การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3301 นโยบายสาธารณะ

Advertisement

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

(ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

ตั้งแต่ข้อ 1 – 5 ให้พิจารณาคําตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้

(1) Ira Sharkansky

(2) Theodore Lowi

(3) Harold Lasswell

(4) David Easton

(5) Thomas R. Dye

 

1 ใครได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งนโยบายศาสตร์

ตอบ 3 หน้า 3, 58 – 59 ฮาโรลด์ ลาสเวลล์ (Harold Lasswell) ซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มที่เน้น“การสร้างภาพรวมและได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งนโยบายศาสตร์” ได้ให้ความหมายนโยบายสาธารณะร่วมกับอับราแฮม แคปแพลน (Abraham Kaplan) ว่า “นโยบายสาธารณะ หมายถึง แผนหรือโครงการที่กําหนดขึ้น อันประกอบด้วยเป้าหมาย คุณค่า และแนวการปฏิบัติงานต่าง ๆ”

2 ใครกล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่รัฐบาลกระทํา เช่น การบริการสาธารณะ

ตอบ 1 หน้า 3 ไอรา ซาร์แคนสกี้ (Ira Sharkansky) กล่าวว่า “นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่รัฐบาลกระทํา เช่น การบริการสาธารณะ การควบคุมกิจกรรมของบุคคลหรือธุรกิจของเอกชน เป็นต้น”

3 ใครชี้ให้เห็นเหตุผลของการศึกษานโยบายไว้ 3 ประการ ได้แก่ เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ เหตุผลทางวิชาชีพและเหตุผลทางการเมือง

ตอบ 5 หน้า 57, (คําบรรยาย) โทมัส อาร์.ดาย (Thomas R. Dye) ได้ชี้ให้เห็นถึงเหตุผล ความสําคัญ)ของการศึกษาและการกําหนดนโยบายสาธารณะไว้ 3 ประการ คือ

1 เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Reasons) คือ การทําความเข้าใจเหตุและผลของการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบาย เพื่อให้ได้นโยบายที่มีเหตุผลมากที่สุด

2 เหตุผลทางวิชาชีพ (Professional Reasons) คือ การนําความรู้เชิงนโยบายไปใช้แก้ปัญหาทางด้านการปฏิบัติ โดยวิชาชีพที่แตกต่างกันจะทําให้การกําหนดนโยบายและการนํานโยบายไปปฏิบัติของแต่ละวิชาชีพมีความแตกต่างกัน กา3 เหตุผลทางการเมือง (Political Reasons) คือ การดัดแปลงนโยบายที่ถูกต้องเหมาะสมทางการเมืองมาใช้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการเมือง โดยการใช้เหตุผลทางการเมืองมักจะทําให้การกําหนดนโยบายเป็นไปอย่างไม่มีเหตุผลแต่เป็นที่ยอมรับของประชาชน เช่น นโยบายประชานิยมต่าง ๆ เป็นต้น

 

4 ใครกล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง การจัดสรรและแจกแจงคุณค่าโดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นไปเพื่อประโยชน์ของสังคม

ตอบ 4 หน้า 3 เดวิด อิสตัน (David Easton) กล่าวว่า “นโยบายสาธารณะ หมายถึง การจัดสรรและแจกแจงคุณค่า (Values) ต่าง ๆ ของสังคมโดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นไปเพื่อประโยชน์ ของสังคมส่วนรวม”

5 ใครเสนอให้จําแนกนโยบายตามเนื้อหาสาระของนโยบาย

ตอบ 2 หน้า 5 – 6, (คําบรรยาย) ธีโอดอร์ โลวาย (Theodore Lowi) ได้เสนอให้จําแนกประเภท ((ของนโยบายตามเนื้อหาสาระและวัตถุประสงค์ของนโยบายนั้น ๆ ออกเป็น 3 ประเภท คือ

1 นโยบายที่เป็นกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับ (Regulative Policy)

2 นโยบายการกระจายบริการของรัฐ (Distributive Policy)

3 นโยบายเพื่อการจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสมหรือการจัดสรรทรัพยากรเสียใหม่

(Re-Distributive Policy)

 

ตั้งแต่ข้อ 6. – 10. ให้พิจารณาคําตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้

(1) Gross, Giacquinta and Bernstein

(2) Dale E. Richards

(3) Thomas B. Smith

(4) William Dunn

(5) Emanuel Wald

 

6 ใครเสนอตัวแบบของกระบวนการนํานโยบายไปปฏิบัติในประเทศโลกที่สาม

ตอบ 3 หน้า 171 โทมัส บี. สมิท (Thomas B. Smith) ได้เขียนบทความเรื่อง “The Policy Implementation Process” เพื่อเสนอตัวแบบของกระบวนการนํานโยบายไปปฏิบัติ ในประเทศโลกที่สาม และได้ประยุกต์แนวความคิดเชิงระบบสําหรับใช้ในการศึกษาการนํานโยบายไปปฏิบัติในประเทศโลกที่สาม ซึ่งเรียกตัวแบบนี้ว่า “A Model of the Policy Implementation Process”

7 ใครศึกษานวัตกรรมทางการสอนเเบบใหม่โดยเน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่าสาระ

ตอบ 1 หน้า 62 กรอส, ไจแอคควินทา และเบิร์นสไตล์ (Gross, Giacquinta & Bernstein) ได้ศึกษาเรื่อง “Implementing Organizational Innovations : A Sociological Analysis of Planned Educational Change” ซึ่งเป็นการศึกษานวัตกรรมทางการสอนแบบใหม่สําหรับครู โดยให้ครูดําเนินการสอนตามความสนใจของนักเรียน และเน้นที่กระบวนการเรียนรู้มากกว่าเนื้อหาสาระของบทเรียน ซึ่งเรียกตัวแบบนี้ว่า “Catalytic Role Model”

8 ใครสนใจในการวิเคราะห์นโยบาย

ตอบ 4 หน้า 72, (คําบรรยาย) นักวิชาการที่ศึกษาเรื่องการวิเคราะห์นโยบาย (Policy Analysis) ได้แก่

1 เควด (E.S. Quade)

2 วิลเลียม เอ็น. ดันน์ (William N. Dunn)

3 สจ๊วตท์ เอส. นาเกล (Stuart S. Nagel)

4 โทมัส อาร์. ดาย (Thomas R. Dye) ฯลฯ

9 ใครศึกษาการพัฒนาวิทยาลัยครูให้มาเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์

ตอบ 2 หน้า 66 67 เดล อ. ริชาร์ด (Dale E. Richards) ได้ศึกษาเรื่อง “From Teachers College to Comprehensive University” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของ Kent State University ซึ่งพัฒนาจากวิทยาลัยครูจนกระทั่งเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์ สามารถเปิดสอนได้ถึงระดับปริญญาเอก

10 ใครศึกษาแนวโน้มของการศึกษาการบริหารรัฐกิจ พบว่า แบ่งเป็นแบบธรรมเนียมทั่วไป และแบบนโยบายศาสตร์

ตอบ 5 หน้า 56 Emanuel Wald ได้ศึกษาแนวโน้มของการศึกษาการบริหารรัฐกิจ พบว่าแนวคิดของการศึกษาการบริหารรัฐกิจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ แบบธรรมเนียมทั่วไป และแบบนโยบายศาสตร์

 

ตั้งแต่ข้อ 11. – 15. ให้พิจารณาคําตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้

(1) การก่อตัวของนโยบาย

(2) การนํานโยบายไปปฏิบัติ

(3) การเตรียมและเสนอนโยบาย

(4) การอนุมัติและประกาศนโยบาย

(5) การปรับปรุงแก้ไขนโยบาย

 

11 การที่หน่วยงานนํานโยบายมาแปลงเป็นแผนงานและโครงการเป็นขั้นตอนใด ตอบ 2 หน้า 50 – 51, (คําบรรยาย) ขั้นตอนการนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) เป็นขั้นตอนที่แสดงให้เห็นถึงการนําทรัพยากรต่าง ๆ ไปจัดสรรเพื่อก่อให้เกิดผลตามนโยบาย ซึ่งประกอบด้วย

1 การส่งต่อนโยบาย (Policy Delivery)

2 การตีความหรือแปลงนโยบาย ออกมาเป็นแผนงานและโครงการ

3 การชี้แจงเกี่ยวกับนโยบาย

4 การดําเนินงานของ หน่วยงานระดับปฏิบัติ (Street-Level Bureaucracy)

5 การจัดระบบสนับสนุน ได้แก่ ข้อมูลข่าวสาร การมอบหมายอํานาจหน้าที่ และการติดต่อสื่อสาร

6 การติดตามและควบคุมผลการปฏิบัติงาน

12 การพิจารณาปัญหาหรือความต้องการของประชาชนอยู่ในขั้นตอนใด

ตอบ 1 หน้า 23 – 25 ขั้นตอนการก่อตัวของนโยบาย (Policy Formation) ประกอบด้วย

1 การพิจารณาปัญหาหรือความต้องการของประชาชน

2 การพิจารณาเวลาที่เกิดปัญหา

3 ปัญหาที่รัฐบาลสนใจ

4 การจัดลําดับความสําคัญของปัญหา

13 การจัดทําร่างนโยบายอยู่ในขั้นตอนใด

ตอบ 3 หน้า 25 – 26, (คําบรรยาย) ขั้นตอนการเตรียมและเสนอนโยบาย (Policy Formulation) เป็นขั้นตอนที่ต้องมีการศึกษาค้นคว้าเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายเรื่องนั้น ๆ เพื่อช่วย ประกอบการตัดสินใจของผู้กําหนดนโยบาย ซึ่งประกอบด้วย

1 การกําหนดวัตถุประสงค์

2 การกําหนดทางเลือก

3 การจัดทําร่างนโยบาย ซึ่งประกอบด้วย หลักการและเหตุผล  วัตถุประสงค์ แนวทางและมาตรการ การจัดลําดับทางเลือก และการหาข้อมูลประกอบ การพิจารณา

14 การจัดวาระในการพิจารณานโยบายอยู่ในขั้นตอนใด

ตอบ 4 หน้า 49 – 50 ขั้นตอนการอนุมัติและประกาศนโยบาย (Policy Adoption) ประกอบด้วย

1 การจัดวาระในการพิจารณานโยบาย

2 การพิจารณาร่างนโยบาย

3 การอนุมัติหรือไม่อนุมัติ

4 การประกาศนโยบาย

15 การจัดลําดับความสําคัญของปัญหาอยู่ในขั้นตอนใด

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 12 ประกอบ

16 การเปรียบเทียบผลการดําเนินตามนโยบายกับสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับเรื่องใด ๆ

(1) การก่อตัวของนโยบาย

(2) การนํานโยบายไปปฏิบัติ

(3) การเตรียมและเสนอนโยบาย

(4) การประเมินผลนโยบาย

(5) การปรับปรุงแก้ไขนโยบาย

ตอบ 4 หน้า 229 เจมส์ อี. แอนเดอร์สัน (James E. Anderson) กล่าวว่า การประเมินผลนโยบายเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประมาณการ การเปรียบเทียบผลการดําเนินตามนโยบายกับสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่กระทําอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาในทุกขั้นตอนของนโยบาย

17 ปัจจัยสําคัญที่จะทําให้การนํานโยบายไปปฏิบัติประสบความสําเร็จ คือ

(1) วัตถุประสงค์ของนโยบายต้องชัดเจน

(2) มีส่วนร่วมของประชาชน

(3) มีทรัพยากรที่พอเพียง

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ปัจจัยสําคัญที่จะทําให้การนํานโยบายไปปฏิบัติประสบความสําเร็จ มีดังนี้

1 ลักษณะของนโยบายที่สามารถเห็นผลได้อย่างชัดเจน

2 วัตถุประสงค์ของนโยบายที่ชัดเจน สอดคล้องกัน และสามารถรับรู้ได้ง่าย

3 ความเป็นไปได้ทางการเมืองหรือการได้รับการสนับสนุนทางการเมือง

4 ความเป็นไปได้ทางเทคโนโลยีหรือภารมีเทคโนโลยีที่เหมาะสม

5 ทรัพยากรที่พอเพียง

6 ผู้นํานโยบายไปปฏิบัติมีทัศนคติที่ดีต่อตัวนโยบาย ฯลฯ

ซึ่งหากไม่เป็นไปตามลักษณะปัจจัยดังกล่าวก็จะทําให้การนํานโยบายไปปฏิบัติประสบความล้มเหลว

18 ปัจจัยที่จะทําให้การนํานโยบายไปปฏิบัติประสบความล้มเหลว คือ

(1) ลักษณะของนโยบายไม่ชัดเจน

(2) มีเทคโนโลยีที่เหมาะสม

(3) ผู้ปฏิบัติมีทัศนคติในการต่อต้านนโยบาย

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก

ตอบ 5 ดูคำอธิบายข้อ 17 ประกอบ

19 ข้อใดไม่ใช่กระบวนการที่ Stuart S. Nagel เสนอไว้ในแนวคิดในการประเมินนโยบายของเขา

(1) การกําหนดเป้าหมายเพื่อบรรลุผล

(2) การกําหนดแผนงาน

(3) การกําหนดคน สถานที่ อุปกรณ์

(4) การวิเคราะห์ผลตอบแทนสูงสุด

(5) การกําหนดความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายกับนโยบาย

ตอบ 2 หน้า 239 240 สจ๊วตท์ เอส. นาเกล (Stuart S. Nagel) ได้เสนอแนวคิดในการวิเคราะห์ข้อมูลแบบง่ายสําหรับการวิเคราะห์หรือการประเมินนโยบาย ซึ่งมีหลักการหรือกระบวนการ ที่สําคัญ 5 ขั้นตอน ดังนี้

1 กําหนดเป้าหมายเพื่อการบรรลุผล หรือการให้ผลประโยชน์ ตอบแทนสูงสุด

2 กําหนดเป้าหมายสัมพันธ์

3 กําหนดคน สถานที่ หรือวัสดุอุปกรณ์ ให้สอดคล้องกับนโยบายนั้น ๆ

4 กําหนดความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายกับนโยบาย

5 ปรับความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายกับนโยบาย

20 ข้อใดไม่ถูกต้อง

(1) Harold Lasswell อยู่ในกลุ่มที่เน้นการสร้างภาพรวม

(2) Woodrow Wilson คิดว่าการเมืองกับการบริหารควรแยกออกจากกัน (3) Emanuel Wald ศึกษาว่านโยบายศาสตร์เป็นแนวโน้มหนึ่งของการศึกษาบริหารรัฐกิจ

(4) Yehezket Dror เน้นเรื่องผลของนโยบายและการประเมินผลของนโยบาย (5) David Easton กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง แผนหรือโครงการที่กําหนดขึ้น

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 1 และ 4 ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 21 – 25 ให้พิจารณาคําตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้

(1) Policy Outputs

(2) Policy Formulation

(3) Policy Implementation

(4) Policy Process

(5) Policy Impacts

 

21 การแปลงนโยบายเป็นแผนงานเกี่ยวข้องกับเรื่องใด

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 11 ประกอบ

22 เรื่องใดเกี่ยวข้องกับการนําทรัพยากรต่าง ๆ ไปก่อให้เกิดผลตามนโยบาย

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 11 ประกอบ

23 การที่หมู่บ้านแต่ละหมู่บ้านได้รับเงิน 1 ล้านบาท เรียกว่าอะไร

ตอบ 1 หน้า 7, (คําบรรยาย) ผลผลิตของนโยบาย (Policy Outputs) คือ ขั้นตอนที่แสดงให้เห็นถึงระดับต่าง ๆ ของการบริหาร ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดมาจากการดําเนินงานในภาครัฐตามที่รัฐบาลต้องการให้เกิดขึ้น เช่น การที่หมู่บ้านแต่ละหมู่บ้านได้รับเงิน 1 ล้านบาท เป็นต้น

24 การมีนโยบายสร้างงานในชนบททําให้ประชาชนเรียนรู้วิธีการคอร์รัปชั่นเกี่ยวข้องกับเรื่องใด

ตอบ 5 หน้า 7 – 8, (คําบรรยาย) ผลกระทบของนโยบาย (Policy Impacts) คือ ผลสะท้อนของการบริการต่าง ๆ ของรัฐบาลที่จะเกิดขึ้นแก่ประชาชน ซึ่งอาจจะเป็นทั้งทางบวกและทางลบก็ได้ หรือเป็นผลในอนาคตที่จะเกิดขึ้น ซึ่งเป็นผลทางอ้อมทั้งที่ตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจให้เกิดขึ้น เช่น นโยบายสร้างงานในชนบทมีวัตถุประสงค์เพื่อก่อให้เกิดความเจริญในท้องถิ่น แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นก็คือ ทําให้ประชาชนเรียนรู้วิธีการคอร์รัปชั่น เป็นต้น

25 การศึกษาปัญหาของท้องถิ่นและนํามาเป็นข้อมูลในการกําหนดนโยบายเกี่ยวข้องกับเรื่องใด

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 13 ประกอบ

 

ตั้งแต่ข้อ 26 – 30 ให้พิจารณาคําตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้

(1) การวิเคราะห์เชิงสหวิทยาการ

(2) การประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง

(3) การประเมินผลด้วยวิธีกึ่งทดลอง

(4) การบระเมินผลด้วยวิธีเตรียมทดลอง

(5) การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลประโยชน์

 

26 รูปแบบใดเกี่ยวข้องกับหลักเศรษฐศาสตร์มากที่สุด

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลประโยชน์ (Cost – Benefit Analysis) เป็นเทคนิคที่ใช้วัดในกรณีที่ต้นทุนและผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นสามารถตีค่าออกมาในรูปของตัวเงินหรือเป็นเชิงปริมาณ (ตัวเลข) ได้ โดยพิจารณาที่ผลประโยชน์สุทธิสูงสุด นั่นคือ ต้องตีค่าผลประโยชน์ที่ได้เป็นตัวเงิน เท่านั้น เทคนิคนี้เป็นเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับหลักเศรษฐศาสตร์มากที่สุด และมักนิยมใช้วิเคราะห์นโยบายที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน เช่น นโยบายการสร้างเขื่อน เป็นต้น

27 รูปแบบใดเป็นการแสวงหาข้อมูลเชิงประจักษ์ที่เชื่อถือได้และแม่นตรงมากที่สุด ตอบ 2 หน้า 233 234 ประโยชน์ของการวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบทดลอง หรือการประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง (Experimental Design) มีดังนี้

1 เป็นเครื่องมือในการแสวงหาข้อมูลเชิงประจักษ์ที่เชื่อถือได้และแม่นตรงมากที่สุด

2 ช่วยทําให้เกิดการประหยัดทรัพยากรทางการบริหารในระยะยาว

 

28 การกระจายสุ่ม (Randomization) ของกลุ่มตัวอย่างในการจัดพื้นที่ทดลองและพื้นที่ควบคุมเป็นสิ่งสําคัญอยู่ในรูปแบบใด

ตอบ 2 หน้า 233, (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบทดลอง หรือการประเมินผลด้วยวิธีการทดลอง เป็นวิธีการที่มีความเคร่งครัดในการดําเนินงานมากที่สุด โดยมีลักษณะสําคัญดังนี้

1 มีการจัดกลุ่มขึ้นเพื่อทําการทดลอง โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง (Experimental Group) และกลุ่มควบคุม (Control Group)

2 มีการกําหนดเป้าหมายและหลักเกณฑ์ในการวัดความสําเร็จ โดยการวัดนั้นจะวัดก่อนที่โครงการจะถูกนํามาใช้และวัดอีกครั้งหลังจากที่โครงการสิ้นสุดแล้ว

3 มีการเลือกกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง (Random Sampling)จากประชากรที่อยู่ในเป้าหมายของโครงการ และใช้วิธีการกระจายสุ่ม (Randomization) การของกลุ่มตัวอย่างในการจัดพื้นที่ทดลองและพื้นที่ควบคุม

29 การจับคู่ (Matching) ของกลุ่มตัวอย่างในการจัดพื้นที่ทดลองและพื้นที่ควบคุมเป็นสิ่งสําคัญอยู่ในรูปแบบใด

ตอบ 3 หน้า 233, 236 การวิจัยเชิงประเมินในรูปแบบกึ่งทดลอง หรือการประเมินผลด้วยวิธีกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Design) มีวิธีการที่สําคัญคือ การจับคู่ (Matching) ซึ่งเป็นการแสวงหาคู่ในระดับบุคคลในพื้นที่หรือหน่วยการทดลองที่เกี่ยวข้อง ที่มีความคล้ายคลึงกัน ตั้งแต่หนึ่งคุณลักษณะที่ศึกษา จากนั้นสมาชิกของคู่จะถูกกําหนดให้เป็นกลุ่มทดลอง ในขณะที่สมาชิกของคู่เดียวกันจะถูกกําหนดให้เป็นกลุ่มควบคุม ทั้งนี้เพื่อให้ 2 กลุ่มมีความเท่าเทียมกันพอควรก่อนเริ่มดําเนินการ

30 รูปแบบใดของการทดลองเป็นการแสวงหาข้อมูลเชิงประจักษ์ที่เชื่อถือได้และแม่นตรงน้อยที่สุด

ตอบ 4 หน้า 233, 236 237, (คําบรรยาย) การวิจัยเชิงประเมินแบบเตรียมทดลอง หรือการประเมินผลด้วยวิธีเตรียมทดลอง (Pre-Experimental Design) เป็นทางเลือกสุดท้ายของการประเมิน นั่นคือ ถ้าผู้ประเมินไม่สามารถที่จะใช้การประเมินผลด้วยวิธีการทดลองและวิธีกึ่งทดลองได้ ก็จําเป็นต้องเลือกแบบหนึ่งแบบใดของการประเมินผลด้วยวิธีเตรียมทดลอง ซึ่งการประเมินผลด้วยวิธีนี้มีจุดอ่อน คือ ผู้ประเมินไม่สามารถควบคุมปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ที่ต้องมีคําอธิบายได้ จึงทําให้การประเมินผลมีความน่าเชื่อถือและแม่นตรงน้อยที่สุด เมื่อเทียบกับการวิจัยประเมินผลด้วยวิธีอื่น ๆ

31 ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับ “ความรู้ในการกําหนดนโยบายของรัฐ”

(1) ความรู้เกี่ยวกับการทําให้องค์การรัฐวิสาหกิจไม่ขาดทุน

(2) ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาบุคคลที่มาปฏิบัติหน้าที่

(3) ความรู้เกี่ยวกับการสร้างผลกําไรให้หน่วยงานโดยไม่สนใจประชาชน

(4) ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์การวางระบบของงาน

(5) ต้องใช้ความรู้ในการกําหนดนโยบายทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 60, ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการกําหนดนโยบายของรัฐ มีดังนี้

1 ความรู้เกี่ยวกับการทําให้องค์การรัฐวิสาหกิจไม่ขาดทุน

2 ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาบุคคลที่มาปฏิบัติหน้าที่

3 ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์การวางระบบของงานใหม่

4 ความรู้เกี่ยวกับการประสาน การส่งข่าวสารหรือข้อมูลที่ถูกต้อง

32 การนําศาสตร์ในหลาย ๆ สาขามาใช้ในการวิเคราะห์นโยบาย เป็นแนวโน้มในเรื่องใด

(1) แนวโน้มเกี่ยวกับเป้าหมายและคุณค่า

(2) แนวโน้มเกี่ยวกับวิธีการ

(3) แนวโน้มเกี่ยวกับแนวทางการดําเนินนโยบาย

(4) แนวโน้มเกี่ยวกับรูปแบบ

(5) แนวโน้มเกี่ยวกับการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายและผลตอบแทน

ตอบ 3 หน้า 74 แนวโน้มการวิเคราะห์นโยบายในอนาคต มี 3 แนวโน้มใหญ่ คือ

1 แนวโน้มเกี่ยวกับเป้าหมายและคุณค่า จะมุ่งเน้นการบรรลุเป้าหมายโดยหาทางเลือกที่ดีที่สุดที่ทําให้ประชาชนพอใจ และสนองต่อคุณค่าต่าง ๆ ของสังคม โดยการเน้นให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็น เพื่อให้นโยบายที่เกิดขึ้นสนองตอบต่อสังคมโดยส่วนรวมอย่างแท้จริง

2 แนวโน้มเกี่ยวกับแนวทางการดําเนินนโยบาย จะมุ่งเน้นการหาวิธีการที่ดีที่สุดที่เป็นไปได้ โดยการพิจารณามิติทางการเมืองและการบริหาร และมีการนําศาสตร์ในหลาย ๆ สาขาวิชามาใช้ในการวิเคราะห์นโยบายในลักษณะสหวิทยาการ

3 แนวโน้มเกี่ยวกับวิธีการ จะมุ่งเน้นการวิเคราะห์เชิงธุรกิจที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายและผลตอบแทน (Cost – Benefit) รวมทั้งการคํานึงถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่จะเกิดขึ้นด้วย

33 การเน้นให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็นเพื่อให้นโยบายที่เกิดขึ้นสนองตอบต่อสังคมโดยส่วนรวมอย่างแท้จริง เป็นแนวโน้มเกี่ยวกับเรื่องใด

(1) มาตรฐาน

(2) เป้าหมายและคุณค่า

(3) การดําเนินนโยบาย

(4) วิธีการ

(5) การสร้างตัวแบบหรือทฤษฎี

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 32 ประกอบ

34 ข้อใดเป็นนโยบายในด้านการบริการและการท่องเที่ยว

(1) เพิ่มมาตรการอํานวยความสะดวก สร้างความปลอดภัย

(2) ส่งเสริมการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร

(3) ผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตสินค้า

(4) ส่งเสริมการประมงชายฝั่งและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

(5) เป็นนโยบายในด้านการบริการและการท่องเที่ยวทุกข้อ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) นโยบายการส่งเสริมด้านการบริการและการท่องเที่ยว ได้แก่

1 เร่งฟื้นฟูระดับความสัมพันธ์และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้ประเทศไทยเป็นประตูทางผ่านหลักของการท่องเที่ยวในภูมิภาค

2 เพิ่มมาตรการอํานวยความสะดวก สร้างความปลอดภัย และป้องกันการเอาเปรียบนักท่องเที่ยว

3 ยกระดับประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการประชุม การสัมมนา และการแสดงสินค้าของภูมิภาค

4 เพิ่มความหลากหลายของการท่องเที่ยวรูปแบบต่าง ๆ ทั้งการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เชิงเกษตรกรรม และการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ ฯลฯ

35 รัฐบาลเร่งรัดดําเนินการเพื่อให้การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เป็นนโยบายของรัฐบาลอยู่ในด้านใด

(1) นโยบายเสริมสร้างสังคมเข้มแข็ง

(2) นโยบายการสร้างรายได้

(3) นโยบายการพัฒนาแรงงาน

(4) นโยบายด้านการศึกษา

(5) นโยบายเศรษฐกิจ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) นโยบายเสริมสร้างสังคมเข้มแข็ง แบ่งออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่

1 ด้านสาธารณสุขและสุขภาพ

2 ด้านกีฬา

3 ด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ซึ่งรัฐบาลจะเร่งรัดดําเนินการเพื่อให้การป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด

4 ด้านครอบครัว เด็ก เยาวชน สตรี และผู้สูงอายุ

5 ด้านการส่งเสริมผู้ด้อยโอกาส

36 นโยบายการสร้างรายได้ ครอบคลุมในเรื่องใดบ้าง

(1) ด้านการเกษตร

(2) ด้านอุตสาหกรรม

(3) ด้านการบริการ

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) นโยบายการสร้างรายได้ เป็นนโยบายที่รัฐบาลสนับสนุนและผลักดันให้มีกระบวนการสร้างรายได้ให้กับประชาชนทุกระดับ โดยจะส่งเสริมแนวทางเศรษฐกิจแบบพอเพียงตามศักยภาพของชุมชนในระดับฐานราก ซึ่งมีแนวนโยบายครอบคลุม 3 ด้าน คือ

1 ด้านการเกษตร

2 ด้านอุตสาหกรรม

3 ด้านการบริการและการท่องเที่ยว

37 ข้อใดถูกต้อง

(1) การนํานโยบายไปปฏิบัติที่มีประสิทธิผลต้องการความสามารถทางการบริหารสูง (2) การนํานโยบายไปปฏิบัติจะเหมาะกับประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

(3) การนํานโยบายไปปฏิบัติจะง่ายในประเทศที่มีขนาดไม่ใหญ่

(4) การนํานโยบายไปปฏิบัติจะง่ายขึ้นในประเทศที่ปกครองแบบรวมศูนย์อํานาจ ติดต่อได้

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 61 – 62 การนํานโยบายไปปฏิบัติในประเทศต่าง ๆ อาจจะให้ผลแตกต่างกัน ดังนี้

1 การนํานโยบายไปปฏิบัติที่มีประสิทธิผลต้องการความสามารถทางการบริหารสูงจะกลายเป็นข้อจํากัดที่สําคัญของประเทศในโลกที่ 3 และในยุโรปบางประเทศ

2 การนํานโยบายไปปฏิบัติจะง่ายในประเทศที่มีขนาดกลางหรือขนาดเล็ก

3 การนํานโยบายไปปฏิบัติจะเหมาะสมกับประเทศที่ยึดถือการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

4 การนํานโยบายไปปฏิบัติจะง่ายในประเทศที่มีการปกครองแบบรวมศูนย์อํานาจ

5 การนํานโยบายไปปฏิบัติจะมีประสิทธิผลมากในประเทศที่รัฐบาลมีเสถียรภาพสูง

 

38 ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกัน

(1) Elite Theory : การศึกษาในแง่ตัวแบบหรือทฤษฎี

(2) Group Theory : การหาสาเหตุและผลของนโยบาย

(3) Policy Process : ศึกษากระบวนการต่าง ๆ ในการกําหนดนโยบาย

(4) Policy Area Study : ศึกษาข้อปลีกย่อยในแต่ละแง่มุมของนโยบาย

(5) Descriptive Study : เป็นการพรรณนาสิ่งที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย

ตอบ 2 หน้า 8 แนวทางการศึกษานโยบายสาธารณะ แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ

1 การศึกษาในแง่ตัวแบบหรือทฤษฎี (Theory or Model of Study) เป็นการศึกษาตามแนวทางที่มุ่งคิดค้นและสร้างเป็นตัวแบบหรือทฤษฎีของวิธีการศึกษานโยบายของรัฐ แล้วนําเอาตัวแบบ หรือทฤษฎีนั้น ๆ ไปใช้ในการศึกษาต่อไป เช่น ทฤษฎีผู้นํา (Elite Theory), ทฤษฎีกลุ่ม (Group Theory), ทฤษฎีระบบ (System Theory) เป็นต้น

2 การศึกษาในแง่ขอบเขตของนโยบาย (Policy Area Study) เป็นการศึกษาข้อปลีกย่อยของนโยบายแต่ละอย่างแต่ละแง่มุม โดยหาสาเหตุและเหตุผลของแต่ละประเด็นนําเอามาศึกษาและเปรียบเทียบกันดูโดยละเอียด

3 การศึกษาในแง่กระบวนการของนโยบาย (Policy Process Study) เป็นการศึกษากระบวนการต่าง ๆ ของนโยบายไม่ว่าจะเป็นกระบวนการกําหนดนโยบาย กระบวนการพัฒนา กระบวนการจัดตั้งองค์การ หรืออื่นใดก็ตาม

39 ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของนโยบาย

(1) วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

(2) แนวทางในการบรรลุผล

(3) ขั้นตอนหรือแผนงาน

(4) ทุนที่ใช้ในการดําเนินการ

(5) เป็นองค์ประกอบของนโยบายทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 10 – 12 องค์ประกอบของนโยบายสาธารณะ มีดังนี้

1 วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่ชัดเจน

2 ลําดับขั้นตอนหรือแผนงานในการปฏิบัติ

3 แนวทางหรือหลักการในการบรรลุผลสําเร็จ

4 การกําหนดการกระทําต่าง ๆ และมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ฯลฯ

40 Policy Science หมายถึงอะไร

(1) ความรู้ในเรื่องของนโยบาย

(2) ความรู้ในการกําหนดนโยบาย

(3) ความรู้ในการนํานโยบายไปปฏิบัติ

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 59 – 60 นโยบายศาสตร์ (Policy Science) หมายถึง การให้ความรู้ในเรื่องของนโยบาย (Policy-Issue Knowledge) และความรู้ในการกําหนดนโยบายของรัฐ (Policy-Making Knowledge)

 

ตั้งแต่ข้อ 41 – 45 ให้พิจารณาคําตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้

(1) Regulative Policy

(2) Distributive Policy

(3) Re-Distributive Policy

(4) Capitalization Policy

(5) Ethical Policy

 

41 30 บาทรักษาทุกโรค เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด

ตอบ 2 หน้า 5, (คําบรรยาย) นโยบายการกระจายบริการของรัฐ (Distributive Policy) เป็นนโยบายที่รัฐบาลต้องจัดบริการพื้นฐานให้ประชาชนทุกคนได้ใช้ หรือเพื่อให้ประชาชนทั่วไปโดยส่วนรวม มีโอกาสได้รับบริการสาธารณะที่เป็นของรัฐบาลอย่างทั่วถึงและพอเพียง เช่น นโยบายการมีถนนแยกเลนไปสู่ทุกจังหวัด, นโยบายการลดราคาน้ำมันเบนซิน, โครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน, การขยายช่องทางจราจรหรือการสร้างถนน, นโยบายให้มีสถานพยาบาลให้ครบทุกอําเภอ,การจัดให้มีบัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรค, การจัดให้มีไฟฟ้าและน้ำประปาใช้ทุกหมู่บ้าน เป็นต้น

42 การรณรงค์ให้มีน้ำใจต่อนักท่องเที่ยว เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด

ตอบ 5 หน้า 6, (คําบรรยาย) นโยบายเพื่อจริยธรรม (Ethical Policy) เป็นนโยบายของรัฐบาลที่ไม่มีการบังคับให้ผู้ใดปฏิบัติตาม แต่ต้องการจูงใจและสนับสนุนหรือส่งเสริมให้ประชาชน มีความรู้สึกสํานึกที่ดี และมีจิตสํานึกในทางที่ถูกที่ควรที่จะปฏิบัติตาม เช่น โครงการพลังแผ่นดิน โครงการเมืองน่าอยู่, โครงการถนนสีขาว, โครงการหน้าบ้านน่ามอง, นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ, นโยบายส่งเสริมให้มีน้ำใจต่อนักท่องเที่ยว และการรณรงค์ต่าง ๆ เป็นต้น

43 โครงการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกร เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด

ตอบ 3 หน้า 6 (คําบรรยาย) นโยบายเพื่อการจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสมหรือการจัดสรรทรัพยากรเสียใหม่ (Re-Distributive Policy) เป็นนโยบายที่กําหนดขึ้นเพื่อประชาชนบางอาชีพ ผู้ประกอบการบางสาขาการผลิต พื้นที่บางพื้นที่ตามความจําเป็น เช่น การออกบัตรประกันสังคม, การออกบัตรสุขภาพ, นโยบายการแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้, นโยบายการจํานําข้าว, นโยบาย เพิ่มค่าแรง 300 บาทต่อวัน, โครงการช่วยเหลือชาวสลัม, โครงการสงเคราะห์คนชรา, โครงการ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ, โครงการอาหารกลางวันแก่เด็กยากจน, กองทุนพัฒนาสตรี เป็นต้น หรือเป็นนโยบายที่ดึงเอาทรัพยากรจากประชาชนกลุ่มหนึ่งมาจัดสรรใหม่ให้เกิดประโยชน์แก่ ประชาชนอีกกลุ่มหนึ่งที่ด้อยโอกาส เช่น นโยบายภาษี (เช่น นโยบายการเก็บภาษีอัตราก้าวหน้า), นโยบายการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกร เป็นต้น

44 โครงการ “เมาไม่ขับ” เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด

ตอบ 1 หน้า 5, (คําบรรยาย) นโยบายที่เป็นกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับ (Regulative Policy) เป็นนโยบายที่หน่วยงานของรัฐหรือรัฐบาลกําหนดขึ้นเพื่อให้ทุกคนต้องปฏิบัติตาม ถ้าใครไม่ปฏิบัติตามถือว่า ผิดกฎหมายต้องถูกลงโทษ หรือเป็นกติกาในการอยู่ร่วมกันของสมาชิกในสังคมอย่างเสมอภาค และเป็นธรรม เช่น กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายจราจร (เช่น โครงการเมาไม่ขับ การขับรถยนต์ต้องมีใบขับขี่) นโยบายจัดระเบียบสังคม เป็นต้น

45 การสร้างสนามบินหนองงูเห่า เกี่ยวข้องกับนโยบายประเภทใด

ตอบ 4 หน้า 6, (คําบรรยาย) นโยบายเพื่อการลงทุน (Capitalization Policy) เป็นนโยบายที่รัฐบาลกําหนดขึ้นเพื่อใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ หรือเพื่อแสวงหาทรัพยากรใหม่ ๆ คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมา แล้วก่อให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมและประเทศชาติ หรือการสร้างสิ่งก่อสร้างบางอย่างเพื่อเป็น พื้นฐานในการพัฒนาประเทศต่อไป เช่น นโยบายพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกและภาคใต้,การสร้างสนามบิน, การสร้างนิคมอุตสาหกรรม, การสร้างท่าเรือน้ำลึก, การวางท่อก๊าซ เป็นต้น

 

ข้อ 46 – 50 ให้พิจารณาคําตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้

(1) ตารางวิเคราะห์ปัญหา

(2) การทดลองทางสังคม

(3) การสร้างดัชนีสังคม

(4) การประเมินพัฒนาการ

(5) การวิเคราะห์อรรถประโยชน์แบบพหุลักษณ์

 

46 การทําประชามติเกี่ยวกับการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เกี่ยวข้องกับเทคนิคใดมากที่สุด

ตอบ 5 หน้า 257, (คําบรรยาย) การวิเคราะห์อรรถประโยชน์แบบพหุลักษณ์ เป็นวิธีการที่ออกแบบมาเพื่อพิจารณาความรู้สึกและทัศนะที่เป็นอัตวิสัยของประชาชนผู้เกี่ยวข้องกับนโยบายหรือมีส่วนได้ส่วนเสียในนโยบาย ซึ่งจุดเด่นของวิธีการนี้อยู่ที่การพยายามดึงคุณค่าและความเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่แอบแฝงอยู่อันไม่สามารถเห็นได้ชัดเจนออกมาให้เห็นชัดเจน เช่น การทําประชามติ เป็นต้น

47 การหาแนวทางในการแก้ปัญหาจราจร เกี่ยวข้องกับเทคนิคใดมากที่สุด

ตอบ 1 หน้า 112, (คําบรรยาย) ตารางวิเคราะห์ปัญหา (Problem Analysis Table) เป็นการวิเคราะห์ปัญหาโดยการจัดทําเป็นตารางที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างสภาพปัญหา (ลักษณะของปัญหา) สาเหตุ (กลุ่มของสาเหตุ) และแนวทางแก้ไขปัญหา เพื่อต้องการให้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับปัญหา ได้ชัดเจนในตารางเดียวกัน ซึ่งถือเป็นเทคนิคที่นิยมใช้กันมากที่สุด เช่น การหาแนวทางในการแก้ปัญหาจราจร เป็นต้น

48 การนํารูปแบบผู้ว่าบูรณาการ (CEOs) มาใช้ในการบริหารงาน เกี่ยวข้องกับเทคนิคใดมากที่สุด

ตอบ 2 หน้า 114, (คําบรรยาย) การทดลองทางสังคม (Social Experiment) เป็นการทดลองที่เน้นการนําเอานโยบายหนึ่งไปใช้ในกลุ่มเป้าหมายเล็ก ๆ และประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการดําเนินการตามนโยบายนั้นก่อนที่จะนํานโยบายไปใช้ในกลุ่มเป้าหมายจริงทั้งหมด เช่น การนํารูปแบบผู้ว่าบูรณาการ (CEOS) มาใช้ในการบริหารในจังหวัดนําร่องก่อนที่จะ นําไปใช้จริงในจังหวัดต่าง ๆ เป็นต้น

49 การศึกษาสภาพต่าง ๆ ทางด้านสังคม เศรษฐกิจ ให้เป็นรูปธรรม เกี่ยวข้องกับเทคนิคใดมากที่สุด

ตอบ 3 หน้า 114 การสร้างดัชนีสังคม (Social Indicator) คือ การสร้างค่าที่ใช้วัดสภาพต่าง ๆ อันเป็นเกณฑ์ในการประเมินผลของนโยบายทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง เพื่อบอกให้ทราบถึง สภาพปัจจุบันและการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ โดยดัชนีสังคมนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 ดัชนีแบบปรนัย มีลักษณะเป็นรูปธรรมและให้ค่าทางตัวเลขได้

2 ดัชนีแบบอัตนัย มีลักษณะเป็นนามธรรม สังเกตไม่ได้ จับต้องไม่ได้ และให้ค่าทางตัวเลขค่อนข้างลําบาก

50 การศึกษาปัญหาอุปสรรคในการดําเนินงานแต่ละวัน เกี่ยวข้องกับเทคนิคใดมากที่สุด

ตอบ 4 หน้า 253 การประเมินพัฒนาการ เป็นการประเมินผลที่ออกแบบมาเพื่อประเมินการทํางานประจําวันของผู้นํานโยบายไปปฏิบัติโดยเฉพาะ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการเตือนให้ผู้นํานโยบาย ไปปฏิบัติได้ทราบถึงปัญหาอุปสรรคและข้อบกพร่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันไม่ว่าจะโดยตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจก็ตาม

51 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 มีเป้าหมายในการพัฒนาประชากรกลุ่มผู้ด้อยโอกาส “กลุ่มผู้ด้อยโอกาส” ได้แก่

(1) เด็กที่อยู่ในภาวะยากลําบาก

(2) สตรีในธุรกิจบริการทางเพศ

(3) คนพิการ ผู้ถูกคุมประพฤติ และผู้ต้องขัง

(4) ผู้สูงอายุยากจนที่ไม่มีญาติหรือผู้เลี้ยงดู

(5) ถูกทุกข้อ 2

ตอบ 5 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 มีเป้าหมายในการพัฒนาประชากร “กลุ่มผู้ด้อยโอกาส” ซึ่งได้แก่

1 กลุ่มเด็กที่อยู่ในภาวะยากลําบาก

2 กลุ่มเด็กและสตรีในธุรกิจบริการทางเพศ และถูกประทุษร้าย

3 กลุ่มคนพิการ

4 กลุ่มผู้ถูกคุมประพฤติและผู้ต้องขัง

5 กลุ่มผู้สูงอายุยากจนที่ไม่มีญาติหรือผู้เลี้ยงดู

6 กลุ่มคนยากจนในเมืองและชนบท

7 กลุ่มคนไทยต่างวัฒนธรรม

52 สาเหตุสําคัญที่ทําให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจไทยในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 คือ

(1) ขาดปัจจัยพื้นฐานในการพัฒนาประเทศอย่างรุนแรง

(2) รายได้จากการท่องเที่ยวลดลงมากและคนไทยนิยมไปท่องเที่ยวต่างประเทศมากขึ้น

(3) ปัญหาคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์

(4) ปัญหาแรงงานฝีมือต่ำ

(5) ปัญหาด้านการส่งออก

ตอบ 2 (คําบรรยาย) สาเหตุสําคัญที่ทําให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจไทยในช่วงปี พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นปีแรกของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 มีดังนี้

1 ปัญหาเศรษฐกิจแบบฟองสบู่

2 ระบบเศรษฐกิจและ การเมืองในลักษณะรวมศูนย์

3 ความด้อยประสิทธิภาพในการบริหารจัดการของภาครัฐ

4 การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคของคนไทยที่มีค่านิยมทางวัตถุและสิ่งฟุ่มเฟือย รวมทั้งการนิยมเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศมากขึ้น จนส่งผลให้รายได้จากการท่องเที่ยวภายในประเทศลดลง

53 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายเพิ่มค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาของประเทศทั้งภาครัฐและเอกชนไม่น้อยกว่าร้อยละเท่าไหร่ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ

(1) ร้อยละ 0.6

(2) ร้อยละ 0.5

(3) ร้อยละ 0.4

(4) ร้อยละ 0.3

(5) ร้อยละ 0.2

ตอบ 3 หน้า 433 434, (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายดุลยภาพทางเศรษฐกิจ ดังนี้

1 มีอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี

2 การส่งออกสินค้ามีการขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 ต่อปี โดยเพิ่มส่วนแบ่งตลาดส่งออกของไทยให้อยู่ในระดับร้อยละ 1.1 ของตลาดโลกในปี พ.ศ. 2549

3 เพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวโดยมีรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 9 7-8 ต่อปี และให้คนไทยท่องเที่ยวภายในประเทศเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 3 ต่อปี

4 เพิ่มค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศทั้งภาครัฐและเอกชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ฯลฯ

54 แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 มีลักษณะที่แตกต่างจากแผ่นอื่น ๆ คือ

(1) มุ่งเน้นการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน

(2) มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจโดยไม่คํานึงถึงผลทางด้านสังคม

(3) สนใจเรื่องการกระจายรายได้

(4) เป็นแผนที่มีระยะเวลานาน 6 ปี

(5) เน้นเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งเเวดล้อม

ตอบ 4 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากแผนพัฒนาฯ ฉบับอื่น ๆ ดังนี้

1 เป็นแผนที่มีระยะเวลายาวนานถึง 6 ปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 ถึง พ.ศ. 2509 2 เป็นแผนที่กําหนดวัตถุประสงค์เดียว (Single Objective) คือ เร่งรัดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

55 ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายว่าในปี 2549 ประชาชนจะมีการศึกษา โดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่ากี่ปี

(1) 6 ปี

(2) 8 ปี

(3) 9 ปี

(4) 12 ปี

(5) 15 ปี

ตอบ 3 หน้า 434 แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายการยกระดับคุณภาพชีวิต ดังนี้

1 ให้ประชาชนอายุ 5 ปีขึ้นไปมีการศึกษาโดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 9 ปี ในปี พ.ศ. 2549 2 ยกระดับการศึกษาของแรงงานไทยให้ถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้นขึ้นไปไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ในปี พ.ศ. 2549

3 ขยายการประกันสุขภาพให้ครอบคลุมประชาชนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

4 ให้มีระบบการคุ้มครองทางสังคมที่สร้างหลักประกันแก่คนไทยทุกช่วงวัย ฯลฯ

56 การเน้นความสําคัญของ “เกษตรกร” มีแนวทางอย่างไร

(1) สนับสนุนให้เกษตรกรริเริ่มในการตัดสินใจเลือกการผลิตที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่

(2) ให้สินเชื่อทางการเกษตรแก่เกษตรกรมากขึ้น

(3) รัฐเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้สนับสนุนมาเป็นผู้ชี้นําในการพัฒนาการเกษตร

(4) ให้ภาคเอกชนลงทุนในด้านวิชาการ และการวิจัยทางการเกษตร

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) การเน้นความสําคัญของ “เกษตรกร” ตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 มีแนวทาง ดังนี้

1 สนับสนุนให้เกษตรกรเป็นผู้ริเริ่มในการตัดสินใจเลือกการผลิตที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และความต้องการของตลาดในระยะยาว

2 ให้ความสําคัญกับกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทาง เศรษฐกิจ เช่น กลุ่มเกษตรกรผู้ยากจน แรงงานรับจ้างภาคเกษตร ผู้มีรายได้น้อยที่ไม่มีที่ดิน ของตนเอง ให้ได้รับบริการด้านปัจจัยการผลิตอย่างทั่วถึงและเพียงพอ

3 รัฐต้องเปลี่ยนบทบาทจากการเป็น “ผู้ชี้นํา” มาเป็น “ผู้สนับสนุน” ในการพัฒนาการเกษตร

4 ภาครัฐต้องเน้นการลงทุนในด้านวิชาการ และการวิจัยทางการเกษตร

57 หลักการสําคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 คือข้อใด (1) การพัฒนาอย่างยั่งยืน

(2) การพัฒนาฝีมือแรงงาน

(3) ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

(4) ความสุขมวลรวมประชาชาติ

(5) การลดอัตราการเกิดของประชากร

ตอบ 3 หน้า 428, (คําบรรยาย) หลักการสําคัญของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 คือ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นปรัชญานําทางในการพัฒนาและบริหารประเทศโดยยึดหลักทางสายกลาง เพื่อให้ประเทศ รอดพ้นจากวิกฤติ สามารถดํารงอยู่ได้อย่างมั่นคง และนําไปสู่การพัฒนาที่สมดุล มีคุณภาพและยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และสถานการณ์เปลี่ยนแปลงต่าง ๆ

58 “หน่วยงานกลาง” มีบทบาทสําคัญในการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ หน่วยงานกลางได้แก่

(1) สํานักงาน ก.พ.

(2) สํานักงบประมาณ

(3) กระทรวงการคลัง

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 มีนโยบายเพิ่มประสิทธิภาพของหน่วยงานกลางในการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ โดยกําหนดให้ปรับปรุงบทบาทของหน่วยงานกลาง 5 หน่วยงาน ดังนี้

1 สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

2 สํานักงบประมาณ

3 สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)

4 สํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน

5 สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

59 แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 นับว่าเป็นแผนที่ดําเนินการในช่วงเปลี่ยนผ่านที่สําคัญที่สุดช่วงหนึ่งของประเทศไทย เพราะเหตุใด

(1) ต้องเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจให้หลุดพ้นจากภาวะวิกฤติที่ต่อเนื่องมาจากแผนฯ 8

(2) ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากภายนอกมากขึ้น

(3) ต้องพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

(4) ต้องเร่งพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มรายได้จากเงินตราต่างประเทศ

(5) ต้องพัฒนาการศึกษาและคุณภาพชีวิตของคนชนบท

ตอบ 1 หน้า 431 แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 นับว่าเป็นแผนที่ดําเนินการในช่วงเปลี่ยนผ่านที่สําคัญที่สุดช่วงหนึ่งของประเทศไทย เพราะจําเป็นต้องเร่งรัดการปฏิรูประบบเศรษฐกิจและสังคมให้เกิดสัมฤทธิผล และเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจให้หลุดพ้นจากภาวะวิกฤติที่ต่อเนื่องมาจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 พร้อมทั้งวางรากฐานการพัฒนาระบบเศรษฐกิจภายในประเทศให้มีความเข้มแข็ง มีเสถียรภาพและมีภูมิคุ้มกันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงจากภายนอกและสามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น

60 การปรับปรุงระบบราชการแนวใหม่มุ่งให้ระบบราชการมีลักษณะอย่างไร

(1) ปรับปรุงโครงสร้างใหม่ให้เน้นสายการบังคับบัญชาที่ชัดเจน

(2) เพิ่มจํานวนบุคลากรให้มากขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับบทบาทภารกิจใหม่

(3) ระบบราชการทํางานแยกส่วนกับภาคเอกชนโดยมุ่งแข่งขันกับภาคเอกชน

(4) ปรับระบบงบประมาณเป็นแบบมุ่งผลลัพธ์

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีแนวทางการปรับปรุงระบบราชการแนวใหม่ ดังนี้

1 ปรับบทบาท ภารกิจ และวิธีการบริหารงานของระบบราชการจากการเป็นผู้ปฏิบัติไปเป็นผู้กํากับดูแลและอำนวยความสะดวก

2 ปรับระบบงบประมาณเป็นแบบมุ่งผลลัพธ์

3 ปรับระบบบริหารบุคคลและลดจํานวนบุคลากรให้สอดคล้องกับการปรับบทบาทภารกิจใหม่

4 ปรับระบบราชการให้สามารถทํางานร่วมกับภาคเอกชนได้ ฯลฯ

61 ผลของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 – 7 ก่อให้เกิด “ความไม่สมดุลของการพัฒนา” ซึ่งหมายความว่า

(1) มีการทําลายทรัพยากรธรรมชาติและมีการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน

(2) มีปัญหาความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้

(3) มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจแต่ขณะเดียวกันก็มีปัญหาทางสังคมเกิดขึ้นมากมาย

(4) มีปัญหายาเสพติดและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ผลการพัฒนาประเทศในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 – 7 นั้น ก่อให้เกิด“ความไม่สมดุลของการพัฒนา” หมายความว่า มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจดี แต่ปัญหาความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้และผลประโยชน์จากการพัฒนาระหว่างภาค ระหว่างชนบทกับเมือง และระหว่างกลุ่มคนในสังคม ก็ยังเป็นปัญหาสําคัญที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของคนไทย โดยทําให้มีปัญหาทางสังคมเกิดขึ้นมากมาย เช่น ปัญหายาเสพติดและความปลอดภัย ในชีวิตและทรัพย์สิน ขณะเดียวกันก็มีการทําลายทรัพยากรธรรมชาติและใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลือง ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและความเสื่อมโทรมทางสภาพแวดล้อมอย่างรุนแรง จึงนําไปสู่ข้อสรุปผลการพัฒนาที่ว่า แม้เศรษฐกิจขยายตัวในระดับดี แต่สังคมมีปัญหา และการพัฒนาไม่ยั่งยืน

62 ลักษณะสําคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 คือ

(1) มุ่งเน้นการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

(2) มุ่งเน้นการปฏิรูปทางการศึกษา

(3) มุ่งเน้นการเสริมสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

(4) เศรษฐกิจเป็นเป้าหมายหลักของการพัฒนา

(5) คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา

ตอบ 5 หน้า 525, (คําบรรยาย) ลักษณะสําคัญของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ที่แตกต่างจากแผนพัฒนาฯฉบับอื่น มีดังนี้

1 เป็นจุดเปลี่ยนสําคัญของการวางแผนพัฒนาประเทศไทยที่ให้ความสําคัญกับ การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม นั่นคือ เป็นแผนแรกที่มาจากการร่วมคิดของหลายฝ่าย จากทุกภาคส่วนของสังคม โดยเปิดโอกาสให้คนไทยทุกกลุ่มอาชีพในทุกภูมิภาคเข้ามามีบทบาทร่วม ในการแสดงความคิดเห็น และกําหนดทิศทางในการพัฒนาประเทศตั้งแต่เริ่มการจัดทําแผน

2 เป็นแผนแรกที่เน้นให้ “คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา” โดยถือว่าการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นเพียงเครื่องมือช่วยพัฒนาให้คนมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเท่านั้น

63 วิกฤติที่เกิดขึ้นในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 คือ

(1) ปัญหาในภาคการเงินและอสังหาริมทรัพย์

(2) ปัญหาหนี้สาธารณะและปัญหาการขาดดุลงบประมาณ

(3) ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจส่วนรวมอย่างรุนแรง ความพยายามในการแก้ไขปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะปานกลาง อย่างต่อเนื่อง ได้ส่งผลให้เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวอย่างช้า ๆ และมีเสถียรภาพในระดับหนึ่ง แต่ทั้งนี้ก็ยังมีปัญหาในภาคการเงินและอสังหาริมทรัพย์ ปัญหาหนี้สาธารณะ และปัญหาการขาดดุลงบประมาณอย่างเดิม

64 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับใดที่ประเทศไทยมีผลของการพัฒนาเศรษฐกิจสูงกว่าเป้าหมายถึงสองเท่าตัว

(1) ฉบับที่ 6

(2) ฉบับที่ 7

(3) ฉบับที่ 8

(4) ฉบับที่ 9

(5) ฉบับที่ 10

ตอบ 1 หน้า 399 ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 เศรษฐกิจของประเทศได้ฟื้นตัวและขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 10.5 ต่อปี ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 ถึง 2 เท่าตัว นับเป็นอัตราการขยายตัวเฉลี่ยสูงสุดของการพัฒนาเศรษฐกิจในช่วง 25 ปีของการพัฒนาที่ผ่านมา

65 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับใดที่ประเทศไทยสามารถลดอัตราการเพิ่มของประชากร ได้ผลตรงตามเป้าหมายที่กําหนดไว้ในแผน

(1) ฉบับที่ 2

(2) ฉบับที่ 3

(3) ฉบับที่ 4

(4) ฉบับที่ 5

(5) ฉบับที่ 6

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ผลการพัฒนาตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 มีดังนี้

1 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มสูงขึ้นกว่าเป้าหมายที่กําหนดไว้ คือ เพิ่มในอัตราร้อยละ 7.1 ต่อปี สูงกว่าเป้าหมายที่กําหนดไว้ร้อยละ 7.0

2 การผลิตสาขาเกษตรและอุตสาหกรรมขยายตัวต่ำกว่าเป้าหมายที่กําหนดไว้

3 การลดอัตราการเพิ่มของประชากรเป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการเป็นครั้งแรก โดยอยู่ที่ร้อยละ 2.1 ต่อปี

4 การกระจายรายได้ยังทําได้ไม่เพียงพอและทั่วถึง โดยเฉพาะประชาชนในเขตชนบท ฯลฯ

66 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 ประสบความสําเร็จอย่างสูงในเรื่องใด

(1) มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระดับสูงเกินความคาดหมาย

(2) การลดปัญหาสังคมเมืองและปัญหาอาชญากรรม

(3) การลดอัตราการเพิ่มของประชากร

(4) ความสมดุลของการพัฒนา

(5) การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 64 ประกอบ

67 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 แตกต่างจากแผนพัฒนาฯ ฉบับอื่น ๆ คือ

(1) มีการประเมินความเสี่ยง

(2) มีเป้าหมายให้ประเทศไทยพัฒนาเป็นแหล่งอุตสาหกรรมของโลก

(3) มีเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวในภูมิภาค

(4) มีเป้าหมายให้ประเทศไทยพัฒนาเป็นศูนย์กลางทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของโลก

(5) มีเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตอาหารสําคัญของโลก

ตอบ 1 หน้า 471 – 472, (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ได้ประเมินความเสี่ยงที่ประเทศไทยจะต้องเผชิญไว้ 6 ประการ ซึ่งถือเป็นรายละเอียดที่ทําให้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 มีความแตกต่าง จากแผนพัฒนาฯ ฉบับอื่น ๆ ดังนี้

1 การบริหารภาครัฐอ่อนแอ ไม่สามารถขับเคลื่อนการบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2 โครงสร้างทางเศรษฐกิจไม่สามารถรองรับการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน

3 โครงสร้างประชากรที่มีวัยสูงอายุเพิ่มขึ้น ขณะที่ประชากรวัยเด็กและวัยแรงงานลดลง

4 ค่านิยมที่ดีงามเสื่อมถอยและประเพณีดั้งเดิมถูกบิดเบือน

5 ฐานทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อมของประเทศมีแนวโน้มเสื่อมโทรมรุนแรง

6 มีความเสี่ยงด้านความมั่นคงเพราะเกิดปัญหาความไม่สงบภายในประเทศ

68 ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาค ได้แก่ข้อใด

(1) การสร้างความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

(2) การเสริมสร้างความร่วมมือที่ดีระหว่างประเทศในการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมีจริยธรรม

(3) การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับอนุภูมิภาค

(4) การป้องกันภัยจากภัยพิบัติ และการแพร่ระบาดของโรค

(5) ถูกทุกข้อ ตอบ 5 หน้า 485 487 ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคตามแผนพัฒนาฯฉบับที่ 11 มีดังนี้

1 การพัฒนาความเชื่อมโยงด้านการขนส่งและระบบโลจิสติกส์ภายใต้กรอบความร่วมมือในอนุภูมิภาคต่าง ๆ

2 การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับอนุภูมิภาค

3 การสร้างความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

4 การป้องกันภัย จากการก่อการร้ายและอาชญากรรม ยาเสพติด ภัยพิบัติ และการแพร่ระบาดของโรค

5 การเสริมสร้างความร่วมมือที่ดีระหว่างประเทศในการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมีจริยธรรม ฯลฯ

69 ภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นของประเทศไทยที่จัดทําโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติเป็นอย่างไร

(1) ได้คะแนน 3.8 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ในปี 2548

(2) อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ

(3) มีอันดับเพิ่มสูงขึ้น

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นของประเทศไทยที่จัดทําโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติมีอันดับเพิ่มสูงขึ้น โดยได้คะแนน 3.8 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ในปี พ.ศ. 2548 ซึ่งยังอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ

70 “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” มีลักษณะอย่างไร

(1) สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติมีความยั่งยืน

(2) คนไทยมีคุณธรรมนําความรอบรู้ รู้เท่าทันโลก

(3) ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมสันติสุข

(4) เศรษฐกิจมีเสถียรภาพและเป็นธรรม

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 452 453 วิสัยทัศน์ประเทศไทยตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 คือ การมุ่งพัฒนาสู่“สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” (Green and Happiness Society) โดยคนไทยมีคุณธรรม นําความรอบรู้ รู้เท่าทันโลก ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมสันติสุข เศรษฐกิจมีคุณภาพ เสถียรภาพ และเป็นธรรม สิ่งแวดล้อมมีคุณภาพและทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน อยู่ภายใต้ระบบ บริหารจัดการประเทศที่มีธรรมาภิบาล ดํารงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข และอยู่ในประชาคมโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี

71 การสร้างภูมิคุ้มกันของประเทศตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ที่สําคัญ ได้แก่

(1) ส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมเป็นฐานรายได้หลักของประเทศ

(2) ยึดมั่นในการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

(3) เร่งรัดให้มีการปฏิรูปการศึกษาทุกระดับ

(4) สนับสนุนให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวภายในประเทศ

(5) ยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชนบท

ตอบ 2 หน้า 472 – 473 การสร้างภูมิคุ้มกันของประเทศไทยตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 มี 5 ประการ ดังนี้

1 ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข

2 การพัฒนาประเทศให้อยู่บนฐานความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัย

3 สังคมไทยมีค่านิยมและวัฒนธรรมที่ดีงาม

4 ภาคการเกษตรเป็นฐานรายได้หลักและความมั่นคงด้านอาหารของประเทศ

5 ชุมชนท้องถิ่นเป็นกลไกที่มีความสามารถในการบริหารจัดการ มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเชื่อมโยงกันเป็นสังคมสวัสดิการ

72 ปัจจุบันประเทศไทยมุ่งเดินหน้าพัฒนาไปสู่ “ประเทศไทย 4.0” หมายความว่าอย่างไร

(1) การพัฒนาให้ครบทั้ง 4 ด้าน คือ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อม

(2) การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วภายในปี 2575

(3) การพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นผู้นําในกลุ่มประเทศอาเซียน

(4) การพัฒนาให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตอล

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) ประเทศไทย 4.0 คือ การพัฒนาให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตอล เป็นการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิตอลมาสร้างสรรค์หรือพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม ข้อมูล ทุนมนุษย์ ทรัพยากรอื่น ๆ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนอย่างแท้จริง

73 ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่สําคัญในอนาคต ได้แก่ข้อใด

(1) เทคโนโลยีการผลิตในอุตสาหกรรม

(2) เทคโนโลยีการเกษตร

(3) นาโนเทคโนโลยี

(4) เทคโนโลยีการศึกษา

(5) เทคโนโลยีสารสนเทศ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่สําคัญในอนาคต ได้แก่ นาโนเทคโนโลยี (Nanotechnology) เช่น นาโนเทคโนโลยีเชิงชีวภาพและนาโนเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Biological and Medical Nanotechnology) มีบทบาทเชื่อมโยงและสัมพันธ์กันอย่างมาก และยังเกี่ยวข้องโดยตรงกับความต้องการพื้นฐานของมนุษยชาติ เช่น การมีอายุยืนยาว ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บและรักษาโรค มีสิ่งแวดล้อมที่ดี รวมทั้งมีรูปร่างหน้าตาสวยงามตลอดเวลา

74 สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในประเทศที่สําคัญที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศไทยในกว่า 2 ทศวรรษที่ผ่านมา คือ

(1) การเสริมสร้างเอกลักษณ์ความเป็นไทย และภูมิปัญญาท้องถิ่น

(2) การประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540

(3) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสังคมไทย

(4) การแพร่ระบาดของยาเสพติด

(5) กระแสวัตถุนิยมและบริโภคนิยม

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในประเทศที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศไทยในช่วงกว่า 2 ทศวรรษที่ผ่านมาหลายประการ เช่น การกระจายอํานาจจากส่วนกลางไปสู่ท้องถิ่น การปฏิรูปการบริหารจัดการ ภาครัฐให้มีประสิทธิภาพ การจัดตั้งองค์กรอิสระเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กลไกตรวจสอบถ่วงดุล การปฏิรูปการศึกษาและการสาธารณสุขให้ประชาชนได้รับบริการที่ดีมีคุณภาพได้มาตรฐาน อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม การตื่นตัวของประชาสังคมในเรื่องประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมในการพัฒนา เป็นต้น

75 “วิสัยทัศน์ร่วมของการพัฒนาประเทศไทยในอนาคต 20 ปี” ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีจุดมุ่งหมายหลักคือ

(1) การแก้ปัญหาความยากจนและยกระดับชีวิตของคนส่วนใหญ่ของประเทศ

(2) การพัฒนาอย่างยั่งยืน

(3) การพัฒนาแบบองค์รวม

(4) การยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 431, (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ได้กําหนด “วิสัยทัศน์ร่วมของการพัฒนาประเทศไทยในอนาคต 20 ปี” โดยมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อการแก้ปัญหาความยากจนและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนส่วนใหญ่ของประเทศให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทย ด้วยการให้ความสําคัญกับการพัฒนาแบบองค์รวมที่ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาและการพัฒนาอย่างมีดุลยภาพทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้คนในสังคมมีความสุขถ้วนหน้า สามารถพึ่งตนเองและก้าวตามโลกได้อย่างรู้เท่าทันโดยยังคงรักษาเอกลักษณ์ของความเป็นไทย

76 ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่ดีตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายที่สําคัญคือ

(1) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัดบริการสาธารณะ และพัฒนารายได้ของตนเองเพิ่มขึ้น

(2) ภาครัฐมีขนาดและโครงสร้างที่เหมาะสม

(3) การมุ่งปราบปรามยาเสพติดทั่วประเทศ

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่ดีตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายที่สําคัญดังนี้

1 ภาครัฐมีขนาดและโครงสร้างที่เหมาะสม มีระบบและกลไกการทํางาน รวมทั้งระบบงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ

2 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีขีดความสามารถในการจัดบริการสาธารณะและการพัฒนารายได้ของตนเองเพิ่มขึ้น

3 ธุรกิจของไทยสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

4 ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องจากภาครัฐอย่างครบถ้วนในเวลาที่รวดเร็ว ฯลฯ

77 ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคน ให้ความสําคัญกับเรื่องใด

(1) ให้คนมีคุณภาพ สุขภาพแข็งเเรง คิดเป็น ทําเป็น

(2) ให้คนมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต

(3) เพิ่มระดับการศึกษาภาคบังคับ

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ได้ให้ความสําคัญกับการพัฒนาคนให้มีคุณภาพ สุขภาพแข็งแรง คิดเป็น ทําเป็น มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีวิธีคิด อย่างมีเหตุผล มีคุณธรรม จริยธรรม ระเบียบวินัย ซื่อสัตย์สุจริตและรับผิดชอบต่อส่วนรวม รวมทั้งสามารถนําเทคโนโลยีสารสนเทศและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาผสมผสานให้เกิดความสมดุล ในการยกระดับคุณภาพชีวิต

78 จุดเปลี่ยนสําคัญของการวางแผนพัฒนาประเทศไทยที่ให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ในสังคมคือ

(1) ฉบับที่ 7

(2) ฉบับที่ 8

(3) ฉบับที่ 9

(4) ฉบับที่ 10

(5) ฉบับที่ 11

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 62 ประกอบ

79 การเปลี่ยนแปลงของบริบทการพัฒนาในกระแสโลกาภิวัตน์ที่ประเทศไทยยังต้องเผชิญอยู่ คือ

(1) การรวมตัวของกลุ่มเศรษฐกิจต่าง ๆ

(2) การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด

(3) การเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

(4) การเคลื่อนย้ายคนอย่างเสรี

(5) ถูกทุกข้อ 1

ตอบ 5 หน้า 446 447 การเปลี่ยนแปลงของบริบทการพัฒนาในกระแสโลกาภิวัตน์ที่ประเทศไทยยังต้องเผชิญอยู่นั้น มี 5 บริบท ดังนี้

1 การรวมตัวของกลุ่มเศรษฐกิจต่าง ๆ และการเปลี่ยนแปลงในตลาดการเงินของโลก

2 การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด

3 การเปลี่ยนแปลงด้านสังคมที่ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น

4 การเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

5 การเคลื่อนย้ายของคนอย่างเสรี

80 สถานะด้านสังคมของประเทศไทยก่อนเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 คือ

(1) จํานวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเพิ่มขึ้นเป็น 8.5 ปี

(2) แรงงานไทยที่จบการศึกษาสูงกว่าระดับประถมศึกษาเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 39.8

(3) ประสิทธิภาพการผลิตของแรงงานไทยยังต่ำเมื่อเทียบกับมาเลเซีย และเกาหลี

(4) มีการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาเพียงร้อยละ 0.26

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 448 449 สถานะด้านสังคมของประเทศไทยก่อนเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 มีดังนี้

1 จํานวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็น 8.5 ปี ในปี พ.ศ. 2548

2 แรงงานไทยที่จบการศึกษาสูงกว่าระดับประถมศึกษาเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 39.8 ในปี พ.ศ. 2548

3 ประสิทธิภาพการผลิตของแรงงานไทยยังต่ำเมื่อเทียบกับมาเลเซีย เกาหลี สิงคโปร์ไต้หวัน และญี่ปุ่น

4 มีการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาเพียงร้อยละ 0.26 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ

5 คนไทยได้รับหลักประกันสุขภาพอย่างทั่วถึงร้อยละ 96.3 ในปี พ.ศ. 2548 ฯลฯ

81 สถานะด้านเศรษฐกิจของประเทศไทยก่อนเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 คือ

(1) เศรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยร้อยละ 5.7

(2) ขนาดทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นลําดับที่ 20 ของโลก

(3) โครงสร้างพื้นฐานด้านขนส่งและโลจิสติกส์มีประสิทธิภาพ

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 4 หน้า 450 – 451 สถานะด้านเศรษฐกิจของประเทศไทยก่อนเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 มีดังนี้

1 เศรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 5.7 ต่อปี

2 ขนาดทางเศรษฐกิจของประเทศใหญ่เป็นลําดับที่ 20 ของโลก

3 มีการพึ่งพิงการนําเข้าวัตถุดิบ ชิ้นส่วน พลังงาน เงินทุน และเทคโนโลยีในสัดส่วนที่สูง

4 อัตราการว่างงานลดลง โดยมีอัตราเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2

5 โครงสร้างพื้นฐานด้านขนส่งและโลจิสติกส์ยังขาดประสิทธิภาพ ฯลฯ

82 สถานะด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก่อนเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 คือ

(1) เหลือพื้นที่ป่าร้อยละ 33 ของพื้นที่ประเทศ

(2) ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งลดความอุดมสมบูรณ์ลง

(3) คุณภาพของสิ่งแวดล้อมมีความเสื่อมโทรมลง

(4) การนําเข้าสารอันตรายที่ใช้ในการผลิตมีมากขึ้น

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 451 สถานะด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยก่อนเข้าสู่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 มีดังนี้

1 เหลือพื้นที่ป่าเพียงร้อยละ 33 ของพื้นที่ประเทศ

2 ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งลดความอุดมสมบูรณ์ลง

3 คุณภาพของสิ่งแวดล้อมมีความเสื่อมโทรมลง เนื่องจากสาเหตุสําคัญประการหนึ่ง คือ การนําเข้าสารอันตรายที่ใช้ในการผลิตมีมากขึ้น ฯลฯ

83 วิสัยทัศน์ประเทศไทยที่กําหนดไว้ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 คือ

(1) คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา

(2) การพัฒนาอย่างยั่งยืน

(3) สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน

(4) เศรษฐกิจพอเพียง

(5) การปฏิรูประบบราชการ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 70 ประกอบ

84 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 มีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพคนอย่างไร

(1) เพิ่มจํานวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเป็น 10 ปี

(2) ลดปัญหาอาชญากรรมลงร้อยละ 10

(3) อายุคาดหมายเฉลี่ยของคนไทยสูงขึ้นเป็น 80 ปี

(4) เพิ่มสัดส่วนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนา

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 455, (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 มีเป้าหมายการพัฒนาคุณภาพคน ดังนี้

1 เพิ่มจํานวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเป็น 10 ปี

2 เพิ่มสัดส่วนบุคลากรด้านการวิจัย และพัฒนาเป็น 10 คน ต่อประชากร 10,000 คน

3 ลดปัญหาอาชญากรรมลงร้อยละ 10

4 กําหนดให้อายุคาดหมายเฉลี่ยของคนไทยสูงขึ้นเป็น 80 ปี ฯลฯ

85 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายในด้านการพัฒนาสมรรถนะและขีดความสามารถในการแข่งขันโดย

(1) ให้ประเทศไทยพัฒนาเป็นแหล่งอุตสาหกรรมของโลก

(2) ให้ประเทศไทยพัฒนาเป็นศูนย์กลางทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของโลก

(3) ให้ประเทศไทยคงความเป็นแหล่งผลิตอาหารสําคัญของโลก

(4) ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวในภูมิภาค

(5) ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการเกษตรของโลก

ตอบ 3 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีเป้าหมายในการพัฒนาสมรรถนะและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศประการหนึ่ง คือ ให้ประเทศไทยคงความเป็นแหล่งผลิตอาหารสําคัญของโลก โดยเพิ่มส่วนแบ่งตลาดส่งออกสินค้าเกษตร รวมทั้งเป็นแหล่งแปรรูปสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพสูง

86 ผลของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 – 7 ประเทศไทยประสบผลสําเร็จในการพัฒนา เศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว เฉลี่ยประมาณเท่าใด

(1) ร้อยละ 7 ต่อปี

(2) ร้อยละ 8 ต่อปี

(3) ร้อยละ 9 ต่อปี

(4) ร้อยละ 10 ต่อปี

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 421, (คําบรรยาย) จากผลการพัฒนาประเทศในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 – 7 พบว่าประเทศไทยประสบผลสําเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว เฉลี่ยประมาณ ร้อยละ 7 ต่อปี ซึ่งส่งผลทําให้รายได้ต่อหัวของคนไทยเพิ่มขึ้นจาก 2,100 บาท ในปี พ.ศ. 2504 เป็น 68,000 บาท ในปี พ.ศ. 2538 หรือเพิ่มขึ้น 32 เท่าตัว และสัดส่วนคนยากจนลดลงเหลือเพียง ร้อยละ 13.7 ของประชากรทั้งประเทศ ในปี พ.ศ. 2535

87 ผลของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 – 7 ทําให้สัดส่วนของคนยากจนของประเทศไทย ลดลงเป็นอย่างมาก คือ

(1) สัดส่วนคนยากจนเหลือร้อยละ 10.4 ของประชากรทั้งประเทศ

(2) สัดส่วนคนยากจนเหลือร้อยละ 11.4 ของประชากรทั้งประเทศ

(3) สัดส่วนคนยากจนเหลือร้อยละ 12.4 ของประชากรทั้งประเทศ

(4) สัดส่วนคนยากจนเหลือร้อยละ 13.4 ของประชากรทั้งประเทศ

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 86 ประกอบ

88 ผลที่เกิดขึ้นจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 – 2 คือ

(1) มีความก้าวหน้าในการพัฒนาสังคม

(2) มีการกระจายรายได้อย่างทั่วถึง

(3) มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะถนน ไฟฟ้า ประปา

(4) คุณภาพชีวิตของคนในชนบทได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น

(5) มีเป้าหมายการลดอัตราการเพิ่มของประชากร

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ผลการพัฒนาที่เกิดขึ้นจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1-2 คือ เน้นการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยการลงทุนกระจายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะถนน ไฟฟ้า และประปา แต่เกิดปัญหาช่องว่างการกระจายรายได้และคุณภาพชีวิตของคนในชนบทไม่ได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น

89 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 ให้ความสําคัญกับเรื่องใด

(1) การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

(2) การส่งออกและการกระจายรายได้

(3) การพัฒนาสังคม

(4) การลดอัตราการเพิ่มของประชากร

(5) ข้อ 3 และ 4 ถูก

ตอบ 5 (คําบรรยาย) จุดเด่นที่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 3 ให้ความสําคัญก็คือ การพัฒนาสังคม กล่าวคือเริ่มมีการวางแผนทางด้านสังคมโดยมีการกําหนดนโยบายด้านประชากรเป็นครั้งแรก ซึ่งมีการกําหนดเป้าหมายลดอัตราการเพิ่มของประชากรให้เหลืออยู่ที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี ในปี พ.ศ. 2519 เพื่อลดภาระทางเศรษฐกิจแก่ครอบครัวที่มีฐานะยากจนและประเทศในระยะยาว รวมทั้งเพื่อให้การบริการในภาครัฐขยายตัวได้ทั่วถึงและรวดเร็วยิ่งขึ้น

90 วิกฤติที่เกิดขึ้นในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 คือ

(1) วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ

(2) วิกฤติการณ์ทางการเงินของโลก

(3) วิกฤติการณ์น้ำมัน

(4) วิกฤติการณ์ความผันผวนทางการเมืองภายในประเทศ

(5) ข้อ 3 และ 4 ถูก

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 นั้น ประเทศไทยต้องประสบกับวิกฤติการณ์ ความผันผวนทางการเมืองภายในประเทศและวิกฤติการณ์น้ำมันอย่างรุนแรง จนก่อให้เกิดปัญหาการขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างรุนแรง แต่สัมฤทธิผลของแผนพัฒนาฯฉบับนี้ที่เป็นไปตามเป้าหมาย ก็คือ การลดอัตราการเพิ่มของประชากร

91 สภาพของประเทศไทยก่อนมีการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ คือ

(1) ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว

(2) เศรษฐกิจขยายตัวประมาณร้อยละ 8 ต่อปี

(3) ประชากรเพิ่มในอัตราร้อยละ 2.5 ต่อปี

(4) เศรษฐกิจส่วนใหญ่อยู่ในภาคเกษตรและอุตสาหกรรม

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) สถานภาพของประเทศไทยก่อนมีการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 มีดังนี้

1 ทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ทั้งด้านป่าไม้ แหล่งน้ำ แร่ธาตุ ฯลฯ หรืออยู่ในสภาพ ที่เรียกว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว”

2 ประชาชนมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวไม่ถึง 2,000 บาทต่อปี

3 เศรษฐกิจขยายตัวประมาณร้อยละ 4 ต่อปี

4 มีแรงงานภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 8.5 ของแรงงานทั้งหมด

5 บริการพื้นฐานต่าง ๆ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมมีไม่เพียงพอ

6 ประชากรเพิ่มในอัตราร้อยละ 3.7 ต่อปี

7 เศรษฐกิจส่วนใหญ่อยู่ในภาคเกษตร ฯลฯ

92 ลักษณะของประเทศกําลังพัฒนา คือ

(1) ประชาชนมีรายได้เฉลี่ยต่อบุคคลในเกณฑ์ปานกลาง

(2) ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพอุตสาหกรรม

(3) อัตราการเพิ่มประชากรอยู่ในเกณฑ์ต่ำ

(4) ความเจริญด้านเทคโนโลยีอยู่ในระดับสูง

(5) ประชาชนส่วนใหญ่ยึดถือวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิม

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ลักษณะของประเทศกําลังพัฒนา มีดังนี้

1 ประชาชนมีรายได้เฉลี่ยต่อบุคคลในเกณฑ์ต่ำ

2 ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม

3 อัตราการเพิ่มประชากรอยู่ในเกณฑ์สูง

4 ความเจริญด้านเทคโนโลยีอยู่ในระดับต่ำ

5 อัตราความเป็นเมืองอยู่ในเกณฑ์ต่ำ

6 ประชาชนส่วนใหญ่ยึดถือวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิม ฯลฯ

93 การปฏิรูปการศึกษามีแนวทางอย่างไร

(1) ผลิตนักวิจัยในสาขาที่มีความจําเป็นต่อการพัฒนาประเทศ

(2) พัฒนาครูและปรับปรุงกระบวนการผลิตครู

(3) ปรับปรุงหลักสูตรให้มีความหลากหลาย

(4) เสริมสร้างความพร้อมของสถาบันการศึกษา

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีแนวทางการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ดังนี้

1 พัฒนาครูและปรับปรุงกระบวนการผลิตครูที่มีคุณภาพและคุณธรรม

2 ปรับปรุงหลักสูตรให้มีความหลากหลายและยืดหยุ่น

3 ผลิตนักวิจัยในสาขาที่มีศักยภาพสูงและมีความจําเป็นต่อการพัฒนาประเทศ

4 เสริมสร้างความพร้อมของสถาบันการศึกษา ฯลฯ

94 การเตรียมความพร้อมและยกระดับฝีมือของคนไทยให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน มุ่งเน้นการผลิตกําลังคนในระดับใด

(1) ระดับสูง

(2) ระดับกลาง

(3) ระดับตํานาน

(4) ระดับกลางและระดับต่ำ

(5) ทุกระดับ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 แนวทางการเตรียมความพร้อมและยกระดับทักษะฝีมือของคนไทยให้มีคุณภาพได้มาตรฐานและสอดคล้องกับโครงสร้างการผลิตและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปประการหนึ่ง คือ มุ่งเน้นการผลิตและพัฒนากําลังคนระดับกลาง โดยผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่น ทักษะชีวิต กับความรู้พื้นฐาน รวมทั้งให้มีบริการการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานที่หลากหลายและทั่วถึง

95 ต่อไปนี้ข้อใดเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาความยากจนในชนบท

(1) นําหลักการและแนวคิดกระบวนการสหกรณ์มาใช้

(2) การปฏิรูปกฎหมายและปรับปรุงระเบียบให้คนจนได้รับโอกาสมากขึ้น

(3) ปรับระบบการบริหารจัดการภาครัฐให้เอื้อต่อการสร้างโอกาสแก่คนยากจน

(4) ให้คนยากจนมีโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐได้อย่างทั่วถึง

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีแนวทางการแก้ปัญหาความยากจนในชนบท ดังนี้

1 นําหลักการและแนวคิดกระบวนการสหกรณ์มาใช้ โดยส่งเสริมการรวมกลุ่มของคนยากจน เป็นองค์กรชุมชน สหกรณ์ และเครือข่ายองค์กรชุมชนที่เข้มแข็ง

2 เสริมสร้างโอกาสให้คนยากจนสามารถเข้าถึงบริการของรัฐได้อย่างทั่วถึงและสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ

3 ปรับระบบการบริหารจัดการภาครัฐให้เอื้อต่อการสร้างโอกาสแก่คนยากจน

4 ปฏิรูปกฎหมายและปรับปรุงกฎระเบียบให้คนจนได้รับโอกาส สิทธิ ความเสมอภาค และความเป็นธรรมในด้านต่าง ๆ

96 การพัฒนาแบบยั่งยืน หมายถึง

(1) การให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมกับภาครัฐบาลมากขึ้น

(2) การพัฒนารัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

(3) การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กัน (4) การมุ่งเน้นการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

(5) การมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีสมัยใหม่

ตอบ 3 (คําบรรยาย) การพัฒนาแบบยั่งยืน (Sustainable Development) หมายถึง การพัฒนาแบบองค์รวมที่ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา และการพัฒนาอย่างมีดุลยภาพทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กัน โดยยึด“ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญานําทางในการพัฒนา

97 ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีการค้าโลกในช่วงที่ผ่านมาลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นผลเนื่องมาจากสาเหตุสําคัญคือ

(1) มีการพึ่งพาวัตถุดิบจากต่างประเทศสูง

(2) แรงงานไทยส่วนใหญ่มีการศึกษาต่ำ

(3) ความสามารถในการบริหารจัดการธุรกิจไร้ประสิทธิภาพ

(4) ความล้าหลังในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในช่วงที่ผ่านมานั้น พบว่า สมรรถนะทางเศรษฐกิจและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีการค้าโลกได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ก็เนื่องมาจาก สาเหตุสําคัญ คือ

1 ความล้าหลังในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

2 มีการพึ่งพาวัตถุดิบ เงินทุน และเทคโนโลยีจากต่างประเทศสูง

3 แรงงานไทยส่วนใหญ่มีการศึกษาต่ำ และไม่ได้รับการพัฒนาความรู้และทักษะ ให้สอดคล้องกับโครงสร้างการผลิตที่เปลี่ยนแปลง

4 ความสามารถในการบริหารจัดการธุรกิจไร้ประสิทธิภาพ

98 ประเทศใดเป็นตัวแปรสําคัญต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของโลกในปัจจุบัน

(1) รัสเซีย

(2) ญี่ปุ่น

(3) จีน

(4) อินเดีย

(5) เกาหลี

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ปัจจุบันแนวโน้ม “ระบบภูมิภาคนิยม” มีอิทธิพลเพิ่มขึ้น ขณะที่ประเทศมหาอํานาจทางเศรษฐกิจคือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป ยังคงมีบทบาทต่อการจัดระเบียบเศรษฐกิจและสังคมโลกใหม่ และการเข้าเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลกนั้น จะทําให้จีนกลายเป็นตัวแปรสําคัญต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของโลกและภูมิภาคเอเชีย

99 เงื่อนไขและสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงภายนอกประเทศที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศไทย คือ

(1) กระแสประชาธิปไตยในสังคมโลก

(2) ระบบเศรษฐกิจของโลกมีความสลับซับซ้อนและเชื่อมโยงกันมากขึ้น

(3) กระแสโลกาภิวัตน์

(4) แนวโน้มของการพัฒนาสู่ “เศรษฐกิจยุคใหม่”

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) นอกจากตัวเลือกข้อ 1, 2, 3 และ 4 แล้ว เงื่อนไขและสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงภายนอกประเทศที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศไทย ยังได้แก่

1 การเปิดเสรีและการกีดกันทางการค้า

2 แนวโน้มระบบภูมิภาคนิยมมีอิทธิพลเพิ่มขึ้น

3 เสถียรภาพทางเศรษฐกิจโลกยังมีความเปราะบาง

100 การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ มีวัตถุประสงค์สําคัญคือ

(1) เพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกมากขึ้นที่จะได้รับบริการที่ดีมีคุณภาพ

(2) เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่ดี

(3) เพื่อสนับสนุนบทบาทการลงทุนของภาคเอกชน

(4) เพื่อลดภาระการลงทุนภาครัฐ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ประเทศไทยได้ดําเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจอย่างเป็นขั้นตอน โดยมีวัตถุประสงค์สําคัญคือ

1 เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่ดี

2 เพื่อสนับสนุนบทบาทการลงทุนของภาคเอกชนที่คํานึงถึงประสิทธิภาพการให้บริการ

3 เพื่อลดภาระการลงทุนภาครัฐ

4 เพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกที่จะได้รับบริการที่ดีมีคุณภาพ

Advertisement