S. Nagel) ได้เสนอแนวคิดในการวิเคราะห์ข้อมูลแบบง่ายสําหรับการวิเคราะห์หรือการประเมินนโยบาย ซึ่งมีหลักการหรือกระบวนการที่สําคัญ 5 ขั้นตอน ดังนี้

1 กําหนดเป้าหมายเพื่อการบรรลุผล หรือการให้ผลประโยชน์ตอบแทนสูงสุด

2 กําหนดเป้าหมายสัมพันธ์

3 กําหนดคน สถานที่ หรือวัสดุอุปกรณ์ให้สอดคล้องกับนโยบายนั้น ๆ

4 กําหนดความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายกับนโยบาย

5 ปรับความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายกับนโยบาย

36 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของนโยบาย

(1) ต้องมีแผนงานรองรับ

(2) ต้องคํานึงถึงเงื่อนไขด้านเวลาและสถานที่

(3) ต้องกําหนดคน สถานที่ อุปกรณ์

(4) ต้องเป็นข้อความที่เข้าใจง่าย

(5) ต้องเป็นเครื่องมือหรือกําหนดบรรทัดฐานในการทํางาน

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข 1-3301-1 หน้า 2) ลักษณะของนโยบายสาธารณะ มีดังนี้

1 ต้องมีวัตถุประสงค์ขัดเจน เพื่อประโยชน์แก่สังคมและส่วนรวม

2 ต้องมีแผนงานรองรับ เพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้

3 ต้องคํานึงถึงเงื่อนไขด้านเวลาและสถานที่

4 ต้องเป็นข้อความที่เข้าใจง่าย เป็นลายลักษณ์อักษรและประกาศใช้อย่างเป็นทางการ

5 ต้องเป็นเครื่องมือในการกําหนดแนวทางและบรรทัดฐานในการทํางาน

37 ข้อใดไม่ใช่ความสําคัญในการศึกษานโยบาย

(1) นําความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาทางปฏิบัติ

(2) การเข้าใจเหตุผลของการตัดสินใจ

(3) การดัดแปลงนโยบายที่ถูกต้องเหมาะสมให้บรรลุเป้าหมาย

(4) สร้างความเข้าใจให้กับประชาชนทั่วไป

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 17 ประกอบ

38 ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของนโยบาย

(1) วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

(2) แนวทางในการบรรลุผล

(3) ขั้นตอนหรือแผนงาน

(4) ทุนที่ใช้ในการดําเนินการ

(5) เป็นองค์ประกอบของนโยบายทุกข้อ

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 6 – 7) องค์ประกอบของนโยบายสาธารณะ มีดังนี้

1 วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่ชัดเจน

2 ลําดับขั้นตอนหรือแผนงานในการปฏิบัติ

3 แนวทางหรือหลักการในการบรรลุผลสําเร็จ

4 การกําหนดการกระทําต่าง ๆ และมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ฯลฯ )

39 ข้อใดถูกต้อง

(1) Scientific Reasons : การนําไปใช้ในการแก้ปัญหาทางปฏิบัติ

(2) Professional Reasons : การเข้าใจเหตุผลของการตัดสินใจ

(3) Political Reasons : การดัดแปลงนโยบายที่ถูกต้องเหมาะสมให้บรรลุเป้าหมาย

(4) Policy Effects : ปัจจัยนําเข้าของนโยบาย เช่น ทรัพยากร

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 17 ประกอบ

40 การนําศาสตร์ในหลาย ๆ สาขามาใช้ในการวิเคราะห์นโยบาย เป็นแนวโน้มในเรื่องใด

(1) แนวโน้มเกี่ยวกับเป้าหมายและคุณค่า

(2) แนวโน้มเกี่ยวกับวิธีการ

(3) แนวโน้มเกี่ยวกับแนวทางการดําเนินนโยบาย

(4) แนวโน้มเกี่ยวกับรูปแบบ

(5) แนวโน้มเกี่ยวกับการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายและผลตอบแทน

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 12 ประกอบ

41 ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกัน

(1) Elite Theory : การศึกษาในแง่ตัวแบบหรือทฤษฎี

(2) Group Theory : การหาสาเหตุและผลของนโยบาย

(3) Policy Process : ศึกษากระบวนการต่าง ๆ ในการกําหนดนโยบาย

(4) Policy Area Study : ศึกษาข้อปลีกย่อยในแต่ละแง่มุมของนโยบาย

(5) Descriptive Study : เป็นการพรรณนาสิ่งที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 4 – 5) แนวทางการศึกษานโยบายสาธารณะ แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ

1 การศึกษาในแง่ตัวแบบหรือทฤษฎี (Theory or Model of Study) เป็นการศึกษาตามแนวทางที่มุ่งคิดค้นและสร้างเป็นตัวแบบหรือทฤษฎีของวิธีการศึกษานโยบายของรัฐ แล้วนําเอา ตัวแบบหรือทฤษฎีนั้น ๆ ไปใช้ในการศึกษาต่อไป เช่น ทฤษฎีผู้นํา (Elite Theory), ทฤษฎีกลุ่ม (Group Theory), ทฤษฎีระบบ (System Theory) เป็นต้น

2 การศึกษาในแง่ขอบเขตของนโยบาย (Policy Area Study) เป็นการศึกษาข้อปลีกย่อยของนโยบายแต่ละอย่างแต่ละแง่มุม โดยหาสาเหตุและเหตุผลของแต่ละประเด็นนําเอามาศึกษาและเปรียบเทียบกันดูโดยละเอียด

3 การศึกษาในแง่กระบวนการของนโยบาย (Policy Process Study) เป็นการศึกษากระบวนการต่าง ๆ ของนโยบายไม่ว่าจะเป็นกระบวนการกําหนดนโยบาย กระบวนการพัฒนา กระบวนการจัดตั้งองค์การ หรืออื่นใดก็ตาม

42 การเน้นให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็นเพื่อให้นโยบายที่เกิดขึ้นสนองตอบต่อสังคมโดยส่วนรวมอย่างแท้จริง เป็นแนวโน้มเกี่ยวกับเรื่องใด

(1) มาตรฐาน

(2) เป้าหมายและคุณค่า

(3) การดําเนินนโยบาย

(4) วิธีการ

(5) การสร้างตัวแบบหรือทฤษฎี

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 12 ประกอบ

43 การที่หน่วยงานนํานโยบายมาแปลงเป็นแผนงานและโครงการเป็นขั้นตอนใด

(1) การก่อตัวของนโยบาย

(2) การนํานโยบายไปปฏิบัติ

(3) การเตรียมและเสนอนโยบาย

(4) การอนุมัติและประกาศนโยบาย

(5) การปรับปรุงแก้ไขนโยบาย

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข 1-3301-1 หน้า 12 – 13), (คําบรรยาย) ขั้นตอนการนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) เป็นขั้นตอนที่แสดงให้เห็นถึงการนําทรัพยากรต่าง ๆ ไปจัดสรร เพื่อก่อให้เกิดผลตามนโยบาย ซึ่งประกอบด้วย

1 การส่งต่อนโยบาย (Policy Delivery)

2 การตีความหรือแปลงนโยบายออกมาเป็นแผนงานและโครงการ

3 การชี้แจงเกี่ยวกับนโยบาย

4 การดําเนินงานของหน่วยงานระดับปฏิบัติ (Street-Level Bureaucracy)

5 การจัดระบบสนับสนุน ได้แก่ ข้อมูลข่าวสาร การมอบหมายอํานาจหน้าที่ และการติดต่อสื่อสาร

6 การติดตามและควบคุมผลการปฏิบัติงาน

44 การแปลงนโยบายเป็นแผนงานเกี่ยวข้องกับเรื่องใด

(1) Policy Outputs

(2) Policy Formulation

(3) Policy Implementation

(4) Policy Process

(5) Policy Impacts

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 43 ประกอบ

45 การพิจารณาปัญหาหรือความต้องการของประชาชนอยู่ในขั้นตอนใด

(1) การก่อตัวของนโยบาย

(2) การนํานโยบายไปปฏิบัติ

(3) การเตรียมและเสนอนโยบาย

(4) การอนุมัติและประกาศนโยบาย

(5) การปรับปรุงแก้ไขนโยบาย

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข 1-3301-1 หน้า 11) ขั้นตอนการก่อตัวของนโยบาย (Policy Formation)ประกอบด้วย

1 การพิจารณาปัญหาหรือความต้องการของประชาชน

2 การพิจารณา เวลาที่เกิดปัญหา

3 ปัญหาที่รัฐบาลสนใจ

4 การจัดลําดับความสําคัญของปัญหา

46 การจัดลําดับความสําคัญของปัญหาอยู่ในขั้นตอนใด

(1) การก่อตัวของนโยบาย

(2) การนํานโยบายไปปฏิบัติ

(3) การเตรียมและเสนอนโยบาย

(4) การอนุมัติและประกาศนโยบาย

(5) การประเมินผลนโยบาย

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 45 ประกอบ

47 การกําหนดเกณฑ์ในการวัดอยู่ในขั้นตอนใด

(1) การก่อตัวของนโยบาย

(2) การนํานโยบายไปปฏิบัติ

(3) การเตรียมและเสนอนโยบาย

(4) การอนุมัติและประกาศนโยบาย

(5) การประเมินผลนโยบาย

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 13) ขั้นตอนการประเมินผลนโยบาย (Policy Evaluation) ประกอบด้วย

1 การกําหนดวัตถุประสงค์ของการประเมิน

2 การกําหนดเกณฑ์วัดและวิธีการตรวจสอบสิ่งที่ต้องการประเมิน

3 การกําหนดวิธีการรวบรวมข้อมูลและวิธีการรายงาน

4 การนําผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง

48 การกําหนดวิธีการในการรวบรวมข้อมูลและวิธีรายงาน อยู่ในขั้นตอนใด

(1) การก่อตัวของนโยบาย

(2) การนํานโยบายไปปฏิบัติ

(3) การเตรียมและเสนอนโยบาย

(4) การอนุมัติและประกาศนโยบาย

(5) การประเมินผลนโยบาย

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 47 ประกอบ

49 ข้อใดไม่ใช่การวิจัยประเมินผล

(1) การวิเคราะห์เชิงสหวิทยาการ

(2) การประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง

(3) การประเมินผลด้วยวิธีกึ่งทดลอง

(4) การประเมินผลด้วยวิธีเตรียมทดลอง

(5) เป็นการวิจัยประเมินผลทุกข้อ

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 76) การวิจัยประเมินผลมีวิธีการที่สําคัญ 3 รูปแบบ คือ

1 การประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง (Experimental Design)

2 การประเมินผลด้วยวิธีกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Design)

3 การประเมินผลด้วยวิธีเตรียมทดลอง (Pre-Experimental Design)

50 รูปแบบใดเป็นการแสวงหาข้อมูลเชิงประจักษ์ที่เชื่อถือได้และแม่นตรงมากที่สุด

(1) การวิเคราะห์เชิงสหวิทยาการ

(2) การประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง

(3) การประเมินผลด้วยวิธีกึ่งทดลอง

(4) การประเมินผลด้วยวิธีเตรียมทดลอง

(5) การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลประโยชน์

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 76 – 78) ประโยชน์ของการวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบทดลอง หรือการประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง (Experimental Design) มีดังนี้

1 เป็นเครื่องมือในการแสวงหาข้อมูลเชิงประจักษ์ที่เชื่อถือได้และแม่นตรงมากที่สุด

2 ช่วยทําให้เกิดการประหยัดทรัพยากรทางการบริหารในระยะยาว

51 “วิสัยทัศน์ร่วมของการพัฒนาประเทศไทยในอนาคต 20 ปี” ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีจุดมุ่งหมายหลักคือ

(1) การแก้ปัญหาความยากจนและยกระดับชีวิตของคนส่วนใหญ่ของประเทศ

(2) การพัฒนาอย่างยั่งยืน

(3) การพัฒนาแบบองค์รวม

(4) การยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ได้กําหนด “วิสัยทัศน์ร่วมของการพัฒนาประเทศไทยในอนาคต 20 ปี” โดยมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อการแก้ปัญหาความยากจนและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนส่วนใหญ่ของประเทศให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทย ด้วยการให้ความสําคัญกับการพัฒนาแบบองค์รวมที่ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาและการพัฒนา อย่างมีดุลยภาพ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้คนในสังคมมีความสุข ถ้วนหน้า สามารถพึ่งตนเองและก้าวตามโลกได้อย่างรู้เท่าทัน โดยยังคงรักษาเอกลักษณ์ของ ความเป็นไทย

52 สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในประเทศที่สําคัญที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศไทยใน 2 ทศวรรษที่ผ่านมาคือ

(1) การเสริมสร้างเอกลักษณ์ความเป็นไทย และภูมิปัญญาท้องถิ่น

(2) การประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540

(3) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสังคมไทย

(4) การแพร่ระบาดของยาเสพติด

(5) กระแสวัตถุนิยมและบริโภคนิยม

ตอบ 2 (คําบรรยาย) เงื่อนไขและสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางสังคมในประเทศที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศไทยในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีดังนี้

1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 (สําคัญที่สุด) ทําให้เกิดการปฏิรูปภาคการเมืองและภาคสังคมที่สําคัญหลายประการ เช่น การกระจายอํานาจจากส่วนกลางไปสู่ท้องถิ่นอย่างทั่วถึง, ประชาสังคมมีความตื่นตัวเรื่องประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมในการพัฒนา

2 สังคมไทยมีเอกลักษณ์ความเป็นไทย มีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่สั่งสมเป็นปึกแผ่นมายาวนาน

3 โครงสร้างสังคมไทยเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและสังคมเมืองมากขึ้น รวมถึงรูปแบบครัวเรือนส่วนใหญ่ก็เป็นครอบครัวเดี่ยว และมีการอยู่เป็นโสดเพิ่มขึ้น 4 มีปัญหาเชิงโครงสร้างของสังคมไทยที่สําคัญ เช่น การตกอยู่ในกระแสวัตถุนิยมและบริโภคนิยม,การแพร่ระบาดของยาเสพติด

53 ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่ดีตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายที่สําคัญคือ

(1) ภาครัฐมีขนาดและโครงสร้างที่เหมาะสม

(2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัดบริการสาธารณะและพัฒนารายได้ของตนเองเพิ่มขึ้น

(3) การมุ่งปราบปรามยาเสพติดทั่วประเทศ

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่ดีตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายที่สําคัญ ดังนี้

1 ภาครัฐมีขนาดและโครงสร้างที่เหมาะสม มีระบบและกลไก การทํางานรวมทั้งระบบงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ

2 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีขีดความสามารถในการจัดบริการสาธารณะและการพัฒนารายได้ของตนเองเพิ่มขึ้น

3 ธุรกิจของไทยสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

4 ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องจากภาครัฐอย่างครบถ้วนในเวลาที่รวดเร็ว ฯลฯ

54 ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคน ให้ความสําคัญกับเรื่องใด

(1) ให้คนมีคุณภาพ สุขภาพแข็งแรง คิดเป็น ทําเป็น

(2) ให้คนมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต

(3) เพิ่มระดับการศึกษาภาคบังคับ

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ได้ให้ความสําคัญกับการสร้างคนให้มีคุณภาพ สุขภาพแข็งแรง เป็นคนเก่ง คนดี คิดเป็น ทําเป็น มีระเบียบวินัยมีความซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีความสามัคคีและรักชาติ ตลอดจนมีจิตสํานึกความเป็นไทย

55 จุดเปลี่ยนสําคัญของการวางแผนพัฒนาประเทศไทยที่ให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมคือ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับใด (1) ฉบับที่ 7

(2) ฉบับที่ 8

(3) ฉบับที่ 9

(4) ฉบับที่ 10

(5) ฉบับที่ 11

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 105, 107, 116 117) ลักษณะสําคัญของแผนพัฒนาฯฉบับที่ 8 ที่แตกต่างจากแผนพัฒนาฯ ฉบับอื่น มีดังนี้ 1 เป็นจุดเปลี่ยนสําคัญของการวางแผนพัฒนาประเทศไทยที่ให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม นั่นคือ เป็นแผนแรกที่มาจากการร่วมคิดของหลายฝ่ายจากทุกภาคส่วนของสังคม โดยเปิดโอกาสให้คนไทยทุกกลุ่มอาชีพในทุกภูมิภาคเข้ามามีบทบาทร่วมในการแสดงความคิดเห็น และกําหนดทิศทางในการพัฒนาประเทศตั้งแต่เริ่มการจัดทําแผน

2 เป็นแผนแรกที่เน้นให้ “คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา” โดยถือว่าการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นเพียงเครื่องมือช่วยพัฒนาให้คนมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเท่านั้น

56 การเปลี่ยนแปลงของบริบทการพัฒนาในกระแสโลกาภิวัตน์ที่ประเทศไทยยังต้องเผชิญอยู่ คือ

(1) การรวมตัวของกลุ่มเศรษฐกิจต่าง ๆ

(2) การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด

(3) การเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

(4) การเคลื่อนย้ายคนอย่างเสรี

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การเปลี่ยนแปลงของบริบทการพัฒนาในกระแสโลกาภิวัตน์ที่ประเทศไทยยังต้องเผชิญอยู่นั้น มี 5 บริบท ดังนี้

1 การรวมตัวของกลุ่มเศรษฐกิจต่าง ๆ และการเปลี่ยนแปลงในตลาดการเงินของโลก 2 การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด

3 การเปลี่ยนแปลงด้านสังคมที่ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น

4 การเคลื่อนย้ายของคนอย่างเสรี

5 การเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

57 วิสัยทัศน์ประเทศไทยที่กําหนดไว้ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 คือ

(1) คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา

(2) การพัฒนาอย่างยั่งยืน

(3) สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน

(4) เศรษฐกิจพอเพียง

(5) การปฏิรูประบบราชการ

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข 7-3301-2 หน้า 138, 147) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ได้กําหนดวิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศไทยในระยะยาว โดยมุ่งพัฒนาไปสู่ “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน (Green and Happiness Society) คนไทยมีคุณธรรมนําความรอบรู้ รู้เท่าทันโลก ครอบครัว อบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมสันติสุข เศรษฐกิจมีคุณภาพ เสถียรภาพ และเป็นธรรม สิ่งแวดล้อม มีคุณภาพและทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน อยู่ภายใต้ระบบบริหารจัดการประเทศที่มีธรรมาภิบาล ดํารงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และอยู่ในประชาคมโลก ได้อย่างมีศักดิ์ศรี”

58 ผลของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 – 7 ประเทศไทยประสบผลสําเร็จในการพัฒนา เศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว เฉลี่ยประมาณเท่าใด

(1) ร้อยละ 7 ต่อปี

(2) ร้อยละ 8 ต่อปี

(3) ร้อยละ 9 ต่อปี

(4) ร้อยละ 10 ต่อปี

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข 1-3301-2 หน้า 103 104), (คําบรรยาย) จากผลการพัฒนาประเทศในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 – 7 พบว่า ประเทศไทยประสบผลสําเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว เฉลี่ยประมาณร้อยละ 7 ต่อปี ซึ่งส่งผลทําให้รายได้ต่อหัวของคนไทยเพิ่มขึ้นจาก 2,100 บาท ในปี พ.ศ. 2504 เป็น 68,000 บาท ในปี พ.ศ. 2538 หรือเพิ่มขึ้น 32 เท่าตัว และสัดส่วนคนยากจนของประเทศลดลงเหลือเพียงร้อยละ 13.7 ในปี พ.ศ. 2535

59 สถานะด้านสังคมของประเทศไทยก่อนเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 คือ

(1) จํานวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเพิ่มขึ้นเป็น 8.5 ปี

(2) แรงงานไทยที่จบการศึกษาสูงกว่าระดับประถมศึกษาเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 39.8

(3) ประสิทธิภาพการผลิตของแรงงานไทยยังต่ำเมื่อเทียบกับมาเลเซีย

(4) มีการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาเพียงร้อยละ 0.26

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข 1-3301-2 หน้า 135 136), (คําบรรยาย) สถานะด้านสังคมของประเทศไทยก่อนเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 มีดังนี้

1 ประเทศไทยมีการพัฒนาคนระดับกลาง และมีแนวโน้มการพัฒนาคนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

2 จํานวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็น 8.5 ปี ในปี พ.ศ. 2548

3 แรงงานไทยที่จบการศึกษาสูงกว่าระดับประถมศึกษาเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 39.8 ในปี พ.ศ. 2548

4 ประสิทธิภาพการผลิตของแรงงานไทยยังต่ำกว่าประเทศในภูมิภาคเดียวกัน ได้แก่ มาเลเซีย เกาหลี สิงคโปร์ ไต้หวัน และญี่ปุ่น

5 มีการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาเพียงร้อยละ 0.26 ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ

6 คนไทยได้รับหลักประกันสุขภาพอย่างทั่วถึงร้อยละ 96.3 ในปี พ.ศ. 2548

7 สังคมไทยปรับตัวจากชนบทสู่เมืองอย่างต่อเนื่อง ฯลฯ

60 สถานะด้านเศรษฐกิจของประเทศไทยก่อนเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 คือ

(1) เศรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยร้อยละ 5.7 ต่อปี

(2) ขนาดทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นลําดับที่ 20 ในโลก

(3) โครงสร้างพื้นฐานด้านขนส่งและโลจิสติกส์มีประสิทธิภาพ

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข 0-3301-2 หน้า 128 129, 136), (คําบรรยาย) สถานะด้านเศรษฐกิจของประเทศไทยก่อนเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ซึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ รในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีดังนี้

1 เศรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 5.7 ต่อปี ในช่วงปี พ.ศ. 2545 – 2548 และจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลาง

2 ขนาดทางเศรษฐกิจของประเทศใหญ่เป็นลําดับที่ 20 จากจํานวน 192 ประเทศในโลก

3 มีการพึ่งพิงการนําเข้าวัตถุดิบ ชิ้นส่วน พลังงาน เงินทุน และเทคโนโลยีในสัดส่วนที่สูง

4 อัตราการว่างงานลดลง โดยมีอัตราเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2

5 โครงสร้างพื้นฐานด้านขนส่งและโลจิสติกส์ยังขาดประสิทธิภาพ ฯลฯ

61 สถานะด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก่อนเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 คือ

(1) เหลือพื้นที่ป่าร้อยละ 33 ของพื้นที่ประเทศ

(2) ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งลดความอุดมสมบูรณ์ลง

(3) คุณภาพของสิ่งแวดล้อมมีความเสื่อมโทรมลง

(4) การนําเข้าสารอันตรายที่ใช้ในการผลิตมีมากขึ้น

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) สถานะด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยก่อนเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 มีดังนี้

1 เหลือพื้นที่ป่าเพียงร้อยละ 33 ของพื้นที่ประเทศ

2 ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งลดความอุดมสมบูรณ์ลง

3 คุณภาพของสิ่งแวดล้อมมีความเสื่อมโทรมลง เนื่องจากสาเหตุสําคัญประการหนึ่ง คือ การนําเข้าสารอันตรายที่ใช้ในการผลิตมีมากขึ้น ฯลฯ

62 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 มีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพคนอย่างไร

(1) เพิ่มจํานวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเป็น 10 ปี

(2) ลดปัญหาอาชญากรรมลงร้อยละ 10

(3) อายุคาดหมายเฉลี่ยของคนไทยสูงขึ้นเป็น 80 ปี

(4) เพิ่มสัดส่วนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนา

(5) ถูกทุกข้อกรม

ตอบ 5 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 มีเป้าหมายการพัฒนาคุณภาพคน ดังนี้

1 เพิ่มจํานวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเป็น 10 ปี

2 เพิ่มสัดส่วนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาเป็น 10 คน ต่อประชากร 10,000 คน

3 ลดปัญหาอาชญากรรมลงร้อยละ 10

4 กําหนดให้อายุคาดหมายเฉลี่ยของคนไทยสูงขึ้นเป็น 80 ปี ฯลฯ

63 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายในด้านการพัฒนาสมรรถนะและขีดความสามารถ ในการแข่งขันโดย

(1) ให้ประเทศไทยพัฒนาเป็นแหล่งอตสาหกรรมของโลก

(2) ให้ประเทศไทยพัฒนาเป็นศูนย์กลางทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของโลก(3) ให้ประเทศไทยคงความเป็นแหล่งผลิตอาหารสําคัญของโลก

(4) ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวในภูมิภาค

(5) ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการเกษตรของโลก

ตอบ 3 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายในการพัฒนาสมรรถนะและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศประการหนึ่ง คือ พัฒนาสมรรถนะและขีดความสามารถการแข่งขันในระดับประเทศ ระดับวิสาหกิจและหน่วยผลิตพื้นฐาน โดยให้ประเทศไทยคงความเป็นแหล่งผลิตอาหารสําคัญของโลก

64 ผลของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 – 7 ทําให้สัดส่วนของคนยากจนของประเทศไทย ลดลงเป็นอย่างมาก คือ

(1) ร้อยละ 10.4

2) ร้อยละ 11.4

(3) ร้อยละ 12.4

(4) ร้อยละ 13.4

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 103 104), (คําบรรยาย) จากผลการพัฒนาประเทศในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 – 7 พบว่า ประเทศไทยประสบผลสําเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว เฉลี่ยประมาณร้อยละ 7 ต่อปี ซึ่งส่งผลทําให้รายได้ต่อหัวของคนไทย เพิ่มขึ้นจาก 2,100 บาท ในปี พ.ศ. 2504 เป็น 68,000 บาท ในปี พ.ศ. 2538 หรือเพิ่มขึ้น 32 เท่าตัว และสัดส่วนคนยากจนของประเทศลดลงเหลือเพียงร้อยละ 13.7 ในปี พ.ศ. 2535

65 ผลที่เกิดขึ้นจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 – 2 คือ

(1) มีความก้าวหน้าในการพัฒนาสังคม

(2) มีการกระจายรายได้อย่างทั่วถึง

(3) มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะถนน ไฟฟ้า ประปา

(4) คุณภาพชีวิตของคนในชนบทได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น

(5) มีเป้าหมายการลดอัตราการเพิ่มของประชากร

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ผลการพัฒนาที่เกิดขึ้นจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 – 2 คือ เน้นการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ด้วยการลงทุนกระจายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะถนน ไฟฟ้า และประปา แต่เกิดปัญหาช่องว่างการกระจายรายได้และคุณภาพชีวิตของคนในชนบทไม่ได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น

66 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 ให้ความสําคัญกับเรื่องใด

(1) การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

(2) การส่งออกและการกระจายรายได้

(3) การพัฒนาสังคม

(4) การลดอัตราการเพิ่มของประชากร

(5) ข้อ 3 และ 4 ถูก

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 40, 43, 50) จุดเด่นที่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 3 ให้ความสําคัญก็คือ การพัฒนาสังคม กล่าวคือ เริ่มมีการวางแผนทางด้านสังคมโดยมีการกําหนดนโยบายด้าน ประชากรเป็นครั้งแรก ซึ่งมีการกําหนดเป้าหมายลดอัตราการเพิ่มของประชากรให้เหลืออยู่ที่ ร้อยละ 2.5 ต่อปี ในปี พ.ศ. 2519 เพื่อลดภาระทางเศรษฐกิจแก่ครอบครัวที่มีฐานะยากจนและประเทศในระยะยาว รวมทั้งเพื่อให้การบริการในภาครัฐขยายตัวได้ทั่วถึงและรวดเร็วยิ่งขึ้น

67 วิกฤติที่เกิดขึ้นในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 คือ

(1) วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ

(2) วิกฤติการณ์ทางการเงินของโลก

(3) วิกฤติการณ์น้ำมัน

(4) วิกฤติการณ์ความผันผวนทางการเมือง

(5) ข้อ 3 และ 4 ถูก

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 นั้น ประเทศไทยต้องประสบกับวิกฤติการณ์ความผันผวนทางการเมืองและวิกฤติการณ์น้ำมันอย่างรุนแรง จนก่อให้เกิดปัญหาการขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างรุนแรง แต่สัมฤทธิผลของแผนพัฒนาฯ ฉบับนี้ที่เป็นไปตามเป้าหมาย ก็คือ อัตราการเพิ่มของประชากร

68 สภาพของประเทศไทยก่อนมีการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ คือ

(1) ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว

(2) เศรษฐกิจขยายตัวประมาณร้อยละ 4 ต่อปี

(3) ประชากรเพิ่มในอัตราร้อยละ 3.7 ต่อปี

(4) เศรษฐกิจส่วนใหญ่ขึ้นกับภาคเกษตร

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข 0-3301-2 หน้า 2 – 3) สถานภาพของประเทศไทยก่อนมีการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 มีดังนี้

1 ทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ทั้งด้านป่าไม้ แหล่งน้ำ แร่ธาตุ ฯลฯ หรืออยู่ในสภาพที่เรียกว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว”

2 ประชาชนมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวไม่ถึง 2,000 บาทต่อปี

3 เศรษฐกิจขยายตัวประมาณ ร้อยละ 4 ต่อปี

4 มีแรงงานภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 8.5 ของแรงงานทั้งหมด

5 บริการพื้นฐานต่าง ๆ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมมีไม่เพียงพอ

6 ประชากรเพิ่มในอัตราร้อยละ 3.7 ต่อปี

7 เศรษฐกิจส่วนใหญ่ขึ้นกับภาคเกษตร ฯลฯ

69 การเตรียมความพร้อมและยกระดับฝีมือของคนไทยให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน มุ่งเน้นการผลิตกําลังคน ในระดับใด

(1) ระดับสูง

(2) ระดับกลาง

(3) ระดับต่ำ

(4) ระดับกลางและระดับต่ำ

(5) ทุกระดับ 1

ตอบ 2 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีแนวทางการเตรียมความพร้อมและยกระดับทักษะฝีมือของคนไทยให้มีคุณภาพได้มาตรฐานและสอดคล้องกับโครงสร้างการผลิตและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปประการหนึ่ง คือ มุ่งเน้นการผลิตและพัฒนากําลังคนระดับกลาง โดยผสมผสาน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทักษะชีวิต กับความรู้พื้นฐาน รวมทั้งให้มีการขยายบริการการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานอย่างทั่วถึง

70 การปฏิรูปการศึกษามีแนวทางอย่างไร

(1) ผลิตนักวิจัยในสาขาที่มีความจําเป็นต่อการพัฒนาประเทศ

(2) พัฒนาครูและปรับปรุงกระบวนการผลิตครู

(3) ปรับปรุงหลักสูตรให้มีความหลากหลาย

(4) เสริมสร้างความพร้อมของสถาบันการศึกษา

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีแนวทางการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ดังนี้

1 พัฒนาครูและปรับปรุงกระบวนการผลิตครูที่มีคุณภาพและคุณธรรม

2 ปรับปรุงหลักสูตรให้มีความหลากหลายและยืดหยุ่น

3 ผลิตนักวิจัยในสาขาที่มีศักยภาพสูงและมีความจําเป็นต่อการพัฒนาประเทศ

4 เสริมสร้างความพร้อมของสถาบันการศึกษา ฯลฯ

71 ลักษณะของประเทศกําลังพัฒนา คือ

(1) ประชาชนมีรายได้เฉลี่ยต่อบุคคลในเกณฑ์ปานกลาง

(2) ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพอุตสาหกรรม

(3) อัตราการเพิ่มประชากรอยู่ในเกณฑ์ต่ำ

(4) ความเจริญด้านเทคโนโลยีอยู่ในระดับสูง

(5) ประชาชนส่วนใหญ่ยึดถือวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิม

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 3) ลักษณะของประเทศกําลังพัฒนา มีดังนี้

1 ประชาชนมีรายได้เฉลี่ยต่อบุคคลในเกณฑ์ต่ำ

2 ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม

3 อัตราการเพิ่มประชากรอยู่ในเกณฑ์สูง

4 ความเจริญด้านเทคโนโลยีอยู่ในระดับต่ำ

5 อัตราความเป็นเมืองอยู่ในเกณฑ์ต่ำ

6 ประชาชนส่วนใหญ่ยึดถือวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิม

72 ต่อไปนี้ข้อใดเป็นแนวทางการแก้ปัญหาความยากจนในชนบท

(1) นําหลักการและแนวคิดกระบวนการสหกรณ์มาใช้

(2) การปฏิรูปกฎหมายและปรับปรุงระเบียบให้คนจนได้รับโอกาสมากขึ้น

(3) ปรับระบบการบริหารจัดการภาครัฐให้เอื้อต่อการสร้างโอกาสแก่คนยากจน

(4) ให้คนยากจนมีโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐได้อย่างทั่วถึง

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีแนวทางการแก้ปัญหาความยากจนในชนบท ดังนี้

1 นําหลักการและแนวคิดกระบวนการสหกรณ์มาใช้ โดยส่งเสริมการรวมกลุ่มของคนยากจนเป็นองค์กรชุมชน สหกรณ์ และเครือข่ายองค์กรชุมชนที่เข้มแข็ง

2 เสริมสร้างโอกาสให้คนยากจน สามารถเข้าถึงบริการของรัฐได้อย่างทั่วถึงและสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ

3 ปรับระบบการบริหารจัดการภาครัฐให้เอื้อต่อการสร้างโอกาสแก่คนยากจน

4 ปฏิรูปกฎหมายและปรับปรุงกฎระเบียบให้คนจนได้รับโอกาส สิทธิ ความเสมอภาค และความเป็นธรรมในด้านต่าง ๆ

73 การพัฒนาแบบยั่งยืน หมายถึง

(1) การให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมกับภาครัฐบาลมากขึ้น

(2) การพัฒนารัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

(3) การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กัน (4) การมุ่งเน้นการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

(5) การมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีสมัยใหม่

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การพัฒนาแบบยั่งยืน (Sustainable Development) หมายถึง การพัฒนาแบบองค์รวมที่ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา และการพัฒนาอย่างมีดุลยภาพทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กัน โดยยึด“ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญานําทางในการพัฒนา

74 ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีการค้าโลกในช่วงที่ผ่านมาลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นผลเนื่องมาจากสาเหตุสำคัญคือ

(1) มีการพึ่งพาวัตถุดิบจากต่างประเทศสูง

(2) แรงงานไทยส่วนใหญ่มีการศึกษาต่ำ

(3) ความสามารถในการบริหารจัดการธุรกิจไร้ประสิทธิภาพ

(4) ความล้าหลังในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในช่วงที่ผ่านมานั้น พบว่า สมรรถนะทางเศรษฐกิจและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีการค้าโลกได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากสาเหตุสําคัญ คือ

1 ความล้าหลังในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

2 มีการพึ่งพาวัตถุดิบ เงินทุน และเทคโนโลยีจากต่างประเทศสูง

3 แรงงานไทยส่วนใหญ่มีการศึกษา

4 ความสามารถในการบริหารจัดการธุรกิจไร้ประสิทธิภาพ

75 ประเทศใดเป็นตัวแปรสําคัญต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของโลกในปัจจุบัน

(1) รัสเซีย

(2) ญี่ปุ่น

(3) จีน

(4) อินเดีย

(5) เกาหลี

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ปัจจุบันแนวโน้ม “ระบบภูมิภาคนิยม” มีอิทธิพลเพิ่มขึ้น ขณะที่ประเทศมหาอํานาจทางเศรษฐกิจคือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป ยังคงมีบทบาทต่อการจัดระเบียบเศรษฐกิจและสังคมโลกใหม่ และการเข้าเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลกนั้น จะทําให้จีนกลายเป็นตัวแปรสําคัญต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของโลกและภูมิภาคเอเชีย

76 การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ มีวัตถุประสงค์สําคัญคือ

(1) เพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกมากขึ้นที่จะได้รับบริการที่ดีมีคุณภาพ

(2) เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่ดี

(3) เพื่อสนับสนุนบทบาทการลงทุนของภาคเอกชน

(4) เพื่อลดภาระการลงทุนภาครัฐ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในช่วงเผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ประเทศไทยได้ดําเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจอย่างเป็นขั้นตอน โดยมีวัตถุประสงค์สําคัญคือ

1 เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่ดี

2 เพื่อสนับสนุนบทบาทการลงทุนของภาคเอกชนที่คํานึงถึงประสิทธิภาพการให้บริการ

3 เพื่อลดภาระการลงทุนภาครัฐ

4 เพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกที่จะได้รับบริการที่ดีมีคุณภาพ

77 เงื่อนไขและสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงภายนอกประเทศที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศไทย คือ

(1) กระแสประชาธิปไตยในสังคมโลก

(2) กระแสโลกาภิวัตน์

(3) ระบบเศรษฐกิจของโลกมีความสลับซับซ้อนและเชื่อมโยงกันมากขึ้น

(4) แนวโน้มของการพัฒนาสู่ “เศรษฐกิจยุคใหม่”

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) นอกจากตัวเลือกข้อ 1, 2, 3 และ 4 แล้ว เงื่อนไขและสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงภายนอกประเทศที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศไทย ได้แก่

1 การเปิดเสรีและการกีดกันทางการค้า

2 แนวโน้มระบบภูมิภาคนิยมมีอิทธิพลเพิ่มขึ้น

3 เสถียรภาพทางเศรษฐกิจโลกยังมีความเปราะบาง เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของ ประเทศสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่นที่ยังชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าจะฟื้นตัวได้ช้ากว่าที่ประมาณการไว้

78 แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 มีเป้าหมายในการพัฒนาประชากรกลุ่มผู้ด้อยโอกาส “กลุ่มผู้ด้อยโอกาส” ได้แก่

(1) เด็กที่อยู่ในภาวะยากลําบาก

(2) สตรีในธุรกิจบริการทางเพศ

(3) คนพิการ ผู้ถูกคุมประพฤติ และผู้ต้องขัง

(4) ผู้สูงอายุยากจนที่ไม่มีญาติหรือผู้เลี้ยงดู

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 มีเป้าหมายในการพัฒนาประชากร “กลุ่มผู้ด้อยโอกาส”ซึ่งได้แก่

1 กลุ่มเด็กที่อยู่ในภาวะยากลําบาก

2 กลุ่มเด็กและสตรีในธุรกิจบริการทางเพศ และถูกประทุษร้าย

3 กลุ่มคนพิการ

4 กลุ่มผู้ถูกคุมประพฤติและผู้ต้องขัง

5 กลุ่มผู้สูงอายุยากจนที่ไม่มีญาติหรือผู้เลี้ยงดู

6 กลุ่มคนยากจนในเมืองและชนบท

7 กลุ่มคนไทยต่างวัฒนธรรม

79 สาเหตุสําคัญที่ทําให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจไทยในช่วงปีแรกของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 คือ

(1) ขาดปัจจัยพื้นฐานในการพัฒนาประเทศอย่างรุนแรง

(2) รายได้จากการท่องเที่ยวลดลงมากและคนไทยนิยมไปท่องเที่ยวต่างประเทศมากขึ้น

(3) ปัญหาคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์

(4) ปัญหาแรงงานฝีมือต่ำ

(5) ปัญหาด้านการส่งออก

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข 0-3301-2 หน้า 111 – 113), (คําบรรยาย) วิกฤติเศรษฐกิจไทยที่เกิดขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นปีแรกของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 มีสาเหตุเกิดจากปัญหาโครงสร้างที่สะสมมานานซึ่งไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง ประกอบกับมีปัจจัยและตัวเร่งที่ก่อให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ได้แก่ ปัญหาเศรษฐกิจแบบฟองสบู่ ระบบเศรษฐกิจและการเมืองในลักษณะรวมศูนย์ ความด้อยประสิทธิภาพในการบริหารจัดการของภาครัฐ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคของคนไทยที่มีค่านิยมทางวัตถุและสิ่งฟุ่มเฟือย รวมทั้งการนิยมเดินทาง ไปเที่ยวต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งทําให้รายได้จากการท่องเที่ยวภายในประเทศลดลง ได้นําไปสู่ การที่รัฐบาลตัดสินใจประกาศขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) พร้อมด้วยพันธะกรณีตามแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจที่จะต้องรักษาวินัยทางการเงินและการคลัง อย่างเคร่งครัด

80 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายเพิ่มค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาของประเทศทั้งภาครัฐและเอกชนไม่น้อยกว่าเท่าใดของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ

(1) ร้อยละ 0.6

(2) ร้อยละ 0.5

(3) ร้อยละ 0.4

(4) ร้อยละ 0.3

(5) ร้อยละ 0.2

ตอบ 3 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายดุลยภาพทางเศรษฐกิจ ดังนี้

1 มีอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี

2 การส่งออกสินค้ามีการขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 ต่อปี โดยเพิ่มส่วนแบ่งตลาดส่งออกของไทยให้อยู่ในระดับร้อยละ 1.1 ของตลาดโลกในปี พ.ศ. 2549

3 เพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวโดยมีรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 7-8 ต่อปี และให้คนไทยท่องเที่ยวภายในประเทศเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 3 ต่อปี

4 เพิ่มค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศทั้งภาครัฐและเอกชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ฯลฯ

81 แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 มีลักษณะที่แตกต่างจากแผนอื่น ๆ คือ (1) มุ่งเน้นการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน

(2) มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจโดยไม่คํานึงถึงผลทางด้านสังคม

(3) สนใจเรื่องการกระจายรายได้

(4) เป็นแผนที่มีระยะเวลานาน 6 ปี

(5) เน้นเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 11 – 12,19), (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากแผนพัฒนาฯ ฉบับอื่น ๆ ดังนี้

1 เป็นแผนที่มีระยะเวลายาวนานถึง 6 ปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 ถึง 2509

2 เป็นแผนที่กําหนดวัตถุประสงค์เดี่ยว (Single Objective) คือ เร่งรัดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

82 ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายว่าในปี 2549 ประชาชนจะมีการศึกษาอย่างไร

(1) โดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 6 ปี

(2) โดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 8 ปี

(3) โดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 9 ปี

(4) โดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 12 ปี

(5) โดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 15 ปี

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 122 – 123) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายการยกระดับคุณภาพชีวิต ดังนี้

1 ให้ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปมีการศึกษาโดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 9 ปี ในปี พ.ศ. 2549

2 ยกระดับการศึกษาของแรงงานไทยให้ถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้นขึ้นไปไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ในปี พ.ศ. 2549

3 ขยายการประกันสุขภาพให้ครอบคลุมประชาชนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

4 ให้มีระบบการคุ้มครองทางสังคมที่สร้างหลักประกันแก่คนไทยทุกช่วงวัย ฯลฯ

83 การเน้นความสําคัญของ “เกษตรกร” มีแนวทางอย่างไร

(1) สนับสนุนให้เกษตรกรริเริ่มในการตัดสินใจเลือกการผลิตที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่

(2) ให้สินเชื่อทางการเกษตรแก่เกษตรกรมากขึ้น

(3) รัฐเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้สนับสนุนมาเป็นผู้ชี้นําในการพัฒนาการเกษตร (4) ให้ภาคเอกชนลงทุนในด้านวิชาการ และการวิจัยทางการเกษตร

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข n-3301 -2 หน้า 97) การเน้นความสําคัญของ “เกษตรกร” ตามแผนพัฒนาฯฉบับที่ 7 มีแนวทาง ดังนี้

1 สนับสนุนให้เกษตรกรเป็นผู้ริเริ่มในการตัดสินใจเลือกการผลิตที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่

2 ให้ความสําคัญกับกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจ เช่น กลุ่มเกษตรกรผู้ยากจน แรงงานรับจ้างภาคเกษตร ผู้มีรายได้น้อยที่ไม่มีที่ดินของตนเอง ให้ได้รับบริการด้านปัจจัยการผลิตอย่างทั่วถึงและเพียงพอ

3 รัฐต้องเปลี่ยนบทบาทจากการเป็น “ผู้ชี้นํา” มาเป็น “ผู้สนับสนุน” ในการพัฒนาการเกษตร

4 ภาครัฐต้องเน้นการลงทุนในด้านวิชาการ และการวิจัยทางการเกษตร

84 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายในด้านอัตราเงินเฟ้ออย่างไร

(1) ไม่เกินร้อยละ 2 ต่อปี

(2) ไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี

(3) ไม่เกินร้อยละ 4 ต่อปี

(4) ไม่เกินร้อยละ 5 ต่อปี

(5) ไม่เกินร้อยละ 6 ต่อปี

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 80 ประกอบ

85 “หน่วยงานกลาง” มีบทบาทสําคัญในการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ หน่วยงานกลางได้แก่

(1) สํานักงาน ก.พ.

(2) สํานักงบประมาณ

(3) กระทรวงการคลัง

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 มีนโยบายเพิ่มประสิทธิภาพของหน่วยงานกลางในการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ โดยกําหนดให้ปรับปรุงบทบาทของหน่วยงานกลาง 5 หน่วยงาน ดังนี้

1 สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

2 สํานักงบประมาณ

3 สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)

4 สํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน

5 สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

86 แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 นับว่าเป็นแผนที่ดําเนินการในช่วงเปลี่ยนผ่านที่สําคัญที่สุดช่วงหนึ่งของประเทศไทย เพราะเหตุใด

(1) ต้องเร่งฟื้นฟูทางเศรษฐกิจให้หลุดพ้นจากภาวะวิกฤติ

(2) ต้องพัฒนาสิ่งแวดล้อมในทุก ๆ ด้าน

(3) ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากภายนอกมากขึ้น

(4) ต้องเร่งพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มรายได้จากเงินตราต่างประเทศ

(5) ต้องพัฒนาการศึกษาและคุณภาพชีวิตของคนชนบท

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 130) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 นับว่าเป็นแผนที่ดําเนินการในช่วงเปลี่ยนผ่านที่สําคัญที่สุดช่วงหนึ่งของประเทศไทย เพราะจําเป็นต้องเร่งรัดการปฏิรูป ระบบเศรษฐกิจและสังคมให้เกิดสัมฤทธิผล และเร่งฟื้นฟูทางเศรษฐกิจให้หลุดพ้นจากภาวะวิกฤติ พร้อมทั้งวางรากฐานการพัฒนาระบบเศรษฐกิจภายในประเทศให้มีความเข้มแข็ง มีเสถียรภาพและมีภูมิคุ้มกันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงจากภายนอกและสามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น

87 การปรับปรุงระบบราชการแนวใหม่มุ่งให้ระบบราชการมีลักษณะอย่างไร

(1) ปรับปรุงโครงสร้างใหม่ให้เน้นการเป็นผู้ปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ

(2) เพิ่มจํานวนบุคลากรให้มากขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับบทบาทภารกิจใหม่

(3) ระบบราชการทํางานแยกส่วนกับภาคเอกชนโดยมุ่งแข่งขันกับภาคเอกชน

(4) ปรับระบบงบประมาณเป็นแบบมุ่งผลลัพธ์

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีแนวทางการปรับปรุงระบบราชการแนวใหม่ ดังนี้

1 ปรับบทบาท ภารกิจ และวิธีการบริหารงานของระบบราชการจากการเป็นผู้ปฏิบัติไปเป็นผู้กํากับดูแลและอํานวยความสะดวก

2 ปรับระบบงบประมาณเป็นแบบมุ่งผลลัพธ์

3 ปรับระบบบริหารบุคคลและลดจํานวนบุคลากรให้สอดคล้องกับการปรับบทบาทภารกิจใหม่

4 ปรับระบบราชการให้สามารถทํางานร่วมกับภาคเอกชนได้ ฯลฯ

88 ผลของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1-7 ก่อให้เกิด “ความไม่สมดุลของการพัฒนา”หมายความว่า

(1) มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลือง และมีการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน

(2) มีปัญหาความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้

(3) มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจแต่มีปัญหาทางสังคมเกิดขึ้นมากมาย

(4) มีปัญหายาเสพติดและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ผลการพัฒนาประเทศในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 – 7 นั้น ก่อให้เกิด“ความไม่สมดุลของการพัฒนา” หมายความว่า มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจดี แต่ปัญหาความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้และผลประโยชน์จากการพัฒนาระหว่างภาค ระหว่างชนบท กับเมือง และระหว่างกลุ่มคนในสังคม ก็ยังเป็นปัญหาสําคัญที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของคนไทย โดยทําให้มีปัญหาทางสังคมเกิดขึ้นมากมาย เช่น ปัญหายาเสพติดและความปลอดภัย ในชีวิตและทรัพย์สิน ขณะเดียวกันก็มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลือง ซึ่งนําไปสู่ ปัญหาความขัดแย้งแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติ ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและความเสื่อมโทรม ทางสภาพแวดล้อมอย่างรุนแรง จึงนําไปสู่ข้อสรุปผลการพัฒนาที่ว่า แม้เศรษฐกิจขยายตัวในระดับดี แต่สังคมมีปัญหา และการพัฒนาไม่ยั่งยืน

89 ลักษณะสําคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 คือ

(1) เน้นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

(2) มุ่งเน้นการปฏิรูปทางการศึกษา

(3) มุ่งเน้นการเสริมสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

(4) เศรษฐกิจเป็นเป้าหมายหลักของการพัฒนา

(5) คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 105, 107, 116 117) ลักษณะสําคัญของแผนพัฒนาฯฉบับที่ 8 ที่แตกต่างจากแผนพัฒนาฯ ฉบับอื่น มีดังนี้ 1 เป็นจุดเปลี่ยนสําคัญของการวางแผนพัฒนาประเทศไทยที่ให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม นั่นคือ เป็นแผนแรกที่มาจากการร่วมคิดของหลายฝ่ายจากทุกภาคส่วนของสังคม โดยเปิดโอกาสให้คนไทยทุกกลุ่มอาชีพในทุกภูมิภาคเข้ามามีบทบาทร่วม ในการแสดงความคิดเห็น และกําหนดทิศทางในการพัฒนาประเทศตั้งแต่เริ่มการจัดทําแผน

2 เป็นแผนแรกที่เน้นให้ “คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา” โดยถือว่าการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นเพียงเครื่องมือช่วยพัฒนาให้คนมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเท่านั้น

90 วิกฤติที่เกิดขึ้นในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 คือ

(1) ปัญหาในภาคการเงินและอสังหาริมทรัพย์

(2) ปัญหาหนี้สาธารณะและปัญหาการขาดดุลงบประมาณ

(3) ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจส่วนรวมอย่างรุนแรง ความพยายามในการแก้ไขปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะปานกลาง อย่างต่อเนื่อง ได้ส่งผลให้เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวอย่างช้า ๆ และมีเสถียรภาพในระดับหนึ่ง แต่ทั้งนี้ก็ยังมีปัญหาในภาคการเงินและอสังหาริมทรัพย์ ปัญหาหนี้สาธารณะและปัญหาการขาดดุลงบประมาณอยู่อย่างเดิม

91 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับใด ที่ประเทศไทยมีผลของการพัฒนาเศรษฐกิจสูงกว่าเป้าหมายถึงสองเท่าตัว

(1) ฉบับที่ 5

(2) ฉบับที่ 6

(3) ฉบับที่ 7

(4) ฉบับที่ 8

(5) ฉบับที่ 9

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 82), (คําบรรยาย) การพัฒนาตลอดช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 เศรษฐกิจของประเทศได้ฟื้นตัวและขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 10.5 ต่อปี ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่กําหนดไว้ในแผนพัฒนาฯ ถึง 2 เท่าตัว นับเป็นอัตราการขยายตัวเฉลี่ยสูงสุด ของการพัฒนาเศรษฐกิจในช่วง 25 ปีของการพัฒนาที่ผ่านมา โดยที่โครงสร้างเศรษฐกิจไทย เปิดกว้างเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจนานาชาติมากขึ้น และโครงสร้างทางเศรษฐกิจเปลี่ยนจากเศรษฐกิจการเกษตรสู่เศรษฐกิจอุตสาหกรรม นอกจากนี้ภาวะเศรษฐกิจของโลกเอื้ออํานวยต่อเศรษฐกิจไทยด้วย

92 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับใด ที่ประเทศไทยสามารถลดอัตราการเพิ่มของประชากรได้ผลตรงตามเป้าหมายที่กําหนดไว้ในแผน

(1) ฉบับที่ 4

(2) ฉบับที่ 5

(3) ฉบับที่ 6

(4) ฉบับที่ 7

(5) ฉบับที่ 8

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข 0-3301-2 หน้า 55 – 56) ผลการพัฒนาตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 มีดังนี้

1 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มสูงขึ้นกว่าเป้าหมายที่กําหนดไว้ คือ เพิ่มในอัตราร้อยละ 7.1 ต่อปี สูงกว่าเป้าหมายที่กําหนดไว้ร้อยละ 7.0 ต่อปี

2 การผลิตสาขาเกษตรและอุตสาหกรรมขยายตัวต่ำกว่าเป้าหมายที่กําหนดไว้

3 การลดอัตราการเพิ่มของประชากรเป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการเป็นครั้งแรก โดยอยู่ที่ร้อยละ 2.1 ต่อปี

4 การกระจายรายได้ยังทําได้ไม่เพียงพอและทั่วถึง โดยเฉพาะประชาชนในเขตชนบท ฯลฯ

93 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 ประสบความสําเร็จอย่างสูงในเรื่องใด

(1) การลดปัญหาสังคมเมืองและปัญหาอาชญากรรม

(2) การลดอัตราการเพิ่มของประชากร

(3) มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระดับสูงเกินความคาดหมาย

(4) ความสมดุลของการพัฒนา

(5) การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 91 ประกอบ

94 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 แตกต่างจากแผนพัฒนาฯ ฉบับอื่น ๆ คือ

(1) มีการประเมินความเสี่ยง

(2) ให้ประเทศไทยพัฒนาเป็นแหล่งอุตสาหกรรมของโลก

(3) ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวในภูมิภาค

(4) ให้ประเทศไทยพัฒนาเป็นศูนย์กลางทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของโลก

(5) ให้ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตอาหารสําคัญของโลก

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 152 153), (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ได้ประเมินความเสี่ยงที่ประเทศไทยจะต้องเผชิญไว้ 6 ประการ ซึ่งถือเป็นรายละเอียดที่ทําให้ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 มีความแตกต่างจากแผนพัฒนาฯ ฉบับก่อน ๆ ดังนี้

1 การบริหารภาครัฐอ่อนแอ ไม่สามารถขับเคลื่อนการบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2 โครงสร้างทางเศรษฐกิจไม่สามารถรองรับการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน

3 โครงสร้างประชากรที่มีวัยสูงอายุเพิ่มขึ้น ขณะที่ประชากรวัยเด็กและวัยแรงงานลดลง

4 ค่านิยมที่ดีงามเสื่อมถอยและประเพณีดั้งเดิมถูกบิดเบือน

5 ฐานทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อมของประเทศมีแนวโน้มเสื่อมโทรมรุนแรง

6 มีความเสี่ยงด้านความมั่นคงเพราะเกิดปัญหาความไม่สงบภายในประเทศและปัญหาการก่อการร้าย

95 ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคได้แก่ข้อใด

(1) การสร้างความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

(2) การเสริมสร้างความร่วมมือที่ดีระหว่างประเทศในการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมีจริยธรรม

(3) การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับอนุภูมิภาค

(4) การป้องกันภัยจากภัยพิบัติ และการแพร่ระบาดของโรค

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข 0-3301-2 หน้า 161 – 163) ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาค ตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 มีดังนี้

1 การสร้างความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

2 การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับอนุภูมิภาค

3 การป้องกันภัยจากภัยพิบัติ และการแพร่ระบาดของโรค

4 การเสริมสร้างความร่วมมือที่ดีระหว่างประเทศในการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมีจริยธรรม ฯลฯ

96 ภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นของประเทศไทยที่จัดทําโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติเป็นอย่างไร

(1) ได้คะแนน 3.8 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ในปี 2548

(2) อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ

(3) มีอันดับเพิ่มสูงขึ้น

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 1 – 3

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข 0-3301-2 หน้า 137) ดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นของประเทศไทย และการอนาที่จัดทําโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ มีอันดับเพิ่มสูงขึ้นเป็น 3.8 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนนในปี 2548 ซึ่งยังอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ

97 “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” มีลักษณะอย่างไร

(1) สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติมีความยั่งยืน

(2) คนไทยมีคุณธรรมนําความรอบรู้ รู้เท่าทันโลก

(3) ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมสันติสุข

(4) เศรษฐกิจมีเสถียรภาพและเป็นธรรม

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 57 ประกอบ

98 การสร้างภูมิคุ้มกันของประเทศตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ที่สําคัญได้แก่

(1) ส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมเป็นฐานรายได้หลักของประเทศ

(2) ยึดมั่นในการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

(3) เร่งรัดให้มีการปฏิรูปการศึกษาทุกระดับ

(4) สนับสนุนให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวภายในประเทศ

(5) ยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชนบท

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข 0-3301-2 หน้า 153) การสร้างภูมิคุ้มกันของประเทศไทยตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 มี 5 ประการ ดังนี้

1 ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

2 การพัฒนาประเทศให้อยู่บนฐานความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัย

3 สังคมไทยมีค่านิยมและวัฒนธรรมที่ดีงาม

4 ภาคการเกษตรเป็นฐานรายได้หลักและความมั่นคงด้านอาหารของประเทศ

5 ชุมชนท้องถิ่นเป็นกลไกที่มีความสามารถในการบริหารจัดการ มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเชื่อมโยงกันเป็นสังคมสวัสดิการ

99 ปัจจุบันประเทศไทยมุ่งเดินหน้าพัฒนาไปสู่ “ประเทศไทย 4.0” หมายความว่าอย่างไร

(1) การพัฒนาให้ครบทั้ง 4 ด้าน คือ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อม (2) การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วภายในปี 2575

(3) การพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นผู้นําในกลุ่มประเทศอาเซียน

(4) การพัฒนาให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตอล

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) ประเทศไทย 4.0 คือ การพัฒนาให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตอล เป็นการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิตอลมาสร้างสรรค์หรือพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม ข้อมูล ทุนมนุษย์ ทรัพยากรอื่น ๆ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนอย่างแท้จริง

100 ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่สําคัญในอนาคต ได้แก่ข้อใด

(1) เทคโนโลยีการผลิตในอุตสาหกรรม

(2) เทคโนโลยีการเกษตร

(3) นาโนเทคโนโลยี

(4) เทคโนโลยีการศึกษา

(5) เทคโนโลยีสารสนเทศ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่สําคัญในอนาคต ได้แก่ นาโนเทคโนโลยี ) (Nanotechnology) เช่น นาโนเทคโนโลยีเชิงชีวภาพและนาโนเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Biological and Medical Nanotechnology) มีบทบาทเชื่อมโยงและสัมพันธ์กันอย่างมาก

และยังเกี่ยวข้องโดยตรงกับความต้องการพื้นฐานของมนุษยชาติ เช่น การมีอายุยืนยาว ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บและรักษาโรค มีสิ่งแวดล้อมที่ดี รวมทั้งมีรูปร่างหน้าตาสวยงามตลอดเวลา

POL3301 นโยบายสาธารณะ S/2560

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3301 นโยบายสาธารณะ

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1 ข้อใดถูกต้อง

(1) ทฤษฎีกลุ่ม อธิบายว่า คนกลุ่มน้อยจะจัดสรรคุณค่าของสังคม

(2) ทฤษฎีผู้นํา สะท้อนให้เห็นค่านิยมของผู้นํา

(3) สังคมแบ่งเป็นคนกลุ่มน้อยที่มีอํานาจและคนกลุ่มใหญ่ที่ไม่มีอํานาจ คนกลุ่มน้อยเป็นผู้กําหนดนโยบายตามความต้องการของตนเอง

(4) สถาบันของรัฐเป็นผู้กําหนดนโยบายสาธารณะ คือ ทฤษฎีผู้นํา

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 84 85), (คําบรรยาย) ตัวแบบ/ทฤษฎีผู้นําหรือ ชนชั้นนำ (Elite Model/Theory) อธิบายว่า

1 สังคมถูกแบ่งเป็นคนกลุ่มน้อยที่มีอํานาจกับคนกลุ่มใหญ่ที่ไม่มีอํานาจ โดยผู้นําซึ่งเป็นคนกลุ่มน้อยในสังคม แต่มีอํานาจเป็นผู้จัดสรรคุณค่าของสังคมและกําหนดนโยบายสาธารณะให้เป็นไปตามความต้องการหรือค่านิยมของตน ขณะที่ประชาชนหรือคนส่วนใหญ่ไม่ได้มีส่วนตัดสินใจในนโยบายสาธารณะด้วย

2 ผู้นําจะแสดงความสมานฉันท์กับค่านิยมพื้นฐานของระบบสังคมและพยายามสงวนรักษาระบบไว้

3 นโยบายสาธารณะไม่ได้สะท้อนถึงความต้องการของมวลชน แต่เป็นการสะท้อนให้เห็นค่านิยมของผู้นํามากกว่า

4 ผู้นํามีอิทธิพลต่อมวลชนมากกว่ามวลชนมีอิทธิพลต่อผู้นํา ฯลฯ

2 ข้อใดถูกต้อง

(1) นโยบายสาธารณะเป็นผลผลิตที่ได้มาจากการเจรจาต่อรองเกี่ยวข้องกับทฤษฎีสถาบันนิยม

(2) สิ่งแวดล้อม เป็นตัวแปรที่สําคัญของทฤษฎีระบบ

(3) ตัวแบบเหตุผลนิยมอยู่ในทฤษฎีการตัดสินใจ

(4) แนวคิดเชิงเศรษฐศาสตร์การเมืองเกี่ยวข้องกับการวางแผนที่เน้นเนื้อหา

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 85 – 86), (คําบรรยาย) ตัวแบบดุลยภาพระหว่างกลุ่มหรือทฤษฎีกลุ่ม (Group Equilibrium Model or Group Theory) อธิบายว่า นโยบายสาธารณะ เป็นผลผลิตของการต่อสู้ระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ระหว่างกลุ่มผลประโยชน์กับนโยบายสาธารณะ โดยชี้ให้เห็นว่านโยบายสาธารณะเป็นผลผลิต ที่ได้มาจากการเจรจาต่อรอง การประนีประนอม และการถ่วงดุลผลประโยชน์ระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ส่วนตัวแบบ/ทฤษฎีระบบ (System Model/Theory) อธิบายว่า นโยบายสาธารณะเป็น ผลผลิตของระบบโดยเน้นการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่สําคัญ 5 ตัวแปร คือ

1 ปัจจัยนําเข้า (Inputs)

2 กระบวนการ (Process)

3 ปัจจัยนําออก/ผลผลิต (Outputs)

4 ข้อมูลป้อนกลับ/ผลสะท้อนกลับ (Feedback)

5 สิ่งแวดล้อม (Environment)

3 ข้อใดไม่ถูกต้อง

(1) ความสมเหตุสมผลทางด้านปทัสถานเกี่ยวข้องกับการวางแผนที่เน้นการตัดสินใจ (2) แนวคิดเชิงมนุษยนิยมเกี่ยวข้องกับการวางแผนที่เน้นการควบคุม

(3) ตัวแบบเหตุผลนิยมอยู่ในทฤษฎีการตัดสินใจ

(4) ถูกทุกข้อ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 86 87 88), (คําบรรยาย) ทฤษฎีการตัดสินใจ แบ่ง ออกเป็น 3 ตัวแบบ คือ

1 ตัวแบบเหตุผลนิยมหรือตัวแบบยึดหลักเหตุผล

2 ตัวแบบส่วนเพิ่ม

3 ตัวแบบผสมผสาน ส่วนทฤษฎีการวางแผนที่เน้นการควบคุม อธิบายว่า การวางแผนจะต้องมีการตรวจสอบอํานาจที่เข้าไปแทรกแซง ซึ่งสามารถจําแนกได้ 3 แนว คือ แนวคิดเชิงเศรษฐศาสตร์การเมือง แนวคิดเชิงมนุษยนิยม และแนวคิดเชิงปฏิบัตินิยม ส่วนทฤษฎีการวางแผนที่เน้นการตัดสินใจ (Decision-Centred Planning Theory) แบ่งออก เป็น 2 ประเภท คือ

1 การตัดสินใจแบบสมเหตุสมผลด้านการทําหน้าที่ (Functional Rationalism) ได้พัฒนาไปเป็นทฤษฎีเชิงกรรมวิธีที่มุ่งอธิบายกระบวนการและการวางแผนอย่าง เป็นขั้นตอน ซึ่งทฤษฎีนี้ต่อมาก็พัฒนาไปเป็นทฤษฎีการวางแผนที่เน้นการนํานโยบายไปปฏิบัติ

2 การตัดสินใจแบบสมเหตุสมผลด้านปทัสถาน (Normative Rationalism) ได้พัฒนาไปเป็น ทฤษฎีการวางแผนสังคมและการวางแผนสนับสนุน

4 ข้อใดถูกต้อง

(1) Montjoy & O’Toole สนใจคล้ายกับ Stuart S. Nagel

(2) Ira Sharkansky ได้รับการยาย่องว่าเป็นบิดาแห่งนโยบายศาสตร์

(3) David Easton กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่รัฐบาลกระทํา

(4) William Dunn สนใจในการวิเคราะห์นโยบาย

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 24, 33 – 72, 89 – 111), (คําบรรยาย) นักวิชาการที่ศึกษาเรื่องการวิเคราะห์นโยบาย (Policy Analysis) ได้แก่

1 เควด (E.S. Quade)

2 วิลเลียม เอ็น. ดันน์ (William N. Dunn)

3 สจ๊วตท์ เอส. นาเกล (Stuart S. Nagel)

4 โทมัส อาร์. ดาย (Thomas R. Dye)

5 เจมส์ อี. แอนเดอร์สัน (James E. Anderson) ฯลฯ

ส่วนนักวิชาการที่ศึกษาเรื่องการนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) ได้แก่

1 กรอส (Gross)

2 ไจแอคควินทา (Giacquinta)

3 เบิร์นสไตล์ (Bernstein)

4 กรีนวูด (Greenwood)

5 แมน (Mann)

6 แมคลัฟลิน (McLaughin)

7 เบอร์แมน (Berman)

8 เดล อี. ริชาร์ด (Dale E. Richards)

9 อีมิลี ไชมี โลวี ไบรเซนไดน์ (Emily Chi-Mei Lowe Brizendine)

10 เพรสแมน (Pressman)

11 วิลดัฟสกี (Wildavsky)

12 มองจอย (Montjoy)

13 โอทูเล (OToole)

14 โทมัส บี. สมิท (Thomas B. Smith) ฯลฯ

5 ข้อใดถูกต้อง

(1) ทัศนคติของผู้นํานโยบายไปปฏิบัติ มีส่วนต่อความสําเร็จของนโยบาย

(2) การประเมินนโยบายจําเป็นต้องใช้วิธีการหลายวิธีเพื่อให้ผลการประเมินถูกต้อง (3) การประเมินผลในรูปแบบทดลอง จะต้องมีกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม

(4) การประเมินผลในรูปแบบกึ่งทดลอง เป็นวิธีการที่เชื่อถือได้และแม่นตรงที่สุด

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ข้อที่ถูกต้อง คือ

1 ทัศนคติของผู้นํานโยบายไปปฏิบัติ มีส่วนต่อความสําเร็จของนโยบาย

2 การประเมินนโยบายจําเป็นต้องใช้วิธีการหลายวิธีเพื่อให้ผลการประเมินถูกต้อง

3 การประเมินผลในรูปแบบทดลอง จะต้องมีกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม

4 การประเมินผลในรูปแบบกึ่งทดลอง เป็นวิธีการที่เชื่อถือได้และแม่นตรงที่สุด

6 การพิจารณาปัญหาหรือความต้องการของประชาชนอยู่ในขั้นตอนใด

(1) การจัดลําดับความสําคัญของปัญหา

(2) การก่อตัวของนโยบาย

(3) การอนุมัตินโยบาย

(4) การนํานโยบายไปปฏิบัติ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 11) ขั้นตอนการก่อตัวของนโยบาย (Policy Formation)ประกอบด้วย

1 การพิจารณาปัญหาหรือความต้องการของประชาชน

2 การพิจารณาเวลาที่เกิดปัญหา

3 ปัญหาที่รัฐบาลสนใจ

4 การจัดลําดับความสําคัญของปัญหา

7 ข้อใดถูกต้อง

(1) การจับคู่เป็นวิธีการสําคัญในการประเมินผลในรูปแบบทดลอง

(2) การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลประโยชน์เป็นรูปแบบหนึ่งของการประเมินผลในรูปแบบทดลอง

(3) การประเมินผลในรูปแบบกึ่งทดลอง เป็นวิธีการที่เชื่อถือได้และแม่นตรงที่สุด

(4) การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลประโยชน์เป็นรูปแบบหนึ่งของการประเมินผลในรูปแบบทดลอง

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 76, 79, 81) การประเมินผลด้วยวิธีกึ่งทดลองมีวิธีการที่สําคัญคือ การจับคู่ (Matching) ซึ่งเป็นการแสวงหาคู่ในระดับบุคคลในพื้นที่ที่มีลักษณะ เป็นเหมือนกัน ส่วนการประเมินผลกระทบแบบไม่ใช้วิธีการวิจัยมี 4 รูปแบบ คือ

1 การเปรียบเทียบโครงการหลาย ๆ โครงการ

2 การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลประโยชน์

3 การวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผล

4 การวิเคราะห์เชิงสหวิทยาการ

8 ข้อใดถูกต้อง

(1) ทฤษฎีผู้นํา อธิบายว่า นโยบายสาธารณะไม่ได้สะท้อนความต้องการของมวลชน (2) ทฤษฎีกลุ่มจะสะท้อนความต้องการของมวลชน

(3) ทฤษฎีสถาบันนิยมให้ความสําคัญกับการเจรจาต่อรอง กรออกรางตลอดมลม(4) ทฤษฎีส่วนเพิ่ม เชื่อถือไม่ได้ ไม่ควรนํามาใช้

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 1ประกอบ

9 ข้อใดถูกต้อง

(1) การนํานโยบายไปปฏิบัติที่มีประสิทธิผลต้องการความสามารถทางการบริหารสูง (2) การนํานโยบายไปปฏิบัติจะเหมาะกับประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

(3) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเกี่ยวข้องกับการวางแผนที่เน้นผลลัพธ์ (4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 18) การนํานโยบายไปปฏิบัติในประเทศต่าง ๆ อาจจะให้ผลแตกต่างกัน ดังนี้

1 การนํานโยบายไปปฏิบัติที่มีประสิทธิผลต้องการความสามารถทางการบริหารสูงจะกลายเป็นข้อจํากัดที่สําคัญของประเทศในโลกที่ 3 และในยุโรปบางประเทศ

2 การนํานโยบายไปปฏิบัติจะง่ายในประเทศที่มีขนาดกลางหรือขนาดเล็ก

3 การนํานโยบายไปปฏิบัติจะเหมาะสมกับประเทศที่ยึดถือการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

4 การนํานโยบายไปปฏิบัติจะง่ายในประเทศที่มีการปกครองแบบรวมศูนย์อํานาจ

5 การนํานโยบายไปปฏิบัติจะมีประสิทธิผลมากในประเทศที่รัฐบาลมีเสถียรภาพสูง

10 ข้อใดถูกต้อง

(1) การวางแผนที่มุ่งอธิบายกระบวนการอย่างเป็นขั้นตอนเกี่ยวข้องกับการวางแผนที่เน้นการมีส่วนร่วม

(2) การนําศาสตร์ในหลาย ๆ สาขามาใช้ในการวิเคราะห์นโยบายเป็นแนวโน้มเกี่ยวกับเป้าหมายและคุณค่า

(3) การที่หน่วยงานนํานโยบายมาแปลงเป็นแผนงานและโครงการเป็นขั้นตอนการปรับปรุงแก้ไขนโยบาย

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 12 13, 25) แนวโน้มการวิเคราะห์นโยบายในอนาคต มี 3 แนวโน้มใหญ่ คือ

1 แนวโน้มเกี่ยวกับเป้าหมายและคุณค่า จะมุ่งเน้นการบรรลุเป้าหมายโดยหาทางเลือกที่ดีที่สุด เที่ทําให้ประชาชนพอใจ และสนองต่อคุณค่าต่าง ๆ ของสังคม โดยการเน้นให้ประชาชน กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็น เพื่อให้นโยบายที่เกิดขึ้นสนองต่อสังคมโดยส่วนรวมอย่างแท้จริง

2 แนวโน้มเกี่ยวกับแนวทางการดําเนินนโยบาย จะมุ่งเน้นการหาวิธีการที่ดีที่สุดที่เป็นไปได้โดยการพิจารณามิติทางการเมืองและการบริหาร และมีการนําศาสตร์ในหลาย ๆ สาขาวิชามาใช้ในการวิเคราะห์นโยบายในลักษณะสหวิทยาการ

3 แนวโน้มเกี่ยวกับวิธีการ จะมุ่งเน้นการวิเคราะห์เชิงธุรกิจที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายและผลตอบแทน (Cost-Benefit) รวมทั้งการคํานึงถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่จะเกิดขึ้นด้วย ส่วนการที่หน่วยงานนํานโยบายมาแปลงเป็นแผนงานและโครงการ เป็นขั้นตอนการนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation)

11 ข้อใดถูกต้อง

(1) แผนงาน เป็นตัวแปรที่ Cook & Scioli เสนอไว้ในตัวแบบของเขา

(2) Harold Lasswell ชี้ให้เห็นเหตุผลของการศึกษานโยบายไว้ 3 ประการ ได้แก่ เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ เหตุผลทางวิชาชีพ และเหตุผลทางการเมือง

(3) Theodore Lowi เสนอให้จําแนกนโยบายตามเนื้อหาสาระของนโยบาย

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 81 – 82) คุกและซิโอลี (Cook & Scioli) สนใจศึกษาเรื่องผลกระทบของนโยบาย (Policy Impacts) โดยได้เสนอตัวแบบในการวิเคราะห์ ผลกระทบของนโยบาย (A Policy Impacts Model) ซึ่งมีองค์ประกอบที่สําคัญ ดังนี้

1 นโยบาย 2 แผนงาน 3 วัตถุประสงค์ 4 กิจกรรม 5 ผลกระทบ

ส่วนธีโอดอร์ โลวาย (Theodore Lowi) ได้เสนอให้จําแนกประเภทของนโยบายตามเนื้อหาสาระเละวัตถุประสงค์ของนโยบายนั้น ๆ

12 นักวิชาการคนใดมีความสนใจที่แตกต่างจากผู้อื่น

1) Dale E. Richards

(2) Berman acne

(3) Stuat S. Nagel

(4) McLaughiln

(5) Greenwood

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 4 ประกอบ

13 ข้อใดถูกต้อง

(1) Harold Lasswell ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งนโยบายศาสตร์

(2) David Easton กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง การจัดสรรและแจกแจงคุณค่า โดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นไปเพื่อประโยชน์ของสังคม

(3) Thomas R. Dye กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมที่รัฐบาลกระทําเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข 1-3301-1 หน้า 1 – 2, 15 – 16), (คําบรรยาย) ฮาโรลด์ ลาสเวลล์ 61 (Harold Lasswell) ซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มที่เน้นการสร้างภาพรวมและได้รับการยกย่องว่าเป็น“บิดาแห่งนโยบายศาสตร์” ได้ให้ความหมายนโยบายสาธารณะร่วมกับอับราแฮม แคปแพลน (Abraham Kaplan) ว่า “นโยบายสาธารณะ หมายถึง แผนหรือโครงการที่กําหนดขึ้น อันประกอบด้วยเป้าหมาย คุณค่า และแนวการปฏิบัติงานต่าง ๆ” ส่วน David Easton กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง การจัดสรรและแจกแจงคุณค่า โดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นไปเพื่อประโยชน์ของสังคม

14 ข้อใดถูกต้อง

(1) กรอสและคณะ เสนอ Catalytic Role Model

(2) Ira Sharkansky กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่รัฐบาลกระทํา เช่นการบริการสาธารณะ

(3) Thomas R. Dye กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่รัฐบาลเลือกที่จะทําหรือไม่ทํา

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 18 – 22, 36 – 41, 45 – 47) นักวิชาการต่างประเทศที่ศึกษาเกี่ยวกับการนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) มีดังนี้ 1 กรอสและคณะ (Gross, Giacquinta & Bernstein) ศึกษานวัตกรรมทางการสอนแบบใหม่ สําหรับครู โดยเน้นที่กระบวนการเรียนรู้มากกว่าเนื้อหาสาระของบทเรียน ซึ่งเรียกตัวแบบการศึกษานี้ว่า “Catalytic Role Model” 2 กรีนวูดและคณะ (Greenwood, Mann & McLaughin) ศึกษาโครงการของรัฐบาลกลางในการให้การสนับสนุนเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา โดยเน้นศึกษาโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินของรัฐบาลในระดับท้องถิ่น

3 เบอร์แมนและแมคลัฟลิน (Berman & McLaughin) ศึกษาโครงการของรัฐบาลกลาง ในการให้การสนับสนุนเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา โดยเน้นศึกษาความต่อเนื่องของนโยบายนวัตกรรมหลังจากที่ความช่วยเหลือทางการเงินจากรัฐบาลกลางสิ้นสุดลง

4 อีมิลี ไซมี โลวีไบรเซนไดน์ (Emily Chi-Mei Love Brizendine) ศึกษาการปฏิรูปโรงเรียนรัฐบาลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

5 เดล อี. ริชาร์ด (Dale E. Richards) ศึกษาการพัฒนาวิทยาลัยครูให้มาเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์

6 เพรสแมนและวิลดฟสกี (Pressman & Wildavsky) ศึกษานโยบายการจ้างงานของชนกลุ่มน้อยที่เมืองโอคแลนด์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ภายใต้ชื่อ “Implementation” ฯลฯ ส่วนโทมัส อาร์ ดาย (Thomas R. Dye) กล่าวว่า “นโยบายสาธารณะ หมายถึง สิ่งใดก็ตามที รัฐบาลเลือกที่จะกระทําหรือไม่กระทํา” และส่วนไอรา ซาร์แคนสกี้ (Ira Sharkansky) กล่าวว่า “นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่รัฐบาลกระทํา เช่น การบริการสาธารณะ การ ควบคุมกิจกรรมของบุคคลหรือธุรกิจของเอกชน เป็นต้น”

15 ข้อใดไม่ถูกต้อง

(1) เดล อี. ริชาร์ด ศึกษาการพัฒนาวิทยาลัยครูให้มาเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์

(2) Gross, Giacquinta & Bernstein ศึกษานวัตกรรมทางการสอนโดยเน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่าสาระ

(3) กรีนวูดและคณะ ศึกษาการพัฒนาวิทยาลัยครูให้มาเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์ (4) Pressman & Wildavsky ศึกษาการจ้างงานของชนกลุ่มน้อย

(5) Thomas R. Dye ชี้ให้เห็นเหตุผลของการศึกษานโยบายไว้ 3 ประการ ได้แก่ เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ เหตุผลทางวิชาชีพ และเหตุผลทางการเมือง

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 14), (คําบรรยาย) โทมัส อาร์. ดาย (Thomas R. Dye) ได้ชี้ให้เห็นถึงเหตุผล ความสําคัญ) ของการศึกษาและการกําหนดนโยบายสาธารณะไว้ 3 ประการ คือ 1 เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Reasons) คือ การทําความเข้าใจเหตุและผลของการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบาย เพื่อให้ได้นโยบายที่มีเหตุผลมากที่สุด 2 เหตุผลทางวิชาชีพ (Professional Reasons) คือ การนําความรู้เชิงนโยบายไปใช้แก้ปัญหา

ทางด้านการปฏิบัติ โดยวิชาชีพที่แตกต่างกันจะทําให้การกําหนดนโยบายและการนํานโยบาย ไปปฏิบัติของแต่ละวิชาชีพมีความแตกต่างกัน 3 เหตุผลทางการเมือง (Political Reasons) คือ การดัดแปลงนโยบายที่ถูกต้องเหมาะสมทางการเมืองมาใช้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการเมือง โดยการใช้เหตุผลทางการเมือง มักจะทําให้การกําหนดนโยบายเป็นไปอย่างไม่มีเหตุผลแต่เป็นที่ยอมรับของประชาชน เช่น นโยบายประชานิยมต่าง ๆ เป็นต้น (ดูคําอธิบายข้อ 14 ประกอบ

16 ข้อใดถูกต้อง

(1) สากล จริยวิทยานนท์ พบว่า การแสวงหาผลประโยชน์เป็นส่วนสําคัญในการกําหนดความสําเร็จหรือล้มเหลวของการนํานโยบายไปปฏิบัติ

(2) เจษฎา อุรพีพัฒนพงศ์ สนับสนุนการรวมสถาบันฝึกหัดครูเข้าเป็นสถาบันเดียวกัน

(3) อาคม ใจแก้ว ศึกษาเรื่องพฤติกรรมการเรียนภาษาไทยของชาวไทยมุสลิม

(4) ธงชัย สมครุฑ เปรียบเทียบตัวแบบการตัดสินใจของวิทยาลัยครูในประเทศไทย 6 แห่ง

(5) ปิยวดี ภูศรี ศึกษาบทบาทของสถาบันอุดมศึกษาส่วนภูมิภาคในการพัฒนาชนบท

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 43) อาคม ใจแก้ว ได้ศึกษาเรื่อง “การนํานโยบายไปปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ : ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความสําเร็จ” โดยมุ่งศึกษาถึง ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความสําเร็จของการนํานโยบายไปปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เฉพาะนโยบายส่งเสริมการศึกษาของชาวไทยมุสลิม ซึ่งพบว่า ความสําเร็จของการนํานโยบาย ไปปฏิบัติแยกออกเป็น 3 มิติ คือ

1 ความสําเร็จเชิงทัศนคติของเยาวชนไทยมุสลิมภายหลัง ที่ได้เข้าร่วมโครงการ

2 ความสําเร็จเชิงพฤติกรรมการเรียนภาษาไทยของชาวไทยมุสลิม

3 ความสําเร็จเชิงพฤติกรรมการเรียนอิสลามศึกษา

17 Policy Science หมายถึงอะไร

(1) ความรู้ในเรื่องของนโยบาย

(2) ความรู้ในการกําหนดนโยบาย

(3) ความรู้ในการนํานโยบายไปปฏิบัติ

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 16 – 17) นโยบายศาสตร์ (Policy Science) หมายถึง การให้ความรู้ในเรื่องของนโยบาย (Policy-Issue Knowledge) และความรู้ในการกําหนด นโยบายของรัฐ (Policy-Making Knowledge)

18 ข้อใดไม่ใช่ความสําคัญในการศึกษานโยบาย

(1) นําความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาทางปฏิบัติ

(2) การเข้าใจเหตุผลของการตัดสินใจ

(3) การดัดแปลงนโยบายที่ถูกต้องเหมาะสมให้บรรลุเป้าหมาย

(4) สร้างความเข้าใจให้กับประชาชนทั่วไป

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 15 ประกอบ

19 ข้อใดไม่ถูกต้อง

(1) เจษฎา อุรพีพัฒนพงศ์ พบว่า การแสวงหาผลประโยชน์เป็นส่วนสําคัญในการกําหนดความสําเร็จหรือล้มเหลวของการนํานโยบายไปปฏิบัติการ

(2) ธงชัย สมครุฑ พบว่า มีการสนับสนุนในการรวมสถาบันฝึกหัดครูเข้าเป็นสถาบันอันหนึ่งอันเดียวกัน

(3) เจษฎา อุรพีพัฒนพงศ์ ศึกษาเรื่องพฤติกรรมการเรียนภาษาไทยของชาวไทยมุสลิม

(4) ปิยวดี ภูศรี เปรียบเทียบตัวแบบการตัดสินใจของวิทยาลัยครูในประเทศไทย 6 แห่ง

(5) สากล จริยวิทยานนท์ ศึกษาบทบาทของสถาบันอุดมศึกษาส่วนภูมิภาคในการพัฒนาชนบท

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข 0-3301 – 1 หน้า 42) เจษฎา อุรพีพัฒนพงศ์ ได้ศึกษาเรื่อง “การปฏิบัตินโยบายสําหรับจังหวัดชายแดนภาคใต้ : ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดนราธิวาส” โดยมุ่งวิเคราะห์ เฉพาะด้านการปฏิบัตินโยบายเพียงด้านเดียวเท่านั้น ซึ่งพบว่า การแสวงหาผลประโยชน์ มีส่วนสําคัญต่อผลการนํานโยบายไปปฏิบัติ เพราะเป็นปัจจัยที่ใช้กําหนดความสําเร็จหรือ แขนกลความล้มเหลวของการนํานโยบายไปปฏิบัติ (ดูคําอธิบายข้อ 16 ประกอบ)

20 องค์ประกอบของนโยบายตามแนวคิดของเควด (Quade) มีอะไรบ้าง

(1) วัตถุประสงค์ ทางเลือก ผลกระทบ มาตรฐาน และค่านิยม

(2) วัตถุประสงค์ ทางเลือก กระบวนการ มาตรฐาน และค่านิยม

(3) วัตถุประสงค์ ทางเลือก ผลกระทบ มาตรฐาน และตัวแบบ

(4) วัตถุประสงค์ กระบวนการ ผลกระทบ มาตรฐาน และค่านิยม

(5) วัตถุประสงค์ กระบวนการ ผลกระทบ มาตรฐาน และตัวแบบ

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 25) องค์ประกอบของการวิเคราะห์นโยบายตามแนวคิด ของเควด (E.S. Quade) มีดังนี้

1วัตถุประสงค์ (The Objective) 2 ทางเลือก (The Alternative) 3 ผลกระทบ (The Impact) 4 มาตรฐานหรือบรรทัดฐาน (The Criteria) 5 ตัวแบบ (The Models)

ตั้งแต่ข้อ 21 – 25 ให้พิจารณาคําตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้

(1) Economic Policy

(2) Education Policy

(3) Social Policy

(4) Administrative Policy

(5) Politic & Defence Policy

 

21 การตัดถนนแยกเลนไปให้ทั่วถึงทุกจังหวัด เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด

ตอบ ไม่มีข้อใดถูก (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 3), (คําบรรยาย) นโยบายการกระจายบริการของรัฐ (Distributive Policy) เป็นนโยบายที่รัฐบาลต้องจัดบริการพื้นฐานให้ประชาชนทุกคนได้ใช้ หรือเพื่อให้ประชาชนทั่วไปโดยส่วนรวมมีโอกาสได้รับบริการสาธารณะที่เป็นของรัฐบาล อย่างทั่วถึงและพอเพียง เช่น นโยบายการมีถนนแยกเลนไปสู่ทุกจังหวัด, นโยบายการลดราคาน้ำมันเบนซิน, โครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน, การขยายช่องทางจราจรหรือการสร้างถนน, การจัดให้ มีบัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรค, การจัดให้มีไฟฟ้าและน้ำประปาใช้ทุกหมู่บ้าน เป็นต้น

22 โครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 4), (คําบรรยาย) นโยบายทางด้านสังคม (Social Policy)เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความมั่นคงให้แก่สังคม เช่น โครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ การประชาสงเคราะห์ (เช่น การช่วยเหลือชาวเขา คนชรา หรือผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก) การประกันสังคม การรักษาโรคภัยไข้เจ็บโดยกําหนดให้มีโรงพยาบาล สถานีอนามัย และสุขศาลาในทุกอําเภอ การพัฒนาขีดความสามารถของอาสาสมัครสาธารณสุขให้เป็นนักจัดการสุขภาพชุมชน เป็นต้น

23 โครงการ “เมาไม่ขับ” เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด ๆ

ตอบ ไม่มีข้อใดถูก (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 3), (คําบรรยาย) นโยบายที่เป็นกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับ (Regulative Policy) เป็นนโยบายที่หน่วยงานของรัฐหรือรัฐบาลกําหนดขึ้นเพื่อให้ทุกคน ต้องปฏิบัติตาม ถ้าใครไม่ปฏิบัติตามถือว่าผิดกฎหมายต้องถูกลงโทษ หรือเป็นกติกาในการอยู่ร่วมกัน ของสมาชิกในสังคมอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม เช่น กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายจราจร(เช่น โครงการเมาไม่ขับ, การขับรถยนต์ต้องมีใบขับขี่) นโยบายจัดระเบียบสังคม เป็นต้น

24 นโยบายการปฏิรูประบบราชการ เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายใด

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข 1-3301-1 หน้า 4), (คําบรรยาย) นโยบายทางการบริหาร (Administrative อิง Policy) เป็นนโยบายรองที่กําหนดขึ้นตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงานหรือองค์การนั้น ๆ เช่น นโยบายธรรมาภิบาล นโยบายการปฏิรูประบบราชการ นโยบายเร่งรัดและผลักดัน การปฏิรูปการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง นโยบายการบริหารงานบุคคลนโยบายการบริหารงานคลัง โครงการประเทศไทยใสสะอาด เป็นต้น

25 การช่วยชาวเขาให้มีอาชีพ เกี่ยวข้องกับนโยบายใด

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 22

26 ข้อใดไม่ใช่กระบวนการที่ Stuart S. Nagel เสนอไว้ในแนวคิดในการประเมินนโยบายของเขา

(1) การกําหนดเป้าหมายเพื่อบรรลุผล

(2) การกําหนดแผนงาน

(3) การกําหนดคน สถานที่ อุปกรณ์

(4) การวิเคราะห์ผลตอบแทนสูงสุด

(5) การกําหนดความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายกับนโยบาย

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข ri-3301-1 หน้า 82) สจ๊วตท์ เอส. นาเกล (Stuart S. Nagel) ได้เสนอแนวคิดในการวิเคราะห์ข้อมูลแบบง่ายสําหรับการวิเคราะห์หรือการประเมินนโยบาย ซึ่งมีหลักการหรือกระบวนการที่สําคัญ 5 ขั้นตอน ดังนี้

1 กําหนดเป้าหมายเพื่อการบรรลุผล การ หรือการให้ผลประโยชน์ตอบแทนสูงสุด

2 กําหนดเป้าหมายสัมพันธ์

3 กําหนดคน สถานที่ หรือวัสดุอุปกรณ์ให้สอดคล้องกับนโยบายนั้น ๆ

4 กําหนดความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายกับนโยบาย

5 ปรับความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายกับนโยบาย

27 ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของนโยบาย

(1) วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

(2) แนวทางในการบรรลุผล

(3) ขั้นตอนหรือแผนงาน

(4) ทุนที่ใช้ในการดําเนินการ

(5) เป็นองค์ประกอบของนโยบายทุกข้อ

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 6 – 7) องค์ประกอบของนโยบายสาธารณะ มีดังนี้

1 วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่ชัดเจน

2 ลําดับขั้นตอนหรือแผนงานในการปฏิบัติ

3 แนวทางหรือหลักการในการบรรลุผลสําเร็จ

4 การกําหนดการกระทําต่าง ๆ และมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ฯลฯ

28 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของนโยบาย

(1) ต้องมีแผนงานรองรับ

(2) ต้องคํานึงถึงเงื่อนไขด้านเวลาและสถานที่

(3) ต้องกําหนดคน สถานที่ อุปกรณ์

(4) ต้องเป็นข้อความที่เข้าใจง่าย

(5) ต้องเป็นเครื่องมือหรือกําหนดบรรทัดฐานในการทํางาน

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข n-2301-1 หน้า 2) ลักษณะของนโยบายสาธารณะ มีดังนี้

1 ต้องมีวัตถุประสงค์ชัดเจน เพื่อประโยชน์แก่สังคมและส่วนรวม

2 ต้องมีแผนงานรองรับ เพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้

3 ต้องคํานึงถึงเงื่อนไขด้านเวลาและสถานที่

4 ต้องเป็นข้อความที่เข้าใจง่าย เป็นลายลักษณ์อักษรและประกาศใช้อย่างเป็นทางการ

5 ต้องเป็นเครื่องมือในการกําหนดแนวทางและบรรทัดฐานในการทํางาน

29 ข้อใดถูกต้อง

(1) Scientific Reasons : การนําไปใช้ในการแก้ปัญหาทางปฏิบัติ

(2) Professional Reasons : การเข้าใจเหตุผลของการตัดสินใจ

(3) Political Reasons : การดัดแปลงนโยบายที่ถูกต้องเหมาะสมให้บรรลุเป้าหมาย

(4) Policy Effects : ปัจจัยนําเข้าของนโยบาย เช่น ทรัพยากร

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 15 ประกอบ

30 การนําศาสตร์ในหลาย ๆ สาขามาใช้ในการวิเคราะห์นโยบาย เป็นแนวโน้มในเรื่องใด

(1) แนวโน้มเกี่ยวกับเป้าหมายและคุณค่า

(2) แนวโน้มเกี่ยวกับวิธีการ

(3) แนวโน้มเกี่ยวกับแนวทางการดําเนินนโยบาย

(4) แนวโน้มเกี่ยวกับรูปแบบ

(5) แนวโน้มเกี่ยวกับการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายและผลตอบแทน

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 10

31 ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกัน

(1) Elite Theory : การศึกษาในแง่ตัวแบบหรือทฤษฎี

(2) Group Theory : การหาสาเหตุและผลของนโยบาย

(3) Policy Process : ศึกษากระบวนการต่าง ๆ ในการกําหนดนโยบาย

(4) Policy Area Study : ศึกษาข้อปลีกย่อยในแต่ละแง่มุมของนโยบาย

(5) Descriptive Study : เป็นการพรรณนาสิ่งที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 4 – 5) แนวทางการศึกษานโยบายสาธารณะ แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ

1 การศึกษาในแง่ตัวแบบหรือทฤษฎี (Theory or Model of Study) เป็นการศึกษาตามแนวทางที่มุ่งคิดค้นและสร้างเป็นตัวแบบหรือทฤษฎีของวิธีการศึกษานโยบายของรัฐ แล้วนําเอาตัวแบบหรือทฤษฎีนั้น ๆ ไปใช้ในการศึกษาต่อไป เช่น ทฤษฎีผู้นํา (Elite Theory), ทฤษฎีกลุ่ม (Group Theory), ทฤษฎีระบบ (System Theory) เป็นต้น

2 การศึกษาในแง่ขอบเขตของนโยบาย (Policy Area Study) เป็นการศึกษาข้อปลีกย่อยของนโยบายแต่ละอย่างแต่ละแง่มุม โดยหาสาเหตุและเหตุผลของแต่ละประเด็นนําเอามาศึกษา และเปรียบเทียบกันดูโดยละเอียด

3 การศึกษาในแง่กระบวนการของนโยบาย (Policy Process Study) เป็นการศึกษากระบวนการต่าง ๆ ของนโยบายไม่ว่าจะเป็นกระบวนการกําหนดนโยบาย กระบวนการพัฒนา กระบวนการ จัดตั้งองค์การ หรืออื่นใดก็ตาม

32 การเน้นให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็นเพื่อให้นโยบายที่เกิดขึ้นสนองตอบต่อสังคมโดยส่วนรวมอย่างแท้จริง เป็นแนวโน้มเกี่ยวกับเรื่องใด

(1) มาตรฐาน

(2) เป้าหมายและคุณค่า

(3) การดําเนินนโยบาย

(4) วิธีการ

(5) การสร้างตัวแบบหรือทฤษฎี

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 10 ประกอบ

33 การแปลงนโยบายเป็นแผนงานเกี่ยวข้องกับเรื่องใด

(1) Policy Outputs

(2) Policy Formulation

(3) Policy Implementation

(4) Policy Process

(5) Policy Impacts

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 12 – 13), (คําบรรยาย) ขั้นตอนการนํานโยบายไปปฏิบัติ(Policy Implementation) เป็นขั้นตอนที่แสดงให้เห็นถึงการนําทรัพยากรต่าง ๆ ไปจัดสรร เพื่อก่อให้เกิดผลตามนโยบาย ซึ่งประกอบด้วย

1 การส่งต่อนโยบาย (Policy Delivery)

2 การตีความหรือแปลงนโยบายออกมาเป็นแผนงานและโครงการ

3 การชี้แจงเกี่ยวกับนโยบาย

4 การดําเนินงานของหน่วยงานระดับปฏิบัติ (Street Level Bureaucracy) 5 การจัดระบบสนับสนุน ได้แก่ ข้อมูลข่าวสาร การมอบหมายอํานาจหน้าที่ และการติดต่อสื่อสาร

6 การติดตามและควบคุมผลการปฏิบัติงาน

34 ข้อใดไม่ใช่การวิจัยประเมินผล

(1) การวิเคราะห์เชิงสหวิทยาการ

(2) การประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง

(3) การประเมินผลด้วยวิธีกึ่งทดลอง

(4) การประเมินผลด้วยวิธีเตรียมทดลอง

(5) เป็นการวิจัยประเมินผลทุกข้อ

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 76) การวิจัยประเมินผลมีวิธีการที่สําคัญ 3 รูปแบบ คือ

1 การประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง (Experimental Design)

2 การประเมินผลด้วยวิธีกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Design)

3 การประเมินผลด้วยวิธีเตรียมทดลอง (Pre-Experimental Design)

35 รูปแบบใดเป็นการแสวงหาข้อมูลเชิงประจักษ์ที่เชื่อถือได้และแม่นตรงมากที่สุด

(1) การวิเคราะห์เชิงสหวิทยาการ

(2) การประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง

(3) การประเมินผลด้วยวิธีกึ่งทดลอง

(4) การประเมินผลด้วยวิธีเตรียมทดลอง

(5) การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลประโยชน์

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 76 – 78) ประโยชน์ของการวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบทดลอง หรือการประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง (Experimental Design) มีดังนี้

1 เป็นเครื่องมือในการแสวงหาข้อมูลเชิงประจักษ์ที่เชื่อถือได้และแม่นตรงมากที่สุด เ2 ช่วยทําให้เกิดการประหยัดทรัพยากรทางการบริหารในระยะยาว

36 การกระจายสุ่ม (Randomization) ของกลุ่มตัวอย่างในการจัดพื้นที่ทดลองและพื้นที่ควบคุมเป็นสิ่งสําคัญ อยู่ในรูปแบบใด

(1) การวิเคราะห์เชิงสหวิทยาการ

(2) การประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง

(3) การประเมินผลด้วยวิธีกึ่งทดลอง

(4) การประเมินผลด้วยวิธีเตรียมทดลอง

(5) การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลประโยชน์

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 77), (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบทดลองหรือการประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง เป็นวิธีการที่มีความเคร่งครัดในการดําเนินงานมากที่สุด โดยมีลักษณะสําคัญดังนี้

1 มีการจัดกลุ่มขึ้นเพื่อทําการทดลอง โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง (Experimental Group) และกลุ่มควบคุม (Control Group)

2 มีการกําหนดเป้าหมายและหลักเกณฑ์ในการชี้วัดความสําเร็จ โดยการวัดนั้นจะวัดก่อนที่โครงการจะถูกนํามาใช้และวัดอีกครั้งหลังจากที่โครงการสิ้นสุดแล้ว

3 มีการเลือกกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง (Random Sampling) จากประชากรที่อยู่ในเป้าหมายของโครงการ และใช้วิธีการกระจายสุ่ม (Randomization)ของกลุ่มตัวอย่างในการจัดพื้นที่ทดลองและพื้นที่ควบคุม

37 ข้อใดไม่ใช่การประเมินด้วยวิธีวิจัย

(1) การวิเคราะห์เชิงสหวิทยาการ

(2) การประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง

(3) การประเมินผลด้วยวิธีกึ่งทดลอง

(4) การประเมินผลด้วยวิธีเตรียมทดลอง

(5) เป็นการประเมินด้วยวิธีวิจัยทุกข้อ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 34 ประกอบ

38 ความสมเหตุสมผลทางด้านปทัสถานเกี่ยวข้องกับการวางแผนในเรื่องใด

(1) การวางแผนที่เน้นเนื้อหา

(2) การวางแผนที่เน้นการตัดสินใจ

(3) การวางแผนที่เน้นการควบคุม

(4) การวางแผนที่เน้นการมีส่วนร่วม

(5) การวางแผนที่เน้นผลลัพธ์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 3 ประกอบ

39 Pressman & Wildavsky เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) Policy Output

(2) Policy Impact SPARES

(3) Policy Formulation

(4) Policy Process

(5) Policy Implementation

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 4 ประกอบ

40 Thomas J. Cook & Frank P. Scioli เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) Policy Output

(2) Policy Impact

(3) Policy Formulation

(4) Policy Process

(5) Policy Implementation

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 11 ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 41. – 45. ให้พิจารณาคําตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้

(1) การก่อตัวของนโยบาย

(2) การนํานโยบายไปปฏิบัติ

(3) การเตรียมและเสนอนโยบาย

(4) การอนุมัติและประกาศนโยบาย

(5) การประเมินผลนโยบาย

 

41 การที่หน่วยงานนํานโยบายมาแปลงเป็นแผนงานและโครงการเป็นขั้นตอนใด

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 33 ประกอบ

42 การพิจารณาปัญหาหรือความต้องการของประชาชนอยู่ในขั้นตอนใด

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

43 การจัดลําดับความสําคัญของปัญหาอยู่ในขั้นตอนใด

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

44 การจัดระบบสนับสนุน ได้แก่ ข้อมูลข่าวสาร การมอบหมายอํานาจหน้าที่ อยู่ในขั้นตอนใด

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 33 ประกอบ

45 การกําหนดเกณฑ์ในการวัด อยู่ในขั้นตอนใด

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 13) ขั้นตอนการประเมินผลนโยบาย (Poly Evaluation) ประกอบด้วย

1 การกําหนดวัตถุประสงค์ของการประเมิน

2 การกําหนดเกณฑ์วัดและวิธีการตรวจสอบสิ่งที่ต้องการประเมิน

3 การกําหนดวิธีการรวบรวมข้อมูลและวิธีการรายงาน

4 การนําผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง

ตั้งแต่ข้อ 46 – 50 ให้พิจารณาคําตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้

(1) การประเมินผลแบบเป็นทางการ

(2) การประเมินพัฒนาการ

(3) เดลฟีเชิงนโยบาย

(4) การวิเคราะห์อรรถประโยชน์แบบพหุลักษณ์

(5) การประเมินกระบวนการย้อนหลัง

46 การประเมินผลแบบทดลอง เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข 0-3301 – 1 หน้า 123 – 125) การประเมินผลแบบเป็นทางการ มี 4 รูปแบบ คือ

1 การประเมินพัฒนาการ

2 การประเมินกระบวนการย้อนหลัง

3 การประเมินผลแบบทดลอง

4 การประเมินผลลัพธ์ย้อนหลัง

47 ทัศนะของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในนโยบาย เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 127), (คําบรรยาย) การวิเคราะห์อรรถประโยชน์แบบพหุลักษณ์ เป็นวิธีการที่ออกแบบมาเพื่อพิจารณาความรู้สึกและทัศนะที่เป็นอัตวิสัยของประชาชนผู้เกี่ยวข้องกับนโยบายหรือมีส่วนได้ส่วนเสียในนโยบาย ซึ่งจุดเด่นของวิธีการนี้ อยู่ที่การพยายามดึงคุณค่าและความเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่แอบแฝงอยู่อันไม่สามารถ เห็นได้ชัดเจนออกมาให้เห็นชัดเจน เช่น การทําประชามติ เป็นต้น

48 การทํางานประจําวันของผู้นํานโยบายไปปฏิบัติ เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 124) การประเมินพัฒนาการ เป็นการประเมินผลรูปแบบหนึ่งที่ออกแบบมาเพื่อประเมินการทํางานประจําวันของผู้นํานโยบายไปป์บัติโดยเฉพาะ เป็นประโยชน์ในการเตือนให้ผู้นํานโยบายไปปฏิบัติทราบถึงข้อบกพร่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น

49 การพิจารณาปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นเมื่อนํานโยบายไปปฏิบัติ เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 124) การประเมินกระบวนการย้อนหลังเป็นการ พิจารณาปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นเมื่อนํานโยบายไปปฏิบัติ

50 การเน้นเอาข้อคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์สูงมาหาข้อสรุปเกี่ยวกับนโยบาย เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 129), (คําบรรยาย) วิธีเดลฟาย (Delphi) หรือวิธีเดลฟีเชิงนโยบาย (Policy Delphi) เป็นวิธีการที่เน้นการนําเอาข้อคิดและความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ มาเปรียบเทียบกันเพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับผลของนโยบาย นั่นคือ ต้องอาศัยมติของผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเกิดจากการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาร่วมกันโดยทําซ้ําหลาย ๆ ขั้นตอน เพื่อให้ได้มา ซึ่งข้อสรุปอันน่าเชื่อถือ มีความเป็นไปได้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และนํามาใช้ประกอบการตัดสินใจ ในด้านต่าง ๆ ได้

51 การเปลี่ยนแปลงของบริบทการพัฒนาในกระแสโลกาภิวัตน์ที่ประเทศไทยยังต้องเผชิญอยู่ คือ

(1) การรวมตัวของกลุ่มเศรษฐกิจต่าง ๆ

(2) การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด

(3) การเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

(4) การเคลื่อนย้ายคนอย่างเสรี

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การเปลี่ยนแปลงของบริบทการพัฒนาในกระแสโลกาภิวัตน์ที่ประเทศไทยยังต้องเผชิญอยู่นั้น มี 5 บริบท ดังนี้

1 การรวมตัวของกลุ่มเศรษฐกิจต่าง ๆ และการเปลี่ยนแปลงในตลาดการเงินของโลก 2 การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด

3 การเปลี่ยนแปลงด้านสังคมที่ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น

4 การเคลื่อนย้ายของคนอย่างเสรี

5 การเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

52 สถานะด้านสังคมของประเทศไทยก่อนเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 คือ

(1) จํานวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเพิ่มขึ้นเป็น 8.5 ปี

(2) แรงงานไทยที่จบการศึกษาสูงกว่าระดับประถมศึกษาเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 39.8 (3) ประสิทธิภาพการผลิตของแรงงานไทยยังต่ำเมื่อเทียบกับมาเลเซีย เกาหลี

(4) มีการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาเพียงร้อยละ 0.26

(5) ถูกทุกข้อ 2

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข 0-3301-2 หน้า 135 136), (คําบรรยาย) สถานะด้านสังคมของประเทศไทยก่อนเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 มีดังนี้

1  ประเทศไทยมีการพัฒนาคนระดับกลาง และมีแนวโน้มการพัฒนาคนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

2 จํานวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็น 8.5 ปี ในปี พ.ศ. 2548

3 แรงงานไทยที่จบการศึกษาสูงกว่าระดับประถมศึกษาเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 39.8 ในปี พ.ศ. 2548

4 ประสิทธิภาพการผลิตของแรงงานไทยยังต่ำกว่าประเทศในภูมิภาคเดียวกัน ได้แก่ มาเลเซีย เกาหลี สิงคโปร์ ไต้หวัน และญี่ปุ่น

5 มีการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาเพียงร้อยละ 0.26 ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ

6 คนไทยได้รับหลักประกันสุขภาพอย่างทั่วถึงร้อยละ 96.3 ในปี พ.ศ. 2548

7 สังคมไทยปรับตัวจากชนบทสู่เมืองอย่างต่อเนื่อง ฯลฯ

53 สถานะด้านเศรษฐกิจของประเทศไทยก่อนเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 คือ

(1) เศรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยร้อยละ 5.7 ต่อปี

(2) ขนาดทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นลําดับที่ 20 ในโลก

(3) โครงสร้างพื้นฐานด้านขนส่งและโลจิสติกส์มีประสิทธิภาพ

(5) ข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 128 129, 136), (คําบรรยาย) สถานะด้านเศรษฐกิจของประเทศไทยก่อนเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ซึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาด้านเศรษฐกิจในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีดังนี้

1 เศรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 5.7 ต่อปี ในช่วงปี พ.ศ. 2545 – 2548 และจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลาง

2 ขนาดทางเศรษฐกิจของประเทศใหญ่เป็นลําดับที่ 20 จากจํานวน 192 ประเทศในโลก

3 มีการพึ่งพิงการนําเข้าวัตถุดิบ ชิ้นส่วน พลังงาน เงินทุน และเทคโนโลยีในสัดส่วนที่สูง

4 อัตราการว่างงานลดลง โดยมีอัตราเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2

5 โครงสร้างพื้นฐานด้านขนส่งและโลจิสติกส์ยังขาดประสิทธิภาพ ฯลฯ

54 สถานะด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก่อนเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 คือ

(1) เหลือพื้นที่ป่าร้อยละ 33 ของพื้นที่ประเทศ

(2) ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งลดความอุดมสมบรณ์ลง

(3) คุณภาพของสิ่งแวดล้อมมีความเสื่อมโทรมลง

(4) การนําเข้าสารอันตรายที่ใช้ในการผลิตมีมากขึ้น

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) สถานะด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยก่อนเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 มีดังนี้

1 เหลือพื้นที่ป่าเพียงร้อยละ 33 ของพื้นที่ประเทศ

2 ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งลดความอุดมสมบูรณ์ลง

3 คุณภาพของสิ่งแวดล้อมมีความเสื่อมโทรมลง เนื่องจากสาเหตุสําคัญประการหนึ่ง คือ การนําเข้าสารอันตรายที่ใช้ในการผลิตมีมากขึ้น ฯลฯ

55 วิสัยทัศน์ประเทศไทยที่กําหนดไว้ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 คือ

(1) คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา

(2) การพัฒนาอย่างยั่งยืน

(3) สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน

(4) เศรษฐกิจพอเพียง

(5) การปฏิรูประบบราชการ

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 138, 147) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ได้กําหนดวิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศไทยในระยะยาว โดยมุ่งพัฒนาไปสู่ “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน (Green and Happiness Society) คนไทยมีคุณธรรมนําความรอบรู้ รู้เท่าทันโลก ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมสันติสุข เศรษฐกิจมีคุณภาพ เสถียรภาพ และเป็นธรรม สิ่งแวดล้อม ออกมามีคุณภาพและทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน อยู่ภายใต้ระบบบริหารจัดการประเทศที่มีธรรมาภิบาลดํารงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และอยู่ในประชาคมโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี

56 สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในประเทศที่สําคัญที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศไทยใน 2 ทศวรรษที่ผ่านมาคือ

(1) การเสริมสร้างเอกลักษณ์ความเป็นไทย และภูมิปัญญาท้องถิ่น

(2) การประกาศใช้รัฐธรรมนญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540

(3) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสังคมไทย

(4) การแพร่ระบาดของยาเสพติด

(5) กระแสวัตถุนิยมและบริโภคนิยม

ตอบ 2 (คําบรรยาย) เงื่อนไขและสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางสังคมในประเทศที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศไทยในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีดังนี้

1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 (สําคัญที่สุด) ทําให้เกิดการปฏิรูปภาคการเมืองและภาคสังคมที่สําคัญหลายประการ เช่น การกระจายอํานาจจากส่วนกลางไปสู่ท้องถิ่นอย่างทั่วถึง ประชาสังคมมีความตื่นตัวเรื่องประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมในการพัฒนา

2 สังคมไทยมีเอกลักษณ์ความเป็นไทย มีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่สั่งสมเป็นปึกแผ่นมายาวนาน

3 โครงสร้างสังคมไทยเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและสังคมเมืองมากขึ้น รวมถึงรูปแบบครัวเรือนส่วนใหญ่เป็นครอบครัวเดี่ยว และมีการอยู่เป็นโสดเพิ่มขึ้น

4 มีปัญหาเชิงโครงสร้างของสังคมไทยที่สําคัญ เช่น การตกอยู่ในกระแสวัตถุนิยมและบริโภคนิยม การกลาโหม การแพร่ระบาดของยาเสพติด

57 “วิสัยทัศน์ร่วมของการพัฒนาประเทศไทยในอนาคต 20 ปี” ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีจุดมุ่งหมายหลักคือ

(1) การแก้ปัญหาความยากจนและยกระดับชีวิตของคนส่วนใหญ่ของประเทศ

(2) การพัฒนาอย่างยั่งยืน

(3) การพัฒนาแบบองค์รวม

(4) การยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ได้กําหนด “วิสัยทัศน์ร่วมของการพัฒนาประเทศไทยในอนาคต 20 ปี” โดยมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อการแก้ปัญหาความยากจนและยกระดับคุณภาพชีวิต ของคนส่วนใหญ่ของประเทศให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทย ด้วยการให้ความสําคัญกับการพัฒนาแบบองค์รวมที่ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาและการพัฒนา อย่างมีดุลยภาพ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้คนในสังคมมีความสุขถ้วนหน้า สามารถพึ่งตนเองและก้าวตามโลกได้อย่างรู้เท่าทัน โดยยังคงรักษาเอกลักษณ์ของ ความเป็นไทย

58 ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่ดีตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายที่สําคัญคือ

(1) ภาครัฐมีขนาดและโครงสร้างที่เหมาะสม

(2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัดบริการสาธารณะและพัฒนารายได้ของตนเองเพิ่มขึ้น

(3) การมุ่งปราบปรามยาเสพติดทั่วประเทศ

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่ดีตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายที่สําคัญ ดังนี้

1 ภาครัฐมีขนาดและโครงสร้างที่เหมาะสม มีระบบและกลไก การทํางานรวมทั้งระบบงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ

2 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีขีดความสามารถในการจัดบริการสาธารณะและการพัฒนารายได้ของตนเองเพิ่มขึ้น

3 ธุรกิจของไทยสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

4 ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องจากภาครัฐอย่างครบถ้วนในเวลาที่รวดเร็ว ฯลฯ

59 ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคน ให้ความสําคัญกับเรื่องใด

(1) ให้คนมีคุณภาพ สุขภาพแข็งแรง คิดเป็น ทําเป็น

(2) ให้คนมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต

(3) เพิ่มระดับการศึกษาภาคบังคับ

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ได้ให้ความสําคัญกับการสร้างคนให้มีคุณภาพ สุขภาพแข็งแรง เป็นคนเก่ง คนดี คิดเป็น ทําเป็น มีระเบียบวินัย มีความซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีความสามัคคีและรักชาติ ตลอดจนมีจิตสํานึกความเป็นไทย

60 จุดเปลี่ยนสําคัญของการวางแผนพัฒนาประเทศไทยที่ให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมคือ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับใด (1) ฉบับที่ 7

(2) ฉบับที่ 8

(3) ฉบับที่ 98

(4) ฉบับที่ 10

(5) ฉบับที่ 11

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข 0-3301-2 หน้า 105, 107, 116 117) ลักษณะสําคัญของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ที่แตกต่างจากแผนพัฒนาฯ ฉบับอื่น มีดังนี้

1 เป็นจุดเปลี่ยนสําคัญของการวางแผนพัฒนาประเทศไทยที่ให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม นั่นคือ เป็นแผนแรกที่มาจากการร่วมคิดของหลายฝ่ายจาก ทุกภาคส่วนของสังคม โดยเปิดโอกาสให้คนไทยทุกกลุ่มอาชีพในทุกภูมิภาคเข้ามามีบทบาทร่วม ในการแสดงความคิดเห็น และกําหนดทิศทางในการพัฒนาประเทศตั้งแต่เริ่มการจัดทําแผน

2 เป็นแผนแรกที่เน้นให้ “คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา” โดยถือว่าการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นเพียงเครื่องมือช่วยพัฒนาให้คนมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

61 ลักษณะของประเทศกําลังพัฒนา คือเ

(1) ประชาชนมีรายได้เฉลี่ยต่อบุคคลในเกณฑ์ปานกลาง

(2) ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพอตสาหกรรม

(3) อัตราการเพิ่มประชากรอยู่ในเกณฑ์ต่ำ

(4) ความเจริญด้านเทคโนโลยีอยู่ในระดับสูง

(5) ประชาชนส่วนใหญ่ยึดถือวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิม

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 3) ลักษณะของประเทศกําลังพัฒนา มีดังนี้

1 ประชาชนมีรายได้เฉลี่ยต่อบุคคลในเกณฑ์ต่ำ

2 ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม

3 อัตราการเพิ่มประชากรอยู่ในเกณฑ์สูง

4 ความเจริญด้านเทคโนโลยีอยู่ในระดับต่ำ

5 อัตราความเป็นเมืองอยู่ในเกณฑ์ต่ำ

6 ประชาชนส่วนใหญ่ยึดถือวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิม

62 การปฏิรูปการศึกษามีแนวทางอย่างไร

(1) ผลิตนักวิจัยในสาขาที่มีความจําเป็นต่อการพัฒนาประเทศ

(2) พัฒนาครูและปรับปรุงกระบวนการผลิตครู

(3) ปรับปรุงหลักสูตรให้มีความหลากหลาย

(4) เสริมสร้างความพร้อมของสถาบันการศึกษา

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีแนวทางการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ดังนี้

1 พัฒนาครูและปรับปรุงกระบวนการผลิตครูที่มีคุณภาพและคุณธรรม

2 ปรับปรุงหลักสูตรให้มีความหลากหลายและยืดหยุ่น

3 ผลิตนักวิจัยในสาขาที่มีศักยภาพสูงและมีความจําเป็นต่อการพัฒนาประเทศ

4 เสริมสร้างความพร้อมของสถาบันการศึกษา ฯลฯ

63 ต่อไปนี้ข้อใดเป็นแนวทางการแก้ปัญหาความยากจนในชนบท

(1) นําหลักการและแนวคิดกระบวนการสหกรณ์มาใช้

(2) การปฏิรูปกฎหมายและปรับปรุงระเบียบให้คนจนได้รับโอกาสมากขึ้น

(3) ปรับระบบการบริหารจัดการภาครัฐให้เอื้อต่อการสร้างโอกาสแก่คนยากจน

(4) ให้คนยากจนมีโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐได้อย่างทั่วถึง

(5) ถูกทุกข้อ 16

ตอบ 5 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีแนวทางการแก้ปัญหาความยากจนในชนบท ดังนี้

1 นําหลักการและแนวคิดกระบวนการสหกรณ์มาใช้ โดยส่งเสริมการรวมกลุ่มของคนยากจน เป็นองค์กรชุมชน สหกรณ์ และเครือข่ายองค์กรชุมชนที่เข้มแข็ง

2 เสริมสร้างโอกาสให้คนยากจนสามารถเข้าถึงบริการของรัฐได้อย่างทั่วถึง

3 ปรับระบบการบริหารจัดการภาครัฐให้เอื้อต่อการสร้างโอกาสแก่คนยากจน

4 ปฏิรูปกฎหมายและปรับปรุงกฎระเบียบให้คนจนได้รับโอกาส สิทธิ ความเสมอภาค และความเป็นธรรมในด้านต่าง ๆ

64 การเตรียมความพร้อมและยกระดับฝีมือของคนไทยให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน มุ่งเน้นการผลิตกําลังคน ในระดับใด

(1) ระดับสูง

(2) ระดับกลาง

(3) ระดับต่ำ

(4) ระดับกลางและระดับต่ำ

(5) ทุกระดับ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีแนวทางการเตรียมความพร้อมและยกระดับทักษะฝีมือของคนไทยให้มีคุณภาพได้มาตรฐานและสอดคล้องกับโครงสร้างการผลิตและเทคโนโลยีที่ เปลี่ยนแปลงไปประการหนึ่ง คือ มุ่งเน้นการผลิตและพัฒนากําลังคนระดับกลาง โดยผสมผสาน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทักษะชีวิต กับความรู้พื้นฐาน รวมทั้งให้มีการขยายบริการการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานอย่างทั่วถึง

65 การพัฒนาแบบยั่งยืน หมายถึง

(1) การให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมกับภาครัฐบาลมากขึ้น

(2) การพัฒนารัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

(3) การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กัน (4) การมุ่งเน้นการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

(5) การมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีสมัยใหม่

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การพัฒนาแบบยั่งยืน (Sustainable Development) หมายถึง การพัฒนาแบบองค์รวมที่ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา และการพัฒนาอย่างมีดุลยภาพทั้งด้าน เศรษฐกิจ สังคม การเมือง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กัน โดยยึด เป็น “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญานําทางในการพัฒนา

66 ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีการค้าโลกในช่วงที่ผ่านมาลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นผลเนื่องมาจากสาเหตุสําคัญคือ

(1) มีการพึ่งพาวัตถุดิบจากต่างประเทศสูง

(2) แรงงานไทยส่วนใหญ่มีการศึกษาต่ำ

(3) ความสามารถในการบริหารจัดการธุรกิจไร้ประสิทธิภาพ

(4) ความล้าหลังในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในช่วงที่ผ่านมานั้น พบว่า สมรรถนะทางเศรษฐกิจและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีการค้าโลกได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากสาเหตุสําคัญ คือ

1 ความล้าหลังในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

2 มีการพึ่งพาวัตถุดิบ เงินทุน และเทคโนโลยีจากต่างประเทศสูง

3 แรงงานไทยส่วนใหญ่มีการศึกษาต่ำ

4 ความสามารถในการบริหารจัดการธุรกิจไร้ประสิทธิภาพ

67 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 มีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพคนอย่างไร

(1) เพิ่มจํานวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเป็น 10 ปี

(2) ลดปัญหาอาชญากรรมลงร้อยละ 10

(3) อายุคาดหมายเฉลี่ยของคนไทยสูงขึ้นเป็น 80 ปี

(4) เพิ่มสัดส่วนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนา

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 มีเป้าหมายการพัฒนาคุณภาพคน ดังนี้

1 เพิ่มจํานวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเป็น 10 ปี

2 เพิ่มสัดส่วนบุคลากรด้านการวิจัย และพัฒนาเป็น 10 คน ต่อประชากร 10,000 คน

3 ลดปัญหาอาชญากรรมลงร้อยละ 10 4. กําหนดให้อายุคาดหมายเฉลี่ยของคนไทยสูงขึ้นเป็น 80 ปี ฯลฯ

68 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายในด้านการพัฒนาสมรรถนะและขีดความสามารถในการแข่งขันโดย

(1) ให้ประเทศไทยพัฒนาเป็นแหล่งอุตสาหกรรมของโลก

(2) ให้ประเทศไทยพัฒนาเป็นศูนย์กลางทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของโลก

(3) ให้ประเทศไทยคงความเป็นแหล่งผลิตอาหารสําคัญของโลก

(4) ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวในภูมิภาค

(5) ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการเกษตรของโลก

ตอบ 3 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายในการพัฒนาสมรรถนะและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศประการหนึ่ง คือ พัฒนาสมรรถนะและขีดความสามารถการแข่งขันในระดับประเทศ ระดับวิสาหกิจและหน่วยผลิตพื้นฐาน โดยให้ประเทศไทยคงความเป็นแหล่ง ผลิตอาหารสําคัญของโลก

69 ผลของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1-7 ประเทศไทยประสบผลสําเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว เฉลี่ยประมาณเท่าใด

(1) ร้อยละ 7 ต่อปี

(2) ร้อยละ 8 ต่อปี

(3) ร้อยละ 9 ต่อปี

(4) ร้อยละ 10 ต่อปี

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข 0-3301-2 หน้า 103 104), (คําบรรยาย) จากผลการพัฒนาประเทศในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 – 7 พบว่า ประเทศไทยประสบผลสําเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจ ที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว เฉลี่ยประมาณร้อยละ 7 ต่อปี ซึ่งส่งผลทําให้รายได้ต่อหัวของคนไทย เพิ่มขึ้นจาก 2,100 บาท ในปี พ.ศ. 2504 เป็น 68,000 บาท ในปี พ.ศ. 2538 หรือเพิ่มขึ้น 32 เท่าตัว และสัดส่วนคนยากจนของประเทศลดลงเหลือเพียงร้อยละ 13.7 ในปี พ.ศ. 2535

70 ผลของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 – 7 ทําให้สัดส่วนของคนยากจนของประเทศไทย ลดลงเป็นอย่างมาก คือ

(1) ร้อยละ 10.4

(2) ร้อยละ 11.4

(3) ร้อยละ 12.4

(4) ร้อยละ 13.4

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 69 ประกอบ

71 ผลที่เกิดขึ้นจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1-2 คือ

(1) มีความก้าวหน้าในการพัฒนาสังคม

(2) มีการกระจายรายได้อย่างทั่วถึง

(3) มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะถนน ไฟฟ้า ประปา

(4) คุณภาพชีวิตของคนในชนบทได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น

(5) มีเป้าหมายการลดอัตราการเพิ่มของประชากร

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ผลการพัฒนาที่เกิดขึ้นจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 – 2 คือ เน้นการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ด้วยการลงทุนกระจายการพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐาน โดยเฉพาะถนน ไฟฟ้า และประปา แต่เกิดปัญหาช่องว่างการกระจายรายได้และ คุณภาพชีวิตของคนในชนบทไม่ได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น

72 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 ให้ความสําคัญกับเรื่องใด (1) การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

(2) การส่งออกและการกระจายรายได้

(3) การพัฒนาสังคม

(4) การลดอัตราการเพิ่มของประชากร

(5) ข้อ 3 และ 4 ถูก

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข -3301-2 หน้า 40, 43, 50) จุดเด่นที่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 3 ให้ความสําคัญ ก็คือ การพัฒนาสังคม กล่าวคือ เริ่มมีการวางแผนทางด้านสังคมโดยมีการกําหนดนโยบายด้านประชากรเป็นครั้งแรก ซึ่งมีการกําหนดเป้าหมายลดอัตราการเพิ่มของประชากรให้เหลืออยู่ที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี ในปี พ.ศ. 2519 เพื่อลดภาระทางเศรษฐกิจแก่ครอบครัวที่มีฐานะยากจนและประเทศในระยะยาว รวมทั้งเพื่อให้การบริการในภาครัฐขยายตัวได้ทั่วถึงและรวดเร็วยิ่งขึ้น

73 วิกฤติที่เกิดขึ้นในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 คือ

(1) วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ

(2) วิกฤติการณ์ทางการเงินของโลก

(3) วิกฤติการณ์น้ำมัน

(4) วิกฤติการณ์ความผันผวนทางการเมือง

(5) ข้อ 3 และ 4 ถูก

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 นั้น ประเทศไทยต้องประสบกับวิกฤติการณ์ความผันผวนทางการเมืองและวิกฤติการณ์น้ำมันอย่างรุนแรง จนก่อให้เกิดปัญหาการขาดดุลกับการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างรุนแรง แต่สัมฤทธิผลของแผนพัฒนาฯ ฉบับนี้ที่เป็นไปตามเป้าหมาย ก็คือ อัตราการเพิ่มของประชากร

74 สภาพของประเทศไทยก่อนมีการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ คือ

(1) ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว

(2) เศรษฐกิจขยายตัวประมาณร้อยละ 4 ต่อปี

(3) ประชากรเพิ่มในอัตราร้อยละ 3.7 ต่อปี

(4) เศรษฐกิจส่วนใหญ่ขึ้นกับภาคเกษตร

(5) ถูกทุกข้อ 5

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 2 – 3) สถานภาพของประเทศไทยก่อนมีการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 มีดังนี้

1 ทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ทั้งด้านป่าไม้ แหล่งน้ำ แร่ธาตุ ฯลฯ หรืออยู่ในสภาพที่เรียกว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว”

2 ประชาชนมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวไม่ถึง 2,000 บาทต่อปี

3 เศรษฐกิจขยายตัวประมาณ ร้อยละ 4 ต่อปี

4 มีแรงงานภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 8.5 ของแรงงานทั้งหมด

5 บริการพื้นฐานต่าง ๆ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมมีไม่เพียงพอ

6 ประชากรเพิ่มในอัตราร้อยละ 3.7 ต่อปี

7 เศรษฐกิจส่วนใหญ่ขึ้นกับภาคเกษตร ฯลฯ

75 ประเทศใดเป็นตัวแปรสําคัญต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของโลกในปัจจุบัน

(1) รัสเซีย

(2) ญี่ปุ่น

(3) จีน

(4) อินเดีย

(5) เกาหลี

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ปัจจุบันแนวโน้ม “ระบบภูมิภาคนิยม” มีอิทธิพลเพิ่มขึ้น ขณะที่ประเทศมหาอํานาจทางเศรษฐกิจคือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป ยังคงมีบทบาทต่อการจัดระเบียบเศรษฐกิจและสังคมโลกใหม่ และการเข้าเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลกนั้น จะทําให้จีนกลายเป็นตัวแปรสําคัญต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของโลกและภูมิภาคเอเชีย

76 เงื่อนไขและสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงภายนอกประเทศที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศไทย คือ

(1) กระแสประชาธิปไตยในสังคมโลก

(2) กระแสโลกาภิวัตน์

(3) ระบบเศรษฐกิจของโลกมีความสลับซับซ้อนและเชื่อมโยงกันมากขึ้น

(4) แนวโน้มของการพัฒนาสู่ “เศรษฐกิจยุคใหม่”

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) นอกจากตัวเลือกข้อ 1, 2, 3 และ 4 แล้ว เงื่อนไขและสถานการณ์เปลี่ยนแปลงภายนอกประเทศที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศไทย ยังได้แก่ 1 การเปิดเสรีและการกีดกันทางการค้า

2 แนวโน้มระบบภูมิภาคนิยมมีอิทธิพลเพิ่มขึ้น

3 เสถียรภาพทางเศรษฐกิจโลกยังมีความเปราะบาง เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นที่ยังชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าจะฟื้นตัวได้ช้ากว่าที่ประมาณการไว้

77 การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ มีวัตถุประสงค์สําคัญคือ

(1) เพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกมากขึ้นที่จะได้รับบริการที่ดีมีคุณภาพ

(2) เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่ดี

(3) เพื่อสนับสนุนบทบาทการลงทุนของภาคเอกชน

(4) เพื่อลดภาระการลงทุนภาครัฐ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ประเทศไทยได้ดําเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจอย่างเป็นขั้นตอน โดยมีวัตถุประสงค์สําคัญคือ

1 เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่ดี

2 เพื่อสนับสนุนบทบาทการลงทุนของภาคเอกชนที่คํานึงถึงประสิทธิภาพการให้บริการ

3 เพื่อลดภาระการลงทุนภาครัฐ

4 เพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกที่จะ ได้รับบริการที่ดีมีคุณภาพ

78 แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 มีเป้าหมายในการพัฒนาประชากรกลุ่มผู้ด้อยโอกาส “กลุ่มผู้ด้อยโอกาส” ได้แก่

(1) เด็กที่อยู่ในภาวะยากลําบาก

(2) สตรีในธุรกิจบริการทางเพศ

(3) คนพิการ ผู้ถูกคุมประพฤติ และผู้ต้องขัง

(4) ผู้สูงอายุยากจนที่ไม่มีญาติหรือผู้เลี้ยงดู

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 มีเป้าหมายในการพัฒนาประชากร “กลุ่มผู้ด้อยโอกาส”ซึ่งได้แก่

1 กลุ่มเด็กที่อยู่ในภาวะยากลําบาก

2 กลุ่มเด็กและสตรีในธุรกิจบริการทางเพศและถูกประทุษร้าย

3 กลุ่มคนพิการ

4 กลุ่มผู้ถูกคุมประพฤติและผู้ต้องขัง

5 กลุ่มผู้สูงอายุยากจนที่ไม่มีญาติหรือผู้เลี้ยงดู

6 กลุ่มคนยากจนในเมืองและชนบท

7 กลุ่มคนไทยต่างวัฒนธรรม

79 สาเหตุสําคัญที่ทําให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจไทยในช่วงปีแรกของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 คือ

(1) ขาดปัจจัยพื้นฐานในการพัฒนาประเทศอย่างรุนแรง

(2) รายได้จากการท่องเที่ยวลดลงมากและคนไทยนิยมไปทองเที่ยวต่างประเทศมากขึ้น

(3) ปัญหาคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์

(4) ปัญหาแรงงานฝีมือต่ำ

(5) ปัญหาด้านการส่งออก

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 111 – 113), (คําบรรยาย) วิกฤติเศรษฐกิจไทยที่เกิดขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นปีแรกของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 มีสาเหตุเกิดจากปัญหาโครงสร้างที่สะสมมานานซึ่งไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง ประกอบกับมีปัจจัยและตัวเร่งที่ก่อให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ได้แก่ ปัญหาเศรษฐกิจแบบฟองสบู่ ระบบเศรษฐกิจและการเมืองในลักษณะรวมศูนย์ ความด้อยประสิทธิภาพในการบริหารจัดการของภาครัฐ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การบริโภคของคนไทยที่มีค่านิยมทางวัตถุและสิ่งฟุ่มเฟือย รวมทั้งการนิยมเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งทําให้รายได้จากการท่องเที่ยวภายในประเทศลดลง จึงได้นําไปสู่การที่รัฐบาลตัดสินใจประกาศขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) พร้อมด้วย พันธะกรณีตามแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจที่จะต้องรักษาวินัยทางการเงินและการคลังอย่างเคร่งครัด

80 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายเพิ่มค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาของประเทศทั้งภาครัฐและเอกชนไม่น้อยกว่าเท่าใดของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ

(1) ร้อยละ 0.6

(2) ร้อยละ 0.5

(3) ร้อยละ 0.4

(4) ร้อยละ 0.3

(5) ร้อยละ 0.2

ตอบ 3 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายดุลยภาพทางเศรษฐกิจ ดังนี้

1 มีอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี

2 การส่งออกสินค้ามีการขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 ต่อปี โดยเพิ่มส่วนแบ่งตลาดส่งออกของไทยให้อยู่ในระดับร้อยละ 1.1 ของตลาดโลกในปี พ.ศ. 2549

3 เพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวโดยมีรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 7 – 8 ต่อปี และให้คนไทยท่องเที่ยวภายในประเทศเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 3 ต่อปี

4 เพิ่มค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศทั้งภาครัฐและเอกชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ฯลฯ

81 แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 นับว่าเป็นแผนที่ดําเนินการในช่วงเปลี่ยนผ่านที่สําคัญที่สุดช่วงหนึ่งของประเทศไทย เพราะเหตุใด

(1) ต้องเร่งฟื้นฟูทางเศรษฐกิจให้หลุดพ้นจากภาวะวิกฤติ

(2) ต้องพัฒนาสิ่งแวดล้อมในทุก ๆ ด้าน

(3) ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากภายนอกมากขึ้น

(4) ต้องเร่งพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มรายได้จากเงินตราต่างประเทศ

(5) ต้องพัฒนาการศึกษาและคุณภาพชีวิตของคนชนบท

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 130) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 นับว่าเป็นแผนที่ดําเนินการในช่วงเปลี่ยนผ่านที่สําคัญที่สุดช่วงหนึ่งของประเทศไทย เพราะจําเป็นต้องเร่งรัดการปฏิรูป ระบบเศรษฐกิจและสังคมให้เกิดสัมฤทธิผล และเร่งฟื้นฟูทางเศรษฐกิจให้หลุดพ้นจากภาวะวิกฤติ พร้อมทั้งวางรากฐานการพัฒนาระบบเศรษฐกิจภายในประเทศให้มีความเข้มแข็ง มีเสถียรภาพและมีภูมิคุ้มกันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงจากภายนอกและสามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น

82 การปรับปรุงระบบราชการแนวใหม่มุ่งให้ระบบราชการมีลักษณะอย่างไร

(1) ปรับปรุงโครงสร้างใหม่ให้เน้นการเป็นผู้ปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ

(2) เพิ่มจํานวนบุคลากรให้มากขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับบทบาทภารกิจใหม่

(3) ระบบราชการทํางานแยกส่วนกับภาคเอกชนโดยมุ่งแข่งขันกับภาคเอกชน

(4) ปรับระบบงบประมาณเป็นแบบมุ่งผลลัพธ์

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีแนวทางการปรับปรุงระบบราชการแนวใหม่ ดังนี้

1 ปรับบทบาท ภารกิจ และวิธีการบริหารงานของระบบราชการจากการเป็นผู้ปฏิบัติไปเป็นผู้กํากับดูแลและอํานวยความสะดวก

2 ปรับระบบงบประมาณเป็นแบบมุ่งผลลัพธ์

3 ปรับระบบบริหารบุคคลและลดจํานวนบุคลากรให้สอดคล้องกับการปรับบทบาทภารกิจใหม่

4 ปรับระบบราชการให้สามารถทํางานร่วมกับภาคเอกชนได้ ฯลฯ

83 ลักษณะสําคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 คือ

(1) เน้นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

(2) มุ่งเน้นการปฏิรูปทางการศึกษา

(3) มุ่งเน้นการเสริมสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

(4) เศรษฐกิจเป็นเป้าหมายหลักของการพัฒนา

(5) คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 105, 107, 116 – 117) ลักษณะสําคัญของแผนพัฒนาฯฉบับที่ 8 ที่แตกต่างจากแผนพัฒนาฯ ฉบับอื่น มีดังนี้ 1 เป็นจุดเปลี่ยนสําคัญของการวางแผนพัฒนาประเทศไทยที่ให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม นั่นคือ เป็นแผนแรกที่มาจากการร่วมคิดของหลายฝ่ายจากทุกภาคส่วนของสังคม โดยเปิดโอกาสให้คนไทยทุกกลุ่มอาชีพในทุกภูมิภาคเข้ามามีบทบาทร่วมในการแสดงความคิดเห็น และกําหนดทิศทางในการพัฒนาประเทศตั้งแต่เริ่มการจัดทําแผน

2 เป็นแผนแรกที่เน้นให้ “คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา” โดยถือว่าการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นเพียงเครื่องมือช่วยพัฒนาให้คนมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเท่านั้น

84 ผลของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 – 7 ก่อให้เกิด “ความไม่สมดุลของการพัฒนา” หมายความว่า

(1) มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลือง และมีการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน

(2) มีปัญหาความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้

(3) มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจแต่มีปัญหาทางสังคมเกิดขึ้นมากมาย

(4) มีปัญหายาเสพติดและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ผลการพัฒนาประเทศในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 – 7 นั้น ก่อให้เกิด “ความไม่สมดุลของการพัฒนา” หมายความว่า มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจดี แต่ปัญหาความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้และผลประโยชน์จากการพัฒนาระหว่างภาค ระหว่างชนบทกับเมือง และระหว่างกลุ่มคนในสังคม ก็ยังเป็นปัญหาสําคัญที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของคนไทย โดยทําให้มีปัญหาทางสังคมเกิดขึ้นมากมาย เช่น ปัญหายาเสพติดและความปลอดภัย ในชีวิตและทรัพย์สิน ขณะเดียวกันก็มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลือง ซึ่งนําไปสู่ปัญหาความขัดแย้งแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติ ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและความเสื่อมโทรม ทางสภาพแวดล้อมอย่างรุนแรง จึงนําไปสู่ข้อสรุปผลการพัฒนาที่ว่า แม้เศรษฐกิจขยายตัวในระดับดี แต่สังคมมีปัญหา และการพัฒนาไม่ยั่งยืน

85 วิกฤติที่เกิดขึ้นในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 2 คือ

(1) ปัญหาในภาคการเงินและอสังหาริมทรัพย์

(2) ปัญหาหนี้สาธารณะและปัญหาการขาดดุลงบประมาณ

(3) ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ได้ส่งผลให้เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวอย่างช้า ๆ และมีเสถียรภาพในระดับหนึ่ง แต่ทั้งนี้ก็ยังมีปัญหาในภาคการเงินและอสังหาริมทรัพย์ ปัญหาหนี้สาธารณะและปัญหา การขาดดุลงบประมาณอยู่อย่างเดิม

86 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับใด ที่ประเทศไทยมีผลของการพัฒนาเศรษฐกิจสูงกว่าเป้าหมายถึงสองเท่าตัว

(1) ฉบับที่ 5

(2) ฉบับที่ 6

(3) ฉบับที่ 7

(4) ฉบับที่ 8

(5) ฉบับที่ 97 )

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข 0-3301-2 หน้า 82), (คําบรรยาย) การพัฒนาตลอดช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 เศรษฐกิจของประเทศได้ฟื้นตัวและขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 10.5 ต่อปี ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 ถึง 2 เท่าตัว นับเป็นอัตราการขยายตัว เฉลี่ยสูงสุดของการพัฒนาเศรษฐกิจในช่วง 25 ปีของการพัฒนาที่ผ่านมา โดยที่โครงสร้างเศรษฐกิจไทยเปิดกว้างเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจนานาชาติมากขึ้น และโครงสร้างทางเศรษฐกิจ เปลี่ยนจากเศรษฐกิจการเกษตรสู่เศรษฐกิจอุตสาหกรรม นอกจากนี้ภาวะเศรษฐกิจของโลกเอื้ออํานวย ต่อเศรษฐกิจไทยด้วย

87 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับใด ที่ประเทศไทยสามารถลดอัตราการเพิ่มของประชากรได้ผล ตรงตามเป้าหมายที่กําหนดไว้ในแผน

(1) ฉบับที่ 4

(2) ฉบับที่ 5

(3) ฉบับที่ 6

(4) ฉบับที่ 7

(5) ฉบับที่ 8

ตอบ 1(เอกสารหมายเลข 0-3301-2 หน้า 55 – 56) ผลการพัฒนาตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 มีดังนี้

1 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มสูงขึ้นกว่าเป้าหมายที่กําหนดไว้ คือ เพิ่มในอัตราร้อยละ 7.1 ต่อปี สูงกว่าเป้าหมายที่กําหนดไว้ร้อยละ 7.0

2 การผลิตสาขาเกษตรและอุตสาหกรรมขยายตัวต่ำกว่าเป้าหมายที่กําหนดไว้

3 อัตราการเพิ่มของประชากรเป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการเป็นครั้งแรก โดยอยู่ที่ร้อยละ 2.1 ต่อปี

4 การกระจายรายได้ยังทําได้ไม่เพียงพอและทั่วถึง โดยเฉพาะประชาชนในเขตชนบท ฯลฯ

88 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 ประสบความสําเร็จอย่างสูงในเรื่องใด

(1) การลดปัญหาสังคมเมืองและปัญหาอาชญากรรม

(2) การลดอัตราการเพิ่มของประชากร

(3) มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระดับสูงเกินความคาดหมาย

(4) ความสมดุลของการพัฒนา

(5) การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 86 ประกอบ

89 แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 มีลักษณะที่แตกต่างจากแผนอื่น ๆ คือ

(1) มุ่งเน้นการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน

(2) มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจโดยไม่คํานึงถึงผลทางด้านสังคม

(3) สนใจเรื่องการกระจายรายได้

(4) เป็นแผนที่มีระยะเวลานาน 6 ปี

(5) เน้นเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข 0-3301-2 หน้า 11 – 12, 19), (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากแผนพัฒนาฯ ฉบับอื่น ๆ ดังนี้

1 เป็นแผนที่มีระยะเวลายาวนานถึง 6 ปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 ถึง 2509

2 เป็นแผนที่กําหนดวัตถุประสงค์เดียว (Single Objective) คือ เร่งรัดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

90 “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” มีลักษณะอย่างไร

(1) สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติมีความยั่งยืน

(2) คนไทยมีคุณธรรมนําความรอบรู้ รู้เท่าทันโลก

(3) ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมสันติสุข

(4) เศรษฐกิจมีเสถียรภาพและเป็นธรรม

(5) ถูกทุกข้อ 2

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 55 ประกอบ

91 การสร้างภูมิคุ้มกันของประเทศตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ที่สําคัญได้แก่

(1) ส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมเป็นฐานรายได้หลักของประเทศ

(2) ยึดมั่นในการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

(3) เร่งรัดให้มีการปฏิรูปการศึกษาทุกระดับ

(4) สนับสนุนให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวภายในประเทศ

(5) ยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชนบท

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข 0-3301-2 หน้า 153) การสร้างภูมิคุ้มกันของประเทศไทยตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 มี 5 ประการ ดังนี้

1 ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

2 การพัฒนาประเทศให้อยู่บนฐานความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัย

3 สังคมไทยมีค่านิยมและวัฒนธรรมที่ดีงาม

4 ภาคการเกษตรเป็นฐานรายได้หลักและความมั่นคงด้านอาหารของประเทศ

5 ชุมชนท้องถิ่นเป็นกลไกที่มีความสามารถในการบริหารจัดการ มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเชื่อมโยงกันเป็นสังคมสวัสดิการ

92 ปัจจุบันประเทศไทยมุ่งเดินหน้าพัฒนาไปสู่ “ประเทศไทย 4.0” หมายความว่าอย่างไร

(1) การพัฒนาให้ครบทั้ง 4 ด้าน คือ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อม (2) การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วภายในปี 2575

(3) การพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นผู้นําในกลุ่มประเทศอาเซียน

(4) การพัฒนาให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตอล

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) ประเทศไทย 4.0 คือ การพัฒนาให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตอล เป็นการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิตอลมาสร้างสรรค์หรือพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม ข้อมูล ทุนมนุษย์ ทรัพยากรอื่น ๆ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนอย่างแท้จริง

93 ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่สําคัญในอนาคต ได้แก่ข้อใด

(1) เทคโนโลยีการผลิตในอุตสาหกรรม

(2) เทคโนโลยีการเกษตร

(3) นาโนเทคโนโลยี

(4) เทคโนโลยีการศึกษา

(5) เทคโนโลยีสารสนเทศ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่สําคัญในอนาคต ได้แก่ นาโนเทคโนโลยี (Nanotechnology) เช่น นาโนเทคโนโลยีเชิงชีวภาพและนาโนเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Biological and Medical Nanotechnology) มีบทบาทเชื่อมโยงและสัมพันธ์กันอย่างมาก และยังเกี่ยวข้องโดยตรงกับความต้องการพื้นฐานของมนุษยชาติ เช่น การมีอายุยืนยาว ปราศจาก โรคภัยไข้เจ็บและรักษาโรค มีสิ่งแวดล้อมที่ดี รวมทั้งมีรูปร่างหน้าตาสวยงามตลอดเวลา

94 ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายว่าในปี 2549 ประชาชนจะมีการศึกษาอย่างไร

(1) โดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 6 ปี

(2) โดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 8 ปี

(3) โดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 9 ปี

(4) โดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 12 ปี

(5) โดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 15 ปี

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 122 – 123) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายการยกระดับคุณภาพชีวิต ดังนี้

1 ให้ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปมีการศึกษาโดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 9 ปี ในปี พ.ศ. 2549

2 ยกระดับการศึกษาของแรงงานไทยให้ถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้นขึ้นไปไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ในปี พ.ศ. 2549

3 ขยายการประกันสุขภาพให้ครอบคลุมประชาชนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

4 ให้มีระบบการคุ้มครองทางสังคมที่สร้างหลักประกันแก่คนไทยทุกช่วงวัย ฯลฯ

95 การเน้นความสําคัญของ “เกษตรกร” มีแนวทางอย่างไร

(1) สนับสนุนให้เกษตรกรริเริ่มในการตัดสินใจเลือกการผลิตที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่

(2) ให้สินเชื่อทางการเกษตรแก่เกษตรกรมากขึ้น

(3) รัฐเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้สนับสนุนมาเป็นผู้ชี้นําในการพัฒนาการเกษตร (4) ให้ภาคเอกชนลงทุนในด้านวิชาการ และการวิจัยทางการเกษตร

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข 0-3301-2 หน้า 97) การเน้นความสําคัญของ “เกษตรกร” ตามแผนพัฒนาฯฉบับที่ 7 มีแนวทาง ดังนี้

1 สนับสนุนให้เกษตรกรเป็นผู้ริเริ่มในการตัดสินใจเลือกการผลิต ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และความต้องการของตลาดในระยะยาว

2 ให้ความสําคัญกับกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจ เช่น กลุ่มเกษตรกรผู้ยากจน แรงงานรับจ้างภาคเกษตร ผู้มีรายได้น้อยที่ไม่มีที่ดินของตนเอง ให้ได้รับบริการด้านปัจจัยการผลิตอย่างทั่วถึงและเพียงพอ

3 รัฐต้องเปลี่ยนบทบาทจากการเป็น “ผู้นํา” มาเป็น “ผู้สนับสนุน” ในการพัฒนาการเกษตร

4 ภาครัฐต้องเน้นการลงทุนในด้านวิชาการ และการวิจัยทางการเกษตร

96 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายในด้านอัตราเงินเฟ้ออย่างไร

(1) ไม่เกินร้อยละ 2 ต่อปี

(2) ไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี

(3) ไม่เกินร้อยละ 4 ต่อปี

(4) ไม่เกินร้อยละ 5 ต่อปี

(5) ไม่เกินร้อยละ 6 ต่อปี

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 80 ประกอบ

  1. “หน่วยงานกลาง” มีบทบาทสําคัญในการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ หน่วยงานกลางได้แก่

(1) สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

(2) สํานักงบประมาณ

(3) กระทรวงมหาดไทย

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 มีนโยบายเพิ่มประสิทธิภาพของหน่วยงานกลางในการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ โดยกําหนดให้ปรับปรุงบทบาทของหน่วยงานกลาง 5 หน่วยงาน ดังนี้

1 สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

2 สํานักงบประมาณ

3 สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)

4 สํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน

5 สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

98 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 แตกต่างจากแผนพัฒนาฯ ฉบับอื่น ๆ คือ

(1) มีการประเมินความเสี่ยง

(2) ให้ประเทศไทยพัฒนาเป็นแหล่งอุตสาหกรรมของโลก

(3) ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวในภูมิภาค

(4) ให้ประเทศไทยพัฒนาเป็นศูนย์กลางทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของโลก (5) ให้ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตอาหารสําคัญของโลก

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 152 153), (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ได้ประเมินความเสี่ยงที่ประเทศไทยจะต้องเผชิญไว้ 6 ประการ ซึ่งถือเป็นรายละเอียดที่ ทําให้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 มีความแตกต่างจากแผนพัฒนาฯ ฉบับก่อน ๆ ดังนี้

1 การบริหารภาครัฐอ่อนแอ ไม่สามารถขับเคลื่อนการบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2 โครงสร้างทางเศรษฐกิจไม่สามารถรองรับการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน

3 โครงสร้างประชากรที่มีวัยสูงอายุเพิ่มขึ้น ขณะที่ประชากรวัยเด็กและวัยแรงงานลดลง

4 ค่านิยมที่ดีงามเสื่อมถอยและประเพณีดั้งเดิมถูกบิดเบือน

5 ฐานทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อมของประเทศมีแนวโน้มเสื่อมโทรมรุนแรง

6 มีความเสี่ยงด้านความมั่นคงเพราะเกิดปัญหาความไม่สงบภายในประเทศและปัญหาการก่อการร้าย

99 ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคได้แก่ข้อใด

(1) การสร้างความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

(2) การเสริมสร้างความร่วมมือที่ดีระหว่างประเทศในการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมีจริยธรรม

(3) การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับอนุภูมิภาค

(4) การป้องกันภัยจากภัยพิบัติ และการแพร่ระบาดของโรค

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข 0-3301-2 หน้า 161 163) ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาค ตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 มีดังนี้

1 การสร้างความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

2 การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับอนุภูมิภาค

3 การป้องกันภัยจากภัยพิบัติ และการแพร่ระบาดของโรค

4 การเสริมสร้างความร่วมมือที่ดีระหว่างประเทศในการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมีจริยธรรม ฯลฯ

100 ภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นของประเทศไทยที่จัดทําโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติเป็นอย่างไร

(1) ได้คะแนน 3.8 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ในปี 2548

(2) อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ

(3) มีอันดับเพิ่มสูงขึ้น

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 1 – 3

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข 0-3301 -2 หน้า 137) ดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นของประเทศไทยที่จัดทําโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ มีอันดับเพิ่มสูงขึ้นเป็น 3.8 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนนในปี 2548 ซึ่งยังอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ

 

POL3301 นโยบายสาธารณะ S/2559

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3301  นโยบายสาธารณะ

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในประเทศที่สําคัญที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศไทยใน 2 ทศวรรษที่ผ่านมาคือ

(1) การเสริมสร้างเอกลักษณ์ความเป็นไทย และภูมิปัญญาท้องถิ่น

(2) การประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540

(3) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสังคมไทย

(4) การแพร่ระบาดของยาเสพติด

(5) กระแสวัตถุนิยมและบริโภคนิยม

ตอบ 2 (คําบรรยาย) เงื่อนไขและสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางสังคมในประเทศที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศไทยในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีดังนี้

1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 (สําคัญที่สุด) ทําให้เกิดการปฏิรูปภาคการเมืองและภาคสังคมที่สําคัญหลายประการ เช่น การกระจายอํานาจจากส่วนกลางไปสู่ท้องถิ่นอย่างทั่วถึง ประชาสังคมมีความตื่นตัวเรื่องประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมในการพัฒนา

2 สังคมไทยมีเอกลักษณ์ความเป็นไทย มีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่สั่งสมเป็นปึกแผ่นมายาวนาน

3 โครงสร้างสังคมไทยเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและสังคมเมืองมากขึ้น รวมถึงรูปแบบครัวเรือนส่วนใหญ่ก็เป็นครอบครัวเดียว และมีการอยู่เป็นโสดเพิ่มขึ้น

4 มีปัญหาเชิงโครงสร้างของสังคมไทยที่สําคัญ เช่น การตกอยู่ในกระแสวัตถุนิยมและบริโภคนิยม การแพร่ระบาดของยาเสพติด

2 “วิสัยทัศน์ร่วมของการพัฒนาประเทศไทยในอนาคต 20 ปี” ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีจุดมุ่งหมายหลักคือ

(1) การแก้ปัญหาความยากจนและยกระดับชีวิตของคนส่วนใหญ่ของประเทศ

(2) การพัฒนาอย่างยั่งยืน

(3) การพัฒนาแบบองค์รวม

(4) การยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ได้กําหนด “วิสัยทัศน์ร่วมของการพัฒนาประเทศไทยในอนาคต 20 ปี” โดยมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อการแก้ปัญหาความยากจนและยกระดับคุณภาพชีวิต ของคนส่วนใหญ่ของประเทศให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทย ด้วยการ ให้ความสําคัญกับการพัฒนาแบบองค์รวมที่ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาและการพัฒนา อย่างมีดุลยภาพ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้คนในสังคมมีความสุข ถ้วนหน้า สามารถพึ่งตนเองและก้าวตามโลกได้อย่างรู้เท่าทัน โดยยังคงรักษาเอกลักษณ์ของความเป็นไทย

3 ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่ดีตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายที่สําคัญคือ

(1) ภาครัฐมีขนาดและโครงสร้างที่เหมาะสม

(2) การมุ่งปราบปรามยาเสพติดทั่วประเทศ

(3) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัดบริการสาธารณะและพัฒนารายได้ของตนเองเพิ่มขึ้น

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่ดีตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายที่สําคัญ ดังนี้

1 ภาครัฐมีขนาดและโครงสร้างที่เหมาะสม มีระบบและกลไกการทํางาน รวมทั้งระบบงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ

2 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีขีดความสามารถในการจัดบริการสาธารณะและการพัฒนารายได้ของตนเองเพิ่มขึ้น

3 ธุรกิจของไทยสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

4 ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องจากภาครัฐอย่างครบถ้วนในเวลาที่รวดเร็ว ฯลฯ

4 ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคน ให้ความสําคัญกับเรื่องใด

(1) ให้คนมีคุณภาพ สุขภาพแข็งแรง คิดเป็น ทําเป็น

(2) ให้คนมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต

(3) เพิ่มระดับการศึกษาภาคบังคับ

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ได้ให้ความสําคัญกับการสร้างคนให้มีคุณภาพ สุขภาพแข็งแรง เป็นคนเก่ง คนดี คิดเป็น ทําเป็น มีระเบียบวินัยมีความซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสามัคคีและรักชาติ ตลอดจนมีจิตสํานึกความเป็นไทย

5 จุดเปลี่ยนสําคัญของการวางแผนพัฒนาประเทศไทยที่ให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนใน สังคมคือ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับใด

(1) ฉบับที่ 7

(2) ฉบับที่ 8

(3) ฉบับที่ 9

(4) ฉบับที่ 10

(5) ฉบับที่ 11

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 105, 107, 116 117) ลักษณะสําคัญของแผนพัฒนาฯฉบับที่ 8 ที่แตกต่างจากแผนพัฒนาฯ ฉบับอื่น มีดังนี้

1เป็นจุดเปลี่ยนสําคัญของการวางแผนพัฒนาประเทศไทยที่ให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม นั่นคือ เป็นแผนแรกที่มาจากการร่วมคิดของหลายฝ่ายจาก ทุกภาคส่วนของสังคม โดยเปิดโอกาสให้คนไทยทุกกลุ่มอาชีพในทุกภูมิภาคเข้ามามีบทบาทร่วม ในการแสดงความคิดเห็น และกําหนดทิศทางในการพัฒนาประเทศตั้งแต่เริ่มการจัดทําแผน

2 เป็นแผนแรกที่เน้นให้ “คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา” โดยถือว่าการพัฒนาเศรษฐกิจ เป็นเพียงเครื่องมือช่วยพัฒนาให้คนมีความสุขและมีคณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเท่านั้น

6 การเปลี่ยนแปลงของบริบทการพัฒนาในกระแสโลกาภิวัตน์ที่ประเทศไทยยังต้องเผชิญ คือ

(1) การรวมตัวของกลุ่มเศรษฐกิจต่าง ๆ

(2) การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด

(3) การเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

(4) การเคลื่อนย้ายคนอย่างเสรี

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การเปลี่ยนแปลงของบริบทการพัฒนาในกระแสโลกาภิวัตน์ที่ประเทศไทยยังต้องเผชิญอยู่นั้น มี 5 บริบท ดังนี้

1 การรวมตัวของกลุ่มเศรษฐกิจต่าง ๆ และการเปลี่ยนแปลงในตลาดการเงินของโลก 2 การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด

3 การเปลี่ยนแปลงด้านสังคมที่ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น

4 การเคลื่อนย้ายของคนอย่างเสรี

5 การเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

7 วิสัยทัศน์ประเทศไทยที่กําหนดไว้ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 คือ

(1) คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา

(2) การพัฒนาอย่างยั่งยืน

(3) สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน

(4) เศรษฐกิจพอเพียง

(5) การปฏิรูประบบราชการ

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข 0-3301-2 หน้า 138, 147) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ได้กําหนดวิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศไทยในระยะยาว โดยมุ่งพัฒนาไปสู่ “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน (Green and Happiness Society คนไทยมีคุณธรรมนําความรอบรู้ รู้เท่าทันโลก ครอบครัวอบอุ่น ชุมชน เข้มแข็ง สังคมสันติสุข เศรษฐกิจมีคุณภาพ เสถียรภาพ และเป็นธรรม สิ่งแวดล้อมมีคุณภาพและทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน อยู่ภายใต้ระบบบริหารจัดการประเทศที่มีธรรมาภิบาล ดํารงไว้ซึ่งระบอบ สด มีกราะประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และอยู่ในประชาคมโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี”

8 สถานะด้านสังคมของประเทศไทยก่อนเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 คือ

(1) จํานวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเพิ่มขึ้นเป็น 8.5 ปี

(2) แรงงานไทยที่จบการศึกษาสูงกว่าระดับประถมศึกษาเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 39.8

(3) ประสิทธิภาพการผลิตของแรงงานไทยยังต่ำเมื่อเทียบกับมาเลเซีย เกาหลี

(4) มีการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาเพียงร้อยละ 0.26

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 เอกสารหมายเลข n-3301 -2 หน้า 135 136, (คําบรรยาย) สถานะด้านสังคมของประเทศไทยก่อนเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 มีดังนี้

1 ประเทศไทยมีการพัฒนาคนระดับกลาง และมีแนวโน้มการพัฒนาคนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

2 จํานวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็น 8.5 ปี ในปี พ.ศ. 2548

3 แรงงานไทยที่จบการศึกษาสูงกว่าระดับประถมศึกษาเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 39.8 ในปี พ.ศ. 2548

4 ประสิทธิภาพการผลิตของแรงงานไทยยังต่ำกว่าประเทศในภูมิภาคเดียวกัน ได้แก่ มาเลเซีย เกาหลี สิงคโปร์ ไต้หวัน และญี่ปุ่น

5 มีการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาเพียงร้อยละ 0.26 ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ

6 คนไทยได้รับหลักประกันสุขภาพอย่างทั่วถึงร้อยละ 96.3 ในปี พ.ศ. 2548

7 สังคมไทยปรับตัวจากชนบทสู่เมืองอย่างต่อเนื่อง ฯลฯ

9 สถานะด้านเศรษฐกิจของประเทศไทยก่อนเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 คือ

(1) เศรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยร้อยละ 5.7 ต่อปี

(2) ขนาดทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นลําดับที่ 20 ในโลก

(3) โครงสร้างพื้นฐานด้านขนส่งและโลจิสติกส์มีประสิทธิภาพ

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 128 129, 136), (คําบรรยาย) สถานะด้านเศรษฐกิจของประเทศไทยก่อนเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ซึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีดังนี้

1 เศรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 5.7 ต่อปี ในช่วงปี พ.ศ. 2545 – 2548และจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลาง

2 ขนาดทางเศรษฐกิจของประเทศใหญ่เป็นลําดับที่ 20 จากจํานวน 192 ประเทศในโลก

3 มีการพึ่งพิงการนําเข้าวัตถุดิบ ชิ้นส่วน พลังงาน เงินทุน และเทคโนโลยีในสัดส่วนที่สูง

4 อัตราการว่างงานลดลง โดยมีอัตราเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2 เมตร

5 โครงสร้างพื้นฐานด้านขนส่งและโลจิสติกส์ยังขาดประสิทธิภาพ ฯลฯ

10 สถานะด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก่อนเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 คือ

(1) เหลือพื้นที่ป่าร้อยละ 23 ของพื้นที่ประเทศ

(2) ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งลดความอุดมสมบูรณ์ลง

(3) คุณภาพของสิ่งแวดล้อมมีความเสื่อมโทรมลง

(4) การนําเข้าสารอันตรายที่ใช้ในการผลิตมีมากขึ้น

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) สถานะด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยก่อนเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 มีดังนี้

1 เหลือพื้นที่ป่าเพียงร้อยละ 33 ของพื้นที่ประเทศ

2 ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งลดความอุดมสมบูรณ์ลง

3 คุณภาพของสิ่งแวดล้อมมีความเสื่อมโทรมลง เนื่องจากสาเหตุสําคัญประการหนึ่ง คือ การนําเข้าสารอันตรายที่ใช้ในการผลิตมีมากขึ้น ฯลฯ

11 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 มีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพคนอย่างไร

(1) เพิ่มจํานวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเป็น 10 ปี

(2) ลดปัญหาอาชญากรรมลงร้อยละ 10

(3) อายุคาดหมายเฉลี่ยของคนไทยสูงขึ้นเป็น 80 ปี

(4) เพิ่มสัดส่วนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนา

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 มีเป้าหมายการพัฒนาคุณภาพคน ดังนี้ 1 เพิ่มจํานวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเป็น 10 ปี

2 เพิ่มสัดส่วนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาเป็น 10 คน ต่อประชากร 10,000 คน 3 ลดปัญหาอาชญากรรมลงร้อยละ 10 – 20

4 กําหนดให้อายุคาดหมายเฉลี่ยของคนไทยสูงขึ้นเป็น 80 ปี ฯลฯ

12 ผลของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1-7 ทําให้สัดส่วนของคนยากจนของประเทศไทย ลดลงเป็นอย่างมาก คือ

(1) ร้อยละ 10.4.

(2) ร้อยละ 11.4

(3) ร้อยละ 12.4

(4) ร้อยละ 13.4

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 103 – 104), (คําบรรยาย) จากผลการพัฒนาประเทศในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 – 7 พบว่า ประเทศไทยประสบผลสําเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว เฉลี่ยประมาณร้อยละ 7 ต่อปี ซึ่งส่งผลทําให้รายได้ต่อหัวของคนไทย เพิ่มขึ้นจาก 2,100 บาท ในปี พ.ศ. 2504 เป็น 68,000 บาท ในปี พ.ศ. 2538 หรือเพิ่มขึ้น 32 เท่าตัว และสัดส่วนคนยากจนของประเทศลดลงเหลือเพียงร้อยละ 13.7 ในปี พ.ศ. 2535

13 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายในด้านการพัฒนาสมรรถนะและขีดความสามารถในการแข่งขันโดย

(1) ให้ประเทศไทยพัฒนาเป็นแหล่งอุตสาหกรรมของโลก

(2) ให้ประเทศไทยพัฒนาเป็นศูนย์กลางทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของโลก

(3) ให้ประเทศไทยคงความเป็นแหล่งผลิตอาหารสําคัญของโลก

(4) ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวในภูมิภาค

(5) ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการเกษตรของโลก

ตอบ 3 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายในการพัฒนาสมรรถนะและขีดความสามารถได้ ในการแข่งขันของประเทศประการหนึ่ง คือ พัฒนาสมรรถนะและขีดความสามารถการแข่งขันในระดับประเทศ ระดับวิสาหกิจและหน่วยผลิตพื้นฐาน โดยให้ประเทศไทยคงความเป็นแหล่ง ผลิตอาหารสําคัญของโลก

14 ผลของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 – 7 ประเทศไทยประสบผลสําเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว เฉลี่ยประมาณเท่าใด

(1) ร้อยละ 7 ต่อปี

(2) ร้อยละ 8 ต่อปี

(3) ร้อยละ 9 ต่อปี

(4) ร้อยละ 10 ต่อปี

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 12 ประกอบ

15 ผลที่เกิดขึ้นจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 – 2 คือ

(1) มีความก้าวหน้าในการพัฒนาสังคม

(2) มีการกระจายรายได้อย่างทั่วถึง

(3) มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะถนน ไฟฟ้า ประปา

(4) คุณภาพชีวิตของคนในชนบทได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น

(5) มีเป้าหมายการลดอัตราการเพิ่มของประชากร

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ผลการพัฒนาที่เกิดขึ้นจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 – 2 คือ คนที่เน้นการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ด้วยการลงทุนกระจายการพัฒนาโครงสร้าง มีใจรัสพื้นฐาน โดยเฉพาะถนน ไฟฟ้า และประปา แต่เกิดปัญหาช่องว่างการกระจายรายได้และคุณภาพชีวิตของคนในชนบทไม่ได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น 30 มกราคม

16 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 ให้ความสําคัญกับเรื่องใด

(1) การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

(2) การส่งออกและการกระจายรายได้

(3) การพัฒนาสังคม รายได้

(4) การลดอัตราการเพิ่มของประชากร

(5) ข้อ 3 และ 4 ถูก

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข 0-5301-2 หน้า 40, 43, 50) จุดเด่นที่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 3 ให้ความสําคัญก็คือ การพัฒนาสังคม กล่าวคือ เริ่มมีการวางแผนทางด้านสังคมโดยมีการกําหนดนโยบายด้าน ขายอะประชากรเป็นครั้งแรก ซึ่งมีการกําหนดเป้าหมายลดอัตราการเพิ่มของประชากรให้เหลืออยู่ที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี ในปี พ.ศ. 2519 เพื่อลดภาระทางเศรษฐกิจแก่ครอบครัวที่มีฐานะยากจนและประเทศในระยะยาว รวมทั้งเพื่อให้การบริการในภาครัฐขยายตัวได้ทั่วถึงและรวดเร็วยิ่งขึ้น

17 วิกฤติที่เกิดขึ้นในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 คือ

(1) วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ

(2) วิกฤติการณ์ทางการเงินของโลก

(3) วิกฤติการณ์น้ำมัน

(4) วิกฤติการณ์ความผันผวนทางการเมือง

(5) ข้อ 3 และ 4 ถูก

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 นั้น ประเทศไทยต้องประสบกับวิกฤติการณ์ความผันผวนทางการเมืองและวิกฤติการณ์น้ำมันอย่างรุนแรง จนก่อให้เกิดปัญหาการขาดดุล การค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างรุนแรง แต่สัมฤทธิผลของแผนพัฒนาฯ ฉบับนี้ที่เป็นไปตามเป้าหมาย ก็คือ อัตราการเพิ่มของประชากร

18 สภาพของประเทศไทยก่อนมีการเช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ คือ

(1) ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว

(2) เศรษฐกิจขยายตัวประมาณร้อยละ 4 ต่อปี

(3) ประชากรเพิ่มในอัตราร้อยละ 3.7 ต่อปี

(4) เศรษฐกิจส่วนใหญ่ขึ้นกับภาคเกษตร

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 เอกสารหมายเลข 0-3301-2 หน้า 2 3) สถานภาพของประเทศไทยก่อนมีการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 มีดังนี้

1 ทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ทั้งด้านป่าไม้ แหล่งน้ำ แร่ธาตุ ฯลฯ หรืออยู่ในสภาพที่เรียกว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว”

2 ประชาชนมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวไม่ถึง 2,000 บาทต่อปี

3 เศรษฐกิจขยายตัวประมาณ ร้อยละ 4 ต่อปี

4 มีแรงงานภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 8.5 ของแรงงานทั้งหมด

5 บริการพื้นฐานต่าง ๆ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมมีไม่เพียงพอ

6 ประชากรเพิ่มในอัตราร้อยละ 3.7 ต่อปี

7 เศรษฐกิจส่วนใหญ่ขึ้นกับภาคเกษตร ฯลฯ

19 การเตรียมความพร้อมและยกระดับฝีมือของคนไทยให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน มุ่งเน้นการผลิตกําลังคน ในระดับใด ๆ

(1) ระดับสูง

(2) ระดับกลาง

(3) ระดับต่ำ

(4) ระดับกลางและระดับต่ำ

(5) ทุกระดับ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีแนวทางการเตรียมความพร้อมและยกระดับทักษะฝีมือของคนไทยให้มีคุณภาพได้มาตรฐานและสอดคล้องกับโครงสร้างการผลิตและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปประการหนึ่ง คือ มุ่งเน้นการผลิตและพัฒนากําลังคนระดับกลาง โดยผสมผสาน ผมเจ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทักษะชีวิต กับความรู้พื้นฐาน รวมทั้งให้มีการขยายบริการการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานอย่างทั่วถึง

20 ลักษณะของประเทศกําลังพัฒนา คือ

(1) ประชาชนมีรายได้เฉลี่ยต่อบุคคลในเกณฑ์ปานกลาง

(2) ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพอุตสาหกรรม

(3) อัตราการเพิ่มประชากรอยู่ในเกณฑ์ต่ำ

(4) ความเจริญด้านเทคโนโลยีอยู่ในระดับสูง

(5) ประชาชนส่วนใหญ่ยึดถือวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิม

ตอบ 5

ลักษณะของประเทศกําลังพัฒนา มีดังนี้

1 ประชาชนมีรายได้เฉลี่ยต่อบุคคลในเกณฑ์ต่ำ

2 ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม

3 อัตราการเพิ่มประชากรอยู่ในเกณฑ์สูง

4 ความเจริญด้านเทคโนโลยีอยู่ในระดับต่ำ

5 อัตราความเป็นเมืองอยู่ในเกณฑ์ต่ำ

6 ประชาชนส่วนใหญ่ยึดถือวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิม

21 การปฏิรูปการศึกษามีแนวทางอย่างไร

(1) ผลิตนักวิจัยในสาขาที่มีความจําเป็นต่อการพัฒนาประเทศ

(2) พัฒนาครูและปรับปรุงกระบวนการผลิตครู

(3) ปรับปรุงหลักสูตรให้มีความหลากหลาย

(4) เสริมสร้างความพร้อมของสถาบันการศึกษา

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีแนวทางการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ดังนี้

1 พัฒนาครูและปรับปรุงกระบวนการผลิตครูที่มีคุณภาพและคุณธรรม

2 ปรับปรุงหลักสูตรให้มีความหลากหลายและยืดหยุ่น

3 ผลิตนักวิจัยในสาขาที่มีศักยภาพสูงและมีความจําเป็น

4 เสริมสร้างความพร้อมของสถาบันการศึกษา ฯลฯ

22 ต่อไปนี้ข้อใดเป็นแนวทางการแก้ปัญหาความยากจนในชนบท

(1) นําหลักการและแนวคิดกระบวนการสหกรณ์มาใช้งาน

(2) การปฏิรูปกฎหมายและปรับปรุงระเบียบให้คนจนได้รับโอกาสมากขึ้น

(3) ปรับระบบการบริหารจัดการภาครัฐให้เอื้อต่อการสร้างโอกาสแก่คนยากจน

(4) ให้คนยากจนมีโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐได้อย่างทั่วถึง

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีแนวทางการแก้ปัญหาความยากจนในชนบท ดังนี้

1 นําหลักการและแนวคิดกระบวนการสหกรณ์มาใช้ โดยส่งเสริมการรวมกลุ่มของคนยากจน เป็นองค์กรชุมชน สหกรณ์ และเครือข่ายองค์กรชุมชนที่เข้มแข็ง

2 เสริมสร้างโอกาสให้คนยากจน สามารถเข้าถึงบริการของรัฐได้อย่างทั่วถึงและสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ

3 ปรับระบบการบริหารจัดการภาครัฐให้เอื้อต่อการสร้างโอกาสแก่คนยากจน

4 ปฏิรูปกฎหมายและปรับปรุงกฎระเบียบให้คนจนได้รับโอกาส สิทธิ ความเสมอภาค และความเป็นธรรมในด้านต่าง ๆ

23 การพัฒนาแบบยั่งยืน หมายถึง

(1) การให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมกับภาครัฐบาลมากขึ้น

(2) การพัฒนารัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

(3) การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ

(4) การมุ่งเน้นการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

(5) การมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม และเทคโนโลยีสมัยใหม่

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การพัฒนาแบบยั่งยืน (Sustainable Development) หมายถึง การพัฒนา จากการออกแบบองค์รวมที่ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา และการพัฒนาอย่างมีดุลยภาพทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กัน โดยยึด“ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญานําทางในการพัฒนา

24 ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีการค้าโลกในช่วงที่ผ่านมาลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นผลเนื่องมาจากสาเหตุสําคัญคือ

(1) มีการพึ่งพาวัตถุดิบจากต่างประเทศสูง

(2) แรงงานไทยส่วนใหญ่มีการศึกษาต่ำ

(3) ความสามารถในการบริหารจัดการธุรกิจไร้ประสิทธิภาพ

(4) ความล้าหลังในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในช่วงที่ผ่านมานั้น พบว่า สมรรถนะทางเศรษฐกิจและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีการค้าโลกได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากสาเหตุสําคัญ คือ

1 ความล้าหลังในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

2 มีการพึ่งพาวัตถุดิบ เงินทุน และเทคโนโลยีจากต่างประเทศสูง

3 แรงงานไทยส่วนใหญ่มีการศึกษาต่ำ

4 ความสามารถในการบริหารจัดการธุรกิจไร้ประสิทธิภาพ

25 ประเทศใดเป็นตัวแปรสําคัญต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของโลกในปัจจุบัน

(1) รัสเซีย

(2) ญี่ปุ่น

(3) จีน

(4) อินเดีย

(5) เกาหลี

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ปัจจุบันแนวโน้ม “ระบบภูมิภาคนิยม” มีอิทธิพลเพิ่มขึ้น ขณะที่ประเทศมหาอํานาจทางเศรษฐกิจคือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป ยังคงมีบทบาทต่อการจัดระเบียบเศรษฐกิจและสังคมโลกใหม่ และการเข้าเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลกนั้นจะทําให้จีนกลายเป็นตัวแปรสําคัญต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของโลกและภูมิภาคเอเชีย

26 เงื่อนไขและสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงภายนอกประเทศที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศไทย คือ

(1) กระแสประชาธิปไตยในสังคมโลก

(2) กระแสโลกาภิวัตน์

(3) ระบบเศรษฐกิจของโลกมีความสลับซับซ้อนและเชื่อมโยงกันมากขึ้น

(4) แนวโน้มของการพัฒนาสู่ “เศรษฐกิจยุคใหม่”

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) นอกจากตัวเลือกข้อ 1, 2, 3 และ 4 แล้ว เงื่อนไขและสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงภายนอกประเทศที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศไทย ยังได้แก่

1 การเปิดเสรีและการกีดกันทางการค้า

2 แนวโน้มระบบภูมิภาคนิยมมีอิทธิพลเพิ่มขึ้น

3 เสถียรภาพทางเศรษฐกิจโลกยังมีความเปราะบาง เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของ ประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นที่ยังชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าจะฟื้นตัวได้ช้ากว่าที่ประมาณการไว้

27 การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ มีวัตถุประสงค์สําคัญคือ

(1) เพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกมากขึ้นที่จะได้รับบริการที่ดีมีคุณภาพ

(2) เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่ดี

(3) เพื่อสนับสนุนบทบาทการลงทุนของภาคเอกชน

(4) เพื่อลดภาระการลงทุนภาครัฐ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ประเทศไทยได้ดําเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจอย่างเป็นขั้นตอน โดยมีวัตถุประสงค์สําคัญคือ

1เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่ดี

2 เพื่อสนับสนุนบทบาทการลงทุนของภาคเอกชนที่คํานึงถึงประสิทธิภาพการให้บริการ

3 เพื่อลดภาระการลงทุนภาครัฐ

4 เพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกที่จะได้รับบริการที่ดีมีคุณภาพ

28 แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 มีเป้าหมายในการพัฒนาประชากรกลุ่มผู้ด้อยโอกาส “กลุ่มผู้ด้อยโอกาส” ได้แก่

(1) เด็กที่อยู่ในภาวะยากลําบาก

(2) สตรีในธุรกิจบริการทางเพศ

(3) คนพิการ ผู้ถูกคุมประพฤติ และผู้ต้องขัง

(4) ผู้สูงอายุยากจนที่ไม่มีญาติหรือผู้เลี้ยงดู

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 มีเป้าหมายในการพัฒนาประชากร “กลุ่มผู้ด้อยโอกาส”ซึ่งได้แก่

1 กลุ่มเด็กที่อยู่ในภาวะยากลําบาก

2 กลุ่มเด็กและสตรีในธุรกิจบริการทางเพศ และถูกประทุษร้าย

3 กลุ่มคนพิการ

4 กลุ่มผู้ถูกคุมประพฤติและผู้ต้องขัง

5 กลุ่มผู้สูงอายุยากจนที่ไม่มีญาติหรือผู้เลี้ยงดู

6 กลุ่มคนยากจนในเมืองและชนบท

7 กลุ่มคนไทยต่างวัฒนธรรม

29 สาเหตุสําคัญที่ทําให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจไทยในช่วงปีแรกของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 คือ

(1) ขาดปัจจัยพื้นฐานในการพัฒนาประเทศอย่างรุนแรง

(2) รายได้จากการท่องเที่ยวลดลงมากและคนไทยนิยมไปท่องเที่ยวต่างประเทศมากขึ้น

(3) ปัญหาคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์

(4) ปัญหาแรงงานฝีมือต่ำ

(5) ปัญหาด้านการส่งออก

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 111 – 113), (คําบรรยาย) วิกฤติเศรษฐกิจไทยที่เกิดขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นปีแรกของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 มีสาเหตุเกิดจากปัญหาโครงสร้าง ที่สะสมมานานซึ่งไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง ประกอบกับมีปัจจัยและตัวเร่งที่ก่อให้เกิด วิกฤติเศรษฐกิจ ได้แก่ ปัญหาเศรษฐกิจแบบฟองสบู่ ระบบเศรษฐกิจและการเมืองในลักษณะ รวมศูนย์ ความด้อยประสิทธิภาพในการบริหารจัดการของภาครัฐ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมการบริโภคของคนไทยที่มีค่านิยมทางวัตถุและสิ่งฟุ่มเฟือย รวมทั้งการนิยมเดินทาง ไปเที่ยวต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งทําให้รายได้จากการท่องเที่ยวภายในประเทศลดลง ได้นําไปสู่ การที่รัฐบาลตัดสินใจประกาศขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) พร้อมด้วยพันธะกรณีตามแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจที่จะต้องรักษาวินัยทางการเงินและการคลัง อย่างเคร่งครัด

30 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายเพิ่มค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาของประเทศทั้งภาครัฐและเอกชนไม่น้อยกว่าเท่าใดของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ

(1) ร้อยละ 0.6

(2) ร้อยละ 0.5

(3) ร้อยละ 0.4

(4) ร้อยละ 0.3

(5) ร้อยละ 0.2

ตอบ 3 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายดุลยภาพทางเศรษฐกิจ ดังนี้

1มีอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี

2 การส่งออกสินค้ามีการขยายตัวไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 6 ต่อปี โดยเพิ่มส่วนแบ่งตลาดส่งออกของไทยให้อยู่ในระดับร้อยละ 1.1 ของตลาดโลกในปี พ.ศ. 2549

3 เพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวโดยมีรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 7- 8 ต่อปี และให้คนไทยท่องเที่ยวภายในประเทศเพิ่มขึ้น

4 เพิ่มค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศทั้งภาครัฐและเอกชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ฯลฯ

31 แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 มีลักษณะที่แตกต่างจากแผนอื่น ๆ คือ

(1) มุ่งเน้นการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน

(2) มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจโดยไม่คํานึงถึงผลทางด้านสังคม

(3) สนใจเรื่องการกระจายรายได้

(4) เป็นแผนที่มีระยะเวลานาน 6 ปี

(5) เน้นเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 11 – 12, 19), (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากแผนพัฒนาฯ ฉบับอื่น ๆ ดังนี้

1 เป็นแผนที่มีระยะเวลา ยาวนานถึง 6 ปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 ถึง 2509

2 เป็นแผนที่กําหนดวัตถุประสงค์เดียว(Single Objective) คือ เร่งรัดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

32 ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายว่าในปี 2549 ประชาชนจะมีการศึกษาอย่างไร

(1) โดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 6 ปี

(2) โดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 8 ปี

(3) โดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 9 ปี

(4) โดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 12 ปี

(5) โดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 15 ปี

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข 0-3301-2 หน้า 122 – 123) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายการยกระดับคุณภาพชีวิต ดังนี้

1 ให้ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปมีการศึกษาโดยเฉลี่ยไม่ต่ากว่า 9 ปี ในปีพ.ศ. 2549

2 ยกระดับการศึกษาของแรงงานไทยให้ถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้นขึ้นไปไม่ต่ำกว่า ที่ร้อยละ 50 ในปี พ.ศ. 2549

3 ขยายการประกันสุขภาพให้ครอบคลุมประชาชนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

4 ให้มีระบบการคุ้มครองทางสังคมที่สร้างหลักประกันแก่คนไทยทุกช่วงวัย ฯลฯ

33 การเน้นความสําคัญของ “เกษตรกร” มีแนวทางอย่างไร

(1) สนับสนุนให้เกษตรกรริเริ่มในการตัดสินใจเลือกการผลิตที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่

(2) ให้สินเชื่อทางการเกษตรแก่เกษตรกรมากขึ้น

(3) รัฐเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้สนับสนุนมาเป็นผู้นําในการพัฒนาการเกษตร โดย

(4) ให้ภาคเอกชนลงทุนในด้านวิชาการ และการวิจัยทางการเกษตร

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข 1-3301-2 หน้า 97) การเน้นความสําคัญของ “เกษตรกร” ตามแผนพัฒนาฯฉบับที่ 7 มีแนวทาง ดังนี้

1 สนับสนุนให้เกษตรกรเป็นผู้ริเริ่มในการตัดสินใจเลือกการผลิต ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่

2 ให้ความสําคัญกับกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจ เช่น กลุ่มเกษตรกรผู้ยากจน แรงงานรับจ้างภาคเกษตร ให้ได้รับบริการด้านปัจจัยการผลิตอย่างทั่วถึงและเพียงพอ 3 รัฐต้องเปลี่ยนบทบาทจากการเป็น “ผู้นํา” มาเป็น “ผู้สนับสนุน” ในการพัฒนาการเกษตร

4 ภาครัฐต้องเน้นการลงทุนในด้านวิชาการ และการวิจัยทางการเกษตร

34 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายในด้านอัตราเงินเฟ้ออย่างไร

(1) ไม่เกินร้อยละ 2 ต่อปี

(2) ไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี

(3) ไม่เกินร้อยละ 4 ต่อปี

(4) ไม่เกินร้อยละ 5 ต่อปี

(5) ไม่เกินร้อยละ 6 ต่อปี

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 30

35 “หน่วยงานกลาง” มีบทบาทสําคัญในการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ หน่วยงานกลางได้แก่

(1) สํานักงาน ก.พ.

(2) สํานักงบประมาณ

(3) กระทรวงการคลัง

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 มีนโยบายเพิ่มประสิทธิภาพของหน่วยงานกลางในการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ โดยกําหนดให้ปรับปรุงบทบาทของหน่วยงานกลาง 5 หน่วยงาน ดังนี้

1 สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

2 สํานักงบประมาณ

3 สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)

4 สํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน

5 สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

36 แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 นับว่าเป็นแผนที่ดําเนินการในช่วงเปลี่ยนผ่านที่สําคัญที่สุดช่วงหนึ่งของประเทศไทย เพราะเหตุใด

(1) ต้องเร่งฟื้นฟูทางเศรษฐกิจให้หลุดพ้นจากภาวะวิกฤติ

(2) ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากภายนอกมากขึ้น

(3) ต้องพัฒนาสิ่งแวดล้อมในทุก ๆ ด้าน

(4) ต้องเร่งพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มรายได้จากเงินตราต่างประเทศ

(5) ต้องพัฒนาการศึกษาและคุณภาพชีวิตของคนชนบท

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข 0-3301-2 หน้า 130) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 นับว่าเป็นแผนที่ดําเนินการในช่วงเปลี่ยนผ่านที่สําคัญที่สุดช่วงหนึ่งของประเทศไทย เพราะจําเป็นต้องเร่งรัดการปฏิรูป ระบบเศรษฐกิจและสังคมให้เกิดสัมฤทธิผล และเร่งฟื้นฟูทางเศรษฐกิจให้หลุดพ้นจากภาวะวิกฤติพร้อมทั้งวางรากฐานการพัฒนาระบบเศรษฐกิจภายในประเทศให้มีความเข้มแข็ง มีเสถียรภาพ และมีภูมิคุ้มกันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงจากภายนอกและสามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น

37 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับใด ที่ประเทศไทยมีผลของการพัฒนาเศรษฐกิจสูงกว่า เป้าหมายถึงสองเท่าตัว

(1) ฉบับที่ 5

(2) ฉบับที่ 6

(3) ฉบับที่ 7

(4) ฉบับที่ 8

(5) ฉบับที่ 9

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การพัฒนาตลอดช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 เศรษฐกิจของประเทศได้ฟื้นตัวและขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 10.5 ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 ถึง 2 เท่าตัว และนับเป็นอัตราการขยายตัวเฉลี่ยสูงสุดของการพัฒนาเศรษฐกิจในช่วง 25 ปีของการพัฒนาที่ผ่านมา

38 ผลของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 – 7 ก่อให้เกิด “ความไม่สมดุลของการพัฒนา”หมายความว่า

(1) มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลือง และมีการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน

(2) มีปัญหาความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้

(3) มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจแต่มีปัญหาทางสังคมเกิดขึ้นมากมาย

(4) มีปัญหายาเสพติดและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ผลการพัฒนาประเทศในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 – 7 นั้น ก่อให้เกิด “ความไม่สมดุลของการพัฒนา” หมายความว่า มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจดี แต่ปัญหาความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้และผลประโยชน์จากการพัฒนาระหว่างภาคชนบทกับเมือง และระหว่างกลุ่มคนในสังคม ก็ยังเป็นปัญหาสําคัญที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของคนไทย โดยทําให้มีปัญหาทางสังคมเกิดขึ้นมากมาย เช่น ปัญหายาเสพติดและความปลอดภัย ในชีวิตและทรัพย์สิน ขณะเดียวกันก็มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลือง ซึ่งนําไปสู่ปัญหาความขัดแย้งแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติ ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและความเสื่อมโทรม ทางสภาพแวดล้อมอยางรุนแรง จึงนําไปสู่ข้อสรุปผลการพัฒนาที่ว่า แม้เศรษฐกิจขยายตัว ในระดับดี แต่สังคมมีปัญหา และการพัฒนาไม่ยั่งยืน

39 ลักษณะสําคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 คือ

(1) เน้นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

(2) มุ่งเน้นการปฏิรูปทางการศึกษา

(3) มุ่งเน้นการเสริมสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

(4) เศรษฐกิจเป็นเป้าหมายหลักของการพัฒนา

(5) คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 105, 107, 116 117) ลักษณะสําคัญของแผนพัฒนาฯฉบับที่ 8 ที่แตกต่างจากแผนพัฒนาฯ ฉบับอื่น มีดังนี้

1 เป็นจุดเปลี่ยนสําคัญของการวางแผนพัฒนาประเทศไทยที่ให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม นั่นคือ เป็นแผนแรกที่มาจากการร่วมคิดของหลายฝ่ายจาก ทุกภาคส่วนของสังคม โดยเปิดโอกาสให้คนไทยทุกกลุ่มอาชีพในทุกภูมิภาคเข้ามามีบทบาทร่วมในการแสดงความคิดเห็น และกําหนดทิศทางในการพัฒนาประเทศตั้งแต่เริ่มการจัดทําแผน

2 เป็นแผนแรกที่เน้นให้ “คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา” โดยถือว่าการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นเพียงเครื่องมือช่วยพัฒนาให้คนมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเท่านั้น

40 วิกฤติที่เกิดขึ้นในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 คือ

(1) ปัญหาในภาคการเงินและอสังหาริมทรัพย์

(2) ปัญหาหนี้สาธารณะและปัญหาการขาดดุลงบประมาณ

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจส่วนรวมอย่างรุนแรง ความพยายามในการแก้ไขปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะปานกลาง อย่างต่อเนื่อง ได้ส่งผลให้เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวอย่างช้า ๆ และมีเสถียรภาพในระดับหนึ่ง แต่ทั้งนี้ก็ยังมีปัญหาในภาคการเงินและอสังหาริมทรัพย์ ปัญหาหนี้สาธารณะและปัญหาการขาดดุลงบประมาณอยู่อย่างเดิม

41 การปรับปรุงระบบราชการแนวใหม่มุ่งให้ระบบราชการมีลักษณะอย่างไร

(1) ปรับปรุงโครงสร้างใหม่ให้เน้นการเป็นผู้ปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ

(2) เพิ่มจํานวนบุคลากรให้มากขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับบทบาทภารกิจใหม่

(3) ระบบราชการทํางานแยกส่วนกับภาคเอกชนโดยมุ่งแข่งขันกับภาคเอกชน

(4) ปรับระบบงบประมาณเป็นแบบมุ่งผลลัพธ์

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีแนวทางการปรับปรุงระบบราชการแนวใหม่ ดังนี้

1 ปรับบทบาท ภารกิจ และวิธีการบริหารงานของระบบราชการจากการเป็นผู้ปฏิบัติไปเป็นผู้กํากับดูแลและอํานวยความสะดวก

2 ปรับระบบงบประมาณเป็นแบบมุ่งผลลัพธ์

3 ปรับระบบบริหารบุคคลและลดจํานวนบุคลากรให้สอดคล้องกับการปรับบทบาทภารกิจใหม่

4 ปรับระบบราชการให้สามารถทํางานร่วมกับภาคเอกชนได้ ฯลฯ

4 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับใดที่ประเทศไทยสามารถลดอัตราการเพิ่มของประชากร ได้ผลตรงตามเป้าหมายที่กําหนดไว้ในแผน

(1) ฉบับที่ 4

(2) ฉบับที่ 5

(3) ฉบับที่ 6

(4) ฉบับที่ 7

(5) ฉบับที่ 8

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข 0-3301-2 หน้า 55 – 56) ผลการพัฒนาตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 มีดังนี้

1 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มสูงขึ้นกว่าเป้าหมายที่กําหนดไว้ คือ เพิ่มในอัตราร้อยละ 7.1 ต่อปี สูงกว่าเป้าหมายที่กําหนดไว้ร้อยละ 7.0 ต่อปี

2 การผลิตสาขาเกษตรและอุตสาหกรรมขยายตัวต่ำกว่าเป้าหมายที่กําหนดไว้

3 การลดอัตราการเพิ่มของประชากร เป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการเป็นครั้งแรก โดยอยู่ที่ร้อยละ 2.1 ต่อปี

4 การกระจายรายได้ยังทําได้ไม่เพียงพอและทั่วถึง โดยเฉพาะประชาชนในเขตชนบท ฯลฯ

43 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 ประสบความสําเร็จอย่างสูงในเรื่องใด

(1) การลดปัญหาสังคมเมืองและปัญหาอาชญากรรม

(2) การลดอัตราการเพิ่มของประชากร

(3) มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระดับสูงเกินความคาดหมาย

(4) ความสมดุลของการพัฒนา

(5) การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 82), (คําบรรยาย) การพัฒนาตลอดช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 เศรษฐกิจของประเทศได้ฟื้นตัวและขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 10.5 ต่อปี ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่กําหนดไว้ในแผนพัฒนาฯ ถึง 2 เท่าตัว นับเป็นอัตราการขยายตัวเฉลี่ยสูงสุด ของการพัฒนาเศรษฐกิจในช่วง 25 ปีของการพัฒนาที่ผ่านมา โดยที่โครงสร้างเศรษฐกิจไทย เปิดกว้างเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจนานาชาติมากขึ้น และโครงสร้างทางเศรษฐกิจเปลี่ยนจาก เศรษฐกิจการเกษตรสู่เศรษฐกิจอุตสาหกรรม นอกจากนี้ภาวะเศรษฐกิจของโลกเอื้ออํานวย ต่อเศรษฐกิจไทยด้วย

44 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 แตกต่างจากแผนพัฒนาฯ ฉบับอื่น ๆ คือ

(1) มีการประเมินความเสี่ยง

(2) ให้ประเทศไทยพัฒนาเป็นแหล่งอุตสาหกรรมของโลก

(3) ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวในภูมิภาค

(4) ให้ประเทศไทยพัฒนาเป็นศูนย์กลางทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของโลก

(5) ให้ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตอาหารสําคัญของโลก

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข 1-3301-2 หน้า 152 153), (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 รายได้ประเมินความเสี่ยงที่ประเทศไทยจะต้องเผชิญไว้ 6 ประการ ซึ่งถือเป็นรายละเอียดที่ทําให้ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 มีความแตกต่างจากแผนพัฒนาฯ ฉบับก่อน ๆ ดังนี้

1 การบริหารภาครัฐอ่อนแอ ไม่สามารถขับเคลื่อนการบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2 โครงสร้างทางเศรษฐกิจไม่สามารถรองรับการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน

3 โครงสร้างประชากรที่มีวัยสูงอายุเพิ่มขึ้น ขณะที่ประชากรวัยเด็กและวัยแรงงานลดลง

4 ค่านิยมที่ดีงามเสื่อมถอยและประเพณีดั้งเดิมถูกบิดเบือน

5 ฐานทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อมของประเทศมีแนวโน้มเสื่อมโทรมรุนแรง 6 มีความเสี่ยงด้านความมั่นคงเพราะเกิดปัญหาความไม่สงบภายในประเทศและปัญหาการก่อการร้าย

45 ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคได้แก่ข้อใด

(1) การสร้างความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

(2) การเสริมสร้างความร่วมมือที่ดีระหว่างประเทศในการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมีจริยธรรม

(3) การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับอนุภูมิภาค

(4) การป้องกันภัยจากภัยพิบัติ และการแพร่ระบาดของโรค

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข 0-3301-2 หน้า 161 – 163) ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาค ตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 มีดังนี้

1 การสร้างความพร้อมในการเข้าสู่ ประชาคมอาเซียน

2 การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับอนุภูมิภาค

3 การป้องกันภัยจากภัยพิบัติ และการแพร่ระบาดของโรค

4 การเสริมสร้างความร่วมมือที่ดีระหว่างประเทศในการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมีจริยธรรม ฯลฯ

46 ภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นของประเทศไทยที่จัดทําโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติเป็นอย่างไร

(1) ได้คะแนน 3.8 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ในปี 2548

(2) อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ

(3) มีอันดับเพิ่มสูงขึ้น

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 1 – 3

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 137) ดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นของประเทศไทยที่จัดทําโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ มีอันดับเพิ่มสูงขึ้นเป็น 3.8 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนนในปี 2548 ซึ่งยังอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ

47 “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” มีลักษณะอย่างไร

(1) สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติมีความยั่งยืน

(2) คนไทยมีคุณธรรมนําความรอบรู้ รู้เท่าทันโลก

(3) ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมสันติสุข

(4) เศรษฐกิจมีเสถียรภาพและเป็นธรรม

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 7 ประกอบ

48 การสร้างภูมิคุ้มกันของประเทศตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ที่สําคัญได้แก่

(1) ส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมเป็นฐานรายได้หลักของประเทศ

(2) ยึดมั่นในการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

(3) เร่งรัดให้มีการปฏิรูปการศึกษาทุกระดับ

(4) สนับสนุนให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวภายในประเทศ

(5) ยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชนบท

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข n-3301-2 หน้า 153) การสร้างภูมิคุ้มกันของประเทศไทยตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 มี 5 ประการ ดังนี้

1 ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

2 การพัฒนาประเทศให้อยู่บนฐานความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัย

3 สังคมไทยมีค่านิยมและวัฒนธรรมที่ดีงาม

4 ภาคการเกษตรเป็นฐานรายได้หลักและความมั่นคงด้านอาหารของประเทศ

5 ชุมชนท้องถิ่นเป็นกลไกที่มีความสามารถ ในการบริหารจัดการ มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเชื่อมโยงกันเป็นสังคมสวัสดิการ

49 ปัจจุบันประเทศไทยมุ่งเดินหน้าพัฒนาไปสู่ “ประเทศไทย 4.0” หมายความว่าอย่างไร

(1) การพัฒนาให้ครบทั้ง 4 ด้าน คือ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อม

(2) การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วภายในปี 2575

(3) การพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นผู้นําในกลุ่มประเทศอาเซียน

(4) การพัฒนาให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตอล

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) ประเทศไทย 4.0 คือ การพัฒนาให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตอลเป็นการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิตอลมาสร้างสรรค์หรือพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม ข้อมูล ทุนมนุษย์ ทรัพยากรอื่น ๆ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมของประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนอย่างแท้จริง

50 ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่สําคัญในอนาคต ได้แก่ข้อใด

(1) เทคโนโลยีการผลิตในอุตสาหกรรม

(2) เทคโนโลยีการเกษตร

(3) นาโนเทคโนโลยี

(4) เทคโนโลยีการศึกษา

(5) เทคโนโลยีสารสนเทศ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่สําคัญในอนาคต ได้แก่ นาโนเทคโนโลยี(Nanotechnology) เช่น นาโนเทคโนโลยีเชิงชีวภาพและนาโนเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Biological and Medical Nanotechnology) มีบทบาทเชื่อมโยงและสัมพันธ์กันอย่างมาก และยังเกี่ยวข้องโดยตรงกับความต้องการพื้นฐานของมนุษยชาติ เช่น การมีอายุยืนยาว ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บและรักษาโรค มีสิ่งแวดล้อมที่ดี รวมทั้งมีรูปร่างหน้าตาสวยงามตลอดเวลา

 

ตั้งแต่ข้อ 51. = 70. ให้พิจารณาคําตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้

(1) ข้อ 1 และข้อ 2

(2) ข้อ 1 ถูก ข้อ 2 ผิด

(3) ข้อ 1 ผิด ข้อ 2 ถูก

(4) ข้อ 1 และข้อ 2 ผิด

(5) ไม่สามารถตัดสินใจได้

 

51 (1) ทฤษฎีกลุ่ม อธิบายว่า สังคมแบ่งเป็นคนกลุ่มน้อยที่มีอํานาจและคนกลุ่มใหญ่ที่ไม่มีอํานาจ คนกลุ่มน้อยจะจัดสรรคุณค่าของสังคม

(2) ทฤษฎีผู้นํา สะท้อนให้เห็นค่านิยมของผู้นํา

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 84 – 85), (คําบรรยาย) ตัวแบบ/ทฤษฎีผู้นําหรือชนชั้นนํา (Elite Model/Theory) อธิบายว่า

1 สังคมถูกแบ่งเป็นคนกลุ่มน้อยที่มีอํานาจกับคนกลุ่มใหญ่ที่ไม่มีอํานาจ โดยผู้นําซึ่งเป็นคนกลุ่มน้อยในสังคม แต่มีอํานาจเป็นผู้จัดสรรคุณค่าของสังคมและกําหนดนโยบาย สาธารณะให้เป็นไปตามความต้องการหรือค่านิยมของตน ขณะที่ประชาชนหรือคนส่วนใหญ่ไม่ได้มีส่วนตัดสินใจในนโยบายสาธารณะด้วย

2 ผู้นําจะแสดงความสมานฉันท์กับค่านิยมพื้นฐานของระบบสังคมและพยายามสงวนรักษาระบบไว้

3 นโยบายสาธารณะไม่ได้สะท้อนถึงความต้องการของมวลชน แต่เป็นการสะท้อนให้เห็นค่านิยมของผู้นํามากกว่า

4 ผู้นํามีอิทธิพลต่อมวลชนมากกว่ามวลชนมีอิทธิพลต่อผู้นํา ฯลฯ

52 (1) สังคมถูกแบ่งเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีอํานาจกับกลุ่มใหญ่ที่ไม่มีอํานาจ คนกลุ่มน้อยเป็นผู้กําหนดนโยบายตามความต้องการหรือค่านิยมของตน คือ ทฤษฎีผู้นํา

(2) สถาบันของรัฐเป็นผู้กําหนดนโยบายสาธารณะ คือ ทฤษฎีผู้นํา

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 85), (คําบรรยาย) ตัวแบบ/ทฤษฎีสถาบันนิยม (6260 2 (Institutional Mode/Theory) อธิบายว่า นโยบายสาธารณะอยู่ในฐานะเป็นผลผลิตของสถาบันโดยที่สถาบันหรือหน่วยงานของรัฐจะเป็นผู้กําหนดนโยบายสาธารณะเนื่องจากมีความชอบธรรม มีความเป็นสากล มีการผูกขาดอํานาจบังคับ นั่นคือ เป็นการพยายามเชื่อมโยงโครงสร้างหน้าที่ของสถาบันรัฐบาลกับการกําหนดนโยบายสาธารณะเข้าด้วยกัน โดยชี้ให้เห็นว่า สถาบันรัฐบาล เป็นผู้กําหนดนโยบายสาธารณะเพราะเป็นอํานาจหน้าที่อันชอบธรรม ซึ่งทฤษฎีนี้จะสะท้อนให้เห็นว่านโยบายสาธารณะก็คือนโยบายของรัฐบาลนั่นเอง

53 (1) นโยบายสาธารณะเป็นผลผลิตที่ได้มาจากการเจรจาต่อรองเกี่ยวข้องกับทฤษฎีสถาบันนิยม

(2) สิ่งแวดล้อม เป็นตัวแปรที่สําคัญของทฤษฎีระบบ

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 85 – 86), (คําบรรยาย) ตัวแบบดุลยภาพระหว่างกลุ่มหรือทฤษฎีกลุ่ม (Group Equilibrium Model or Group Theory) อธิบายว่า นโยบายสาธารณะ เป็นผลผลิตของการต่อสู้ระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มผลประโยชน์กับนโยบายสาธารณะ โดยชี้ให้เห็นว่านโยบายสาธารณะเป็นผลผลิต ที่ได้มาจากการเจรจาต่อรอง การประนีประนอม และการถ่วงดุลผลประโยชน์ระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ส่วนตัวแบบ/ทฤษฎีระบบ (System Model/Theory) อธิบายว่า นโยบายสาธารณะเป็นผลผลิตของระบบ โดยเน้นการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่สําคัญ 5 ตัวแปร คือ

1 ปัจจัยนําเข้า (Inputs)

2 กระบวนการ (Process)

3 ปัจจัยนําออก/ผลผลิต (Outputs)

4 ข้อมูลป้อนกลับ/ผลสะท้อนกลับ (Feedback)

5 สิ่งแวดล้อม (Environment)

54 (1) ตัวแบบเหตุผลนิยมอยู่ในทฤษฎีการตัดสินใจ

(2) แนวคิดเชิงเศรษฐศาสตร์การเมืองเกี่ยวข้องกับการวางแผนที่เน้นเนื้อหา

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข 0 3301-1 หน้า 86, 88), (คําบรรยาย) ทฤษฎีการตัดสินใจ แบ่งออกเป็น 3 ตัวแบบ คือ

1 ตัวแบบเหตุผล นิยมหรือตัวแบบยึดหลักเหตุผล

2 ตัวแบบส่วนเพิ่ม

3 ตัวแบบผสมผสาน ส่วนทฤษฎีการวางแผนที่เน้นการควบคุม อธิบายว่า การวางแผนจะต้องมีการตรวจสอบอํานาจที่เข้าไปแทรกแซง ซึ่งสามารถจําแนกได้ 3 แนว คือ แนวคิดเชิงเศรษฐศาสตร์การเมือง แนวคิดเชิงมนุษยนิยม และแนวคิดเชิงปฏิบัตินิยม

55 (1) ความสมเหตุสมผลทางด้านปทัสถานเกี่ยวข้องกับการวางแผนที่เน้นการตัดสินใจ

(2) แนวคิดเชิงมนุษยนิยมเกี่ยวข้องกับการวางแผนที่เน้นการควบคุม

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข 1-3301-1 หน้า 37) ทฤษฎีการวางแผนที่เน้นการตัดสินใจ (Decision Centred Planning Theory) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 การตัดสินใจแบบสมเหตุสมผลด้านการทําหน้าที่ (Functional Rationalism) ได้พัฒนาไปเป็นทฤษฎีเชิงกรรมวิธีที่มงอธิบายกระบวนการและการวางแผนอย่างเป็นขั้นตอนซึ่งทฤษฎีนี้ต่อมาก็พัฒนาไปเป็นทฤษฎีการวางแผนที่เน้นการนํานโยบายไปปฏิบัติ

2 การตัดสินใจแบบสมเหตุสมผลด้านปทัสถาน (Normative Rationalism) ได้พัฒนาไปเป็นทฤษฎีการวางแผนสังคมและการวางแผนสนับสนุน (ดูคําอธิบายข้อ 54 ประกอบ)

56 (1) Montjoy & O’Toole สนใจคล้ายกับ Stuart S. Naget

(2) William Dunn สนใจในการวิเคราะห์นโยบาย

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 24, 33 – 72, 89 – 111), (คําบรรยาย) นักวิชาการที่ศึกษาเรื่องการวิเคราะห์นโยบาย (Policy Analysis) ได้แก่

1 เควด (E.S. Quade)

2 วิลเลียม เอ็น. ดันน์ (William N. Dunn)

3 สจ๊วตท์ เอส. นาเกล (Stuart S. Nagel)

4 โทมัส อาร์, ดาย (Tomas R. Dye)

5 เจมส์ อี. แอนเดอร์สัน (James E. Anderson) ฯลฯ

ส่วนนักวิชาการที่ศึกษาเรื่องการนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) ได้แก่

1 กรอส (Gross)

2 ไจแอคควินทา (Glacquinta)

3 เบิร์นสไตล์ (Bernstein)

4 กรีนวูด (Greenwood)

5 แมน (Mann)

6 แมคลัฟลิน (McLaughin)

7 เบอร์แมน (Berman)

8 เดล อี. ริชาร์ด (Dale E. Richards)

9 อีมิลี ไชมี โลวีไบรเซนไดน์ (Emily Chi-Mei Love Brizendine)

10 เพรสแมน (Pressman)

11 วิลดฟสกี (Widavsky)

12 มองจอย (Montioy)

13 โอทูเล (OToole)

14 โทมัส บี. สมิท (Thomas B. Smith) ฯลฯ

57 (1) ทัศนคติของผู้นํานโยบายไปปฏิบัติ มีส่วนต่อความสําเร็จของนโยบาย

(2) การประเมินนโยบายจําเป็นต้องใช้วิธีการหลายวิธีเพื่อให้ผลการประเมินถูกต้อง ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข 1-3301-1 หน้า 48 – 58, 73), (คําบรรยาย) ปัจจัยสําคัญที่จะทําให้การนํานโยบายไปปฏิบัติประสบความสําเร็จ มีดังนี้

1 ลักษณะของนโยบายที่สามารถเห็นผลได้อย่างชัดเจน

2 วัตถุประสงค์ของนโยบายที่ชัดเจน สอดคล้องกัน และสามารถรับรู้ได้ง่าย

3 ความเป็นไปได้ทางการเมืองหรือการได้รับการสนับสนุนทางการเมือง

4 ความเป็นไปได้ทางเทคโนโลยีหรือการมีเทคโนโลยีที่เหมาะสม

5 ทรัพยากรที่พอเพียง

6 ผู้นํานโยบายไปปฏิบัติมีทัศนคติที่ดีต่อตัวนโยบาย ฯลฯ ซึ่งหากไม่เป็นไปตามลักษณะ ปัจจัยดังกล่าวก็จะทําให้การนํานโยบายไปปฏิบัติประสบความล้มเหลว

ส่วนอีมิล เจ. โพซาวัค และเรย์มอนด์ จี. แครี (Emit J. Posavac & Raymond G. Carey) กล่าวว่า การประเมินผลนโยบายเป็นการใช้วิธีการหลายวิธีและทักษะหลาย ๆ ด้านเพื่อให้ผลการประเมิน ถูกต้อง และเพื่อตรวจสอบว่านโยบายนั้นจําเป็นและควรใช้หรือไม่ หรือจะดําเนินการต่อไปตามที่วางไว้ได้หรือไม่ และช่วยแก้ปัญหาตามที่มุ่งหวังไว้หรือไม่

58 (1) การประเมินผลในรูปแบบทดลอง จะต้องมีกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม

(2) การประเมินผลในรูปแบบกึ่งทดลอง เป็นวิธีการที่เชื่อถือได้และแม่นตรงที่สุด

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 76 – 78), (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบทดลอง หรือการประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง (Experimental Design) เป็นวิธีการที่มีความ เคร่งครัดในการดําเนินงานมากที่สุด และเป็นเครื่องมือในการแสวงหาข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ เชื่อถือได้และแม่นตรงมากที่สุดด้วย โดยมีลักษณะสําคัญดังนี้

1 มีการจัดกลุ่มขึ้นเพื่อทําการทดลอง โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง (Experimental Group) และกลุ่มควบคุม (Control Group)

2 มีการกําหนดเป้าหมายและหลักเกณฑ์ในการชี้วัดความสําเร็จ โดยการวัดนั้นจะวัดก่อนที่โครงการจะถูกนํามาใช้และวัดอีกครั้งหลังจากที่โครงการสิ้นสุดแล้ว

3 มีการเลือกกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง (Random Sampling) จากประชากรที่อยู่ในเป้าหมายของโครงการ และใช้วิธีการกระจายสุ่ม (Randomization) ของกลุ่มตัวอย่างในการจัดพื้นที่ทดลองและพื้นที่ควบคุม

59 (1) การจับคู่เป็นวิธีการสําคัญในการประเมินผลในรูปแบบทดลอง

(2) การวิเคราะห์ต้นทุน ผลประโยชน์เป็นรูปแบบหนึ่งของการประเมินผล

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 76, 79, 81) การประเมินผลด้วยวิธีกึ่งทดลองมีวิธีการที่สําคัญคือ การจับคู่ (Matching) ซึ่งเป็นการแสวงหาคู่ในระดับบุคคลในพื้นที่ที่มีลักษณะ เหมือนกัน ส่วนการประเมินผลกระทบแบบไม่ใช้วิธีการวิจัยมี 4 รูปแบบ คือ

1 การเปรียบเทียบโครงการหลาย ๆ โครงการ

2 การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลประโยชน์

3 การวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผล

4 การวิเคราะห์เชิงสหวิทยาการ

60 (1) ทฤษฎีผู้นํา อธิบายว่า นโยบายสาธารณะไม่ได้สะท้อนความต้องการของมวลชน

(2) ทฤษฎีกลุ่มจะสะท้อนความต้องการของมวลชน

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 51 และ 53 ประกอบ

61 (1) การนํานโยบายไปปฏิบัติที่มีประสิทธิผลต้องการความสามารถทางการบริหารสูง

(2) การนํานโยบายไปปฏิบัติจะเหมาะกับประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

ตอบ 13 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 18) การนํานโยบายไปปฏิบัติในประเทศต่าง ๆ อาจจะให้ผลแตกต่างกัน ดังนี้

1 การนํานโยบายไปปฏิบัติที่มีประสิทธิผลต้องการความสามารถทางการบริหารสูงจะกลายเป็นข้อจํากัดที่สําคัญของประเทศในโลกที่ 3 และในยุโรปบางประเทศ

2 การนํานโยบายไปปฏิบัติจะง่ายในประเทศที่มีขนาดกลางหรือขนาดเล็ก

3 การนํานโยบายไปปฏิบัติจะเหมาะสมกับประเทศที่ยึดถือการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

4 การนํานโยบายไปปฏิบัติจะง่ายในประเทศที่มีการปกครองแบบรวมศูนย์อํานาจ

5 การนํานโยบายไปปฏิบัติจะมีประสิทธิผลมากในประเทศที่รัฐบาลมีเสถียรภาพสูง

62 (1) Ira Sharkansky ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งนโยบายศาสตร์

(2) David Easton กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่รัฐบาลกระทํา

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 1 – 2, 15 – 16), (คําบรรยาย) ฮาโรลด์ ลาสเวลล์ (Harold Lasswell) ซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มที่เน้นการสร้างภาพรวมและได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งนโยบายศาสตร์” ได้ให้ความหมายนโยบายสาธารณะร่วมกับอับราแฮม แคปแพลน (Abraham Kaplan) ว่า “นโยบายสาธารณะ หมายถึง แผนหรือโครงการที่กําหนดขึ้น อันประกอบด้วยเป้าหมาย คุณค่า และแนวการปฏิบัติงานต่าง ๆ” ส่วนไอรา ซาร์แคนสกี้ ) (Ira Sharkansky) กล่าวว่า “นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่รัฐบาลกระทํา เช่น การบริการสาธารณะ การควบคุมกิจกรรมของบุคคลหรือธุรกิจของเอกชน เป็นต้น”

63 (1) การวางแผนที่มุ่งอธิบายกระบวนการอย่างเป็นขั้นตอนเกี่ยวข้องกับการวางแผนที่เน้นการมีส่วนร่วม

(2) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเกี่ยวข้องกับการวางแผนที่เน้นผลลัพธ์

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 87) ทฤษฎีการวางแผนที่เน้นเนื้อหาหรือทฤษฎีเชิงสาระเป็นทฤษฎีที่ให้ความสําคัญกับเนื้อหาสาระเฉพาะเรื่องที่จะนํามาวางแผนเป็นอย่างมาก โดยมุ่งอธิบายรายละเอียดของปัญหาและการแก้ปัญหาที่เจาะลึกในแต่ละเรื่อง แต่ไม่สนใจเรื่องวิธีการ เช่น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นต้น

64 (1) การนําศาสตร์ในหลาย ๆ สาขามาใช้ในการวิเคราะห์นโยบายเป็นแนวโน้มเกี่ยวกับเป้าหมายและคุณค่า

(2) การที่หน่วยงานนํานโยบายมาแปลงเป็นแผนงานและโครงการเป็นขั้นตอนการปรับปรุงแก้ไขนโยบาย

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 12 – 13, 25) แนวโน้มการวิเคราะห์นโยบายในอนาคต มี 3 แนวโน้มใหญ่ คือ

1 แนวโน้มเกี่ยวกับเป้าหมายและคุณค่า จะมุ่งเน้นการบรรลุเป้าหมายโดยหาทางเลือกที่ดีที่สุดที่ทําให้ประชาชนพอใจ และสนองต่อคุณค่าต่าง ๆ ของสังคม โดยการเน้นให้ประชาชน กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็น เพื่อให้นโยบายที่เกิดขึ้นสนองตอบต่อสังคมโดยส่วนรวมอย่างแท้จริง

2 แนวโน้มเกี่ยวกับแนวทางการดําเนินนโยบาย จะมุ่งเน้นการหาวิธีการที่ดีที่สุดที่เป็นไปได้ โดยการพิจารณามิติทางการเมืองและการบริหาร และมีการนําศาสตร์ในหลาย ๆ สาขาวิชามาใช้ในการวิเคราะห์นโยบายในลักษณะสหวิทยาการ

3 แนวโน้มเกี่ยวกับวิธีการ จะมุ่งเน้นการวิเคราะห์เชิงธุรกิจที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายและผลตอบแทน (Cost Benefit) รวมทั้งการคํานึงถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่จะเกิดขึ้นด้วย

ส่วนการที่หน่วยงานนํานโยบายมาแปลงเป็นแผนงานและโครงการ เป็นขั้นตอนการนํา นโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation)

65 (1) การจัดลําดับความสําคัญของปัญหาอยู่ในขั้นตอนอนุมัตินโยบาย

(2) การพิจารณาปัญหาหรือความต้องการของประชาชนอยู่ในขั้นตอนการนํานโยบายไปปฏิบัติ

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 11) ขั้นตอนการก่อตัวของนโยบาย (Policy Formation) Jut Us ประกอบด้วย

1 การพิจารณาปัญหาหรือความต้องการของประชาชน

2 การพิจารณา เวลาที่เกิดปัญหา

3 ปัญหาที่รัฐบาลสนใจ

4 การจัดลําดับความสําคัญของปัญหา

66 (1) แผนงาน เป็นตัวแปรที่ Cook & Scioli เสนอไว้ในตัวแบบของเขา

(2) การประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง เป็นรูปแบบที่แสวงหาข้อมูลเชิงประจักษ์ที่เชื่อถือได้และแม่นตรง

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข 1-3301-1 หน้า 81 82) คุกและซิโอลี (Cook & Scioli) สนใจศึกษาเรื่องผลกระทบของนโยบาย (Policy Impacts) โดยได้เสนอตัวแบบในการวิเคราะห์ผลกระทบของนโยบาย (A Policy Impacts Model) ซึ่งมีองค์ประกอบที่สําคัญ ดังนี้

1 นโยบาย

2 แผนงาน

3 วัตถุประสงค์

4 กิจกรรม

5 ผลกระทบ (ดูคําอธิบายข้อ 58 ประกอบ)

67 (1) Harold Lasswell ชี้ให้เห็นเหตุผลของการศึกษานโยบายไว้ 3 ประการ ได้แก่ เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ เหตุผลทางวิชาชีพ และเหตุผลทางการเมือง

(2) Theodore Lowi เสนอให้จําแนกนโยบายตามเนื้อหาสาระของนโยบาย ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 3. 14), (คําบรรยาย) โทมัส อาร์. ดาย (Thomas R. Dye) ได้ชี้ให้เห็นถึงเหตุผล ความสําคัญ) ของการศึกษาและการกําหนดนโยบายสาธารณะไว้ 3 ประการ คือ

1 เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Reasons) คือ การทําความเข้าใจเหตุและผลของการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบาย เพื่อให้ได้นโยบายที่มีเหตุผลมากที่สุด

2 เหตุผลทางวิชาชีพ (Professional Reasons) คือ การนําความรู้เชิงนโยบายไปใช้แก้ปัญหาทางด้านการปฏิบัติ โดยวิชาชีพที่แตกต่างกันจะทําให้การกําหนดนโยบายและการนํานโยบาย ไปปฏิบัติของแต่ละวิชาชีพมีความแตกต่างกัน

3 เหตุผลทางการเมือง (Political Reasons) คือ การดัดแปลงนโยบายที่ถูกต้องเหมาะสมทางการเมืองมาใช้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการเมือง โดยการใช้เหตุผลทางการเมืองมักจะทําให้การกําหนดนโยบายเป็นไปอย่างไม่มีเหตุผลแต่เป็นที่ยอมรับของประชาชน เช่น นโยบายประชานิยมต่าง ๆ เป็นต้น

ส่วนธีโอดอร์ โลวาย (Theodore Lowi) ได้เสนอให้จําแนกประเภทของนโยบายตามเนื้อหาสาระและวัตถุประสงค์ของนโยบายนั้น ๆ

68 (1) Thomas R. Dye กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมที่รัฐบาลกระทําเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม

(2) David Easton กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง การจัดสรรและแจกแจงคุณค่า โดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นไปเพื่อประโยชน์ของสังคม

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข ท-3301-1 หน้า 1) เจมส์ แอนเดอร์สัน (James Anderson) กล่าวว่า “นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมที่รัฐบาลกระทําเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเจตนา เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม เช่น ความยากจน การผูกขาด เป็นต้น”

ส่วนเดวิด อีสตัน (David Easton) กล่าวว่า “นโยบายสาธารณะ หมายถึง การจัดสรรและแจกแจงคุณค่า (Values) ต่าง ๆ ของสังคมโดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นไปเพื่อประโยชน์ของสังคมส่วนรวม”

69 (1) Harold Lasswell ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งนโยบายศาสตร์

(2) กรอสและคณะ เสนอ Catalytic Role Model

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 18 – 22, 36 – 41, 45 – 47) นักวิชาการต่างประเทศที่ศึกษาเกี่ยวกับการนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) มีดังนี้

1 กรอสและคณะ (GIOSs, Giacquinta & Bernstein) ศึกษานวัตกรรมทางการสอนแบบใหม่สําหรับครู โดยเน้นที่กระบวนการเรียนรู้มากกว่าเนื้อหาสาระของบทเรียน ซึ่งเรียกตัวแบบ การศึกษานี้ว่า “Catalytic Role Model”

2 กรีนวูดและคณะ (Greenwood, Mann & McLaughin) ศึกษาโครงการของรัฐบาลกลาง ในการให้การสนับสนุนเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา โดยเน้นศึกษาโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินของรัฐบาลในระดับท้องถิ่น

3 เบอร์แมนและแมคลัฟลิน (Berman & McLaughin) ศึกษาโครงการของรัฐบาลกลาง ในการให้การสนับสนุนเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา โดยเน้นศึกษาความต่อเนื่องของนโยบายนวัตกรรมหลังจากที่ความช่วยเหลือทางการเงินจากรัฐบาลกลางสิ้นสุดลง

4 อีมิลี ไซมี โลวี ไบรเซนไดน์ (Emily Chi-Mei Love Brizendine) ศึกษาการปฏิรูปโรงเรียนรัฐบาลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

5 เดล อี. ริชาร์ด (Dale E. Richards) ศึกษาการพัฒนาวิทยาลัยครูให้มาเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์

6 เพรสแมนและวิลดัฟสกี (Pressman & Wildavsky) ศึกษานโยบายการจ้างงานของชนกลุ่มน้อยที่เมืองโอคแลนด์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ภายใต้ชื่อ “Implementation” ฯลฯ (ดูคําอธิบายข้อ 62 ประกอบ)

70 (1) Ira Sharkansky กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่รัฐบาลกระทํา เช่น การบริการสาธารณะ

(2) Thomas R. Dye กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่รัฐบาลเลือกที่จะทําหรือไม่ทํา

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 1) โทมัส อาร์. ดาย (Thomas R. Dye) กล่าวว่า“นโยบายสาธารณะ หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทําหรือไม่กระทํา”  (ดูคําอธิบายข้อ 62 ประกอบ)

71 นักวิชาการคนใดมีความสนใจที่แตกต่างจากผู้อื่น

(1) Dale E. Richards

(2) Berman

(3) Stuart S. Nagel

(4) McLaughlin

(5) Greenwood

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 56 ประกอบ

72 ข้อใดไม่ถูกต้อง

(1) เดล อี. ริชาร์ด ศึกษาการพัฒนาวิทยาลัยครูให้มาเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์ เป็นได้

(2) GrOSS, Giacquinta & Bernstein ศึกษานวัตกรรมทางการสอนโดยเน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่าสาระ

(3) กรีนวูดและคณะ ศึกษาการพัฒนาวิทยาลัยครูให้มาเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์ (4) Pressman & Wildavsky ศึกษาการจ้างงานของชนกลุ่มน้อย

(5) Thomas R. Dye ชี้ให้เห็นเหตุผลของการศึกษานโยบายไว้ 3 ประการ ได้แก่ เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ เหตุผลทางวิชาชีพ และเหตุผลทางการเมือง

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 67 และ 69 ประกอบ

73 ข้อใดถูกต้อง

(1) สากล จริยวิทยานนท์ พบว่า การแสวงหาผลประโยชน์เป็นส่วนสําคัญในการกําหนดความสําเร็จหรือล้มเหลวของการนํานโยบายไปปฏิบัติ

(2) เจษฎา อุรพิพัฒนพงศ์ สนับสนุนการรวมสถาบันฝึกหัดครูเข้าเป็นสถาบันเดียวกัน

(3) อาคม ใจแก้ว ศึกษาเรื่องพฤติกรรมการเรียนภาษาไทยของชาวไทยมุสลิม

(4) ธงชัย สมครุฑ เปรียบเทียบตัวแบบการตัดสินใจของวิทยาลัยครูในประเทศไทย 6 แห่ง

(5) ปิยวดี ภูศรี ศึกษาบทบาทของสถาบันอุดมศึกษาส่วนภูมิภาคในการพัฒนาชนบท

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข n-2301-1 หน้า 43) อาคม ใจแก้ว ได้ศึกษาเรื่อง “การนํานโยบายไปปฏิบัติ และในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ : ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความสําเร็จ” โดยมุ่งศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความสําเร็จของการนํานโยบายไปปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เฉพาะนโยบายส่งเสริมการศึกษาของชาวไทยมุสลิม ซึ่งพบว่า ความสําเร็จของการนํานโยบาย รลบขอไปปฏิบัติแยกออกเป็น 3 มิติ คือ

1 ความสําเร็จเชิงทัศนคติของเยาวชนไทยมุสลิมภายหลังที่ได้เข้าร่วมโครงการ

2 ความสําเร็จเชิงพฤติกรรมการเรียนภาษาไทยของชาวไทยมุสลิม

3 ความสําเร็จเชิงพฤติกรรมการเรียนอิสลามศึกษา

74 ข้อใดไม่ถูกต้อง

(1) เจษฎา อุรพีพัฒนพงศ์ พบว่า การแสวงหาผลประโยชน์เป็นส่วนสําคัญในการกําหนดความสําเร็จหรือล้มเหลวของการนํานโยบายไปปฏิบัติ

(2) ธงชัย สมครุฑ พบว่า มีการสนับสนุนในการรวมสถาบันฝึกหัดครูเข้าเป็นสถาบันอันหนึ่งอันเดียวกัน

(3) เจษฎา อุรพีพัฒนพงศ์ ศึกษาเรื่องพฤติกรรมการเรียนภาษาไทยของชาวไทยมุสลิม

(4) ปิยวดี ภูศรี เปรียบเทียบตัวแบบการตัดสินใจของวิทยาลัยครูในประเทศไทย 6 แห่ง

(5) สากล จริยวิทยานนท์ ศึกษาบทบาทของสถาบันอุดมศึกษาส่วนภูมิภาคในการพัฒนาชนบท

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 42) เจษฎา อุรพีพัฒนพงศ์ ได้ศึกษาเรื่อง “การปฏิบัตินโยบายสําหรับจังหวัดชายแดนภาคใต้ : ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดนราธิวาส” โดยมุ่งวิเคราะห์ เฉพาะด้านการปฏิบัตินโยบายเพียงด้านเดียวเท่านั้น ซึ่งพบว่า การแสวงหาผลประโยชน์ มีส่วนสําคัญต่อผลการนํานโยบายไปปฏิบัติ เพราะเป็นปัจจัยที่ใช้กําหนดความสําเร็จหรือความล้มเหลวของการนํานโยบายไปปฏิบัติ (ดูคําอธิบายข้อ 73 ประกอบ)

75 Policy Science หมายถึงอะไร

(1) ความรู้ในเรื่องของนโยบาย

(2) ความรู้ในการกําหนดนโยบาย

(3) ความรู้ในการนํานโยบายไปปฏิบัติ

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ถูกทุกข้อ 3

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 16 – 17) นโยบายศาสตร์ (Policy Science) หมายถึง การให้ความรู้ในเรื่องของนโยบาย (Policy-Issue Knowledge) และความรู้ในการกําหนดนโยบายของรัฐ (Policy-Making Knowledge)

 

ตั้งแต่ข้อ 76 – 80 ให้พิจารณาคําตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้

(1) Economic Policy

(2) Education Policy

(3) Social Policy

(4) Administrative Policy

(5) Politic & Defence Policy

 

76 การตัดถนนแยกเลนไปให้ทั่วถึงทุกจังหวัด เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด

ตอบ ไม่มีข้อใดถูก (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 3), (คําบรรยาย) นโยบายการกระจายบริการของรัฐ (Distributive Policy) เป็นนโยบายที่รัฐบาลต้องจัดบริการพื้นฐานให้ประชาชนทุกคนได้ใช้ หรือเพื่อให้ประชาชนทั่วไปโดยส่วนรวมมีโอกาสได้รับบริการสาธารณะที่เป็นของรัฐบาลอย่างทั่วถึงและพอเพียง เช่น นโยบายการมีถนนแยกเลนไปสู่ทุกจังหวัด นโยบายการลดราคาน้ำมันเบนซิน, โครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน, การขยายช่องทางจราจรหรือการสร้างถนน, การจัดให้มีบัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรค, การจัดให้มีไฟฟ้าและน้ำประปาใช้ทุกหมู่บ้าน เป็นต้น

77 โครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด

ตอบ ไม่มีข้อใดถูก (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 3), (คําบรรยาย) นโยบายเพื่อการจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสมหรือการจัดสรรทรัพยากรเสียใหม่ (Re-Distributive Policy) เป็นนโยบาย ที่กําหนดขึ้นเพื่อประชาชนบางอาชีพ ผู้ประกอบการบางสาขาการผลิต พื้นที่บางพื้นที่ตาม ความจําเป็น เช่น การออกบัตรประกันสังคม, การออกบัตรสุขภาพ, นโยบายการแก้ปัญหา ชายแดนภาคใต้, นโยบายการจํานําข้าว, นโยบายเพิ่มค่าแรง 300 บาทต่อวัน, โครงการช่วยเหลือ ชาวสลัม, โครงการสงเคราะห์คนชรา, โครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ, โครงการอาหารกลางวัน แก่เด็กยากจน, กองทุนพัฒนาสตรี เป็นต้น หรือเป็นนโยบายที่ดึงเอาทรัพยากรจากประชาชน กลุ่มหนึ่งมาจัดสรรใหม่ให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนอีกกลุ่มหนึ่งที่ด้อยโอกาส เช่น นโยบายภาษี (เช่น นโยบายการเก็บภาษีอัตราก้าวหน้า), นโยบายการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกร เป็นต้น

78 โครงการ “เมาไม่ขับ” เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด

ตอบ ไม่มีข้อใดถูก (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 3), (คําบรรยาย) นโยบายที่เป็นกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับ (Regulative Policy) เป็นนโยบายที่หน่วยงานของรัฐหรือรัฐบาลกําหนดขึ้นเพื่อให้ทุกคนต้องปฏิบัติตาม ถ้าใครไม่ปฏิบัติตามถือว่าผิดกฎหมายต้องถูกลงโทษ หรือเป็นกติกาในการอยู่ร่วมกันของสมาชิกในสังคมอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม เช่น กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายจราจร (เช่น โครงการเมาไม่ขับ, การขับรถยนต์ต้องมีใบขับขี่) นโยบายจัดระเบียบสังคม เป็นต้น

79 นโยบายการปฏิรูประบบราชการเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายใด

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 4), (คําบรรยาย) นโยบายทางการบริหาร (Administrative Policy) เป็นนโยบายรองที่กําหนดขึ้นตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงานหรือองค์การนั้น ๆ เช่น นโยบายธรรมาภิบาล นโยบายการปฏิรูประบบราชการ นโยบายเร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง นโยบายการบริหารงานบุคคล นโยบายการบริหารงานคลัง โครงการประเทศไทยใสสะอาด เป็นต้น

80 การช่วยชาวเขาให้มีอาชีพ เกี่ยวข้องกับนโยบายใด

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 4), (คําบรรยาย) นโยบายทางด้านสังคม (Social Policy) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความมั่นคงให้แก่สังคม เช่น การประชาสงเคราะห์ (เช่น การช่วยเหลือชาวเขา คนชรา หรือผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก) การประกันสังคม การรักษาโรคภัยไข้เจ็บ โดยกําหนดให้มีโรงพยาบาล สถานีอนามัย และสุขศาลาในทุกอําเภอ การพัฒนาขีดความสามารถของอาสาสมัครสาธารณสุขทุกคนให้เป็นนักจัดการสุขภาพชุมชน เป็นต้น

81 ข้อใดไม่ใช่กระบวนการที่ Stuart S. Nagel เสนอไว้ในแนวคิดในการประเมินนโยบายของเขา

(1) การกําหนดเป้าหมายเพื่อบรรลุผล

(2) การกําหนดแผนงาน

(3) การกําหนดคน สถานที่ อุปกรณ์

(4) การวิเคราะห์ผลตอบแทนสูงสุด

(5) การกําหนดความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายกับนโยบาย

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 82) สจ๊วตท์ เอส. นาเกล (Stuart S. Nagel) ได้เสนอแนวคิดในการวิเคราะห์ข้อมูลแบบง่ายสําหรับการวิเคราะห์หรือการประเมินนโยบาย ซึ่งมีหลักการ หรือกระบวนการที่สําคัญ 5 ขั้นตอน ดังนี้

1 กําหนดเป้าหมายเพื่อการบรรลุผล หรือการให้ผลประโยชน์ตอบแทนสูงสุด

2 กําหนดเป้าหมายสัมพันธ์

3 กําหนดคน สถานที่ หรือวัสดุอุปกรณ์ให้สอดคล้องกับนโยบายนั้น ๆ

4 กําหนดความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายกับนโยบาย

5 ปรับความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายกับนโยบาย

82 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของนโยบาย

(1) ต้องมีแผนงานรองรับ

(2) ต้องคํานึงถึงเงื่อนไขด้านเวลาและสถานที่

(3) ต้องกําหนดคน สถานที่ อุปกรณ์

(4) ต้องเป็นข้อความที่เข้าใจง่าย

(5) ต้องเป็นเครื่องมือหรือกําหนดบรรทัดฐานในการทํางาน

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 2) ลักษณะของนโยบายสาธารณะ มีดังนี้

1 ต้องมีวัตถุประสงค์ชัดเจน เพื่อประโยชน์แก่สังคมและส่วนรวม

2 ต้องมีแผนงานรองรับ เพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้

3 ต้องคํานึงถึงเงื่อนไขด้านเวลาและสถานที่

4 ต้องเป็นข้อความที่เข้าใจง่าย เป็นลายลักษณ์อักษรและประกาศใช้อย่างเป็นทางการ

5 ต้องเป็นเครื่องมือในการกําหนดแนวทางและบรรทัดฐานในการทํางาน

83 ข้อใดไม่ใช่ความสําคัญในการศึกษานโยบาย

(1) นําความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาทางปฏิบัติ

(2) การเข้าใจเหตุผลของการตัดสินใจ

(3) การดัดแปลงนโยบายที่ถูกต้องเหมาะสมให้บรรลุเป้าหมาย

(4) สร้างความเข้าใจให้กับประชาชนทั่วไป

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 67 ประกอบ

84 ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของนโยบาย

(1) วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

(2) แนวทางในการบรรลุผล

(3) ขั้นตอนหรือแผนงาน

(4) ทุนที่ใช้ในการดําเนินการ

(5) เป็นองค์ประกอบของนโยบายทุกข้อ

ตอบ 4 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 6 – 7) องค์ประกอบของนโยบายสาธารณะ มีดังนี้

1 วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่ชัดเจน

2 ลําดับขั้นตอนหรือแผนงานในการปฏิบัติ

3 แนวทางหรือหลักการในการบรรลุผลสําเร็จ

4 การกําหนดการกระทําต่าง ๆ และมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ฯลฯ

85 องค์ประกอบของนโยบายตามแนวคิดของเควด (Quade) มีอะไรบ้าง

(1) วัตถุประสงค์ ทางเลือก ผลกระทบ มาตรฐาน และค่านิยม

(2) วัตถุประสงค์ ทางเลือก กระบวนการ มาตรฐาน และค่านิยม

(3) วัตถุประสงค์ ทางเลือก ผลกระทบ มาตรฐาน และตัวแบบ

(4) วัตถุประสงค์ กระบวนการ ผลกระทบ มาตรฐาน และค่านิยม

(5) วัตถุประสงค์ กระบวนการ ผลกระทบ มาตรฐาน และตัวแบบ

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 25) องค์ประกอบของการวิเคราะห์นโยบายตามแนวคิด ของเควด (E.S. Quacle) มีดังนี้

1 วัตถุประสงค์ (The Objective)

2 ทางเลือก (The Alternative)

3 ผลกระทบ (The Impact)

4 มาตรฐานหรือบรรทัดฐาน (The Criteria)

5 ตัวแบบ (The Models)

86 ข้อใดถูกต้อง

(1) Scientific Reasons : การนําไปใช้ในการแก้ปัญหาทางปฏิบัติ

(2) Professional Reasons : การเข้าใจเหตุผลของการตัดสินใจ

(3) Political Reasons : การดัดแปลงนโยบายที่ถูกต้องเหมาะสมให้บรรลุเป้าหมาย

(4) Policy Effects : ปัจจัยนําเข้าของนโยบาย เช่น ทรัพยากร

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 67 ประกอบ

87 การนําศาสตร์ในหลาย ๆ สาขามาใช้ในการวิเคราะห์นโยบาย เป็นแนวโน้มในเรื่องใด

(1) แนวโน้มเกี่ยวกับเป้าหมายและคุณค่า

(2) แนวโน้มเกี่ยวกับวิธีการ

(3) แนวโน้มเกี่ยวกับแนวทางการดําเนินนโยบาย

(4) แนวโน้มเกี่ยวกับรูปแบบ

(5) แนวโน้มเกี่ยวกับการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายและผลตอบแทน

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 64 ประกอบ

88 ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกัน

(1) Elite Theory : การศึกษาในแง่ตัวแบบหรือทฤษฎี

(2) Group Theory : การหาสาเหตุและผลของนโยบาย

(3) Policy Process : ศึกษากระบวนการต่าง ๆ ในการกําหนดนโยบาย

(4) Policy Area Study : ศึกษาข้อปลีกย่อยในแต่ละแง่มุมของนโยบาย

(5) Descriptive Study : เป็นการพรรณนาสิ่งที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย

ตอบ 2 (เอกสารหมายเลข 1-3301-1 หน้า 4 – 5) แนวทางการศึกษานโยบายสาธารณะ แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ

1 การศึกษาในแง่ตัวแบบหรือทฤษฎี (Theory or Model of Study) เป็นการศึกษาตามแนวทางที่มุ่งคิดค้นและสร้างเป็นตัวแบบหรือทฤษฎีของวิธีการศึกษานโยบายของรัฐ แล้วนําเอาตัวแบบหรือทฤษฎีนั้น ๆ ไปใช้ในการศึกษาต่อไป เช่น ทฤษฎีผู้นํา (Elite Theory), ทฤษฎีกลุ่ม (Group Theory), ทฤษฎีระบบ (System Theory) เป็นต้น

2 การศึกษาในแง่ขอบเขตของนโยบาย (Policy Area Study) เป็นการศึกษาข้อปลีกย่อยของนโยบายแต่ละอย่างแต่ละแง่มุม โดยหาสาเหตุและเหตุผลของแต่ละประเด็นนําเอามาศึกษาและเปรียบเทียบกันดูโดยละเอียด

3 การศึกษาในแง่กระบวนการของนโยบาย (Policy Process Study) เป็นการศึกษากระบวนการต่าง ๆ ของนโยบาย ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการกําหนดนโยบาย กระบวนการพัฒนา กระบวนการ จัดตั้งองค์การ หรืออื่นใดก็ตาม

89 การเน้นให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็นเพื่อให้นโยบายที่เกิดขึ้นสนองตอบต่อสังคมโดยส่วนรวมอย่างแท้จริง เป็นแนวโน้มเกี่ยวกับเรื่องใด

(1) มาตรฐาน

(2) เป้าหมายและคุณค่า

(3) การดําเนินนโยบาย

(4) วิธีการ

(5) การสร้างตัวแบบหรือทฤษฎี

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 64 ประกอบ

90 การแปลงนโยบายเป็นแผนงานเกี่ยวข้องกับเรื่องใด

(1) Policy Outputs

(2) Policy Formulation

(3) Policy Implementation

(4) Policy Process

(5) Policy Impacts

ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข n-3301-1 หน้า 12 – 13), (คําบรรยาย) ขั้นตอนการนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) เป็นขั้นตอนที่แสดงให้เห็นถึงการนําทรัพยากรต่าง ๆ ไปจัดสรร เพื่อก่อให้เกิดผลตามนโยบาย ซึ่งประกอบด้วย

1 การส่งต่อนโยบาย (Policy Delivery)

2 การตีความหรือแปลงนโยบายออกมาเป็นแผนงานและโครงการ

3 การชี้แจงเกี่ยวกับนโยบาย

4 การดําเนินงานของหน่วยงานระดับปฏิบัติ (Street-Level Bureaucracy) 5 การจัดระบบสนับสนุน ได้แก่ ข้อมูลข่าวสาร การมอบหมายอํานาจหน้าที่ และการติดต่อสื่อสาร

6 การติดตามและควบคุมผลการปฏิบัติงาน

91 ข้อใดไม่ใช่การวิจัยประเมินผล

(1) การวิเคราะห์เชิงสหวิทยาการ

(2) การประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง

(3) การประเมินผลด้วยวิธีกึ่งทดลอง

(4) การประเมินผลด้วยวิธีเตรียมทดลอง

(5) เป็นการวิจัยประเมินผลทุกข้อ

ตอบ 1 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 76) การวิจัยประเมินผลมีวิธีการที่สําคัญ 3 รูปแบบ คือ

1 การประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง (Experimental Design)

2 การประเมินผลด้วยวิธีกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Design)

3 การประเมินผลด้วยวิธีเตรียมทดลอง (Pre-Experimental Design)

92 รูปแบบใดเป็นการแสวงหาข้อมูลเชิงประจักษ์ที่เชื่อถือได้และแม่นตรงมากที่สุด

(1) การวิเคราะห์เชิงสหวิทยาการ

(2) การประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง

(3) การประเมินผลด้วยวิธีกึ่งทดลอง

(4) การประเมินผลด้วยวิธีเตรียมทดลอง

(5) การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลประโยชน์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 58 ประกอบ

93 การกระจายสุ่ม (Randomization) ของกลุ่มตัวอย่างในการจัดพื้นที่ทดลองและพื้นที่ควบคุมเป็นสิ่งสําคัญ อยู่ในรูปแบบใด

(1) การวิเคราะห์เชิงสหวิทยาการ

(2) การประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง

(3) การประเมินผลด้วยวิธีกึ่งทดลอง

(4) การประเมินผลด้วยวิธีเตรียมทดลอง

(5) การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลประโยชน์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 58 ประกอบ

94 ข้อใดไม่ใช่การประเมินด้วยวิธีวิจัย

(1) การวิเคราะห์เชิงสหวิทยาการ

(2) การประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง

(3) การประเมินผลด้วยวิธีกึ่งทดลอง

(4) การประเมินผลด้วยวิธีเตรียมทดลอง

(5) เป็นการประเมินด้วยวิธีวิจัยทุกข้อ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 91 ประกอบ

95 ความสมเหตุสมผลทางด้านปทัสถานเกี่ยวข้องกับการวางแผนในเรื่องใด

(1) การวางแผนที่เน้นเนื้อหา

(2) การวางแผนที่เน้นการตัดสินใจ

(3) การวางแผนที่เน้นการควบคุม

(4) การวางแผนที่เน้นการมีส่วนร่วม

(5) การวางแผนที่เน้นผลลัพธ์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 55 ประกอบ

 

ตั้งแต่ข้อ 96 – 100 ให้พิจารณาคําตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้

(1) การก่อตัวของนโยบาย

(2) การนํานโยบายไปปฏิบัติ

(3) การเตรียมและเสนอนโยบาย

(4) การอนุมัติและประกาศนโยบาย

(5) การประเมินผลนโยบาย

96 การที่หน่วยงานนํานโยบายมาแปลงเป็นแผนงานและโครงการเป็นขั้นตอนใด

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 64 และ 90 ประกอบ

97 การพิจารณาปัญหาหรือความต้องการของประชาชนอยู่ในขั้นตอนใด

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 65 ประกอบ

98 การจัดลําดับความสําคัญของปัญหาอยู่ในขั้นตอนใด

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 65 ประกอบ

99 การจัดระบบสนับสนุน ได้แก่ ข้อมูลข่าวสาร การมอบหมายอํานาจหน้าที่อยู่ในขั้นตอนใด

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 90 ประกอบ

100 การกําหนดเกณฑ์ในการวัดอยู่ในขั้นตอนใด

ตอบ 5 (เอกสารหมายเลข 0-3301-1 หน้า 13) ขั้นตอนการประเมินผลนโยบาย (Policy Evaluation) ประกอบด้วย

1 การกําหนดวัตถุประสงค์ของการประเมิน

2 การกําหนดเกณฑ์วัดและวิธีการตรวจสอบสิ่งที่ต้องการประเมิน

3 การกําหนดวิธีการรวบรวมข้อมูลและวิธีการรายงาน

4 การนําผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง

POL2104 พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ S/2561

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2104 พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 ข้าราชการท่านใดใช้นามแฝงในขบวนการเสรีไทยเขียนจดหมายถึงผู้ใหญ่ทํานุ เกียรติก้อง เพื่อเรียกร้อง รัฐธรรมนูญ

(1) น.พ.ประเวศ วะสี

(2) ม.ร.ว.ปรีดียาธร เทวกุล

(3) นายจํากัด พลางกูร

(4) นายป่วย อึ้งภากรณ์

(5) นายสมชัย ศรีสุทธิยากร

ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) ก่อนเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 นั้น นายป่วย อึ้งภากรณ์ ได้ใช้นามแฝงสมัยเป็นเสรีไทยว่า เข้ม เย็นยิ่ง เขียนจดหมายจากประเทศอังกฤษถึงผู้ใหญ่ทํานุ เกียรติก้อง ซึ่งหมายถึงจอมพลถนอม กิตติขจร เพื่อเรียกร้องให้จอมพลถนอมซึ่งยึดอํานาจการปกครองอยู่ในขณะนั้นคืนรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชนโดยเร็ว 2 กรณี 14 ตุลาคม 2516 ส่งผลให้นายกรัฐมนตรีท่านใดต้องลาออก

(1) นายสัญญา ธรรมศักดิ์

(2) พลเอกกฤษณ์ สีวะรา

(3) พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์

(4) จอมพลประภาส จารุเสถียร

(5) จอมพลถนอม กิตติขจร

ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) เหตุการณ์ในวันที่ 14 ตุลาคม 2516 นั้นถูกเรียกว่า “วันมหาวิปโยค” หรือ“วันมหาประชานิติ” เป็นเหตุการณ์ที่นักศึกษาและประชาชนในประเทศไทยมากกว่า 5 แสนคน ได้รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญจากรัฐบาลเผด็จการของจอมพลถนอม กิตติขจร จนทําให้ มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจํานวนมาก โดยเหตุการณ์นี้ทําให้เกิดแรงกดดันจากพลังทางการเมืองหลายฝ่ายจนทําให้จอมพลถนอม กิตติขจร ต้องลาออกจากตําแหน่งนายกรัฐมนตรี

3 รัฐธรรมนูญฉบับใดถูกขนานนามว่าเป็นประชาธิปไตยครึ่งใบ

(1) 2515

(2) 2517

(3) 2519

(4) 2520

(5) 2521

ตอบ 5 (คําบรรยาย) พ.อ.ประจักษ์ สว่างจิตร (นายทหารยังเตอร์ก) เป็นผู้ที่ขนานนามรัฐธรรมนูญฯ2521 ว่าเป็น “ประชาธิปไตยครึ่งใบ” ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงของรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เนื่องจากได้ให้อํานาจมากแก่วุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้ง อีกทั้งยังไม่ได้แยกข้าราชการประจํา ออกจากข้าราชการการเมือง ทําให้ข้าราชการประจําเป็นวุฒิสมาชิกได้ ซึ่งพบว่ามีลักษณะเป็นการประนีประนอมทางอํานาจระหว่างฝ่ายการเมืองกับฝ่ายข้าราชการประจํา

4 รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวถูกขนานนามว่าเป็นประชาธิปไตยครึ่งใบ เนื่องจาก

(1) วุฒิสภามาจากการเลือกตั้ง

(2) วุฒิสภามาจากการแต่งตั้ง

(3) ข้าราชการประจําเป็นวุฒิสมาชิกได้

(4) วุฒิสมาชิกเป็นนายกรัฐมนตรีได้

(5) ข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 3 ประกอบ

5 ผู้ที่ขนานนามว่ารัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวเป็นประชาธิปไตยครึ่งใบ คือ

(1) นายสัญญา ธรรมศักดิ์

(2) พ.อ.ประจักษ์ สว่างจิตร

(3) นายธงทอง จันทรางศุ

(4) นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ

(5) นายชัยอนันต์ สมุทวณิช

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 3 ประกอบ

6 การปรับสัดส่วน ส.ส. เขตและบัญชีรายชื่อตามที่ปรากฏในการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น คาดว่าจะส่งผลให้

(1) พรรคการเมืองขนาดเล็กเข้มเเข็ง

(2) พรรคการเมืองใหญ่ได้มี ส.ส. สัดส่วนมากขึ้น

(3) พรรคการเมืองขนาดเล็กมีอํานาจต่อรอง

(4) พรรคการเมืองที่มีฐานคนชั้นกลางอาจจะได้เปรียบ

(5) พรรคการเมืองที่มีฐานคนชั้นกลางมีคะแนนเสียงลดลง

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การปรับสัดส่วน ส.ส. เขตและบัญชีรายชื่อตามที่ปรากฏในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเมื่อปี พ.ศ. 2554 นั้น คาดว่าจะส่งผลให้พรรคการเมืองขนาดใหญ่ได้มี ส.ส. สัดส่วนมากขึ้น ส่วนพรรคการเมืองขนาดกลางและขนาดเล็กจะได้ ส.ส. น้อยลง รวมทั้งจะทําให้เกิดปัญหา ยุ่งยากในการกําหนดตัวผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง ส.ส. ด้วย เนื่องจากจะต้องมีการจัดเขตเลือกตั้งใหม่ตามจํานวน ส.ส. ที่ลดลง

7 ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ เสนอ คําอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยปัจจุบันว่าเป็น

(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์

(2) ระบอบอํามาตยาธิปไตย

(3) วงจรอุบาทว์

(4) สองนคราประชาธิปไตย

(5) สังคมโครงสร้างหลวม

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ได้เสนอแนวคิดเรื่อง “สองนคราบระชาธิปไตย”เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่า ชาวไร่ชาวนาหรือคนจนในชนบทมักเป็นฐานเสียง และผู้ตั้งรัฐบาล แต่ไม่สามารถกําหนดความอยู่รอดและการสิ้นสุดของรัฐบาลได้ ส่วนคนชั้นกลาง หรือคนในเขตเมือง มักเป็นฐานนโยบายและเป็นผู้ล้มรัฐบาล แต่ไม่สามารถตั้งรัฐบาลใหม่ที่มี ผู้นําและนโยบายอย่างที่ตนต้องการได้ ภาวะดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะความขัดแย้งทางความคิดความต้องการ และพกาติกรรมในการเลือกตัวแทนของคนในชนบทกับคนในเขตเมือง

8 กลุ่มผลประโยชน์ประเภทของกลุ่มอุดมการณ์ที่มีจํากัดชนชั้น ภาษา ได้แก่กลุ่ม

(1) อุดมการณ์

(2) อาร์พ

(3) อาสาสมัคร

(4) มาตุภูมิ

(5) ผลักดัน

ตอบ 1 หน้า 240, (คําบรรยาย) กลุ่มผลประโยชน์ในทางอุดมการณ์ คือ กลุ่มที่มีเป้าหมายโดยไม่ได้เน้นเฉพาะที่จะรักษาผลประโยชน์ของกลุ่มเท่านั้น แต่ยังมุ่งรักษาผลประโยชน์ให้แก่ทุกคน ทุกชนชั้น ทุกชาติ ทุกภาษา ทุกเพศ และทุกวัยอีกด้วย ตัวอย่างเช่น กลุ่มกรีนพีซที่ต่อต้าน การทดลองนิวเคลียร์และการล่าวาฬในมหาสมุทร กลุ่มต่อต้านความรุนแรง กลุ่มทางวัฒนธรรมประเพณี กลุ่มส่งเสริมในเรื่องนานาชาตินิยม (Internationalism) เป็นต้น

9 ไลออนส์สากล โรตารี ปอเต็กตึ๊ง ฮากกา จัดอยู่ในประเภทกลุ่มผลประโยชน์ด้าน

(1) อุดมการณ์

(2) อาชีพ

(3) อาสาสมัคร

(4) มาตุภูมิ

(5) ผลักดัน

ตอบ 3 หน้า 315 – 316 กลุ่มอุดมการณ์ เป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่ก่อตั้งขึ้นโดยกลุ่มคนที่ต่างอาชีพต่างวัย ต่างความรู้ แค่มีเป้าหมายทางอุดมการณ์เหมือนกัน ร่วมกันก่อตั้งกลุ่มเพื่อทํางาน ให้แก่ชุมชน สังคม หรือประเทศชาติ ซึ่งได้แก่

1 กลุ่มอาสาสมัคร เช่น สโมสรไลออนส์สากล (ไลออนส์นานาชาติ) สโมสรโรตารีสากลสมาคมฮากกา (สมาคมหัวเฉียว) มูลนิธิปอเต็กตึ๊ง ยุวสมาคม เจ.ซี.) ชมรมค่ายอาสา ฯลฯ

2 กลุ่มสมาคมทางการเมือง เช่น กลุ่มนวพล กลุ่มลูกเสือชาวบ้าน ฯลฯ

3 กลุ่มศาสนา เช่น พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย ฯลฯ

4 กลุ่มปกป้องคุ้มครอง เขน ขบวนการเสรีไทย ขบวนการจีนโพ้นทะเล กลุ่มอนุรักษ์

เกาะรัตนโกสินทร์ ฯลฯ

10 ระดับของการใช้อิทธิพลบีบบังคับ ของกลุ่มผลประโยชน์ หรือกลุ่มอิทธิพลจะกระทําในระดับ

(1) กระทรวง

(2) รากหญ้า

(3) ประธานหอการค้า

(4) กรม

(5) ทุกระดับ

ตอบ 5 หน้า 277, (คําบรรยาย) วิธีการบีบบังคับของกลุ่มผลประโยชน์นั้นสามารถกระทําได้ในระดับต่าง ๆ กัน เช่น การบีบบังคับโดยตรงต่อหน่วยงานของรัฐ (กระทรวง กรม) ต่อรัฐบาล หรือคณะรัฐมนตรี (นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี) ต่อรัฐสภา (ประธานรัฐสภาและสมาชิกรัฐสภา) ต่อเจ้าหน้าที่ชั้นสูงของรัฐ (ปลัดกระทรวง อธิบดีกรม ประธานหอการค้า) ต่อประชาชนหรือคนรากหญ้า เพื่อสร้างความกดดันให้แก่ผู้บริหารของรัฐ

11 ในยุคที่พรรคนาซีมีอํานาจได้อาศัยข้ออ้างใดในการมีระบบพรรคเดียว

(1) เพื่อความเป็นเอกราชและความมั่นคงของชาติ

(2) ประเทศมีชนชั้นเดียว ต้องมีพรรคเดียว

(3) เพื่อพัฒนาสู่ความเป็นประชาธิปไตย

(4) เพื่อให้คนดีได้ปกครองบ้านเมืองโดยไม่มีคู่แข่ง

(5) เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและความรวดเร็วในการปกครอง

ตอบ 5 หน้า 136 ในยุคที่พรรคนาซีมีอํานาจได้ให้เหตุผลในการมีระบบพรรคเดียวว่า เยอรมันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแยกไม่ได้ พรรคก็ต้องมีพรรคเดียว เพราะการมีหลายพรรคจะเป็นการแบ่งแยกความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และประเทศไม่เจริญก้าวหน้าได้รวดเร็วเท่าที่ควร

12 ในทัศนะของนักปรัชญาการเมือง คนใดที่ไม่เห็นด้วยกับการมีพรรคการเมือง เพราะเป็นการทําลายสภาผู้แทนราษฎรและรัฐบาลที่เสรี

(1) โทมัส ฮอบส์

(2) คาร์ล มาร์กซ์

(3) เอ็ดมันด์ เบอร์ก

(4) แม็กซ์ เวเบอร์

(5) รุสโซ

ตอบ 3 หน้า 33 เอ็ดมันด์ เบอร์ก (Edmund Burke) เป็นนักปรัชญาการเมืองชาวอังกฤษที่ไม่เห็นด้วยกับการมีพรรคการเมือง โดยเห็นว่า การแบ่งกันเป็นพรรคการเมืองเป็นการทําลายสภาสามัญ(สภาผู้แทนราษฎร) และรัฐบาลที่เสรี

13 พรรคการเมืองที่แท้จริงจะต้องมีลักษณะอย่างไร

(1) ยึดตัวผู้นําพรรคเป็นหลัก

(2) แสดงบทบาทเฉพาะช่วงเลือกตั้ง

(3) ไม่ร่วมกับพรรคอื่นตั้งรัฐบาล

(4) จํากัดจํานวนสมาชิกที่ดีเท่านั้น

(5) มีสาขาพรรคกระจายทั่วทุกภูมิภาค

ตอบ 5 หน้า 9 – 11 ลักษณะของพรรคการเมืองที่แท้จริง มี 4 ประการ คือ

1 ต้องมีความยั่งยืนโดยไม่ขึ้นอยู่กับชีวิตหรืออํานาจของผู้นําพรรคการเมือง แต่ยึดหลักการหรืออุดมการณ์เป็นหลัก

2 ต้องมีองค์การหรือสาขาพรรคมาก ๆ กระจายทั่วทุกภูมิภาค และมีเครือข่ายติดต่อกันระหว่าง สํานักงานใหญ่กับสาขาพรรคในท้องถิ่น

3 ผู้นําพรรคต้องมีความมุ่งหมายที่จะเป็นรัฐบาล โดยอาจจัดตั้งรัฐบาลโดยลําพังพรรคเดียวหรือจัดตั้งรัฐบาลผสมก็ได้

4 ต้องพยายามหาคะแนนเสียงเมื่อมีการเลือกตั้ง และหาความสนับสนุนจากมหาชนทั่วไปเมื่อไม่มีการเลือกตั้ง

14 พรรคการเมืองมีการฟังความคิดเห็นของสมาชิกเป็นขบวนการที่เรียกว่าประชาธิปไตยรวม ศูนย์(Democratic Centralism) ใช้กับพรรคการเมืองที่มีอุดมการณ์

(1) เสรีนิยม

(2) อนุรักษนิยม

(3) สังคมนิยม

(4) คอมมิวนิสต์

(5) ฟาสซิสต์

ตอบ 4 หน้า 76, 137 ประชาธิปไตยรวมศูนย์ (Democratic Centralism) เป็นลักษณะการใช้อํานาจหรือการดําเนินงานภายในพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งประกอบด้วย 2 ขบวนการ คือ ในระยะแรก ให้สมาชิกในหน่วยพื้นฐานเสนอความคิดเห็นในนโยบายของพรรคแล้วเสนอไปยังเบื้องบนหรือ ศูนย์กลางของพรรคเพื่อรับทราบ ส่วนในระยะต่อมาเป็นการตัดสินใจจากเบื้องบน โดยมติที่ได้จะต้องบังคับใช้กับองค์การทุกระดับของพรรคอย่างเข้มงวด

15 อุดมการณ์คู่ใดที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันในแง่การใช้อํานาจ

(1) คอมมิวนิสต์ – ฟาสซิสต์

(2) คอมมิวนิสต์ – ประชาธิปไตย

(3) อนุรักษนิยม – สังคมนิยม

(4) อนุรักษนิยม – ประชาธิปไตย

(5) อนุรักษนิยม – คอมมิวนิสต์

ตอบ 1 หน้า 140 อุดมการณ์คอมมิวนิสต์และพาสซิสต์ จะมีลักษณะการใช้อํานาจที่คล้ายคลึงกัน คือเป็นเผด็จการแบบรวมอํานาจเบ็ดเสร็จ โดยประชาชนจะถูกลิดรอนเสรีภาพในทุก ๆ ด้านทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

16 อุดมการณ์ใดที่นิยมระบบพรรคการเมืองแบบพรรคเดียว

(1) เสรีนิยม

(2) อนุรักษนิยม

(3) สังคมนิยม

(4) คอมมิวนิสต์

(5) ฟาสซิสต์

ตอบ 4, 5 หน้า 135, 139, (คําบรรยาย) ระบบพรรคเดียว หมายถึง การที่รัฐหรือประเทศหนึ่งมีรัฐบาลที่ตั้งขึ้นโดยพรรคการเมืองพรรคเดียว และระบบนี้ยอมให้มีเฉพาะพรรคที่ครองอํานาจอยู่เท่านั้น ไม่ยอมให้มีพรรคอื่นเข้ามาแข่งขันหรือกีดกัน ซึ่งจะพบระบบนี้ได้ในประเทศที่มีการปกครอง ระบอบเผด็จการหรือมีอุดมการณ์แบบซ้ายสุดโต่ง (คอมมิวนิสต์) หรือขวาสุดโต่ง (ฟาสซิสต์และนาซี) เช่น จีน สาวเวียดนาม คิวบา เกาหลีเหนือ เป็นต้น

17 อุดมการณ์หรือแนวคิดใดไม่ต้องการให้มีรัฐ

(1) ฟาสซิสต์

(2) อนาธิปัตย์

(3) ประชาธิปัตย์

(4) ประชาธิปไตย

(5) เฉพาะข้อ 1 และ 2

ตอบ 2 (คําบรรยาย) อนาธิปัตย์ หรืออนาคิสม์ (Anarchism) เป็นอุดมการณ์หรือแนวคิดทางการเมืองที่ต่อต้านการมีรัฐบาลหรือการมีรัฐ โดยถือว่ารัฐหรือการรวมตัวเป็นประเทศ เป็นชาติ เป็นบ้านเมืองหรือการมีรัฐบาลนั้นเป็นของไม่จําเป็น และเป็นบ่อเกิดของความชั่วร้ายนานาประการ

18 ปัจจุบันประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง คือ

(1) สมชัย ศรีสุทธิยากร

(2) ศุภชัย สมเจริญ

(3) ปกรณ์ มหรรณพ

(4) ธีรวัฒน์ ธีรโรจน์วิทย์

(5) อิทธิพร บุญประคอง

ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) ปัจจุบันคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มี 7 คน ประกอบด้วย ประธาน กกต.ได้แก่ นายอิทธิพร บุญประคอง และกรรมการอีก 6 คน ได้แก่ นายสันทัด ศิริอนันต์ไพบูลย์, นายธวัชชัย เทอดเผ่าไทย, นายฉัตรไชย จันทร์พรายศรี, นายปกรณ์ มหรรณพ, นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ และนายฐิติเชฎฐ์ นุชนาฏ

19 ในปัจจุบันพรรคการเมืองแบบขนชั้นหมายถึงพรรคที่มิได้เน้นในเรื่องจํานวนของผู้เข้าร่วมในพรรคเพื่อดําเนินกิจกรรมทางการเมือง แต่กลับเน้นในเรื่องของสมาชิก

(1) สัทธิความเชื่อ

(2) ศาสนา

(3) อายุ

(4) คุณภาพ

(5) ความรู้ภาษาอังกฤษ

ตอบ 4 หน้า 40 – 41, (คําบรรยาย) พรรคชนชั้นหรือพรรคดั้งเดิม เป็นพรรคการเมืองที่ยังคงรักษาโครงสร้างของคําว่า “ชนชั้นนํา” (Elite) อยู่ กล่าวคือ เป็นพรรคที่มิได้เน้นในเรื่องจํานวนของ สมาชิกพรรคหรือจํานวนของผู้เข้าร่วมในพรรคเพื่อดําเนินกิจกรรมทางการเมือง แต่กลับเน้น ในเรื่องคุณภาพของสมาชิกพรรค เพราะพรรคต้องการเฉพาะกลุ่มคนหรือบุคคลที่ครอบครอง ปัจจัยสําคัญทางเศรษฐกิจและการเมืองของสังคม เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง มียศถาบรรดาศักดิ์ หรือมีฐานะดีพอที่จะสามารถสนับสนุนพรรคในด้านการเงินได้ หรืออาจจะพูดให้เข้าใจง่าย ๆก็คือ เป็นพรรคการเมืองที่เน้นในเรื่องคุณภาพมากกว่าปริมาณของสมาชิก

20 พรรคแห่งชนชั้นกลาง หรือ Party Bourgeois นั้น มีทิศทางการบริหารประเทศที่เน้นด้าน

(1) ส่งเสริมเกษตรพอเพียง

(2) ไม่ชอบความรุนแรง

(3) นวัตกรรมทางการค้า

(4) นิยมรัฐสวัสดิการ

(5) ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง

ตอบ 5 หน้า 41 พรรคแห่งชนชั้นกลาง (Party Bourgeois) เป็นพรรคการเมืองที่มีแนวคิดและทิศทางการบริหารประเทศแบบอนุรักษนิยมที่ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง โดยสมาชิกของพรรค จะประกอบด้วยบุคคลที่จัดอยู่ในประเภทกลางของสังคม เป็นผู้ที่มีทรัพย์สิน มีความสนใจฝักใฝ่ในทางวัตถุนิยม และมีผลประโยชน์เป็นของตนเองโดยเฉพาะ

21 ปัจจุบันประเทศไทยมีพันธะที่จะปรับโครงสร้างต่าง ๆ ให้เข้าสู่ประชาคมอาเซียนในสามเสา ได้แก่

(1) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม – เสาเศรษฐกิจ – เสาการเมืองและความมั่นคง

(2) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม – เสาประเพณี – เสาการเมืองและความมั่นคง

(3) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม – เสาระหว่างประเทศ – เสาการเมืองและความมั่นคง

(4) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม – เสาธุรกิจ – เสาการเมืองและความมั่นคง

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ถือกําเนิดอย่างเป็นทางการเมื่อปีพ.ศ. 2546 จากการที่ผู้นําอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียนที่เรียกว่า “ข้อตกลงบาหลี 2” โดยประกอบด้วยประเทศสมาชิกจํานวน 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย กัมพูชา บรูไน พม่า ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ลาว เวียดนาม สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ซึ่งประเทศเหล่านี้ มีพันธะที่จะต้องปรับโครงสร้างต่าง ๆ ให้เข้าสู่ประชาคมอาเซียนในสามเสา ได้แก่ เสาสังคมและวัฒนธรรม เสาเศรษฐกิจ และเสาการเมืองและความมั่นคง

22 ปัจจัยที่ทําให้อังกฤษมีระบบพรรคการเมืองสองพรรคได้แก่อะไร

(1) การมีการปกครองระบอบรัฐสภา

(2) วิวัฒนาการอันยาวนานของพรรคการเมือง

(3) การใช้ระบบสภาคู่

(4) การมีสถาบันกษัตริย์

(5) การใช้ระบบการเลือกตั้งแบบ เสียงข้างมากรอบเดียว

ตอบ 2 หน้า 151 152 ปัจจัยที่ทําให้อังกฤษมีระบบพรรคการเมืองสองพรรค ได้แก่ การมีวิวัฒนาการอันยาวนานของพรรคการเมืองมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ซึ่งในระยะแรกจะเป็น เรื่องเกี่ยวกับความแตกแยกทางความคิดเห็น ความเชื่อและความศรัทธาทางศาสนา และ จากสมัยกลางมาสู่สายใหม่ความคิดเห็นก็ได้แตกแยกเป็น 2 กลุ่ม คือ

1 พวก Cavaliers หรือพวก Tories เป็นรากฐานของพรรคคอนเซอร์เวทีฟ

2 พวก Roundhead หรือพวก Whigs เป็นรากฐานของพรรคริเบอร์รัล

23 พรรคการเมืองที่แท้จริงต้องมีลักษณะสําคัญ คือ

(1) ตั้งรัฐบาลแห่งชาติ

(2) บอยคอตต์การเลือกตั้ง

(3) มีสาขาพรรคมาก ๆ

(4) ตั้งสภาประชาชนจากการสรรหา

(5) เป้าหมายต้องการเป็นรัฐบาล

ตอบ 3, 5 ดูคําอธิบายข้อ 13 ประกอบ

24 การเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกงเรียกว่า

(1) Hong Kong Spring

(2) Yellow Ribbon Revolution

(3) Yellow Mask Movement

(4) Umbrella Revolution

(5) Hong Kong United Youth Front

ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) การชุมนุมในฮ่องกงเมื่อเดือนกันยายน 2557 เป็นการชุมนุมเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยและสิทธิการเลือกตั้งเสรีจากรัฐบาลจีน ซึ่งกลุ่มผู้ชุมนุมได้ใช้รมในการป้องกัน แก๊สน้ําตาและสเปรย์พริกไทยจากเจ้าหน้าที่ตํารวจ จึงทําให้ร่มกลายเป็นสัญลักษณ์สําคัญของการชุมนุมประท้วง และมีการเรียกการชุมนุมครั้งนี้ว่า “การปฏิวัติร่ม” (Umbrella Revolution)

25 ประธานาธิบดีอินโดนีเซียคนล่าสุด คือ

(1) นายซูฮาร์ต

(2) นางซูการ์โน บุตรี

(3) นายโจโก วิโดโด

(4) พลเอกปราโบโว สุเบียนโต

(5) นายบัมบัง ยูโตโยโน

ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) ประธานาธิบดีอินโดนีเซียคนล่าสุด คือ นายโจโก วิโดโด (Joko Widodo)สังกัดพรรคประชาธิปไตยอินโดนีเซียแห่งการต่อสู้ (PDI-P) ซึ่งได้เข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2557

26 โดยปกติแล้วการประกาศกําหนดวันเลือกตั้งต้องประกาศเป็น

(1) พระราชบัญญัติ

(2) พระราชกําหนด

(3) กฎกระทรวง

(4) พระราชกฤษฎีกา

(5) ประกาศของ กกต.

ตอบ 4 (คําบรรยาย) โดยปกติแล้วการประกาศกําหนดวันเลือกตั้งต้องประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกา(รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 102 – 103)

27 ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้ผลของการเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 มีสถานะเป็น

(1) การเลือกตั้งที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ถูกขัดขวางจึงเป็นโมฆะ

(2) การเลือกตั้งที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ในวันเดียวทั่วประเทศ จึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

(3) การเลือกตั้งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ในวันเดียวทั่วประเทศการเลือกตั้งจึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

(4) การเลือกตั้งเป็นโมฆะตั้งแต่แรก เสมือนไม่เคยมีการเลือกตั้ง

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 3 (ข่าว) เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2557 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยให้การเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยมีมติเสียงข้างมาก 6 : 3 ว่า การที่ พ.ร.ฎ. ยุบสภาผู้แทนราษฎร 2556 กําหนดให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. เป็นการทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 และมีการดําเนินการเลือกตั้งเป็นการทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไปแล้ว แต่ไม่สามารถจัดให้มีการเลือกตั้งสําหรับ 28 เขตเลือกตั้ง ซึ่งยังไม่เคยมีการรับสมัคร รับเลือกตั้งมาก่อนเลย จึงถือได้ว่าการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 มิได้เป็นวันเลือกตั้ง วันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร เป็นผลให้ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญฯ 2550 มาตรา 108 วรรค 2

28 ในทางทฤษฎีการรัฐประหาร (Coup d’etat) ต่างจากการปฏิวัติ (Revolution) อย่างไร

(1) รัฐประหารเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างใด ๆ

(2) การปฏิวัติเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่

(3) การปฏิวัติเป็นการรื้อปรับโครงสร้างอํานาจ ส่วนรัฐประหารแค่ล้มรัฐบาล

(4) รัฐประหารเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่เพื่อปฏิรูปโครงสร้างสังคม

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในทางทฤษฎีนั้นการรัฐประหาร (Coup detat) จะมีความแตกต่างจากการปฏิวัติ(Revolution) คือ รัฐประหารจะเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่ (ประมุขแห่งรัฐ หรือหัวหน้ารัฐบาล) อย่างฉับพลัน โดยไม่ได้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง (Regime) หรือ โครงสร้างใด ๆ ในทางสังคมการเมือง แต่การปฏิวัติจะเป็นการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง หรือโครงสร้างของรัฐ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ยากกว่าการรัฐประหาร โดยในประวัติศาสตร์การเมืองไทยมีการปฏิวัติเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว คือ การปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 โดยคณะราษฎร

29 เมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านผู้ใดได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดํารงตําแหน่ง “รัฐบุรุษอาวุโส”

(1) หลวงประดิษฐ์มนูธรรม

(2) พ.อ.พระยาศรีสิทธิสงคราม

(3) ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช

(4) พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา

(5) พลเอกเปรม ติณสูลานนท์

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 นายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม)ในฐานะผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ และหัวหน้าขบวนการเสรีไทย ได้รับโปรดเกล้าฯ จาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8) ให้ดํารงตําแหน่ง “รัฐบุรุษอาวุโส” เนื่องจากเป็นผู้นําในการกอบกู้บ้านเมืองในช่วงสงครามโลก รวมทั้งได้ทํางานที่เป็นประโยชน์ ต่อประเทศชาติหลายประการทั้งในด้านการเมือง การปกครอง การต่างประเทศ การเศรษฐกิจและการศึกษา โดยนายปรีดีถือเป็นรัฐบุรุษอาวุโสคนแรกและคนเดียวของประเทศไทย

30 ตําแหน่ง “รัฐบุรุษอาวุโส” ของบุคคลดังกล่าวเกี่ยวข้องกับข้อใด

(1) ขบวนการโจรจีนคอมมิวนิสต์

(2) ขบวนการเสรีไทย

(3) ขบวนการพูโล

(4) พรรคเสรีมนังคศิลา

(5) พรรคประชาธิปัตย์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 29 ประกอบ

31 ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติที่ได้รับการแต่งตั้งโดย คสช. หลังการทํารัฐประหารปี 2557 คือ

(1) นายเทียนฉาย หอมนันท์

(2) นายเทียนฉาย กีระนันทน์

(3) นายกีระนันทน์ เทียนฉาย

(4) นายสุชา กีระนันทน์

(5) นายพรเพชร วิชิตชลชัย

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติที่ได้รับการแต่งตั้งโดย คสช. หลังการทํารัฐประหารปี 2557 คือ นายเทียนฉาย กีระนันทน์ โดยมีนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ และนางทัศนา บุญทองเป็นรองประธานคนที่ 1 และ 2 ตามลําดับ

32 ข้อครหาใหญ่ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติโดนวิจารณ์ในเดือนมีนาคม 2558 คือ

(1) การแต่งตั้งภรรยาเป็นสมาชิกสภาปฏิรูป

(2) การแต่งตั้งคนขับรถเป็นผู้เชี่ยวชาญและผู้ช่วย

(3) การแต่งตั้งหัวคะแนนเป็นผู้เชี่ยวชาญและผู้ช่วย

(4) การแต่งตั้งเครือญาติเป็นผู้เชี่ยวชาญและผู้ช่วย

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) สื่อมวลชนได้เปิดเผยเมื่อเดือนมีนาคม 2558 ว่า สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) และสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) มีการแต่งตั้งเครือญาติเป็นผู้เชี่ยวชาญและ ผู้ช่วยประจําตัว ซึ่งทําให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่เหมาะสมในการแต่งตั้งเครือญาติ ดํารงตําแหน่งดังกล่าว ดังนั้นวิป สนช. และวิป สปช. จึงมีมติให้สมาชิกปรับเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญและผู้ช่วยประจําตัวที่เป็นเครือญาติออกจากตําแหน่งทันที

33 ปัจจุบันประเทศไทยยังอยู่ภายใต้กฎอัยการศึกหรือไม่

(1) ยังมีผลบังคับใช้ทั่วประเทศ

(2) บังคับใช้เฉพาะสามจังหวัดภาคใต้

(3) บังคับใช้เฉพาะกรุงเทพและปริมณฑล

(4) บังคับใช้เฉพาะจังหวัดที่มีเสื้อแดง

(5) ยกเลิกไปแล้ว

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) ปัจจุบันกาอัยการศึกที่ใช้บังคับทั่วประเทศตามประกาศของกองทัพบกฉบับที่ 1/2557 ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2557 และตามประกาศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 2/2557 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ได้ถูกยกเลิกไปแล้วเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2558 แต่กฎอัยการศึกในสามจังหวัดภาคใต้ซึ่งบังคับใช้ก่อนวันที่ 20 พฤษภาคม 2557 ยังคงมีผลบังคับใช้อยู่จนถึง ปัจจุบัน ไม่ได้ถูกยกเลิกตามกฎอัยการศึกทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว

34 การสั่งยุบพรรคการเมืองเป็นไปตาม “หลักการพื้นฐาน” ว่าด้วยการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบันหรือไม่

(1) เป็น หากพรรคการเมืองคอร์รัปชัน

(2) เป็น หากนํานโยบายที่ได้หาเสียงไว้ แต่คนกลุ่มหนึ่งคัดค้านว่าทําเพื่อสร้างคะแนนเสียง

(3) ไม่เป็น เพราะพรรคการเมืองเป็นของประชาชนที่มีอุดมการณ์หรือมีแนวคิดทางการเมืองร่วมกัน หากแต่การทําผิดของนักการเมืองเป็นเรื่องที่ต้องดําเนินการตามกฎหมายเฉพาะบุคคล

(4) เป็น หากนักการเมืองทุจริตในการเลือกตั้ง

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การสับยุบพรรคการเมืองถือว่าไม่เป็นไปตามหลักการพื้นฐานว่าด้วยการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะพรรคการเมืองเป็นที่รวมของ ประชาชนที่มีอุดมการณ์หรือมีแนวความคิดทางการเมืองร่วมกัน แต่ถ้าหากนักการเมืองที่มีตําแหน่งในพรรคการเมืองกระทําผิดก็ต้องดําเนินการตามกฎหมายเฉพาะบุคคลนั้น

35 หากพรรคการเมืองตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นฝ่ายตรวจสอบหรือฝ่ายค้านเพียงอย่างเดียว นับได้ว่าเป็นไปตามหลักการพื้นฐานของระบบพรรคการเมืองในระบบประชาธิปไตยที่ถูกต้องหรือไม่

(1) ถูกต้อง เพราะมีความจําเป็นที่ต้องมีพรรคการเมืองฝ่ายค้านไว้ตรวจสอบรัฐบาล (2) ถูกต้อง เพราะเป็นการแสดงให้เห็นว่าไม่ต้องการแสวงหาอํานาจในการปกครองประเทศ

(3) ไม่ถูกต้อง เพราะพรรคการเมืองต้องมีเป้าหมายสําคัญคือ การชนะการเลือกตั้งเพื่อเป็นรัฐบาล

(4) ไม่ถูกต้อง เพราะพรรคการน็องต้องมีความพร้อมในการเป็นทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้าน

(5) ถูกเฉพาะข้อ 3 และ 4

ตอบ 5 (คําบรรยาย) พรรคการเมืองที่ตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นฝ่ายค้านหรือฝ่ายตรวจสอบเพียงอย่างเดียวนั้นตามหลักการพื้นฐานของระบบพรรคการเมืองในระบอบประชาธิปไตยแล้วถือว่าไม่ถูกต้อง ทั้งนี้เพราะพรรคการเมืองต้องมีเป้าหมายสําคัญคือชนะการเลือกตั้งเพื่อเป็นรัฐบาล แต่ถ้า แพ้การเลือกตั้งก็ต้องพร้อมที่จะเป็นฝ่ายค้าน (ดูคําอธิบายข้อ 13 ประกอบ)

36 การรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534 นําไปสู่เหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง คือ

(1) 14 ตุลาคม 2516

(2) 6 ตุลาคม 2519

(3) 26 มีนาคม 2524

(4) 17 – 20 พฤษภาคม 2535

(5) 13 – 20 พฤษภาคม 2553

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534 โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ(รสช.) นําไปสู่เหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองในวันที่ 17 – 20 พฤษภาคม 2535 หรือ พฤษภาทมิฬอันเป็นจุดเริ่มต้นที่ทําให้ประชาชนมีบทบาทสําคัญในการขับเคลื่อนการปฏิรูป การเมืองและการร่างรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2540 ซึ่งถือเป็นรัฐธรรมนูญที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นประชาธิปไตยมากที่สุดของไทยฉบับหนึ่ง

37 ศัพท์ทางรัฐศาสตร์เรียกการแบ่งเขตเลือกตั้งเพื่อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างพรรคการเมืองว่า

(1) Salamandering

(2) Gerrymandering

(3) Psudo Electionman

(4) Idiocratic Commission

(5) Fraudmandering

ตอบ 2 (คําบรรยาย) Gerymandering หมายถึง การบิดเบือนเขตเลือกตั้งเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองของพรรคใดพรรคหนึ่ง เช่น กรณีการแบ่งเขตเลือกตั้ง ส.ส. แบบสัดส่วนในการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ซึ่งได้แบ่งออกเป็น 8 กลุ่มจังหวัดโดยให้จังหวัดที่มีพื้นที่ติดต่อกันอยู่ในกลุ่มจังหวัดเดียวกัน ทําให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากกลุ่มนักวิชาการว่ามีการบิดเบือนเขตเลือกตั้งเพื่อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างพรรคการเมือง

38 ประธานศาลรัฐธรรมนูญคนปัจจุบัน คือ

(1) นุรักษ์ มาประณีต

(2) ศุภชัย สมเจริญ

(3) ประวิช รัตนเพียร

(4) กฤษฎา บุญราช

(5) อมรา พงศาพิชญ์

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) ประธานศาลรัฐธรรมนูญคนปัจจุบัน คือ นายนุรักษ์ มาประณีตซึ่งเข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2557

39 บุคคลที่ร่างรัฐธรรมนูญหลายฉบับในอดีตและยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน คือ

(1) ดร.สมภพ โหตระกิตย์

(2) นายชัยวัฒน์ ฤชุพันธุ์

(3) นายมีชัย ฤชุพันธุ์

(4) นายไพศาล พืชมงคล

(5) นายธง แจ่มศรี

ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) บุคคลที่ร่างรัฐธรรมนูญหลายฉบับในอดีตและยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน คือ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ซึ่งท่านได้เคยทําหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2521, รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2534, รัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549, รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 รวมทั้งรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560

40 ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คือ

(1) นายพรเพชร วิชิตชลชัย

(2) นายเทียนฉาย กีระนันทน์

(3) นายชลชัย วิชิตพรเพชร

(4) นายไพบูลย์ นิติตะวัน

(5) นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติคนปัจจุบัน คือ นายพรเพชร วิชิตชลชัยโดยมีนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย และนายพีระศักดิ์ พอจิต เป็นรองประธานคนที่ 1 และ 2

41 ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ปี 2016 ผู้สมัครจากพรรคการเมืองใดใช้เงินในการ หาเสียงเลือกตั้งมากที่สุด

(1) พรรคเดโมแครต

(2) พรรครีพับลิกัน

(3) พรรคกรีน

(4) พรรคแรงงาน

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (ข่าว) ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 2016 ผู้สมัครที่ใช้เงินในการหาเสียงเลือกตั้งมากที่สุด คือ นางฮิลลารี คลินตัน (Hilary Clinton) จากพรรคเดโมแครต (ประมาณ 500 ล้านดอลลาร์) ส่วนนายโดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump) จากพรรครีพับลิกัน ซึ่งเป็นผู้ชนะการเลือกตั้งได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาใช้เงินในการหาเสียงเลือกตั้งประมาณ 200 ล้านดอลลาร์

42 Donald Trump เป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาจากพรรคการเมืองใด

(1) พรรคกรีน

(2) พรรครีพับลิกัน

(3) พรรคคองเกรส

(4) พรรคเดโมแครต

(5) เป็นรัฐบาลผสม

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 41 ประกอบ

43 การใช้เงินในการหาเสียงเลือกตั้งโดยได้รับการบริจาคหรือเงินสนับสนุนจากกลุ่มทุน นักธุรกิจ รวมถึงประชาชนทั่วป ผิดหลักการประชาธิปไตยทั่วไปหรือไม่

(1) ผิด เพราะพรรคการเมืองที่มีนายทุนมากย่อมได้เปรียบพรรคการเมืองขนาดเล็ก (2) ผิด เพราะก่อให้เกิดระบบอุปถัมภ์

(3) ผิด เพราะก่อให้เกิดการซื้อสิทธิ์ขายเสียง

(4) ไม่ผิด เพราะสะท้อนให้เห็นความเป็นจริงของกลุ่มทุน รวมถึงประชาชนบางกลุ่มทั้งในระดับสาขาอาชีพเชื้อชาติ ศาสนา สนับสนุนพรรคการเมืองนั้น ๆ

(5) ถูกเฉพาะข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การใช้เงินในการหาเสียงเลือกตั้งโดยได้รับการบริจาคหรือเงินสนับสนุนจากกลุ่มทุนนักธุรกิจ และประชาชนทั่วไป อย่างเปิดเผยตรงไปตรงมา ถือว่าไม่ผิดหลักการประชาธิปไตย ทั่วไป เพราะสะท้อนให้เห็นความเป็นจริงของกลุ่มทุนและประชาชนในสาขาอาชีพ เชื้อชาติ และศาสนาต่าง ๆ ที่สนับสนุนนโยบายหรือแนวความคิดของบุคคลหรือพรรคการเมืองนั้น ๆ

44 ตามแนวคิดเรื่องการพัฒนาการเมือง (Political Development) พรรคการเมืองจะต้องพัฒนาความเป็นสถาบันการเมืองโดย

(1) มีหัวหน้าพรรคที่เข้มแข็งเด็ดขาด

(2) เลือกบุคคลจากสกุลดังให้มาเป็นสมาชิกพรรค

(3) มีการแบ่งงานกันทําภายในพรรคตามนามสกุลและเงินบริจาค

(4) มีนักธุรกิจมาเป็นสมาชิกพรรคมาก ๆ

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ตามแนวคิดเรื่องการพัฒนาการเมือง (Political Development) นั้นพรรคการเมืองจะต้องพัฒนาความเป็นสถาบันการเมืองโดย

1 มีหัวหน้าพรรคที่เข้มแข็งเด็ดขาด

2 มีการแบ่งงานกันทําภายในพรรคตามความถนัด

3 มีการคัดเลือกบุคคลเข้ามาเป็นสมาชิกพรรคโดยคํานึงถึงความรู้ความสามารถ ฯลฯ

45 ตามคํานิยามของเอ็ดมันด์ เบอร์ก พรรคการเมืองจะต้องมีจุดมุ่งหมายเพื่อ

(1) ส่งเสริมสาธารณกุศล

(2) ป้องกันการแตกสามัคคีของคนในชาติ

(3) สร้างความสามัคคีของหมู่คณะ

(4) ส่งเสริมผลประโยชน์ของชาติ

(5) ส่งเสริมประโยชน์แก่สมาชิกพรรค

ตอบ 4 หน้า 4 เอ็ดมันด์ เบอร์ก (Edmund Burke) ได้ให้คํานิยามของพรรคการเมืองว่า พรรคการเมืองได้แก่ “คนกลุ่มหนึ่งซึ่งรวมกันตามแนวหลักการบางอย่าง โดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกันในการส่งเสริม ผลประโยชน์ของชาติ”

46 ผลจากการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 มีพรรคการเมืองใดถูกยุบหรือไม่

(1) ไม่มีพรรคไหนโดนยุบพรรค

(2) พรรคประชาธิปัตย์ถูกยุบ

(3) หัวหน้าพรรคเพื่อไทยโดนจับ

(4) พรรคเพื่อไทยถูกยุบ

(5) พรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นรัฐบาล

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) การรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 เป็นการรัฐประหารรัฐบาลรักษาการของนายนิวัฒน์ธํารง บุญทรงไพศาล โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งการรัฐประหาร ในครั้งนี้เป็นการรัฐประหารครั้งที่ 13 ของประวัติศาสตร์ไทย และนับเป็นครั้งที่ 2 ในรอบ หนึ่งทศวรรษ (หรือในรอบ 10 ปี ต่อจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549) โดยการรัฐประหาร ได้มีผลทําให้รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 สิ้นสุดลง และทําให้คณะรัฐมนตรีรักษาการและวุฒิสภา สิ้นสุดลงด้วย แต่ศาล องค์กรอิสระ และองค์กรอื่น ๆ ตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ส่วนพรรคการเมืองนั้นยังคงดํารงอยู่แต่ไม่สามารถดําเนินธุ์ จกรรมใด ๆ ทางการเมืองได้

47 ผลจากการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 คณะกรรมการการเลือกตั้งได้รับผลกระทบ คือ

(1) คณะกรรมการการเลือกตั้งไม่เดนยุบ

(2) กกต. ฝ่ายบริหารการเลือกตั้งโดนปลด ฐานจัดการเลือกตั้งล้มเหลว

(3) กกต. ฝ่ายบริหารการเลือกตั้งโดนเรียกไปปรับทัศนคติ

(4) ประธาน กกต. ถูกปลด

(5) กกต. ถูกส่งไปศึกษางานต่างประเทศ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 46 ประกอบ

48 แนวคิดเรื่องสัญญาประชาคม (Social dontract) อธิบายว่าเราสามารถบรรลุถึงเสรีภาพได้ในเงื่อนไขใด

(1) ในรัฐสังคมนิยม

(2) ในรัฐสวัสดิการ

(3) ในรัฐแบบใดก็ได้

(4) ในรัฐประชาธิปไตยเท่านั้น

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 5 (คําบรรยาย) รุสโซ เห็นว่า สังคมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งสัญญาประชาคม (Social Contract) สามารถทําให้บุคคลในฐานะสมาชิกของสังคมนั้นบรรลุถึงเสรีภาพได้ ภายใต้เงื่อนไขการออก กฎหมายมาบังคับตัวเอง กล่าวคือ การที่เคารพกฎหมายที่ตัวเรามีส่วนร่วมในการบัญญัตินั้น เราย่อมไม่รู้สึกว่ากฎหมายนั้นกดขี่เราและทําให้เราไม่มีเสรีภาพ เพราะโดยทั่วไปแล้วคงไม่มีใครเสียสติพอที่จะบัญญัติกฎหมายออกมาเพื่อกดขี่บีบคั้นตัวเองให้เจ็บปวด

49 อุดมการณ์หรือแนวคิดใดเชื่อว่าความแตกต่างทางความคิดและกลุ่มการเมืองที่หลากหลายเป็นเรื่อง ผิดปกติ

(1) ฟาสซิสต์

(2) อนุรักษนิยม

(3) สังคมนิยม

(4) ประชาธิปไตย

(5) เฉพาะข้อ 1 และ 2

ตอบ 5 หน้า 234, (คําบรรยาย) การเมืองแบบพหุนิยม เป็นแนวคิดของอุดมการณ์เสรีนิยมประชาธิปไตยซึ่งเห็นว่าประชาธิปไตยจะมีขึ้นและมั่นคงอยู่ได้ก็ด้วยการมีกลุ่ม กลุ่มผลประโยชน์ พรรคการเมือง สมาคม ชมรม สันนิบาต องค์การ หรือสหพันธ์ต่าง ๆ ที่หลากหลายภายในรัฐโดยเสรีและสมัครใจ มิได้มีการบังคับ เพราะเชื่อว่าความแตกต่างทางความคิดและกลุ่มการเมืองที่หลากหลายเป็น เรื่องปกติ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ตรงกันข้ามกับอุดมการณ์อนุรักษนิยม คอมมิวนิสต์ ฟาสซิสต์ และ นาซีที่ไม่สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่ม เพราะเชื่อว่าความแตกต่างทางความคิดและกลุ่มการเมือง ที่หลากหลายเป็นเรื่องผิดปกติ

50 ส่วนผสมของอุดมการณ์ทางการเมืองที่สําคัญ คือ

(1) วิจารณ์สังคม ให้ภาพอนาคต เสนอแนวทางเข้าสู่สังคมที่ดีกว่า

(2) ให้ภาพอดีต วิจารณ์สังคม เสนอวิธีเข้าสู่สังคมที่ดีกว่า

(3) วิจารณ์ปัจจุบัน ให้ภาพอนาคต เสนอวิธีล้มล้างระบอบปัจจุบัน

(4) วิจารณ์ปัจจุบัน ให้ศรัทธาผู้นํา เสนอวิธีล้มล้างระบอบปัจจุบัน

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ส่วนผสมของอุดมการณ์ทางการเมืองที่สําคัญ มี 3 ประการ คือ

1 การวิจารณ์สังคมหรือระเบียบในปัจจุบัน

2 การให้ภาพสังคมหรือระเบียบในอนาคต

3 การเสนอทฤษฎีหรือการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมหรือระเบียบใหม่ เช่น เสนอวิธีล้มล้างระบอบปัจจุบันหรือเสนอแนวทางเข้าสู่สังคมใหม่ที่ดีกว่า เป็นต้น

51 ชนชั้นนํา (Eite) คือ

(1) คนที่มีรสนิยมสูง

(2) คนที่เป็นแนวหน้าในการสร้างประชาธิปไตย

(3) คนที่เกิดมาเป็นผู้นํา

(4) คนที่มีอํานาจสูงสุด

(5) กลุ่มคนที่ครอบครองปัจจัยสําคัญทางเศรษฐกิจและการเมืองของสังคม

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 19 ประกอบ

52 ขบวนการจีนโพ้นทะเลในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองที่ต่อต้านญี่ปุ่น จัดอยู่ในประเภทของกลุ่ม

(1) อุดมการณ์

(2) กลุ่มผลักดัน

(3) กลุ่มอิทธิพลมืด

(4) กลุ่มอาชีพ

(5) กลุ่มอุดมการณ์

ตอบ 1, 5 ดูคําอธิบายข้อ 9 ประกอบ

53 ขบวนการเสรีไทย จัดอยู่ในประเสาทของกลุ่ม

(1) อุดมการณ์

(2) กลุ่มผลักดัน

(3) กลุ่มอิทธิพลมืด

(4) กลุ่มอาชีพ

(5) กลุ่มอุดมการณ์

ตอบ 1.5 ดูคําอธิบายข้อ 9 ประกอบ

54 จุดประสงค์หลักของการก่อตั้งสื่อมวลชนคือหนังสือพิมพ์ วิทยุ และวิทยุโทรทัศน์นั้น ก็เพื่อธุรกิจการค้าแต่ก็มีผลสะท้อนในการสร้างแรงกดดันต่อมวลชน เรียกกลุ่มนี้ว่ากลุ่มผลักดัน

(1) นอมินี

(2) เอกชน

(3) จริง

(4) แฝง

(5) เฉพาะเรื่อง

ตอบ 4 หน้า 252 การก่อตั้งสื่อสารมวลชน คือ หนังสือพิมพ์ วิทยุ และวิทยุโทรทัศน์นั้นมีจุดประสงค์หลักเพื่อธุรกิจการค้า แต่ก็มีผลสะท้อนในการสร้างแรงกดดันต่อมวลชนหรือบีบบังคับในทางการเมือง เพื่อจะได้มีบทบาทต่อการตัดสินใจของรัฐบาลและการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง จึงเรียกกลุ่มนี้ว่า“กลุ่มผลักดันแฝง”

55 หอการค้าสยาม (Siamese Charnber of Commerce) ถูกตั้งขึ้นเพื่อจุดประสงค์ใดเป็นสําคัญ

(1) เพื่อเป็นตัวแทนให้แก่พ่อค้าไทยทํานุบํารุงการค้าขายให้เป็นประโยชน์ต่อสมาชิก

(2) เพื่อการต่อรองทางการค้าของคณะราษฎร

(3) เพื่อปูทางทางการเมืองให้แก่นักการเมือง

(4) เพื่อปูทางการมีส่วนร่วมทางการเมืองให้แก่ประชาชน

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 313 หอการค้าสยาม (Siamese Chamber of Commerce) เป็นกลุ่มผลประโยชน์ ฝ่ายนายจ้างที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อช่วยกันทํานุบํารุงการค้าขายให้เป็นประโยชน์ต่อสมาชิก และเป็น ตัวแทนให้แก่พ่อค้าไทย ซึ่งจดทะเบียนเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2476 และได้ยุติบทบาทลงในปี พ.ศ. 2486

56 กลุ่มผลประโยชน์ประเภทใดที่อาจกล่าวได้ว่าแทบจะไม่มีบทบาทในทางการเมืองเลย เพราะการรวมกลุ่ม เพื่อความสามัคคีและชื่อเสียง คือกลุ่ม

(1) อุดมการณ์

(2) กลุ่มผลักดัน

(3) กลุ่มอิทธิพลมืด

(4) กลุ่มอาชีพ

(5) กลุ่มอุดมการณ์

ตอบ ไม่มีข้อถูก หน้า 312 กลุ่มมาตุภูมิ เป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่อาจกล่าวได้ว่าแทบจะไม่มีบทบาทในทางการเมืองเลย เพราะการรวมกันเป็นกลุ่มเป็นหมู่ก็เพื่อจุดประสงค์ที่จะส่งเสริมความ – สามัคคีและเผยแพร่ชื่อเสียงของกลุ่มเท่านั้น เช่น สมาคมชาวเหนือ สมาคมชาวปักษ์ใต้สมาคมนักเรียนเก่า เป็นต้น

57 หลักการของทฤษฎีที่ว่า “ประชาธิปไตยจะมีขึ้นได้และมั่นคงตลอดไปโดยการมีกลุ่ม สมาคม ชมรมต่าง ๆ ภายในรัฐ การเกิดขึ้นโดยสมัครใจมิได้มีการบังคับ” คือทฤษฎี

(1) ปัจเจกชนนิยม

(2) พหุนิยม

(3) อัตตาธิปไตย

(4) สังคมนิยม

(5) อนาธิปัตย์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 49 ประกอบ

58 ศ.ดร.เฟรด ริกส์ เสนอคําอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่าเป็น

(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์

(2) ระบอบอํามาตยาธิปไตย

(3) วงจรอุบาทว์

(4) สองนคราประชาธิปไตย

(5) สังคมโครงสร้างหลวม

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ศ.ดร.เฟรด ดับบลิว. ริกส์ (Fred w. Riggs) เป็นนักวิชาการที่สนใจเรื่องอํานาจการเมืองในภาคราชการ และเป็นผู้อธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่าเป็น “ระบอบ อํามาตยาธิปไตย” (Bureaucratic Polity) ซึ่งเป็นระบบการเมืองที่ถูกครอบงําโดยภาคราชการนับตั้งแต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516

59 ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช เสนอคําอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่าเป็น

(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์

(2) ระบอบอํามาตยาธิปไตย

(3) วงจรอุบาทว์

(4) สองนคราประชาธิปไตย

(5) สังคมโครงสร้างหลวม

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ศ.ดร.ชัย อนันต์ สมุทวณิช ได้อธิบายถึงปัญหาการรัฐประหารซ้ำซากของการเมืองไทยว่ามีลักษณะเป็น “วงจรอุบาทว์” ซึ่งก็คือ การวนเวียนอยู่กับการรัฐประหาร แล้วตามด้วยการ ร่างรัฐธรรมนูญและจัดการเลือกตั้ง แล้วก็วนไปที่การรัฐประหารอีกไม่รู้จบสิ้น โดยสาเหตุที่เกิดการรัฐประหารครั้งแล้วครั้งเล่าในสังคมไทย เพราะประชาธิปไตยของไทยยังไม่เข้มแข็งพอ

60 แนวคิดที่นําไปสู่การออกแบบระบอบการเมืองไทยให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทสัดส่วน คือ

(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์

(2) ระบอบอํามาตยาธิปไตย

(3) วงจรอุบาทว์

(4) สองนคราประชาธิปไตย

(5) สังคมโครงสร้างหลวม

ตอบ 4 (คําบรรยาย) จากแนวคิดสองนคราประชาธิปไตยที่ว่า “คนจนในชนบทเลือกรัฐบาล คนชั้นกลางในเมืองล้มรัฐบาล” ได้นําไปสู่การออกแบบระบอบการเมืองไทยในรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2540 ให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ประเภทสัดส่วนหรือแบบบัญชีรายชื่อ เพื่อให้ทั้งคนจน ในชนบทและคนชั้นกลางในเมืองเป็นได้ทั้งผู้ตั้งรัฐบาลและผู้ล้มรัฐบาล

61 การเกิดของกลุ่มผลประโยชน์ของไทยเท่าที่เป็นมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านแรงงานมักมีอุปสรรคสําคัญคือ ขาดการสนับสนุนของ

(1) รัฐบาล

(2) นายจ้าง

(3) กรรมกร

(4) โรงงาน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 309 310, (คําบรรยาย) การเกิดของกลุ่มผลประโยชน์ของไทยเท่าที่เป็นมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านแรงงานนั้นเป็นผลมาจากการริเริ่มของกรรมกร แต่การรวมตัวกันก่อตั้ง เป็นสหภาพแรงงานมักจะมีอุปสรรคสําคัญคือ ขาดการสนับสนุนจากรัฐบาลหรือผู้ปกครองประเทศ ในขณะนั้น เช่น การจัดตั้งสหภาพแรงงานโดยกลุ่มคนงานรถรางในสมัยรัชกาลที่ 5 ถูกมองว่ามีลักษณะสังคมนิยม จึงไม่ได้รับการสนับสนุนให้ก่อตั้งเป็นสหภาพ

62 ผู้นําแรงงานที่หายตัวไปหลังการรัฐประหาร กุมภาพันธ์ 2534 คือ

(1) นายอิศรา อมันตกุล

(2) นายทนง โพธิ์อ่าน

(3) นายถวัติ ฤทธิเดช

(4) นายสมชาย นีละไพจิตร

(5) นายจิตร ภูมิศักดิ์

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) นายทนง โพธิ์อ่าน อดีตประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทยได้หายตัวไปเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2534 ภายหลังการรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534 ของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ซึ่งขณะนั้นนายทะนงเป็นผู้นําระดับสูงของขบวนการแรงงานที่มีบทบาทในการต่อต้านคณะรัฐประหารอย่างชัดเจนที่สุด

63 ดร.ซุน ยัด เซ็น ผู้ก่อตั้งพรรคก๊กมินตั๋ง (KMT) เป็นผู้สร้างแนวคิดทางการเมืองที่ชื่อลัทธิ

(1) ไตรราษฎร์

(2) เสรีจีน

(3) บ็อกเซอร์

(4) มาตุภูมิ

(5) ไท่ผิง

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) ดร.อน ยัด เซ็น เป็นผู้ก่อตั้งพรรคชาตินิยมแห่งประเทศจีนหรือที่รู้จักกันในนามพรรค “ก๊กมินตั๋ง” (KfMT) ภายหลังจากการโค่นล้มระบอบราชาธิปไตยในประเทศจีน รวมทั้งเป็นประธานาธิบดีคนแรกของประเทศจีน และเป็นผู้กําหนดลัทธิการเมืองที่เรียกว่าลัทธิ“ไตรราษฎร์” หรือหลัก 3 ประการแห่งประชาชน (Three Principle of the People)

64 ตามแนวคิดเรื่องการสร้างสรรค์ประชาธิปไตย (Democratization) คนกลุ่มใดจะเป็นแนวหน้าต่อสู้ เพื่อประชาธิปไตย

(1) รากหญ้า

(2) เสื้อแดง

(3) อํามาตย์

(4) ทหาร

(5) คนชั้นกลาง

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การสร้างสรรค์ประชาธิปไตย (Democratization) คือ กระบวนการสร้างประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมในภาคประชาชนเพื่อนําไปสู่การพัฒนาประชาธิปไตยที่แท้จริง ไม่ใช่ประชาธิปไตยเพียงแค่การเลือกตั้ง ซึ่งจะสนับสนุนให้คนชั้นกลางเป็นแนวหน้าในการต่อสู้ เพื่อประชาธิปไตย ในขณะที่กลุ่มทหารจะดํารงตนเป็นทหารอาชีพ ซึ่งไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับ การเมือง ขณะเดียวกันก็มักพบว่ามีกลุ่มแนวคิดอนุรักษนิยมพยายามออกมาต่อต้านประชาธิปไตยดังกล่าว

65 แนวคิดเรื่องกลุ่มผลประโยชน์ที่หลากหลายสอดคล้องกับแนวคิดใด

(1) ปัจเจกชนนิยม

(2) ประชาธิปไตย

(3) คณาธิปไตย

(4) สังคมนิยม

(5) อนาธิปัตย์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 49 ประกอบ

66 กลุ่มผลประโยชน์ (Interest GrCups) กับกลุ่มผลักดัน (Pressure Groups) จะมีความแตกต่างกัน ในแงใด

(1) เป้าหมาย

(2) กิจกรรม

(3) หลักบริหารกลุ่ม

(4) ไม่แตกต่าง

(5) สมาชิก

ตอบ 1 หน้า 236 237 กลุ่มผลประโยชน์ (Interest Groups) กับกลุ่มผลักดัน (Pressure Groups) จะมีความแตกต่างกันในเรื่องของเป้าหมาย กล่าวคือ เมื่อใดที่กลุ่มผลประโยชน์ มีเป้าหมายที่จะมีอิทธิพลเหนือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือมีอิทธิพลต่อนโยบายของรัฐบาลแล้ว กลุ่มผลประโยชน์เหล่านั้นก็จะกลายเป็นกลุ่มผลักดันหรือกลุ่มอิทธิพลทันที

67 แนวคิดเรื่องกลุ่มผลประโยชน์ที่หลากหลายสอดคล้องกับแนวคิดการปกครองแบบใด

(1) ปัจเจกชนนิยม

(2) ประชาธิปไตย

(3) คณาธิปไตย

(4) สังคมนิยม

(5) อนาธิปัตย์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 49 ประกอบ

68 หากนักการเมืองคนใดถูกศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยว่ามีความผิดฐานจงใจยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินอันเป็นเท็จ นักการเมืองผู้นั้นต้องห้ามดํารงตําแหน่งทางการเมืองและ ตําแหน่งใด ๆ ในพรรคการเมืองเป็นเวลาอย่างน้อยกี่ปี

(1) 5 ปี

(2) 7 ปี

(3) 10 ปี

(4) 15 ปี

(5) 20 ปี

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 มาตรา 263 บัญญัติว่า ในกรณีที่นักการเมืองคนใดถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยว่ามีความผิดฐานจงใจไม่ยื่น บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน หรือจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน และเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริง ให้นักการเมืองผู้นั้น พ้นจากตําแหน่ง และต้องห้ามมิให้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองหรือตําแหน่งใดในพรรคการเมืองเป็นเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ศาลฎีกาฯ วินิจฉัย

69 การแจกใบเหลืองใบแดงของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ถือว่าเป็นการทําหน้าที่ (1) กึ่งฝ่ายบริหาร

(2) ถึงศาล

(3) กรรมการ

(4) เป็นผู้ปกป้องรัฐบาล

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ถือว่าเป็นการทําหน้าที่ถึงศาล เช่น การพิจารณาแจกใบเหลืองและใบแดงแก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่กระทําการฝ่าฝืน พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ หรือระเบียบหรือประกาศของ กกต. การรับรองหรือไม่รับรองผลการเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัคร ส.ส. เป็นต้น

70 พฤติการณ์ในข้อใดไม่เกี่ยวกับอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง

(1) การเลื่อนการเลือกตั้ง

(2) การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง

(3) การกําหนดเขตเลือกตั้ง

(4) การทําบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

(5) การตรวจสอบคุณสมบัติของนักการเมือง

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 และ พ.ร.ป. ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้งพ.ศ. 2560 นั้น คณะารรมการการเลือกตั้งมีอํานาจหน้าที่ดังนี้

1 การตรวจสอบคุณสมบัติของนักการเมือง

2 การจัดทําและตรวจสอบบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

3 การกําหนดเขตเลือกตั้ง

4 การกําหนดวันเลือกตั้ง และการเลื่อนการเลือกตั้ง

5 การประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง ผลการสรรหา และผลการออกเสียงประชามติ ฯลฯ (ส่วนการเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งเป็นอํานาจของศาลฎีกา)

71 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะที่สําคัญของพรรคการเมือง

(1) เป็นคณะบุคคลที่รวบรวมกันเป็นองค์การ

(2) มีการกําหนดประเด็นปัญหาและนโยบาย

(3) มีการคัดเลือกบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้ง

(4) ดําเนินกิจกรรมเพื่อมุ่งแสวงหากําไร

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 6 ลักษณะที่สําคัญของพรรคการเมือง มีดังนี้

1 เป็นคณะบุคคลที่รวบรวมกันเป็นองค์การ คือ เป็นการรวมตัวกันของปัจเจกบุคคลเป็นองค์การ

2 เป็นการรวมตัวกันตามแนวความคิด อุดมการณ์ หรือหลักการบางอย่างที่เห็นพ้องต้องกัน

3 มีการกําหนดประเด็นปัญหาและนโยบาย

4 มีการคัดเลือกบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้ง

5 มีจุดมุ่งหมายที่จะเข้าไปควบคุมการดําเนินงานและนโยบายของรัฐบาล หรือแสวงหาอํานาจรัฐ

72 ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของพรรคการเมือง

(1) เสนอนโยบาย

(2) ชี้ขาดข้อพิพาท

(3) จัดตั้งรัฐบาล

(4) ปลุกระดมมวลชนให้มีส่วนร่วมทางการเมือง

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 15 – 19 หน้าที่ของพรรคการเมือง มีดังนี้

1 เลือกสรรบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้ง

2 เสนอนโยบาย ชี้ประเด็นปัญหา และเสนอแนวทางแก้ไข

3 เป็นสื่อกลางระหว่างประชาชนกับองค์การของรัฐ

4 จัดตั้งรัฐบาล

5 ปลุกระดมมวลชนให้เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง

73 ข้อใดไม่ใช่บทบาทของพรรคการเมือง

(1) พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

(2) ช่วยให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยดีมีประสิทธิภาพ

(3) ช่วยให้กลไกทางการเมืองดําเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ

(4) ช่วยประสานประโยชน์ของกลมชนในสังคม

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 19 – 23 บทบาทของพรรคการเมือง มีดังนี้

1 ช่วยให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยดีและมีประสิทธิภาพ

2 ช่วยให้กลไกทางการเมืองดําเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องต้องกัน

3 ชวยผดุงรักษาอํานาจในการปกครองให้สืบต่อเนื่องกัน และการถ่ายทอด อํานาจเป็นไปอย่างถูกต้องตามครรลอง

4 ช่วยประสานประโยชน์ของกลุ่มชนในสังคม

5 เป็นเครื่องมือในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน

6 ช่วยพัฒนาการเมือง

74 ข้อใดไม่ใช่ทฤษฎีที่กล่าวถึงกําเนิดของพรรคการเมือง

(1) ทฤษฎีจิตวิทยา

(2) ทฤษฎีทางเศรษฐกิจและสังคม

(3) ทฤษฎีอุดมการณ์

(4) ทฤษฎีทางการจัดองค์การ

(5) ทฤษฎีระบบ

ตอบ 5 หน้า 27 – 32 ทฤษฎีที่กล่าวถึงกําเนิดของพรรคการเมือง มีดังนี้

1 ทฤษฎีจิตวิทยา

2 ทฤษฎีทางเศรษฐกิจและสังคม

3 ทฤษฎีอุดมการณ์หรือหลักการ

4 ทฤษฎีทางการจัดองค์การ

5 ทฤษฎีว่าด้วยสถาบัน

6 ทฤษฎีว่าด้วยพัฒนาการ

7 ทฤษฎีว่าด้วยประติศาสตร์และสถานการณ์

75 อุดมการณ์เริ่มมีความสําคัญต่อพรรคการเมืองน้อยลงในช่วงเวลาใด

(1) หลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม

(2) หลังสงครามโลกครั้งที่ 1

(3) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

(4) หลังปี 1980

(5) หลังปี 2000

ตอบ 3 หน้า 35 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อุดมการณ์เริ่มมีความสําคัญต่อพรรคการเมืองน้อยลงพรรคการเมืองได้กลายเป็นพรรคปฏิบัติการมากกว่าอุดมการณ์ โดยการปรับปรุงอุดมการณ์ให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคมมากขึ้น เพื่อหวังจะได้รับการเลือกตั้งมากที่สุด

76 พรรคการเมืองรูปแบบใดที่มีความเป็นมายาวนานที่สุด

(1) พรรคชนชั้น

(2) พรรคมวลชน

(3) พรรคแบบผสม

(4) พรรคแนวร่วม

(5) พรรคจัดตั้ง

ตอบ 1 หน้า 40, (คําบรรยาย) ศ.มอริส ดูแวร์เช่ (Maurice Diverger) ได้แบ่งพรรคการเมืองออกเป็น 3 รูปแบบ คือ

1 พรรคชนชั้น (พรรคดั้งเดิม) เป็นพรรคการเมืองที่มีความเป็นมายาวนานที่สุด

2 พรรคมวลชน

3 พรรคแบบผสม (พรรคกึ่งมวลชนถึงชนชั้น)

77 ข้อใดคือความมุ่งหมายของพรรคมวลชนแบบสังคมนิยม

(1) ชนะการเลือกตั้ง

(2) รวบรวมสมาชิกให้ได้มากที่สุด

(3) เผยแพร่ความรู้

(4) ระดมทุน

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 หน้า 43 – 44 ความมุ่งหมายของพรรคมวลชนแบบสังคมนิยม คือ รวบรวมและแสวงหาสมาชิกให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้ โดยพรรคสังคมนิยมในปัจจุบันได้ให้ความสําคัญแก่มวลชนมาก การรับสมัครสมาชิกจะกระทําโดยตรงและเปิดสู่สาธารณะในลักษณะที่ถาวร

78 การจัดองค์การพรรคการเมืองแบบเซลล์เป็นลักษณะจําเพาะของพรรคใด

(1) พรรคแรงงาน

(2) พรรคเสรีนิยม

(3) พรรคคอมมิวนิสต์

(4) พรรคอนุรักษนิยม

(5) พรรคกรีน

ตอบ 3 หน้า 65 การจัดองค์การพรรคการเมืองแบบหนวยหรือเซลล์ (Celt) นั้น ถือว่าเป็นลักษณะจําเพาะของพรรคคอมมิวนิสต์

79 ข้อใดไม่ใช่องค์การเบื้องต้นของพรรคการเมือง

(1) Caucus

(2) Branch

(3) Cts

(4) Militia

(5) Sect

ตอบ 5 หน้า 56, 62, 65, 68 องค์การเบื้องต้นของพรรคการเมือง มี 4 แบบ คือ

1แบบคณะกรรมการ (Caucus)

2 แบบสาขา (Branch)

3 แบบหน่วยหรือเซลล์ (Cell)

4 แบบทหาร (Militia)

80 ลักษณะที่ผู้นําพรรคอนุรักษนิยมของอังกฤษมีอํานาจมากถูกเรียกว่าอะไร

(1) โลกาธิปไตย

(2) เอกาธิปไตย

(3) ธรรมาธิปไตย

(4) เผด็จการเบ็ดเสร็จ

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 หน้า 100 ผู้นําหรือหัวหน้าพรรคอนุรักษนิยมของอังกฤษจะเป็นผู้คัดเลือกบุคคลเข้าร่วมเป็นคณะรัฐบาลและเป็นเจ้าหน้าที่บริหารระดับสูง จะอยู่ในตําแหน่งตราบเท่าที่ สามารถควบคุมหรือมีอิทธิพลเหนือสมาชิกคนสําคัญ ๆ ของพรรค ดังนั้นหัวหน้าพรรคจึงมีอํานาจมากจนถูกเรียกว่าเป็นลักษณะ “เอกาธิปไตย”

81 ข้อใดคือที่มาของหัวหน้าพรรคแรงงานของอังกฤษ

(1) เลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่พรรค

(2) แต่งตั้งโดยหัวหน้าพรรคคนก่อนหน้า

(3) การหยังสียงของผู้สนับสนุนพรรค

(4) เลือกตั้งโดยสมาชิกสภาสามัญสังกัดพรรค

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 หน้า 100 หัวหน้าพรรคแรงงานของอังกฤษในระยะที่เป็นพรรคฝ่ายค้านจะต้องมีการเลือกตั้งทุก ๆ ปีจากที่ประชุมใหญ่ของพรรค ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกพรรคที่เป็นสมาชิกรัฐสภาและตัวแทนจากสหพันธ์แรงงานที่สังกัดพรรคแรงงาน

82 พรรคการเมืองใดมีลักษณะอัตตาธิปไตยแบบเปิดเผย

(1) พรรคอนุรักษนิยมของอังกฤษ

(2) พรรคเดโมแครต

(3) พรรคเสรีประชาธิปไตย

(4) พรรคแรงงานของอังกฤษ

(5) พรรคนาซี

ตอบ 5 หน้า 106 107 อัตตาธิปไตยแบบเปิดเผย หมายถึง การที่หัวหน้าพรรคมีอํานาจเด็ดขาดในการตัดสินปัญหาสําคัญ ๆ ของพรรค และเป็นผู้กําหนดแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานบริหาร ระดับสูงของพรรคแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งลักษณะอัตตาธิปไตยแบบเปิดเผยนี้จะพบได้ในพรรคฟาสซิสต์และพรรคนาซี

83 พรรคการเมืองใดมีการจัดองค์การเบื้องต้นแบบ Militia

(1) พรรคคอมมิวนิสต์

(2) พรรคฟาสซิสต์

(3) พรรคเสรีประชาธิปไตย

(4) พรรคแรงงานของอังกฤษ

(5) พรรครีพับลิกัน

ตอบ 2 หน้า 68 – 70 การจัดองค์การเบื้องต้นแบบทหารหรือแบบมิลิเซีย (Militia) บางครั้งถูกเรียกว่าเป็นกองทัพส่วนตัว จะประกอบด้วยพลเรือนติดอาวุธสําหรับกู้สถานการณ์ของประเทศยามฉุกเฉิน โดยสมาชิกทุกคนจะได้รับการฝึกฝนเช่นเดียวกันกับทหารอาชีพ มีเครื่องแบบ เหรียญตรา กองดุริยางค์ ธงประจําหน่วย และถนัดการใช้อาวุธ ซึ่งการจัดองค์การเบื้องต้นแบบนี้จะพบได้ในพรรคฟาสซิสต์และพรรคนาซี

84 ประเทศใดมีระบบพรรคเด่นพรรคเดียว

(1) จีน

(2) อังกฤษ

(3) ฝรั่งเศส

(4) ญี่ปุ่น

(5) ไทย

ตอบ 4 หน้า 177 – 180 ระบบพรรคเด่นพรรคเดียวหรือระบบพรรคครึ่ง เป็นระบบพรรคการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศที่มีพรรคการเมืองหลายพรรค (ตั้งแต่ 2 พรรคขึ้นไป) เข้าแข่งขันกันใน การเลือกตั้ง แต่ว่าจะมีเพียงพรรคเดียวเท่านั้นที่มีเสียงข้างมากในสภาจนสามารถจัดตั้งรัฐบาล ได้เพียงลําพังติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนาน ตัวอย่างประเทศที่มีระบบพรรคเด่นพรรคเดียวในปัจจุบัน เช่น ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เป็นต้น

85 พรรคการเมืองในประเทศใดไม่ใช่ระบบสองพรรค

(1) อังกฤษ

(2) ฝรั่งเศส

(3) นิวซีแลนด์

(4) สหรัฐอเมริกา

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 หน้า 145 – 148, (คําบรรยาย) ระบบสองพรรค หมายถึง การที่รัฐหรือประเทศหนึ่งมีพรรคการเมืองขนาดใหญ่เพียง 2 พรรคที่มีโอกาสเป็นรัฐบาล โดยเสียงของประชาชน ในการเลือกตั้งจะทําให้มีการผลัดกันเป็นรัฐบาล แล้วแต่ว่าพรรคใดจะได้คะแนนนิยมสูงสุด ซึ่งในระบบพรรคการเมืองแบบนี้รัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นส่วนมากจะเป็นรัฐบาลพรรคเดียว ตัวอย่าง ประเทศที่มีระบบสองพรรคในปัจจุบัน เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร (อังกฤษ) นิวซีแลนด์ ฟิจิ อุรุกวัย จาไมกา โดมินิกัน เป็นต้น

86 สาเหตุที่เกิดการรัฐประหารครั้งแล้วครั้งเล่าในสังคมไทย เพราะ

(1) รัฐประหารสามารถแก้ปัญหาสังคมต่าง ๆ ได้

(2) เพราะนักการเมืองทุจริต

(3) เพราะระบบการเมืองไร้ประสิทธิภาพ

(4) เพราะประชาชนสนับสนุน

(5) ประชาธิปไตยยังไม่เข้มแข็ง

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 59 ประกอบ

87 ข้อใดคือหนึ่งในหลักการบริหารบ้านเมืองหกประการของคณะราษฎร

(1) จะต้องให้ราษฎรได้มีโอกาสในการศึกษา

(2) ส่งเสริมให้ราษฎรมีเสรีภาพ

(3) ราษฎรสามารถตั้งพรรคการเมืองได้

(4) เปิดเสรีทางการค้า

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) หลัก 6 ประการของคณะราษฎร ซึ่งประกาศไว้ในประกาศคณะราษฎรฉบับที่ 1 เพื่อเป็นนโยบายในการบริหารและปกครองประเทศ มีดังนี้

1 จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย

2 จะต้องรักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก 3 จะต้องบํารุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎร ในทางเศรษฐกิจ

4 จะต้องให้ราษฎรได้มีสิทธิเสมอภาคกัน

5 จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ

6 จะต้องให้ราษฎรได้มีโอกาสในการศึกษาอย่างเต็มที่

88 ข้อใดคือหนึ่งในองค์การของกลุ่มผลประโยชน์ที่จัดตั้งหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475

(1) สหภาพแรงงาน

(2) สหภาพแรงงานไทย

(3) สมาคมแรงงานแห่งประเทศไทย

(4) สหภาพกรรมกรกลาง

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 310 311 องค์การของกลุ่มผลประโยชน์ที่จัดตั้งหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ. 2475 – พ.ศ. 2516 มีดังนี้

1 สหภาพกรรมกรกลาง

2 สหภาพกรรมกรชาติไทย

3 สมาคมคนงานเสรีแห่งประเทศไทย

89 จุดประสงค์การจัดตั้งกลุ่มผลประโยชน์

(1) เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของลุ่ม

(2) เพื่อแสวงหาอิทธิพลเหนือนโยบายสาธารณะ

(3) เพื่อทํางานร่วมกันเป็นกลุ่มให้บรรลุผลประโยชน์เฉพาะร่วมกัน

(4) เพื่อเสนอตัวเป็นผู้บริหารรัฐบาล

(5) ถูกเฉพาะข้อ 1, 2 และ 3 เท่านั้น

ตอบ 5 หน้า 236 จุดประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มผลประโยชน์ มีดังนี้

1 เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่ม

2 เพื่อแสวงหาอิทธิพลเหนือนโยบายสาธารณะ

3 เพื่อทํางานร่วมกันเป็นกลุ่มให้บรรลุผลประโยชน์เฉพาะร่วมกัน

90 การใช้อิทธิพลเหนือนโยบายรัฐบาล และเมื่อรัฐบาลได้นําไปปฏิบัติ หากแต่เมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้นกลุ่มดังกล่าวมิได้มีส่วนที่ต้องรับผิดชอบแต่อย่างใด คือลักษณะของ

(1) กลุ่มผลประโยชน์

(2) กลุ่มผลักดัน

(3) กลุ่มอุดมการณ์

(4) ล็อบบี้ยิสต์

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 หน้า 238 เกรแฮม วัดต้น (Graham Wooton) กล่าวว่า กลุ่มผลักดัน คือ องค์การใด ๆที่แสวงหาอิทธิพลเหนือนโยบายของรัฐบาล แต่ปฏิเสธความความรับผิดชอบในองค์การของรัฐ

ตั้งแต่ข้อ 91. – 100. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) ถูก

(2) ผิด

91 พรรคการเมืองชื่อโบว์น้ําเงินในดุสิตธานีมีหัวหน้าพรรคคือ หลวงวิจิตวาทการ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ได้ทรงตั้งเมืองสมมุติ“ดุสิตธานี” ขึ้นในบริเวณวังพญาไท เพื่อทดลองการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยโปรดให้มี “ธรรมนูญการปกครองแบบนคราภิบาล” ซึ่งเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญของเมือง มีการเลือกตั้ง นคราภิบาลหรือนายกเทศมนตรี มีสภาการเมืองแบบประเทศประชาธิปไตย และมีพรรคการเมือง 2 พรรค คือ พรรคโบว์น้ําเงิน ซึ่งมีนายราม ณ กรุงเทพ (รัชกาลที่ 6) เป็นหัวหน้าพรรค และพรรคโบว์แดง ซึ่งมีเจ้าพระยารามราฆพ เป็นหัวหน้าพรรค

92 นโยบายของพรรคการเมืองมีความสําคัญต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้ง

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ตามหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภานั้น พรรคการเมืองต่าง ๆจะต้องแข่งขันกันเพื่อเป็นรัฐบาลโดยการนํานโยบายมาหาเสียงในการเลือกตั้ง ซึ่งความแตกต่าง ของนโยบายแต่ละพรรคการเมืองจะมีความสําคัญและมีประโยชน์ต่อการตัดสินใจของประชาชน ในการเลือกตั้ง หากสมาชิกของพรรคใดได้รับเลือกตั้งจากประชาชนให้เข้ามามีเสียงข้างมากในสภา แสดงว่าประชาชนต้องการให้นโยบายของพรรคนั้นเป็นนโยบายของรัฐบาล และเมื่อรัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศ จะต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาและนํานโยบายนั้นไปปฏิบัติให้บรรลุผล

93 การนํานโยบายที่แถลงไว้ต่อรัฐสภาไปปฏิบัติ อาทิ นโยบายจํานําข้าว รถคันแรก กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเป็นไปตามหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 92 ประกอบ

94 “ที่ใดมีองค์กร ที่นั้นมีระบบคณาธิปไตย” เช่น พรรคการเมืองส่งเสริมให้เกิดระบบคณาธิปไตยเป็นความคิดของ Robert Michels

ตอบ 1 (คําบรรยาย) โรเบิร์ต มิเชลส์ (Robert Michels) นักทฤษฎีชนชั้นนําได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับกฎเหล็กแห่งคณาธิป ตย (Iron Law of Oligarchy) โดยกล่าวว่า “ที่ใดมีองค์กร ที่นั้นมีระบบ คณาธิปไตย” หรือมีคนเพียงส่วนน้อยที่มีอํานาจในการตัดสินใจในองค์กร เช่น พรรคการเมือง ส่งเสริมให้เกิดระบบคณาธิปไตย เนื่องจากมีเพียงหัวหน้าพรรคและผู้ที่ให้เงินสนับสนุนพรรครายใหญ่เท่านั้นที่มีอํานาจในการตัดสินใจในพรรค

95 เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ปี 2535 เป็นจุดเริ่มต้นซึ่งประชาชนมีบทบาทสําคัญในการขับเคลื่อนการปฏิรูปรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นประชาธิปไตยมากที่สุดของไทยฉบับหนึ่ง

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 36 ประกอบ

96 คณะกรรมการการเลือกตั้งประกอบด้วยกรรมการจํานวนเจ็ดคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงเต่งตั้งตามคําแนะนําของวุฒิสภาตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560

ตอบ 1 (คําบรรยาย) พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 มาตรา 8 และ 15 กําหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกอบด้วยกรรมการจํานวน 7 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ตามคําแนะนําของวุฒิสภา โดยมีวาระการดํารงตําแหน่ง 7 ปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และดํารงตําแหน่งได้เพียงวาระเดียว

97 คณะกรรมการการเลือกตั้งอาจเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือกรรมการหรือที่ปรึกษาของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) พ.ร.ป. ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 มาตรา 10 กําหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้

1 เป็นหรือเคยเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระใด

2 เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมือง หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นในระยะ 10 ปีก่อนเข้ารับการคัดเลือกหรือสรรหา

3 เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือกรรมการหรือที่ปรึกษาของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ

4 เป็นผู้ดํารงตําแหน่งใดในห้างหุ้นส่วนบริษัท หรือองค์กรที่ดําเนินธุรกิจโดยงหาผลกําไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน หรือเป็นลูกจ้างของบุคคลใด

5 เป็นผู้ประกอบวิช ชีพอิสระ ฯลฯ

98 คณะกรรมการการเลือกตั้งอาจมาจากผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 97 ประกอบ

99 สํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล

ตอบ 2 (คําบรรยาย) พ.ร.ป. ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 มาตรา 50, 54 และ 55 กําหนดให้ สํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งมีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยมีเลขาธิการ เป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างของสํานักงาน ซึ่งเลขาธิการต้องเป็นผู้มีความเป็นกลาง ทางการเมือง ไม่เคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดในระยะเวลา 10 ปีก่อนได้รับแต่งตั้ง มีความ ซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ มีสัญชาติไทย มีอายุไม่เกิน 60 ปีในวันที่ได้รับแต่งตั้งและมีอายุไม่เกิน 65 ปีในขณะดํารงตําแหน่งเลขาธิการ

100 เลขาธิการสํานักงานต้องเป็นผู้มีความเป็นกลางทางการเมือง ไม่เคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดในระยะเวลาสิบปีก่อนได้รับแต่งตั้ง

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 99 ประกอบ

 

POL2104 พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ S/2560

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2104 พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 ผลจากการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 มีพรรคการเมืองใดถูกยุบหรือไม่

(1) ไม่มีพรรคไหนโดนยุบพรรค

(2) พรรคประชาธิปัตย์ถูกยุบ

(3) หัวหน้าพรรคเพื่อไทยโดนจับ

(4) พรรคเพื่อไทยถูกยุบ

(5) พรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นรัฐบาล

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) การรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 เป็นการรัฐประหารรัฐบาลรักษาการของนายนิวัฒน์ธํารง บุญทรงไพศาล โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งการรัฐประหาร ในครั้งนี้เป็นการรัฐประหารครั้งที่ 13 ของประวัติศาสตร์ไทย และนับเป็นครั้งที่ 2 ในรอบ หนึ่งทศวรรษ (หรือในรอบ 10 ปี ต่อจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549) โดยการรัฐประหาร ได้มีผลทําให้รัฐธรรมนูญฯ 2550 สิ้นสุดลง และทําให้คณะรัฐมนตรีรักษาการและวุฒิสภา สิ้นสุดลงด้วย แต่ศาล องค์กรอิสระ และองค์กรอื่น ๆ ตามรัฐธรรมนูญฯ 2550 เช่น คณะกรรมการ การเลือกตั้ง (กกต.) ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ส่วนพรรคการเมืองนั้นยังคงดํารงอยู่ แต่ไม่สามารถดําเนินกิจกรรมใด ๆ ทางการเมืองได้

2 ผลจากการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 คณะกรรมการการเลือกตั้งได้รับผลกระทบ คือ

(1) คณะกรรมการการเลือกตั้งไม่โดนยุบ

(2) กกต. ฝ่ายบริหารการเลือกตั้งโดนปลด ฐานจัดการเลือกตั้งล้มเหลว

(3) กกต. ฝ่ายบริหารการเลือกตั้งโดนเรียกไปปรับทัศนคติ

(4) ประธาน กกต. ถูกปลด

(5) กกต. ถูกส่งไปศึกษางานต่างประเทศ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 1 ประกอบ

3 แนวคิดเรื่องสัญญาประชาคม (Social Contract) อธิบายว่าเราสามารถบรรลุถึงเสรีภาพได้ในเงื่อนไขใด

(1) ในรัฐสังคมนิยม

(2) ในรัฐสวัสดิการ

(3) ในรัฐแบบใดก็ได้

(4) ในรัฐประชาธิปไตยเท่านั้น

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 5 (คําบรรยาย) รุสโซ เห็นว่า สังคมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งสัญญาประชาคม (Social Contract) สามารถทําให้บุคคลในฐานะสมาชิกของสังคมนั้นบรรลุถึงเสรีภาพได้ ภายใต้เงื่อนไขการออก กฎหมายมาบังคับตัวเอง กล่าวคือ การที่เคารพกฎหมายที่ตัวเรามีส่วนร่วมในการบัญญัตินั้น เราย่อมไม่รู้สึกว่ากฎหมายนั้นกดขี่เราและทําให้เราไม่มีเสรีภาพ เพราะโดยทั่วไปแล้วคงไม่มีใครเสียสติพอที่จะบัญญัติกฎหมายออกมาเพื่อกดขี่บีบคั้นตัวเองให้เจ็บปวด

4 อุดมการณ์หรือแนวคิดใดเชื่อว่าความแตกต่างทางความคิดและกลุ่มการเมืองที่หลากหลายเป็นเรื่องผิดปกติ

(1) ฟาสซิสต์

(2) อนุรักษนิยม

(3) สังคมนิยม

(4) ประชาธิปไตย

(5) เฉพาะข้อ 1 และ 2

ตอบ 5 หน้า 234, (คําบรรยาย) การเมืองแบบพหุนิยม เป็นแนวคิดของอุดมการณ์เสรีนิยมประชาธิปไตยซึ่งเห็นว่าประชาธิปไตยจะมีขึ้นและมั่นคงอยู่ได้ก็ด้วยการมีกลุ่ม กลุ่มผลประโยชน์ พรรคการเมือง สมาคม ชมรม สันนิบาต องค์การ หรือสหพันธ์ต่าง ๆ ที่หลากหลายภายในรัฐโดยเสรีและสมัครใจ มิได้มีการบังคับ เพราะเชื่อว่าความแตกต่างทางความคิดและกลุ่มการเมืองที่หลากหลายเป็น เรื่องปกติ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ตรงกันข้ามกับอุดมการณ์อนุรักษนิยม คอมมิวนิสต์ ฟาสซิสต์ และ นาซีที่ไม่สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่ม เพราะเชื่อว่าความแตกต่างทางความคิดและกลุ่มการเมืองที่หลากหลายเป็นเรื่องผิดปกติ

5 ส่วนผสมของอุดมการณ์ทางการเมืองที่สําคัญ คือ

(1) วิจารณ์สังคม ให้ภาพอนาคต เสนอแนวทางเข้าสู่สังคมที่ดีกว่า

(2) ให้ภาพอดีต วิจารณ์สังคม เสนอวิธีเข้าสู่สังคมที่ดีกว่า

(3) วิจารณ์ปัจจุบัน ให้ภาพอนาคต เสนอวิธีล้มล้างระบอบปัจจุบัน

(4) วิจารณ์ปัจจุบัน ให้ศรัทธาผู้นํา เสนอวิธีล้มล้างระบอบปัจจุบัน

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ส่วนผสมของอุดมการณ์ทางการเมืองที่สําคัญ มี 3 ประการ คือ

1 การวิจารณ์สังคมหรือระเบียบในปัจจุบัน

2 การให้ภาพสังคมหรือระเบียบในอนาคต

3 การเสนอทฤษฎีหรือการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมหรือระเบียบใหม่ เช่น เสนอวิธีล้มล้างระบอบปัจจุบันหรือเสนอแนวทางเข้าสู่สังคมใหม่ที่ดีกว่า เป็นต้น

6 ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาปี 2016 ผู้สมัครจากพรรคการเมืองใดใช้เงินในการหาเสียง เลือกตั้งมากที่สุด

(1) พรรคเดโมแครต

(2) พรรครีพับลิกัน

(3) พรรคกรีน

(4) พรรคแรงงาน

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (ข่าว) ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 2016ผู้สมัครที่ใช้เงินในการหาเสียงเลือกตั้งมากที่สุด คือ นางฮิลลารี คลินตัน (Hillary Clinton) จากพรรคเดโมแครต (ประมาณ 500 ล้านดอลลาร์) ส่วนนายโดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump) จากพรรครีพับลิกัน ซึ่งเป็นผู้ชนะการเลือกตั้งได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาใช้เงินในการหาเสียงเลือกตั้งประมาณ 200 ล้านดอลลาร์

7 Donald Trump เป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาจากพรรคการเมืองใด

(1) พรรคกรีน

(2) พรรครีพับลิกัน

(3) พรรคคองเกรส

(4) พรรคเดโมแครต

(5) เป็นรัฐบาลผสม

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

8 การใช้เงินในการหาเสียงเลือกตั้งโดยได้รับการบริจาคหรือเงินสนับสนุนจากกลุ่มทุน นักธุรกิจ รวมถึง ประชาชนทั่วไป ผิดหลักการประชาธิปไตยทั่วไปหรือไม่

(1) ผิด เพราะพรรคการเมืองที่มีนายทุนมากย่อมได้เปรียบพรรคการเมืองขนาดเล็ก (2) ผิด เพราะก่อให้เกิดระบบอุปถัมภ์

(3) ผิด เพราะก่อให้เกิดการซื้อสิทธิ์ขายเสียง

(4) ไม่ผิด เพราะสะท้อนให้เห็นความเป็นจริงของกลุ่มทุน รวมถึงประชาชนบางกลุ่มทั้งในระดับสาขาอาชีพ – เชื้อชาติ ศาสนา สนับสนุนพรรคการเมืองนั้น ๆ

(5) ถูกเฉพาะข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การใช้เงินในการหาเสียงเลือกตั้งโดยได้รับการบริจาคหรือเงินสนับสนุนจากกลุ่มทุนนักธุรกิจ และประชาชนทั่วไป อย่างเปิดเผยตรงไปตรงมา ถือว่าไม่ผิดหลักการประชาธิปไตย ทั่วไป เพราะสะท้อนให้เห็นความเป็นจริงของกลุ่มทุนและประชาชนในสาขาอาชีพ เชื้อชาติ และศาสนาต่าง ๆ ที่สนับสนุนนโยบายหรือแนวความคิดของบุคคลหรือพรรคการเมืองนั้น ๆ

9 ตามแนวคิดเรื่องการพัฒนาการเมือง (Political Development) พรรคการเมืองจะต้องพัฒนาความเป็นสถาบันการเมืองโดยการ

(1) มีหัวหน้าพรรคที่เข้มแข็งเด็ดขาด

(2) เลือกบุคคลจากสกุลดังให้มาเป็นสมาชิกพรรค

(3) มีการแบ่งงานกันทําภายในพรรคตามนามสกุลและเงินบริจาค

(4) มีนักธุรกิจมาเป็นสมาชิกพรรคมาก ๆ

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ตามแนวคิดเรื่องการพัฒนาการเมือง (Political Development) นั้นพรรคการเมืองจะต้องพัฒนาความเป็นสถาบันการเมืองโดย

1 มีหัวหน้าพรรคที่เข้มแข็งเด็ดขาด

2 มีการแบ่งงานกันทําภายในพรรคตามความถนัด

3 มีการคัดเลือกบุคคลเข้ามาเป็นสมาชิกพรรคโดยคํานึงถึงความรู้ความสามารถ ฯลฯ

10 ตามคํานิยามของเอ็ดมันด์ เบอร์ก พรรคการเมืองจะต้องมีจุดมุ่งหมายเพื่อ

(1) ส่งเสริมสาธารณกุศล

(2) ป้องกันการแตกสามัคคีของคนในชาติ

(3) สร้างความสามัคคีของหมู่คณะ

(4) ส่งเสริมผลประโยชน์ของชาติ

(5) ส่งเสริมประโยชน์แก่สมาชิกพรรค

ตอบ 4 หน้า 4 เอ็ดมันด์ เบอร์ก (Edmund Burke) ได้ให้คํานิยามของพรรคการเมืองว่า พรรคการเมืองได้แก่ “คนกลุ่มหนึ่งซึ่งรวมกันตามแนวหลักการบางอย่าง โดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกันในการส่งเสริมผลประโยชน์ของชาติ”

11 อุดมการณ์ใดที่นิยมระบบพรรคการเมืองแบบพรรคเดียว

(1) เสรีนิยม

(2) อนุรักษนิยม

(3) สังคมนิยม

(4) คอมมิวนิสต์

(5) ฟาสซิสต์

ตอบ 4. 5 หน้า 135, 139, (คําบรรยาย) ระบบพรรคเดียว หมายถึง การที่รัฐหรือประเทศหนึ่งมีรัฐบาลที่ตั้งขึ้นโดยพรรคการเมืองพรรคเดียว และระบบนี้ยอมให้มีเฉพาะพรรคที่ครองอํานาจอยู่เท่านั้น ไม่ยอมให้มีพรรคอื่นเข้ามาแข่งขันหรือกีดกัน ซึ่งจะพบระบบนี้ได้ในประเทศที่มีการปกครอง ระบอบเผด็จการหรือมีอุดมการณ์แบบซ้ายสุดโต่ง (คอมมิวนิสต์) หรือขวาสุดโต่ง (ฟาสซิสต์และนาซี) เช่น จีน ลาวเวียดนาม คิวบา เกาหลีเหนือ เป็นต้น

12 อุดมการณ์หรือแนวคิดใดไม่ต้องการให้มีรัฐ

(1) ฟาสซิสต์

(2) อนาธิปัตย์

(3) ประชาธิปัตย์

(4) ประชาธิปไตย

(5) เฉพาะข้อ 1 และ 2

ตอบ 2 (คําบรรยาย) อนาธิปัตย์ หรืออนาคิสม์ (Anarchism) เป็นอุดมการณ์หรือแนวคิดทางการเมืองที่ต่อต้านการมีรัฐบาลหรือการมีรัฐ โดยถือว่ารัฐหรือการรวมตัวเป็นประเทศ เป็นชาติ เป็นบ้านเมืองหรือการมีรัฐบาลนั้นเป็นของไม่จําเป็น และเป็นบอเกิดของความชั่วร้ายนานาประการ

13 ปัจจุบันประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง คือ

(1) สมชัย ศรีสุทธิยากร

(2) ศุภชัย สมเจริญ

(3) ประวิช รัตนเพียร

(4) ธีรวัฒน์ ธีรโรจน์วิทย์

(5) อมรา พงศาพิชญ์

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ชุดปัจจุบัน ประกอบด้วย นายศุภชัย สมเจริญ ประธาน กกต. และกรรมการอีก 4 คน ได้แก่ นายสมชัย ศรีสุทธิยากร, นายประวิช รัตนเพียร, นายธีรวัฒน์ ธีรโรจน์วิทย์ และนายบุญส่ง น้อยโสภณ (กกต. ชุดนี้จะยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่า กกต. ชุดใหม่ที่ได้รับการแต่งตั้งตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560จะเข้ารับหน้าที่)

14 ในปัจจุบันพรรคการเมืองแบบชนชั้นหมายถึงพรรคที่มิได้เน้นในเรื่องจํานวนของผู้เข้าร่วมในพรรคเพื่อดําเนินกิจกรรมทางการเมือง แต่กลับเน้นในเรื่อง.ของสมาชิก (1) ลัทธิความเชื่อ

(2) ศาสนา

(3) อายุ

(4) คุณภาพ

(5) ความรู้ภาษาอังกฤษ

ตอบ 4 หน้า 40 – 41, (คําบรรยาย) พรรคชนชั้นหรือพรรคดั้งเดิม เป็นพรรคการเมืองที่ยังคงรักษาโครงสร้างของคําว่า “ชนชั้นนํา” (Elite) อยู่ กล่าวคือ เป็นพรรคที่มิได้เน้นในเรื่องจํานวนของ สมาชิกพรรคหรือจํานวนของผู้เข้าร่วมในพรรคเพื่อดําเนินกิจกรรมทางการเมือง แต่กลับเน้น ในเรื่องคุณภาพของสมาชิกพรรค เพราะพรรคต้องการเฉพาะกลุ่มคนหรือบุคคลที่ครอบครอง ปัจจัยสําคัญทางเศรษฐกิจและการเมืองของสังคม เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง มียศถาบรรดาศักดิ์ หรือมีฐานะดีพอที่จะสามารถสนับสนุนพรรคในด้านการเงินได้ หรืออาจจะพูดให้เข้าใจง่าย ๆก็คือ เป็นพรรคการเมืองที่เน้นในเรื่องคุณภาพมากกว่าปริมาณของสมาชิก

15 พรรคแห่งชนชั้นกลาง หรือ Party Bourgeois นั้น มีทิศทางการบริหารประเทศที่เน้นด้าน

(1) ส่งเสริมเกษตรพอเพียง

(2) ไม่ขอบความรุนแรง

(3) นวัตกรรมทางการค้า

(4) นิยมรัฐสวัสดิการ

(5) ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง

ตอบ 5 หน้า 41 พรรคแห่งชนชั้นกลาง (Party Bourgeois) เป็นพรรคการเมืองที่มีแนวคิดและทิศทางการบริหารประเทศแบบอนุรักษนิยมที่ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง โดยสมาชิกของพรรค จะประกอบด้วยบุคคลที่จัดอยู่ในประเภทกลางของสังคม เป็นผู้ที่มีทรัพย์สิน มีความสนใจฝักใฝ่ในทางวัตถุนิยม และมีผลประโยชน์เป็นของตนเองโดยเฉพาะ

16 ในยุคที่พรรคนาซีมีอํานาจได้อาศัยข้ออ้างใดในการมีระบบพรรคเดียว

(1) เพื่อความเป็นเอกราชและความมั่นคงของชาติ

(2) ประเทศมีชนชั้นเดียว ต้องมีพรรคเดียว

(3) เพื่อพัฒนาสู่ความเป็นประชาธิปไตย

(4) เพื่อให้คนดีได้ปกครองบ้านเมืองโดยไม่มีคู่แข่ง

(5) เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและความรวดเร็วในการปกครอง

ตอบ 5 หน้า 136 ในยุคที่พรรคนาซีมีอํานาจได้ให้เหตุผลในการมีระบบพรรคเดียวว่า เยอรมันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแยกไม่ได้ พรรคก็ต้องมีพรรคเดียว เพราะการมีหลายพรรคจะเป็นการแบ่งแยกความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และประเทศไม่เจริญก้าวหน้าได้รวดเร็วเท่าที่ควร

17 ในทัศนะของนักปรัชญาการเมืองคนใดที่ไม่เห็นด้วยกับการมีพรรคการเมือง เพราะเป็นการทําลาย สภาผู้แทนราษฎรและรัฐบาลที่เสรี

(1) โทมัส ฮอบส์

(2) คาร์ล มาร์กซ์

(3) เอ็ดมันด์ เบอร์ก

(4) แม็กซ์ เวเบอร์

(5) รุสโซ

ตอบ 3 หน้า 33 เอ็ดมันด์ เบอร์ก (Edmund Burke) เป็นนักปรัชญาการเมืองชาวอังกฤษที่ไม่เห็นด้วยกับการมีพรรคการเมือง โดยเห็นว่า การแบ่งกันเป็นพรรคการเมืองเป็นการทําลายสภาสามัญ (สภาผู้แทนราษฎร) และรัฐบาลที่เสรี

18 พรรคการเมืองที่แท้จริงจะต้องมีลักษณะอย่างไร

(1) ยึดตัวผู้นําพรรคเป็นหลัก

(2) แสดงบทบาทเฉพาะช่วงเลือกตั้ง

(3) ไม่ร่วมกับพรรคอื่นตั้งรัฐบาล

(4) จํากัดจํานวนสมาชิกที่ดีเท่านั้น

(5) มีสาขาพรรคกระจายทั่วทุกภูมิภาค

ตอบ 5 หน้า 9 – 11 ลักษณะของพรรคการเมืองที่แท้จริง มี 4 ประการ คือ

1 ต้องมีความยั่งยืนโดยไม่ขึ้นอยู่กับชีวิตหรืออํานาจของผู้นําพรรคการเมือง แต่ยึดหลักการหรืออุดมการณ์เป็นหลัก

2 ต้องมีองค์การหรือสาขาพรรคมาก ๆ กระจายทั่วทุกภูมิภาค และมีเครือข่ายติดต่อกันระหว่าง สํานักงานใหญ่กับสาขาพรรคในท้องถิ่น

3 ผู้นําพรรคต้องมีความมุ่งหมายที่จะเป็นรัฐบาล โดยอาจจัดตั้งรัฐบาลโดยลําพังพรรคเดียวหรือจัดตั้งรัฐบาลผสมก็ได้

4 ต้องพยายามหาคะแนนเสียงเมื่อมีการเลือกตั้ง และหาความสนับสนุนจากมหาชนทั่วไปเมื่อไม่มีการเลือกตั้ง

19 พรรคการเมืองในประเทศเผด็จการมีบทบาทอย่างไร

(1) ยึดหลักประชาชนเป็นใหญ่

(2) เป็นตัวแทนอุดมการณ์ของกลุ่มคนต่าง ๆ

(3) ร่วมกับพรรคอื่นตั้งรัฐบาล

(4) จํากัดจํานวนสมาชิกที่ดีเท่านั้น

(5) สร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาติ

ตอบ 5 หน้า 24 ประเทศเผด็จการจะใช้พรรคการเมืองเป็นเครื่องมือของบุคคลในรัฐบาลเพื่อสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาติ และบงการการดําเนินงานของรัฐให้เป็นไปตามอุดมการณ์ที่ถูกกํากับไว้

20 พรรคการเมืองมีการฟังความคิดเห็นของสมาชิกเป็นขบวนการที่เรียกว่าประชาธิปไตยรวมศูนย์ (Democratic Centralism) ใช้กับพรรคการเมืองที่มีอุดมการณ์

(1) เสรีนิยม

(2) อนุรักษนิยม

(3) สังคมนิยม

(4) คอมมิวนิสต์

(5) ฟาสซิสต์

ตอบ 4 หน้า 76, 137 ประชาธิปไตยรวมศูนย์ (Democratic Centralism) เป็นลักษณะการใช้อํานาจหรือการดําเนินงานภายในพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งประกอบด้วย 2 ขบวนการ คือ ในระยะแรก ให้สมาชิกในหน่วยพื้นฐานเสนอความคิดเห็นในนโยบายของพรรคแล้วเสนอไปยังเบื้องบนหรือ ศูนย์กลางของพรรคเพื่อรับทราบ ส่วนในระยะต่อมาเป็นการตัดสินใจจากเบื้องบน โดยมติที่ได้จะต้องบังคับใช้กับองค์การทุกระดับของพรรคอย่างเข้มงวด

21 ปัจจุบันประเทศไทยมีพันธะที่จะปรับโครงสร้างต่าง ๆ ให้เข้าสู่ประชาคมอาเซียนในสามเสา ได้แก่

(1) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม – เสาเศรษฐกิจ – เสาการเมืองและความมั่นคง

(2) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม – เสาประเพณี – เสาการเมืองและความมั่นคง

(3) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม – เสาระหว่างประเทศ – เสาการเมืองและความมั่นคง

(4) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม – เสาธุรกิจ – เสาการเมืองและความมั่นคง

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ถือกําเนิดอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2546 จากการที่ผู้นําอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน ที่เรียกว่า “ข้อตกลงบาหลี 2” โดยประกอบด้วยประเทศสมาชิกจํานวน 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย กัมพูชา บรูไน พม่า ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ลาว เวียดนาม สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ซึ่ง ประเทศเหล่านี้มีพันธะที่จะต้องปรับโครงสร้างต่าง ๆ ให้เข้าสู่ประชาคมอาเซียนในสามเสา ได้แก่ เสาสังคมและวัฒนธรรม เสาเศรษฐกิจ และเสาการเมืองและความมั่นคง

22 ปัจจัยที่ทําให้อังกฤษมีระบบพรรคการเมืองสองพรรคได้แก่อะไร

(1) การมีการปกครองระบอบรัฐสภา

(2) วิวัฒนาการอันยาวนานของพรรคการเมือง

(3) การใช้ระบบสภาคู่

(4) การมีสถาบันกษัตริย์

(5) การใช้ระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากรอบเดียว

ตอบ 2 หน้า 151 – 152 ปัจจัยที่ทําให้อังกฤษมีระบบพรรคการเมืองสองพรรค ได้แก่ การมีวิวัฒนาการอันยาวนานของพรรคการเมืองมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ซึ่งในระยะแรกจะเป็น เรื่องเกี่ยวกับความแตกแยกทางความคิดเห็น ความเชื่อและความศรัทธาทางศาสนา และ จากสมัยกลางมาสู่สมัยใหม่ความคิดเห็นก็ได้แตกแยกเป็น 2 กลุ่ม คือ

1 พวก Cavaliers หรือพวก Tories เป็นรากฐานของพรรคคอนเซอร์เวทีฟ

2 พวก Roundhead หรือพวก Whigs เป็นรากฐานของพรรคริเบอร์รัล

23 พรรคการเมืองที่แท้จริงต้องมีลักษณะสําคัญ คือ

(1) ตั้งรัฐบาลแห่งชาติ

(2) บอยคอตต์การเลือกตั้ง

(3) มีสาขาพรรคมาก ๆ

(4) ตั้งสภาประชาชนจากการสรรหา

(5) เป้าหมายต้องการเป็นรัฐบาล

ตอบ 3, 5 ดูคําอธิบายข้อ 18 ประกอบ

24 การเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกงเรียกว่า

(1) Hong Kong Spring

(2) Yellow Ribbon Revolution

(3) Yellow Mask Movement

(4) Umbrella Revolution

(5) Hong Kong United Youth Front

ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) การชุมนุมในฮ่องกงเมื่อเดือนกันยายน 2557 เป็นการชุมนุมเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยและสิทธิการเลือกตั้งเสรีจากรัฐบาลจีน ซึ่งกลุ่มผู้ชุมนุมได้ใช้ร่มในการป้องกันแก๊สน้ำตาและสเปรย์พริกไทยจากเจ้าหน้าที่ตํารวจ จึงทําให้ร่มกลายเป็นสัญลักษณ์สําคัญของการชุมนุมประท้วง และมีการเรียกการชุมนุมครั้งนี้ว่า “การปฏิวัติร่ม” (Umbrella Revolution)

25 ประเทศมาเลเซียมีการเลือกตั้งตามกําหนดเวลาทุกครั้งนับตั้งแต่ได้รับเอกราชเมื่อปี พ.ศ. 2500การเลือกตั้งทั่วไปครั้งใหม่ในปี พ.ศ. 2561 นี้ถือเป็นครั้งที่

(1) ครั้งที่ 10

(2) ครั้งที่ 11

(3) ครั้งที่ 12

(4) ครั้งที่ 13

(5) ครั้งที่ 14

ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) การเลือกตั้งทั่วไปของมาเลเซียเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 เป็นการเลือกตั้งครั้งที่ 14 นับตั้งแต่มาเลเซียได้รับเอกราชในปี พ.ศ. 2500 โดยผลจากการเลือกตั้งปรากฏว่า กลุ่มพรรคพันธมิตรฝ่ายค้าน “ปากาตัน ฮาราปัน” (Pakatan Harapan) ชนะการเลือกตั้ง และดร.มหาเธร์ โมฮัมหมัด ได้ดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของมาเลเซีย

26 โดยปกติแล้วการประกาศกําหนดวันเลือกตั้งต้องประกาศเป็น

(1) พระราชบัญญัติ

(2) พระราชกําหนด

(3) กฎกระทรวง

(4) พระราชกฤษฎีกา

(5) ประกาศของ กกต.

ตอบ 4 (คําบรรยาย) โดยปกติแล้วการประกาศกําหนดวันเลือกตั้งต้องประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกา(รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 102 – 103)

27 ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้ผลของการเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 มีสถานะเป็น

(1) การเลือกตั้งที่ขอบด้วยกฎหมาย แต่ถูกขัดขวางจึงเป็นโมฆะ

(2) การเลือกตั้งที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ในวันเดียวทั่วประเทศ จึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

(3) การเลือกตั้งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ในวันเดียวทั่วประเทศการเลือกตั้งจึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

(4) การเลือกตั้งเป็นโมฆะตั้งแต่แรก เสมือนไม่เคยมีการเลือกตั้ง

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 3 (ข่าว) เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2557 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยให้การเลือกตั้ง ส.ส.เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยมีมติเสียงข้างมาก 6 : 3 ว่า การที่ พ.ร.ฎ. ยุบสภาผู้แทนราษฎร 2556 กําหนดให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. เป็นการทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 และมีการดําเนินการเลือกตั้งเป็นการทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไปแล้ว แต่ไม่สามารถจัดให้มีการเลือกตั้งสําหรับ 28 เขตเลือกตั้ง ซึ่งยังไม่เคยมีการรับสมัคร รับเลือกตั้งมาก่อนเลย จึงถือได้ว่าการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 มิได้เป็นวันเลือกตั้งวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร เป็นผลให้ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญฯ 2550 มาตรา 108 วรรค 2

28 ในทางทฤษฎีการรัฐประหาร (Coup d’etat) ต่างจากการปฏิวัติ (Revolution) อย่างไร

(1) รัฐประหารเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างใด ๆ

(2) การปฏิวัติเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่

(3) การปฏิวัติเป็นการรื้อปรับโครงสร้างอํานาจ ส่วนรัฐประหารแคล้มรัฐบาล

(4) รัฐประหารเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่เพื่อปฏิรูปโครงสร้างสังคม

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในทางทฤษฎีนั้นการรัฐประหาร (Coup detat) จะมีความแตกต่างจากการปฏิวัติ(Revolution) คือ รัฐประหารจะเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่ (ประมุขแห่งรัฐ หรือหัวหน้ารัฐบาล) อย่างฉับพลัน โดยไม่ได้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง (Regime) หรือ โครงสร้างใด ๆ ในทางสังคมการเมือง แต่การปฏิวัติจะเป็นการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง หรือโครงสร้างของรัฐ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ยากกว่าการรัฐประหาร โดยในประวัติศาสตร์การเมืองไทยมีการปฏิวัติเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว คือ การปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 โดยคณะราษฎร

29 เมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านผู้ใดได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดํารงตําแหน่ง “รัฐบุรุษอาวุโส”

(1) หลวงประดิษฐ์มนูธรรม

(2) พ.อ.พระยาศรีสิทธิสงคราม

(3) ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช

(4) พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา

(5) พลเอกเปรม ติณสูลานนท์

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 นายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม)ในฐานะผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ และหัวหน้าขบวนการเสรีไทย ได้รับโปรดเกล้าฯ จาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8) ให้ดํารงตําแหน่ง “รัฐบุรุษอาวุโส” เนื่องจากเป็นผู้นําในการกอบกู้บ้านเมืองในช่วงสงครามโลก รวมทั้งได้ทํางานที่เป็นประโยชน์ ต่อประเทศชาติหลายประการทั้งในด้านการเมือง การปกครอง การต่างประเทศ การเศรษฐกิจ และการศึกษา โดยนายปรีดีถือเป็นรัฐบุรุษอาวุโสคนแรกและคนเดียวของประเทศไทย

30 ตําแหน่ง “รัฐบุรุษอาวุโส” ของบุคคลดังกล่าวเกี่ยวข้องกับข้อใด

(1) ขบวนการโจรจีนคอมมิวนิสต์

(2) ขบวนการเสรีไทย

(3) ขบวนการพูโล

(4) พรรคเสรีมนังคศิลา

(5) พรรคประชาธิปัตย์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 29 ประกอบ

31 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของพรรคการเมือง

(1) เป็นการรวมตัวของปัจเจกบุคคล

(2) มีแนวคิด อุดมการณ์

(3) แสวงหาอํานาจรัฐ

(4) นําเสนอนโยบายในการเลือกตั้ง

(5) ประกอบธุรกิจการค้า

ตอบ 5 หน้า 6 ลักษณะที่สําคัญของพรรคการเมือง มีดังนี้

1เป็นคณะบุคคลที่รวบรวมกันเป็นองค์การ คือ เป็นการรวมตัวกันของปัจเจกบุคคลเป็นองค์การ

2 เป็นการรวมตัวกันตามแนวความคิด อุดมการณ์ หรือหลักการบางอย่างที่เห็นพ้องต้องกัน

3 มีการกําหนดประเด็นปัญหาและนโยบาย

4.มีการคัดเลือกบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้ง

5 มีจุดมุ่งหมายที่จะเข้าไปควบคุมการดําเนินงานและนโยบายของรัฐบาล หรือแสวงหาอํานาจรัฐ

32 พรรคการเมืองเกิดขึ้นในช่วงเวลาใด

(1) ศตวรรษที่ 16

(2) ศตวรรษที่ 17

(3) ศตวรรษที่ 18

(4) ศตวรรษที่ 19

(5) ศตวรรษที่ 20

ตอบ 4 หน้า 33 พรรคการเมืองในรูปแบบสมัยใหม่เกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 19 โดยเริ่มต้นในประเทศยุโรปโดยเฉพาะในสหราชอาณาจักร (อังกฤษ) ก่อนแล้วขยายไปสหรัฐอเมริกา พรรคการเมืองใน ระยะเริ่มต้นนี้เป็นเพียงการรวมกลุ่มของพรรคสมาชิกสภาผู้แทนที่มีความคิดเห็นหรืออุดมการณ์ คล้ายคลึงกัน เช่น พวาเสรีนิยม พวกอนุรักษนิยม พวกสาธารณรัฐนิยม พวกประชาธิปไตยนิยม พวกนิยมกษัตริย์ เป็นต้น

33 ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของพรรคการเมือง

(1) เลือกสรรบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้ง

(2) ชี้ขาดข้อพิพาทในสังคม

(3) เสนอนโยบาย

(4) เป็นสื่อกลางระหว่างประชาชนกับองค์การของรัฐ

(5) จัดตั้งรัฐบาล

ตอบ 2 หน้า 15 – 19 หน้าที่ของพรรคการเมือง มีดังนี้

1 เลือกสรรบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้ง

2 เสนอนโยบาย ชี้ประเด็นปัญหาและเสนอแนวทางแก้ไข

3 เป็นสื่อกลางระหว่างประชาชนกับองค์การของรัฐ

4 จัดตั้งรัฐบาล

5 ปลุกระดมมวลชนให้เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง

34 ข้อใดไม่ใช่บทบาทของพรรคการเมือง

(1) ช่วยให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยดี

(2) ช่วยให้การเลือกตั้งมีประสิทธิภาพ

(3) รักษาอํานาจในการปกครองให้สืบต่อเนื่องกัน

(4) ช่วยให้เศรษฐกิจเจริญเติบโต

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 4 หน้า 19 – 23 บทบาทของพรรคการเมือง มีดังนี้

1 ช่วยให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยดีและมีประสิทธิภาพ

2 ช่วยให้กลไกทางการเมืองดําเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและ สอดคล้องต้องกัน

3 ช่วยผดุงรักษาอํานาจในการปกครองให้สืบต่อเนื่องกัน และการถ่ายทอด อํานาจเป็นไปอย่างถูกต้องตามครรลอง

4 ช่วยประสานประโยชน์ของกลุ่มชนในสังคม

5 เป็นเครื่องมือในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน

6 ช่วยพัฒนาการเมือง

35 ประเทศใดที่ระบบพรรคการเมืองเป็นระบบพรรคเด่นพรรคเดียว

(1) ไทย

(2) สหราชอาณาจักร

(3) ญี่ปุ่น

(4) สหรัฐอเมริกา

(5) ฝรั่งเศส

ตอบ 3 หน้า 177 – 180 ระบบพรรคเด่นพรรคเดียวหรือระบบพรรคครึ่ง เป็นระบบพรรคการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศที่มีพรรคการเมืองหลายพรรค (ตั้งแต่ 2 พรรคขึ้นไป) เข้าแข่งขันกันใน การเลือกตั้ง แต่ว่าจะมีเพียงพรรคเดียวเท่านั้นที่มีเสียงข้างมากในสภาจนสามารถจัดตั้งรัฐบาล ได้เพียงลําพังติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนาน ตัวอย่างของประเทศที่มีระบบพรรคเด่นพรรคเดียวในปัจจุบัน เช่น ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เป็นต้น

36 ประเทศใดที่ระบบพรรคการเมืองเป็นระบบสองพรรค

(1) ไทย

(2) สหราชอาณาจักร

(3) ญี่ปุ่น

(4) อิตาลี

(5) ฝรั่งเศส

ตอบ 2 หน้า 145 – 148, (คําบรรยาย) ระบบสองพรรค หมายถึง การที่รัฐหรือประเทศหนึ่งมีพรรคการเมืองขนาดใหญ่เพียง 2 พรรคที่มีโอกาสเป็นรัฐบาล โดยเสียงของประชาชน ในการเลือกตั้งจะทําให้มีการผลัดกันเป็นรัฐบาล แล้วแต่ว่าพรรคใดจะได้คะแนนนิยมสูงสุด ซึ่งในระบบพรรคการเมืองแบบนี้รัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นส่วนมากจะเป็นรัฐบาลพรรคเดียว ตัวอย่าง ของประเทศที่มีระบบสองพรรคในปัจจุบัน เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร (อังกฤษ)นิวซีแลนด์ ฟิจิ อุรุกวัย จาไมกา โดมินิกัน เป็นต้น

37 ในประเทศที่ระบบพรรคการเมืองเป็นระบบสองพรรค รัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นโดยส่วนมากจะเป็นแบบใด

(1) รัฐบาลพรรคเดียว

(2) รัฐบาลผสม

(3) รัฐบาลแห่งชาติ

(4) รัฐบาลเสียงข้างน้อย

(5) ไม่แน่นอน

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 36 ประกอบ

38 ในประเทศที่ระบบพรรคการเมืองเป็นระบบหลายพรรค รัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นโดยส่วนมากจะเป็นแบบใด

(1) รัฐบาลพรรคเดียว

(2) รัฐบาลผสม

(3) รัฐบาลแห่งชาติ

(4) รัฐบาลเสียงข้างน้อย

(5) ไม่แน่นอน

ตอบ 2 หน้า 163 – 165 ระบบหลายพรรค เป็นระบบพรรคการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศที่มีพรรคการเมืองเป็นจํานวนมาก (ตั้งแต่ 3 พรรคขึ้นไป) แต่ละพรรคจะมีความสําคัญและ ได้รับความนิยมจากประชาชนไม่แตกต่างกัน จึงทําให้การจัดตั้งรัฐบาลต้องเป็นรัฐบาลผสม เพราะไม่มีพรรคการเมืองใดที่มีเสียงข้างมากเด็ดขาดในสภาจนสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้สําพัง เพียงพรรคเดียว ตัวอย่างของประเทศที่มีระบบหลายพรรคในปัจจุบัน เช่น ไทย ฝรั่งเศสเยอรมนี อิตาลี สวิตเซอร์แลนด์ แคนาดา เป็นต้น

39 พรรคการเมืองที่มีอุดมการณ์ความคิดแบบใดที่ถูกจัดว่าเป็นพรรคเคร่งวินัย

(1) คอมมิวนิสต์

(2) เสรีนิยม

(3) อนุรักษนิยม

(4) ธรรมชาตินิยม

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 หน้า 34 พรรคคอมมิวนิสต์ เกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นพรรคการเมืองที่เคร่งวินัยและยึดถือความซื่อสัตย์ของสมาชิกพรรคเป็นสิ่งสําคัญ ดังนั้นสมาชิกจึงต้องทํางานและปฏิบัติกิจกรรมตามกฎข้อบังคับของพรรคอย่างเคร่งครัด

40 พรรคการเมืองเกิดขึ้นครั้งแรกที่ใด

(1) สหรัฐอเมริกา

(2) สหราชอาณาจักร

(3) ฝรั่งเศส

(4) รัสเซีย

(5) อิตาลี

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 32 ประกอบ

 

41 ข้อใดคือความหมายของพรรคการเมืองที่เกิดขึ้นโดยทางอ้อม

(1) บริหารงานโดยผู้นําพรรคจํานวนน้อย

(2) บริหารงานโดยผู้แทนสาขาพรรค

(3) พรรคที่มีสมาชิกจํานวนน้อย

(4) ไม่รับสมาชิกโดยตรงแต่มีสมาชิกเป็นองค์การผลประโยชน์ต่าง ๆ

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 4 หน้า 47, 50 – 52 พรรคการเมืองที่เกิดขึ้นโดยทางอ้อม หมายถึง พรรคการเมืองที่ไม่มีการรับสมาชิกโดยตรง แต่มีสมาชิกที่เป็นองค์การผลประโยชน์ต่าง ๆ เช่น สหพันธ์ สหกรณ์ องค์การ สมาคม ชมรม ซึ่งคณะกรรมการระดับต่าง ๆ ของพรรคนี้จะประกอบด้วยผู้แทนที่มาจากองค์การ ดังกล่าว โดยมีหน้าที่ในการแต่งตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรคและจัดการเรื่องทุนที่จะ ใช้หาเสียง พรรคการเมืองโดยทางอ้อมแบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ พรรคสังคมนิยม พรรคคาทอลิกและพรรคชาวไร่ชาวนา

42 ข้อใดไม่ถูกจัดว่าเป็นพรรคการเมืองโดยอ้อม

(1) พรรคสังคมนิยม

(2) พรรคกรีน

(3) พรรคคาทอลิก

(4) พรรคชาวไร่ชาวนา

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 41 ประกอบ

43 พรรคการเมืองใดที่จัดโครงสร้างแบบมิลิเซีย

(1) พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต

(2) พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน

(3) พรรคแรงงานอังกฤษ

(4) พรรครีพับลิกัน

(5) พรรคฟาสซิสต์

ตอบ 5 หน้า 68 – 70 การจัดองค์การเบื้องต้นแบบทหารหรือแบบมิลิเซีย (Militia) บางครั้งถูกเรียกว่าเป็นกองทัพส่วนตัว จะประกอบด้วยพลเรือนติดอาวุธสําหรับกู้สถานการณ์ของประเทศยามฉุกเฉิน โดยสมาชิกทุกคนจะได้รับการฝึกฝนเช่นเดียวกันกับทหารอาชีพ มีเครื่องแบบ เหรียญตรา กองดุริยางค์ ธงประจําหน่วย และถนัดการใช้อาวุธ ซึ่งการจัดองค์การเบื้องต้นแบบนี้จะพบได้ในพรรคฟาสซิสต์และพรรคนาซี

44 ผู้เข้าร่วมในกิจกรรมพรรคการเมืองประเภทใดมีบทบาทแข็งขันมากที่สุด

(1) Militant

(2) Member

(3) Supporter

(4) Voter

(5) Sympathizer

ตอบ 1 หน้า 83 – 87 บทบาทของผู้เข้าร่วมในกิจกรรมพรรคการเมืองมีแตกต่างกัน ซึ่งสามารถเรียงลําดับจากมากสุดไปหาน้อยสุดได้ดังนี้

1 ผู้ดําเนินงานพรรค (Nititant)

2 สมาชิกพรรค (Member)

3 ผู้สนับสนุน (Supporter or Sympathizer)

  1. ผู้เลือกตั้ง (Elector or Voter)

45 พรรคการเมืองที่มีชื่อย่อว่า CDบ เป็นพรรคการเมืองที่มีบทบาทสําคัญในประเทศใด

(1) สหรัฐอเมริกา

(2) สหราชอาณาจักร

(3) ฝรั่งเศส

(4) รัสเซีย

(5) เยอรมนี

ตอบ 5 หน้า 166 พรรคการเมืองที่มีบทบาทสําคัญในประเทศเยอรมนี มี 3 พรรค คือ

1 พรรคคริสเตียนเดโมแครต (CDU)

2 พรรคโซเชียลเดโมแครต (SPD)

3 พรรคฟรีเดโมแครตหรือเสรีประชาธิปไตย (FDP)

46 การปรับสัดส่วน ส.ส. เขตและบัญชีรายชื่อตามที่ปรากฏในการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น คาดว่าจะส่งผลให้

(1) พรรคการเมืองขนาดเล็กเข้มเเข็ง

(2) พรรคการเมืองใหญ่ได้มี ส.ส. สัดส่วนมากขึ้น

(3) พรรคการเมืองขนาดเล็กมีอํานาจต่อรอง

(4) พรรคการเมืองที่มีฐานคนชั้นกลางอาจจะได้เปรียบ

(5) พรรคการเมืองที่มีฐานคนชั้นกลางมีคะแนนเสียงลดลง

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การปรับสัดส่วน ส.ส. เขตและบัญชีรายชื่อตามที่ปรากฏในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเมื่อปี พ.ศ. 2554 นั้น คาดว่าจะส่งผลให้พรรคการเมืองขนาดใหญ่ได้มี ส.ส. สัดส่วนมากขึ้น ส่วนพรรคการเมืองขนาดกลางและขนาดเล็กจะได้ ส.ส. น้อยลง รวมทั้งจะทําให้เกิดปัญหา ยุ่งยากในการกําหนดตัวผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง ส.ส. ด้วย เนื่องจากจะต้องมีการจัดเขตเลือกตั้งใหม่ตามจํานวน ส.ส. ที่ลดลง

47 ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ เขียนหนังสือหลายเล่ม หนึ่งในนั้น คือ

(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์

(2) สถาบันพระมหากษัตริย์กับสังคมไทย

(3) รัฐ

(4) สองนคราประชาธิปไตย

(5) ปากไก่และใบเรือ

ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) หนังสือ “ปากไก่และใบเรือ” ของ ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2527 เป็นงานเขียนด้านประวัติศาสตร์ที่ใช้พัฒนาการของวรรณกรรมในการเล่าถึงความเปลี่ยนแปลงทางด้านประวัติศาสตร์จากปลายอยุธยาถึงต้นรัตนโกสินทร์

48 กลุ่มผลประโยชน์ประเภทของกลุ่มอุดมการณ์ที่มีจํากัดชนชั้น ภาษา ได้แก่กลุ่ม (1) อุดมการณ์

(2) อาชีพ

(3) อาสาสมัคร

(4) มาตุภูมิ

(5) ผลักดัน

ตอบ 1 หน้า 240, (คําบรรยาย) กลุ่มผลประโยชน์ในทางอุดมการณ์ คือ กลุ่มที่มีเป้าหมายโดยไม่ได้เน้นเฉพาะที่จะรักษาผลประโยชน์ของกลุ่มเท่านั้น แต่ยังมุ่งรักษาผลประโยชน์ให้แก่ทุกคน ทุกชนชั้น ทุกชาติ ทุกภาษา ทุกเพศ และทุกวัยอีกด้วย ตัวอย่างเช่น กลุ่มกรีนพีซที่ต่อต้าน การทดลองนิวเคลียร์และการล่าวาฬในมหาสมุทร กลุ่มต่อต้านความรุนแรง กลุ่มทางวัฒนธรรมประเพณี กลุ่มส่งเสริมในเรื่องนานาชาตินิยม (Internationalism) เป็นต้น

49 ไลออนส์สากล โรตารี ปอเต็กตึ๊ง ฮากกา จัดอยู่ในประเภทกลุ่มผลประโยชน์ด้าน (1) อุดมการณ์

(2) อาชีพ

(3) อาสาสมัคร

(4) มาตุภูมิ

(5) ผลักดัน

ตอบ 3 หน้า 315 316 กลุ่มอุดมการณ์ เป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่ก่อตั้งขึ้นโดยกลุ่มคนที่ต่างอาชีพต่างวัย ต่างความรู้ แต่มีเป้าหมายทางอุดมการณ์เหมือนกัน ร่วมกันก่อตั้งกลุ่มเพื่อทํางาน ให้แก่ชุมชน สังคม หรือประเทศชาติ ซึ่งได้แก่

1 กลุ่มอาสาสมัคร เช่น สโมสรไลออนส์สากล (ไลออนส์นานาชาติ) สโมสรโรตารีสากลสมาคมฮากกา (สมาคมหัวเฉียว) มูลนิธิปอเต็กตึง ยุวสมาคม (เจ.ซี.) ชมรมค่ายอาสา ฯลฯ

2 กลุ่มสมาคมทางการเมือง เช่น กลุ่มนวพล กลุ่มลูกเสือชาวบ้าน ฯลฯ

3 กลุ่มศาสนา เช่น พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย ฯลฯ

4 กลุ่มปกป้องคุ้มครอง เช่น ขบวนการเสรีไทย ขบวนการจีนโพ้นทะเล กลุ่มอนุรักษ์เกาะรัตนโกสินทร์ ฯลฯ

50 องค์การนิรโทษกรรมสากลถือเป็นกลุ่มผลักดันประเภท

(1) กลุ่มผลักดันจริง

(2) กลุ่มผลักดันเฉพาะกรณี

(3) กลุ่มผลักดันบางส่วน

(4) กลุ่มผลักดันมวลชน

(5) กลุ่มผลักดันแฝง

ตอบ 4 หน้า 253 – 255 กลุ่มผลักดันมวลชน (Mass Pressure Groups) เป็นกลุ่มผลประโยชน์ของบุคคลต่างอาชีพ ต่างวัย ต่างชาติ ต่างภาษา และต่างศาสนา ซึ่งมีเป้าหมายหรือมีอุดมการณ์ เหมือนกัน คือ ต้องการสันติภาพและต่อต้านวิธีแก้ปัญหาของมนุษย์ด้วยวิธีรุนแรง เช่น องค์การนิรโทษกรรมสากล ขบวนการต่อต้านการแบ่งแยกผิวในสหรัฐอเมริกาและแอฟริกา เป็นต้น

 

51 ชนชั้นนํา (Elite) คือ

(1) คนที่มีรสนิยมสูง

(2) คนที่เป็นแนวหน้าในการสร้างประชาธิปไตย

(3) คนที่เกิดมาเป็นผู้นํา

(4) คนที่มีอํานาจสูงสุด

(5) กลุ่มคนที่ครอบครองปัจจัยสําคัญทางเศรษฐกิจและการเมืองของสังคม

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 14 ประกอบ

52 ขบวนการจีนโพ้นทะเลในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองที่ต่อต้านญี่ปุ่น จัดอยู่ในประเภทของกลุ่ม

(1) อุดมการณ์

(2) กลุ่มผลักดัน

(3) กลุ่มอิทธิพลมืด

(4) กลุ่มอาชีพ

(5) กลุ่มอุดมการณ์

ตอบ 1. 5 ดูคําอธิบายข้อ 49 ประกอบ

53 ขบวนการเสรีไทย จัดอยู่ในประเภทของกลุ่ม

(1) อุดมการณ์

(2) กลุ่มผลักดัน

(3) กลุ่มอิทธิพลมืด

(4) กลุ่มอาชีพ

(5) กลุ่มอุดมการณ์

ตอบ 1, 5 ดูคําอธิบายข้อ 49 ประกอบ

54 จุดประสงค์หลักของการก่อตั้งสื่อมวลชนคือหนังสือพิมพ์ วิทยุ และวิทยุโทรทัศน์นั้น ก็เพื่อธุรกิจการค้าแต่ก็มีผลสะท้อนในการสร้างแรงกดดันต่อมวลชน เรียกกลุ่มนี้ว่ากลุ่มผลักดัน

(1) นอมินี

(2) เอกชน

(3) อาจารย์

(4) แฝง

(5) เฉพาะเรื่อง

ตอบ 4 หน้า 252 การก่อตั้งสื่อสารมวลชน คือ หนังสือพิมพ์ วิทยุ และวิทยุโทรทัศน์นั้นมีจุดประสงค์หลักเพื่อธุรกิจการค้า แต่ก็มีผลสะท้อนในการสร้างแรงกดดันต่อมวลชนหรือบีบบังคับในทางการเมือง เพื่อจะได้มีบทบาทต่อการตัดสินใจของรัฐบาลและการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง จึงเรียกกลุ่มนี้ว่า“กลุ่มผลักดันแฝง”

55 หอการค้าสยาม (Siamese Charmber of Commerce) ถูกตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2476 เพื่อจุดประสงค์ใดเป็นสําคัญ

(1) เพื่อเป็นตัวแทนให้แก่พ่อค้าไทยทํานุบํารุงการค้าขายให้เป็นประโยชน์ต่อสมาชิก (2) เพื่อการต่อรองทางการค้าของคณะราษฎร

(3) เพื่อปูทางทางการเมืองให้แก่นักการเมือง

(4) เพื่อปูทางการมีส่วนร่วมทางการเมืองให้แก่ประชาชน

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 313 หอการค้าสยาม (Siamese Chamber of Commerce) เป็นกลุ่มผลประโยชน์ฝ่ายนายจ้างที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อช่วยกันทํานุบํารุงการค้าขายให้เป็นประโยชน์ต่อสมาชิก และเป็น ตัวแทนให้แก่พ่อค้าไทย ซึ่งจดทะเบียนเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2476 และได้ยุติบทบาทลง ในปี พ.ศ. 2486

56 กลุ่มผลประโยชน์ประเภทใดที่อาจกล่าวได้ว่าแทบจะไม่มีบทบาทในทางการเมืองเลย เพราะการรวมกลุ่มเพื่อความสามัคคีและชื่อเสียง คือกลุ่ม

(1) อุดมการณ์

(2) กลุ่มผลักดัน

(3) กลุ่มอิทธิพลมืด

(4) กลุ่มอาชีพ

(5) กลุ่มอุดมการณ์

ตอบ ไม่มีข้อถูก หน้า 312 กลุ่มมาตุภูมิ เป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่อาจกล่าวได้ว่าแทบจะไม่มีบทบาทในทางการเมืองเลย เพราะการรวมกันเป็นกลุ่มเป็นหมู่ก็เพื่อจุดประสงค์ที่จะส่งเสริมความ สามัคคีและเผยแพร่ชื่อเสียงของกลุ่มเท่านั้น เช่น สมาคมชาวเหนือ สมาคมชาวปักษ์ใต้สมาคมนักเรียนเก่าเป็นต้น

57 หลักการของทฤษฎีที่ว่า “ประชาธิปไตยจะมีขึ้นได้และมั่นคงตลอดไปโดยการมีกลุ่ม สมาคม ชมรมต่าง ๆภายในรัฐ การเกิดขึ้นโดยสมัครใจมิได้มีการบังคับ” คือทฤษฎี

(1) ปัจเจกชนนิยม

(2) พหุนิยม

(3) อัตตาธิปไตย

(4) สังคมนิยม

(5) อนาธิปัตย์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 4 ประกอบ

58 ศ.ดร.เฟรดริกส์ เสนอคําอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่าเป็น

(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์

(2) ระบอบอํามาตยาธิปไตย

(3) วงจรอุบาทว์

(4) สองนคราประชาธิปไตย

(5) สังคมโครงสร้างหลวม

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ศ.ดร.เฟรด ดับบลิว. ริกส์ (Fred W. Riggs) เป็นนักวิชาการที่สนใจเรื่องอํานาจการเมืองในภาคราชการ และเป็นผู้อธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่าเป็น “ระบอบ อํามาตยาธิปไตย” (Bureaucratic Polity) ซึ่งเป็นระบบการเมืองที่ถูกครอบงําโดยภาคราชการนับตั้งแต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516

59 ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช เสนอคําอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่าเป็น

(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์

(2) ระบอบอํามาตยาธิปไตย

(3) วงจรอุบาทว์

(4) สองนคราประชาธิปไตย

(5) สังคมโครงสร้างหลวม

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ได้อธิบายถึงปัญหาการรัฐประหารซ้ําซากของการเมืองไทยว่ามีลักษณะเป็น “วงจรอุบาทว์” ซึ่งก็คือ การวนเวียนอยู่กับการรัฐประหาร แล้วตามด้วยการ ร่างรัฐธรรมนูญและจัดการเลือกตั้ง แล้วก็วนไปที่การรัฐประหารอีกไม่รู้จบสิ้น โดยสาเหตุที่เกิดการรัฐประหารครั้งแล้วครั้งเล่าในสังคมไทย เพราะประชาธิปไตยของไทยยังไม่เข้มแข็งพอ

60 แนวคิดที่นําไปสู่การออกแบบระบอบการเมืองไทยให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทสัดส่วน คือ

(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์

(2) ระบอบอํามาตยาธิปไตย

(3) วงจรอุบาทว์

(4) สองนคราประชาธิปไตย

(5) สังคม โครงสร้างหลวม

ตอบ 4 (คําบรรยาย) จากแนวคิดสองนคราประชาธิปไตยที่ว่า “คนจนในชนบทเลือกรัฐบาล คนชั้นกลางในเมืองล้มรัฐบาล” ได้นําไปสู่การออกแบบระบอบการเมืองไทยในรัฐธรรมนูญฯ 2540 ให้มี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ประเภทสัดส่วนหรือแบบบัญชีรายชื่อ เพื่อให้ทั้งคนจนในชนบทและคนชั้นกลางในเมืองเป็นได้ทั้งผู้ตั้งรัฐบาลและผู้ล้มรัฐบาล

 

61 กลุ่มผลประโยชน์ (Interest Groups) กับกลุ่มผลักดัน (Pressure Groups) จะมีความแตกต่างกันในแง่ใด

(1) เป้าหมาย

(2) กิจกรรม

(3) หลักบริหารกลุ่ม

(4) ไม่แตกต่าง

(5) สมาชิก

ตอบ 1 หน้า 236 237 กลุ่มผลประโยชน์ (Interest Groups) กับกลุ่มผลักดัน (Pressure Groups)จะมีความแตกต่างกันในเรื่องของเป้าหมาย กล่าวคือ เมื่อใดที่กลุ่มผลประโยชน์มีเป้าหมายที่ จะมีอิทธิพลเหนือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือมีอิทธิพลต่อนโยบายของรัฐบาลแล้ว กลุ่มผลประโยชน์เหล่านั้นก็จะกลายเป็นกลุ่มผลักดันหรือกลุ่มอิทธิพลทันที

62 แนวคิดเรื่องกลุ่มผลประโยชน์ที่หลากหลายสอดคล้องกับแนวคิดการปกครองแบบใด

(1) ปัจเจกชนนิยม

(2) ประชาธิปไตย

(3) คณาธิปไตย

(4) สังคมนิยม

(5) อนาธิปัตย์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 4 ประกอบ

63 หากนักการเมืองคนใดถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยว่ามีความผิดฐานจงใจยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินอันเป็นเท็จ นักการเมืองผู้นั้นต้องห้ามดํารงตําแหน่งทางการเมืองและ ตําแหน่งใด ๆ ในพรรคการเมืองเป็นเวลาอย่างน้อยก็ปี

(1) 5 ปี

(2) 7 ปี

(3) 10 ปี

(4) 15 ปี

(5) 20 ปี

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) รัฐธรรมนูญฯ 2550 มาตรา 263 บัญญัติว่า ในกรณีที่นักการเมืองคนใดถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยว่ามีความผิดฐานจงใจไม่ยืน บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน หรือจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน และเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริง ให้นักการเมืองผู้นั้น พ้นจากตําแหน่ง และต้องห้ามมิให้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองหรือตําแหน่งใดในพรรคการเมืองเป็นเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ศาลฎีกาฯ วินิจฉัย

64 การแจกใบเหลืองใบแดงของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ถือว่าเป็นการทําหน้าที่ (1) กึ่งฝ่ายบริหาร

(2) กึ่งศาล

(3) กรรมการ

(4) เป็นผู้ปกป้องรัฐบาล

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ถือว่าเป็นการทําหน้าที่กึ่งศาล เช่น การมีมติเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง การพิจารณาแจกใบเหลืองและใบแดงแก่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ที่กระทําการฝ่าฝืน พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ หรือระเบียบหรือประกาศของ กกต.การรับรองหรือไม่รับรองผลการเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัคร ส.ส. เป็นต้น

65 พฤติการณ์ในข้อใดไม่เกี่ยวกับอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง

(1) การเลื่อนการเลือกตั้ง

(2) การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง

(3) การกําหนดเขตเลือกตั้ง

(4) การทําบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

(5) การตรวจสอบคุณสมบัติของนักการเมือง

ตอบ 1 หน้า 329, 406, (ความรู้ทั่วไป) พ.ร.ป. ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 มาตรา 10 กําหนดให้ คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอํานาจหน้าที่ดังนี้

1การตรวจสอบคุณสมบัติ ของนักการเมือง

2 การจัดทําและตรวจสอบบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

3 การกําหนดเขตเลือกตั้ง

4 การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง

5 การประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง ผลการสรรหา และผลการออกเสียงประชามติ ลฯ

66 การเกิดของกลุ่มผลประโยชน์ของไทยเท่าที่เป็นมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านแรงงานมักมีอุปสรรคสําคัญคือขาดการสนับสนุนของ

(1) รัฐบาล

(2) นายจ้าง

(3) กรรมกร

(4) โรงงาน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 309 310, (คําบรรยาย) การเกิดของกลุ่มผลประโยชน์ของไทยเท่าที่เป็นมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านแรงงานนั้นเป็นผลมาจากการริเริ่มของกรรมกร แต่การรวมตัวกันก่อตั้ง เป็นสหภาพแรงงานมักจะมีอุปสรรคสําคัญคือ ขาดการสนับสนุนจากรัฐบาลหรือผู้ที่ปกครอง ประเทศอยู่ในขณะนั้น เช่น การจัดตั้งสหภาพแรงงานโดยกลุ่มคนงานรถรางในสมัยรัชกาลที่ 5ถูกมองว่ามีลักษณะสังคมนิยม จึงไม่ได้รับการสนับสนุนให้ก่อตั้งเป็นสหภาพ

67 ผู้นําแรงงานที่หายตัวไปหลังการรัฐประหาร กุมภาพันธ์ 2534 คือ

(1) นายอิศรา อมันตกุล

(2) นายทนง โพธิ์อ่าน

(3) นายถวัติ ฤทธิเดช

(4) นายสมชาย นีละไพจิตร

(5) นายจิตร ภูมิศักดิ์

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) นายทนง โพธิ์อ่าน อดีตประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทยได้หายตัวไปเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2534 ภายหลังการรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534 ของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ซึ่งขณะนั้นนายทนงเป็นผู้นําระดับสูงของขบวนการแรงงานที่มีบทบาทในการต่อต้านคณะรัฐประหารอย่างชัดเจนที่สุด

68 ดร.ซุน ยัด เซ็น ผู้ก่อตั้งพรรคก๊กมินตั๋ง (KMT) เป็นผู้สร้างแนวคิดทางการเมืองที่ชื่อลัทธิ

(1) ไตรราษฎร์

(2) เสรีจีน

(3) บ็อกเซอร์

(4) มาตุภูมิ

(5) ไทผิง

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) ดร.ซุนยัด เซ็น เป็นผู้ก่อตั้งพรรคชาตินิยมแห่งประเทศจีนหรือที่รู้จักกันในนามพรรค “ก๊กมินตั๋ง” (KMT) ภายหลังจากการโคนล้มระบอบราชาธิปไตยในประเทศจีน รวมทั้งเป็นประธานาธิบดีคนแรกของประเทศจีน และเป็นผู้กําหนดลัทธิการเมืองที่เรียกว่าลัทธิ“ไตรราษฎร์” หรือหลัก 3 ประการแห่งประชาชน (Three Principle of the People)

69 ตามแนวคิดเรื่องการสร้างสรรค์ประชาธิปไตย (Democratization) คนกลุ่มใดจะเป็นแนวหน้าต่อสู้ เพื่อประชาธิปไตย

(1) รากหญ้า

(2) เสื้อแดง

(3) อํามาตย์

(4) ทหาร

(5) คนชั้นกลาง

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การสร้างสรรค์ประชาธิปไตย (Lemocratization) คือ กระบวนการสร้างประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมในภาคประชาชนเพื่อนําไปสู่การพัฒนาประชาธิปไตยที่แท้จริง ไม่ใช่ประชาธิปไตยเพียงแค่การเลือกตั้ง ซึ่งจะสนับสนุนให้คนชั้นกลางเป็นแนวหน้าในการต่อสู้ เพื่อประชาธิปไตย ในขณะที่กลุ่มทหารจะดํารงตนเป็นทหารอาชีพ ซึ่งไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับ การเมือง ขณะเดียวกันก็มักพบว่ามีกลุ่มแนวคิดอนุรักษนิยมพยายามออกมาต่อต้านประชาธิปไตยดังกล่าว

70 ลักษณะที่ผู้นําพรรคอนุรักษนิยมของอังกฤษมีอํานาจมากถูกเรียกว่าอะไร

(1) โลกาธิปไตย

(2) เอกาธิปไตย

(3) ธรรมาธิปไตย

(4) เผด็จการเบ็ดเสร็จ

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 หน้า 100 ผู้นําหรือหัวหน้าพรรคอนุรักษนิยมของอังกฤษจะเป็นผู้คัดเลือกบุคคลเข้าร่วมเป็นคณะรัฐบาลและเป็นเจ้าหน้าที่บริหารระดับสูง จะอยู่ในตําแหน่งตราบเท่าที่สามารถควบคุม หรือมีอิทธิพลเหนือสมาชิกคนสําคัญ ๆ ของพรรค ดังนั้นหัวหน้าพรรคจึงมีอํานาจมากจนถูกเรียกว่าเป็นลักษณะ “เอกาธิปไตย”

71 ข้อใดคือที่มาของหัวหน้าพรรคแรงงานของอังกฤษ

(1) เลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่พรรค

(2) แต่งตั้งโดยหัวหน้าพรรคคนก่อนหน้า

(3) การหยั่งสียงของผู้สนับสนุนพรรค

(4) เลือกตั้งโดยสมาชิกสภาสามัญที่สังกัดพรรค

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 หน้า 100 หัวหน้าพรรคแรงงานของอังกฤษในระยะที่เป็นพรรคฝ่ายค้านจะต้องมีการเลือกตั้งทุก ๆ ปีจากที่ประชุมใหญ่ของพรรค ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกพรรคที่เป็นสมาชิกรัฐสภาและตัวแทนจากสหพันธ์แรงงานที่สังกัดพรรคแรงงาน

72 พรรคการเมืองใดมีลักษณะอัตตาธิปไตยแบบเปิดเผย

(1) พรรคอนุรักษนิยมของอังกฤษ

(2) พรรคเดโมแครต

(3) พรรคเสรีประชาธิปไตย

(4) พรรคแรงงานของอังกฤษ

(5) พรรคนาซี

ตอบ 5 หน้า 106 107 อัตตาธิปไตยแบบเปิดเผย หมายถึง การที่หัวหน้าพรรคมีอํานาจเด็ดขาดในการตัดสินปัญหาสําคัญ ๆ ของพรรค และเป็นผู้กําหนดแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานบริหาร ระดับสูงของพรรคแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งลักษณะอัตตาธิปไตยแบบเปิดเผยนี้จะพบได้ในพรรคฟาสซิสต์และพรรคนาซี

73 พรรคการเมืองใดมีการจัดองค์การเบื้องต้นแบบ Nititia

(1) พรรคคอมมิวนิสต์

(2) พรรคฟาสซิสต์

(3) พรรคเสรีประชาธิปไตย

(4) พรรคแรงงานของอังกฤษ

(5) พรรครีพับลิกัน

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 43 ประกอบ

74 ประเทศใดมีระบบพรรคเด่นพรรคเดียว

(1) จีน

(2) อังกฤษ

(3) ฝรั่งเศส

(4) ญี่ปุ่น

(5) ไทย

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 35 ประกอบ

75 พรรคการเมืองในประเทศใดไม่ใช่ระบบสองพรรค

(1) อังกฤษ

(2) ฝรั่งเศส

(3) นิวซีแลนด์

(4) สหรัฐอเมริกา

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 36 ประกอบ

76 พรรคการเมืองรูปแบบใดที่มีความเป็นมายาวนานที่สุด

(1) พรรคชนชั้น

(2) พรรคมวลชน

(3) พรรคแบบผสม

(4) พรรคแนวร่วม

(5) พรรคจัดตั้ง

ตอบ 1 หน้า 40, (คําบรรยาย) ค.มอริส ดูแวร์เช่ (Maurice Duverger) ได้แบ่งพรรคการเมืองออกเป็น 3 รูปแบบ คือ

1พรรคชนชั้น (พรรคดั้งเดิม) เป็นพรรคการเมืองที่มีความเป็นมายาวนานที่สุด

2 พรรคมวลชน

3 พรรคแบบผสม (พรรคถึงมวลชนถึงชนชั้น)

77 ข้อใดคือความมุ่งหมายของพรรคมวลชนแบบสังคมนิยม

(1) ชนะการเลือกตั้ง

(2) รวบรวมสมาชิกให้ได้มากที่สุด

(3) เผยแพร่ความรู้

(4) ระดมทุน

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 หน้า 43 – 44 ความมุ่งหมายของพรรคมวลชนแบบสังคมนิยม คือ รวบรวมและแสวงหาสมาชิกให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้ โดยพรรคสังคมนิยมในปัจจุบันได้ให้ความสําคัญแก่มวลชนมากการรับสมัครสมาชิกจะกระทําโดยตรงและเปิดสู่สาธารณะในลักษณะที่ถาวร

78 การจัดองค์การพรรคการเมืองแบบเซลล์เป็นลักษณะจําเพาะของพรรคใด

(1) พรรคแรงงาน

(2) พรรคเสรีนิยม

(3) พรรคคอมมิวนิสต์

(4) พรรคอนุรักษนิยม

(5) พรรคกรีน

ตอบ 3 หน้า 65 การจัดองค์การพรรคการเมืองแบบหน่วยหรือเซลล์ (Cel) นั้น ถือว่าเป็นลักษณะจําเพาะของพรรคคอมมิวนิสต์

79 ข้อใดไม่ใช่องค์การเบื้องต้นของพรรคการเมือง

(1) Caucus

(2) Branche

(3) Celle

(4) Militia

(5) Sect

ตอบ 5 หน้า 56, 62, 65, 68 องค์การเบื้องต้นของพรรคการเมือง มี 4 แบบ คือ

1 แบบคณะกรรมการ (Caucus)

2 แบบสาขา (Branch)

3 แบบหน่วยหรือเซลล์ (Cell)

4 แบบทหาร (Mistia)

80 แนวคิดเรื่องกลุ่มผลประโยชน์ที่หลากหลายสอดคล้องกับแนวคิดใด

(1) ปัจเจกชนนิยม

(2) ประชาธิปไตย

(3) คณาธิปไตย

(4) สังคมนิยม

(5) อนาธิปัตย์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 4 ประกอบ

 

81 สาเหตุที่เกิดการรัฐประหารครั้งแล้วครั้งเล่าในสังคมไทย เพราะ

(1) รัฐประหารสามารถแก้ปัญหาสังคมต่าง ๆ ได้

(2) เพราะนักการเมืองทุจริต

(3) เพราะระบบการเมืองไร้ประสิทธิภาพ

(4) เพราะประชาชนสนับสนุน

(5) ประชาธิปไตยยังไม่เข้มแข็ง

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 59 ประกอบ

82 ข้อใดคือหนึ่งในหลักการบริหารบ้านเมืองหกประการของคณะราษฎร

(1) จะต้องให้ราษฎรได้มีโอกาสในการศึกษา

(2) ส่งเสริมให้ราษฎรมีเสรีภาพ

(3) ราษฎรสามารถตั้งพรรคการเมืองได้

(4) เปิดเสรีทางการค้า

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) หลัก 6 ประการของคณะราษฎร ซึ่งประกาศไว้ในประกาศคณะราษฎรฉบับที่ 1 เพื่อเป็นนโยบายในการบริหารและปกครองประเทศ มีดังนี้

1 จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย

2 จะต้องรักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก 3 จะต้องบํารุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎร ในทางเศรษฐกิจ

4 จะต้องให้ราษฎรได้มีสิทธิเสมอภาคกัน

5 จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ

6 จะต้องให้ราษฎรได้มีโอกาสในการศึกษาอย่างเต็มที่

83 ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 หัวหน้าพรรคการเมืองเลขาธิการพรรคการเมือง เหรัญญิกพรรคการเมือง ทายทะเบียนสมาชิก และกรรมการบริหารอื่นของ พรรคการเมืองต้องเป็นสมาชิกที่มีอายุ

(1) ไม่ต่ํากว่า 40 ปี

(2) ไม่ต่ำกว่า 35 ปี

(3) ไม่ต่ำกว่า 30 ปี

(4) ไม่ต่ำกว่า 25 ปี

(5) ไม่ต่ำกว่า 20 ปี

ตอบ 5 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 16 กําหนดให้ หัวหน้าพรรคการเมือง เลขาธิการพรรคการเมือง เหรัญญิกพรรคการเมือง ทายทะเบียนสมาชิก และกรรมการบริหารอื่นของพรรคการเมืองต้องเป็นสมาชิกที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี และมีวาระการดํารงตําแหน่งตามที่กําหนดในข้อบังคับแต่ต้องไม่เกินคราวละ 4 ปี

84 ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 พรรคการเมืองต้องจัดให้มี การประชุมใหญ่อย่างน้อยปีละกี่ครั้ง

(1) 1 ครั้ง

(2) 2 ครั้ง

(3) 3 ครั้ง

(4) 4 ครั้ง

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (คําบรรยาย) พ.ร.ป. ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 37 กําหนดให้ พรรคการเมืองต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

85 ในการจัดตั้งพรรคการเมืองตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 บุคคลซึ่งมีอุดมการณ์ทางการเมืองในแนวทางเดียวกัน และมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ต้องมี จํานวนกี่คนจึงอาจร่วมกันดําเนินการเพื่อจัดตั้งพรรคการเมืองได้

(1) 100 คน

(2) 200 คน

(3) 300 คน

(4) 400 คน

(5) ไม่น้อยกว่า 500 คน

ตอบ 5 (คําบรรยาย) พ.ร.บ.ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 9 กําหนดให้ บุคคลซึ่งมีอุดมการณ์ทางการเมืองในแนวทางเดียวกัน และมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามจํานวนไม่น้อยกว่า 500 คนอาจร่วมกันดําเนินการเพื่อจัดตั้งพรรคการเมืองได้

86 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะที่สําคัญของพรรคการเมือง

(1) เป็นคณะบุคคลที่รวบรวมกันเป็นองค์การ

(2) มีการกําหนดประเด็นปัญหาเละนโยบาย

(3) มีการคัดเลือกบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้ง

(4) ดําเนินกิจกรรมเพื่อมุ่งแสวงหากําไร

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 31 ประกอบ

87 ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของพรรคการเมือง

(1) เสนอนโยบาย

(2) ชี้ขาดข้อพิพาท

(3) จัดตั้งรัฐบาล

(4) ปลุกระดมมวลชนให้มีส่วนร่วมทางการเมือง

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 33 ประกอบ

88 ข้อใดไม่ใช่บทบาทของพรรคการเมือง

(1) พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

(2) ช่วยให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยดีมีประสิทธิภาพ

(3) ช่วยให้กลไกทางการเมืองดําเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ

(4) ช่วยประสานประโยชน์ของกลุ่มชนในสังคม

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 34 ประกอบ

89 ข้อใดไม่ใช่ทฤษฎีที่กล่าวถึงกําเนิดของพรรคการเมือง

(1) ทฤษฎีจิตวิทยา

(2) ทฤษฎีทางเศรษฐกิจและสังคม

(3) ทฤษฎีอุดมการณ์

(4) ทฤษฎีทางการจัดองค์การ

(5) ทฤษฎีระบบ

ตอบ 5 หน้า 27 – 32 ทฤษฎีที่กล่าวถึงกําเนิดของพรรคการเมือง มีดังนี้

1 ทฤษฎีจิตวิทยา

2 ทฤษฎีทางเศรษฐกิจและสังคม

3 ทฤษฎีอุดมการณ์หรือหลักการ

4 ทฤษฎีทางการจัดองค์การ

5 ทฤษฎีว่าด้วยสถาบัน

6 ทฤษฎีว่าด้วยพัฒนาการ

7 ทฤษฎีว่าด้วยประวัติศาสตร์และสถานการณ์

90 อุดมการณ์เริ่มมีความสําคัญต่อพรรคการเมืองน้อยลงในช่วงเวลาใด

(1) หลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม

(2) หลังสงครามโลกครั้งที่ 1

(3) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

(4) หลังปี 1980

(5) หลังปี 2000

ตอบ 3 หน้า 35 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อุดมการณ์เริ่มมีความสําคัญต่อพรรคการเมืองน้อยลงพรรคการเมืองได้กลายเป็นพรรคปฏิบัติการมากกว่าอุดมการณ์ โดยการปรับปรุงอุดมการณ์ ให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคมมากขึ้น เพื่อหวังจะได้รับการเลือกตั้งมากที่สุด

 

ตั้งแต่ข้อ 91. – 100 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) ถูก

(2) ผิด

91 คณะกรรมการการเลือกตั้งประกอบด้วยกรรมการจํานวนเจ็ดคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคําแนะนําของวุฒิสภาตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560

ตอบ 1 (คําบรรยาย) พ.ร.ป. ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 มาตรา 8 และ 15 กําหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกอบด้วยกรรมการจํานวน 7 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ตามคําแนะนําของวุฒิสภา โดยมีวาระการดํารงตําแหน่ง 7 ปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งและดํารงตําแหน่งได้เพียงวาระเดียว

92 ตาม พ.ร.ป. ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 เลขาธิการสํานักงานต้องเป็นผู้มีความเป็นกลาง ทางการเมือง ไม่เคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดในระยะเวลาสิบปีก่อนได้รับแต่งตั้ง

ตอบ 1 (คําบรรยาย) พ.ร.ป. ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 มาตรา 50, 54 และ 55 กําหนดให้ สํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งมีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยมีเลขาธิการเป็น ผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างของสํานักงาน ซึ่งเลขาธิการต้องเป็นผู้มีความเป็นกลางทาง การเมือง ไม่เคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดในระยะเวลา 10 ปีก่อนได้รับแต่งตั้ง มีความซื่อสัตย์ สุจริตเป็นที่ประจักษ์ มีสัญชาติไทย มีอายุไม่เกิน 60 ปีในวันที่ได้รับแต่งตั้งและมีอายุไม่เกิน 65 ปี ในขณะดํารงตําแหน่งเลขาธิการ

93 ตาม พ.ร.ป. ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 สํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 92 ประกอบ

94 ตาม พ.ร.ป. ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 คณะกรรมการการเลือกตั้งอาจมาจากผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) พ.ร.ป. ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 มาตรา 10 กําหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้

1 เป็นหรือเคยเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระใด

2 เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมือง หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นในระยะ 10 ปีก่อนเข้ารับการคัดเลือกหรือสรรหา

3 เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือกรรมการหรือที่ปรึกษาของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ

4 เป็นผู้ดํารงตําแหน่งใดในห้างหุ้นส่วนบริษัท หรือองค์กรที่ดําเนินธุรกิจโดยมุ่งหาผลกําไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน หรือเป็นลูกจ้างของบุคคลใด

5 เป็นผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ ฯลฯ

95 ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 คณะกรรมการการเลือกตั้งอาจเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหนวยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือกรรมการหรือที่ปรึกษาของ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 94 ประกอบ

96 พรรคการเมืองขอโบว์แดงในดุสิตธานีมีหัวหน้าพรรคคือ เจ้าพระยารามราฆพ ตอบ 1 (คําบรรยาย) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ได้ทรงตั้งเมืองสมมุติ“ดุสิตธานี” ขึ้นในบริเวณวังพญาไท เพื่อทดลองการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยโปรดให้มี “ธรรมนูญการปกครองแบบนคราภิบาล” ซึ่งเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญของเมือง มีการเลือกตั้ง นคราภิบาลหรือนายกเทศมนตรี มีสภาการเมืองแบบประเทศประชาธิปไตย และมีพรรคการเมือง 2 พรรค คือ พรรคโบว์น้ําเงิน ซึ่งมีนายราม ณ กรุงเทพ (รัชกาลที่ 6) เป็นหัวหน้าพรรค และพรรคโบว์แดง ซึ่งมีเจ้าพระยารามราฆพ เป็นหัวหน้าพรรค

97 นโยบายของพรรคการเมืองมีความสําคัญต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้ง

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภานั้น พรรคการเมืองต่าง ๆจะต้องแข่งขันกันเพื่อเป็นรัฐบาลโดยการนํานโยบายมาหาเสียงในการเลือกตั้ง ซึ่งความแตกต่าง ของนโยบายแต่ละพรรคการเมืองจะมีความสําคัญและมีประโยชน์ต่อการตัดสินใจของประชาชน ในการเลือกตั้ง หากสมาชิกของพรรคใดได้รับเลือกตั้งจากประชาชนให้เข้ามามีเสียงข้างมากในสภา แสดงว่าประชาชนต้องการให้นโยบายของพรรคนั้นเป็นนโยบายของรัฐบาล และเมื่อรัฐบาล เข้ามาบริหารประเทศ จะต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาและนํานโยบายนั้นไปปฏิบัติให้บรรลุผล การนํานโยบายมาหาเสียงเลือกตั้งของพรรคการเมืองนั้นถือเป็นกระบวนการตามหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาและถือเป็นวิธีการที่ถูกต้องตามกฎหมาย

98 “ที่ใดมีองค์กร ที่นั้นมีระบบคณาธิปไตย” เช่น พรรคการเมืองส่งเสริมให้เกิดระบบคณาธิปไตยเป็นความคิดของ Vilfredo Parero

ตอบ 2 (คําบรรยาย) โรเบิร์ต มิเชลส์ (Robert Michels) นักทฤษฎีชนชั้นนําได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับกฎเหล็กแห่งคณาธิปไตย (Iron Law of Oligarchy) โดยกล่าวว่า “ที่ใดมีองค์กร ที่นั้นมีระบบ คณาธิปไตย” หรือมีคนเพียงส่วนน้อยที่มีอํานาจในการตัดสินใจในองค์กร เช่น พรรคการเมือง ส่งเสริมให้เกิดระบบคณาธิปไตย เนื่องจากมีเพียงหัวหน้าพรรคและผู้ที่ให้เงินสนับสนุนพรรครายใหญ่เท่านั้นที่มีอํานาจในการตัดสินใจในพรรค

99 การนํานโยบายที่แถลงไว้ต่อรัฐสภาไปปฏิบัติ อาทิ นโยบายจํานําข้าว รถคันแรก กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเป็นไปตามหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 97 ประกอบ

100 ตาม พ.ร.ป. ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 พรรคการเมืองซึ่งประสงค์จะส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งใด ต้องมีสาขาพรรคการเมืองหรือตัวแทนพรรคการเมือง ประจําจังหวัดที่มีเขตพื้นที่รับผิดชอบในเขตเลือกตั้งนั้น

ตอบ 1 (คําบรรยาย) พ.ร.ป. ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 47 กําหนดให้ พรรคการเมืองซึ่งประสงค์จะส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งใด ต้องมีสาขาพรรคการเมืองหรือตัวแทนพรรคการเมืองประจําจังหวัดที่มีเขตพื้นที่รับผิดชอบใน เขตเลือกตั้งนั้น

POL2104 พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ 1/2560

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2104 พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1 ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ปี 2016 ผู้สมัครจากพรรคการเมืองใดใช้เงินในการ หาเสียงเลือกตั้งมากที่สุด

(1) พรรคเดโมแครต

(2) พรรครีพับลิกัน

(3) พรรคกรีน

(4) พรรคแรงงาน

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (ข่าว) ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 2016 ผู้สมัครที่ใช้เงินในการหาเสียงเลือกตั้งมากที่สุด คือ นางฮิลลารี คลินตัน (Hillary Clinton) จากพรรคเดโมแครต (ประมาณ 500 ล้านดอลลาร์) ส่วนนายโดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump) จากพรรครีพับลิกัน ซึ่งเป็นผู้ชนะการเลือกตั้งได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาใช้เงินในการหาเสียงเลือกตั้งประมาณ 200 ล้านดอลลาร์

2 Donald Trump เป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาจากพรรคการเมืองใด

(1) พรรคกรีน

(2) พรรครีพับลิกัน

(3) พรรคคองเกรส

(4) พรรคเดโมแครต

(5) เป็นรัฐบาลผสม

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 1 ประกอบ

3 การใช้เงินในการหาเสียงเลือกตั้งโดยได้รับการบริจาคหรือเงินสนับสนุนจากกลุ่มทุน นักธุรกิจ รวมถึงประชาชนทั่วไป ผิดหลักการประชาธิปไตยทั่วไปหรือไม่

(1) ผิด เพราะพรรคการเมืองที่มีนายทุนมากย่อมได้เปรียบพรรคการเมืองขนาดเล็ก (2) ผิด เพราะก่อให้เกิดระบบอุปถัมภ์

(3) ผิด เพราะก่อให้เกิดการซื้อสิทธิ์ขายเสียง

(4) ไม่ผิด เพราะสะท้อนให้เห็นความเป็นจริงของกลุ่มทุน รวมถึงประชาชนบางกลุ่มทั้งในระดับสาขาอาชีพเชื้อชาติ ศาสนา สนับสนุนพรรคการเมืองนั้น ๆ

(5) ถูกเฉพาะข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การใช้เงินในการหาเสียงเลือกตั้งโดยได้รับการบริจาคหรือเงินสนับสนุนจากกลุ่มทุนนักธุรกิจ และประชาชนทั่วไป อย่างเปิดเผยตรงไปตรงมา ถือว่าไม่ผิดหลักการประชาธิปไตย ทั่วไป เพราะสะท้อนให้เห็นความเป็นจริงของกลุ่มทุนและประชาชนในสาขาอาชีพ เชื้อชาติ และศาสนาต่าง ๆ ที่สนับสนุนนโยบายหรือแนวความคิดของบุคคลหรือพรรคการเมืองนั้น ๆ

4 ตามแนวคิดเรื่องการพัฒนาการเมือง (Political Levelopment) พรรคการเมืองจะต้องพัฒนาความเป็นสถาบันการเมืองโดย

(1) มีหัวหน้าพรรคที่เข้มแข็งเด็ดขาด

(2) เลือกบุคคลจากสกุลดังให้มาเป็นสมาชิกพรรค

(3) มีการแบ่งงานกันทําภายในพรรคตามนามสกุลและเงินบริจาค

(4) มีนักธุรกิจมาเป็นสมาชิกพรรคมาก ๆ

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ตามแนวคิดเรื่องการพัฒนาการเมือง (Political Development) นั้นพรรคการเมืองจะต้องพัฒนาความเป็นสถาบันการเมืองโดย

1 มีหัวหน้าพรรคที่เข้มแข็งเด็ดขาด

2 มีการแบ่งงานกันทําภายในพรรคตามความถนัด

3 มีการคัดเลือกบุคคลเข้ามาเป็นสมาชิกพรรคโดยคํานึงถึงความรู้ความสามารถ ฯลฯ

5 ตามคํานิยามของเอ็ดมันด์ เบอร์ก พรรคการเมืองจะต้องมีจุดมุ่งหมายเพื่อ

(1) ส่งเสริมสาธารณกุศล

(2) ป้องกันการแตกสามัคคีของคนในชาติ

(3) สร้างความสามัคคีของหมู่คณะ

(4) สงเสริมผลประโยชน์ของชาติ

(5) ส่งเสริมประโยชน์แก่สมาชิกพรรค

ตอบ 4 หน้า 4 เอ็ดมันด์ เบอร์ก (Edmund Burke) ได้ให้คํานิยามของพรรคการเมืองว่า พรรคการเมืองได้แก่ “คนกลุ่มหนึ่งซึ่งรวมกันตามแนวหลักการบางอย่าง โดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกันในการส่งเสริมผลประโยชน์ของชาติ”

6 ผลจากการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 มีพรรคการเมืองใดถูกยุบหรือไม่

(1) ไม่มีพรรคไหนโดนยุบพรรค

(2) พรรคประชาธิปัตย์ถูกยุบ

(3) หัวหน้าพรรคเพื่อไทยโดนจับ

(4) พรรคเพื่อไทยถูกยุบ

(5) พรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นรัฐบาล

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) การรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 เป็นการรัฐประหารรัฐบาลรักษาการของนายนิวัฒน์ธํารง บุญทรงไพศาล โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งการรัฐประหาร ในครั้งนี้เป็นการรัฐประหารครั้งที่ 13 ของประวัติศาสตร์ไทย และนับเป็นครั้งที่ 2 ในรอบ หนึ่งทศวรรษ (หรือในรอบ 10 ปี ต่อจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549) โดยการรัฐประหาร ได้มีผลทําให้รัฐธรรมนูญฯ 2550 สิ้นสุดลง และทําให้คณะรัฐมนตรีรักษาการและวุฒิสภา สิ้นสุดลงด้วย แต่ศาล องค์กรอิสระ และองค์กรอื่น ๆ ตามรัฐธรรมนูญฯ 2550 เช่น คณะกรรมการ การเลือกตั้ง (กกต.) ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ส่วนพรรคการเมืองนั้นยังคงดํารงอยู่ แต่ไม่สามารถดําเนินกิจกรรมใด ๆ ทางการเมืองได้

7 ผลจากการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 คณะกรรมการการเลือกตั้งได้รับผลกระทบ คือ

(1) คณะกรรมการการเลือกตั้งไม่โดนยุบ

(2) กกต. ฝ่ายบริหารการเลือกตั้งโดนปลด ฐานจัดการเลือกตั้งล้มเหลว

(3) กกต. ฝ่ายบริหารการเลือกตั้งโดนเรียกไปปรับทัศนคติ

(4) ประธาน กกต. ถูกปลด

(5) กกต. ถูกส่งไปศึกษางานต่างประเทศ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

8 แนวคิดเรื่องสัญญาประชาคม (Social Contract) อธิบายว่าเราสามารถบรรลุถึงเสรีภาพได้ในเงื่อนไขใด

(1) ในรัฐสังคมนิยม

(2) ในรัฐสวัสดิการ

(3) ในรัฐแบบใดก็ได้

(4) ในรัฐประชาธิปไตยเท่านั้น

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 5 (คําบรรยาย) รุสโซ เห็นว่า สังคมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งสัญญาประชาคม (Social Contract)สามารถทําให้บุคคลในฐานะสมาชิกของสังคมนั้นบรรลุถึงเสรีภาพได้ ภายใต้เงื่อนไขการออก กฎหมายมาบังคับตัวเอง กล่าวคือ การที่เคารพกฎหมายที่ตัวเรามีส่วนร่วมในการบัญญัตินั้น เราย่อมไม่รู้สึกว่ากฎหมายนั้นกดขี่เราและทําให้เราไม่มีเสรีภาพ เพราะโดยทั่วไปแล้วคงไม่มีใครเสียสติพอที่จะบัญญัติกฎหมายออกมาเพื่อกดขี่บีบคั้นตัวเองให้เจ็บปวด

9 อุดมการณ์หรือแนวคิดใดเชื่อว่าความแตกต่างทางความคิดและกลุ่มการเมืองที่หลากหลายเป็นเรื่องผิดปกติ

(1) ฟาสซิสต์

(2) อนุรักษนิยม

(3) สังคมนิยม

(4) ประชาธิปไตย

(5) เฉพาะข้อ 1 และ 2

ตอบ 5 หน้า 234, (คําบรรยาย) การเมืองแบบพหุนิยม เป็นแนวคิดของอุดมการณ์เสรีนิยมประชาธิปไตยซึ่งเห็นว่าประชาธิปไตยจะมีขึ้นและมั่นคงอยู่ได้ก็ด้วยการมีกลุ่ม กลุ่มผลประโยชน์ พรรคการเมือง สมาคม ชมรม สันนิบาต องค์การ หรือสหพันธ์ต่าง ๆ ที่หลากหลายภายในรัฐโดยเสรีและสมัครใจ มิได้มีการบังคับ เพราะเชื่อว่าความแตกต่างทางความคิดและกลุ่มการเมืองที่หลากหลายเป็น เรื่องปกติ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ตรงกันข้ามกับอุดมการณ์อนุรักษนิยม คอมมิวนิสต์ ฟาสซิสต์ และ นาซีที่ไม่สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่ม เพราะเชื่อว่าความแตกต่างทางความคิดและกลุ่มการเมืองที่หลากหลายเป็นเรื่องผิดปกติ

10 ส่วนผสมของอุดมการณ์ทางการเมืองที่สําคัญ คือ

(1) วิจารณ์สังคม ให้ภาพอนาคต เสนอแนวทางเข้าสู่สังคมที่ดีกว่า

(2) ให้ภาพอดีต วิจารณ์สังคม เสนอวิธีเข้าสู่สังคมที่ดีกว่า

(3) วิจารณ์ปัจจุบัน ให้ภาพอนาคต เสนอวิธีล้มล้างระบอบปัจจุบัน

(4) วิจารณ์ปัจจุบัน ให้ศรัทธาผู้นํา เสนอวิธีล้มล้างระบอบปัจจุบัน

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ส่วนผสมของอุดมการณ์ทางการเมืองที่สําคัญ มี 3 ประการ คือ

1 การวิจารณ์สังคมหรือระเบียบในปัจจุบัน

2 การให้ภาพสังคมหรือระเบียบในอนาคต

3 การเสนอทฤษฎีหรือการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมหรือระเบียบใหม่ เช่น เสนอวิธีล้มล้างระบอบปัจจุบันหรือเสนอแนวทางเข้าสู่สังคมใหม่ที่ดีกว่า เป็นต้น

 

11 ในยุคที่พรรคนาซีมีอํานาจได้อาศัยข้ออ้างใดในการมีระบบพรรคเดียว

(1) เพื่อความเป็นเอกราชและความมั่นคงของชาติ

(2) ประเทศมีชนชั้นเดียว ต้องมีพรรคเดียว

(3) เพื่อพัฒนาสู่ความเป็นประชาธิปไตย

(4) เพื่อให้คนดีได้ปกครองบ้านเมืองโดยไม่มีคู่แข่ง

(5) เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและความรวดเร็วในการปกครอง

ตอบ 5 หน้า 136 ในยุคที่พรรคนาซีมีอํานาจได้ให้เหตุผลในการมีระบบพรรคเดียวว่า เยอรมันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแยกไม่ได้ พรรคก็ต้องมีพรรคเดียว เพราะการมีหลายพรรคจะเป็นการแบ่งแยกความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และประเทศไม่เจริญก้าวหน้าได้รวดเร็วเท่าที่ควร

12 ในทัศนะของนักปรัชญาการเมืองคนใดที่ไม่เห็นด้วยกับการมีพรรคการเมือง เพราะเป็นการทําลาย สภาผู้แทนราษฎรและรัฐบาลที่เสรี

(1) โทมัส ฮอบส์

(2) คาร์ล มาร์กซ์

(3) เอ็ดมันด์ เบอร์ก

(4) แม็กซ์ เวเบอร์

(5) รุสโซ

ตอบ 3 หน้า 33 เอ็ดมันด์ เบอร์ก (Edmund Burke) เป็นนักปรัชญาการเมืองชาวอังกฤษที่ไม่เห็นด้วยกับการมีพรรคการเมือง โดยเห็นว่า การแบ่งกันเป็นพรรคการเมืองเป็นการทําลายสภาสามัญ(สภาผู้แทนราษฎร) และรัฐบาลที่เสรี

13 พรรคการเมืองที่แท้จริงจะต้องมีลักษณะอย่างไร

(1) ยึดตัวผู้นําพรรคเป็นหลัก

(2) แสดงบทบาทเฉพาะช่วงเลือกตั้ง

(3) ไม่ร่วมกับพรรคอื่นตั้งรัฐบาล

(4) จํากัดจํานวนสมาชิกที่ดีเท่านั้น

(5) มีสาขาพรรคกระจายทั่วทุกภูมิภาค

ตอบ 5 หน้า 9 – 11 ลักษณะของพรรคการเมืองที่แท้จริง มี 4 ประการ คือ

1 ต้องมีความยั่งยืน โดยไม่ขึ้นอยู่กับชีวิตหรืออํานาจของผู้นําพรรคการเมือง แต่ยึดหลักการหรืออุดมการณ์เป็นหลัก

2 ต้องมีองค์การหรือสาขาพรรคมาก ๆ กระจายทั่วทุกภูมิภาค และมีเครือข่ายติดต่อกันระหว่าง สํานักงานใหญ่กับสาขาพรรคในท้องถิ่น

3 ผู้นําพรรคต้องมีความมุ่งหมายที่จะเป็นรัฐบาล โดยอาจจัดตั้งรัฐบาลโดยลําพังพรรคเดียวหรือจัดตั้งรัฐบาลผสมก็ได้

4 ต้องพยายามหาคะแนนเสียงเมื่อมีการเลือกตั้ง และหาความสนับสนุนจากมหาชนทั่วไปเมื่อไม่มีการเลือกตั้ง

14 พรรคการเมืองมีการฟังความคิดเห็นของสมาชิกเป็นขบวนการที่เรียกว่าประชาธิปไตยรวมศูนย์ (Democratic Centralism) ใช้กับพรรคการเมืองที่มีอุดมการณ์

(1) เสรีนิยม

(2) อนุรักษนิยม

(3) สังคมนิยม

(4) คอมมิวนิสต์

(5) ฟาสซิสต์

ตอบ 4 หน้า 76, 137 ประชาธิปไตยรวมศูนย์ (Democratic Centralism) เป็นลักษณะการใช้อํานาจหรือการดําเนินงานภายในพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งประกอบด้วย 2 ขบวนการ คือ ในระยะแรก ให้สมาชิกในหน่วยพื้นฐานเสนอความคิดเห็นในนโยบายของพรรคแล้วเสนอไปยังเบื้องบนหรือ ศูนย์กลางของพรรคเพื่อรับทราบ ส่วนในระยะต่อมาเป็นการตัดสินใจจากเบื้องบน โดยมติที่ได้จะต้องบังคับใช้กับองค์การทุกระดับของพรรคอย่างเข้มงวด

15 อุดมการณ์คู่ใดที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันในแง่การใช้อํานาจ

(1) คอมมิวนิสต์ – ฟาสซิสต์

(2) คอมมิวนิสต์ – ประชาธิปไตย

(3) อนุรักษนิยม – สังคมนิยม

(4) อนุรักษนิยม – ประชาธิปไตย

(5) อนุรักษนิยม – คอมมิวนิสต์

ตอบ 1 หน้า 140 อุดมการณ์คอมมิวนิสต์และฟาสซิสต์ จะมีลักษณะการใช้อํานาจที่คล้ายคลึงกัน คือ เป็นเผด็จการแบบรวมอํานาจเบ็ดเสร็จ โดยประชาชนจะถูกลิดรอนเสรีภาพในทุก ๆ ด้านทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

16 อุดมการณ์ใดที่นิยมระบบพรรคการเมืองแบบพรรคเดียว

(1) เสรีนิยม

(2) อนุรักษนิยม

(3) สังคมนิยม

(4) คอมมิวนิสต์

(5) ฟาสซิสต์

ตอบ 4, 5 หน้า 135, 139, (คําบรรยาย) ระบบพรรคเดียว หมายถึง การที่รัฐหรือประเทศหนึ่งมีรัฐบาลที่ตั้งขึ้นโดยพรรคการเมืองพรรคเดียว และระบบนี้ยอมให้มีเฉพาะพรรคที่ครองอํานาจอยู่เท่านั้น ไม่ยอมให้มีพรรคอื่นเข้ามาแข่งขันหรือกีดกัน ซึ่งจะพบระบบนี้ได้ในประเทศที่มีการปกครอง ระบอบเผด็จการหรือมีอุดมการณ์แบบซ้ายสุดโต่ง (คอมมิวนิสต์) หรือขวาสุดโต่ง (ฟาสซิสต์และนาซี) เช่น จีน ลาวเวียดนาม คิวบา เกาหลีเหนือ เป็นต้น

17 อุดมการณ์หรือแนวคิดใดไม่ต้องการให้มีรัฐ

(1) ฟาสซิสต์

(2) อนาธิปัตย์

(3) ประชาธิปัตย์

(4) ประชาธิปไตย

(5) เฉพาะข้อ 1 และ 2

ตอบ 2 (คําบรรยาย) อนาธิปัตย์ หรืออนาคิสม์ (Anarchism) เป็นอุดมการณ์หรือแนวคิดทางการเมืองที่ต่อต้านการมีรัฐบาลหรือการมีรัฐ โดยถือว่ารัฐหรือการรวมตัวเป็นประเทศ เป็นชาติ เป็นบ้านเมืองหรือการมีรัฐบาลนั้นเป็นของไม่จําเป็น และเป็นบ่อเกิดของความชั่วร้ายนานาประการ

18 ปัจจุบันประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง คือ

(1) สมชัย ศรีสุทธิยากร

(2) ศุภชัย สมเจริญ

(3) ประวิช รัตนเพียร

(4) ธีรวัฒน์ ธีรโรจน์วิทย์

(5) อมรา พงศาพิชญ์

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ชุดปัจจุบัน ประกอบด้วย นายศุภชัย สมเจริญ ประธาน กกต. และกรรมการอีก 4 คน ได้แก่ นายสมชัย ศรีสุทธิยากร, นายประวิช รัตนเพียร, นายธีรวัฒน์ ธีรโรจน์วิทย์ และนายบุญส่ง น้อยโสภณ (กกต. ชุดนี้จะยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่า กกต. ชุดใหม่ที่ได้รับการแต่งตั้งตาม พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 จะเข้ารับหน้าที่)

19 ในปัจจุบันพรรคการเมืองแบบชนชั้นหมายถึงพรรคที่มิได้เน้นในเรื่องจํานวนของผู้เข้าร่วมในพรรคเพื่อดําเนินกิจกรรมทางการเมือง แต่กลับเน้นในเรื่องของสมาชิก

(1) ลัทธิความเชื่อ

(2) ศาสนา

(3) อายุ

(4) คุณภาพ

(5) ความรู้ภาษาอังกฤษ

ตอบ 4 หน้า 40 – 41, (คําบรรยาย) พรรคชนชั้นหรือพรรคดั้งเดิม เป็นพรรคการเมืองที่ยังคงรักษาโครงสร้างของคําว่า “ชนชั้นนํา” (Elite) อยู่ กล่าวคือ เป็นพรรคที่มิได้เน้นในเรื่องจํานวนของ สมาชิกพรรคหรือจํานวนของผู้เข้าร่วมในพรรคเพื่อดําเนินกิจกรรมทางการเมือง แต่กลับเน้น ในเรื่องคุณภาพของสมาชิกพรรค เพราะพรรคต้องการเฉพาะกลุ่มคนหรือบุคคลที่ครอบครอง ปัจจัยสําคัญทางเศรษฐกิจและการเมืองของสังคม เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง มียศถาบรรดาศักดิ์ หรือมีฐานะดีพอที่จะสามารถสนับสนุนพรรคในด้านการเงินได้ หรืออาจจะพูดให้เข้าใจง่าย ๆก็คือ เป็นพรรคการเมืองที่เน้นในเรื่องคุณภาพมากกว่าปริมาณของสมาชิก

20 พรรคแห่งชนชั้นกลาง หรือ Party Bourgeois นั้น มีทิศทางการบริหารประเทศที่เน้นด้าน

(1) ส่งเสริมเกษตรพอเพียง

(2) ไม่ชอบความรุนแรง

(3) นวัตกรรมทางการค้า

(4) นิยมรัฐสวัสดิการ

(5) ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง

ตอบ 5 หน้า 41 พรรคแห่งชนชั้นกลาง (Party Bourgeois) เป็นพรรคการเมืองที่มีแนวคิดและทิศทางการบริหารประเทศแบบอนุรักษนิยมที่ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง โดยสมาชิกของพรรค จะประกอบด้วยบุคคลที่จัดอยู่ในประเภทกลางของสังคม เป็นผู้ที่มีทรัพย์สิน มีความสนใจฝักใฝ่ในทางวัตถุนิยม และมีผลประโยชน์เป็นของตนเองโดยเฉพาะ

 

21 ปัจจุบันประเทศไทยมีพันธะที่จะปรับโครงสร้างต่าง ๆ ให้เข้าสู่ประชาคมอาเซียนในสามเสา ได้แก่

(1) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม – เสาเศรษฐกิจ – เสาการเมืองและความมั่นคง

(2) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม เสาประเพณี – เสาการเมืองและความมั่นคง

(3) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม – เสาระหว่างประเทศ – เสาการเมืองและความมั่นคง

(4) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม – เสาธุรกิจ – เสาการเมืองและความมั่นคง

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ถือกําเนิดอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2546 จากการที่ผู้นําอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน ที่เรียกว่า “ข้อตกลงบาหลี 2” โดยประกอบด้วยประเทศสมาชิกจํานวน 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย กัมพูชา บรูไน พม่า ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ลาว เวียดนาม สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ซึ่ง ประเทศเหล่านี้มีพันธะที่จะต้องปรับโครงสร้างต่าง ๆ ให้เข้าสู่ประชาคมอาเซียนในสามเสาได้แก่ เสาสังคมและวัฒนธรรม เสาเศรษฐกิจ และเสาการเมืองและความมั่นคง

22 ปัจจัยที่ทําให้อังกฤษมีระบบพรรคการเมืองสองพรรคได้แก่อะไร

(1) การมีการปกครองระบอบรัฐสภา

(2) วิวัฒนาการอันยาวนานของพรรคการเมือง

(3) การใช้ระบบสภาคู่

(4) การมีสถาบันกษัตริย์

(5) การใช้ระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากรอบเดียว

ตอบ 2 หน้า 151 – 152 ปัจจัยที่ทําให้อังกฤษมีระบบพรรคการเมืองสองพรรค ได้แก่ การมีวิวัฒนาการอันยาวนานของพรรคการเมืองมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ซึ่งในระยะแรกจะเป็น เรื่องเกี่ยวกับความแตาแยกทางความคิดเห็น ความเชื่อและความศรัทธาทางศาสนา และ จากสมัยกลางมาสู่สมัยใหม่ความคิดเห็นก็ได้แตกแยกเป็น 2 กลุ่ม คือ

1 พวก Cavaliers หรือพวก Tories เป็นรากฐานของพรรคคอนเซอร์เวทีฟ

2 พวก Roundhead หรือพวก Whies เป็นรากฐานของพรรคริเบอร์รัล

23 พรรคการเมืองที่แท้จริงต้องมีลักษณะสําคัญ คือ

(1) ตั้งรัฐบาลแห่งชาติ

(2) บอยคอตตการเลือกตั้ง

(3) มีสาขาพรรคมาก ๆ

(4) ตั้งสภาประชาชนจากการสรรหา

(5) เป้าหมายต้องการเป็นรัฐบาล

ตอบ 3, 5 ดูคําอธิบายข้อ 13 ประกอบ

24 การเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกงเรียกว่า

(1) Hong Kong Spring

(2) Yellow Ribbon Revolution

(3) Yellow Mask Movement

(4) Umbrella Revolution

(5) Hong Kong United Youth Front

ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) การชุมนุมในฮ่องกงเมื่อเดือนกันยายน 2557 เป็นการชุมนุมเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยและสิทธิการเลือกตั้งเสร็จากรัฐบาลจีน ซึ่งกลุ่มผู้ชุมนุมได้ใช้ร่มในการป้องกัน แก๊สน้ําตาและสเปรย์พริกไทยจากเจ้าหน้าที่ตํารวจ จึงทําให้ร่มกลายเป็นสัญลักษณ์สําคัญของการชุมนุมประท้วง และมีการเรียกการชุมนุมครั้งนี้ว่า “การปฏิวัติร่ม” (Umbrella Revolution)

25 ประธานาธิบดีอินโดนีเซียคนล่าสุด คือ

(1) นายซูฮาร์โต

(2) นางซูการ์โน บุตรี

(3) นายโจโก วิโดโด

(4) พลเอกปราโบโว สุเบียนโต

(5) นายบัมบัง ยูโดโยโน

ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) ประธานาธิบดีอินโดนีเซียคนล่าสุด คือ นายโจโกวิโดโด (Joko Widodo)สังกัดพรรคประชาธิปไตยอินโดนีเซียแห่งการต่อสู้ (PDI-P) ซึ่งได้เข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2557

26 โดยปกติแล้วการประกาศกําหนดวันเลือกตั้งต้องประกาศเป็น

(1) พระราชบัญญัติ

(2) พระราชกําหนด

(3) กฎกระทรวง

(4) พระราชกฤษฎีกา

(5) ประกาศของ กกต.

ตอบ 4 (คําบรรยาย) โดยปกติแล้วการประกาศกําหนดวันเลือกตั้งต้องประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกา(รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 102 – 103)

27 ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้ผลของการเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 มีสถานะเป็น การแสดง

(1) การเลือกตั้งที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ถูกขัดขวางจึงเป็นโมฆะ

(2) การเลือกตั้งที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ในวันเดียวทั่วประเทศ จึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

(3) การเลือกตั้งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ในวันเดียวทั่วประเทศการเลือกตั้งจึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

(4) การเลือกตั้งเป็นโมฆะตั้งแต่แรก เสมือนไม่เคยมีการเลือกตั้ง

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 3 (ข่าว) เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2557 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยให้การเลือกตั้ง ส.ส.เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยมีมติเสียงข้างมาก 6 : 3 ว่า การที่ พ.ร.ฎ. ยุบสภาผู้แทนราษฎร 2556 กําหนดให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. เป็นการทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 และมีการดําเนินการเลือกตั้งเป็นการทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไปแล้ว แต่ไม่สามารถจัดให้มีการเลือกตั้งสําหรับ 28 เขตเลือกตั้ง ซึ่งยังไม่เคยมีการรับสมัคร รับเลือกตั้งมาก่อนเลย จึงถือได้ว่าการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 มิได้เป็นวันเลือกตั้งวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร เป็นผลให้ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 108 วรรค 2

28 ในทางทฤษฎีการรัฐประหาร (Coup d’etat) ต่างจากการปฏิวัติ (Revolution) อย่างไร

(1) รัฐประหารเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างใด ๆ

(2) การปฏิวัติเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่

(3) การปฏิวัติเป็นการรื้อปรับโครงสร้างอํานาจ ส่วนรัฐประหารแค่ล้มรัฐบาล

(4) รัฐประหารเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่เพื่อปฏิรูปโครงสร้างสังคม

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในทางทฤษฎีนั้นการรัฐประหาร (Coup d’etat) จะมีความแตกต่างจากการปฏิวัติ(Revolution) คือ รัฐประหารจะเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่ (ประมุขแห่งรัฐ หรือหัวหน้ารัฐบาล) อย่างฉับพลัน โดยไม่ได้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง (Regime) หรือ โครงสร้างใด ๆ ในทางสังคมการเมือง แต่การปฏิวัติจะเป็นการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง หรือโครงสร้างของรัฐ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ยากกว่าการรัฐประหาร โดยในประวัติศาสตร์การเมืองไทยมีการปฏิวัติเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว คือ การปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 โดยคณะราษฎร

29 เมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านผู้ใดได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดํารงตําแหน่ง “รัฐบุรุษอาวุโส”

(1) หลวงประดิษฐ์มนูธรรม

(2) พ.อ.พระยาศรีสิทธิสงคราม

(3) ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช

(4) พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา

(5) พลเอกเปรม ติณสูลานนท์

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 นายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม)ในฐานะผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ และหัวหน้าขบวนการเสรีไทย ได้รับโปรดเกล้าฯ จาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8) ให้ดํารงตําแหน่ง “รัฐบุรุษอาวุโส” เนื่องจากเป็นผู้นําในการกอบกู้บ้านเมืองในช่วงสงครามโลก รวมทั้งได้ทํางานที่เป็นประโยชน์ ต่อประเทศชาติหลายประการทั้งในด้านการเมือง การปกครอง การต่างประเทศ การเศรษฐกิจและการศึกษา โดยนายปรีดีถือเป็นรัฐบุรุษอาวุโสคนแรกและคนเดียวของประเทศไทย

30 ตําแหน่ง “รัฐบุรุษอาวุโส” ของบุคคลดังกล่าวเกี่ยวข้องกับข้อใด

(1) ขบวนการโจรจีนคอมมิวนิสต์

(2) ขบวนการเสรีไทย

(3) ขบวนการพูโล

(4) พรรคเสรีมนังคศิลา

(5) พรรคประชาธิปัตย์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 29 ประกอบ

 

31 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของพรรคการเมือง

(1) เป็นการรวมตัวของปัจเจกบุคคล

(2) มีแนวคิด อุดมการณ์

(3) แสวงหาอํานาจรัฐ

(4) นําเสนอนโยบายในการเลือกตั้ง

(5) ประกอบธุรกิจการค้า

ตอบ 5 หน้า 6 ลักษณะที่สําคัญของพรรคการเมือง มีดังนี้

1 เป็นคณะบุคคลที่รวบรวมกันเป็นองค์การ คือ เป็นการรวมตัวกันของปัจเจกบุคคลเป็นองค์การ

2 เป็นการรวมตัวกันตามแนวความคิด อุดมการณ์ หรือหลักการบางอย่างที่เห็นพ้องต้องกัน

3 มีการกําหนดประเด็นปัญหาและนโยบาย

4 มีการคัดเลือกบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้ง

5 มีจุดมุ่งหมายที่จะเข้าไปควบคุมการดําเนินงานและนโยบายของรัฐบาล หรือแสวงหาอํานาจรัฐ

32 พรรคการเมืองเกิดขึ้นในช่วงเวลาใด

(1) ศตวรรษที่ 16

(2) ศตวรรษที่ 17

(3) ศตวรรษที่ 18

(4) ศตวรรษที่ 19

(5) ศตวรรษที่ 20

ตอบ 4 หน้า 33 พรรคการเมืองในรูปแบบสมัยใหม่เกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 19 โดยเริ่มต้นในประเทศยุโรปโดยเฉพาะในสหราชอาณาจักร (อังกฤษ) ก่อนแล้วขยายไปสหรัฐอเมริกา พรรคการเมืองใน ระยะเริ่มต้นนี้เป็นเพียงการรวมกลุ่มของพรรคสมาชิกสภาผู้แทนที่มีความคิดเห็นหรืออุดมการณ์ คล้ายคลึงกัน เช่น พวาเสรีนิยม พวกอนุรักษนิยม พวกสาธารณรัฐนิยม พวกประชาธิปไตยนิยมพวกนิยมกษัตริย์ เป็นต้น

33 ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของพรรคการเมือง

(1) เลือกสรรบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้ง

(2) ชี้ขาดข้อพิพาทในสังคม

(3) เสนอนโยบาย

(4) เป็นสื่อกลางระหว่างประชาชนกับองค์การของรัฐ

(5) จัดตั้งรัฐบาล

ตอบ 2 หน้า 15 – 19 หน้าที่ของพรรคการเมือง มีดังนี้

1 เลือกสรรบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้ง

2 เสนอนโยบาย ชี้ประเด็นปัญหาและเสนอแนวทางแก้ไข

3 เป็นสื่อกลางระหว่างประชาชนกับองค์การของรัฐ

4 จัดตั้งรัฐบาล

5 ปลุกระดมมวลชนให้เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง

34 ข้อใดไม่ใช่บทบาทของพรรคการเมือง

(1) ช่วยให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยดี

(2) ช่วยให้การเลือกตั้งมีประสิทธิภาพ

(3) รักษาอํานาจในการปกครองให้สืบต่อเนื่องกัน

(4) ช่วยให้เศรษฐกิจเจริญเติบโต

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 4 หน้า 19 – 23 บทบาทของพรรคการเมือง มีดังนี้

1 ช่วยให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยดีและมีประสิทธิภาพ

2 ช่วยทําให้กลไกทางการเมืองดําเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและ สอดคล้องต้องกัน 3 ช่วยผดุงรักษาอํานาจในการปกครองให้สืบต่อเนื่องกัน และการถ่ายทอด อํานาจเป็นไปอย่างถูกต้องตามครรลอง

4 ช่วยประสานประโยชน์ของกลุ่มชนในสังคม

5 เป็นเครื่องมือในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน

6 ช่วยพัฒนาการเมือง

35 ประเทศใดที่ระบบพรรคการเมืองเป็นระบบพรรคเด่นพรรคเดียว

(1) ไทย

(2) สหราชอาณาจักร

(3) ญี่ปุ่น

(4) สหรัฐอเมริกา

(5) ฝรั่งเศส

ตอบ 3 หน้า 177 – 180 ระบบพรรคเด่นพรรคเดียวหรือระบบพรรคครึ่ง เป็นระบบพรรคการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศที่มีพรรคการเมืองหลายพรรค (ตั้งแต่ 2 พรรคขึ้นไป) เข้าแข่งขันกันใน การเลือกตั้ง แต่ว่าจะมีเพียงพรรคเดียวเท่านั้นที่มีเสียงข้างมากในสภาจนสามารถจัดตั้งรัฐบาล ได้เพียงลําพังติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนาน ตัวอย่างของประเทศที่มีระบบพรรคเด่นพรรคเดียวในปัจจุบัน เช่น ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เป็นต้น

36 ประเทศใดที่ระบบพรรคการเมืองเป็นระบบสองพรรค

(1) ไทย

(2) สหราชอาณาจักร

(3) ญี่ปุ่น

(4) อิตาลี

(5) ฝรั่งเศส

ตอบ 2 หน้า 145 – 148, (คําบรรยาย) ระบบสองพรรค หมายถึง การที่รัฐหรือประเทศหนึ่งมีพรรคการเมืองขนาดใหญ่เพียง 2 พรรคที่มีโอกาสเป็นรัฐบาล โดยเสียงของประชาชน ในการเลือกตั้งจะทําให้มีการผลัดกันเป็นรัฐบาล แล้วแต่ว่าพรรคใดจะได้คะแนนนิยมสูงสุด ซึ่งในระบบพรรคการเมืองแบบนี้รัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นส่วนมากจะเป็นรัฐบาลพรรคเดียว ตัวอย่าง ของประเทศที่มีระบบสองพรรคในปัจจุบัน เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร (อังกฤษ)นิวซีแลนด์ ฟิจิ อุรุกวัย จาไมกา โดมินิกัน เป็นต้น

37 ในประเทศที่ระบบพรรคการเมืองเป็นระบบสองพรรค รัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นโดยส่วนมากจะเป็นแบบใด

(1) รัฐบาลพรรคเดียว

(2) รัฐบาลผสม

(3) รัฐบาลแห่งชาติ

(4) รัฐบาลเสียงข้างน้อย

(5) ไม่แน่นอน

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 36 ประกอบ

38 ในประเทศที่ระบบพรรคการเมืองเป็นระบบหลายพรรค รัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นโดยส่วนมากจะเป็นแบบใด

(1) รัฐบาลพรรคเดียว

(2) รัฐบาลผสม

(3) รัฐบาลแห่งชาติ

(4) รัฐบาลเสียงข้างน้อย

(5) ไม่แน่นอน

ตอบ 2 หน้า 163 – 165 ระบบหลายพรรค เป็นระบบพรรคการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศที่มีพรรคการเมืองเป็นจํานวนมาก (ตั้งแต่ 3 พรรคขึ้นไป) แต่ละพรรคจะมีความสําคัญและ ได้รับความนิยมจากประชาชนไม่แตกต่างกัน จึงทําให้การจัดตั้งรัฐบาลต้องเป็นรัฐบาลผสม เพราะไม่มีพรรคการเมืองใดที่มีเสียงข้างมากเด็ดขาดในสภาจนสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ลําพัง เพียงพรรคเดียว ตัวอย่างของประเทศที่มีระบบหลายพรรคในปัจจุบัน เช่น ไทย ฝรั่งเศสเยอรมนี อิตาลี สวิตเซอร์แลนด์ แคนาดา เป็นต้น

39 พรรคการเมืองที่มีอุดมการณ์ความคิดแบบใดที่ถูกจัดว่าเป็นพรรคเคร่งวินัย

(1) คอมมิวนิสต์

(2) เสรีนิยม

(3) อนุรักษนิยม

(4) ธรรมชาตินิยม

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 หน้า 34 พรรคคอมมิวนิสต์ เกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นพรรคการเมืองที่เคร่งวินัยและยึดถือความซื่อสัตย์ของสมาชิกพรรคเป็นสิ่งสําคัญ ดังนั้นสมาชิกจึงต้องทํางานและปฏิบัติกิจกรรมตามกฎข้อบังคับของพรรคอย่างเคร่งครัด

40 พรรคการเมืองเกิดขึ้นครั้งแรกที่ใด

(1) สหรัฐอเมริกา

(2) สหราชอาณาจักร

(3) ฝรั่งเศส

(4) รัสเซีย

(5) อิตาลี

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 32 ประกอบ

 

41 ข้อใดคือความหมายของพรรคการเมืองที่เกิดขึ้นโดยทางอ้อม

(1) บริหารงานโดยผู้นําพรรคจํานวนน้อย

(2) บริหารงานโดยผู้แทนสาขาพรรค

(3) พรรคที่มีสมาชิกจํานวนน้อย

(4) ไม่รับสมาชิกโดยตรงแต่มีสมาชิกเป็นองค์การผลประโยชน์ต่าง ๆ

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 4 หน้า 47, 50 – 52 พรรคการเมืองที่เกิดขึ้นโดยทางอ้อม หมายถึง พรรคการเมืองที่ไม่มีการรับสมาชิกโดยตรง แต่มีสมาชิกที่เป็นองค์การผลประโยชน์ต่าง ๆ เช่น สหพันธ์ สหกรณ์ องค์การ สมาคม ชมรม ซึ่งคณะกรรมการระดับต่าง ๆ ของพรรคนี้จะประกอบด้วยผู้แทนที่มาจากองค์การดังกล่าว โดยมีหน้าที่ในการแต่งตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรคและจัดการเรื่องทุนที่จะ ใช้หาเสียง พรรคการเมืองโดยทางอ้อมนี้แบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ พรรคสังคมนิยม พรรคคาทอลิกและพรรคชาวไร่ชาวนา

42 ข้อใดไม่ถูกจัดว่าเป็นพรรคการเมืองโดยอ้อม

(1) พรรคสังคมนิยม

(2) พรรคกรีน

(3) พรรคคาทอลิก

(4) พรรคชาวไร่ชาวนา

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 41 ประกอบ

43 พรรคการเมืองใดที่จัดโครงสร้างแบบมิลิเซีย

(1) พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต

(2) พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน

(3) พรรคแรงงานอังกฤษ

(4) พรรครีพับลิกัน

(5) พรรคฟาสซิสต์

ตอบ 5 หน้า 68 – 70 การจัดองค์การเบื้องต้นแบบทหารหรือแบบมิลิเซีย (Militia) บางครั้งถูกเรียกว่าเป็นกองทัพส่วนตัว จะประกอบด้วยพลเรือนติดอาวุธสําหรับกู้สถานการณ์ของประเทศยามฉุกเฉิน โดยสมาชิกทุกคนจะได้รับการฝึกฝนเช่นเดียวกันกับทหารอาชีพ มีเครื่องแบบ เหรียญตรา กองดุริยางค์ ธงประจําหน่วย และถนัดการใช้อาวุธ ซึ่งการจัดองค์การเบื้องต้นแบบนี้จะพบได้ในพรรคฟาสซิสต์และพรรคนาซี

44 ผู้เข้าร่วมในกิจกรรมพรรคการเมืองประเภทใดมีบทบาทแข็งขันมากที่สุด

(1) Militant

(2) Member

(3) Supporter

(4) Voter

(5) Sympathizer

ตอบ 1 หน้า 83 – 87 บทบาทของผู้เข้าร่วมในกิจกรรมพรรคการเมืองมีแตกต่างกัน ซึ่งสามารถเรียงลําดับจากมากสุดไปหาน้อยสุดได้ดังนี้

1 ผู้ดําเนินงานพรรค (Militant)

2 สมาชิกพรรค (Member)

3 ผู้สนับสนุน (Supporter or Sympathizer)

4 ผู้เลือกตั้ง (Elector or Voter)

45 พรรคการเมืองที่มีชื่อย่อว่า CDU เป็นพรรคการเมืองที่มีบทบาทสําคัญในประเทศใด

(1) สหรัฐอเมริกา

(2) สหราชอาณาจักร

(3) ฝรั่งเศส

(4) รัสเซีย

(5) เยอรมนี

ตอบ 5 หน้า 166 พรรคการเมืองที่มีบทบาทสําคัญในประเทศเยอรมนี มี 3 พรรค คือ

1 พรรคคริสเตียนเดโมแครต (CDU)

2 พรรคโซเชียลเดโมแครต (SPD)

3 พรรคพรีเดโมแครตหรือเสรีประชาธิปไตย (FDP)

46 การปรับสัดส่วน ส.ส. เขตและบัญชีรายชื่อตามที่ปรากฏในการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น คาดว่าจะส่งผลให้

(1) พรรคการเมืองขนาดเล็กเข้มแข็ง

(2) พรรคการเมืองใหญ่ได้มี ส.ส. สัดส่วนมากขึ้น

(3) พรรคการเมืองขนาดเล็กมีอํานาจต่อรอง

(4) พรรคการเมืองที่มีฐานคนชั้นกลางอาจจะได้เปรียบ

(5) พรรคการเมืองที่มีฐานคนชั้นกลางมีคะแนนเสียงลดลง

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การปรับสัดส่วน ส.ส. เขตและบัญชีรายชื่อตามที่ปรากฏในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเมื่อปี พ.ศ. 2554 นั้น คาดว่าจะส่งผลให้พรรคการเมืองขนาดใหญ่ได้มี ส.ส. สัดส่วนมากขึ้น ส่วนพรรคการเมืองขนาดกลางและขนาดเล็กจะได้ ส.ส. น้อยลง รวมทั้งจะทําให้เกิดปัญหา ยุ่งยากในการกําหนดตัวผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง ส.ส. ด้วย เนื่องจากจะต้องมีการจัดเขตเลือกตั้งใหม่ ตามจํานวน ส.ส. ที่ลดลง

47 ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ เสนอคําอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยปัจจุบันว่าเป็น

(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์

(2) ระบอบอํามาตยาธิปไตย

(3) วงจรอุบาทว์

(4) สองนคราประชาธิปไตย

(5) สังคมโครงสร้างหลวม

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ได้เสนอแนวคิดเรื่อง “สองนคราประชาธิปไตย”เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่า ชาวไร่ชาวนาหรือคนจนในชนบทมักเป็นฐานเสียง และผู้ตั้งรัฐบาล แต่ไม่สามารถกําหนดความอยู่รอดและการสิ้นสุดของรัฐบาลได้ ส่วนคนชั้นกลาง หรือคนในเขตเมือง มักเป็นฐานนโยบายและเป็นผู้ล้มรัฐบาล แต่ไม่สามารถตั้งรัฐบาลใหม่ที่มี ผู้นําและนโยบายอย่างที่ตนต้องการได้ ภาวะดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะความขัดแย้งทางความคิดความต้องการ และพฤติกรรมในการเลือกตัวแทนของคนในชนบทกับคนในเขตเมือง

48 กลุ่มผลประโยชน์ประเภทของกลุ่มอุดมการณ์ที่มีจํากัดชนชั้น ภาษา ได้แก่กลุ่ม (1) อุดมการณ์

(2) อาชีพ

(3) อาสาสมัคร

(4) มาตุภูมิ

(5) ผลักดัน

ตอบ 1 หน้า 240, (คําบรรยาย) กลุ่มผลประโยชน์ในทางอุดมการณ์ คือ กลุ่มที่มีเป้าหมายโดยไม่ได้เน้นเฉพาะที่จะรักษาชลประโยชน์ของกลุ่มเท่านั้น แต่ยังมุ่งรักษาผลประโยชน์ให้แก่ทุกคน ทุกชนชัน ทุกชาติ ทุกภาษา ทุกเพศ และทุกวัยอีกด้วย ตัวอย่างเช่น กลุ่มกรีนพีซที่ต่อต้าน การทดลองนิวเคลียร์และการล่าวาฬในมหาสมุทร, กลุ่มต่อต้านความรุนแรง, กลุ่มทางวัฒนธรรมประเพณี, กลุ่มส่งเสริมในเรื่องนานาชาตินิยม (Internationalism) เป็นต้น

49 ไลออนส์สากล โรตารี ปอเต็กตึ๊ง ฮากกา จัดอยู่ในประเภทกลุ่มผลประโยชน์ด้าน (1) อุดมการณ์

(2) อาชีพ

(3) อาสาสมัคร

(4) มาตุภูมิ

(5) ผลักดัน

ตอบ 3 หน้า 315 – 316 กลุ่มอุดมการณ์ เป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่ก่อตั้งขึ้นโดยกลุ่มคนที่ต่างอาชีพต่างวัย ต่างความรู้ แต่มีเป้าหมายทางอุดมการณ์เหมือนกัน ร่วมกันก่อตั้งกลุ่มเพื่อทํางาน ให้แก่ชุมชน สังคม หรือประเทศชาติ ซึ่งได้แก่

1 กลุ่มอาสาสมัคร เช่น สโมสรไลออนส์สากล (ไลออนส์นานาชาติ) สโมสรโรตารีสากลสมาคมฮากกา (สมาคมหัวเฉียว) มูลนิธิปอเต็กตึ๊ง ยุวสมาคม เจ.ซี.) ชมรมค่ายอาสา ฯลฯ

2 กลุ่มสมาคมทางการเมือง เช่น กลุ่มนวพล กลุ่มลูกเสือชาวบ้าน ฯลฯ

3 กลุ่มศาสนา เช่น พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย ฯลฯ

4 กลุ่มปกป้องคุ้มครอง เช่น ขบวนการเสรีไทย ขบวนการจีนโพ้นทะเล กลุ่มอนุรักษ์เกาะรัตนโกสินทร์ ฯลฯ

50 ระดับของการใช้อิทธิพลบีบบังคับของกลุ่มผลประโยชน์ หรือกลุ่มอิทธิพลจะกระทําในระดับ

(1) กระทรวง

(2) รากหญ้า

(3) ประธานหอการค้า

(4) กรม

(5) ทุกระดับ

ตอบ 5 หน้า 277, (คําบรรยาย) วิธีการบีบบังคับของกลุ่มผลประโยชน์นั้นสามารถกระทําได้ในระดับต่าง ๆ กัน เช่น การบีบบังคับโดยตรงต่อหน่วยงานของรัฐ (กระทรวง กรม) ต่อรัฐบาล หรือคณะรัฐมนตรี (นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี) ต่อรัฐสภา (ประธานรัฐสภาและสมาชิกรัฐสภา) ต่อเจ้าหน้าที่ชั้นสูงของรัฐ (ปลัดกระทรวง อธิบดีกรม ประธานหอการค้า) ต่อประชาชนหรือ คนรากหญ้า เพื่อสร้างความกดดันให้แก่ผู้บริหารของรัฐ

 

51 ชนชั้นนํา (Elite) คือ

(1) คนที่มีรสนิยมสูง

(2) คนที่เป็นแนวหน้าในการสร้างประชาธิปไตย

(3) คนที่เกิดมาเป็นผู้นํา

(4) คนที่มีอํานาจสูงสุด

(5) กลุ่มคนที่ครอบครองปัจจัยสําคัญทางเศรษฐกิจและการเมืองของสังคม

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 19 ประกอบ

52 ขบวนการจีนโพ้นทะเลในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองที่ต่อต้านญี่ปุ่น จัดอยู่ในประเภทของกลุ่ม

(1) อุดมการณ์

(2) กลุ่มผลักดัน

(3) กลุ่มอิทธิพลมืด

(4) กลุ่มอาชีพ

(5) กลุ่มอุดมการณ์

ตอบ 1,5 ดูคําอธิบายข้อ 49 ประกอบ

53 ขบวนการเสรีไทย จัดอยู่ในประเภทของกลุ่ม

(1) อุดมการณ์

(2) กลุ่มผลักดัน

(3) กลุ่มอิทธิพลมืด

(4) กลุ่มอาชีพ

(5) กลุ่มอุดมการณ์

ตอบ 1, 5 ดูคําอธิบายข้อ 49 ประกอบ

54 จุดประสงค์หลักของการก่อตั้งสื่อมวลชนคือหนังสือพิมพ์ วิทยุ และวิทยุโทรทัศน์นั้น ก็เพื่อธุรกิจการค้าแต่ก็มีผลสะท้อนในการสร้างแรงกดดันต่อมวลชน เรียกกลุ่มนี้ว่ากลุ่มผลักดัน

(1) นอมินี

(2) เอกชน

(3) จริง

(4) แฝง

(5) เฉพาะเรื่อง

ตอบ 4 หน้า 252 การก่อตั้งสื่อสารมวลชน คือ หนังสือพิมพ์ วิทยุ และวิทยุโทรทัศน์นั้นมีจุดประสงค์หลักเพื่อธุรกิจการค้า แต่ก็มีผลสะท้อนในการสร้างแรงกดดันต่อมวลชนหรือบีบบังคับในทางการเมือง เพื่อจะได้มีบทบาทต่อการตัดสินใจของรัฐบาลและการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง จึงเรียกกลุ่มนี้ว่า“กลุ่มผลักดันแฝง”

55 หอการค้าสยาม (Siamese Channber of Commerce) ถูกตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2476 เพื่อจุดประสงค์ใดเป็นสําคัญ

(1) เพื่อเป็นตัวแทนให้แก่พ่อค้าไทยทํานุบํารุงการค้าขายให้เป็นประโยชน์ต่อสมาชิก (2) เพื่อการต่อรองทางการค้าของคณะราษฎร

(3) เพื่อปูทางทางการเมืองให้แก่นักการเมือง

(4) เพื่อปูทางการมีส่วนร่วมทางการเมืองให้แก่ประชาชน

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 313 หอการค้าสยาม (Siamese Chamber of Commerce) เป็นกลุ่มผลประโยชน์ฝ่ายนายจ้างที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อช่วยกันทํานุบํารุงการค้าขายให้เป็นประโยชน์ต่อสมาชิก และเป็น ตัวแทนให้แก่พ่อค้าไทย ซึ่งจดทะเบียนเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2476 และได้ยุติบทบาทในปี พ.ศ. 2486

56 กลุ่มผลประโยชน์ประเภทใดที่อาจกล่าวได้ว่าแทบจะไม่มีบทบาทในทางการเมืองเลย เพราะการรวมกลุ่มเพื่อความสามัคคีและชื่อเสียง คือกลุ่ม

(1) อุดมการณ์

(2) กลุ่มผลักดัน

(3) กลุ่มอิทธิพลมืด

(4) กลุ่มอาชีพ

(5) กลุ่มอุดมการณ์

ตอบ ไม่มีข้อถูก หน้า 312 กลุ่มมาตุภูมิ เป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่อาจกล่าวได้ว่าแทบจะไม่มีบทบาทในทางการเมืองเลย เพราะการรวมกันเป็นกลุ่มเป็นหมู่ก็เพื่อจุดประสงค์ที่จะส่งเสริมความ สามัคคีและเผยแพร่ชื่อเสียงของกลุ่มเท่านั้น เช่น สมาคมชาวเหนือ สมาคมชาวปักษ์ใต้ สมาคมนักเรียนเก่าเป็นต้น

57 หลักการของทฤษฎีที่ว่า “ประชาธิปไตยจะมีขึ้นได้และมั่นคงตลอดไปโดยการมีกลุ่ม สมาคม ชมรมต่าง ๆภายในรัฐ การเกิดขึ้นโดยสมัครใจมิได้มีการบังคับ” คือทฤษฎี

(1) ปัจเจกชนนิยม

(2) พหุนิยม

(3) อัตตาธิปไตย

(4) สังคมนิยม

(5) อนาธิปัตย์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 9 ประกอบ

58 ศ.ดร.เฟรด ริกส์ เสนอคําอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่าเป็น

(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์

(2) ระบอบอำมาตยาธิปไตย

(3) วงจรอุบาทว์

(4) สองนคราประชาธิปไตย

(5) สังคมโครงสร้างหลวม ตอบ 2 (คําบรรยาย) ศ.ดร.เฟรด ดับบลิว. ริกส์ (Fred w. Riggs) เป็นนักวิชาการที่สนใจเรื่องอํานาจการเมืองในภาคราชการ และเป็นผู้อธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่าเป็น “ระบอบ อํามาตยาธิปไตย” (Bureaucratic Polity) ซึ่งเป็นระบบการเมืองที่ถูกครอบงําโดยภาคราชการนับตั้งแต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516

59 ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช เสนอคําอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่าเป็น

(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์

(2) ระบอบอํามาตยาธิปไตย

(3) วงจรอุบาทว์

(4) สองนคราประชาธิปไตย

(5) สังคม โครงสร้างหลวม

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ได้อธิบายถึงปัญหาการรัฐประหารซ้ำซากของการเมืองไทยว่ามีลักษณะเป็น “วงจรอุบาทว์” ซึ่งก็คือ การวนเวียนอยู่กับการรัฐประหาร แล้วตามด้วยการ ร่างรัฐธรรมนูญและจัดการเลือกตั้ง แล้วก็วนไปที่การรัฐประหารอีกไม่รู้จบสิ้น โดยสาเหตุที่เกิดการรัฐประหารครั้งแล้วครั้งเล่าในสังคมไทย เพราะประชาธิปไตยของไทยยังไม่เข้มแข็งพอ

60 แนวคิดที่นําไปสู่การออกแบบระบอบการเมืองไทยให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทสัดส่วน คือ

(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์

(2) ระบอบอํามาตยาธิปไตย

(3) วงจรอุบาทว์

(4) สองนคราประชาธิปไตย

(5) สังคม โครงสร้างหลวม

ตอบ 4 (คําบรรยาย) จากแนวคิดสองนคราประชาธิปไตยที่ว่า “คนจนในชนบทเลือกรัฐบาล คนชั้นกลางในเมืองล้มรัฐบาล” ได้นําไปสู่การออกแบบระบอบการเมืองไทยในรัฐธรรมนูญฯ 2540 ให้มี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ประเภทสัดส่วนหรือแบบบัญชีรายชื่อ เพื่อให้ทั้งคนจนในชนบทและคนชั้นกลางในเมืองเป็นได้ทั้งผู้ตั้งรัฐบาลและผู้ล้มรัฐบาล

 

61 การเกิดของกลุ่มผลประโยชน์ของไทยเท่าที่เป็นมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านแรงงานมักมีอุปสรรคสําคัญคือขาดการสนับสนุนของ

(1) รัฐบาล

(2) นายจ้าง

(3) กรรมกร

(4) โรงงาน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 309 310, (คําบรรยาย) การเกิดของกลุ่มผลประโยชน์ของไทยเท่าที่เป็นมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านแรงงานนั้นเป็นผลมาจากการริเริ่มของกรรมกร แต่การรวมตัวกันก่อตั้ง เป็นสหภาพแรงงานมักจะมีอุปสรรคสําคัญคือ ขาดการสนับสนุนจากรัฐบาลหรือผู้ที่ปกครอง ประเทศอยู่ในขณะนั้น เช่น การจัดตั้งสหภาพแรงงานโดยกลุ่มคนงานรถรางในสมัยรัชกาลที่ 5 ถูกมองว่ามีลักษณะสังคมนิยม จึงไม่ได้รับการสนับสนุนให้ก่อตั้งเป็นสหภาพ

62 ผู้นําแรงงานที่หายตัวไปหลังการรัฐประหาร กุมภาพันธ์ 2534 คือ

(1) นายอิศรา อมันตกุล

(2) นายทนง โพธิ์อาน

(3) นายถวัติ ฤทธิเดช

(4) นายสมชาย นิละไพจิตร

(5) นายจิตร ภูมิศักดิ์

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) นายทนง โพธิ์อาน อดีตประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทยได้หายตัวไปเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2534 ภายหลังการรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534 ของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ซึ่งขณะนั้นนายทนงเป็นผู้นําระดับสูงของขบวนการแรงงานที่มีบทบาทในการต่อต้านคณะรัฐประหารอย่างชัดเจนที่สุด

63 ดร.ซุน ยัด เซ็น ผู้ก่อตั้งพรรคก๊กมินตั๋ง (KIMT) เป็นผู้สร้างแนวคิดทางการเมืองที่ชื่อลัทธิ

(1) ไตรราษฎร์

(2) เสรีจีน

(3) บ็อกเซอร์

(4) มาตุภูมิ

(5) ไท่ผิง

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) ดร.ซุน ยัด เซ็น เป็นผู้ก่อตั้งพรรคชาตินิยมแห่งประเทศจีนหรือที่รู้จักกันในนามพรรค “ก๊กมินตั๋ง” (KMT) ภายหลังจากการโค่นล้มระบอบราชาธิปไตยในประเทศจีน รวมทั้งเป็นประธานาธิบดีคนแรกของประเทศจีน และเป็นผู้กําหนดลัทธิการเมืองที่เรียกว่าลัทธิ“ไตรราษฎร์” หรือหลัก 3 ประการแห่งประชาชน (Three Principle of the People)

64 ตามแนวคิดเรื่องการสร้างสรรค์ประชาธิปไตย (Democratization) คนกลุ่มใดจะเป็นแนวหน้าต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย

(1) รากหญ้า

(2) เสื้อแดง

(3) อํามาตย์

(4) ทหาร

(5) คนชั้นกลาง

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การสร้างสรรค์ประชาธิปไตย (Democratization) คือ กระบวนการสร้างประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมในภาคประชาชนเพื่อนําไปสู่การพัฒนาประชาธิปไตยที่แท้จริง ไม่ใช่ประชาธิปไตยเพียงแค่การเลือกตั้ง ซึ่งจะสนับสนุนให้คนชั้นกลางเป็นแนวหน้าในการต่อสู้ เพื่อประชาธิปไตย ในขณะที่กลุ่มทหารจะดํารงตนเป็นทหารอาชีพ ซึ่งไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับ การเมือง ขณะเดียวกันก็มักพบว่ามีกลุ่มแนวคิดอนุรักษนิยมพยายามออกมาต่อต้านประชาธิปไตยดังกล่าว

65 แนวคิดเรื่องกลุ่มผลประโยชน์ที่หลากหลายสอดคล้องกับแนวคิดใด

(1) ปัจเจกชนนิยม

(2) ประชาธิปไตย

(3) คณาธิปไตย

(4) สังคมนิยม

(5) อนาธิปัตย์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 9 ประกอบ

66 กลุ่มผลประโยชน์ (Interest Groups) กับกลุ่มผลักดัน (Pressure Groups) จะมีความแตกต่างกันในแง่ใด

(1) เป้าหมาย

(2) กิจกรรม

(3) หลักบริหารกลม

(4) ไม่แตกต่าง

(5) สมาชิก

ตอบ 1 หน้า 236 237 กลุ่มผลประโยชน์ (Interest Groups) กับกลุ่มผลักดัน (Pressure Groups)จะมีความแตกต่างกันในเรื่องของเป้าหมาย กล่าวคือ เมื่อใดที่กลุ่มผลประโยชน์มีเป้าหมายที่ จะมีอิทธิพลเหนือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือมีอิทธิพลต่อนโยบายของรัฐบาลแล้ว กลุ่มผลประโยชน์เหล่านั้นก็จะกลายเป็นกลุ่มผลักดันหรือกลุ่มอิทธิพลทันที

67 แนวคิดเรื่องกลุ่มผลประโยชน์ที่หลากหลายสอดคล้องกับแนวคิดการปกครองแบบใด

(1) ปัจเจกชนนิยม

(2) ประชาธิปไตย

(3) คณาธิปไตย

(4) สังคมนิยม

(5) อนาธิปัตย์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 9 ประกอบ

68 หากนักการเมืองคนใดถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยว่ามีความผิดฐานจงใจยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินอันเป็นเท็จ นักการเมืองผู้นั้นต้องห้ามดํารงตําแหน่งทางการเมืองและ ตําแหน่งใด ๆ ในพรรคการเมืองเป็นเวลาอย่างน้อยกี่ปี

(1) 5 ปี

(2) 7 ปี

(3) 100 ปี

(4) 15 ปี

(5) 20 ปี

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) รัฐธรรมนูญฯ 2550 มาตรา 263 บัญญัติว่า ในกรณีที่นักการเมืองคนใดถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยว่ามีความผิดฐานจงใจไม่ยืน บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน หรือจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน และเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริง ให้นักการเมืองผู้นั้น พ้นจากตําแหน่ง และต้องห้ามมิให้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองหรือตําแหน่งใดในพรรคการเมืองเป็นเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ศาลฎีกาฯ วินิจฉัย

69 การแจกใบเหลืองใบแดงของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ถือว่าเป็นการทําหน้าที่

(1) กึ่งฝ่ายบริหาร

(2) กึ่งศาล

(3) กรรมการ

(4) เป็นผู้ปกป้องรัฐบาล

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ถือว่าเป็นการทําหน้าที่กึ่งศาลเช่น การมีมติเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง การพิจารณา แจกใบเหลืองและใบแดงแก่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ที่กระทําการฝ่าฝืน พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ หรือระเบียบหรือประกาศของ กกต.การรับรองหรือไม่รับรองผลการเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัคร ส.ส. เป็นต้น

70 พฤติการณ์ในข้อใดไม่เกี่ยวกับอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง

(1) การเลื่อนการเลือกตั้ง

(2) การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง

(3) การกําหนดเขตเลือกตั้ง

(4) การทําบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

(5) การตรวจสอบคุณสมบัติของนักการเมือง

ตอบ 1 หน้า 329, 206, ความรู้ทั่วไป) พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้งพ.ศ. 2550 มาตรา 10 กําหนดให้ คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอํานาจหน้าที่ดังนี้

1 การตรวจสอบคุณสมบัติของนักการเมือง

2 การจัดทําและตรวจสอบบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

3 การกําหนดเขตเลือกตั้ง

4 การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง

5 การประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง ผลการสรรหา และผลการออกเสียงประชามติ ฯลฯ

 

71 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะที่สําคัญของพรรคการเมือง

(1) เป็นคณะบุคคลที่รวบรวมกันเป็นองค์การ

(2) มีการกําหนดประเด็นปัญหาและนโยบาย

(3) มีการคัดเลือกบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้ง

(4) ดําเนินกิจกรรมเพื่อมุ่งแสวงหากําไร

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 31 ประกอบ

72 ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของพรรคการเมือง

(1) เสนอนโยบาย

(2) ชี้ขาดข้อพิพาท

(3) จัดตั้งรัฐบาล

(4) ปลุกระดมมวลชนให้มีส่วนร่วมทางการเมือง

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 33 ประกอบ

73 ข้อใดไม่ใช่บทบาทของพรรคการเมือง

(1) พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

(2) ช่วยให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยดีมีประสิทธิภาพ

(3) ช่วยให้กลไกทางการเมืองดําเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ

(4) ช่วยประสานประโยชน์ของกลุ่มชนในสังคม

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 34 ประกอบ

74 ข้อใดไม่ใช่ทฤษฎีที่กล่าวถึงกําเนิดของพรรคการเมือง

(1) ทฤษฎีจิตวิทยา

(2) ทฤษฎีทางเศรษฐกิจและสังคม

(3) ทฤษฎีอุดมการณ์

(4) ทฤษฎีทางการจัดองค์การ

(5) ทฤษฎีระบบ

ตอบ 5 หน้า 27 – 32 ทฤษฎีที่กล่าวถึงกําเนิดของพรรคการเมือง มีดังนี้

1 ทฤษฎีจิตวิทยา

2 ทฤษฎีทางเศรษฐกิจและสังคม

3 ทฤษฎีอุดมการณ์หรือหลักการ

4 ทฤษฎีทางการจัดองค์การ

5 ทฤษฎีว่าด้วยสถาบัน

6 ทฤษฎีว่าด้วยพัฒนาการ

7 ทฤษฎีว่าด้วยประวัติศาสตร์และสถานการณ์

75 อุดมการณ์เริ่มมีความสําคัญต่อพรรคการเมืองน้อยลงในช่วงเวลาใด

(1) หลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม

(2) หลังสงครามโลกครั้งที่ 1

(3) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

(4) หลังปี 1980

(5) หลังปี 2000

ตอบ 3 หน้า 35 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อุดมการณ์เริ่มมีความสําคัญต่อพรรคการเมืองน้อยลงพรรคการเมืองได้กลายเป็นพรรคปฏิบัติการมากกว่าอุดมการณ์ โดยการปรับปรุงอุดมการณ์ให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคมมากขึ้น เพื่อหวังจะได้รับการเลือกตั้งมากที่สุด

76 พรรคการเมืองรูปแบบใดที่มีความเป็นมายาวนานที่สุด

(1) พรรคชนชั้น

(2) พรรคมวลชน

(3) พรรคแบบผสม

(4) พรรคแนวร่วม

(5) พรรคจัดตั้ง

ตอบ 1 หน้า 40, (คําบรรยาย) ศ.มอริส ดูแวร์เช่ (Maurice Diverger) ได้แบ่งพรรคการเมืองออกเป็น 3 รูปแบบ คือ

1 พรรคชนชั้น (พรรคดั้งเดิม) เป็นพรรคการเมืองที่มีความเป็นมายาวนานที่สุด

2 พรรคมวลชน

3 พรรคแบบผสม (พรรคถึงมวลชนถึงชนชั้น)

77 ข้อใดคือความมุ่งหมายของพรรคมวลชนแบบสังคมนิยม

(1) ชนะการเลือกตั้ง

(2) รวบรวมสมาชิกให้ได้มากที่สุด

(3) เผยแพร่ความรู้

(4) ระดมทุน

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 หน้า 43 – 44 ความมุ่งหมายของพรรคมวลชนแบบสังคมนิยม คือ รวบรวมและแสวงหาสมาชิกให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้ โดยพรรคสังคมนิยมในปัจจุบันได้ให้ความสําคัญแก่มวลชนมาก การรับสมัครสมาชิกจะกระทําโดยตรงและเปิดสู่สาธารณะในลักษณะที่ถาวร

78 การจัดองค์การพรรคการเมืองแบบเซลล์เป็นลักษณะจําเพาะของพรรคใด

(1) พรรคแรงงาน

(2) พรรคเสรีนิยม

(3) พรรคคอมมิวนิสต์

(4) พรรคอนุรักษนิยม

(5) พรรคกรีน

ตอบ 3 หน้า 65 การจัดองค์การพรรคการเมืองแบบหน่วยหรือเซลล์ (Celt) นั้น ถือว่าเป็นลักษณะจําเพาะของพรรคคอมมิวนิสต์

79 ข้อใดไม่ใช่องค์การเบื้องต้นของพรรคการเมือง

(1) Caucus

(2) Branch

(3) Celt

(4) Militia

(5) Sect

ตอบ 5 หน้า 56, 62, 65, 68 องค์การเบื้องต้นของพรรคการเมือง มี 4 แบบ คือ

1 แบบคณะกรรมการ (Caucus)

2 แบบสาขา (Branch)

3 แบบหน่วยหรือเซลล์ (Cell)

4 แบบทหาร (Militia)

80 ลักษณะที่ผู้นําพรรคอนุรักษนิยมของอังกฤษมีอํานาจมากถูกเรียกว่าอะไร

(1) โลกาธิปไตย

(2) เอกาธิปไตย

(3) ธรรมาธิปไตย

(4) เผด็จการเบ็ดเสร็จ

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 หน้า 100 ผู้นําหรือหัวหน้าพรรคอนุรักษนิยมของอังกฤษจะเป็นผู้คัดเลือกบุคคลเข้าร่วมเป็นคณะรัฐบาลและเป็นเจ้าหน้าที่บริหารระดับสูง จะอยู่ในตําแหน่งตราบเท่าที่สามารถควบคุม หรือมีอิทธิพลเหนือสมาชิกคนสําคัญ ๆ ของพรรค ดังนั้นหัวหน้าพรรคจึงมีอํานาจมากจนถูกเรียกว่าเป็นลักษณะ “เอกาธิปไตย”

 

81 ข้อใดคือที่มาของหัวหน้าพรรคแรงงานของอังกฤษ

(1) เลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่พรรค

(2) แต่งตั้งโดยหัวหน้าพรรคคนก่อนหน้า

(3) การหยั่งสียงของผู้สนับสนุนพรรค

(4) เลือกตั้งโดยสมาชิกสภาสามัญที่สังกัดพรรค

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 หน้า 100 หัวหน้าพรรคแรงงานของอังกฤษในระยะที่เป็นพรรคฝ่ายค้านจะต้องมีการเลือกตั้งทุก ๆ ปีจากที่ประชุมใหญ่ของพรรค ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกพรรคที่เป็นสมาชิกรัฐสภาและตัวแทนจากสหพันธ์แรงงานที่สังกัดพรรคแรงงาน

82 พรรคการเมืองใดมีลักษณะอัตตาธิปไตยแบบเปิดเผย

(1) พรรคอนุรักษนิยมของอังกฤษ

(2) พรรคเดโมแครต

(3) พรรคเสรีประชาธิปไตย

(4) พรรคแรงงานของอังกฤษ

(5) พรรคนาซี

ตอบ 5 หน้า 106 107 อัตตาธิปไตยแบบเปิดเผย หมายถึง การที่หัวหน้าพรรคมีอํานาจเด็ดขาดในการตัดสินปัญหาสําคัญ ๆ ของพรรค และเป็นผู้กําหนดแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานบริหาร ระดับสูงของพรรคแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งลักษณะอัตตาธิปไตยแบบเปิดเผยนี้จะพบได้ในพรรคฟาสซิสต์และพรรคนาซี

83 พรรคการเมืองใดมีการจัดองค์การเบื้องต้นแบบ Militia

(1) พรรคคอมมิวนิสต์

(2) พรรคฟาสซิสต์

(3) พรรคเสรีประชาธิปไตย

(4) พรรคแรงงานของอังกฤษ

(5) พรรครีพับลิกัน

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 43 ประกอบ

84 ประเทศใดมีระบบพรรคเด่นพรรคเดียว

(1) จีน

(2) อังกฤษ

(3) ฝรั่งเศส

(4) ญี่ปุ่น

(5) ไทย

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 35 ประกอบ

85 พรรคการเมืองในประเทศใดไม่ใช่ระบบสองพรรค

(1) อังกฤษ

(2) ฝรั่งเศส

(3) นิวซีแลนด์

(4) สหรัฐอเมริกา

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 36 ประกอบ

86 สาเหตุที่เกิดการรัฐประหารครั้งแล้วครั้งเล่าในสังคมไทย เพราะ

(1) รัฐประหารสามารถแก้ปัญหาสังคมต่าง ๆ ได้

(2) เพราะนักการเมืองทุจริต

(3) เพราะระบบการเมืองไร้ประสิทธิภาพ

(4) เพราะประชาชนสนับสนุน

(5) ประชาธิปไตยยังไม่เข้มแข็ง

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 59 ประกอบ

87 ข้อใดคือหนึ่งในหลักการบริหารบ้านเมืองหกประการของคณะราษฎร

(1) จะต้องให้ราษฎรได้มีโอกาสในการศึกษา

(2) ส่งเสริมให้ราษฎรมีเสรีภาพ

(3) ราษฎรสามารถตั้งพรรคการเมืองได้

(4) เปิดเสรีทางการค้า

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) หลัก 5 ประการของคณะราษฎร ซึ่งประกาศไว้ในประกาศคณะราษฎรฉบับที่ 1เพื่อเป็นนโยบายในการบริหารและปกครองประเทศ มีดังนี้

1 จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย

2 จะต้องรักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก 3 จะต้องบํารุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ

4 จะต้องให้ราษฎรได้มีสิทธิเสมอภาคกัน

5 จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ

6 จะต้องให้ราษฎรได้มีโอกาสในการศึกษาอย่างเต็มที่

88 ข้อใดคือหนึ่งในองค์การของกลุ่มผลประโยชน์ที่จัดตั้งหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475

(1) สหภาพแรงงาน

(2) สหภาพแรงงานไทย

(3) สมาคมแรงงานแห่งประเทศไทย

(4) สหภาพกรรมกรกลาง

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 310 311 องค์การของกลุ่มผลประโยชน์ที่จัดตั้งหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ. 2475 – พ.ศ. 2516 มีดังนี้

1 สหภาพกรรมกรกลาง

2 สหภาพกรรมกรชาติไทย

3 สมาคมคนงานเสรีแห่งประเทศไทย

89 จุดประสงค์การจัดตั้งกลุ่มผลประโยชน์

(1) เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่ม

(2) เพื่อแสวงหาอิทธิพลเหนือนโยบายสาธารณะ

(3) เพื่อทํางานร่วมกันเป็นกลุ่มให้บรรลุผลประโยชน์เฉพาะร่วมกัน

(4) เพื่อเสนอตัวเป็นผู้บริหารรัฐบาล

(5) ถูกเฉพาะข้อ 1, 2 และ 3 เท่านั้น

ตอบ 5 หน้า 236 จุดประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มผลประโยชน์ มีดังนี้

1 เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่ม

2 เพื่อแสวงหาอิทธิพลเหนือนโยบายสาธารณะ

3 เพื่อทํางานร่วมกันเป็นกลุ่มให้บรรลุผลประโยชน์เฉพาะร่วมกัน

90 การใช้อิทธิพลเหนือนโยบายรัฐบาล และเมื่อรัฐบาลได้นําไปปฏิบัติ หากแต่เมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้นกลุ่มดังกล่าวมิได้มีส่วนที่ต้องรับผิดชอบแต่อย่างใด คือลักษณะของ

(1) กลุ่มผลประโยชน์

(2) กลุ่มผลักดัน

(3) กลุ่มอุดมการณ์

(4) ล็อบบี้ยิสต์

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 หน้า 238 แกรแฮม วัดตัน (Graham Wootton) กล่าวว่า กลุ่มผลักดัน คือ องค์การใด ๆที่แสวงหาอิทธิพลเหนือนโยบายของรัฐบาล แต่ปฏิเสธความความรับผิดชอบในองค์การของรัฐ

 

ตั้งแต่ข้อ 91. – 100. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) ถูก

(2) ผิด

91 พรรคการเมืองขอโบว์น้ําเงินในดุสิตธานีมีหัวหน้าพรรคคือหลวงวิจิตวาทการ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ได้ทรงตั้งเมืองสมมุติ“ดุสิตธานี” ขึ้นในบริเวณวังพญาไท เพื่อทดลองการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยโปรดให้มี “ธรรมนูญการปกครองแบบนคราภิบาล” ซึ่งเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญของเมือง มีการเลือกตั้ง นคราภิบาลหรือนายกเทศมนตรี มีสภาการเมืองแบบประเทศประชาธิปไตย และมีพรรคการเมือง 2 พรรค คือ พรรคโบว์น้ำเงิน ซึ่งมีนายราม ณ กรุงเทพ (รัชกาลที่ 6) เป็นหัวหน้าพรรค และพรรคโบว์แดง ซึ่งมีเจ้าพระยารามราฆพ เป็นหัวหน้าพรรค

92 นโยบายของพรรคการเมืองมีความสําคัญต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้ง

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภานั้น พรรคการเมืองต่าง ๆจะต้องแข่งขันกันเพื่อเป็นรัฐบาลโดยการนํานโยบายมาหาเสียงในการเลือกตั้ง ซึ่งความแตกต่าง ของนโยบายแต่ละพรรคการเมืองจะมีความสําคัญและมีประโยชน์ต่อการตัดสินใจของประชาชน ในการเลือกตั้ง หากสมาชิกของพรรคใดได้รับเลือกตั้งจากประชาชนให้เข้ามามีเสียงข้างมากในสภา แสดงว่าประชาชนต้องการให้นโยบายของพรรคนั้นเป็นนโยบายของรัฐบาล และเมื่อรัฐบาล เข้ามาบริหารประเทศจะต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาและนํานโยบายนั้นไปปฏิบัติให้บรรลุผล การนํานโยบายมาหาเสียงเลือกตั้งของพรรคการเมืองนั้นถือเป็นกระบวนการตามหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาและถือเป็นวิธีการที่ถูกต้องตามกฎหมาย 93 การนํานโยบายที่แถลงไว้ต่อรัฐสภาไปปฏิบัติ อาทิ นโยบายจํานําข้าว รถคันแรก กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเป็นไปตามหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 92 ประกอบ

94 “ที่ใดมีองค์กร ที่นั้นมีระบบคณาธิปไตย” เช่น พรรคการเมืองส่งเสริมให้เกิดระบบคณาธิปไตยเป็นความคิดของ Robert Michels

ตอบ 1 (คําบรรยาย) โรเบิร์ต มิเชลส์ (Robert Michels) นักทฤษฎีชนชั้นนําได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับกฎเหล็กแห่งคณาธิปไตย (Iron Law of Oigarchy) โดยกล่าวว่า “ที่ใดมีองค์กร ที่นั้นมีระบบ คณาธิปไตย” หรือมีคนเพียงส่วนน้อยที่มีอํานาจในการตัดสินใจในองค์กร เช่น พรรคการเมือง ส่งเสริมให้เกิดระบบคณาธิปไตย เนื่องจากมีเพียงหัวหน้าพรรคและผู้ที่ให้เงินสนับสนุนพรรครายใหญ่เท่านั้นที่มีอํานาจในการตัดสินใจในพรรค

95 เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ปี 2535 เป็นจุดเริ่มต้นซึ่งประชาชนมีบทบาทสําคัญในการขับเคลื่อนการปฏิรูปรัฐธรรมนูญที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นประชาธิปไตยมากที่สุดของไทยฉบับหนึ่ง

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534 โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ(รสช.) ส่งผลให้นําไปสู่เหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองในวันที่ 17 – 20 พฤษภาคม 2535 หรือพฤษภาทมิฬ และเป็นจุดเริ่มต้นซึ่งประชาชนมีบทบาทสําคัญในการขับเคลื่อนการปฏิรูป การเมืองและการร่างรัฐธรรมนูญฯ 2540 ซึ่งถือเป็นรัฐธรรมนูญที่ได้รับการยอมรับว่าเป็น ประชาธิปไตยมากที่สุดของไทยฉบับหนึ่ง

96 คณะกรรมการการเลือกตั้งประกอบด้วยกรรมการจํานวนเจ็ดคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคําแนะนําของวุฒิสภาตาม พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560

ตอบ 1 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560มาตรา 8 และ 15 กําหนดให้ คณะกรรมการการเลือกตั้งประกอบด้วยกรรมการจํานวน 7 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคําแนะนําของวุฒิสภา โดยมีวาระการดํารงตําแหน่ง 7 ปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และดํารงตําแหน่งได้เพียงวาระเดียว

97 คณะกรรมการการเลือกตั้งอาจเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือกรรมการหรือที่ปรึกษาของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560มาตรา 10 กําหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้

1เป็นหรือเคยเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระใด

2 เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมือง หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นในระยะ 10 ปีก่อนเข้ารับการคัดเลือกหรือสรรหา

3 เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือกรรมการหรือที่ปรึกษาของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ

4 เป็นผู้ดํารงตําแหน่งใดในห้างหุ้นส่วนบริษัท หรือองค์กรที่ดําเนินธุรกิจโดยมุ่งหาผลกําไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน หรือเป็นลูกจ้างของบุคคลใด

5 เป็นผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ ฯลฯ

98 คณะกรรมการการเลือกตั้งอาจมาจากผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 97 ประกอบ

99 สํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล

ตอบ 2 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560มาตรา 50, 54 และ 555 กําหนดให้ สํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งมีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยมีเลขาธิการเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างของสํานักงาน ซึ่งเลขาธิการต้องเป็น ผู้มีความเป็นกลางทางการเมือง ไม่เคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดในระยะเวลา 10 ปีก่อนได้รับ แต่งตั้ง มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ มีสัญชาติไทย มีอายุไม่เกิน 60 ปีในวันที่ได้รับแต่งตั้งและมีอายุไม่เกิน 65 ปีในขณะดํารงตําแหน่งเลขาธิการ

100 เลขาธิการสํานักงานต้องเป็นผู้มีความเป็นกลางทางการเมือง ไม่เคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดในระยะเวลาสิบปีก่อนได้รับแต่งตั้ง

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 99 ประกอบ

WordPress Ads
error: Content is protected !!